ความหมายของเศรษฐศาสตร์

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

เศรษฐศาสตรคืออะไร

เศรษฐศาสตรเปนวิชาการแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร ไดกอตัวและมีพัฒนาการตอเนื่อง
จนมีสถานภาพเปน “ศาสตร” นับตั้งแตมีการตีพิมพตําราทางเศรษฐศาสตรเลมแรกของโลก ซึ่งมี
ชือ่ คอนขางยาววา An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of the Nation เมื่อ
ค.ศ.1776 ผูเขียนเปนชาวอังกฤษ ชื่อ อดัม สมิธ (Adam Smith) ซึง่ ไดรับยกยองวาเปนบิดาแหง
วิชาเศรษฐศาสตรระดับสากล และนับจากนั้นเปนตนมา การศึกษาทางเศรษฐศาสตร ก็ไดขยายตัว
และครอบคลุมเนื้อหาอยางกวางขวางมากขึ้นเรื่อย ๆ
คํานิยามอยางสั้นที่สุดที่จะแนะนําใหรูจักกับ เศรษฐศาสตร มีดังนี้
เศรษฐศาสตร คือ ศาสตรที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใชทรัพยากรการผลิต
อันมีอยูจ ากั
ํ ด สําหรับการผลิตสินคาและบริการเพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุด
จากคําอธิบายขางตน มีคําสําคัญที่ควรอธิบายขยายความอยู 4 คํา คือ
(1) การเลือก
(2) ทรัพยากรการผลิต
(3) การมีอยูจํากัด
(4) สินคาและบริการ
เหตุที่ตองมี “การเลือก” (choice) เพราะทรัพยากรตาง ๆ สามารถนําไปใชประโยชนได
หลายทาง ขณะเดียวกัน ความไมสมดุลระหวางความตองการที่ไมมีขีดจํ ากัดของมนุษยกับ
ทรัพยากรการผลิตที่มีอยูจํากัด ทําใหความตองการบางสวนไมสามารถจะบรรลุผลได เราจึงตอง
เลือกหนทางในการใชทรัพยากรอันมีจํากัดไปในทางที่จะกอใหเกิดประโยชนสูงสุด หรือใหความพอ
ใจมากที่สุด การเลือกดังกลาวนี้เปนพฤติกรรมเชิงเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานที่ตองเผชิญอยูทุกเมื่อ
เชือ่ วัน นับตั้งแตระดับบุคคล กลุมบุคคล ไปจนถึงระดับประเทศชาติ ในระดับบุคคลหรือกลุม
บุคคล รายไดที่มีจํากัดทําใหไมสามารถใชจายไดตามใจชอบ เมื่อมีสินคาที่อยากไดพรอมกันหลาย
อยาง บุคคลจึงตองตัดสินใจเลือกซื้อเฉพาะสินคาที่จะใหประโยชนสูงสุด ในระดับประเทศชาติ จํา
เปนตองตัดสินใจเลือกใชทรัพยากรที่มีจํ ากัดไปในทางที่จะทํ าใหประชาชนโดยสวนรวมไดรับ
ประโยชนสูงสุดเชนกัน
ดังนัน้ “การเลือก” จึงเปน “เงา” ของเศรษฐศาสตร สิ่งใดที่มีประเด็นเกี่ยวกับการเลือกใช
ซึ่งทรัพยากรการผลิต สิ่งนั้นยอมเกี่ยวของกับเศรษฐศาสตร โดยนัยตรงขาม หากมีประกาสิต
กําหนดการใชทรัพยากรไวตายตัว เศรษฐศาสตรก็จะไมมีบทบาทในเรื่องนั้น
คําวา “ทรัพยากรการผลิต” (productive resources) หมายถึง ทรัพยากรที่นํามาผลิต
สินคาและบริการ เรียกอีกชื่อหนึ่งวา ปจจัยการผลิต (factors of production) แบงเปน 4 ประเภท
คือ ที่ดิน (land) แรงงาน (labor) ทุน (capital) และผูประกอบการ (entrepreneur)
ก. ที่ดิน ไดแกทดี่ นิ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติตาง ๆ เชน ปาไม แรธาตุ สัตวนํ้า ความ
อุดมสมบูรณของที่ดิน ปริมาณนํ้าฝนและสิ่งแวดลอมตามธรรมชาติตาง ๆ เปนตน สิ่งเหลานี้มีอยู
ตามธรรมชาติ มนุษยสรางขึ้นไมได แตสามารถปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติไดบาง
เชน ปรับปรุงที่ดินใหอุดมสมบูรณขึ้น เปนตน ผลตอบแทนจากการใชที่ดินเรียกวา คาเชา (rent)
ข. แรงงาน เปนทรัพยากรมนุษย (human resource) ไดแก สติปญญา ความรู ความ
คิด แรงกายและแรงใจที่มนุษยทุมเทใหแกการผลิตสินคาและบริการ โดยทั่วไปมีการแบงแรงงาน
เปน 3 ประเภท คือ แรงงานฝมือ เชน นักวิทยาศาสตร นักวิชาการ วิศวกร และแพทย เปนตน แรง
งานกึง่ ฝมอื เชน ชางไม ชางเทคนิค พนักงานเสมียน คนคุมเครื่องจักรในโรงงาน เปนตน และแรง
งานไรฝม อื เชน กรรมกรแบกหาม นักการภารโรง คนยาม เปนตน ผลตอบแทนของแรงงานเรียก
วา คาจางและเงินเดือน (wage and salary) อนึง่ แรงงานสัตวไมถือเปนปจจัยผลิตประเภทแรง
งาน แตอนุโลมถือเปนทุน
ค. ทุน คือเครือ่ งจักรเครื่องมือที่มนุษยสรางขึ้นเพื่อใชรวมกับปจจัยการผลิตอื่น ๆ ในการ
ผลิตสินคาและบริการ ทุนหรือสินคาทุน หรือสินทรัพยประเภททุน (capital goods) แบงเปน 2
ประเภท คือ สิ่งกอสราง (construction) และเครื่องจักรอุปกรณการผลิต (equipment)
การลงทุน (investment) หมายถึงการใชจายในการจัดหาเพิ่มพูนสินคาทุน โดยมีวัตถุ
ประสงคเพือ่ เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินคาและบริการทั้งในปจจุบันและอนาคต
สวนเงินทุน (money capital) นัน้ นักเศรษฐศาสตรถือวาเปนเพียงสื่อกลางที่นํามาซึ่งสิน
ทรัพยประเภททุน สินทรัพยประเภททุนยอมสะทอนความเปนจริงทางเศรษฐกิจยิ่งกวาจํานวนเงิน
ทุน เงินทุนจํานวนเดียวกันใชจัดหาสินคาทุนไดมากหรือนอยขึ้นอยูกับหลายปจจัย ดังนั้น สินคา
ทุนจึงมีความสําคัญในเชิงเศรษฐกิจมากกวาเงินทุน อนึ่ง เนื่องจากการวัดผลตอบแทนจากปจจัย
ทุนโดยตรงมีความยุงยาก เราจึงอนุโลมใหใชผลตอบแทนของเงินทุน อันไดแกอัตราดอกเบี้ย
(interest) เปนผลตอบแทนของปจจัยทุนดวย
ง. ผูประกอบการ (entrepreneur) คือ ผูท าหน ํ าที่รวบรวมปจจัยการผลิต 3 ประเภทที่
กลาวมาขางตน เพื่อทําการผลิตสินคาและบริการ คาตอบแทนของผูประกอบการเรียกวากําไร
(profit) ในบรรดาปจจัยการผลิตทั้ง 4 ประเภท ผูประกอบการนับเปนปจจัยการผลิตที่มีความ
สําคัญมากที่สุด แมวาจะมีปจจัยการผลิต 3 ประเภทแรกมากมายก็ตาม การผลิตจะไมอาจเกิด
ขึน้ หากขาดผูประกอบการ
ในทางเศรษฐศาสตรตนทุนการผลิต คือ ผลรวมคาตอบแทนปจจัยการผลิตทั้งหมด
คําวา “การมีอยูจํากัด” (scarcity) ใหคาจํ
ํ ากัดความได 2 แบบ (1) คําจํากัดความเชิง
สัมบูรณ (absolute definition) คือพิจารณาจากทรัพยากรการผลิตทั้งหมดที่มีอยู ซึ่งอาจมองได
หลายระดับ หากมองในระดับโลก ทรัพยากรการผลิตทุกอยางในโลกลวนมีอยูอยางจํากัด ไมวา
จะเปนกําลังแรงงาน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และเครื่องจักรตาง ๆ ทรัพยากรเหลานี้ทั่วทั้งโลกมี
อยูเ ทาไรก็เทานัน้ เพิ่มอีกไมได หากประเทศใดมีเพิ่มขึ้น โดยมากก็เปนเพียงการเคลื่อนยายมา
จากประเทศอืน่ ตัวอยางเชน การเคลื่อนยายแรงงานขามประเทศ หรือการเคลื่อนยายปจจัยการ
ผลิตอืน่ ๆ ไปทําการผลิตรวมกับที่ดินของประเทศอื่น โดยการเชาหรือซื้อที่ดินในตางประเทศทํา
การผลิต หากมองในระดับประเทศ การมีอยูจํากัดปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งครอบครอง
ทรัพยากรการผลิตมากขึ้น ก็จะมีทรัพยากรการผลิตเหลือนอยลงสําหรับคนอื่น ๆ ในสังคม (2) คํา
จํากัดความเชิงสัมพัทธ (relative definition) เปนการพิจารณาอุปทานของทรัพยากรการผลิตเมื่อ
เทียบกับอุปสงคหรือความตองการทางวัตถุอันไมจํากัด ฉะนัน้ ไมวาจะมีทรัพยากรการผลิต
มากเทาใดก็ตาม เมื่อนําทรัพยากรเหลานี้ไปใชในการผลิตสินคาและบริการ ก็ยังไมสามารถสนอง
ความตองการอันไมจํากัดของมนุษยได
ความจํากัดนี้เปนปรากฏการณที่เกิดขึ้นในทุกระดับสังคมและเกิดขึ้นอยูตลอดเวลา และ
ในอนาคตการมีอยูจํากัดคงจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อทรัพยากรสวนหนึ่งถูกใชหมดไป สวนที่
เหลือมีนอ ยลง อยางไรก็ตาม ปรากฏการณนี้จะไมเกิดขึ้น หากมีการคนพบวิทยาการใหม ๆ ใน
ผลิตทีส่ ามารถประหยัดทรัพยากรหรือสรางทรัพยากรใหมทดแทนทรัพยากรเดิมที่หมดไป
ไดกลาวพาดพิงในขอความขางตนวา “ความตองการทางวัตถุอันไมจํากัด” (unlimited
wants in materials) ในทางศาสนาพุทธมีคาเรี ํ ยกมนุษยวา “ปุถุชน” ซึ่งหมายถึงคนที่มีความโลภ
โกรธ หลง คําวา “โลภ” นี้อาจอนุโลมใหมีความหมายใกลเคียงกับคําวา “มีความตองการไมจํากัด”
กลาวคือ เมือ่ ไดมาอยางหนึ่งก็อยากไดอยางอื่น เปนเชนนี้ตอไปเรื่อย ๆ ไมมีที่สิ้นสุด หากไปถาม
คนยากจนวาในชีวิตปรารถนาอะไร คําตอบมักจะเปนวาขอใหมีอาหารรับประทานครบ 3 มื้อ หรือ
มีปจ จัย 4 ครบถวน หากถามคําถามเดียวกันกับผูมีรายไดปานกลาง คําตอบมักเปนวานอกจากมี
ปจจัย 4 ครบถวนแลวยังตองมีคุณภาพที่ดี เชน อาหารตองอรอยถูกปาก เสื้อผาตองตามสมัย
นิยม ในบานขอมีเครือ่ งปรับอากาศ มีตูเย็น โทรทัศนสี เปนตน และหากถามมหาเศรษฐีวา
ปรารถนาอะไรในชีวิต คําตอบก็คงจะเปนวาอยากอยูในตําแหนงคนรวยที่สุด หรืออยากมีชื่อเสียง
เกียรติยศโดงดังนอกเหนือจากวัตถุสมบัติที่มีมากมายอยูแลว กลาวโดยสรุป สําหรับมนุษยปุถุชน
มักจะไมมีคําตอบวาพอแลว หยุดแลว ไมปรารถนาอะไรทั้งสิ้นแลว
คําวา “สินคาและบริการ” (goods and services) คือสิง่ ทีไ่ ดจากการทํางานรวมกันของ
ปจจัยการผลิตตาง ๆ เปนสิ่งที่มีอรรถประโยชน (utility) มากกวาศูนย แบงเปน 2 ประเภท (1) สิน
คาและบริการขั้นกลาง (intermediate goods and services) เปนสินคาที่มีการซื้อขายเพื่อนําไป
ใชเปนปจจัยการผลิต เชน อาหารสัตว วัสดุกอสราง รถบรรทุกสิบลอ เปนตน และ (2) สินคา
และบริการขั้นสุดทาย (final goods and services) เปนสินคาที่มีการซื้อขายเพื่อนําไปใชอุปโภค
และบริโภค ตัวอยางเชน ผลิตภัณฑเหล็ก โรงงานถลุงเหล็กนําสินแรเหล็กมาถลุงและทําเปนแทง
เหล็ก จากนัน้ รีดเปนแผนเหล็ก ใชแผนเหล็กขึ้นรูปเปนตัวถังรถ โรงงานประกอบรถยนตใสชิ้น
สวนตาง ๆ เขากับตัวถังรถ สําเร็จออกมาเปนรถยนต จะเห็นวาแทงเหล็ก แผนเหล็ก โครงตัวถังรถ
เปนสินคาขัน้ กลาง สวนรถยนตอาจถือเปนสินคาขั้นกลางถาหนวยผลิตซื้อไปใชงาน และถือเปน
สินคาขัน้ สุดทายถาครัวเรือนซื้อไปใช จะเห็นไดวาสินคาหรือบริการอยางเดียวกันอาจเปนไดทั้งสิน
คาขั้นกลางและสินคาขั้นสุดทาย ทั้งนี้พิจารณาจากวัตถุประสงคในการนําไปใชประโยชนเปน
สําคัญ
ในการศึกษาเศรษฐศาสตร ไดแบงสินคาออกเปน 2 ประเภท ไดแก เศรษฐทรัพย
(economic goods) และสินคาไรราคา (free goods) เศรษฐศาสตรศึกษาเฉพาะสินคาที่เปน
เศรษฐทรัพยเทานั้น
ก. เศรษฐทรัพย คือสินคาที่มีตนทุน ดังนั้นจึงมีราคามากกวาศูนย โดยปกติ
ผูบริโภคจะเปนผูจายคาสินคาโดยตรง แตในบางกรณี ผูบริโภคกับผูจายคาสินคาอาจจะเปน
คนละคน ซึง่ ไดแก เศรษฐทรัพยที่ไดจาการบริจาค หรือจากการใหโดยเสนหา หรือจากบริการสวัส
ดิการของรัฐ ซึ่งเปนเศรษฐทรัพยทไี่ ดเปลา จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งวา “สินคาใหเปลา” (ซึ่งไมใชสินคาไร
ราคา)
ข. สินคาไรราคา หมายถึงสินคาและบริการที่ไมมีตนทุน จึงไมมีราคาที่ตองจาย ตัวอยาง
ของสินคาไรราคา ไดแก สายลม แสงแดด นํ้าฝน อากาศในบรรยากาศ นํ้าทะเล และนํ้าในแมนํ้า
ลําคลอง
------------
พิมพครั้งแรกใน เศรษฐสาร ปที่ 4 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน 2531

You might also like