Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 18

(Balance of Power)

ทฤษฎีนี้มาจากแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ เรือ ่ งดุลยภาพ


(Equilibrium) นักเศรษฐศาสตร์เน้นดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทาน
นักรัฐศาสตร์เน้นในเรื่องของการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and
Balances) ของกลุ่มและหน่วยงานต่างๆ ภายในรัฐ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเชิงอำานาจของรัฐชาติ
ต่างๆ ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศจึงตั้งสมมติฐานว่า “บรรดา
รัฐชาติตา่ งๆ ถูกผลักดันโดยกฎแห่งธรรมชาติในการที่จะแสวงหา
ความมั่นคงปลอดภัยให้กับตนเอง ด้วยการถ่วงดุลอำานาจในรูปใด
รูปหนึ่ง”1
ทุกชาติย่อมปรารถนาทีจ ่ ะมีอำานาจมากกว่าชาติอื่น ยิ่งมี
อำานาจมากชาติกย ็ ิ่งปลอดภัยมาก ชาติทม ี่ ีอำานาจน้อยก็ตอ้ ง
พยายามสร้างอำานาจของตนเอง เพื่อให้เกิดดุลแห่งอำานาจขึ้นมา
แต่บางครั้งอาจมีชาติใดชาติหนึ่งมีอำานาจมากขึ้นมาก จนกระทั่ง
ชาติอื่นไม่สามารถสร้างอำานาจของตนให้เท่าเทียมได้ เมือ ่ เกิด
สภาพเช่นนี้จึงต้องมีผู้ถือดุลขึ้น คอยดูแลมิให้ชาติใดชาติหนึ่งใน
ยุโรปมีอำานาจเหนือชาติอื่นมากเกินไป ผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือ
ดุลคือการที่ประเทศคู่แข่งขันมีอำานาจทัดเทียมกัน

ดุลแห่งอำานาจอาจสรุปได้ว่ามีความหมาย 4 นัย
1. ดุลแห่งอำานาจเป็นสถานการณ์หรือสภาพ หมายถึง การ
จัดแจง กระจาย จ่ายปันอำานาจอย่างเป็นธรรมภายในระบบโดยที่
คู่กรณีทุกฝ่ายต่างมีความพึงพอใจตามควร
2. ดุลแห่งอำานาจเป็นความโน้มเอียงหรือกฎทั่วไปว่าด้วย
พฤติกรรมของรัฐชาติซึ่งกล่าวถึงความเป็นไปได้ของปรากฏการณ์
หนึ่งๆ อันอาจช่วยให้สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าเมื่อระบบถูก
คุกคาม จากผู้รุกรานหรือพยายามทำาลายดุลยภาพ ซึ่งคือประเทศที่
มีแนวโน้มจะสร้างอำานาจเพื่อครอบงำาประเทศต่างๆ ในระบบ ดัง
นั้น สมาชิกของประเทศในระบบ ก็จะรวมกันเพื่อถ่วงดุลอำานาจไว้
ไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอำานาจมากเกินไป

1
(Dougherty and Pfaltzgraff 1990 : 78)
3. ดุลแห่งอำานาจเป็นแนวการดำาเนินนโยบายสำาหรับผู้กำาหนด
นโยบายให้กระทำาการกำาหนดนโยบายอย่างมีเหตุผลรอบคอบ ทั้ง
ต้องเตรียมพร้อมทีจ ่ ะรวมตัวกันกับสมาชิกอื่นในระบบเพื่อถ่วงดุลผู้
ทีท
่ ำาลายดุลยภาพ
4. ดุลแห่งอำานาจเป็นแบบแผนการผดุงรักษาระบบในสังคม
โลก เพือ ่ ให้ประเทศต่างๆ สามารถรักษาอธิปไตย บูรณภาพและ
เอกราชของตนเองด้วยกระบวนการถ่วงดุล

ดุลแห่งอำานาจมีวัตถุประสงค์และหน้าที่หลายประการ
ดังนี้
1. ป้องกันมิให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอำานาจครอบงำาไปทั่ว
2. ผดุงรักษาองค์ประกอบพื้นฐานของระบบ และตัวระบบเอง
3. ประกันเสถียรภาพและความมั่นคงร่วมกันในระบบระหว่าง
ประเทศ
4. สร้างความแข็งแกร่งเพื่อรักษาสันติภาพไว้ให้นานที่สด ุ
ด้วยการขูม่ ิให้ทำาสงคราม นั่น คือ การเผชิญหน้ากับผู้รุกราน
โดยแสดงให้รู้ว่าการกระทำาดังกล่าวจะต้องพบกับการสร้าง
พลังกลุม ่ ต่อต้าน

ดุลแห่งอำานาจนั้นคือสภาพการณ์ที่ไม่มีความแตกต่าง
ระหว่างอำานาจของประเทศสองฝ่าย หรือว่ามีความแตกต่างแต่ไม่
มากนัก พอที่จะทำาให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำานาจเหนือฝ่ายตรงข้าม
โดยเด็จขาด เชื่อกันว่าดุลแห่งอำานาจทำาให้เกิดสันติภาพ ทำาให้
ประเทศใหญ่ไม่รังแกประเทศเล็ก เมื่อเกิดดุลแห่งอำานาจแล้ว จะ
เกิดสันติภาพขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะทุกชาติก็มจ ี ุดประสงค์เพื่อ
ขยาย
อำานาจของตน โดยเชื่อว่าจะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับตนเอง
ได้ ยิง่ มีอำานาจมากเท่าใด ก็จะเพิ่มความปลอดภัยให้ตนเองได้มาก
ขึน
้ เท่านั้น ในสภาพความเป็นจริงของเวทีการเมืองระหว่าง
ประเทศแล้ว เชื่อว่าไม่มีศีลธรรมระหว่างประเทศ ไม่มีองค์กรใด
จะมาคอยคุ้มครองความปลอดภัย ทุกชาติรู้พิษสงของการถูก
รุกราน จึงต้องพยายามแสวงหาอำานาจให้มากที่สุดเพื่อความ
ปลอดภัยแห่งตน แต่ขณะเดียวกันความปลอดภัยของประเทศหนึ่ง
ก็ยอ่ มเป็นความไม่ปลอดภัยของประเทศข้างเคียง หรืออย่างน้อย
ประเทศอื่นก็คงไม่สบายใจที่เห็นประเทศใดประเทศหนึ่งมีอำานาจ
จนเกินไป ยิ่งความปลอดภัยทีส ่ ุดของประเทศหนึ่งหรือกลุม

ประเทศหนึ่งก็จะยิ่งเป็นความไม่ปลอดภัยที่สุดของประเทศอื่น
หรือกลุ่มประเทศอื่น ฉะนั้นเมือ ่ ประเทศหรือกลุ่มประเทศหนึ่งเห็น
ว่าประเทศอื่นมีอำานาจมากเกินไปจนไม่เป็นความปลอดภัยของฝ่าย
ตนแล้ว ก็พยายามกระทำาการด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะให้ฝ่ายตน
มีความปลอดภัยมากขึ้น พยายามเพิ่มอำานาจของตนให้มากเท่ากับ
ประเทศ หรือกลุม ่ ประเทศทีร ่ ู้สึกว่าจะมีอำานาจมากเกินไป ซึ่ง
ถือว่าเป็นวิธีการที่ทำาให้เกิดดุลแห่งอำานาจนั่นเอง

สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันเพื่อถ่วงดุลอำานาจกับ
อภิมหาอำานาจหนึ่งเดียวสหรัฐอเมริกา ซึ่งในที่นี้จะดูการ
ถ่วงดุลอำานาจกันในเรื่องของเศรษฐกิจ
European Union
United States of Amarica
ประเทศในทวีปยุโรป 27 ประเทศ
(ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี
กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส
สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย
ฮังการี ลัตเวีย ลิทว ั เนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวา
เกีย โรมาเนียและบัลแกเรีย)
3,976,372 ตารางกิโลเมตร
ประมาณ 456.9 ล้านคน
ประมาณ 20 ภาษา
ประชากรส่วนใหญ่นบ ั ถือศาสนาคริสต์
นอกนั้นนับถือศาสนา ต่างๆ เช่น ยิว อิสลาม พุทธ
กรุง
บรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม
ยูโร ขณะนี้ มีสมาชิกประเทศ
สหภาพยุโรปเข้าร่วมใน eurozone 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย
เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์
อิตาลี ลักเซมเบิรก์ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และ
ล่าสุด คือ สโลวีเนีย
1 ยูโร = ประมาณ 49-
53 บาท
(GDP) 13.31
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ร้อยละ
1.7
28,100 ยูโร / คน
ร้อยละ 9.4
ร้อยละ 2.2
1.402 ล้านล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ
สหรัฐอเมริกา จีน
รัสเซีย ญีป
่ ุ่น
เครื่องจักร ยาน
ยนต์ เครื่องบิน พลาสติก นำ้ามันดิบ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ โลหะ
อาหาร เสื้อผ้า
1.318 ล้านล้านดอลลาร์
สหรัฐ
สหรัฐอเมริกา สวิต
เซอร์แลนด์ จีน รัสเซีย
เครื่องจักร ยานยนต์
เครื่องบิน พลาสติก ยาและเวชภัณฑ์ เชื้อเพลิง เหล็กและ
เหล็กกล้า โลหะ เยื่อไม้และกระดาษ สิ่งทอ
เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ
และการเงิน ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประเทศ
สมาชิกหมุนเวียนกันดำารงตำาแหน่งประธานสหภาพยุโรป
ทุก 6 เดือน โดยทำางานร่วมกันกับคณะกรรมาธิการยุโรป
และสภายุโรป
เศรษฐกิจเยอรมนี อิตาลี และ เนเธอแลนด์ กำาลังเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะ
เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มขี นาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นระดับตำ่าสุดในรอบ 4 ปี
ทำาให้หวั่นเกรงกันว่าหากเงินยูโรมีค่าแข็งขึ้นต่อไป จะทำาให้เยอรมนีเข้าสู่ภาวะเงินฝืด
ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) จึงประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย
มาตรฐาน (Refinancing rate) จาก 2.5% เหลือ 2% ซึ่งถือเป็นระดับตำ่าที่สุดในรอบ 48 ปี
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน เนื่องจากเศรษฐกิจยูโรอ่อนแอมาก โดย GDP ในไตรมาสแรกไม่
ขยายตัว การตัดสินใจลดดังกล่าวเป็นผลมาจากการแข็งขึ้นของเงินสกุลยูโรเมื่อเทียบกับ
เงินดอลล่าร์สหรัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรป และเพื่อ
บรรเทาอันตรายจากราคาสินค้าที่ตกตำ่าลง ซึ่งมีแนวโน้มว่า ECB อาจจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยอีกจากสาเหตุค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น

ขณะเดียวกันธนาคารกลางยุโรป ได้ปรับลดการประมาณการการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรในเดือนมิถุนายนของปี 2546 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7
ลดลงมากถึงเกือบร้อยละ 1 จากที่ประมาณการไว้เดิม ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปรับลด
ในด้านการลงทุนและการส่งออก เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ นอกจากนี้ ECB
ยังได้ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงต้นปีจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น
สำาหรับอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรล่าสุดปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดย
อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อนหน้า
เนื่องจากระดับราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง

ในช่วงไตรมาสนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศร่างระเบียบควบคุม
เคมีภัณฑ์ หรือ White paper on chemicals เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ในการควบคุมสินค้า
เคมีภัณฑ์ทั้งการอนุญาตให้ผลิต/จำาหน่าย/นำาเข้าในสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลกระทบไปถึง
สินค้าที่ใช้เคมีภัณฑ์ในขั้นตอนการผลิต อาทิ การฟอกย้อม สิ่งทอ พลาสติก และรองเท้า
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไทยเช่นเดียวกับการยังคงดำาเนินมาตรการตรวจสารตกค้างใน
สินค้าเกษตรแปรรูปจำาพวกกุ้งและไก่ของไทย แม้ว่าไทยจะได้ออกมาตรการห้ามใช้และ
จำาหน่ายสารไนโตฟูแรนแล้วก็ตาม
: ทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีมลรัฐ Alaska อยู่
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และ มีมลรัฐฮาวายอยู่
ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟก ิ

: มีเนื้อที่ประมาณ 9,631,418 ตาราง


กิโลเมตร เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก
รัสเซียและแคนาดา
: 303,824,646 คน
:คนผิวขาวร้อยละ 81.7 คนแอฟริกัน
อเมริกันร้อยละ 12.9 คนเอเชียนร้อยละ 4.2 คนอเมริกันอิน
เดียนและชาวอะแลสการ้อยละ 1 ชาวฮาวายเอียนและชาว
เกาะแปซิฟิกร้อยละ 0.2
โปรเตสแตนท์ร้อยละ 51.3 โรมันคาทอลิก
ร้อยละ 23.9 มอร์มอนร้อยละ 1.7 ยิวร้อยละ 1.7 มุสลิมร้อยละ
0.6 อื่น ๆ ร้อยละ 2.5 ไร้ศาสนาร้อยละ 16.1
: ภาษาอังกฤษ
: ดอลลาร์สหรัฐ US dollar (USD)
: 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เท่ากับ 32.22 บาท (2551)
: ร้อยละ 2.7 (2550 ประมาณ)
: ฝั่งตะวันออก 12 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตก 15 ชั่วโมง
ทุนนิยม ( Capitalism ) เป็นระบบ
เศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นผู้ดำาเนินธุรกิจโดยที่รัฐจะเข้า
แทรกแซงในกิจการของเอกชนน้อย และสนับสนุนให้มีการ
แข่งขันกันอย่างเสรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ

(GDP) 13,860 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

(GDP per capita) 46,000


ดอลลาร์สหรัฐ

: ร้อยละ 2.2
: ร้อยละ 4.6
: สหรัฐฯ เป็นผู้นำาทางภาค
อุตสาหกรรมของโลก มีความหลากหลายสูงและมี
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาก เช่น ปิโตรเลียม เครื่องยนต์เครื่อง
บิน อุปกรณ์การสื่อสาร เคมีภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การ
แปรรูปอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ป่าไม้ เหมืองแร่
: มูลค่า – 747,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

: มูลค่า 1,140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


: ผลิตภัณฑ์เกษตร(ถัว ่ เหลือง
ผลไม้ ข้าวโพด) ร้อยละ 9.2 ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม (สารเคมี
กายภาพ) ร้อยละ 26.8 สินค้าอุตสาหกรรม (เครื่องบินและส่วน
ประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วน
ประกอบ เครื่องมือทางการโทรคมนาคม) ร้อยละ 49 สินค้า
บริโภค (รถยนต์ ยา) ร้อยละ 15
:
แคนาดาร้อยละ 22 เม็กซิโกร้อยละ 12.9 ญี่ปุ่นร้อยละ 5.8 สห
ราชอาณาจักรร้อยละ 4.4 จีนร้อยละ 5.3
: มูลค่า 1,987,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
: ผลิตภัณฑ์เกษตรร้อยละ
4.9 อุปกรณ์ในการอุตสาหกรรมร้อยละ 32.9 (นำ้ามันดิบร้อยละ
8.2) สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 30.4 (คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
โทรคมนาคม ชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า)
สินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 31.8 (รถยนต์ เสื้อผ้า ยา
เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น)
:
แคนาดาร้อยละ 16 จีนร้อยละ 15.9 เม็กซิโกร้อยละ 10.4 ญี่ปุ่น
ร้อยละ 7.9 เยอรมนีร้อยละ 4.8
: สหพันธรัฐ (Federal
Republic); แบบประชาธิปไตย
โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief
Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
: กรุงวอชิงตัน (Washington,D.C.)
: ประกอบด้วย 50
มลรัฐและ 1 District (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุง
วอชิงตัน) ได้แก่
Alabama, Alaska, Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware,
District of Columbia, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas,
Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota,
Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hamshire, New Jersey, New
Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon,
Pennsylvania, Rhode Island, South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah,
Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyoming

พื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปัจจุบันประสบปัญหา
4 ด้าน ได้แก่ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 500,000 ล้าน
ดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนราว 5% ของ GDP การขาด
ดุลการค้า การขาดดุล งบประมาณของรัฐบาลที่สูงถึง 5%
ของ GDP และการลงทุนโดยตรงของต่างชาติลดลง ในช่วง
ไตรมาสนี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ
ภาคการผลิตชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยตัวเลข
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมแม้ว่าจะขยายตัวที่
ร้อยละ 0.1 แต่ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ทีร ่ ้อยละ 0.8
เช่นเดียวกับดัชนี ISM Manufacturing แม้จะปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่
ระดับ 49.8 ในเดือนมิถุนายน แต่ยังคงตำ่ากว่าระดับ 50 เป็น
เดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยดัชนีที่ระดับตำ่ากว่า 50 บ่งชี้ถึงการหด
ตัวของภาค การผลิต อัตราการว่างงงานในเดือน
พฤษภาคมยังคงปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 มีผู้ว่างงาน
จำานวน 360,000 คน จำานวนงานในอุตสาหกรรมการผลิตลด
ลงประมาณ 56,000 งาน โดยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม
ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 34 ติดต่อกัน เช่น
เดียวกับยอดการใช้สิทธิการว่างงานอยู่ที่ระดับ 421,000 ราย
บริษัทต่างๆ ยังคงปรับลดการจ้างงาน อัตราการว่างงานที่
สูงขึ้นนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ปรับลดมาอยู่ที่ 87.2 ในเดือนมิถุนายนจาก 92.1 ในเดือน
พฤษภาคม ซึ่งเป็นสัญญาณการชะลอการใช้จ่ายของชาว
อเมริกัน ส่วนดัชนีวัดความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับ
แนวโน้มเศรษฐกิจก็ลดลงสู่ระดับ 84.2 ในเดือนมิถุนายนจาก
91.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันยัง
เห็นว่าเป็นเรื่องยากที่เศรษฐกิจจะดีขึ้นหลังจากสิ้นสุด
สงครามอิรัก ด้านอัตราเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
เดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 2.1

เพือ่ หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเงินฝืดอันเนื่องมาจากราคาสินค้าที่ลดตำ่าลง ธนาคาร


กลางสหรัฐหรือ เฟด ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นลงร้อยละ 0.25 เมื่อ
วันที่ 24-25 มิถุนายนที่ผ่านมา และลดกระแสความเคลื่อนไหวการปรับเปลี่ยนนโยบาย
ค่าเงินดอลล่าร์แข็งที่ใช้มาเป็นระยะเวลา 8 ปี มาเป็นนโยบายค่าเงินดอลล่าร์อ่อนตัวเพื่อ
ช่วยภาคการส่งออกของประเทศจากท่าทีสนับสนุนค่าเงินอ่อนของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง รวมทั้งการบรรเทาภาวะเงินฝืดที่หลายฝ่ายวิตกกันว่าสหรัฐฯ กำาลัง
ผลักดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ประธานาธิบดีบุชแสดงจุดยืนว่า สหรัฐฯ ยังคงดำา
เนินนโยบายดอลล่าร์แข็งค่าแต่จะไม่เข้าไปแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อ
กระตุ้นค่าเงินดอลล่าร์แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีบุชได้ลงนามใน
แผนการปรับลดภาษีระยะ 10 ปี มูลค่า 330 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และการให้เงินช่วย
เหลือรัฐต่างๆ มูลค่า 20 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งแผนดังกล่าวนี้อาจทำาให้สหรัฐฯ ขาด
ดุลการคลังเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 400 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

นโยบายหนึ่งในการขยายช่องทางการค้าและบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้า
สหรัฐได้ลงนาม ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับประเทศชิลีเป็น
ประเทศที่ 2 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ลงนามกับเม็กซิโกเป็นประเทศ
แรก เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งภูมิภาคอเมริกา (FTTA) ให้แล้วเสร็จ การทำาข้อตกลง
ดังกล่าวยังประโยชน์ให้อัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้าส่งออกของทั้งสอง
ประเทศลดลงในอัตราสูงสุดถึง 85% จากมูลค่าสินค้าทั้งหมดประมาณ 6,000 ล้านเหรียญ
สหรัฐ

จากสมมติฐานที่ว่า “ สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกัน
เพื่อถ่วงดุลอำานาจกับอภิมหาอำานาจหนึ่งเดียวสหรัฐอเมริกา
ซึ่งในที่นี้จะดูการถ่วงดุลอำานาจกันในเรื่องของเศรษฐกิจ ”
เหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงเป็นอภิมหาอำานาจที่ยิ่งใหญ่ของโลก
ได้ และเหตุใดการรวมตัวของสหภาพยุโรปเป็นการถ่วง
ดุลอำานาจกับสหรัฐอเมริกาในที่นี้ทางด้านเศรษฐกิจ
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เกิดใหม่ที่มีอายุยังไม่ถึง
สองร้อยปี แต่กลับเจริญเติบโตอย่างมาก จนเป็น
มหาอำานาจชั้นพิเศษในโลก นั่นมาจากปัจจัยพื้นฐานของ
ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ 4 ประการ คือ
1. ทีด
่ ิน
2. ประชาชน
3. เทคโนโลยี
4. ระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ประเทศสหรัฐอเมริกามีที่ดินกว้างใหญ่
ไพศาลมาก พื้นดินที่กว้างใหญ่นท ี้ ำาให้ประกอบไปด้วย
ทรัพยากรต่างๆที่อุดมสมบูรณ์ทุกประการ อีกทั้งเป็นดิน
แดนใหม่ที่ยังไม่เคยถูกใช้มาก่อน
ประชาชนอเมริกัน เป็นผู้อพยพมาก
จากที่ต่างๆของโลก เป็นแรงงานที่มีความรู้ติดตัวมา
สามารถนำามาพัฒนาสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งก่อนที่จะอพยพมา
นั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ทถ ี่ ูกกดขี่หรือเป็นพวกที่อดอยากยาก
แค้น เมื่ออพยพมาแล้วจึงมุ่งที่จะทำางานหนักให้ตัวเอง
ลืมตาอ้าปากได้
มาจากความเจริญทางด้าน
อุตสาหกรรม เทคโนโลยีเครื่องจักรจึงถูกผลิตขึ้นอยาก
มากมาย สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ทป ี่ ระดิษฐ์สิ่งใหม่ๆขึ้น
มากได้เสมอๆ
อยู่
ในรูปแบบของเสรีนิยม ทำาให้ระบบเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เป็นแบบทุนนิยม รัฐบาลเข้าไปยุ่งเกี่ยวน้อยที่สุดและคอย
ให้การสนับสนุน
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาทีป ่ กครองในรูปแบบสหรัฐ
แบ่งเป็น 50 มลรัฐ แต่ละมลรัฐเปรียบได้กับ 1 ประเทศ แต่ละ
มลรัฐสามารถขนส่งปัจจัยการลงทุนต่างๆได้อย่างเสรี อีก
ทัง้ สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนทีห ่ ่างไกลภัยสงคราม ดินแดน
ในประเทศไม่ได้ถก ู ใช้เป็นสมรภูมิในการรบเหมือนในยุโรป
ทำาให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
กลับมาดูทางสหภาพยุโรป การรวมตัวของสหภาพ
ยุโรปโดยแท้จริงแล้วเกิดขึ้นเพื่อต้องการที่จะให้เกิด
สันติภาพขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะฝรั่งเศสกับเยอรมนี ที่
ทำา
สงครามกันบ่อย ซึ่งก็ได้ผลการรวมตัวและก่อตั้งขึ้นมาเป็น
สหภาพยุโรปในปัจจุบันนีท ้ ำาให้ภูมิภาคนี้มีความแข็งแกร่ง
มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก เมื่อเราจะเทียบกับ
สหรัฐอเมริกาแล้วสหภาพยุโรปได้มีการรวมตัวกันไม่ถึง 30 ปี
แต่กลับมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก
การที่สหภาพยุโรปเป็นมหาอำานาจทางเศรษฐกิจที่
สำาคัญมาจาก การใช้ระบบอัตราภาษีภายนอกร่วมกัน การ
สร้างตลาดเดียวที่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ การใช้เงินยูโรร่วม
กัน มีนโยบายทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการเกษตร
ร่วมกัน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ฐานอำานาจทาง
เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปแข็งแกร่งขึ้นมาเทียบเคียง
สหรัฐอเมริกาได้
ความพยายามที่ยกเลิกข้อจำากัดทางการค้าและ
ศุลกากร มีนโยบายการค้าร่วมกัน (Common Commercial Policy) ถิอ
เป็นปัจจัยทำาให้สหภาพยุโรปมีสถานะเป็นตัวแสดงที่สำาคัญ
ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากนโยบายต่างๆ ของสหภาพยุโรปที่ให้
เป็นมีความมั่งคงทางเศรษฐกิจนั้น เมื่อลองมองเทียบกับ
สหรัฐอเมริกาแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะทีค ่ ล้ายคลึงกัน
อย่างมาก ทำาให้ทั้งสองภูมิภาคนี้มีความเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจด้วยกันทั้งคู่ สามารถแข่งขันกันได้อย่างสมนำ้าสม
เนื้อ
เมื่อนำาข้อมูลทางเศรษฐกิจมาเปรียบเทียบจะเห็นว่าใน
ช่วงเวลาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในสหภาพยุโรป (GDP)
สูงถึง 13.31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ
สหรัฐอเมริกาแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
มีเพียง 13,860 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แตกต่างกันอย่างมาก
แต่นั่นก็อาจมาจากจำานวนประชากรของสหภาพยุโรปมี
มากกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 200 ล้านคน เมื่อเทียบดุลการค้า
ของ 2 ดุลอำานาจทางเศรษฐกิจแล้ว สหรัฐกลับขาดดุล
อยากมาก ซึ่งจำานวนมูลค่าที่ขาดดุลก็มาจากการขาดดุลต่อ
สหภาพยุโรปกว่า 90% ของมูลค่าการขาดดุลทั้งหมด
เพียงเท่านี้จะเห็นได้ว่าสหภาพยุโรปเป็นขัว ้ อำานาจทาง
เศรษฐกิจของโลก เทียบเคียงได้กับสหรัฐอเมริกาและมี
แนวโน้นที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาได้ในอนาคต
เมื่อเรามาเปรียบเทียบกับทฤษฎีดุลแห่งอำานาจแล้วจะ
เห็นได้ว่าในอดีต ดุลอำานาจจะถูกเน้นในเรื่องความมั่นคง
ทางการเมืองและการทหาร แต่ในยุคปัจจุบันกลับไม่เน้น
ความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร ทุกประเทศจะหัน
มาเน้นความมั่งคั่ง ทางเศรษฐกิจ หากมีความแข็งแกร่ง
ทางเศรษฐกิจแล้วประเทศนั้นก็จะมีอำานาจมาก ได้รับการ
ยอมรับจากนานาประเทศ ความมั่นคงทางการเมืองและ
การทหารก็จะตามมา
สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำานาจเพียงหนึ่งเดียวของโลกที่
มีความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และด้านการ
ทหาร มีอำานาจมาก ในสมัยสงครามเย็นจะมีสหภาพ
โซเวียตเป็นผูถ ้ ือดุลอำานาจอีกข้างหนึ่งไม่ให้สหรัฐอเมริกามี
อำานาจมากเกินไป เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลง
ในค.ศ.1991 หลักจากนั้นเพียง 1 ปี ก็เกิดการบูรณาการยุโรป
รวมตัวกันจนพัฒนาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน ที่มาเป็น
ผูถ้ ือดุลอำานาจแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาอย่างทัดเทียมกัน
หากจะมองยุโรปในอดีต จะเห็นว่ามีชาติมหาอำานาจ
หลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เป็นผู้ถือ
ดุลอำานาจของโลก แต่ประเทศเหล่านี้ได้ถูกพิษสงคราม
ทำาให้ถก ู ลดฐานะของความเป็นมหาอำานาจลง ชาติเหล่า
สามารถฟื้นดุลยภาพขึ้นมาได้ด้วยการช่วยเหลือจาก
สหรัฐอเมริกาในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความ
เป็นจริงที่ว่าทุกประเทศต้องการความมั่นคง ปลอดภัย
มั่งคั่ง เป็นตัวของตัวเองไม่ต้องตกอยู่ใต้อาณัตของใคร
สหภาพยุโรปจึงเกิดขึ้นตามหลักทฤษฎีดุลแห่งอำานาจ
การรวมตัวของชาติต่างๆในยุโรป พัฒนามา
เป็นสหภาพยุโรปทำาให้เกิดดุลอำานาจใหม่ขึ้น ในปัจจุบันทุก
ประเทศทัว ่ โลกได้เน้นถึงความสำาคัญทางเศรษฐกิจ
สหภาพยุโรปก็เช่นกัน ที่เน้นความเป็นมหาอำานาจทาง
เศรษฐกิจ มาจากการรวมตัวกันเพียงไม่ถึง 30 ปี แต่ด้วย
ระบบการจัดการ นโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินที่
เหมาะสม ความหลากหลายของประชากร ตลาดการค้า
ทรัพยากรต่างๆ เมื่อดูแล้วก็จะมีส่วนทีค ่ ล้ายกันกับ
มหาอำานาจทางเศรษฐกิจอีกขัว ้ หนึ่งคือสหรัฐอเมริกา เมื่อ
เราเปรียบเทียบความเหมือนกันนี้แล้ว ประกอบกับข้อมูล
ทางเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจการค้าขายระหว่างกัน
ของทัง้ สองมหาอำานาจทางเศรษฐกิจนี้ ก็จะสามารถเห็นได้
ว่า
สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันเพื่อถ่วงดุลอำานาจกับ
อภิมหาอำานาจหนึ่งเดียวสหรัฐอเมริกา ทางด้านเศรษฐกิจ
อย่างแท้จริง

You might also like