Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 14

สรุปเรื่องระบบฟิ วดัลในยุโรปว่า คืออะไร มีความเป็ นมาอย่างไร ล่ม

สลายไปอย่างไร
ระบบฟิ วดัล(Feudalism) หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ ์
Feudal มาจากภาษาลาตินว่า Feudum ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
Fief แปลว่าดินเนื้ อที่หนึ่ ง เป็ นลักษณะการปกครองและสังคมของชน
เผ่าเยอรมัน(เน้ นความผูกพันระหว่างนั กรบกับและหัวหน้ านั กรบตาม
ประเพณี Comitatus โดยกษั ตริยก
์ ระจายอำานาจไปสู่หัวหน้ าหรือกลุ่ม
นั กรบ)และลักษณะการปกครองที่สืบทอดมาจากโรมัน(ระหว่างผู้
อุปการะกับผ้รู ับอุปการะและความสัมพันธ์ระหว่าง นายกับข้าทาส)
ผสมผสานกันเป็ นรากฐานของยุโรปสมัยกลาง ในช่วงที่อาณาจักร
โรมันล่มสลาย ชาวนาเจ้าของที่ดินต้องหลบหนี ลีภ ้ ัย เกิดความหวาด
กลัว จึงต้องยกที่ดินให้ผู้มีอำานาจเพื่อขอความคุ้มครองเจ้าของที่ดินเดิม
เปลี่ยนสภาพมาเป็ นผู้เช่าที่ดิน แต่เป็ นเสรีชนและกษั ตริย์มีอาณาจักร
กว้าง
ลักษณะความสัมพันธ์ในระบบฟิ วดัลแบ่งเป็ น 2 ประเภท
1.ระบบฟิ วดัลเป็ นความสัมพันธ์ระหว่างชนชัน
้ ผู้ปกครองด้วย
ตนเอง (Vassage system) กล่าวคือ Lord (เจ้านาย,ขุนนางผู้ใหญ่,ผู้
มอบที่ดิน) กับ Vassal (ผู้พ่ึง,ขุนนางผู้น้อย,ผู้รบ
ั มอบที่ดิน) เป็ น
ระบบการกระจายอำานาจออกจากศูนย์กลางกษั ตริยไ์ ปยังขุนนางแคว้น
ต่างๆ ขุนนางต่างมีกองทัพของตนเอง ( Lord ให้ท่ีดินเพื่อแลกกับ
ความร่วมมือของ Vassal อาทิ การไปช่วยรบ )
2.ระบบฟิ วดัลเป็ นความสัมพันธ์ระหว่างชนชัน
้ ผู้ปกครอง
(ขุนนาง)กับชนชัน
้ ผู้ถูกปกครอง(ชาวนา) (manorial system)
ชาวนาที่อาศัยอยู่ในที่ดินของขุนนางต้องทำาการผลิตเพื่อเลีย ้ งขุนนาง
และตนเอง เพื่อตอบแทนการคุ้มครองโดยขุนนางของตน หรืออาจเป็ น
ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่า ซึ่งชาวนาต้องให้ผลผลิต
หรือแรงงานเป็ นค่าเช่า
โครงสร้างทางสังคมของระบบฟิ วดัล
1.กษั ตริย์ มีฐานะเป็ น Lord สูงสุดโดยมีขุนนางเป็ น Vassal มี
พันธะผูกพันทางหน้ าที่ต่อกัน กษั ตริยจ์ ะพระราชทานที่ดินเป็ นการ
มอบหมายอำานาจในการปกครอง ให้กับขุนนาง อำานาจของกษั ตริย์
อ่อนลงปกครองราษฎร์ท่ีอยู่รอบพระนคร ดินแดนส่วนอื่นๆเป็ น
ของขุนนาง และมีความผูกพันกับกษั ตริย์โดยยกย่องให้เป็ นหัวหน้ า
มีข้อผูกพันกับกษั ตริย์เพราะมีท่ีดินอยู่ในอาณาเขตจึงยอมเป็ น Vassal
มีหน้ าที่ช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดินยามสงคราม ที่ดินที่กษั ตริย์
พระราชทานให้สามารถริบคืนได้ ถ้า Vassal ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือ
สิน
้ ชีวิตโดย ไม่มีทายาท
2. ชนชัน ้ ปกครองหรือขุนนางเจ้าของที่ดิน (Suzerain)นั บตัง้ แต่
อัศวินขึ้นไป
3.ในฝรัง่ เศส มีบรรดาศักดิเ์ ป็ น Duke,Earl, Lord, Baron,
Count มีการปกครองลดหลัน
่ ตามลำาดับขัน
้ ดูแลปกครองเสรีชนๆมี
ฐานะเป็ น Vassal ของขุนนาง ขุนนางมีฐานะเป็ นทัง้ Vassal ของ
กษั ตริย์ ซึ่ง Vassal มีหน้ าที่ส่งทหารของตนไปสมทบกับกองทัพ
ของ Lord และช่วยเหลือทางการเงินแก่Lord ขุนนางชัน
้ สูงยังมี
ฐานะเป็ น Lord ของขุนนางชัน ้ ตำ่ากว่าลงมา ขุนนางเป็ นเจ้าของ
ปราสาทหรือคฤหาสน์ ยังมีขุนนางที่ผ่านการฝึ กได้รับการสถาปนาแต่
ตัง้ ให้เป็ นอัศวิน(Knight)ไม่ใช่ขุนางที่สืบทอดทางสายโลหิต
4.เสรีชน (villain) ส่วนใหญ่เป็ นชาวนา เป็ นผู้เช่าที่ดินซึ่งเคย
เป็ นของตนเองแต่ไม่มี ภาระผูกติดกับที่ดิน หรือเป็ นเจ้าของที่นา
ขนาดเล็ก ชาวนารายเล็กๆ
5.ทาสติดที่ดิน(serf) คือชาวนาที่อาศัย ทำากินบนที่ดินตัง้ แต่
บรรพบุรุษ ต้องผูกติดกับ ที่ดิน จะโยกย้ายไปไหนไม่ได้ อยู่ในการ
ควบคุมของเจ้านาย ต้องเสียภาษี รัชชูปการ ภาษี ผลิตผลที่ผลิตได้ให้
เจ้านาย ยอมให้เจ้านายเกณฑ์แรงงานขุดคู สร้างสะพาน
6.พระและนั กบวช มีบทบาททางการอบรมจิตใจให้แก่สามัญชน
การเลื่อนชัน้ ทางสังคมของชาวนาอิสระและทาสติดที่ดินทำาได้
ยากเพราะชนชัน ้ เจ้าของที่ดินและชาวนามีระบบสืบทอดกรรมสิทธิต์ าม
สายโลหิต
การขยายพื้นที่อาณาเขตทำาได้โดยวิธีใด
1. โดยวิธีแย่งชิง ทำาสงคราม
2. การแต่งงานและการรับมรดก

ระบบฟิ วดัล

แมเนอร์

เมืองอิสระ กษั ตริย์

ระบบแมเนอร์ (Manorial System ) คืออะไร


เป็ นระบบเศรษฐกิจคำาว่า “Manor” แปลว่า คฤหาสน์
หมายถึงบริเวณที่ดินที่กว้างใหญ่รอบๆคฤหาสน์ของขุนนาง ขนาด
ของที่ดินขึ้นอยู่กับอำานาจและความัง่ คัง่ ของเจ้าของ บริเวณรอบๆ
คฤหาส์จะมีหม่บ ู ้าน ชาวนาและทาสติดที่ดิน ช่างฝี มือ พ่อค้า แต่ละแม
เนอร์จะมีการผลิตอาหารเลีย ้ งตัวเองโดยขุนนางควบคุมการผลิต
ที่ดินที่ขุนนางให้ชาวน ทาสติดที่ดินทำาจะแบ่งการเพาะปลูกในระบบ
Three fidld System ออกเป็ น 3 ส่วน หมุนเวียนทำา ปี แรกทำา แปลง
ที่ 1 และ 2 ส่วน แปลงที่ 3 จะเก็บไว้เลีย
้ งสัตว์
เพราะเหตุใดระบบฟิ วดัลจึงเสื่อม
1. เนื่ องจากการปฏิวัติทางเศรษฐกิจคริสต์ศตวรรษที่ 11
2. การฟื้ นฟูการค้ากับตะวันออกใกล้ มีการไถ่ตัวทาสติดที่ดิน
เป็ นอิสระโดยไปทำาการค้า เป็ นช่างฝี มือ มีการเลื่อนฐานะเป็ นชนชัน

กลางและมีอิทธิพลางเศรษฐกิจ
3. เกิดโรคะบาด กาฬโรค ทัว่ ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทำาให้
แรงงานหายาก ทาสติดที่ดินมีโอกาสเป็ นอิสระ โยกย้ายที่อยู่ ระบบแม
เนอร์จึงสลายตัว
4. มีทหารรับจ้าง ชาวนา หนี ไปเป็ นทหารรับจ้าง เกิดจลาจล
ชาวไร่ ชาวนา
5. จากสงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำาให้อัศวินเสีย
ชีวิตมาก กษั ตริย์ยึดอำานาจคืนจากขุนนางโดยมีพ่อค้า ชนชัน ้ กลาง
สนั บสนุน กษั ตริย์เริ่มติดต่อโดยตรงกับประชาชนทรงมีอำานาจ
ปกครองอย่างแท้จริงยุบกองทัพของขุนนาง กล่าวได้วา่ ระบบฟิ วดัลได้
วิวัฒนาการเป็ นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปน
และฝรัง่ เศส

สรุปเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรม ว่าคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง ส่ง


ผลทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในยุโรปอย่างไร
การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิต
จากเดิมที่เคยใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์ พลังงานธรรมชาติหรือ
อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือแบบง่าย ๆ ในสังคมเกษตรกรรม มาสู่การ
ใช้เครื่องจักรกลในการผลิตภายใต้ระบบโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้
ได้ผลผลิตในปริมาณที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต
แบบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน (Domestic System) หรือระบบ
จ่ายงานไปทำาในบ้านกลายมาเป็ นการผลิตในระบบโรงงาน (Factory
System)
การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นในอังกฤษเป็ นที่แรก โดยแบ่ง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมออกเป็ น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ค.ศ.1780-1840 อาจเรียกได้วา่ “สมัยแห่งพลังไอนำ ้ า”
เนื่ องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตจากการใช้มือ ฯ มาสู่การใช้
เครื่องจักรไอนำ ้ า ซึ่งถือเป็ นการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิ คที่เป็ นรากฐาน
ที่สำาคัญของการเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรม
ช่วงที่ 2 ค.ศ.1840-1895 จากความก้าวหน้ าของการปฏิวัติ
อุตสาหกรรมในช่วงแรก ประกอบกับความก้าวหน้ าในการประดิษฐ์
ทางวิทยาศาสตร์ จึงส่งผลให้มีการนำ าความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ใน
การผลิตอุตสาหกรรม อาทิ ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้ า
ถ่านหิน เหล็กกล้า ฯ อุตสาหกรรมที่สำาคัญ คือ ผลิตเครื่องจักรกลที่
ทำาด้วยเหล็กกล้า จึงอาจเรียกได้วา่ เป็ น “การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค
เหล็กกล้า” เกิดสหบาลกรรมกรในอุตสาหกรรมหลายชนิ ด

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.การขยายตัวทางด้านการค้า/เงินทุน อันเนื่ องมาจากการที่ชาว
ตะวันตกได้ค้นพบเส้นทางเดินเรือและดินแดนใหม่ ๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเมื่อดินแดนเหล่านี้ได้ตกเป็ นอาณานิ คม จึงเป็ นแหล่งวัตถุดิบ
และตลาดระบายสินค้าที่สำาคัญ การขยายตัวทางด้านการค้ากระตุ้นให้
กิจการทางการผลิตขยายตัวตามไปด้วย
เงินทุน การขยายตัวของการค้าส่งผลให้ได้รบ ั กำาไรอย่างมากแก่
นายทุน ทำาให้สามารถนำ าเงินทุนมาลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเพิ่ม
มากขึ้น ประกอบกับระบบธนาคารพาณิ ชย์ท่ีค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
ทำาให้การลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมค่อนข้างมีความมัน ่ คง
2.การเพิ่มขึ้นของประชากร จำานวนประชากรของยุโรปตะวันตก
มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เพิ่มมากขึ้น จึงเป็ นการกระตุ้นให้มีการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม
3.ความก้าวหน้ าในการประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์
เพื่อเอาชนะธรรมชาติและแสวงหาเครื่องอำานวยความสะดวก ส่งผล
ให้สามารถคิดค้นอุปกรณ์/เครื่องจักร การคมนาคม ที่นำามาใช้ในการ
เพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม อีกทัง้ ยังเป็ นการพัฒนาเกษตรกรรม
4.การพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางด้าน
เกษตรแผนใหม่ ได้แก่ การกัน ้ รัว้ ที่ดิน การใช้ท่ีดินแปลงใหญ่ในการ
เพาะปลูก การรู้จก ั ใช้ปุย การใช้เครื่องจักรทุ่นแรงงานการเกษตร เพื่อ
ผลผลิตพืชไร่ท่ีดีทัง้ ด้านปริมาณและคุณภาพสำาหรับสนองความ
ต้องการด้านวัตถุดิบแก่โรงงานอุตสาหกรรม มีการขยายที่ดินทำาการ
เพาะปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตตำ่า และสามารถขายสินค้าได้ใน
ราคาที่แข่งขันได้
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
- นำ ามาซึ่งโฉมหน้ าใหม่ของโลก ทุกสิ่งอย่างดูง่ายขึ้นสำาหรับ
มนุษย์ ทัง้ การผลิต
การเดินทาง ฯ ไปจนถึงวิถีชีวิตดัง่ เดิมอย่างการเกษตร ค้นพบเส้น
ทาง,ดินแดน,ใหม่ ๆ ตลอดจนเกิดเมืองใหม่ ๆ (เนื่ องจากการอบยพ
ของคนในชนบทเข้ามาทำางานในเมือง ขยายตัวของชุมชนเมืองและ
ความเจริญก้าวหน้ าด้านการแพทย์ การศึกษา ฯ )
- เกิดการขยายตัวทางการค้า ส่งผลให้ชนชัน
้ กลางขยายตาม
โดยออกมามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น (แต่เดิมกดขี่แรงงาน)
- เกิดความก้าวหน้ าทางความคิดแบบเหตุผลนิ ยม , มนุษย์
นิ ยม , วิทยาศาสตร์ อันนำ ามาสู่การขยายตัวของความจริงที่มีเหตุมีผล
(ยุครู้แจ้ง)
- การแสวงหาอาณานิ คมและลัทธิจักรวรรดินิยม (แสวงหา
แหล่งวัตถุดิบและขยายตลาด)
- ระบบเศรษฐกิจเจริญแบบไม่หยุดยัง้ ก่อให้เกิดการขยายฐาน
การผลิต การขยายทางวัฒนธรรมชาวตะวันตก ฯ เริ่มมีการคิดทำา
ธุรกรรมทางเศรษฐกิจแบบใหม่ ทำาให้เศรษฐกิจก้าวหน้ า อาทิ สร้าง
แบบธนาคารเงินกู้ สินเชื่อ

สรุปกรอบการศึกษา เรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ
ศ.ดร.ฉั ตรทิพย์ นาถสุภา ชีใ้ ห้เห็นรูปแบบของการปฏิวัติ
อุตสาหกรรมใน 5 รูปแบบ กล่าวคือ 1) แบบทุนนิ ยมประชาธิปไตย 2)
แบบฟาสซิสม์ 3) แบบคอมมิวนิ สต์ 4) แบบทุนนิ ยมชายขอบที่
ครอบงำาโดยระบอบเผด็จการโดยอภิสิทธิช์ นและทหาร และ 5) สังคม
ประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรมชุมชน

ประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ อังกฤษ
เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์อังกฤษ (ตามแนวทางของศ.ดร.ฉั ตรทิพย์)
เดิมการปฏิวัติพาณิ ชยกรรมเกิดก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม
พัฒนาการทางการค้าก่อให้เกิดการขยายตัวของเมือง ก่อให้เกิดความ
ต้องการใช้ท่ีดินแบบในระบบทุนนิ ยม ความต้องการที่ดินดังกล่าวส่ง
ผลให้เจ้าที่ดินล้อมรัว้ เพื่อเลีย
้ งแกะ ทำาให้ชาวนาหมดสิทธิในการเพาะ
ปลูก ฯ ผลของการล้อมรัว้ คือ การทำาลายชนชัน ้ ชาวนา ชาวนาแตก
สลาย ชาวนายากจนต้องกลายเป็ นแรงงานรับจ้าง (ต้นกำาเนิ ดชนชัน ้
กรรมาชีพ) ชนชัน ้ เจ้าที่ดินสามารถขยายขนาดที่ดินออกไปเรื่อย ๆ
ซึ่งนำ าไปสู่ทุนนิ ยมในการผลิตทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
อังกฤษมีบรรยากาศของเสรีภาพส่วนบุคคล เคารพกรรมสิทธิส ์ ่วน
บุคคล อุปถัมภ์คาำ ้ ชูทางปั ญญาและวิทยาศาสตร์ เจ้าที่ดินมีส่วนช่วย
ในการสร้างพื้นฐานสภาพแวดล้อม สำาหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม
พัฒนาการขนส่ง สร้างและรักษาถนน ขุดคลอง ปรับปรุงการเกษตร
โดยใช้เทคนิ คการผลิตใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ จึงกล่าวได้ว่าชนชัน ้
เจ้าที่ดินของอังกฤษเป็ นผู้สนั บสนุนพัฒนาของระบบทุนนิ ยม ไม่ได้ขัด
ขวางและในอังกฤษมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชนชัน ุ พี (ลูก
้ กระฎม
คนหลัง ๆ ของเจ้าที่ดินที่กลายมาเป็ นพ่อค้า)
การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ ช่วงที1
่ และกำาเนิ ดของ
ชนชัน ้ กระฎุมพี (ค.ศ. 1780-1840) อังกฤษเป็ นประเทศแรกที่
เปลี่ยนเป็ นประเทศอุตสาหกรรม โดยส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่อยู่
ในเมือง แรงงานในภาคการเกษตรลดลง การเปลี่ยนทางเทคนิ ค คือ มี
การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานมนุษย์และสัตว์ (เครื่องจักรไอนำ ้ า
เป็ นการเปลี่ยนทางเทคนิ คที่เป็ นรากฐานที่สุดของการปฏิวัติ
อุตสาหกรรม) ทำาผลิตภาพเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ เกิด
ระบบโรงงาน เกิดการกระจุกตัวของประชาชนใกล้โรงงาน เมืองขยาย
ใหญ่ มีการนำ าเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งแตกต่างจากชนบทมาก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษไม่ได้เกิดจากการวางแผน
ของรัฐบาล แต่เกิดจากการริเริ่มของปั จเจกบุคคล นายทุนมาจากพวก
หัตถกร เกิดนายทุนจากผู้ผลิตเพื่อขายขนาดย่อย ฯ กิจการ
อุตสาหกรรมพัฒนาเริ่มต้นโดยใช้ทุนไม่มาก เทคนิ คการผลิตที่ไม่ซับ
ซ้อน ใช้ตนเองเป็ นแหล่งทุน (เงินสะสม) อังกฤษจึงเป็ นประเทศที่
ชาวนาอิสระและหัตถกรมีพัฒนาการไปใน 2 แนวทาง คือ 1.พัฒนา
เป็ นนายทุนอุตสาหกรรม และ 2. แตกสลาย/ล้มละลายกลายเป็ น
กรรมกร เนื่ องมาจากกระบวนการพัฒนาสู่ระบบทุนนิ ยม
อุตสาหกรรมเป็ นไปตามขัน้ ตอน จากหน่ อเล็กที่สุด ทางด้าน
ทุน,แรงงาน,กินเวลายาวนานไม่มีการย่นย่อระยะเวลาเช่นในประเทศ
ที่พัฒนาในช่วงหลัง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ ช่วงที่ 2 (ค.ศ.1840-1895)
อุตสาหกรรมหลักเปลี่ยนจากสิ่งทอฝ้ าย มาเป็ นถ่านหินและ
เหล็ก (อุตสาหกรรมเบามาสู่อุตสาหกรรมหนั ก) อังกฤษมีถ่านหิน
มากทำาให้ผลิตได้ในราคาที่ถูกประกอบกับความต้องการซื้อสูง (เพื่อนำ า
ไปใช้ในกิจการคมนาคม)แต่เหมืองถ่านหินเป็ นกิจการที่ใช้เครื่องจักร
ช่วยไม่ได้มาก การขยายตัวทางการผลิตจึงต้องเพิ่มการจ้างแรงงาน
(เด็กและสตรี) กิจการรถไฟทำาให้อุตสาหกรรมเหล็กกล้าก้าวหน้ า
รวดเร็วเกิดการติดต่อสื่อสาร การค้าระหว่างประเทศ มีการใช้นโยบาย
เศรษฐกิจเสรีนิยม
กรรมากรจากชนบทกลายมาเป็ นกรรมากรจากประชากรที่เพิ่ม
มากขึ้นในเมือง ซึ่งมีชีวิตอยู่อย่างยากลำาบาก สตรีและเด็กได้รบ ั ค่าจ้าง
ถูก มีความเหลื่อมลำา้ สูง ฯ จึงเริ่มมีการรวมตัวเรียกร้อง จนมีองค์กร
เกิดขึ้น “สหบาลกรรมกร” (trade union) เป็ นองค์กรของกรรมกรต่อ
มาได้รับอิทธิพลจากความคิดเสรีนิยม และเริ่มรวมตัวส่งตัวแทนเข้า
สมัครรับเลือกตัง้ กล่าวได้ว่า ชนชัน ้ กรรมาชีพต่อสู้ทางด้านเศรษฐกิจ
ด้วยองค์กรสหบาลและทางด้านการเมืองด้วยองค์กรพรรคการเมืองคู่
ขนานกันไป ต่อมาชนชัน ้ เจ้าที่ดินและกระฎม ุ พี ปรับปรุงการจัดระบบ
เศรษฐกิจโดยให้รัฐเข้ามาจัดมาตรฐานขัน ้ ตำ่าของโรงงาน (จำากัด
อายุ,เวลา ในการทำางานฯ) การศึกษา สาธารณสุข การช่วยเหลือเมื่อ
ป่ วย ชรา พิการ ฯ เรียกว่าสวัสดิการสังคมและเรียกการจัดระบบสังคม
แบบนี้วา่ รัฐสวัสดิการ (Welfare state)
เนื่ องจากชนชัน้ ชาวนาไม่มีเหลืออยู่ให้ใช้เป็ นฐานในการปฏิวัติ
อีกทัง้ อังกฤษสามารถสกัดกัน ้ อิทธิพลของพวกปฏิวัติรุนแรงได้ ทำาให้
เจ้าที่ดินมัน ่ ใจในฐานะของตน จึงยอมให้ชนชัน ้ กระฎม ุ พีขึ้นมามีส่วน
ร่วมในอำานาจมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงสะท้อนว่าพัฒนาอุตสาหกรรมของ
อังกฤษเกิดขึ้นพร้อมกับวิวัฒนาการของระบบประชาธิปไตยโดยสันติ

ลักษณะด้านโครงสร้าง
ประเทศอังกฤษมีช่ ือเรียกอย่างเป็ นทางการว่า สหราชอาณาจักร
ประกอบด้วยอาณาจักร 4 ส่วนที่สำาคัญ คือ อังกฤษ สก็อตแลนด์
เวลส์ และไอร์แลนด์เหนื อ ประเทศอังกฤษเป็ นรัฐเดี่ยว ที่มีการ
ปกครองท้องถิ่นที่หลากหลายภายใต้ตัวแบบต่างๆ คือ
1. นายกเทศมนตรีทางตรงและคณะเทศมนตรี
2. นายกเทศมนตรีทางอ้อมและคณะเทศมนตรี
3. นายกเทศมนตรีทางตรงและผู้จัดการสภา
4. รูปแบบคณะกรรมการเช่นเดิม (เฉพาะในท้องถิ่น
ขนาดเล็ก)
มีลักษณะโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบผสม ระหว่างส่วนที่เป็ น
้ เดียว (single-tier) และส่วนที่เป็ นโครงสร้างแบบ
โครงสร้างแบบชัน
้ (two-tier)
สองชัน ้ เดียว ได้แก่ Metropolitan
โครงสร้างชัน
District Councils 36 แห่ง และ Unitary authorities 46 แห่ง
้ ได้แก่ County Councils 34 แห่ง และ District
โครงสร้างสองชัน
Councils 238 แห่ง รวมถึงโครงสร้างการบริหารงานในลอนดอน ซึ่ง
มี Greater London Authority และ London Borough Councils
33 แห่ง
อำานาจหน้ าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 2 ประเภท คือ
1. อำานาจหน้ าที่ท่ีจะต้องกระทำาตามที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมาย 2.
อำานาจหน้ าที่ท่ีจะกระทำาได้หรือไม่กระทำาก็ได้ถ้าองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นนั ้นๆเห็นว่าไม่มี ความจำาเป็ น รัฐบาลกลางได้กำาหนด
มาตรฐานการให้บริการขึ้น อังกฤษมีรัฐสภาของ สก็อตแลนด์ เวลส์
และไอร์แลนด์เหนื อ มีรัฐบาลกลางร่วมกันไม่ปล่อยให้สก็อตแลนด์
เวลส์ และไอร์แลนด์เหนื อ ปกครองตนเองโดยอิสระ กล่าวได้ว่า
อังกฤษเป็ นรัฐเดี่ยวที่มีการที่ยอมรับความหลากหลาย มีการปกครองที่
หลากหลาย ซึ่งตัง้ อยู่บนความหลากหลายของพื้นที่และรากฐานการ
ปกครองที่มาจากกฎหมายหลายฉบับ
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น อำานาจรัฐบาล
กลางที่กำากับในบางเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1. การ
กำาหนดนโยบาย 2. การออก กฎหมายเพื่อให้ท้องถิ่นปฏิบัติ 3. การ
อนุมัติงบประมาณรายจ่ายและให้เงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น 4. การ
มอบอำานาจแก่ท้องถิ่นในการดำาเนิ นกิจกรรมที่เกี่ยวกับท้องถิ่น 5.
การตรวจสอบและสอบสวนท้องถิ่น หน่ วยงานที่ทำาหน้ าที่ประสาน
ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น คือ Department of
Environment, Transpot and the Region ภายใต้การบริหารของ
Secretary of State
แนวโน้ มของการปฏิรูปและการปรับตัวของท้องถิ่น มีการ
เปลี่ยนแปลงหลักคิดทางกฎหมายจากเดิมที่อาศัยหลัก ultra vires ไป
สู่หลักความสามารถทัว่ ไป (general competence) ทำาให้องค์กร
ปกครองท้องถิ่นมีอิสระมากยิ่งขึ้น , การให้ความสำาคัญกับจริยธรรม
ของนั กการเมืองท้องถิ่น โดยได้มีการริเริ่มให้จด
ั ทำาประมวลจริยธรรม
ของนั กการเมืองท้องถิ่น พร้อมทัง้ จัดตัง้ คณะกรรมการกำาหนด
มาตรฐานทางจริยธรรมของนั กการเมืองท้องถิ่นขึ้น เพื่อสอดส่องดูแล
พฤติกรรมของนั กการเมืองในระดับท้องถิ่น ,มีการจัดตัง้ คณะ
กรรมการวินิจฉั ยการละเมิดจริยธรรมของนั กการเมืองท้องถิ่น ข้อดี
ของระบบการปกครองท้องถิ่นอังกฤษ คือ อปท.มีการปรับตัวตลอด
เวลา ทัง้ โครงสร้าง การจัดการองค์กร วิธีการประพฤติ ,หน่ วยท้องถิ่น
มีอำานาจกว้างขวาง, รัฐบาลกลางให้ความสำาคัญ ฯลฯ แต่จากข้อดีดัง
กล่าวก็ส่งผลให้ การบริหารทางด้านงานคลังถูกควบคุมจากรัฐบาล
อย่างใกล้ชิด , ความซับซ้อนในการจัดโครงสร้างระบบการปกครอง
ท้องถิ่น ฯ
ประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ ญี่ปุ่น
เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ญ่ีปุ่น (ตามแนวทางของศ.ดร.ฉั ตรทิพย์)
ญี่ปุ่น เดิมกรรมสิทธิท์ ่ีดินเป็ นของกษั ตริย์อย่างเด็ดขาดต่อมาก็
ยกให้ท่ีดินบางแห่งปลอดภาษี แก่ขุนนางฯเมื่อที่ดินปลอดการจาก
ควบคุมเก็บภาษี ได้เพิ่มปริมาณขึ้น เนื่ องจากมีการขยายเขตเพาะปลูก
ขุนนางก็ขอสิทธิป ์ กครอง (ผู้ปกครองแคว้นมีอำานาจขึ้นกษั ตริย์
ปกครองแต่ในนาม)ส่งผลให้อัตราส่วนรายได้ของส่วนกลางลดลง
ขณะที่แคว้นอื่น ๆ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น กษั ตริย์ต้องยอมรับความจริงที่
ว่าระบบศักดินาอำานาจกระจายแบบยุโรปเกิดขึ้นในญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์
เมื่อกษั ตริย์อ่อนแอก็เกิดมีตระกูลขุนนางเข้าควบคุมกษั ตริย์ ตระกูล
ขุนนางก็คือ เจ้าครองแคว้นที่มีอำานาจมากกว่าแคว้นอื่น ๆ (โชกุน)
โชกุนบังคับให้เจ้าครองแคว้นอื่นๆ ต้องส่งส่วยแก่แคว้นของตน
ระบบศักดินาเกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ชนชัน ้ คือ 1.ชนชัน

ปกครองกษั ตริย,์ โชกุน(มีอำานาจกว่าแคว้นอื่นๆ) ไดเมียว(เจ้าของ
แคว้น) และขุนนาง (ซามูไร) 2. ชนชัน ้ ชาวนา 3.ชนชัน
้ พ่อค้าและช่าง
ไดเมียวถือกรรมสิทธ์ในที่ดินเก็บภาษี จากชาวนาแต่ชาวนาไม่ต้องเสีย
ภาษี ให้โชกุนอีก ไดเมียวมักให้เงินเดือน ข้าวของ แก่ซามูไรของตน
มากกว่าให้ท่ีดิน (เช่นในยุโรป) ชนชัน ้ ปกครองอยู่ได้ด้วยส่วยผลิตผล
จากชาวนา ระบบฟิ วดัลในญี่ปุ่นมีลก ั ษณะรวมศูนย์สูงกว่าบ้างหาก
เทียบกับยุโรป เนื่ องจากโชกุนมีอำานาจมากพอควรทัง้ ๆ ที่เป็ นเพียงเจ้า
ครองแค้วนคนหนึ่ ง โชกุนตัง้ ระบบตัวประกันขึ้น( เพื่อป้ องกันไดเมีย
วคิดร้าย) โดยแบ่งไดเมียวออกเป็ นสองกลุ่มให้สลับกันไปอยู่ท่ีเอโด ปี
ไหนที่ไม่ต้องไปอยู่ต้องส่งครอบครัวไปแทน (ทำาให้โชกุนควบคุมได
เมียวได้) ระบบนี้ก่อให้เกิดการเดินทางติดต่อส่งเสริมการขยายตัวของ
เมือง เศรษฐกิจเจริญ ส่งเสริมระบบนายทุน มีการใช้เงินตรา ฯ แต่
ชาวนาก็ยังคงยากจน ต้องส่งส่วย ห้ามอพยพ ห้ามมีอาวุธ สภาพความ
เป็ นอยู่ท่ีแร้งแค้น
ซามูไรเป็ นชนชัน
้ ที่มีจำานวนมาก พวกซามูไรเดิม เป็ นนั กรบต่อ
มาเมื่อประเทศมีสันติภาพ ซามูไรจึงมีหน้ าที่ปกครองมากกว่าทำา
สงคราม ซามูไรกลายเป็ นปั ญญาชน นั กวิทยาศาสตร์ แพทย์ ฯ ซามูไร
เปิ ดรับวิทยาการใหม่ ๆ การมีปริมาณที่มากทำาให้ความคิดอ่านของ
ซามูไรมีผลกระทบต่อสังคม พวกพ่อค้าก็เลื่อนชนชัน ้ ทางสังคมและหา
การคุ้มครองจากซามูไรและรวบตัวกันบีบผู้ปกครอง ประกอบกับการ
ถูกอเมริกาบังคับให้เปิ ดประเทศ โชกุนก็อ่อนแอ แคว้นต่างๆซึ่งมี
กษั ตริย์และพ่อค้าให้การสนั บสนุน จึงรวมมือกันปราบโชกุน(ปฏิรูป
เมจิ) เกิดระบบทุนนิ ยม(ยกเลิกการปกครองแบบศักดินา)ชาวนาถูก
กลืนเข้าระบบ เมื่อชนชัน
้ ซามูไรยอมยกเลิกพันธนาการศักดินารวม
ชาติ และพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบกับซามูไรเป็ นผู้นำาเนิ นการ
เปลี่ยนแปลงเองพ่อค้าสนั บสนุน(บทบาทน้ อย)รัฐมีส่วนช่วยในการ
พัฒนาและสะสมทุน คือเป็ นการปฏิวัติจากเบื้องบนอยู่มาก ชนชัน

ศักดินาเดิมมีบทบาทมากในการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบทุนนิ ยม (ชนชัน้
ศักดินายอมเปลี่ยนความคิดแทนที่จะถูกทำาลาย ) ระบบทุนนิ ยมของ
ญี่ปุ่นจึงเป็ นแบบฟานซิสม์

พัฒนาการทางประวัติสาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
การเปลี่ยนการปกครองการระบบศักดินาไปสู่การปฏิรูปเมจิ
(ทุนนิ ยม-ฟานซิสม์)หลังจากปราบโชกุนได้แล้วก็มีการยกอำานาจทาง
นิ ตินัยคืนให้กบ ั กษั ตริย์ อำานาจในการบริหารจริง ๆ เป็ นของซามูไรหัว
ก้าวหน้ าที่เข้ารับตำาแหน่ งข้าราชการในรับบาลกลาง ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองเป็ นอย่างยิ่ง มีการ
ยกเลิกระบบการปกครองและเศรษฐกิจแบบศักดินา บทบาทของผู้
ปกครองมีการพัฒนาการขึ้นโดยเฉพาะซามูไรที่สามารถปรับตัวเข้ากับ
การเปลี่ยนแปลงได้ในทุกยุคทุกสมัย(ดังจะเห็นได้วา่ มีการประกอบ
อาชีพ สนใจศึกษาวิทยาการที่หลากหลาย) ในขณะที่ชนชัน
้ ชาวนา
กรรมกร ถูกกลืนเข้าระบบ(บาริงตัน มัวร์มองว่าฟานซิสม์ไม่เป็ น
ปฏิปักษ์ ต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็ นแค่เพียงปราถนาจะปฏิวัติ
อุตสาหกรรมโดยรักษาโครงสร้างสังคมและประเพณี เดิมเอาไว้) หลัง
การปฏิวัติเมจิการกระจายอำานาจการปกครองท้องถิ่นของประเทศ
ญี่ปุ่นก็เริ่มต้น การปลูกฝั่ งชาตินิยมเป็ นอุดมการณ์ การยอมรับแนว
นโยบายเปิ ดประเทศ หลักจากการยกเลิกการปกครองแบบศักดินา ก็มี
การแบ่งเขตการปกครองเป็ นจังหวัดและแขวง พร้อมได้นำาระบบ
เทศบาลมาใช้ในการปกครองตนเองบางส่วน โครงสร้างอุตสาหกรรมก็
เปลี่ยนแปลงโดยมีอุตสาหกรรมหนั กและเครื่องจักเพิ่มมากขึ้นมีการ
สะสมทุน (กดขี่แรงงาน) เพื่อผลักดันประเทศให้ก้าวเข้าสู่ภาวะทัน
สมัยแบบตะวันตก มีการวางรากฐานเงินตรา

ลักษณะด้านโครงสร้างและองค์กรฯ ความร่วมมือ ฯ รูปแบบการ


ปกครองท้องถิ่นในปั จจุบัน
การปกครองของประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็ น 2 ระดับ คือ ส่วน
กลาง และท้องถิ่น สำาหรับโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น แบ่งออก
เป็ น 2 ชัน
้ ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล โดยมีรูปแบบดังนี้เทศบาลนคร
เทศบาลเมือง และเทศบาลหมู่บ้าน ญี่ปุ่นยังมีองค์กรปกครองท้องถิ่น
ในรูปแบบพิเศษอีกจำานวนหนึ่ ง คือ มีเทศบาล 13 แห่งได้รับการยก
ฐานะให้เป็ นเทศบาลนครพิเศษ เช่น เทศบาลนครโอซากา เทศบาล
นครเกียวโต เทศบาลนครโกเบ เทศบาลนครฮิโรชิมา ฯลฯ ส่วน
โครงสร้างการบริหารงานภายใน ของการบริหารงานส่วนท้องถิ่นใน
ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังมีแบ่งเป็ นฝ่ ายบริหารและสภาท้องถิ่น หัวหน้ าฝ่ าย
บริหารก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรี ส่วนพวกสภา
ท้องถิ่นก็ทำาหน้ าที่ทางนิ ติบัญญัติ แต่ไม่ว่าจะเป็ นฝ่ ายบริหาร หรือฝ่ าย
นิ ติบัญญัติ ก็จะต้องผ่านการเลือกตัง้ โดยตรงของประชาชน โดยการ
เลือกตัง้ ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นในทุกระดับ การบริหารท้องถิ่นมี
ความเป็ นอิสระพอควรสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยเป็ นไปตามกรอบ
แนวทางที่ส่วนกลางได้กำาหนดเอาไว้ การปกครองท้องถิ่นแต่ละระดับ
มีการแบ่งหน้ าที่ความรับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนตามที่กฎหมาย
กำาหนด
ความสัมพันธ์กับหน่ วงงานราชการอื่น ๆแต่ละองค์กรยังมี ความ
ร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เรียกว่าเป็ นสหภาพ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบรรษั ทพัฒนาท้องถิ่น ต่างต้อง
พึ่งพาอาศัยกันและทำางานเสริมกัน สำาหรับในส่วนกลางมีอิทธิพลต่อ
ท้องถิ่นในบางเรื่อง อาทิ อำานาจในการวางแผนและกำาหนดนโยบาย
โดยรวม โดยใช้การสนั บสนุนด้านการเงินเป็ นเครื่องมือ (องค์กร
ปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งมากจึงสามารถหารายได้ช่วย
เหลือตนเองได้ในระดับที่สูง,ต้องการพึ่งรัฐบาลให้น้อยที่สด ุ ) การแต่ง
ตัง้ แต่งตัง้ เจ้าหน้ าที่ไปประจำาที่ อปท.ฯความสัมพันธ์กับองค์กรท้องถิ่น
อื่นมีการร่วมมือกันบางที่ยุบรวม ในการจัดบริการสาธารณะประโยชน์
ต่าง ๆแก่ประชาชน การจัดซื้อจัดจ้าง การร่วมกันรักษาผลประโยชน์
ปั ญหาสำาคัญของการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น
ปั ญหาการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็ นปั ญหาทางการจัดการ
เนื่ องจากท้องถิ่นญี่ปุ่นมีความเป็ นเอกภาพ(ลักษณะที่แตกต่างกันออก
ไปในแต่ละท้องถิ่น) อีกทัง้ ท้องถิ่นเองก็มีความเข้มแข็งสามารถช่วย
เหลือตนเองได้ในระดับที่ดี ความเป็ นอิสระในด้านการปกครองก็น่าที่
จะเพิ่มสูงขึ้น การถูกควบคุมจากส่วนกลางน้ อยลง(ไม่สมควรที่จะมี
การแต่งตัง้ แต่งตัง้ เจ้าหน้ าที่ไปประจำาที่ อปท...มันจะอิสระอย่าง
แท้จริง?) การร่วมมือกันในแต่ละท้องถิ่นสมควรที่จะขยายให้กว้างขึ้น
เพื่อร่วมกันรักษาผลประโยชน์และเพิ่มแรงต้าน (อำานาจต่อรอง) จริง
อยู่ท่ี อปท.ญี่ปุ่นมีการร่วมมือกัน แต่เป็ นเพียงเรื่องที่ไม่สามารถจัดการ
ได้ด้วยตนเอง (เกินขอบเขตของอำานาจ) เรื่องเฉพาะ ฯ ควรมีการร่วม
มือและช่วยกันสนั บสนุนในเรื่องเศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่น (ที่มี
ความหลากหลาย) อย่างแข็งขัน การแลกปลี่ยนการเรียนรู้ทางด้าน
เทคนิ ควิทยากรต่าง ๆ(ไม่ต้องพึ่งส่วนกลาง) เพื่อที่จะได้พ่ ึงพาตนเอง
ได้อย่างแท้จริง เป็ นการสร้างพันธมิตรเพื่อคานอำานาจของส่วนกลาง
อีกลู่ทางหนึ่ ง

You might also like