Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

กรณีศึกษา บริษัท ไทยคราฟ แฟรเทรด จำกัด

(ThaiCraft Fair Trade Co., Ltd)

1. ภาพรวมธุรกิจ

1.1 ประวัติ ความเปนมา


การเริ่มตนธุรกิจมาจากกลุม The ThaiCraft Association เปนองคกรพัฒนาอิสระที่มีชื่อเดิมคือ Hilltribe
Sales จัดตั้งขึ้นโดยอาสาสมัครของ International Church of Bangkok และมีงานแสดงสินคาซึ่งจัดขึ้นที่
โรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ (International School Bangkok) ระหวางป ค.ศ. 1975-1992 โดยอาสาสมัคร
เปนแมบานชาวตางชาติจะนำสินคาหัตถกรรมจากกลุมชางฝมือในตางจังหวัดมาขายทุกวันอาทิตย และสง
รายไดกลับไปยังผูผลิต

ในชวงปแรกของการจัดงานแสดงสินคา องคกรไดรับทุนจากองคกรของประเทศอังกฤษ คือ ODA/


Oxfamและของประเทศเนเธอรแลนด (ICCO) นอกจากนี้ยังใชเงินปนผลบางสวนจากการจัดงานในการ
ดำเนินโครงการ จากนั้นไมนานไดเปลี่ยนชื่อเปน ThaiCraft Sales และกลายเปนองคกรที่สามารถรักษา
ความเปนอยูทางการเงินไดดวยตนเอง (financially self sufficient)

รูปแบบการจัดงาน ThaiCraft Sales คือตลาดสินคาหัตถกรรมครึ่งวัน โดยปหนึ่งจัดขึ้นแปดครั้ง ที่ศูนย


ประชุมแหงชาติสิริกิติ์ หลังจากนั้นไดใชโรงแรมแลนดมารค สุขุมวิท โรงแรมอิมพีเรียล ธารา สุขุมวิท และ
โรงแรม แอมบาซาเดอร (Ambassador Hotel) เปนสถานที่จัด ตอมาในป ค.ศ.2003 จึงจัดงานขึ้นแสดง
สินคาเปนรายเดือน โดยรวมมือกับกลุมผูผลิตหัตถกรรมในทุกภาค ทั้งนี้ ThaiCraft ไมตองการจำกัดเฉพาะ
ชุมชนคริสเตียนอยางเดียว จึงเปนหุนสวนทางธุรกิจกับกลุมชางฝมือจากทุกภาคและศาสนา

งาน ThaiCraft Sales ไดมีการเปลี่ยนชื่อเปน ThaiCraft Fairs ในเดือนเมษายน ป 2006 ซึ่งไดรับกระแส


ตอบรับที่ดีจากผูบริโภค องคกรจึงตองการขยายฐานสูผูบริโภคใหกวางขึ้น มีการจัดงานในสถานที่อื่นๆ เชน
โรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ (International School Bangkok) จังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลบำรุงราษฐ
สุขุมวิท และยังมีเปาหมายที่จะจัดงานยอยๆในพื้นที่ใหมๆ

ในระยะเวลาตอมาองคกรอิสระภายใตชื่อ The ThaiCraft Association ถูกเปลี่ยนชื่อเปนบริษัทจำกัด


(limited company) เพื่อความสะดวกในการพัฒนาตลาดใหกวางขึ้น

ทางดานการสงออกนั้น บริษัทมีการสงออกตั้งแตตนแตในปริมาณนอย หลังจากไดรับความสนใจจากผูนำ


เขา ประกอบกับการลดคาของเงินบาทในวิกฤติเศรษฐกิจป ค.ศ. 1997-1998 องคกรจึงเปลี่ยนโครงสราง
การทำงานใหม โดยจดทะเบียนเปนบริษัทจำกัด ภายใตชื่อ ThaiCraft Fair Trade Company Limited เพื่อ
เพิ่มยอดขายในประเทศและตางและตางประเทศ และวาจางพนักงานชาวไทยใหทำงานโดยตรงดานการ
คาขายทั้งในและนอกประเทศ ที่ผานมาบริษัทไดวาจางพนักงานเพิ่ม และเนนจางบุคลากรรุนใหมใหเปน
trainee managers ทั้งนี้เพื่อเนนการพัฒนาที่กาวไปขางหนาในอนาคต (forward looking future)
นอกจากนั้นไดมีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตอการคาและจัดเก็บขอมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการใหบริการ และลดตนทุน ทำใหสามารถเสนอสินคาคุณภาพในราคายอมเยา

1.2 แนวคิดธุรกิจ
แนวคิดของบริษัทคือ เปนบริษัทประกอบการคาที่เปนธรรม(Fair Trade Company) ที่ใหชองทางการตลาด
ที่ยั่งยืน และใหการพัฒนาแกชางฝมือไทย และเปนทางเลือกที่ดีกวาใหแกผูบริโภคสินคาหัตถกรรม เพิ่ม
ทักษะใหกับผูผลิตในเรื่องของการผลิตและการประกอบธุรกิจ และทำใหกลุมชางฝมือตามทองถิ่น สามารถ
พึ่งพาตนเองได เพื่อไมใหกลุมเหลานี้พึ่งเงินบริจาค โดยสามารถนำผลิตภัณฑมาทำการคาไดดวนตนเอง

1.2.1 การจัดตั้งเปนนิติบุคคลประเภทบริษัท จำกัด


ThaiCraft เกิดจากการที่กลุมสมาคมแมบาน expat ตองการชวยเหลือชุมชนโดยการสรางรายไดใหกับชาง
ฝมือในตางจังหวัด และตองการชวยรักษาวัฒนธรรมอันดีงามและฝมือหัตถกรรมของไทยไวใหยั่งยืน ดังนั้น
จึงจัดตลาดจำหนายสินคาใหกับชาวตางชาติ และทำเชนนี้ในรูปแบบขององคกรอิสระ โดยมิไดคิดทำเปน
ธุรกิจตั้งแตแรก แตตอมาเมื่อกิจการขยายโดยมีผูตองการผลิตและผูตองการซื้อสินคาที่ชัดเจน เขาขายเปน
กิจกรรมการคา จึงมีความคิดวาหากทำกิจกรรมเชนนี้ตอไป จำเปนตองวาจางทีมงานประจำที่ชวยดานการ
ตลาดและการจำหนาย เมื่อมีรายไดและรายจายไปจนถึงกิจกรรมทางการคาที่ชัดเจน จึงเห็นสมควรวา
ตองเปลี่ยนโครงสรางสมาคมใหเปนนิติบุคคลที่จดทะเบียนอยางถูกตองประเภทบริษัทจำกัด

เหตุขางตนเปนเพราะวา ตามกฏหมายไทยนั้น องคกรในรูปแบบสมาคมไมสามารถทำการคาโดยใชรายได


จากการขายสินคา/ผลิตัณฑมาเปนรายไดขององคกร อีกทั้งกฎหมายไทยไมมีการจดทะเบียนนิติบุคคลที่
รองรับกับการทำการคานอกเหนือจากการจดทะเบียนเปน หางหุนสวนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด ดังนั้นการ
จดเปนบริษัทจำกัดจะ ทำใหองคกรสามารถประกอบธุรกรรมเชนบริษัทเอกชนทั่วไป แตสามารถรักษา
วัตถุประสงคในการพัฒนาและสนับสนุนผูผลิตหัถกรรม ซึ่งเปนวัตถุประสงคหลัก

การทำธุรกิจในคราบนิติบุคคลที่เปนบริษัทนั้นจะตองจายภาษีใหกับรัฐโดยหักจากกำไรเฉกเชนบริษัท
เอกชนทั่วไป ตางจากเมื่อจดทะเบียนเปนนิติบุคคลแบบสมาคม ซึ่งจะตองจายภาษีที่หักจากรายได รอยละ
สิบ (10% of revenue) Thaicraft จึงมีขอไดเปรียบเมื่อเปลี่ยนแปลงโครงสรางทางนิติบุคคลมาเปนบริษัท
จำกัด อีกทั้งการจดทะเบียนเปนบริษัทจำกัดจะเพิ่มความเปนไปไดในการการขยายและการกระจายกิจการ
เชน การขยายไปสูตลาดตางประเทศและการขอเอกสารอนุญาติการสงออก (export license) ซึ่งนิติบุคคล
ประเภทสมาคมอาสาสมัคร ไมสามารถทำได

1.3 วัตถุประสงค
วัตถุประสงคหลักของบริษัทคือการสรางรายไดใหแกชางฝมือในหมูบานและเพื่อรักษาประเพณีและ
สืบทอดงานฝมืออันมีคาของประเทศ สุดทายคือเพื่อปรับใชและสนับสนุนหลักการคาที่เปนธรรมแบบ Fair
Trade
1.4 วิสัยทัศน
วิสัยทัศนที่เกิดจากวัตถุประสงคขางตน คือการเปนผูนำตลาดสินคาหัตถกรรมคุณภาพสูง เพื่อสรางผล
ประโยชนทางเศรษฐกิจแกชุมชน และผูผลิตที่ดอยโอกาสในประเทศไทย

วิสัยทัศนดังกลาวสามารถแตกออกมาเปนพันธกิจ ดังนี้:
• สามารถหาและพัฒนาชองทางการตลาดที่ยั่งยืนใหกับกลุมชางฝมือไทย
• เสนอทางเลือกใหมใหแกกลุมผูบริโภคสินคาหัตถกรรมรุนใหม
• ชวยพัฒนาศักยภาพในการผลิตและการจัดการของผูผลิต
• สามรถทำใหกลุมชางฝมือหมูบานสามารถพึ่งพาตนเองได
• สรางโอกาสทางธรกิจใหกับกลุมชางฝมือ ทำใหไมตองพึ่งพาการบริจาค

1.5 ขั้นตอนการเริ่มดำเนินการ
ดานการหาผูผลิตนั้น บริษัทThaiCraftจะลงพื้นที่ไปหาเองโดยอาศัยผานเครือขายทองถิ่น NGO และหนวย
งานราชการในพื้นที่ เชนกรมพัฒนาชุมชน เปนหลักในการแนะนำแหลงชุมชนที่ทำงานหัตถธรรม
โดยThaiCraft จะเขาไปเชิญชวนใหมาทำการคาผานTradeFair ทั้งนี้การเขาหาผูผลิตนั้นไมเจาะจงแค
เฉพาะบางพื้นที่แตตองการเขาถึงทุกพื้นที่ ซึ่งหลังจากที่ThaiCraftเองมีชื่อเสียงเปนที่รูจักมากขึ้น จึงมีกลุม
ผูผลิต/ผูประกอบการบางรายที่มาเสนอผลิตภัณฑของตนใหพิจารณา

1.6 สรุปผลการทำงานที่ผานมา
ตลอดการทำงานของ ThaiCraft Fair Trade Co., Ltd มีประสบการณในการสงเสริมกลุมชางฝมือผูผลิต
จำนวนมาก ซึ่งเปนเจาของผลิตภัณฑดานหัตถกรรม อาหาร และเครื่องอาบน้ำเปนตน ดังนี้:
• Aranyik
• Araya Clay & Craft
• Ban Chang Designs
• Bang Chao Cha
• Ban Nong Salap
• Ban Talae Nok
• Chachoengsao Crafts
• Chainat Baskets
• Doi Tao
• Fai Gam Mai
• Karen Silver
• Lanna Cafe
• Lao Song
• Nan Hattakam
•Narathiwat Baskets
•Nong Takai
•Padang Coconut
•Panmai
•Pla Tapien
•Prae Pan
•Pru Teow Batik
•Saori Crafts
•Sarapee Lamps
•Sa Sri Moom
•Shadow Puppet
•Soap Carring
•Songkha Flowers
•Surin Silver
•Tai Song Dum
•Thai Tribal Craft
•Thai Loei
•U-thong Quilts

2. ผลิตภัณฑ/ บริการ

2.1 ภาพรวมผลิตภัณฑ/บริการ
ThaiCraft ไมมีผลิตภัณฑ เปนของตัวเอง กลาวคือ ไมไดเปนผูผลิต และไมมีความเกี่ยวของใดๆทั้งสิ้นกับ
การผลิตสินคาหัตถกรรมของชาวบาน ดังนั้น รายไดของ ThaiCraft มาจากการใหบริการจัดหาตลาดใหผู
ผลิตเหลานี้แสดงสินคา นอกจากนี้ ThaiCraft ยังการใหบริการที่ปรึกษาเรื่องการตลาด การออกแบบ
ผลิตภัณฑ และการผลิตใหตรงกับกลุมเปาหมาย

ตัวผลิตภัณฑนั้นมาจากกลุมผูผลิตที่เปนชาวบานโดยตรง และมีการขนสงเขามาตามโอกาสที่ไดแสดงตาม
งานแสดงสินคา (Trade Fair) ของ ThaiCraft โดยที่ ThaiCraft ไมไดเขาไปตรวจคุณภาพผลิตภัณฑทุกชิ้น
แตจะประเมินจาก feedback ของลูกคาในงาน หลังจากนั้นจึงเสนอคำแนะนำใหผูผลิตปรับรูปแบบและวัถุ
ดิบใหตรงกับความตองการของตลาด

ดังนั้น ThaiCraft จึงไมมีสวนเกี่ยวของโดยตรงกับกระบวนการผลิต แตจัดใหเปนหนาที่ของผูผลิตเอง และ


หากวาผูผลิตไมสามารถปรับสูความพอใจของลูกคาได ก็จะไมสามารถทำยอดขายในตลาด และออกจาก
การเปน partnerในที่สุด ซึ่งเคยปรากฏในอดีตโดยที่ผูบริหารไมไดเปดเผยขอมูลผูผลิตดังกลาว
ThaiCraft มีเกณฑในการแสดงสินคา โดยที่สินคาจะตองเปนสินคาหัตกรรมเทานั้น และตองตั้งราคาให
เหมาะสมกับกลุมผูบริโภคและคุณภาพของสินคา ซึ่งคุณภาพจะตองไดมาตรฐาน เชน ถาเปนเครื่องครัว
หรือเครื่องประดับเงิน ตองมีเลขประทับบงชี้ความบริสุทธิของเงิน เปนตน ดานประเภทสินคา เจาหนาที่ของ
ThaiCraftจะมีหนาที่ในการคัดสรรผลิตภัณฑตางๆเพื่อหาผลิตภัณฑที่เหมาะสมกับความตองการของ
ตลาดชาวตางชาติ ผลิตภัณฑดังกลาวเชน สิ่งทอ สิ่งประดิษฐที่ทำจากธรรมชาติ สิ่งประดิษฐที่ทำจากขยะ
พลาสติก เครื่องครัว เครื่องประดับ และของตกแตงบาน เปนตน โดยที่ไมจำกัดชนิดของสินคาตอภูมิภาค
ใดโดยเฉพาะ

ประเภทผลิตภัณฑจากกลุมผูผลิตของ ThaiCraft มีดังนี้:


• เครื่องประดับ
• เสื้อผา
• สิ่งทอ
• ของใชภายในบาน
• เครื่องสาน
• สินคาตกแตงบาน
• เครื่องเขียน
• เครื่องดนตรี
• ของเลนเด็ก

2.2 ศักยภาพและขอบเขตของผลิตภัณฑ/บริการ
ในการจัดตั้งในรูปแบบของการเปนหุนสวนกับกลุมหัตถกรรมนั้น ThaiCraft จะทำ Memorandum of
Understanding หรือ MOU (บันทึกความเขาใจ) เปนการตกลงรวมกัน แทนที่จะใชสัญญาที่มีเกณฑบังคับ
ชัดเจน โดยThaiCraftคาดหมายวาหุนสวนตองมีคุณสมบัติที่เปนกลุมกอนของคนที่ทำธุรกิจอยูแลว และมี
แผนธุรกิจและแผนการผลิตที่ชัดเจน

ขอบเขตการใหความชวยเหลือหุนสวนคือแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการออกแบบใหตรงกับ
ความตองการของตลาดเทานั้น ถาเปนกลุมชุมชนที่ไมมีสินคาที่พัฒนามาแลวชัดเจนThaiCraft จะไม
พิจารณารวมธุรกิจดวย และการใหบริการของThaiCraft คือการเปนตลาดกลางสำหรับการคาระหวางกลุม
ผูผลิตในตางจังหวัดและผูบริโภค ซึ่งสวนใหญเปนชาวตางชาติ ซึ่งถือเปนบริการหลักของThaiCraft
นอกจากนี้ยังชวยเรื่องการตลาด ซึ่งจุดเดนคือสามารถให feedbackจากตลาดไดโดยตรง

ปจจุบันเปนหุนสวนที่เปนผูผลิตประมาณ 70 รายทั่วประเทศ โดยมาจากทุกภูมิภาค ศาสนาและ


วัฒนธรรม/ภูมิหลัง ซึ่งประมาณรอยละ สี่สิบของผูผลิตทั้งหมด 70 รายคือผูผลิตที่เปนหุนสวนในระยะยาว
กลุมผูผลิตเหลานี้ไดแก:
• กลุมผูขาดแคลน groups with special needs
• กลุมผูดอยโอกาสทางสังคม การเมือง หรือกลุมที่ประสบปญหาเรื่องสิ่งแวดลอม
• สหกรณหมูบานในชนบท
• โครงการตางๆในสลัม (slum projects)
• โครงการในชุมชนขนาดเล็ก

โดยผูผลิตทุกรายที่ตองรับทราบและสามารถทำตามขอบังคับของการทำการคาที่เปนธรรม (Fair Trade)


เพื่อใหสอดคลองกับมาตรฐานสากล ตั้งแตการวาจางแรงงาน กระบวนการผลิต จนถึงการตั้งราคา กอนที่
จะทำการตกลงตาม MOU ในฐานะหุนสวนทางการคาของ ThaiCrafts Fair Trade Co.,Ltd ซึ่งมีระบุใน
หัวขอ 4.2.1

3. โอกาสทางธุรกิจ

3.1 แผนการตลาด
เนื่องจากบริษัทเนนการใหบริการดานการตลาด กลาวคือจัดสถานที่และโอกาสใหกลุมผูผลิตไดจำหนาย
สินคา จึงจำเปนจะตองมีทีมงานดานการตลาดและPublic Relationsที่คอนขางแข็งแกรง อยางไรก็ตาม
การบริหารงานของThaiCraftpยังยึดแนวคิดวา บริษัทมีที่มาจากสมาคมอาสาสมัครชาวตางชาติ และมีผู
บริโภคเปนชาวตางชาติในกรุงเทพมานับหลายสิบป ทำใหมีตลาดผูบริโภคหัตถกรรมที่เหนียวเนนชัดเจน
และมีBrand Awareness พอสมควร ประกอบกับผูบริโภคมีกำลังซื้อสูง ซึ่งกลุมผูบริโภคนี้มีการหมุนเวียน
ตลอดเวลาเนื่องจากเปนกลุมชาวตางชาติที่เขามาพำนักประเทศไทย(expats)เปนระยะเวลาประมาณ2-4ป
ดังนั้นThaiCraftจึงแสดงตำแหนงทางการตลาด Market Positioning ตนเองเปนTrade facilitator ใน
ตลาดที่มีชัดเจนอยูแลว และเปนตลาดที่มีรายไดคอนขางดีกวาตลาดผูบริโภคชาวไทย

3.1.1 แผนการขายสงในประเทศและนอกประเทศ
ความทายตอไปคือการขยายตลาดไปสูชาวตางชาติในตางประเทศและสูคนไทยภายในประเทศ เพื่อเพิ่ม
ฐานผูบริโภค ขั้นตอนแรกคือใหชื่อของบริษัทเปนที่รูจักของผูบริโภคมากขึ้น ซึ่งแผนการพัฒนาการขาย
ลักษณะ wholesale หรือ ขายสง เปนชองทางการทำการตลาดดังกลาว โดยที่ผานมาบริษัทไดมีการขายสง
ใหตางประเทศ แตในอัตราไมมาก
c
การขายสงใหตางประเทศ เปนไปในลักษณะที่หาตัวแทนจำหนายในตางประเทศ และจัดใหสินคา
หัตถกรรมของผูผลิตไดแสดงใน งานแสดงสินคา trade expo และตาม Outletตางๆ ภายใตชื่อของ
ThaiCraft Fair Trade Co.,Ltd สวนการขายภายในประเทศนั้น มุงเปาหมายไปที่บริษัทตางๆที่ตองการ
สินคาหัตถกรรมเปนของชำรวยใหแกลูกคาและพนักงาน
3.1.2 Branding
ในการขายสงในประเทศและตามงานแสดงสินคาของ ThaiCraft Fair Trade นั้น มีการติดปายระบุวา
ผลิตภัณฑเปนสินคา ThaiCraft ซึ่งบงชี้ใหเห็นวาเปนผลิตภัณฑคุณภาพที่คัดสรรมาแลว และเปนไปตาม
มาตรฐานFair Trade ของสากล ในขณะเดียวกัน ตัวผลิตภัณฑเองก็มี brand ของกลุมผูผลิตติดอยูเชนกัน
แสดงใหผูบริโภคทราบวามิไดเปนการนำสินคาของกลุมผูผลิตหัตถกรรมมาขายตอแตอยางใด brand ของ
ThaiCraft จึงเปน brandที่แทนตัวผูจัดงาน และไมใช brandของสินคา

3.2 ความสัมพันธกับผูผลิต
ดานความสัมพันธกับผูผลิตนั้นบริษัทเริ่มโดยเปนหุนสวนกับกลุมชางฝมือ 25 กลุมในหมูบานในภาคกลาง
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอมาในภาคใต ในป ค.ศ. 1995 ปจจุบันบริษัทเปนหุนสวน
(partner) กับกลุมชางฝมือทั้งหมด 70 กลุมจากทุกภาคทั่วประเทศ โดยที่มีการพบปะสื่อสารระหวาง
ตัวแทนจากแตละกลุมและอาสาสมัคร และระหวางกลุมกันเอง บนเวทีที่ทางบริษัทจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยน
ความรูและประสบการณในการทำธุรกิจรวมกัน นอกจากนี้ บริษัทไดรับทุนจำนวนหนึ่งจากมูลนิธิ Ford
Foundation และกองทุน Canada Fund เพื่อการฝกอบรมและพัฒนาความสามารถการผลิตของกลุมฝมือ
ในหมูบานเหลานี้อีกดวย

3.3 วิเคราะหตลาด และคูแขง


การทำธุรกิจในลักษณะที่เปนหุนสวนกับกลุมชุมชนหัตถกรรมในชนบทนั้น มีองคกรและบริษัททำอยู
จำนวนหนึ่ง และในกลุมนั้นก็มีจำนวนหนึ่งที่มีลูกคากลุมเปาหมายเปนชาวตางชาติ แตลักษณะการทำ
ธุรกิจที่มีการคาโดยผาน Trade Fair โดยที่ใหกลุมชางฝมือนำสินคามาขายดวยตอนเองนั้น พบ
วาThaiCrafts Fair Trade ไมมีคูแขงทางการตลาดอยางแทจริง

3.3.1 กลุมลูกคา
ลูกคาเปาหมายของบริษัทคือผูบริโภคหัตถกรรมและผลิตภัณฑทองถิ่น เปนผลิตภัณฑที่มีคุณคาทางความ
งามและมีประโยชนในการใชสอยควบคูกัน กลุมผูบริโภคมีความตองการสินคาที่มีที่มาทางวัฒนธรรมมี
เรื่องราว กลุมผูบริโภคนั้นมีสำนึกในการชวยเหลือสังคม กลาวคือบริษัทตองการใหลูกคาแนใจวารายได
จากการขายนั้นจะมีผลกระทบใหเกิดการพัฒนารายไดแกชางฝมือ และไมเปนอันตรายตอสิ่งแวดลอม

ลูกคาสวนใหญเปนกลุมชาวตางชาติที่มีรายไดคอนขางสูง และมีกำลังในการซื้อมาก ในขณะเดียวกันก็มี


กลุมลูกคาที่เปนชาวไทยก็เพิ่มขึ้นจากอดีต

3.4 วิเคราะหการเติบโตของธุรกิจ
บริษัทวางแผนที่จะเติบโต ในตลาดภายในประเทศ ซึ่งยังคงยึดตลาดผูบริโภคจากงานแสดงสินคาเปนราย
ไดหลัก และมีความตองการขยายตลาด โดยการจัดงานแสดงสินคาในพื้นที่อื่นๆนอกเหนือจากกรุงเทพฯ
และการจัดงานแสดงสินคาใหมีระยะถี่ขึ้นตามความเหมาะสมของกลุมลูกคาเปาหมาย โดยมุงเปาหมาย
ไปตามโรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาลที่มีลูกคาชาวตางชาติจำนวนมาก และตามงานสัมมนาตางๆที่
เกี่ยวของกับผูแทนนานาประเทศ

รายไดรองลงมาคือการขยายตลาดขายตรงในตางประเทศ ซึ่งลูกคาหลักคือ ประเทศอเมริกาและกลุม


ประเทศยุโรป เชนอังกฤษ และ เนเธอแลนด เปนตน โดย ในป ค.ศ. 2008 ลูกคาในตลาด wholesale ตาง
ประเทศของ Thaicraft ไดแก ประเทศในทวีปยุโรป (อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอแลนด) สี่สิบเปอรเซ็นต
ตามดวย อเมริกา (สามสิบเปอรเซ็นต) ญี่ปุน (ยี่สิบปอรเซ็นต) และ ออสเตรเลีย ซึ่งมีเปอรเซ็นตของตลาด
สิบเปอรเซ็นต โดยประมาณ การขายตรงในตางประเทศนั้นเนนที่การขายใหราน wholesale เชนใน เนเธอ
แลนด และผูขาย online เปนสวนมาก

รายไดอันดับสามของบริษัทมาจากการขอยตรงในประเทศไทย ซึ่งเปนตลาดใหมและกำลังขยับขยาย
ตลาดนี้มุงเนนขายกับบริษัทตางๆในงานเทศการ เพื่อเปนผลิตภัณฑสัมมนาคุณใหกับลูกคา และ/หรือ
พนักงาน

4. ผลทางสังคม/สิ่งแวดลอม

4.1 การใชอาสาสมัครในการทำงาน
ดานการใชอาสาสมัคร ThaiCraft Fair ใชทั้งรายบุคคลและเปนกลุมเพื่อสนับสนุนใหเกิดความเชื่อมโยงอัน
ใกลชิดระหวางผูจัดและผูผลิต ถือเปนเอกลักษณที่โดดเดนของธุรกิจนี้ โดยองคกรพยายามใชอาสาสมัคร
จากหลายพื้นที่หลายเชื้อชาติ ซึ่งสิ่งที่อาสามัครไดรับตอบแทนมาคือประสบการณตรงดานการทำงาน ได
สัมผัสกับวัฒนธรรมพื้นบานของประเทศไทย โดยThaiCraftจัดทัวรเยี่ยมผูผลิตและชางฝมือตามหมูบานใน
ภูมิถาคตางๆของประเทศไทย นอกจากนี้มีอาสาสมัครที่เปนนักเรียนของโรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ
(International School Bangkok)มาชวยงาน Fair ซึ่งเปนสวนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา คือ การทำงาน
ชวยเหลือสังคม

4.2 การใชหลัก Fair Tradeในการทำการคา


สาเหตุของการตั้งสมาคมในชวงแรก คือความตองการที่จะเปนตลาดสำคัญใหกับชุมชนผูผลิตหัตถกรรมที่
เปนธรรมทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากพบวาผูผลิตไมไดรับการเปนธรรมเพราะโดนนายทุนเอาเปรียบ
ดังนั้นในการทำงานกับผูผลิตจึงเปนจุดยืนของบริษัทตลอดมาวาบริษัทจะเขาหาผูผลิตในฐานะที่เปนผูรวม
การทำการคาแตเปนการคาอยางเปนทำ

ตามความจำกัดคำของ Fair Trade ซึ่งเปนแนวคิดสากล มีเครือขายของบริษัททั่วโลกที่ปฏิบัติภายใต


บรรทัดฐานขององคกรชื่อ Fair Trade ซึ่ง Fair Trade มีความหมายโดยรวมวา การทำการคาที่เปนธรรม ซึ่ง
คำจำกัดความนี้บรรยัติขึ้นโดยสี่เครือขายองคกรนานาชาติเพื่อการคาที่เปนธรรม (Fairtrade Labelling
Organizations International, World Fair Trade Organization, Network of European Worldshops
และ European Fair Trade Association) แนวคิดของ Fair Trade คือการคาที่โปรงใสและการทำธุรกิจ
ดวยความเคารพซึ่งกันและกันและเพื่อความเทาเทียมทางการคาสากล ซึ่งสงผลใหเกิดการคาที่ยั่งยืน และ
การปกปองสิทธิของผูผลิตและแรงงาน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การคาที่เปนธรรมนี้กอตั้งขึ้นเพื่อ
เปนขอพิสูจนวาธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จไดดวยการใหความสำคัญที่ตัวบุคคลเหนือผลประโยชน
อื่นใด 1

ThaiCrafts Fair Trade Co.,Ltdนั้นเปนสมาชิกขององคกรการคาที่เปนธรรมทั้งในระดับโลกและระดับ


ภูมิภาค (International and Regional Fair Trade Organizations) ไดแก:
• WFTO - World Fair Trade Organization (ชื่อเดิมคือ IFAT)
• WFTO-Asia (ชื่อเดิมคือ AFTF-Asia Fair Trade Forum)

4.2.1 ยุทธศาสตรการทำการคาที่เปนธรรม ตามมาตรฐานสากลขององคกร Fair Trade


1) การสรางโอกาส (Create Opportunity)
• เจาะจงที่จะทำงานรวมกับผูผลิตและแรงงานเพื่อชวยใหพนจากสภาพที่เปราะบางไปสูสภาวะที่
มั่นคงและคงอยูไดดวยตนเอง(security and self-sufficiency)

2) เสริมสรางการจางงาน (Enable Empowerment)


• สงเสริมผูผลิต แรงงาน ตลอดจนผูมีสวนไดสวนเสียในองคกร
• สรางการจูงใจ (Promote Influence)
• แสดงบทบาทที่กวางขึ้นในเวทีโลกในการผลักดันใหเกิดการคาที่เปนธรรมในระดับสากล

หลักการขางตนนี้สามารถแปลเปนหลักการทำงานของ ThaiCraft ไดดังนี้:


• รักษาราคาที่เปนธรรมใหกับกลุมชางฝมือผูผลิต
• สนับสนุนผูผลิตที่ดอยโอกาส
• มีสำนึกตอคนและสิ่งแวดลอม
• สรางตลาดใหมใหแกกลุมผูผลิต
• เสริมสรางความแข็งแกรงทางการตลาดใหแกชางฝมือ
• มีความโปรงใสกับผูผลิตและลูกคา

4.3 กิจกรรมการอบรมและพัฒนาชางฝมือ
• จัดการฝกอบรมและใหคำปรึกษาดานการออกแบบผลิตภัณฑ การบริหารและประกอบกิจกรรมทาง
ธุรกิจ

1
"Fair Trade is a trading partnership, based on dialogue, transparency and respect, that seeks greater equity in international
trade. It contributes to sustainable development by offering better trading conditions to, and
securing the rights of, marginalized producers and workers – especially in the South."
• สำรวจ และดูแลความเขาใจเรื่องมาตรฐานการคาที่เปนธรรม (Fair Trade) สำหรับผูผลิตและของตัว
บริษัทThaiCraft Fair Trade Co.,Ltd เอง ซึ่งขยายความไปถึงการมีสภาพแวดลอมการทำงานที่ดี
มีมตารการเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย การไมใชแรงงานเด็ก การรักษาสิ่งแวดลอม เปนตน
• สรางเครือขายใหกับกลุมชางฝมือ เชน จัดงานสัมมนาและ workshop ทั้งในพื้นที่และระดับประเทศ
เพื่อใหขาวสารเกี่ยวกับกระแสผลิตภัณฑและการตลาดของโลก
• รับฟงความเห็นและใหการปรึกษากลุมชางฝมือ และใหมีสวนรวมในการวางแผนธุรกิจ ตลอดจนการ
จัดกิจกรรมและการประเมินผลตางๆ ตามเห็นสมควร

5. แผนการบริหารจัดการ

5.1 ขอมูลบริษัท

ชื่อ:c c ThaiCraft Fair Trade Co., Ltd.


ที่อยู: c c 242 ถนน อาคารสงเคราะห สาย 15 แขวงทุงวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท: c +66 (0)2 676-0636
แฟกซ: cc +66 (0)2 286-0675
Email:c c recruit@thaicraft.org
Website: c www.thaicraft.org
5.2 แผนผังบริษัท

ขอมูลที่ใชประกอบการเขียนทั้งหมด มีที่มาดังนี้:
• การสัมภาษณ ผูจัดการดานธุรกิจ บริษัท ThaiCraft Fair Trade Co., Ltd
• Website: www.thaicraft.org
• ขอมูลจากเอกสารและ brochure จากบริษัท ThaiCraft Fair Trade Co., Ltd

You might also like