Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 193

(

)
ณ พุทธสามาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

เมือ
่ สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้แสดงถึงเรื่องของโมหะว่าเป็น
ความโง่าความหลง ได้แก่ ความโง่ความหลงในเรื่อง
อะไร โมหะนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เมือ
่ มันเกิดอยู่ที่ตา ที่หู
และที่ใจแล้วทำาไมเราจึงไม่ทราบ ตลอดไปจนได้ให้คำา
อธิบายถึงเรื่องอวิชชาด้วยว่าแตกต่างกับโมหะหรือไม่
สำาหรับในวันนี้ ผมจะได้บรรยายต่อจากที่ได้บรรยายมา
แล้วจากสัปดาห์ก่อน ท่านนักศึกษาจะได้

นั้นว่าเป็นประการใด
ต่อไป

เป็นจิตที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจในเหตุผลตาม
ความเป็นจริงจากปรากฏการณ์ทเี่ กิดจากอารมณ์ตาม
ทวารต่างๆทั้ง ๖ ทวาร จิตชนิดนี้มีโมหเจตสิกเข้ามา
ประกอบเป็นมูล เป็นรากฐาน เป็นหัวหน้าหรือเป็น
ประธาน ไม่ว่าจิตจะเป็นอกุศลมากน้อยสักเท่าใด ก็จะ
ต้องมีโมหะซึ่งก็คือไม่เข้าใจความจริงต่อปรากฏการณ์
ของธรรมชาติชีวิต หนุนเนื่องอยู่ภายในเสมอไป
โมหมูลจิตแบ่งออกเป็นสองประเภทหรือ ๒ ดวง คือ

กับ
โมหมูลจิตทั้งสองดวงนี้เป็นอุเบกขาเวทนา คือความ
รู้สึกเฉยๆ ต่ออารมณ์ด้วยกัน แต่ดวงหนึ่งประกอบด้วย
ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และอีกดวง
หนึ่งนั้นประกอบไปด้วยความฟุ้งซ่านจับอารมณ์ไม่
มั่นคง ได้แก่
๑. อุเปกฺขาสหคตำ วิจิกจิ ฺฉาสมฺปยุตฺตำ จิตที่เกิดขึ้นพร้อม
กับความเฉยๆ ประกอบไปด้วยความสงสัย
๒. อุเปกฺขาสหคตำ อุทธฺ จฺจสมฺปยุตตฺ ำ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับ
ความเฉยๆ ประกอบไปด้วยความฟุ้งซ่าน

ท่านนักศึกษาได้ผา่ นการศึกษาเรื่องของโลภมูลจิตมา
แล้วจะเห็นว่า โลภมูลจิตนั้น เกิดขึ้นพร้อมกับโสมนัส
เวทนา ความยินดีมากก็มี และเกิดพร้อมกับอุเบกขา
เวทนา มีความยินดีนิดหน่อยก็มี การเกิดโลภะคือความ
ยินดีติดใจในอารมณ์ต่างๆนั้น จะมีความรู้สึกเฉยๆ ไม่
ยินดียินร้ายเลยหาได้ไม่ เพราะว่า ถ้าไม่มีความยินดี
แม้แต่เพียงเล็กน้อยแล้ว จะเกิดโลภคือความโลภได้
อย่างไร
ผมได้บรรยายไปแล้วตั้งแต่คราวก่อนๆ ว่า เวทนานั้น
ได้แก่การเสวยอารมณ์ หรือกินอารมณ์ที่เกิดขึ้นตาม
ทวารต่างๆ เมื่อเสวยอารมณ์แล้ว ก็ยอ่ มจะมีความยินดี
หรือไม่ยินดีเลยก็ได้ และอาจจะเป็นอุบกขา คือรู้สึก
เฉยๆไม่มีความยินดี หรือยินร้ายเลยก็มี
สำาหรับในโมหมูลจิตมีอยู่ ๒ ดวงเท่านั้น ท่านก็จะเห็นได้
ว่า มีเวทนาอยู่ทั้ง ๒ ดวง และทั้ง ๒ ดวงก็เป็น
เหมือนกันด้วย

ผมได้กล่าวมาแล้วว่า โมหมูลจิตนี้เป็นจิตทีม ่ ีความโง่


ความหลง มิได้มีความเข้าใจเลยในเรือ ่ งของชีวิต มิได้มี
ความรูเ้ ลยในเรื่องปรากฏการณ์ตา่ งๆ ของธรรมชาติ
ที่มาเกิดอยู่ต่อหน้า คือตามทวารต่างๆ ดังนั้นจิตนี้จึง
เกิดขึ้นมาพร้อมกับวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยดวงหนึ่ง
และเกิดขึ้นมาพร้อมกับอุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไม่ได้
เรือ
่ งราวดวงหนึ่ง เมื่อเป็นดังนี้ จะให้เกิดโสมนัสเวทนา
ความยินดีพอใจมาเกิดร่วมด้วยกับความสงสัย ร่วมด้วย
กับความฟุ้งซ่านกระไรได้
ท่านอาจจะตั้งคำาถามต่อไปว่า ถ้าโมหมูลจิตเกิดร่วมกับ
โสมนัสเวทนาไม่ได้ดังนี้แล้ว ถ้าเช่นนั้นโมหมูลจิตก็ควร
จะเกิดร่วมกับโทมนัสเวทนา คือความเสียใจ หรือความ
ไม่พอใจจะได้บ้างกระมัง
สำาหรับคำาถามข้อนี้ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วก็ควรตอบเอา
ได้เอง เพราะว่าจิตใดที่ตกอยู่ในความลังเลสงสัยไม่
แน่ใจ และจิตใดตกอยู่ในความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ แล้ว
จะให้จติ นั้นเกิดร่วมกับโทมมัสจะมีหรือ ในขณะทีส ่ งสัย
ในขณะที่ฟุ้งซ่านกำาลังบังเกิดยู่จะเกิดความเสียใจไม่
พอใจได้อย่างไร
อย่างไรก็ดีคำาว่า อุเบกขาที่เกิดอยู่ในโลกมูลจิตนั้น ผม
ก็ได้แสดงเอาไว้แล้วว่าเป็นความยินดีพอใจบ้างเล็กๆ
น้อยๆ เพราะอุเบกขาเกิดอยู่ในความโลภและเป็น
เวทนาอุเบกขา (อุเบกขามีหลายอย่าง) แต่อุเบกขาในโม
หมูลจิตนั้น มิได้เกิดอยู่กับความโลภ หากแต่เกิดอยู่กับ
โมหะคือความโง่ เมือ ่ จิตตกอยู่ในความโง่เสียแล้วก็ย่อม
ไม่ทราบถึงคุณค่าของอะไรเลย จิตจึงตกอยู่ในสภาพ
ของความเฉยๆ จิตนี้จึงบังเกิดความยินดีแม้แต่เพียง
เล็กน้อยไม่ได้เลย
นอกจากที่ผมได้กล่าวมาแล้ว

ทั้งนี้ก็ด้วย
เหตุที่ว่า โมหมูลจิตนั้นเป็นจิตที่โง่ ไม่มีความรู้คือวิชา
ธรรมดาของความโง่ก็หาเกิดในที่ใดได้ไม่ ย่อมจะเกิดมี
อยู่ในขันธสันดานของตนเอง เมือ ่ เป็นดังนี้ จึงได้แสดง
ความโง่ออกมาเองจากใจจริง เพราะความโง่นั้นยิ่งมาก
ก็ยิ่งดี ยิ่งมากก็ยิ่งได้รับคำาสรรเสริญเยินยอ ผู้ได้ยินการ
ชักชวนนี้แล้วต่างคนต่างก็ทำาตนให้โง่ไปตามกัน
ย่อมจะ
ท่องเที่ยวหาแต่ผลไม้กินเท่านั้น เมื่อไปเจอะแก้วมณีอัน
มีคา่ มันก็ไม่มีความเสียใจ ไม่มีความดีใจ แต่รส
ู้ ึกเฉยๆ
จากนั้นมันก็จะขว้างทิ้งแล้วก็หลีกไปแสวงหาผลไม้ตาม
ประสาของมัน ไม่มีผู้ใดต้องมาชักชวนให้โง่ ให้ไม่รู้จัก
ของที่มีค่ามาก แล้วก็ไม่มีความสามารถชักชวนได้เสีย
ด้วย
ท่านนักศึกษาก็จะเห็นได้ว่า ในโลภมูลจิตนั้นมีสสังขาริ
ก คือการชักชวน เช่น ชักชวนกันไปดูหนังดูละคร
ชักชวนกันไปท่องเที่ยวหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ในที่ตา่ งๆ แต่ในโมหมูลจิตนั้นกลับเป็นอสังขาริก(โดย
ปริยาย) ไม่มีการชักชวนเลย ทั้งไม่มีทิฏฐิความเห็นผิด
อยู่ร่วมด้วย

หลายท่านก็อาจจะมีความเห็นว่า

เพราะว่าลงเกิดความสงสัยแคลงใจขึ้นมาแล้ว ความ
สงสัยแคลงใจทีเ่ กิดขึ้นมานั้นก็ไม่ควรจะจัดให้ไปอยู่ใน
พวกโง่เขลาไม่รู้เท่าทันอะไร เพราะมีความฉลาดอยู่บ้าง
มันจึงได้เกิดความสงสัยขึ้นมา คนโง่จริงๆจะมีความ
สงสัยได้หรือ?

อีกประการหนึ่ง โมหะนั้นจัดว่าเป็นอกุศลคือเป็นบาป

เพราะ
แทบทุกคนเหล่านี้เขาก็คงจะต้องมีความสงสัยใน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็จะเกิดบาปด้วยกันทั้ง
นั้น
ว่าเกิดความ
สงสัยแล้วก็จะต้องเป็นบาป ถ้าคนไม่เชื่อพระพุทธ พระ
ธรรม พระสงฆ์เลย เห็นจะต้องลงนรกกันหมดเป็นแน่
พระพุทธศาสนาเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาตัง้
ไว้เป็นหลักสูงสุดที่ใครจะละเมิดมิได้เช่นนี้ก็คงจะ
เหมือนกับศาสนาอื่นในข้อที่ว่า จะต้องมีความเชื่อใน
พระผู้เป็นเจ้าเสียก่อน จะต้องเคารพกราบไหว้พระ
พรหม หรือกราบไหว้ผู้ยิ่งใหญ่ในสรวงสวรรค์เสียก่อน
โดยไม่ต้องค้นคว้าหาเหตุผลข้อเท็จจริงอะไร

เพราะฉะนั้นผู้ที่มิได้ศึกษา
และผู้ที่ถอดความออกมาจากบาลีโดยมิได้อธิบายเนื้อ
ความให้ขาวออกไป ทำาให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธ
ศาสนา เสียหายแก่ประชาชนผู้ได้ยินได้ฟังเป็นอันมาก
ด้วยเหตุนี้เอง ผมจึงขออธิบายคำาว่า
" " ให้ท่านหายสงสัยก่อน

แปลว่า ความสงสัยนั้น แบ่งออกเป็น


๒ อย่างคือ และ

ซึ่งจุดหมาย
ปลายทางนั้นก็คือ มรรค ผล นิพพาน เช่น การทำาบุญให้
ทานนั้นนำาไปสู่สุคติได้เห็นจะไม่จริง ชาติหน้าก็เห็นจะ
มีไม่ได้แน่ คนเราตายแล้วก็คงสูญไปเลย ถ้าชาติหน้าไป
เกิดได้อีก ใครจะเป็นผู้รู้เห็นเรื่องเหล่านี้ได้ นรกสวรรค์
จะมีได้อย่างไร กิเลสอันเป็นตัวการทำาให้เศร้าหมอง
เร่าร้อนบังเกิดอยู่ภายในจิตใจ จะทำาลายมันให้หมดไป
เห็นจะเป็นไปไม่ได้ มรรคผลนิพพานจะมีจริงๆหรือ ไม่
น่าเชื่อเลย
ความสงสัยทั้งหลาย จะไม่เป็นวิจิกิจฉาเลย ถ้าหากเกิด
ความสงสัยขึ้นมาแล้วก็หาทางแก้สงสัยด้วยการศึกษา
หรือปฏิบัติไปในหนทางที่มีผช ู้ ี้แนะ หรือสงสัยในบท
เรียนสงสัยเพราะยังไม่เข้าใจ ตัวอย่างเช่นท่านนักศึกษา
ค้นคว้าศึกษาหาความรู้อยูท ่ ุกวันนี้ ผมบรรยายธรรมะ
มานาน ได้พบปะสนทนากับบุคคลเป็นอันมาก ได้พบ
บ่อยเหมือนกันที่สงสัยไปกระนั้นเอง ในใจของเขามิได้
เชือ
่ ถือเสียเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว เพราะเขาจะดัก
โน่นดักนี่ ชักนำาไปในหนทางโน้นหนทางนี้ พยายาม
ทำาลายล้างหลักการหรืออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
เสียด้วยเหตุผลและถ้อยคำาที่ทับถมดูหมิ่นต่างๆ ซึ่งแท้ที่
จริงเขามิได้มีความเชือ่ มาตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น หลังจาก
สนทนากันพักใหญ่ๆ ต่างคนต่างเหนื่อยโดยไม่ได้อะไร
เป็นชิ้นเป็นอันเลย

เพราะมันเป็นตัวการ
กั้นหนทางที่จะรู้เรื่องราวที่ควรรู้เห็น หนทางที่จะ
เข้าใจในความลึกซึ้งของชีวิต และหนทางที่จะนำาไปสู่
ความสุขอันสถาพรของตนเองเสีย
.

แม้สงสัยในบท
เรียนธรรมะทีต
่ นกำาลังค้นคว้าศึกษาอยู่ว่าข้อไหนมี
ความหมายว่ากระไร
แล้วแต่เรือ
่ งที่สงสัยเหล่านั้น
จะไปเกี่ยวข้องพัวพันกับเรื่องอะไรเข้า เจตนาในขณะ
นั้นเป็นอย่างไร เช่น
สงสัยคนที่ตนรักแล้วจากกันไปเสียนาน ว่าจะเพียร
พยายามพัดกระพือไฟเก่าให้ลุกขึ้นมาใหม่จะสำาเร็จไหม
ทำาอย่างไรจึงจะให้ไฟที่จะมอดแล้วนี้ลุกพลุ่งโพลงขึ้นมา
อีกสักครั้งหนึ่ง

ความสงสัยว่าชาติหน้าจะมีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงเรา
ทำาบุญไปก็จะได้ประโยชน์มาก ถ้าชาติหน้าไม่มท ี ำาบุญไป
แล้วก็ถือเสียว่าเป็นการตัดความโลภของตนเอง

สงสัยว่าจุติปฏิสนธิคือการตายการเกิดนั้นจะเป็นไปได้
อย่างไร จึงตั้งคำาถามหรือค้นคว้าหาความจริง หรือถ้า
สงสัยถึงเรื่องกิเลสตัวสำาคัญต่างๆ ตลอดจนวิธีการที่จะ
ทำาลายมันให้ออกไปว่าจะทำาอย่างไร

ดังนี้เป็นต้น
ความสงสัยทีเ่ ป็นนิวรณ์มาสกัดกั้นความดี ปิดบัง
หนทางไปสู่ความพ้นทุกข์ที่เรียกว่า นิวรณวิจิกิจฉานั้น
ก็มิได้มีผู้ใดคิดได้เอาเองว่าความสงสัย ดังนั้นดังนี้ตาม
อารมณ์ หากแต่มีกฏเกณฑ์บังคับเอาไว้ตายตัว เพื่อให้
ท่านนักศึกษาได้เข้าใจเในเรือ ่ งนี้เป็นการถูกต้อง
สมบูรณ์ ผมจึงขอยกขึ้นมาอธิบายทุกๆ ข้อไป
คือ ความสงสัย
ในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในขันธ์
อายตนะ ธาตุ ปฏิจจสมุปบาท และในสิกขา

คือ มีความสงสัยในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า จะไม่มี


ตัวตนจริงๆ นับถือกันโดยยึดมั่นด้วยอุปาทานต่อๆ กัน
มาเป็นผู้ตรัสรู้ว่าเป็นผู้วิเศษยิ่งกว่าใครๆ แท้จริงคัมภีร์
ในพระพุทธศาสนาก็คงจะเป็นพวกนักปราชญ์
ราชบัณฑิต คิดเขียนขึ้นต่อๆ กันมาเท่านั้นเอง ถ้าเป็น
เช่นนี้เราจะไปกราบไหว้บูชาพระอิฐพระปูนทำาไม
ศาสนาทุกศาสนามีขึ้นมาก็เพื่อให้คนอยู่ร่วมกันได้ดข ี ึ้น
เบียดเบียนกันน้อยลง เพราะกลัวบาปกลัวจะไปตกนรก
เป็นการสมมุติให้เป็นตัวเป็นตนขึ้นมาให้คนนับถือ
กราบไหว้บูชาเอาไว้เป็นที่พึ่งทางใจ หลอกให้คนทั้ง
หลายโง่ในเรื่องนี้เสียจะได้ปกครองง่ายๆ ความจริง
ศาสนาก็ดีเพียงแค่สอนให้คนมีศีลธรรมจรรยาเท่านั้น
เวลานี้โลกมีความเจริญมากขึ้นแล้วสิ่งที่ประดิษฐ์ตา่ งๆ
ก็เกิดขึ้นมากมาย มนุษย์กจ ็ ะบริโภคผลิตผลเหล่านี้
สะดวกสบาย ความต้องการศาสนาก็จะมีน้อยลงๆ แล้ว
ศาสนาก็จะมาหลอกคนที่ศึกษาเล่าเรียนมามากในสาขา
วิชาการต่างๆ มีความรู้ดี มีเหตุผลหนักแน่นมั่นคงไม่ได้
อีกต่อไปแล้ว มีความสงสัยแกมดูหมิ่นเกิดขึ้นโดยที่ยัง
มิได้ศึกษาพระพุทธศาสนาในขั้นละเอียดเลยแม้แต่น้อย
ความคิดอ่าน ความสงสัยดังได้แสดงมาเป็นวิจิกิจฉาใน
โมหมูลจิตทั้งสิ้น หรือสงสัยในพระพุทธคุณซึ่งมีอยู่ ๙
ประการ คือ

๑. พระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส ในพระคุณบทว่า
"อรหำ"
๒. เป็นผู้ตรัสรู้ธรรมเองโดยชอบ ในพระคุณบทว่า "สมฺ
มาสมฺพุทฺโธ"
๓. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และการปฏิบัตอ
ิ ย่าง
ประเสริฐ ในพระคุณบทว่า "วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน"
๔. เป็นผู้เสด็จไปด้วยดีแล้ว ในพระคุณบทว่า "สุคโต"
๕. เป็นผู้รู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สัตวโลก โอกาสโลก สังขาร
โลก ในพระคุณบทว่า "โลกวิทู"
๖. เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม ในพระคุณ
บทว่า "อนุตต ฺ โร ปุริสทมฺมสารถิ"
๗. เป็นศาสดาของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย ใน
พระคุณบทว่า " สตฺถา เทวมนุสฺสานำ"
๘. เป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจโดยถูกถ้วน และสามารถยังสัตว์
ทั้งหลายให้รต ู้ าม ในพระคุณบทว่า " พุทฺโธ"
๙. เป็นผู้มีบุญญาธิการอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ในพระคุณ
บทว่า "ภควา"

มีความสงสัยในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่ง
สอนไว้นั้นว่าจะเป็นจริงไปได้หรือ
อัน
ได้แก่มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เป็นต้น เพราะการ
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมดาสามัญก็พอมองเห็น แต่
มรรค ๔ ผล ๔ คือโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตมรรค
และผลนั้น เป็นการทำาลายล้างกิเลสให้ออกไปจากจิตใจ
ตั้งแต่ออกไปเล็กน้อยจนถึงออกไปหมดจดสิ้นเชิง จน
บังเกิดผลแก่ผู้ปฏิบัตินั้นจะจริงหรือ จะเป็นไปได้
อย่างไรกัน ยิ่งนิพพานด้วยแล้วก็ไม่เห็นแสดงว่าเป็น
อะไรสักอย่าง ก็ไม่เห็นใครอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ขึ้นมาให้ดูได้ ให้ใกล้ชิดจนหายสงสัยได้สักที มีก็แต่
พูดจาแวดล้อมเทียบเคียงเอาเท่านั้นเอง ทั้งผู้พูดผู้แสดง
ก็มิได้ประกาศออกมาว่าตัวถึงนิพพานแล้ว เลยกลาย
เป็นความเพ้อฝันของบุคคลผู้หาปัญญาพิจารณามิได้ไป
เสีย
นอกจากธรรมอันเป็นเบื้องสูงแล้ว

จึงมีความ
สงสัยแกมไม่เชื่อเอาไว้ในใจเห็นว่าเป็นสิ่งพ้นวิสัย เช่น
ในการแสดงถึงเรื่องยักษ์ เรื่องมาร เรื่องพระยานาค
เรือ
่ งนรกสวรรค์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม
ที่ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ เหมือนกับนิทานเล่าให้ฟัง
กันเล่น หรือเพื่อฟังให้เป็นคติสอนใจ หรือขู่เอาไว้ให้คน
กลัวจะได้ไม่ทำาบาป จะเป็นไปได้หรือ มีจริงได้อย่างไร
หรือสงสัยในพระธรรมคุณอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ดีแล้ว ว่าจะนำาออกจากทุกข์ได้จริงหรือจะรู้เห็นกัน
ได้อย่างไร ในบทที่ว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คือ "สวา


กฺขาโต"
เป็นธรรมอันบุคคลพึงเข้าไปเห็นเอง คือ "สนฺทิฏฺฐิโก"
เป็นธรรมอันไม่มีกาล คือ "อกาลิโก"
เป็นธรรมอันจะให้ผู้ใดพิสูจน์เห็นจริงได้ คือ "เอหิปสฺสิ
โก"
เป็นธรรมที่มีอยู่อันบุคคลพึงน้อมเข้ามาเอาใส่ใจได้ คือ
"โอปนยิโก"
เป็นธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตัว คือ
"ปจฺจตฺตำ เวทิตพฺโพวิญญูหิ"

สงสัยในพระสงฆ์ ในที่นี้หมายถึงอริยสงฆ์ ไม่ใช่สงฆ์


ปุถุชน คือสงสัยว่า พระอริยสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าผู้ซึ่งได้
ปฏิบัติดีแล้ว "สุปฎิปนฺโน" มีจริงหรือ
ผู้ปฏิบัตติ รงแล้ว "อุชุปฎิปนฺโน" มีจริงหรือ
เป็นผู้มุ่งต่อพระนิพพานแล้ว "ญายปฎิปนฺโน" มีจริงหรือ
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว "สามีจิปฎิปนฺโน" มีจริงหรือ
เป็นผู้ควรสักการะ "อาหุเนยฺโย" มีจริงหรือ
เป็นผู้ควรต้อนรับ "ปาหุเนยฺโย" มีจริงหรือ
เป็นผู้ควรทักษิณาทาน "ทกฺขเิ ณยฺโย" มีจริงหรือ
เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม "อญฺชลีกรณีโย" มีจริงหรือ
เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า "อนุตต
ฺ รำ
ปุญฺญกฺเขตฺตำ โลกสฺส" มีจริงหรือ
.

ความสงสัยไม่เชื่อใจในสิกขา ๓ ซึ่งได้แก่
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเอาไว้
ว่าจะมีผลานิสงส์ได้จริงอย่างไร การประพฤติปฏิบัติใน
สิกขาทั้ง ๓ นี้ จะช่วยนำาให้บุคคลล่วง้นจากทุคติภูมิ คือ
ที่จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉาน ได้รับความทุกข์ยากลำาบากทรมาน เพียงแต่
รักษาศีล เจริญสมาธิ ทำาจืตใจให้บังเกิดปัญญา

การศึกษาการปฏิบัติในสิกขาทั้ง ๓ นี้แล้ว จะเป็นทาง


นำาให้ไปสู่ภูมิทมี่ ีความเจริญตาเจริญใจในอนาคตชาติ
หน้าจริงอย่างใด อำานาจอะไรที่จะนำาให้ไปเกิดเป็น
เทวดาเป็นพรหมได้ นิพพานอยูท ่ ี่ไหน มีจริงหรือเปล่า
ผู้สงสัยตั้งข้อคำาถามต่างๆ ด้วยความไม่แน่ใจ พร้อมทั้งมี
ความไม่เชื่อแอบแฝงอยู่ด้วย
ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า ในบางคราวผู้ตั้งคำาถามมิได้มีความ
ปรารถนาจะทราบสักเท่าใด หากแต่ต้องการจะเอาชนะ
ต้องการจะให้ผต ู้ อบจำานนต่อถ้อยคำามากกว่า เพื่อแสดง
วาทะอันเปรื่องปราชญ์ และความสามารถของตน เมือ ่
ค้นหาความจริงจากท่านผู้นี้ไม่ได้ ก็จะดั้นด้นค้นหาคน
ต่อไป และต่อไป แต่จะไม่ยอมหันหน้าเข้ามาศึกษาจริงๆ
เลย ผู้เอาแต่การซักถามเหล่านี้ผมเคยเจอมาหลายคน
แล้ว ผมชวนให้มาเรียนก็ไม่ยอมมา ให้หนังสือไปอ่านก็
เปิดดูนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็วาง

คือมีความสงสัยว่า
ในอดีต คือชาติก่อนๆ นั้น ตนเคยเกิดมาแล้วหรือไม่
เมือ
่ ชาติก่อนนี้เรามีขันธ์ ๕ คือ มีรุป มีนาม ซึ่งได้แก่รูปที่
ประชุมกันเป็นร่างกายของเรา เวทนา การเสวยอารมณ์
ทุกข์สุขต่างๆ สัญญา คือการจดจำาและเก็บการกระ
ทำาเอาไว้ทั้งสิ้น สังขาร ปรุงแต่งให้เป็นคนที่มีความโลภ
ความโกรธ เป็นต้น วิญญาณ คือความรู้อารมณ์ต่างๆ
มาหรือ เรามีอายตนะที่ตั้ง ที่ประชุม ที่ก่อให้เกิดอารมณ์
ต่างๆหรือไม่ เช่นมี
ได้แก่ จักขุปสาท คือประสาทตา อัน
เป็นอายตนะภายใน
ได้แก่ รูปารมณ์(สี) คือ คลื่นของแสงที่
สะท้อนจากภาพมากระทบกับตา อันเป็นอายตนะ
ภายนอก
ได้แก่ จิตทั้งหมด
อายตนะเหล่านี้เข้าร่วมประชุมหรือจรดพร้อมกันแล้ว
ก่อให้เกิดจักขุวิญญาณคือ " "ขึน
้ มาได้ ในอดีต
ชาติก่อนมีหรือเปล่า ถ้ามี มีได้อย่างไร นอกจากทางตา
แล้วก็ยังสงสัยไปถึงอายตนะที่เหลือคือ ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย และทางใจด้วย
ความสงสัยเรื่องธาตุก็คือ ธรรมชาติหรือปรากฏการณ์
ของธรรมชาติเท่านั้นมิใช่หรือ ไม่มตี ัวตน คน สัตว์ อะไร
สักอย่าง อาศัยปรากฏการณ์ของธรรมชาติเหล่านี้ ก่อให้
เกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาได้ คือ
ซึ่งได้แก่ ประสาทตา
ซึ่งได้แก่ สีตา่ งๆ
ได้แก่ การเห็น (หรือ จักขุ
ธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ มโนธาตุ มโน
วิญญาณธาตุ )

รวมทั้ง ๓ ประการนี้ประชุมกันจึงก่อให้เกิดการ
" " หาคนสัตว์ และสิ่งของใดๆ ไม่พบเลย เพราะ
จักขธาตุก็ไม่ใช่คน รูปธาตุซึ่งได้แก่คลื่นแสงก็ไม่ใช่คน
จักขุวิญญาณธาตุคือการเห็นก็หาใช่คนไม่
อีกนัยหนึ่ง ธาตุนั้นมีอยู่ ๑๘ ได้แก่ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖
วิญญาณ ๖ ความรู้ต่างๆ เกิดขึ้นมาได้จาก ทวาร
+อารมณ์ +วิญญาณ เหล่านี้มีในชาติก่อนหรือไม่ ถ้ามีจะ
มีได้อย่างไร เป็นการสงสัยในอดีต

สงสัยในขันธ์ อายตนะ ธาตุ คือตัวตนของเรา หรือที่


ประชุมกลุม่ ก้อนเป็นตัวเรานี้ว่า จะต้องมีขึ้นอีก หรือจะ
เกิดขึ้นมาใหม่ในภพหน้าได้หรือไม่ ถ้ามีจะมีได้อย่างไร

สงสัยว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันได้แก่สภาพตัวตนคน


สัตว์ที่ประชุมกลุ่มก้อนนี้ ในอดีตเคยเป็นเคยเกิดมาแล้ว
ในอนาคตจะเป็นจะไปเกิดอีกได้หรือไม่

ชีวิตร่างกายของสัตว์ทั้งหลายรวมกันเข้าทั้งหมด ก็เรียก
ชื่อกันไปต่างๆ มากมาย แต่เมือ
่ แยกออกย่อๆ ก็มอ
ี ยู่ ๒
เท่านั้น

ชีวิตร่างกายที่ประชุมกลุม
่ ก้อน
นี้ ก็จะต้องอายเหตุปัจจัยของที่ประชุมกลุ่มก้อนในอดีต
และกลุ่มก้อนที่ประชุมกันขึ้นมาเป็นผลในอนาคต ก็จะ
ต้องอาศัยเหตุปัจจัยในปัจจุบันเกี่ยวโยงกันเป็นลูกโซ่
ไม่ขาดสาย เป็นปัจจยาการดังนี้ คือนัยแห่งปฏิจจสมุ
ปบาท ท่านทั้งหลายจะได้ศึกษาโดยละเอียดต่อไปข้าง
หน้า ซึ่งจะได้เหตุผลข้อเท็จจริงของชาติอดีตและชาติ
อนาคตโดยละเอียดพิสดาร
บุคคลผู้สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ก็จะสงสัยเหตุปัจจัยที่
เกี่ยวเนื่องกันนี้จากชาติอดีตและไปถึงชาติอนาคตว่าจะ
เป็นไปได้อย่างไร จะมีสิ่งใดบ้างไม่ได้หรือที่เกิดขึ้นมา
โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย เช่นไม่เกี่ยวกับชาติก่อนเลย
สักนิด พ่อแม่สมสูอ ่ ยู่ด้วยกันต่างหากเด็กจึงเกิดขึ้นมา
อาศัยเหตุตื้นๆ เผินๆ เพียงเท่านี้ บางทีบางคนก็มีความ
เชือ
่ เสียแล้ว และความสงสัยเกิดขึ้นโดยมิได้เแก้ความ
สงสัย คือศึกษาเล่าเรียนเสียให้ดีของบุคคลเหล่านี้
วิจิกิจฉาความสงสัยก็จะติดตามตัวไป จนถึงแก่ความ
ตายไปด้วยกัน แล้วก็ไปตั้งต้นสงสัยกันในชาติหน้าต่อ
ไปอีก
ผมขอให้ท่านนักศึกษาจำาไว้ด้วยว่า

ส่วนความ
สงสัยในประการอื่นที่นอกจากทั้ง ๘ ประการนี้ หาใช่
วิจิกิจฉาในโมหมูลจิตไม่

แปลว่า ประกอบไปด้วย
ความฟุ้งซ่าน หมายถึงจิตซัดส่ายไปมาในอารมณ์ต่างๆ
จับอารมณ์ไม่มั่นคง ในเรื่องของความฟุ้งซ่านนั้นมอง
เห็นง่าย เพราะเกิดขึ้นแก่ทุกคน มากบ้างน้อยบ้าง เช่น
ในเวลานอนไม่หลับ เพราะจิตคิดฟุ้งซ่านเกิดอารมณ์ตั้ง
ร้อยตั้งพันอย่าง แต่ก็ไม่ค่อยได้เรื่องราวอะไร บางท่าน
จิตคิดฟุ้งซ่านนอนไม่หลับจนดึกดื่นเลยเที่ยงคืนไปก็มี
บ่อยๆ บางท่านเป็นเช่นนี้เป็นประจำาจนอิดหนาระอา
ใจถึงกับโกรธแค้นตัวเองที่บังคับให้หลับไม่ได้ตามที่
ปรารถนา
เพราะจิตดวงนี้
เป็นจิตหลง ความไม่รู้ในเหตุผลจึงมิได้เกิดขึ้นโดย
อำานาจจูงใจทุกอย่าง ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ
ใครทั้งสิ้น

ด้วยเหตุที่มีความโง่ ความหลง ประกอบกับความ


ฟุ้งซ่าน ดังนั้นจึงไม่อาจเกิดความยินดีแม้แต่เพียงเล็ก
น้อย และไม่อาจเกิดความไม่ยินดี แม้แต่เพียงนิดหน่อย
ทั้งไม่เฉียดเข้าไปใกล้โลภะ และไม่มที างใกล้ชิดกับโทสะ
ด้วย เพราะความโง่ไม่รเู้ ท่าทันตามสภาวธรรม จิตจึงตก
อยู่ในความเฉยๆ เป็นอุเบกขา

นอกจากนั้นด้วยเหตุที่จต ิ ดวงนี้ไม่มีความเข้าใจใน
อารมณ์เลย ด้วยตกอยู่ในความโง่ ความหลงอันเป็นพื้น
ฐานของจิตเอง ดังนั้นจิตดวงนี้แม้จะเป็นอกุศลก็มิได้มี
ทิฏฐิ ซึ่งได้แก่ความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะความ
เห็นผิดจะต้องอาศัยเกิดกับความยินดี แม้ไม่มากก็ตอ ้ ง
เล็กน้อย แต่จต ิ นี้มีแต่ความรู้สึกเฉยๆ ความเห็นผิดจึง
ไม่อาจเกิดร่วมด้วยเลย

. การกระทำาใจไม่
แยบคาย
. มีอาสวะเป็นเหตุให้เกิด

โมหะจะปรากฏขึ้นมาได้ก็ในขณะที่เกิดอารมณ์ขึ้นตาม
ทวารต่างๆ ด้วยอำานาจของรูปและนามเกิดดับโดย
รวดเร็ว ด้วยอำานาจของการกระทำาในใจที่ไม่แยบคาย
หรือจากการที่มิได้พิจารณาด้วยดี โมหะก็จะเกิดขึ้นแล้ว
ก็จะหลงใหลไปในอารมณ์เหล่านั้นด้วยจับความจริงอัน
เป็นปัจจุบันไม่ทัน ทั้งอารมณ์ทเี่ กิดก็รวมๆ กันมาเป็นก
ลุ่มก้อน ปัญญาที่จะตีให้แตกไม่มี จึงได้ยึดอดีตและ
อนาคตซึ่งเป็นมโนภาพว่าเป็นจริงเป็นจัง
โมหะจะเกิดขึ้นเนื่องจากขาดการคิดพิจารณา ทำาในใจ
ไม่แยบคายในเหตุผลต่างๆ ทีเ่ ผชิญอยู่ต่อหน้า หรือใน
ปัญหาที่เกีย
่ วแก่ชีวิต หรือไม่เคยได้คิดพิจารณาจึงไม่
ทราบความเป็นมาหรือความเป็นไปของชีวิตอย่างใดเลย
เรือ
่ งเวรเรือ
่ งกรรม เรื่องตายเรื่องเกิด เรือ
่ งสวรรค์ นรก
ก็มิได้มีความสนใจ ได้แต่คิดรื่นเริงสนุกสนานไปวัน
หนึ่งๆ เหมือนเด็กเล็กๆ เมื่อปัญญามิได้ถูกสร้างสมให้
เกิดมี ความลังเลสงสัยจึงได้มาก ความฟุ้งซ่านจึงเสื่อม
คลายได้ยาก
ท่านผู้ศึกษาทั้งหลายย่อมจะเป็นพยานได้ดีในข้อนี้ว่า
เมือ่ ได้ศึกษาปรมัตถสัจธรรมพอมีความเข้าใจได้ปัญญา
ในปัญหาของชีวิตบ้างแล้ว จิตใจก็จะรู้สึกมีความแจ่มใส
เบาสบายขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างน่าอัศจรรย์ เรื่องสงสัย
ต่างๆ ที่เร้นลับอันเกีย
่ วกับปัยหาของชีวิตค่อยๆ ลดลง
สิ่งกระทบกระเทือนใจซึ่งแต่ก่อนๆ พูดได้ว่าหนาแน่นที
เดียว แต่บัดนี้กลับค่อยๆ น้อยลงๆ จิตใจที่เคยเศร้า
หมองว้าเหว่ ในบางคราวมองเห็นชีวิตนี้ไม่มีความ
หมายอะไรเลย แล้วก็เกิดเบื่อหน่ายในเรือ ่ งของชีวิตเป็น
ที่สุด

ด้วยได้พบที่พึ่งอัน
สถาพร เห็นหนทางอันเป็นทางเอก และมีอยู่สายเดียวที่
จะไปถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ทั้งนี้ก็อาศัยการทำาใจได้
แยบคาย คิดพิจารณาปัยหาต่างๆ ที่เกีย ่ วข้องกับชีวิตได้
ประณีตขึ้น

.
ดังที่เรียกกันว่า
สามารถทำาอะไรๆ ได้ แม้เรื่องจะเลวร้าย
ที่สุดก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะตกอยู่ภายใต้อำานาจความ
มึนเมาของฤทธิ์สร ุ า แต่อย่างไรก็ดี ความมึนเมานั้นอาจ
ปรากฏขึ้นมาให้ได้เห็น ให้ได้ยิน ให้ได้รู้สึก แต่ยากที่จะ
ทราบได้ว่า ความเมานั้นอยู่ทต ี่ รงไหน ท่านทั้งหลาย
ทราบหรือไม่ว่าความเมานั้นอยู่ตรงที่ใด
บุคคลทั้งหลายก็ตกอยู่ภายใต้อำานาจของอาสวะ คือ
ตัวการที่ทำาให้ชีวิตต้องพัวพันอยู่ในความเร่าร้อน
เหมือนกัน จึงได้ใช้คำาเปรียบเทียบอาสวะว่าเป็นสิ่งหมัก
ดองของเมา ด้วยเหตุที่ว่ามันมีความสามารถทำาให้เกิด
ความหลงใหลมัวเมาต่างๆ คือหมักดองซ่อนเร้นไว้อย่าง
มิดชิดซึ่งกามคุณอารมณ์ในจิตใจ

ถ้าชาติกอ
่ นๆ ได้สั่งสมอบรมความเห็นแก่ตัวไว้มาก ทั้ง
ในชาตินี้ก็อบรมเพิ่มเติมอีกมิใช่น้อย ก็จะเป็นเหตุทำาให้
เกิดความติดอกติดใจเหนียวแน่นยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างที่
เห็นชัดก็คอื ในเรื่องเงินทอง เห็นว่าเป็นของมีค่าเหลือ
หลาย เมือ่ มัวเมาติดใจเหนียวแน่นดังนี้แล้ว

เพื่อให้ได้เงินทอง
มาโดยมิชอบ อาจปล้น อาจจี้ ล่อลวง ตลบแตลง หรือถึง
ฆ่าฟันกันตาย เพื่อช่วงชิงผลประโยชน์เอามาเป็นของ
ตน

ความเห็นที่ผิดไปจากความจริงตามสภาวธรรม หรือ
มิได้เป็นไปตามธรรมชาติก็เป็นเครือ ่ งดองของเมาที่
แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ ทำาให้เกิดความหลงใหล
ไปได้เหมือนกัน เช่นชาติก่อนๆ เคยสั่งสมอบรมว่าสัตว์
ทั้งหลายในโลกนี้ หรือสรรพสิ่งสารพัดทั้งปวงที่เกิดขึ้น
มาได้ก็ล้วนแต่เป็นฝีมือของพระผู้เป็นใหญ่ในสรวง
สวรรค์ หรือเป็นฝีมือของพระพรหม หรือสิ่งศักดิ์สท ิ ธิ์
เป็นผู้จัดสรรค์ดลบันดาลขึ้นมาทั้งสิ้น แม้ทุกข์สุขต่างๆ
ที่สต
ั ว์ทั้งหลายได้รับก็เป็นฝีมือพระองค์ด้วย
เมือ
่ มีความมั่นใจติดตัวมาแต่อ้อนแต่ออก ประกอบทั้ง
การอบรมในชาตินี้มาเสริมต่อ

เมือ
่ มีผู้ใดมาแสดงว่า
ไม่มีใครในสรวงสวรรค์ ไม่มีพระพรหมหรือสิ่งศักดิส ์ ิทธิ์
ใดๆ จะมาบันดาลได้ทั้งนั้น ธรรมชาติทั้งหลายมิได้เกิด
ขึ้นมาได้ด้วยการดลบันดาลของใคร หากแต่อาศัยเหตุ
ทำาให้เกิดขึ้น แต่บางเหตุนั้นลึกซึ้งต้องศึกษามากจึงจะ
เข้าใจ และเมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยแล้วก็จะสลายตัวไป
ใครจะบังคับบัญชาหาได้ไม่ ทั้งรูปต่างๆ หรือนามอัน
ได้แก่จิตใจย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เมือ่ ได้ฟังดังนี้ อำานาจของเครื่องดองของเมาทีอ
่ ยู่
ภายในใจ ซึ่งก็คือ ความเห็นผิดที่เก็บ
สะสมไว้ในจิต ก็จะมากระตุ้นเตือนใจให้รู้สึกไม่สบายใน
ความเห็นที่ไม่ตรงกับของตัว แล้วก็จะลุกขึ้นโต้ตอบ
คัดค้าน และเอาชนะให้ได้ด้วยความมั่นคงในอุดมการณ์
ที่ได้สร้างสมอบรมมา

เป็นจิตทีม
่ ีความหลงเข้าครอบงำา
และที่หลงงมงายไม่รู้ความจริงตามสภาวธรรมนั้น ก็
เพราะมีโมหเจตสิกเข้ามาเกิดร่วมด้วยและเป็นประธาน
. มีความไม่รู้เป็นลักษณะ
. มีการปกปิด
ไว้ซึ่งสภาวะแห่งอารมณ์เป็นกิจ
. มีความมืดมน
เป็นผล
. มีการ
ไม่ได้พิจารณาอารมณ์นั้นๆ ด้วยดี เป็นเหตุใกล้

ผมได้เคยแสดงไปแล้วว่า เจตนาก็คือกรรม และเจตนา


กรรมที่ว่านี้ อาจจะเป็นทางกาย ทางวาจา ทางใจก็ได้
หรือจะว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ได้ คืออารมณ์ที่
เกิดขึ้นตามทวารต่างๆ นั้นเป็นกรรม เป็นบาปหรือเป็น
บุญ เช่นเห็นรูปที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เพราะด้วยอำานาจ
ของโมหะหรืออวิชชามาสกัดกั้นปิดบังความจริงเอาไว้
จึงได้เห็นเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นสิ่งของต่างๆ เป็นขาว ดำา
อ้วน ผอม สวยหรือไม่สวย เกิดความชอบอกชอบใจ
อยากได้หรือไม่พอใจ โกรธ เกลียด

คือ ถ้า
สิ่งทีเ่ ห็นนั้นเป็นสิ่งที่ดท
ี ี่น่าชอบใจของตน ก็จะเกิด
ความยินดีติดใจขึ้น จึงได้เป็นโลภะ แต่ถ้ามีความยินดี
ติดใจมากๆ อำานาจโลภะก็จะสูงขึ้น กำาลังอำานาจโลภะที่
มากๆ นี้เอง ย่อมจะก่อให้เกิดการกระทำาทีร ่ ุนแรงขึ้น จะ
มีความสามารถทำาทุจริตได้อย่างง่ายดาย เช่น อยากจะ
ซื้อรถยนต์คันใหม่ๆ สวยๆ ใช้สักคันหนึ่ง แต่สตางค์ก็ไม่
ค่อยพอ จึงได้ทำาทุจริตหาหนทางคดโกงจนได้ โดยคิด
ว่าตัวเองฉลาดเฉลียว การกระทำาดังนี้เป็นผลดีมีกำาไร
หรือร้ายทีส ่ ุดยิ่งกว่านั้น จนถึงรบราฆ่าฟันกันตาย เพื่อ
ช่วงชิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกันก็ได้ เช่น แย่งมรดก
จนถึงจ้างให้ไปฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคิดทำาฆาตกรรม
อำาพราง ตลอดไปจนถึงการสงครามตามท้องถิ่นหรือ
สงครามใหญ่ฆา่ กันตายเป็นแสน เป็นล้าน เพือ
่ ยื้อแย่ง
แข่งดีกันในทางเศรษฐกิจ

บางครั้งก็หลงใหล
มัวเมาจนโงศีรษะไม่ขึ้นเลย ต่ออารมณ์ที่ตนเห็นไปตาม
ประสาโง่ๆ ว่าดีที่สุดของตน เช่นหลงเล่นการพนันต่างๆ
มีเล่นไพ่ เล่นแข่งม้า ไปจนถึงดื่มสุรายาเมา หรือยาเสพ
ติดให้โทษต่างๆ โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นผลดี ชีวิตนี้มี
กำาไรมากมาย

ประเดี๋ยวหน้าซีด ประเดี๋ยวหน้าแดง ประเดีย ๋ วดีใจ


ประเดี๋ยวเสียใจ บางคนเป็นหนี้สินรุงรังจนต้องเอาข้าว
ของออกขาย หรือไปจำานองจำานำาจนทุกข์รอ ้ นนอนไม่
หลับ แต่ก็อดเล่นไม่ได้สักที บางคนที่ดินหมดไปเป็นแป
ลงๆ บางคนเล่นอยู่ได้สองวันสองคืนไม่ง่วงนอนเลย
บางคนแก่หง่อมแล้วเล่นได้ทุกวัน ลูกหลานจะห้าม
ปรามเท่าไรก็ไม่ฟังเสียง และผมได้เคยเห็นคนที่หากิน
ทางเล่นไพ่แสดงวิธีโกงได้อย่างฉับไวแนบเนียน เทีย ่ ว
ได้ไปต้มคนทั้งเมือง แต่ก็ไม่เห็นทีร
่ ำ่ารวยถาวรจริงๆ สัก
คน ผูเ้ ล่นทั้งหลายมีความสนุกสนาน ด้วยอำานาจโลภะ
และโมหะหนุนเนื่องอยูต ่ ลอดเวลา ถ้าเสียเปรียบก็มี
โทสะ โมหะ คุกรุ่นอยู่ภายใน จนถึงแสดงออกมาให้ได้
เห็น สลับกันไปอยู่เช่นนี้
เมื่อ
มีเพื่อนคนหนึ่งในที่นั้นพูดว่า "ไม่ดื่ม" เท่านั้น เพื่อนฝูง
ทั้งหลายก็พากันฮาครืนใหญ่ ราวกับนัดกันไว้ หลายคน
พูดว่า หน้าตัวเมีย บางคนล้อเลียนต่างๆ นานา เช่นให้
ไปบวชเสีย ให้ไปเป็นฤาษีเสีย ให้ไปอยู่ป่าเสีย บางคนว่า
เสียชาติเกิด และบางคนอุตส่าห์ประคองแก้วเหล้าเข้าไป
จนถึงปาก แล้วก็พรรณนาถึงคุณค่าว่าสุรานั้นเลอเลิศ
เสียยิ่งแล้ว เขาไม่รเู้ ลยว่าเขาทำาอะไรไม่ดีลงไป เขาไม่
ทราบว่าผลจากการกระทำาดังกล่าวนี้ จะมีอะไรตามหลัง
มามากสักเท่าใด

ตามตัวอย่างที่ผมได้ยกขึ้นมาเหล่านี้ ใครๆ ก็ทราบว่า


เป็นสิ่งที่ไม่ดี ใครๆ ก็ทราบว่าไม่สมควรจะกระทำา

เมือ

เกิดความเคยชินจนติดเป็นนิสัย ประกอบทั้งอำานาจ
บังคับบัญชาใจของตนเองก็อ่อน ทั้งอกุศลชนิดโลภะ -
โมหะ มาหนุนเนื่องอยู่ภายใน
บางทีกลับลึกลงไปๆ จนยากแก่การที่
จะแก้ไขแล้วกลับตัวได้
มีสุภาพสตรีผหู้ นึ่งเล่าให้ผมฟังว่า หมอได้ตรวจสามีของ
เขาว่าเป็นโรคตับแข็ง

ผมจึงได้ถามว่า สามีเป็นโรค
ตับแข็งแล้วทำาไมจึงหัวเราะชอบใจ อยากให้สามีป่วย
เจ็บหรือ เขาบอกว่า อยากให้ป่วยเจ็บจริงๆ โดยได้ตั้งจิต
อธิษฐานมานานแล้ว ขอให้สามีป่วยเจ็บหนักสักที แต่
ขออย่าให้ถึงตายเลย บัดนี้ ก็ได้ป่วยเจ็บสมใจแล้ว จึงมี
ความดีใจ
เขาได้เล่าให้ผมฟังว่า สามีของเขาเป็นคนติดสุรา ดืม ่
มากแล้วเมาเสมอทุกๆ วัน เวลาเมาสุราแล้วหาเรื่อง
ทะเลาะ และอาละวาด ลูกเต้ารอหน้ากันไม่ติด ต่างก็อิด
หนาระอาใจไปตามๆ กัน แต่ก็ไม่ทราบว่าจะทำาอย่างไร
เคยหาหนทางมามากแล้ว เวลาไม่เมาละก็แสนจะดี ผู้
หลักผู้ใหญ่แม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าที่นับถือจะขอร้องสัก
เท่าใด ก็ไม่มีทางสำาเร็จเลย เกิดโรคภัยไข้เจ็บหนักๆ
ดังนี้ดี กลับใจได้แล้ว เพราะหมอได้บอกว่า ถ้าขืนกิน
เหล้าอีกอายุก็จะสั้นมาก เขาเองก็รู้สึกตัวในคราวนี้
เพราะความกลัวตายนั่นเอง
ตั้งแต่ออกมาจากโรงพยาบาลแล้ว ยังไม่เคยได้แตะต้อง
เหล้าเลยแม้แต่สักนิด เพื่อนฝูงคอเดียวกันรอหน้าไม่ตด

พากันบ่นว่าเสียดายเหลือเกิน ขาดคนคอแข็งไปเสีย
แล้ว คราวนี้เห็นทีเขาจะเลิกได้จริงๆ ดิฉันเองก็รักเขา
มาก มีลูกด้วยกันก็หลายคน อยากให้เขาได้อารมณ์ดีๆ
เมือ่ ใกล้จะตายจะได้เอาไว้เป็นที่พึ่ง ดิฉันได้เรียนพระ
อภิธรรมมานานแล้ว กลัวเหลือเกินว่าเขาจะไปเกิดเป็น
คนปัญญาอ่อน เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือลงนรกไปเลย
ตามที่อาจารย์เคยบรรยายไปแล้ว เวลานี้เหลืออีกเปลาะ
เดียวเท่านั้น คือ ทำาอย่างไรจึงจะให้เขาเข้าหาธรรมได้
ผู้ที่กระทำากรรมอะไรเอาไว้ ก็จะได้รับผลจากการกระ
ทำานั้นเป็นแน่นอน ผู้ทม ี่ ีกำาลังแรงของเจตนาอย่างไร
อำานาจของเจตนาที่มก ี ำาลังนั้น ก็ย่อมจะผลักส่งไปยังที่ๆ
เขาต้องการโดยไม่ตอ ้ งสงสัย ขอแต่เวลาให้เพียงพอ
เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง

เช่น หวังให้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นหมดไป มีคดโกง


เป็นต้น ความปรารถนานี้ก็จะนำาไปสู่การเป็นเปรต และ
อสุรกายทีอ่ ดอยากลำาบากได้รับทุกข์ทรมานตามที่
ต้องการให้ทรัพย์ของผู้อื่นพินาศไป ตามที่ได้กระทำาลง
ไปแล้วในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์
อำานาจของอกุศลโลภะก็จะทำาให้อดอยากยากจนทุกข์
ยากลำาบากในเรือ ่ งทรัพย์สมบัติ

เมือ
่ ตายลงแล้ว
อย่างเบาถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นพวกใบ้ บ้า
ปัญญาอ่อน เป็นคนไม่ค่อยจะเต็ม
ทำาลาย
ชีวิตสัตว์หรือมนุษย์ให้ตกล่วงไป มีความปรารถนาให้
สัตว์ได้รับความเจ็บปวดและอายุสั้นและตายไปโดยเร็ว
ก็จะได้รับผลแห่งความปรารถนานั้น เพราะจะต้องไป
เกิดในนรกทีม ่ ีแต่ความเร่าร้อน เจ็บปวดทรมาน ทั้ง
ชีวิตก็ไม่ยืนยาว เกิดและตายในที่นั้นบ่อยๆ ซึ่งเป็นไป
ตามความต้องการของตนเอง ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะ
เป็นคนมีโรคภัยประจำาตัวสามวันดีสี่วันไข้ ต้องรักษา
ตัวกินหยูกกินยาเป็นประจำา ต้องเข้าโรงพยาบาลเสมอ
ต้องผ่าตัดหลายครั้ง บางคนเจ็บป่วยทุพพลภาพตลอด
ชีวิต

โดยทำานองเดียวกันนี้

ถ้าหากผู้หลงใหลไปใน
ทางต่างๆ มิได้คิดพิจารณา มิได้มีความสำานึกรู้สึกตัว
ไม่รจ
ู้ ักบาปบุญคุณโทษ ไม่รู้จักดีรู้จักชั่ว หลงใหล
เพลิดเพลินไปในบาปอกุศลตลอดกาลนาน

ดังพระบาลีว่า

แปลว่า
สัตว์ทั้งหลายย่อมไปเกิดเป็นเดรัจฉาน ด้วยอำานาจแห่ง
โมหะ เพราะเป็นสภาพที่ยังสัตว์ให้ลุ่มหลงงมงายอยู่
เสมอ
ความจริงในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ก็ได้แสดงความ
ปรารถนาที่จะเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่แล้วโดยปริยาย
หรือไม่ก็ทำาตัวใกล้กันอยู่แล้ว การแสดงออกของบาง
ท่านเราก็จะสังเกตเห็นได้ เช่น ชอบกินเหล้าเมามายอยู่
เกือบทั้งวัน ขาดความสำานึกรู้สึกผิดชอบชั่วดี หาเรือ ่ ง
กับสามีภรรยาอยู่เป็นประจำา เกะกะระรานชาวบ้านร้าน
ถิ่นอยู่เสมอๆ เดินโซเซไปมาด้วยขาดความรูส ้ ึกตัว
บางทีก็นอนอยู่บนทางเดินเท้าที่คนทั้งหลายเขาผ่านไป
มา ใครได้เห็นก็เกิดความสังเวชสลดใจ กำาลังของ
เจตนาที่ปรารถนาความไม่มีสติปัญญาดังกล่าว ก็จะ
สั่งสมเพิ่มเติมลงไปอยู่ในจิตใจเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อชีวิตสิ้น
สุดลงเมื่อใด ความเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มีหวังได้

ผู้ที่มิได้ขาดสติถึงอย่างนี้ ยังมีโอกาสคิดพิจารณาบ้าง
เป็นบางคราว แต่ก็อดดื่มให้เมามาย ให้สติออ ่ นลงไปไม่
ได้ ด้วยความติดใจหลงใหลในความมึนเมาเหล่านั้น ถ้า
หากว่าเขาจะสิ้นชีวิตลงไปเมือ ่ ใด กำาลังอำานาจที่เขา
ปรารถนาเหล่านั้นมีกุศลเข้าไปร่วมด้วย แต่เป็นกุศลที่
พัวพันด้วยโมหะจึงมีกำาลังอ่อน กุศลนี้ก็ช่วยส่งให้เขาไป
เกิดยังภูมิมนุษย์ หรือเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา(เทวดา
ชั้นตำ่า) ให้เป็นคน หรือเป็นเทวดาที่มส
ี ติวิปลาส คือเป็น
ใบ้ เป็นบ้า หรือปัญญาอ่อน ไม่บริบูรณ์ในเรื่องจิตใจ
เป็นผู้ที่เอาเรื่องเอาราวอะไรไม่ได้เลย

บาป
บุญ ดีหรือชั่ว ไม่ได้คิด ผู้ใดกระทำาจิตของตนให้หันเห
เข้าไปในสายทางของสัตว์เดรัจฉาน ก็หนีจากการไป
เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ยาก ยิ่งสั่งสมอารมณ์บ่อยๆ ใน
เวลาที่ยาวนานด้วยแล้ว ทางนี้ก็จะเป็นทางเดินสะดวก
ประตูนี้ก็จะเป็นประตูที่เปิดโล่ง ไม่มีเครือ
่ งกีดขวางเลย
จึงไหลออกไปได้โดยง่าย เป็นอัตโนมัติ
ทั้งนี้ก็เพราะตนเองก็มีความปรารถนาเช่นนั้นอยู่แล้ว
จึงได้กระทำาจิตใจให้ขาดสติอยู่ทุกวัน นั่นก็คือการสร้าง
หนทางเดินไปสู่หายนะของตนเอง โดยมิได้รส ู้ ึกตัวเป็น
เสมือนการสร้างแบบแปลนแผนผังที่จะได้ไปอยู่ เมื่อ
ชีวิตได้ถึงทีส ่ ุดลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีปัญญาทั้งหลายพา
กันสะดุ้งหวั่นไหว ไม่อาจเฉียดเข้าไปใกล้ แต่เด็กอ่อนก็
ย่อมไม่รจ ู้ ักอันตราย เด็กเล็กๆ ย่อมไม่กลัวภัยอันใด ด้วย
ตนเองไม่รู้จัก

ซึ่งถ้าคิด
พิจารณาสักเล็กน้อย ก็จะเห็นความไม่มีสาระแก่นสาร
อะไรทีจ
่ ะคุ้มค่า หรือคุ้มกับความเสียหายแม้แต่น้อยเลย

ท่านผู้ศึกษาทั้งหลาย บัดนี้ผมก็ได้แสดงเรื่องของโมหะ
ให้ท่านฟัง แสดงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องโมหะออกไปเป็น
ประเภทๆ ให้ทา่ นได้รู้จักให้ได้เห็นโมหะที่เกิดอยู่กับ
สัตว์เองเสมอๆ อย่างไร ตลอดไปจนผลทีเ่ กิดขึ้นจาก
โมหะว่าจะนำาไปเกิดได้ในที่ไหนบ้าง
ผมคิดว่าผมได้พูดกำ้าเกินอะไรไปบ้าง หรือกระทบ
กระเทือนเอาญาติ หรือมิตรของท่านผู้ใดเข้าบ้างก็อาจ
เป็นได้ ในการที่ได้ยกเอาเรื่องคนดืม่ สุรา คนเล่นไพ่ ขึ้น
มาเป็นข้ออ้างอิง ผมก็ต้องขอประทานอภัยด้วย ผมมิได้
มีเจตนาร้าย ผมได้พูดไปตามความจริง มิได้มเี จตนาที่
จะอวดดี หรือยกตนว่าดีกว่าใครๆ แล้วเจรจาทับถมผู้
อื่น เพราะในอดีตที่ผมยังมิได้ค้นคว้าศึกษาปรมัตถ
ธรรม ก็คงจะมีความประพฤติ หรือปฏิบัติตนมิได้แตก
ต่างกับท่านเท่าใดนัก แต่ถ้าท่านผู้ใดได้ฟังหรือได้อ่าน
เรือ
่ งเหล่านี้แล้วก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนใจ
จนถึงเก็บเอาไปคิดก็คงจะเกิดกุศลบ้างไม่มากก็น้อย
อกุศลจากความกระเทือนใจอาจเป็นปัจจัยให้เกิดกุศล
ขึ้นมาก็ได้ ต่อไปนี้ท่านผู้ใดจะซักถามปัญหาต่างๆ ที่ผม
ได้บรรยายไปแล้ว ก็เชิญถามมาได้

ทีอ
่ าจารย์ได้แสดงไปแล้วว่า โมหมูลจิต ๒ ดวง
นั้น ไม่ประกอบด้วยสังขารคือไม่มีการชักชวน เท่าที่ได้
บรรยายไปผมก็พอจะเข้าใจ แต่ผมกลับสงสัยต่อไปว่า
เมือ
่ มีความโลภก็ดี เมือ่ มีความโกรธก็ดี ก็ย่อมจะมีโมหะ
เข้าร่วมกับความโลภ และความโกรธด้วยเสมอไป เมือ ่ มี
โมหะเข้าร่วมด้วยดังนี้ ก็จะต้องมีการชักชวนหรือการ
ชักชวนก็ย่อมจะเกิดได้

ถูกแล้วที่กล่าวว่า โลภะกับโทสะนั้นย่อมจะเกิด
ร่วมกับโมหะด้วยเสมอไป แต่กต ็ ้องขอแยกแยะให้ท่าน
นักศึกษาทราบว่า โลภะ โทสะ กับโมหะนั้น ย่อมผลัด
กันเป็นใหญ่เป็นประธาน จะเป็นประธานพร้อมๆกันไม่
ได้ ผู้นำาต้องมีคนเดียว กัปตันย่อมมีคนเดียว ถ้ามีผู้นำา
หลายคนก็จะพาประเทศไปให้ล่มจม ถ้ากัปตันหลายคน
ไม่ชา้ ไม่นานเรือที่ใหญ่แสนใหญ่ก็จะต้องลงไปอยู่ก้น
มหาสมุทร
จิตใจก็เหมือนกัน ในขณะที่กำาลังลักทรัพย์ กำาลังเสียใจ
นั้น โลภะ โทสะผลัดกันเป็นใหญ่ โมหะเป็นแต่ตัวหนุน
เท่านั้น แต่ในบางคราว เช่นคนกำาลังเมา คนกำาลัง
หลงใหล ในขณะนี้โลภะโทสะมิได้เข้ามาเกี่ยวเลย โมหะ
เป็นตัวแสดงนำาตัวเดีนวเท่านั้น (โลภโทสะผลัดกันเข้า
มาได้) ดังนั้น การชักชวนด้วยประการใดจึงมิได้เกิดขึ้น
มา

โมหมูลจิตนั้นมี ๒ ดวง ประกอบกับวิจิกิจฉาดวง


หนึ่ง และอุทธัจจะดวงหนึ่ง ทั้ง ๒ ดวงนี้ก็เป็นจิตที่โง่
เป็นจิตที่หลง แต่ด้วยเหตุใด หรือทำาไมเมือ
่ โง่เมือ
่ หลง
แล้วจึงไม่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต คือประกอบไปด้วยความ
เห็นผิด

เหมือนเด็กเล็กไม่เคยได้แสดงความเห็นผิดแต่อย่างใด
เพราะยังเล็ก ยังไม่เดียงสา จึงแสดงเรือ
่ งบาปเรื่องบุญ
เรือ
่ งเวรเรือ
่ งกรรม เรื่องสวรรค์นรกไม่ได้ เมื่อผู้ใหญ่
บอกก็รับฟังไปกระนั้นเอง โดยไม่มีความเข้าใจ เมือ ่ มิได้
แสดงความคิดเห็นเช่นนั้น เราจะประกาศว่าเด็กคนนั้น
มีความคิดเห็นถูกกระไรได้
เด็กเล็กๆ ไม่แสดงความเห็นผิดออกมา เมือ ่ มิได้แสดง
ความเห็นผิดออกมาแล้วจะเป็นการเห็นถูกต้องก็ไม่ได้
เหมือนกัน ทัง้ นี้ ก็เพราะเด็กเล็กๆ ยังโง่ยังหลงอยูม ่ าก
ไม่มีความคิดพิจารณา กินบ้าง นอนบ้าง เล่นบ้าง ไปวัน
หนึ่งๆ ไม่มีการแสดงความเห็นทั้งผิดและถูกแต่ประการ
ใด

แต่อย่างไรก็ดี

ผมเองได้พบบ่อยๆ บางท่านเป็นผู้ทรงความรู้ มีดีกรี


หลายตัว เป็นนักวิชาการสำาคัญๆ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่
ควบคุมปกครองคนมากหลาย แม้ที่สุดเป็นมหาเปรียญก็
มีเหมือนกัน โดยเขาจะตั้งคำาถามว่า กรรมชาติก่อนมา
ให้ผลอย่างไรได้ ไม่เห็นจะมีหนทางรู้ได้แน่นอนเลย
ชาติหน้าจะมีจริงได้หรือ ใครจะไปรู้ไปเห็นได้ ใครจะ
เป็นผู้พิสูจน์ ไม่มีหวังที่ใครจะเข้าถึงเรื่องนี้ได้ ได้แต่พูด
กันไป คาดการณ์กันเอาเองไปตามเรือ ่ ง แล้วบางคนก็
พยายามยกเหตุผลในทางโลกมาทับถม โดยที่ไม่ยอม
ศึกษาหาความจริงเลย
ในสมัยโบราณมีนักปราชญ์ผู้หนึ่ง เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่ง
ดังไปทั่วทิศ ไม่เคยติดขัดในการแก้ปัญหาต่างๆ คำา
โต้ตอบปัญหาและความคิดเห็นของท่านยังเก็บเป็น
ตำารับตำารามาจนกระทั่งบัดนี้ เมือ่ มีผู้ถามท่านว่า คนเรา
ตายแล้วไปไหน ท่านตอบปัญหานี้ด้วยคำาคมว่า " เรือ ่ ง
ในโลกนี้ศึกษากันยังไม่รจ ู้ ักจบ แล้วทำาไมเราจึงจะไปหา
ทางรู้ปรโลกเล่า"

ผู้ไม่ยอมเข้ามาสู่ปรมัตถสัจจธรรม ก็ย่อมจะรู้เรื่องของ
ปรโลกไม่ได้ เพราะใช่วิสัยของใครทีจ ่ ะค้นคว้าหาความ
จริงได้ ด้วยมิใช่วิสัยของปุถุชนทั้งหลาย
โมหมูลจิตนั้น อาจารย์ว่าเป็นการนำาให้ไปสู่การ
ปฏิสนธิเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่โมหมูลจิตนั้นมีถึง ๒ ดวง
คือสัมปยุตกับวิจิกิจฉา และสัมปยุตกับอุทธัจจะ ได้แก่
ความสงสัยไม่เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ
ความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ ทั้

ในการไปเกิด
เป็นสัตว์เดรัจฉานด้วยอำานาจของโมหะ สมควรจะเน้น
ให้เป็นการเด่นชัดลงไปเลยว่า โมหมูลจิตทั้ง ๒ นี้ นำาไป
สู่การเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ทั้ง ๒ ดวงหรือหาไม่
ผมขอตอบให้ทา่ นนักศึกษาได้โปรดจำาไว้ด้วยว่า จิตใด
ก็ตามที่จะนำาไปสู่การปฏิสนธินั้น จะต้องมีกำาลังเพียง
พอ ถ้ากำาลังไม่เพียงพอแล้ว ก็จะให้ผลเมื่อปฏิสนธิ คือ
เกิดขึ้นมาเสียก่อนแล้วจึงให้ผลได้ในภายหลัง เรียกว่า
ให้ผลในปวัตติกาล (ให้ผลหลังจากเกิดแล้ว)

ในจำานวนจิตอกุศลทั้ง ๑๐ มีโลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒


นั้น ถ้าทำาลงไปครบองค์แล้วก็มก
ี ำาลังความสามารถส่ง
สัตว์ให้ไปเกิดได้ทั้ง ๑๐ ดวง

อกุศล
จิตทั้ง ๑๒ ดวง ต้องเว้นเสียดวงหนึ่งคงเหลือนำาไปเกิด
ได้เพียง ๑๑ ดวงเท่านั้น
ถ้าท่านถามว่า
ผมก็จะตอบว่า เพราะจิตจับอารมณ์ไม่มั่นจึงมีกำาลัง
อ่อน เวลานอนไม่หลับเกิดความฟุ้งซ่านมากๆ ก็จะเห็น
ได้ว่า จับอารมณ์ไม่มั่นอย่างไร เพราะจนดึกดื่นแล้วก็ยัง
ลืมตาโพลงอยู่บนที่นอน ด้วยจิตวุ่นวายจับอารมณ์อะไร
ก็ได้ไม่มั่นคง ดังนั้น จึงมีอารมณ์ชัดเจนว่าเรื่องราว
จริงๆ อย่างไรไม่ค่อยได้

คำาว่า ได้แก่ความสงสัย
ในพระธรรม และเฉพาะอย่างยิ่ง
" "
?

คำาว่า ธมฺเม กงฺขติ นั้น

อันเป็นเหตุทเี่ กิดขึ้นมาประหาร
กิเลสให้เป็นสมุจเฉทนั้น เมื่อเกิดขึ้นมาขณะหนึ่ง
เท่านั้น ก็ดับลงไป และจิตดวงต่อไปจะต้องเป็นผลจิตที่
เรียกว่า วิบาก ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันโดยทันที เรียกว่า
คือจะสืบต่อติดกันไปโดยไม่มี
จิตใดมาคั่นกลางเลยเป็นอันขาด ความสืบต่อของมัคค
จิตกับผลจิตนี้ ย่อมแสดงว่า เหตุคือมรรคเกิดขึ้นแล้ว
ผลคือวิบากจะเกิดขึ้นติดต่อกันไปโดยทันที หมายถึง
การให้ผลของโลกุตตรกุศลนี้ ๆม่ต้องคอยเวลาว่าจะเป็น
ชาตินี้ ชาติหน้า ไม่ต้องคอยเวลาว่าจะเป็นวันนี้วันหน้า
หรือวินาทีนี้วินาทีหน้า หากแต่ผลนั้นเกิดขึ้นติดต่อกัน
ในวิถีเดียวกัน ผลกรรมจะไม่มีกาลหรือเวลาทีจ ่ ะต้อง
คอยเลย

คือการทำาบุญ ให้
ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ว่าจะให้ผลเป็นอกาลิโก
ไม่มีกาลเหมือนกัน
แต่ถ้าจะ
ว่าไปแล้วก็ไม่ตรงต่อความจริงนัก เพราะว่า โลกียกุศล
กรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึ้นมา บางอย่างไม่อาจให้ผลในชาตินี้
เลยก็ได้ ไปให้ผลเอาชาติหน้า ปีหน้า หรือวันหน้าก็ได้
ทั้งนี้แม้จะถือว่า ชวนะดวงที่ ๑ จะให้ผลในปัจจุบันชาติ
คือชาตินี้ก็จริง แต่ก็อาจจะยังไม่ให้ผล กลายเป็น
อโหสิกรรมไปเสียก็ได้ เช่นทำากุศลกรรมแล้วก็เลยตาย
ไปเป็นต้น

คำาบรรยายพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ (ครั้งที่๑๐)


ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๐๘

เมือ
่ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ผมได้บรรยายถึงเรือ
่ งโมหมูล
จิตว่า โมหมูลจิตทั้ง ๒ ดวงนั้น แตกต่างกันอย่างไร เป็น
ตัวการทำาให้เราตกอยู่ในความหลงใหลในอะไร ตลอด
ไปจนถึงผลของโมหะทั้ง ๒ นี้ด้วยว่า มีความสามารถ
ประการใดบ้าง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สำาหรับในวันนี้ ผมจะได้บรรยายต่อไปถึงเรื่องของ
อกุศลจิตทั้งหมดในแง่มุมต่างๆ เพื่อท่านนักศึกษาจะได้
มีความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ผลโดยทั่วไปที่เกิด
ขึ้นมาจากโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ท่านก็จะเห็นได้ว่า ปุถุชนทั้ง


หลายผู้หนาชาไปด้วยกิเลสคือตัวการทีท ่ ำาให้เศร้าหมอง
เร่าร้อน ถูกครอบงำาประจำาใจอยู่ด้วยโลภะบ้าง โทสะ
บ้าง และโมหะบ้าง วันหนึ่งๆ กิเลสเหล่านี้เกิดขึ้นมาเสีย
นับครั้งไม่ได้ แต่ประชาชนทั้งหลายมีความเข้าใจกันแต่
ปลายเหตุ หรือเหตุใกล้ เช่น มีคนมาทำาให้รัก ให้โกรธ
เป็นต้นเท่านั้น
เมือ่ เวลาหิวขึ้นมาก็มีความรู้ดีในเรือ
่ งความหิว ก็มีความ
รู้ดีในเรือ
่ งการกิน ว่าจะกินอะไร และกินอย่างไร แล้วก็
แก้ปัญหานั้นด้วยการกิน แต่หาได้ขุดคุ้ยล้วงเข้าไปให้ถึง
ความจริงแท้แม้แต่น้อยไม่ว่า

ถ้าชาติคือความเกิดไม่มีเสียแล้ว
ทุกข์ทั้งหลายก็จะย่างกรายเข้ามาใกล้หาได้ไม่

จึงต้องดิ้นรนแสวงหาอารมณ์ที่ดีทช ี่ อบใจอันเป็นโลภะ
จึงต้องลำาบากยากเย็นหาหนทางที่จะได้อารมณ์ที่ตน
ปรารถนา เพียรพยายามที่จะกินอาหารพร้อมกับความ
อร่อย ถ้ามีร้านใดทำาอาหารทีต ่ นชอบใจ แม้จะเดินทาง
ไปไกลๆ ฝนตก แดดร้อน หรือขับรถฝ่าเข้าไปในถนนที่
จอแจไปด้วยผู้คน ก็ย่อมทำาได้ ทัง้ ทำาอยู่เสมอด้วย
อำานาจของความติดใจผลักไสอยู่เรือ ่ ยๆ ไปดังนี้ นาน
เท่าใดหรือจะเกิดมีชีวิตขึ้นมาสักกี่ครั้งกี่หน ก็หาได้รู้สึก
ตัวไม่ หาได้เข้าถึงเหตุอันลึกซึ้งนี้ได้ไม่

ทรัพย์สิน
เงินทองนั้นมีน้อย แต่ความปรารถนาที่จะรำ่ารวยหาได้มี
น้อยไปด้วยไม่ ด้วยเหตุดังนี้ จึงดิ้นรนขวนขวายอย่าง
สุดกำาลัง เมือ
่ หาหนทางสุจริตทีจ ่ ะทำาให้รำ่ารวยไม่ได้ เมือ

แก้ความจนด้วยวิธีการตรงๆ ไม่สำาเร็จ จึงเดินไปใน
หนทางทุจริต แก้ปัญหาความจนด้วยวิถีทางที่คดๆ งอๆ
โดยหาได้ทราบความจริงที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ชีวิตไม่ว่าความลำาบากยากจนเดือดร้อนของตนนั้น
อาจจะเป็นชาติ
ที่แล้วหรือชาติในๆ เข้าไปหลายชาติมาให้ผล ด้วยเหตุ
แห่งความตระหนี่ที่เหนียวแน่น มีความเห็นแก่ตัวสูง
มิได้คิดช่วยเหลือเผื่อแผ่เจือจานผู้ใด นอกจากไม่รู้จักให้
แล้วยังมิได้เห็นอกเห็นใจใครว่า เขาจะเดือดร้อนลำาบาก
ยากจนประการใด กระทำาการกดขี่บีบคั้นหาประโยชน์
จากหยาดเหงื่อ จากนำ้าตา จากความทุกข์ยากของผู้อื่น
อยูเ่ สมอ แล้วอำานาจของความโง่ ความหลง ความไม่
เข้าใจในเรือ่ งชีวิตนี้จึงได้หันเข็มทิศของตนให้เดินผิด
ทางที่ควรไป แล้วก็จะปรากฏผลแห่งความยากลำาบาก
ดังกล่าวนั้นขึ้นมา ทั้งยังจะได้รับต่อไปข้างหน้าอีกไม่จบ
สิ้น

มีทรัพย์สินเงินทองเหลือหลาย พ่อแม่ผู้หลักผู้ใหญ่อม ุ้ ชู
จนได้ดิบได้ดีมีหน้ามีตา เลยกลายเป็นคนยกตัวถือตัว
ชอบข่มขู่อวดดีว่าตัวเองนั้นเก่งกว่า ดีกว่า ในฐานะการ
งาน การเงิน ความรู้ ตลอดไปจนความมีอำานาจวาสนา
ต่างๆ กว่าผู้อื่น แม้จะทำากุศลก็เต็มไปด้วยการถือตัว
แสดงการทับถมข่มขู่โดยตรงหรือโดยปริยาย ซึ่งแน่ละมี
บุคคลที่ถูกข่มขู่ดูหมิ่นถิ่นแคลนนี้อยูต
่ รงหน้า หรือแม้ใน
ความคิดก็ตาม หรือการแสดงออกด้วยประการใดให้ผู้
อื่นทราบก็ตาม โดยที่การกระทำาดังกล่าวเกิดขึ้นเสมอๆ
แล้ว อำานาจของกรรมเหล่านั้นย่อมจะนำาส่งให้ปฏิสนธิ
และจะอยู่ ณ ที่ใดก็จะไม่มีเกียรติ ไม่มียศ ไม่มีผู้ใดนับ
หน้าถือตา ไม่มีผู้ใดรักใคร่ยกย่องนับถือ และได้รับความ
น้อยเนื้อตำ่าใจจากบุคคลอื่นอยู่บ่อยๆ

แม้จะได้รับความทุกข์ระทมขมขื่นอย่างไร ก็สาวเข้าไป
ถึงสาเหตุอันลึกซึ้งในอดีตไม่ได้ว่า
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีความสามารถรูเ้ ท่าทันความจริง
จนแล้วจนรอดว่า ผลที่ไม่ชอบใจที่ตนได้รับนั้นมาจาก
สาเหตุอะไร หรือเหตุใดตนจึงมิได้รำ่ารวยมีหน้ามีตา
เหมือนคนอื่น
ทั้งนี้ก็ด้วยมิได้ศึกษาเล่าเรียนในเรื่องของชีวิตจึงได้คิด
เอาง่ายๆ ตืน ้ ๆ เผินๆ ว่า ที่ตนรำ่ารวยยิ่งใหญ่และมี
เกียรตินั้น เป็นความรู้เป็นความสามารถพิเศษเหนือคน
อื่นที่ทำาขึ้นในชาตินี้ของตนเอง ที่ผู้อื่นมิได้มีเหมือน
หรือว่าตนเป็นคนโชคดี มีความสามารถ หรือเพราะเจ้า
นายรักใคร่ หรือมีของศักดิส ์ ิทธิ์คม
ุ้ ครองสนับสนุน
เมือ่ มนุษย์ทั้งหลายตกอยู่ในฐานะโง่เขลาดังนี้แล้ว จึง
เป็นเหตุให้เกิดการกระทำาด้วยประการต่างๆไปตาม
ประสาที่ไม่ฉลาดของตนเอง มีการช่วงชิงผลประโยชน์
ซึ่งกันและกันอย่างสุดเหวี่ยง อย่างไร้ยางอาย อย่างขาด
ศีลธรรม และไร้มนุษย์ธรรม
มีการประสงค์ร้าย ทำาลาย
ล้างซึ่งกันและกันด้วยปัญญา(ทางโลก) อันเร้นลับซับ
ซ้อน โดยปราศจากความเมตตาปรานี
จนเป็นเหตุให้เกิดร้อนระอุ
ทั่วไปทุกหย่อมหญ้า ก่อให้เกิดเพลิงขึ้น ตัง้ แต่เพลิงกอง
เล็กๆ ไปจนถึงกองใหญ่ และใหญ่มากจนลุกท่วมโลกดับ
ไม่ไหวมาครั้งแล้วครั้งเล่า ทรัพย์สมบัติมหาศาลเสียหาย
ผู้คนมากมายพากันทุพพลภาพและล้มตายกลาดเกลื่อน
แม้ประวัติศาสตร์จะชี้บอกให้เห็นชัดเจนอยู่ตอ ่ หน้า แต่
มนุษย์ผู้โง่เขลาเบาปัญญาทั้งหลายก็หาได้นำาพาไม่

จึงมิได้มี
ความสามารถมองทะลุเข้าไปสู่ความจริงที่แอบแฝงซ่อน
เร้นอยู่อย่างมิดชิด จึงมองเท่าใดก็ไม่เห็นทุกข์โทษภัยที่
จะได้กับตนทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จึงได้คด ิ ไปแต่ใน
เรือ่ งเหลวไหลไร้สาระแก่นสาร หลงใหลมัวเมาอยู่แต่ใน
สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ไม่มีหนทางที่จะยึดเอาเป็นที่พึ่งได้
หลงใหลอยู่แต่ในอบายมุขอย่างเหนียวแน่น พัวพันอยู่
กับเรื่องทีม ่ ิได้เกีย
่ วข้องกับปัญญา หรือปล่อยให้ชีวิตถูก
ซัดพาไปในยาเสพติดให้โทษทั้งหลายจนถอนตัวขึ้นมา
ไม่ได้ แล้วก็จมลงจนหายใจไม่ออกต่อของมึนเมาขาดสติ
เหล่านั้น จนกลายเป็นใบ้บ้า ปัญญาอ่อนในชาติต่อๆไป
แม้จะถึงดังนี้ก็หาได้สำานึกรูส ้ ึกตัวไม่ ด้วยละอองธุลม
ี า
ปิดบังขวางกั้นดวงตาเอาไว้เสีย

เพราะจิตใจนี่เองที่
ทำาให้รูปเกิดขึ้นและเป็นไปได้ต่างๆ ทำาให้หน้าตาซีด
หรือหน้าแดงก็ได้ ทำาให้เคลื่อนไหวอิรย ิ าบถก็ได้ ทำาให้
ยิ้ม ทำาให้หัวเราะก็ได้ และสามารถแม้ทำาให้การย่อย
อาหารภายในร่างกาย คือในช่องท้องก็ได้ แล้วยังทำา
อื่นๆ อีกมากมายอย่างน่าพิศวงอย่างคาดไม่ถึงเลยที
เดียว ทั้งๆที่มันก็มิได้มีตัวมีตนอะไรเลย
มีใครจะได้คิดบ้างว่า คือการกระ
ทำาต่างๆ ทีเ่ ป็นบาปหรือเป็นบุญ ที่เก็บสั่งสมไว้ภายใน
จิตใจนั้น

(
ผันแปรรูปทีม ่ ั้น) เช่น เป็นรูปหรือร่างกาย
่ ีอยู่แล้ว ณ ทีน
ของสัตว์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่โต เล็กมาก
เสียจนมองดูด้วยตาเปล่าไม่ได้ และใหญ่โตมากเสียจน
ราวกับเป็นภูเขา อำานาจกรรม (เจตนา) ย่อมจะทำารู
ปนั้นๆ ให้กลายสภาพไปทีละน้อยๆ อำานาจของเจตนา
คือความปรารถนาย่อมจะผันแปรชีวิตสัตว์ไปได้ตา่ งๆ
อย่างน่าอัศจรรย์ ขอ ให้พอและขอ
ให้มากเท่านั้น
แม้ปรมาณูที่ประกอบเป็นเพศหญิงเพศชาย (ร่างกายทุก
ส่วน เช่น หน้า ตา แขน ขา มีเพศหญิงหรือเพศชายอยู่
ทั่วไป) ก็หนีไปจากรรมผลิตสร้างขึ้นมาไม่พ้น และที่
ปรมาณูที่ประกอบกันขึ้นเป็นปสาทะที่ทำาหน้าที่รับ
กระทบ เพื่อให้เกิดการได้ยิน เป็นต้น ก็ทำาขึ้นได้และ
ประสาทตาประสาทหู ดังกล่าวนั้นจะดีหรือไม่ดี หรือ
ไม่มีเลย ก็ไม่หนีจากอำานาจของกรรมไปเหมือนกัน
อำานาจกรรมคือเจตนา ไม่ว่าอำานาจนั้นๆ จะเป็นฝ่าย
กุศลหรืออกุศลก็ดี

อำานาจของกรรมที่ได้สั่งสมเอา
ไว้เหล่านั้น ก็จะผลิตสร้างรูปในประการต่างๆ ให้เกิด
ขึ้นมาใหม่ไปตามความปรารถนาของตนเอง ทีไ่ ด้กระทำา
ไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
เช่นชอบทำาร้ายสัตว์ให้ได้รับบาดเจ็บ หรือฆ่าสัตว์มาก ก็
จะต้องไปเกิดในที่ๆ ได้รับความเจ็บปวด ลำาบาก มี
ร่างกายพิการขาดตกบกพร่อง ถ้าเป็นมนุษย์ก็จะได้รับ
ทุกขเวทนาอยู่เสมอ ต้องตกต้นไม้ หรือรถควำ่า ต้อง
ผ่าตัด และต้องตายเสียก่อนถึงเวลาอันสมควร
ผู้ที่ทำาอันตรายแก่อวัยวะเพศของสัตว์อยู่เสมอ เช่น ใน
การตอนสัตว์ เป็นต้น ด้วยความปรารถนาในการ
ทำาลายที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าจนมีกำาลังมาก ชาติต่อ
ไปก็มีหวังว่าอวัยวะเพศของตนต้องพิกลพิการ

เช่น ช่วยเหลือเจือจานผู้อื่นอยู่เสมอๆ ทำาจิตของตนให้


สงบอยู่บ่อยๆ อำานาจกรรมเหล่านี้ก็จะเป็นเหตุให้เกิด
ขึ้นมาในชาติใหม่ มีร่างกายสมบูรณ์ มีฐานะดี มีจต ิ ใจ
เจ่มใสอยู่เป็นประจำา เหตุกระเทือนใจทั้งหลายอันไม่
เป็นที่ชอบใจมากระทบกระเทือนน้อย ดังนี้เป้นต้น

อำานาจของกรรมนั้นแปลกประหลาดน่าอัศจรรย์ใจ
เพราะนอกจากจะทำารูป คือร่างกายให้เป็นไปตาม
อำานาจของมันแล้ว

นอกจากนี้ยัง
บันดาลให้สิ่งแวดล้อมทั้งหลายเป็นไปอีกก็ได้
เมือ
่ โลกเจริญไปด้วยวัตถุมากขึ้นๆ ข้าวของทั้งหลายที่
สวยสดงดงามมากมายที่มายั่วยุให้ติดใจ ก็พรั่งพรูออก
มาจากโรงงานอุตสาหกรรมจนนับไม่ไหว

จนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น
ด้วยสันดานแห่งความโลภที่ได้อบรมสั่งสมต่อๆ มา มี
กำาลังสูงตามวัตถุทเี่ จริญขึ้นมาตามลำาดับ มนุษย์ก็จะพา
กันละทิ้งเสียซึ่งศีลธรรมอันดีงาม มนุษย์ก็จะพากันหัน
หลังให้กับความเมตตาปรานีต่อกัน แต่จะกลับหันหน้า
เข้าหาทางทีเ่ ห็นแก่ตัวมากขึ้น แล้วก็ช่วงชิงวัตถุกัน
อย่างหนักหน่วง เอารัดเอาเปรียบกันอย่างถึงขนาดจน
คาดไม่ถึง มีความมักได้เห็นแก่ตัวกันอย่างรุนแรงอย่าง
ไม่น่าจะเป็นไปได้ เบียดเบียนคดโกง คอรัปชั่น หักหลัง
คิดร้าย ทำาลายร้าง จนพินาศย่อยยับกันอย่างน่าตกใจ

ดังกล่าวมา
สมัยนั้นก็ย่อมจะเกิด" "
คือจะเกิดความทุกข์ยากแร้นแค้น เกิดข้าวยากหมาก
แพงเกินปกติธรรมดา อันเป็นเหตุให้เกิดความหิวโหย
อดอยาก แล้วก็จะพากันเจ็บป่วยล้มตายลงด้วยความ
แร้นแค้นที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งนี้ก็เพราะอำานาจของโลภ
ตัณหาทำาให้เกิดเหตุการณ์ทั้งหลายอันไม่คาดฝันเกิด
ขึ้นมากมาย อาจจะเป็นลมฟ้าอากาศ อาจจะเป็นแผ่น
ดินไหวนำ้าท่วมใหญ่ ฝนแล้ง อันไม่มีใครเคยได้คิดได้ฝัน
มาก่อน ก็จะทยอยกันเข้ามาไม่ขาดสาย มนุษย์ทั้งหลาย
ก็จะพากันได้รับความทุกข์ยากลำาบากและล้มตายกัน
มากมาย
ด้วยอำานาจแห่งโลภะของแต่ละบุคคล ที่จะช่วงชิงความ
ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกันในวิธีการต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็นทางเศรษฐกิจ เรือ ่ งอำานาจวาสนา หรืออื่นๆ มี
กำาลังเพิ่มขึ้นๆ หรือเป็นไปอย่างมากมายกว้างขวาง ก็
ย่อมจะก่อให้เกิดขึ้นซึ่งอารมณ์อันไม่พึงปรารถนา ด้วย
ไม่พึงพอใจในอารมณ์ที่ตนกำาลังประสบอยู่ เพราะเมื่อ
การต่อสู้ฟัดเหวี่ยงกันเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ย่อมจะต้องมีผท ู้ ี่
เพลี่ยงพลำ้าหรือพ่ายแพ้ ก่อให้เกิดขึ้นซึ่งการตอบแทน
กันแล้วก็จะเกิดรุนแรงยิ่งขึ้นๆ เรื่อยๆ อันจะก่อให้เกิด
ความเศร้าหมองเร่าร้อน แล้วก็ค่อยๆ ขยายตัวกว้าง
ขวางยิ่งขึ้น ในทีส่ ุดก็จะเสียหายไปทุกหย่อมหญ้า ทีเ่ รา
เรียกกันในทางธรรมว่า โทสะ

ที่
ขยายตัวออกไปมากขึ้นๆ แล้ว สมัยนั้นก็ย่อมจะเกิด"
" คือ อันตรายที่เกิดจากศาตราวุธ
มหาชนจะได้รับสรรพอันตรายในประการต่างๆ เช่น มี
อุบัติเหตุเกิดมากขึ้น มีเรื่องราวตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
กระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคล ไปจนถึงเรื่องที่ใหญ่โต
โหดร้ายทารุณ พยาบาทอาฆาตแก้แค้นตอบแทนซึ่งกัน
และกัน ตัง้ แต่การจี้ปล้นฆ่าฟันกันตายเล็ๆ น้อยๆ ไป
จนถึงฆ่าฟันกันเป็นหมู่เป็นเหล่า และทำาลายล้างกัน
ด้วยอาวุธตั้งแต่ในสงครามเฉพาะถิ่นไปจนถึง
สงครามโลก ผู้คนล้มตายกันเป็นจำานวนล้าน
คือความหลงใหล
เพลิดเพลินไปในอารมณ์ ไม่รู้จักความดีความชั่ว ไม่รู้จัก
บุญไม่รู้จักบาป มัวเมาอยู่ในเรื่องที่ไม่มส ี าระประโยชน์
หลงติดอยู่ในสิ่งที่ไม่มส
ี ติ เห็นผิดเป็นชอบว่าเป็นความดี
งาม เช่นเห็นว่าการดื่มเหล้าให้เผลอไผลขาดสตินั้นเป็น
ของดี ควงส้องเสพเพื่อสนับสนุนต่อการสังคม เพื่อการ
ได้ประโยชน์ในการงาน หรือเพื่อจะไดเห้ใครๆ เห็นว่า
มิได้เป็นคนครำ่าครึหัวโบราณเป็นต้น ความหลงใหล
มัวเมาอันเป็นโมหะดังกล่านั้น เกิดขึ้นมากมายในกาล
ใด สมัยนั้นก็จะเกิด " " คือ อันตราย
อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หาทางรักษาให้
บรรเทาเบาบางลงแสนยาก ทั้งๆ ทีม ่ ีหยูกยาสารพัด มีผู้
ชำานาญพิเศษมากมาย ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นทั่วไป ทั้งโรค
ใหม่ๆ ก้อาจจะเกิดขึ้นมาอีก ตลอดไปจนถึงโรคระบาด
ต่างๆ ที่จะมาคร่าเอาชีวิตของมหาชนให้ล้มตายลงเป็น
จำานวนมาก
เมือ
่ วัตถุที่ผลิตออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ใหญ่
โตทั้งเครื่องจักรอันทันสมัยมีมากมายก่ายกองจนนับไม่
ไหว มีทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคที่เจริญหู เจริญตา
เจริญใจ ทั้งแปลกใหม่ทยอยกันออกมาไม่ขาดสาย
มนุษย์ทั้งหลายก็สุดที่จะอดทนอยู่ได้ และด้วยอำานาจ
ของความโลภไม่รู้จักพอที่หนุนอยู่เบื้องหลัง จึงได้คิด ได้
ตรอง ค้นหาวิธีการที่จะได้เครือ ่ งอุปโภคบริโภคจอม
ปลอมเหล่านั้นเข้ามาไว้ในครอบครอง ต่างจึงใช้ความ
พากเพียรพยายามของตนอย่างยิ่งยวดทั้งกลางวันกลาง
คืน ทัง้ ในทางซื่อและทางคด แม้จะเหยียบยำ่าลงไปบน
คนอื่น แม้จะเหยียบยำ่าลงไปบนนำ้าตาของใครๆ หรือแม้
จะลุยลงไปบนกองเลือดของผู้ใด แม้ชาวโลกจะ
ประณามว่าทรยศคดโกงต่อชาติบ้านเมืองหรือ
ประชาชน ก็ยอ ่ มกระทำาได้ มิได้มีความเมตตา กรุณา
ดวงจิตมิได้แอบแฝงความสงสารใครๆ เอาไว้แม้แต่น้อย
ถึงแม้ว่าคู่ตอ
่ สู้จะล้มลงไปต่อหน้าแล้วร้องโอดครวญขอ
ความปรานี อำานาจของความโลภคือความยินดีติดใจ
อยากได้อารมณ์ต่างๆ ทีต ่ นเห็นว่าแสนประเสริฐเข้ามา
ปิดหูบังตาเอาไว้ มิให้ได้เห็นความทุกขระทมขมขื่น
ตรมตรอมใจของผู้ใด เขาจะหัวเราะออกมาด้วยความ
ภาคภูมิใจที่ได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือได้คดโกงบีบคั้นกดขี่
ผู้อื่นจนสำาเร็จ เขาจะยืดคอขึ้นสูงด้วยความทรนง
เหมือนไก่แจ้ที่ตช ี นะ ประกาสความยิ่งใหญ่ของตน แล้ว
ก็จะท่องภาษิตที่ยด ึ ถือเอาไว้ไม่ถูกต้องอย่างภาคภูมิว่า "
"

แต่อย่างไรก็ตาม ความอวดดื้อถือดีของเขาเหล่านั้น

ยอมเอาตัว
ลงไปคลุกกับของโสโครก ที่ผู้รู้ทั้งหลายหนีไปห่างไกล
กล้าเล่นกับไฟเหมือนเด็กอ่อนที่ไม่ประสีประสา โง่เขลา
ไร้ปัญญาทีจ่ ะพิจารณาถึงความจริงในเรื่องของชีวิต จึง
ได้กล้าหาญลงทุนไปจนหมดตัว ทั้งๆ ที่ไม่มีหนทางจะ
ได้กำาไรเลย

เพื่อให้สมความปรารถนาในความติดใจในอารมณ์ของ
ตน มนุษย์ก็ใช้วิธีการให้ได้มาโดยง่าย ด้วยอาศัยการ
สร้างอำานาจให้เกิดมีขึ้นเสียก่อน แล้วก็อาศัยอำานาจนั้น
เป็นหัวหาดที่จะก้าวขึ้นไปสู่ความสำาเร็จต่อไป ดังนั้น
จึงค้นหาวิธีการที่จะช่วงชิงอำานาจซึ่งกันและกันขึ้น โดย
วิธีการต่างๆ เช่นในการศึกษาเล่าเรียน หรือต่อสู้ด้วย
กรรมวิธีร้อยแปดประการ หรือการรวมกลุ่มเพื่อก่อให้
เกิดกำาลังขึ้นแล้ว บริหารจากกลุม ่ น้อยๆ ไปจนถึงกลุ่ม
ใหญ่ๆ คือประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้ การเบียดเบียนกันจึง
ได้เริม
่ ต้นสูงขึ้นๆ รุนแรงขึ้นๆ ระหว่างบุคคลต่อบุคคล
ระหว่างกลุม ่ คนต่อกลุม่ คน และระหว่างประเทศต่อ
ประเทศ
ตัวแทนของบุคคลกลุม
่ ใหญ่คือของประเทศ

เช่น เพื่อหวังจะ
มิให้ฝา่ ยของตนเสียเปรียบ เพื่อหวังให้ฝ่ายของตนได้
เปรียบเท่าที่จะทำาได้ จึงต้องเลือกผู้แทนชั้นยอดของตน
เข้าประชุมระหว่างประเทศ ถ้าหากมีอำานาจหรือมีความ
สามารถ หรือมีอาวุธวิเศษยิ่งกว่าด้วยประการใด ก็จะ
รีบแสดงออกมาโดยปริยาย เพือ ่ ผลแห่งการเจรจาของ
ตน แล้วก็จะไม่ลม ื ประชุมกันเพื่อวางแผนการณ์ที่จะได้
เปรียบพกติดกระเป๋าไปด้วยทุกครั้ง ครั้นแล้วก็จะโต้
คารมกันไปในแง่มม ุ ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง อย่างมีเงื่อนงำา
อันแยบคาย มีทั้งขู่ทั้งปลอบทั้งหลอกทั้งล่อพากันให้ไหล
หลงไปตามความถนัดอันได้ฝึกฝนอบรมมา เพือ ่ หลีก
เลีย
่ งมิให้ผู้ใดจับได้ว่า ตนมีความโลภแอบแฝงติดตัวมา
ด้วยมากมายในกระเป๋า ซึ่งผู้ที่มิได้มีความสันทัดจัดเจน
หรือมิได้มีความเข้าใจถึงฤทธิเ์ ดชของโลภะ แล้วก็ยากที่
จะทราบได้

การต่อสู้ฟัดเหวี่ยงซึ่งกันและกันนั้น ก็จะทวีความ
รุนแรงยิ่งขึ้นจากบุคคลต่อบุคคล จากกลุม ่ คนต่อกลุม่
คน จากประเทศต่อประเทศ ก็เสมือนการเป่าเพลิง
คนละนิดละหน่อย ให้ไฟที่คุกรุ่นไหม้แลู่แล้วในดวงใจ
ให้ลุกพลุ่งโพลงขึ้น และเมื่อเชื้อเพลิงมีอยู่พร้อมแล้วเช่น
นี้ ไม่ชา้ ไม่นานนักทั่วทั้งโลกก็จะลุกเป็นไฟ และในขณะ
ที่ไฟกำาลังไหม้ทั้งโลก ต่างคนต่างก็โทษกันวุ่นวายว่า
เป็นต้นเหตุแห่งความหมายนะนี้ ต่างก็จะปัดความรับ
ผิดไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นก็เข้าทำาลายล้าง
ซึ่งกันและกันเป็นอลหม่าน
ใครมีอะไรที่จะทำาลายกันได้มากๆ ก็เอาออกมาใช้กัน
เต็มที่ ในที่สด
ุ โลกก็จะถึงซึ่งความพินาศ เต็มไปด้วยซาก
ปรักหักพัง หลังจากที่ได้สู้อต ุ ส่าห์สร้างมันขึ้นมาแทบจะ
ล้มตาย เต็มไปด้วยผู้อดอยากกระหายหิวทุกข์ทรมาน
หลังจากสิ่งต่างๆ ถูกทำาลายล้างด้วยคนใจร้าย เต็มไป
ด้วยคนทุพพลภาพที่น่าสังเวชใจ ซึ่งเป็นผลอันเกิดขึ้น
มาจากผู้ทข ี่ นานนามว่า "มนุษย์" ซึ่งได้แก่ผู้มีใจสูง และ
เต็มไปด้วยหลุมฝังศพอย่างน่าสมเพชเวทนาในป่าช้า
ต่างๆ จากผู้ทย
ี่ กตัวถือตัวว่าเหนือกว่าสัตว์เดรัจฉาน

เป็นอัจฉริยบุคคล เป็นผู้ที่มีชอ
ื่
เสียงลำ้าเลิศกระฉ่อนโลก เป็นผู้นำาที่แท้จริงของประเทศ
อนุชนรุ่นต่อไปจะได้จำาเอาไว้เป็นตัวอย่าง แล้วจะได้
ทำาลายล้างกันให้กว้างขวาง ให้ยิ่งขึ้นไปในวันหนึ่งข้าง
หน้าด้วยหวังว่าจะได้เป็นผู้กล้าหาญตามตัวอย่างทีช ่ าว
โลกยกย่อง จะได้เป็นผู้มีเกียรติยศยิ่งใหญ่ตอ ่ ไป โลกจึง
ได้ลุกเป็นไฟครั้งแล้วครั้งเล่า

ด้วยอำานาจแห่งการหลงงมงาย มิได้มีปัญญาพิจารณา
เข้าไปถึงความจริงในเรื่องของชีวิต ไม่ทราบว่าชีวิตนี้
เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ในชาติหน้าจะมีชีวิตขึ้นมาได้อีก
หรือไม่ จึงอดที่จะเข้าไปพัวพันกับสิ่งที่ไร้สาระแก่นสาร
ไม่ไหว ดังนั้น จึงได้ท่องเที่ยวหาความสุขความสำาราญ
ไปตามประสาของคนที่ไม่มีความรู้ ที่ใดเป็นที่ติดอก
ติดใจก็จะไม่ให้ขาดได้ ท่องเทีย ่ วเพลิดเพลินไปตามคลับ
และตามซ่องต่างๆ สนุกสนานไปกับการท่องเที่ยวทั้งใน
และต่างประเทศ จากแห่งหนึ่งแล้วก็ไปอีกแห่งหนึ่ง
ต่อๆ ไป
ทั้งเพลิดเพลินไปกับกามารมณ์โดยไม่รู้จักจืดจาง จาก
คนหนึ่งแล้วก็ไปยังอีกคนหนึ่ง มากชู้หลายเมีย ไม่มี
ความละอายใจ ไม่กลัวว่าเด็ก ผู้ใหญ่ หญิง หรือชายจะรู้
เห็น ยิ่งไปกว่านั้น ยังเล่นการพนันสารพัดอย่าง ดืม
่ สุรา
ชนิดต่างๆ จนเมามายไร้สติอยู่เสมอเป็นอาจิณ ไม่ได้
คิดถึงบาปบุญคุณโทษแต่ประการใด เพราะเชื่อว่า ชีวิต
นี้เกิดหนเดียว ตายหนเดียว ต้องหาความสุขกันให้เต็ม
ที่ มิได้คิดถึงครอบครัวบุตรภรรยา มิได้นำาพาที่จะทำาให้
จิตของตนเข้ามาสู่แสงสว่าง มิได้จูงใจของตนให้เข้ามาสู่
ทางของกุศลผลบุญ

เจตนาก็คือกรรม กรรมก็ได้แก่การกระทำา การกระทำา


ก็ได้แก่การแสดงออกทางกาย วาจา และใจ เมือ ่ กรรม
ได้เกิดขึ้นแล้ว มันก็จะตั้งมั่นลงบนจิตใจ แล้วก็จะเจริญ
ขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อบุคคลถูกความหลงใหลคือโมหะเข้า
ครอบครองแล้ว ไม่ช้าไม่นานมันก็จะเจริญขึ้น ทำาได้ง่าย
ขึ้น

จากคนชั้นหนึ่งไปยังคน
อีกชั้นหนึ่ง จากกลุ่มเล็กๆ ก็จะกลายเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จาก
เมืองหลวงไปสู่ชนบท คือจังหวัดต่างๆ แล้วเหตุการณ์
อันไม่พึงปรารถนาทั้งหลายก็จะได้ประดังกันเข้ามาให้
ได้เห็น
แต่ละวันก็จะพบกับภาพ พบกับข่าวอันน่าสลดใจ ซึ่งใน
สมัยที่วัตถุยังไม่เจริญ เราหาไม่คอ
่ ยได้คือความคดโกง
ตลบแตลง หักหลัง กลั่นแกล้ง คิดจะทำาลายล้างกันเพื่อ
แก้แค้น ความปลิ้นปล้อนหลอกลวง ปล้น จี้ ทำาร้าย
ร่างกาย ไปจนถึงการทารุณที่แสนจะเลวร้ายก็จะหนา
แน่นขึ้นมา แล้วก็หนีไม่พ้นเสียด้วย

ผมได้เคยแสดงมาแล้วว่า

ดังนั้น พวกมีอาชีพในการ
ร้องรำาทำาเพลง จึงมักไปคบหาสมาคม หรือไปอยูอ ่ าศัย
พวกเดียวกัน หรืออาชีพเดียวกันกับตน แต่จะให้บุคคล
เหล่านี้ไปอยู่ร่วมกับพวกซึมเซาเหงาหงอย เขาก็จะไม่
ชอบใจ พวกชอบธรรมะก็จะชอบพูด ชอบคุยกับพวก
ธรรมะด้วยกัน ตามวัดวาอาราม หรือตามสถานที่ๆ มี
ผู้คนสนใจในสายทางเดียวกันกับตน แต่จะไม่ชอบไป
คบค้าสมาคมกับพวกปล้น หรือไม่ชอบท่องเที่ยว ย่องไป
ตามถนนหนทาง หรือตามตรอกซอกมุมในยามคำ่าคืน
ผู้ที่ชอบเสพสุรายาเมา วันหนึ่งๆ ก็ไม่อยากหันเหไปทาง
ไหนมากนัก มักจะแวะมายังร้านสุรา ตามบาร์หรือตาม
ร้านที่พวกคอเดียวกันกับตนมั่วสุมชุมนุมกันอยู่ และ
เมือ่ ได้อยูท
่ ่ามกลางเพื่อนฝูงกับสิ่งแวดล้อมเช่นนี้แล้ว ก็
จะมีความพอใจได้รับความสุขอย่างเต็มเปี่ยม

ท่านนักศึกษาก็คงจะจำาได้ถึงภาษิตโบราณที่พูดต่อๆ
กันมาจนบัดนี้ว่า "
" และอีกภาษิตหนึ่งว่า
" "

ตามเนื้อความนี้ ท่านคงจะเห็นแล้วว่า คนในสมัย


โบราณตั้งภาษิตเช่นนี้ตามความเท็จจริงที่ได้ประสบมา
ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาได้มองเห็นความจริงว่า ลูกทีเ่ กิด
ขึ้นมานั้น ส่วนมากก็ย่อมจะมีอุปนิสัยใจคอมิได้แตกต่าง
กับพ่อแม่เท่าใดนัก
ด้วยเหตุนี้เอง

ต่างคนต่างก็พากัน
แสวงหาความสุขอยู่บนนำ้าตา อยู่บนความเศร้าโศกทุกข์
ร้อนของผู้อื่น หันหน้าเข้าหาผล คือความสุขที่ตนจะได้
รับเป็นที่ตั้ง อำานาจของเจตนาคือความประพฤติเป็นไป
ดังนี้ นั่นก็คือพวกผู้ใหญ่ทั้งหลายได้ร่วมมือร่วมใจกัน
โดยปริยาย เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างสถานที่รองรับเอา
ด้วยความปรารถนาจากการกระทำาว่า จะให้ผู้ใดเข้ามา
อยู่อาศัย หรือผู้เข้ามาอยู่อาศัย หรือผู้เข้ามาร่วมใน
ครอบครัวเป็นบุคคลผู้ซึ่งมีจต ิ ประเภทเดียวกันกับ
ตนเองดังกล่าวมา เมือ ่ การสมคล้อยหรือบังเกิดความ
โน้มเอียง หรือพูดว่าดึงดูดเข้ามาให้สัมพันธ์กันอย่าง
ใกล้ชิด และความใกล้ชด ิ สนิทแน่นได้ ก็โดยเกิดขึ้นมา
เป็นบุตรหญิงบุตรชายของเขาเหล่านั้น

เหมือนหรือคล้ายคลึง
กับพ่อแม่เป็นส่วนมากโดยไม่ต้องสงสัย

ในสมัยใดประชาชนส่วนใหญ่มีความมักได้เห็นแก่
ตัวอย่างรุนแรง ข่มเหงรังแกกันอย่างหนัก ต่อสู้ฟัด
เหวี่ยงกันอย่างโชกโชน ไม่เชื่อว่ากรรมที่ได้ทำาเอาไว้นั้น
สามารถที่จะมาให้ผลได้ ไม่เชือ่ เลยแม้แต่น้อยว่า คนเรา
ตายลงไปแล้ว จะเกิดขึ้นมาใหม่ได้ มีดวงจิตคิดแต่เรือ ่ ง
โหดร้าย เข่นฆ่าปรารถนาแต่จะกินเลือดกินเนื้อซึ่งกัน
และกันอย่างทารุณ สร้างสรรค์อาวุธร้ายๆ เข้าประหัต
ประหารทำาลายล้างกันโดยมิเห็นแก่บาปบุญคุณโทษ
เกิดสงครามใหญ่อยู่บ่อยๆ ฆ่ากันคราวละมากมาย

แล้วก็จะก่อผลร้ายนี้ให้
เกิดขึ้นมาไม่ได้หยุดหย่อนต่อๆ ไปกว้างขวางยิ่งขึ้นทุกที
จนกว่าจะถึงคราวพินาศย่อยยับล้มตายกันทุกฝ่าย จน
ชาวโลกทั้งหลายมองเห็นทุกข์โทษภัยว่าร้ายแรงเพียง
ใดแล้วจึงจะเปลี่ยนจิตใจเสียใหม่ได้

เพลิดเพลินไปกับสิ่งยั่วยวนใจ
ต่างๆ หันหลังให้พระธรรมและความดี หลงใหลไปกับ
การกิน การนอน การเที่ยวเตร่อันหาสาระมิได้ ผูกใจอยู่
กับกามารมณ์เลยเถิดจนเกิดอกุศลอย่างร้ายแรง เพราะ
ไม่เลือกว่าลูกเขาเมียใคร แม้การข่มขืนการทำาอนาจารก็
เกิดขึ้นมาได้ในทีท
่ ั่วๆไป หรือติดอกติดใจในการพนัน
ต่างๆ มีการเล่นม้า เล่นไพ่ เล่นไฮโลจนถอนตัวไม่ขึ้น
และนิยมยินดีในการทำาให้จิตใจของตนขาดสติหรือมีสติ
น้อย ขาดความสำานึกรู้สึกตัวในความดีและความชั่ว บุญ
หรือบาป ดังนี้
ในสมัยนั้นมนุษย์ทจ ี่ ะเกิดขึ้นมาก็ย่อมจะมาตามคำาเรียก
ร้องของผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะจะมาจากผูท ้ ี่มีกุศลจิต
ชนิดทีม่ ีโมหะเป็นบริวาร แม้ถึงว่ากุศลจะเป็นผู้นำามา
เกิดเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่แฝงติดกับจิตใจมาด้วยนั้น ก็คอ ื
อกุศลโมหะมิใช่เล็กน้อยเลย เมื่อจัดสถานที่รองรับไว้
เช่นนี้จึงหาเด็กดีๆ มาเกิดได้ยาก

โอนเอนไปมา
ง่าย สูก
้ ับอกุศลไม่คอ
่ ยไหว ขาดความรู้สึกรับผิดชอบ สุก
เอาเผากิน คิดน้อย ตัดสินใจไปในทางที่ไม่ชอบได้ง่ายๆ
ขาดความพิจารณา ชอบปลีกช่องน้อยแต่พอตัว มากชู้
หลายผัวเท่าใดก็ไม่รู้สึกอับอายขายหน้า เป็นใบ้บ้า
ปัญญาอ่อน ถึงแม้ว่าจะมีสติปัญญาดี คิดและทำาสิ่ง
แปลกๆ ใหม่ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจก็เป็นไปในวิชาการ
ทางโลก ไม่สนใจในพระสัทธรรมความดี เป็นผู้มีความ
ประพฤติที่จะอบรมค่อนข้างยาก ขาดปัญญาที่จะศึกษา
ปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนของเรือ
่ งชีวิต ทั้งทำาสมาธิก็
ไม่มีกำาลังเพียงพอ และจะทำาวิปัสสนาก็จะหวังผลดี
จริงๆ ไม่ได้
ท่านนักศึกษาทั้งหลาย ท่านมีอายุผา่ นวัยเด็กมาจน
บัดนี้ บางท่านก็ได้ผ่านผู้คนทั้งในประเทศนอกประเทศ
มามาก หรือได้ทราบเรื่องราวต่างๆ จากทั่วโลกอยู่เสมอ
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร คนในโลกสมัยนี้มีความ
ประพฤติดีหรือเลวผิดกว่าแต่ก่อนมากหรือไม่ ท่านว่า
คนในปัจจุบันมีจต ิ ใจที่โน้มเอียงไปด้วยอำานาจของโลภ
ะ ด้วยอำานาจของโทสะ หรือด้วยอำานาจของโมหะ หรือ
ว่าด้วยอำานาจของทั้ง ๓ อย่างมาบันดาลใจให้พฤติกรรม
ต่างๆ เป็นไปเช่นนี้
เราได้เห็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ห่วงใยต่อสวัสดิภาพของเด็ก
หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่มห
ี น้าที่โดยตรงต่อเยาวชน

เพราะได้มีความประพฤติออกนอกลู่นอกทางไปไกลเข้า
ทุกที ต่างก็ได้แสดงทัศนะในสาเหตุที่เกิดความประพฤติ
ไม่สมควรมากมาย เช่นว่าเพราะวัตถุเจริญมาก เพราะ
จำานวนคนเกิดเร็ว เพราะสิ่งยั่วยวนใจในสมัยนี้มอ ี ยู่
ดาษดื่นเพราะโทรทัศน์แสดงส่วนลึกส่วนเว้าในการ
แต่งกายมากไป หรือกระทำาการใดๆ ทีน ่ ่าอายให้เด็กได้
เห็นเป็นตัวอย่าง หรือโดยเอาอย่างจากต่างประเทศ
ตลอดไปจนโทษผู้ใหญ่มีบิดามารดา ครูบาอาจารย์ว่า
วุ่นวายไขว่คว้าหาแต่เงิน มิได้อบรมเด็กด้วยหัวใจ ทั้ง
เด็กก็ได้รับความอุ่นใจไม่เพียงพอ คือขาดความรัก บ้าง
ก็ว่าเพราะห่างวัดห่างวา ศาสนาไม่กระดิกหู
แน่นอนทีเดียว การสัมมนาแต่ละครั้งเพื่อหาสาเหตุแห่ง
ความประพฤติเสียหายของเยาวชนนั้น แต่ละท่านก็
ล้วนมีความประสงค์ดี มีประโยชน์ และเป็นจริงตามที่
ว่านั้นเหมือนกัน
พวกผู้ใหญ่ต่างก็พากัน
ทำาสถานที่รองรับ(การเกิดใหม่)ไม่ดี ปล่อยให้กิเลสชักพา
ไปได้ตามใจ เปิดช่องโอกาสหรือเชื้อเชิญให้จต ิ ของผู้ทจ
ี่ ะ
มาปฏิสนธิประเภทเดียวกับผู้ใหญ่เข้ามาร่วมด้วยได้ มิ
หนำาซำ้ายังทำาตัวอย่างจริงๆ ให้ได้รู้ได้เห็น เป็นการจูงใจ
อยูเ่ สมอทุกเมื่อเชือ
่ วันที่ท่านมิได้กล่าวถึง ท่านยังมิได้
ศึกษาเอามาประกอบการสัมมนา และคนโดยมากมักจะ
เข้าใจผิดแล้วคิดว่า เด็กที่มาเกิดนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เหมือนผ้าขาวที่ยังไม่มีอะไรเปรอะเปื้อน ซึ่งความคิด
เห็นนี้ท่านยังเข้าใจไม่ตรงต่อข้อเท็จจริง

ตามเหตุผลที่ผมได้แสดงมา ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่า เป็นการ


แสนยากเพียงใดที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้บรรลุผลตามทีต ่ ้องการได้
จะต้องทำา จะต้องแก้กันจริงจังจากบุคคลหลายฝ่ายที่เป็นผู้ใหญ่ ถ้า
ไม่ร่วมมือร่วมใจกันจริง ๆ หรือใช้มาตรการไม่เหมาะสมก็จะรั้งไว้
ไม่ไหว จะต้องทำาให้ชีวิตเปลี่ยนทิศทางเสียใหม่ แล้วก็จะต้องใช้
เวลา ไม่ใช่เพียงชั่วคนเดียวด้วยถึงจะได้ มิฉะนั้นก็จะต้องให้ค่อยๆ
ร้อนระอุจนโลกลุกเป็นไฟไหม้เสียสักหนหนึ่ง แล้วจึงคลายลงไป
โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาสามัญ หรือเป็นไปตาม
ธรรมชาติ ใครๆก็หา้ มไม่ได้ พวกเราเพียงช่วยประคอง หรือช่วยกัน
ชะลอความเร็วหรือลดกำาลังแรงลงบ้างเท่านั้นเอง

เหตุผลต่างๆ ที่ผมได้แสดงมา คงจะก่อความลำาบากใจ


ให้ท่านบ้างก็ได้

แต่ถ้าท่าน
ได้คิดพิจารณาโดยมีเวลาพอสมควรก็พอจะเห็นได้ ผม
จะขอยกเรื่องราวขึ้นมาอีกสักเรื่องหนึ่ง เพื่อจะให้ท่าน
ได้พิจารณากว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผมขอแสดงไป
ตามสภาวะ มิได้มีสถิติอยู่ในมือแต่ประการใด
สมมุติว่า มีประเทศอยู่ประเทศหนึ่งประเทศนี้มีความ
เจริญในทางวัตถุมาก มีตึกรามใหญ่โตสูงตระหง่านอยู่
ทั่วไป มีถนนหนทางเรียบร้อยทันสมัยตัดกันไปมาทั่ว
ประเทศ มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่เป็นอัน
มาก ส่งสินค้าออกไปขายทั่วโลก เป็นประเทศที่ค่อนข้าง
มั่งคั่งอยู่ในชั้นแนวหน้า แต่ประชากรของประเทศนี้ได้
ทวีจำานวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การต่อสู้กันเพื่อความ
ดำารงอยู่ของชีวิตเป็นไปอย่างหนักหน่วงรุนแรงมาก
ข้อที่น่าตำาหนิสำาหรับความประพฤติของคนในประเทศ
นี้ก็คือ มีเสรีในการดื่มสุราอย่างไม่อั้น ผู้คนชอบดื่มสุรา
กันมากเหลือเกิน สุราก็มีขายทั่วไป แทบจะพูดได้ว่า ไม่
ว่าถนนสายไหนแม้สายที่สั้นที่สุดก็จะว่างจากร้านสุรา
เสียมิได้ ประชาชนพลเมืองส่วนใหญ่มีรายได้พอที่จะปัน
หรือเจียดเอาส่วนหนึ่งมาซื้อสุราดื่มได้ ดังนั้นแต่ละวัน
ตำารวจของรัฐจึงได้จับผู้ที่เมาสุราแล้วขับรถ เมาสุรา
แล้วประพฤติไม่เรียบร้อยต่างๆ และเมาสุราแล้ว
อาละวาด วันหนึ่งๆ ไม่ใช่น้อย

ต่อมาพวกผู้ใหญ่ทั้งหลายต่างพากันตกใจที่ปรากฏว่า
อาชญากรวัยรุ่นได้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเกินความ
คาดหมาย สถิตข ิ ึ้นสูงจนลบล้างในอดีตเสียอย่างลิบลับ
ทั้งนอกจากอาชญากรที่กระทำาผิดต่างๆ แล้ว ผลกลับ
ปรากฏอีกว่า ประเทศนีม ้ ีคนเป็นใบ้เป็นบ้า ปัญญาอ่อน
เป็นโรคประสาท เป็นโรคจิต การฆ่าตัวตายก็ได้มีสถิติ
สูงขึ้น ตลอดไปจนความประพฤติของเด็กวัยรุ่นมีความ
เสียหายอย่างผิดตา เช่นในเรื่องเด็กตามโรงเรียนหรือ
ตามมหาวิทยาลัย พากันชิงสุกก่อนห่าม พากันสำาส่อน
จนมีครรภ์ขึ้นมาในระหว่างการศึกษาทั่วๆ ไป สถานที่
แอบซ่อนรีดลูกมีมากมาย
เรือ
่ งที่ปรากฏมาจากเรื่องระหว่างเพศก็มากมาย เช่น
เรือ่ งโสเภณี เรื่องกามวิตถาร การข่มขืนกระทำาชำาเรา
การอนาจารอย่างไร้ยางอาย ทัง้ ความความประพฤติ
ส่วนใหญ่ก็เกะกะเกเร ชอบเที่ยว ชอบลักขโมย ชอบ
มั่วสุมประชุมกันไปในทางสนุกสนานเฮฮาจนเกิน
ขอบเขต ชอบยาเสพติดให้โทษ ชอบเสพสุรายาเมาตั้งแต่
อายุยังไม่สมควร การตัดสินใจไปในทางความประพฤติ
ไม่ดีได้โดยไม่ยากเท่าใด และไม่เชื่อฟังใครสั่งสอนง่ายๆ
พวกผู้ใหญ่ทั้งหลายที่ห่วงใยสวัสดิภาพของเยาวชน ก็ได้
ประชุมกันครั้งแล้วครั้งเล่า ค้นหาสาเหตุแห่งความเสีย
หายเหล่านี้ แล้วจะได้แก้ไขอาการที่ทรุดให้กลับคืนดีแต่
ทว่าสาเหตุต่างๆ ดังที่ค้นคว้าหามาได้นั้น

พ่อแม่เสมือน
เป็นการทำาสถานทีร ่ ับรองเด็ก หรือเปิดประตูเอาไว้
อย่างกว้างขวาง เปิดช่องโอกาสเชือ ้ เชิญอาคันตุกะทีม
่ า
ใหม่เข้ามาได้อย่างสะดวกดาย และแน่ละอาคันตุกะทั้ง
หลายที่จะไหลมาสู่เส้นทางสายนี้ ส่วนใหญ่ก็มาจากผู้ที่
มีจติ ใจ อัธยาศัยใจคอความประพฤติโน้มเอียงไปตาม
ผู้ใหญ่ ซึ่งได้แก่ความโน้มเอียงไปตามคุณพ่อคุณแม่ทั้ง
หลายนั่นเอง
ด้วยเหตุผลดังนี้ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ไม่เรียบร้อย
ของเยาวชน จึงมิอาจที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย

อาจจะมีผต ู้ ั้งปัญหาคัดค้านเหตุผลที่กล่าวมาแล้วก็ได้
โดยยกตัวอย่างของคู่สามีภรรยาทีม ่ ีความประพฤติไม่สู้ดี
ไม่สจ
ู้ ะเรียบร้อย

เพราะมีความ
ประพฤติดี มีศีลสัตย์ ตลอดไปจนถึงความเมตตากรุณาก็
มีอยู่ประจำาใจ ญาติมิตรทั้งหลายพากันยกย่องสรรเสริญ
และก็โดยทำานองตรงกันข้าม พ่อแม่ที่มีความดีราวกับ
ผ้าพับไว้ แต่กลับมีบุตรที่สด
ุ เลวทรามเหลือใจ พ่อแม่
อบรมเท่าใดก็ไม่ได้ดีขึ้นมา ในเรือ
่ งนี้มีอยูท
่ ั่วๆ ไป เรา
ต่างก็เห็นเสมอ

บาง
คนเมื่อตอนหนุ่มเสพสุรายาเมาหัวรานำ้า พอตอนกลาง
ของชีวิตกลับได้คิด หรือโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน
ทำาให้เปลี่ยนใจ แต่บางคนตอนกลางตอนปลายของชีวิต
กลับประพฤติตนเป็นคนเสียหายร้ายแรงขึ้นมาอีกก็มี
และบ่อยครั้งทีเดียวที่มรสุมของชีวิตเกิดเพียงชั่วครั้ง
ชั่วคราวแล้วก็หยุดลง
เช่น สามีภรรยาทะเลาะเบาะแว้งกันด้วยการกินอยู่ใช้
จ่าย เพราะรายได้ไม่ใคร่จะเพียงพอ หรือสามีภรรยามี
เรือ่ งระแวงกินใจกันในเรื่องของญาติของมิตร หรือ
เรือ
่ งส่วนตัวอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ทั้งนี้อาจเกิดมรสุมขึ้น
เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี หรือสลับกันไปเรื่อยๆ
ตลอดปีหรือหลายปีก็ได้

โดยทำานองตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง คู่สามี
ภรรยาอาจมีความประพฤติไม่สู้ดี แต่อาจเปลี่ยนใจได้
รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือญาติมิตรในประการ
ต่างๆ หรือป่วยเจ็บมากจนท้อถอยที่จะทำาชั่วต่อไป หรือ
ด้วยอำานาจของกรรมดีมีโชคลาภขึ้นมา จนคลายจาก
ความยากจน หรือสามี ภรรยา บุตรธิดา ญาติพี่น้อง
ปรับความเข้าใจกันได้ หรือตัวมารร้ายทำาให้บังเกิด
ความเสียหายได้จากไป หรือตายเสียแล้ว เหล่านี้เป็นต้น
ก็จะทำาให้มรสุมที่โหมพัดมาอย่างรุนแรง ผ่อนคลาย
หรือสงบนิ่งก็ได้
ในช่วงจังหวะเหล่านั้น ก็ยังได้ชอ
ื่ ว่า
ฉะนั้น เราจึงได้เห็นพ่อแม่ลูกที่มีความประพฤติ และ
อุปนิสัยใจคอตรงกันข้ามกับตน แต่ก็แน่ละย่อมจะใกล้คี
ยงกับตนอย่างแน่นอน เมื่อตอนปฏิสนธิ
อนึ่ง ทั้งสามีภรรยา อาจจะมีความประพฤติมิได้ตรงกัน
ก็ได้ เช่น สามีนั้นแสนจะดี แต่ภรรยานั้นช่างร้ายเหลือ
หรือภรรยาเรียบร้อยสมดังเป็นเบญจกัลยาณี แต่สามี
นั้นเหมือนโผล่ขึ้นมาจากใต้พื้นดิน

ผมได้ฟังคำาปรับทุกข์ของพ่อแม่หลายคน บ่นว่า
" " ลูกของผมคนหนึ่งปัญญาทึบมาก หรือ
ปัญญาอ่อน ผมจำาได้ว่า เมื่อตอนเด็กคนนี้เกิด เป็น
จังหวะที่ครอบครัวประสบมรสุมหนักมาก ก็ผมนั่นเอง
แหละครับเป็นคนทำามันขึ้นม ไม่ทราบว่าเวรกรรมอะไร
ในหนหลัง ทำาให้เห็นผิดเป็นชอบไป เพราะผมเกิดชอบ
กินเหล้าเมามายไม่ได้สติและเที่ยวกลางคืนอยูเ่ สมอ จึง
เกิดทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาไม่เว้นแต่ละวัน เขาก็
ร้องห่มร้องไห้ขมขื่นใจอยู่หลายปี ผมจำาได้ว่า

เมือ
่ ไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าวการขอ
หย่าร้างของภรรยา จากสามีซึ่งเป็นศาสตราจารย์ใน
ประเทศหนึ่ง ตามเรื่องนั้นสามีเป็นผู้สารภาพว่า เมื่อ
ตอนทีเ่ ขายังเด็กๆ มีเรื่องที่น่าตกใจ น่ากลัว และเกลียด
อย่างที่สุดอยู่เรือ
่ งหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นอยูเ่ สมอ คือ การได้
เห็นพ่อของเขาเมาเหล้ากลับมาบ้านแล้วทะเลาะและ
ทุบตีแม่ของเขา
เขารู้สึกชิงชัง รูส
้ ึกเศร้าสลดใจ และสงสารแม่สุดที่จะ
พรรณนา เขาได้เล่าถึงความในใจในขณะนั้นโดย
ประกาศอยู่ในใจเสมอๆ ว่า เมือ ่ เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เมื่อ
ใด เขาจะไม่ดื่มเหล้า และจะต้องไม่เมาเหล้าแล้วมาทุบดี
ภรรยาอย่างที่พ่อได้ทำาแก่แม่ของเขาอย่างแน่นอน
บัดนี้ เมื่อเขาได้เติบโตขึ้นมีภรรยา แล้วก็เป็นอาจารย์อยู่
ในมหาวิทยาลัย ก็นับว่าเขาเป็นผู้มีเกียรติยิ่งกว่าพ่อของ
เขาเสียอีก แต่เขาก็รักษาอุดมคตินี้ไว้ไม่ได้นานเท่าใด
เพราะเขาได้เริ่มดื่มเหล้าเมามาย แล้วเกิดทุบตีภรรยา
ของตนเข้า ครั้งนี้ก็เป้นการทุบตีครั้งที่สอง ซึ่งออกจะ
ทารุณต่อภรรยาของเขามาก จนถึงภรรยาได้มาฟ้อง
หย่ายังโรงศาล
เขาเองก็มีความรูส ้ ึกเสียใจ และสงสารลูกกับภรรยามาก
หลังจากเหตุการณ์ที่เลวร้ายทีเ่ ขาเองได้ก่อขึ้นมาแล้ว
ทุกครั้ง เขาก็รู้สึกหวั่นใจอยู่เสมอ เกรงว่าเหตุการณ์ที่
เขาเองก็ไม่ปรารถนานั้นจะเกิดขึ้นมาอีก เกรงว่าเขาจะ
ยั้งใจไว้ไม่ได้ แต่เขาก็ไม่ทราบว่าผีบ้าซาตานตนใดมา
บันดาลใจให้เผลอตัวกระทำาลงไปเช่นนี้ เขารับรองต่อ
ศาลว่าจะไม่ให้เหตุการณ์อันน่าขายหน้านี้เกิดขึ้นมาอีก
เลย

อย่างไรก็ดี บุคคลปัญญาอ่อนหรือปัญญาทึบนั้น ขอให้


ท่านนักศึกษาทราบไว้ด้วยว่า แตกต่างกันกับที่นาย
แพทย์ทางจิตค้นคว้าสอบถามเอาจากผู้คนแล้วจดเอาไว้
เป็นไอคิว

เพราะใฝ่แต่ใน
ทางชั่ว ยับยั้งชั่งใจไว้ไม่ได้
นอกจากนั้นยังจะต้องดูเอาจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซำ้าๆ
ซากๆ จนกว่าจะแน่ใจ เพราะในบางคราวบุคคลผู้ที่
แสดงออกซึ่งความผิดปกตินั้น อาจจะเป็นเพราะว่า ถูก
อกุศลรุมล้อมชักพาให้เป็นไป หรือถูกอกุศลหรืออำานาจ
อื่นบันดาลใจ หรือเพราะว่าได้ฝึกฝนอบรมมาทั้งในชาติ
ก่อนๆ และในชาตินี้จนมีความสันทัดจัดเจน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
กุศลมีกำาลังอ่อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลชนิดนี้จึงมีความ
บกพร่องทางร่างกายหรือบกพร่องทางจิตใจ หรือไม่
สมบูรณ์ทั้ง ๒ อย่าง
ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยจิตที่มีกำาลังอ่อนชนิดนี้ อาจจะไม่โง่เง่า
ขนาดหนักจนไม่รู้ประสีประสาอะไรเลย แม้นับ ๑ ๒ ๓
หรืออ่าน ก.ไก่ ข.ไข่ นานเท่าใดก็จำาไม่ได้ ไปจนกระทั่ง
ถึงผู้มีความรู้ความสามารถดี เป็นศาสตราจารย์ เป็น
อธิบดี เป็นรัฐมนตรี เป็นเจ้าขุนมูลนายชั้นไหนก็ได้ และ
แม้บางท่านมีรูปร่างสวยงามเป็นสง่าน่าเกรงขามก็ตาม
ซึ่งในปรมัตถธรรมนั้น จัดว่าเป็นพวกขาดปัญญาก็ได้
เช่นเป็นต้นว่า ถ้าบุคคลนั้นขาดตกบกพร่องกายหรือ
จิตใจมาตั้งแต่ปฏิสนธิ มีร่างกายเป็นชายแต่จิตใจเป็น
หญิง หรือร่างกายเป็นหญิงแต่จต ิ ใจเป็นชาย หรือมี
อวัยวะเพศไม่แน่ชัดมาแต่กำาเนิด(ขณะปฏิสนธิ) หรือมี
อวัยวะเพศเป็นสองเพศ หรือไม่มีอวัยวะเพศเลยตั้งแต่
เกิดขึ้นมา มีอำานาจบังคับบัญชาจิตใจตำ่ามากในทางทีจ ่ ะ
สะกัดกั้นอกุศล พัวพันกับสิ่งเสียหายหรือแม้เสียชื่อเสียง
เท่าใดก็ไม่กลัว
ประกาศว่าจะเลิกเครื่องดองของเมาเพราะทำาให้เกิด
ความเสียหายอย่างร้ายแรง

มีสามีมีบุตร
อยู่แล้ว ก็หนีตามชูท
้ ิ้งลูกเต้าไปได้ง่ายๆ หรือถ้าเป็นชาย
มีภรรยามีบุตร ก็ทอดทิ้งบุตรภรรยาไปอยู่กับภรรยาน้อย
ได้อย่างหน้าตาเฉย เป็นพวกไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักรับผิด
ชอบอะไรเลย เป็นบุคคลหลงใหลง่าย บังคับใจไม่ไหว มี
ผู้สนับสนุนเพียงเล็กน้อย ก็กระทำาผิดอย่างฉกรรจ์โดย
ไม่ยากเลย
ในเรื่องดังยกตัวอย่างมานี้ ยังมีความพิสดารอีกเป็นอัน
มาก ผมคิดว่า สมควรที่จะแสดงออกแก่ทา่ นนักศึกษา
ในวันหนึ่งข้างหน้า สำาหรับที่ผมบรรยายในวันนี้ เป็น
เพียงตัวอย่างหรือสารบัญเท่านั้น

การแสดงของผมในวันนี้ อาจกระทบกระเทือนใจท่านผู้ใดเข้าก็ได้
ซึ่งผมก็ต้องขอประทานอภัย ผมมิได้มีเจตนาร้ายต่อใคร มิได้เจาะจง
เฉพาะประเทศหรือบุคคลใด หากแต่ได้พูดไปตามสภาวะ ตามที่เกิด
ขึ้นหรือเป็นไปจริงๆ และตัวของผมเองก็รวมอยูด
่ ้วย อยู่ในฐานะ
เดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับท่านทั้งหลาย

ผมได้บรรยายเรื่องของผลทีเ่ กิดขึ้นจากโลภะ โทสะ


โมหะ ว่ามันมีอิทธิพลประการใดบ้าง เป็นการยากแสน
ยากเพียงใดที่จะสะกัดกั้นมิให้มันมีโอกาสตั้งตัวขึ้นมา
และเราไม่มีหนทางอื่นใดทีจ่ ะเลือกได้

นั่นก็คือ
ต้องมีปัญญารูเ้ ท่าทันมันเสียบ้าง เมื่อค่อยๆ สร้างปัญญา
ให้มากขึ้นเพียงใดแล้ว อำานาจแสนร้ายเหล่านั้นก็จะถูก
ริดรอนให้หลุดถอนออกไปทีละน้อยๆ ดังนั้นการสร้าง
สมความเข้าใจอันดีในความจริงของชีวิตจึงจัดว่ามี
คุณค่าที่นับเป็นราคามิได้เลย
อันการที่จะทำาความเข้าใจในเรือ
่ งของชีวิต หรือสร้าง
สมความเข้าใจดีดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็ได้แก่การฟัง การ
ศึกษาจากผู้บรรยาย จากการอ่านตำารับตำาราที่เป็นประ
มัตถประโยชน์ แล้วก็เพิ่มพูนให้ยิ่งขึ้นด้วยการใช้ความ
คิดพิจารณาอยู่เสมอๆ โลภะ โทสะ โมหะ ก็จะค่อยๆ
ถดถอยลงไปทีละน้อยๆ โดยมิรู้สึกตัวเอง

มันได้หลบหลีก หลอกล่อ ซ่อน


เร้น ปิดบัง แฝงตัวออกมาทำาการ มันรูจ
้ ักผ่อนปรนเมื่อ
ถึงคราวควรผ่อนปรน มันรู้จักแข็งกร้าวเมือ่ จำาเป็น มัน
จะออกคำาสั่งอย่างนิ่มนวลอ่อนหวานให้ใครๆ ตายใจ
แต่มันจะบังคับบัญชาอย่างผู้มอ
ี ำานาจเด็ดขาดอยูเ่ บื้อง
หลังโดยมิได้โผล่ออกมาให้เห็นหน้า สัตว์ทั้งหลายจึงตก
อยู่ภายใต้อำานาจของมันโดยไม่รู้สึกตัว
โลภะ โทสะ และโมหะนั้น มันได้อยู่กับเรามาแต่อ้อนแต่
ออก ตัง้ แต่เล็กจนโต ตั้งแต่เกิดจนตาย และตั้งแต่ชาติ
ในๆ เข้าไปจนนับไม่ได้ ถ้ามันไม่เก่งจริง หรือถ้ามันมิได้
มีอะไรดีเป็นเครื่องคุม
้ ครองตัวแล้ว มันจะติดสอยห้อย
ตามเรามาจนถึงบัดนี้ได้หรือ ถ้ามันมิได้มีความสามารถ
อันนับได้ว่า ชัน
้ ยอดแล้ว จะอยู่กับเรามานานนับชาติไม่
ถ้วนได้อย่างไร ถ้ามันมิได้มีความเฉลียวฉลาดอยูย ่ ง
คงกระพันแล้ว มันจะครองตัวมาจนป่านนี้ได้หรือ
เมือ
่ พิจารณาดูแล้ว ก็จะเห็นว่ามันเก่งกล้าสามารถ
จริงๆ หาใครมาเสมอเหมือนไม่ได้ ดังนั้นมันจึงไม่กลัว
ใคร มันจึงไม่รู้จักเกรงสิ่งใด มันไม่เคยรู้จักความตาย
อย่างมากมันก็เพียงสลบไสลไปเป็นบางคราวเท่านั้น
ครั้นแล้วก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่ เป็นดังนี้มาจนนับชาติที่เกิด
ว่าเท่าใดไม่ได้

เมือ
่ ได้
สั่งสมปัญญาอันเกิดจากการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ก็คอ ่ ยๆ
สร้างปัญญาที่เป็นความคิดพิจารณาให้ติดตามมาให้
มากขึ้นตามลำาดับ
โลภะ โทสะ โมหะที่เคยมีพิษร้าย คอยมาทำาใจของเราให้
หม่นหมองรำ่าไห้ จนบางคราวถึงสุดแสนทีจ ่ ะทนได้ ก็จะ
อ่อนแอพ่ายแพ้ ไม่อาจจะโผล่ขึ้นมารังควาญอย่าง
จริงจังเหมือนแต่ก่อน ในขณะนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะ
ใช้ปัญญาอย่างแรงกล้า อันเราได้ฝึกฝนอบรมมาอย่าง
ถูกต้องเข้าประหาณโลภะ โทสะ โมหะ ศัตรูตัวร้ายให้
พินาศ ให้ย่อยยับไปเสียตั้งแต่การประหาณลงได้เป็น
ขณะๆ หรือเป็นครั้งเป็นคราว ไปจนถึงการประหาณให้
เด็ดขาดให้สิ้นเชิง
แต่อย่างไรก็ดี มีบุคคลเป็นอันมากเหมือนกันตั้งแต่
พุทธกาลเป็นต้นมา ทีเ่ พียรพยายามอย่างยิ่งยวดในการ
ทำาลายล้างกิเลสเหล่านั้น ได้ทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจลงไป
อย่างจริงจังด้วยหวังว่าจะให้กเิ ลสยอมจำานน มีการ
ทรมานร่างกายและจิตใจเป็นต้น เมือ ่ กิเลสตัวร้ายทน
ต่ออำานาจความตั้งใจของผู้คิดทำาลายมันไม่ไหว จึงได้
หลบซ่อนตัวอยู่อย่างมิดชิด แฝงตัวอยู่อย่างสนิทแนบ
เนียน ไม่เปิดช่องโอกาสให้ใครได้เห็น แอบแฝงตัว
บงการอยูอ ่ ย่างเงียบๆ ปล่อยให้ผู้ซึ่งมีความอวดดี อวด
ว่ามีปัญญาเฉลียวฉลาดคิดว่าพิชิตมันได้ แล้วหลงระ
เริงไปด้วความดีใจ แต่ความจริงนั้นได้ตกลงเป็นข้าช่วง
ใช้ของมันต่อไปอีกโดยไม่รส ู้ ึกตัว หรือกว่าจะรู้ตัวก็เป็น
เวลานาน หรือบางทีก็สายเกินไป
กิเลสทั้งหลายถ้ามันไม่เก่งจริง มันไม่เชี่ยวชาญชำานาญ
อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ก็คงจะไม่ติดตามเรามาจนถึงบัดนี้
อันนับเวลาเป็นแสนเป็นล้านปี ดังนั้น
เพียงทำาจิตให้ว่างๆ ทำาให้
จิตปล่อยวางเฉยๆ ทำาสมาธิให้สงบๆ มิให้กระสับ
กระส่าย ทำาใจให้กำาหนดอารมณ์ปัจจุบันโดยว่า นั่งหนอ
ถูกหนอ ดังนี้
เพราะผู้
ปฏิบัติยังเข้าถึงปัญญาไม่ได้ ทัง้ เหตุผลต่างๆ ผู้ปฏิบัติก็
ยังเข้าไปไม่ถึงไหน
ท่านนักศึกษาทั้งหลาย เรื่องของโลภะ โทสะ โมหะ ตาม
ที่ผมได้บรรยายไปแล้ว ก็เพื่อให้ทา่ นได้ทราบถึงผลของ
มันว่าเป็นประการใด เพื่อให้เห็นฤทธิ์เดชของมันว่า นำา
ความเสียหายมาให้แก่ทุกๆ ชีวิตเพียงใด เป็นการทำาให้
โลกปั่นป่วน ชุลมุนวุ่นวายสักเพียงไหน ให้ทา่ นได้ทราบ
ถึงเรือ
่ งราวทั้งได้เห็นหน้าตาของโลภะ โทสะ โมหะ ที่
ได้ซ่อนเร้นอยู่ภายใน เป็นการบรรยายออกไปค่อนข้าง
กว้างขวางในแง่มม ุ ต่างๆ ทีช
่ าวโลกส่วนใหญ่ยังมิได้มี
ความเข้าใจ จึงไม่ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
และอนาคต บัดนี้เวลาแห่งการบรรยายก็นับว่าพอ
สมควรแล้ว ในคราวหน้าผมจะได้แสดงถึงอกุศล
กรรมบถเหตุให้เกิดอกุศลจิต และเมื่ออกุศลจิตเกิดขึ้น
มาแล้ว เราควรทำาอย่างไร ต่อไปนี้ทา่ นผู้ใดมีปัญหาจะ
ถามก็เชิญได้

ตามที่อาจารย์ได้บรรยายมา ผมก็มีความ
เห็นร่วมด้วยว่าเป็นไปจริงๆ ผลที่ไม่ดีทั้งหลายก็จะต้อง
เกิดขึ้นติดตามกันมาเป็นอันมากอย่างแน่นอนความ
ประพฤติของคนในเวลานี้กับในอดีตเพียงไม่กี่ปีก็แตก
ต่างกันไกลลิบ ย่อมจะแสดงว่า มนุษย์ทั้งหลายหาเรือ ่ ง
ใส่ตัว หาเรื่องให้ตัวเองเดือดร้อนโดยไม่รสู้ ึกตัวนั่นเอง

บุคคลเป็นอันมากที่เป็นคนดีมีศีลธรรม
หรือคนไม่ดีไม่มศ ี ีลธรรม ก็ล้วนต้องการความดีของผู้
อื่น ล้วนต้องการความเป็นธรรมจากผูอ ้ ื่น ต่างก็ไม่
อยากให้ผู้อื่นเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครเลยที่
ต้องการให้ผู้อื่นประพฤติไม่ดี ไม่มีศล
ี ธรรมต่อตน

อำานาจของโลภตัณหา
ที่ได้เคยสะสมเอาไว้มากระทบกระเทือนใจให้เกิดความ
ทะยานอยากอยู่รำ่าไป ครั้นความทะยานอยากเหล่านั้นมี
กำาลังแก่กล้ามากขึ้นแล้ว อำานาจของความยับยั้งชั่งใจก็
ลดลง คุณธรรมความดีทั้งหลายต่างก็พากันหนีจากไป
อกุศลกรรมทั้งหลายที่มนุษย์กล้าก่อให้เกิดขึ้น ก็ด้วย
เหตุที่คิดว่าตนมีกำาไร คิดว่าผลแห่งการเอารัดเอา
เปรียบนั้น ตนจะได้รับความสุขจากผลกำาไรเหล่านั้น
ทั้งนี้ก็เพราะความโง่เขลาเบาปัญญาขาดการพิจารณา
โดยแยบคาย คือ " " และอ
โยนิโสมนสิการนี้ ย่อมจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยเหตุ ๕
ประการ คือ

. ไม่ได้สร้างสมบุญไว้
แต่ชาติปางก่อน
. อยู่ในประเทศที่ไม่
สมควร (ไม่มีสัปบุรุษ)
. ไม่ได้คบหาสน
ทนากับสัปบุรุษ
. ไม่ได้ฟังธรรมของสัป
บุรุษ
. ตั้งตนไว้ผิด

ผู้กระทำาอกุศลทั้งหลายย่อมอาศัยเหตุจากอดีตและ
ปัจจุบันร่วมกัน ในเหตุ ๕ ประการนี้

ที่ว่าไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ชาติปางก่อน
นั้น และเพราะอดีตเหตุนี้เอง
จึงได้มาเกิด ณ ที่ๆ ไม่มีผู้รู้ทจ
ี่ ะอบรมสั่งสอน หรือมีแต่ก็
ไม่เอาใจใส่ หรือเพราะผลของกรรมดีอันได้สร้างไว้ไม่
พอนั่นเอง จึงได้พาให้ไปในสารทิศต่างๆ อันทำาให้ไม่มี
ความสนใจในความดี หรือไม่มีอะไรจูงใจไปในทางที่ดี
อันเป็นเหตุให้ตั้งตนไว้ผิดๆ

ในข้อที่ว่า

ทำาให้พวกมนุษย์ทช
ี่ อบกินเลือดสดๆ หรือเลือดแห้งๆ
ของมนุษย์ด้วยกันเองน้อยเข้านั้น

ให้เขาได้ทราบ
ว่าการกินเลือดกินเนื้อผู้อื่นนั้น ย่อมจะขาดทุนย่อยยับ
อย่างไร ในที่สุดให้เขาได้เลิกคิดเลิกทำาไม่ดีโดยตัวของ
เขาเอง
ให้เขาได้ทราบความจริง
ของเรื่องชีวิตว่า ชีวิตนั้นคืออะไร ตายแล้วจะไปเกิดอีก
ได้หรือไม่ การกระทำาอะไรลงไปโดยขาดคุณธรรมความ
ดี เพราะเห็นแต่จะได้นั้น เป็นการสร้างหนี้สินให้เพิ่ม
ขึ้นมากมาย อันจะหลีกเลี่ยงไม่ชำาระเสียมิได้ บางทีก็ตอ ้ ง
ใช้ชีวิตชำาระหนี้ไป ซึ่งบรรดาผู้รเู้ ห็นว่าเป็นการขาดทุน
เหลือหลาย เพราะผลของการกระทำาจะต้องปรากฏขึ้น
ในชาตินี้นิดหน่อย บางทีก็ไม่ปรากฏชัดแจ้งอย่างไร แต่
จะได้รับผลกรรมของตัวเองในชาติหน้าๆ มากมายนัก
ไม่สาสมหรือไม่คุ้มกันเลยกับการที่ได้ลงทุนทำาลงไป

คำาบรรยายพระอภิธรรมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๑ ครั้ง ๑๑
ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๘

เมือ
่ วันที่ ๗ มีนาคม ผมได้แสดงเรื่องของอกุศลจิตไปใน
แง่มุมต่างๆ เพือ ่ ให้ท่านนักศึกษามีความเข้าใจอย่าง
กว้างขวาง ได้แสดงถึงผลของอกุศลทีจ ่ ะเกิดกับผู้ใหญ่
ตลอดจนเยาวชนในอนาคต และหนทางที่จะ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขในประการต่างๆ ผมได้กล่าวถึง
โยนิโสมนสิการ การทำาใจให้แยบคาย และอโยนิโส
มนสิการ การทำาใจไม่แยบคาย ว่าคืออะไร เหตุทั้งใน
ชาตินี้และชาติก่อนทำาให้โยนิโสและอโยนิโสมนสิการ
เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง ในวันนี้ผมก็จะได้อธิบายถึงอกุศล
กรรมบถต่อไป

อกุศลกรรมบถได้แก่
ซึ่งมีอยู่ ๑๐
หัวข้อด้วยกัน
ผมได้เคยแสดงมาแล้วว่า ปุถุชนทั้งหลายย่อมจะมีความ
โน้มเอียงไปในทางมักได้เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบชิง
ดีชิงเด่นกันอย่างหนักหน่วงรุนแรง เพื่อผลคืออารมณ์
ต่างๆ ที่พึงปรารถนาทางทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย และ
ใจ หรือทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เมือ
่ ความปรารถนาในอารมณ์ได้เกิดขึ้น

บุคคลทั้งหลายผู้ซึ่งขาดการพิจารณาโดยแยบคายก็จะ
ขาดความยับยั้งชั่งใจ ถ้าประกอบกับอดีตได้เคยสั่งสม
อบรมมาสนับสนุนบันดาลใจเข้าด้วยแล้ว ก็จะกระทำา
การอันเป็นทุจริตได้โดยไม่ยากเลย

อกุศลกรรมนั้น
คือการกระทำาที่จะเป็นเหตุให้
บังเกิดความสำาเร็จในการกระทำาอกุศลกรรมแล้ว

. = อกุศลกรรมที่เกิดขึ้นทาง
กาย
. = อกุศลกรรมที่เกิดขึ้นทาง
วาจา
. = อกุศลกรรมที่เกิดขึ้นทาง
ใจ
สำาหรับคำาว่า นั้นคือ การกระทำาที่เกิด
ขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือการแสดงออก
ทางกาย วาจา และใจ

. = กายเป็นเหตุให้เกิดการกระทำา ได้แก่

. = วาจาเป็นเหตุให้เกิดการกระทำา
ได้แก่
. = ใจเป็นเหตุให้เกิดการกระทำา ได้แก่

คำาว่า นั้น ได้แก่


เช่น การเคลื่อนไหว
อิริยาบถ มียืน เดิน เป็นต้น การแสดงออกทางวาจา
เช่นในการกล่าวถ้อยคำามีภาษาพูดต่างๆ เป็นต้น เพื่อ
แสดงออกให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของอิริยาบถ และ
วาจาที่ได้กล่าวออกไปเหล่านั้น ว่ามีความมุ่งหมาย
ประการใด จิตใจแสดงเจตนานั้นออกไปเป็นการกระทำา
รูปทางกาย และรูปทางวาจาให้เกิดขึ้น
ส่วนใจเป็นเหตุให้เกิดการกระทำาขึ้นภายในจิตใจ เช่น
คิดนึกเรื่องราวต่างๆ เป็นต้น

จึงได้แก่จิต
ทั้งหมด ด้วยเหตุดังกล่าว พระอรรถกถาจารย์ที่ได้แสดง
ไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาจึงได้แสดงว่า "
"

ขอให้ท่านนักศึกษาทั้งหลายลองคิดดู ถ้าเราจะทำาสิ่ง
หนึ่งประการใด ถ้าเราจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดืม
่ หรือ
ถ้าเราจะกระดิกนิ้วสักนิดหนึ่ง

แน่ละ มันจะต้องมีเหตุผลหลาย
อย่าง มันจะต้องอาศัยอะไรหลายสิ่ง แต่ผมขอให้ท่าน
พิจารณาถึงตัวการทีส ่ ำาคัญที่สด
ุ ที่เป็นหัวหน้า ทีเ่ ป็นตัว
บงการ หรือเป็นตัวทำาให้สม ั ปยุตตธรรม คือธรรมชาติที่
เกิดพร้อมกันเหล่านั้นร่วมกันทำางาน
แน่นอนทีเดียว ท่านทั้งหลายคงจะไม่ปฏิเสธว่า
เราคิดเราตั้งใจว่า จะกิน
จะดื่ม เราตั้งใจว่าจะเดินหรือนั่งเกิดขึ้นมาก่อน แล้วจึง
ได้กระทำาลงไป และถ้าเรามิได้มีความตั้งใจเกิดขึ้นมา
ก่อน ก็ย่อมจะแสดงอะไรออกมาไม่ได้ เช่นมิได้ตั้งใจว่า
จะพูด ก็จะพูดไม่ออก มิได้ตั้งใจจะเดิน ก็จะก้าวขาไม่ได้
เมือ ่ ตั้งใจว่าจะพูดเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วก็พูดออกไป เมือ

ตั้งใจว่าจะเคลื่อนไหวอิริยาบถท่าไหนก็กระทำาลงไป
แม้แต่การคิดนึกในเรือ ่ งราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางมโน
ทวาร ก็จะต้องมีความตั้งใจว่า จะคิดนึกถึงเรื่องนั้น
เรือ ิ นึกไป (แม้การแสดงออกในเวลา
่ งนี้ แล้วจึงได้คด
ตกใจ ซึ่งเป็นไปโดยรวดเร็วก็หนีเจตนาไปไม่ได้)

ด้วยเหตุดังที่ผมอธิบายมา ท่านนักศึกษาก็จะเห็นได้ว่า
การกระทำาหรือการแสดงออกของสัตว์ทั้งหลาย ทาง
กาย ทางวาจา และทางใจ จึงหนีเจตนาไปไม่ได้ หนี
ความตั้งใจไปไม่พ้น

อย่างไรก็ดี

เพราะ
เป็นธรรมที่เกิดก่อนกรรม(ปุพพภาคธรรม)
เป็นธรรมทีเ่ กิดภายหลังเจตนา(ปัจฉาภาค
ธรรม) ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์ ได้แสดงไว้ในอุ
บาลีสต
ู รแห่งมัชฌิมปัณณาสอรรถกถาว่า

"กสฺมา เจตนา กมฺมนฺติ วุตฺตา? เจตนา มูลกตฺตา กมฺมสฺส"


"เพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า เจตนา
ชื่อว่ากรรม? ก็เพราะการกระทำาที่สำาเร็จลงนั้น มีเจตนา
เป็นมูล"

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในฉักกนิบาตอัง
คุตตรพระบาลีว่า
"เจตนาหำ ภิกฺขเว กมฺมำ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมำ กโรติ
กาเยน วาจาย มนสา"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความตั้งใจเป็นเครื่อง
กระตุ้น แล้วก็กระทำาการงานนั้นๆ สำาเร็จลงด้วยกาย
บ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี้ ตถาคตจึง
กล่าวว่า "

อกุศลที่เกิดทางกาย (เป็นส่วนมาก) ชื่อว่า


มี ๓ คือ
ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
อทินนาทาน ลักทรัพย์
กาเมสุมิจฉาจาร ล่วงประเวณี

อกุศลที่เกิดทางวาจา (เป็นส่วนมาก) ชื่อว่า


มี ๔ คือ
มุสาวาท พูดปด
ปิสุณวาจา พูดส่อเสียด
ผรุสวาจา พูดคำาหยาบ
สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ

อกุศลที่เกิดทางใจ (เป็นส่วนมาก) ชือ


่ ว่า มี
๓ คือ
อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้
พยาบาท คิดปองร้ายเขา
มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด

อันได้แก่หนทาง
แห่งการกระทำาบาป หรือเรียกว่า ทุจริต ๑๐ มีอกุศลที่
เกิดขึ้นทางกาย ๓ อกุศลทีเ่ กิดขึ้นทางวาจา ๔ และ
อกุศลที่เกิดขึ้นทางใจอีก ๓ รวมเป็น ๑๐ ประการ

นักศึกษาเห็นคำาที่ว่า " " ภายใน


วงเล็บของอกุศลทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว คงจะมี
ความสงสัยว่า
เพราะปาณาติบาต
การฆ่าสัตว์ เป็นต้นนั้น จะต้องฆ่าโดยทางกายก็ถูกต้อง
แล้ว
ที่ตอ
้ งมีคำาว่า ก็ด้วยความ
ปรารถนาที่จะไม่ให้ทา่ นนักศึกษาคิดว่าอกุศลทาง
กายกรรมทั้ง ๓ เป็นต้นนั้น กระทำาบาปโดยอาศัยทาง
กายทางเดียวอย่างแน่นอนเสมอไป เพราะว่าบางทีก็
มิได้อาศัยทางกายบ้างก็มี เช่น ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์
เราอาจใช้วาจาสั่งให้คนอื่นอื่นฆ่าก็ได้เหมือนกัน แล้ว
สัตว์ก็ได้ตายไปสมกับความตั้งใจด้วย เป็นอันครบองค์
ของกุศล
นอกจากนั้น อกุศลที่เกิดขึ้นทางวาจาก็ไม่ใช่จะเกิดทาง
วาจาแน่นอนเสมอไป เพราะอาจจะเกิดขึ้นทางกายก็ได้
เช่น ปิสุณวาจา คือพูดจาส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
เราอาจยุยงเขาด้วยการเขียนหนังสือ อันเกิดจากทาง
กาย หรือเราแสดงกิริยาอาการอันเป็นทางกายให้ผู้อื่นรู้
ก็ได้ ดังนี้เป็นต้น

คำาว่า มาจากคำาบาลีที่ว่า
คำาว่า = การกระทำา คำาว่า = หนทาง
เมือ
่ รวมกันแล้ว ก็แปลว่า การกระทำาอัน
เป็นหนทางไปสู่อบายภูมิ คือทีเ่ กิดที่ได้รับความทุกข์ยาก
ลำาบาก มีสตั ว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน
การแสดงถึง ซึ่งเป็นการ
แสดงออกทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่เสมอๆ ในชีวิต
ประจำาวันของบุคคลทั่วไป เพื่อประโยชน์ของท่าน
นักศึกษาก็ควรอธิบายขยายความให้ทา่ นได้เข้าใจกว้าง
ขวางยิ่งขึ้น ทัง้ เข้าใจง่ายด้วย จึงจำาเป็นจะต้องเอาหลัก
การมาวาง พร้อมทั้งยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบเป็น
เรือ
่ งๆไปด้วย การศึกษาก็คงจะช้าไปบ้าง แต่ก็ได้เรื่อง
ราวละเอียดลออขึ้น

.
่ แยกคำานี้ออกแล้ว ก็จะได้เป็น ๒ บท คือ ปาณ + อติ
เมือ
ปาต
= เมื่อว่าโดยทั่วไปก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าจะ
กล่าวตามหลักของปรมัตถ์ก็ได้แก่ชีวิตรูป ชีวิตนาม อติ
ปาต แปลว่า ก้าวล่วงความเบียดเบียน
= ให้ตกไป
เมือ
่ รวมกันเข้าแล้ว แปลว่า ทำาให้
ชีวิตตกล่วงไป คือ ทำาให้สัตว์นั้นตายก่อนจะถึงเวลา
กำาหนดทีอ ่ ายุของสัตว์จะอยู่ได้
ในการทำาปาณาติบาตนั้น ซึ่งได้แก่มี
ความตั้งใจฆ่า เป็นประการสำาคัญทีส
่ ุด
การทำาอกุศลนั้น ย่อมจะ
บางครั้งก็
มีกำาลังมาก บางครั้งก็มก
ี ำาลังน้อย ถ้ามีกำาลังมากก็เรียก
ว่า ถ้ามีกำาลังน้อยก็เรียกว่า ไม่ล่วง
กรรมบถ หรือพูดว่าครบองค์ทุจริต และไม่ครบองค์
ทุจริต

เมื่อ
มีกำาลังมาก ก็มีความสามารถให้
คือกรรมที่นำาไปสู่การ
ปฏิสนธิในอบายภูมิ มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์
เดรัจฉาน แต่อย่างไรก็ดี ในบางครั้ง(ส่วนน้อย) แม้ถึงไม่
ล่วงกรรมบถ ก็มีความสามารถให้กำาลังนำาไปสู่อบายภูมิ
ได้ก็มเี หมือนกัน ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไปข้างหน้า

อกุศลกรรมทีจ ่ ะก้าวล่วงกรรมบถ หรือครบองค์ทุจริต


นั้น ก็แล้วแต่ว่า ครบองค์กรรมบถหรือไม่

. สัตว์มีชีวิต
. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
.
. ทำาความเพียรเพื่อจะฆ่า
. สัตว์ตอ
้ งตายเพราะความเพียรนั้น

การทำาบาปฆ่าสัตว์นั้น มีองค์ทั้ง ๕ ผู้ใดฆ่าสัตว์ โดย


กระทำาลงไปครบองค์ ๕ แล้วก็ได้ชื่อว่า ล่วงกรรมบถ ซึ่ง
มีกำาลังหรือมีโทษมาก แต่ถ้ามิได้ครบองค์ของกรรมบถ
เช่น ไม่รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต อันเป็นการเว้นข้อ ๒ หรือ
สัตว์ทตี่ ั้งใจฆ่านั้นมิได้ตายลงด้วยการฆ่า เป็นการเว้น
ในข้อ ๕ เป็นต้น

คือมี
กำาลังที่จะส่งไปเกิดในชาติหน้าได้ เรียกว่าให้ผลใน
ปฏิสนธิกาล ถ้ากำาลังไม่มากแล้ว ให้ผลในปฏิสนธิกาล
ไม่ได้ แต่ก็จะให้ผลในปวัตติ คือเกิดขึ้นมาเสียก่อนแล้ว
จึงแสดงผลภายหลัง เช่นในการเบียดเบียนทำาให้เจ็บ
ป่วยออดแอด เป็นต้น

การทำาอกุศลนั้น แม้จะทำาการอย่างเดียวกัน แต่ก็หาให้


ผลเสมอกันไม่

ถ้าเจตนามีกำาลังมากผลก็ย่อมมาก
อย่างไรก็ดี ผลที่เกิดขึ้นจากการฆ่าสัตว์นั้น ผู้ทำาการฆ่า
สัตว์ยอ
่ มได้รับผลแตกต่างกันไปอีกมาก เช่น

หรือไม่ได้พยายามเลย การฆ่า
สัตว์ใหญ่หรือฆ่าสัตว์เล็กๆ และฆ่ามนุย์กับฆ่าสัตว์
เดรัจฉาน เหล่านี้เป็นต้น
คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้น แยกการ
ให้ผลออกเป็น ๒ ประการ คือ
. ได้แก่การให้ผลที่มีโทษมาก
. ได้แก่การให้ผลที่มีโทษน้อย
สัตว์ทมี่ ีร่างกายใหญ่โต เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ ผู้ใดฆ่า
เข้าแล้ว ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นมหาสาวัชชะ แต่ถ้าสัตว์ที่ถูก
ฆ่านั้นเป็นสัตว์เล็ก เช่น มด ลิน
้ ยุง เหล่านี้ก็เป็นอัปปสา
วัชชะ มีโทษน้อย
บุคคลส่วนมากมักจะตั้งคำาถามว่า สัตว์เล็กหรือสัตว์
ใหญ่ก็ชื่อว่า มีชีวิตเหมือนกันทั้งนั้น ความเจ็บปวดก็เห
มือนๆกัน มิใช่ว่า เมือ่ ฆ่าสัตว์เล็กแล้ว สัตว์เล็กๆเหล่า
นั้นจะเจ็บปวดน้อยกว่าสัตว์ใหญ่ก็หาไม่ ทัง้ การตายก็ ๑
ต่อ ๑ เท่าๆกัน ถ้าได้รับผลของกรรมแตกต่างกันแล้ว ก็
ย่อมจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อสัตว์

ในเรื่องนี้ ผมก็ได้ให้หลักการกับท่านนักศึกษาไปแล้วว่า
ผลของอกุศลจะมากหรือน้อย ก็อยูท ่ ี่กำาลังแรงของ
เจตนา ฉะนั้นการฆ่าสัตว์ใหญ่กับการฆ่าสัตว์เล้ก เพือ ่
จะทราบว่าบาปมากหรือน้อยกว่ากันอย่างไร ก็จะต้อง
เอากำาลังแรงของเจตนาเข้ามาตัดสินด้วย
ขอให้ท่านนักศึกษาลองพิจารณาดู ก็จะเห็นได้โดยไม่
ยากว่า

ถ้าจิตใจมิได้สร้างขึ้นให้เข้ม
แข็ง ถ้าจิตใจมิได้ประกอบด้วยความเหี้ยมโหดดุร้ายแล้ว
จะฆ่าวัวได้หรือ ส่วนสัตว์ตัวเล็กๆ เช่นยุงเป็นต้นนั้น
ใครๆ ก็ตบยุงกันได้แทบทุกคน
สุภาพสตรีทา่ นหนึ่งเกินไปจ่ายตลาด วันนั้นเป็นวันฆ่า
เป็ดฆ่าไก่ของคนจีนเพื่อจะเอาไปไหว้เจ้า ได้เห็นเป็ดที่
ตายเพราะถูกฆ่ากองสุมกันอยู่ แล้วในขณะนั้นก็เห็นคน
กำาลังเชือดไก่ เลือดกำาลังไหลออกมาราวกับนำ้าก๊อก
สุภาพสตรีผู้นี้ก็บังเกิดความตกใจเสียวไส้ เลยเกิดเป็น
ลมหน้ามืดนั่งอยูต ่ รงนั้นเอง และก็น่าอัศจรรย์

ไม่ว่าจะเป็นในมุ้งของตัวเอง หรือมุ้งของลูกหลาน ก็จะ


หายุงไม่ได้เพราะจะคอยตบ หรือบางทีก็จุดเทียนเผาเอา
เสียเลยก็ยังทำา

ตามที่ได้แสดงมาแล้ว ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่า การ


ฆ่าสัตว์ใหญ่นั้น กำาลังแรงของเจตนาก็ย่อมมีมาก
นอกจากนั้น การฆ่าสัตว์ใหญ่
( )

การฆ่าสัตว์ใหญ่จึงมีโทษมาก เรียกว่า มหาสาวัชชะ การ


ฆ่าสัตว์เล็กมีโทษน้อยเรียกว่า อัปปสาวัชชะ
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว การฆ่าสัตว์กับการฆ่ามนุษย์
ก็แตกต่างกันมาก แม้การฆ่ามนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน
แต่เป็น
เช่น ภิกษุ สามเณร อุบาสก
อุบาสิกา กับพวกโจรผู้รา้ ยก็แตกต่างกันอีก ยิ่งเป็นพ่อ
แม่ของตนเอง หรือเป็นพระอรหันต์ ก็ยอ ่ มจะได้รับโทษ
มากขึ้นเป็นพิเศษ เรียกว่า เป็นอนันตริยกรรมทีเดียว
นอกจากนั้น ผู้กระทำาปาณาติบาต เป็นผู้

เห็น
ว่าการฆ่าสัตว์นั้นไม่เป็นบาปเลย เพราะสัตว์นั้นเป็น
อาหารของมนุษย์ จิตใจก็ย่อมจะเข็งกร้าว ในเวลา
ทำาการฆ่าก็เต็มไปด้วยความอำามหิตโหดร้าย ฉะนั้น จึง
ได้รับโทษมากกว่าผู้ฆ่าสัตว์ที่รู้โทษของการทำาดี เห็น
ว่าการฆ่าสัตว์นั้นย่อมไม่สมควรกระทำาเลย แต่ก็ได้
กระทำาการฆ่าลงไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง จนสัตว์นั้นได้
ตายลง

. ความพยายามทีท่ ำาด้วยตนเอง
. ความพยายามโดยใช้ให้ผู้อื่นทำา
. ความพยายามโดยการปล่อย
อาวุธ เช่น ขว้าง ปา เป็นต้น
. ความพยายามด้วยการสร้างเครือ
่ ง
ประหารถาวรเอาไว้ เช่น ขุดหลุมพราง หลุมโจน ทำา
อาวุธมีมีดหรือปืน เป็นต้น
. ความพยายามด้วยการใช้คาถาอาคม
หรือเรื่องไสยศาสตร์ต่างๆ
. ความพยายามด้วยการใช้อิทธิฤทธิ
ของตนด้วยวิธีการต่างๆ

. หมายถึงความพยายามฆ่า
สัตว์ทเี่ กิดขึ้นด้วยนำ้ามือของตนเอง เช่นมีการแทง ฟัน
หรือตีด้วยมีดด้วยไม้
. หมายถึงความพยายามฆ่า
สัตว์โดยใช้ให้ผู้อื่นทำา เช่น การสั่งด้วยวาจา การเขียน
หนังสือ หรือการพยักหน้าให้ลงมือ หรือการให้
อาณัตส ิ ัญญาณต่างๆ ให้ลงมือฆ่า หรือแม้เป็นความ
หมายที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้สั่งกับคนฆ่า
นายอำาเภอคนหนึ่ง เลีย ้ งไก่ไว้ใต้ถุนบ้านหลายตัวเพื่อ
จะได้เอาไว้กินไข่ ความจริงก็เพื่อจะเอาไว้กินเนื้อด้วย
นั่นเอง เมือ
่ เวลาต้องการกินไก่ จะสั่งคนใช้โดยตรงก็
กลัวบาป ดังนั้นจึงหาหนทางทีจ ่ ะหลีกเลีย
่ งไม่สั่งไป
ตรงๆ แต่ชี้มอ ื ไปที่ไก่ตัวหนึ่งแล้วพูดว่า "

" สั่งแล้วก็ไปทำางาน ครั้น


ตอนเย็นกลับมาบ้าน ปรากฏว่าคนใช้แกงไก่ไว้คอยท่า
แล้ว นายอำาเภอก็ปากเป็นมัน
สุภาพสตรีคนหนึ่งไปจ่ายตลาด ครั้นไปถึงร้านขายปลา
เห็นปลาหลายตัวที่แม่ค้าเขาใส่ถาดเอานำ้าหล่อไว้เล็ก
น้อย กำาลังดิ้นอยู่ก็ไม่กล้าจะซื้อ ทั้งไม่กล้าจะสั่งให้ฆา่
ปลาด้วย

เมื่อกลับมาแล้วจึง
ได้ตกลงซื้อปลานั้น ซึ่งในเรื่องนี้คนขายปลารูท ้ ่าทีดีอยู่
เพราะเคยซื้อโดยวิธีนี้หลายครั้งแล้วรู้ใจกัน
ตามตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาทั้ง ๒ ตัวอย่าง ผู้กระทำาการ
สั่งให้ผู้อื่นฆ่าสัตว์แล้วคิดว่า ตัวจะไม่มีโทษด้วยมิได้ออก
คำาสั่งให้ทำาโดยตรง การเลี่ยงกฎหมายนั้น บางทีก็อาจ
จะหลีกเลี่ยงได้โดยอาศัยพยิงพยานเข้าประกอบ แต่การ
หลีกเลี่ยงกฎของธรรมชาตินั้นไม่มีหวังเลย เพราะว่าไม่
ต้องการพยาน ไม่ต้องการหลักฐานอื่นใด
ในการที่นายอำาเภอพูดแล้วชี้มอ ื ไปที่ไก่นั้น ในใจมีความ
คิดเห็นอย่างไร หรือการมองสบตาคนขาย (หรือแม้ไม่ได้
มองก็ตาม)
ถ้า
เคยซื้อกันหลายๆ คน เคยทำากันมาดังนี้แล้ว ผูข ้ ายก็รู้
อยู่ดี ก็จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามิได้สั่งให้ฆา่ กายวิญญัติรูป
รุปที่แสดงออกทางกาย และวจีวิญญัติรุป รูปที่
แสดงออกเป็นถ้อยคำานั้น เกิดขึ้นมาจากใจโดยตรง ซึ่ง
จะเป็นการบ่งบอกถึงเจตนาโดยชัดแจ้ง

. หมายถึงความพยายาม
ฆ่าสัตว์ด้วยการปล่อยหรือทิ้งอาวุธ เช่น ขว้างก้อนหิน
ขว้างมีด ขว้างลูกระเบิด ยิงธนู ยิงปืน เหล่านี้เป็นต้น

. หมายถึงการฆ่าที่เกิดขึ้นโดยการ
พยายามทำาเครือ ่ งประหารชนิดถาวรเอาไว้ เช่น วาง
ขวากหนามเอาไว้กั้นสัตว์ เพือ ่ ให้เดินไปยังทิศทางที่ตน
ขุดหลุมพรางดักเอาไว้ หรือเอาเฝือกกั้นเอาไว้ในลำานำ้า
เพื่อกั้นให้ปลาผ่านไปไม่ได้ แล้วจะได้เข้าไปในลอบที่ดัก
ของตน หรือการตระเตรียมปืนผาหน้าไม้เอาไว้สำาหรับ
ฆ่า ถ้าลงมือทำาการเมื่อใดโทษของการฆ่าสัตว์ก็หนีไปไม่
พ้น

. หมายถึงความพยายามเพื่อ
ให้การฆ่าสำาเร็จลงโดยอาศัยวิชาการต่างๆ ทีเ่ รียกกันว่า
ไสยศาสตร์ เช่นการใช้เวทมนตร์คาถา คือใช้อำานาจของ
จิต เช่นการทำายันต์ หรือปั้นรูปของศัตรู แล้วเอาไปทำา
พิธีเฆี่ยนตี หรือเผา ปลุกเสกด้วยคาถาอาคม หรือใช้
ภูตผีปีศาจ หรือใช้เทวดามิจฉาทิฏฐิไปทำาร้ายด้วยวิธี
การต่างๆ
. หมายถึงความพยายามใน
การฆ่าด้วยอำานาจของฤทธิ์ ด้วยการศึกษาอบรมมาหรือ
ติดตัวมาในอดีต ฤทธิ์ทเี่ กิดขึ้นมานี้อาศัยกรรม เช่นท้าว
เวสสุวรรณในขณะทีย ่ ังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลนั้นเป็น
ผู้มีฤทธิ์ ได้เคยฆ่ายักษ์ทเี่ ป็นบริวารด้วยฤทธิล
์ งเป็น
จำานวนมาก

คำาว่าอทินนาทานนั้นแยกได้เป็น ๓ บท คือ อ +ทินฺน +


อาทาน
= เป็นคำาปฏิเสธ
= วัตถุสิ่งของที่เจ้าของอนุญาตให้
= ยึดถือเอา

เมือ
่ รวมกันเข้าแล้ว ก็ได้แก่อทินนาทาน ซึ่งแปลว่า
ยึดถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้อนุญาตให้
ในหลักของกฎหมาย ถือว่าการที่หยิบฉวยทรัพย์ที่ผู้อื่น
เขาไม่อนุญาตให้นั้น ว่าเป็นการลักทรพัย์ แล้วก็ตั้งองค์
เอาไว้เป็นข้อๆ กำาหนดโทษอันเป็นความผิดนั้น ๆ หนัก
เบาตามสมควรแก่โทษนั้น เช่น ตัดช่องย่องเบาในยาม
คำ่าคืนหรือได้งัดแงะสิ่งกีดขวางเป็นต้น
ในหลักของกฎหมาย ได้กำาหนดโทษของผู้ที่เอาทรัพย์
ของผูอ
้ ื่นไปดดยวิธีการต่างๆ แยกออกไปอีก ฉะนั้น การ
ลงโทษจึงแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ยักยอก
ฉ้อโกง วิ่งราว ข่มขูจ
่ ี้เอาไปซึ่งหน้า ปล้น เหล่านี้เป็นต้น
ผู้ที่มิได้ศึกษาธรรมะบางท่านก็ยอ ่ มมีความเข้าใจผิด
แล้วคิดว่า เมือ ่ รับศีล ๕ มีอทินนาทาน ห้ามลักทรพัยื
แล้ว ก็จะต้องไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น เพราะแปลออกมา
จากบาลีก็ว่าเช่นนั้น แต่การที่ผู้ใดไปยักยอก ฉ้อโกง จี้
หรือปล้น บางท่านก็ย่อมจะเห็นว่าไม่ผิดในข้อ
อทินนาทานด้วยมิได้ลักทรัพย์ แต่ก็คงจะเป็นบาปอย่าง
อื่น
เมือ่ ผู้ใดรับศีลแล้ว คิดแต่เรื่องไม่ลักทรัพย์ ระวังมิให้ไป
หยิบเอาทรัพย์ของผู้อื่นแต่กลับไปยักยอกเอาสิ่งที่มิใช่
เป็นของตนมาไว้ในครอบครอง แล้วก็ถือว่ามิได้ผด ิ ศีล
ข้ออทินนาทาน ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมจะบังเกิดความเสีย
หายขึ้นมาไม่น้อยเลยแก่ผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนั้น
ที่ชอื่ ว่า อทินนาทานนั้น แท้ทจ ี่ ริงได้แก่
คือเจตนาในการทีจ ่ ะได้ทรัพย์ของผู้อื่นมา
โดยมิชอบ จะเป็นลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง จี้เอาไปซึ่ง
หน้า วิ่งราว และปล้น เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็น
อทินนาทานทั้งสิ้นไม่ได้ยกเว้นเลย
อกุศลอทินนาทานนั้น จะเป็นการก้าวล่วงกรรมบถหรือ
ครบองค์ทุจริต ก็จะต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง ๕ คือ

. วัตถุสิ่งของมีเจ้าของรักษา
เอาไว้
. รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมี
เจ้าของ
. มีจิตคิดจะได้
. กระทำาความเพียรที่จะได้มา
. ได้สิ่งของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น

อกุศลอทินนาทานนี้ ท่านนักศึกษาจะเห็นได้ว่า เหมือน


กับปาณาติบาต ต้องครบองค์ ๕ จึงจะถือว่า ล่วง
กรรมบถ แต่ถ้าไม่ครบองค์ เช่นขาดไปข้อใดข้อหนึ่งแล้ว
กำาลังของการให้ผลก็จะลดลง อย่างไรก็ดี ตัวการสำาคัญ
ก็ต้องประกอบไปด้วยเถยยเจตนา แต่เถยยเจตนานั้นจะ
ต้องอาศัยทางกาย หรือจะใช้วาจาเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์
นั้นก็ได้

ปโยคะ ได้แก่ความพยายามในการลักทรัพย์นั้นมี ๖
อย่าง คือ

. ลักทรัพย์นั้นด้วยตนเอง
. ใช้คนอื่นโดยการใช้วาจาหรือ
เขียนหนังสือ
. ลอบทิ้งวัตถุสิ่งของ เช่นลักลอบ
เอาสิ่งของที่ตอ
้ งเสียภาษีทิ้งออกไปให้พ้นเขต
. สัง่ พรรคพวกเพื่อนฝูงเอาไว้ ถ้ามีโอกาส
ให้พยายาม เรื่องนี้แม้จะเป็นเวลานาน ก็ย่อมสำาเร็จเป็น
อทินนาทาน
. การใช้เวทมนต์คาถา
. ใช้อท
ิ ธิฤทธิต
์ ่างๆ

. หมายถึงกระทำาการลักทรัพย์หรือ
ฉ้อโกงด้วยตนเอง หรือคิดแล้วก้ทำาของตนเอง การกระ
ทำาดังนี้ อกุศลมีกำาลังมาก

. หมายถึง การลักทรัพย์หรือทำา
ทุจริตในทรัพย์สมบัติของผูอ
้ ื่นนั้น เมือ
่ เป็นคดีความใน
โรงศาล ผู้กระทำาผิดอาจจะพ้นความผิดไปได้ เพราะ
หลักฐานพยานอ่อนฟังไม่ได้ จำาเลยจึงได้ถูกปล่อยตัวไป
แต่ในหลักของธรรมชาติแล้วจะหลีกหนีพ้นไปไม่ได้
ไม่มีหนทางหลีกเลี่ยงเลย แม้จะอ้างพยานอย่างไรก็ตาม
การใช้ให้คนอื่นลักทรัพย์โดยการสั่งด้วยวาจา หรือสั่งไว้
ด้วยตัวหนังสือ หรือแม้จะทำากิริยาอาการบุ้ยใบ้ให้อีกผู้
หนึ่งรู้ความหมาย ก็ได้ชื่อว่าลักทรัพย์หรือฉ้อโกงด้วย
เหมือนกัน

. ในข้อนี้หมายถึง การใช้อุบาย
เพื่อให้ได้ทรัพย์มาโดยประการต่างๆ โดยทำาให้ผู้อื่นหลง
ผิด เช่น ทองดีที่แกล้วทำาตกไว้แล้วเก็บได้ให้ผู้อื่นเห็น
ด้วยกัน เมื่อผูท
้ ี่เห็นเผลอก็หลอกเอาทองเก๊ให้ไป โดย
แลกเอาเงินมาในราคาตำ่ากว่า หรือเอาของที่ตอ ้ งเสีย
ภาษีออกนอกเขตความคุ้มครองของตนเพื่อเลีย ่ งภาษี

. เป็นการได้ทรัพย์มาโดยใช้เวลานาน เช่น
การสั่งพรรคพวกหรือลูกน้องเอาไว้ว่า ถ้าได้โอกาสเมื่อ
ใดแล้วให้ลักทรัพย์นั้นมา หรือให้ทำาลายทรัพย์อันนั้น
เสีย แม้จะกินเวลานานสักเท่าใดก็ตาม ก็ได้ชื่อว่า
อทินนาทานได้
. หมายถึงการใช้เวทมนต์คาถา
ทำาให้เจ้าของทรัพย์เผลอสติหรือหลงใหลไปชั่วคราว
แล้วหยิบทรัพย์นั้นมาให้ตน ใช้คาถาหรืออำานาจจิต
บังคับให้เจ้าของทรัพย์หลับ แล้วจึงทำาการลักทรัพย์โดย
สะดวก เป็นวิชาการอันหนึ่ง แต่ไม่ถึงอภิญญา

. ได้แก่การใช้อิทธิฤทธิ์ตา่ งๆ แต่ตอ้ ง
ไม่ใช่ในข้อ ๕ คือวิชชามยะ ในข้อนี้ก็อาจจะมีผุ้สงสัย
ข้องใจอยู่ในข้อที่ว่า ผู้มีอท
ิ ธิฤทธิ์แล้ว ยังกล้าทำาการที่
เรียกว่าอทินนาทานทีเดียวหรือ

ความจริงผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมไม่กล้ากระทำาอทินนาทาน
ชนิดทีเ่ ป็นโลกวัชชะ คือ การกระทำาที่ชาวโลกเขาติเตียน
หรือมีโทษในทางโลก แต่เป็นการกระทำาที่จะก่อ
ประโยชน์ให้เกิดขึ้น แล้วเจ้าของทรัพย์ก็ไม่มีความเสีย
หายแต่ประการใด สำาหรับอิทธิมยะนั้นก้ได้แก่ผู้ที่มี
ความสำาเร็จได้ อภิญญา คือความรู้พิเศษ ต้องได้ฌาน
เสียก่อน
ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือ

ในระหว่าง
ที่ทำาการตวงอยู่นั้น ได้ยักยอกเอาพระเขี้ยวแก้วเบื้อง
บนข้างขวาไปใส่ไว้ในมวยผมของตน เทวดาผู้ใหญ่องค์
หนึ่งมองเห็นพระเขี้ยวแก้วนั้น ก็เลยเอาไปจากมวยผม
ของพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง แล้วนำาไปบรรจุไว้ในพระ
เจดีย์ ณ ชั้นดาวดึงษพิภพ เรียกว่า เจดียจ์ ุฬามณี
การกระทำาการลักทรัพย์ หรือเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็น
ของตนที่เรียกว่า อทินนาทานนั้น ก็คล้ายๆ กับ
ปาณาติบาต คือการฆ่าสัตว์ ในข้อที่ว่า แบ่งออกเป็น
มหาสาวัชชะ อันหมายถึงการกระทำาอทินนาทานทีม ่ ี
โทษมาก และอัปปสาวัชชะ ได้แก่การกระทำาอทินนาน
ทานทีม ่ ีโทษน้อย คือ ทรัพย์จำานวนมากย่อมมีโทษ
มากกว่าทรัพย์จำานวนน้อย ทรัพย์ของพระหรือเณรผูม ้ ี
ศีลก็ยอ
่ มมีโทษมากกว่าทรัพย์ของฆราวาสที่ไม่มีศีล
และทรัพย์สมบัติของพระอริยบุคคล ก็ย่อมจะมีโทษ
มากกว่าปุถุชน เป็นต้น
เรือ
่ งของปาณาติบาตกับอทินนาทานนั้น มีรายละเอียด
แยกย่อยออกไปอีกเป็นอันมาก เมื่อท่านนักศึกษาได้
ศึกษาถึงปริจเฉทที่ ๕ แล้ว จึงควรจะได้ศึกษาราย
ละเอียดเหล่านั้นต่อไป ในขณะนี้กำาลังศึกษาเพียงปริจ
เฉทที่ ๑ ผมก็คิดว่า พอให้ได้เห็นรูปร่างหน้าตา หรือพอ
เป็นเค้าโครงที่จะวาดภาพเข้าไปถึงการกระทำาเหล่านี้ได้
แล้ว ในสัปดาห์หน้าผมก็จะได้มาแสดงอกุศลกรรมบถที่
ยังเหลืออยูต
่ ่อไป

การที่เราลงมือฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง กับการทีเ่ รา
สั่งให้คนอื่นฆ่านั้น ท่านอาจารย์คิดว่า ผลของอกุศล
กรรมที่เกิดขึ้นขะมากน้อยกว่ากันหรือไม่
ผมจะคิดว่าอย่างไรตามใจชอบนั้นไม่ได้

ผมจะได้ยก
หลักการและเหตุผลขึ้นมาวางให้ท่านได้เห็น แล้วจะได้
ถือเป็นหลักตัดสินต่อไป

ในการฆ่าสัตว์ตด
ั ชีวิตนั้น

เช่น การกระทำาต่อ
เนื่องกันยาวนานกว่าการฆ่าทีส่ ำาเร็จลงอย่างง่ายดาย
นอกจากนั้นยังต้องดูสต
ั ว์ใหญ่หรือสัตว์เล็ก สัตว์ที่มี
ประโยชน์มากหรือสัตว์ที่มีประโยชน์น้อยเหล่านี้ป็นต้น
ตามที่ผมได้บรรยายมา
แล้วแต่ต้น คือสัตว์นั้นมีชีวิต รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต มีจต
ิ คิด
จะฆ่า พยายามฆ่า สัตว์นั้นได้ตายลงเพราะความ
พยายามนั้น ด้วยเหตุดังแสดงมานี้ ก็ย่อมจะเห็นได้ว่า ผู้
ฆ่าเอง กับการสั่งให้คนอื่นฆ่านั้น ก็กระทำาปาณาติบาต
ครบองค์กรรมบถด้วยกัน
อย่างไรก็ดี ถ้าว่าตามสภาวธรรมโดยแยกแยะจิตออก
เป็นลำาดับแล้ว กำาลังแรงในการกระทำาของทั้ง ๒ คนนั้น
ก็คงจะไม่เท่ากัน ผู้กระทำาการฆ่าเอง จิตย่อมจะสั่งการ
งานติดต่อกันเป็นลำาดับ กำาลังของเจตนาก็จะเกิดขึ้น
ติดต่อกันเป็นลำาดับไปเหมือนกัน เช่น ตัง้ แต่เดินไปหยิบ
มีด เดินไปหยิบชามมาใส่เลือด เดินไปจีบไก่ เอามีดเชือด
ที่คอของไก่ เห็นไก่เลือดไหลออกมาแดงฉาน เห็นไก่ดิ้น
พราพๆ เต็มไปด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัสด้วยนำ้ามือ
ของตนเอง
ถึงแม้ว่าจะครบองค์กรรมบถด้วยกันก็ตาม การฆ่าด้วย
ตนเองก็ย่อมจะมีกำาลังมากกว่า ด้วยเหตุดังกล่าว ถ้า
อกุศลกรรมปาณาติบาตนี้เป็นชนกกรรม คือนำาเกิดใน
ชาติหน้าแล้ว ผู้ฆ่าสัตว์เองก็จะต้องไปปฏิสนธิในนรก
เบื้องตำ่าคือก้นบึ้ง ผูส
้ ั่งให้ผู้อื่นฆ่าครบองค์กรรมบถ
เหมือนกันก็จะหนีจากนรกไปไม่พ้น แต่ก็จะเป็นนรกที่
ถัดขึ้นมา ดังนี้เป็นตัวอย่าง

ถ้าเราไปซื้อเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าแล้ว แช่นหมูเป็นต้น
มาใฃ้เป็นอาหาร จะเกิดอกุศลประการใดหรือไม่ จะเป็น
อกุศลกรรมบถครบองค์ได้หรือประการใด มีคนชอบพูด
กันว่า
เพราะถ้าไม่มีใครไปซื้อก็จะ
ไม่มีใครฆ่าให้สัตว์นั้นต้องตาย
เมื่อเอาคำาว่า <>ซึ่งหมายถึงกรรม คือการกระทำา
ออกมาวางไว้แล้ว พิจารณาให้ดีๆ ก้ยอ ่ มจะเห้นได้ว่า ผู้
กินเนื้อสัตว์ทั้งหลายมิได้มีความจงใจโดยตรงเลย
เพราะจะพูดว่าซื้อหมู ซื้อเนื้อนเฉยๆ มิได้เกี่ยวกับการ
ฆ่าเลย ในเรือ ่ งที่คล้ายๆ กันนี้ ผมเคยได้รับคำาถามมา
แล้วรื่องหนึ่ง ถ้ายกขึ้นมาอีกสักครั้ง ก็คงจะทำาให้ทา่ น
นักศึกษาเข้าใจเรื่องเจตนามากขึ้น
เคยมีผู้ตั้งคำาถามและเสนอความคิดเห็นแก่ผมว่า เทียน
ขี้ผึ้งนั้นเอามาจากรังของผึ้ง การที่เราจุดเทียนทุกๆ ครั้ง
ก็เท่ากับว่าเราได้เบียดเบียนสัตว์ เพราะถ้าไม่มีใครจุด
เทียนเลยก็จะไม่มีใครไปตีผึ้งเอามาทำาขี้ผึ้ง ท่านผู้ถาม
เสนอความเห็นว่า พวกเราควรจะจุดนำ้ามันมะพร้าวกัน
ดีกว่า จะได้ไม่เป็นบาปเป้นกรรมต่อไปในภายภาคหน้า
ในเรื่องนี้ ได้มีนักศึกษาถกเถียงกันหลายท่าน บางท่าน
ก็คัดค้าน บางท่านก็สนับสนุน ดูทา่ ว่าจะจบลงได้ยาก
เสียแล้ว เพราะต่างก็แสดงความคิดเห็นกันไปมากมาย
ผู้จุดเทียนทั้งหลาย จุดเทียนมากมายเท่าใดๆ ก็ไม่เคย
นึกถึงตัวผึ้งหรือการตีผึ้งแม้แต่สักครั้ง การทีเ่ รานึกถึง
ตัวผึ้ง แล้วว่ามันเป็นเจ้าของขี้ผึ้งนั้น เป็นการนึกคิดขึ้น
มาใหม่ ย้อนเข้าไปในเรือ ่ งของอดีต เจตนาทีเ่ กี่ยวกับ
การจุดเทียนมิได้เกีย ่ วเข้าไปในการเบียดเบียนสัตว์เลย
ถ้าจะเป็นก็พยายามคิดให้มันเป็น ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่มี
อกุศลเกิดขึ้นจากการจุดเทียนขี้ผึ้งเลยอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี เจตนาในขณะที่กำาลังซื้อเนื้อสัตว์อยู่นั้น ก็
ย่อมจะมีอกุศลจิตปะปนอยู่บ้าง แล้วแต่ความรูส ้ ึกใน
ขณะนั้นว่าอย่างไร อกุศลก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นี้ เช่นในการ
เจาะจงเป็นต้น ยิ่งไปสั่งผู้ขายหรือกำาหนดกับผู้ขายเอา
ไว้ว่า เอาหมู ๑ ตัว เอาเนื้อ ๑ ขา เอาไก่ ๕ ตัว แล้วนัด
ว่าจะมารับในวันนั้นวันนี้ การสั่งดังกล่าวก็จะกลาย
เป็นการฆ่าสัตว์ทส ี่ ั่งด้วยวาจาไป
หญิงคนหนึ่งมาจ่ายตลาด ครั้นมาถึงหน้าร้านคนขาย
ปลาทีเ่ ขาขังเอาไว้ในถาด เห็นปลานั้นกำาลังเป็นๆ อยูจ
่ ึง
ไม่กล้าแวะเข้าไปได้แต่มองดู เพราะกลัวว่าคนขายจะฆ่า
ต่อหน้าตน จึงได้เลยไปซื้อของอื่นๆ เสียก่อน ครั้นกลับ
มาปลาก็ได้ถูกหักคอตายไปแล้วนอนกลิ้งอยู่ จึงได้ตกลง
ซื้อขายกัน ได้เคยปฏิบัติเช่นนี้มาหลายครั้งแล้วจนเป็นที่
เข้าใจกันดีทั้ง ๒ ฝ่าย เรื่องดังกล่าวมา ถ้าจะปฏิเสธว่าผู้
ซื้อมิได้สั่งให้ฆ่า ผูข
้ ายฆ่าเองต่างหาก ดังนี้แล้ว ก็
เป็นการปฏิเสธที่ฟังไม่ขึ้น ถ้าว่าตามสภาวธรรมแล้ว ก็
จะต้องคำานึงถึงว่าในขณะทีม ่ องเห็นปลากำาลังดิ้นอยู่
นั้น ตนคิดอย่างไร เมือ ่ เดินออกไปซื้อของอื่นนั้นทราบ
หรือไม่ว่า ผู้ขายเขาจะฆ่าปลาเตรียมเอาไว้ให้ อกุศล
กรรมจะเกิดหรือไม่ก็อยู่ที่ตรงเจตนา จะแก้ตัวว่าตนไม่
ได้สั่งจะได้หรือไม่

ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๘

เมือ
่ วันที่ ๑๔ มีนาคม ผมได้บรรยายถึงอกุศลกรรมบถ
๑๐ ว่าคืออะไร แล้วได้แยกอกุศลทั้ง ๑๐ ออกไปให้เห็น
แต่ละข้อๆ และได้อธิบายปาณาติบาต กับอทินนาทาน
ไปแล้ว ๒ ข้อ ในวันนี้ผมจะขอแสดงข้อทีเ่ หลือต่อไป

คำาว่า นี้แยกออกไปเห็น ๓
บท คือ กาเมสุ+มิจฺฉา+ จร
กาเมสุ = การเสพเมถุน
มิจฺฉา = ลามก คือบัณฑิตทั้งหลายพึงเกลียด
จร = ความประพฤติ
เมือ
่ รวมกันเข้าแล้ว

กาเมสุมิจฉาจาร มีวจนัตถะว่า " =


" การประพฤติผิด คือการทำาลามก
อันบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน ชือ
่ ว่ามิจฉาจาร
ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ มีความเข้าใจว่า การล่วง
ประเวณี หรือที่เรียกว่าการประพฤติผิดในกาม หรือพูด
กันย่อๆ ว่า ผิดกามนั้น หมายถึงหญิงผู้ซึ่งมีสามีเป็นตัว
ตนอยู่แล้ว ประพฤตินอกใจแอบไปสมสู่อยู่ร่วมกับชาย
อื่น และเราเรียกชายที่แอบมาสมสูอ ่ ยู่ร่วมกับหญิงทีม
่ ี
สามีเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้วว่า "ชู้" ทั้งชายและหญิงทีร ่ ่วม
กันกระทำาผิดดังกล่าวนั้น เป็นความเข้าใจของคนส่วน
ใหญ่ว่า เขาทั้งสองประพฤติผิดในกาม ชือ ่ ว่า
กาเมสุมิจฉาจาร อันเป็นการกระทำาผิดในศีลข้อหนึ่ง
ส่วนการที่หญิงอื่นมาประพฤติผิดต่อชายทีม ่ ีภรรยาเป็น
ตัวตนอยู่แล้ว ทีเ่ รียกกันว่า ภรรยาน้อยก็ดี หรือสามีทมี่ ี
ภรรยาอยู่แล้ว ไปหาหญิงอื่นมาเป็นภรรยาเพิ่มเติมอีก
หลายๆ คนก็ดี หรือชายไปสมสู่กับหญิงที่มีพ่อแม่ ผู้
ปกครอง โดยพ่อแม่ผู้ปกครองของเขามิได้อนุญาตก็ดี
เหล่านี้ มักจะไม่เข้าใจว่าเป็นผิดในกามหรือ
กาเมสุมิจฉาจารหรือไม่ เพราะเหตุใด

ได้มีหญิงหลายคนมาปรับทุกข์กับผมว่า ศีล ๕ ข้อกาเม


นั้นไม่ยุติธรรม เพราะตัดสินโอนไปทางฝ่ายชาย ชายที่มี
ภรรยาอยู่แล้วอาจจะมีภรรยาอีกสักกี่คนก็ได้ ไม่เรียกว่า
ผิดกาเม เรียกภรรยาตั้งแต่คนที่ ๒ เป็นต้นไปว่าว่า
ภรรยาน้อย ทั้งโลกทั้งธรรมก็ไม่ติเตียนแต่ประการใด
ส่วนหญิงที่มส ี ามีอยู่แล้วคนหนึ่ง จะหาสามีเพิ่มเติมอีก
สักคนเดียว เรียกว่าเป็นสามีน้อย ก็ไม่ได้ ทั้งทางโลก
ทางธรรมประณามกันใหญ่ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม
จากสังคมเช่นนี้ ชาติหน้าๆ ดิฉันจะอธิษฐานขอให้เกิด
มาเป็นชายทุกๆ ชาติไปเลย
ผมก็ได้ตอบไปว่า

ธรรมชาติไม่มีความรังเกียจเดียดฉันท์ใคร ทั้งไม่มีความ
ลำาเอียงแม้แต่น้อยเลย ให้เสรีภาพแก่ทุกฝ่ายแม้แต่การ
เป็นหญิงหรือเป็นชายก็ทำาได้ ผู้เข้าใจธรรมชาติก็จะต้อง
ศึกษาธรรมชาติเสียก่อน ส่วนการที่คุณจะอธิษฐานขอ
ให้เกิดเป็นชายนั้นก็ย่อมจะทำาได้เหมือนกัน แต่ต้อง
ทำาให้ถูกวิธีไม่ใช่ว่าจะอธิษฐานเฉยๆ แล้วก็จะเป็นไปได้
ปัญหาเรือ ่ งกาเมนี้จะต้องขอเวลาต่อท่านนักศึกษามาก
ขึ้นเพื่อการอธิบาย เพราะว่าเป็นเรื่องค่อนข้างกว้าง
ขวางและละเอียดลอออยูส ่ ักหน่อย ทั้งเพื่อจะได้แสดง
ความจริงจากสภาวธรรมตามที่ทา่ นสุภาพสตรีหลาย
ท่านได้มาซักถามด้วยความน้อยเนื้อตำ่าใจ ให้ปัญหาได้
คลี่คลายออกไปเพื่อให้หายข้องใจด้วย
ความจริงกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับต่างๆ ทีพ ่ ระสัมมาสัม
พุทธเจ้าได้ทรงวางเอาไว้นั้น มิได้คิดวางเอาเองตาม
ชอบใจ หากแต่มอ ี งค์มีหลัก ทัง้ ยังเป็นไปตามธรรมดา
สามัญหรือตามธรรมชาติด้วย
ก่อนอื่นผมขอทำาความเข้าใจกับท่านนักศึกษาเสียก่อน
ว่า หญิงชายที่เป็นภรรยาสามีแล้วประพฤติเป็นไปตาม
ธรรมชาติคือกาเม อันได้แก่การสมสู่อยู่ด้วยกันนั้น ไม่
อยู่ในฐานะเป็นการกระทำาทีล ่ ามก อันบัณฑิตทั้งหลาย
พึงติเตียนแต่ประการใด ด้วยกระทำาไปตามธรรมดาของ
โลกที่พึงปฏิบัตต
ิ ่อกันเช่นนั้น
ความสำาคัญอีกประการหนึ่งที่ท่านนักศึกษาจำาเป็นที่จะ
ต้องไม่ให้ลม
ื ไปเสียก็คืออกุศลปาณาติบาตคือการฆ่า
สัตว์ อกุศลอทินนาทานคือการลักทรัพย์นั้นจะกระทำา
ลงไปโดยทางกาย หรือที่เรียกว่า กายกรรมก็ได้ หรือ
กระทำาลงไปทางวาจาที่เรียกว่า วจีกรรมก็ได้ แต่
กาเมสุมิจฉาจารนั้น กระทำาด้วยทางอื่นไม่ได้เลย ความ
สำาเร็จจะเกิดขึ้นได้ด้วยกายปโยคะ คือการกระทำาทาง
กายแต่อย่างเดียวเท่านั้น
ที่จะกล่าวล่วงกรรมบถนั้น
จะต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง ๔ คือ

. วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
. มีจต ิ คิดจะเสพในวัตถุนั้น
. มีความพยายามที่จะส้องเสพ
. มีความพอใจใน
การประกอบมรรคซึ่งกันและกัน
เมือ
่ ผู้ใดได้กระทำากาเมสุมิจฉาจารไปครบองค์ทั้ง ๔ นี้
แล้ว ก็ได้ชื่อว่า ล่วงอกุศลกรรมบถ อกุศลก็ย่อมมีกำาลัง
มากสามารถเป็นชนกกรรมนำาไปสู่การปฏิสนธิได้ ถ้าไม่
ครบองค์กรรมบถโดยขาดออกไปเสียข้อหนึ่งหรือสองข้อ
ก็ได้ชื่อว่า เป็นอกุศลเหมือนกันแต่มีโทษลดลง หรือผลที่
เกิดขึ้นมีกำาลังน้อย ทั้งยังไม่สามารถเป็นชนกกรรมนำา
ไปสู่การปฏิสนธิ คือการส่งให้เกิดในชาติใหม่ได้ และ
องค์ทั้ง ๔ ของกาเมสุมิจฉาจารปโยคะ คือความที่จะ
กระทำานั้นจะเป็นอาณัตติกปโยคะไม่ได้เลย หากแต่จะ
เป็นสาหัตติกปโยคะ คือการกระทำาด้วยตนเองอย่าง
เดียวเท่านั้น
สำาหรับองค์ทั้ง ๔ นี้ มีอยู่ข้อหนึ่งที่ว่ามีความพยายาม มัก
จะมีทา่ นนักศึกษาที่เป็นชายเป็นผู้ตั้งคำาถามว่า ตาม
ธรรมดาฝ่ายหญิงทีจ ่ ะกระทำาผิดในเรื่องกาเมนั้น อาจ
จะเกิดขึ้นโดยมิได้มีความพยายาม คือไม่จำาเป็นที่จะต้อง
ใช้ความพยายามในการส้องเสพหรือสมสู่กัน เพราะอยู่
เฉยๆก็ได้ แต่กส็ ำาเร็จกิจการนั้นด้วยเหมือนกับชาย
นั่นเอง
ในข้อนี้ผมคิดว่าฝ่ายชายเป็นผู้ตั้งคำาถาม ก็คงจะเอา
ความพยายามของตนเองเข้ามาเปรียบเทียบ แล้วเห็น
ว่าการแสดงออกของหญิงเป็นไปอย่างตรงกันข้าม
เพราะอาจจะมองเห็นว่า ฝ่ายหญิงบางทีอยู่เฉยๆ
เหมือนไม่ได้มีปโยคะ คือความพยายามประการใด แต่
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วก็จะเกิดความ
รู้ว่า

ดังนั้นแม้เราจะไม่ได้เห็น
หญิงมีปโยคะ คือความพยายามแต่อย่างใด เพราะรูปอัน
เกิดจากจิตนั้นมิได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง แต่การ
แสดงออกซึ่งปโยคะอันเป็นความพยายามก็จะหนีไป
ไหนไม่พ้น

การประพฤติผิดกาเมนั้นก็ย่อมจะมีโทษหนักหรือเบา
ต่างๆ กัน พร้อมทั้ง
คือในเรือ
่ งของเจตนาว่ามีกำาลังมาก
หรือไม่
นั้นเป็นบุคคลชนิดไหน เช่น

โดยที่
มิได้มีความยินดี หรือยินยอมพร้อมใจด้วย ผู้ล่วงละเมิด
นั้นก็ย่อมจะมีโทษหนัก
แม้มิได้
พร้อมใจด้วย ผู้ล่วงละเมิดนั้นก็ย่อมจะมีโทษเบา
ถ้าหากว่า

เช่นการข่มขืน
ทำาอนาจารโดยผู้ถูกละเมิดมิได้มีความยินดีด้วย แม้จะมี
คุณธรรมหรือมิได้มี ผู้ล่วงละเมิดนั้นก็ย่อมจะมีโทษ
หนัก

โทษก็
ย่อมเบาลง

ก็ยอ
่ มจะมีโทษเบากว่า
การล่วงละเมิดต่อพระอริยบุคคล ซึ่งก็จะหนักขึ้นไปเป็น
ชั้น ตั้งแต่โสดา สกิทาคา อนาคา และพระอรหันต์

ก็เพราะพระอรหันต์ทา่ น
เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว

ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล คือ ชายผู้หนึ่งชื่อว่า

ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ต้องไป
บังเกิดในอเวจีมหานรก เสวยความทุกขเวทนาอย่าง
แสนสาหัส กำาลังอำานาจของกรรมนี้มม ี าก จึงมีอิทธิพล
ให้เกิดผลขึ้นมาในชาตินี้ คือ

เพราะตามธรรมดานั้น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ซึ่งได้แก่


การให้ผลของกรรมในชาตินี้ ในการทำาบาปทั่วไปนั้นมี
กำาลังน้อย ให้ผลบางทีกม ็ องไม่เห็น เช่น ฆ่าสัตว์ฆ่า
มนุษย์มาแล้ว แต่ยังไม่เห็นบังเกิดผลรรมทีม ่ าสนองให้
ทันตาเลยเป็นต้น แต่เมือ่ ล่วงละเมิดกาเมต่อพระ
อรหันต์ซึ่งเป็นบาปหนักเป็นครุกรรม จึงได้เกิดผลคือ
ถูกธรณีสูบในชาตินี้ และต้องอยู่ในอเวจีมหานรกด้วย
อำานาจแห่งอุปปัชชเวทนียกรรม
ในการศึกษาเรื่องการกระทำาผิดในกาม คือ
กาเมสุมิจฉาจารนั้น ก็จำาเป็นจะต้องศึกษา

องค์ที่ ๑ ของอกุศล
กรรมบถเสียก่อน โดยต้องยกเอามาตั้งวางเป็นหลักเอา
ไว้

. หญิงทีม ่ ีมารดาปกครอง
เพราะบิดาตายหรือไม่ได้อยู่กับบิดาแล้ว
. หญิงทีม ่ ีบิดาปกครอง
. หญิงทีม ่ ีมารดาบิดา
ปกครอง
. หญิงที่มีพี่สาวปกครอง หรือ
มีน้องสาวเป็นผู้ดูแล
. หญิงทีม ่ ีพี่ชายปกครอง หรือมี
น้องชายดูแลรักษา
. หญิงทีม ่ ีญาติเป็นผู้ปกครอง
. หญิงที่มีตระกูลเดียวกัน
หรือเชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครอง เช่นหญิงใน
ประเทศอื่น มีสถานฑุตเป็นต้น
. หญิงทีม ่ ีผู้ประพฤติปฏิบัติศีล
ธรรมด้วยกันเป็นผู้ปกครอง เช่น หญิงที่บวชชี มีหัวหน้า
นางชีปกครอง
. หญิงที่กษัตริย์ หรือผู้มอ ี ำานาจจอง
ตัวเอาไว้
. หญิงทีม
่ ีผู้หมายหมั้นเอาไว้ตั้งแต่ใน
ครรภ์หรือมีคู่หมั้นแล้ว
. หญิงที่ชายซื้อมา เช่นมาจากต่าง
ประเทศไม่มีค่าโดยสารเรือ เจ้าของเรือเลยเลหลังหญิง
นั้นแล้วชายไปช่วยออกเงินเอาไว้ หรืออาจจะเป็นหญิง
ราคาค่าตัวที่บิดามารดานำาไปขาบไว้กับเจ้าเงิน แล้วชาย
ไปไถ่ถอนเอามา
. หญิงที่สมัครใจไปอยู่กับชาย
เช่นรักอยู่กับชายคนหนึ่งแต่บิดามารดาไม่ยกให้ หญิง
นั้นก็หนีไปอยู่กับชายคนนั้น
. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย
โดยหวังในทรัพย์สินเงินทอง
. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย
โดยหวังเครือ ่ งนุ่งห่ม
. หญิงที่เป็นภรรยาของชาย
โดยการแต่งงาน
. หญิงที่เป็นภรรยาโดยชาย
นั้นเป็นผู้ช่วยให้พ้นจากการแบกทูนของบนศีรษะ
. หญิงที่เป็นเชลย แล้วตกมาเป็นภรรยา
ของชายนั้น
. หญิงที่เป็นลูกจ้าง
ทำางานในบ้าน แล้วชายนั้นเอามาเป็นภรรยา
. หญิงที่เป็นทาสภายในบ้านของ
ชายนั้น แล้วชายนั้นเอาเป็นภรรยา
. หญิงที่เป็นภรรยาของชายชั่ว
ครั้งชั่วคราว

ผมได้แสดงถึงจำานวน ๒๐ ประเภท อันเป็นพวกที่ชาย


ไม่ควรเกีย
่ วข้อง เพราะถ้าล่วงเงินก็จะผิดในข้อ
กาเมสุมิจฉาจาร

ในบรรดาหญิงทั้ง ๒๐ ประเภทนี้ มีหญิงอยู่ ๘ ประเภท


ที่ควรจะได้ทำาความเข้าใจคือ

๑. หญิงทีม
่ ีมารดาเป็นผู้ปกครองดูแลรักษา
๒. หญิงที่มีบิดาเป็นผู้ปกครองดูแลรักษา
๓. หญิงที่มีมารดาบิดาเป็นผู้ปกครองดูแลรักษา
๔. หญิงที่มีพี่สาวน้องสาวเป็นผู้ปกครองดูแลรักษา
๕. หญิงทีม่ ีพี่ชายน้องชายเป็นผู้ปกครองดูแลรักษา
๖. หญิงที่มีญาติเป็นผู้ปกครองดูแลรักษา
๗. หญิงทีม ่ ีตระกูลเดียวกัน หรือเชื้อชาติเดียวกัน
ปกครอง (เช่นไปอยูต ่ ่างประเทศแล้วมีสถานฑูตดูแล)
๘. หญิงที่เป็นชีแล้วมีหัวหน้านางชีปกครอง เป็นต้น

หญิงทั้ง ๘ ประเภทเหล่านี้

มีแต่พ่อ
แม่ผู้ปกครอง ปกครองดูแลรักษาเท่านั้นเอง มีการเลี้ยง
ดู และระวังมิให้ชายใดทีจ
่ ะมาทำามิดีมิรา้ ยให้แก่คนใน
ปกครองของตน

อย่างไรก็ดี แม้หญิงนั้นจะมิได้มีความผิดในข้อ
กาเมสุมิจฉาจารอันเป็นคดีธรรม

เพราะกระทำาลงไปโดย
มิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ก็ย่อมจะถูกตำาหนิติเตียน
เสียชื่อเสียง และเป็นที่ครหานินทาจากคนทั่วไป ซึ่งจะ
ได้รับความอับอายขายหน้า ได้รับความเสียใจ กลุ้มใจ
ซึ่งหนีจากอกุศลไปไม่พ้น

ที่ผมได้แสดงไปแล้วนั้นเป็นหญิงที่มีผู้ปกครองดูแล
รักษา เมื่อสมสูอ
่ ยู่ร่วมกับชายหรือมอบร่างกายของตน
ให้กับชาย โดยที่ผู้ปกครองมิได้รู้เห็น หรือยินยอมด้วย
นั้น ย่อมจะเกิดอกุศลจิตอันเป็นบาป แต่ไม่ถึงกับผิดใน
ข้อกาเมสุมิจฉาจาร ปัญหาสำาคัญต่อไปก็คือสำาหรับชาย
ที่เข้ามาเกี่ยวข้องพัวพัน จนหญิงที่อยู่ในความปกครอง
ของผูอ ้ ื่นดังกล่าวมาแล้ว ให้ต้องเสียหายนั้นเล่าจะมี
ความผิดในข้อกาเมสุมิจฉาจารหรือไม่

แม้จะมิได้มีความผิดในข้อ
กฎหมายบ้านเมือง เพราะมิได้ลักพาหญิงทีย ่ ังไม่บรรลุ
นิติภาวะไปเพื่อความใคร่ หรือเพื่อการอนาจาร และทั้ง
มิได้มีความผิดในข้อพรากผู้เยาว์ด้วย จึงไม่ต้องตกเป็น
ผู้ต้องหาในทางคดีโลก แต่ในทางคดีธรรมนั้น

๑. หญิงทีม่ ีกษัตริย์ หรือผู้มอ


ี ำานาจจองตัวเอาไว้
๒. หญิงที่มีผู้มั่นหมายหมั้นเอา เช่นมีคหู่ มั้นแล้ว
๓. หญิงที่ชายซื้อมา หรือช่วยไถ่ถอนตัวมาจากเจ้าเงิน
๔. หญิงที่หนีจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองไปอยู่กับชาย
คนนั้น
๕. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชายโดยหวังในทรัพย์สิน
เงินทอง เครื่องนุ่งห่ม
๖. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชายโดยการแต่งงาน
๗. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย โดยชายนั้นเป็นผู้ช่วย
ให้พ้นจากการแบกทูนของบนศีรษะ
๘. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย เพราะเป็นเชลย
๙. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย จากการเป็นลูกจ้าง
๑๐. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย โดยมาเป็นทาสก่อน
๑๑. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย เป็นการชั่วครั้ง
ชั่วคราว

ในบรรดาหญิงทั้ง ๑๑ ประเภทนี้ เป็นประเภทที่มีสามี


หรือคู่หมั้นแล้วทั้งนั้น ถือว่าเป็นเจ้าของในตัวตน หรือ
มีหน้าที่และมีสทิ ธิโดยชอบธรรมในฐานะเป็นสามีหรือ
จะเป็นสามีต่อไป ด้วยหลักการดังกล่าว หญิงทั้ง ๑๑
ประเภทเหล่านี้กระทำาการละเมิดโดยยอมมอบตัวให้แก่
ชายอื่น หรือยอมตัวให้ชายอื่นล่วงเกินได้แล้วก็ตัดสินได้
ว่า

ในหญิงทั้ง ๑๑ ประเภทดังกล่าวมา มีอยู่ประเภทหนึ่งที่


มิได้เป็นภรรยาของชายเป็นการถาวร แต่เป็นภรรยา
เพียงชั่วคราวเท่านั้น บางทีอาจจะเป็นภรรยารับจ้าง อยู่
กัน ๓ วัน ๗ วันบ้าง หรือเดือนหนึ่งบ้าง เป็นต้น ก็ได้ชอ
ื่
ว่าเป็นภรรยาแล้วตลอดเวลาที่ยังอยู่กับสามี ฉะนั้น

สำาหรับหญิงอีกประเภทหนึ่งที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า
หญิงนักเที่ยว หรือโสเภณีนั้น ผู้ทเี่ ข้าไปเกีย
่ วข้องก็ดี
หญิงนั้นก็ดี เมือ
่ มีความสัมพันธ์ต่อกันในทางชู้สาวเล้ว

เว้นไว้แต่ฝ่าย
หญิงจะมีข้อผูกพันตกลงกันอย่างมั่นคงว่าจะมาเป็น
ภรรยา ถ้าเช่นนั้น การนอกละเมิดก็ย่อมมีความผิด
อย่างไรก็ดีแม้หญิงเหล่านั้นจะมิได้มีผิดในศีลข้อกาเมก็
จริง แต่ก็เป็นการหาเลี้ยงอาชีพที่ไม่ดีเป็นทุราชีวะล่อแห
ลมต่อันตราย กล่าวคืออกุศลกรรมต่างๆ มากมายเกิดขึ้น
มาได้โดยง่าย
อีกประการหนึ่ง หญิงที่ต้องคดีมีโทษตามกฎหมาย ที่
บ้านเมืองได้กักขังเอาไว้ภายในที่กักขังเรือนจำาเป็นต้น
ทางเจ้าหน้าที่เรือนจำามีหน้าที่ดูแลป้องกันการหลบหนี
แต่หาเป็นเจ้าของตัวตนร่างกายไม่ ดังนั้น หญิงดัง
กล่าวนี้ไปมีความสัมพันธ์ฐานชู้สาวกับชาย หญิงนี้ก็ไม่
จัดว่าล่วงละเมิดศีลข้อกาเมเหมือนกัน
สรุปความว่า

หญิงทั้ง
๑๑ ประเภทจะมอบตัวให้เป็นของชายนั้นไม่ได้ แต่หญิง
๘ ประเภทจะมอบตัวเพื่ออภิรมย์สมสู่กับชาย ซึ่งตัวเองก็
พร้อมหรือมีความสมัครใจที่จะให้ชายล่วงละเมิด ก็ไม่มี
ความผิดในข้อกาเมแต่ประการใด
ท่านนักศึกษาทั้งหลาย ผมก็ได้แสดงเรื่อง
กาเมสุมิจฉาจารมาพอสมควร พอให้ทา่ นได้มองเห็นตัว
อกุศลกรรมบถในข้อที่ผด ิ กาเมว่าเป็นอย่างไร และมี
โทษมากน้อยประการใดบ้าง ผมจะเหลือเวลาต่อไปนี้
เอาไว้ให้ท่านนักศึกษาได้มีโอกาสซักถามปัญหาต่างๆ ที่
ผมได้บรรยายไปแล้ว หรือท่ผมได้เคยอธิบายไปในเรื่อง
อกุศลกรรมบถเมื่อคราวก่อนๆ
หญิงที่มีอาชีพทางค้าประเวณี ผมได้ฟังอาจารย์
พูดว่า เมือ
่ เขาสมสู่อยู่ด้วยกันกับชายตามวิธีดำาเนิน
อาชีพของเขา คือให้เช่าร่างกายเนื้อตัวของตนเองเพื่อ
ให้ชายสำาเร็จความใคร่ อาชีพเช่นนี้ เขามิได้ทำาทุจริต
อะไร ถ้าเช่นนั้นก็คงหมายความว่า เป็นสัมมาอาชีวะ
กระมัง
ผมได้แสดงว่า การค้าประเวณีของหญิงไม่ได้ชื่อ
ว่าล่วงกรรมบถกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ได้เป็นทุจริตนั้น
จริง แต่ผมก็มิได้แสดงว่าเป็นสัมมาอาชีวะเป็นอาชีพที่
สมควรกระทำาแต่ประการใด
หญิงผู้ทำาการค้าประเวณีมิได้ทำาผิดคิดร้ายต่อใคร ไม่ได้
ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ผดิ ในกาม เพียงแต่ให้เช่า
เนื้อตัวร่างกายเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จะปรับให้เข้าข่ายของ
อกุศลกรรมบถกระไรได้ จะได้ชื่อว่าทำาการทุจริตได้
อย่างไร เพราะถึงแม้ว่าหญิงเหล่านี้จะมีเจ้าของ
หวงแหนซึ่งอาจจะเป็นชายหรือหญิงก็ได้ ก็มีไว้เพื่อเป็น
เพื่อนคู่ใจ หรือมีไว้เพื่อคุ้มกันตนเท่านั้น เจ้าของหรือผู้
คุ้มกันก็มีความยินยอมพร้อมใจด้วยในการประกอบ
อาชีพชนิดนี้ จึงมิได้ชื่อว่าละเมิดอำานาจของผู้ปกครอง
อีกเช่นเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ดี อาชีพชนิดนี้ ไม่เรียกว่าเป็นสัมมาอาชีวะ
หากแต่เรียกว่าทุราชีวะเป็นอาชีพที่น่าเกลียดน่ากลัว
อันบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน และใกล้ต่ออันตรายอาจ
จะเกิดอกุศลชนิดทีม ่ ีกำาลังมากได้โดยง่าย ซึ่งเกิดขึ้นมา
จากหมู่พวกของตน นอกจากนั้นยังต้องเข้าไปใกล้ชิด
เกี่ยวข้องกับผู้คนมากหน้าหลายตา บางคนก็มีความ
ประพฤติไม่เรียบร้อย หรือมั่วสุมอยู่ในอบายมุข มีการ
เสพสุรามึนเมาขาดสติ เป็นต้น หรือในทีส ่ ุดอาจกลาย
เป็นลูกมือทำางานทุจริตไปก็ได้ ด้วยเหตุนี้ก็เหมือนกับ
เล่นสนุกอยู่ที่ใกล้ปากเหวลึก โอกาสที่จะตกลงไปนั้นมี
มากมายเหลือเกิน ทั้งอาจจะเป็นไปได้โดยไม่เลือกว่า
เวลาไหนเสียด้วย

อกุศลที่ล่วงกรรมบถแต่ไม่สามารถเป็นชนก
กรรมได้ และอกุศลที่ไม่ล่วงกรรมบถแต่มีโอกาสเป็น
ชนกกรรมได้มีบ้างหรือไม่ เช่นอย่างไร
การทำาอกุศลทั้งหลาย นอกจากจะตัดสินเอาได้
จากองค์ที่ได้กำาหนดวางเอาไว้แล้ว ก็จะต้องพิจารณา
ถึงตัวเจตนาว่า มีกำาลังแรงของเตนาอย่างไร แล้วผลที่
เกิดขึ้นจากเจตนาเหล่านั้นร้ายแรงแก่ผู้ได้รับหรือเป็น
สาธารณะกว้างขวางมากหรือไม่ด้วย เช่น

๑. นาย ก. ตัง้ ใจฆ่าสัตว์ตัวหนึ่งคือแมลงป่อง สัตว์นั้น


เป็นสัตว์เล็กๆ แต่เป็นสัตว์เล็กๆ ทีม่ ีพิษร้าย ในบริเวณนี้
ก็มีพระภิกษุมากมายมาเดนจงกรมกัน นาย ก.จึงได้
พยายามฆ่าแมลงป่องนั้นเสีย ด้วยความปรารถนาดีต่อ
พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย นาย ก. ก็ได้ชื่อว่าทำาปาณาติบาต
นั้นครบองค์อกุศลกรรมบถ

๒. การล่วงกาเมต่อพระอรหันต์ ย่อมจะมีโทษหนักมาก
ที่สุดได้อกุศลชนกกรรมให้ไปสู่การปฏิสนธิในอเวจีมหา
นรก โดยถูกธรณีสูบด้วยอำานาจแห่งอุปปัชชเวทนียกร
รม เสวยความทุกข์อย่างแสนสาหัสในเมืองนรก เรือ ่ งนี้
ก็ได้แก่ นันทมานพที่ได้ล่วงเกินทำามิดม
ี ิร้ายต่อพระอุบล
วัณณาเถรีซึ่งเป็นพระอรหันต์

๓. ภายในสถานทีอ ่ ันมืดมิด ชายผูห


้ นึ่งส้องเสพกาเมกับ
ภรรยาของผูอ
้ ื่นด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นภรรยาตน

เพราะอกุศลกาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ทั้ง ๔ ก็ได้กระทำา
ลงไปจนครบองค์ทั้ง ๔ เหมือนกัน คือ เป็นวัตถุอันไม่
ควรจะเกี่ยวข้องด้วย มีจิตคิดจะส้องเสพ ได้กระทำา
ความพยายาม และมีความพึงพอใจในการประกอบ
กรรมนั้น
สำาหรับในเรื่องนี้ ผู้ประกอบอกุศลกรรมมิได้มีจิตคิดจะ
กระทำาผิด มิได้มีบุพพเจตนาคิดคิดมาก่อนเลยว่า จะ
ลักลอบกระทำากรรมอันลามกที่บัณฑิตทั้งหลายพึงติ
เตียน แม้ว่าการกระทำานั้นจะได้ครบองค์กรรมบถ
เป็นการกระทำาที่เรียกว่าทุจริตก็จริง
ผมได้แสดงถึงอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ไป ๓ ประการ คือ

ที่เรียกกันว่ากายกรรม ๓
จบลงแล้วโดยสังเขป พอให้ท่านนักศึกษาได้เห็นเป็น
หนทางให้เกิดความรู้และการปฏิบัติต่อไป
ถ้าผมจะหยุดลงเสียเพียงเท่านี้ ไม่แสดงถึงเรื่อง
ก็จะเป็นการขาดตกบกพร่องไปมาก
ทีเดียว เพราะในอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ นั้น มิได้มเี รื่อง
ของการดืม ่ สุราเมรัย แต่ในศีล ๕ ทีบ ่ รรดาสัปบุรุษทั้ง
หลายรับกันอยู่นั้น มีคำาว่าสุราเมรัยอยู่ข้อหนึ่งและใครๆ
ก็ทราบว่า สุราเมรัยนั้นผู้ดมื่ ย่อมจะบังเกิดอกุศล เมื่อ
เกิดอกุศลดังนี้แล้ว ก็จำาเป็นที่จะต้องจัดหรือสงเคราะห์
ลงในอกุศลกรรมบถในข้อใดข้อหนึ่ง ตลอดจนเหตุผล
และเรือ่ งราวของสุราเมรัยก็ควรจะต้องทำาความเข้าใจ
ด้วย
นอกจากเหตุผลดังที่ผมได้กล่าวมา ก็จะต้องเอาหลัก
การตลอดจนเหตุผลต่างๆ ทีพ ่ ระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
แสดงเอาไว้ออกมาวางให้เห็นเป็นหลักฐาน เพื่อท่าน
นักศึกษาจะได้พิจารณาด้วย เพราะบุคคลส่วนใหญ่ใน
สมัยนี้มักจะโต้เถียงว่า การดื่มสุราเมรัยนั้นเป็นของดี
ของประเสริฐ ดืม ่ แล้วจะมีพลานามัย ดืม ่ แล้วจะมีจิตใจ
สดใส และเมือ ่ พากันดื่มโดยทั่วๆ ไป เช่นในสังคมต่างๆ
กิจการทั้งหลายก็จะบรรลุความสำาเร็จลงได้ แล้วถือกัน
ว่าการไม่ดื่มสุราเมรัยนั้น เป็นการไม่เอาสังคม ไม่เอา
เพื่อนฝูง เมือ
่ เป็นดังนี้ ก็จะหาความเจริญในทางโลกไม่
ได้ นับวันแต่กิจการงานจะงซึ่งความเสื่อมทรามถอย
หลัง ด้วยเหตุดังกล่าว เราจึงเห็นในที่ประชุม ที่ๆ มีการ
เลีย
้ งอาหารกันถ้าขาดสุราเมรัยเสียแล้ว ที่ประชุมนั้นก็
จะได้รับคำาตำาหนิตเิ ตียนต่างๆ การกินเลี้ยงกันครั้งนี้ แม้
จะมีสิ่งอื่นหรืออย่างอื่นพร้อมบริบูรณ์ ก็ถือว่าได้รับ
ความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้เอง
ซึ่งท่านนักศึกษาจะต้อง
ทราบถึงประเภท องค์ ตลอดจนถึงผลทีเ่ กิดขึ้นจากสุรา
เมรัยนั้น

ประเภทของสุรา =

. สุราที่ทำาด้วยแป้งข้าวเจ้า
. สุราทีท
่ ำาด้วยขนม เช่น แห้งข้าวหมาก
. สุราที่ทำาด้วยข้าวสุก
. สุราทีท
่ ำาด้วยแห้ง
เชือ
้ สุรา
. สุราทีท
่ ำาด้วยผล
ไม้ เช่น องุ่น

ประเภทของเมรัย =

. เมรัยทีเ่ อาดอกไม้ตา่ งๆ มาหมักไว้


. เมรัยที่เอาผลไม้ต่างๆ มาหมักไว้
. เมรัยทีเ่ อาผลองุ่นมาหมักไว้
. เมรัยทีเ่ อานำ้าอ้อย น้อตาล มาหมักไว้
. เมรัยทีเ่ อามะขาม
ป้อม สมอ มาหมักไว้

การดื่มสุราและเมรัยนั้น ย่อมกระทำาให้ผด
ู้ ื่มเกิดอาการ
มึนเมาขาดสติไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การดื่มสุราและเมรัย
จึงได้เรียกว่า " "
"
" เพราะเป็นตัวการ
ทำาให้มึนเมาขาดสติได้ นั่นคือ ฝิ่น กัญชา เป็นต้น ดังที่
ได้แสดงไว้ในขุททกปาทอรรถกถาปและมหาวรรคสัง
ยุตตอรรกถาว่า

"มชฺชนฺติ ตเทว อุภยำ ยำ วาปนขฺยมฺปิ สุราววินิมตฺตำ มทฺ


ทนิยำ"
หรืออีกนัยหนึ่ง
ว่า สิ่งใดที่นอกจากสุราและเมรัย ซึ่งสามารถทำาให้ผู้เสพ
มึนซึมได้ สิ่งนั้นชือ
่ ว่า

๑. สุราเมรยภาโว สิ่งทีเ่ ป็นสุราและเมรัย


๒. ปิวิตุกามตา มีความประสงค์จะดืม ่
๓. ปิวนำ ทำาการดื่ม
๔. มทฺทนำ มีอาการมึนเมา

การดื่มสุรานั้น มีองค์มีหลักอยู่ ๔ ข้อ แต่ละข้อก็พอ


ทำาความเข้าใจได้ไม่ยากนัก แต่ในข้อ ๔ ที่ว่ามีอาการ
มึนเมานั้น มักจะมีผต ู้ ิดสุราแก้ว่าตนมิได้มึนเมา โดยหา
ทางเสมือนพูดเลี่ยงกฎหมาย แล้วมักจะถือเอาความ
มึนเมาจนถึงนอนอยูข ่ ้างถนน หรือไม่ก็ต้องถึงกับเดิน
เซไปเซมาเป็นเครือ ่ งอ้างว่า ถ้าเมาก็คงจะต้องทำาเช่น
นั้น
แต่เราก็จะพบอยู่เสมอว่า คนที่ดม ื่ สุราเดินเซไปเซมาไม่
ตรงทางร้องประกาศให้ญาติมต ิ รทราบว่า "ตนไม่เมา"
หรือถ้าใครขืนไปพูดว่าเมา เขาก็จะเกิดความโกรธขึ้นมา
ทันที ด้วยเหตุที่มข ี ้อแก้ตัวว่าไม่เมา ดังนี้ประการหนึ่ง
และผู้ที่เมาน้อย ไม่สามารถที่จะตรวจสอบดูความเมา
สำาหรับผู้ที่ได้ดื่มมาไม่มากได้อีกประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่
ของรัฐในบางประเทศจึงได้ตรวจสอบเอาโดยขีดเส้น
ตรงแล้วก็ให้เดินไปตามเส้นตรงนั้น หรือใช้เครือ ่ งมือที่
ละเอียดทดสอบเอาเลย เพราะจะได้ตด ั ปัญหาการถก
เถียง ซึ่งผู้ถกเถียงโดยมากเหล่านั้นมักจะเป็นผู้ขับขี่
รถยนต์

ในข้อ ๑ และข้อ ๒ การดืม ่ สุราเพื่อหวังจะให้เป็นยาหรือ


เพื่อช่วยบำารุงร่างกายนั้น เพราะ
เจตนาเพื่อจะรักษาตัวให้สุขภาพสมบูรณ์ ทัง้ ผู้ดื่มก็มัก
จะดื่มแต่เพียงเล็กน้อย โทษก็ยิ่งจะลดน้อยลงไปอีก
เรือ
่ งนี้สำาคัญอยู่ตรงเจตนา
ถ้าการดื่มสุราเล็กน้อยเพื่อให้เป็นยาจริงๆ มิได้มีความ
ปรารถนาที่จะดื่มแม้แต่เพียงเล็กน้อย ทั้งมิได้มอ ี าการ
มึนเมาปรากฏแตาประการใดด้วย
แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามีเจตนายินดีในการดืม ่ สุราแอบแฝง
อยูส่ ักนิดหน่อยแล้ว ถ้าเป็นฆราวาสที่รักษาศีล ๕ หรือ
ศีล ๘ ศีลก็ขาด ถ้าเป็นสามเณรรักษาศีล ๑๐ ศีลก็ขาด
ถ้าเป็นพระภิกษุก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ด้วยเหตุดังนี้เอง
ผู้รักษาศีลทั้งหลายจะแก้ตัวอย่างไร เช่นพูดว่า "กินยา
ต่างหาก" หรือ "กินให้มันช่วยย่อยอาหาร" ถ้ามีความ
ยินดีในการดืม ่ ยาที่ปนสุรานั้นแล้ว ก็จะเป็นคำาพูดที่จะ
ทำาให้ศีลหายขาดไปหาได้ไม่

ในข้อที่ ๓ การดื่มสุราเพราะชอบใจก็จะ
เพราะมีความจงใจทีจ
่ ะ
ดื่มเพื่อให้บังเกิดความมึนเมาขึ้นมา มีความปรารถนาที่
จะให้สติของตนขาดไปดดยปริยายทำาให้ความสำานึกรูต ้ ัว
หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีลดลง ยิง่ เป็นผู้ที่ไม่ยับยั้งแล้ว
ดื่มอย่างทีเ่ รียกว่า "หัวรานำ้า" ก็ยอ
่ มจะเกิดอกุศลยิ่งขึ้น
และถ้าได้ดม ื่ เช่นนี้เป็นนิจด้วยแล้วก็น่าหวาดเกรง
อันตรายอย่างเหลือเกิน แต่ก็แน่ละ ผู้ไร้การศึกษาใน
ปัญหาอันลึกซึ้งของชีวิตเหล่านี้ก็ย่อมจะติดตามเข้าไป
ให้ถึงความจริงไม่ได้อยู่เองเป็นธรรมดา
สำาหรับในข้อที่ ๔ เป็นการดื่มสุราทีม่ ีความปรารถนาจะ
ย้อมนำ้าใจเพื่อให้เข้มแข็งหรือให้ใจกล้า จะได้กระทำา
ทุจริตได้โดยสะดวก ดังเช่นจะดักทำาร้ายผู้อื่น จะปล้นจะ
จี้หรือเป็นเจ้าให่นายโต เป็นผู้ถืออำานาจอยู่ในมือจึงข่มขู่
ทำาร้ายร่างกาย ทรมานผู้ต้องหาหรือศัตรูคู่อาฆาตด้วย
วิธีการทีท่ ารุณ หรือฆ่าให้ตายไปเสียเลย ด้วยอำานาจ
ของความมึนเมานั้นๆ
การดื่มสุราเพื่อย้อมนำ้าใจเช่นนี้ มีเจตนามรการดื่มสุราที่
จัดเป็นปุพพเจตนา คือ เป็นเจตนาทีเ่ กิดขึ้นมาก่อนเป็น
อดีตมาหนุนหลัง มีสภาพความจริงเป็นการกระตุ้น
เตือนให้เกิดการกระทำาทุจริตที่เป็นมุญจเจตนา คือ
การกระทำาในปัจจุบันให้เกิดขึ้น

ผู้ดม
ื่ ผู้ใช้
อำานาจ ต่างก็พากันหัวเราะร่าเริงคิดว่าเป็นผู้มีอำานาจ
เหนือกว่า ได้โอกาสแก้แค้นเพราะได้เปรียบผู้อื่น ได้
สนุกสนานกับการกระทำาของตน แต่หาได้รู้ไม่ว่าตนได้
กำาลังร่างแผนผังที่น่าหวาดเสียวทีต
่ นกำาลังจะเดินทาง
ไปในอนาคตอันไม่สู้ไกลเท่าใดนัก เพื่อจะได้เอาไว้เป็น
ที่พักอาศัย
การดื่มสุราเมรัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ
ให้เป็นข้อหนึ่งในจำานวนศีล ๕ ข้อ แล้วได้ทรงแสดง
โทษอย่างหนักของการดื่มสุราเอาไว้ในอังคุตตรพระ
บาลีว่า

" สุราเมรยปานำ ภิกฺขเว อาเสวิตำ พหุลีกตำ นิรยสำวตฺตนิกำ


ติรจฺฉานโยนิสำวตฺตนิกำ เปตฺติวิสยสำวตฺตนิกำ โย จ สพฺ
พลหุโก สุราเมรยปานสฺส วิปาโก โส มนุสฺสภูตสฺส อุมฺมตฺ
ตกสำวตฺตนิโน โหติฯ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและ
นำ้าเมาต่างๆ นี้ เมือ
่ ดื่มเสมอๆ ดื่มมากเข้า ดืม ่ หลายๆ ครั้ง
เข้า ย่อมสามารถนำาไปสู่ นิรยภูมิ ติรัจฉาน เปตติภูมิ
โทษของการดืม ่ สุราเมรัยอย่างเบาทีส ่ ุดนั้น เมื่อมีโอกาส
ได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยกุศลกรรมอื่นๆ ผู้นั้นก็ย่อมเป็นคน
สติไม่สมบูรณ์"

แต่อย่างไรก็ดี โทษของการดื่มสุราเมรัยย่อมได้รับผล
สนองตอบดังนี้แล้ว

(
)

สำาหรับปัญหาข้อนี้ ถ้าจะพิเคราะห์ดูให้ดีๆ แล้วก็จะเห็น


ได้ว่า

เพราะการฆ่า
สัตว์หรือลักทรัพย์เป็นต้น ซึ่งเป็นอกุศลกรรมบถนั้น
ล้วนเป็นการกระทำาทุจริต ถ้าครบองค์ทจ ุ ริตแล้ว ก็มี
กำาลังเพียงพอที่จะส่งให้ปฏิสนธิได้ แต่การเสพสุราเมรัย
นั้น หาได้ทำาทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ แต่
ประการใดไม่ เป็นการดืม ่ เพื่อความสนุกสนานเบิกบาน
ใจ ความปรารถนามึนเมา และในขณะที่กำาลังมึนเมาอยู่
นั้น มิได้กระทำาการหรือมิได้เกิดการคิดร้ายทำาลายใคร
โดยตรง หรือทำาให้ผู้ใดผู้หนึ่งต้องได้รับความเสียหาย
เพราะเหตุแห่งการดื่มนั้น อันจะนำาให้เข้าถึงความ
ทุจริต(โดยอาศัยการมึนเมา)

อย่างไรก็ตาม เมื่อการดื่มสุราเมรัยได้ตั้งต้นขึ้นมาแล้ว ก็
ย่อมจะก่อให้เกิดความมึนเมา ความรู้สึกสำานึกตัวลด
น้อยลง ความดีความชั่วมิค่อยได้คำานึงถึงความเป็นไป
ในตอนที่ดม ื่ แล้วนี้ผิดกับตอนที่เริม
่ ดื่มมากมาย แล้วก็มี
โอกาสที่จะหันไปในทางทุจริตได้ไม่ยากเท่าใด เพราะ
เมือ่ ดื่มสุราเมรัยลงไปแล้ว ก็ยอ ่ มจะทำาให้ใจกล้า
ประกอบกับความรูจ ้ ักบาปบุญคุณโทษลดน้อยลง จึงได้
ทำาบาปต่างๆ ได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการพูดเท็จ พูดส่อ
เสียด ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือประพฤติผิดในกามก็ตาม
ทั้งการกระทำาดังกล่าวก็อาจเข้าเขตแดนที่เสียหายมาก
หรือครบองค์กรรมบถ ไปจนถึงแสดงความโหดร้าย
ทารุณป่าเถือ ่ นได้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ดังนั้น ผู้ดื่มสุราเมรัยที่ยัง
มิได้กระทำาทุจริต จึงได้ถูกสงเคราะห์เข้าไปในข้อ
กาเมสุมิจฉาจาร อันเป็นอกุศลกรรมบถ เพราะการดื่ม
สุราเมรัยนั้น จะมีความประพฤติผิดได้งา่ ย ไม่รู้จักกลัว
ในการกระทำาไม่ดท ี ั้งหลาย คือทีเ่ คยอายก็ไม่อาย ทีเ่ คย
กลัวก็กลับกล้าหาญชาญชัย
ด้วยเหตุดังนี้เอง เราจึงได้เคยพบอยู่เสมอว่า ผู้เสพสุรา
แล้วย่อมจะไปฆ่าสัตว์ตด ั ชีวิตด้วยความทารุณโหดร้าย
ทำาการปล้นหรือจี้ก็กระทำาอย่างรุนแรงด้วยขาดความ
เมตตาปรานี ในเรื่องนี้ทา่ นนักศึกษาก็คงได้เคยทราบ
กันมาบ้างว่า ในอดีตนั้น ผูม ้ ีอำานาจจับเอาผู้ต้องหามา
ทรมานเพื่อจะให้รับสารภาพ หรือเอาไปฆ่าเสียเลย ใน
การกระทำาทีเ่ ป็นการเหี้ยมโหดนั้นโดยมากก็จะต้อง
อาศัยสุราย้อมใจเสียให้กล้าหาญก่อน

ดังที่ผมได้ยก
ตัวอย่างขึ้นมานี้

เช่นดื่มสุราแล้วก็
ไปยิงนกตกปลา ก็สงเคราะห์ลงในการทำาปาณาติบาต
ดื่มสุราแล้วไปกระทำาผิดในบุตรภรรยาของคนอื่น ก็
สงเคราะห์ลงในการทำากาเมสุมิจฉาจาร ดืม ่ สุราแล้วไป
ลักของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตัว ก็ลงเคราะห์ลงใน
อทินนาทาน ดังนี้เป็นต้น

พระอานันทเถร จึงแสดงไว้ในมูลฎีกาว่า "


,

" แปลว่า "

"
ในวิภาวนีฎีกา และปฏิสัมภิทามรรคฎีกา ก็ได้กล่าวเอา
ไว้ว่า "

" แปลว่า

"

. กิจทีท
่ ำาให้เกิดในนิรย
ภูมิ
. กิจที่ทำาให้การกระทำาทุจริต
สำาเร็จลง
เมือ
่ เปรียบเทียบกันทั้ง ๒ ข้อนี้แล้ว ท่านนักศึกษาก็จะ
มองเห็นได้ว่า

เพราะปฏิสนธิชนนะกิจนั้น มีความมุ่งหมายถึงบุพพ
เจตนาอันเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นมาก่อนการกระทำา หมาย
ถึงว่า สุรายาเมาเหล่านั้นเป็นตัวการหนุนหรือกระตุ้น
เตือนให้การกระทำาทุจริตหรือทุราชีพเกิดขึ้น แต่ท่าน
นักศึกษาก็ทราบอยู่แล้วว่า คนดื่มสุรายาเมานั้น มิได้
กระตุ้นเตือนให้กระทำาทุจริต หรือทุราชีพเสมอไปทุกๆ
ครั้งหรือทุกๆ วัน แม้ว่าจะมีเหตุแห่งความมึนเมาคอย
กระตุ้นเตือนหรือชักชวนอยู่ก็ตาม ถ้าเป็นเช่นนี้บุพพ
เจตนาที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ไม่มีความสามารถทีจ
่ ะเป็น
ตัวการนำาไปเกิดในนิรยภูมิ คือความเป็นสัตว์นรกได้
ผู้ดื่มสุราเมรัยแล้ว กระทำาไปตามอำานาจของการกระตุ้น
เตือนใจให้กระทำาทุจริตโดยบุพพเจตนาแล้ว บุพพ
เจตนาดังกล่าวก็เกิดอิทธิพลนำาให้เกิดในนิรยภูมิ คือ ใน
นรกได้ ถ้าปฏิสนธิชนนะกิจการเกิดใหม่ได้สำาเร็จลงเมือ ่
ใด ก็จัดว่าได้ล่วงอกุศลกรรมบถแล้วเมื่อนั้น ถ้าปฏิสนธิ
ชนนะกิจยังไม่สำาเร็จ การดื่มสุราเมรัยก็จะจัดว่าล่วง
กรรมบถยังไม่ได้ ท่านนักศึกษาก็จะเห็นได้ว่า เป็นการ
ไม่แน่นอน ดังหลักฐานปฏิสม ั ภิทามรรคอรรถกถาและ
ฎีกาได้แสดงเอาไว้ว่า

กุสลากุสลา ปิ จ ปฏิสนฺธิชนกาเยว กมฺมปถาติ วุตต


ฺ า, จุตฺ
ตาวเสสา ปฏิสนฺธิ ชนเน อเนภนฺตินตฺตา กมฺมปาถาติ น
วุตตา ฯ (อรรถกถา)

วุตฺตาวเสสาติ สุราปานาทโย ตพฺพิรมฺมณาทโย จ ฯ


(ฎีกา)

กุศลคือกายสุจริตเป็นต้น และ
อกุศลมีกายทุจริตเป็นต้น ทีใ่ ห้ปฏิสนธิเกิดขึ้นเท่านั้น
พึงกล่าวได้ว่าเป็นกุศลและอกุศลกรรมบถ กุศลคือการ
เว้นจากการดื่มสุราเป็นต้น และอกุศลคือ การดื่มสุรา
เป็นต้น ที่เหลือเหล่านั้น ไม่ได้กว่าวว่าเป็นกุศลและ
อกุศลกรรมบถ เพราะกรรมเหล่านี้เป็นกรรมที่ไม่
แน่นอนในการส่งผลปฏิสนธิ
คำาว่า นั้น ได้แก่ การดืม
่ สุรา สูบ
ฝิ่น เล่นการพนัน หลงใหลเพลิดเพลินอยู่กับการดูแล
และเล่นมหรสพต่างๆ เป็นต้น และการเว้นก็ได้แก่เว้น
จากที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง
อันการดื่มสุราเมรัยนั้น เมือ ่ ดื่มไปหลายๆ ครั้งแล้วก็มี
ความปรารถนาที่จะดืม ่ เรือ
่ ยๆ ไป ดังมีพุทธภาษิตที่
แสดงเอาไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า

ติณฺณำ ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตต ฺ ,ิ กตเมสำ ติณฺโณ?


โสปฺปสฺส ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตต ฺ ,ิ สุราเมรยปาน
สฺส ภิกขฺ เว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ, เมถุนธมฺมสมาปตฺติ
ยา ภิกขฺ เว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺต,ิ อิเมสำ ภิกฺขเว ติณฺณำ
ปฏิเสวนาย นตฺติ ติตต ฺ ีติฯฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเสพที่ไม่มีการอิม่ นั้นมี ๓ อย่าง
? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความไม่อิ่มในการนอนอย่างหนึ่ง ความไม่อม ิ่ ในการดืม

สุราเมรัยอย่างหนึ่ง ความไม่อิ่มในการเสพเมถุนธรรม
อย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่อิ่มในการเสพ ๓
อย่างนั้นมีดังกล่าวมานี้

ถ้าท่านนักศึกษาจะพิจารณาดูถึงการที่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทอันได้แก่พระภิกษุสงฆ์
พระองค์ก็มิได้ทรงตั้งขึ้นเอาเองตามชอบใจ มักจะมีผู้
ประพฤติปฏิบัติผิดพลาดเกิดขึ้นมาเสียก่อน ในการดื่ม
สุราเมรัยนี้ก็เหมือนกัน ได้มีผู้ปฏิบัตเิ กิดความเสียหาย
ขึ้นมาแล้ว คือดังนี้
ในครั้งพุทธกาล มีพระองค์หนึ่งชื่อ
แต่เป็นผู้ได้อภิญญา
จากการปฏิบัติได้ฌานชั้นสูงแล้วมีความสามารถเป็น
พิเศษ อันเป็นอิทธิฤทธิอ
์ ันหนึ่งเก่งกล้าสามารถมาก วัน
หนึ่งประชาชนชาวโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า พระสาคตะ
เถระได้มีชัยชนะต่อพระยานาคในการประลองฤทธิ์กัน
ประชาชนทั้งหลายที่ได้ทราบข่าวก็พากันเลื่อมใส มี
ความยินดีกันเป็นอันมาก
ดังนั้น เมื่อพระสาคตะเถระมาบิณฑบาต จึงได้พากันนำา
อาหารมาถวาย และในบุคคลผู้ถวายเหล่านั้นได้นำาเอา
สุรามาถวายด้วย เมือ ่ พระสาคตะเถระได้ดม ื่ สุรานั้นแล้ว
ก็บังเกิดความมึนเมา กลับจากบิณฑบาตแล้ว จะเดินมา
ให้ถึงประตูเมืองก็ไม่ได้ ล้มลงนอนอยู่ที่หน้าประตูเมือง
นั่นเอง ฌานอภิญญาหรือฤทธิ์อำานาจทั้งหลายที่เคยได้
อุตส่าห์บำาเพ็ยเพียรมาด้วยความยากลำาบากในเวลาอัน
ยาวนานก็เสื่อมลงหมดสิ้น
ในขณะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับจาก
บิณฑบาตพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์พอดี พระองค์ได้ทอด
พระเนตรเห็นพระสาคตเถระก็รับสั่งให้พระภิกษุทั้ง
หลายช่วยกันพยุงพาไปจนถึงวัด แล้วก็ให้นำาตัวมาเบื้อง
หน้าของพระองค์ ให้จับตัวพระสาคตะเถระให้นอนหัน
ศีรษะไปในทางที่พระองค์ประทับ แต่พระสาคตะเถระ
กำาลังขาดสติไม่รู้สึกผิดชอบอะไรเลยก็หมุนตัวกลับเอา
เท้าไปทางพระพุทธองค์
แม้จะมิได้มี
ความตั้งใจโดยตรงก็ตาม ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง
พระองค์จึงได้บัญญัตส ิ ิกขาบทขึ้นห้ามมิให้ภิกษุดื่มสุรา
เมรัย ถ้าดื่มก็ตอ
้ งเป็นอาบัติปาจิตตีย์

ในปาจิตติยพระบาลีและอรรถกถาแสดงว่า
คือการดื่มสุราเมีรัย
เป็นอาบัติปาจิตตีย์
อจิตฺตกำ โลกวชฺชำ อกุสลจิตฺตำ มชฺชปานำ สามเณรานำ ปารา
ชิกวตฺถุ

บุคคลผู้ติดสุรามักจะเห็นว่าสุรานั้นเป็นของดีของวิเศษ
พยายามหาหนทางกล่าวแก้ไปในแง่มุมต่างๆ แต่ในส่วน
ลึกของใจนั้นก็รู้ว่าไม่ดีเหมือนกัน เพราะอย่างน้อยใน
ขณะที่ตนยังไม่เมาก็เห็นเพื่อนฝูงมึนเมาแสดงความ
ขาดสติออกมามากบ้างน้อยบ้างตามแต่การสั่งสมอบรม
มาอย่างไร ดังจะเห็นมึนซึมบ้าง หัวเราะมากบ้าง พูดคุย
เอะอะบ้าง พูดมากจนเกินไปบ้าง พูดซำ้าซากจนน่าเบื่อ
หน่ายบ้าง แขวะหรือล้อคนอื่นอย่างไม่มีความเกรงใจ
บ้าง อวดความรู้ อวดรำ่ารวย อวดดี อวดสารพัดอย่าง
หรือข่มเหงคนอื่น เหมือนตนเองเป็นผู้วิเศษบ้าง ดุร้าย
ท้าต่อยท้าตีบ้าง สิง่ ที่ไม่ควรพูดก็อดพูดออกมาไม่ได้บ้าง
เหล่านี้เป็นต้น
บางคนก็เห็นโทษของการดืม ่ สุรา ดังนั้นจึงหาหนทางที่
จะเลิกให้จงได้ บางคนก็ได้อุตส่าห์พยายามอย่างตั้ง
อกตั้งใจ บางคนก็ประกาศแล้วประกาศอีกว่าจะไม่ขอ
แตะต้องอีกต่อไป แต่ในทีส ่ ุดส่วนมากทีเดียวก็อดทนไป
ไม่ได้เท่าใด เพราะทนต่อสิ่งทีม่ ายั่วเย้า ทนต่อเพื่อนฝูง
ที่มาชักชวนไม่ค่อยไหว พร้อมทั้งทนต่อการติดใจในสุรา
เมรัยที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในหัวใจไม่ไหว ดังนั้น ความ
ปรารถนาที่จะเลิกก็ต้องล้มเหลวลงไป

อย่างไรก็ดี ก็มีบางคนเหมือนกันที่มก ี ำาลังใจเข้มแข็ง ไม่


ยอมตกเป็นทาสของสุราเมรัยไปนานนัก ได้ตอ ่ สู้กับ
ความปรารถนาของหัวใจ อดทนต่อสิ่งทั้งหลายทีม ่ าเร้า
อยูเ่ สมอจนสำาเร็จลงได้ ทั้งนี้ก็ด้วยการฝึกฝนอบรม
จิตใจที่ได้ตด
ิ มาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ช่วยสนับสนุนให้
เกิดกำาลังใจทีเ่ ข้มแข็งและเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เอง ผู้
อ่อนแอทั้งหลายฝึกฝนอบรมความอ่อนแออยู่เรื่อยๆ ไป
ในชาตินี้ ก็ย่อมจะแน่นอนว่าในชาติต่อไปก็จะต้อง
อ่อนแอต่ออีก และอาจตกเป็นทาสสุราเมรัย หรืออาจจะ
กลายเป็นทาสของสิ่งชั่วร้ายยิ่งๆ ขึน ้ ไปก็ได้ เมื่อ
พิจารณาดูด้วยดีแล้วก็น่าใจหายสำาหรับบุคคลที่ช่วย
ตนเองไม่ได้เหล่านี้
ภัยอันตรายอย่างร้ายแรงจะเกิดขึ้นแก่ผู้เสพสุราเมรัยอยู่
เป็นนิจ ภัยอันตรายนั้นเกิดขึ้นมาได้ง่ายๆ ทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า สำาหรับในชาตินี้ ก็จะได้รับคำาตำาหนิติ
เตียนจากสัปบุรุษทั้งหลาย มีโรคภัยเบียดเบียนประจำา
ตัว มีอันตรายได้ง่ายๆ จากความประมาท เช่น การขับ
รถยนต์แล้วชนกัน ความรู้จักเหตุผลชั่วหรือดีลดน้อยลง
ตามความมึนเมาที่มากขึ้น จึงอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต
ทรัพย์สมบัติ ครอบครัว บิดามารดา ญาติมิตรทั้งหลาย
ได้ และเมื่อสิ้นชีวิตลงไปเมื่อใด ชาติหน้าก็จะหนีจาก
ทุคติภมู ิไปไม่พ้น ต้องไปเสวยความทุกข์ยากลำาบากทั้ง
กายและใจในที่นั้นชั่วกาลนาน ครั้นตายจากทุคติภูมม ิ า
เกิดในชาติที่ ๓ เป็นมนุษย์ก็จะต้องเป็นคนมีปัญญาอ่อน
สติฟั่นเฟือน หรือวิกลจริต
ด้วยเหตุดังนี้เอง พระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดง
ถึงโทษของการดืม ่ สุราเอาไว้ว่า
อปิเจตฺถ สุราเมรยมช์ชปมาทฏฺฐานเมว มหาวชฺชำ น ตถา
ปาณาติปาตาทโย กสฺมา มนุสฺสภูตสฺสปิ อมฺมตฺตกภาว
สำวตฺตเนน อริยชมฺมนฺตราย กรณโตฯ
แปลความว่า เมือ ่ กล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ในศีลทั้ง
๕ นั้น การดืม ่ สุราเมรัยที่เป็นเหตุแห่งความประมาท
ย่อมมีโทษมาก ส่วนศีล ๔ ข้อมีปาณาติบาต เป็นต้น
เหล่านี้ไม่มีโทษมากเหมือนการดื่มสุราเมรัย เพราะการ
ดื่มสุราเมรัยนี้ ย่อมกระทำาให้ผู้นั้นเป็นบ้า เป็นอันตราย
ต่อมรรคผล

สุราเมรัยนี้ มีฤทธิ์เดชมากเหลือเกิน เพราะทำาให้บุคคลผู้


หลงติดต้องหลงใหลมัวเมาอย่างไม่ลืมหูลม ื ตา ทั้งทำาให้
มีใจกล้าหาญที่จะกระทำาการอันน่าหวาดกลัวอันตรายที่
ร้ายแรงแล้วอยู่เฉพาะหน้าก็ได้ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้
เกิดการกระทำาผิดศีลธรรมวัฒนธรรม และผิดกฎหมาย
แม้โทษของสุราเมรัยจะมากมายเพียงใด ผู้หลงใหลทั้ง
หลายก็ยังติดอกติดใจกระทำาไปจนได้ แม้จะมีผู้ใดจะว่า
กล่าวตักเตือนด้วยความปรารถนาดีอย่างไรก็ไม่ยอม
เชือ
่ ฟัง
ได้มีผม
ู้ าปรึกษาหารือกับผมหลายคนมาแล้วว่า

ผมก็มิได้เสนอแนะ
ว่าอดอย่างไร เพราะวิธีอดนั้นก็มีหลายอย่าง แต่ก็อยู่ที่
กำาลังใจเป็นสำาคัญ แต่ละท่านก็ย่อมมีอัธยาศัยใจคอของ
ตนเองที่ได้อบรมาแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ วิธีการที่ผม
จะเสนอแนะนำานั้นง่ายๆ อย่างเดียวแล้วก็ได้ผลดีมี
ตัวอย่างมากหลาย ไม่ตอ ้ งไปเคี่ยวเข็ญทรมานร่างกาย
และจิตใจให้เดือดร้อน ไม่ต้องไปทำาพิธีรตี องที่ไหน ขอ
อย่างเดียวก็คือให้ศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมด้วย
ความตั้งใจจริงๆ ก็พอ
มาฟังการบรรยายหรืออ่านหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ
ชีวิตเสียให้ดี เมื่อศึกษาบังเกิดความเข้าใจได้เหตุผลเข้า
ถึงจิตใจอย่างลึกซึ้งแล้ว ก็จะเห็นทุกข์โทษภัยที่จะได้รับ
เฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตชาติและชาติต่อๆ ไปว่า เท็จ
จริงประการใด เช่นการไปเกิดในทุคติภม ู ิ มีนรกและ
สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น แล้วในชาติต่อไปก็จะไปเกิดเป็น
คนปัญญาอ่อนใบ้ๆ บ้าๆ ไม่ค่อยจะเต็มเต็ง หรือกลาย
เป็นคนวิกลจริตไปอย่างแท้จริงเลย หนทางที่จะไปสู่
มรรคผลก็ถูกขวางกั้น
ทุกๆ คนก็ย่อมจะรักชีวิตของตนเอง อยากจะให้ชีวิตของ
ตนเดินไปสู่ทางที่ดีทสี่ ุดเท่าที่จะดีได้ เมือ
่ ศึกษาได้ความ
จริงในเรื่องของชีวิตจากการดืม ่ สุราเมรัยทราบโดย
แน่นอนว่า จะเป็นโทษเป็นภัยร้ายแรงแก่ตนเองอย่าง
แน่นอนใจแล้ว ก็จะค่อยๆ เลิกดืม ่ ไปจนสำาเร็จได้ไม่ยาก
เย็นอะไร โดยใช้วิธีการต่างๆ ของตนเอง แล้วก็จะไม่
กำาเริบกลับอยากดืม่ สุราขึ้นมาใหม่ด้วย

ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๐๘

เมือ
่ สัปดาห์กอ
่ น ผมได้บรรยายเรือ ่ ง
ว่าคืออะไร ผู้ประพฤติ
อย่างไรกับใครจึงชือ
่ ว่า กาเมสุมจิ ฉาจาร โดยแยกบุคคล
ออกเป็นประเภทต่างๆ และได้บรรยายตลอดไปถึงผลที่
เกิดขึ้นจากการกระทำา กาเมสุมจ ิ ฉาจาร ว่าเป็นอกุศล
กรรมบถ และถ้าครบองค์ก็สามารถนำาไปสู่การปฏิสนธิ
คือเกิดในอบายภูมิมี นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์
เดรัจฉานได้
นอกจากนั้นผมก็ได้บรรยายถึงเรื่องของ
ว่าคืออะไร ผูเ้ สพสุราเมรัยย่อมไม่
ถือว่าเป็นอกุศลกรรมบถ แต่ผิดในศีล ด้วยเหตุผล
อย่างไร ตลอดจนเรื่องของโทษจากการเสพสุราเมรัย
นั้นว่า จะนำาไปก่อการทุจริตจนเป็นอกุศลกรรมบถที่
ครบองค์แล้วก็เป็นชนกกรรมนำาปฏิสนธิได้
ที่ผมได้แสดงไปแล้วเป็น

สำาหรับ
ในวันนี้ ผมจะได้บรรยายถึงอกุศลกรรมบถที่เกิดขึ้นทาง
วาจาเป็นส่วนมาก ที่ชื่อว่า คือ
การแสดงออกซึ่งอกุศลนั้นทางวาจา มี
คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียดยุยงให้เขา
แตกกัน กล่าวคำาหยาบ
กล่าวคำาเพ้อเจ้อ และสำาหรับใน
วันนี้ผมจะเริ่มด้วย มุสาวาท อันเป็นอกุศลวจีกรรมตัว
แรกเสียก่อน

แยกออกเป็น ๒ บท คือ +

ได้แก่ สิง่ ที่ไม่เป็นความจริง


ได้แก่ คำาพูด

ดังมี วจนัตถะแสดงว่า "


= " คนทั้งหลายย่อมกล่าว
ซึ่งวัตถุสิ่งของเรื่องราวที่ไม่จริง กล่าวให้เป็นจริง ด้วย
เจตนาอันนั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวไม่
จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท ได้แก่

มุสาวาทนั้นในภาษาไทยเรามีคำาใช้อยู่อีกหลายคำา เช่น
พูดไม่จริง พูดเท็จ พูดปด พูดโกหก เป็นต้น ซึ่งก็มีความ
หมายตรงกันกับคำาว่า มุสาวาท นั่นเอง

ธรรมดาบุคคลทั้งหลายโดยทั่วไปมักจะพูดเท็จ หรือพูด
มุสาด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครเลยที่ไม่เคยพูดมุสา หากแต่
ว่า บางท่านพูดมุสามาก บางท่านพูดน้อย บางท่านพูด
มุสาในเรื่องที่ไม่สลักสำาคัญ บางท่านพูดมุสาในเรือ
่ งที่
สำาคัญ และทางทีบางท่านอาจจะใช้มุสาเป็นอาชีพไป
เสียเลยก็อาจเป็นได้
เมือ
่ มีเพื่อนฝูงถามว่าไปไหนมา เราก็มักจะตอบว่า
" " ทั้งๆ ทีเ่ รากำาลังจะไปธุระ เมื่อเขาถามว่า
กินข้าวแล้วหรือยัง เราก็มักจะตอบว่ากินแล้ว ทั้งๆ ที่
อาหารยังมิได้ตกถึงท้องมาหลายชั่วโมงแล้ว
คนบางคนฝึกหัดการพูดมุสาเสียจนเคยตัว วันหนึ่งๆ
พูดเสียนับไม่ถ้วน ฉะนั้น ถ้าไม่ได้พูดมุสาเสียบ้างแล้วก็
ไม่ค่อยจะสบาย หน้าตาหม่นหมองไม่แจ่มใส หรือเกิด
ท้องขึ้นขึ้นมาทีเดียว แต่ถา้ ได้พูดมุสาเสียสักหน่อย จึง
ค่อยสบาย หน้าตาแจ่มใสเบิกบาน ไม่ป่วยไม่เจ็บอะไร
เลย ทั้งนี้ก็เพราะได้เคยฝึกอบรมตนเองมาเสียจน
ชำานาญ
ผู้ที่ทำามาค้าขายบางคนที่เห็นแต่จะได้คิดที่จะเอากำาไร
หรือผูท ้ ี่ข้องแวะอยู่กับวงของการพนัน หรือผู้ทที่ ำาการ
งานตามสถานที่ตา่ งๆ มีตามช่อง ตามสำานักงานบาง
แห่ง ที่หากินด้วยการต้มมนุษย์ หรือผู้ทำางานตามโรง
ตามศาลบางท่าน ที่คอยติดต่อหารายได้จากผูท ้ ี่ไม่มี
ความรู้ความเข้าใจ บุคคลเหล่านี้เกือบจะพูดได้ว่า หา
กันกับเรื่องของการโป้ปดมดเท็จ พยายามหาหนทาง
ด้วยวิธีการพูดเท็จต่างๆ เพื่อต้อนคนให้มาตกหลุมพราง
ที่ดักเอาไว้ ด้วยหวังประโยชน์ที่จะได้เช่น เงินทอง
เป็นต้น บุคคลเหล่านีเ้ กือบจะพูดได้ว่าทำามาหากินกับ
การพูดมุสา

บางคนก็ถือได้ว่าหากินกับการพูดมุสาเลยทีเดียว เพราะ
ทำามาหากินอยู่กับการมุสาทุกๆ วัน เทีย ่ วได้หลอกหญิง
สาวตามต่างจังหวัดทีร่ ู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้เข้ามาทำางาน
ในกรุงแล้วก้เอาไปขาย หรือส่งให้เพื่อหากำาไร คือเพื่อ
บำาเรอความใคร่ของชาย ทำาประหนึ่งว่าคนเป็นข้าวของ
หรือไม่มีหัวใจ
บางคนที่ติดฝิ่นหรือเฮโรอีน ยอมรับจ้างเบิกพยานเท็จ
โยมิได้คำานึงถึงความเสียหายของใคร หรือใครจะเดือด
ร้อนสักเพียงไหน หากแต่เอาใจใส่เฉพาะส่วนที่ตนจะ
ได้อันเป็นเงินทอง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตนเอง
ให้สำาเร็จลงไปเท่านั้น
เด็กเล็กๆ ย่อมจะไม่เดียงสาอะไร เมื่อเห็นงูพิษก็
พยายามไขว่คว้าจะจับมาเล่นให้ได้ หรือเห็นไฟที่
ตะเกียงนำ้ามันก็หาหนทางเข้าใกล้ จะได้เล่นให้
เพลิดเพลินใจ โดยหาได้ทราบไม่ว่า จะมีอันตรายร้าย
แรงแก่ตนอย่างไร เพราะเด็กยังเล็กนัก เด็กยังอ่อนต่อ
ความคิดอ่านนั่นเอง
ทั้งนี้ก็เหมือน กับคนชอบพูดมุสา ด้วยไม่เคยได้คด ิ
พิจารณาให้ลึกซึ้ง ไม่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนเรื่องของชีวิต
ให้เข้าใจ จึงหาได้ทราบไม่ว่าการพูดมุสาที่ตนชอบ
แสดงออกไปด้วยเห็นว่าเป็นความดีที่พึงพอใจ หรือก่อ
ประโยชน์ให้แก่ตนนั้น เห็นว่ามิได้มีโทษภัยอย่างใดแก่
ตนเลย ด้วย
เจตนาอันเกิดจากการพูดมุสา ย่อมจะถูกประทับฝังมั่น
ลงไว้ในจิตใจอยู่ทุกๆ ครั้งที่กล่าวมุสาออกไป มิได้
สูญหายไปไหน แล้วผลที่ได้เก็บเอาไว้เหล่านั้น ก็จะได้
กลับคืนมาสนองตอบแก่ตนเองให้ได้รับโทษภัย ทั้งใน
ปัจจุบันและในอนาคต
ในชาติหน้าๆ ก็จะได้รับผลแห่งการพูดเท็จต่อไป

ลงได้ฝึกฝนการพูดเท็จมาเสียเคยตัวแล้ว แม้จะมีความ
เสียหายจากการพูดเท็จให้ได้เห็นอยู่บ้าง ก็อดพูดเท็จไม่
ได้ ด้วยมีความสันทัดจัดเจนอยู่ในใจ ถึงอย่างไรก็ยัง
ยินดีกระทำาลงไป ด้วยเหตุที่ไม่มีความเข้าใจถึงอันตราย
ที่จะได้รับ ว่าจะมากน้อยสักแค่ไหน

ได้แก่เจตนาที่ทำาให้ผอ
ู้ ื่น
บังเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งประกอบกับโลภชวนะ คือ
ความโลภ มีความยินดีติดใจในอารมณ์ต่างๆ ประกอบ
กับโทสะชวนะ คือความโกรธ ความเสียใจ ความทุกข์
ร้อน ความไม่พอใจ คือพูดเท็จออกไป หรืออาจจะ
แสดงออกทางกาย ก็เป็นพูดเท็จได้เหมือนกัน

เช่นเจตนา
จะหลอกให้คนอื่นเขาหลงเชือ ่ ในเรื่องต่างๆ เพื่นตนจะ
ได้ประโยชน์ หรือการพูดเท็จด้วยหวังจะให้ได้มาซึ่ง
แห้วแหวนเงินทอง จึงได้เจรจาตลบตะแลง หลอกต้ม
ให้คนอื่นเขาหลงเชื่อ แล้วจะได้รับผลตามทีต ่ นต้องการ

พูดเท็จ
ออกไปเพราะความเสียใจ หรือความทุกข์ร้อนไม่สบายที่
ตนกำาลังได้รับ และการพูดเท็จอาจเกิดขึ้นมาได้เพราะ
ความโกรธ ความไม่พอใจ
เจตนาที่เกิดขึ้นแล้วเป็นมุสาวาทนั้น บางครั้งถึงแม้ว่า
จะเป็นส่วนน้อยก็อาจเกิดขึ้นมาได้เหมือนกัน คือมิได้
เกิดขึ้นทางถ้อยคำาที่พูดออกไป หากแต่เกิดขึ้นทาง
ร่างกาย หรือ

แล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นการพูดเท็จ
หรือผิดในศีลข้อมุสาเหมือนกัน

่ มีคนมาถามว่า "
เมือ
"
ด้วยความ
ปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่งจึงได้แสดงการพูดมุสาออก
ไปทางร่างกาย หรือเมื่อเพื่อนคนหนึ่งถามว่า "
" แต่
ความจริงนั้นมี ด้วยเกรงเพื่อนจะขอยืมจึงสั่นหน้า
แสดงออกไปทางกายเพื่อเป็นการปฏิเสธ นอกจากมุสา
วาทที่แสดงออกทางหน้าตาแล้ว อาจแสดงออกทาง
กิริยาอาการ เช่น ทำาท่าหรือโบกมือ ก็เป็นการพูดมุสาได้
รูปที่ปรากฏเกิดขึ้นทางวาจา คือใช้ปากพูดออกไปเป็น
ถ้อยคำาให้เข้าใจกันนั้น ในปรมัตถธรรมเรียกว่า
และรูปที่ปรากฏเกิดขึ้นทาง
ร่างกาย ใช้ร่างกายเป็นการแสดงออกเพื่อให้เข้าใจกัน
นั้น ในปรมัตถธรรมเรียกว่า
คือการพูดจาก็ดี
คือการแสดงออกซึ่งอาการของ
ร่างกายก็ดี

อำานาจของจิตใจ รูปเหล่านี้จึงเกิดขึ้นมาได้ หมายความ


ว่าถ้ามิได้มีเจตนา คือถ้ามิได้มีจติ สั่งให้กระทำาแล้ว รูป
เหล่านี้ซึ่งได้แก่วจีวิญญัตร
ิ ูป และกายวิญญัติรูป จะเกิด
ขึ้นมาเองเฉยๆ จะได้หรือ ไม่มีเหตุผล ไม่มีหนทางที่มัน
จะเกิดขึ้นมาเองได้อย่างไร

ถ้า
ศึกษาเรื่องนี้ให้ละเอียดแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าจิตได้สั่งให้
อ้าปากพูด ทำาให้ปากเป็นรูปต่างๆ ไปตามทีต ่ ้องการว่า
จะให้เสียงออกไปอย่างไร จิตได้สั่งให้ลิ้นกระดิกไปใน
รูปแบบต่างๆ มากมาย เพือ ่ ให้เสียงออกมาตามที่
ต้องการ แม้ได้สั่งให้ลิ้นกระดิกไปในรูปแบบต่างๆ
มากมาย เพื่อให้เสียงออกมาตามที่ต้องการ แม้ร่างกายที่
เคลือ
่ นไหวไปทุกๆ กระเบียดนิ้วในท่าทางต่างๆ นั้น ก็
หนีไปจากจิตสั่งไม่ได้
รูปที่แสดงออกทางวาจา กับรูปที่แสดงออกทางกาย
เหล่านั้น ก็ล้วนแต่กลั่นกรองออกมาจากจิตใจ เมือ ่
จิตใจเกิดขึ้นก็จะขาดเจตนาเสียมิได้ ด้วยเหตุดังนี้ การ
แสดงออกทางวาจาหรือการแสดงออกทางกายที่
ประกอบไปด้วยเจตนา ที่จะให้เป็นการกล่าวเท็จ จึงหนี
ไปจากอกุศลกรรมบถไม่ได้ จึงเป็นอกุศลวจีกรรม แม้แต่
จะใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยที่มิได้พูด
หรือมิได้ใช้อวัยวะเกี่ยวกับวาจาเลย ก้หนีไปไม่พ้นจาก
มุสาวาท หากแต่เกิดขึ้นเป็นส่วนน้อยเท่านั้น (มุสาวาท
เกิดทางวาจาเป็นส่วนมาก)

ในเร่ ืองปาณาติบาต หรืออทินนาทาน ตามท่ีผมได้แสดงไปแล้วก็มี


องค์ของกรรมบถเพ่ ือจะเป็ นเคร่ ืองตัดสินว่า อกุศลท่ีเกิดขึ้นมานัจ้จะ
มากหรือน้อยประการใด มุสาวาทก็มีองค์ท่ีจะตัดสินว่า ผู้กล่าววาจา
นัน
้ จะเป็ นมุสาวาทหรือไม่เหมือนกัน องค์ประกอบของมุสาวาทนัน ้ มี
๔ ประการ

องค์แห่งมุสาวาท ๔ ประการ คือ

๑. อตฺถวตฺถุ ส่ิงของหรือเร่ ืองราวท่ีไม่เป็ นจริง


๒. วิสํวาทนจิตฺตตา มีความคิดท่ีจะมุสา
๓. ปโยโค พยายามมุสาด้วยวาจาหรือกาย
๔. ตทตฺถ วิชานนํ ผู้อ่ืนมีความเช่ ือตามเน้ือความท่ีมุสานัน

อย่างไรก็ดี นอกจากองค์ทัง้ ๔ ข้อท่ีได้กล่าวมาแล้วนัน


้ ในการพูด
มุสาก็ยังแบ่งออกไปอีกเพ่ ือจะได้ทราบว่าอกุศลนัน้ มีกําลังมากหรือ
น้อยประการใด จะเป็ นการก้าวล่วงกรรมบถหรือไม่ คือ

๑. ความสำาเร็จท่ีเกิดขึ้นนัน
้ จัดว่าเป็ นมุสาวาท แต่ยังไม่ล่วงกรรมบถ
๒. ความสำาเร็จท่ีเกิดขึ้นนัน้ จัดว่าเป็ นมุสาวาท แต่ล่วงกรรมบถด้วย

อีกประการหน่ึงท่ีทา่ นนักศึกษาจะต้องจดจำาเอาไว้ให้ได้ก็คือ การ


กล่าวมุสาวาทนัน ้ ครบองค์ทัง้ ๔ แล้ว แต่มิได้ทําให้เกิดความเสียหาย
แต่ประการใดให้แก่ผท ู้ ่ีหลงเช่ ือนัน
้ แม้จะได้ช่ือว่าเป็ นมุสาวาทก็จริง
แต่ไม่จัดว่าล่วงในอกุศลกรรมบถมุสาวาท คือมีกำาลังน้อย ไม่
สามารถนําให้ไปเกิดในอบายภูมิ มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉานได้ แต่ถ้าการกล่าวมุสานัน ้ บังเกิดความเสียหายขึ้นมากับผู้
ใด ก็จะได้ช่ือว่าเป็ นอกุศลท่ีล่วงกรรมบถ ก็จะมีกำาลังอกนาจของ
อกุศลกรรมบถ จนสามารถนำาไปสู่การปฏิสนธิในอบายภูมิได้

อีกประการหน่ึงท่ีทา่ นนักศึกษาจะต้องจดจำาเอาไว้ก็คือ การกล่าวมุสา


นัน
้ เม่ ือครบองค์ทัง้ ๔ แล้ว ย่ิงเป็ นการกล่าวมุสาท่ีให้เกิดความเสีย
้ ด้วยแล้ว และย่ิงไปกว่านัน
หายแก่ผู้ท่ีได้หลงเช่ ือนัน ้ ถ้าการกล่าว
มุสาเป็ นไปอย่างกว้างขวาง คือสาธารณะแก่บค ุ คลทัว่ไป มุสาวาทนี้
ย่อมเป็ นการก้าวล่วงกรรมบถท่ีมีกำาลังมากท่ีสุด สามารถนําให้ไป
เกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานได้อย่าง
ง่ายดาย

ปโยคะ คือ ความพยายามในการมุสานีม


้ ี ๔ ประการ คือ

๑. สาหัตติกะ พยายามด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอ่ ืนมุสา
๓. นิสสัคคิยะ เขียนจดหมายหรือโฆษณา แล้วทิง้ไปให้คนอ่ ืนเข้าใจ
ผิด
๔. ถาวระ เขียนคำาประกาศ จารึก หรือลงหนังสือพิมพ์

ในปโยคะทัง้ ๔ นี้ สาหัตติกะ การพยายามด้วยตนเอง เกิดขึ้นเป็ น


ส่วนมาก ส่วนการใช้ให้คนอ่ ืนหรือเขียนจดหมาย เขียนคำาประกาศ
นัน
้ มีเป็ นส่วนน้อย

แต่อย่างไรก็ดี ในอัฏฐสาลินีอรรถกถานัน
้ แสดงว่า เป็ นปโยคะคือ
ความเพียรท่ีจะกล่าวมุสาวาททัง้หมด ๔ ข้อ

สาหัตติกปโยคะนัน ้ เป็ นการกล่าวมุสาวาทด้วยตนเอง เช่นกล่าววาจา


อันเป็ นเท็จออกไปด้วยหวังจะให้คนอ่ ืนเช่ ือถือ โดยใช้ถ้อยคำาเป็ น
ส่วนใหญ่ หรือแสดงกิริยาอาการ เช่น สัน ่ ศีรษะ พยักหน้า หรือ
โบกมือ ก็เป็ นการกล่าวมุสาวาทเหมือนกัน แต่เป็ นส่วนน้อย

อาณัตติกปโยคะ ได้แก่ การใช้ให้ผู้อ่ืนมุสา ซ่ึงก็อาจจะกระทำาไปทาง


วาจาและทางกายได้เหมือนกัน เช่น สัง่คนให้พูดอย่างนัน ้ อย่างนี้
หรือเขียนหนังสือ หรือบันทึกเสียงให้ไว้

ส่วนนิสสัคคิยปโยคะ และถาวรปโยคะ นัน


้ ก็เป็ นการกระทำาทางวาจา
หรือทางกายได้ทัง้สองอย่าง

มุสาวาทท่ีเป็ นศีลวิบัติ และมุสาวาทท่ีสําเร็จอกุศลกรรมบถ

ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็ นคฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็ นบรรพชิต เม่ ือมีจิตคิดจะ


มุสาแล้วก็ได้แสดงหรือมีความพยายามมุสาด้วยวาจาก็ดี หรือด้วย
กายก็ดี สำาเร็จลงแล้ว ศีลท่ีรับไว้ก็วบ
ิ ัติ

ความสำาคัญในเร่ ืององค์ทัง้ ๔ นี ก ้ ็ ขึ้นอยูตทตฺ


่ในข้อถท่ี๔ท่ีกล่าวว่า
วิชานนํ คือมีผู้อ่ืนหลงเช่ ือตามท่ีได้มุสานัน ้ แล้ว ผู้ฟังหลงเช่ ือว่าเป็ น
จริง ถ้าผู้ฟังไม่เช่ ือ เช่น คิดเห็นว่าเป็ นการพูดเล่นสนุกๆ เป็ นต้น
แล้วจะจัดว่าเป็ นการล่วงกรรมบถหาได้ไม่

มุสาวาทท่ีล่วงกรรมบถนัน
้ แบ่งออกเป็ น ๒ อย่าง คือ

๑. อกุศลมุสาวาท ชนิดท่ีมีกําลังนําไปสู่การปฏิสนธิในอบายภูมิ
๒. อกุศลมุสาวาท ชนิดท่ีไม่มีกําลังนําไปสู่การปฏิสนธิในอบายภูมิ

อกุศลกรรมท่ีมีกำาลังนำาให้ปฏิสนธิเป็ นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และ


สัตว์เดรัจฉานนัน ้ จำาเป็ นต้องมีกำาลังมาก หาไม่แล้วกำาลังในการส่งก็
ไม่อาจจะนำาให้เกิดได้ ด้วยเหตุนีอ ้ กุศลกรรมมุสาวาทนี จ้ึงต้องก่อ
ให้เกิดผู้หลงเช่ ือ แล้วผู้หลงเช่ ือนัน
้ บังเกิดความเสียหายขึ้นมา ส่วน
วิธีท่ีละเอียดพิสดารว่านำาไปเกิดอย่างไรนัน ้ ก็จะได้จากการศึกษาใน
ขัน
้ ต่อๆ ไป

ผลท่ีเกิดขึน
้ จากผู้ท่ีชอบพูดมุสาวาท

การพูดมุสาหรือการพูดเท็จนัน ้ พูดกันอยู่โดยทัว่ไป ใครๆ ก็พูดกัน


ไม่ว่าคนชัน ้ ไหน แต่ใครๆ ท่ีวา่ นัน
้ มีน้อยเหลือเกินท่ีทราบเป็ นอย่างดี
ถึงโทษของการพูดเท็จ มักจะเข้าใจดีแต่เฉพาะผลท่ีผิดๆ ท่ีมีกำาลังไม่
มากอันเกิดขึ้นในปั จจุบันชาตินีเ้ท่านัน ้ ว่าการพูดเท็จนัน้ จะทำาให้ได้
รับคำาตำาหนิติเตียน ถูกดูหม่ินถ่ินแคลน ไม่เป็ นท่ีเช่ ือถือไว้วางใจแก่
คนอ่ ืน จะทำาให้การสังคมหรือการงานอาชีพเสียหาย ฉะนัน ้ ถ้าคิดว่า
ไม่มีใครรู้ใครเห็นแล้วก็กล้าท่ีจะกระทำา

ผลท่ีเกิดขึ้นจากการพูดเท็จนัน
้ จะเกิดขึ้นในปั จจุบันนีไ้ด้น้อยเหลือ
เกิน เพราะทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนัน ้ ให้ผลเพียงชวนะดวงท่ี ๑ ดวง
เดียว จึงมีกำาลังน้อย ฉะนัน
้ บางทีจึงไม่ปรากฏผลขึ้นมาในชาตินีจ้น
สามารถเห็นได้ชัดเจนจนเป็ นเหตุให้ผท ู้ ่ีมิได้ศึกษาเล่าเรียน มิได้ใช้
ความคิดพิจารณาอย่างลึกซึ้งเข้าใจผิดแล้วคิดว่า การพูดมุสานัน ้ พูด
แล้วก็แล้วกันไป บางทีก็อาจคิดว่าผลท่ีเกิดขึ้นมาจากการพูดเท็จนัน ้ ดี
มีผลประโยชน์ไม่มากก็น้อย ทำาให้พ้นผิดไปได้ทำาให้อป ุ สรรคท่ี
ขัดข้องหมดไป ทำาให้งานอาชีพก้าวหน้า ทำาให้ความต้องการของตน
สมความปรารถนา เหล่านีเ้ป็ นต้น

แท้จริง ผู้กล่าวคํามุสา หรือพูดเท็จนัน


้ ได้สั่งสมอกุศลกรรมเอาไว้
้ นอกจากชวนะดวงท่ี ๑ ท่ีให้ผลในชาตินีแ
แล้วทัง้สิน ้ ล้ว ยังมีชวนะท่ี
จะให้ผลในชาติหน้า และในชาติต่อไปด้วย เหตุนีเ้อง ผู้ท่ีมีความ
เข้าใจในสภาวธรรมอยู่บ้าง ก็ย่อมจะไม่กล้าพูดเท็จ เพราะกรรมอันนี้
ให้ผลในชาตินี ค ้ ื ออาจให้ผลเป็ นปฏิสนธิแล้วยังให้ผลในชา
ไปอีกด้วย

ดังนัน
้ มุสาวาทมิได้ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในชาตินี ห ้ รือผลท่ีเกิดขึ้น
ในชาตินีม
้ องไม่ค่อยจะเห็น เพราะให้ผลน้อย แต่ในชาติหน้าและชาติ
ต่อไปก็เป็ นท่ีน่าหวาดกลัวมากทีเดียว เป็ นการลงทุนท่ีไม่ถูกหลัก
เป็ นการลงทุนท่ีไม่ฉลาด เพราะมีแต่จะขาดทุนซ้ําขาดทุนมากเสีย
ด้วย

นอกจากการให้ผลอันก่อให้เกิดความทุกข์ยากลำาบากแก่ชีวิตแล้ว ยัง
ก่อให้เกิดขึ้นซ่ึงความสันทัดจัดเจน เพราะได้กระทำาอยู่เสมอ จึงพูด
มุสาได้โดยง่ายดายทัง้ในชาตินีแ
้ ละชาติต่อๆ ไปด้วย เป็ นการสร้าง
ความเสียให้แก่จิตของตนโดยตรง เป็ นการสร้างหนทางท่ีไม่ราบร่ ืน
เอาไว้ให้เดิน แม้ต่อๆ ไปในชาติข้างหน้าด้วย ซ่ึงนับว่าเป็ นภัยใหญ่
หลวงท่ีควรจะหลีกหนีเสียก่อนให้ห่างไกลทีเดียว

เม่ ือได้กล่าวมุสาอยู่เสมอๆ จนเคยตัว ไม่ช้าไม่นานก็จะต้องกล่าว


มุสาถึงขนาดท่ีเป็ นทุจริตเป็ นอกุศลกรรมบถครบองค์แล้ว ก่อให้เกิด
้ ซ่ึงความเสียหายแก่บุคคลทัง้หลายใหญ่โตได้ เม่ ือถึงขัน
ขึน ้ นีแ
้ ล้ว
อกุศลก็จะมีกำาลังนำาให้ต้องเกิดในอบายภูมิ ได้รับความทุกข์ยาก
ลำาบากอย่างแสนสาหัสชัว่กาลนาน

เม่ ือกำาลังของอกุศลท่ีส่งตัวมาให้เกิดอยู่ในอบายภูมิลดลงแล้ว
อำานาจของกุศลท่ีเคยได้กระทำาเอาไว้ อาจช่วยให้กลับมาให้เกิดใน
มนุษย์ หรือมิได้ไปเกิดในอบายภูมิ เพราะมีกุศลช่วยเอาไว้ได้เม่ ือ
ตอนใกล้จะถึงแก่ความตาย อกุศลทัง้หลายท่ีเก่ียวกับมุสาวาทท่ีเคย
ได้กระทำามา ก็จะคอยหาโอกาสให้ผลตอนท่ีเป็ นมนุษย์นีจ้นได้
อกุศลมิได้หายสาปสูญไปไหน อันนีเ้รียกว่าการให้ผลในปวัตติกาล

โดยมากผู้ถูกอกุศลชนิดนีเ้ข้ามาเบียดเบียน มักไม่ทราบว่ามาจาก
สาเหตุอันใดมักจะคิดไปว่า บังเอิญ หรือคนอ่ ืนๆ เกลียดไม่พอใจตน
จึงได้กลั่นแกล้ง เพราะว่าความกระทบกระเทือนใจอยู่เสมอๆ ในเร่ ือง
ท่ีพูดอะไร มักไม่ค่อยมีใครเช่ ือถือ แสดงความคิดเห็นอะไรมักจะไม่มี
ใครรับฟั ง ไม่ได้รับความไว้วางใจ พูดอะไรก็มักจะไม่มีน้ำาหนัก มีคน
ไม่ชอบเสียเป็ นส่วนมาก

ฉะนัน ้ เม่ ือเข้าร่วมหมู่ร่วมพวกจึงมักจะไม่นานเท่าใด คนเขาก็เกลียด


ในนิสัย เห็นว่า หรือส่อว่าเป็ นคนท่ีไว้วางใจไม่ได้ในคำาพูด ตัวเองจึง
ได้รับความทุกข์ ได้รับความเร่าร้อนใจ บางทีก็เร่าร้อนเสียจนแทบจะ
ทนไม่ไหว ด้วยเข้ารวมหมู่รวมพวกกับใครแล้ว ก็มีเร่ ืองราวท่ีบางทีก็
ไม่น่าจะเป็ นไปได้ ทัง้ตนเองก็คิดไม่ออกว่า ได้กระทำาความผิดอะไร
แล้วก็เลยกล่าวหาว่าโลกนีม ้ ิได้มีความยุติธรรมแก่ตนเลย ทัง้นีก
้ ็
เพราะขาดปั ญญาพิจารณาในปั ญหาของชีวิตท่ีเก่ียวกับอกุศลมุสาวาท
อันซ่อนเร้นอยู่อย่างลึกซึ้ง แล้วกษรให้ผลก็สลับซับซ้อนเกินกว่า
ปั ญญาของตน

เร่ ืองของมุสาวาท ท่ีผมได้บรรยายมาแล้วโดยย่อนี ผ


้ มคิดว่าพอให้
ท่านนักศึกษาเห็นรูปร่างหน้าตาเอาไว้บ้างได้พอสมควร เวลาท่ียัง
เหลืออยู่ ผมก็จะได้บรรยายถึงอกุศลกรรมบถตัวท่ี ๒ ของวจีกรรม
คือ ปิ สุณวาจา ต่อไป

ผมก็ได้บรรยายถึงเร่ ืองของมุสาวาท คือการพูดปด โดยแสดงให้ท่าน


เห็นว่าครบองค์และไม่ครบองค์กรรมบถนัน ้ อย่างไร ตลอดจนถึงโทษ
อันเกิดจากมุสาวาทท่ีมีกำาลังมาก สามารถนำาให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ
และมุสาวาทท่ีมีกำาลังน้อยไม่อาจส่งให้ปฏิสนธิในอบายภูมิได้ ต่อจาก
นีไ้ปผมจะได้บรรยายถึง อกุศลวจีกรรมตัวท่ี ๒ คือ ปิ สุณวาจา ต่อไป

๒. ปิ สุณวาจา คืออะไร

ปิ สุณวาจา แยกออกเป็ น ๒ บท คือ ปิ สุณ + วาจา

ปิ สุณ แปลว่า การบดให้ละเอียด หรือทําให้แตกกระจาย


วาจา แปลว่า คําพูด

เม่ ือรวมกันเข้าแล้วก็ได้แก่ คําพูดท่ีทําให้ความสามัคคีแตกกระจาย


หรือคําพูดท่ีทําให้เกิดความแตกร้าวกัน หรือท่ีพูดกันโดยทัว่ไปว่า
การยุยงส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน ดังแสดงวจนัตถะว่า

" ปิ สติ สามคฺคี สยฺจุณฺเณตีติ = ปิ สุณา "


วาจาอันใดย่อมบดความสามัคคี คือทำาให้กระจัดกระจาย ฉะนัน
้ วาจา
นัน
้ ช่ ือว่าปิ สุณา

หรือ "ปิ สุณ จ สา วาจา จาติ = ปิ สุณวาจา"


คำากล่าวท่ีบดความสามัคคี คือทำาให้แตกแยกกระจัดกระจายด้วย เป็ น
เจตนาท่ีเป็ นเหตุแห่งการกล่าวนัน
้ ด้วย ฉะนัน
้ ช่ ือว่า ปิ สุณวาจา

การพูดจายุยงให้เขาแตกร้าวกันนัน ้ ก็จะพอพบเห็นกันได้เสมอใน
สังคมต่างๆ โดยทั่วๆไป จะค้นหาให้พบได้ไม่ยากเท่าใดนัก เพราะ
ด้วยกิเลสอันได้สัง่สมอบรมติดตัวมาตัง้แต่อ้อนแต่ออก ตัง้แต่ชาติ
ก่อนๆ ท่ีได้เคยเกิดมาแล้วด้วย เป็ นตัวกระตุ้นเตือนใจให้แสดงออก
ซ่ึงการยุยงส่อเสียดนัน
้ เพราะด้วยอํานาจของความรัก ความใคร่
หรือความยินดีติดใจในอารมณ์อันเป็ นโลภะ หรือด้วยอํานาจของ
ความเกลียด ความโกรธ ความเสียใจ ความทุกข์ร้อน หรือความไม่
พอใจด้วยอํานาจของโทสะ เป็ นเหตุให้กล่าวปิ สุณวาจาส่อเสียดยุยง
ลงไป

ผู้กระทำาการส่อเสียดให้เขาแตกจากกัน กระทำาการลงไปเพ่ ือให้สม


ความปรารถนาของตน คือให้เขาแตกร้าวกันให้จงได้ จึงได้กล่าวยุยง
ส่อเสียดนัน้ ขึ้นมา เม่ ือสมความปรารถนาแล้วก็บังเกิดความพออก
พอใจ แต่ผู้กระทําหาได้ทราบไม่ว่ากําลังเล่นอยู่กับไฟ เพราะเหตุแห่ง
การท่ีไม่ได้มาศึกษา มิได้ค้นคว้าพิจารณาให้บังเกิดความเข้าใจ จึงไม่
ทราบว่า กำาลังเล่นอยู่กับอันตรายอันเป็ นส่ิงท่ีน่าหวาดเกรงของ
บรรดาบัณฑิตทัง้หลาย

มีหญิงสองคนมีความรักใคร่สามัคคีกัน ไปไหนมาไหนด้วยกันเป็ น
ประจำา มีเร่ ืองราวเดือดเน้ือร้อนใจก็ยินดีเข้าช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน
เท่าท่ีจะทำาได้ ด้วยความสนิทสนมกมลเกลียวกันดังนี จ้ึงเป็ นเหตุ
ให้เป็ นท่ีไม่พอใจของหญิงคนท่ี ๓ เพราะหญิงคนท่ี ๓ ก็เป็ นเพ่ ือนท่ี
เคยรักใคร่กันกับคนท่ี ๑ มาก่อนนานมาแล้ว ด้วยเกรงว่าความรัก
ใคร่ท่ีมีอยู่ต่อตนนัน
้ จะถูกแบ่งออกไป เกรงว่าเพ่ ือนคือหญิงคนท่ี ๑
จะรักตนน้อยลงไป ด้วยอำานาจของความรักเพ่ ือนจึงได้กล่าวปิ สุณ
วาจาขึ้น ยุยงส่อเสียดให้คนท่ี ๑ ทราบว่าเพ่ ือนท่ีสนิทสนมกันมาก
คนนัน้ ไม่ดี ขืนไปสนิทมากนักจะพาไปให้เสียช่ ือเสียง เขาเป็ นคน
มากชู้หลายผัว ใครต่อใครเขาเล่าลือกันทัว่ไป แล้วก็เสนอแนะว่า
ห่างๆ เอาไว้หน่อยก็จะดี

เม่ ือได้ตัง้เร่ ืองขึ้นมาดังนีแ


้ ล้ว ก็พิจารณาได้ว่า การยุยงให้เพ่ ือนแตก
ร้าวกันนัน ้ เกิดขึ้นและเป็ นไปเพราะอะไร ในเร่ ืองนีเ้กิดขึ้นเพราะ
ความรัก เกรงว่าเพ่ ือนจะรักตนน้อยลง ด้วยหันไปสนิทสนมกับคน
ใหม่ เกิดความร้อนอกร้อนใจ จึงได้หาทางกล่าวยุยงส่อเสียดขึ้นมา

ท่านทัง้หลายก็อาจจะตัง้คำาถามขึ้นมาในใจว่า ถ้าเป็ นเร่ ืองไม่จริงแล้ว


ก็กล่าววาจายุยงขึ้น เพ่ ือให้เขาแตกร้าวกันนัน
้ ก็เป็ นการส่อเสียด
บางทีกล่าวเร่ ืองจริงออกไปด้วยหวังดีก็ได้ แล้วจะเป็ นปิ สุณวาจาหรือ
ไม่ เช่นด้วยเกรงว่าเพ่ ือนรักของตนจะเสียหายจึงได้แสดงให้เพ่ ือนรู้
เพ่ ือเป็ นการเตือนสติ แล้วจะได้ป้องกันตัวองเอาไว้ ถ้าเป็ นเช่นนีก้ าร
ทำาให้เพ่ ือนแตกร้าวกันจะเป็ นปิ สุณวาจาหรือไม่ เพราะเขาก็อาจจะ
แตกร้าวกันจริงๆ สมความตัง้ใจเหมือนกัน

ในเร่ ืองท่แ
ี ย้งมาดังนี เ ้ ปนการตัดสินใจยากขึ้นมาดังน
จะต้องทราบองค์ของปิ สุณวาจาเสียก่อน

องค์ของปิ สุณวาจานัน
้ มีอยู่ ๔ ข้อ คือ

๑. ภินฺทิตพฺโพ ผู้ท่ีถูกทำาให้แตกจากกัน
๒. เภทปุรกฺขาโร มีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน
๓. ปโยโค ทำาความเพียรให้แตกจากกัน
๔. ตทตฺถ ชานนํ ผู้ฟังรู้เน้ือความนัน

ตามตัวอย่างเร่ ืองของหญิงท่ีได้กล่าววาจายุให้เพ่ ือนต้องแตกแยกจาก


กันนัน ้ ก็จะเห็นได้ว่า กระทำาลงไปครบองค์ของปิ สุณวาจา เพราะผูท ้ ่ี
ทำาให้แตกแยกกันก็มีอยู่ เจตนาท่ีจะให้เขาแตกแยกกัน เพ่ ือจะให้เขา
หันกลับมารักตนก็พร้อม แล้วยังได้แสดงความเพียรพูดหว่านล้อมให้
เพ่ ือนเช่ ือตน ทัง้ผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเน้ือความนัน
้ ๆ อีกด้วย

ตัวอย่างดังกล่าวมานี ย ้ ่อมแสดงให้เห็นว่าเป็ นการยุยงส่อเสียด


หรือกระทำาปิ สุณวาจาครบองค์แล้ว แต่อย่างไรก็ตามท่านนักศึกษาก็
จะต้องจำาเอาไว้ว่า การกล่าวปิ สุณวาจานี แ ้ ม้จะครบองค์ทัง้๕แล้วก็
จริง ถ้าเจตนาท่ีจะให้เขาแตกแยกจากกันนัน ้ ไม่บังเกิดผลสําเร็จ เขา
มิได้แตกแยกจากกัน ยังคงมีความรักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคี
กันดีอยู่แล้ว ก็หาได้จัดว่าเป็ นการล่วงอกุศลกรรมบถไม่ ดังท่ีท่าน
พระมหาพุทธโฆษาจารย์แสดงอยู่ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
"ปเร ปน อภินฺเน กมฺมปถเภโท นตฺถิ ภินฺเนเอว" แปลความว่า "
แม้จะครบองค์ ๔ ก็ตาม เม่ ือผู้อ่ืนมิได้แตกแยกจากกัน ก็ไม่มีการ
ล่วงกรรมบถ ถ้ามีการแตกแยกจากกันจึงจะล่วงกรรมบถ

อย่างไรก็ดี ถ้าการกล่าววาจาให้เขาแตกแยกกัน ดังท่ีได้กล่าวมาแล้ว


นัน้ มิได้เป็ นไปเพราะอำานาจของความรักท่ีเพ่ ือนมีต่อตน ด้วยเกรง
ว่าเพ่ ือนจะรักตนน้อยไป จึงได้เกิดความไม่พอใจขึ้นมา แล้วได้แสดง
ปิ สุณวาจากล่าวส่อเสียดยุยงขึ้นมา แต่กลับกันผู้กล่าวมีความ
ปรารถนาดีต่อเพ่ ือนจริงๆ เกรงว่าเพ่ ือนจะได้รับความเสียหาย จึงได้
กล่าวแนะนำาตักเตือนด้วยความประสงค์ดี ดังนีจ้ะปรับให้เป็ นปิ สุณ
วาจาได้อย่างไร เจตนาท่ีเกิดขึ้นก็มิได้มีอกุศลเจือปนอยู่เลยแม้แต่
น้อย จึงไม่ได้เป็ นอกุศลกรรมบถเหมือนกับพ่อแม่ตักเตือนสัง่สอน
ลูก ไม่ให้คบคนนัน ้ คนนี เ ้ พราะคนเหล่านัน
้ ประพ
ว่าลูกของตนจะเสียหาย ความประสงค์ท่ีดีเหล่านี จ้ะปรับให้เป็ น
อกุศลกระไรได้ ขอให้ท่านนักศึกษาระลึกถึงเจตนาตัวแรก คือ บุพ
เจตนาก่อนท่ีจะกล่าววาจาออกไปว่า ผู้กล่าวมีความตัง้ใจหรือมีความ
มุ่งหมายอะไร

ในเร่ ืองปโยคะ คือการจูงใจให้เกิดปิ สุณวาจานัน


้ มีอยู่ ๒ ได้แก่ กาย
ปโยคะ และวจีปโยคะ

การยุงยงส่อเสียดให้ผู้อ่ืนแตกร้าวกันโดยอาศัยกาย ก็ได้แก่การใช้
กิริยาท่าทางเพ่ ือแสดงออกซ่ึงความหมายนัน ้ ๆ ซ่ึงเป็ นท่ีเข้าใจกันอยู่
โดยทัว่ๆ ไปว่า เช่น ชีม้ ือ โบกมือให้รู้ หรือบุ้ยใบ้ให้เข้าใจ เช่นสามีไป
ทำางานกลับมาบ้าน ไม่เห็นภรรยา ก็ถามญาติท่ีอยู่ในบ้านคนหน่ึง
ญาติท่ีอยู่ในบ้านก็ทำาท่าทางเหมือนเล่นไพ่ แล้วโบกมือหรือบุ้ยใบ้ไป
ยังบ้านหลังหน่ึงท่ีอยู่ใกล้ๆ กันนัน
้ ให้รู้วา่ ภรรยาของเขากำาลังเล่นไพ่
กันอยู่ ด้วยหวังว่าจะให้สามีภรรยาคู่นีท ้ ะเลาะเบาะแว้งกัน เช่นนี้
เป็ นการยุยงส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกันทางกาย

การยุงยงส่อเสียดทางวาจานัน ้ เป็ นการกล่าวเป็ นถ้อยคำาออกมาเลย


ให้อีกฝ่ ายหน่ึงรู้ความหมายเพ่ ือให้แตกร้าวกันโดยตรง หรือใช้อุบาย
กล่าวถ้อยคำาอะไรท่ีจะให้บังเกิดความเข้าใจรู้ความหมายก็ได้ เช่นพูด
ตรงๆ พูดเป็ นเชิงออกความเห็น หรือพูดเสนอแนะให้ไปคิด เช่นยุ
สามีว่าภรรยาไปมีชู้ ก็พูดเล่าให้ฟังเลย หรือพูดว่าเต่ามันชอบกินผัก
บุ้ง หรือพูดว่าบางคนโง่เหมือนควาย เอาเขาใส่ไว้ท่ีหัวก็ไม่รู้สึก

การแสดงออกทางกายก็ดี หรือการแสดงออกทางวาจาก็ดี ถ้าเป็ น


เหตุให้เกิดการแตกร้าวกันขึ้นมาแล้ว ผู้ถูกส่อเสียดนัน้ เกิดความกิน
แหนงแคลงใจจนแตกความสามัคคีกันขึ้นมา ผู้ส่อเสียดนัน ้ ก็ได้ช่ือว่า
ล่วงกรรมบถ อกุศลกรรมมีกำาลังมาก มีความสามารถท่ีจะส่งผล
ปฏิสนธิ คือไปเกิดในอบายภูมิ มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉานได้ แต่ถ้าส่อเสียดยุยงแล้ว แม้จะครบองค์ทัง้ ๔ ก็ไม่ได้เป็ น
เหตุให้เกิดการแตกร้าวกัน ก็ได้ช่ือว่าล่วงอกุศลปิ สุณวาจา กำาลังท่ีจะ
ให้ผลนัน
้ น้อยกว่าจึงไม่สามารถนำาให้ปฏิสนธิในอบายภูมิได้ แต่ก็จะ
ให้ผลในปวัตติกาล คือเกิดขึ้นมาเสียก่อน แล้วผลนัน
้ จึงจะปรากฏขึ้น
มาภายหลัง

การแสดงออกซ่ึงปิ สุณวาจาส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกันนัน ้ ไม่ว่าจะส่อ


เสียดด้วยความรัก ความเกลียด ความโกรธ ไม่ว่าจะเป็ นอิจฉาริษยา
ก็ตาม ก็ย่อมจะได้รับผลท่ีตนก่อขึ้นมาอย่างแน่นอนไม่เร็วก็ช้า เพราะ
จิตจะเก็บความปรารถนาท่ีต้องการแตกร้าวเอาไว้ เม่ ือเกิดขึ้นมาใน
ชาติใหม่ภพใหม่ ผลท่ีได้ก็คือ ไปอยู่ท่ีไหนก็จะมีแต่เร่ ืองเร่าร้อนเป็ น
ฟื นเป็ นไฟ จิตใจก็จะมีแต่ความหวาดระแวงครุ่นคิดแต่ในเร่ ืองร้าย จะ
หาทางให้จิตสงบระงับนัน ้ แสนยาก ตัง้ใจจะให้เกิดความสามัคคีอย่าง
แน่นแฟ้ นเท่าใด ก็เป็ นไปได้ชัว่ครัง้ชัว่คราว ไม่ช้าไม่นานความ
สามัคคีก็แตกสลายทำาลายลง ความวุ่นวายในประการต่างๆ จะ
ปรากฏขึ้นให้ได้เห็น แม้พยายามแก้อย่างไร ถ้ากำาลังของกรรมนัน ้ ๆ
มีมากแล้ว แทนท่ีมรสุมร้ายนัน ้ จะคลายตัวลง กลับจะซ้ำาเติมจู่โจม
หนักย่ิงขึ้น ถ้าจะมีคู่รัก คูร่ ักก็ต้องให้มีอันต้องผิดพ้องหมองใจกัน
หรือพลัดพรากจากกันไป จะคบกับใครก็ให้มีอันเป็ นท่ีต้องทำาให้เร่ ือง
ร้าวฉาน จะตัง้สมาคมหรือบริษท ั ก็มีแต่เร่ ืองขัดแย้ง ก่อให้เกิดความ
เร่าร้อนใจไม่เป็ นสุข

บุคคลทัง้หลายผู้ซ่ึงมิได้ศึกษาเล่าเรียนมาให้เพียงพอ มิได้เข้าถึง
ความจริงอันละเอียดลึกซึ้งในเร่ ืองของชีวิต และมิได้ใช้ดุลยพินิจชีวิต
ในแง่มุมต่างๆ ให้เข้าถึงความจริงแท้ ก็ย่อมจะมีความเห็นอันไม่ถูก
ต้อง ก็ย่อมจะคิดเห็นของตนไปตามประสาโลกๆ จากท่ีได้เคยสัง่สม
อบรมมา เม่ ือได้รับภัยพิบัตินานาประการ หรือได้รับความยุ่งเหยิงใน
ปั ญหาชีวิตท่ีไม่รู้จะสางออกได้อย่างไร หรือมีเหตุการณ์ใดหรือบุคคล
ท่ีอยู่ใกล้ก่อให้เกิดความเร่าร้อนไม่สบายก็คิดโทษคนอ่ ืน และโทษส่ิง
อ่ ืน ว่าเป็ นตัวการเป็ นมารผลาญมาทำาให้ตนต้องเดือดร้อนไม่สร่างซา
คิดโทษคนอ่ ืนหรือส่ิงอ่ ืน
ว่ามาทำาให้ตนไม่สมความปรารถนา แต่เขาหาได้ทราบไม่ว่า เหตุของ
กรรมในอดีตชาติท่ีตนได้สัง่สมอบรมสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง มีส่วน
บันดาลความทุกข์ระทมขมข่ ืน ความไม่สมใจนัน ้ ร่วมอยู่ด้วย

เม่ ือมิได้มีความเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งในเร่ ืองของอดีตกรรมเช่นนี้


แล้ว จึงได้แก้ปัญหาชีวิตของตนไปตามอารมณ์ หรือตัดสินใจกระทำา
อะไรลงไปจากอารมณ์ทป ่ี รากฏเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาไปตามประสา
โง่ๆ ในเร่ ืองของชีวิตท่ีตนไม่ยอมศึกษาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซ่ึงแน่
ละย่อมจะเป็ นไปในทางท่ีไม่ดีเท่าท่ีควรจะเป็ นไป เช่นโต้ตอบรุนแรง
โดยไม่ยอมเปล่ียนท่าทีเสียใหม่ คุกคามฝ่ ายตรงข้ามด้วยโทสะ
วางแผนการณ์ท่ีไม่เป็ นการสมควร พยาบาทอาฆาตจองเวรกะน
เป็ นต้น อย่างน้อยก็ต้องเก็บเอาไปคิดมากจนนอนไม่หลับ จนเบ่ ือ
หน่าย บางทีถึงไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ปิ สุณวาจา จำาแนกออกเป็ นอัปปสาวัชชะ และมหาสาวัชชะ อย่างไร

การส่อเสียดเพ่ ือให้เขาเกิดแตกแยกจากกัน ด้วยความปรารถนาอย่าง


ใดอย่างหน่ึงอันเป็ นอกุศลนัน ้ เม่ ือเกิดการแตกแยกออกจากกันดังท่ี
ได้ตัง้เจตนาเอาไว้แล้ว ก็เป็ นอันว่าได้ล่วงอกุศลกรรมบถ เพราะองค์
แห่งปิ สุณวาจาก็ครบทัง้ ๔ แล้ว ทัง้ความสามัคคีก็ได้ถูกทำาลายลงสม
ความปรารถนาด้วย

อย่างไรก็ดี อกุศลกรรมบถท่ีล่วงนัน ้ แม้จะมีกำาลังมากก็จริง แต่โทษ


ท่ีวา่ มีมากนัน
้ ก็ยังแบ่งออกไปอีกเป็ นชัน
้ ๆ เพราะว่า

ถ้าผู้ท่ีถูกส่อเสียดให้เกิดการแตกแยกกันนัน ้ เป็ นบุคคลอันธพาล


หรือเป็ นคนไม่มีศีลธรรม ประพฤติตนเป็ นภัยต่อสังคม ผู้แสดงส่อ
เสียดต่อบุคคลดังกล่าวนีม ้ ีโทษไม่มากนักเป็ นอัปปสาวัชชะ

ถ้าผู้ท่ีถูกส่อเสียดยุยงจนแตกกันนัน้ เป็ นบัณฑิต หรือเป็ นคนดีมีศีล


ธรรม เป็ นผู้กระทำาประโยชน์อันดีให้แก่สังคม ผู้ส่อเสียดจนบุคคล
ดีๆ เหล่านีแ ้ ตกความสามัคคีกันก็จะได้รับโทษมาก เป็ นมหาสาวัชชะ

ในวันนีผ
้ มได้บรรยายอกุศลกรรมบถวจีกรรม คือ มุสาวาท กับปิ สุณ
วาจา มาโดยย่อๆ พอให้ทา่ นได้เห็นเป็ นหนทางแล้ว ก็เป็ นเวลาพอ
สมควร ต่อไปนีท ้ ่านผู้ใดมีข้อสงสัยจะซักถามประการใด ก็ขอเชิญได้

ถาม ตามท่ีว่า มีผู้หลงเช่ ือตามเร่ ืองราวท่ีได้มุสานัน ้ แล้วได้รับความ


เสียหายก็เป็ นอันว่าล่วงกรรมบถ แต่ถ้าผู้ฟังไม่เช่ ือก็ไม่เป็ นอันล่วง
กรรมบถ ในเร่ ืองนีถ ้ ้ามีตัวอย่างประกอบด้วยก็จะดี เพราะบางทีหลง
เช่ ือเร่ ืองท่ีเท็จนัน
้ ว่าเป็ นจริงเป็ นจังเหมือนกัน แต่ก็มิได้มีความเสีย
หายประการใด จะล่วงกรรมบถหรือไม่?

ตอบ ผมขอเล่าเร่ ืองให้ฟังสักเร่ ืองหน่ึง ขอให้ท่านจงได้พิจารณา ก็จะ


ตัดสินเอาได้ด้วยตนเอง ในสมัยโบราณนานมาแล้ว มีสามีภรรยาท่ี
ลำาบากยากไร้อยู่คู่หน่ึง ความยากจนขัดสนขนาดหนักจนถึงต้อง
อาศัยอยู่ในศาลาแห่งหน่ึงท่ีนอกประตูเมือง ภรรยาเร่ิมตัง้ครรภ์ขึ้น
มาแล้วเกิดแพ้ท้องอยากจะกินของท่ีหาได้ยากมาก คือจะต้องเป็ น
อาหารท่ีพระราชาทรงเสวย ถ้าไม่ได้อาหารชนิดนีม ้ ากินแล้ว นางก็จะ
ต้องได้รับความเร่าร้อนใจขนาดหนักจนแทบว่าจะตายลงไปทีเดียว
นางได้อ้อนวอนสามีวา่ เพ่ ือเห็นแก่ชีวิตของนาง ขอให้สามีหาอาหาร
อย่างดีท่ีพระราชาทรวงเสวยมาให้ด้วย

ฝ่ ายสามีก็มีความรักภรรยาอย่างท่วมท้นหัวใจ แล้วมีความสงสาร
ภรรยาอย่างสุดแสนด้วย เกรงว่านางจะเสียใจจนตาย จึงได้ครุ่นคิดถึง
อุบายท่ีจะนำาอาหารของพระราชามาให้ได้ ถึงลำาบากยากเย็นเพียงใดก็
ไม่ได้คำานึงถึง
ต่อมาสามีใช้อบ ุ ายปลอมตนเป็ นพระอุ้มบาตรเข้าไปในพระราชวัง
เพ่ ือหวังจะรับบิณฑบาต โดยได้พยายามสำารวมกิริยามารยาทอย่าง
เต็มท่ี ในขณะนีก ้ ็เป็ นเวลาใกล้จะเพลพอดี ทัง้พระราชาก็กำาลังเสวยพ
ระกระยาหารอยู่ด้วย เม่ ือพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระปลอมองค์
นีก
้ ิริยามารยาทสำารวมดี จึงได้บังเกิดความเล่ ือมใสศรัทธา แล้วเข้า
พระทัยผิดไปว่า พระองค์นีค ้ งจะไม่ใช่พระธรรมดาสามัญ ดูท่าทาง
คงจะต้องมีคุณพิเศษอะไรในตนสักอย่างเป็ นแน่ พระองค์จึงได้เอา
อาหารท่ีจะทรงเสวยนัน ้ ใส่บาตรให้แก่พระปลอมองค์นี้

เม่ ือพระปลอมรับบาตรแล้วคล้อยหลังไป พระราชาจึงรับสัง่ให้


อำามาตย์ผู้หน่ึงซ่ึงมีความใกล้ชิดสนิทกับพระองค์เป็ นพิเศษ สะกด
รอยตามดูพระองค์นีไ้ป เพ่ ือให้ทราบแน่ว่าท่านมาจากทางทิศใด
แล้วไปพักอยู่ท่ีไหน มีคุณวิเศษอะไรบ้าง

ฝ่ ายอำามาตย์ก็เกิดสะกดรอยตามพระปลอมนัน ้ ไปโดยระวังมิให้รู้สึก
ตัว จนถึงศาลาอันเป็ นท่ีพักอาศัย ได้เห็นชายผู้นีเ้อาเคร่ ืองปลอม
แปลงออกจากร่างกาย แล้วก็เป็ นคนธรรมดาๆ คนหน่ึง ได้เห็นชายผู้
นีเ้อาอาหารท่ีได้จากบิณฑบาตนัน ้ ออกมาให้ภรรยาของตนกิน
อำามาตย์ก็รู้แน่แก่ใจว่าบุคคลนีห
้ ลอกลวงพระราชา แต่งกายปลอม
เป็ นพระ

อำามาตย์ผู้นีเ้ป็ นผู้มีความคิดพิจารณา ไม่กล้าท่ีจะตัดสินใจอย่างวู่วาม


โดยเอาความเท็จนีไ้ปแจ้งแก่พระราชาให้ทรงทราบ ซ่ึงแน่ละผลร้ายก็
ย่อมจะตกอยู่แก่ชายผู้นี ค ้ งจะได้รับโทษถึงประหารชีวิตในความผิด
ท่ป
ี ลอมแปลงร่างกายไปหลอกพระราชา เม่ ือสามีถูกประหารชีวิตเสีย
แล้วภรรยาผู้ตัง้ครรภ์จะอยู่ไปได้อย่างไรเล่า สามีภรรยาคู่นีย ้ ากจน
มากเหลือเกิน แม้บ้านของตนเองก็ไม่มีจะอยู่อาศัย

อำามาตย์ผู้มีปัญญากลับไปคิดพิจารณาถึงพระราชาด้วย ว่าพระราชาได้
ทราบข่าวอันไม่เป็ นมงคลจากพระปลอมเช่นนี พ ้ ระราชาก็คงจะทรง
พิโรธ จิตใจก็จะตกอยู่ในความเร่าร้อน ทำาให้พระองค์ไม่สบายพระทัย
มาก มิหนำาซ้ำาศรัทธาท่ีพระองค์มีอยู่อย่างแรงกล้าต่อพระปลอมก็จะ
ถูกอกุศลเข้าหักล้างทำาลายลงเสียในทันใด ประโยชน์ก็ไม่เห็นว่ามี
ใครจะได้ ด้วยความคิดท่ีฉลาดและมากด้วยความเมตตากรุณา ท่ีจะ
รักษาประโยชน์เอาไว้ไม่ให้เสียหายทัง้ ๒ ฝ่ าย อำามาตย์ผู้นีจ้ึงได้ทูล
พระราชาว่า ข้าพเจ้าสะกดรอยตามพระองค์นัน ้ ไปจนถึงนอกเมือง
พระองค์นีก ้ ็หายวับไปกับตา ไม่เห็นมีพระเลย พระราชาทรงฟั งดังนี้
แล้ว ก็บังเกิดความปี ติโสมนัสเป็ นอย่างย่ิง ตรัสว่าแน่แล้วๆ พระองค์
นีค
้ งจะเป็ นพระอรหันต์ ด้วยเหตุท่ีท่านเป็ นพระอรหันต์ ดังนีท ้ าน
ของเราท่บี ริจาคไปแล้วก็จะต้องเป็ นทานอันประเสริฐเป็ นแน่

ตามตัวอย่างท่ีเป็ นเร่ ืองราวนี ย


้ ่อมแสดงให้เห็นได้ว่าคําของอํามาตย์
้ เป็ นเท็จกล่าววาจาไม่ตรงกับความเป็ นจริง อันเป็ นเหตุให้พระ
นัน
ราชาเข้าพระทัยผิดไป ก็ได้ช่ือว่ากล่าวมุสา เพราะเร่ ืองราวท่ีกล่าวนัน

ไม่เป็ นความจริง มีจิตคิดจะมุสา พยายามกล่าวมุสานัน ้ ผู้ฟังได้หลง
เช่ ือว่าเป็ นจริงตามไป ครบองค์ทัง้ ๔ โดยบริบูรณ์สำาเร็จเป็ นมุสาวาท
แต่อย่างไรก็ดี แม้มุสาวาทนัน้ จะได้ครบทัง้ ๔ องค์ก็จริง แต่หาได้
ทำาความเส่ ือมเสีย หรือก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผท ู้ ่ีหลงเช่ ือนัน

ไม่ กลับจะเกิดประโยชน์ให้แก่ทัง้สองฝ่ าย

ด้วยเหตุดังนี จ้ึงตัดสินได้ว่าเป็ นมุสาวาทจริง แต่ไม่ล่วงกรรมบถ


และกำาลังของกรรมอันเป็ นส่วนน้อยท่ีจะได้รับเพราะการกล่าวเท็จนี้
แล้ว ก็ไม่ควรลืมเสียว่า ความปรารถนาดีท่ีจะช่วยให้แต่ละบุคคลมี
ความสุข มีความโสมนัสในผลบุญท่ีได้ทำาของอำามาตย์นัน ้ ก็ย่อมจะมี
กุศลเจือปนอยู่บ้างเป็ นธรรมดา

ถาม ผมได้ฟังการตอบพร้อมด้วยยกตัวอย่างของการกล่าวเท็จด้วย
ความปรารถนาดีมาแล้ว แสดงว่าเป็ นบาปครบองค์ แต่นำาสู่อบายภูมิ
ไม่ได้ มิหนำาซ้ำากลับได้บุญแถมพกเสียอีกด้วย ถ้าเช่นนัน้ ผมเห็น
สัตว์ได้รับบาดเจ็บสาหัสทรมานอยู่ ทิง้ไว้กท
็ รมานเจ็บปวดลำาบากไป
อีกนานกว่าจะตาย ผมก็เลยฆ่าเสียให้ตาย ถ้าเช่นนัน ้ มิเป็ นการฆ่า
โดยความปรานีไปหรือ คงจะได้บุญด้วยกระมัง?

ตอบ คำาถามนีน ้ ับว่าดี ตรงต่อเร่ ืองราวท่ีผมได้ตอบไปแล้ว ดังนัน


้ ผม
จึงขอตอบโดยย่อก็เห็นจะเพียงพอ ผมขอให้ท่านนักศึกษาระลึกถึง
จิตใจของเรา ตามท่ีได้ศึกษามาแล้วว่า ย่อมจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
โดยรวดเร็ว จิตเม่ ือรับอารมณ์เห็นแล้วดับลง จิตท่ีสืบต่อไปจึงจะรับ
อารมณ์ได้ยินต่อไปได้ และเม่ ือจิตใดขึ้นมาทำาการงานดับลงแล้ว ก็
ย่อมจะเก็บอารมณ์เหล่านัน ้ เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็ นบาปหรือเป็ นบุญ
อย่างไร

ผมขอให้ท่านนักศึกษาระลึกถึงเร่ ืองของเจตนาท่ีว่าเป็ นกรรมว่า เม่ ือ


จิตเกิดขึ้นมารับอารมณ์อะไรแล้ว จิตนัน ้ จะต้องมีเจตนา มีกรรมเสมอ
(มียกเว้นบ้าง) ทุกๆ ครัง้ท่ีจิตขึ้นมาทำางานต่างๆ เช่น เห็นหรือได้ยิน
ก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ เม่ ือเห็นสัตว์ได้รับความทุกข์ยากลำาบากคิดอยากจะช่วย


จิตท่ีเกิดขึ้นนีก้ ็ย่อมจะเป็ นกุศลจิต และเม่ ือจิตสัง่ให้ฆ่า อกุศลจิตก็
ย่อมจะเกิดขึ้นมาแทนท่ี ซ่ึงเป็ นคนละขณะหรือคนละครัง้มิได้ปะปน
กัน ผู้กระทำาดังกล่าวมาก็ย่อมจะได้รับทัง้บุญและทัง้บาปทัง้ ๒
ประการ แต่จะเป็ นบาปมากนัน ้ หรือบุญมากนัน ้ ก็จะเป็ นอีกปั ญหา
หน่ึง ในเร่ ืองนีจ้ะว่าเป็ นการฆ่าด้วยความปรานี ก็ล้วนแต่สมมุติจะ
พูดกัน

ถาม ขอตัวอย่างการพูดเท็จท่ีนำาไปสู่อบาย เช่นอย่างไร และขอทราบ


ด้วยว่าการพูดเท็จท่ีครบองค์กรรมบถแล้วบังเกิดความเสียหายแก่ผู้
อ่ ืนนัน
้ ในชัว่ชีวิตหน่ึงของคนเราก็ย่อมจะมีมากมายหลายครัง้ พูด
เท็จอันไหนเล่าท่ีนำาไปสู่อบาย แล้วพูดเท็จท่ีเหลือนอกนัน
้ จะให้ผล
อีกเม่ ือใด ให้ผลอย่างไร?

ตอบ มุสาวาทท่ีล่วงกรรมบถแล้วนำาไปสู่อบายภูมิได้นัน ้ มีอยู่


มากมายนับไม่หวาดไหว ผมจะขอยกมาให้เห็นสักตัวอย่างหน่ึง เช่น
การเป็ นพยานเท็จภายในโรงศาลทำาให้ผู้อ่ืนได้รับความเสียหายใน
ทรัพย์สิน หรือต้องได้รับโทษติดขังอยู่ในเรือนจำา ความมีชีวิตท่ีเป็ น
อิสระอันเป็ นความปรารถนาของคนทัง้หลายไม่ว่าใครทัง้นัน ้ ก็จะ
ต้องถูกทำาลายให้พินาศไปต้องเสียช่ ือเสียงตลอดไปจนถึงวงศาคณา
ญาติ ต้องพลัดพรากจากบุตรภรรยาหรือสามีและสูญเสียญาติมิตรอัน
เป็ นท่ีรัก ต้องได้รับความทุกข์ระทมขมข่ ืนใจอยู่เป็ นเวลานาน และ
บางทีก็ต้องเสียชีวิตอนาคตไปหมดสิน ้ ความเสียหายใหญ่หลวงนี้
เกิดจากการเป็ นพยานเท็จ ซ่ึงมิใช่เป็ นเร่ ืองเล็กน้อยเลย

การท่ีบุคคลพูดเท็จ เป็ นอกุศลกรรมบถครบองค์ แล้วบังเกิดความ


เสียหายขึน
้ แก่บุคคลอ่ ืนนัน้ ก็ย่อมจะมีกําลังในการผลักส่งให้ไป
ปฏิสนธิได้ในอบายภูมิในชาติท่ี ๒ แต่ถ้าอกุศลกรรมดังกล่าวนัน ้
โดยได้กระทำามามากครัง้ด้วยกัน ก็อาจจะเป็ นอกุศลชนิดท่ีมีกำาลัง
มากในครัง้ใดครัง้หน่ึงก็ได้ หรือเป็ นกรรมชนิดท่ีมีความสันทัดจัดเจน
คือชำานาญมาก เช่น รับจ้างเป็ นพยานเท็จตัง้หลายครัง้ด้วยหวังว่าจะ
ได้เงินไปซ้ือฝ่ินสูบ (ในสมัยก่อน) เป็ นต้น อกุศลจะส่งให้ต้องเกิดใน
ชาติใหม่ ก็ต้องเป็ นอารมณ์อันเดียวเท่านัน ้ ซ่ึงจะเกิดขึ้นเม่ ือตอน
ใกล้จะถึงแก่ความตาย มีกำาลังให้ผลนำาปฏิสนธิได้ ส่วนอกุศลท่ีเหลือ
ก็จะให้ผลในปวัตติกาล คือเกิดขึ้นมาเสียก่อนแล้วจึงจะให้ผลต่อไป
หรือจะพูดว่าให้ผลเม่ ือเกิดขึ้นมาแล้วก็ได้

อย่างไรก็ดี ไม่ควรลืมว่า ถ้าอกุศลนัน ้ มีกําลังแรงมาก แล้วยังมิได้ให้


ผล อกุศลกรรมเหล่านีก ้ ็จะตามติดใจไปจนถึงชาติใหม่ซ่ึงเป็ นชาติท่ี
๒ อกุศลแต่ชาติก่อนคือท่ีเคยเป็ นพยานเท็จเอาไว้ เม่ ือได้โอกาสก็
อาจมาเป็ นอารมณ์ให้เม่ ือตอนใกล้จะตายในชาติท่ี ๒ นีก ้ ็ได้แล้วให้
ผลในปฏิสนธิกาล คือเกิดในชาติต่อไป ถ้าหากว่าในชาติท่ี ๒ นัน ้
ตลอดชีวิตมาทำาบุญทำาบาปเล็กๆ น้อยๆ ไม่หนักหนาอะไรทัง้ ๒
อย่าง ผมหมายความว่า การพูดเท็จจนผู้อ่ืนเกิดความเสียหายหลายๆ
ครัง้แล้ว มิได้ให้ผลหรือให้ผลไม่ได้เม่ ือตอนตาย แต่ในการเกิดใหม่
ในชาติท่ี ๒ นี อ ้ าจจะเอาอกุศลทุจริตท่ีเคยเป็ นพยานเท็จเหล่านัน ้
อันใดอันหน่ึงท่ีมีกำาลังมากเล้วนึกขึ้นมาได้ เกิดเป็ นอารมณ์ขึ้นมาใน
ตอนใกล้จะตายของชาติท่ี ๒ นีอ ้ ีกก็ได้ โดยทำาหน้าท่ีให้ปฏิสนธิเกิด
ในชาติท่ี ๓ ต่อไป เม่ ือกรรมท่ีได้ทำามาแล้วในชาตินัน ้ ไม่มีโอกาสให้
ผลได้
คําบรรยายพระอภิธรรมัตถสังคหะ ปริจเฉทท่ี ๑ (ครัง้ท่ี ๑๔)
ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันท่ี ๒๘ มีนาคม ๒๕๐๘
เม่ ือสัปดาห์ท่ีแล้ว ผมได้แสดงถึงเร่ ืองของปิ สุณวาจา คือการกล่าว
วาจาส่อเสียดยุยงให้ผู้อ่ืนต้องแตกแยกกัน อาจจะเป็ นไปด้วยอำานาจ
ของความรัก ความใคร่ ความเสียใจ ความโกรธ หรือความอิจฉา
ริษยาก็ได้ อกนาจของเจตนาท่ีได้กระทำาลงไปนัน ้ ย่อมเป็ นอกุศลกร
รมบถปิ สุณวาจา ถ้าผู้ท่ีถูกยุยงนัน
้ ต้องแตกร้าวกันด้วยแล้ว ผู้กล่าวก็
ย่อมจะได้รับโทษได้ช่ือว่า ล่วงอกุศลกรรมบถ และมีกำาลังมากพอท่ี
จะเป็ นชนกกรรมนำาสู่การปฏิสนธิได้ สำาหรับในวันนีผ ้ มจะได้บรรยาย
ถึงอกุศลวจีกรรมอันเป็ นอกุศลกรรมตัวท่ี ๓ ซ่ึงได้แก่ผรุสวาจาต่อไป

ผรุสวาจา ได้แก่การกล่าววาจาหยาบคายต่อผู้อ่ืน ในการกล่าวคำา


หยาบคายนีท ้ ่านนักศึกษาก็จะได้ยินพูดกันอยู่เสมอๆ ในท่ีทัว่ๆ ไป
โดยผู้กล่าวส่วนมากมิได้คำานึงถึงผลอันเกิดขึ้นกับตนทัง้ในปั จจุบัน
และอนาคต ว่าจะมีโทษภัยประการใดบ้าง ทัง้นีก ้ ็เพราะไม่ได้ศึกษา
เล่าเรียนให้บังเกิดความเข้าใจในสภาวะ คือ ปรมัตถธรรมนัน ่ เอง การ
กล่าววาจาหยาบคาย คือ ผรุสวาจานัน ้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๓. ผรุสวาจา คืออะไร
ผรุสวาจาแยกออกได้เป็ น ๒ บท คือ ผรุส + วาจา
ผรุส แปลว่า อย่างหยาบ
วาจา แปลว่า คำาพูด
เม่ ือรวมกันเข้าแล้วก็แปลว่า คําพูดท่ีหยาบคาย ดังมีวจนัตถะว่า
"ผรุสํ กโรตีติ = ผรุสา" คําพูดอันใดย่อมกระทําให้เป็ นอย่างหยาบ
ฉะนัน ้ ช่ ือว่า ผรุสา อันได้แก่การด่าว่าด้วยประการต่างๆ ท่ี
้ คําพูดนัน
หยาบคาย การสาปแช่งให้เป็ นไปในทางร้ายๆ

หรือวจนัตถะว่า "หทยำ ผรมานา อุสติ ทหตีติ = ผรุสา" คำาพูดอันใด


ย่อมกระทำาความเดือดร้อนให้แผ่ไปในหัวใจ ฉะนัน
้ คำาพูดนัน
้ จึงช่ ือ
ว่า ผรุสา

ท่านนักศึกษาก็อาจจะคัดค้านหรืออาจจะตัง้คำาถามว่า การกล่าวคำา
หยาบคายท่ีช่ือว่า ผรุสวาจานัน ้ จะกินความถึงแค่ไหน ด้วยเหตุว่า
บางคนกล่าววาจาหยาบคายก็จริง แต่ก็มิได้ตัง้ใจท่ีจะให้ใครต้องเดือด
ร้อนเลย มิหนำาซ้ำาบางทีก็มิได้ก่อความใดท่ีจะเป็ นภัยหรือเป็ นไปใน
ทางร้าย เป็ นการกล่าวเพราะเกิดขึ้นมาด้วยความชำานาญเคยพูดคำาด่า
คำาอยู่เสมอ บางคนก็พูดหยาบคายเพ่ ือตลกคะนองสนุกสนานเท่านัน ้
เอง เม่ ือเป็ นเช่นนี จ้ะมีอกุศลเกิดขึ้นทีเดียวหรือ

สำาหรับในเร่ ืองนี ก
้ ็จำาเป็ นท่ีจะต้องหันเข้ามาหาองค์แห่งผรุสวาจา
เสียก่อน เม่ ือได้องค์ได้หลักแล้ว การตัดสินใจก็จะไม่ยากเท่าใด

องค์แห่งผรุสวาจามี ๓ คือ
๑. โกโป มีความโกรธ
ฺ มีผู้ถูกด่า
๒. อุปกุฏโฐ
๓. อกฺโกสนา กล่าววาจาด่า
มีคาถาแสดงว่า
ผรุสาย ตโย โกโป อุปกุฏฺโฐ อกฺโกสนา
มมฺ มจฺเฉทกรา ตคฺฆ ผรุสา ผรุสา มตาฯ

แปลความว่า องค์แห่งผรุสวาจามี ๓ คือ มีความโกรธอย่างหน่ึง มีผู้


ถูกด่าอย่างหน่ึง กล่าววาจาด่าออกไปอย่างหน่ึง บัณฑิตพึงทราบ
เจตนาอย่างหยาบท่ีสามารถทำาให้ผู้ฟังเจ็บใจ เหมือนหน่ึงฝี ท่ีกำาลัง
กลัดหนอง ถูกกระทบกระทัง่ให้แตกเท่านัน ้ ช่ ือว่า ผรุสวาจา

ตามหลักฐานท่ีผมได้แสดงมานี ก ้ ็เพียงพอท่ีจะตัดสินได้ว่าการใช้
ถ้อยคําหยาบคายท่ีมิได้เจตนาให้ใครต้องเดือดร้อน หรือเป็ นไปเพ่ ือ
ความสนุกสนานในหมู่เพ่ ือนฝูงเท่านัน ้ แม้ว่าการกล่าวคําหยาบจะไม่
ดี ไม่เป็ นการสมควร แต่ก็หาได้ช่ือว่าเป็ นผรุสวาจาไม่

นอกจากจะมีผู้ด่า และมีผู้ถก ู ด่าแล้ว ผู้ด่าก็จะต้องมีความโกรธรวมอยู่


ด้วย ความไม่พอใจ ความประสงค์ร้าย เป็ นตัวบงการแอบแฝงอยู่
ภายใน ฉะนัน ้ องค์ธรรมของผรุสวาจาก็จะต้องได้แก่ เจตนาท่ีเกิดขึ้น
พร้อมกับโทสมูลจิตนัน ่ เอง และเพราะอำานาจแห่งแห่งโทสมูลจิตนี้
เอง เม่ ือเกิดขึ้นมีกำาลังมากแล้ว ก็มีความสามารถท่ีจะสรรหาถ้อยคำา
มาด่ากันอย่างเจ็บแสบเผ็ดร้อน

อาจจะมีบางท่านตัง้คำาถามขึ้นว่า บิดามารดาดุด่าลูก แน่ละ ย่อมจะมี


ความโกรธเกิดขึน ้ ได้พร้อมกับการด่าว่านัน
้ ถ้าเช่นนีม
้ ิกลายเป็ นว่า
บิดามารดาได้กล่าวผรุสวาจาไปหรือ และเม่ ือได้ด่าว่าอยู่เสมอๆ แล้ว
ในท่ีสุดก็คงจะไปตกนรกเพราะการด่าว่านัน ้

เร่ ืองนี ใ ้ นอัฏฐสาลินีอรรถกถาได้แสดงว่าบิดามารด


ลูก หรือแม้ครูอาจารย์ท่ีด่าว่าศิษย์ของตน ก็มิได้มีเจตนาร้ายแต่
ประการใด ด่าว่าลงไปก็ด้วยความหวังดีเท่านัน ้ แม้ว่าการด่าว่าเหล่านี้
จะมีความโกรธหรือมีความไม่พอใจรวมอยู่ด้วยก็ตาม

ท่านอรรถกถาจารย์ได้ยกตัวอย่างขึ้นมาให้เห็นว่า มารดาห้ามบุตรชาย
ไม่ให้ไปเท่ียวในป่ า แต่บุตรชายหาได้เช่ ือฟั งได้ ขัดขืนไปจนได้ มารดา
จึงได้แช่งว่า "ถ้าเจ้าไม่เช่ ือขืนจะไป ก็ขอให้ควายป่ าขวิดเสียให้ตาย
เถิด" ถ้อยคําของมารดาดังได้กล่าวมานีไ้ม่จัดว่าเป็ นผรุสวาจา

การท่ีมารดาแช่งบุตรชายว่า ให้ควายป่ าขวิดเสียให้ตายนัน


้ เป็ นการ
กล่าวออกไปเฉยๆ แต่ในใจหาได้คิดท่ีจะให้บุตรชายของตนตายไป
จริงๆไม่ ถ้าบุตรชายเกิดตายไปจริงๆ ก็จะมีความเสียใจไม่น้อยเลย

ผรุสวาจา แปลว่า การกล่าวคําหยาบคาย หรือด่าว่าเสียดสีต่างๆ แต่


ในบางครัง้บางคราว แม้คํากล่าวนัน ้ จะไพเราะ คำากล่าวนัน ้ ถ้าผู้ฟังฟั ง
แล้วมิได้ติดตามดูเร่ ืองให้ตลอดก็อาจจะคิดว่า คงจะเป็ นเร่ ืองท่ีดีท่ีมี
กุศล เพราะเป็ นถ้อยคำาท่ีอ่อนหวาน ทัง้หน้าตาก็ยิม
้ แย้มแจ่มใส
ความจริงอาจเป็ นผรุสวาจาก็ได้ ตัวอย่างเช่น

ในสมัยโบราณ พระราชาประจำาแคว้นหน่ึงของประเทศอินเดีย หลัง


จากชนะในการสงครามจับเชลยมาได้ ซักถามความเป็ นไปภายในก็
มิได้ตอบให้เป็ นท่ีพอใจ พระองค์จึงได้ตรัสว่า " เม่ ือเขาไม่ให้ความ
ร่วมมือ ก็ส่งเขาไปยังท่ีๆ เขามาเถิด" บรรดาทหารท่ีเป็ นเพชรฆาตก็มี
ความเข้าใจ จึงจับเชลยคนนีไ้ปหระหารชีวิตโดยผลักให้ตกลงไปใน
เหวลึกท่ีมีไม้ไผ่กลาวเสียจนแหลม แล้วปั กเอาไว้ก้นเหวเป็ นอันมาก
ให้ทางแหลมโผล่ขึ้นมารองรับร่างกายของนักโทษ ร่างของนักโทษก็
จะเสียบปลายไม้แหลมเหล่านัน ้ ดิน
้ และร้องครวญครางอยู่

ถ้อยคําท่ีไพเราะอ่อนหวาน บางคําก็เสียดแทงจิตใจของฝ่ ายหน่ึงให้


เจ็บแสบเหมือนฝี ท่ีกําลังกลัดหนองได้เหมือนกัน เช่นการพูดเยาะ
เย้ยถากถางหลังจากการต่อสู้แพ้ชนะกันแล้ว ฝ่ ายชนะก็จะพูดเยาะ
เย้ยด้วยอำานาจของความถือตัวว่า "หวังว่าท่านคงจะท่องเท่ียวไปหา
อาจารย์ผู้มีฝีมือมากกว่านี้" ฝ่ ายแพ้ก็จะพูดออกไปด้วยความโกรธว่า
"วันหน่ึงคงจะได้พบกันอีก หวังว่าท่านคงจะไม่ตายเสียก่อนนะ"

วัตถุอันเป็ นท่ีตัง้แห่งการด่าว่า การกล่าวท่ีเรียกกันว่า อักโกสวัตถุ


นัน
้ มีมากหมายด้วยกัน อาจจะด่าในเร่ ืองเช้ือชาติหรือสกุลกันก็ได้ ทัง้
จะเป็ นสกุลต่ำาหรือสกุลสูงก็ได้ด้วย เช่นด่าว่า ชาติไพร่ ชาติยาจก
วนิพก หรือว่า แม่ผู้ดีแปดสาแหรก หรือพ่อมหาเศรษฐี

อาจจะด่า เร่ ืองเป็ นโรคว่า เจ้าขีเ้ร้ือนกุดถัง หรือเจ้าตัวโรคสำาส่อน


อาจจะด่า เร่ ืองรูปร่างว่า เจ้าคนแคระ หรือว่า ช่างสวยเก๋เหลือเกิน
อาจจะด่า คําสูงหรือคําต่ําๆ เช่น สันดานเลวทราม หรือด่าไปถึงพ่อ
แม่เลยก็ได้
อาจจะด่า เก่ียวกับกิเลสก็ได้ เช่น คนอิจฉาริษยา คนตัณหาจัด หรือ
ด่าว่าคุณน่ะถึงอาบัติปาราชิกแล้ว

ในเร่ ืองของผรุสวาจามีปโยคะคือ ความพยายามให้เกิดขึ้นได้ ๒ อย่าง


คือ
๑. กายปโยคะ การกล่าวคำาหยาบท่ีแสดงออกทางกาย
๒. วจีปโยคะ การกล่าวคำาหยาบทางวาจา

ผมได้เคยแสดงมาแล้วว่า กล่าวมุสา คือการพูดเท็จ กล่าวปิ สุณวาจา


คือการส่อเสียดยุยงนัน้ เกิดขึ้นทางกายก็ได้ ดังนัน
้ จึงขอให้ท่าน
นักศึกษาทราบด้วยว่า การกล่าวคำาผรุสวาจา คือการพูดคำาหยาบคาย
นัน
้ ก็สามารถแสดงออกทางกายก็ได้เหมือนกัน เช่น แสดงกิริยา
อาการทางกายให้ผู้อ่ืนรู้ความหมาย มีชีห
้ น้า ทำาท่าทางท่ีเกิดจาก
ความโกรธ เป็ นต้น หรือเขียนหนังสือด่าว่าให้เจ็บใจ เหล่านี แ ้ ม้วา่
จะเป็ นการกระทำาท่ีเกิดขึ้นทางหน้าตา ท่าทางก็จริง ก็ได้ช่ือว่า ผรุส
วาจากล่าวคำาหยาบคายท่ีเป็ นอกุศลกรรมบถ ส่วนการคำากล่าวหยาบ
คายท่ีเกิดขึ้นทางวาจานัน
้ ก็เป็ นการชัดเจนอยู่แล้ว ผมก็ไม่จำาเป็ น
ต้องอธิบายเพ่ิมเติมอีก

ผรุสวาจาจําแนกออกเป็ นอัปปสาวัชชะ และมหาสาวัชชะ

การกล่าวคำาหยาบคาย ด่าว่าผู้มีอปุ การะคุณ หรือผู้ท่ีมีศีลธรรมประจำา


ใจ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ ภิกษุสามเณร ผูบ ้ ำาเพ็ญ
ศีล ก็ย่อมจะเป็ นอกุศลมีกำาลังมาก เรียกมหาสาวัชชะ แต่ถา้ การด่าว่า
หยาบคายต่อผู้ท่ีไม่มีศีลธรรมก็ย่อมจะมีโทษน้อย เป็ นอัปปสาวัชชะ

อาจจะมีบางท่านเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เพราะเหตุใด การด่าว่า


กล่าวคําหยาบคายเพียงเท่านัน ้ ไม่ถึงได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่างไร มิได้
ทำาให้ทรัพย์สินของท่านผู้ใดให้ต้องเสียหายเลยแม้แต่น้อย แต่เหตุ
ไฉนจึงได้เกิดอกุศลขึ้นมากมาย จนกลายเป็ นมหาสาวัชชะ มีกําลัง
มากพอท่ีจะนําส่งให้ไปสู่การปฏิสนธิในอบายภูมิได้

ในเร่ ืองนีจ้ะต้องพิจารณาท่ีตรงเจตนาอันถือว่า เป็ นกรรมเสียก่อน ผู้


ท่แ
ี สดงผรุสวาจา คือด่าทอคนอ่ ืนให้เขาเจ็บใจ ได้อาย หรือเสียใจทุกข์
ร้อนนัน ้ ผู้กล่าวย่อมจะมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะคุกรุ่นอยู่ภายใน
เพราะอำานาจแห่งโทสะ อาจจะเป็ นความเสียใจ หรือความโกรธก็ได้
เป็ นตัวบอกบทบงการอยู่ข้างหลัง เจตนาร้ายคิดทำาลายผู้อ่ืนเกิดขึ้น
เสียก่อนแล้ว ถ้อนคำาทุกๆ ถ้อยคำา กิริยาอาการท่แ ี สดงออกมาทุกๆ
อย่างอันเต็มไปด้วยความแข็งกร้าวดุร้าย อันปรากฏขึ้นมาภายนอก
ให้ใครๆ ได้เห็น เช่นหน้าตาน่ากลัว ถ้อยคำาเชือดเฉือนหัวใจ ย่อม
เกิดขึ้นมาได้จากอไนาจหลายอย่าง แต่อย่างหน่ึงท่ีเป็ นหัวหน้าหรือ
เป็ นตัวการท่ีสำาคัญนัน้ ก็ได้แก่จิตใจ อำานาจจิตคิดเคียดแค้นดุร้าย
อย่างไร ก็ย่อมจะบังคับรูปให้แสดงออกไปอย่างนัน ้

ในการท่ีจิตบัญชาให้รูปเป็ นไปดังนี ใ้นทางธรรมะเรียกช่ ือว่า"จิตต


ชรูป" จิตผลิตรูปต่างๆ เช่นทำาให้น้ำาเสียงโกรธแค้นดุร้าย ทำาให้กิริยา
อาการหยาบคายกระด้างดูไม่ได้ ท่านนักศึกษาคงจะไม่ปฏิเสธว่า
ความเป็ นไปทัง้หลายเหล่านีเ้กิดขึ้นมาก็เพราะอำานาจของเจตนา หรือ
ความปรารถนาท่ีไม่ดีต่อผู้อ่ืนท่ีมีอยู่ภายในหนุนเน่ ืองติดต่อกันให้
เกิดขึ้นมามิได้ขาดสายจนกว่าจะได้หยุดลง เจตนาร้ายอย่างไร รูปก็จะ
เกิดขึ้นมาอย่างนัน

อำานาจของกรรมคือเจตนาร้ายต่อผู้อ่ืนเหล่านี้ เม่ ือแสดงออกมาแล้ว


ก็มิได้สูญสิน
้ หายไปไหน หากแต่เก็บเอาไว้ภายในจิตใจหมดทัง้สิน ้
แม้รูปทัง้หลายท่ีแสดงออกมาทางกายและใจก็ถูกจิตเก็บเอาไว้ด้วย
เช่นเดียวกัน

ผลของกรรมอันเป็ นบาปท่ีเก็บเอาไว้ในจิตเหล่านี ใ้นทางธรรมะเรียก


ว่า วิบาก วิบากคือผลของกรรม ก็ย่อมจะแสดงผลของมันขึ้นมาใน
โอกาสใดโอกาสหน่ึงในอน่าคตอย่างแน่นอน ชีวิตของผู้นัน ้ ก็จะตก
อยู่ในความทุกข์ยาก ลำาบากโดยประการทัง้ปวง ไม่วันใดก็วันหน่ึง
โดยไม่ต้องสงสัย

แน่นอนทีเดียว บุญและบาปย่อมเกิดขึ้นมาได้มากมายจนนับไม่
หวาดไหวในชัว่ของชีวิตหน่ึง อำานาจของกุศลผลบุญก็ย่อมจะบันดาล
ให้ความสุขความเจริญเกิดขึ้นมา ถ้ากำาลังของบาปมีมากขึ้นก็ย่อมจะ
มาหักล้างทำาลายบุญท่ีควรได้รับนัน ้ ให้ลดน้อยถอยลงไปหรือสะดุด
หยุดลงเลย แล้วมีความทุกข์ความเดือดร้อนทับถมเข้ามาแทยท่ีต่อไป
และถ้าช่วงจังหวะเหมาะสม เพราะจิตสร้างสมกำาลังอำานาจของโทสะ
เอาไว้มาก ด้วยเหตุท่ีใช้ผรุสวาจาอยู่เสมอๆ หรือการดุการว่าผู้มี
อุปการะคุณ หรือผูท้ ่ีทรงศีลอยู่บ่อยๆ ก็จะสามารถเป็ นชนกกรรมนำา
ให้ไปสู่การปฏิสนธิในอบายภูมิ ได้รับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส
ได้

การกล่าววาจาหยาบคายด้วยความประสงค์ร้ายดังนี จ้ะติดตามตัวไป
ในชาติข้างหน้า ทำาให้หาความสุขได้ยาก จะได้ยินแต่เสียงท่ีไม่เป็ น
มงคลอยู่เสมอ ไปนัง่นองอยู่ท่ีไหน ไปพักผ่อนหรือต้องการหาความ
สงบสักเพียงใด ความปรารถนานีก ้ ็จะสมประสงค์ได้แสนยากย่ิง แล้ว
ตัวเองก็มิได้ศึกษาเร่ ืองของชีวิตให้มีความเข้าใจ จึงได้คิดไปตามประ
สาผิดๆ ของตนว่า คนนัน ้ คนนี ส ้ ่ิงนัน
้ บ้างส่ิงนีบ
้ ้างมาเป็ นมาร
ผลาญความสุขความสงบของตน จึงได้คิดโกรธแค้น หรือเสียใจใน
ความเป็ นไปท่ีตนเองได้รับ โดยหาได้ทราบไม่ว่าเหตุการณ์เป็ นไปดัง
กล่าว ตัวเองเป็ นผู้ก่อให้เกิดขึ้นมาเป็ นส่วนใหญ่

นอกจากนัน ้ ความชำานิชำานาญท่ีได้ใช้อำานาจโทสะอยู่เสมอตลอดมาก็
ย่อมจะก่อให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไวย่ิงขึ้น เกิดไปชาติข้างหน้า ก็
จะต้องมีจิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ชอบคิดแต่ในแง่ร้าย ชอบคิดแต่ใน
เร่ ืองทุกข์โทษภัยให้แก่ตนเอง กระทบกับอะไรเข้าแม้สักเล็กน้อย ก็
ครุ่นคิดเสียยกใหญ่เป็ นวรรคเป็ นเวร ใครๆ เขาก็นอนหลับกันไป
หมดแล้ว ตัวเองยังคงเก็บเร่ ืองเล็กๆ น้อยๆ เหล่านัน้ มาสร้างภาพ
เสียให้ใหญ่โตจนหลับได้ยากเย็น บางทีก็ถึงกับมีความน้อยเน้ือต่ำาใจ
จนถึงไม่อยากจะมีชีวิตอยู่เป็ นผู้เป็ นคนต่อไป

ตามท่ีผมได้บรรยายมาโดยย่อนี ท ้ า่ นนักศึกษาก็คงจะเห็นแล้วว่าผรุส
วาจานัน้ เม่ ือดูเผินๆ ก็เสมือนหน่ึงว่า เป็ นเร่ ืองเล็กๆ น้อย ๆ หรือ
เป็ นอกุศลนิดหน่อยเท่านัน ้ เอง แท้จริงแล้ว เป็ นเร่ ืองท่ีน่าหวาดกลัว
เพียงใด บุคคลทัง้หลายผู้ซ่ึงไม่มีความเข้าใจจึงกล้าเข้าไปเล่นอยู่ใกล้ๆ
กับปากเหวลึกท่ีมีอันตราย แล้วก็มิได้มีความหวัน ่ ไหวอะไรเลย

ผมได้อธิบายถึงอกุศลวจีกรรมตัวท่ี ๓ คือ ผรุสวาจา การกล่าววาจา


หยาบคายท่ีเต็มไปด้วยอำานาจของโทสะ เช่น การด่า การสาปแช่งท่ี
หยาบคายด้วยถ้อยคำาหรือกิริยาอาการ อันมีเจตนาประสงค์ร้ายแฝง
อยู่ภายในท่ีสามารถทำาให้ผู้อ่ืนบังเกิดความอับอาย เจ็บใจ เสียใจ
เร่าร้อน ต่อถ้อยคำานัน
้ แล้วก็ได้แบ่งเป็ นอัปปสาวัชชะมีโทษน้อย
และมหาสาวัชชะมีโทษมาก สำาหรับต่อนีไ้ป ผมจะได้บรรยายถึง
อกุศลวจีกรรมตัวท่ี ๔ คือ สัมผัปปลาปะ ได้แก่การพูดเพ้อเจ้อ

๔. สัมผัปปลาปะ คืออะไร

สัมผัปปลาปะนีแ ้ ยกออกได้เป็ น ๒ บท คือ สมฺผ + ปลาป


สมฺผ แปลว่า การทำาลายประโยชน์และความสุข
ปลาป แปลว่า การกล่าว
เม่ ือรวมกันเข้าแล้ว สมฺผปฺปลาป ก็แปลว่า การกล่าววาจาท่ีทําลาย
ประโยชน์และความสุข มีวจนัตถะดังนี้ " สํหิตสุขํ ผลติ วินาเสตีติ
= สมฺผํ" วาจาอันใดย่อมทำาลายประโยชน์และความสุขต่างๆ เสีย
ฉะนัน ้ วาจานัน
้ ช่ ือว่า สัมผะ

หรือ "สมฺผํ ปลปนฺติ เอเตนาติ = สมฺผปฺปลาโป" การกล่าววาจาท่ี


ทำาลายประโยชน์ และความสุขต่างๆ เสียด้วยเจตนานัน
้ ฉะนัน

เจตนาท่ีเป็ นเหตุนัน
้ ช่ ือว่า สัมผัปปลาปะ

คำาว่า สัมผัปปลาปะนัน ้ บางท่านก็แปลว่า การพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง


พูดเร่ ืองราวท่ีเหลวไหลไร้สาระ ไม่มีแก่นสาร หรือพูดจาตลกขบขัน
ต่างๆ เล่าเร่ ืองหนังเร่ ืองละครท่ีมิได้มีคติสอนใจ ผู้ฟังอาจจะ
เพลิดเพลินไปกับเร่ ืองไม่มีสาระแก่นสารนีเ้พียงชัว่ระยะหน่ึง ทำาให้
ประโยชน์ทัง้หลายท่ีควรจะได้ต้องเสียไป

ตามธรรมดาปุถุชนผู้ยังหนาไปด้วยกิเลสทัง้หลาย ก็ย่อมจะต้องมี
ความปรารถนาท่ีจะร่ ืนเริงสนุกสนานบ้างเพ่ ือจะได้ผ่อนคลายความ
ตึงเครียด ทำาให้จิตใจแจ่มใสคลายลงไปซ่ึงความทุกข์ร้อน ดังนัน ้ จึง
ต่างก็พยายามแสวงหาหนทางท่ีจะทำาให้จิตของตนได้รับอารมณ์ต่างๆ
จากเร่ ืองท่ีเขียนหรือคำาพูดท่ีพูดเล่นสนุกๆ อยู่เสมอเป็ นประจำา

บางท่านเม่ ือไม่ได้รับอารมณ์ท่ีสนุกสนานร่ ืนเริงใจ ก็บังเกิดความ


ว้าเหว่หงอยเหงาแฝงไว้ซ่ึงความเศร้า จึงได้พยายามแสวงหาหนทาง
แก้ความว้าเหว่หงอยเหงาจองตนด้วยคำาพูดหรืออ่านจากหนังสือท่ี
ตลกคะนองต่างๆ

ถ้าหากว่า ความเป็ นไปทัง้หลายดังกล่าวมา เป็ นไปชั่วครัง้ชั่วคราวก็


ไม่สู้กระไรนัก แต่ผท ู้ ่ีมิได้ทราบถึงทุกข์โทษภัยของการพูดเพ้อเจ้อท่ี
จะเกิดขึ้นได้ ทัง้ในปั จจุบันและอนาคต จึงได้มีความหลงใหลติดอก
ติดใจใฝ่ แต่หาอารมณ์ตามท่ีตนมีความสันทัดจัดเจนหันหลังให้กบ ั
ความจริงในเร่ ืองของชีวิตท่ีควรจะได้ศึกษาหาความรู้ จะได้มีปัญญาชี้
หนทางเดินไปในทางท่ีดีท่ีจะพ้นไปจากทุกข์ พ้นไปจากการเวียนว่าย
ตายเกิดต่อไป
เม่ ือพิจารณาดูให้ดีถึงคำาว่าสัมผัปปลาปะแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า การพูด
เพ้อเจ้อไม่ได้เร่ ืองราวท่ีเป็ นสาระแก่นสารนี ม ้ ี อํานาจของโมหะค
ความไม่รู้ ไม่เข้าใจในเร่ ืองของชีวิตแอบแฝงอยู่ ในปรากฏการณ์
ต่างๆ ของอารมณ์ท่ีเกิดขึ้นทางทวารทัง้ ๖ ทำาให้บังเกิดความ
หลงใหลไปในสายทางท่ีไม่เป็ นประโยชน์จริงๆ คืออำานาจของโมหะ
อันได้แก่ความหลงใหลหนุนหลังให้แสดงออกซ่ึงการพูดหรือการ
แสดงเพ้อเจ้อนัน
้ ไปในเร่ ืองราวท่ีเหลวไหล

ด้วยเหตุดังกล่าว สัมผัปปลาปะคือการพูดเพ้อเจ้อนีจ้ึงได้จัดลงไปใน
กุศลเจตนาโดยมีองค์ ๒ คือ

๑. นิรตฺถกาปุรกฺขาโร ตัง้ใจกล่าววาจาท่ีไม่มีประโยชน์
๒. กถนํ กล่าววาจาท่ีไม่เป็ นประโยชน์นัน้ ขึ้น

เม่ ือได้กล่าววาจาเพ้อเจ้อออกไปในเร่ ืองท่ีไร้สาระแล้ว ถ้าผู้ฟังอยู่มี


ความเช่ ือถือหลงใหลตามไปด้วย ผู้พูดเพ้อเจ้อก็จะได้ช่ือว่า กระทํา
สําเร็จลงเป็ นอกุศลกรรมบถ แต่ถ้าหากว่าผู้ฟังๆเล่นสนุกๆ มิได้
หลงใหลตามไปด้วย ผู้พูดก็มีอกุศลเพียงสัมผัปปลาปะพูดเพ้อเจ้อ
เท่านัน้ ไม่ล่วงกรรมบถ และเม่ ือไม่ล่วงกรรมบถแล้ว ก็ไม่มีกำาลังนำา
ไปสู่การปฏิสนธิ

ความจริงผู้พูดทัง้หลายส่วนมากก็มีความตัง้ใจท่ีจะให้ใครๆ ติดอก
ติดใจ แล้วหลงใหลเช่ ือในคำาพูดของตน การหลงใหลติดใจเช่ ือในคํา
พูดแล้ว ทําให้เกิดความเข้าใจผิดแล้วเกิดความเสียหาย หรือเสีย
ประโยชน์ของตนไป จึงได้จัดว่าเป็ นสัมผัปปลาปะ และเป็ นอกุศล
กรรมบถ มีโทษมาก

อย่างไรก็ดี แม้วา่ เร่ ืองท่ีพูดนัน


้ จะไม่เป็ นความจริง ถ้าผู้พูดมีความ
ปรารถนายกขึ้นมาเพ่ ือประกอบการอธิบายในการสอน ในการแสดง
เพ่ ือจะให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายๆ คำาพูดเหล่านัน ้ ก็ไม่จัดว่าเป็ นสัมผัปปลา
ปะ

และโดยทำานองคล้ายๆ กันนีเ้อง ถ้าเร่ ืองท่ีกล่าวนัน ้ เป็ นเร่ ืองจริง ผู้


พูดก็พูดไปตามความจริงเหล่านัน ้ แต่ผู้ฟังมิได้รับประโยชน์อะไรเลย
ดังนี ค
้ ำากล่าวเหล่านัน
้ ก็ไม่จัดว่าเป็ นสัมผัปปลาปะ

อาจจะมีผู้สงสัยแล้วตัง้คำาถามว่า ผู้พูดเร่ ืองท่ีไม่เป็ นความจริงนัน



เป็ นการมุสาคือพูดเท็จต่างหาก เหตุใดจึงได้ถือว่าเป็ นสัมผัปปลาปะ
ไปเสียเล่า
ความสงสัยดังนีก ้ ็นับว่าเป็ นความสงสัยท่ีมีคุณประโยชน์ เพราะการ
พูดเท็จ คือพูดเร่ ืองไม่จริงแล้วจะปรับเข้ามาสัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
ได้อย่างไร

ในการตัดสินคดี เราจะต้องพิจารณาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาเป็ นเร่ ือง


ใหญ่ ว่าจำาเลยหรือผู้ต้องหามีความตัง้ใจหรือมีเจตนาประการใด แล้ว
การตัดสินคดีก็จะเป็ นไปอย่างรัดกุมเหมาะสมด้วยเหตุผล ด้วยเหตุนี้
การตัดสินสภาวธรรมก็จะต้องยึดเจตนาเป็ นหลัก เพราะเจตนานัน ้ ก็
คือกรรมนัน ่ เอง
สัมผัปปลาปะ คือการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไม่ได้เร่ ืองราว แล้วพูดใน
เร่ ืองท่ีไม่เป็ นจริงอะไรนัน
้ ผู้พูดมีความปรารถนาท่ีจะให้คนฟั ง
หลงใหลเพลิดเพลินสนุกสนานเป็ นหลักใหญ่ จึงจัดว่าเป็ นมุสาวาท
คือกล่าวเท็จไม่ได้

ผู้กล่าวมุสาวาท คือพูดเท็จนัน ้ มีความปรารถนาท่ีจะให้คนอ่ ืนเช่ ือ


เร่ ืองไม่จริงท่ีตนพูดนัน
้ คือมีเจตนาจะให้คนเช่ ือเร่ ืองเท็จ แล้วผู้ฟังด็
ได้หลงเช่ ือตามไปด้วย

มีความแตกต่างกันท่ีตรงเจตนาดังนี้

เม่ ือผมได้บรรยายเร่ ืองสัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อแล้ว ผมก็


คิดว่าน่าท่ีจะให้ทา่ นนักศึกษามีความเข้าใจกว้างขวางขึ้น จะได้เอาไว้
เป็ นแนวทางท่ีจะคิดพิจารณาในปั ญหาชีวิตท่ีละเอียดขึ้นต่อไป

คำาว่า ติรจฺฉาน นัน


้ แปลว่า สัตว์เดรัจฉาน หมายถึงผู้ไปโดยขวาง คือ
ขวางต่อหนทางท่ีจะไปสู่การพ้นทุกข์ ได้แก่การขวางต่อมรรคผล
นิพพาน

สัตว์เดรัจฉานมีคติอยู่ ๓ ประการเท่านัน
้ คือรู้จักกิน รู้จักนอน และ
รู้จักเสพเมถุน ความดี ความชัว่ บุญหรือบาปได้เคยได้คิด

การท่ีมีคติทัง้ ๓ ประการนีเ้พียงเท่านัน ้ จึงเป็ นเคร่ ืองสกัดกัน


้ หนทาง
เดินของตนท่ีควรจะไปในทิศทางท่ีดีท่ีสุดท่ีควรจะไปได้ เพราะเป็ นผูท ้ ่ี
ไม่รู้จักความดี ไม่รู้จักความชัว่ ไม่รู้จักบุญ ไม่รู้จักบาป กระทำาการใดๆ
ลงไปก็อยู่ในข่ายของสัญชาติญาณ หรือกระทำาไปตามอำานาจของ
สัญชาตญาณ โดยท่ีไม่ได้รับการอบรมให้บังเกิดความรู้ ความคิด และ
มีสติปัญญาสามารถรู้ความจริงในเร่ ืองของชีวิต ถ้าเป็ นคนก็อยู่ใน
พวกบุคคลปั ญญาอ่อนมาก และบุคคลท่ีติดสุราในขณะท่ีกำาลัง
มึนเมาไร้สติ ไม่มีปัญญาท่ีจะคิดถึงความดีความชัว่อะไรเลย

สัตว์เดรัจฉานทัง้หลายมีคติ ๓ ประการ คือรู้จักกิน รู้จักนอน รู้จัก


เสพเมถุนเช่นนีแ ้ ล้ว จึงมิได้มีปัญญาทำาจิตของตนให้เกิดขึ้นซ่ึงญาณ
สัมปยุต เม่ ือปั ญญาในปั ญหาชีวิตมิได้บังเกิดขึ้นเสียแล้ว หนทางเดิน
ไปสู่มรรคผลนิพพานเพ่ ือความพ้นทุกข์ พ้นไปจากการเวียนว่ายตาย
เกิดจึงตัง้ต้นขึ้นไม่ได้ จึงต้องเกิดแล้วเกิดอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก ต่อๆ
ไปจนนับชาติท่ีเกิดขึ้นมาไม่ไหว

คำาว่า วิชา นัน ้ แปลว่า ความรู้ ดังนัน ้ เม่ ือเอามารวมเข้ากับคำาว่า


ติรัจฉานเป็ นติรัจฉานวิชา ก็แปลว่า วิชาความรู้ท่ีเป็ นไปเพ่ ือจะกิน
เพ่ ือจะนอน เพ่ ือจะเสพเมถุน ไม่ได้เป็ นหนทางเดินไปสูค ่ วามพ้น
ทุกข์ พ้จจากการเวียนว่ายตายเกิด ดังนัน ้ การศึกษาวิทยาการใดท่ี
เป็ นไปเพ่ ือคติดังกล่าว โดยท่ีมิได้เหิดปั ญญาในปั ญหาของชีวิต จึงได้
ช่ ือว่าเป็ น เดรัจฉานวิชา ทัง้นีไ้ม่เลือกว่าจะเป็ นการศึกษาใน
วิทยาการประเภทใด ไม่ว่าจะเป็ นเร่ ืองภายในโลกหรือนอกโลก และ
ไม่ว่าจะเป็ นเร่ ืองหยาบๆ หรือเร่ ืองละเอียดลึกซึ้ง ต้องศึกษากันนาน
นับสิบๆ ปี ก็ตาม

คำาว่า เดรัจฉานวิชานัน้ ก็ได้แก่วิชาของเดรัจฉาน คือ ความรูท ้ ่ีเป็ นไป


โดยขวางต่อมรรคผลนิพพาน ฉะนัน ้ คำาว่าเดรัจฉานกถาก็ได้แก่การ
พูดจาท่ีไม่มีประโยชน์หาสาระมิได้ ซ่ึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรง
แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคพระบาลี คือคำาพูดท่ีจัด
เข้าใน นิรตฺถกถา อันหมายถึงคําพูดท่ีไม่มีสาระ มิได้เป็ นเคร่ ือง
นําทางให้เกิดปั ญญาในปั ญหาของชีวิต ทัง้เป็ นตัวช่วยให้กิเลส
เพ่ิมพูนขึน
้ ด้วย คําพูดต่างๆ เหล่านี ช ้ ่อ นัน
่ เอง มี
ื ว่าติรัจฉานกถา
อยู่ ๓๒ ประเภทด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

โลกกฺขายิกำ พูดเร่ ืองโลก และผู้สร้างโลก


สมุทท
ฺ กฺขยิกำ พูดเร่ ืองมหาสมุทร และผู้สร้างมหาสมุทร
นานตฺตกถำ พูดเร่ ืองราวร้อยแปด เป็ นต้น

คำาพูดท่ีไม่มีสาระประโยชน์นัน ้ มักจะปรากฏในพวกแสดงในมหรสพ
ต่างๆ เช่น หนัง หรือละคร และนักประพันธ์ท่ีแสดงหรือประพันธ์ขึ้น
โดยท่ีมิได้แฝงคติธรรมสัง่สอนให้คนประพฤติดีมีศีลธรรม มีความ
เข้าใจในเร่ ืองชีวิต หรือนำาทางชีวิตของบุคคลให้เห็นหนทางเดินท่ีถูก
ต้อง หากแต่มีเจตนาท่ีจะให้คนหลงใหลเพลิดเพลินใจเป็ นท่ีตัง้
บุคคลจำาพวกนีต ้ ามพุทธภาษิตในสฬายตนสังยุตตพระบาลี แสดงว่า
ถ้าประพฤติเป็ นไปอยู่เสมอแล้ว เม่ ือล่วงลับจากโลกนีย ้ ่อมไปบังเกิด
ในทุคติภูมิ ผมจะขอเล่าเร่ ืองให้ท่านฟั งสักเร่ ืองหน่ึง

สมัยหน่ึงในครัง้พุทธกาล เม่ ือพระภิกษุทัง้หลายได้กลับมาจากการ


บิณฑบาตและเม่ ือฉันอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ก็มิได้มีธุระอะไรจะทำา
จึงได้เปิ ดการสนทนากันขึ้นเป็ นกลุ่มๆ ในธรรมสภา เร่ ืองท่ีสนทนา
กันนัน ้ ก็มิได้เป็ นไปเพ่ ือความรู้ เพ่ ือผ่อนคลายกิเลส หรือจะเป็ นไป
ในเร่ ืองของความพ้นทุกข์ หากแต่ได้สนทนาปราศรัยกันแต่ใน
เดรัจฉานกถาอันหาสาระมิได้ทัง้นัน ้ เช่นสนทนากันว่า

ลูกชายของบ้านนีจ้ะแต่งงานกันกับลูกสาวของบ้านโน้นในวันพรุ่งนี้
ครอบครัวภายในบ้านนัน ้ ไม่ค่อยจะสามัคคีกัน
บ้านนีถ ้ วายอาหารบิณฑบาตล้วนแต่ประณีต
พูดเร่ ืองถนนหนทางต่างๆ
พูดเร่ ืองอำามาตย์ราชมนตรี และเร่ ืองการโจรกรรมต่างๆ
พูดเร่ ืองกล่ินของดอกไม้ต่างๆ ตลอดไปจนอาหารและเคร่ ืองด่ ืม

เม่ ือการสนทนาของพระภิกษุทัง้หลายได้ตัง้ต้นขึ้นมาแล้ว การพูดจา


ก็ขยายออกไปในเร่ ืองราวต่างๆ มากมายซ่ึงล้วนแต่ไม่มีสาระ แต่ละ
ท่านก็มค ี วามเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับเร่ ืองไม่มีสาระเหล่านัน
้ กัน
อย่างเต็มท่ี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ภายในกุฎี ได้เล็งพระญาณดูก็ทราบ
ว่า พระภิกษุทัง้หลายต่างสนทนากันด้วยเร่ ืองอะไร พระองค์จึงได้
เรียกพระโมคคัลลานะเข้ามาหา แล้วตรัสว่า บรรดาพระภิกษุทัง้หลาย
บนธรรมสภานัน ้ กำาลังกล่าวเดรัจฉานกถา คือ เร่ ืองราวท่ีไม่มีสาระ
กันอยู่ ขอให้พระโมคคัลลานะไประงับเสีย

พระโมคคัลลานะจึงไป ณ ธรรมสภานัน ้ แล้ว จึงได้เอาเท้าข้างหน่ึง


เหยียบลงไปบนธรรมสภา แล้วแสดงอำานาจท่ีเรียกว่า อภิญญาจิต ซ่ึง
เป็ นอำานาจพิเศษสำาหรับผู้ท่ีได้ฌาน แล้วฝึ กฝนอำานาจนีข้ึ้น (ท่าน
นักศึกษาจะได้ทราบเม่ ือศึกษาไปมากกว่านี้) อำานาจของอภิญญาจิต
กระทำาให้ธรรมสภาสัน ่ สะเทือนขึ้นมา บรรดาพระภิกษุทัง้หลายท่ีต่าง
ก็กำาลังเพลิดเพลินกับการสนทนาเดรัจฉานกถากันอยู่ ต่างก็พากัน
มองหาว่า อะไรทำาให้ธรรมสภานัน ้ สัน
่ สะเทือนขึ้นมาได้ เม่ ือหันไป
มองเห็นพระโมคคัลลานะยืนอยู่ ก็พากันทราบว่า พระโมคคัลลานะ
มาแสดงให้ทราบ เพ่ ือให้ระงับการสนทนาในเดรัจฉานกถานัน ้ พระ
ภิกษุทัง้หลายก็มีความละอายใจพากันเลิกสนทนาในเร่ ืองท่ีไร้สาระ
เหล่านัน้ เสีย

ส่วนพระโมคคัลลานะ เม่ ือเห็นพระภิกษุทัง้หลายมองมายังตนโดย


ทัว่กันแล้ว ก็กลับไปมิได้ว่ากล่าวหรือมีคำาสัง่ประการใด เพราะทราบ
ดีว่า พระภิกษุทัง้หลายต้องมีความเข้าใจแล้วคงจะหยุดการสนทนา
อันเป็ นเดรัจฉานกถากันต่อไป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงอบรมสัง่สอนแก่สาวกทัง้หลายอยู่เสมอ
ว่า "ทฺวินนํ โว ภิกข
ฺ เว สนฺนิปติตานํ ทวยํ กรณียํ ธมฺมีวากถา ตณฺหิ
ภาโววาฯ" แปลว่า "ดูกรภิกษุทัง้หลาย เธอทัง้หลาย เม่ ือได้มีการ
พบกันระหว่าง ๒ องค์แล้ว การงานท่ีควรประพฤตินัน ้ มี ๒ อย่าง
คือกล่าวถ้อยคําท่ีเก่ียวกับธรรมะ หรือมิฉะนัน้ ก็น่ิงเฉยเสีย"

คำาว่า ภิกขุ นัน


้ แปลว่า ผู้ขอ ถ้าว่าโดยความหมายแล้วก็หมายถึง ผู้ท่ี
เห็นภัยในวัฏฏะ คือเห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดนัน ้ เป็ นทุกข์ แล้วก็
หาหนทางท่ีจะให้พ้นไปเสียจากการเวียนว่ายตายเกิดนัน ้ ด้วยเหตุนี้
ภิกษุทัง้หลายก็จำาเป็ นท่ีจะต้องสนทนาปราศรัยกันแต่ในเร่ ืองของภัย
อันตนเองพากเพียรพยายามแสวงหาอยู่ การแสดงออกซ่ึงเดรัจฉาน
กถานัน ้ พร่ำาเพร่ ือ ก็จะเสียเวลา เสียประโยชน์อันควรจะได้รับ และถ้า
เป็ นไปอยู่อย่างสม่ำาเสมอเพลิดเพลินไปกับเดรัจฉานกถามิได้ยอม
ปล่อยแล้ว เดรัจฉานกถาก็จะเป็ นมารมาสกัดกัน ้ หนทางท่ีจะไปสู่
มรรคผลนิพพานของตน แล้วอาจจะพาตนเองไปสู่ความตกต่ำา หรือ
อาจนำาให้ปฏิสนธิในทุคติภูมิได้

สัมผัปปลาปะนีข้อให้ทา่ นนักศึกษาจำาไว้ด้วยว่า มีปโยคะ ๒ คือ วจี


ปโยคะ ได้แก่การกล่าวออกมาเป็ นถ้อยคำา เช่นการพูดจาต่างๆ และ
กายปโยคะ ได้แก่การแสดงออกมาทางกาย เช่นขีดเขียนขึ้นอันเป็ น
บทประพันธ์เป็ นต้น
สัมผัปปลาปะนัน
้ แบ่งออกเป็ นอัปปสาวัชชะ และมหาสาวัชชะ

ผู้พูดสัมผัปปลาปะอยู่เสมอๆ เพราะมีอัธยาศัยพอใจในอารมณ์ท่ีไร้
สาระนัน ้ อันทำาให้ผู้อ่ืนเสียหายและไร้ประโยชน์ ก็ย่อมจะจัดว่า เป็ น
มหาสาวัชชะ มีกำาลังมาก แต่ถ้าพูดชัว่ครัง้ชัว่คราว ก็เป็ นอัปปสาวัชชะ
มีโทษน้อย

ผมก็ได้บรรยายอกุศลวจีกรรม ๔ มีมุสาวาท ปิ สุณวาจา ผรุสวาจา


และสัมผัปปลาปะไปแล้ว เป็ นการแสดงออกของอกุศลทางถ้อยคำา ๔
ประการ แต่อย่างไรก็ดีอกุศลทัง้ ๔ ประการนีเ้ป็ นไปในทางวาจาเป็ น
ส่วนมากเท่านัน้ อาจจะเกิดขึ้นได้ทางกาย แต่เรียกว่า วจีกรรม ซ่ึง
เป็ นส่วนน้อยก็ได้ เช่นการสัน
่ หน้าปฏิเสธ เป็ นการแสดงออกทาง
กายก็จริง แต่ในใจนัน ้ ปรารถนาท่ีจะพูดเท็จ จึงได้ช่ือว่าเป็ นวจีกรรม
เป็ นต้น

วจีกรรมนี เ้ป็ นการแสดงอาการของปากอันเป็ นเหตุให้เกิดเสียงอัน


เป็ นความหมายออกมา ท่ีเรียกกันว่า วาจา
วาจามีอยู่ ๔ อย่าง คือ

๑. สัททวาจา ได้แก่ เสียงท่ีพูด


๒. วิรตีวาจา ได้แก่ การเว้นจากวจีทุจริต
๓. เจตนาวาจา ได้แก่ เจตนาท่ีทำาให้วจีวิญญัติรูปเกิด
๔. โจปนวาจา ได้แก่ กิริยาอาการพิเศษท่ีเป็ นไปอยู่ในคำาพูด ซ่ึง
สามารถทำาให้ผู้ฟังรู้ตามความประสงค์ของตนได้

ในวาจาทัง้ ๔ ประการนี้ โจปนวาจา ได้ช่ือว่าเป็ นวจีวิญญัติรูป วจี


วิญญัติรูปนี จ ้ ิ ตเป็ นตัวการให้เกิดรูป
กรรม ๔ คือ มุสาวาท ปิ สุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ หรือ
อกุศลวจีกรรม ๔ อันเป็ นเหตุให้สำาเร็จเป็ นกรรมขึ้น

เสียงท่ีเกิดขึ้นนัน
้ มีสมุฏฐาน ๒ คือ สมุฏฐานหน่ึงนัน ้ อาศัยอุตุเป็ น
แดนเกิด เพราะความร้อนทำาให้รูปเปล่ียนแปลงไป สมุฏฐานท่ี ๒
อาศัยกำาลังอำานาจของจิตเป็ นแดนเกิด (อุตุก็ร่วมด้วย เพราะจิตใจ
เฉยๆ อย่างเดียวทำาเสียงไม่ได้) เพราะอาศัยจิตเป็ นสมุฏฐานนัน ่ เอง
จึงก่อให้เกิดเสียงสูงเสียงต่ำาตามท่ีผู้พูดต้องการจะพูดว่ากระไร และ
เพราะอาศัยอำานาจของจิตหรืออกุศลจิต วจีกรรมนัน ่ เองท่ีทำาให้ออก
เสียงเป็ นเสียงต่างๆ อันเป็ นเหตุให้ผู้อ่ืนรู้ถึงความหมายนัน ้ ได้ เสียง
ท่แ
ี สดงออกให้รู้ความหมายได้นี ใ ้ นทางธรรมะเรียกว่าวจีวิญญัต
คือรูปของความหมายท่ีแสดงออกทางวาจา
วจีวิญญัติรูป ๔ ประการนัน ้ เป็ นประตูสำาหรับให้เกิดอกุศลกรรมบถ
และอกุศลกรรมบถเหล่านีเ้องเป็ นตัวอุดหนุนหรือเป็ นประตูนำาผู้
ประพฤติปฏิบัติทุจริตไปสู่ทค ุ ติได้ แล้วก็ได้นำาไปอยู่เสมอตลอดมา ผู้
ท่ีมิได้ศึกษาเล่าเรียนให้เข้าใจดีก็ไม่ได้คิดว่าจะมีผลร้ายแรงถึงเช่นนี้
วจีวิญญัติรูปได้ช่ือว่า เป็ นวจีทวาร ดังแสดงวจนัตถะ ว่า

"วาจาเอว ทฺวารำ = วจีทฺวารำ"


วจีวิญญัติรูปนั่นแหละเป็ นทวาร จึงช่ ือว่า วจีทวาร

การแสดงออกทางวจีทวาร (ส่วนมาก) ช่ ือว่า วจีกรรม ดังวจนัตถะ


แสดงว่า
"วจีทฺวาเร เยภุยฺเยน ปวตฺตำ กมฺมนฺติ = วจีกมฺม"ำ
กรรมท่ีเกิดในวจีทวาร (ส่วนมาก) ฉะนัน ้ จึงช่ ือว่า วจีกรรม

ในวันนีผ ้ มก็ได้บรรยายถึงอกุศลวจีกรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจา


การกล่าวคำาหยาบคาย และสัมผัปปลาปะ การกล่าวคำาเพ้อเจ้อให้คน
อ่ ืนเสียประโยชน์ ไปแล้วก็เป็ นเวลาพอสมควร ผมจึงขอยุติการ
บรรยายเพียงเท่านี้

ถาม ผมได้ฟังเร่ ืองอกุศลกรรมบถมาแล้วตัง้แต่ต้น ก็พอจะเข้าใจ แต่


ผมก็อดสงสัยไม่ได้ในเร่ ืองเก่ียวกับเร่ ืองศีลท่ีอาจารย์ได้แสดงมาแล้ว
นัน
่ แหละ ในเร่ ืองดังกล่าว ผมก็ได้เฝ้ าคิดตอบปั ญหานีม ้ านานแล้ว
ผลก็ยังไม่เป็ นท่ีพอใจ ได้ถามใครต่อใครมาหลายคนก็ยังอธิบายให้
กระจ่างแจ้งไม่ได้

ตามธรรมดาบุคคลท่ีรักษาศีลมาตลอดเวลาอันยาวนาน จิตใจของเขา
ก็ย่อมจะสงบระงับ ความเร่าร้อนทัง้หลายก็ผ่อนคลายลงมาก ดังนัน ้
จิตก็ย่อมจะแสดงออกซ่ึงกายวิญญัติรูป วจีวิญญัติรูปท่ีมีความน่ิม
นวล เหมาะสม กุศลอันเกิดจากการเว้นจากทุจริตคิดมิชอบก็ย่อมจะ
เพ่ิมพูนย่ิงขึ้น ดังนัน
้ เม่ ือบุคคลนีไ้ด้ตายลง แล้วอำานาจของศีลกุศล
เป็ นตัวชนกกรรมนำาให้ปฏิสนธิเป็ นมนุษย์ ด้วยเหตุนี เ้ขาจะต้อง
เป็ นมนุษย์ท่ีมีรูปร่างงดงาม ไม่ขีร้ิว้ชีเ้หร่ ใครเห็นใครก็ชอบใจ เช่นนี้
ใช่หรือไม่?

ตอบ ถ้าว่าตามสภาวธรรมก็เป็ นการถูกต้องแล้ว

ถาม ผมได้เคยเห็นคนบางคน รุปร่างดีมีเสน่ห์ จัดว่าเป็ นคนสวยมาก


ทีเดียว แต่ใครเห็นใครรักอยู่ไม่ได้นาน ด้วยทนรักอยู่นานนักไม่ไหว
เพราะว่าจิตใจนัน ้ ช่างร้ายเหลือ ทัง้เห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจเอารัดเอา
เปรียบทุกอย่าง มิได้มีความเมตตาปรานีผู้ใด ส่วนเร่ ืองการรักษาศีล
นัน
้ เล่า อย่าได้พูดถึงเลย เพราะแม้แต่ศีล ๕ ก็ยังไม่กระดิกหู เหตุใด
สภาวธรรมจึงได้หันกลับเป็ นตรงกันข้ามเช่นนี เ้คยรักษาศีลมาแล้ว
พูดได้ว่าหยกๆเม่ ือชาติทแ ่ี ล้วน่ีเอง จึงได้เกิดมามีรูปร่างสวยงาม แต่
ทว่าเหตุไฉน จึงได้กลับขาวกลายเป็ นดำาไป ทำาไมจิตใจจึงได้เลวทราม
ปราศจากศีลเสียทีเดียวเช่นนีไ้ด้
ตอบ นับว่าคำาถามนีเ้ป็ นคำาถามท่ีดีมีประโยชน์มาก เร่ ืองราวท่ียกเป็ น
ตัวอย่างถามมาก็รัดกุมเหมาะสมทุกอย่าง และเร่ ืองราวดังกล่าวนีก ้ ็มี
ผู้สงสัยและถกเถียงกันเฉพาะอย่างย่ิงในหมู่นักธรรมะเสมอ

ท่านนักศึกษายกตัวอย่างขึ้นมาแล้วถาม ทำาให้เข้าใจคำาถามง่ายเข้า
ดังนัน
้ ผมจึงขอยกตัวอย่างขึ้นมาแล้วเอาเป็ นคำาตอบก็คงจะช่วยทำาให้
เข้าใจดีขึ้นเหมือนกัน ผมขอให้ท่านได้คิดพิจารณาตามไปด้วย

ชายผู้หน่ึงชอบทำาบุญให้ทานอยู่เสมอ ชอบช่วยเหลือเจือจานผู้อ่ืนอยู่
เป็ นประจำา แต่ในชีวิตบางตอนเฉพาะอย่างย่ิงตอนต้นๆ คือ เม่ ือ
้ ชอบด่ ืมสุราเมามายอยู่เป็ นอาจิณ บัดนี อ
หนุ่มๆ อยู่นัน ้ ายุเข้าวัย
ปลาย คือปั จฉิมวัย จึงได้เข้าวัดเข้าวารักษาศีล ทัง้ยังได้ทำาการศึกษา
เล่าเรียนจนกระทัง่มีความรู้มีความเข้าใจในเร่ ืองของชีวิตจัดว่าค่อน
ข้างดี ครัน
้ อายุได้ ๗๐ ปี จึงถึงแก่ความตาย

ธรรมดาของอกุศลกับกุศลนัน ้ ย่อมจะต้องต่อสู้กันอยู่เสมอตลอด
เวลา ช่วงชิงกันเป็ นใหญ่อยู่ร่ำาไปไม่สร่างซา แล้วในตอนใกล้จะตาย
ของชายผู้นี เ้ขาได้อารมณ์ท่ีไม่ดีโดยระลึกถึงเร่ ืองราวสมัยครัง้ยัง
หนุ่มๆ ชอบเสพสุรายาเมา ไร้เสียซ่ึงสติปัญญาเป็ นอาจิณ ในตอนนัน ้
อำานาจของกุศลหนหลังเม่ ือตอนชราถึงจะมีกำาลัง ก็ยังสู้อกุศลหน
แรกไม่ไหวด้วยทำาไว้โชกโชนกว่ากัน ทัง้ชายผู้นีว้ิบากในอดีตชาติ
ก่อนไม่สู้ดี จึงขาดกัลยาณมิตร ขาดผู้อุปถัมภ์ค้ำาจุนเสนอแนะให้
อารมณ์เม่ ือตอนใกล้ตาย

ย่ิงกว่านัน
้ เขาเองก็ยังเตรียมตัวสำาหรับการเดินทางไกลยังไม่พร้อม
จึงสู้ฤทธิข์องสุรายาเมาไม่ได้ จึงอุบัติหรือเกิดขึ้นมาเป็ นคนปั ญญาไม่
ว่องไว หรือจัดเข้าไว้ในพวกปั ญญาอ่อน ได้แก่ปฏิสนธิด้วยจิต
อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก เม่ ือดังนี ว้ิชาการท่ีเขาได้อบรมมาใน
ตอนปลายของชีวิตจึงเอาออกมาใช้ไม่ได้ แต่ก็มิได้สูญหายไปไหน ได้
เก็บสัง่สมเอาไว้ภายในจิตใจ ซ่ึงอาจจะเกิดผลขึ้นในชาติท่ี ๒ หรือท่ี
๓ และต่อๆไป

อย่าว่าแต่จะเกิดมาเป็ นคนมีปัญญาอ่อนเท่านัน ้ เลย อาจจะเกิดเป็ น


สัตว์เดรัจฉานแล้วสัตว์เดรัจฉานเช่นแมวจับหนูกินอยู่เสมอๆ ตายลง
ไปจากแมวแล้วไปเกิดเป็ นสัตว์เดรัจฉานอีกหลายชาติก็ได้ ตลอดเวลา
ท่ีเป็ นสัตว์เดรัจฉานอยู่ ปั ญญาก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ดังนีเ้อง พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าจึงสอนว่า "อย่าประมาท" แต่ผู้ท่ีมิได้ศึกษาในเร่ ืองของ
ความประมาทในพระพุทธศาสนาให้ละเอียด จึงพากันคิดว่า ท่าน
สอนไม่ให้ประมาทนัน ้ หมายถึงว่า เดินให้ดีอย่าประมาทจะหกล้มลง
ไป จะทำาการงานอะไรทำาให้ดีอย่าประมาทระวังจะล่มจมย่อยยับไป
ก็ได้ เราเอาคำาว่าประมาทมาใช้กับชีวิตประจำาวันอันต้ืนๆ เผินๆ เสีย
ดังนี ก้ ็เป็ นท่ีน่าเสียดายอย่างย่ิง

ผมได้ตอบคำาถามโดยยกตัวอย่างขึ้นมาเช่นนีก ้ ็เพ่ ือให้ท่านได้เห็นว่า ผู้


ท่ีมีรูปร่างสวยงามนัน
้ เกิดจากอำานาจของศีลท่ีได้ทำาเอาไว้ก็จริง แต่
บางชนิดศีลไม่ได้ทำาเอาไว้ มิหนำาซ้ำากลับสร้างแต่ความมักได้เป็ นแก่
ตัวอีกหลายชาติ แล้วอำานาจของกรรมนัน ้ ๆ อาจมาให้ผลแล้วก็โดย
ทำานองนีเ้อง บางคนหน้าตาช่างน่ากลัวเหลือเกิน แต่น้ำาใจนัน ้ ดีอย่าง
สุดแสนใครได้คบค้าสมาคมไม่เท่าใด ก็มีความรักใคร่ชอบพอน้ำาใจ

ในการตอบคำาถามนี ผ ้ มได้ยกเอาตัวอย่างเสมือนหน่ึงเป็ นหลัก


การณ์เอามาวางพอให้ท่านเห็นได้ ถ้าว่าถึงความละเอียดแล้วก็ยังมี
อีกหลายข้อ เช่นในเร่ ืองชวนะเป็ นต้น ผูป ้ ฏิสนธินัน
้ อาศัยชวนะดวง
ท่ี ๗ ของชาติท่ีแล้วและรับผลของกรรมในชาติท่ี ๒ คือ ชวนะดวงท่ี
๗ ของชาติท่ีแล้วเหมือนกัน ด้วยเหตุนี ถ ้ ้ าอกุศลชวนะดวงท่ี๒
ถึงดวงท่ี ๖ ท่ีทําเอาไว้ในชาติก่อนๆ ในๆ เข้าไปมีกําลังมากแล้วมา
ทําการให้ผลก่อน อันเป็ นไปในทางไม่ดี จิตของท่านผู้นีก ้ ็อาจจะโอน
ตามวิบากท่ีมาให้ผลนัน ้ ก็ได้ และท่านอาจจะมีเหตุใดเหตุหน่ึง ทัง้ใน
อดีตชาติกับปั จจุบันมาเปล่ียนแปลงให้เป็ นไปก็ได้เหมือนกัน

ถาม ผมได้ฟังอาจารย์พูดถึงเดรัจฉานกถาของพระภิกษุท่ีสนทนากัน
ว่า มี ๓๒ ประการนัน
้ ผมอยากจะทราบว่ามีอะไรบ้าง ถ้ายกขึ้นมา
แสดงอีกสัก ๒-๓ ตัวอย่างก็คงจะดี

อีกประการหน่ึง ประชาชนทัง้หลาบย่อมจะสนทนาปราศรัย ย่อมจะ


แสดงออกซ่ึงวาจาเพ่ ือให้เป็ นเคร่ ืองประโลมน้ำาใจซ่ึงกันและกัน
ประชาชนเป็ นไปเช่นนีโ้ดยทัว่ไปเป็ นธรรมดา จะพูดแต่เร่ ืองธรรมะ ก็
เอามาทำามาหากินไม่ได้ จะพูดแต่เร่ ืองธรรมะใครจะไปทนไหว จะพูด
แต่เร่ ืองธรรมะก็คงจะอดตาย ด้วยเหตุนีเ้อง ในร้อยคนก็จะพูด
ติรัจฉานกถาเสีย ๙๙.๙๙ ซ่ึงมากกว่านีเ้สียอีก

ถ้าเช่นนีค
้ นเกือบทัง้โลกก็คงจะลงนรกกันหมด ต่อไปก็เห็นจะหาคน
มาเกิดไม่ได้ ตายมบาลก็คงจะหัวเราะชอบใจ ด้วยมีอาชีพทำาไม่ขาด
สาย ธุรกิจการทรมานร่างกายและจิตใจท่ีจะรุ่งเรืองสดใส แสงไฟก็
สาดไปทัว่เมืองนรก แต่มนุษย์และสวรรค์คงจะเงียบเหงาว้าเหว่วังเวง
ใจ ค่ำาลงก็มแ
ี ต่ความมืดไม่สว่างไสวด้วยไม่มีใครเปิ ดไฟ ผมต้องขอ
ประทานอภัยท่ีถามไปตามประสาของคนไม่มีความเข้าใจในสภาว
ธรรม ผิดถูกประการใดก็ขอยกเอาไว้ให้แก่ความโง่ของผมเอง

ตอบ นับว่าเป็ นคำาถามท่ีดีอีกคำาถามหน่ึง ผมขอขอบคุณ และขอให้


ถามได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเกรงใจ ผู้ยืนอยู่หน้าชัน
้ ทำาการบรรยาย
พระอภิธรรมแล้ว ก็เป็ นการไม่สมควรท่ีจะจำากัดขอบวงให้ผู้ถามจน
เกินไป หรือไม่เปิ ดโอกาสให้ผู้ศึกษาได้แสดงความคิดเห็นบ้าง ก็จะไม่
ทำาให้การศึกษากว้างขวางออกไปเท่าท่ีควร

คำาพูดท่ีจัดเข้าในนิรตฺถกถา คือพูดจาหาสาระประโยชน์อะไรมิได้นัน
้ มี
อยู่ ๓๒ หรือเรียกกันว่า ติรัจฉานกถา นัน่ เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงอยู่ในสามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคพระบาลี คือ

๑. ราชกถํ พูดถึงเร่ ืองรางต่างๆ เก่ียวกับพระมหากษัตริย์ ตลอดถึง


พระญาติวงศ์
๒. โจรกถํ พูดถึงเร่ ืองพวกโจรต่างๆ
๓. มหามตฺถกถํ พูดถึงเร่ ืองอำามาตย์ราชมนตรี
๔. เสนากถํ พูดถึงเร่ ืองทหาร ตำารวจ
๕. ภยกถํ พูดถึงเร่ ืองภัยต่างๆ
๖. ยุทฺธกถํ พูดถึงเร่ ืองยุทธศาสตร์
๗. อนฺนกถํ พูดถึงเร่ ืองอาหารต่างๆ มีขา้ วและกับเป็ นต้น
๘. ปานกถํ พูดถึงเร่ ืองเคร่ ืองด่ ืมต่างๆ
๙. วตฺถกถํ พูดถึงเร่ ืองเส้ือผ้าเคร่ ืองนุ่งห่มต่างๆ
๑๐. มาลากถํ พูดถึงเร่ ืองดอกไม้ต่างๆ
๑๑. คามกถํ พูดถึงเร่ ืองหมู่บ้านต่างๆ
๑๒. กุมารีกถํ พูดถึงเร่ ืองหญิงสาว

ผมขอยกขึ้นมา ๑๒ ข้อพอได้เป็ นตัวอย่างเท่านัน


ประเด็นคำาถามอีกข้อหน่ึงนัน ้ เป็ นการถามเร่ ืองการสนทนาปราศรัย


ว่าจะมีใครบ้างหรือท่ีจะไม่กล่าวเดรัจฉานกถา แล้วจะมีได้อย่างไรกับ
ผู้ท่ีจะกล่าวแต่ในเร่ ืองท่ีไม่ไร้สาระแก่นสาร

ตามตัวอย่างท่ีผมได้บรรยายถึงเร่ ืองพระโมคคัลลานะไประงับอธิกรณ์
ของพระภิกษุท่ีสนทนากันด้วยเร่ ือวเดรัจฉานกถานี ผ้ มขออธิบาย
ดังนี้

คำาว่า "ภิกขุ" แปลว่า ผู้ขอ ตามความหมายนัน ้ หมายถึงผู้เห็นภัยใน


วัฏฏะ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดนัน ้ เป็ นทุกข์ แม้พระมหากษัตริย์ผู้
ครองราชย์ แม้เศรษฐีมหาเศรษฐีตลอดจนข้าราชการชัน ้ ผู้ใหญ่มียศ
ถาบรรดาศักดิส ์ ูง ก็เห็นพากันเข้ามาบวชมากมายในครัง้พุทธกาล

ทัง้นีก
้ ็เพราะเขาทัง้หลายเหล่านัน้ มีปัญญาเห็นว่า ชีวิตท่ีจะเดินทางไป
ตามลำาพังนัน ้ เต็มไปด้วยขวากหนาม แม้ในชาตินีจ้ะได้ดีมีความสุข
อย่างเต็มเป่ียมอย่างไรก็ไม่จีรังยั่งยืนเพราะทนอยู่ไม่ได้ ในชาติต่อไป
และต่อไปใครจะมารับประกันได้ว่า จะไม่ไปทุคติอันเป็ นภูมิท่ีต้องได้
รับความทุกข์ความเดือดร้อนแสนสาหัส

เวลานีพ
้ ระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำาลังมีพระชนม์อยู่ หนทางเดินก็คงจะ
ผิดไปได้ยากมาก ต่างจึงหันหน้าเข้าหาพระธรรม ต่างจึงสลัดความยึด
ติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทัง้หลายพากันออกบวช สาบานตัวเข้า
มาด้วยหวังว่าจะทำามรรคผลนิพพานให้แจ้ง

เม่ ือต่างก็สาบานตัวเข้ามาว่าจะทําให้ถึงท่ีสุดแห่งทุกข์เช่นนีแ
้ ล้ว กลับ
สนทนาเดรัจฉานกถา กลับสนทนากันในเร่ ืองไร้สาระแก่นสาร ไม่
ได้เป็ นไปเพ่ ือผ่อนคลายกิเลสแม้แต่น้อย ถ้าเป็ นไปเช่นนีอ ้ ยู่ตราบใด
หนทางเดินไปก็จะไม่รู้จักจบสิน ้ ทัง้ผิดคําสาบานเสียด้วย ถ้าไม่ทำา
อะไรให้กิเลสเบาบางลงได้ก็สึกออกมาเสียไม่ดีกว่าหรือ ด้วยเหตุนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสัง่ให้พระโมคคัลลานะไประงับ
อธิกรณ์ให้พระภิกษุทัง้หลายได้กลับใจ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสัง่สอนพระภิษุทัง้หลายว่า เม่ ือพบกัน


เข้าแล้วควรจะสนทนากันในเร่ ืองท่ีมีสาระ มีประโยชน์แก่หนทางท่ีจะ
เดินเพ่ ือให้พ้นจากวัฏฏะ ถ้าไม่มีอะไรจะพูดก็จงน่ิงเฉยเสีย การท่ีกระ
องค์สัง่สอนพระภิกษุเช่นนีก ้ ็ด้วยหวังจะมิให้สนทนากันในเร่ ือง
เดรัจฉานกถา ซ่ึงถ้าเป็ นไปเร่ ือยๆ ก็จะเกิดการกำาเริบเสิบสานหนัก
ย่ิงขึ้น จนอาจสามารถมาสกัดกัน ้ หนทางท่ีภิกษุทัง้หลายจะเดินไปสู่
ความพ้นทุกข์ และอย่างมากอาจนำาไปสูท ่ ุคติได้ด้วย

อย่างไรก็ดี พระองค์ไม่เคยส่งใครไปห้ามปรามประชาชนทัง้หลายว่า
ขออย่าให้ประชาชนทัง้หลายได้แสดงเดรัจฉานกถาเลย พระองค์ทรง
สอนให้มีความเข้าใจได้เหตุได้ผล แม่ ือสอนไปแล้วผู้ใดไม่ทำาตามก็
เป็ นเร่ ืองช่วยไม่ได้ เพราะพระพุทธศาสนานัน
้ ไม่มีการบันดาล

ถ้าบุคคลใดใช้เดรัจฉานกถาพร่ำาเพร่ ือไม่เป็ นแต่ละม้ือละคราว บุคคล


ใดไม่เห็นภัยในวัฏฏะ ปรารถนาแต่จะหาความสุขต่างๆ จากทางโลก
อย่างสุดเหว่ียง แล้วได้กระทำาไปตามอารมณ์ทป ่ี รารถนา แต่ใครเล่า
จะไม่มีอกุศลจิตเกิดขึ้นเสียบ้าง ในวันหน่ึงๆ จะมีแต่กุศลจิตเกิดขึ้น
ทัง้วันได้อย่างไร เม่ ือเช่นนีผ
้ ู้ท่ีชอบเดรัจฉานกถาอย่างเป็ นล่ำาเป็ นสัน
ก็ย่อมมีช่องโอกาส หรือมีประตูท่ีเปิ ดอยู่อย่างกว้างขวางท่ีจะเดินออก
ไปสู่ทคุ ติภูมิ

จริงทีเดียว มนุษย์ทัง้หลาย ถึงจะชัว่ช้าสามานย์อย่างไร ถึงจะเป็ นโจร


ผู้ร้ายฉกรรจ์สักเพียงไหน เม่ ือได้เห็นผู้ใดผู้หน่ึงอดอยากหิวโหยจะ
เป็ นจะตายอยู่ต่อหน้า ก็ไม่อาจจะอดกลัน ้ ความสงสารเอาไว้ได้ ก็ไม่
อาจท่ีจะละเลยไม่ช่วยเหลือเสียได้ เร่ ืองนีเ้ป็ นการชีใ้ห้เห็นว่า ลงช่ ือว่า
เป็ นมนุษย์แล้ว ถึงจะเดรัจฉานกถามากมายสักเท่าใด ก็หาใช่วา่ จะ
ไม่มีกุศลจิตขึ้นเสียบ้างเลย ดังนัน
้ ท่ีพูดว่า เม่ ือเดรัจฉานกถากัน
มากๆ แล้ว คนจะไปลงนรกเสียหมดนัน ้ จึงเป็ นเร่ ืองท่ีคิดขึ้นมาเอา
เอง แต่เป็ นไปไม่ได้

ยังไงๆ เราก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีเพ่ ือนร่วมใจ ยังไงๆ เราก็ไม่ต้อง


กลัวว่าจะหาคู่ไม่ได้ แต่ถึงอย่างไรผมก็ขอแถมท้ายด้วยพระดำารัสของ
พระพุทธองค์ว่า สัตว์ทัง้หลาย ผู้ไปสุคตินัน
้ เหมือนเขาโค(มี ๒ เขา)
แต่ผู้ไปทุคตินัน
้ เหมือนขนของโค(ซึงมีมากกว่าเขาโคหลายเท่า)

คําบรรยายพระอภิธรรมัตถสังคหะ ปริจเฉทท่ี ๑ (ครัง้ท่ี ๑๕)


ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันท่ี ๔ เมษายน ๒๕๐๘

เม่ ือคราวท่ีแล้ว ผมได้บรรยายถึงสัมผัปปลาปะ คือการพูดเพ้อเจ้อ


อันเป็ นกุศลวจีกรรมตัวท่ี ๔ ซ่ึงเป็ นตัวสุดท้ายจบลงแล้ว ผมก็ได้ยก
เร่ ืองราวและสภาวธรรมขึ้นมาให้ทา่ นได้ทราบว่า ความเพ้อเจ้อนัน ้
ก็ได้แก่การพูดจาเหลวไหลไร้สาระแก่นสารโดยเห็นแต่ความ
สนุกสนาน มิได้มีศีลธรรม หรือหลักธรรมอะไรท่ีจะเป็ นประโยชน์
หรือเป็ นคติสอนใจ ผู้ท่ีชอบพูดเพ้อเจ้อนัน ้ ย่อมจะได้รับผลอันเป็ น
โทษ คืออัปปสาวัชชะมีโทษน้อย และมหาสาวัชชะมีโทษมาก ก็ได้ทัง้
สองอย่าง แล้วแต่เจตนาในขณะนัน ้ เป็ นอย่างไร สำาหรับในวันนีผ
้ ม
จะได้บรรยายถึงอกุศลกรรมบถท่ีเรียกว่า มโนกรรม ซ่ึงได้แก่ อภิ
ชฌา พยาปาทะ และมิจฉาทิฏฐิต่อไป

อกุศลท่ีผมได้แสดงแล้วนัน
้ ก็มีกายกรรม ๓ ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ลัก
ทรัพย์ ผิดในกาม อกุศลวจีกรรม ๔ ได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด
คำาหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

ต่อจากนีไ้ปท่านจะได้ศึกษาเร่ ืองอกุศลมโนกรรม อันหมายถึงการทำา


ผิด ทำาบาป ทางมโน คือทางใจ อีก 3 ได้แก่

๑. อภิชฌา = เพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืน
๒. พยาปาทะ = ความพยาบาทปองร้ายผู้อ่ืน
๓. มิจฉาทิฏฐิ = ความคิดเห็นอันไม่ต้องกับความเป็ นจริง

ผมจะได้บรรยายตามลำาดับต่อไป

การกระทำาอกุศลท่ีเรียกว่ามโนกรรม ก็ได้แก่เจตนา คือการกระทำาผิด


ท่ีมิได้เกิดขึ้นทางกายท่ีเรียกว่า กายวิญญัติรูป มีการฆ่าสัตว์ หรือลัก
ทรัพย์เป็ นต้น ซ่ึงเป็ นการกระทำาผิดทางกายเป็ นส่วนมาก แล้วก็มิได้
มีการแสดงออกทางวาจาท่ีเป็ นบาป คือวจีวิญญัติรูป มีการพูดเท็จ
พูดส่อเสียด เป็ นต้น ซ่ึงเป็ นการกระทำาผิดทางวาจาเป็ นส่วนมาก

อกุศลมโนกรรมนัน ้ ก็เป็ นการกระทําบาปเหมือนกัน แต่มิได้กระทํา


ทางกายหรือทางวาจา เป็ นเจตนาท่ีเกิดขึน
้ ทางมโนทวาร หรือเกิดขึ้น
ทางจิตใจ มีการนึดคิดต่างๆ

ผู้ทข
่ี าดการศึกษา ขาดปั ญญาพิจารณาความจริงของเร่ ืองชีวิต ได้ตก
อยู่ในฐานะมีความเห็นผิดไปอย่างน่าเสียดาย เพราะความเห็นท่ีผิด
ไปเหล่านัน ้ จะกลับมาฆ่าตัวเอง ความเห็นท่ีผิดไปเหล่านัน
้ จะมาทำาให้
ทิศทางท่ีควรจะเดินผิดไป และนอกจากนัน ้ ความเห็นผิดดังกล่าวจะ
ทำาให้ได้รับความทุกข์โทษภัยใหญ่หลวงก็ได้โดยไม่ยากอะไร

ในบางท่านก็มีความคิดเห็นเอาง่ายๆ ด้วยตนเองว่า บาปหรือบุญนัน ้


ไม่เห็นมีตัวมีตนทำาลงไปแล้ว ผลจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตายแล้วเกิด
ขึ้นมาใหม่ก็เป็ นเร่ ืองล้าสมัย เป็ นเร่ ืองเพ้อฝั นกันไป เพราะใครเล่าจะ
มาพิสูจน์ได้ เม่ ือมีความเห็นผิดดังกล่าวเหล่านีเ้กิดขึ้นภายในจิตใจ
แล้วการกระทำาทัง้หลายก็จะถูกความเห็นท่ีไม่ถูกต้องนัน ้ เข้ามามีส่วน
หนุนเน่ ืองบงการเอาได้

ประชาชนส่วนใหญ่ท่ีมิได้ศึกษาธรรมะให้เข้าใจ มักจะมีความสําคัญ
ผิด แล้วคิดว่า ตัวเองนัน
้ ประพฤติแต่ความดีมีศีลธรรม มิได้มีอกุศล
เจือปนเลย ดังนัน้ บางคนจึงได้พูดว่า "ฉันไมได้ทำาบาปอะไรเลย
เพราะแต่ละวันท่ีผ่านมา ฉันไม่ด้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ผิดใน
กาม และไม่ได้ด่ืมสุรายาเมาอะไรด้วย ดังนัน้ จึงไม่จำาเป็ นต้องไปวัดไป
วา หรือไปศึกษาเล่าเรียนอะไรให้เสียเวลาก็ได้ รักษาตัวดีมีศีลธรรม
อยู่แล้ว"

คนโดยมากพากันคิดว่า ทําเพียงเท่านีก ้ ็ดีอยู่แล้ว ความจริงก็ดีจริงๆ


เหมือนกันแต่ทว่าดีน้อย ไม่ใช่ดีมาก และไม่ใช่ดีมากท่ีสุด เพราะดี
มากท่ีสุดนัน
้ จะต้องศึกษาเล่าเรียนธรรมะ โดยจะฟั งวิทยุ จะอ่าน
หนังสือท่ีเก่ียวด้วยเร่ ืองของชีวิต และมาเรียนจริงๆ ท่ีเปิ ดบรรยายกัน
อยู่ในเวลานีก ้ ็หลายแห่ง เพ่ ือให้เกิดปั ญญาในปั ญหาต่างๆ ของชีวิต
ควรจะต้องเร่ิมต้นสร้างปั ญญา แล้วก็จะไม่ได้ช่ือว่าตัง้อยู่ในความ
ประมาท ชีวิตจึงได้ถูกชักพาไปสู่แดนอันเกษม ในท่ีสุดก็จะพ้นจาก
การเวียนว่ายตายเกิดต่อไป

บรรดาทุกข์ใหญ่น้อยทัง้หลายก็จะเข้ามากล้ำากรายไม่ได้ ถ้ามีปัญญา
ติดตัวไปแล้ว เม่ ือไปเกิดอยู่ในสารทิศใด ได้รับความทุกข์ยากลำาบาก
อย่างไร ไม่ช้าไม่นาน อำานาจของปั ญญาท่ีได้มีติดตัวมาจะได้ช่วยชัก
พาให้ออกไปยังทิศทางท่ีถูกต้อง แต่ถ้ามิได้ศึกษาเล่าเรียนให้เกิด
ปั ญญาอันถูกต้องแล้ว การเดินทางไหลของชีวิต ก็จะเอากำาหนดแน่
ไม่ได้ ไม่ทราบว่าอีกสักเม่ ือใดจึงจะพ้นไปจากวัฏฏะอันน่าหวาดกลัวนี้
เสียได้

บุคคลทัง้หลายมีความเข้าใจว่า บาปจะเกิดขึ้นมาได้นัน ้ จะต้องเกิด


จากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม และเสพสุรายาเมา แต่เพียง
เท่านัน
้ จึงคิดได้ว่า ตัวเองก็มีความประพฤติดีมีศีลธรรม บาปต่างๆ
ดังกล่าวก็มิได้คิดท่ีจะประพฤติเลย จึงไม่จำาเป็ นต้องทำาอย่างใดอีก

ความเข้าใจดังกล่าวนี ย ้ ังไม่ตรงข้อเท็จจริงของสภาวธรรมจึงไม่มี
กําไรแก่ชีวิต เป็ นการเข้าใจผิดไปอย่างน่าเสียดาย เพราะว่าสัตว์ทัง้
หลายย่อมจะมีความมักได้เห็นแก่ตัวท่ีเรียกกันว่า เป็ นสัญชาติญาณ
ติดตัวมา คิดท่ีจะได้ในส่ิงสารพัดทัง้ปวง จนเป็ นเหตุการเอ้ือเฟ้ือเผ่ ือ
แผ่มีได้ไม่มาก เพราะอยากท่ีจะเอาดีเอาเด่นให้ล้ำาเลิศย่ิงกว่าใครๆ ทัง้
หลาย จึงทำากระทำาการใดๆ ลงไปเพ่ ือการนัน ้ ทัง้นีเ้กิดขึ้นมาจาก
ความคิดเห็นท่ียังขาดความเข้าใจในเร่ ืองของชีวิตนัน่ เอง

ตัง้แต่ต่ืนนอนขึ้นมาในเวลาเช้า ไปจนถึงหลับนอนลงในเวลากลาง
คืน โลภะ โทสะ โมหะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ประดังกัน
เข้ามาปะปนอยู่ในจิตเสียนับจำานวนไม่ได้ แต่อโลภะ อโทสะ และอ
โมหะ ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนัน ้ ยากหนักหนาท่ีจะเข้ามาแฝง
อยู่ประจำาใจ เปรียบเหมือนเร่ ือท่ีไหลไตามสายน้ำาในลำาธาร น้ำามันจะ
ไหลพาให้เรือล่องลงไปอยู่วันยันค่ำา เรือจะไม่มีโอกาสแล่นทวนขึ้นไป
เหนือน้ำาได้เองเลยเป็ นอันขาด เว้นไว้แต่เราจะออกแรงพาย ถ้า
ออกแรงน้อย เรือก็จะแล่นขึ้นไปเหนือน้ำาได้น้อย ถ้าออกแรงมากเรือ
จะแล่นขึ้นไปเหนือน้ำาได้มาก ถ้าไม่ออกแรงเลย คืออยู่เฉยๆ เรือก็จะ
กลับไหลลงไปเป็ นอัตโนมัติ

อํานาจของอนุสัยกิเลส ตัวการท่ีทําให้จิตใจต้องตกลงไปอยู่ในความ
เร่าร้อน คือกามราคานุสัย มีความอยากได้ในส่ิงสารพัดทัง้ปวง มานา
นุสัย มีความอยากใหญ่ปรารถนาให้คนทัง้หลายยกย่องสรรเสริญ
ทิฏฐานุสัย ความเห็นผิดไปจากความจริงต่างๆ และ อวิชชานุสัย
ความเข้าใจผิดท่ีเกิดขึ้นตามอารมณ์ในทวารทัง้ ๖ เป็ นต้น

เหล่านีจ้ะได้ชักพาชีวิตให้เดินไปตามทิศทางท่ีอนุสัยกิเลส หรือท่ีเรียก
กันว่า สัญชาตญาณ ท่ีติดตามตัวมาทุกๆ ชาติ เพ่ ือให้เดินไปตาม
ทิศทางของมันเหมือนสายน้ำาไหล เราผู้ซ่ึงเป็ นเรือน้อยก็จะล่องลอย
ตามมันไป ถ้าเราไม่ออกแรงพายแล้ว ถึงอย่างไรมันก็จะแล่นทวนน้ำา
ขึ้นไปไม่ได้ แล้วแน่นอนท่ีจะต้องไหลเข้าไปสู่แดนทุรกันดาร

สัญชาตญาตนัน ้ มีอยู่ด้วยกันทุกคน สัญชาตญาณนัน ้ ทำาให้คนคิดถึง


แต่ตนเองเป็ นใหญ่ และสัญชาตญาณนัน ้ ทำาอะไรก็หวังท่ีจะได้อะไร
กลับคืนมา แต่เพราะมนุษย์มีความฉลาดรู้จักการอบรม รู้จักการ
กล่อมเกลาสัญชาตญาณของตนเองอยู่บ้าง จึงมิได้เอาแต่จะได้ไปเสีย
ทัง้หมดตลอดเวลา และน่ีเองทำาให้มนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์
เดรัจฉาน

ความเห็นแก่ตัวท่ีจะชักพาเราไปดังกล่าวมาแล้วนัน ้ จะสะดุดหยุดลง
ได้เป็ นครัง้เป็ นคราวเม่ ือจิตเกิดขึ้นมาแล้วทำาลายความเห็นแก่ตัวนัน

ลง โดยการทำาบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เช่น บังเกิดความ
สงสารจึงได้คิดบริจาคทาน หรือเพราะปรารถนาจะให้จิตมีความสงบ
จึงได้อดทนนัง่ทำาสมาธิ เป็ นต้น ซ่ึงจะเกิดขึ้นมาในวันหน่ึงๆ ได้ยาก
หรือได้น้อยอย่างเหลือเกิน ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้น
มาจนนับจำานวนไม่ไหว แต่ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เกิดขึ้นมา
นับจำานวนได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ดี บุญกุศลนัน้ แม้ว่า จะเกิดได้ยากหรือเกิดได้น้อยก็จริง แต่
ก็มีกำาลังมากเพราะออกกำาลังต้องมีความสามารถหักหาญทำาลาย
ความเห็นแก่ตัวลงได้แม้ชัว่ขณะหน่ึงก็ตาม ซ่ึงเป็ นเหมือนการ
ออกแรงพายเรือให้แล่นทวนขึ้นไปเหนือน้ำา อันเป็ นการทวนกระแส
ของจิตซ่ึงเป็ นการทำาได้ยาก แต่เม่ ือกระทำาลงไปได้แล้วช่ ือว่ามีกำาลัง
มาก เพราะแม้ว่าเราจะบริจาคให้ขอทานสัก ๑ บาท เราก็จะต้อง
ทำาลายความเห็นแก่ตวั ต้องเสียสละ แล้วจึงจะทำาลายความตระหน่ี
หวงแหนได้เป็ นผลสำาเร็จ ด้วยเหตุดังกล่าวนีเ้อง การทำากุศล แม้จะ
น้อยสักเท่าใดๆ แม้เพียงจิตคิดแต่เร่ ืองท่ีดีเท่านัน
้ ก็เรียกว่า "มหา
กุศล"

ตามท่ีผมได้บรรยายมา ท่านทัง้หลายก็จะเห็นได้โดยระลึกถึงตัวเอง
ว่าในวันหน่ึงๆนัน
้ บุญหรือบาปใครจะเกิดมากกว่ากันสักเท่าใด เรา
ได้กระทำาจิตของเราให้พ้นไปจากบาปอกุศล ทัง้น้อยและใหญ่มาก
หรือไม่ ในวันหน่ึงๆ นัน
้ เราหันหลังให้อกุศล มีความโลภ ความโกรธ
ความหลงเข้ามาครอบงำาจิตใจ แล้วหันหน้าเข้ามาหากุศล ยอมเสีย
สละ ทำาลายความเป็ นแก่ตัวลงได้สักก่ีครัง้

ผมได้นำาทางให้ท่านนักศึกษาให้เข้ามาในเหตุผลดังกล่าวแล้ว ท่านก็
คงจะพิจารณาเห็นได้เองว่า อกุศลได้ครอบงําจิตของเรามากสักเท่าใด
ย่ิงมิได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยแล้ว ก็อาจจะเข้าใจผิดไปด้วยว่า ไม่ได้ฆ่า
สัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ผิดในกาม ไม่ได้เสพสุรายาเมาแล้ว จิตจะ
เป็ นกุศลไปเสียก็ได้ อาจจะจัดเอาอกุศลเล็กๆน้อยๆ ท่ีเกิดขึ้นมาเป็ น
ประจำาวัน แล้วเหมาว่าเป็ นกุศลไปเสีย

กุศลหรืออกุศลจะเกิดขึ้นมา โดยแสดงทางกายเรียกว่า กายวิญญัติ


ประการหน่ึง กุศลหรืออกุศลอาจจะเกิดขึ้นมาทางวาจา เรียกว่า วจี
วิญญัติ อีกประการหน่ึง แต่กุศลหรืออกุศลอาจจะเกิดขึ้นมาทางมโน
ท่ีไม่เรียกวิญญัติอีกประการหน่ึง เฉพาะอย่างย่ิงฝ่ ายอกุศล เรียกว่า
อกุศลมโนกรรม ๓ คืออกุศลท่ีเกิดขึ้นทางใจ ๓ ประการ ได้แก่ อภิ
ชฌา พยาปาทะ และมิจฉาทิฏฐิ ต่อไปนีท ้ า่ นก็จะได้ศึกษาอกุศลท่ี
เกิดขึ้นทางใจทัง้ ๓ ประการนีเ้ป็ นลำาดับไป

อภิชฌา คืออะไร?

คำาว่า อภิชฌา นัน


้ มาจากคำาเหล่านี ค
้ ือ
อภิ แปลว่า เฉพาะหน้า
เฌ แปลว่า คิดถึง

เม่ ือได้รวมกันเข้าแล้ว ก็แปลว่า คิดถึงเฉพาะหน้า ในสภาวธรรมนัน ้


หมายถึง เพ่งเล็งในทรัพย์สมบัตข ิ องผู้อ่ืน ดังแสดงวจนัตถะว่า
"ปรสมฺปตฺติ อภิมขุ ำ ฌายตีติ = อภิชฺฌา"
"ธรรมชาติใดย่อมคิดถึงทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืนอยู่เฉพาะหน้า ฉะนัน ้
ธรรมชาตินัน ้ ช่ ือว่า อภิชฺฌา"
สำาหรับการเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัตขิ องผู้อ่ืนนี เ้ม่ ือจัดองค์ธรรมแล้ว
ก็ได้แก่ตัวโลภะ คือความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์นัน ่ เอง
โลภะมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. ธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยชอบธรรม
๒. อธรรมิยโลภะ ความพอใจอยากได้โดยไม่ชอบธรรม

ท่านทัง้หลาย เม่ ือท่านได้ประสบพบเห็นส่ิงใดอันเป็ นส่ิงท่ีดีท่ีน่ารัก


ท่านมีความพอใจหรือไม่ ความพากเพียรของท่านทัง้หลายท่ก ี ำาลัง
พากเพียรอยู่ทุกเวลานาทีนัน ้ ก็ด้วยประสงค์ท่ีจะให้บังเกิดความ
พอใจมิใช่หรือ แม้ความเหน็ดเหน่ ือยเม่ ือยล้า การฟั นฝ่ าอุปสรรค
นานาประการ ตลอดจนเผชิญต่อความทุกข์ยากลบากมาอย่าง
โชกโชน ก็ด้วยปรารถนาจะให้เข้าถึงความพอใจมิใช่หรือ

แน่ละ! การเดินทางมาตัง้แต่ต้นมาจนถึงบัดนี เ้รามีจุดหมายอยู่ข้าง


หน้า นั่นก็คือความพอใจท่ีจะได้รับ หรือพูดตามหลักธรรมะก็คือ
ประสงค์จะได้รับอารมณ์ท่ีดี ได้เห็นรูปต่างๆ สวยสดงดงาม ได้ยิน
เสียงอันไพเราะ ได้กล่ินท่ีหอมหวนทวนลม ได้ลิม ้ รสท่ีอร่อย ได้
สัมผัสท่ีน่ิมนวล และได้คิดนึกถึงเร่ ืองราวท่ีสนุกสนานเพลิดเพลินใจ

แต่ละคนก็มีจุดหมายปลายทางเหมือนๆกัน อันได้แก่อารมณ์ท่ีตน
ชอบใจอยู่ดังนี แ
้ ต่วิธีการท่ีจะให้เข้าถึงอารมณ์เช่นว่านัน
้ แตกต่าง
กันออกไป เม่ ือแบ่งออกหยาบๆ ก็แบ่งออกได้เป็ น ๒ ประการ คือ

๑. เม่ ือมีความพอใจอยากจะได้ในส่ิงใด ก็พากเพียรพยายามเสาะ


แสวงหาหนทางท่ีจะให้ได้มาด้วยสุจริต เช่น ด้วยการขอ การแลก
เปล่ียน และการหาเงินทองมาซ้ือเอาด้วยความซ่ ือตรง

๒. เม่ ือมีความพอใจอยากจะได้ส่ิงใด ก็พากเพียรพยายามท่ีจะให้ได้


มา หรือเพ่งเล็งในส่ิงนัน
้ โดยไม่ชอบธรรม หาทางท่ีจะให้ได้มาโดยวิธี
การต่างๆ โดยการทุจริต ไม่ขอ ไม่แลกเปล่ียน ไม่ซ้ือ หากแต่คิดหา
ทางขโมย คิดหาทางคดโกงคอรัปชัน ่ หรือคิดพลิกแพลงตลบตะแลง
ด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนหาทางบีบคัน ้ เอาด้วยกำาลัง

อำานาจของความพอใจอยากได้ในอารมณ์ท่ีดีๆ เป็ นตัวการอุดหนุนให้


เกิดการกระทำาท่ีจะให้ได้มาโดยชอบธรรม โดยความสุจริต ความพอใจ
ติดใจชนิดนี เ ้ ป็ นธรรมิยโลภะไม่แต่
ใช่เคป็วาม
นตัวอภิชฌา
ปรารถนาหรือเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืนโดยมิชอบ โดยความ
ทุจริต ความปรารถนานัน ้ ช่ ือว่า อธรรมมิยโลภะ คือตัวอภิชฌานั่น
เอง

เม่ ือมีความยินดีพอใจอยากจะได้ขึ้นมาเป็ นอารมณ์แล้ว ก็จะก่อให้


เกิดขึ้นซ่ึงการกระทำาท่ีจะให้ได้มา เม่ ือการอบรมบ่มนิสัยได้เป็ นไปดี
เพียงพอสัญชาติญาณแห่งการเห็นแก่แต่การจะได้เข้าครอบงำา
สันดานร้ายท่ียังมิได้ขัดเกลาให้เพียงพอ ก็จะโผล่ตัวของมันขึ้นมาขับ
ไล่ความดีมีคุณธรรมทัง้หลายให้กระเจิงออกไป แล้วอภิชฌา คือการ
เพ่งเล็งในทรัพย์สมบัตข ิ องผู้อ่ืนโดยไม่เป็ นธรรมก็จะเกิดขึ้น

การท่ีบุคคลทัง้หลายมีทรัพย์สมบัติขึ้นมาได้นัน้ ก็จะต้องอาศัยการ
งานท่ีกระทำา บางคนก็เหน็ดเหน่ ือยมาก อาบเหง่ ือต่างน้ำาสายตัวแทบ
ขาด บางคนกว่าจะได้มาก็ฝ่าเข้าไปในความยากลำาบาก ต้องอดม้ือกิน
ม้ือมาเป็ นเวลานาน บางคนก็ต้องผ่านเข้าไปยังแดนของอันตราย
ยอมเส่ียงต่อความตาย และมากคนทีเดียวท่ีต้องเค่ียวเข็ญบังคับใจ
เก็บออมทรัพย์สินเอาไว้ ไม่กล้าท่ีจะใช้จ่ายด้วยกลัวว่าจะยากจน
อาศัยการกระทำา อาศัยปั ญญา และอาศัยวิริยะอุตสาหะมิใช่เล็กน้อย
จึงได้มีขึ้นมา

เม่ ือพิจารณาดูแล้วก็น่าอัศจรรย์ใจ ไม่น่าท่ีจะเป็ นไปได้ว่า จิตใจของ


มนุษย์ผู้ได้ช่ือว่ามีใจสูง ผู้ได้ช่ือว่ามีสัญชาติญาณอันถูกกล่อมเกลามา
แล้วด้วยดี และผู้ซ่ึงอวดอ้างยกตัวเองว่า ได้พัฒนาจิตใจของตนเองมา
ห่างไกลกันลิบลับจากสัตว์เดรัจฉาน ได้ถูกอภิชฌาเข้าครอบงำาทำาให้
เห็นผิดเป็ นชอบ เห็นแต่จะได้ในทรัพย์สมบัตข ิ องใครๆ ท่ีเป็ นไปโดย
มิชอบธรรม ไม่ได้เห็นอกเห็นใจใครว่าผู้ใดเขาจะเสียหาย ไม่ยอมรับรู้
ว่าใครเขาจะต้องเศร้าเสียใจจนน้ำาตานองหน้า มีจิตใจโหดร้ายทารุณ
ราวกับสัตว์ป่า ก่อความทุกข์ร้อนเศร้าหมองให้ผู้อ่ืนและครอบครัว
ของเขา ตลอดจนบริวารอย่างแสนสาหัส

เอารัดเอาเปรียบหาหนทางท่ีจะคดโกงคอรัปชัน ่ บีบคัน
้ กดข่ี ขู่เข็ญ
ขูดรีดเอาด้วยวิธีการต่างๆ ทัง้ทางตรงและทางอ้อม หรือเบียดเบียน
ลักขโมย ปล้น จี ห ้ รือย่ำายีเอาด้วยกำาลังด้วยอำานาจจนถ
ลงไปบนธารน้ำาตา หรือบนกองเลือด ก็กล้ากระทำาได้ แม้จะเผาบ้าน
ของผู้อ่ืนสักก่ีหลังให้เป็ นเถ้าถ่านไป หรือฆ่าฟั นกันตายสักเท่าใดก็
มิได้มีความสะทกสะท้านหวัน ่ เกรงอะไรเลย ช่างกล้าหาญชาญชัยจน
สัตว์เดรัจฉานทัง้หลายต้องได้อายเพราะทำาให้เหมือนไม่ได้

มันเป็ นเร่ ืองท่ีน่าเกลียดน่ากลัว มันเป็ นเร่ ืองท่ีน่าอับอายขายหน้า


และมันเป็ นเร่ ืองท่ีน่าหวดกลัวอย่างเหลือเกิน แม้แต่จะยังไม่ได้ลงมือ
กระทำาการเหล่านัน ้ ลงไปเลยสักนิด เพียงคิดท่ีจะกระทำาอยู่แต่เพียง
ในใจเท่านัน ้ ด้วยเหตุดังกล่าวในปรมัตถทีปนีฎีกา ท่านจึงได้แสดงว
จนัตถะของอภิชฌานีเ้อาไว้ว่า

"อภิชฺฌายนฺติ อสฺสาทมตฺเต อฐตฺวา ปรภณฺฑสฺส อตฺตโน ปริณามา


นวเสน เอเตยาติ = อภิชฌา"
"บุคคลทัง้หลาย ไม่ได้หยุดแต่เพียงความพอใจ ย่อมคิดเพ่งเล็งด้วย
อาการท่ีจะทำาให้ได้ทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืนมาเป็ นของตนด้วยธรรมนัน ้
ฉะนัน้ ธรรมท่ีเป็ นเหตุแห่งการคิดเช่นนัน ้ จึงช่ ือว่า อภิชฌา"
อภิชฌา คือผู้ท่ีคิดการร้ายเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืนโดยความ
ทุจริตคิดมิชอบ ดังนี เ ้ ป็ นแต่เกิดความคิดขึน
้ มาในใจม
กระทําลงไปทางกายหรือทางวาจาแต่ประการใด

แต่อำานาจของความเลวร้าย อำานาจของสันดานไม่ดีท่ีติดตัวมา พร้อม


ทัง้อำานาจของความคิดท่ีจะกระทำาความเลวทรามท่ีน่าละอาย น่า
เกลียดน่ากลัวนัน ้ ได้ด้วยตัดสินใจเด็ดขาดปราศจากความยับยัง้ชัง่ใจ
ไม่มีความเมตตาปรานี ด้วอดทนต่อเงินทองข้าวของและอำานาจราช
ศักดิท ์ ่ีอยากจะได้ท่ีคิดอยู่ในใจนัน
้ ไม่ไหว อำานาจของความคิดดัง
กล่าวจึงเรียกว่า อภิชฌา คือความเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัตข ิ องผู้อ่ืนใน
ทางท่ีมิชอบ เรียกว่า มโนทุจริต อันเป็ นความผิดบาปท่ีเกิดขึ้นทางใจ

สัตว์ทัง้หลายมีสัญชาตญาณป่ าเถ่ ือนท่ีเห็นแก่ตัว มุ่งหวังจะให้ตนเอง


รอดและปลอดภัยเท่านัน ้ มิได้คำานึงถึงความชัว่ร้ายเลวทรามท่ีตนได้
ก่อขึ้น มิได้คิดเห็นอกเห็นใจใครว่าจะได้รับความเดือดร้อนสักเพียง
ไหน และต้องร้องไห้เสียใจจนน้ำาตาเป็ นสายเลือดเพราะการกระทำา
ของตนอย่างไร หรือใครจะพินาศล่มจมล้มตายลงไปสักเท่าใดก็มิได้
หวัน่ ไหว มุ่งหมายแต่จะให้ตนเข้าถึงความพอใจเป็ นใหญ่ มีโอกาส
ครัง้ใดก็จะต้องช่วงชิงเบียดเบียนกันอย่างหนักหน่วงรุนแรงเท่าท่ีจะ
ทำาได้

มนุษย์เป็ นผูท ้ ่ีมิได้ไปโดยขวาง มนุษย์เป็ นสัตว์ประเภทเดียวท่ีมี


ร่างกายตัง้ได้ฉากกับโลก แต่สัตว์เดรัจฉานทัง้หลายมีร่างกายขนาน
ไปตามโลก จะตัง้ได้ฉากกับโลกนัน ้ ไม่มีเลย แต่น่าอัศจรรย์เหลือเกิน
ท่ีมนุษย์ผู้ซ่ึงถือตัวว่า เป็ นผู้ประเสริฐย่ิงกว่าสัตว์เดรัจฉาน เป็ นผูท
้ ่ี
มิได้ไปโดยขวาง และเป็ นผู้ท่ีประกาศตนเองว่าได้เดินทางมาห่างไกล
จากสัตว์เดรัจฉานเสียลิบลับ ทัง้ได้กล่อมเกลาสัญชาตญาณของ
ตนเองมาเสียมากมาย อันสัตว์เดรัจฉานทำาไม่ได้แม้แต่จะคิด

แต่กลับประพฤติผิดทำาตนเลวร้าย กระทำาการย่ำายีเบียดเบียนซ่ึงกัน
และกันอย่างป่ าเถ่ ือนไร้มนุษย์ธรรม อย่างหนักหน่วงรุนแรง มี
ฉ้อโกง ลักขโมย ปล้น ฆ่า ทำาลายล้างกันจนถึงตาย ด้วยความหวังท่ี
จะได้อารมณ์ท่ีตนพอใจติดใจเป็ นใหญ่ ด้วยความปรารถนาท่ีจะได้ส่ิง
ท่ีตนพอใจมาโดยมิชอบ ไม่ยอมขอ ไม่ยอมแลกเปล่ียน ทัง้ไม่ยอมซ้ือ
ด้วยอำานาจของความร้ายกาจในพฤติกรรมดังกล่าวมา แม้เพียงแต่คิด
ท่ีจะกระทำาเท่านัน้ ก็ตาม ก็ได้ช่ือว่า เป็ นอภิชฌา เป็ นมโนทุจริตความ
ผิดท่ีเกิดขึ้นทางใจ อันมีโทษหนัก

สำาหรับองค์ของอภิชฌานัน
้ มีอยู่ ๒ คือ
๑. ปรภณฺฑํ ทรัพย์สมบัติเป็ นของผู้อ่ืน
๒. อตฺตโนปริณามนํ มิจิตคิดให้เป็ นของๆ ตน
ในข้อท่ี ๑ ขององค์อภิชฌา คือ ปรภณฺฑํ นัน้ ว่าเป็ นทรัพย์สมบัติของ
ผู้อ่ืน มุ่งหมายเอาอวิญญาณกทรัพย์ คือทรัพย์ท่ีไม่มีวิญญาณครอง
กับสวิญญาณกทรัพย์ คือทรัพย์ท่ีมีวิญญาณครอง

ในเร่ ืองนีต
้ ามหลักธรรมะกับวิชากฎหมายนัน ้ แตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้
คำาเหมือนกันก็จริง เพราะในหลักของวิชากฎหมายท่ีเรียกว่า ส
วิญญาณกทรัพย์ ทรัพย์ท่ีมีวิญญาณนัน ้ ได้แก่ สัตว์เลีย
้ งต่างๆ เช่น
ช้าง ม้า โค กระบือ เป็ นต้น

แต่ในหลักธรรมะนัน ้ คำาว่า สวิญญาณกทรัพย์ นอกจากจะเป็ นสัตว์


เลีย
้ งเช่น ช้าง ม้า โค กระบือ แล้ว ยังมีมนุษย์รวมอยู่ด้วย คือ ทาสี
ทาสา หญิงท่ีมีสามี หญิงท่ีเป็ นคูห่ มัน
้ รวมอยู่เป็ นสวิญญาณกทรัพย์
ด้วย

ด้วยเหตุท่ีถือเอาบุคคลเป็ นทรัพย์ดังนีเ้อง หญิง ๘ ประเภท เช่น มา


ตุรกฺขิตา หญิงท่ีมีมารดาปกครองอยู่ หรือธมฺมรกฺขิตา หญิงท่ีมีผู้
ประพฤติธรรมเป็ นผู้ปกครอง เช่น ชี เป็ นต้น บุคคลเหล่านีถ ้ ือว่าเป็ น
ทรัพย์ ผู้ใดคิดนึกเพ่งเล็งท่ีจะได้มาโดยมิชอบ ก็จะได้ช่ือว่าเป็ นอภิ
ชฌาด้วย
เร่ ืองอภิชฌานัน
้ ผมก็คิดว่าได้บรรยายไปพอสมควรแล้ว คงจะทำาให้
ท่านนักศึกษาเข้าใจได้เหตุผลเพ่ ือจะเอาไว้ใช้เป็ นหลักตัดสินได้ ต่อ
จากนีไ้ปผมจะได้บรรยายถึงอกุศลมโนกรรมตัวท่ี ๒ อันได้แก่ พฺยา
ปาท ต่อไป

คำาว่า พฺยาปาทะ นัน


้ ในภาษาไทยเราพูดกัน เราใช้กันอยู่ทัว่ไปจนชิน
หูว่าพยาบาทหรือความพยาบาท แปลตามความหมายท่ีชาวบ้านโดย
มากเข้าใจกันก็คือ การปองร้ายผู้อ่ืนหรืออาฆาตมาดร้ายทำาลายล้างผู้
อ่ ืน

คำาว่า พยาปาท นัน ้ เป็ นภาษาบาลี แต่ก็ได้ใช้พูดกันในภาษาไทยว่า


พยาบาท กันมาจนเคยแล้ว จนกลายเป็ นภาษาไทย ความหมายก็เป็ น
ท่ท
ี ราบกันโดยทัว่ไปทัง้ภาคเหนือไปจนถึงภาคใต้ เม่ ือพูดคำาว่า
พยาบาทขึ้นมา ทุกๆ คนก็มค ี วามเข้าใจเร่ ืองราวดี แต่พยาบาทท่ีใช้
กันนัน้ จะมีเน้ือความตรงกันกับ "พฺยาปาทะ"ในหลักธรรมหรือไม่
แล้วในหลักธรรมนัน ้ มีเน้ือความว่ากระไร

พฺยาปาท คืออะไร

มีแสดงวจนัตถะว่า "พฺยาปิ ชฺชติ หิตสุขํ เอเตนาติ = พยาปาโท"


ประโยชน์และความสุขย่อมเสียหายไปด้วยโทสะนี ฉ ้ ะนัน
้ โทสะนีจ้ึง
ช่ ือว่า พยาบาท

บุคคลโดยมากมีความเข้าใจว่า พยาบาทนัน ้ จะต้องคิดปองร้ายผู้อ่ืน


เช่น มีคนมานินทาว่าให้บังเกิดความเสียหาย ก็คิดแค้นอาฆาต ผูกใจ
เจ็บ แล้วคิดแก้แค้นตอบแทนหรือมีคนมากดข่ี บีบบังคับให้ตนต้อง
เสียทรัพย์สินไปมากมาย จึงไปซุ่มคอบแอบทำาร้ายร่างกาย อย่างน้อย
ก็ต้องคอยคิดปองร้ายผู้อ่ืน ดังนัน
้ จึงได้พูดกันโดยทัว่ไปว่า พยาบาท
ปองร้าย

ความเข้าใจของคนทัง้หลายดังกล่าวมาก็นับว่าถูกต้อง แต่ทว่าความ
ถูกต้อง แต่ทว่าความถูกต้องนัน ้ ยังไม่มีความสมบูรณ์เต็มท่ี ถูกเพียง
ส่วนเดียวในจำานวนทัง้หมดท่ีมีอยู่อีกหลายส่วน และถ้าความเข้าใจ
คับแคบดังนี ก
้ ็นับว่าน่าเสียดาย

ก่อนอ่ ืน ท่านนักศึกษาก็จำาเป็ นต้องศึกษาถึงคำาว่า พยาปาทะ และ


สาเหตุของพยาปาทะเสียก่อนว่า พยาปาทะ หรือพยาบาทนัน ้ คือ
อะไร และคําว่าพยาบาทนีม ้ ีสาเหตุเกิดขึน
้ มาจากอะไรบ้าง

ผมได้เคยแสดงมาแล้วว่า สัตว์ทัง้หลายมีสัญชาตญาณเห็นแก่ตัวเอง
เป็ นใหญ่อยากจะได้ อยากจะดี อยากจะเด่น อยากจะเป็ นใหญ่เป็ นโต
ด้วยกันทุกรูปทุกนาม จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงแต่ว่า ความอยาก
มีจำานวนน้อยหรือมากกว่ากันเท่านัน้ ด้วยเหตุนี จ้ึงต่างก็แสวงหา
อารมณ์อันเกิดขึ้นตามทวารต่างๆ ท่ีตนต้องการอยู่ตลอดเวลา จึงได้
ท่องเท่ียวซอกซอนแสวงหาไปในสารทิศทัง้ปวง ทัง้กลางคืนและ
กลางวัน จะเว้นบ้างก็ต่อเม่ ือนอนหลับสนิท

ความปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ ท่แ ี ต่ละคนเสาะแสวงหาอยู่นัน ้ ก็ได้


แก่ความพยายามกระทำาอย่างใดอย่างหน่ึงให้ได้อารมณ์ท่ีดีท่ีตน
ชอบใจเท่าท่ีจะทำาได้ในทวารทัง้ ๖ นัน่ เอง เช่น ใฝาหาอารมณ์ท่ีดีท่ี
ชอบใจอันเกิดขึ้นทางตา ดิน ้ รนแสวงหาท่ีจะให้ได้ยินสำาเนียงอัน
ไพเราะท่ีเกิดขึ้นทางหู หรือหาหนทางท่ีจะคิดนึกในเร่ ืองราวท่ี
สนุกสนานเพลิพเพลินจากทางใจ เป็ นต้น

ความปรารถนาในอารมณ์ท่ีดีๆ ของบุคคลทัง้หลายดังกล่าวมาก็หาได้
สมความปรารถนาดังท่ีได้ตัง้เจตนาเอาไว้เสมอไปไม่ เพราะว่ามักจะมี
เหตุการณ์ท่ีคาดฝั นเอาไว้บา้ ง ท่ีไม่ได้คาดฝั นเอาไว้บ้างมาขัดขวาง
ตัดรอนเอาไว้เสียให้ไม่ได้อารมณ์ท่ีดีท่ีตนชอบสมกับความตัง้ใจ และ
บางทีก็เกิดอยู่เสมอ

ส่วนมากก็หาได้ทราบไม่ว่าตัวการท่ีมาขัดขวางความปรารถนาของตน
ในส่วนท่ีสำาคัญลึกซึ้งนัน้ ได้แก่อะไร ก็มก ั จะคิดเอาแต่เหตุต้ืนๆ
เผินๆ ท่ีเห็นกันได้ง่ายๆ เท่านัน้ เช่นว่า เพราะคนนัน ้ คนนีม ้ าขัดใจ
เพราะบังเอิญให้มีเหตุอะไรต่างๆ มาขัดขวางเสีย จึงไม่ได้รับผลสม
ความมุ่งหมาย หรือเพราะส่ิงนีม ้ าเป็ นอุปสรรคขวางกัน ้ ทำาให้เสียหาย
และเหตุอันลึกซึ้งแห่งอุปสรรคทัง้หลายท่ีเกิดขึ้นมาเหล่านี้ ผู้ท่ีมิได้
ศึกษาเร่ ืองของชีวิตเสียให้เข้าใจก็มักจะไม่โทษตัวเอง แต่จะกลับโทษ
ส่ิงอ่ ืน หรือโทษดินฟ้ าอากาศว่ามาขัดขวางให้ตนไม่ได้รับผลตามท่ี
ต้องการ
ความปรารถนาท่ีจะให้ได้อารมณ์ท่ีดีๆ นัน ้ เกิดอยู่แทบทุกนาที แต่เรา
ก็มักจะได้รับอารมณ์ท่ีไม่ดีเสียเป็ นส่วนมาก เช่น ต้องการจะเห็นจะ
ได้ยินในส่ิงท่ีตนชอบใจ แล้วก็ไม่ได้รับสมดังใจ ได้พยายามท่ีจะ
ประกอบธุรกิจการงานอย่างเต็มความสามารถ ด้วยหวังท่ีจะให้ได้เงิน
ทองข้าวของ ก็ไม่สมหวัง สู้อุตส่าห์กระทำาทุกทางเพ่ ือจะให้ดีให้เด่น
ด้วยหวังว่าจะได้รับคำาชมเชยจากผู้อ่ืน ก็ไม่สำาเร็จ และได้ออกความ
เห็นเสียมากมาย คิดว่าคงจะเป็ นการถูกต้อง แต่ก็กลับล้มเหลวไม่มี
ใครเขาเห็นด้วย

ความปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ คือมีความยินดีพอใจติดใจนัน ้ เป็ น


โลภะ คือความโลภ ความคิดเห็นในเร่ ืองราวของชีวิตท่ีไม่ถูกต้องตรง
กับสภาวธรรม เป็ นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด และความมุ่งหวังท่ี
จะยกตัวถือตัวนัน ้ เป็ นมานะ คือ ถือตนอวดดีกว่าคนอ่ ืน รวมแล้ว ส่ิง
ท่ีเกิดขึ้นมาดังกล่าวก็คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ

ความไม่สมประสงค์ในโลติกะ ๓ ซ่ึงได้แก่ โลภะ ความโลภ ทิฏฐิ


ความเห็นผิด มานะ ความอวดตัวยกตัว น่ีเอง ท่ีเป็ นปั จจัยให้ได้รับ
อารมณ์ท่ีตนไม่ปรารถนา คือ ความโกรธ ความเสียใจ ความไม่พอใจ
ความทุกข์ร้อน ความเศร้าหมองใจ อันเป็ นโทสะ เพราะปรารถนาจะ
ได้อะไรท่ีสวยงามน่ารัก ก็ไม่สำาเร็จ แสดงความคิดเห็นอะไรออกไปก็
มีคนคอยขัดคอเพราะไม่เห็นด้วย และอยากจะยกตนโอ้อวดบ้างก็
ไม่มีคนสนับสนุน ฉะนัน ้ ท่านจึงได้สอนว่า

"พฺยาปิ ชฺชติ หิตสุขำ เอเตนาติ = พฺยาปาโท"


ประโยชน์กับความสุขย่อมเสียหายไปด้วยโทสะนี ฉ ้ ะนัน
้ โทสะนีจ้ึง
ช่ ือว่าพยาบาท

ดังนัน
้ ความพยาบาทท่ีประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ จึงเป็ นความ
เข้าใจท่ีคบ
ั แค้นเพราะว่า ผู้ใดเป็ นผู้ทท
่ี ำาให้จิตของตนบังเกิดขึ้น ซ่ึง
ความโกรธ ความเสียใจ ความไม่พอใจ ความทุกข์ร้อน ความเศร้า
หมองใจ ก็เรียกว่า ผู้ทำาประโยชน์และความสุขให้เสียหายไปด้วย
โทสะแล้ว

อย่างไรก็ดี แม้วา่ ความไม่พอใจ หรือความโกรธนัน ้ จะจัดว่าเป็ น


พยาบาทก็จริง แต่จำาเป็ นจะต้องแยกออกไปว่าพยาบาทท่ีเป็ นกายคัน
ถะ ไม่จัดเป็ นมโนทุจริต ทัง้การให้ผลก็มก
ี ำาลังน้อยนัน ้ อย่างหน่ึง
และพยาบาทท่ีเป็ นมโนทุจริต การให้ผลกำาลังมากนัน ้ อีกอย่างหน่ึง
ยกตัวอย่างเช่น

เพราะตนได้อุตส่าห์อดทนทำาการงานมาอย่างเต็มความสามารถ ด้วย
หวังว่าเจ้านายจะให้เงินเดือนขึ้นก็ไม่ได้ดังท่ีตัง้ใจเอาไว้ จึงบังเกิด
ความโกรธความเสียใจ
เพราะว่าได้อุตส่าห์อดทนประจบเจ้านายเสียยกใหญ่ ด้วยหวังว่าเจ้า
นายจะได้เห็นใจแล้วจะได้เงินเดือนขึ้น แต่ก็ล้มเหลว จึงได้มีความ
เศร้าหมองเร่าร้อนใจ ไม่พอใจ

เพราะว่าค้าขายหรือทำาธุรกิจอะไร คิดว่าคงจะได้กำาไรดี แต่กลับพลัง้


พลาดขาดทุนมากมาย ด้วยมีผู้คดโกง จึงได้เสียใจทุกข์ร้อน

เพราะได้ค้นคว้ามานานว่า คนทำาบาปทำาบุญแล้ว จะให้ผลได้แในชาติ


นีเ้ท่านัน
้ ให้ผลในชาติหน้าไม่ได้ คนตายแล้วก็ต้องสูญไป ด้วยว่า
อุปนิสัยใจคอหรือจิตนัน ้ มาจากยีนส์ท่ีแฝงประจำาอยู่ในเซลล์ต่างหาก
ก็มีผู้มาขัดคอ จึงมีความโกรธ

เพราะได้ประกาศไปว่า พระเจ้าหรือพระพรหมนัน ้ เป็ นผู้สร้างโลก


สร้างสัตว์และสร้างส่ิงสารพัดทัง้ปวง ก็กลับมีคนมาถามว่า ใครสร้าง
พระเจ้า ใครสร้างพระพรหมจึงได้เกิดความไม่พอใจ

เพราะว่าเสียเงินไปหลายสิบ อุตส่าห์ไปเสริมสวยท่ีร้านท่ีมีช่ือเสียง
ทัง้แต่งตัวเสียอย่างประณีตด้วยเส้ือผ้าชุดใหม่เอ่ียม หวังว่าจะให้สามี
ชมว่า "สวย" สักคำา สามีก็มิได้มีความสนใจ มัวยุ่งอยู่กับอะไรท่ีไม่
เป็ นเร่ ือง มีตาเสียเปล่าหาได้มีแววไม่ จึงไม่มีความพอใจ

ด้วยอำานาจของโลภะ คือความยินดีติดใจในอารมณ์ต่างๆ แล้วไม่ได้


สมใจ ด้วยอำานาจของทิฏฐิ ความเห็นผิดของตนท่ีมีผู้ไม่เห็นด้วย
และด้วยมานะ ความอยากใหญ่ยกตนว่าเก่ง ว่าดีกว่าคนอ่ ืน แล้วไม่
บังเกิดผล จึงได้เป็ นเหตุบันดาลใจให้เกิดพยาปาทะขึ้นมา ได้แก่
ความไม่พอใจ ความเสียใจ ความโกรธ

ถ้าความไม่พอใจ ความเสียใจ ความโกรธท่ีเกิดขึ้นแล้วก็แล้วกันไป


ไม่เอามาผูกไว้ในใจ ครุ่นคิดเคียดแค้นไม่รู้แล้วรู้รอด ก็จะเป็ นพยา
ปาทกายคันถะ คือโทสะท่ีเป็ นไปตามธรรมดาสามัญ มีกําลังไม่มาก
ไม่เรียกว่า มโนทุจริต

แต่ถา้ ความไม่พอใจ ความเสียใจ ความโกรธท่ีเกิดขึ้นนัน ้ ได้กลายเป็ น


ความผูกแน่นท่ีเรียกกันว่า ผูกใจโกรธแค้นครุ่นคิดท่ีจะให้ผู้ท่ีตน
โกรธ หรือไม่พอใจ พินาสย่อยยับไปแล้ว ความโกรธนีก ้ ็จะกลายเป็ น
มโนทุจริต มีกำาลังมากสามารถให้ผลในปฏิสนธิกาลได้ เช่นคิดโกรธ
แค้นหรือไม่พอใจอยู่ไม่เว้นว่าง คืออดคิดไม่ได้ อยากจะให้ผท ู้ ่ีทำาให้
ตนไม่พอใจนัน ้ พินาศย่อยยับหรือล้มตายลงไป บางทีกถ ็ ึงกับแช่งชัก
หักกระดูก เจ็บแค้นอยู่ในใจ ไม่ได้หยุดหย่อนเลย หรือเฝ้ าครุนคิด
เดือดแค้นไม่รู้แล้วไม่รู้รอด เพราะด้วยไม่มีความเข้าใจเร่ ืองของชีวิตท่ี
ลึกซึ้ง

เม่ ือเผชิญต่อปั ญหาของชีวิตแล้วก็หาได้เข้าใจไม่กลับคิดแต่ในแง่ร้าย


คิดแต่เร่ ืองของคนอ่ ืนหรือส่ิงอ่ ืนว่ามาทำาให้ตนได้รับความเสียหาย
หรือไม่สบาย ไม่ได้อะไรสมความปรารถนา ทัง้นีก ้ ็เพราะไม่ทราบว่า
ตนเองนัน้ มีส่วนอยู่ด้วยมากน้อยสักเท่าใดในความไม่สมความ
ปรารถนานัน ้ ๆ

ด้วยเหตุนีเม่
้ ือนาย ก. กับ นายข. มีความโกรธแค้นพยาบาทอาฆาต
ซ่ึงกันและกัน ต่างก็ผูกใจโกรธแค้นท่ีจะให้อีกฝ่ ายหน่ึงเสียหายให้
มากเท่าใดก็ย่ิงดี แต่ในขณะนีต
้ ่างก็ไม่ได้แกล้ง ไม่ได้จ้างใครให้ไปทำา
อันตรายต่อกัน

วันหน่ึงมีคนมาเล่าให้นาย ก. ฟั งว่า เม่ ือวานนีบ


้ ้านของนาย ข. ถูก
ไปเผาเสียจนเกลีย้ งไม่มีเหลือเลย ข้าวของอะไรก็เอาออกมาไม่ทัน
แม้แต่อย่างเดียว นาย ข. คงจะสิน ้ เน้ือประดาตัวกันในคราวนีเ้ป็ นแน่
นาย ก. ได้ยินดังนัน้ ก็หัวเราะชอบใจ เหมาะสมกับเจตนาท่ีผูกความ
เจ็บแค้นเอาไว้ในใจมาเป็ นเวลานานท่ีอยากจะให้ นาย ข. ย่อยยับ
อับจน ก็เพ่ิงจะสมความปรารถนาในวันนีเ้อง

ความคิดความปรารถนาจะมุ่งร้ายทำาลายผู้อ่ืนนัน ้ แม้แต่เพียงเป็ นการ


คิดขึ้นมาในใจเฉยๆ ยังมิได้แสดงออกทางกายหรือทางวาจาแต่
ประการใดก็จริง หรือผู้อ่ืนจะมิได้ถูกทำาให้เสียหายประการใดเลย
ก็ตาม แต่โทสะนีเ้ป็ นโทสะชนิดหยาบมาก มีกําลังแรงมาก จึงได้มี
ความสามารถเข้ามากระทบใจให้คุกรุ่นอยู่เสมอ แล้วเสริมสร้าง
้ ๆ เหมือนเพลิงท่ีเผาผลาญบ้านเรือนท่ีถูกโหมด้วย
กําลังให้มากขึน
กำาลังแรงของลมจนเป็ นเหตุทำาให้ลุกโชติช่วงขึ้นมา ด้วยเหตุดังกล่าว
โทสะชนิดนีจ้ึงจัดว่าเป็ นพยาบาทมโนทุจริต

เม่ ือเหตุท่ีได้ก่อขึ้นมีกำาลังแรงมากแล้วดังนี จ้ะให้ผลท่ีเกิดขึ้นลด


กำาลังแรงให้เหลือน้อยลงไปได้กระไรได้ ดังนัน ้ อํานาจของความผูก
โกรธ จึงได้มีความสามารถท่ีจะให้ผลได้ในปฏิสนธิกาล

นอกจากจะให้ผลได้ในปฏิสนธิกาลแล้ว ด้วยกําลังแรงของความผูก
ใจคิดเคียดแค้นชิงชังนี ก
้ ็อาจก่อให้เกิดผลร้ายท่ีรุนแรงขึน้ มาได้โดย
ง่ายดายในชาติปัจจุบัน เช่น ดุด่าว่ากล่าวอย่างชนิดท่ีเรียกว่า สาดเสีย
เทเสียออกไป อาจจะตบตีชกต่อยทำาร้ายร่างกายเอาซ่ึงๆ หน้า อัน
เป็ นการแสดงถึงกิเลสอย่างหยาบ คือวีติกกมกิเลสขึ้นมาอย่างชัดแจ้ง
แล้ว นอกจากนี อ ้ าจจะค้นคิดหาหนทางจอง
วางแผนการณ์ท่ีจะสังหารผู้ท่ีตนผูกโกรธนัน ้ ให้ได้รับการทรมานไป
จนถึงแก่ความตายเสียเลยก็ได้ หรือคิดร้ายจนถึงจะทำาลายล้างเสียทัง้
ครอบครัวก็มีตัวอย่างอยู่ปีหน่ึงๆ ไม่น้อยราย

องค์แห่งพยาบาทนัน
้ มีอยู่ ๒ คือ

๑. ปรสตฺโต ผู้อ่ืน
๒. วินาสจินฺตา คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้น
บุคคลใดกระทำาจิตใจของตนให้บังเกิดโทสะขึ้นมาครบองค์ทัง้ ๒ แล้ว
ก็เป็ นอันว่าล่วงกรรมบถ เป็ นพยาบาทมโนทุจริต ซ่ึงมีกำาลังมาก ถ้า
มิได้ครบองค์ทัง้ ๒ ก็ไม่ล่วงกรรมบถให้ผลมีกำาลังอ่อน

ด่าว่าผู้อ่ืนนัน้ ก็อาจจะมีบางท่านเกิดความสงสัยขึ้นมาได้เหมือนกัน
ว่า ผู้อ่ืนนัน้ กินความแค่ไหน เพราะว่าในบางครัง้บางคราวในบางคน
ก็คิดโกรธแค้น หรือเจ็บใจตัวเองท่ีทำาอะไรไม่ได้ดังใจ หรือประสบโชค
ร้ายไม่ได้หยุดไม่ได้หย่อน หรือพยายามทำาดีอย่างเต็มความสามารถ
แล้ว ก็ไม่มีใครเห็นความดีของตนเลยแม้แต่น้อย หรือพยายามทำา
ธุรกิจการงานอย่างเต็มท่ี สู้เหน็ดเหน่ ือยเม่ ือยล้าทนทุกข์ทรมาน
อย่างแสนสาหัส เพ่ ือหวังจะให้ตัง้ตัวได้จากเวลาอันเน่ินนานมาจนถึง
บัดนี ก ้ ็ยังมองไม่เห็นทีท่าว่าจะตัง้ตัวได้เลยสักที

หรือผู้เจ็บป่ วยเร้ือรังทุกข์ทรมาน ได้รับความลำาบากมากทัง้กายและ


ใจทนไม่ไหว เกิดความน้อยใจขึ้นมาจึงได้ครุ่นคิดท่ีจะทำาลายตัวเองอยู่
เสมอ พยายามฆ่าตัวให้ตายเสียให้รแ ู้ ล้วรู้รอดไป บางทีกห
็ ลายครัง้
แต่มีผู้ช่วยให้รอดขึ้นมาก็หลายหน ในท่ีสุดก็กระทำาจนสำาเร็จสมกับ
ความตัง้ใจดังนี้ บุคคลดังกล่าวจะจัดว่าเป็ นพยาบาทครบองค์ทุจริต
เป็ นการล่วงกรรมบถหรือไม่?

ในเร่ ืองนี ม
้ ีคาถาท่ีแสดงถึงองค์ของอภิชฌาและพยาบาทว่า

ทฺเว ภิชฺฌาย ปรภณฺฑำ อตฺตโน ปริณามนำ

พฺยาปทสฺส ปรสตฺโต ตสฺส วินาสจินฺตตำ

แปลความว่า องค์แห่งอภิชฌามี ๒ คือ สมบัติของผู้อ่ืนอย่างหน่ึง มี


จิตคิดอยากได้ให้เป็ นของตนโดยไม่ชอบธรรมอย่างหน่ึง
องค์แห่งพยาบาทมี ๒ คือ ผู้อ่ืนอย่างหน่ึง คิดให้ความเสียหายเกิด
ขึ้นอย่างหน่ึง

ด้วยหลักการจากคาถานี ท ้ า่ นนักศึกษาก็จะเห็นได้ว่าการท่ีคิดทําลาย
ตัวเองนัน
้ ไม่ล่วงอกุศลกรรมบถ เพราะขาดไปเสียองค์หน่ึงท่ีว่า
ปรสตฺโต อันหมายถึงผู้อ่ืน

ถ้าจะพิเคราะห์ด้วยดีแล้วก็จะเห็นว่า ผูท ้ ่ีพยายามคิดฆ่าตัวตายนัน



แม้วา่ จะได้มีความเสียใจ วิตก ทุกข์ร้อน บังเกิดโทสะอย่างแรงกล้า
หรือได้รับทุกขเวทนาสาหัสเพียงใดก็ดี เม่ ือเป็ นตัวของตัวเองเสียแล้ว
ก็มิได้เก่ียวพันไปถึงยังผู้อ่ืน ผู้อ่ืนก็มิได้มีความเสียหายประการใดทัง้
ในขณะนัน ้ และในโอกาสต่อไป จึงมีกำาลังแรงไม่มากนัก ไม่เท่าเป็ นผู้
อ่ ืนท่ีถูกผูกโกรธเอาไว้ จึงไม่ล่วงอกุศลกรรมบถ
อย่างไรก็ดี แม้จะมีกำาลังของอกุศลนีไ้ม่มาก ไม่จัดว่าเป็ นมโนทุจริตก็
จริง แต่ถา้ ได้เกิดขึน
้ มาอยู่เสมอๆแล้ว กําลังของแต่ละครัง้ๆ นัน ้ ก็จะ
้ และเม่ ือกำาลังเพ่ิมพูนขึ้นมาแล้ว ก็บังเกิดความ
เพ่ิมพูนย่ิงขึน
สามารถดึงดูดชักชวน หรือเป็ นปั จจัยสนับสนุนบันดาลใจให้อกุศล
ทุจริตท่ีเป็ นฝ่ ายโทสะ เช่นเคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอาไว้ในอดีตด้วยความ
โหดร้ายทารุณเป็ นต้น อารมณ์แห่งความสันทัดจัดเจนท่ีเคยได้กระทำา
มาก็จะเกิดขึ้เป็ นอารมณ์ให้ตัดสินใจให้ทำาได้โดยง่ายแล้ว การฆ่าสัตว์
ตัดชีวิตนัน้ ก็จะเป็ นตัวการส่งไปสู่การปฏิสนธิในอบายภูมิอีกทีหน่ึง

ในเร่ ืองนี ถ ้ ้ ความคิ


าจะเปรีดยอ่บเที
านยบให้เห็นได้ง่ายๆก็คือ
ทําลายตนเองนัน ้ มีกําลังน้อย เหมือนผู้ร้ายชัน้ ลูกน้อง คิดจะไปปล้น
หลังใหญ่ท่ีร่ำารวย มีทรัพย์สินเงินทองมากก็จริง แต่เขาก็มีเคร่ ือง
ป้ องกันทรัพย์สินเงินทองแข็งแรง มีผู้ดูแลหลายคน ทัง้มีอาวุธดีๆ ใช้
จึงเป็ นการเกินกำาลังความสามารถของลูกน้องชัน ้ เลวของผู้ร้าย ด้วย
เหตุนี ล ้ ู กน้องผู้ร้ายจึงผู ้ซ่ึงมีคกวามคิ
ชวนลู พ่ีหรือดหัวหน้าผู้ร้าย
ดี มีวิธีการแยบคาย คือมีชัน ้ เชิงมาก ทัง้อาวุธท่ีทันสมัยก็มีหลาย
อย่างเข้ามาทำาการปล้นจนบังเกิดความสำาเร็จ
ผู้พยายามคิดฆ่าตัวตายนัน ้ ย่อมมจะมีความเศร้าเสียใจ หรือมีความ
ทุกข์เข้ามาทับถมอย่างหนักหน่วงรุนแรง แล้วย่อมจะคิดถึงเร่ ืองท่ีตน
ทุกข์ร้อนนัน ้ อยู่เสมอ ไม่มีความแยบคายในใจท่ีจะหลีกเล่ียงเสียได้
ด้วย ไม่ยอมท่ีจะศึกษาเร่ ืองของชีวิตเสียให้เข้าใจตลอดเวลาแห่งความ
คิดถึง ท้อถอย เบ่ ือหน่ายชีวิตคิดทำาลายตัวเองอยู่นัน ้ ก็ได้ช่ือว่า ได้
ชักชวนอกุศลเก่าๆ ต่างๆ ท่ีตัวได้ทําไปแล้ว ให้เกิดคิดขึน ้ มาใหม่อยู่
เสมอ

ก็เหมือนคนท่ีร้องไห้เสียใจแล้วรำาพันถึงอดีตเลวร้ายของตน ขุดค้น
ความทุกข์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นมาซ้ำาๆ อีกหลายๆ หน ถ้าอกุศลเก่าๆ
เหล่านัน้ เข้ามาพัวพันอยู่แล้ว ซ่ึงอดท่ีจะเข้ามาพัวพันไม่ได้ เพราะเป็ น
สายทางเดินทางเดียวกัน ผู้ฆา่ ตัวตายก็หนีไปจากอบายภูมิไม่พ้น โดย
อาศัยอกุศลท่ีได้ทำาไปแล้วท่ีมก ี ำาลังมากในอดีตเข้ามาเป็ นตัวส่งให้
ปฏิสนธิอีกทีหน่ึง ด้วยเหตุนีเ้อง จึงเป็ นท่ีหวาดเกรงหรือหวาดกลัว
สำาหรับผูท้ ่ีมีความเข้าใจได้ศึกษาความจริงของเร่ ืองชีวิต เพราะว่า
แทนท่ีผู้ฆ่าตัวตายท่ีหนีร้อนมานัน ้ จะได้พ่ึงเย็น กลับไม่ได้พ่ึงสมใจ
เพราะไปโดนร้อนเข้าเสียอีกอย่างหลีกเล่ียงได้แสนยาก มิหนำาซ้ำาอาจ
จะเร่าร้อนย่ิงกว่าเดิมแล้วเสวยความเร่าร้อนทุกข์ทรมานนัน ้ นานมาก
ขึ้นด้วย จึงจัดว่าเป็ นบุคคลท่ีน่าสงสารเป็ นอย่างย่ิง
ใครๆ ต่างก็รักชีวิตของตนเอง ใครๆ ต่างก็หาหนทางท่ีจะให้ชีวิตของ
ตนรอดและปลอดภัยเท่าท่ีจะทำาได้ และไม่ว่าใครทัง้นัน ้ ต้องดิน้ รน
ขวนขวาย ยอมเสียสละทุกประการเพ่ ือหาหนทางให้ตนรอดจาก
อันตรายแล้วได้ความสุข แต่ทำาไมเล่า ในบางคนจึงได้คิดท่ีจะทำาลาย
ล้างชีวิตของตนเอง บางคนมีผู้ช่วยให้พ้นจากความตายไว้ได้หลาย
ครัง้แล้วก็ยังคงพยายามอยู่อีก
ใครๆ พากันพูดว่า ก็ทำาไมเล่าเขาจึงจะไม่เกิด เพราะความทุกข์ความ
เสียใจท่ีได้รับนัน
้ เข้ามาบีบบังคับเค่ียวเข็ญ ทำาไมเล่าเขาจะไม่เสียใจ
ขนาดหนัก เพราะภรรยาไปมีชู้สู่ชายท่ีหนุ่มกว่า แล้วทิง้ลูกน้อยให้พ่อ
เลีย
้ งเอาไว้ตัง้หลายคน หรือทำาไมเล่าเขาจะทนอยู่ไหว เพราะหนุ่มรูป
หล่ออันเป็ นเทพบุตรของตนย้ายวิมานไปสมสู่อยู่กับนางฟ้ าคนใหม่
หรือว่าทำาไมเล่าเขาจึงคิดทำาธุรกิจอันใด ก็มมีแต่ความล้มเหลวจนใน
ท่ีสุดถึงขาดทุนล้มละลาย ใครเลยจะบังคับไม่ให้เสียใจได้ ใครเลยจะ
ทนทุกข์ทนความเร่าร้อนอยู่ไหวจึงเป็ นเหตุให้คิดทำาลายตนเอง

แต่ละคนก็อยากได้รับความสุข เม่ ือต้องการอะไรก็อยากได้ส่ิงท่ีตน


ปรารถนา ดังนัน้ หลายคนก็ได้ทิง้ความหวังเอาไว้โดยอธิษฐาน หรือ
เขียนหนังสือเอาไว้ว่า ถ้าชาติหน้ามีจริง ขอให้ได้พบกันอีก หรือ
อธิษฐานว่า ชาตินีไ้ม่มีโอกาสพบกันเสียแล้ว ขอให้ได้พบกันในชาติ
หน้า จะได้ทำาการเข่นฆ่ากันให้สมใจ จะต้องทรมานเสียให้เป็ นการ
ใหญ่ แล้วจึงจะฆ่าให้ถึงแก่ความตายในภายหลัง จึงจะสาสมกับความ
แค้น

น่าประหลาดหรือไม่ คนท่ีมีเร่ ืองราวเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ตัดสินใจ


ทำาลายชีวิตของตนเอง ดูแล้วไม่เห็นเหตุผลเลย เช่น เพียงเร่ ืองการ
สอบไล่ตก หรือคู่รักต้องพลัดพรากจากกัน หรือพ่อแม่หา้ มไม่ให้ไป
เท่ียว

ไม่เป็ นการน่าอัศจรรย์ดอกหรือท่ีเร่ ืองเกิดขึ้นมาใหญ่โตเหลือเกิน แต่


ไม่ยอมคิดท่ีจะฆ่าตัวตาย เช่น ป่ วยเจ็บเร้ือรังทุพพลภาพมานับสิบๆ ปี
ทัง้อดม้ือกินม้ือ ได้รับความยากแค้นแสนสาหัส หรือต้องเสียหาย
มากมายในธุรกิจ เช่น ล้มละลาย หรือพ่อแม่บุตรภรรยาล้มตายลงไป
ติดๆ กัน

ครัง้หน่ึง เม่ ือสมัยท่ีถนนสิบสามห้างข้างวัดบวรนิเวศน์วิหาร


พระนคร มีตลาดแผงลอยค้าขายกันอยู่เต็ม เป็ นร้านขายอาหารต่างๆ
สารพัดอย่างนัน ้ วันหน่ึงผมนัง่รับประทานอาหารอยู่ ได้เห็นคน
ขอทานเดินกะโผลกกะเผลกเข้ามา รูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ ใคร
เห็นก็ต้องตกใจ เพราะท่ีหน้าบวมอูมเป็ นเม็ดๆ โตบ้างเล้กน้อย จนดู
แล้วแทบจะไม่เป็ นหน้าของคน ทัง้มือและเท้าก็กุดเข้าไป จนมองไม่
เห็นเป็ นรูปนิว้

ผมได้ยินคนขายอาหารหลายแห่งไล่ให้ออกจากร้านกันเอะอะ ร้าน
ไหนร้านไหนต่างก็ไล่ให้ออกไป เขาต่างพากันพูดว่า "ซวย" ขืนเข้า
มาแล้วขายของไม่ดี แต่ร้านท่ีผมรับประทานอาหารอยู่เป็ นคนใจบุญ
เม่ ือขอทานขีเ้ร้ือนเข้ามาก้เอาข้าวและกับข้าวทิง้ลงไปในชาม ด้วยไม่
กล้าแตะต้องภาชนะนัน ้ แล้วพูดว่า ไม่เอาสตางค์ดอก แต่ขอให้ออก
ไปจากร้านเสียเร็วๆ ผมได้ถามขอทานโรคเร้ือนคนนีว้่า ทําไมจึงไม่
มาขอทานในเวลาท่ีคนเขาไม่ได้เข้ามารับประทานอาหารเล่า
ขอทานตอบผมว่า ผมไม่ได้มาขอทานดอกครับ ผมมีสตางค์ซ้ือ
เพราะผู้ใจบุญเขาบริจาค ผมนัง่ขอทานอยู่ทข ่ี ้างกำาแพงวัดบวรฯ แต่
ตามร้านอาหารต่างๆ เขาไม่ยอมขาย ความจริงผมก็เอาชามมาใส่ไป
รับประทานท่ีอ่ืน ไม่เคยขอนัง่ในร้านเลยแม้เต่สักครัง้เดียว แล้วก็ได้
เลือกเอาเวลาท่ีคนมาซ้ือน้อยท่ีสุดอยู่แล้ว เจ้าของร้านเขาว่าขืนขาย
ให้ขีเ้ร้ือนแล้วซวย ส่งสตางค์ให้เขาก่อนเขาก็ไม่กล้าหยิบ กลัวจะติด
เช้ือโรค ผมกว่าจะได้กินข้าวท่ีซ้ือเอาด้วยสตางค์ของตัวเองแต่ละม้ือ
น้ำาตาแทบร่วงทุกๆ วันทัง้ ๓ เวลา ได้อาศัยร้านนีแ ้ หละขอรับจึงไม่ถึง
อดตาย

ผมได้ฟังเร่ ืองแล้วก็เกิดความสนใจ ได้ถามว่า เข้ากับใครเขาก็ไม่ได้


ติดต่อกับใครๆ เขาก็ไม่สำาเร็จ ได้รับความเดือดร้อนถึงเพียงนี้ เคยคิด
ฆ่าตัวตายบ้างหรือเปล่า

ขอทานได้ตอบอย่างมีหลักธรรมว่า ก็เคยคิดบ้างเหมือนกันขอรับ แต่


ไม่กล้าทํา เพราะชาตินีก ้ ็ลําบากถึงเพียงนีแ
้ ล้ว
บุคคลผู้ซ่ึงมิได้ศึกศสเร่ ืองของชีวิตจากพระอภิธรรมปิ ฎกให้มีความ
เข้าใจ ย่อมจะไม่ทราบว่า ความครุ่นคิด เสียใจ ทุกข์ร้อนอย่างแสน
สาหัสของบางคนนัน ้ เหตุใดจึงมิได้จูงใจให้อยกาฆ่าตัวตาย แต่ความ
ทุกข์ความเดือดร้อนเล็กๆ น้อยๆ ท่ีไม่น่าจะคิดให้มากเลย กลับก่อ
ให้เกิดความคิดทําลายตัวเองขึน ้ มา แล้วเหตุไฉน จึงมีใจกล้าท่ีจะ
กระทำาแก่ชีวิตอันเป็ นท่ีรักของตนเองได้

สัตว์ทัง้หลายย่อมมีความรักชีวิตของตนย่ิงกว่าส่ิงใด ย่อมไม่อาจขาย
ชีวิตของตนได้ในราคาแม้จะมากสักปานใด สู้อุตส่าห์พากเพียร
พยายามทะนุถนอมอย่างสุดกำาลังในวิถีทางท่ีจะรักษาให้ชีวิตของตน
รอด และปลอดภัยเท่าท่ีจะทำาได้ แต่เหตุไฉนกำาลังอันใดคงจะมิใช่
เล็กน้อยเลย ท่ีมีความสามารถบีบบังคับให้ฆาตกรรมตัวเองลงไป

จะว่าความทุกข์ความเสียใจท่ีได้รับแต่เพียงเท่านัน
้ ท่ีเป็ นสาเหตุอัน
สําคัญ กําลังคงจะไม่พอเพียงเป็ นแน่ หาไม่แล้ว คนท่ีมีความทุกข์
ความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสอีกมากมายก่ายกองก็คงจะฆ่าตัวตาย
เสียหมดแล้วในเร่ ืองนี ว้ท
ิ ยาการในทางโลกย่อมให้ความกระจ่างไม่
ได้เพียงพอ

จิตของบุคคลย่อมจะสั่งสมกรรมท่ีกระทําทัง้ดีและชั่ว คือบุญและ
บาปเอาไว้ถ้ากรรมท่ีได้กระทำาลงไปแล้วนัน ้ มีกำาลังมาก กรรมท่ีมี
กำาลังมากเหล่านัน ้ ก็ย่อมจะกระทบกระเทือนใจอยู่เสมอ เช่น สามี
ภรรยาท่ีทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างรุนแรงลงไปแล้ว อํานาจแห่งความ
โกรธความเสียใจท่ีเกิดขึน ้ มาแล้วนัน
้ ย่อมจะเก็บประทับเอาไว้
ภายในจิตใจมิได้สูญหายไปไหน แล้วก็จะเป็ นปั จจัยคือความโกรธ
ความเสียใจ หรือเจ็บใจท่ีแต่ละฝ่ ายได้เก็บเอาไว้นัน้ จะออกมากระทบ
ใจให้ต้องต่ ืนลืมตาโพลงอยู่บนท่ีนอน กำาลังแรงของกรรมจากการ
ทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างรุนแรงนัน ้ มีกำาลังมากเพียงพอแล้วกระทบ
ใจอยู่เสมอ จึงต้องต่ ืนอยู่จนดึกจนด่ ืน หรือหลับไม่สนิท

เม่ ือได้ทราบแน่ว่า จะได้ไปต่างประเทศ ก็ได้รับเร่ ืองราวมากมายจาก


บรรดาเพ่ ือนฝูงทัง้หลาย ว่าประเทศนีม ้ ีอะไรท่แ
ี ปลกตาแปลกใจ
มากมาย มีท่ีๆ เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นท่ีน่าสนใจ น่าสนุกสนาน
เพลิดเพลิน สมควรท่ีจะเข้าไปหาความรู้ เข้าไปดูให้ได้จึงจะไม่เสียทีท่ี
ได้มีโอกาสเดินทางมาจนถึง

ในคืนวันนัน ้ ก่อนออกเดินทางเราก็จะนอนหลับสนิทได้ยาก ทัง้นีก ้ ็


เพราะเร่ ืองราวทัง้หลายท่ีแปลกหูแปลกตาท่ีได้ทราบแล้วเก็บติดใจมา
ได้กระทบใจอยู่ตลอดเวลา ดังนัน ้ จึงได้นอนลืมตาแล้วก็คิด คิด คิด
จนดึกด่ ืนเลยเท่ียงคืนไป

อํานาจของกรรมท่ีได้ทําเอาไว้ตัง้แต่ชาติก่อน อันได้เก็บติดใจมา ถ้ามี


กําลังมากก็ย่อมจะให้ผลก่อน จะเป็ นปั จจัยให้รับผลตามท่ีได้จงใจ
หรือเจตนาเอาไว้ เช่น เม่ ือชาติท่ีแล้วๆ มาเคยชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่
เสมอๆ เคยชอบออกป่ าล่าสัตว์อยูบ ่ ่อยๆ หรือชอบยิงนกตกปลา หรือ
ฆ่าสัตว์เป็ นอาชีด ซ่ึงทำาเป็ นอาชีพ

อันการกระทำาทัง้หมดเล่านีย ้ ่อมจะแฝงไว้ซ่ึงเจตนา คือปรารถนาให้


สัตว์นัน
้ ตายเสียก่อนถึงเวลาอันสมควร เจตนาให้สัตว์เจ็บปวด ทัง้นี้
ไม่ว่าจะเป็ นเจตนาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ตาม อำานาจหรือความ
ปรารถนาให้สัตว์ตาย ปรารถนาให้สัตว์เจ็บปวดท่ีติดมาตัง้แต่ชาติ
ก่อนๆ เม่ ือได้โอกาสเพราะกุศลผลบุญท่ีอุปถัมภ์ค้ําจุนอยู่ลดกําลังลง
จึงได้เป็ นปั จจัยสนับสนุนหรือบันดาลใจให้คิด คิด คิด ไม่อยากท่ีจะมี
ชีวิตต่อไป หรือคิดฆาตกรรมตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ ทัง้ๆ ท่ีเร่ ืองราว
ทุกข์ร้อนหรือเหตุในชาติปัจจุบันนี จ ้ ะมีเพียงเล็กน้อยเช่นเพียงพ่อ
แม่ดุด่าว่ากล่าวเท่านัน
้ ก็ตาม

อํานาจพิเศษท่ีซ่อนเร้นไว้อย่างมิดชิดในจิตใจเช่นนี เ้รียกว่าอกุศล
กรรม จะมากระตุ้นเตือนใจให้คิดอากตายอยู่เสมอ อาจจะต้องการ
ตายด้วยอาวุธมีคม หรือกินยาตายก็ได้ แล้วแต่อำานาจเร้นลับจาก
กรรมเหล่านัน ้ จะมาอุดหนุนบันดาลใจ ทำาให้อดคิดไม่ได้ทัง้กลางวัน
กลางคืน บางคนวันแล้ววันเล่านับเดือนนับปี จนสุดท่ีจะอดทนต่อส่ิง
ท่ีมาเร้านัน
้ ไม่ไหว ในท่ีสุดก็จะฆ่าตัวตายลงจนได้

เร่ ืองนีบ
้ างทีก็เป็ นเหตุใกล้ให้หลายท่านตัง้คำาถามว่า ทำาไมหนอ?
ทำาไมหนอ? เร่ ืองเพียงเล็กน้อยเท่านีเ้อง ไฉนจึงได้คิดการใหญ่จนถึง
กับฆ่าตัวเองตายได้

ท่านสาธุชนทัง้หลาย ผมได้บรรยายถึงอกุศลกรรมบถมโนกรรมตัวท่ี
๒ คือ พยาปาทะ อันได้แก่พยาบาทมาแล้วตัง้แต่ต้น ท่านก็จะเห้นได้
ว่า แม้จะเป็ นการคิดขึ้นมาในใจ ยังมิได้ทำาอะไรลงไป ยังมิได้
แสดงออกทางกาย ทางวาจา แต่ถึงกระนัน ้ ก็มีกำาลังมิใช่เล็กน้อย ถ้า
หากว่าความครุ่นคิดเหล่านัน
้ มีความปรารถนาท่ีจะให้ผู้อ่ืนบังเกิด
ความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นมา

บัดนีเ้วลาแห่งการบรรยายก็ได้สิน ้ สุดลงแล้ว ทำาให้ท่านท่ีตัง้ใจจะถาม


ปั ญหาต่างๆ ตามท่ีเคยมา ไม่ได้ถาม แต่ผมได้ตอบคำาถามเร่ ืองการฆ่า
ตัวตายตามท่ีท่านนักศึกษาผู้หน่ึงได้ถามมาแต่วันก่อนแทนแล้ว หวัง
ว่าท่านทัง้หลายคงจะได้ติดตามรายการแสงสว่างของชีวิตนีต ้ ่อไป
และถ้าท่านผู้ใดได้ตัง้ปั ญหาต่างๆ ขึน
้ มาถามในคราวต่อไป กมก็มี
ความยินดีท่ีจะตอบปั ญหาเหล่านัน ้ แก่ท่าน ในคราวหน้าพบกันใหม่
ด้วยเร่ ืองอกุศลมโนกรรมตัวท่ี ๓ คือ มิจฉาทิฏฐิต่อไป

คําบรรยายพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทท่ี ๑ (ครัง้ท่ี ๑๖)


ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันท่ี ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๘

เม่ ือสัปดาห์ก่อน ผมได้อธิบายถึงอกุศลกรรมบถในมโทวารตัวท่ี ๑


และตัวท่ี ๒ คือ อภิชฌา และพยาปาทะ ว่าได้แก่ความยินดีติดใจใน
อารมณ์ และความโกรธ ความเสียใจ เป็ นต้น

อภิชฌานัน ้ ได้แก่ความติด ความทะยานอยากในอารมณ์ต่างๆ ถ้าลง


ได้ติดใจในอารมณ์แล้วก็ย่อมจะก่อให้เกิดความดิน
้ รนท่ีจะให้ได้มาให้
สมอยากอันเป็ นทุกข์ และมีโอกาสไปสู่อบายภูมิโดยไม่ยากเย็นเลย

นอกจากนัน ้ ยังได้แสดงถึงพยาปาทะว่า ถ้าหากผู้ใดบังเกิดความโกรธ


ความเคียดแค้นขึ้นมาแล้ว ก็มีความผูกโกรธเอาไว้ในใจ ครุ่นคิดโกรธ
แค้น คิดตอบแทน อาฆาตหรือคิดร้ายต่อผู้ท่ีมาทำาให้ตนไม่พอใจไม่รู้
แล้วรู้รอด ย่อมจะได้ช่ือว่า เป็ นผู้ท่ีจะได้รับผลร้ายจากการผูกใจโกรธ
แค้น จัดเป็ นพยาบาทมโนทุจริตท่ีมีกำาลังมาก

สำาหรับในวันนี ผ ้ มจะได้บรรยายถึงมโนทุจร
ว่า มิจฉาทิฏฐิ คือความคิดเห็นท่ีผิดออกไปจากความจริง

ใครๆ ก็ทราบดีว่า การทำาบุญ ให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา


นัน
้ เป็ นมหากุศล ต่างก็พากันส่งเสริมสนับสนุนให้บังเกิดมีในตน
และญาติมิตรของตนให้มากท่ีสุดเท่าท่ีจะทำาได้ เพราะมหากุศลทัง้
หลาย ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ก่อให้เกิดความสุขสบาย
ตลอดจนความเยือกเย็นใจ จะได้ผลทัง้ในชาตินี ช ้ าติหน้าและชาติ
ต่อๆ ไปด้วย

อย่างไรก็ดี แม้มหากุศลทัง้หลายดังได้กล่าวมาแล้ว จะให้ผลอันเป็ น


ประโยชน์แก่ผู้กระทำามากก็จริง แต่มหากุศลนัน ้ ก็ยังมีระดับชัน

เพราะยังมีมหากุศลท่ีสำาคัญมากท่ีสุดอยู่อีกอย่างหน่ึงท่ีบค
ุ คลส่วน
มากมองข้ามไปเสีย นัน่ ก็คือ มหากุศลท่ีเกิดร่วมกับ "ปั ญญา" อัน
้ มาทําลายความเห็นผิดของตนเองให้หมดไป แต่ทำาไมเล่า
จะเกิดขึน
หรือด้วยเหตุผลอะไรจึงได้จัดว่า ความเห็นอันถูกต้องนัน
้ มีความ
สำาคัญมากท่ีสุด

ผู้ท่ีมิได้มีปัญญาบารมีติดตัวไป หรือผู้ท่ีมิได้มีความสนใจในเร่ ืองของ


ชีวิต ไม่ทราบเร่ ืองจิต เร่ ืองวิญญาณ ไม่ทราบว่าคนตายแล้วจะเกิดอีก
ได้หรือไม่ ไม่ทราบว่าชีวิตนีม ้ ีความเป็ นมาและจะเป็ นไปอย่างไร ไม่
ทราบว่าผลของกรรมท่ีได้ทำาเอาไว้แล้วนัน ้ จะตามมาสนองผู้กระทำาได้
จริงหรือเปล่า ด้วยเหตุท่ีปัญญามิได้ร่วมประกอบกับจิตท่ีเป็ นกุศล
เสียบ้างเช่นนี เ ้ ม่ ือทำาบุญทำาบาปมากแล้วผล
ไปเม่ ือใดก็จะไปรับผลอันเป็ นความทุกข์หรือได้รับความสุขตามท่ีได้
กระทำาเหตุเอาไว้

ตลอดเวลาแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ต้องแก้ไขปั ญหาให้แก่ชีวิตของ


ตนเองไม่จบสิน ้ วันแล้ววันเล่า ชาติแล้วชาติเล่า และในบางชาติตก
อยู่ในความประมาท ความประมาทท่ีเกิดขึ้นมาเหล่านัน ้ อาจอุดหนุน
ให้กระทำาบาปอันหนักเข้าอีก แล้วก็ต้องไปเกิดเป็ นสัตว์นรกหรือสัตว์
เดรัจฉานต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสวกเวียนกันไปอยู่เช่นนี จ้น
นับชาติไม่ไหวว่าเท่าใด เกิดขึ้นมาแต่ละชาติก็หนีความทุกข์ความ
เร่าร้อนไปไม่รอด

ด้วยเหตุดังกล่าวนีเ้อง ถ้าจิตของผู้ใดมีสติปัญญาติดตัวไป อำานาจของ


ปั ญญาบารมีท่ีได้ติดตัวไปนีเ้อง จะเป็ นหางเสือให้เรือเดินไปสู่ทิศทาง
ท่ีถก
ู ต้อง ไม่วา่ จะไปตกนรก ไม่ว่าจะไปเกิดเป็ นสัตว์เดรัจฉานเป็ น
เวลานานสักเท่าใด ถ้ามีปัญญาบารมีประจําตัวอยู่แล้ว ก็จะช่วยหันเห
ให้มาทิศท่ีจะหลุดรอดไปจากอันตราย หลุดรอกไปจากหายนะได้โดย
เร็ว แล้วในท่ีสุดก็จะได้พ้นไปจากความทุกข์ พ้นไปจากการเวียนว่าย
ตายเกิด ไม่ต้องแก้ปัญหาให้แก่ชีวิตอีกต่อไป ดังนัน ้ ปั ญญาบารมีจึง
ได้นับว่าเป็ นกุศลอันเย่ียมยอดท่ีบัณฑิตทัง้หลายพากันยกย่อง
สรรเสริญ

แต่อย่างไรก็ดี เม่ ือจะศึกษาเร่ ืองของปั ญญา เร่ ืองของความเห็นถูก


ต้องแล้ว ก็ควรท่ีจะทราบถึงความเห็นผิดว่าอย่างไรเสียด้วย ก็จะ
เข้าใจแจ่มแจ้งขึน

คำาว่า มิจฉาทิฏฐิ เม่ ือแยกออกแล้วก็จะได้ ๒ บท คือ

มิจฉา แปลว่า ความวิปริต


ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น
เม่ ือเอาทัง้สองคำามารวมกันแล้วก็ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ แปลว่า ความ
เห็นท่ีวิปริต หมายถึง ความเห็นท่ีผิดไปจากความจริงของสภาว
ธรรม ดังแสดงวจนัตถะว่า

"มิจฺฉา ปสฺสตีติ = มิจฉาทิฏฐิ"


ธรรมชาติใดย่อมมีความเห็นวิปริตอันผิดไปจากความจริง ฉะนัน ้
ธรรมชาตินัน้ ช่ ือว่า มิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก

บัดนี ก ้ ็ คงจะเกิดปั ญหาขึ้นมาว่าความเห็น


ความจริงนัน้ เห็นวิปริตหรือเห็นผิดไปจากความจริงในเร่ ืองอะไร
และความจริงท่ีว่านัน
้ เป็ นความจริงของใคร ผู้ใดเป็ นผู้มีความสามารถ
ตัดสินว่าผิดหรือถูกให้เป็ นท่ียอมรับนับถือโดยทัว่ไปได้

ความเห็นท่ีว่าผิดไปจากความจริงนัน ้ อาจจะผิดไปจากความจริงได้ก็มี
เป็ นอันมาก เช่น เร่ ืองดินฟ้ าอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณี เร่ ือง
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตลอดไปจนถึงวิชาสมุทรศาสตร์
ดาราศาสตร์ จิตศาสตร์ และไสยศาสตร์ เป็ นต้น วิชาไหนศาสตร์ใด
ใครเล่าท่ีว่าตรงท่ีใดผิดไปจากความจริง

เร่ ืองทัง้หลายดังกล่าวมา ก็แก้ไขเปล่ียนแปลงกันมาเป็ นร้อยๆปี


จนถึงบัดนีก ้ ็ยังมิได้ยุติลงไปได้แม้แต่สักวิชาหน่ึง ข้อถกเถียงก็ย่อม
จะเกิดอยู่อีกมากมาย และบางทีก็อาจจะถกเถียงกันไปจนกว่าจะสิน ้
ชีวิต หรือจนกว่าโลกจะแตกก็ยังยุติลงไม่ได้

เพราะเราไม่อาจจะสรุปลงไปได้ว่า อะไรคือความจริง อะไรคือความ


เท็จ ความจริงและความเท็จดังกล่าวนัน
้ เป็ นความจริงหรือความเท็จ
ของใครกัน เป็ นความจริงความเท็จของคนกลุ่มนีห ้ รือกลุ่มนัน
้ ของ
คนในประเทศนีห ้ รือในประเทศโน้น ของโลกนีห ้ รือของโลกอ่ ืน

วิทยาการในโลกนัน ้ มีมากมายย่ิงนัก แต่ละสาขาวิชาก็ยังต้องศึกษา


ค้นคว้ากันต่อไปอีกนานเท่าใด ก็หาได้จบสิน ้ ลงไม่ เราจะเอาความ
จริงแท้จากวิชาการเหล่านัน้ ได้อย่างไร แล้วใครเล่าจะเป็ นผู้ประกาศว่า
นัน
่ คือความจริง น่ีคือความจริง ให้เป็ นท่ียอมรับนับถือจาก
สาธารณชนคนทัว่ไป ทัง้ในประเทศนีแ ้ ละประเทศอ่ ืน ทัง้ในโลกนี้
และโลกอ่ ืน

มิจฉาทิฏฐินัน
้ มิจฉา แปลว่า วิปริตหรือผิดไป ส่วนทิฏฐิ แปลว่า
ความเห็น รวมกันเข้าก็แปลว่า มีความเห็นวิปริต หรือมีความเห็น
ผิดและความเห็นท่ีวา่ ผิดดังกล่าวนี ก
้ ็หาใช่เป็ นความเห็นผิดใน
เร่ ืองของสภาวธรรม หรือเร่ ืองของชีวิต ซ่ึงได้แก่รูปนาม หรือเร่ ือง
ของขันธ์ ๕ เท่านัน

การท่ีจะค้นคว้าวิทยาการใดๆ ก็ตาม แม้แต่วิชาเดียวเพ่ ือให้เข้าถึง
ความถูกต้องสมบูรณ์จริงๆ นัน ้ ก็ย่อมจะเป็ นไปไม่ได้เสียแล้ว กาล
เวลาท่ีล่วงเลยไป ความจริงท่ค ี ้นคว้าได้ใหม่ๆ อาจจะทำาลายล้างความ
จริงท่ียึดมัน
่ กันมาแต่ก่อนให้สัน ่ คลอนหรือหลุดถอนออกไปเลยก็ได้
เช่นในอดีตเราเคยศึกษากันมาว่า วัตถุสสารทัง้หลายเม่ ือแยกย่อย
เล็กลงไปจนถึงเป็ นปรมาณูแล้วก็ไม่สามารถท่ีจะแยกย่อยออกไปอีก
ได้ เด๋ียวนีท้ ฤษฎีใหม่ๆ มาทำาลายล้างกฎเกณฑ์นีเ้สียแล้ว เพราะ
ปรมาณูนัน ้ เม่ ือถูกยิงก็จะแตกออกเป็ นประจุไฟฟ้ าบวก ไฟฟ้ าลบ
และพลังงานได้

เราเคยเรียนกันมาแต่อดีตว่า สสารก็คือสสาร พลังงานก็คือพลังงาน


แต่ทฤษฎีของไอสไตน์ก็มากลับความคิดเห็นเสียใหม่ อันเป็ นท่ี
ยอมรับนับถือกันในระหว่างนักวิทยาศาสตร์ทัง้หลายว่า สสารนัน ้
เป็ นพลังงานได้ และพลังงานกลายกลับมาเป็ นสสารอีกก็ได้ และเรา
เคยเรียนรู้มาแต่ก่อนว่า โลกของเรานีแ ้ ตกออกมาจากดวงอาทิตย์ เรา
เช่ ือว่าเป็ นความจริงแท้แน่นอนมานานนักหนานับเป็ น ๑๐๐ ปี แต่
เด๋ียวนีเ้รากลับได้เรียนรู้ใหม่จากนักดาราศาสตร์ว่า โลกทัง้หลายมา
จากการรวมตัวของละอองปรมาณูท่ีลอยละล่องอยู่ในอวกาศ

ด้วยเหตุนีเ้อง ท่านนักศึกษาก็คงจะได้เห็นแล้วว่า วิทยาการทัง้หลาย


ท่ีเราได้ศึกษามานัน
้ เราจะปั กมัน
่ ในความจริงเหล่านัน
้ ได้แน่นอนลง
ไปทีเดียวมิได้ เพราะทฤษฎีใหม่ๆ อาจจะมากลับใจให้เรามีความเห็น
ตรงกันข้ามอย่างหน้ามือเป็ นหลังมือกับอดีตก็เป็ นได้

อย่างไรก็ดี ยังมีความจริงแท้แน่นอน ความจริงท่ีถูกต้องสมบูรณ์


ความจริงท่ีไม่มีวันกลับกลอกด้วยกาลเวลาหรือด้วยสถานท่ี คือ ไม่ว่า
เวลานี ห ้ รือเวลาจะล่วงเลยไปอีกก่ีหม่ ืนก
โลกนีห้ รือเป็ นโลกอ่ ืน และไม่ว่าจะอยู่ภายใต้อาทิตย์ดวงนีห ้ รือ
อาทิตย์ดวงไหนๆ ทัง้สิน ้ ความจริงมีอยู่อย่างไร มันก็จะยินความจริง
อยู่อย่างนัน
้ โดยไม่มีวันเปล่ียนแปลงเลยนัน ้ มีอยู่ ซ่ึงเราเรียกว่า พระ
อภิธรรม หรือปรมัตถธรรมอันเป็ นวิทยาการท่ีว่าด้วยเร่ ืองของชีวิต
อย่างลึกซึ้งท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ แล้วเผนแพร่ออกสู่
ประชาชน

เร่ ืองอันเก่ียวแก่ชีวิตท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนัน ้ เป็ น


ความจริงแท้แน่นอนเป็ นความจริงอย่างสมบูรณ์ชัน ้ สุดยอด บรรดาผู้
รู้ทัง้หลายในกาลข้างหน้า ไม่อาจจะมาทำาลายล้างทฤษฎีท่ีพระองค์ได้
วางเอาไว้เสียได้ และทฤษฎีเหล่านัน ้ เป็ นธรรมชาติท่ีเกิดขึ้น หรือเป็ น
ไปตามธรรมดาสามัญ ไม่มีใครเสกสรรค์หรือดลบันดาลขึ้นมา

เร่ ืองอันเก่ียวแก่ชีวิตท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสัง่สอนนัน
้ ไม่
เหมือนกับวิทยาการในทางโลกท่ีศึกษาค้นคว้าเท่าใด หรือจะเกิดอีก
สักก่ีชาติ ก็ศึกษาค้นคว้าหาได้จบสิน ้ ลงไม่ แม้ในวิชาการแขนงหน่ึง
ไม่เหมือนกับเร่ ืองของชีวิตและหนทางพ้นทุกข์ท่ีเม่ ือศึกษาปฏิบัติ
แล้วก็ถึงท่ีสุดได้ ผู้ใดศึกษาปฏิบัติไปสุดหนทางหรือหมดสิน ้ ลงได้
เหมือนพระอรหันต์ทัง้หลาย เม่ ือสำาเร็จมรรคผลใหม่ๆ ประกาศว่าได้
มาถึงท่ีสุดของทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรท่ีจะทำาเพ่ ือความพ้นทุกข์ยังเหลือ
อยู่อีกต่อไป

เร่ ืองอันเก่ียวแก่ชีวิตท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบนัน ้ นอกจาก


ไม่ผันแปรเปล่ียนแปลงได้แล้ว ยังคงทนต่อการพิสูจน์อีกด้วย เป็ น
ความจริงท่ีพิสูจน์ได้เสมอ และมีผู้พิสูจน์กันอยู่ทัว่ไป มีบุคคลผู้ซ่ึง
ศึกษาวิทยาการสมัยใหม่มามากๆ หลายท่านเป็ นห่วงว่าในอนาคต
พุทธศาสนาคงจะโยกคลอนด้วยทนต่อความรู้อันทันสมัยมาสัน ่ ไหว
ไม่ได้ แต่การณ์กลับตรงกันข้าม เพราะย่ิงมีความรู้มีความฉลาดใน
วิทยาการทางโลกทางวิทยาศาสตร์มากเท่าใด ก็ย่อมจะศึกษาพุทธ
ศาสนาได้ง่านมากขึ้นเท่านัน ้ ด้วยเหตุนีจ้ึงได้ทา้ ทายให้ใครๆ ท่ีมี
ความรูค ้ วามสามารถมากๆ มีเหตุผลดีๆ ให้เข้ามาพิสูจน์หาความจริง

เร่ ืองของมิจฉาทิฏฐิทแ ่ี ปลว่า ความเห็นผิด แล้วผมได้อธิบายว่า


เฉพาะเจาะจงในเร่ ืองของชีวิตเท่านัน ้ ไม่ใช่ความเห็นผิดในวิทยาการ
ต่างๆ แต่ในเร่ ืองของชีวิตนัน ้ ก็ยังมีความกว้างขวางอยู่มากนัก ดัง
นัน้ ก็คงจะมีผู้ตัง้คำาถามต่อไปอีกว่า จะเอาความเห็นผิดในเร่ ืองของ
ชีวิตตรงไหน เร่ ืองอะไร ดังนัน ้ ผมจึงต้องขอแยกความเห็นผิด
ทัง้หมดลงไปเสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง ว่าความเห็นผิดเหล่านัน ้ เป็ นเร่ ือง
อะไร แล้วความเห็นผิดอันไหนท่ีจัดว่าเป็ นมโนทุจริตตามความมุ่ง
หมายของอกุศลกรรมบถมโนกรรมตัวท่ี ๓ ท่ีเรียกว่าเป็ นมิจฉาทิฏฐิ
ทัง้นีก้ ็เพราะว่า มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดนัน ้ มีมากด้วยกัน และ
มโนทุจริตนัน ้ ก็ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิทัง้หมด

ตามสภาวธรรมแยกความเห็นผิดเห็น ๒ ประการ คือ

๑. ทิฏฐิชนิดท่ีเป็ นสามัญ
๒. ทิฏฐิชนิดพิเศษ

ตามสภาวธรรมแยกความเห็นผิดเห็น ๒ ประการ คือ

๑. ทิฏฐิชนิดท่ีเป็ นสามัญ
๒. ทิฏฐิชนิดพิเศษ

๑. ทิฏฐิชนิดท่ีเป็ นสามัญนัน ้ ได้แก่สักกายทิฏฐิ ๒๐ คือ ความเห็น


ผิดท่ีเกิดขึ้น และเป็ นไปกับบุคคลโดยทัว่ไปอยู่เสมอๆ เป็ นประจำา
ด้วยความยึดมัน ่ ขันธ์ ๕ ว่าเป็ นตัวตน คือยึดถือรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณท่ีเกิดขึ้นภายในตัว หรือภายนอกตัวว่าเป็ นตัวตน
คน สัตว์ ขาว ดำา หญิง ชาย บ้านเรือน เป็ นต้น

ยกตัวอย่างเช่น รูปารมณ์ คือรูป อันได้แก่คล่ ืนของแสงมากระทบตา


ช่วงคล่ ืนของแสงท่ีสะท้อนมาเหล่านัน ้ ย่อมจะกระทบกลับเห็นเป็ น
คน เป็ นสัตว์ เป็ นหญิง เป็ นชาย แต่ความจริงนัน
้ ช่วงคล่ ืนของแสง
จะเป็ นคน เป็ นสัตว์ เป็ นหญิง เป็ นชายไปไม่ได้ เรายึดโดยสร้าง
มโนภาพขึ้นผิดๆ (ทางมโนทวาร) ทัง้ยึดขันธ์ ๕ ของตัวเอง (ร่างกาย
กับจิตใจ) ว่าเป็ นตัวตน คน สัตว์ เป็ นหญิง เป็ นชาย เพราะคล่ ืนของ
แสงเป็ นคน เป็ นสัตว์ เป็ นหญิง เป็ นชายไม่ได้ เราก็ยึดโดยสร้าง
มโนภาพขึ้นผิดๆ แท้ๆ ความรู้สึก "เห็น" นัน ้ เป็ นจิต คือวิญญาณ
ขันธ์ต่างหาก และวิญญาณก็มิได้เป็ น"เรา"

หรือเม่ ือเสียงมากระทบหู เราก็ยึดช่วงคล่ ืนแห่งความสัน ่ สะเทือนของ


อากาศนัน ้ ว่า เป็ นเสียงเพลง เป็ นเสียงต่ำา เป็ นเสียงด่าชมเชย ทำาให้
เกิดโลภะ โทสะ โมหะ เพราะไปคิดเอาเอง สร้างมโนภาพขึ้นเอาเองว่า
เป็ นเช่นนัน ้ ความจริงเสียงเฉยๆ มิได้เป็ นเพลง เสียงก็มีแต่สูงๆ ต่ำาๆ
ไม่ใช่เป็ นคำาด่า ทัง้ไม่ใช่เป็ นคำาชมเชย หากแต่เป็ นปรากฏการณ์ของ
ธรรมชาติ คือความสัน ่ สะเทือนของอากาศท่ีมาจากภายนอกแท้ๆ
ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย ไม่มีคำาด่า ไม่มีชม อะไรทัง้นัน ้
ผู้ได้ยินยึดขันธ์ ๕ ท่ีเกิดขึ้นอยู่ท่ีตัวด้วยว่า ได้ยินนัน
้ เป็ น "เราได้ยิน"
อันก่อให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะขึ้นมาได้

สําหรับขันธ์ทัง้ ๕ ก็คือ

๑. รูป ได้แก่ เสียงและประสาทหู

๒. เวทนา ได้แก่ เจตสิกตัวหน่ึงท่ีเกิดพร้อมกับจิตใจทำาความรู้สึกว่า


สุข ทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์

๓.สัญญา ได้แก่ เจตสิกตัวหน่ึงท่ีเกิดขึ้นมาพร้อมกับจิตใจ ทำาหน้าท่ี


เก็บหรือจดจำาอารมณ์

๔. สังขาร ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ตัวท่ีเกิดพร้อมกับจิตใจ ปรุงแต่งให้


เกิดโลภ โกรธ หลง หรือไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

๕. วิญญาณ ได้แก่ จิตใจท่ีทำาหน้าท่ีรู้อารมณ์ต่างๆ

ในเร่ ืองนี ถ ้ ้ าจะเปรียบก็เหมือนกับบ้านเรือนคว


นัน
้ มิได้มีจริงๆ มีแต่เสาสำาหรับค้ำายัน มีแต่หลังคากันแดดกันฝน มี
ข้างฝาสำาหรับปิ ดบังให้มิดชิด มีพ้ืนสำาหรับอยู่อาศัย มีประตูหน้าต่าง
สำาหรับเข้าออกและให้แสงเข้ามา ถ้าร้ือบ้านเรือนออกเม่ ือใด บ้าน
เรือนท่ีว่านัน
้ ก็หายไป แต่เราเห็นครัง้ใดเราก็เห็นว่าเป็ นบ้าเรือนทุกๆ
ครัง้ไป ทัง้นีก้ ็เพราะเรามัวไปหลงเอาอดีตท่ีเก็บไว้ในจิตใจมาสร้าง
มโนภาพขึ้น

ท่านทัง้หลาย ผมจะขอยกตัวอย่างขึ้นมาอีกสักตัวอย่างหน่ึง เป็ น


ตัวอย่างสุดท้ายคือ เม่ ือร่างกายของคนสองคนกระทบถูกต้องกันเข้า
แต่คนทัง้สองนีเ้ป็ นคนละเพศ เป็ นเพศหญิงกับเพศชาย หรือหญิง
สาวกับชายหนุ่ม การกระทบถูกต้องกันนี ก ้ ็จะก่อให้เกิดความรู้สึก
ในทางเพศขึ้นมา เพราะรู้สึกตัวว่ากระทบถูกต้องหญิง หรือกระทบ
ถูกต้องชายเข้า มิหนำาซ้ำายังทราบว่า เป็ นขาวหรือดำา สวยหรือไม่สวย
เสียอีกด้วย

แท้จริงนัน ้ หญิงหรือชายถูกต้องไม่ได้เลยเป็ นอันขาด ขาวหรือดำาก็ถก ู


ต้องไม่ได้ด้วย สวยหรือไม่สวยก็เกิดจากการถูกต้องไม่ได้เหมือนกัน
การถูกต้องทางร่างกายนัน ้ จะเกิดความรู้สึกอันเป็ นความจริงก็คือ
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เท่านัน ้ แต่ผู้ถูกกระทบเอาเร่ ืองท่ีคิด
หาทางใจคือมโนทวารมาเป็ นการกระทบทางกายไปเสีย ถ้าท่านไม่
เช่ ือ ก็ขอให้ทดลองดู เด็กเล็กๆ หรือสัตว์เดรัจฉานก็มีจิตใจเหมือน
กัน แต่หาได้รู้สึกในทางเพศไม่ เม่ ือได้ถูกต้องกับคนผู้ใหญ่ เป็ นต้น

ปุถุชนทัง้หลายถูกปกคลุมอยู่ด้วยกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ อยู่


ภายในใจ ย่อมจะเกิดความหลงใหลอยู่ในรูป เสียง กล่ิน รส และ
สัมผัสทางกายท่ีเกิดอยู่ทุกเม่ ือเช่ ือวัน ย่อมจะพัวพันอยู่กับ
ปรากฏการณ์ของธรรมชาติภายนอกตัว และธรรมชาติภายในตัวท่ีมา
กระทบหรือสัมผัสกันอยู่ตลอดเวลา เพราะถูกโมหะหรืออวิชชาเข้ามา
กางกัน้ ความจริงเหล่านัน
้ เสียด้วยความรวดเร็วของมัน จึงทำาให้
บังเกิดความหลงผิดไป จึงได้ยึดเอาปรากฏการณ์ของธรรมชาติเหล่า
นัน
้ เอามาเป็ นคน เป็ นสัตว์ เป็ นส่ิงของต่างๆ

ทัง้ๆ ท่ีรูปท่ีสะท้อนมากระทบตาเป็ นแต่เพียงช่วงคล่ ืนของแสงแท้ๆ


ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่หญิงหรือชายอะไรสักอย่าง และทัง้ท่ีเสียงก็
มีแต่เพียงเสียงสูงๆ ต่ำาๆ อันเป็ นช่วงคล่ ืน คือความถ่ีของอากาศแท้ๆ
มากระทบหู ไม่มีด่า ไม่มีชมทัง้นัน ้ แต่กลับไปเอาเสียงสูงๆ ต่ำาๆ อัน
เป็ นปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านัน ้ มายึดว่าด่า ว่าชมเชย เป็ นจริง
เป็ นจัง ทัง้ๆ ท่ีมันก็เกิดขึ้นต่อๆ กันมากระทบหูแล้วก็หายไป สร้าง
เป็ นมโนภาพว่าเป็ นเสียงด่า แล้วก็เกิดความโกรธ ความไม่พอใจ
สร้างเป็ นมโนภาพว่าเป็ นเสียงชมเชย แล้วก็ชอบใจอยากจะให้เกิดขึ้น
มาบ่อยๆ

แม้ร่างกายท่ีถูกกระทบกับเย็นร้อน อ่อนแข็งแท้ๆ ก็วา่ เป็ นหญิงเป็ น


ชาย ทัง้ยึดมัน่ เอาเป็ นจริงเป็ นจังด้วย ความเห็นผิดในธรรมชาติท่ีเข้า
มากระทบกับจิตตามทวารต่างๆ ดังกล่าวมานี จ้ะเกิดขึ้นเป็ นไปอยู่
เสมอ ห้ามไม่ได้ เราจะรู้สึกตัวว่าเป็ นความเห็นผิดก็ชัว่ครัง้ชัว่คราว
จะประมาณว่า อารมณ์เกิดขึ้นมาร้อยครัง้ แล้วจะรู้สึกตัวว่าเป็ นความ
เห็นผิดชัว่ครัง้ชัว่คราว จะประมาณว่า อารมณ์เกิดขึ้นมาร้อยครัง้ แล้ว
จะรู้สึกสำานึกตัวว่ามีความเห็นผิดสักครัง้หน่ึงก็แสนยากย่ิง

ความเห็นผิดดังกล่าวมานีจ้ึงเรียกว่า เป็ นทิฏฐิสามัญ เพราะเกิดขึน



เป็ นธรรมดาสามัญกับบุคคลทัง้หลายทั่วไป แม้ชาวพุทธท่ีได้ศึกษา
เล่าเรียนมีความเข้าใจ ก็จะหลีกหนีทิฏฐิชนิดสามัญนีห ้ าได้ไม่
้ มิได้เกิดขึ้นเป็ นธรรมดาสามัญ หาก
๒. สําหรับทิฏฐิชนิดพิเศษนัน
แต่เป็ นความคิดความอ่าน ได้แก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ ปฏิเสธเหตุ
ปฏิเสธผล และปฏิเสธทัง้เหตุทัง้ผล

นอกจากนีย้ ังมีมิจฉาทิฏฐิท่ีเรียกว่า สัสสตทิฏฐิ มีความเห็นว่า เท่ียง


ไม่ขาดสูญ เช่นเห็นว่า จิตใจหรือวิญญาณนัน ้ เป็ นส่ิงศักดิส
์ ิทธิ เ์ป็ น
อมตะไม่เกิดไม่ดับ คนตายลงแล้ววิญญาณก็ล่องลอยไปได้ เป็ นต้น
หรือมีความคิดเห็นเป็ นอุจเฉททิฏฐิ คือมีความคิดเห็นว่าขาดสูญ เช่น
คนตายแล้วก็เกิดอีกไม่ได้ ย่อมสูญสิน ้ ไป เป็ นต้น

ความเห็นผิดซ่ึงได้แก่มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ท่ีแสดงไว้ในพรหมชาลสูตร
แห่งศีลขันธวรรคก็มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ท่ีแสดงอยู่ในสามัญผลสูตร
แห่งศีลขันธวรรคก็มี แต่สำาหรับมิจฉาทิฏฐิท่ีผมกำาลังนำามาเสนอแก่
ท่านนักศึกษานัน้ เป็ นมิจฉาทิฏฐิมโนทุจริตในอกุศลมโนกรรม ๓
ดังนัน
้ จึงขอให้ท่านนักศึกษาจำาเอาไว้ด้วยว่า มิได้มุ่งหมายถึงมิจฉา
ทิฏฐิอ่ืนใด นอกจากมุ่งเอาเฉพาะนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นีเ้ท่านัน ้

นิยตมิจฉาทิฏฐิ คืออะไร

นิยตมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดท่ีเท่ียงแม้แน่นอน ๓ ประการคือ

๑. นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่า จะทำาอะไรๆก็ตาม ผลจากการกระ


ทำาเหล่านัน
้ ย่อมจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นมาได้ เป็ นการปฏิเสธผลท่ีตน
ได้กระทําไป

๒. อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่า สัตว์ทัง้หลายท่ีเกิดขึ้นมาและ


กำาลังเป็ นไปอยู่นัน
้ ไม่ว่าจะทุกข์ จะสุข จะร่ำารวยหรือยากจนก็ดี มิได้
เน่ ืองมาจากเหตุแต่ประการใด เป็ นการปฏิเสธเหตุท่ีกระทํา

๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่า การกระทำาของสัตว์ทัง้หลายนัน ้


สักแต่วา่ กระทำาลงไป ไม่สำาเร็จเป็ นบุญหรือเป็ นบาปอย่างใดทัง้สิน้
เป็ นการปฏิเสธทัง้เหตุทัง้ผล

ผู้ท่ีมีความเห็นเป็ นนัตถิกทิฏฐินี ย
้ ่อมจะมีความรู้สึกอันเป็ นอุจเฉท
ทิฏฐิ เป็ นมูลฐานของจิตใจ คือคิดว่าตายแล้วก็สูญไปเลย ไม่มีอะไร
เหลือท่ีจะเกิดอีกได้ เพราะบาลีสามัญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคแสดง
ถึงนัตถิกทิฏฐิ ผู้มค ี วามเห็นผิดชนิดนีว้่า

นตฺถิ ทินนํ เห็นว่าการทำาบุญนัน


้ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด เช่น พูดว่า
"บาปบุญมองไม่เห็นตัว"

ฺ เห็นว่าการบูชาต่างๆ นัน
นตฺถิ ยิฏฐํ ้ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด

นตฺถิ หุตํ เห็นว่าการเช้ือเชิญต้อนรับต่างๆ ไม่ได้รับผลประการใด


นตฺถิ สุกต ทุกฺกตานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก เห็นว่าการทำาดี การทำาชัว่
ไม่ได้รับผลอย่างใดเลย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่าภพนีไ้ม่มี คือผูท้ ่ีกำาลังปรากฏอยู่ในปั จจุบันนี้


ท่ีเราเรียกันว่า ภพนีย
้ ่อมไม่มี ไม่มีการเกิดอีกต่อไป

นตฺถิ ปโร โลโก เห็นว่าภพหน้าไม่มี คือภพอันจะเป็ นท่ีเกิดแห่งภพท่ี


ปรากฏในปั จจุบันนีย
้ ่อมไม่มี เพราะเม่ ือตายแล้วก็ไม่มีการเกิดอีก

นตฺถิ มาตา เห็นว่าการทำาดีทำาชัว่ต่อมารดา ย่อมไม่ได้รับผลแต่อย่าง


ใด

นตฺถิ ปิ ตา เห็นว่าการทำาดีทำาชัว่ต่อบิดา ย่อมไม่ได้รับผลแต่อย่างใด

นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่าสัตว์ประเภทท่ีเกิดเติบโตขึ้นทีเดียว


คือสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม เป็ นต้น ไม่มี

นตฺถิ โลเก สมณพฺรหฺมณา สมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา เย อิมญฺจ โล


โก ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ เห็นว่าสมณ
พราหมณ์เหล่าใดมีการรู้แจ้งโลกนีโ้ลกหน้าด้วยตนเอง แล้วสามารถ
ชีแ
้ จงแนะนำาให้เข้าใจได้ สมณพราหมณ์ท่ีถึงพร้อมด้วยความสามัคคี
และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านัน
้ ย่อมไม่มี

ในข้อนีห ้ มายความว่า ผูท ้ ่ีทำาสมาธิ ทำาวิปัสสนา ได้ถึงฌาน ได้


มรรคผลนัน ้ ไม่มี และผู้ท่ีถือเพศเป็ นบรรพชิตปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนัน้
ไม่มี ล้วนแต่เป็ นการกล่าวหรือหลอกลวงเหลวไหลทัง้นัน ้ ซ่ึงความ
จริงเป็ นการกระทำาเพ่ ือจะยังชีพเท่านัน ้ เอง

ผู้ท่ียึดถือความเห็นผิดเป็ นนัตถิกทิฏฐินี ท
้ ่านนักศึกษาก็จะเห็นได้
ว่า เป็ นผู้ปฏิเสธผลเช่นปฏิเสธผลของบุญของบาป ปฏิเสธผลของ
การทำาสมถะและวิปัสสนาภาวนา ปฏิเสธผลท่ีได้ทำาบาปทำาบุญ แล้ว
จะไปเกิดในนรก หรือเทวดา ว่าเกิดอีกไม่ได้ ดังนีก ้ ็คือ ได้ปฏิเสธ
กุศล อกุศล อันได้แก่บุญ บาป ทัง้หลายว่าไม่มีกำาลัง ไม่มีความ
สามารถท่ีจะบันดาลผลขึ้นมานัน ่ เอง ด้วยเหตุนี พ้ ระมหาพุทธโฆสา
จารย์จึงได้แสดงไว้ในสามัญผลสูตรอรรถกถาว่า

"วิปากํ ปฏิพาหนฺเตนาปิ กมฺมํ ปฏิพาหิตํ โหติ" ซ่ึงแปลความว่า เม่ ือ


มีการปฏิเสธผลแล้ว ก็ได้ช่ือว่า ปฏิเสธกรรมอันเป็ นเหตุให้เกิดผล
นัน
้ ด้วย

ท่านนักศึกษาทัง้หลาย ท่านเคยทราบบ้างหรือไม่ โดยไม่ต้องไปเลือก


ว่า เป็ นใครนับถือลัทธิหรือศาสนาไหน หากแต่ว่าเป็ นคนไทยท่ี
นับถือศาสนาพุทธน่ีเอง บางท่านก็นับถือโดยมีทะเบียนสำามะโนครัว
เท่านัน
้ ท่านไม่เคยเช่ ือกรรมหรือผลของกรรม ท่านไม่เคยเช่ ือว่าตาย
ลงไปแล้วก็เกิดเป็ นมนุษย์ หรือเป็ นสัตว์นรกและเทวดาอีกได้ ทัง้
ท่านไม่เช่ ือว่า การเจริญสมาธิและวิปัสสนานัน
้ จะบังเกิดผลดีอย่างไร
ท่านไม่ยอมเช่ ือพร้อมทัง้ไม่ยอมท่ีจะศึกษาให้เข้าใจเสียด้วย

ผมเช่ ือว่าท่านนักศึกษาคงจะได้พบปะมาบ้างไม่มากก็น้อย การได้ช่ือ


ว่า นับถือพุทธศาสนาของท่านก็เป็ นไปอย่างสังเวชสลดใจ เป็ นการ
น่าเสียดายท่ีทา่ นเกิดขึ้นมาพบพระพุทธศาสนาแล้วกลับไม่มีความ
สนใจศึกษาให้เกิดความรู้ในหลักการสำาคัญ ตลอดจนเหตุผลของ
พุทธศาสนาเสียบ้างเลย

ท่านทัง้หลายเหล่านี แ้ น่นอนว่าบางท่านก็ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
คิดช่วยเหลือเจือจานผู้อ่ืน มีความเมตตากรุณาประจำาใจ ทำาบุญให้
ทานอยู่เสมอ แต่พ้ืนฐานของจิตใจนัน ้ ประกอบไปด้วยความคิดเห็น
อันไม่ถูกต้อง เป็ นนัตถิกทิฏฐิ กุศลจิตของท่านจึงมีกําลังมากไม่ได้
ด้วยมิได้ปูรากฐานอะไรเอาไว้ ทำาไปเพราะเห็นว่าเป็ นความดี ทำาลงไป
เพราะเกิดความเมตตากรุณาอันเป็ นไปตามธรรมดาสามัญ

เพราะกุศลจิตทัง้หลายจะเกิดขึ้นหรือจะเป็ นไปก็ด้วยความเห็นใจ
หรือทำาตามธรรมเนียม หรือทำาไปด้วยเพราะเป็ นอาชีพ และด้วยเหตุ
ท่ีอยู่ในสังคมจึงควรกระทำา เช่นนายจ้างช่วยเหลือลูกจ้างก็เพราะ
ความจำาเป็ น หรือเพราะหน้าท่ี หรือเพราะปรารถนาจะให้ลก ู จ้างคิดถึง
คุณตน จะได้ช่วยเหลือตนในวันข้างหน้า หรือเพราะมีความสงสาร
แต่ไม่เคยคิดเลยว่า การกระทำาของตนนัน ้ เป็ นกุศลผลบุญท่ีจะนำาผล
มาให้ได้ในอนาคต

แน่นอนจริงๆ หรือท่ีผท ู้ ่ีมีจิตใจประกอบไปด้วยนัตถิกทิฏฐิ แล้วจะ


ประพฤติดีปฏิบัติชอบเสมอไป ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เคยประพฤติ
ผิดในกาม หรืไม่เคยเบียดเบียนผู้ใด แม้ในความคิดก็ไม่ได้คิดทำาร้าย
ใครบ้างหรือ บุคคลทัง้หลายเกิดขึ้นมาชาติหน่ึงจะประพฤติดีปฏิบัติ
ชอบดุจผ้าขาวท่ีมิได้เปรอะเป้ือนส่ิงใดนัน ้ ก็ย่อมจะเป็ นไปไม่ได้นัก
ด้วยเหตุนีบ
้ ุคคลผู้ซ่ึงมีความเห็นผิดเป็ นนัตถิกทิฏฐิปฏิเสะผลดังท่ีได้
ยกตัวอย่างขึน ้ มานี ก ้ ็ ย่อมจะมีจิตใจแข็งกร้าวถ้าการกระท
เกิดขึน
้ แล้ว ก็เป็ นบาปท่ีจะให้ผลมิใช่เล็กน้อยเลย

ดังนัน
้ ถ้ากุศลผลบุญท่ีได้กระทำามาบ้าง ไม่มีกำาลังความสามารถ หรือ
มีกำาลังแรงไม่เพียงพอ คือได้กระทำากุศลมาไม่ถึงขนาดแล้ว ความ
เห็นผิดๆ ชนิดนัตถิกทิฏฐิท่ีฝังมัน
่ ประจำาใจเหล่านัน
้ ก็จะมีกำาลัง
รุนแรงเพียงพอ หรือบังเกิดความสามารถท่ีจะทำาให้ผู้นัน ้ ได้รับผลใน
ปฏิสนธิกาลอันจะนำาไปเกิดในทุคติภูมิได้ และกำาลังของอกุศลดัง
กล่าวนี เ้ราเรียกว่า มโนทุจริต

๒. อเหตุกทิฏฐิ ต่อไปนีผ้ มจะขออธิบายถึงมิจฉาทิฏฐิตัวท่ี ๒ คือ อ


เหตุกทิฏฐิต่อไป แต่ก่อนท่ีผมจะได้อธิบาย ผมขอคัดพระบาลีท่ีแสดง
ไว้ในสามัญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรคออกมาให้ท่านได้ทราบเสียก่อน
คือ

นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย สตฺตานำ สำกิเลสาย อเหตู อปฺปจฺจยา สตฺตา


สำกิลิสฺสนฺติ นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย สตฺตานำ วิสุทฺธิยา อเหตู อปฺปจฺจ
ยา สตฺตา วิสุชฺฌนฺติฯ

แปลความว่า ชนกเหตุคือเหตุท่ีให้เกิด และอุปถัมกเหตุคือเหตุท่ีช่วย


อุปถัมภ์ให้สัตว์ทัง้หลายมีความเศร้าหมอง ลำาบากกาย ลำาบากใจนัน ้
ไม่มี สัตว์ทัง้หลายท่ีกำาลังเศร้าหมองและลำาบากอยู่นัน ้ ก็ไม่มีชนก
เหตุและอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด ชนกเหตุคือเหตุท่ีให้เกิด และ
อุปถัมภกเหตุคือเหตุท่ีช่วยอุปถัมภ์ให้สัตว์ทัง้หลายมีความบริสุทธิ ์
พ้นจากความลำาบากกายลำาบากใจนัน ้ ไม่มี สัตว์ทัง้หลายท่ีกำาลังมี
ความบริสุทธิ พ ์ ้ นจากความลำาบากายลำาบากใจน
ชนกเหตุและอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด

ธรรมดาสรรพส่ิงทัง้หลายในโลก จะต้องมีเหตุเป็ นแดนเกิดทัง้สิน ้


ไม่ว่าจะเป็ นพ้ืนดิน แม่น้ำา ภูเขาก็ตาม แต่ส่ิงใดท่ป
ี ราศจากชีวิต หรือ
ส่ิงใดท่ีไม่มีวิญญาณครองแล้วก็ย่อมจะมีความสลับซับซ้อนของเหตุ
นัน้ น้อยกว่าส่ิงท่ีมีชีวิต หรือส่ิงท่ีมีวิญญาณครอง

นักปราชญ์ทัง้หลายท่ีค้นคว้าถึงสาเหตุในสรรพส่ิงท่ีไม่มีชีวิต หรือ
ไม่มีวิญญาณครอง หรือค้นคว้าหาสาเหตุจากปรากฏการณ์ของ
ธรรมชาติกันมาตัง้แต่ดึกดำาบรรพ์ ต่อๆ กันมาจนถึงยุคปั จจุบัน
ปั ญหาเร้นลับท่ีแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่อย่างลึกซึ้งก็ได้ถูกคล่ีคลายออก
มาเป็ นอันมาก จนทำาให้เราหายจากความงมงายไร้เหตุผล ทำาให้เรา
หายจากความเข้าใจผิด คิดว่าธรรมชาตินัน ้ ช่างเจ้าเล่ห์เจ้ามายา หรือ
หลงผิดโดยคิดว่าธรรมชาติต่างๆ ท่ีปรากฏต่อสายตานัน ้ เป็ นฝี มือ
ของเทพยเจ้าดลบันดาล

อย่างไรก็ตาม แม้ถึงว่าธรรมชาติทัง้หลายจะถูกตีจนแตก หรือขบจน


ทะลุลงได้ก็ดี ก็มีเป็ นส่วนท่ีเล็กน้อยเหลือเกิน เม่ ือก้าวเข้าไปดูส่วนท่ี
ยังเหลือ ส่วนท่ียังย่อยให้ละเอียดไม่ได้นัน้ ยังมีอีกเหลือหลาย ท่ียัง
รอคอยท่านผู้มีความรู้ คือท่านนักปราชญ์ราชบัณฑิตให้เข้ามาค้นคว้า
หาความจริง

ธรรมชาติท่ีปราศจากชีวิตทัง้หลายได้เก็บงำาความเร้นลับของตัวเองไว้
มากมาย ก็นบ ั ว่าน้อยกว่าความเร้นลับในเร่ ืองของชีวิต ด้วยเหตุนี้
จึงมีบุคคลเป็ นอันมากพูดกันอยู่เสมอว่า เราเพ่ิงจะก้าวเท้าเข้ามาใน
เร่ ืองของชีวิตไม่ได้ก่ีก้าวเท่านัน
้ เอง

ผมจะขอยกตัวอย่างขึ้นมาให้เห็นเล็กๆ น้อยๆ ส่วนหน่ึง จากจำานวน


ใหญ่โตมหาศาล ท่ีเราทัง้หลายส่วนมากยังเข้าใจผิดกันอยู่ เพ่ ือเป็ น
แนวทางให้ทา่ นได้คิดพิจารณาบ้างตามสมควร
เม่ ือขโมยคนหน่ึงสมมุติว่า ช่ ือ นาย ก. ได้ถูกจับ แล้วก็ถก
ู นำาตัว
มายังโรงศาล ศาลได้ลงโทษจำาคุกขโมยผู้นีเ้อาไว้ ๓ ปี ตลอดเวลาทัง้
๓ ปี เหล่านีต
้ ้องได้รับความลำาบากมาก กินอยู่หลับนอนตามความ
ต้องการของตนเองไม่ได้ ต้องถูกจำากัดเขต ตัดเสรีภาพลงไปมาก
สังคมก็ถูกตัดเกือบว่าจะสิน ้ เชิง ต้องพลัดพรากจากบ้านเรือน บุตร
ภรรยาอันเป็ นท่ีรักของตนมา ต้องเศร้าโศกเสียใจอยู่ทุกวันคืนมิได้
สร่างซา

เม่ ือมีผู้ใดผู้หน่ึงมาตัง้คําถามว่า นาย ก. เข้าไปอยู่ในคุกในตะราง


เพราะเหตุใด

ในเร่ ืองนี ใ ้ ครๆก็


. เข้าไปอยู
จะพากั่ในคุ
นตอบว่
กใน าการท่ีนายก
ตะรางนัน ้ เพราะเหตุท่ีนาย ก.เป็ นขโมย

การตอบดังนีก ้ ็เป็ นการแสดงว่า ขโมยเป็ นเหตุ และการติดคุกนัน ้


เป็ นผล แต่ถ้าสมมุติว่ามีผู้ใดตัง้คำาถามขึ้นมาอีกว่า ขโมยเป็ นเหตุ
การติดคุกเป็ นผลแน่หรือ ถ้าขโมยเป็ นเหตุ ติดคุกเป็ นผลจริงๆ แล้ว
ขโมย ๑๐ ครัง้ก็ต้องติดคุก ๑๐ ครัง้เหมือนกัน เพราะทำาเหตุขโมย
แล้ว ติดคุกก็เป็ นผลจากการขโมยอีกทีหน่ึง แต่มีหรือไม่ ขโมยตัง้
๑๐ ครัง้แต่ไม่เคยติดคุกเลยแม้แต่สักครัง้เดียว ซ่ึงในเร่ ืองนีก้ ็จะต้อง
มีอย่างแน่นอน มีขโมยคนหน่ึงท่ีฉกชิงส่ิงของของผู้โดยสารในรถไฟ
เป็ นประจำาจนร่ำารวยขึ้นมามากมายจนสามารถสร้างตึกได้ตัง้หลาย
หลัง มีภรรยาได้ตัง้หลายคน (ถูกจับได้เม่ ือขโมยมาหลายปี )

เม่ ือขโมย ๑๐ ครัง้ ก็มิได้ติดคุกทัง้ ๑๐ ครัง้ ดังนีแ


้ ล้วเราจะว่าขโมย
เป็ นเหตุติดคุกเป็ นผลกระไรได้ เราจะว่าเหตุอันนัน ้ ทำาให้ได้รับผลอัน
นีจ้ะได้หรือ และไม่มบี ้างเลยทีเดียวหรือท่ีบค
ุ คลหน่ึงท่ีไม่ได้กระทำา
ผิดอะไรเลยแม้แต่สักนิด แต่ก็มีสาเหตุมีกรณีต่างๆ แวดล้อมอยู่
พรักพร้อมจนเป็ นเหตุให้ศาลตัดสินจำาคุก ๓ ปี ในข้อหาว่าเป็ นขโมย

แน่นอน ผูท ้ ่ีมีความผิดจริงๆ รอดตัวพันมือกฎหมายไปได้ก็จะต้องมี


และผูท ้ ่ีไม่มีความผิดเลยอาจจะต้องติดคุกบ้างก็มีเหมือนกัน แต่ก็มี
เป็ นส่วนน้อย

ถึงแม้จะมีเป็ นส่วนน้อยก็ตาม เม่ ือมีผลคือติดคุกขึ้นมาแล้ว ก็จำาเป็ น


ท่ีจะต้องสาวเข้าไปหาถึงสาเหตุให้ได้ว่า การติดคุกนีส ้ ืบเน่ ืองมาจาก
สาเหตุอะไร เม่ ือเหตุกับผลมิได้ตรงกันเช่นนี จ้ะอธิบายอย่างไร?

การติดคุกนีส้ ืบเน่ ืองมาจากสาเหตุอะไร เม่ ือเหตุกับผลมิได้ตรงกัน


เช่นนี จ้ะอธิบายอย่างไร?
เม่ ือพิจารณาโดยแยบคายแล้ว อาศัยสภาวธรรมเข้ามาตัดสิน ก็จะได้
ความจริงว่า เหตุขโมยหาใช่จะทําให้เกิดผล คือติดคุกได้ไม่ เพราะ
ว่าการขโมยนัน ้ เป็ นความปรารถนาท่ีจะทำาให้ทรัพย์สินของผู้อ่ืนหมด
ลง ผลท่ีได้รับนัน้ ก็จะต้องยากจนอดอยาก หรือทรัพย์สมบัติตา่ งๆ
ต้องพินาศเสียหายไป ด้วยเหตุนีเ้อง จะว่าขโมยเป็ นเหตุ ผลคือติดคุก
จึงเป็ นไปไม่ได้

เม่ ือพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ใช้สภาวธรรมเข้ามาตัดสิน ก็จะได้


ความจริงว่า เหตุของการขโมยนัน ้ จะปรากฏผลขึน ้ มาทันตาเห็น
จริงๆ จังๆ ในชาตินีเ้ลย ก็ย่อมจะเป็ นไปไม่ได้ เพราะเป็ นทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม กรรมท่ีให้ผลในชาตินีน ้ ันมีกำาลังอ่อนด้วยเป็ นชวนะ
ดวงท่ี ๑ แล้วก็ไม่ใช่อนันตริยกรรมท่ีมีกำาลังมากอะไรเลยด้วย ผล
ชนิดนีก ้ ็จะเป็ นเพียงไม่สบายใจ หรือเห็นอะไรก็คอยจะตกใจ เหมือน
คนร้ายท่ีระแวงภัยคล้ายกับมีคนคอยตามหลังเป็ นต้น ดังนัน ้ ผลของ
กรรมในเร่ ืองขโมยในชาตินี จ ้ ึ งให้ผลเป็ นติดคุกในชาติน
เป็ นไปไม่ได้ แต่จะต้องเป็ นผลของกรรมในอดีตชาติอย่างแน่นอน

เม่ ือพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สภาวธรรมเข้าตัดสิน ก็จะเห็นได้ว่า


ขโมยแล้วได้รับผลคือติดคุกนัน ้ เหตุกับผลยังมิได้ตรงกัน เพราะ
เหมือนปลูกทุเรียนแล้วบังเกิดผลเป็ นมังคุด หรือปลูกต้นมะม่วงแต่
ผลกับมาเป็ นพุทรา ซ่ึงย่อมจะเป็ นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี ผ้ ลท่ีได้รับใน
ชาตินี ค ้ ื อการติดคุกตารางจึงมิไ
แต่เป็ นการกระทำาเหตุ คือทำาให้ผู้อ่ืนเสียอิสรภาพในชาติอดีตท่ีแล้ว
มา เช่นการกักขังสัตว์ หรือกักขังผู้อ่ืนให้เสียอิสรภาพ เป็ นต้น เม่ ือมี
ความปรารถนาอย่างไร เม่ ือมีเจตนากรรมอย่างไร ก็จะได้รับผลอย่าง
นัน้ ตามกำาลังแรงของกรรม หรือของเจตนา เหตุกับผลจะต้องตรงกัน
จึงจะถูกต้องตามความเป็ นจริง

ด้วยเหตุผลอันละเอียดลึกซึ้งดังท่ีผมได้แสดงมาย่อๆ นีเ้อง เราจึงได้


เห็นผู้ร้ายยังลอยนวลอยู่ได้ เห็นคนขีโ้กงยังโกงอยู่ต่อไปโดยไม่มี
อันตราย และบางทีเราก็เห็นคนท่ีมิได้มีความผิดอะไรเลย ได้รับทุกข์
โทษภัยอย่างร้ายแรงก็ได้ ทัง้นีก้ ็เพราะเราไม่ทราบอดีต กล่าวคือ ชาติ
ท่แ
ี ล้ว และในชาติในๆ เข้าไปนัน ่ เอง

ท่านนักศึกษาจะต้องทำาความเข้าใจในเร่ ืองของเหตุ ว่าเหตุคืออะไร


ในเร่ ืองนีถ
้ ้าเราจะไปถามใครๆ ว่า "เหตุ" นัน
้ คืออะไร ก็คงจะได้
รับคำาตอบท่ีไม่สู้จะง่ายนัก จะต้องคิดจะต้องค้นถึงตัวอย่างต่างๆ
บางทีก็อาจจะตอบไม่ได้เอาเลย ทัง้ๆ ท่ีเคยใช้คำาว่า "เหตุ" นีม้ า
นมนาน แต่ในหลักธรรมะนัน ้ วางกำาหนดกฎเกณฑ์เอาไว้แล้ว ซ่ึงมา
จากภาษาบาลีวา่ หิโนติ ผลํ ปวตฺตตีติ = เหตุ แปลว่า เหตุคือ
ธรรมชาติท่ีทําให้เกิดผล เช่น เม็ดมะม่วงเป็ นเหตุ ต้นมะม่วงเป็ นผล
ช่างไม้เป็ นเหตุ บ้านเรือนเป็ นผล เป็ นต้น
นอกจากเหตุแล้วยังมีคำาว่าปั จจัยอีกคำาหน่ึงท่ีเราใช้กันอยู่เสมอๆ แต่
ความหมายจริงๆ เราไม่สู้จะเข้าใจกัน บางท่านใช้คำาว่าปั จจัยมานาน
ครัน้ ถามว่าปั จจัยคืออะไรก็อึกอักตอบให้ตรงความหมายไม่ได้ และ
ทัง้ๆ ท่ียังไม่มีความเข้าใจ บางทีก็ใช้คำาว่าเหตุกบ
ั คำาว่าปั จจัย ทัง้สอง
คำานีค้ วบคูก่ ันไปเลย เช่น "เหตุปัจจัย"

คำาว่า "ปั จจัย" คืออะไร ปั จจัยนัน


้ คือเหตุหรือ ถ้าปั จจัยคือเหตุแล้ว
เราจะใช้คำาว่าปั จจัยซ้ำาลงไปอีกทำาไม ใช้แต่ "เหตุ" ตัวเดียวไม่ดีกว่า
หรือ

คําว่าปั จจัยนัน
้ มิใช่เป็ นตัวเหตุ คือเป็ นตัวให้เกิดผลขึน
้ มาโดยตรง
หากแต่เป็ นเพียงตัวสนับสนุนเหตุเท่านัน ้ ยกตัวอย่างเช่น

เม่ ือมีผู้มาถามว่า มะม่วงต้นนีเ้กิดขึ้นมาได้อย่างไร เราก็จะต้องตอบ


ว่า เกิดขึ้นมาจากเม็ดมะม่วง มันจะเกิดขึ้นมาจากอย่างอ่ ืนหาได้ไม่ ดัง
นัน้ เม็ดมะม่วงก็เป็ นเหตุ ต้นมะม่วงก็เป็ นผล

ถ้าจะถามต่อไปว่า เม็ดมะม่วงอย่างเดียวทำาให้ต้นมะม่วงเกิดขึ้นมาได้
หรือ ย่อมจะไม่ได้แน่นอน มันจะต้องอาศัยการรดน้ํา พรวนดิน การ
ใส่ปุ๋ย ดินฟ้ าอากาศท่ีเหมาะสม

ด้วยเหตุนีเ้อง การรดน้ํา พรวนดิน การใส่ปุ๋ย ดินฟ้ าอากาศท่ีเหมาะ


สมก็เป็ นตัวปั จจัย เพราะปั จจัยนัน
้ ก็คือตัวการท่ีสนับสนุนเหตุ เพราะ
การรดน้ำา พรวนดิน ใส่ป๋ย ุ และดินฟ้ าอากาศท่ีเหมาะสมเหล่านีม ้ า
ช่วยสนับสนุนให้เป็ นต้นมะม่วงขึ้นมาอีกทีหน่ึง

สำาหรับบ้านเรือนก็เหมือนกัน จะเป็ นผลสำาเร็จเด็ดขาดเป็ นบ้านเรือน


ขึ้นมาได้ก็จะต้องอาศัยเหตุ คือช่างไม้ ช่างไม้จึงเป็ นเหตุ บ้านเรือนจึง
เป็ นผล แต่ช่างไม้อย่างเดียวก็ไม่มีความสามารถท่ีจะดลบันดาลให้
เป็ นบ้านเรือนขึ้นมาได้ ดังนัน้ จึงต้องอาศัยปั จจัยตัวสนับสนุนเหตุอีก
ทีหน่ึง ปั จจัยอันเป็ นตัวสนับสนุนช่างไม้ก็ได้แก่เคร่ ืองมือของช่างไม้
นั่นเอง ได้แก่ เล่ ือย ค้อน กบ ส่ิว เป็ นต้น

ตามท่ีผมได้แสดงมานี เ้ป็ นการยกส่ิงของขึ้นมาเพ่ ือเปรียบเทียบให้


ท่านนักศึกษาทำาความเข้าใจในเร่ ืองของเหตุกับในเร่ ืองของปั จจัยได้
ง่าย แต่ในสภาวธรรมนัน ้ หมายถึงเหตุท่ีจะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง และอโลภะ อโทสะ อโมหะ คือ
ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

ในปรมัตถธรรมนัน ้ มีเร่ ืองของเหตุปัจจัยอย่างลึกซึ้งซ่ึงปุถุชนผู้มาก


ไปด้วยกิเลสหรือยังมีกิเลสอยู่ไม่อาจท่ีจะค้นคว้าเข้าไปให้ถึงได้ จึง
ต้องอาศัยสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วต้องอาศัย
ทัง้ทฤษฎี ทัง้การปฏิบัติจึงจะเข้าไปสู่เหตุและปั จจัยอันล้ำาลึกนัน้ ๆ
แล้วจะได้เร่ ืองราวของชีวิตอันน่าอัศจรรย์
สัตว์ทัง้หลายมีความลำาบากกายลำาบากใจ สัตว์ทัง้หลายมีความสุขมี
ความทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ก็มองเห็นแต่เหตุเล็กๆ น้อยๆ ท่ป ี รากฏอยู่
ต่อหน้าอันเป็ นเหตุปัจจุบันท่ีต้ืนๆ เผินๆ ไม่มีความสามารถเข้าถึง
เหตุท่ีสำาคัญและลึกซึ้งได้ มิหนำาซ้ำายังเข้าใจเหตุกับผลไม่ตรงกันเสีย
อีก ดังนัน้ จึงพากันพูดว่า ทําดีแล้วไม่ได้ดี ทําชั่วแต่กลับได้ดี เม่ ือ
กระทำาการฆ่าสัตว์ ลักทรพัย์ หรือกระทำาผิดในกาม ตลอดจนเสพสุรา
ยาเมาแล้ว เหตุเหล่านัน ้ ไม่สามารถจะเกิดผลได้ เพราะผลก็ไม่ปรากฏ
ขึ้นมาให้เห็นชัดเจนได้ทุกครัง้ท่ีได้กระทำาอะไรลงไป

กรรมท่ีกระทำาลงไปนัน้ มีกำาลังอำานาจมาก มีความสามารถมาก เม่ ือ


ได้กระทำาลงไปแล้ว ก็ย่อมจะบังเกิดผลขึ้นมา แต่จะปรากฏผลขึ้นมา
เร็วๆ ตามความคิดของใครไม่ได้ จะให้ผลเกิดขึน ้ มาให้ทันตาเห็นของ
ใครๆ จะได้อย่างไร ทัง้นีก
้ ็ต้องแล้วแต่กําลังของกรรมนัน ้ ๆ ซ่ึงจะ
ต้องอาศัยเวลามากหรือน้อยตามสมควร เหมือนเราปลูกต้นมะม่วง ก็
จะต้องคอยสัก ๕-๖ ปี จึงจะได้ผล ถ้าจะปลูกต้นสัก ก็จะต้องคอยสัก
๘๐ หรือ ๑๐๐ ปี จึงจะได้ไม้สักท่ีดี แต่ถ้าปลูกถัว่งอกแล้ว เราก็
คงจะได้ผลเร็วภายใน ๒-๓ วันเท่านัน ้

เร่ ืองของกรรมนัน
้ ลึกซึ้งย่ิงนัก ผูท
้ ่ีมิได้ศึกษาเล่าเรียนให้บังเกิดความ
เข้าใจ ก็ย่อมจะบังเกิดความเข้าใจผิดไปได้ และมากคนทีเดียวท่ี
พยายามจะแสดงให้เห็นว่า กรรมท่ีกระทำาลงไปนัน ้ จะเป็ นกรรมท่ี
หนักหรือเบาประการใดก็ตาม ย่อมจะมาให้ผลไม่ได้เลย ซ่ึงเป็ นความ
เห็นท่ีน่าสงสาร

ทัง้นีเ้พราะเขาใช้เหตุผลต้ืนๆ เผินๆ ด้วยขาดการศึกษาเล่าเรียนใน


สภาวธรรม หรือขาดโยนิโสมนสิการ คือการทำาใจไม่แยบคาย และไม่
เคยได้พิจารณาให้ลึกซึ้ง ทัง้ไม่ยอมท่ีจะศึกษาเล่าเรียนจริงจัง แล้วยัง
บังอาจหม่ินประมาทผูท ้ ่ีมีความเห็นอันถูกต้องเสียด้วย เขาต้องการ
บทพิสูจน์โดยต้องการท่ีจะเห็นผลของกรรมนัน ้ ให้เกิดขึ้นต่อหน่า
ต่อตา ซ่ึงเป็ นไปไม่ได้ แม้การงานทัง้หลายก็จะต้องอาศัยเวลาเหมือน
กัน เช่นเด็กเล็กๆ ท่ีหัดอ่าน ก.ไก่ ข.ไข่ จะอ่านได้ จะจำาได้ เห็น
ก.ไก่ ข.ไข่ ท่ีไหนก็อ่านได้ถูกต้องนัน ้ ก็จะต้องอาศัยเวลานาน ต้อง
อ่านตัง้ ๑๐๐ เท่ียว ๑,๐๐๐ เท่ียว อ่านเท่ียวเดียวสองเท่ียวจะให้จำา
ได้อย่างไร เพราะกำาลังท่ีให้จำาได้นัน้ ยังไม่พอ

หรือท่านทัง้หลายท่ท ี ำาการงานต่างๆ ก็เหมือนกัน จะต้องอาศัยเวลา


มิใช่เล็กน้อยเลยจึงจะมีความสามารถ เช่นท่านท่ีจะมารับราชการได้ ก็
จะต้องหัดอ่านหนังสือมาตัง้แต่เล็กๆ เป็ นปี ๆ ต้องอยู่ชัน
้ ประถม
หลายปี ต้องอยู่ชัน
้ มัธยมอีกหลายปี บางทีต้องเข้าโรงเรียนอาชีพหรือ
ต้องฝึ กหัดงานอีกหลายปี จึงจะได้เงินเดือน จะต้องสร้างเหตุให้มี
กำาลังมากขึ้นให้เพียงพอเสียก่อนแล้ว จึงจะได้ผลประโยชน์สมความ
มุ่งหมาย
อย่างไรก็ดี ผลจากการศึกษาเล่าเรียนก็ได้ความรู้ความฉลาดมากขึ้น
ทีละน้อยๆ เป็ นเคร่ ืองตอบแทน เช่น อ่าน ก.ไก่ ข.ไข่ได้ สอบชัน้
ประถมได้ สอบชัน ้ มัธยมได้ และสอบอาชีพได้ แต่จะได้เงินเดือน
หรือใครเขาจะจ่ายเงินเดือนให้ก็ต้องทำางานให้เขาได้ ด้วยเหตุนี จ้ึง
เห็นได้ว่าต้องอาศัยเวลามิใช่เล็กน้อยเลย เพราะเราไม่อาจเป็ นเสมียน
ได้ภายในวันสองวัน เราไม่อาจเป็ นผู้จัดการบริษทั ห้างร้านได้ภายใน
๒ ปี ด้วยมีกำาลังยังไม่พอ

เพราะเหตุท่ีผลของกรรมมิได้แสดงให้เกิดมาได้ในทันที และผูท ้ ่ีมิได้


คิดพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบน่ีเอง จึงได้ประกาศว่า ผลของกรรม
ท่ีได้กระทำาลงไปแล้วนัน
้ ไม่อาจจะเกิดผลได้เลย แล้วบางคนยังได้มา
ตัง้คำาถามผมว่า ถ้าผลของกรรมมีจริงๆ แล้ว เหตุใดพวกปล้น พวก
ฆ่าคน พวกขีโ้กงคนทัง้เมือง กรรมชัว่ร้ายทัง้หลายเหล่านัน
้ มันไป
หลบหน้าซ่อนตัวอยู่เสียท่ีไหน ทำาไมมันจึงไม่บันดาลให้พวกปล้น
พวกฆ่าคนตาย พวกขีโ้กงเหล่านีล ้ ้มดิน
้ ลงชักตายไปต่อหน้า

ท่านทัง้หลายลองคิดดู คำาถามเช่นว่านี ม ้ ั นจะเป็ นไปได้หรือเหต


ตามสภาวธรรมจะให้มันผิดไปจากธรรมชาติได้อย่างไร เป็ นคำาถาม
ของผูท
้ ่ีมิได้มีความเข้าใจในธรรมชาติของชีวิตเลย

ผู้ท่ีมีความเห็นผิดเป็ นนัตถิกทิฏฐิ ปฏิเสธผลของกรรม ว่าการ


กระทำาทัง้หลายไม่ว่าจะเป็ นดีหรือชัว่ บุญหรือบาปก็ตาม ย่อมจะให้
ผลแก่ผู้กระทำาไม่ได้ ทำาอะไรลงไปแล้วก็เลิกแล้วกันไป ส่วนอเหตุก
ทิฏฐินัน ้ ปฏิเสธเหตุ มีความเห็นว่า ความเป็ นไปของสัตว์ทัง้หลาย
มิได้อาศัยเหตุซ่ึงเป็ นบุญหรือเป็ นบาปแต่อดีตประการใด สัตว์ทัง้
หลายมีความลำาบากกายลำาบากใจ มีทุกข์หรือมีสุข ไม่ใช่เกิดขึ้นมา
จากเหตุท่ีทำาให้เกิด หรือเหตุท่ีมาช่วยอุปถัมภ์ให้ทุกข์หรือสุขยังคงอยู่
ทัง้ในอดีตเหตุและปั จจุบันร่วมกัน หากแต่ว่าความเป็ นไปทัง้หลาย
เกิดขึ้นมาได้เพราะการบังเอิญเท่านัน ้ เอง

ท่านสาธุชนทัง้หลาย ผู้ตกอยู่ในความประมาทได้ถูกฆ่าตายมาเสีย
มากมายก่ายกองแล้ว ผู้ท่ีไม่มีความเข้าใจในเร่ ืองของชีวิตแล้วอวดด้ือ
ถือดีคิดว่าตนมีปัญญามาก ไม่ยอมศึกษาชีวิตเสียให้เข้าใจ ได้ถูก
ชักนำาไปในสารทิศต่างๆ เสียจนนับเวลาไม่ได้ ความโง่ความหลงใน
เร่ ืองชีวิตได้พาให้เวียนว่ายตายเกิดมาเสียนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ได้ท่อง
เท่ียวไปยังแดนทุรกันดาร ต้องตกระกำาลำาบากอย่างแสนสาหัสมาเสีย
อย่างโชกโชนจนนับครัง้ไม่ไหว บัดนี ก ้ ุศลผลบุญหนุนส่งให้ได้มา
ลองลิม ้ ชิมปรมัตถธรรมแล้ว ถึงแม้จะยังเข้าใจไม่มาก ถึงแม้จะก่อ
ความยุ่งยากท่ีจะทำาให้ต้องคิดพิจารณา แต่ผลนัน ้ มหาศาลเกินความ
ยากลำาบากใดๆ

ใครๆ ก็รักชีวิตของตนเอง อยากให้พ้นไปจากความทุกข์ ถึงซ่ึงความ


สุขอันสถาพรไปตลอดกาล บัดนี ผ ้ มได้ชีห
้ นทางนัน
้ ให้แก่ท่านแล้ว
ผมได้พยายามเสนอแนะหนทางอันแสนประเสริฐนีใ้ห้ท่านได้เห็น
แล้ว และผมก็ได้ให้คำารับรองว่า เร่ ืองชีวิตจากรพะอภิธรรมปิ ฎกนัน

เป็ นความจริงแท้แน่นอน รอคอยผู้มีความรู้มากๆ มีเหตุผลดีๆ ให้เข้า
มาค้นคว้าศึกษาหาความจริงแท้แน่นอนจากคำาสอนของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า เพ่ ือจะได้เข้าถึงประมัตถประโยชน์ต่อไป สำาหรับในวันนี้
เวลาแห่งการบรรยายก็พอสมควรแล้ว ผมจึงขอยุติแต่เพียงเท่านี้
ท่านผู้ใดจะซักถามปั ญหาเพราะยังข้องใจสงสัยท่ีผมได้บรรยายไป
แล้ว ก็เชิญถามได้โดยไม่ต้องเกรงใจ

ถาม การทำาบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนานัน ้ ท่านเห็นว่า


ไม่สําคัญหรืออย่างไร ผมได้ยินท่านว่า ความเห็นอันถูกต้องนัน

สําคัญ

ตอบ การทำาบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนานัน ้ เป็ นการ


กระทำาท่ีดีท่ีสำาคัญทัง้นัน
้ แต่จะเอาดีมากท่ีสุด หรือสำาคัญมากท่ีสุด ก็
สู้ปัญญา หรือความเห็นอันถูกต้องไม่ได้ ทัง้นีก ้ ็เพราะว่า การทำาบุญ
ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนานัน ้ เป็ นกุศลจะให้ปลเป็ นความ
สุขทัง้ในชาตินีแ ้ ละชาติหน้า เช่น จะมีกินมีใช้ มีท่ีอยู่อาศัยท่ีดี มีจิตใจ
แจ่มใสเบิกบาน รูปร่างสวยงาม มีความเป็ นอยู่เรียบร้อย แต่อย่างไรก็
ดี แม้ความเป็ นอยู่ของชีวิตจะดีอย่างไรก็ตาม แต่ไม่มีปัญญาเข้า
ประกอบร่วมด้วย ฉะนัน ้ กำาลังอำานาจของกุศลจึงได้น้อยกว่า เพราะ
กำาลังแรงของเจตนาต่างกัน

นอกจากนัน ้ การมีปัญญาเพราะได้ศึกษาเล่าเรียนเร่ ืองของชีวิตจาก


พระอภิธรรมปิ ฎกนัน ้ จะช่วยสกัดกัน ้ อกุศลท่ีจะเกิดขึ้นมาได้มากที
เดียว เพราะคนเรานัน ้ เม่ ือได้ดีมีความสุขแล้วมักจะเหลิง เพลิดเพลิน
ไปกับความสุขท่ีตนได้รับ แล้วก็พยายามดิน ้ รนแสวงหาให้ได้มากย่ิง
ขึ้นไปอีกทัง้เงินทอง ข้าวของ ท่ีดิน เรือกสวนไร่นา ตลอดจนอำานาจ
วาสนา เพราะทนรบเร้าจากโลภะตัณหาไม่ไหว

ดังนัน
้ จึงมีหลักประกันน้อย จึงอาจประพฤติผิดศีลธรรม หรือบางทีก็
อดทนต่อส่ิงท่ีมาเร้าไม่ไหว เพราะความอยากได้ อยากจะดี อยากจะ
เด่น หรือเพราะความเสียใจ โกรธแค้นพยาบาทอาฆาตจองเวร จึงได้
กระทำาทุจริตลงไป แล้วผลท่ีเกิดขึ้นก็คือทุกข์โทษภัยพร้อมทัง้การ
เวียนว่ายตายเกิด แต่ถ้ามีปัญญาร่วมด้วยแล้ว ก็จะได้อาศัยปั ญญา
เหล่านัน
้ เข้าสกัดกัน
้ หนทางเดินท่ีจะไปในทางขรุขระทุรกันดารเสียได้
มากทีเดียว

นอกจากนัน ้ การทำาบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ท่ีไม่


ประกอบด้วยปั ญญานัน ้ จะทำาให้เกิดท่ีดีมีความสุขทางโลกๆ อย่างไร
ก็ตาม ก็ยังเป็ นบันไดเบ้ืองต้นท่ีจะนำาไปสู่พระนิพพาน และอาจจะ
เถลไถลเสียในระหว่างทางได้โดยง่าย เพราะขาดปั ญญาพิจารณา
ปั ญหาของชีวิตท่ีลึกซึ้ง แต่ปัญญาอันได้แก่ความเห็นท่ีถูกต้องนัน้ หา
ใช่เป็ นบันไดเบ้ืองต้นท่ีจะไปสู่พระนิพพานไม่ หากแต่เป็ นบันไดขัน ้
สุดท้ายใกล้ชิดกับพระนิพพานมากท่ีสุด การเวียนว่ายตายเกิด ความ
ทุกข์ระทมขมข่ ืนท่ีชีวิตจะได้รับนัน
้ จะได้พ้นไปได้โดยง่ายและรวดเร็ว
แล้วเสียเวลาน้อยกว่ากันมากอย่างเทียบกันไม่ได้ สำาหรับในเร่ ือง
ปั ญญานัน ้ ผมขอให้ทา่ นอ่านจากหนังสือช่ ือ"ปั ญญา" ของอภิธรรม
มูลนิธิ ส่วนรายละเอียดท่ีมากขึ้นกว่านี ท้ า่ นจะได้ศึกษาในโอกาส
ต่อๆ ไป ในเร่ ืองมหากุศลญาณสัมปยุตต์

ถาม เม่ ือยังไม่ได้เรียนธรรมะนัน้ จะทำาอะไรก็ทำาได้ตามสบาย จะเดิน


ไปทางไหนก็ไม่ต้องเป็ นห่วงว่าจะเหยียบสัตว์ตาย จะเข้าห้องน้ำาก็ไม่
ต้องคิดอะไร ผมเช่ ือว่าบาปคงจะไม่เกิด เพราะไม่ได้ตัง้ใจจะทำาให้สัตว์
ตาย แต่บัดนี้ ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะเข้าแล้ว ก็ให้เกิดความยุ่งยาก
ลําบากขึน ้ เพราะเดินในท่บี างแห่งกลัวว่าจะไปเหยียบเอาสัตว์ตัว
เล็กๆ เข้า แม้เข้าห้องน้ำาพบมดหลายตัว ก็ต้องลำาบากไล่มันกว่าจะ
ออกไปได้เพราะบางทีมันก็ด้ือ เม่ ือความลำาบากยุ่งยากใจเกิดขึ้นเช่น
นี ไ้ม่เป็ นอกุศลดอกหรือ ถ้าเช่นนัน้ ไม่เรียนธรรมะเสียเลยจะไม่ดี
หรือ?

ตอบ ผมก็เห็นจริงตามท่ีท่านได้ถามมา ในเร่ ืองความลําบากจะต้อง


เกิดขึน
้ บ้างเม่ ือได้เรียนธรรมะไปแล้ว เพราะจะต้องมีความสังวรณ์
ระวังผิดกว่าเม่ ือตอนไม่ได้เรียน

ความจริงท่ีเห็นได้ง่ายๆ จากการท่ีไม่เข้าใจสภาวธรรมก็คือ เดินไป


ไหนไม่ต้องมีความระวังว่าจะไปเหยียบสัตว์ตาย เข้าห้องน้ำาบางทีก็ไม่
ได้สังเกตว่ามีมดอยู่บ้างหรือเปล่า เสร็จธุระแล้วก็ออกมา ดังนัน้ บาป
ท่ีเกิดจากการไปเหยียบสัตว์หรือจากการเดินการเข้าห้องน้ำาก็ไม่มี
เพราะไม่ทราบด้วยซ้ำาว่าจะมีสัตว์อะไรบ้างหรือเปล่า เจตนาจะฆ่าสัตว์
จึงมิได้เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ท่านนักศึกษาพิจารณาดูให้ดีก็จะเห็นว่า
เราไม่ได้เกิดบาปก็จริง แต่เราก็ไม่เกิดบุญด้วยเหมือนกัน

ส่วนผู้ท่ีเรียนธรรมะต้องได้รับความลำาบากใจขึ้นบ้าง แต่ก็ได้บุญอยู่
เสมอ ส่วนอกุศลนัน ้ ถ้าจะนับก็เป็ นอกุศลจิต แต่เป็ นอกุศลเล็กน้อย
และเล็กน้อยมาก เพราะว่าอกุศลนีเ้ป็ นปั จจัยให้เกิดกุศล

กุศลผลบุญบางชนิด ถ้าบาปไม่เกิดเสียก่อนแล้ว บุญท่ีว่านัน ้ ก็จะเกิด


้ มาไม่ได้ เพราะบุญชนิดนีต
ขึน ้ ้องอาศัยบาปเป็ นปั จจัย คืออาศัยบาป
มาเป็ นตัวสนับสนุนให้บุญเกิด ด้วยเหตุนีเ้อง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงได้สอนให้กระทำาให้มากให้กระทำาอยู่เสมอ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็สอนกัน
อยู่ทัว่ไป นัน
่ ก็คือความกรุณา

ความกรุณาคืออะไร? ความกรุณาก็ได้แก่ความสงสารสัตว์ท่ีตกทุกข์
ได้ยากหรือลำาบากต่างๆ แล้วมีจิตคิดช่วยเหลือให้พ้นไปจากความ
ทุกข์ยากลำาบากนัน
้ แต่ความกรุณาจะเกิดขึ้นมาได้ก็ด้วยอาศัยหลัก
๓ ประการ คือ

๑. ต้องมีสัตว์อยู่เฉพาะหน้า
๒. สัตว์นัน
้ ต้องมีความทุกข์
๓. บาปหรืออกุศลจะต้องเกิดขึ้นมาก่อน

ความกรุณาท่ีจะเกิดขึ้นมาได้นัน
้ จะต้องอาศัยหลักทัง้ ๓ ประการดัง
กล่าว จะขาดไปเสียประการใดประการหน่ึงไม่ได้เลยเป็ นอันขาด
เพราะถ้าขาดไปเสียแล้ว จิตท่ีเกิดขึ้นมานัน
้ จะเรียกว่าเป็ นความกรุณา
ไม่ได้ และกุศลจิตจากความกรุณาก็ไม่เกิดด้วยเหมือนกัน แต่เหตุ
ไฉนเล่า จึงได้กำาหนดกฏเกณฑ์เอาไว้เช่นนี ข้อให้ลองพิจารณาดูให้ดี

๑. ท่ีวา่ ต้องมีสัตว์มาอยู่เฉพาะหน้านัน ้ หมายความว่า กุศลทัง้หลาย


เกิดขึ้นมาได้โดยไม่ต้องมีสัตว์มาอยู่เฉพาะหน้าเลย เช่นการระลึกถึง
กุศลท่ีได้ทำาไปแล้ว เช่นไปทอดกฐินหรือการไปฟั งธรรมะ รักษาศีล
หรือปฏิบัติวป ิ ั สสนา เหล่านีเ้ป็ นต้น มิได้มีสัตว์อะไรมาอยู่ต่อหน้าเลย
กุศลก็เกิดได้

สำาหรับความกรุณานัน ้ จะต้องมีสัตว์อยู่เฉพาะหน้า เช่น เป็ นคนหรือ


เป็ นสัตว์เดรัจฉานก็ตาม แต่ท่ีว่าอยู่เฉพาะหน้านัน้ มิได้หมายความว่า
จะต้องมีสัตว์มาอยู่ต่อหน้าต่อตาจริงๆ ตามถ้อยคำา (เช่นตาเห็น) ก็ได้
อาจได้ยินเสียงสัตว์ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด หรือระลึกถึง
สัตว์ทก่ี ำาลังตกทุกข์ได้ยากต่างๆ เกิดจากความคิด ก็เป็ นต่อหน้าได้
เหมือนกัน

๒. ต้องเป็ นสัตว์ท่ีมีความทุกข์ ข้อนีห้ มายความว่า ถ้าสัตว์นัน


้ ไม่มี
ทุกข์แล้ว ความกรุณาจะเกิดขึ้นมาไม่ได้เลย เช่นเห็นคนนัง่รถยนต์
เก๋งส่วนตัวราคาแพงมาหา หรือเห็นสัตว์เช่นสุนัขท่ีอ้วนท้วนสมบูรณ์
ขนปุกปุยน่ารักเดินมา เราก็จะเกิดความกรุณาไม่ได้แน่ ไม่เหมือนกับ
คนง่อยเปลีย ้ เสียขา หรือสุนัขท่ีหิวโหยอดโซเดินเข้ามาหา เราก็จะเกิด
ความสงสารอยากจะช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้

ด้วยเหตุดังนีเ้อง ท่านนักศึกษาสังเกตดูให้ดีก็จะเห็นว่า ขอทานท่ี


ร้องขออยู่นัน
้ จะพยายามเอาส่วนท่ีพิกลพิการของตนออกมาอวด เขา
จะพยายามแสดงถึงความทุกข์ยากลำาบาก หรือร้องขอสตางค์ด้วย
เสียงละห้อยให้น่าสงสาร ย่ิงทำาให้น่าสงสารได้เท่าใดก็จะได้สตางค์
มากเท่านัน
้ เพราะผู้ได้พบเห็นเกิดความกรุณาด้วยสัตว์ท่ีมท ี ุกข์มาอยู่
ต่อหน้า แต่ถ้าขอทานคนใดแต่งตัวโก้ และไม่แสดงให้เห็นทุกข์แล้ว
ขอทานคนนัน ้ ก็จะหาอาชีพทางขอทานไม่ได้แล้วจะต้องอดตาย

๓. บาปหรืออกุศลต้องเกิดเสียก่อน ความกรุณาจึงจะเกิดได้ ในข้อ


นีผ
้ มขออธิบายโดยตัง้คำาถามกับท่านนักศึกษาสักหน่อยว่า เม่ ือท่าน
ได้พบคนท่ีกำาลังมีทก
ุ ข์แสนสาหัส หรือท่านได้พบสัตว์ท่ีอดอยาก
หิวโหยทรมาน ใจของท่านรู้สึกอย่างไร ท่านจะยิม้ แย้มแจ่มใสได้หรือ
จิตใจของท่านไม่เศร้าหมองดอกหรือ และเม่ ือใจเศร้าหมองแล้ว ไม่
เป็ นบาปอกุศลหรืออย่างไร แต่ย่ิงเศร้าหมองมาก ความกรุณาก็จะ
เกิดมากเสียอีก

ดังนัน้ ก็จะเห็นว่า ความกรุณาจะเกิด จิตใจจะต้องเศร้าหมองทุกข์


ครัง้ไป เพราะอกุศลเป็ นปั จจัยให้ความกรุณาเกิดขึ้นมาได้ แต่อย่างไร
ก็ดี อกุศลท่ีเป็ นปั จจัยดังกล่าวมานี เ ้ ป็ นอกุศลเบ็ดเตล็ดเล็กๆ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญผู้มีความกรุณา

ตามท่ีผมได้บรรยายมานี ท ้ ่ านทัง้หลายสงสัยจะลอ
ไปตามท่ีต่างๆ แล้วคอยสังเกตดูก็จะเห็นได้ไม่ยากอะไร แล้วก็จะ
ทราบความจริงว่า อันความกรุณาจะมีขึ้นมาได้นัน ้ จะขาดหลักการท่ี
ได้วางเอาไว้แม้แต่ข้อเดียวก็ไม่ได้

ดังนัน
้ ท่านท่ีได้เรียนธรรมะแล้ว ได้เกิดความยุ่งยากลำาบากใจบ้างนัน ้
ความยุ่งยากลำาบากใจหรือความเศร้าหมองท่ีเกิดขึ้นมาก็เพราะความ
สงสารสัตว์ท่ีกำาลังมีทก ุ ข์จะตายเสียเปล่าๆ จึงได้ช่วยเอาไว้ หรือไม่
กล้าเหยียบย่ำาลงไป กุศลจิตจากความกรุณาจะเกิดขึน ้ ย่ิงลําบา
กบ่อยๆ กุศลก็เกิดบ่อยๆ แต่ผู้ไม่ได้เล่าเรียนธรรมะจะเดินไปไหน
หรือจะแวะเข้าห้องน้ำาก็ไม่ได้สังเกตอะไร บาปอกุศลก็ไม่เกิดขึ้นเลย
แต่บุญจากกรุณาก็มข ี ึ้นมาไม่ได้เหมือนกัน

ด้วยเหตุนีผ
้ มจึงขอให้ท่านทัง้หลายจงได้พิจารณาดูว่า ควรจะเรียน
ธรรมะหรือหาไม่ เพราะนอกจากจะได้กุศลจากความกรุณาเป็ น
ประจำาแล้ว ยังทำาให้เบาสบายคลายจากความทุกข์ ได้ไปเกิดเป็ นคนมี
ปั ญญา สามารถพาชีวิตของตนให้พ้นจากขวากหนามได้ง่ายย่ิงขึ้น
บัดนี ผ ้ มก็ได้แก้ปัญหาของท่านแล้วการปฏิบัติอย่างไรก
ของท่านว่าจะเอาอย่างไหน แล้วก็เชิญปฏิบัติได้ตามอัธยาศัย

คําบรรยายพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทท่ี ๑ (ครัง้ท่ี ๑๗)


ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันท่ี ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘

เม่ ือสัปดาห์ก่อน ผมได้แสดงถึงความเห็นผิดท่ีเรียกว่า มโนกรรมตัว


ท่ี ๒ คือ อเหตุกทิฏฐิ ว่ามีความเห็นท่ีไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ผมได้ชี้
ให้เห็นถึงผู้ท่ีมีความคิดเห็นปฏิเสธเหตุ มีความเช่ ือว่า ความสุข ความ
ทุกข์ ความมัง่มีหรือยากจน ตลอดถึงความเป็ นไปของสัตว์ทัง้หลาย
นัน้ ย่อมไม่มีเหตุในอดีตเข้ามาร่วมหรือเข้ามาสนับสนุน โดยเช่ ือแต่
เหตุผลต้ืนๆ เผินๆ ท่ีเกิดขึ้นต่อหน้าจากการกระทำาเฉพาะในปั จจุบัน
ตามท่ีพระพุทธโฆสาจารย์แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถาว่า

"นตฺถิ เหตูติ วทนฺโต อุภยำ ปติพาหติ" แปลความว่า ผูท ้ ่ีมีความเห็น


ว่า ความทุกข์ ความสุขของสัตว์ทัง้หลาย มิได้เก่ียวเน่ ืองมาจากเหตุ
นัน
่ ก็คือ ปฏิเสธทัง้เหตุทัง้ผลไปด้วย
สำาหรับในวันนี ผ ้ มก็อกิ
จะได้บรรยายถึงนิยตมิ
ริยทิฏฐิ ต่อไป ในพระบาลีสามัญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรค ว่า

"กโรโต การยโต ฉินฺทโต เฉทาปยโต ปจโต ปจาปยโต โสจยโต โสจาป


ยโต กิลมยโต กิลมาปยโต ผนฺทโต ผนฺทาปยโต ปาณมติปาตยโต อ
ทินฺนำอาทิยโต สนฺธึฉินฺทโต นิลฺโลปำ หรโต เอกคาริกก
ำ โรโต ปริปนฺเถ
ติฏฐโต ปรทรำคจฺฉโต มุสาภณโต กโรโตนกรียติปาปำ "

ผู้ท่ีมีความเห็นผิดชนิดท่ีเรียกว่า อกิริยทิฏฐิ คือเห็นว่า การกระทำาดี


การกระทำาชัว่ของสัตว์ทัง้หลาย จะทำาเองหรือใช้คนอ่ ืนทำาก็ตาม ไม่ได้
ช่ ือว่าเป็ นบาปหรือเป็ นบุญ

การทำาร้ายโดยการตัดอวัยวะของผู้อ่ืน เช่นการเชือดเฉือนอวัยวะของ
ผู้อ่ืน จะเป็ นผู้กระทำาเองหรือใช้ให้ผู้อ่ืนกระทำาก็ตาม ก็ไม่ได้ช่ือว่า
กระทำาบาป

การลงโทษผู้อ่ืนโดยปรับเงินทองหรือเฆ่ียนตีทำาให้ผู้อ่ืนเดือดร้อน จะ
ทำาเองหรือใช้ให้คนอ่ ืนทำา ก็ไม่ช่ือว่าทำาบาป

การยึดถือเอาวัตถุส่ิงของต่างๆ หรือทำาให้ผู้อ่ืนได้รับความเศร้าโศก
เสียใจ โดยจะทำาเองหรือใช้ให้คนอ่ ืนทำาก็ตาม ไม่ช่ือว่าทำาบาป

การลงโทษตนเองโดยทรมานให้อดอยากลำาบากหรือยอมติดอยู่ใน
เรือนจำา หรือแนะนำาสัง่สอนผู้อ่ืนท่ีเช่ ือถือตนให้ได้รับความทุกข์
ทรมานโดยสอนให้คนอ่ ืนกระทำาตาม ก็ไม่ได้ช่ือว่ากระทำาบาป

ความทุกข์ความเดือดร้อนของตนหรือทำาให้ผู้อ่ืนทุกข์ระทมขมข่ ืน
อย่างไร ก็ไม่ได้ช่ือว่าเป็ นบาป

การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อ่ืนฆ่า ก็ไม่ได้ช่ือว่าเป็ น


บาป

การลักทรัพย์ด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อ่ืน ก็ไม่ช่ือว่าเป็ นขโมยหรือไม่ได้


ช่ ือว่าเป็ นบาป

กาตัดช่องย่องเบาหรือใช้ผู้อ่ืนก็ไม่เป็ นบาป

การช่วงชิงทรัพย์สินเงินทองด้วยตนเองหรือใช้ผู้อ่ืน ก็ไม่ได้ช่ือว่า
กระทำาบาป

การบุกรุก การแย่งชิงทรัพย์สินด้วยตนเองหรือใช้ผู้อ่ืน ก็ไม่เป็ นบาป

การประพฤติผิดในกามในภรรยาของผู้อ่ืน ไม่เป็ นบาป

การพูดมุสา ไม่เป็ นบาป


การกระทำาต่างๆ ดังกล่าวไม่ว่าจะกระทำาด้วยตนเองก็ดี หรือจะใช้ให้
คนอ่ ืนทำาก็ดี เหล่านีก
้ ็ช่ือว่าไม่เป็ นบาปทัง้นัน

ความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐินี้ เป็ นความเห็นท่ีปฏิเสธกรรมอันเป็ น


้ จึงเท่ากับปฏิเสธผลของกรรมสําเร็จไปด้วย ดังท่ี
ตัวต้นเหตุ ดังนัน
พระพุทธโฆสาจารย์แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรอรรถกถาว่า

"กมฺมํ ปฏิพาหนฺเตนาปิ วิปาโก ปติหาหิโต โหติ"


แปลว่า เม่ ือปฏิเสธการทำาบาป การทำาบุญ อันเป็ นตัวเหตุแล้ว ก็
เหมือนกับการปฏิเสธผลของการทำาบาปทำาบุญนัน ้ ด้วย

ความเห็นผิดในแง่มุมต่างๆ นัน ้ มีมากมาย ทัง้นีก้ ็เพราะว่า เร่ ืองของ


ชีวิตมีความกว้างขวางลึกซึ้งเป็ นอย่างย่ิง ยากท่ีผู้ใดท่ีมิได้ศึกษาเล่า
เรียนให้ถึงแก่น หรือมิได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษแล้ว จะเข้าถึง
ความจริงได้ ย่ิงท่ีมีความรู้ ศึกษาเล่าเรียนมาในทางวิทยาศาสตร์ หรือ
วิชาสาขาอ่ ืนๆ เช่น ชีววิทยา หรือจิตวิทยา เม่ ือศึกษาวิชาการทางโลก
อ่ ืนๆ มามากแล้ว ก็จะมีเหตุผลเป็ นของตนเอง ก็มก ั จะเห็นผิดใน
เร่ ืองของกรรมเป็ นส่วนมาก ก็ย่อมจะปฏิเสธเหตุผลต่างๆ ในเร่ ือง
ของกรรม บางท่านก็โดยสิน ้ เชิง แล้วไม่ยอมหันหน้าเข้ามาหาความ
จริงจากพระธรรมท่ีวา่ ด้วยเร่ ืองของชีวิต เห็นเร่ ืองชีวิตในทางพระ
อภิธรรมเป็ นเร่ ืองเพ้อฝั นไป

หลายท่านทีเดียว ทัง้ๆ ท่ีมีช่ือในสำามะโนครัวว่านับถือพระพุทธ


ศาสนา แต่ไม่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนพุทธศาสนาอย่างจริงๆ เลย ไม่
เคยได้รับการอบรมในหลักธรรมะท่ีละเอียดมาให้เพียงพอ ก็ไม่เคย
เช่ ือผลของการทำาบาปทำาบุญ ว่าบาปบุญท่ท ี ำาลงไปแล้วนัน ้ มีความ
สามารถท่ีจะสนองตอบแก่ผู้กระทำาได้ ดังนัน ้ จึงได้ถกเถียงไปในแง่
มุมต่างๆ พยายามท่ีจะเอาเหตุผลในวิชาการทางโลกเข้ามาหักล้าง
เพ่ ือหวังจะได้ชนะแต่ประการเดียว ทัง้นีก้ ็เพ่ ือให้ตรงต่ออุดมการณ์
ของตนท่ีได้ยึดถือเอาไว้แล้วแต่อดีต

ด้วยเหตุนีเ้อง เราจึงได้เห็นคนเป็ นอันมากพูดล้อๆ กันว่า กําดีกว่า


แบ เพราะแบแล้วไม่ได้อะไรเลย หรือพูดว่า กรรมมองไม่เห็นตัว
กรรมไม่มีตัวไม่มีตนจะมาให้ผลได้อย่างไร หรือยกตัวอย่างว่า ถ้า
กรรมทำาให้เกิดผลได้จริงๆแล้ว เหตุไฉนจึงไม่ทำาให้คนขีโ้กง คนฆ่า
สัตว์ตัดชีวิตอยู่เสมอๆ คนท่ีชอบจีช้อบปล้น ให้ล่มจมหรือล้มตายลง
ไปต่อหน่าต่อตา ทำาไมคนท่ีทำาผิดคิดร้ายถึงดังนี จ้ึงร่ำารวยอยู่เย็น
เป็ นสุขขึ้นทุกวันๆ

บรรดาบุคคลเหล่านี อ ้ ย่างมากก็จะเช่ ือผลของกรรมชนิดท่ีต้ืนๆ


เผินๆ ท่ีเป็ นผลเกิดขึ้นต่อหน้าท่ีเห็นๆ อยู่เท่านัน
้ ทัง้เป็ นการพูดๆ
กันไปโดยท่ีไม่มีน้ำาหนักอะไร เช่นเป็ นคนลักขโมยจึงได้ถูกจับไปติด
ตะราง เป็ นคนขีโ้กงจึงได้ประสบภัยพิบัติตา่ งๆ หรือคนไปยิงสัตว์ใน
ป่ าเสมอแล้วถูกปื นเข้าเป็ นต้น นอกจากนัน ้ เขาจะยกเอาความบังเอิญ
ขึ้นมา โดยอ้างว่าบังเอิญเป็ นดังนัน้ บังเอิญเป็ นดังนี้ แต่ตามหลัก
ของพระพุทธศาสนาแล้ว ความบังเอิญไม่มี ความเป็ นไปของสัตว์ทัง้
หลายย่อมเกิดขึ้นมาแต่เหตุทัง้นัน ้

บางคนในสมัยนี ก ้ ็ยังกล้ากล่าวแสดงความเห็นผิดท่ีน่ากลัว
อันตรายเหมือนกับคนในสมัยพุทธกาล คือพวกเดียรถีย์ เช่นพูดว่า
เม่ ือเราเอาดาบฟั นผู้อ่ืนให้ตาย ดาบก็เป็ นวัตถุ เป็ นสสาร ร่างกาย
ของคนก็เป็ นวัตถุ เป็ นสสารด้วยกัน ทําให้ผู้อ่ืนล้มตายลงแล้ววัตถุ
สสารจะเป็ นบาปได้อย่างไร

ความเห็นรุนแรงท่ีน่ากลัวนีเ้กิดขึน
้ กับผู้ใด เขาจะทําบาปไม่ว่าจะร้าย
แรงเพียงใดได้ทุกชนิด เขาจะต่อสู้เอาเปรียบเบียดเบียนอย่างไม่มี
ความปรานีใคร ขอแต่ให้เขาได้อะไรท่ีต้องการให้สมกับปรารถนา
เท่านัน
้ อย่างมากเขาก็จะกลัวว่า มีคนรู้คนเห็น หรือกลัวผิดกฎหมาย
บ้านเมือง ถ้าเขามีทางท่ีจะหลีกเล่ียงจากคนรู้คนเห็นได้ ถ้าเขาเห็นว่า
จะหลีกมือกฎหมายไปให้พ้นได้ เขาก็จะกระทำาลงไปอย่างสุดเหว่ียงที
เดียว ทัง้นีไ้ม่ว่าบาปจะมากสักแค่ไหน

ความเห็นผิดท่ีเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิทัง้ ๓ คือ

๑. นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่า คนตายแล้วก็สูญไปเกิดอีกไม่ได้


ความเห็นผิดนีฝ ้ ั งมัน
่ ประจำาใจ จึงมีความเช่ ือว่า ผลอันเกิดขึ้นมาจาก
การกระทำาท่ีแล้วๆ มาของตนให้ผลไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็ นบุญหรือ
เป็ นบาปก็ตาม ด้วยเหตุนี ก ้ ารกราบไหว้บูชาไม่มีผลอ
นรก เปรต เทวดา ไม่มี ทำาบุญทำาบาปแล้วก็แล้วกันไป ไม่มีผลอะไร
ขึ้นมาได้ สุขหรือทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะการกระทำาในปั จจุบัน และ
บางทีก็บังเอิญเกิดขึ้นเอง เป็ นผู้ปฏิเสธผลของกรรมต่างๆ

๒. อเหตุกทิฏฐิ เป็ นผู้มีความเห็นผิดชนิดปฏิเสธเหตุ เห็นว่าสัตว์ทัง้


หลายจะสบายหรือลำาบากก็ตาม จะร่ำารวยหรือยากจนก็ตาม จะเจ็บ
ป่ วยมากหรือน้อยก็ตาม หาได้มีชนกเหตุ คือเหตุท่ีทำาให้เกิดขึ้น และ
อุปถัมภกเหตุ คือเหตุทท ่ี ำาให้ความเป็ นไปของชีวิตยังคงอยู่ ไม่เช่ ือ
เหตุในอดีตว่าจะมาส่งผลได้

๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเป็ นผิดชนิดปฏิเสธผลว่า จะทำาดีหรือทำาชัว่


บุญหรือบาปก็ตาม ไม่เป็ นเหตุท่ีจะให้เกิดผลขึ้นมาได้ ไม่เช่ ือเหตุท่ีจะ
ทำาให้เกิดผล ทัง้ไม่เช่ ือผลท่ีได้รับว่ามาแต่เหตุประการใด แต่มค
ี วาม
เช่ ือว่า ความเป็ นไปของสัตว์ทัง้หลาย สักแต่ว่ากระทำาลงไปเท่านัน ้

ความเห็นอันไม่ถูกต้องทัง้ ๓ อันนี ถ ้ ้าเป็ นไปในชนิดท่ีมีกำาลัง


เหนียวแน่นมีความคิดเห็น คือเช่ ือในทางผิดๆ นีห ้ นักแน่นมัน่ คง
แล้ว ก็นับว่าเป็ นภัยร้ายแรงแก่ชีวิตของผู้นัน ้ อย่างน่าประหวัน่ พรัน

พรึงมากทีเดียว ย่ิงเป็ นผู้ท่ียึดความเห็นนีอ
้ ย่างหนักแน่นมัน
่ คงแล้ว
ยังเอาไปแสดงไปเผยแพร่ต่อๆ ไปยังบุคคลเป็ นอันมาก โดยพยายาม
หาหนทางท่ีจะให้คนทัง้หลายเหล่านัน ้ มีความคิดเห็นโน้มเอียงไปใน
ความเห็นผิดของตนด้วยแล้ว หนทางเดินของชีวิตในอนาคต คือชาติ
หน้าจะมืดมนจะปราศจากความแจ่มใส จะได้รับความทุกข์ร้อนอย่าง
แสนสาหัส เพราะจะไม่สามารถหลุดพ้นจากอบายภูมิได้เลย

ในครัง้พุทธกาล คณาจารย์ใหญ่เดียรถีย์ ผู้ตัง้ตัวเป็ นผู้รู้ดีสัง่สอน


บรรดาศิษย์ของตนไปในหนทางท่ีไม่ถูกต้อง แล้วได้รับอันตรายเม่ ือ
ชีวิตหาไม่แล้วอย่างแสนสาหัส คณาจารย์เดียรถีย์เหล่านี ม ้ ีความ
เห็นผิดชนิดนิยตมิจฉาทิฏฐิ ท่ีมาในสุตตันตปิ ฎก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย
ศีลขันธวรรค ผสามัญญผลสูตร)

ท่านท่ี ๑ คือ อาจารย์อชิตเกสกัมพล สัง่สอนศิษย์ของตนว่า การให้


ทาน การเคารพกราบไหว้ การบูชา และการเซ่นสรวง โลกนี โ้ลก
หน้า ตลอดจนถึงผลกรรมว่าไม่เป็ นจริง ถือว่าผลทัง้หลายเกิดขึ้นมา
มากมายกับคนทัว่ไปนัน ้ เกิดขึ้นเอง ด้วยความคิดสติปัญญาของ
ตนเอง สัตว์ทำาปั ญญาให้แจ้งโลกนีโ้ลกหน้า ก็ด้วยปั ญญาอันย่ิงของ
ตน บุคคลก็ไม่มีอะไรเป็ นพิเศษ คนก็คือการประชุมของธาตุดิน น้ำา
ไฟ ลม เม่ ือตายแล้วก็กลายเป็ นดิน น้ำา ไฟ ลม ไปหมด

การให้ทาน การเคารพกราบไหว้ การบูชา การเซ่นสรวง โลกนีโ้ลก


หน้าเป็ นเร่ ืองของคนเขลาบัญญัติเอาไว้ ความกล่าวเหล่านัน้ ล้วนแต่
ไม่เป็ นผล ล้วนแต่เป็ นคำาเท็จทัง้สิน
้ อาจารย์อชิตเกสกัมพลผู้นี้
ถ้าว่าตามความคิดเห็นของท่านก็เป็ นความคิดเห็นผิดชนิดนัตถิก
ทิฏฐิ คือ เช่ ือว่าจะทำาอะไรๆ ลงไปก็ตาม ผลจากการกระทำานัน ้ จะไม่
เกิดขึ้น

ท่านท่ี ๒ คือ อาจารย์มักขลิโคศาล สัง่สอนศิษย์ของตนว่า ความ


เป็ นไปของสัตว์ทัง้หลายเกิดขึ้นแล้วก็เป็ นไปเองตามธรรมดาสามัญ
เช่น ความเศร้าหมองของสัตว์ก็มิได้มีเหตุปัจจัยมาสนับสนุน ทัง้ไม่มี
เหตุไม่มีปัจจัยอะไรเพ่ ือเข้าถึงความบริสุทธิน
์ ัน
้ ด้วย แล้วก็เปรียบว่า
เหมือนกลุ่มด้ายท่ีบุคคลขว้างออกไปย่อมค่อยๆ คล่ีออกๆ แล้วก็หมด
ม้วนเอง ความเห็นผิดของท่านอาจารย์มักขลิโคศาลนี เ้ป็ นความ
เห็นผิดชนิดอเหตุกทิฏฐิ ผู้มีความเห็นว่า ความเป็ นไปในชีวิตของ
สัตว์ทัง้หลายนัน้ ไม่ได้มีเหตุเป็ นแดนเกิดแต่ประการใด

ท่านท่ี ๓ คือ อาจารย์บูรณกัสสป ท่านอาจารย์ผู้นีส ้ ัง่สอนศิษย์ของ


ตนว่า กระทำาเองหรือใช้ให้คนอ่ ืนกระทำา ก่อให้เกิดความเศร้าโศก
เสียใจต่อผู้อ่ืน หรือแม้การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ปล้นหรือจีก้ ็ตาม ไม่
ถือว่าเป็ นบาปกรรมอะไร เป็ นความเป็ นไประหว่างวัตถุกบ ั วัตถุ แม้
การบูชา การให้ทาน การบวงสรวง การรักษาศีล ย่อมไม่ทำาให้ผลเกิด
ขึ้น ความเห็นผิดของท่านอาจารย์บูรณกัสสปนี เ้ป็ นความเห็นผิด
ชนิดอกิริยทิฏฐิ โดยมีความเห็นผิดว่า การกระทำาต่างๆ ของสัตว์ทัง้
หลาย กระทำาลงไปแล้ว ไม่เป็ นบุญ ไม่เป็ นบาปแต่ประการใด

ความเห็นผิดของท่านอาจารย์ทัง้ ๓ นี เ้ป็ นความเห็นผิดของบุคคล


ชัน
้ อาจารย์ ซ่ึงมีความเห็นยึดเหน่ียวท่ีเหนียวแน่นเป็ นพิเศษ ถ้าจะ
จัดเป็ นอกุศลคันถธรรม ซ่ึงหมายถึงการผูกมัด หรือผูกคล้องสัตว์เอา
ไว้ เพราะด้วยอาศัยความเห็นท่ีผิดของตนเอง หรือพูดอีกนัยหน่ึงก็
คือ เอาความคิดเห็นท่ีต้ืนๆ เผินๆ ท่ขี าดเหตุผลท่ีลึกซึ้งของตนเองท่ี
ขาดการศึกษา ขาดการพิจารณาโดยแยบคายของตนเองมาผูกพันมัด
รัดตนเองเอาไว้ให้ต้องตกลงไปสู่ความทุกข์ยากลำาบากท่ีสุดท่ีจะ
พรรณนาได้

เพราะเป็ นความเห็นผิดของบุคคลชัน ้ อาจารย์ท่ีมีความเห็นผิดชนิด


เหนียวแน่น ดังนีเ้รียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ได้แก่ความยึด
มัน
่ ผิดๆ จริงจังเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อย ถือว่าความเห็นของใครๆ
ไม่ถูกต้องไปเสียหมด โดยไม่ได้อาศัยเหตุผลให้เพียงพอ จึงเป็ นเหตุ
ให้ถกู ผูกมัดเอาไว้ให้เวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์ เวียนว่ายอยู่ใน
สังสารวัฏฏ์เป็ นเวลานานแสนนาน

อาจารย์ผู้ตกอยู่ในฐานะมีความเห็นผิดทัง้ ๓ นี เ้ป็ นนิยตมิจฉา


ทิฏฐิ ย่อมจะเผยแพร่ความเห็นอันไม่ถูกต้องของตนออกสู่ประชาชน
กระทำาให้ประชาชนเป็ นอันมากประพฤติปฏิบัติผิดๆ ไปจากทำานอง
คลองธรรม เช่นว่า บาป บุญ ให้ผลไม่ได้ เป็ นต้น กําลังอํานาจของ
ความเห็นผิดนีม ้ ีกําลังมีความสามารถส่งผลให้ไปบังเกิดในนิรยภูมิ
คือเป็ นสัตว์นรกในลําดับแห่งจุติจิต โดยไม่มีระหว่างคั่น หมายความ
ว่า ตายเม่ ือใดก็ลงนรกทันทีเม่ ือนัน้ ไม่ต้องไปเกิดยังท่ีอ่ืนใดเสีย
ก่อน ทัง้นีก้ ็เพราะความเห็นผิดของท่านทัง้ ๓ นี ย ้ ึดมั่นเหนียว
แน่นมาก ทัง้ได้ขยายการงานท่ีทําให้เกิดความเสียหายออกไปอย่าง
กว้างขวาง

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานด้วยวิธีการต่างๆ เพ่ ือจะได้


เพิกถอนความเห็นผิดอันน่าเกรงอันตรายนัน ้ เสีย ก็ไม่บังเกิดผล
สำาเร็จ แต่อย่างไรก็ดี พวกลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ทัง้ ๓ นี แ ้ ม้จะ
ได้ติดตามความคิดเห็นของอาจารย์ของตนไป ก้เป็ นไปในระยะแรกๆ
เท่านัน้ กำาลังของอกุศลกรรมจึงยังอ่อนอยู่ เหมือนต้นพืชท่ียังไม่
เติบโต ยังไม่ได้แผ่กว้างออกไป ทัง้ยังลงรากไม่ลึก จึงยังมิได้สำาเร็จ
เป็ นนิยตมิจฉาทิฏฐิท่ีแน่วแน่อย่างไร

เม่ ือได้พิจารณาหรือใคร่ครวญเข้าถึงเหตุผลแล้ว กลับใจเสียได้ ความ


เห็นท่ีไม่ถูกต้องเล่านัน
้ ก็อาจค่อยๆ เส่ ือมคลายลงไปได้ ซ่ึงแตกต่าง
กับบุคคลชัน ้ อาจารย์ทัง้หลาย ถึงอย่างไรๆ ก็ยังยึดไว้ไม่ยอมให้คลาย
ตัวลงไปเลย
ตามท่ีผมได้เล่ามาแล้ว เป็ นเร่ ืองท่ีเกิดขึ้นในครัง้พุทธกาลท่บี ุคคลมี
ความคิดอ่านเป็ นนิยตมิจฉาทิฏฐิ แต่ในสมัยไหนๆ ก็ย่อมจะมีความ
เห็นผิดชนิดนีไ้ด้เสมอๆ แม้ในสมัยนีซ ้ ่ึงเป็ นยุคของปรมาณู ยุคของ
อวกาศ ก็มีผู้มคี วามเห็นผิดนีไ้ม่น้อยอยู่เหมือนกัน พ้ืนฐานการ
ศึกษาในวิชาการทางโลกในสาขาวิชาแขนงต่างๆ ท่ีได้ช่วยให้ผู้ศึกษา
บังเกิดความรู้ความฉลาดมีเหตุผลมากขึ้นก็จริง แต่เป็ นความรู้ความ
ฉลาดมีเหตุผลในเร่ ืองท่ีนอกไปจากตัวเอง หาได้ช่วยให้เข้ามาใกล้
ความจริงอันลึกซึ้งของเร่ ืองชีวิต คือตัวเองได้ไม่

ถ้าหากว่าผู้นัน
้ มิได้เอาความรู้ความฉลาด เอาเหตุผลต่างๆ ของ
ตนเองเข้ามาค้นคว้าหาความจริงในปรมัตถสัจจธรรม เร่ ืองก็จะออก
จากันห่างไกลไปลิบลับ ทัง้นีก ้ ็เพราะว่าเร่ ืองของชีวิตอันลึกซึ้ง เช่น
เร่ ืองบุญหรือบาป ผลของกรรม เร่ ืองตายเร่ ืองเกิด ตลอดจนการไป
เกิดเป็ นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดาเหล่านี ใ้ช่วิสัยของปุถุชนผู้
หนาไปด้วยกิเลสทัง้หลาย หรือนักปราชญ์ราชบัณฑิตชัน ้ ใดจะค้นคว้า
ศึกษาเอาได้เองโดยมิได้อาศัยพระสัพพัญญูของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผมก็ได้นำาท่านนักศึกษาทัง้หลายเข้ามาสู่เร่ ืองเหลือเช่ ือ เหลือกำาลัง


ปั ญญาท่ีจะคิดพิจารณาให้เห็นจริงได้ว่า การไปเกิดเป็ นเปรต หรือ
เป็ นเทวดานัน ้ ไปเกิดอย่างไร เปรต อสุรกายและเทวดานัน ้ มีรูปร่าง
หน้าตาตลอดจนถึงความเป็ นไปทัง้หมดว่า เป็ นอย่างไรบ้าง เพราะใน
ขณะนีก ้ ็มิใช่เป็ นเวลาท่ีจะบรรยายถึงเร่ ืองดังกล่าว หากแต่แสดงถึง
ความเห็นผิดท่ีผู้ปฏิเสธว่าส่ิงเหล่านีไ้ม่มีนัน้ ช่ ือว่า เป็ นมิจฉาทิฏฐิ
เป็ นความเห็นอันไม่ถูกต้อง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงว่า มีเปรต
อสุรกาย และเทวดานัน ้ พระองค์มิได้บอกว่ามี แล้วขอให้ใครเช่ ือโดย
มิได้มีเหตุผล หากแต่เปิ ดโอกาสให้ศึกษาเล่าเรียนจนบังเกิดความรู้
แล้วก็ตัดสินเอาด้วยตนเอง

ผมได้แสดงมาแล้วถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิประเภทท่ี ๓ คืออกิริยทิฏฐิ อัน


เป็ นบุคคลจำาพวกหน่ึงท่ีไม่เช่ ือการทำาบุญการทำาบาป การทำาดีหรือ
การทำาชัว่ว่าให้ผลต่อไปได้ เพราะการกระทำาทัง้หลายก็สักแต่ว่า
กระทำาลงไปเท่านัน ้ เอง ผมได้อธิบายถึงผลอันเกิดขึ้นกับผู้ท่ีไม่เช่ ือ
ผลของกรรมดังกล่าวว่า จะก่อทุกข์โทษภัยให้แก่ตนเองอย่างไร ทัง้
ในชาตินี ช ้ า ต ิ หน้าและชาติต่อๆไปสำาหรับในวัน
เสนอความเห็นผิดชนิดนิยตมิจฉาทิฏฐิในรายละเอียดเพ่ิมเติมอีก

ธรรมดาของความมืดกับความสว่างนัน ้ เป็ นของคู่กัน แต่ก็หาได้


กลมกลืนเป็ นอันหน่ึงอันเดียวกันไม่ หากแต่เป็ นปฏิปักษ์ต่อกัน
หรือเป็ นธรรมท่ีตรงกันข้าม เม่ ือมีความสว่างเกิดขึ้น ความมืดก็จะ
หนีหน้าไปหมดสิน ้ แต่ถ้าความมืดเข้ามา ความสว่างก็อยู่ต่อไปไม่ได้
ผลัดกันเกิดผลัดกันดับอยู่เช่นนี้

อันความคิดเห็นของคนเราก็เหมือนกัน ย่อมจะมีความคิดเห็นเป็ น
อันหน่ึงอันเดียวหรือสอดคล้องกันก็ได้ มีความคิดเห็นชนิดตรงกัน
ข้าม เป็ นฟ้ ากับดินเลยก็มี เช่นความคิดเห็นว่า คนตายแล้วก็สูญ คน
ตายแล้วก็เกิดได้ หรือทำาบุญทำาบาปแล้วให้ผลในวันข้างหน้าไม่ได้
และทำาบุญทำาบาปลงไปแล้ว จะต้องให้ผลได้ในวันหน่ึงอย่างแน่นอน
ความเห็นผิดกับความเห็นถูก หรือความโง่กับความฉลาดนัน ้ ก็อยู่
ร่วมกันไม่ได้เช่นเดียวกับความมืดความสว่างเหมือนกัน ความเห็น
ผิดกับความมีปัญญานัน ้ มีสภาพตรงกันข้าม แม้จะเห็นว่าเป็ นคน
เหมือนกัน มีหน้า ตา แขน ขา อย่างเดียวกัน มีรูปร่างงดงามสวยสง่า
น่ารักหรือน่าเกรงขาม ก็ไม่ต่างกัน มีการศึกษามาดี มีความเฉลียว
ฉลาดสารพัดอย่างไรก็ตาม แต่ก็หาได้มีหลักประกันอันใดไม่ในความ
คิดอ่าน เพราะความคิดเห็นท่ีอยู่ภายในนัน ้ อาจไกลกันลิบลับจนนับ
จำานวนของความห่างไกลไม่ได้เลย

เช่นผู้หน่ึงเข้าใจว่าบาปบุญท่ท
ี ำาไปแล้วให้ผลไม่ได้เลย แต่อีกคนหน่ึง
มีความเล่ ือมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เช่ ือในกรรมและผล
ของกรรม เช่ ือว่าตายลงไปแล้วย่อมจะปฏิสนธิ คือมีชีวิตขึ้นมาใหม่ได้
มีจิตศรัทธา มีวิริยะ มีสติ และมีสมาธิ ตลอดไปจนถึงมีปัญญา
พิจารณาในเร่ ืองของชีวิตอย่างลึกซึ้ง

ในเร่ ืองนี ย้ ่อมเป็ นท่ีน่าอัศจรรย์ใจใครๆ ก็พากันอยากจะทราบว่า


ด้วยเหตุผลเป็ นไฉน ทําไมคนจึงได้มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
มากมายดังนัน ้ ได้ สัตว์ทัง้หลายผู้ซ่ึงยังมีกิเลสอันได้แก่ตัวการท่ที ำาให้
จิตเศร้าหมองเร่าร้อนแอบแฝงอยู่ภายในจิตใจนัน ้ ก็ย่อมจะกระทำา
การใดๆ ลงไปด้วยอำานาจของเจตนาท่ีเป็ นบุญบ้างเป็ นบาปบ้าง แล้ว
เจตนาท่ีเป็ นบุญท่ีเป็ นบาปนัน ้ ไม่ได้สูญหายไปไหน ย่อมจะฝั งประทับ
อยู่อย่างมัน่ คงภายในจิตใจ แล้วก็พร้อมท่ีจะแสดงผลของตนขึ้นมาได้
และอยู่เสมอตลอดเวลา ถ้าสิน ้ ชีวิตลงเม่ ือใด อำานาจของกิเลสท่ี
ประทับอยู่ภายในจิตใจนัน ้ ก็จะผลักส่งให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นมาใน
ชาติใหม่ภพใหม่ต่อไป

สัตว์ทัง้หลายท่ียังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ภายในสังสารวัฏนัน
้ ก็ย่อมจะ
ได้ฝึกฝนการกระทำาของตนในชาติต่างๆ มาหลายส่ิงหลายอย่าง บาง
อย่างก็ฝึกฝนเสียจนมีความสันทัดจัดเจน บางอย่างก็มีความชำานิ
ชำานาญชนิดท่ีเรียกว่า ชำานาญเป็ นพิเศษ บางอย่างก็มค ี วามรู้ความชำา
นาญเล็กๆ น้อยๆ และในบางอย่างก็ไม่รู้และไม่มีความสนใจในเร่ ือง
นัน
้ ๆ เลย

ด้วยเหตุนีเ้อง บางคนจึงมีความสนใจรักท่ีจะเป็ นนายช่าง บางคนก็


ถนัดในการท่ีจะเป็ นนักประพันธ์ และบางคนก็มีความสันทัดจัดเจน
ในทางดนตรี บางคนก็มีความรักในการท่ีจะกระทําความชั่ว แต่ทว่า
บางคนกลัวเกรงหรือหวาดเสียวในการกระทําชั่วมากเหลือเกิน บาง
คนเห็นแก่ตัวมากจนน่าตกใจ เพราะจะต้องเอาให้ได้ไม่ว่าใครเขาจะ
เดือดร้อนทุกข์ทรมานประการใดก็ตาม และบางคนเห็นแก่ตัวน้อย มี
จิตคิดสงสาร มีเมตตากรุณาเผ่ ือแผ่ไปทัง้คนและสัตว์เดรัจฉาน จน
ไม่มีใครคิดว่าจะเป็ นไปได้ เพราะคิดแต่จะช่วยให้คนอ่ ืนอยู่รอดแล้ว
ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา บ่อยครัง้ทีเดียวท่ีช่วยเหลือผู้อ่ืนจนตนเอง
ต้องลำาบาก

ความเห็นผิดท่ีเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐินัน
้ ก็เกิดขึน
้ มาได้จากการ
อบรมนั่นเองเป็ นการอบรมความเห็นท่ีผิดๆ นัน ้ มาตัง้แต่ชาติก่อนๆ
แล้วก็รวมทัง้การกระทําในชาตินีล้ งไปด้วย เพราะไม่มีสัปบุรุษผู้รู้ทัง้
หลายเข้ามาแนะนำาชักจูงให้หันไปในทิศทางท่ีถูกต้องหรือเพราะ
ความรู้ ความฉลาด ความสามารถมากของตนเองด้วย ได้ศึกษา
วิชาการในแขนงต่างๆ ในทางโลกมากมาย เป็ นผู้มีความรู้มีเหตุผลใน
วิชาการต่างๆ มากเหลือเกินจนคิดว่าตนนัน ้ แสนจะวิเศษ

ด้วยเหตุนีเ้อง จึงทำาให้มีความเห็นผิดไปว่า เร่ ืองของกรรม เร่ ืองบาป


เร่ ืองบุญ เร่ ืองตาย เร่ ืองเกิดนัน
้ เป็ นเร่ ืองประโลมโลกของคนโบราณ
เป็ นเร่ ืองเพ้อฝั นของคนสมัยก่อน เป็ นเร่ ืองลมๆ แล้งๆ สำาหรับนัก
วิชาการเช่นเขา และเขาจะไม่ยอมศึกษาไม่ยอมแตะต้องธรรมะท่ีมีผู้
เฝ้ ายุให้เขาเข้ามาค้นคว้าหาความจริง ด้วยเช่ ือแต่ความรูข ้ องตนเองมา
แต่ต้นเป็ นหลัก ดังนัน ้ จึงกล่าวได้ว่า เพราะผลแห่งการอบรมผิดๆ
มาแต่ในชาติอดีต และเพราะความรู้ ความฉลาด ความสามารถมาก
ของตนในปั จจุบันน่ีเองท่ีเป็ นกําแพงเข้ามาสกัดกัน ้ แสงสว่างของชีวิต
ท่ีควรจะได้รับเสียสิน ้

ความเห็นท่ีไม่ถูกต้อง ท่ีเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ หรือแม้ความเห็นท่ีถูก


ต้องอันเรียกว่าสัมมาทิฏฐิหรือปั ญญานัน ้ เกิดขึ้นมาได้จากหลายเหตุ
ด้วยกัน แต่เหตุท่ีสําคัญท่ีสุดนัน
้ ก็คือ การสั่งสมอบรมมาทัง้ในอดีต
คือชาติก่อนๆ และในชาติปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ดี ความเห็นผิดชนิดท่ี
เหนียวแน่นท่ีเรียกว่านิยตมิจฉาทิฏฐินัน ้ จะเป็ นเพราะการสัง่สม
อบรมมาแต่ในชาตินีแ ้ ละชาติก่อนเพียงชาติเดียวเท่านัน ้ ก็หาไม่ หาก
แต่ได้มีความเห็นผิดชนิดนีม ้ าหลายชาติแล้ว จึงได้มีความคิดเห็นผิด
ชนิดท่ีเหนียวแน่น และน่ากลัวเช่นนีข้ึ้นมาได้

แม้ในครัง้พุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังน่ิงเฉยเสียไม่ตอบ
คําถามของบุคคลบางคนจนผู้นัน ้ หลีกหนีไปเอง แล้วพระองค์ได้เล่า
ให้ฟังในภายหลังว่า บุคคลนีใ้นสมัยอดีตชาติได้เคยมีความเห็นชนิด
ท่ีเหนียวแน่นนีม ้ าแล้วมากชาติทีเดียว แม้พระองค์จะสอนอย่างไรก็
ยากท่ีจะเปล่ียนใจได้ เพราะเขาเพ่งเล็งแต่จะใช้สำานวนโวหารข่มขูห ่ ัก
ล้าง เขามุ่งแต่ท่ีจะเอาความรู้ต่างๆ เข้ามาทับถม เพ่ ือท่ีเขาจะเอาความ
ชนะหรือเพ่ ือให้คู่สนทนาอับจน ทัง้นีก ้ ็เพราะว่าเขามีความคิดเห็นผิด
ชนิดเหนียวแน่นอยู่ภายในจิตใจไม่สามารถท่ีจะคลายได้ เขาได้เอา
ความเห็นผิดนีเ้ข้ามาเป็ นเคร่ ืองปิ ดบังขวางกัน้ มิให้เกิดปั ญญาขึ้นแก่
ตนเอง เสมือนเมฆหมอกอันหนาทึบมาบังดวงจันทร์เสีย

สำาหรับท่านท่ีเป็ นสัมมาทิฏฐิ คือมีความเห็นอันถูกต้องนัน


้ ก็เช่น
เดียวกัน ก็เพราะได้เคยอบรมบ่มนิสัยมาแล้วมากมายในอดีต ได้รับ
อุปการะหรือได้รับปั จจัยสนับสนุนมามิใช่เล็กน้อย จึงได้บังเกิด
ศรัทธา มีความเช่ ือมัน
่ ในเหตุผลท่ีถูกต้องในเร่ ืองของชีวิต บังเกิด
วิริยะพากเพียรศึกษาและพิจารณาอย่างลึกซึ้ง บังเกิดสติมิให้จิตไหล
ไปในทางอกุศล พร้อมทัง้ตัง้อยู่ในสมาธิมีความสงบเยือกเย็น และ
บังเกิดปั ญญาจากการศึกษาเล่าเรียน จากการคิดพิจารณา ตลอดจน
การปฏิบัตวิ ิปัสสนากรรมฐาน

ในบรรดาอกุศลทัง้หลาย ย่อมไม่มีอกุศลอะไรท่ีจะนับว่าดีได้เลย
เพราะธรรมดาของอกุศลนัน ้ ๆ เป็ นธรรมฝ่ ายต่ำาย่อมนำาไปสู่ทก
ุ ข์โทษ
ภัยเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงทุกข์โทษภัยใหญ่หลวง อกุศลต่างๆ ถ้าปรีย
บเหมือนน้ำาก็มีแต่จะไหลลงสู่เบ้ืองต่ำาฝ่ ายเดียว ไม่มีกำาลังในตัวของ
มันเองท่ีจะไหลขึ้นไปสู่ท่ีสูงๆได้

แม้อกุศลจะเป็ นธรรมฝ่ ายต่ำา เป็ นธรรมท่ีจะนำาไปสูท ่ ทุกข์โทษภัยได้ก็


จริง แต่เม่ ือเปรียบบรรดาอกุศลทัง้หลาย มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
เป็ นต้น กับความคิดเห็นผิดชนิดท่ีเหนียวแน่นไม่คลอดแคลนเป็ น
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ไม่ช่ือบุญ ไม่เช่ ือบาป ไม่เช่ ือผลของกรรมว่าจะให้ผล
ได้ ไม่เช่ ือว่าทำาดีแล้วจะได้ดี ทำาชัว่แล้วจะได้รับผลร้าย ไม่เช่ ือการตาย
การเกิดแล้ว อกุศลท่ีเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐินัน ้ ก็จะให้ผลเสียหาย
ชีวิตจะได้รับทุกข์โทษภัยร้ายแรงย่ิงเสียกว่าอกุศลอ่ ืนๆ ดังกล่าวมา
แล้วมากมาย

ทัง้นีก้ ็เพราะว่า ความยึดมั่นผิดๆ ชนิดเหนียวแน่นนีจ้ะเกิดขึน


้ มาตาม
อารมณ์ต่างๆ อยู่เสมอ เข้ามาสนับสนุนคือเป็ นอํานาจหนุนหลังทัง้
โดยตรงและโดยปริยายให้อารมณ์ทัง้หลายเกิดขึ้นมา แล้วมิจฉาทิฏฐิ
นีก้ ็จะค่อยๆ เจริญย่ิงๆ ขึน
้ อารมณืต่างๆ จะได้รับการต้อนรัลจาก
มิจฉาสังกัปปะ คือการยกขึ้นสู่อารมณ์ท่ีผิดๆ บ่อยๆ มิจฉาวายามะ
ความเพียรต่างๆ ก็ผิดๆ อยู่ตลอดไปอยู่เสมอ มิจฉาสมาธิ แม้สมาธิท่ี
เกิดขึ้นตามอารมณ์นัน ้ ๆ เป็ นขณะๆ ติดต่อกันไป เช่นความตัง้ใจก็ไม่
ถูกต้อง ทัง้ความไม่ถูกต้องนีเ้กิดขึ้นติดต่อกันไปในกาลอันยืดยาว

แม้จะทำากุศลหรืออกุศลจิตจะเกิดขึ้นมาบ้าง ก็จะมีกำาลังอ่อนได้ผล
น้อยเพราะความเหนียวแน่นในความเห็นผิดนัน ้ เข้ามาขวางกัน
้ ทำาให้
กำาลังแรงของเจตนาท่ีจะเป็ นบุญกุศลนัน ้ ลดน้อยลงไป แม้กุศลท่ีจะ
เกิดขึ้นมาก็มักจะเกิดเพราะเหตุใดเหตุหน่ึงมาหนุนหลัง เช่น การ
ทำาบุญ การให้ทาน หรือการรักษาศีล จะเกิดขึ้นก็เพราะด้วยหวัง
ประโยชน์ต่างๆเพ่ ือสนับสนุนอาชีพของตน เช่น เป็ นนายอำาเภอ ก็
กระทำากุศลลงไปให้ใครๆ เขามีความเข้าใจว่าเป็ นคนใจบุญ เพ่ ือจะได้
มีเพ่ ือนฝูงมาก และเพ่ ือจะได้ร่ืนเริงเบิกบานใจ เช่นการทำาบุญร่วมกับ
มีมหาสพ หรือด่ ืมสุรายาเมากันใหญ่ เหล่านีเ้ป็ นต้น

นอกจากท่ีผมได้กล่าวมาแล้ว ความเห็นผิดชนิดนิยตมิจฉาทิฏฐินีย้ ัง
จะมาสกัดกัน
้ ทางท่ีจะไปสู่ความพ้นทุกข์ หนทางอันเอกในโลกท่ีมีอย่
หนทางเดียวเท่านัน
้ คือพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเสีย
ด้วย ความเห็นผิดชนิดนี ไ้ม่มีหวังท่ีจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจน
เกิดญาณปั ญญาขึน้ มาได้

ปั ญญาของผู้นัน ้ จะไม่มีหนทางท่ีจะเข้าไปสู่กระแสธารแห่งความเป็ น
อริยบุคคลได้เลยแม้แต่น้อย จะต้องเวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์โทษ
ภัยต่อไปอีกจนนับชาติไม่ได้ จนกว่าส่ิงแวดล้อมและการอบรมใหม่ๆ
ท่ีถก
ู ต้องจะเข้าถึงจิตใจแล้วหันหลังให้กับมิจฉาทิฏฐินัน
้ ๆ ได้ อาจจะ
เป็ นสิบเป็ นร้อยหรือเป็ นพันชาติก็ได้

ดังนัน
้ จึงเห็นได้ว่า นิยตมิจฉาทิฏฐินีเ้ป็ นโทษท่ีร้ายแรงท่ีสุด สมดัง
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ในอังคุตรพระบาลีวา่ " ปรมานิ
ภิกฺขเว วชฺชานิ " ซ่ึงแปลความว่า ดูกรภิกษุทัง้หลาย ความเห็นผิด
ชนิดนิยตมิจฉาทิฏฐินี ม ้ ีโทษอันย่ิงใหญ่ท่ีสุด

บรรดาลัทธิหรือศาสนาต่างๆ ส่วนใหญ่ย่อมสนับสนุนให้คนกระทำา
ความดี แล้วสอนให้เห็นโทษของความชัว่ว่าจะทำาให้ได้รับโทษ
อย่างไร ด้วยเหตุดังนี ใ ้ ค ร ๆจะนับถือศาสนาอะไ
ยึดพระผู้เป็ นเจ้าหรือพระพรหมก็ยังไม่เป็ นไร ด้วยยังได้มีท่ีพ่ึงพา
อาศัยของใจ ไม่ให้หันเหล่องลอยไปตามสายน้ำาในลำาธารไหลลงสู่
เบ้ืองต่ำาถ่ายเดียว

สำาหรับผูท
้ ่ีไม่เช่ ือในเร่ ืองศาสนา ไม่มีศาสนาท่ีจะนับถือ หรือไม่เคย
นับถือศาสนาไหนเลย หรือไม่มีความเข้าใจว่า ศาสนาไหนจะถูกต้อง
เลยแม้แต่ศาสนาเดียว คิดว่าศาสนาเป็ นยาเสพติดท่ีมแ ี ต่อันตราย คิด
แต่วา่ ศาสนาเป็ นเคร่ ืองมือสำาหรับกอบโกยผลประโยชน์ของบุคคล
บางคน หรือคิดแต่ว่า ศาสนาทำาให้โลกไม่เจริญ นำาความล้าหลังมาให้
ประชาชาติ

และคิดว่าศาสนาเป็ นตัวทุกข์โทษภัยท่ีจะนำามาให้แก่ประชาชน(
ตำาหนิติเตียนในหลักการ ไม่วา่ เฉพาะบุคคลบางคนท่ีหลงงมงาย)
พร้อมทัง้มีความเห็นผิดชนิดมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยแล้ว โทษอันนัน ้ ก็จะ
ร้ายแรงหรือแรงกล้าอย่างสุดท่ีจะพรรณนาทีเดียว เพราะนิรยภูมิอัน
เป็ นท่ีสิงสถิตชีวิตของสัตว์จำาพวกโอปปาติกะ มีกายอันละเอียดแล้ว
ได้รับทุกข์ทรมานอยู่ชัว่กาลนานนัน ้ จะกลายเป็ นบ้านเรือนท่ีอยู่อัน
ถาวรสำาหรับจะอยู่อาศัยของเขา

ผมได้กล่าวมาแล้วว่า แม้จะทำาบาป ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือประพฤติ


ผิดในกาม จะนำาทุกข์โทษภัยมาให้ก็จริง แต่เม่ ือเปรียบกับนิยตมิจฉา
ทิฏฐิแล้ว นิยตมิจฉาทิฏฐิให้ผลร้ายแรงกว่า ยืนยาวกว่า ทำาความเสีย
หายให้กว้างขวางกว่า เพราะว่าการกระทำาบาปต่างๆ นัน ้ แม้ว่าจะได้
รับผลร้ายแรงก็จริง แต่เม่ ือชำาระหนีส
้ ินร่อยหรอลดลงแล้ว ก็อาจมีใจ
เป็ นกุศลเกิดทำาบุญให้ทานได้ง่าย คือตกนรกแล้ว ก็เปล่ียนใจกลาย
เป็ นคนใจบุญได้
แต่ความเห็นผิดท่ีเหนียวแน่นนี จ ้ ะเกาะกินใจอยู่ทุกชาติๆจะ
สนับสนุนให้กระทำาการอันไม่ถูกต้องท่ีจะเป็ นบุญกุศล แม้จะทำาบุญ
กุศลก็ได้รับผลน้อย แต่ตรงกันข้ามทำาบาปกลับได้รับผลบาปมาก แม้
ตกนรกแล้ว ความเห็นผิดๆ ก็ยังติดตัวไปเกิดใหม่ทุกหนทุกแห่ง
หนุนหลังให้การแสดงออกในความเห็นผิดแทบทุกอารมณ์ต่อไปอีก

ถ้าจะตัง้คำาถามว่า ผู้ท่ีมีความเห็นผิดชนิดนีม้ ีโอกาสบ้างหรือไม่ ท่ีจะ


ได้เปล่ียนใจของตนให้หันกลับมาในทางท่ีถูกต้องจนถึงความเป็ น
พระอริยบุคคลพ้นไปจากทุกข์โดยสิน ้ เชิง

หรือจะตัง้คำาถามว่า ผู้ท่ียึดนิยตมิจฉาทิฏฐินัน
้ มีโอกาสปฏิบัติจนถึง
มรรคผลนิพพานบ้างหรือไม่

ในเร่ ืองนี ผ
้ มขอยกคำาท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ในพระ
บาลีมหาปั ฏฐานว่า " อริยา มิจฺฉตฺตนิยเต ปหีน กิเลเส ปจฺจเวกฺขนฺต,ิ
ปุพฺเพ สมุทาจิณฺเณ กิเลเส ชานนฺติ มิจฺฉตฺตนิยเต ขนฺเธ อนิจฺจโต
วิปสฺสนฺติ"

แปลความว่า พระอริยเจ้าทัง้หลายท่ีเคยเป็ นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ย่อม


พิจารณากิเลสคือนิยตมิจฉาทิฏฐิท่ีตนได้ประหาณไปแล้ว ย่อมเห็น
กิเลสนิยตมิจฉาทิฏฐิท่ีเคยเกิดมาแล้วในสันดานของตน ย่อม
พิจารณานิยตมิจฉาทิฏฐิขันธ์โดยความเป็ นอนิจจะ

ตามท่ีแสดงมานี ก ้ ็ จะเห็นได้ว่าพระอริยบุคคลทัง้หลายเคยเป็ น
นิยตมิจฉาทิฏฐิมาแล้วในกาลก่อนนัน ้ มีได้ แต่แน่ละ อาจจะนาน
แสนนานท่ีต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารได้ระหกระเหินเดินทาง
ไกล ต้องเกิดต้องตายในอบายภูมิ และสุคติภูมิมามากมายเสียจนนับ
ไม่ไหว

ในบางสมัยเม่ ือทุกข์โทษภัยเข้ามาเบียดเบียนหนักเข้าซ้ำาๆ ซากๆ จน


ทนไม่ไหว จึงได้บังเกิดปั ญญาพิจารณาปั ญหาชีวิตของตน เบ่ ือหน่าย
ชีวิตท่ีมแ
ี ต่การต้องแก้ปัญหามิได้สร่างซา จึงหมดความอาลัยไยดีอีก
ต่อไป ปั ญญาจึงได้เกิดขึ้นมาทีละน้อยๆ เร่ ือยๆ ไปหลายๆ ชาติจนแก่
กล้าสามารถพาชีวิตของตนไปให้ปลอดภัยได้

บรรดาผู้มีความเห็นผิดทัง้หลาย กล้ากระทำาบาปอกุศลได้เพราะไม่มี
ความกลัวเกรงต่อบาปกรรมท่ีได้กระทำาลงไป ขออย่าให้ใครจับได้ ขอ
อย่าให้ใครรู้เห็นเท่านัน
้ ด้วยเหตุนีเ้อง อกุศลกรรมบถอันเป็ นทุจริต
ทัง้ ๑๐ ประการนี จ ้ ึ งย่อมจะมีโอกาสเกิด

อภิชฌา ความโลภความเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืน ย่อมจะ


เป็ นต้นเหตุให้เกิดอทินนาทาน การลักขโมย กาเมสุมิจฉาจาร ความ
ผิดในกาม มุสาวาท การพูดเท็จ ปิ สุณวาจา การพูดส่อเสียด สัมผัป
ปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อ และมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดๆ
พยาปาท ความพยาบาทปองร้ายหรือผูกโกรธใครๆ ย่อมจะเป็ นเหตุ
ให้เกิดปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ อทินนาทาน การลักขโมย มุสาวาท
การพูดเท็จ ปิ สุณวาจา การพูดส่อเสียด ผรุสวาจา การพูดคำาหยาบ
และสัมผัปปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อ

มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นท่ีผิด เป็ นเหตุให้เกิดอกุศลทุจริตได้ทัง้ ๑๐


ประการโดยมิได้เว้นเลย

อภิชฌา พยาปาท และมิจฉาทิฏฐิทัง้ ๓ นี ช้่ือว่า มโนกรรม เพราะว่า


เม่ ือยกเว้นจากกายวิญญัติ วจีวิญญัติ ซ่ึงเป็ นอกุศลท่แ
ี สดงออกทาง
กาย และทางวาจาแล้ว อกุศลท่ีเกิด ก็จะเป็ นอกุศลท่ีเกิดขึ้นทางมโน
ทวารมากท่ีสุด ดังวจนัตถะว่า

"มนสฺมึ ปวตฺตํ กมฺมํ = มโนกมฺมํ" แปลความว่า กรรมท่ีเกิดขึน



ทางใจ ช่ ือว่ามโนกรรม

การกระทำาท่ีเกิดขึ้นทางใจเรียกว่า มโนทวารนัน ้ เป็ นเร่ ืองหลักวิชาท่ี


มีความละเอียดมากอยู่สักหน่อย การศึกษาพระอภิธรรมก็จะต้อง
มากพอสมควร จึงจะทำาความเข้าใจได้ แล้วก็จะต้องศึกษาเป็ นลำาดับ
ตัง้แต่ต้นๆ มา สำาหรับการศึกษาท่ีหยุดบ้างเรียนบ้าง หรือฟั งบ้างไม่
ได้ฟังบ้างนัน
้ จะเข้าถึงความลึกซึ้งว่า จิตท่ีเกิดขึ้นทางมโนทวาร หรือ
การงานของจิตใจทางมโน หรือการศึกษาเพ่ ือให้ทราบว่า เวลาท่ีคิด
นึกนัน้ ใจมันทำาอะไรกันบ้าง ก็ยากอยู่สักหน่อย ด้วยเหตุนีเ้อง ผม
จึงขออธิบายเพียงย่อๆ พอให้ท่านนักศึกษาได้เห็นหนทางเท่านัน ้

จิตใจนัน
้ ย่อมอาศัยท่ท
ี ำางานต่างๆ หลายแห่งด้วยกัน เหมือนคนขยัน
ทำามาหากินหลายสถานท่ี หรือหลายกรมกอง เม่ ือจิตใจทำางาน
"เห็น" ก็จะทำางานท่ีประสาทตา เม่ ือจิตใจทำางาน "ได้ยิน" ก็จะต้อง
ทำางานท่ีประสาทหู และเม่ ือจิตใจคิดนึก ก็จะต้องทำางานทางประตูใจ
ซ่ึงการงานทางประตูใจนัน ้ เรียกว่า มโนทวาร และท่ีเรียกว่า มโน
ทวารนัน ้ มีหลายอย่างด้วยกัน คือ

๑. ภวังคจิต เป็ นจิตท่ีช่ือว่า มโนทวารเหมือนกัน เป็ นจิตท่ีรักษาภพ


ชาติเอาไว้ การงานของภวังคจิตนีไ้ม่แสดงออกซ่ึงอารมณ์ให้ปรากฏ
แก่สายตาของใครๆ มีการงานพิสดารไปอีกแบบหน่ึง ซ่ึงถ้าจะยก
ตัวอย่างของภวังคจิตให้เห็นง่ายๆ ก็ได้แก่คนท่ีนอนหลับสนิท คือคน
ท่ีนอนหลับสนิทนัน ้ จิตเป็ นภวังค์ คนนอนหลับสนิทจิตก็ยังทำางาน
อยู่เหมือนกัน แต่ทำางานน้อย แล้วมิได้ออกมาทางประตูต่างๆ เช่นไม่
ได้ออกมาเห็น ได้ยิน หรือคิดนึกอะไรเลย แต่กท ็ ำางานอยู่ ไม่ได้
สลบ(จิตใจ) หรือไม่ได้ตาย ซ่ึงคนนอนหลับจิตใจทำาอะไรบ้างนัน ้ ผม
จะได้บรรยายในโอกาสข้างหน้าเม่ ือศึกษาถึง

ท่ีจัดเอาภวังคจิตมาช่ ือว่าเป็ นมโนทวารนัน


้ ก็เพราะเหตุว่า จิตท่ีช่ือว่า
ภวังค์นัน้ เป็ นตัวการ หรือเป็ นเหตุให้การงานของจิตเกิดขึ้น คือ
ภวังคจิตน่ีเองเป็ นเหตุให้การเห็น การได้ยิน และความคิดนึกๆ เกิด
ขึ้นมา จึงได้ช่ือว่า มโนทวาร

๒. จิตทุกๆ ประเภท ไม่ว่าจิตนัน ้ จะเป็ นประเภทไหนก็ตาม เช่น ไม่


ว่าจิตนัน้ จะเป็ นกามาวจรจิต เป็ นจิตท่ียินดีติดใจในอารมณ์ต่างๆ หรือ
จิตนัน้ จะเป็ นมหัคตจิต เป็ นจิตท่ีทำาสมาธิจนกระทัง่สงบเยือกเย็น
เรียกว่า ปฐมฌาน

จิตทัง้หมดเหล่านี เ ้ กิดขึ้นท่ีมโนทวารทัง้นัน
้ เพราะเป็ นตัวการ
ทำาให้จิตเกิดขึ้นมาได้ คือจิตดวงก่อนๆ ดับไป จึงเป็ นเหตุให้จิตดวง
หลังเกิดขึ้นมา เหมือนกับคล่ ืนในน้ำา คล่ ืนลูกท่ี ๑ ดับลง จึงได้เป็ น
เหตุให้เกิดคล่ ืนลูกท่ี ๒ ขึน
้ มา เป็ นต้น จึงช่ ือว่า มโนทวาร

๓. อกุศลชวนะ และกุศลชวนะ คือการเสพอารมณ์ท่ีเป็ นบาปหรือ


เป็ นบุญ เช่น มีความยินดี ยินร้าย บุญหรือบาปเกิดขึ้นก็ตาม ช่ ือว่า
มโนทวาร ทัง้นีก้ ็เพราะว่าชวนจิตซ่ึงได้แก่ตัวการเสพอารมณ์นัน ้ เป็ น
เหตุให้มโนกรรมสำาเร็จลง หรือจะกล่าวอีกนัยหน่ึงก็คือ ชวนจิต
ตัวการเสพอารมณ์ท่ีเป็ นบุญเป็ นบาปน่ีเอง ช่ ือว่า มโนกรรม เพราะ
ชวนะนีเ้ป็ นเหตุให้เกิดมโนกรรมบถขึน ้ มา ดังนัน
้ จึงช่ ือว่ามโนทวาร

อย่างไรก็ดี สำาหรับเร่ ืองมโนทุจริตนี ผ ้ มขอให้ท่านนักศึกษาจำาเอาไว้


ด้วยว่า โลภมูล ความโลภยินดีติดใจในอารมณ์ โทสมูล ความโกรธ
ความเกลียด ความไม่พอใจ จิตท่ีเกิดพร้อมด้วยอภิชฌา ความเพ่งเล็ง
ในทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืน พยาปาทะ ความปองร้ายผู้อ่ืน และมิจฉา
ทิฏฐิ ความเห็นผิด นัน ้ ช่ ือว่า มโนทวาร

ส่วนโมหมูลชวนะ ไม่ช่ือว่าเป็ นมโนทวาร เพราะไม่สามารถเป็ นเหตุ


ให้เกิดมโนทุจริตได้ หรือจะกล่าวอีกอย่างหน่ึงก็ว่า ความโง่ ความ
หลง ความไม่เข้าใจในอารมณ์ต่างๆ นัน ้ เม่ ือเกิดความโง่ เกิดความ
หลง แล้วก็ไม่อาจเกิดมโนทุจริตทัง้ ๓ คือ อภิชฌา พยาปาทะ และ
มิจฉาทิฏฐิ

ในอกุศลกรรมบถทัง้ ๑๐ ประการ ดังท่ีผมได้บรรยายมาตัง้แต่ตอน


ต้นนัน
้ ถ้าเป็ นทุจริตคิดมิชอบท่ีครบองค์ และมีกำาลังมากพอแล้ว ก็
จะมีความสามารถให้ผลในปฏิสนธิกาลได้ ย่อมจะมีอิทธิพลนำาให้เกิด
ในอบายภูมิ เรียกว่าเป็ นชนกกรรมนำาให้ปฏิสนธิให้สัตว์นรก เปรต
อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ต้องได้รับความทุกข์ยากลำาบากชัว่กาล
นาน

ด้วยเหตุนีเ้อง ผูท ้ ่ีศึกษาเล่าเรียนเร่ ืองของชีวิตจากพระอภิธรรมปิ ฎก


มาจนมีความเข้าใจได้เหตุผลพอสมควรแล้ว ก็จะเห็นว่า อกุศล
กรรมบถทัง้ ๑๐ นี น ้ ่าหวาดกลัวเหลือเกิน ไม่กล้าท่ีจะเข้าไปใกล้
แต่ผท ู้ ่ีไม่ได้ศึกษาก็ย่อมจะไม่มีความเข้าใจ หรือมีความอวดด้ือถือดี
ว่าเป็ นผู้มีความรู้เป็ นนักปราชญ์ จึงเห็นเร่ ืองของชีวิตท่ีพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทรงค้นพบนีว้่าเป็ นเร่ ืองเพ้อฝั นไป หรือเพราะในอดีตชาติ
หรือชาติในๆ เข้าไป ได้ฝึกฝนอบรมตนไปในหนทางท่ีเรียกว่า นิยต
มิจฉาทิฏฐิ มาเสียอย่างโชกโชน อย่างเหนียวแน่น

ความเห็นผิดดังกล่าวจึงได้มาขวางกัน ้ เสีย ผู้ไม่เช่ ือบาป ไม่เช่ ือบุญว่า


จะมาให้ผลได้ หรือการทำาดี การทำาชัว่นัน้ ไม่มีผลอะไร เหล่านีจ้ึงช่ ือ
ว่า เหมือนเด็กเล็กๆ ไร้เดียงสาพากันไปเล่นท่ีปากเหวลึก ด้วยหวัง
ความสนุกสนานเบิกบานใจไม่รู้ว่าอันตายท่ีร้ายแรงนัน ้ อยู่ใกล้ๆ หรือ
เหมือนเด็กเล็กๆ ท่ีเห็นงูพิษ เพราะไม่ประสีประสาจงพยายามไขว่
คว้าจะเอามาเล่นให้ได้
ท่านนักศึกษาทัง้หลาย ผมได้บรรยายถึงโทษของความเห็นผิดมา
แล้ว ท่านก็ย่อมจะทราบว่าร้ายแรงเพียงใด ผมก็หวังว่าท่านคงจะไม่
น่ิงนอนใจท่ีจะหาทางให้ญาติมิตรและผู้ร่วมทุกข์ทัง้หลายได้มีโอกาส
ท่ีจะเห็นแสงสว่างในความจริงของชีวิตบ้าง ท่านคงจะพยายามให้เขา
เหล่านัน้ ได้หันกลับเปล่ียนทิศทางเดินทีละน้อยๆ ด้วยความ
ปรารถนาดีอย่างจริงใจ แม้ถึงว่า จะมีความยากลำาบากประการใดก็
คงจะอดทนได้ เพราะผลของเขาในการเปล่ียนใจได้นัน ้ มากมายเหลือ
หลายเกินคุ้มกับความยากลำาบากใดๆ ความเมตตากรุณาท่ีทา่ นได้ทำา
ไปนัน้ มีคุณค่าเหลือหลาย การให้ทานธรรมนัน ้ ชนะการให้ทัง้ปวง
และการให้ทานธรรมท่ีเป็ นประมัตถประโยชน์นัน ้ ก็ย่ิงล้ำาเลิศ
ประเสริฐขึ้นไปอีก

คำากลอนท่ีก่อความสะเทือนใจให้แก่ผู้รับไม่มีวันลืมเลือน ก็คือ

"อันความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลัง่มาเองเหมือนฝนอันช่ ืนใจ จากฟากฟ้ าสุราลันสู่แดนดิน"

คําถาม ผมได้เคยเพียรพยายามท่ีจะให้ญาติมิตรมีโอกาสท่ีจะศึกษา
เร่ ืองของชีวิต ได้อธิบายถึงความมีประโยชน์อันมหาศาลท่ีจะได้รับ ได้
ชักชวนให้เขาบังเกิดความเอาใจใส่ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ก็ยากท่ีเขา
เหล่านัน ้ จะบังเกิดความสนใจ บางทีก็หัวเราะเยาะให้เสียด้วยซ้ำา โดน
เข้าเช่นนีบ้ ่อยๆ ผมก็ชักเข็ดไปเอง เด๋ียวนีไ้ม่ค่อยกล้าชวนใครให้มา
เรียนเสียแล้ว

คําตอบ จิตใจของปุถุชนนัน ้ แตกต่างกันมาก แล้วแต่การอบรมสัง่สม


มาตัง้แต่ในชาติอดีตและในชาติปัจจุบัน หรือแล้วแต่เขาจะเข้าไปตก
อยู่ท่ามกลางของส่ิงแวดล้อมอะไร บางคนก็ชอบอย่างนี บ ้ างคนก็
ชอบอย่างนัน ้ ความสันทัดจัดเจนท่ีเคยฝึ กฝนไว้ ก็ย่อมจะแสดงออก
มาให้ได้เห็นอยู่เสมอตัง้แต่ยังเป็ นเด็กเล็กๆ ไม่ว่าในวิชาอะไร ครูท่ี
สอนเด็กอยู่หน้าชัน้ ครูท่ีคลุกคลีอยู่กับเด็กอย่างใกล้ชิด ก็ย่อมจะ
ทราบได้ดีว่าเด็กคนไหนชอบวิชาอะไรเป็ นพิเศษ เด็กคนไหนไม่ชอบ
อะไรจริงๆ
ด้วยเหตุนีเ้อง เราจึงต้องระลึกไว้ข้อหน่ึงเสมอว่า จะยัดเยียดส่ิงใดให้
แก่ใครนัน้ อย่าไปคิดว่าผู้อ่ืนเขาจะเหมือนเรา ผู้อ่ืนเขาจะยอมรับได้
ง่ายๆ ถ้าหากว่าไม่ตรงต่ออัธยาศัยของเขา เหมือนคนไม่ชอบเล่น
ดนตรี ถึงจะเค่ียวเข็ญอย่างไรก็เล่นเก่งไม่ได้ แม้เราเองก็อาจจะเพ่ิง
เคยชอบธรรมะเอาเม่ ือโตมากแล้ว

ถ้าหากว่าเราได้ทำาความเข้าใจเอาไว้เสียก่อนดังนีแ
้ ล้ว เราก็จะได้ไม่
เล็งผลเลิศจนเกินไป จะพยายามทําเท่าท่ีจะทําได้ ได้ประโยชน์น้อยก็
ยังดีกว่าไม่ได้เสียเลย หาทางพูดหาทางเสนอแนะต่างๆ หรือให้
หนังสือ ให้เขาได้มีปัญญาบารมีติดตัวไปชาติหน้าสักหน่ึงในร้อยใน
พันก็ยังดี คนท่ีส่ิงแวดล้อมหรือการอบรมในอดีตมิได้ช่วยสนับสนุน
แล้วได้เท่านีก
้ ็ดีถมไป

ผมเองก็โดนเขาว่ากล่าวจนแทบจะถอยออกมาหรือเลิกชักชวนคนอ่ ืน
เสียหลายหน แล้วคนท่ีชอบๆ กันบางคนพูดโดยไม่เกรงใจ หาว่าบ้า
คลัง่ศาสนาก็มี เราก็ต้องพิจารณาตัวเองบ้างเหมือนกัน เพราะอาจพูด
มากไปสักหน่อย หรือไม่ถูกกาลเทศะก็ได้

ด้วยเหตุนีจ้ึงต้องหาหนทางอันแยบคายเสียใหม่ บางทีก็ใช้คำาว่า
ศาสนาไม่ได้ บางทีก็ใช้คำาว่าธรรมะไม่ได้ เราก็ต้องพูดไปในทางท่ีเป็ น
ธรรมชาติ ว่าเร่ ืองจิตใจ ว่าเร่ ืองวิญญาณไปตามแบบโลกๆ ว่าเร่ ือง
ของชีวิตไปตามคนสมัยใหม่เขาพูดกัน แต่สอดแทรกเหตุผลจาก
สภาวธรรมเข้าไปด้วย ข้อสำาคัญต้องค่อยๆ ศึกษาวิธีการถ่ายทอดและ
ผู้รับให้ดีๆ แล้วก็ค่อยๆ แก้ไขไปตามความเหมาะสม ด้วยปรารถนาดี
ต่อเขาทุกประการ

ท่านไม่ต้องกลุ้มใจหรือเสียใจว่าชักชวนเขาไม่สำาเร็จ เพราะแม้พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง ยังถูกคนแลบลิน
้ หลอก เม่ ือพระองค์
กล่าวว่าเป็ นผู้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

บางทีเราชักชวนญาติมิตรให้มาเดินในหนทางอันประเสริฐนีย ้ ังไม่
สำาเร็จก็อาจจะไม่ใชเพราะเราผู้ชักชวน อาจจะเป็ นเพราะเขายังไม่เคย
ได้อบรมปั ญญาบารมีมาเลยในอดีต จึงไม่มีอดีตกุศลกรรมในทางนี้
หนุนหลังเลย ถ้าเช่นนัน ้ ก็จำาเป็ นต้องหาทางให้เขาได้รู้นิดรู้หน่อยเท่า
ท่ีจะทำาได้ในวิธีการใดๆ ก็ตาม ให้เขาได้มีส่ิงท่ีหาค่ามิได้นีต
้ ิดตัวไป
ชาติหน้าบ้าง ดีกว่าท่ีจะไม่ได้อะไรเป็ นชิน
้ เป็ นอัน

นอกจากนี้ บางทีผู้ท่ีรับเร่ ืองราวจากสภาวธรรมยังไม่ไหว ก็มาจาก


กุศลของเขายังไม่เกิด จิตใจยังยุ่งอยู่ด้วยอำานาจของอกุศลกรรมท่ีเข้า
มาพัวพัน วันดีคืนดีเม่ ือใด ลมอาจจะหวนกลับก็ได้ เร่ ืองนีผ้ มเคยพบ
บ่อยๆ เช่นให้หนังสือไปตัง้ปี หรือสองปี แล้วจดหมายมาบอกว่า เพ่ิง
ได้อ่านเม่ ือไม่ก่ีวันมานีเ้อง แล้วถามหาเล่มต้นๆ หรือเข้ามาค้นหา
วุ่นวาย บางคนมารับสารภาพว่า โอกาสเพ่ิงจะเปิ ดให้ และบางคนก็ว่า
เพ่ิงรู้ว่าการศึกษาเร่ ืองชีวิตจากปรมัตถปิ ฎกมีประโยชน์เด๋ียวนีเ้อง
เม่ ือก่อนใครมาชวนผม ผมกลับไปดูหม่ินเขา

ถาม อาจารย์บรรยายเร่ ืองของความเห็นผิด ผมได้ยินแต่พูดถึงผู้ท่ีมี


ความรูท้ างโลกดี มีความเฉลียวฉลาด มีเหตุผลเป็ นของตนเอง ดัง
นัน
้ จึงได้มากไปด้วยความคิดเห็น แต่มักจะมีความเห็นผิดในเร่ ือง
ของชีวิต โดยอาศัยความรู้ของตนท่ียึดถือว่าวิเศษนัน
้ เข้ามาหักล้าง
ทำาลาย หรือไม่ยอมลดตัวลงมาค้นคว้าหาความจริง เพราะเห็นว่า
พระพุทธศาสนานัน ้ มีเอาไว้สอนศีลธรรม มีเอาไว้หลอกคนท่ีไม่ค่อย
ฉลาดให้ไม่กล้ากระทำาผิดเพราะสอนให้กลัวจะไปตกนรก แล้วใน
ขณะเดียวกัน ก้เอาสวรรค์มาล่อใจให้กระทำาแต่ความดี

เร่ ืองนีผ
้ มก็พอเข้าใจ เพราะได้เห็นมาหลายรายแล้ว แต่ผมอยากจะ
ทราบเพ่ิมเติมอีกสักหน่อยว่า คนโง่ๆ เล่าขอรับ คนท่ีไม่ค่อยได้
ศึกษาอะไร หรือมีพ้ืนฐานความรู้น้อยแล้ว จะมีความเห็นผิด
ประการใดหรือไม่

ตอบ ผมขอขอบคุณท่ีได้ถามเร่ ืองนี เ้ป็ นการถามท่ีตรงต่อเป้ าหมาย


และควรท่ีจะถามอย่างย่ิง

คนท่ีมีพ้ืนฐานความรู้น้อย หรือคนท่ีไม่ค่อยจะเฉลียวฉลาด ก็ย่อม


จะมีความคิดเห็นท่ีผิดได้เหมือนกันเร่ ืองนีผ
้ มตอบตามท่ีได้บรรยาย
มาแล้ว เพราะถ้าในอดีตเป็ นผูท้ ่ีมีความเห็นผิดๆ เป็ นพ้ืนฐานของ
จิตใจแล้ว ความเห็นท่ีถกู ต้องก็ย่อมจะเกิดได้ยากมาก ถ้าย่ิงได้สัง่สม
อบรมมาหลายๆ ชาติด้วยแล้ว ก็ย่ิงจะเหนียวแน่นย่ิงขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี ผูท้ ่ีมีการศึกษาดี มีความรู้มาก มีประสบการณ์ท่ีผ่าน


มากว้างขวาง ถ้ามีความเห็นผิดแล้วก็ย่ิงจะยากท่ีจะแก้ไข เพราะเขา
จะเอาความรูท้ ่ีได้มาใหม่ๆ เหล่านัน ้ เข้ามาหักล้างทำาลาย เราเหตุผล
ต้ืนๆ ของตนเองเข้ามาทับถม ย่ิงเป็ นนผู้ท่ีมีอดีตเป็ นคนมีมานะ คือ
ชอบยกตัวถือตัวด้วยแล้ว ก็ย่ิงจะหนักแน่นย่ิงขึน ้ เพราะจะเห็นว่า
ความคิดเห็นของตนถูกคนเดียว ของคนอ่ ืนผิดหมด และบางทีก็
ขยายความเห็นผิดๆ ของตนนัน ้ ได้กว้างขวางออกไปเสียด้วย ผมก็ได้
เคยพบมาหลายราย

ท่ีผมตอบไปนัน ้ หมายถึงคนท่ีไม่ค่อยฉลาด ไม่ค่อยมีพ้ืนฐานของการ


ศึกษามาให้มากพอสมควร แต่มิได้หมายถึงบุคคลท่ีถูกครอบงำาอยู่
ด้วยโมหะ เพราะเม่ ือความโง่ความหลงเข้าครอบงำาแล้ว ความคิดเห็น
อะไรก็ไม่มีทัง้นัน
้ ไม่ทราบเร่ ืองของกรรมและผลของกรรม ไม่สนใจ
ในเร่ ืองตายแล้วจะไปเกิดหรือไม่ ผมก็ขอตอบย่อๆ เพียงเท่านัน้ หวัง
ว่าคงจะทำาให้ท่านทัง้หลายพอจะเข้าใจ

You might also like