วิทยุชุมชนญี่ป่น

You might also like

Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 16

รายงานการศึกษา

ความหลากหลายของวิทยุชม
ุ ชนใน
ประเทศญี่ปุุน

โดย
นายสุระชัย ชูผกา
เลขทะเบียน 5007300030

เสนอ

รศ.ดร. สุรัตน์ เมธีกุล


2

รายงานนี เ้ ป็ นสุวนหนึ่ งการศึกษาวิชาสัมมนานโยบายและ


การวางแผนการสื่อสาร
วส.629
ภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2550

ความสำาคัญของประเด็นศึกษา
ในช่วงเกือบ 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการกล่าวถึงการ
พัฒนาการสื่อสารชุมชนภายใต้รูปแบบของ “วิทยุชุมชน” ที่
เป็ นการจัดตัง้ สถานี วิทยุที่มีกำาลังขนาดตำ่ากว่าสถานี วิทยุกระจาย
เสียงทัว
่ ไปที่มีมาแต่ในอดีต จนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2544 ต่อ
เนื่ องมาจนถึงปั จจุบันมีการดำาเนิ นการจัดตัง้ สถานี วิทยุขนาดเล็ก
ในนามสถานี วิทยุชุมชนอย่างหลากหลายและกว้างขวาง ทัง้ ส่วน
ที่ดำาเนิ นการโดยกลุ่มองค์กรประชาชนในชุมชน นั กธุรกิจ หน่ วย
3

งานราชการท้องถิ่น ท่ามกลางความไม่ชัดเจนในข้อกำาหนดทาง
กฎหมายและระเบียบการควบคุม
ตลอดระยะเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยยังไม่สามารถหาข้อ
ตกลงสุดท้ายที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาการดำาเนิ นการวิทยุชุมชน
อย่างเป็ นระบบ หากมีบ้างก็เป็ นแต่เพียงการดำาเนิ นการใน
ลักษณะการออกกฎระเบียบผ่อนปรนจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การควบคุมกิจการวิทยุกระจายเสียง จนนำ าไปสู่ความสับสนถึง
ความชัดเจนว่าสิ่งใด ลักษณะใดคือวิทยุชุมชน รัฐ เอกชน หรือ
ประชาชน ควรมีบทบาทเช่นใดทัง้ ในด้านการมีส่วนร่วมในการ
ดำาเนิ นการ การควบคุม สนับสนุนและการตรวจสอบ เพื่อให้การ
ดำารงอยู่ของวิทยุชุมชนตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ในชุมชนเป็ นสำาคัญ
จากสภาพปั ญหาดังกล่าว รายงานการศึกษาฉบับนี้จึงมุ่ง
ทำาการศึกษารูปแบบและหลักการดำาเนิ นการของวิทยุชุมชนที่พึง
มีความเหมาะสมที่จะเป็ นแนวทาง ตัวอย่างให้กับการดำาเนิ นการ
สนั บสนุนและพัฒนากิจการวิทยุชุมชนของไทย โดยมุ่งมองหา
แนวทางจากประสบการณ์ของประเทศที่มีความก้าวหน้ าในการ
ดำาเนิ นกิจการวิทยุชุมชน และมีบริบทแวดล้อมใกล้เคียงกับ
บริบทสังคมของไทย
แม้ประเทศญี่ป่น
ุ ถือว่าเป็ นประเทศที่มีระดับการพัฒนา
เศรษฐกิจที่ก้าวหน้ ากว่าประเทศไทยมาก หากแต่ก็ยังนั บได้ว่า
เป็ นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมบริบททางสังคมวัฒนธรรมใกล้
เคียงกับประเทศไทยมากกว่ากลุ่มประเทศตะวันตก ทัง้ ในเชิงวิถี
4

ชีวิตและรูปแบบการเมืองการปกครองที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย
กล่าวคือ เป็ นประเทศที่มีลักษณะรัฐเดี่ยว ราชการมีบทบาท
สำาคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ขณะที่ ประชาชนมี
วัฒนธรรมในแบบเอเชียอยู่กับวิถีการกินอยู่กับ”ข้าวและปลา”
อันเป็ นอาหารที่ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตของไทย
ผู้ศึกษาจึงเลือกทำาการศึกษาประสบการณ์ บทเรียนการ
ดำาเนิ นกิจการของวิทยุชุมชนในประเทศญี่ปุ่นโดยเดินทางไป
ศึกษาดูงาน และสัมภาษณ์ผู้ดำาเนิ นการกิจการวิทยุชุมชนโดยตรง
ในระหว่างวันที่ 1-9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทีผ
่ ่านมา ดังได้สรุป
สาระสำาคัญไว้ในรายฉบับนี้ เพื่อได้ใช้เป็ นข้อสังเกต แนวทาง
และกรอบเทียบวิเคราะห์การพัฒนาวิทยุชุมชนไทยต่อไป
5

วิทยุชุมชนเอฟเอ็มวาย วาย เมืองทาคาโทริ โกเบ ขณะออกอากาศรายการ


วัฒนธรรมอามามิชนกลุุมน้อยในญี่ปุุน

บรรยากาศภายในร้าน วิทยุชุมชน Kyoto Sanjyo Radio Cafe


กับคุณ Matsuoka Chizuru

การดำาเนิ นงานวิทยุชุมชนมิกิ
ที่เน้นเชิงธุรกิจ
กำาเนิ ดวิทยุชุมชนในประเทศญี่ปุุน
จุดเปลี่ยนผ่านอันสำาคัญทีท
่ ำาให้เกิดการตระหนั กและ
ยอมรับถึงความสำาคัญของการดำาเนิ นการวิทยุชุมชนโดยภาค
ประชาชนในประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครัง้
6

ครัง้ ใหญ่ที่เมืองโกเบ ในเดือนมกราคมพ.ศ.2539 หรือที่รู้จักกัน


ในนาม Great Hanshin Awaji ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนอย่าง
ใหญ่หลวงมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6,000 คน มีผู้ประสบภัยหลาย
แสนคน เขตที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นที่ฐานต่างๆ ถูกทำาลายลง
เกือบครึ่งหนึ่ งของเมือง
สภาพเหตุการณ์ในครัง้ นั น
้ Matsuura Tetsuo ผู้อำานวย
การศูนย์ Community Media Resource ซึ่งปั จจุบันมีตำาแหน่ ง
เป็ นรองประธานสหพันธ์วิทยุชุมชนโลกเขตภาคพื้นแปซิฟิค
( Vice President for East Asia AMARC Asia-Pacific)
1

อธิบายว่า ประชาชนในช่วงเวลานั น
้ ขาดการติดต่อ ถูกตัดขาด
จากการสื่อสารทัง้ ปวง ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการมีความ
ล่าช้าเข้าไม่ถึงประชาชนในพื้นที่ประสบภัย สื่อมวลชนไม่สามารถ
กระจายข่าวสารที่สอดรับกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ได้ หลายฝ่ ายจึงเริ่มตระหนั กและมองหาแนวทางในการสื่อสาร
ทัง้ จากภาครัฐสู่ประชาชน และระหว่างกลุ่มอาสาสมัครกับ
ประชาชนในพื้นทีป
่ ระสบภัย
จากสภาพปั ญหาดังกล่าวทำาให้เกิดมีการจัดตัง้ สถานี วิทยุ
กระจายเสียงขนาดย่อมขึ้นชัว
่ คราวเพื่อการสื่อสารบรรเทาภัยใน
หลายพื้นที่ของโกเบและโอซากา ซึ่งอาศัยต้นแบบจากลักษณะ
การส่งกระจายเสียงของกลุ่มประชาชนชาวเกาหลีในเมืองโอกา
ซาที่ใช้ลักษณะกำาลังส่งตำ่ากระจายเสียงเป็ นภาษาเกาหลีเพื่อ

สัมภาษณ์ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองทาคาโทริ.


1
7

สื่อสารไปยังแรงงานชาวเกาหลีที่เข้ามาทำางานในเขต
อุตสาหกรรมเมืองโอซากา อันเป็ นการดำาเนิ นการที่ผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม Tetsuo ได้ชี้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีใคร
คำานึ งถึงเรื่องความถูกหรือผิดกฎหมาย เพียงมีเครื่องมือสื่อสาร
ไปยังประชาชนในพื้นที่ได้เป็ นสิ่งจำาเป็ นอันดับแรกจึงเริ่มมีการจัด
ตัง้ สถานี วิทยุที่มีกำาลังส่งขนาดไม่เกิน 10 กิโลเมตรขึ้นในเขต
เมืองทาคาโทริ ซึ่งเป็ นจุดพื้นที่ประสบภัยรุนแรงโดยได้รับความ
ร่วมมือจากประชาชนหลายเชื้อชาติ อาทิ เวียดนาม เกาหลี เข้า
มาร่วมจัดรายการเป็ นภาษาของประเทศนั น
้ ๆ เพื่อเป็ นศูนย์กลาง
กระจายข่าวสารจากทางราชการและหน่ วยงานอาสาสมัครต่างๆ
ไปยังประชาชนในพื้นที่ทไี่ ม่สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้ พร้อมๆ
กันก็มีการกระจายเสียงเป็ นภาษาญี่ปุ่นเป็ นสำาคัญด้วยในระบบ
อาสาสมัคร
ลักษณะเช่นนี้ทำาให้ทางการเล็งเห็นประสิทธิภาพใน
สมรรถนะการสื่อสารของวิทยุชุมชนจนหน่ วยราชการท้องถิ่นได้
นำ าเอารูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ภาคประชาชน อาสาสมัคร
องค์กรพัฒนาเอกชนในหลายพื้นที่ได้เริ่มดำาเนิ นการในลักษณะดัง
กล่าวเพื่อร่วมกันพัฒนาการสื่อสารชุมชนของตนเอง จากเดิมที่
พึงพิงอยู่กบ
ั สถานี วิทยุกระจายเสียงขนาดใหญ่ที่ประชาชนทัว
่ ไป
มีส่วนร่วมได้น้อย จนในที่สุดรัฐบาลกลางได้ให้การยอมรับหลัก
การวิทยุชุมชน โดยมีการปรับปรุงกฎหมายวิทยุกระจายเสียง
เมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อรองรับให้ภาคประชาชนที่ไม่แสวงหากำาไร
(Non Profit Organization) สามารถดำาเนิ นกิจการวิทยุได้ใน
8

ที่สุด (เดิมอนุญาตให้เฉพาะบริษท
ั ธุรกิจเข้าดำาเนิ นการและจัดตัง้
เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการบันเทิงเชิงพาณิชย์เป็ นสำาคัญ)
วิทยุชุมชน FM YY : จากภัยพิบัติสุูพืน
้ ที่สาธารณะของเสียง
สุวนน้ อย
วิทยุชุมชน เอฟเอ็ม วายวาย (FMyy) ได้ถือกำาเนิ ดจากการ
รวมตัวของสถานี วิทยุชุมชนชัว
่ คราวที่ก่อตัง้ ขึ้นในเขตเมืองทาคา
โทริ เมื่อครัง้ เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในโกเบเมื่อ
ปี พ.ศ. 2539 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งภายหลังจากภัยพิบัติได้
บรรเทาเบาบางลงในปี ต่อมา อาสาสมัครที่ดำาเนิ นงานด้านวิทยุ
ชุมชนชัว
่ คราวได้รวมตัวกันและตัง้ เป็ นศูนย์ข่าวสารชุมชนทาคา
โทริ (Takatori Information Community Center) ซึ่งได้รับการ
เอื้อเฟื้ อสถานี ที่จากโบสถ์คาทอลิก และมีอาสาสมัครที่สนใจ
ทำางานพัฒนาชุมชนระดมทุนจากแหล่งต่างๆ มาทำาโครงการ
พัฒนาและฟื้ นฟูชุมชนดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียง
Junichi Hibino ผู้จัดการทัว
2
่ ไปของสถานี วิทยุชุมชนเอฟ
เอ็มวายวาย อธิบายว่า ภายหลังจากที่วิทยุชุมชนต่างได้ดำาเนิ น
การส่งกระจายเสียงหลากหลายภาษาอย่างโดดเด่นจนทุกฝ่ าย
ตระหนั กถึงความสำาคัญ จึงได้ร่วมมือกันจัดตัง้ เป็ นสถานี วิทยุ
ชุมชนเพียงแห่งเดียวในเมืองนี้ โดยให้ความสำาคัญกับการออก
อากาศเป็ นภาษาต่างๆ ทัง้ ภาษาเวียดนาม เกาหลี ฟิ ลิปินส์ รวม
ถึงไทยและญีป
่ ่ ุนที่มีลักษณะภาษาถิ่นเฉพาะเช่นภาษาอามามิด้วย

สัมภาษณ์ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ Takatori Information Community Center เมืองนากาตะ


2

โกเบ
9

เพราะในเขตนี้มีคนงานประเทศเหล่านั น
้ เข้ามาทำางานอยู่เป็ น
จำานวนมาก โดยที่มีแรงงานจำานวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าใจ
ภาษาญี่ปุ่นจนทำาให้ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ดังที่เคยเกิด
ปั ญหาเมื่อครัง้ การให้ความช่วยเหลือช่วงภัยพิบัติที่ประชาชน
เหล่านี้ไม่เข้าใจในตัวข่าวสาร
ดังนั น
้ วิทยุชุมชนเอฟเอ็มวาย วาย จึงเลือกที่จะดำาเนิ นการ
โดยเน้ นเป็ นพื้นทีส
่ ่งกระจายเสียงเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารที่
เป็ นประโยชน์ ตลอดจนความบันเทิงที่เป็ นภาษาท้องถิ่นใน
สัญชาติเหล่านั น
้ ให้กับประชาชนที่เป็ นแรงงานต่างด้าว และเมื่อ
ออกอากาศอย่างต่อเนื่ องตัง้ แต่ปลายปี พ.ศ. 2539 ก็ทำาให้มีทัง้
แรงงาน นักศึกษา และประชาชนที่หลากหลายสัญชาติ เข้ามา
ร่วมจัดรายการ ตลอดจนเข้ามาทำากิจกรรมกับทางสถานี ทัง้ ใน
ด้านการระดมทุน การจัดกิจกรรมสังสรรค์ การผลิตสินค้าที่ระลึก
การผลิตซีดีเพลงภาษาท้องถิ่นเพื่อหารายได้ การร่วมกันพัฒนา
ชุมชน
การดำาเนิ นการในลักษณะดังกล่าวทำาให้วิทยุชุมชนแห่งนี้
เป็ นศูนย์ที่หน่ วยงานราชการต่างๆ ในเขตเมืองนี้ มาขอความ
ร่วมมือช่วยกระจายข่าวสารประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนต่าง
สัญชาติเหล่านี้ พร้อมกับให้การสนั บสนุนทางด้านงบประมาณบาง
ส่วนโดยไม่มีข้อผูกพัน ทำาให้วิทยุชุมชนเอฟเอ็มวาย วาย
สามารถมีทุนดำาเนิ นการได้ โดยมีเจ้าหน้ าที่ประจำา 3 คน และมี
อาสาสมัครเข้ามาร่วมจัดรายการเกือบ 100 คน ทีม
่ ีทัง้ ข้าราชการ
เกษียณ แม่บ้าน นั กศึกษาสัญชาติต่างๆ ตลอดจนแรงงานต่าง
10

ชาติ ปั จจุบันวิทยุชุมชนเอฟเอ็มวายวาย มีการออกอากาศเป็ น


ประจำาทุกวันตัง้ แต่เวลา 11.00-21.00 น.ทุกวัน โดยจัดเป็ น
รายการสดเป็ นส่วนใหญ่อย่างหลากหลายตัง้ แต่รายการข่าวสาร
ชุมชน รายการสนทนาของกลุ่มคนเกาหลี จีน ไทย อินโดนี เซีย
ความรู้ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น ข่าวสารกิจกรรมอาสาสมัครในท้อง
ถิ่น เพลงพื้นบ้านของแต่ละชาติและชนเผ่า เป็ นต้น
วิทยุชุมชน Miki : ความเข้มแข็งของรัฐและเอกชนในท้อง
ถิ่น
วิทยุชุมชนเมืองมิกิ เป็ นสถานี วิทยุชุมชนอีกรูปแบบหนึ่ งที่
สะท้อนถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่
เป็ นกำาลังสำาคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่ง
ได้จัดตัง้ ขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2539 อันเป็ นปี เดียวกันหลังเกิด
เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ Kiyotami Yamada, ผู้จัดการ
ทัว
่ ไป ของสถานี วิทยุชุมชนมิกิ (Miki FM Radio Station
76.1MHz) ได้อธิบายถึงจุดเริ่มต้นในการจัดตัง้ สถานี วิทยชุมชน
3

แห่งนี้ว่า เริ่มจากการเห็นแบบอย่างของสถานี วิทยุชุมชน FM YY


เมืองทาคาโตริ โกเบ ทีส
่ ามารถทำาการสื่อสารเพื่อช่วยเหลือ
บรรเทาภัยพิบัติให้กับประชาชนในพื้นที่เป็ นอย่างดี ทำาให้
เทศบาลเมืองมิกิเล็งเห็นว่า ควรมีสถานี วิทยุชุมชนในลักษณะดัง
กล่าวเพื่อทำาการสื่อสารข้อมูลสำาคัญระหว่างเทศบาลกับประชาชน
และความต้องการของประชาชนสู่ภาคอื่นๆ ด้วย จากเดิมที่มีแต่

สัมภาษณ์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ ที่ทำาการเทศบาลเมืองมิกิ


3
11

การรับฟั งการส่งกระจายเสียงของสถานี วิทยุจากเมืองอื่นที่ไม่ได้


มีการบอกกล่าวเรื่องราวของความเป็ นไปในเมืองมิกิด้วยกันเอง
อย่างไรก็ตามในการดำาเนิ นงานนั น
้ คุณ Yamada ชี้ว่า
เรื่องของทุนดำาเนิ นการเป็ นเรื่องสำาคัญที่จะทำาให้การดำาเนิ นการ
สถานี วิทยุชุมชนอยู่ไปได้อย่างตลอดรอดฝั ่ งและยืนยาว ดังนั น
้ จึง
เกิดความร่วมมือดึงเอาหอการค้าจังหวัดมิกิเข้าร่วมหารือ และดึง
เอาบริษท
ั เอกชนหลายบริษท
ั เข้ามาสนั บสนุน ส่วนภาคประชาชน
ก็มีบางส่วนที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมสนั บสนุน
ในทีส
่ ุดรูปแบบการดำาเนิ นการของสถานี วิทยุชุมชนมิกิก็เริ่ม
ต้นโดยมีฝ่ายเทศบาลถือหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์ หอการค้าจังหวัดถือ
หุ้น 30 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริษท
ั เอกชนอีก 30 เปอร์เซ็นต์
ทัง้ นี้ทางเทศบาลได้จัดสรรพื้นที่อาคารส่วนล่างของเทศบาลให้
เป็ นที่ดำาเนิ นการของสถานี โดยมีการจัดจ้างเจ้าหน้ าที่ประจำา 5
คน และเจ้าหน้ าที่เสริม 3 คน และอาสาสมัครจากประชาชนใน
จังหวัดมาร่วมจัดรายการ และทำากิจกรรมต่างๆ ของทางสถานี อีก
ประมาณ 50 กว่าโดยเฉลี่ย นอกจากนั น
้ แล้วการดำาเนิ นการของ
สถานี ฯ ได้อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าได้แต่เป็ นการโฆษณา
เฉพาะสินค้าของบริษท
ั ธุรกิจในเขตเมืองมิกิเป็ นสำาคัญ โดยเน้ น
คุมให้มีลักษณะของการประชาสัมพันธ์ธุรกิจมากกว่าการโฆษณา
เร่งเร้าให้หันไปซื้อสินค้า ซึ่งได้รับความสนใจจากบริษท
ั ในจังหวัด
อย่างมาก จนทำาให้ในปี ที่ผ่านมาสถานี แห่งนี้เริ่มมีผลกำาไรในการ
ดำาเนิ นการ
12

ส่วนเนื้ อหาของรายการสถานี จากการสำารวจผังรายการของ


สถานี พบว่า มีการออกอากาศตัง้ แต่เวลา 7 นาฬิกาไปจนถึง 21
นาฬิกา โดยช่วงเช้าเป็ นข่าวสารการจราจรในเมืองโดยมีพนั กงาน
จากสถานี น้ำ ามันกว่า 10 แห่งในเมืองเป็ นแกนหลักในการส่ง
ข่าวสารเข้ามาร่วมกับข่าวสารของเจ้าหน้ าที่ตำารวจจราจร ช่วง
สายจนถึงเที่ยงเป็ นรายการประเภทบันเทิงและเพลง โดยมีผู้จัด
รายการหลากหลายจากวัยรุ่นและประชาชนในพื้นที่ ส่วนช่วง
เที่ยงเป็ นรายการข่าวจากเทศบาล ซึ่งเป็ นข่าวประเภทบริการ
สาธารณะต่างๆ จากนั น
้ จึงรายการบันเทิงสลับกับรายการใน
ลักษณะส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ สลับกันไปถึงคำ่าโดย
ส่วนใหญ่ผู้จัดรายการเป็ นทัง้ นั กธุรกิจและประชาชนในพื้นที่เช่น
กัน
วิทยุชุมชน Kyoto Sanjyo Radio Cafe : ทางเลือกเสรีในสิทธิ
ที่จะสื่อของประชาชน
วิทยุชุมชนเกียวโต หรือที่มักเรียกกันว่าเป็ น เรดิโอคาเฟ่
นั บเป็ นวิทยุชุมชนที่ดำาเนิ นการโดยกลุ่มประชาชนที่ตัวกันเอง
แห่งแรก ตามกฎหมายกิจการกระจายเสียงที่ได้มีการแก้ไขปรับ
ปรุงเมื่อพ.ศ. 2548 ทีเ่ ปิ ดให้องค์กรที่ไม่แสวงหากำาไร(Non
Profit Organization)สามารถดำาเนิ นการได้ เป็ นอีกรูปแบบหนึ่ ง
ที่มีความแตกต่างไปจากสถานี วิทยุชุมชนรูปแบบอื่นๆ โดยมี
ลักษณะแนวคิดและหลักการในการดำาเนิ นงานที่อาศัยแนวคิด
แบบอินเตอร์เน็ ตคาเฟ่ กล่าวคือ เป็ นรูปแบบที่เปิ ดให้ประชาชน
มาร่วมกันระดมทุนจัดตัง้ เป็ นร้านกาแฟที่คนทัว
่ ไปสามารถเข้ามา
13

สัง่ เครื่องดื่มแล้วซื้อบัตรขอจัดรายการกระจายเสียงออกอากาศได้
คิดค่าบริการ 1500 เยนต่อ 3 นาที เช่นเดียวกับลักษณะของการ
เข้ามาใช้บริการอินเตอร์ในร้านทัว
่ ไป โดยมีสถานี วิทยุที่ทำาหน้ าที่
อัดเสียงสัญญาณส่งกระจายเสียงออกไป
คุณ Matsuoka Chizuru ผู้ช่วยผู้จัดการสถานี เล่าถึงที่มา
4

ของเรดิโอคาเฟ่ แห่งนี้ว่า deputy Manager. Kyoto Sanjyo


Radio Café ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อนๆ ของเธอซึ่งมีทัง้ ศิลปิ น นั ก
เขียน คนทำาเว็ปเพจ นั กวิชาการและเพื่อนๆ หลายอาชีพได้มีการ
หารือว่า ในเขตเมืองเกียวโตควรมีพ้ ืนที่ในการที่จะให้ประชาชน
ได้มีโอกาสสื่อสารด้วยตัวของเขาเอง เพราะที่ผ่านมาเกียวโตเป็ น
เมืองท่องเที่ยวมีแต่ผู้คนจากต่างๆ ถิ่นเข้ามาเยี่ยมชม แต่คนใน
เมืองนี้เองมีโอกาสที่จะฟั ง ทีจ
่ ะพูดถึงความรู้สึกของตนเองน้ อย
และไม่ได้ส่ ือสารถึงกันจึงคิดทำาวิทยุชุมชนที่ส่งกระจายในพื้นที่
เมืองเกียวโต
คุณ Chizuru เล่าว่าจากการหารือจึงคิดถึงรูปแบบของ
อินเตอร์เน็ ตคาเฟ่ ทีเ่ ป็ นรูปแบบหนึ่ งที่ให้คนทัว
่ ไปสามารถมี
โอกาสสื่อสารเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เป็ นพื้นทีข
่ องเสรีภาพที่จะ
สื่อสาร (Freedom of expression) จึงพัฒนารูปแบบและเริ่ม
ระดมทุนจากเพื่อนฝูงและขยายวงกว้างออกไปในลักษณะการ
ขายเวลา (Time sharing) กล่าวคือมีการจัดเก็บค่าแรกเข้า
100,000 เยน ซึ่งสามารถมาแลกเป็ นเวลาในการจัดรายการ
ประจำาวันของตนเองได้รวมทัง้ หมด 3 ชัว
่ โมง และสามารถซื้อ

สัมภาษณ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550.


4
14

เวลาเพิ่มได้โดยจ่ายเป็ นรายเดือน โดยช่วงแรกมีสมาชิกประจำา


ประมาณ 60 คนปั จจุบันมีสมาชิกประจำา 100 คน ที่มีส่วนร่วมใน
การกำาหนดรายการประจำา
เมื่อสมาชิกประจำาเลือกตารางเวลาออกอากาศไปแล้ว เมื่อมี
ช่วงเวลาเหลือจึงมาจัดสรรเปิ ดโอกาสให้ประชาชนทัว
่ ไปที่
ต้องการสื่อสาร แสดงความสามารถทางด้านดนตรี แสดงความ
เห็นต่างๆ (ยกเว้นเรื่องการเมือง และศาสนา)
ปั จจุบันรายการวิทยุชุมชนเรดิโอคาเฟ่ เกียวโต มีทัง่
ประชาชนทัว
่ ไป สมาคมในเกียวโต นั กเรียนนั กศึกษาเข้ามาใช้
บริการจัดรายการทัง่ ในรูปแบบรายการประจำาแบบสด และส่งซีดี
มาออกอากาศ ตลอดจนเวียนเข้ามาจัดรายการเฉพาะช่วงเวลา
ว่างตามความต้องการอย่างหลากหลาย ไม่จำากัดรูปแบบ ทัง้ นี้การ
ดำาเนิ นการส่งกระจายเป็ นไปโดยไม่มีโฆษณาจากบริษท
ั ห้างร้าน
แต่เปิ ดโอกาสให้คนที่เข้ามาใช้บริการมีโอกาสใช้เวลาออกอากาศ
เพื่อโฆษณาสินค้าได้เพียง 1 ครัง้ ต่อสินค้า 1 ประเภทเท่านั น

ความสรุปแหุงบทเรียนจากญี่ปุน

สภาพการดำาเนิ นงานของวิทยุชุมชนในประเทศทีไ่ ด้ศึกษา
มานี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของรูปแบบในการดำาเนิ น
การที่มีทัง้ การดำาเนิ นการวิทยุชุมชนที่ดำาเนิ นการด้วยความร่วม
มือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นและภาคเอกชนเช่นสถานี วิทยุชุมชน
มิกิ หรือความร่วมมือของประชาชนกับองค์กรสาธารณกุศล เช่น
สถานี วิทยุชุมชนเอฟเอ็มวายวาย ที่เป็ นความร่วมมือระหว่าง
เหล่าอาสาสมัครที่มีใจรักกับคนในชุมชนและจากองค์กรศาสนาค
15

ริตส์คาทอลิค ตลอดจนรูปแบบแปลกใหม่ที่เกิดจากการรวมตัว
ของประชาชนด้วยกันเองโดยลำาพังอย่างวิทยุชุมชนเกียวโต ที่
ระดมทุนจากผู้ที่สนใจและมุ่งมัน
่ ที่จะแสดงออกซึ่งความสามารถ
ด้านต่างๆ ส่ส
ู าธารณชน
สถานี วิทยุชุมชนญี่ปุ่นหลายรูปแบบนี้สะท้อนถึงความหลาก
หลายของสภาพชุมชน สังคมที่แวดล้อม การดำาเนิ นงานของ
สถานี วิทยุชุมชนจึงแตกต่างกันไปตามปั จจัยสนั บสนุนและผู้คน
ในชุมชนนั น
้ เอง โดยไม่จำาเป็ นต้องมีการกำาหนดรูปแบบการ
ดำาเนิ นงานที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็ นรูปแบบของความเป็ น
เจ้าของ (Ownership) ลักษณะรายการรวมถึง การมีหรือไม่มี
โฆษณาซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดยืนในการดำาเนิ นงานของวิทยุชุมชนที่
ล้วนมุ่งตอบสนองความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสารของคนใน
ชุมชนเป็ นสำาคัญ
ด้วยความตระหนั กในความหลากหลายของท้องถิ่นชุมชนนี้
เอง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ
ชุมชน จึงไม่ได้มีการกำาหนดรูปแบบที่ตายตัว หากแต่มีการ
กำาหนดกรอบทิศทาง และหลักการไว้กว้างๆ เท่านั น
้ เพื่อเปิ ดทาง
ให้คนในชุมชนแต่ละชุมชนได้ร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบและ
แนวทางของวิทยุชุมชนที่ตนเองมีส่วนเป็ นเจ้าของคลื่นความถี่
ตามหลักการของวิทยุชุมชนสากลที่ได้รับการยอมรับกันเป็ นการ
ทัว
่ ไป
ตามข้อกำาหนดในกฎหมายกิจการวิทยุกระจายเสียง ที่มี
การแก้ไขปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2548 (Radio Law 2005:
16

Ministry of Internal Affair and Communication, Unofficial


Translation) ได้กำาหนดไว้ว่า รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนหรือ
กลุ่มคนที่รวมกันโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำาไร
(Non profit organization) มีสท
ิ ธิที่จะรวมตัวขอจัดตัง้ สถานี
วิทยุข้ ึนได้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการข้อมูลข่าวสารของ
ประชาชนในชุมชน โดยกำาหนดให้มีแผนการดำาเนิ นงานที่ชัดเจน
แผนงานสนั บสนุนที่แสดงความเป็ นไปได้ทัง้ ในเชิงเทคนิ ค การ
ออกอากาศ การเงินหรืองบประมาณสนั บสนุน โดยผู้เสนอจัดตัง้
ต้องมีคณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Board) ที่มีตัวแทน
จากภาคราชการในท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน องค์กรการ
กุศล ที่สะท้อนความเป็ นตัวแทนของชุมชนได้อย่างชัดเจนมาทำา
หน้ าที่ในการกำากับ ดูแล สนั บสนุนการดำาเนิ นการเป็ นสำาคัญ
การเปิ ดกว้างทัง้ ในด้านเทคนิ ค แผนงาน ลักษณะการ
ดำาเนิ นงานและการจัดรายการที่ควบคู่ไปกับข้อกำาหนดพื้นที่เหล่า
นี้ ได้นำาพาให้สถานี วิทยุชุมชนในประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มดำาเนิ นการ
ไปอย่างก้าวหน้ าที่พัฒนาการทัง้ ในรูปแบบและเนื้ อหา อันเป็ น
ส่วนที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประชาชนคนธรรมดาที่
สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการสื่อสารชุมชนเพื่อ
ชุมชน ซึ่งถือเป็ นบทเรียนอันสำาคัญที่สังคมไทยพึงได้เรียนรู้

You might also like