Insider Trading

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 20

Insider Trading

บทที่ 1
สภาพของปญหา

สภาพปญหา

การใชขอมูลภายในเพื่อการแสวงหาผลประโยชนจากการซื้อขายหลักทรัพย
(insider trading) คือ การที่บุคคลภายในทราบขอมูลภายในของบริษัท ที่ยังไมไดมีการ
เผยแพรสูสาธารณชน และใชขอมูลนั้นเพื่อประโยชนในการซื้อขายหลักทรัพย ซึ่งพระ
ราชบัญญัติหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย พ.ศ. 2535 ไดมีขอกําหนดหามมิใหบุคคล
ภายในใชขอมูลภายในเพื่อประโยชนในการซื้อขายหลักทรัพยและกําหนดโทษ ไวดวย
อยางไรก็ดี Insider trading นั้นเกิดขึ้นอยูตลอดเวลา และสันนิษฐานไดวาอาจเกิด
ขึ้นนับตั้งแตมีการกอตั้งตลาดหลักทรัพยขึ้น แตหลายครั้งก็เปนการยากที่จะพิสูจนให
ทราบไดวาผูลงทุนรายใดใชขอมูลภายในเพื่อการแสวงหาผลประโยชนจากการซื้อขาย
หลักทรัพยบาง ยกตัวอยางเชน พนักงานคนหนึ่งที่ทํางานอยูในบริษัทมหาชนมีขอมูลวา
บริษัทที่ตนเองทํางานอยูนั้นกําลังจะไดรับสัมปทานมูลคาสูงจากภาครัฐ จึงไดบอกเลาให
กลุมเพื่อนสนิทที่นัดสังสรรคกันเปนประจําทุกปทราบในงานเลี้ยงรุน ในเวลาตอมากลุม
เพื่อนที่ไดทราบเรื่องจึงไปซื้อหลักทรัพยของบริษัทดังกลาวในตลาดหลักทรัพยเพราะ
เชื่อวาเมื่อมีการประกาศขาวการไดรับสัมปทานออกสูสาธารณะชน ราคาหุนดังกลาวจะ
มีมูลคาหุนสูงขึ้นและเมื่อนั้นก็จะไดทําการขายหุนออกไปและไดกําไรจากการเก็งกําไร
หุนนั้น
ในกรณีดังกลาวขางตนจะเห็นไดวาเปนเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นไดในสังคมไทย
และยากตอการที่จะสืบสวนหาพยานหลักฐานเอาโทษผูกระทําผิด และเมื่อมองกลับกัน
หากพนักงานคนเดิมไมไดบอกเลาเรื่องการไดรับสัมปทานใหกลุมเพื่อนฟง ภายหลังเมื่อ
มีการประกาศขาวการไดรับสัมปทานออกมา กลุมเพื่อนก็อาจมีการตําหนิติเตียน
พนักงานคนนั้นวาไมรักเพื่อนฝูง มีขาวสําคัญก็ไมบอกกัน
2

แตในอีกกรณีหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพผูจัดการ


ออนไลนไดลงขาวบนเวบไซต http://www.manager.co.th เมื่อเวลา 10.55 น. มีใจความ
วา “คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลังแตงตั้งตามมาตรา 317
แหงพระราชบัญญัติหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย พ.ศ. 2535 ไดมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับ
นายไพบูลย ดํารงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จํากัด (มหาชน) หรือ
GMMM เปน จํานวน 31.77 ลานบาท และเปรียบเทียบนางสาวพัชรี มนุญพาณิชย เปน
เงินจํานวน 3.33 แสนบาท กรณีใชขอมูลภายในทําการซื้อขายหุนบริษัท มติชน จํากัด
(มหาชน) หรือ MATI (“ก.ล.ต. เชือด อากู สั่งปรับ 32 ล. ฐานใชขอมูลอินไซดซื้อขายหุน
มติชน,” 2550)
จากการตรวจสอบของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลัก
ทรัพย (ก.ล.ต.) พบพยานหลักฐานที่ทําใหเชื่อไดวา ในระหวางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548
ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ไดมีการซื้อขายหุน MATI ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพยของ
นางสาวพัชรี มนุญพาณิชย รวมทั้งบุคคลอื่น และมีสวนเกี่ยวของกับนายไพบูลย ดํารงชัย
ธรรม ในประการที่นาจะเปนการเอาเปรียบตอบุคคลภายนอก โดยอาศัยขอเท็จจริงเกี่ยว
กับการที่ บมจ. จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ที่อยูระหวางดําเนินการเพื่อเขาลงทุนในหุน MATI อัน
เปนสาระสําคัญที่ยังมิไดเปดเผยตอประชาชน โดยการซื้อขายหุนดังกลาวนั้นเขาขายเปน
การที่นายไพบูลย และนางสาวพัชรี (ในฐานะผูสนับสนุน) ปฏิบัติฝาฝนมาตรา 241 แหง
พระราชบัญญัติหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย พ.ศ. 2535 ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา
296 แหงพระราชบัญญัติเดียวกัน ประกอบมาตรา 86 แหงประมวลกฎหมายอาญา”
(“Fund Manager Hit with Insider Trading Charge,” 2006, p. 3)
“ดานนายไพบูลย ดํารงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
จํากัด (มหาชน) หรือ GRAMMY กลาววา เหตุการณดังกลาวเกิดขึ้นจากความเขาใจผิด
และรูเทาไมถึงการณของผูปฎิบัติการ แตผมคงปฏิเสธความผิดชอบไมได อยางไรก็ตาม
ขอยืนยันวาตลอดชีวิตไมเคยคิดหาประโยชนในลักษณะดังกลาวและไมเคยมีประวัติ ใด
ๆ เสื่อมเสียในลักษณะเชนนี้ดวย” (“Fund Manager Hit with Insider Trading Charge,”
2006, p. 3)
3

ในกรณีของนายไพบูลยนั้น กลาวไดวาเปนกรณีที่มีมูลอันเนื่องมาจาก ก.ล.ต. ได


ทําการสืบหาพยานหลักฐานจนนําไปสูการเปรียบเทียบปรับดังกลาว และการให
สัมภาษณของนายไพบูลยก็มีเนื้อหาที่ไมแตกตางจากผูกระทําผิดรายอื่น ดังจะเห็นไดจาก
ขาวในหนังสือพิมพเดอะเนชั่นวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 หนา 3B ซึ่งลงขาววา นาย
โยชิอากิ มูรากามิ ผูจัดการกองทุนชื่อดังในประเทศญี่ปุน ถูกควบคุมตัวตั้งแตวันที่ 5
มิถุนายน ในขอหา Insider trading ซึ่งนายมูรากามิ ไดกลาวผานทนายความของตนเองวา
ตนเองขอโทษจากกนบึ้งของหัวใจและยอมรับขอกลาวหาแตยืนยันวาเปนความผิดที่เกิด
ขึ้นโดยมิไดตั้งใจ (“Fund Manager Hit with Insider Trading Charge,” 2006, p. 3)
จะเห็นไดวา ทั้งสองกรณีผูกระทําผิดตางอางในลักษณะเดียวกันคือ รูเทาไมถึงการณ
ไมไดตั้งใจ แตการกระทําทั้งของนายไพบูลยและนายมูรากามิ ไดถูกตัดสินแลววามีความ
ผิด ดังนั้นเรื่อง Insider trading นี้จึงเปนปญหาที่รายงานนี้ใหความสนใจ เพราะในมุม
หนึ่งหลาย ๆ คนมองเปนเรื่องธรรมดาไมนาจะเปนความผิด และในอีกมุมหนึ่งผูที่
ตระหนักดีวาการกระทําดังกลาวเปนความผิด เมื่อกระทําผิดกลับออกมากลาวอางวางเกิด
จากความรูเทาไมถึงการณ ดังนั้น คุณธรรมและความเขาใจจึงเปนกุญแจสําคัญที่จะไข
ปญหานี้ได

นิยามศัพทเฉพาะ

นิยามของคําศัพทเฉพาะที่ใชในรายงานนี้ มีดังตอไปนี้
ศีลธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและธรรม, ธรรมในระดับศีล
(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546)
จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เปนขอประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546)
สิทธิในการซื้อหุน (stock option) คือ ตราสารแสดงสิทธิที่จะซื้อหรือจะขายหุน
จํานวนหนึ่ง โดยตกลงราคาซื้อขายในราคาที่ระบุไว และกําหนดวันสิ้นอายุของสิทธิ
ตลาดเสรี (free market) หมายถึง ตลาดทั้งในทางทฤษฎี ทางอุดมคติ และทางกาย
ภาพ ที่ซึ่งราคาของสินคาและบริการนั้นถูกกําหนดดวยความพึงพอใจของผูซื้อและผูขาย
4

โดยไมมีถูกการบังคับแทรกแซง หรือ เปนที่รูจักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ กฎของอุปสงคและ


อุปทาน
ประสิทธิภาพของตลาด (market efficiency) หมายถึง ประสิทธิภาพของตลาดใน
ทางดานขาวสาร โดยที่ ราคาของสินทรัพยที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือใด ๆ ไมวาจะเปนสิน
ทรัพยทางการเงินตาง ๆ เชน หุน หุนกู นั้นจะสะทอนขอมูลทั้งหมดที่ไมมีการบิดเบือน
และเปนการสะทอนความเชื่อโดยรวมของผูลงทุนทั้งหมดที่มีตออนาคตของสินทรัพย
นั้น ๆ
วอลลสตรีท คือ ชื่อถนนในกรุงนิวยอรกซึ่งเปนแหลงที่ตั้งของตลาดหลักทรัพยที่
สําคัญ ไดแก NYSE NASDAQ AMEX NYMEX NYBOT
นายหนาคาหลักทรัพย หรือบริษัทหลักทรัพย คือ ผูแทนที่จะทําหนาที่เปนคน
กลางในการซื้อขายหลักทรัพยแทนนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย
Tender Offer คือ การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพยของบริษัทหลักทรัพยที่จด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย จากสาธารณะชน
Hostile Takeover คือ การเขาครอบครองกิจการแบบปฏิปกษ คือการทยอยซื้อ
หุนของบริษัทเปาหมายที่อยูในตลาดหลักทรัพยเพื่อใหไดมาซึ่งสิทธิในการออกเสียงเพื่อ
บริหารกิจการ โดยที่ กลุมผูถือหุนรายใหญและฝายบริหารไมรูตัว
อุปสงค (demand) คือ หมายถึงปริมาณสินคาที่ผูบริโภคตองการซื้อที่เวลาและ
ราคาหนึ่ง ปจจัยที่กําหนดปริมาณอุปสงคของผูบริโภคแตละคนไดแก ราคาสินคานั้น
รายไดของผูบริโภค รสนิยมสวนบุคคล ราคาของสินคาทดแทน (substitution goods)
และราคาของสินคาใชรวมกัน (complementary goods)
โลภ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง คือ ความอยากได
ไมรูจักพอ
กระพี้ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง คือ น. สวนของ
เนื้อไมที่หุมแกน, เนื้อไมที่อยูระหวางเปลือกกับแกน มีลักษณะออนและยุยงาย. ว. โดย
ปริยายหมายความวาไมเปนแกนสาร
ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
5

1. เพื่อใหทราบถึงสาเหตุที่นําไปสู Insider trading


2. เพื่อใหทราบถึงแนวทางในการที่จะลดการกระทํา Insider trading
3 เพื่อเปนแนวทางใหเขาใจถึงเจตนารมณของกฎหมายที่วาดวย Insider trading
เพื่อปองกันการกระทําผิดโดยรูเทาไมถึงการณ
6

บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวของ

การจัดทํารายงานเชิงวิชาการ เรื่อง การใชขอมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน


จากการซื้อขายหลักทรัพย (insider trading) ผูเขียนไดศึกษาคนควาจากเอกสารและงาน
วิจัยที่เกี่ยวของโดยการนําเสนอผลการศึกษาตามลําดับ ดังนี้
1. จริยธรรมของการทํา Insider trading
2. อะไรคือการผิดจริยธรรมที่แทจริงของ Insider trading
3. การศึกษาในดานธุรกิจจะชวยลดแนวโนมในการกระทําผิดที่เกี่ยวกับ Insider
trading ไดหรือไม
4. ขอสังเกตสองขอในเรื่อง Insider trading
5. เมื่อใดที่การคาหุนโดยใชขอมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชนจากการซื้อ
ขายหลักทรัพย ถูกกฎหมาย

จริยธรรมของการทํา Insider trading


Werhane (1989, p. 841) สงสัยในคุณคาของ Insider trading ทั้งจากในแงศีล
ธรรมและแงของธุรกิจ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแลว ยังบอนทําลายประสิทธิภาพ
และความเหมาะสมของกลไกตลาดเสรี Werhane ไดยกขอเขียนของ จอรจ วิล ที่ลงตี
พิมพในนิตยสารนิวสวีคป ค.ศ. 1987 วา Insider trading คือดานตรงกันขามของการเก็ง
กําไร ซึ่งมีแตจะไดรับผลตอบแทนโดยไมมีความเสี่ยง กอใหเกิดความมั่งคั่ง จากความ
บาดเจ็บของผูอื่น โดยใชมีขอมูลเพื่อการเอาเปรียบ หลักการที่สําคัญนั้นชัดเจน คือ ไมมีผู
ไดควรไดประโยชนจากขอมูลที่ยังไมเปดเผยตอสาธารณะชน

อะไรคือความผิดทางจริยธรรมที่แทจริงของ Insider trading


7

Moore (1990, p. 171) กลาวสรุปไววา การทํา Insider trading นั้นผิดกฎหมาย


และเปนที่เชื่อกันอยางกวางขวางวาผิดจริยธรรม ซึ่งไดรับความสนใจอยางมากจากสื่อ
ตาง ๆ และถูกมองวาเปนสัญลักษณของความผุกรอนทางจริยธรรมในภาคธุรกิจ
ถึงแมวาจะถูกตราวาเปนพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมทางธุรกิจ แตการทํา Insider trading
นั้นไดรับการวิเคราะหทางดานจริยธรรมนอยจนนาแปลกใจ Moore ไดวิพากษการทํา
Insider trading โดยใชหลักการทางดานจริยธรรม โดยตั้งประเด็นไววาการทํา Insider
trading นั้น (1) เปนความอยุติธรรม (2) เปนการยักยอกขอมูล (3) เปนภัยตอนักลงทุนทั่ว
ไปและตอตลาดในภาพรวม ซึ่ง Moore ไดลงความเห็นวา โดยการวิเคราะหแตละ
ประเด็นแลวจะเห็นวาทุกประเด็นมีน้ําหนักไมพอที่จะทําใหการทํา Insider trading เปน
สิ่งที่ผิดกฎหมาย แตก็ไมไดหมายความวาไมมีเหตุผลที่จะหามการทํา Insider trading แต
Moore ใหเหตุผลวาการที่ตองทําใหการทํา Insider trading เปนเรื่องผิดกฎหมายเพราะ
เปนบอนทําลายความเชื่อใจที่มีระหวางกัน ซึ่งถือเปนแกนสารในการทําธุรกิจของ
อเมริกัน

การศึกษาในดานธุรกิจจะชวยลดแนวโนมในการกระทําผิดที่เกี่ยวกับ Insider trading ได


หรือไม
Saunders (2002, pp.75-80) ไดทําการศึกษาในนักเรียน 347 คน จากโรงเรียน
ศิลปศาสตร คริสเตียนสองแหง และมหาวิทยาลัยของรัฐหนึ่งแหง โดยใหนักเรียนชมตัว
อยางภาพยนตรความยาว 15 นาทีเรื่อง วอลตรีท ของ โอลิเวอร สโตน ซึ่งออกฉายในป
ค.ศ. 1987 โดยมีตัวละครชื่อ บัด ฟอกซ ซึ่งกําลังมีปญหาดานการเงินและถูกเจาหนาที่
ของบัตรเครดิตอเมริกัน เอ็กเพรส ติดตามทวงหนี้ เมื่อเขามีโอกาสไดสนทนากับพอ เขา
ก็ไดทราบจากพอวา หนวยงานของรัฐที่กํากับดูแลดานการบินกําลังจะออกกฎหมายที่
เอื้อประโยชนสายการบินบลูสตารใหสามารถแขงขันกับสายการบินขนาดใหญรายอื่น ๆ
ได บัดถามพอวาแนใจหรือวาขาวนี้จะเปนความจริง พอของเขาก็สังเกตเห็นแววแหง
ความชั่วรายในตัวของลูกชาย วันรุงขึ้น บัดนําขาวนี้ไปบอกกับ กอรดอน เกคโค ผูทรง
อิทธิพลคนหนึ่งในตลาดหลักทรัพยวอลสตรีท เพื่อใหกอรดอนซื้อหุนของสายการบิน
บลูสตารเพื่อทํากําไร โดยบัดหวังจะสรางความสัมพันธทางธุรกิจกับกอรดอน
8

หลังจากชมภาพยนตรตัวอยางเสร็จแลว นักเรียนจะไดรับแบบสอบถามถึงแนว
โนมที่นักเรียนจะทําเชนเดียวกับบัด ภายใตเงื่อนไขตาง ๆ และ Saunders พบวานักเรียน
ชั้นป 4 ซึ่งเรียนวิชาทางดานบริหารธุรกิจมามากกวา มีแนวโนมกระทํา Insider trading
นอยกวา นักเรียนชั้นป 1 ซึ่งเพิ่งผานวิชาทางธุรกิจเบื้องตน และนักเรียนที่เรียนที่โรง
เรียนศิลปศาสตรคริสเตียน มีแนวโนมที่จะกระทํา Insider trading นอยกวานักเรียนที่
เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งอาจสรุปไดวา การศึกษามีสวนชวยใหนักเรียนมีความเขา
ใจในเรื่องของธุรกิจมากขึ้นและสามารถแยกแยะวาไดวา Insider trading นั้น เปนการ
กระทําที่เอารัดเอาเปรียบผูถือหุนรายอื่น ๆ และขณะเดียวกัน ถึงแม Saunders จะไมได
กลาวถึงหลักสูตรที่เกี่ยวของกับศาสนาหรือคุณธรรมที่ โรงเรียนศิลปศาสตรคริสเตียน
ไดสอนแกนักเรียน ก็อาจสันนิษฐานไดวาการที่โรงเรียนนั้นมีความเกี่ยวพันกับศาสนา ก็
นาจะมีการปลูกฝงเรื่องคุณธรรมอยูบาง ซึ่งทําใหอนุมานไดวาการปลูกฝงเรื่องคุณธรรม
และศีลธรรมจะมีสวนชวยในการลดการกระทําผิดในเรื่อง Insider trading ได

ขอสังเกตสองขอในเรื่อง Insider trading


Treynor and LeBaron (2004, pp.10-12) ไดใหขอสังเกตเกี่ยวกับ Insider trading
ไวในบทความเดียวกันซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Treynor and LeBaron กลาวไววา เราตางอยากเปนเจาของหุนหรือบริษัทที่กําลัง
มีเรื่องที่ดี ๆ เกิดขึ้น และไมอยากเปนเจาของหุนหรือบริษัท ที่กําลังมีเรื่องราย ๆ เกิดขึ้น
และแนนอนวาเมื่อเราซื้อหุน เราไดรับเอาผลประโยชนจากสิ่งดี ๆ มาจากเจาของคนกอน
และเราไดสงตอความเสียหายที่เกิดจากสิ่งที่ราย ๆ ใหกับผูที่ซื้อหุนตอจากเรา ดังนั้นถา
เราสันนิษฐานวาทั้งเจาของคนกอนหนา (เมื่อเราซื้อหุน) และเจาของคนถัดไป (เมื่อเรา
ขายหุน) ตางก็มีแรงจูงใจเชนเดียวกับเรา แตเราไมสามารถทราบไดวาแรงจูงใจใหเจา
ของกอนหนาขายหุนใหเราหรือเจาของถัดไปซื้อหุนจากเรานั้นคืออะไร ดังนั้นเราอาจ
อยากใหมีการออกกฎหมายไมใหซื้อขายหุนที่เกิดจากแรงจูงใจที่ผูอื่นไมทราบ แตใน
ความเปนจริงนั้นทําไมได เพราะมิเชนนั้นการที่เราเพียงมีแรงจูงใจจะซื้อหรือจะขายก็ผิด
กฎหมายแลว
9

ดังนั้นกฎหมายที่จะปองกัน Insider trading จะมีไวเพื่ออะไร Treynor and


LeBaron ตอบวา มีไวเพื่อ (1) ปกปองนายหนาคาหุนหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพยใน
ฐานะคนกลางที่ไมทราบวาแรงจูงใจของทั้งผูซื้อและผูขายคืออะไร (2) เพื่อสรางความ
มั่นใจใหนักลงทุนวาจะไมถูกผูที่มีขอมูลมากกวาเอาเปรียบ ซึ่งกฎหมายก็จะชวยใหตลาด
ทุนนั้นมีสภาพคลองมากขึ้นเนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจในการซื้อขายหุน และ
กฎหมายนี้ก็นาจะชวยใหระบบทุนนิยมแข็งแรงขึ้น เพียงแตวากฎหมายไมไดชวยปกปอง
ผูลงทุนรายยอย แตมีไวปกปองผูที่มีความร่ํารวยและมีอิทธิพล ซึ่งก็คือนายหนาคาหุน
นั่นเอง ซึ่งความเห็นของ Treynor and LeBaron ในตอนทายนี้จะออกแนวสอเสียด แต
อยางไรก็ตามสิ่งที่เขาพูดถึงไววากฎหมายมีไวปกปองผูลงทุนไมวารายใหญหรือรายยอย
ก็ยังเปนเรื่องที่อยูบนพื้นฐานความเปนจริง
ในบทความเดียวกันลีบารอนกลาวเปรียบเทียบไววา มีนักเรียนที่ฉลาด ไมฉลาด
และหัวปานกลาง ซึ่งเปนสวนใหญของชั้นเรียน กําลังจะเขาสอบ แตนักเรียนบางคนโชค
ดีที่มีภูมิหลังทางดานเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกวาเพื่อนซึ่งจะทําใหเขาไดเปรียบในการ
สอบ และก็มีนักเรียนบางคนที่ภูมิหลังทางดานเศรษฐกิจและสังคมที่ไมเอื้อใหเขาได
เปรียบในการสอบ ในกรณีนี้ครูไดตัดสินใจใหนักเรียนที่มีภูมิหลังที่ดีกวาไมตองเขาสอบ
การกระทําเชนนี้ถูกตองหรือไม ถาการสอบเปนไปเพื่อวัดผลวาใครฉลาดมากหรือนอย
และความฉลาดของกลุมเปนอยางไร การไมใหนักเรียนสวนหนึ่งเขาสอบจะทําใหผลที่
ออกมาบิดเบือนหรือไม ลีบารอน เห็นดวยวาผลที่จะออกมานั้นจะบิดเบือน
ลีบารอน บอกวาการเปรียบเทียบดังกลาวเหมือนกับการกีดกันไมใหผูที่มีขอมูลสําหรับ
การทํา Insider trading เขารวมในการซื้อขายหลักทรัพย ซึ่งถาจุดประสงคของการซื้อ
ขายหุนในตลาดหลักทรัพยคือการที่ราคาหุนนั้นจะตองสะทอนสภาพที่แทจริงของ
บริษัท การกีดกันการทํา Insider trading นั้นก็จะทําใหตลาดมีขอมูลที่นอยลง ราคาหุนก็
จะไมสะทอนสภาพที่แทจริงทั้งหมดของบริษัท ลีบารอนสนับสนุนใหมีการทํา Insider
trading ตลอดเวลา เพียงแตวาตองแสดงในคําสั่งซื้อขายใหชัดวาเปนการซื้อขายของผูที่
ทํา Insider trading เพื่อใหนักลงทุนที่เหลือทราบและตัดสินใจได โดยไมจําเปนตอง
ทราบรายละเอียดวาเกิดอะไรขึ้น เขาแสดงความเห็นแยงกับ Treynor and LeBaron วา
นายหนาซื้อขายไมจําเปนตองไดรับการปกปอง ลีบารอนไมแนใจวาการมีกฎหมายหาม
10

Insider trading นั้นจะกระทบตออัตราการทํากําไรของนายหนาซื้อขายหรือไม แตรูวา


กฎหมายเชนนี้มีผลกระทบตอประสิทธิภาพของตลาดและใหนายหนามีโอกาสเพิ่มอัตรา
การทํากําไรใหสูงขึ้น
จากบทความนี้ จะเห็นไดวา Insider trading นั้นอาจจะมีดานดีอยูบางคือชวยให
ขอมูลทุกอยางสะทอนออกมาในราคาอยางถูกตอง แตอยางไรก็ตามเมื่อมีการทํา Insider
trading นั้นก็ตองมีการแสดงรายการใหนักลงทุนผูอื่นทราบวารายการซื้อขายนั้น ๆ เปน
การทํา Insider trading เพื่อใหนักลงทุนรายอื่นสามารถไปวิเคราะหตอได ซึ่งในความ
เปนจริงแลวผูเขียนมองวาไมสามารถปฏิบัติไดจริง เพราะคงไมมีผูที่ทํา Insider trading
รายใดอยากประกาศตัวหรือแสดงใหผูอื่นรูวาคําสั่งซื้อของตนนั้นมีเบื้องหลัง เพราะมิ
เชนนั้นราคาตลาดของหลังจากมีการทํารายการจาก Insider trading อาจไมเปนไปตามที่
ผูทํา Insider trading คาดการณ และเมื่อนั้นการเอาเปรียบผูอื่นดวยการทํา Insider trading
ก็อาจไมไดผลประโยชนเต็มเม็ดเต็มหนวย นอกจากนี้การทํารายการโดยอางวาเปน
Insider trading โดยที่ผูออกคําสั่งซื้อขายนั้นอาจไมไดมีขอมูลวงในใด ๆ แตตองการทํา
ไปเพื่อปนมูลคาหุนหรือชี้นําตลาดก็เปนไปได ดังนั้นกฎหมายหามกระทํา Insider
trading นั้นนาจะเหมาะสมอยูแลว

เมื่อใดที่การคาหุนโดยใชขอมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชนจากการซื้อขายหลัก
ทรัพย ถูกกฎหมาย
เนื้อหาที่ Shell (2001, pp.89-90) เขียนไวในบทความมีใจความแปลไดวา เมื่อคุณ
เขาไปในลิฟตแลวบังเอิญไดยินผูบริหารสองคนซึ่งทํางานอยูที่บริษัทที่ตั้งอยูชั้นสูงขึ้นไป
คุยกันดวยเสียงที่เบาและต่ําเพื่อไมใหคนอื่นไดยิน แตคุณก็ยังจับความไดวาบริษัทนั้น
กําลังจะถูกซื้อโดยบริษัทยักษใหญในวันรุงขึ้นและผูบริหารกําลังจะไดเงินหลายลาน
เหรียญจากสิทธิในการซื้อหุน สมมติวาบริษัทดังกลาวอยูในตลาดหลักทรัพย คุณจะรีบ
วิ่งกลับบานแลวไปซื้อหุนของบริษัทดังกลาวโดยไมผิดกฎหมายไดหรือไม บทความนี้
จะใหความกระจาง
การที่หนวยงานของรัฐจะตองมีการพิสูจนหลายขั้นตอนวากอนตัดสินวาบุคคล
ใดกระทําความผิดที่เกี่ยวของกับ Insider trading ซึ่งประกอบไปดวย (1) จะตองมีการซื้อ
11

ขายหลักทรัพยเกิดขึ้น (2) การซื้อขายนั้นจะมีมูลเหตุมาจากการรับรูขอมูลใด ๆ ที่ยังไม


เปนที่เปดเผยแกสาธารณะชน (3) ผูที่ทําการซื้อขายหุนหรือผูที่แพรงพรายขอมูลตองรูวา
ขอมูลที่เขากําลังยุงเกี่ยวดวยนั้นเปน “ของรอน” (4) บุคคลผูนั้นไดทําผิดตอหนาที่ใน
ฐานะที่ไดรับความไววางใจจากบริษัทในการที่เขาไปทําการซื้อขายหลักทรัพยโดยใชขอ
มูลที่เปนความลับของบริษัท หรือแพรงพรายความลับของบริษัท
ดังนั้นจากขั้นตอนดังกลาวจะเห็นไดวาผูที่ทราบขอมูลภายในนั้นจะไมสามารถ
ไปทําการซื้อขายหุนหรือแพรงพรายขอมูล อันจะกอใหเกิดประโยชนตอตนเอง
คราวนี้นําหลักการขางตนมาพิจารณาเรื่องในลิฟตอีกครั้ง ถาคุณไปซื้อหุนของ
บริษัทดังกลาว นั่นคือจะมีขั้นตอนการซื้อขายเกิดสําเร็จขึ้น แตเรื่องจะตางออกไปถาคุณ
ถือหุนบริษัทนั้นอยูแลวและกําลังมีแผนที่จะขาย แตมาเปลี่ยนใจเมื่อไดยินบทสนทนาใน
ลิฟต กฎหมายไมไดกําหนดโทษถาคุณพลาดที่จะซื้อหรือตัดสินใจที่จะถือหุนตอไป
ในขอสอง ขอมูลนั้นเปนขอมูลที่ยังไมเปนที่เปดเผยแกสาธารณะชนหรือไม แน
นอน ผูบริหารพูดกันดวยเสียงที่เบาและต่ําในลิฟตวาจะมีการซื้อบริษัทในวันรุงขึ้น เปน
เรื่องที่ยังไมเปนที่ทราบทั่วไปแกสาธารณชน ดังนั้นผูลงทุนโดยทั่วไปแลวจะตอง
พิจารณาวาขอมูลนี้เปนขอมูลสําคัญที่จะมีผลตอการตัดสินใจซื้อขาย
ขอสามคุณรูหรือเปลาวาขอมูลนั้นเปนของรอน แนนอน คุณยอมรูวาสิ่งที่ผู
บริหารคุยกันนั้นเปนเรื่องรอนและเปนความลับ
ในขอสุดทายการที่ผูบริหารปลอยใหขอมูลนั้นหลุดมาถึงคุณ และคุณก็ไดไปซื้อ
ขายหุนนั้นผิดตอหนาที่ของคุณตอบริษัทนั้นหรือไม คุณไมใชพนักงานของบริษัทนั้น
คุณจึงไมตองมีความรับผิดชอบใด ๆ ตอบริษัทดังเชนที่พนักงานของบริษัทพึงกระทํา
และคุณก็ไมไดมีสัญญาที่จะปกปดความลับดังเชนที่ นักกฎหมาย นักบัญชี หรือที่ปรึกษา
ของบริษัทจะตองทําสัญญาดังกลาวกับบริษัท และสุดทายคุณก็ไมไดเปนญาติกับใครใน
บริษัทนั้น

แลวผูบริหารของบริษัทดังกลาวมีความผิดหรือไม เขามีความรับผิดชอบตอ
บริษัท แตเขาไมไดเผยแพรขอมูลใหคุณเพื่อผลประโยชนใด ๆ ของเขาเอง เขาไมได
อะไรเลยจากการที่ไมระมัดระวังคําพูด การกระทําของเขาเปนการไมรอบคอบใชหรือไม
12

คําตอบคือ ใช แตมันเปนไปเพื่อประโยชนของตัวเขาเองหรือไม คําตอบคือ ไม สรุปปด


คดี คุณคือผูชนะ
ดังนั้น คุณก็มีสิทธิที่จะซื้อขายหุน จริงอยูวาการซื้อขายของคุณอาจจะกระตุนให
หนวยงานของรัฐเขามาตรวจสอบ วามีรายการซื้อขายผิดปกติกอนการประกาศขอมูลที่
สําคัญของบริษัท ซึ่งมันอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของคุณ แตคุณก็ไมไดทําผิด
กฎหมาย
คราวนี้สมมติวาคุณรูจักกับผูบริหารหนึ่งในสองคนนั้น และเขาก็ตั้งใจที่จะ
กระซิบใหคุณไดยินขอมูล ในชวงเวลาหลายปที่ผานมาคุณเคยชวยเหลือกันในดานธุรกิจ
แตก็ไมเคยใหขอมูลที่เปนประโยชนตอการซื้อขายหุนเชนนี้ คราวนี้คุณสามารถซื้อขาย
หุนไดหรือไม
ถามองผิวเผิน เหตุการณก็ดูไมมีอะไร เพื่อนคุณเพียงแตบอกขอมูลเปนของขวัญ
เพื่อใหคุณไดรับผลประโยชน แตไมใชตัวของเขาเอง (ผูบริหารของบริษัทนั้น) ซึ่งก็
เหมือนกับกรณีคนแปลกหนาในลิฟต เขาทําความลับรั่วไหล แตถึงแมเขาจะผิดตอหนาที่
ในการรักษาความลับของบริษัท แตเขาก็ไมไดผลประโยชนใด ๆ จากการซื้อขายหุนของ
คุณ
แตการที่เขาแพรงพรายขอมูลใหคุณรู เปนการใหอยางบริสุทธิ์ใจหรือเปลา หรือ
เปนการหวังสิ่งตอบแทนในภายภาคหนา เชน เปนการชวยเหลือเกื้อกูลกันทางทั้งในทาง
สวนตัวหรือในทางธุรกิจตอไปในอนาคต คราวนี้เจาหนาที่ของรัฐก็จะสามารถตัดสินได
วานี่เปนกรณีของ Insider trading เพื่อนของคุณไดเปดเผยความลับเพื่อประโยชนของเขา
เองในอนาคต ไมวาจะเปนการตอบแทนทางธุรกิจ หรือจะฝากลูกเขาโรงเรียน ดังนั้นการ
ผิดตอหนาที่ของเขานั้นเปนไปดวยความหวังที่จะไดรับผลตอบแทนในอนาคต และนี่
เปนสิ่งที่แตกตาง

คราวนี้ลองดูในอีกกรณีหนึ่ง สมมติวาเพื่อนของคุณเปนกองบรรณาธิการ
นิตยสารบิสิเนสวีค และกําลังจะจัดอันดับซอฟทแวรที่เปนนวัตกรรมในฉบับหนา แลว
ซอฟแวรของบริษัทเดียวกันนั้นก็ไดรับการจัดใหเปนอันดับ 1 ในสาย ซึ่งจะทําใหมูลคา
13

หุนของบริษัทนั้นสูงขึ้นอยางมาก คุณจะสามารถไปซื้อหุนของบริษัทนั้นดวยขอมูลที่ได
รับมาจากเพื่อนไดหรือไม
คําตอบ คือ ไมได กฎหมายนั้นใหความสําคัญกับขอมูลลับที่จะมีผลตอราคาหุน
ของบริษัท โดยไมไดสนใจวาจะมาจากแหลงขอมูลใด ไมวาจะเปนขอมูลดานดีหรือราย
และไมวาจะมาจากบุคคลภายในบริษัทหรือ บทความทางธุรกิจ หรือ ฝายวิจัยของวอลล-
สตรีท
เสริมดวยสถานการณพิเศษ 3 สถานการณที่เกี่ยวของกับความรูในเรื่องกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับ Insider trading คือ (1) ขอมูลความลับใด ๆ ที่เกี่ยวของกับการเสนอขอซื้อหุน
(tender offer) เชนการเขาครอบครองโดยปรปกษ (hostile takeover) เปนเรื่องที่รอนเกิน
กวาที่บุคคลใด ๆ จะอยากเขาไปของเกี่ยว เพราะกฎหมายเขมงวดมากในเรื่องเกี่ยวกับ
การเสนอขอซื้อหุน (2) ในการที่คุณเปนพนักงานและไดหุนของบริษัทมา จะทําอยางไร
เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะผิดตอกฎหมาย Insider trading ในกรณีนี้ คุณสามารถทําได
โดยเสนอแผนการขายหุนที่มีกําหนดระยะเวลาแนนอนใหคณะกรรมการกํากับหลัก
ทรัพยและตลาดหลักทรัพยทราบ เชนคุณกําหนดจะขายหุนจํานวนเทา ๆ ทุก ๆ วันจันทร
แรกของเดือน (3) ถาคุณเปนผูบริหารหรือกรรมการหรือถือหุนของบริษัทเกิน 10% ก็มี
กฎอยูวา คุณจะตองซื้อขายหุนแตละครั้งตองมีระยะเวลาหางกันอยางนอย 6 เดือน คือ
หามซื้อแลวขายทันทีตองรออยางนอย 6 เดือนจึงจะขายได และในทางกลับกันเมื่อขาย
หุนแลวหามซื้อหุนใหม ตองรออยางนอย 6 เดือน ซึ่งกฎนี้ไมสนใจวาคุณจะรูความลับ
ของบริษัทหรือไม
การแสวงหากําไรจากขอมูลภายในนั้นจะทําใหคุณมีปญหาได แตก็มีบางกรณีที่
ถูกกฎหมาย ดังนั้นหากคุณบังเอิญไปนั่งในบารใกลกับผูบริหารระดับสูงที่เผยความลับ
ออกมาโดยไมไดตั้งใจหรืออาจตั้งใจใหเปนของขวัญกับคุณ คุณก็สามารถรับไวไดถาคุณ
ตองการ แตถาคุณเลี้ยงเครื่องดื่มเขากลับ นั่นจะกลายเปนการตอบแทนและทําใหการ
แพรงพรายความลับที่ไมหวังผลกลายเปนการทําเพื่อหวังผลตอนแทนและเขาขาย
Insider trading ดังนั้นทางที่ดีหากมีขอสงสัย ควรปรึกษานักกฎหมาย และที่ดีที่สุดคือไม
ตองไมซื้อขายหุน เพราะมันจะนําความยุงยากมาสูคุณในภายหลัง
14

บทความดังกลาวขางตน จะเห็นวาผูเขียนไมไดแนะนําเรื่องของคุณธรรมและศีล
ธรรม แตเปนการปองกันการทําผิดกฎหมาย ซึ่งการไมทําผิดกฎหมายไมไดแปลวาจะไม
ผิดศีลธรรม จากกรณีตัวอยางคนแปลกหนาในลิฟตที่ยกมาเปนกรณีแรกขางตน หากมอ
งงผิวเผิน อาจดูเหมือนไมมีใครเสียประโยชน จากการที่เรารูความลับมาแลวไปซื้อหุน
แตแทจริงมีผูเสียประโยชน ซึ่งอาจเปนผูขายหุนใหเรา เพราะถาเราไมซื้อเขาอาจจะยัง
ขายหุนไมออก เมื่อมีขาวประกาศออกมาเขาก็จะไดรับประโยชน หรือในกรณีที่เราซื้อมา
แลวเปนการซื้อตัดหนาผูซื้อรายอื่น ผูที่พลาดโอกาสนั้นอาจไมสามารถซื้อหุนได หรือ
หากซื้อไดอาจเปนราคาที่สูงขึ้น เพราะเรามีสวนมาสรางอุปสงค (demand) ใหหุนตัวนั้น
ซึ่งอาจทําใหราคาหุนสูงขึ้น

บทที่ 3
15

วิธีการศึกษาคนควา

วิธีการศึกษาคนควารายงานฉบับนี้ มุงเนนที่การศึกษาปญหาที่กอใหเกิด Insider


trading และศึกษาวิธีการปองการการกระทําผิดกฎหมายที่วาดวยเรื่อง Insider trading
การศึกษานี้ใชการวิเคราะหจากวรรณกรรมที่เกี่ยวของที่ไดนําเสนอไปในบทที่ 2 และ
แยกแยะออกเปนประเด็นเพื่อใหเห็นประโยชนที่คาดวาจะไดรับตามที่ไดตั้งประเด็นไว
ในบทที่ 1

บทที่ 4
16

การคนพบ

จะเห็นไดวา วรรณกรรมที่เกี่ยวของสวนมากนั้นมีความเห็นพองตองกันวาการที่
Insider trading เรื่องที่ผิดกฎหมายนั้นสมควรแลว แตก็มีความเห็นที่แตกตางในบทบาท
ของ Insider trading ที่มีผลตอประสิทธิภาพหรือกลไกของตลาดซึ่งมีทั้งเห็นเหมาะสม
และไมเหมาะสม ซึ่งในประเด็นนี้ก็อาจมีผลตอเนื่องไปถึงการตัดสินวาการทํา Insider
trading เปนการผิดศีลธรรมหรือไม
แตถาวิเคราะหจากมูลเหตุของการกระทําผิดในเรื่องของ Insider trading แลวจะ
พบวามีมูลเหตุอยู 2 ประการคือ (1) ไมทราบวาการกระทําดังกลาวเปนความผิด (2)
ทราบวาการทํา Insider trading เปนความผิดทั้งในดานทางศีลธรรมและผิดกฎหมาย แตก็
ยังกระทําอันเนื่องมาจากความโลภ และผูกระทําอาจตีความเขาขางตนเองดวยวาอาจผิด
กฎหมาย แตก็ยากแกการพิสูจนโดยเฉพาะในกรณีที่ใชชื่อผูอื่นที่ไมเกี่ยวของกันมาใชใน
การซื้อขายหุนแทน และยังอาจมองไปวาไมผิดศีลธรรมอันเนื่องมาจากไมไดมีผูเดือด
รอนที่เห็นชัดเจน
อยางไรก็ดี จากการวิเคราะหวรรณกรรมที่เกี่ยวของจะเห็นไดวาสวนใหญจะมุง
เนนไปที่การแกปญหาที่มาจากมูลเหตุประการแรกคือปญหานี้จะสามารถแกไขไดดวย
การศึกษา ไมวาจะมีความรูความเขาใจในการบริหารธุรกิจที่เพิ่มขึ้น การไดเรียนรูใน
สถาบันที่สงเสริมความรูดานคุณธรรมและศาสนา และการเขาใจถึงการองคประกอบที่
ทําใหฐานความผิดเกิดโดยสมบูรณในทางกฎหมาย ซึ่งผูที่ไดอานสรุปความของ
วรรณกรรมที่เกี่ยวของขางตนยอมไดทราบดีแลววาการกระทํา Insider trading นั้นผิดทั้ง
ในแงของศีลธรรมและกฎหมาย แตมูลเหตุของการกระทําผิดในขอ 2 ซึ่งก็คือรูอยูแลววา
เปนความผิด หรือ อาจเปนความผิดแตก็ยังกระทํา มูลเหตุนี้ยากตอการแกไข เพราะเรื่อง
ดังกลาวมีรากฐานเดียวกับการกระทําผิดศีลธรรมเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอยูตลอดเวลาใน
สังคมมนุษย ซึ่งหากแกไขที่มูลเหตุของเรื่องนี้ได ก็จะสามารถแกไขปญหาทั้งหลายทั้ง
ปวงที่เกิดขึ้นในโลกนี้ได และปจจัยสําคัญที่สุดที่สามารถแกปญหานี้ไดอยางเบ็ดเสร็จคือ
ศาสนาที่มีสัมมาทิฐิเปนที่ตั้ง อันไมจํากัดอยูเพียงศาสนาใดศาสนาหนึ่งเทานั้น อยางไรก็
17

ดีในฐานะที่ขอเขียนนี้เปนภาษาไทย และประเทศไทยเปนเมืองพุทธ ก็สันนิษฐานวาผู


อานสวนใหญจะนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งถาผูอานไดมีการศึกษาศาสนาพุทธอยางถึงแกน
โดยไมยึดติดกับกระพี้ หรือไมไดรูจักแคเพียงกระพี้ของศาสนาพุทธแลว ก็จะทราบไดวา
ศาสนาพุทธไดสอนวิธีการแกปญหานี้ไวแลว ซึ่งการจะกลาวถึงการแกปญหาโดย
ละเอียดนั้นจะมีขอบเขตกวางขวางและลึกซึ้งเกินกวาจะอยูในรูปแบบของรายงานฉบับนี้
ได แตหากผูอานนับถือศาสนาที่แตกตางออกไปก็เชื่อวาไมเปนการเหลือวิสัยที่จะศึกษา
ใหเขาถึงคําสอนที่มุงเนนใหเกิดคุณธรรม ไมวาคําสอนนั้นจะมีพื้นฐานมาจากศรัทธา
หรือเหตุผลหรือปญญาก็ตาม
18

บทที่ 5
ขอเสนอแนะ

ขอเสนอแนะในการปองกันการทํา Insider trading ในประเทศไทยนั้นสามารถ


ทําไดในหลายภาคสวน ซึ่งโดยพื้นฐานแลวควรตองมีการสอนวิชาจริยธรรมในโรงเรียน
ตั้งแตระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาโดยตองใชวิธีกรสอนแบบบูรณาการ ซึ่งไมใช
เปนเพียงการทองจําของนักเรียน นักศึกษา แตจะตองมีการยกกรณีศึกษา การจําลอง
สถานการณ รวมทั้งการสังเกตการณสถานการณจริง เพื่อใหนักเรียน นักศึกษาเขาใจ
อยางถองแทถึงความหมายของจริยธรรม ซึ่งการแกไขปญหานี้ไมเพียงแตจะเปนการแก
ไขปญหาของการทํา Insider trading เทานั้น แตเปนการแกปญหาทั้งปวงที่เกิดจากการ
ขาดจริยธรรม
อยางไรก็ดี การแกที่ระบบการศึกษาขางตนเปนการแกในระยะยาว ในระยะที่สั้น
ลงกวานั้นคือการเพิ่มหลักสูตรที่เพิ่มความรูความเขาใจในจริยธรรมทางธุรกิจเขาไปใน
ระดับอุดมศึกษา เพราะในระดับนี้ นักศึกษาเริ่มมีความรูความเขาใจในกระบวนการทาง
ธุรกิจมากขึ้น ซึ่งในการที่เสนอแนะเชนนี้เพราะผูเขียนมีความเห็นวาถึงแมชาวพุทธสวน
มากจะทราบวาศีลขอ 2 คือ การละเวนจากการลักขโมยของผูอื่นมาเปนของตนเอง แต
การจะตีความใหศีลขอ 2 ครอบคลุมถึงเรื่อง Insider trading นั้น จะตองอาศัยความรู
ความเขาใจในระบบสังคมและธุรกิจปจจุบันอยูพอสมควร
ประการตอมาในการปองกันปญหาการทํา Insider trading เปนการแกปญหาที่
ใกลจุดเกิดเหตุมากที่สุด คือการใหความรูความเขาใจแกนักลงทุน เพราะในปจจุบันนัก
ลงทุนจะซื้อขายหุนไดจะตองเปดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย ซึ่งจํานวนนักลงทุนเทียบกับ
สัดสวนประชากรในประเทศไทยแลวมีเพียง 0.42% (ประมาณ 272,000 คน ณ สิ้นป
2548) (ภัทรียา เบญจพลชัย, 2549) ดังนั้น การที่จะใหความรูแกคนกลุมนี้ จะเปนการเขา
ถึงกลุมผูที่เสี่ยงตอการกระทําผิดโดยตรง ซึ่งในการใหความรูกับคนกลุมนี้สามารถทําได
หลายวิธี ไมวาจะเปนในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพที่บริษัทหลักทรัพยตาง ๆ สามารถชวยสงให
19

กับลูกคาของตนเอง หรือสิ่งพิมพที่เกี่ยวของกับตลาดหุนเชนหนังสือพิมพธุรกิจ สําหรับ


สื่อรูปแบบอื่นอาจรวมถึง วิทยุ โทรทัศน อินเทอรเน็ต ที่มีกลุมเปาหมายเปนนักลงทุน
สําหรับนักลงทุนรายใหม อาจตองมีหลักสูตรอบรมในเรื่องความรูความเขาใจใน
การลงทุน รวมไปความผิดตาง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเรื่องของการลงทุน ซึ่งรวมถึงการทํา
Insider trading ดวย
20

บรรณานุกรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. (2546). คนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2550, จาก


http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp
ภัทรียา เบญจพลชัย. ตลาดทุนไทยในมิติการแขงขันระดับนานาชาติ. งานนําเสนอ. 5
ตุลาคม พ.ศ. 2549 http://www.bex.or.th/event/10-2006/05/2006-10-05-
Patareeya.ppt
ก.ล.ต. เชือด อากู สั่งปรับ 32 ล. ฐานใชขอมูลอินไซดซื้อขายหุนมติชน. (2550, มิถุนายน
16). หนังสือพิมพผูจัดการออนไลน, คนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2550, จาก
http://www.manager.co.th
Moore, J. (1990, Mar). What is really unethical about insider trading?.
Journal of Business Ethics, 9(3), 171-182.
Saunders, K. T. (2002, November/December). Does the study of business
reduce the likelihood of committing insider trading?. Journal of
Education for Business, 78(2), 75-80.
Shell, G. R. (2001, Fall). When is it legal to trade on inside information?. MIT
Sloan Management Review, 43(1), 89-90.
Fund Manager Hit with Insider Trading Charge. (2006, June 24). The Nation.
p. 3.
Treynor, J. L., & LeBaron D. (2004, May/June). Insider trading: Two
comments. Financial Analysts Journal, 60(4), 10-12.
Werhane, P. H. (1989, November). The ethics of insider trading. Journal of
Business Ethics, 8(11), 841-845.

You might also like