Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 10

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)

หลายคนถึงกับขมวดคิ้ว เมื่อชวนอ่านหนังสือเล่มหนา แต่ถ้าไม่ชวนอ่านสามก๊ก ก็ยังนึก


ไม่ออกว่านิยายเล่มไหนของไทย มีคุณค่าในทางวรรณกรรมเทียบเท่ากับเรื่องนี้

สามก๊ก ฉบับที่เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๔๕ และเป็นร้อย


แก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๑๗ ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน
ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำาเกิง รพี
พัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุด
ในสังคมไทย สำานวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฎอยู่ทั่วไปในสามก๊ก
ชนชั้นนำาไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำาราการเมืองเสียด้วยซำ้า คติทางสังคมหลายอย่าง
ก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน

สามก๊กมีขนาดสองเล่มจบ ความหนาหนึ่งพันแปดสิบหกหน้า เนื้อเรื่องมีแปดสิบสาม


ตอน สำาหรับหนอนหนังสือแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างไร เพราะหากเทียบกับ
วรรณกรรมอย่าง ผู้ยากไร้ ของวิคเตอร์ ฮูโก หรือสงครามและสันติภาพ ของลีโอ ตอลส
ตอย หรือแม้แต่มังกรหยก ของกิมย้ง แล้ว สามก๊กถือได้ว่าไม่ยากและไม่ง่ายสำาหรับการ
อ่านสักเท่าไหร่

เรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อ


กวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๖) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อ
มาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำาไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น
และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปีพ.ศ. ๒๓๔๕ โดยซินแสผู้รู้
ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาด
เคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาใน ตำาราพิชัย
สงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษ
ของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่
ประเด็นสำาคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้ว
ในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำานวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครใน
ลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจน
เบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบ
ของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้

เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีีมีอำานาจ บ้านเมืองเต็มไป


ด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาว
บ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำานาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยก
กองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฎตัว

ตัวละครหลักประกอบด้วยโจโฉ เล่าปี่ และซุนกวน ซึ่งเป็นผู้นำาของอาณาจักรที่ถูกแยก


เป็นสามส่วนในตอนท้าย ตัวละครทั้งสามเป็นแกนหลักของตัวละครอื่นที่ล้อมรอบ หาก
เข้าใจอุปนิสัยใจคอของตัวละครทั้งสาม ก็จะเข้าใจตัวละครอื่นได้ไม่ยาก ดังที่ยาขอบได้
เขียนแยกเป็นชุด สามก๊กฉบับวณิพก ได้อย่างน่าสนใจ

โจโฉนั้นเกิดในตระกูลขุนนาง ในวัยรุ่นเป็นเด็กเกเร ในวัยหนุ่มก็เป็นคนบ้าบิ่น ถึงขนาด


รับอาสาถือมีดเล่มเดียวจะไปตัดศรีษะตั๋งโต๊ะ เผด็จการแผ่นดินในขณะนั้น กระทั่งต้อง
หนีระหกระเหินไปกับม้าตัวเดียว ทั้งยังอาจหาญแอบอ้างพระราชโองการ ประกาศให้
กองทัพหัวเมืองมารวมตัวกันเพื่อปราบกบฎ ในการทหารเขาเป็นนายทัพที่เฉลียวฉลาด
แม้กองทัพจะเล็ก แต่ดว้ ยอุบายอันแยบยล ทำาให้ปราบทัพใหญ่ของอ้วนเสี้ยว-มนุษย์ที่ไม่
ควรเอาเป็นอย่างในความโง่ และลิโป้-ยอดขุนทวนที่สามพี่น้องเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ยัง
ปราบไม่ลง ได้ สามก๊กเปิดตัวโจโฉในฐานะวีรบุรุษผู้ปลดปล่อยกษัตริย์จากทรราชย์ แต่
อำานาจนั้นก็ผันให้โจโฉกลายเป็นเผด็จการคนใหม่ไปเสียเอง ความเจ้าเล่ห์และ
ทะเยอทะยานของโจโฉนั้น มีแต่เล่าปี่ที่พอจะเทียบเคียงได้

เล่าปี่เป็นคนยากจน แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ แต่ก็เชื้อปลายแถว กำาพร้าพ่อแต่เล็ก


แม่ต้องเลี้ยงชีพด้วยการทอเสื่อขาย ความทะเยอทะยานทางการเมืองของเล่าปี่นั้น เป็นไป
ภายใต้ท่าทีสุภาพอ่อนน้อม ฉากเฉือนเล่ห์เฉือนคมระหว่างเล่าปี่และโจโฉในตอนดื่มสุรา
วิจารณ์วีรบุรุษนั้น เป็นการสูร้ บที่ตื่นเต้นโดยไม่ต้องใช้กองทัพหรืออาวุธใดเลย ท่าทีที่
สัตย์ซื่อของเขาทำาให้หลายคนยอมถวายชีวิตให้ ไม่ว่าจะเป็นชีซี-ผู้สาบานว่าจะไม่คิดร้าย
ต่อเล่าปี่แม้ต้องไปอยู่กับโจโฉ จูกัดเหลียง-ขงเบ้ง นักปราชญ์ผู้ต้องละทิ้งความสันโดษมา
วางแผนรบทำาลายชีวิตผู้คนนับแสน เตียวจูล่ง-ขุนพลผู้เลือกนาย ความสัมพันธ์ระหว่าง
เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ในฐานะพี่น้องร่วมสาบานนั้นเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความ
ซาบซึ้งยิ่งในสามก๊ก เป็นทั้งความรุ่งโรจน์และหายนะของตัวละครทั้งสามเลยทีเดียวก็ว่า
ได้

ซุนกวนนั้นเกิดในกองสมบัติที่พ่อและพี่ได้ทิ้งไว้ให้ แต่เขามีสิ่งที่พ่อและพี่ไม่มี นั่นคือ


ความเป็นผู้นำาโดยไม่จำาเป็นต้องลงไปอยู่ในสนามรบด้วยตนเอง เสนาธิการอย่างโลซก
และจิวยี่ล้วนจงรักภักดีกับเขา โดยเหตุที่เขาเป็นนายที่ให้ความไว้วางใจกับผู้ใต้บังคับ
บัญชาอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะนอนสนทนาบนเตียงเดียวกันกับโลซกทั้งคืน เดินลงจากม้าไปรอ
รับโลซกต่อหน้ากองทัพ เพื่อให้ผู้อื่นให้ความเกรงใจแก่โลซก-คนที่ยังไม่มีชื่อเสียงใน
ขณะนั้น หรือดำาเนินตามนโยบายของจิวยี่ในการจับมือกับเล่าปี่ประกาศสงครามกับโจ
โฉ ทั้งมอบอาญาสิทธิ์ให้เต็มที่ เพื่อให้นายทัพอื่นเชื่อฟังแม่ทัพหนุ่มอย่างจิวยี่

โครงเรื่องสามก๊กว่าด้วยการต่อสู้ระหว่างเล่าปี่ โจโฉ ซุนกวน ทั้งทางสติปัญญา จิตใจ


และความเป็นผู้นำา โครงเรื่องรองก็จะเป็นเรื่องของตัวละครอื่น ซึ่งว่าด้วยความกล้าหาญ
และซื่อสัตย์ เพียงแต่การวิเคราะห์ลักษณะนิสัยตัวละครก็ทำาให้มีเรื่องถกกันได้ไม่รู้จักจบ
สิ้น ส่วนคำาเตือนที่ว่า "ผู้ใดอ่านสามก๊กสามจบ นั้นคบไม่ได้" หรือ "ไม่ได้อ่านสามก๊ก มิ
พึงคิดการใหญ่" ไม่ได้หมายถึงว่าการอ่านสามก๊กเป็นเครื่องหมายของความฉลาดเฉลียว
เพราะการอ่านสามก๊กนั้นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง และจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
แยกแยะคุณค่าดีและเลวให้ได้ เพราะคุณค่าบางอย่างนั้นดีในยุคสมัยหนึ่ง แต่เหมาะสม
กับยุคสมัยปัจจุบันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องขบคิดใคร่ครวญหนักหน่วงพอควร

รายละเอียดโดยย่อของทั้ง 3 ก๊ก

วุยก๊ก
วุยหรือเฉาเวย จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำานาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี
พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ
จีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้
สถาปนาโจโฉเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักร
โดยจักพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าโจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 - 769
พระเจ้าโจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 - 782
พระเจ้าโจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 - 797
พระเจ้าโจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 - 803
พระเจ้าโจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 - 808
วุยก๊กถูกโจมตีและโค่นล้มราชวงศ์วุยโดยสุมาเอี๋ยน ซึ่งต่อมาภายหลังได้สถาปนาราช
วงศ์จิ้นขึ้นแทนและรวบรวมแผ่นดินที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

จ๊กก๊ก
จ๊กหรือสู่ฮั่น เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่ง
ราชวงศ์ฮั่น ในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่
ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดย
จักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่

พระเจ้าเล่าปี่ ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 764 - 766


พระเจ้าเล่าเสี้ยน ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 766 - 806
จ๊กก๊กมีอายุได้แค่เพียง 42 ปีก็ล่มสลายลงด้วยกองทัพของวุยก๊ก เนื่องจากการปกครอง
แผ่นดินที่ล้มเหลวของพระเจ้าเล่าเสี้ยน

ง่อก๊ก
ง่อหรืออาณาจักรอู่ตะวันออก เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุน
กวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทาง
ด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่นำ้าแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณ
รอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมา
ทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าซุนกวน ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 765 - 795
พระเจ้าซุนเหลียง ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 795 - 801
พระเจ้าซุนฮิว ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 801 - 807
พระเจ้าซุนโฮ ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 807 - 823
ง่อก๊กเป็นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาอาณาจักรสามก๊กที่ล่มสลายโดยกองทัพขอสุมา
เอี๋ยนและราชวงศ์จิ้น

สำาหรับรายงานฉบับนี้ จัดทำาขึ้นเพื่อวิเคราะห์ตัวละครตัวสำาคัญในเรื่องระหว่างขงเบ้งที่
ปรึกษาของเล่าปี่ และ จิวยี่ที่ปรึกษาของซุนกวน ซึ่งมีประวัติย่อ ดังนี้

ขงเบ้ง: ผู้ ถูกยกย่องว่า หยั่งรู้ดินฟ้า มหาสมุทร จากคำาแนะนำาของชีซีทำาให้เล่าปี่ต้องมา


เชิญด้วยตัวเอง ถึงสามครั้งสามครา มีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชัว่ อายุคน
ภายหลังเล่าปี่ตาย ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยน ให้ดูแลแต่ไม่อาจสำาเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยน
หูเบา เชื่อแต่คำายุยง ของขันที ฮุยโฮ ยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊ก
หลายครัง้ มีคู่ปรับคือ สุมาอี้

จิวยี่: ผู้ ได้รับฉายาว่าเป็นผู้ถ่มนำาลายรดฟ้า ได้อยู่รับใช้ในสมัย ซุนเซ็ก และซุนกวน เป็น


เพื่อนสนิทของซุนเซ็ก ได้ถูกชวนมาร่วมบริหารบ้านเมือง ครั้นซุนเซ็กตาย จึงอยู่มาสมัย
ซุนกวน วางแผนออกรบ ร่วมกับขงเบ้งปราบปรามต่อต้านโจโฉที่ยกทัพมาทำาสงคราม
กับกังตั๋ง ได้ขึ้นชื่อว่าศึกเซ็กเพ็ก สงครามไฟประวัติศาสตร์จารึก ที่เผาผลาญทหารโจโฉ
ร่วมล้านคน ภายหลังถูกขงเบ้งหักหลัง แย่งชิงเมืองทั้งหลายที่รบได้ไป จึงคิดแค้นใจและ
ถูกพิษธนูกลุ้ม ขาดใจตาย ก่อนตายได้ตะโกน ว่า ฟ้าให้ยี่มาเกิด ไฉนจึงให้เหลียงมาเกิด
ด้วย

เรื่องราวของสามก๊กเป็นวรรณกรรมเล่มหนา หากจะยกเอาตัวละครมาวิเคราะห์มากกว่า
นี้ ทางผู้จัดทำาเองคงไม่สามารถวิเคราะห์จนจบได้ รายงานฉบับนี้จึงได้ทำาการวิเคราะห์
ตัวละครสำาคัญ ระหว่างขงเบ้ง และจิวยี่ ถึงแม้ว่าตัวผู้ทำารายงานเองจะอ่านวรรณกรรม
เรื่องนี้ยังไม่จบ แต่อย่างน้อยเท่าที่อ่านมา ตัวละครทั้งสองก็ได้จบชีวิตลง โดยมีจุดจบ
คล้ายๆ กัน เพียงต่างกรรม ต่างวาระเท่านั้นเอง
ก่อนจะมาวิเคราะห์ตัวละครทั้ง 2 ตัวนี้ ผู้จัดทำาจะได้ยกเรื่องราวของสามก๊กมาตอนหนึ่ง
ที่จะแสดงให้เห็นถึงการปะทะคารม ยั่วยุให้อีกฝ่ายเข้าร่วมทำาสงครามกับฝ่ายตนของ
ขงเบ้ง มีชื่อตอนว่า “ขงเบ้งยั่วยุจิวยี่ให้สู้ศึก”

ขงเบ้งยั่วยุจิวยี่ให้สู้ศึก

ขณะที่ซุนกวนกำาลังกระสับกระส่ายมิรู้จะตัดสินใจอย่างไรดี นางงอก๊กไถ้ผู้เป็นแม่น้าได้
เตือนความจำาซุนกวนว่า ซุนเซ็กเคยสั่งก่อนตายว่า ความเมืองภายในให้ฟังเตียวเจียว
ภายนอกให้ฟังจิวยี่ ซุนกวนคิดได้ดีใจสั่งคนไปตามจิวยี่จากเมืองกวนหยงให้มาพบ แต่
จิวยีพ่ อได้ยินข่าวศึก ได้เดินทางมาถึงกังตั๋งก่อนแล้ว

การเมืองในกังตั๋งขณะนั้นเต็มไปด้วยการล็อบบี้ ใครมีพวกมากก็ลากกันไป แต่ที่แน่


ๆ ก็คือ แต่ละฝ่ายวิง่ เข้าหาขั้วอำานาจ ลดหลั่นจากซุนกวนก็เป็นจิวยี่ แม่ทัพใหญ่แห่ง
แคว้นกังตั๋ง

โลซกเข้าพบจิวยี่ เล่าเรื่องความขัดแย้งทางความคิดภายในให้ฟัง จิวยี่ไม่เผยไต๋บอก


ว่า ท่านอย่าได้วิตกไปเลย ปล่อยให้เป็นธุระข้าพเจ้าจะคิดอ่านหาทางออกเอง ท่านจงไป
ตามขงเบ้งให้มาพบข้าพเจ้าก่อนเถิด

หลุดจากโลซก เตียวเจียวก็พาพวกเข้าพบจิวยี่ ขอให้สนับสนุนการยอมจำานนต่อโจ


โฉ โดยยืนยันว่าการสู้กบั โจโฉเหมือนเอาหญ้าฟางไปโยนเข้ากองไฟ จิวยีร่ ู้คำาตอบใน
สถานการณ์นี้อยู่แล้วแต่ก็ตอบแบบนักการเมืองไม่ยอมให้เสียนำ้าใจบอกว่า ข้าพเจ้ายินดี
สนับสนุนพวกท่าน พรุง่ นี้เช้าเข้าพบซุนกวนพร้อมกัน

จูกัดกิ๋นกับพวกเข้าพบจิวยี่บอกว่า การยอมแพ้นั้นง่ายนิดเดียว แต่แพ้แล้วจะเกิด


อะไรขื้นเป็นอย่างไรน่าเป็นห่วงไม่มีใครจะคาดได้ จึงขอให้ท่านทำาการรบต่อสู้กับโจโฉ
อย่างเต็มที่ ถัดจากจูกัดกิ๋นโลเม้งกับพวกพบจิวยี่ แต่คณะนี้มีความเห็นแตกแยกเป็นสอง
ฝ่าย ฝ่ายหนึง่ เห็นว่าควรรบ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรยอมแพ้
ครัน้ ตกเย็น โลซกพาขงเบ้งเข้าพบจิวยี่ จิวยี่ออกมาต้อนรับหน้าประตูบ้าน พอพบ
หน้าขงเบ้งดักคอถามจิวยี่ตรงจุดว่า ท่านจะคิดอ่านจับโจโฉประการใด จิวยี่แก่เชิงเหมือน
กัน รู้ดีว่าที่ขงเบ้งมากังตั๋งครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายชวนเป็นพันธมิตรสู้ศึกโจโฉ จึงทำาเล่นตัว
เพื่อให้ขงเบ้งง้ออ้อนวอน แย่งชิงความได้เปรียบที่เหนือกว่าไว้ในการเจรจาจึงว่า โจโฉมา
รบโดยถือพระราชโองการพระเจ้าเหี้ยนเต้ เราไปต้านทานก็เหมือนเป็นกบฎคิดคดต่อ
แผ่นดิน อีกทั้งกำาลังของโจโฉมีมากมหาศาล การต่อสู้ย่อมเสี่ยงอันตราย ข้าพเจ้าเห็นว่า
การสูค้ ือ การแพ้ การไม่สู้ คือสันติภาพ ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจจะแนะนำาซุนกวนให้ทำา
หนังสือไปอ่อนน้อมต่อโจโฉจะดีกว่า

โลซกค้านว่าแผ่นดินกังตั๋งแซ่ซุนปกครองมา 3 ชัว่ คน มิได้ยอมอ่อนน้อมแก่ผู้ใด


เหตุใดท่านจึงเห็นคล้อยตามพวกขี้ขลาดตาขาวทั้งหลายไปด้วย ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าท่านคิด
จะยอมแพ้แก่โจโฉง่ายดายเช่นนี้

จิงยี่จึงว่า กังตั๋งมีหัวเมืองขึ้นถึง 6 แห่ง ผู้คนมีจำานวนไม่น้อย ถ้าข้าพเจ้าเป็นต้นเหตุ


นำาทุกข์ยากของสง ครามมาให้แก่เขาเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะกลายเป็นเป้าของการสาปแช่ง
เกลียดชัง สู้เลือกเอาข้างยอมแพ้จะดีกว่า

โลซกค้านเสียงแข็งว่า กังตั๋งมีกำาลังพอตัว ถ้าโจโฉกล้าโจมตีเราก็ไม่แน่ว่ามันจะมี


ชัยเสมอไป ความจริงข้อนี้ท่านก็น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว

ระหว่างทีจ่ ิวยี่กับโลซกถกเถียงกันอยู่นั้น ขงเบ้งเอามือกอดอกนั่งอมยิ้มฟังเฉยอยู่ จิว


ยี่เห็นขงเบ้งยิ้มจึงถามว่า ท่านอาจารย์ขบขันเรื่องอะไร ขงเบ้งตอบว่า ข้าพเจ้าขบขันโล
ซก มิได้ขบขันท่าน ข้าพเจ้าเห็นว่า โลซกมิ ได้รู้การเมืองของโลกในปัจจุบัน โลซกหันมา
ถามขงเบ้งอย่างเคือง ๆ ว่า ท่านอาจารย์หมายความว่าอย่างไร

ขงเบ้งตอบว่า ที่จิวยี่จะยอมแพ้แก่โจโฉ ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการชอบแล้ว

จิวยี่ดีใจตบมือฉาดร้องว่า เห็นไหม ท่านอาจารย์ย่อมรู้ประมาณตน รู้จังหวะแห่ง


กาลเวลาสิ่งใดควรมิควร จึงเห็นด้วยกับข้าพเจ้า โลซกอารมณ์เสียร้องลั่นว่า ท่านทั้งสอง
เสียสติไปแล้วหรือ ทำาไมถึงเป็นเช่นนี้ไปได้

ขงเบ้งจึงว่า ใคร ๆ ก็รู้ว่าโจโฉเป็นผู้มีฝีมือเป็นเลิศหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ใครหาญ


สู้กับโจโฉจะถูกขยี้แหลกราญทุกราย มีเพียงเล่าปี่คนเดียวที่ฝืนอำานาจฟ้ากล้าสู้กับโจโฉ
อย่างไม่คิดชีวิต จึงต้องซัดเซไปอยู่เมืองกังแฮ ข้าพเจ้าเห็นว่า การยอมแพ้จะทำาให้ลูกเมีย
ของทุกคนอยูส่ บายไม่เดือดร้อน บางคนอาจจะได้รับยศฐาบรรดา ศักดิ์ อีกทั้งความ
รำ่ารวย ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแผ่นดินสูญสิ้นอย่างไร จะต้องปรารมภ์ไปใย แผ่นดินไม่ใช่ของ
เราคนเดียว จะไปห่วงใยอะไรกับเรื่องลวง ๆ อย่างนั้นให้เปลืองสมองเปลืองเวลา

โลซกได้ฟัง ดังนั้นเลือดขึ้นหน้าโกรธจัดตวาดว่า ที่ท่านพูดเช่นนี้ อยากจูงมือให้นาย


เราไปคุกเข่าคำานับอ้ายโจรกบถโจโฉอย่างนั้นหรือ ขงเบ้งตอบว่า ท่านโลซกอย่างโกรธ
ข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ามีอุบายอย่างหนึ่งลงทุนน้อยแต่ได้มาก ชีวิตคนไม่ต้องเสีย ดินแดนไม่
ต้องสิ้น ตราประจำาตำาแหน่งของทุกคนไม่หลุดมือ ทุกอย่างง่ายนิดเดียว แค่จัดคนเพียง
สองคนกับเรือน้อย ๆ ลำาเดียวข้ามแม่นำ้าไปให้โจโฉ โจโฉก็จะยอมวางอาวุธ เก็บธงยก
ทัพกลับฮูโต๋ทันที

จิงยี่ผงกตัวขึ้นด้วยความสนใจถามว่า คนสองคนที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงคือใคร

ขงเบ้งตอบว่า เมื่ออยู่ที่หมู่บ้านโงลังกั๋งรู้ข่าวว่าโจโฉสร้างปราสาทใหญ่ไว้ที่หาดริม
แม่นำ้าเจียงโห หมายให้เป็นเรือนตาย ท่านก็รู้อยู่แล้วว่า โจโฉเป็นคนแกร่งกล้าด้วย
กามคุณ ให้เสาะหาหญิงงามทั่วแผ่นดินมาบำาเรอความสุขในปราสาทนี้ ในกังตั๋งมีหญิง
งามอยู่ 2 คน คือไต้เกี้ยวกับเสียวเกี้ยวบุตรีของท่านเฉียวกง อันความงามของสองนาง
อย่าว่าแต่มนุษย์จะหลงไหลไฝ่ฝันเลย แม้นนกบินยังต้องลงมาเกาะ ปลาว่ายนำ้าอยู่ยังต้อง
จมนำ้าตาย ดวงจันทร์ส่องแสงอยู่ยังต้องแฝงตัวหลบเข้ากลีบเมฆ ดอกไม้บานอยู่ยังห่อ
หุบกลีบด้วยความละอาย

โจโฉประกาศสัจวาจาไว้ว่า ยอดปรารถนาที่เขามีอยู่ 2 ประการ คือราชบัลลังก์


สำาหรับออกว่าราชการกับสองหญิงงามแห่งกังตั๋งสำาหรับประดับบารมีในปราสาทนกยูง
ทองแดง ถ้าความปรารถนาสองสิ่งนี้สำาเร็จ ถึงตายก็นอนตาหลับไม่มีอะไรจะต้องเสียใจ
อีก ที่ยกทัพใหญ่มาข่มขู่กังตั๋งครั้งนี้ก็เพียงต้องการนางทั้งสอง ขอให้ท่านเอาเงินทองไป
ซื้อเธอจากเฉียวกง แล้วรีบส่งไปให้โจโฉเสียเถิด แล้วเขาก็จะยกทัพกลับไปเอง

จิวยี่แข็งใจถามปรกติว่า ท่านอาจารย์รู้ได้อย่างไรว่า โจโฉมีความปรารถนาหญิงงาม


ทั้งสองคนนั้น

ขงเบ้งตอบว่า โจสิดลูกชายคนที่สี่ของโจโฉเป็นกวีเอก ได้แต่งคำาประพันธ์ตาม


บัญชาพ่อสดุดีปราสาทเจียงโหไว้อย่างยืดยาว ข้าพเจ้าฟังคนนำามาขับร้องกันทั่ว ยังพอจะ
จำาความได้อยู่ จิวยี่จึงขอให้ขงเบ้งท่องให้ฟัง

ขงเบ้งจึงร่ายคำาประพันธ์เป็นกลอนสดยั่วยุจิวยี่ให้คลั่งในอารมณ์ เป็นกวีนิพนธ์
ดังนี้.-

ขอให้กู ได้เป็นใหญ่ ในโลกนี้


ได้นงั่ ที่ ปราสาท หาดเจียงโห
ให้เห็นผัง วังกว้าง อันโอฬาร
ได้เห็นเมือง ใหญ่โต มโหฬาร
กูจะสร้าง ประตูชัย ไว้บนผา
กูจะสร้าง หอฟ้า มหาศาล
สร้างสวรรค์ บนดิน ถิ่นสำาราญ
ให้งามตา ทุกด้าน ทุกสิ่งอัน
ณ ริมฝั่ง เจียงโห โออ่าเหลือ
สวนลูกไม้ แลอร่าม งามสุขสรรพ์
ซึ่งหอสูง ซ้ายขวา น่าอัศจรรย์
สองนามนั้น มังกรหยก กับหงษ์ทอง
กูจะไว้ ยอดหญิง แห่งกังตั๋ง
เจ้างามดั่ง หยาดฟ้า มาทั้งสอง
ทัง้ ไต้เกี้ยว เสียวเกี้ยว เหนี่ยวใจปอง
จะประคอง เคียงข้าง ทุกวันคืน

เพียงแค่นี้จิวยี่ก็ระงับอารมณ์ไม่อยู่ ผลุดลุกขึ้นคำารามด้วยความโกรธ ชักดาบหัน


หน้าชี้ไปทางเหนือ ตะโกนว่า อ้ายโจโฉขบถเฒ่า มึงดูถูกกูมากเกินไปเสียแล้ว ขงเบ้งเห็น
ดังนั้น ลุกขึ้นทำาเป็นปลอบใจว่า ท่านจิวยี่มิ ต้องเดือดร้อนใจถึงเพียงนี้ แค่ส่งอีผู้หญิงสอง
คนยกให้โจโฉเสีย บ้านเมืองก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ไฉนท่านถึงต้องแสดงความโกรธเคือง
จนเกินเหตุ

โลซกจึงดึงขงเบ้งออกมากระซิบ ท่านอาจารย์มิรู้หรอกหรือว่า ไต้เกี้ยวคือภรรยา


ของท่านซุนเซ็ก ส่วนเสียวเกี้ยวเป็นภรรยาของท่านจิวยี่ ขงเบ้งจึงทำาเป็นตกใจ ก้มหัวลง
คำานับจิวยี่อย่างนอบน้อมแล้วว่า ข้าพเจ้าสมควรตาย ข้าพเจ้าหารูค้ วามจริงไม่ เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้
เอง ซึ่งแนะนำาท่านไปนั้นเป็นความผิดขั้นอุกฤษฎ์ ขอให้ท่านได้โปรดยกโทษอภัยแก่
ข้าพเจ้าสักครั้งด้วยเถิด

จิวยีย่ ังไม่หายเคือง กัดฟันพูดด้วยความเคียดแค้นว่า ข้าพเจ้าจะอยู่รว่ มโลกร่วมแผ่น


ดินเดียวกับอ้ายกบถเฒ่ามิได้ ข้าสาบานว่า จะเอาชีวิตอ้ายโจโฉให้จงได้ ขงเบ้งแสร้ง
เตือนว่า ท่านอย่าได้ทำาการด้วยโทสะ จงคิดอ่านทำาการให้รอบคอบจึงจะชนะโจโฉได้ จิวยี่
ระบายอารมณ์ต่อว่า ซุนเซ็กก่อนสิ้นใจสั่งไว้ให้ถือเป็นสัตย์ว่าต้องไม่คุกเข่ากับคนอย่าง
โจโฉ ไม่มีอำานาจใดจะมาเปลี่ยนความตั้งใจของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าจะสู้ ๆ สู้จนถึงที่สุด
ขอท่านอาจารย์ช่วยเหลือข้าพเจ้าตีอ้ายโจโฉแหลกไปข้างหนึ่งให้จงได้

ขงเบ้งคำานับแล้วว่า ถ้าท่านไม่รังเกียจจะให้ข้าพเจ้าช่วย ก็ยินดีช่วยท่านสุดกำาลัง


ความสามารถที่มีอยู่ จิวยี่จึงว่า ท่านรับปากเช่นนี้ก็ดีแล้ว พรุง่ นี้ข้าพเจ้าจะเข้าพบซุนกวน
พูดจากันให้แน่นอนอีกครั้ง

You might also like