โบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 22

โบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

จักรกฤษณ ดาวไธสง โรงเรียนพิมายวิทยา 20 ตุลาคม 2546


ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต (Southeast Asia) เปนดินแดนที่คนพบหลักฐานของการตั้งถิ่นฐาน
และการดํารงชีพของมนุษยในอดีตที่มีพัฒนการอยางตอเนื่องมาเปนระยะเวลาอันยาวนาน เชน เดียวกับดิน
แดนอื่น ๆ ของโลก แตในอดีตนักวิชาการชาวตะวันตกละเลยความสนใจภูมิภาคแหงนี้ เนื่องจากเห็นวาเปนดิน
แดนลาหลังขาดความคิดในการสรางสรรคทางวัฒนธรรม ความเจริญหรือความกาวหนาที่เกิดขึ้นในภูมิภาค
แหงนี้ลวนเกิดขึ้นจากการรับอารยธรรมจากภายนอกทั้งสิ้น
อยางไรก็ตามชวงระยะสามทศวรรษที่ผานมา การคนพบหลักฐานทางโบราณคดีหลายแหงไดกระตุน
ความสนใจของนักโบราณคดีชาวตะวันตกใหหันมาสนใจศึกษาทางโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใตมากขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งหลักฐานพัฒนาการทางวัฒนธรรมและอารยธรรมภายในภูมิภาคที่มีความสืบ
เนื่องยาวนาน

ภูมิหลังทางภูมิศาสตรและกลุมชาติพันธุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตแบงออกเปน 2 สวนใหญ คือ ภาคพื้นแผนดินใหญ (Mainland) และ
ภาคที่เปนเกาะ (Island) กําหนดอาณาเขตของภาคแผนดินใหญตั้งแตเสนขนานที่ 30 ลงมาทางใตสุดแหลม
มลายู ประกอบไปดวย ประเทศไทย พมา เวียตนาม กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย สวนภาคที่เปนเกาะนั้น รวมเอา
หมูเกาะทั้งหลายอันประกอบดวย หมูเกาะที่เปนประเทศอินโดนีเซียและฟลิปปนส ในอดีตชวงสมัยไพลสโตซีน
(Pleistocene) เมื่อประมาณ 3-4 ลานปมาแลว เอเชียตะวันออกเฉียงใตแบงออกเปน 3 ภาคใหญ คือ ภาคแผน
ดินใหญ (Mainland) แผนดินซุนดา (Sundaland) และหมูเกาะทั้งหลาย(Insular) ซึ่ง ดันน (Dunn and Dunn,
1977 : 1-5) ไดกลาวถึงสภาพภูมิประเทศและการเปลี่ยนแปลงระดับน้ําทะเลของภูมิประเทศทั้ง 3 ภาค คือ
ภาคแผนดินใหญ จากสมัยไพลสโตซีน เปนตนมามีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ําทะเลหลายครั้ง น้ําทะเลเคยทวม
ขึ้นทางคาบสมุทรมลายู ชายฝงทะเลของแผนดินใหญอยูบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย
กอนที่น้ําทะเลจะลดระดับเชื่อมโยงกับ แผนดินซุนดา และน้ําทะเลไดลดระดับลงอีกครั้งหนึ่งทําใหแผนดินซุน
ดาเปนเกาะใหญ เชน ชวา สุมาตรา แยกออกจากแผนดินใหญ การลดลงของระดับน้ําทะเลทําใหเกิดหมูเกาะ
ทั้งหลายในบระเวณทิศตะวันออก เชน หมูเกาะฟลิปปนส ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกลาวแบงออกเปน 5 ชวงระยะ
คือ
1. เมื่อประมาณ 35,00 - 25,000 ปมาแลวน้ําทะเลทวมแผนดินจมลงพื้นที่คงมีสภาพเชนเดียวกับปจจุบัน
2. ชวงระหวาง 25,000 และ 22,000 ปมาแลว ระดับน้ําทะเลลดลงอยางรวดเร็ว ต่ํากวาระดับปจจุบันประมาณ
100-120 เมตร
3. ระดับน้ําทะเลคงยังต่ําถึง 120 เมตร เปนเวลา 4,000 ป ซึ่งเปนชวงเวลา 22,000-18,000 ปมาแลว
-2-

4. ประมาณ 18,000 และ 15,000 ป มีน้ําทวมจนกระทั่งถึงสมัยไพลสโตซีนตอนปลายเมื่อประมาณ 10,000 ป


มาแลว น้ําทวมใหญ ระดับน้ําเฉลี่ยอยูในอัตรา 10−-15 เมตร ของระดับปจจุบัน
5. หลังจากสมัยไพลสโตซีนมีน้ําทวมอีกครั้งหนึ่งทําใหระดับน้ําทะเลสูงขึ้น จากปจจุบัน 3-4 เมตร ซึ่งมีหลักฐาน
จากการพบกองเปลือกหอยล้ําเขามาในแผนดินชายฝงทะเลทางตะวันออกของสุมาตรา ประมาณ 10 กิโลเมตร
รวมทั้งแหลงโบราณคดีอื่น ๆ ที่พบกองเปลือกหอยที่คนกินและทิ้งไวทางแถบชายฝงทะเลตะวันตกเฉียงเหนือ
ของมาเลเซีย
สภาพภูมิประเทศปจจุบันของเอเชียตะวันออกเฉียงใตจึงแบงออกเปน 2 สวนอยางชัดเจน คือ ภาคผืน
แผนดินใหญ (Mainland) และบริเวณที่เปนเกาะ(Island) อาณาเขตทางเหนือสุดของผืนแผนดินใหญเปนแนว
เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขายอย ๆ ที่แบงเอเชียตะวันออกเฉียงใตกับเอเชียใต ดังนั้นผืนแผนดินใหญของภูมิ
ภาคนี้จึงประกอบไปดวย แนวเทือกเขา 3 เทือก และที่ราบลุม 4 บริเวณอันไดแกเทือกเขาหิมาลัยซึ่งทอดแนว
จากเหนือลงใตทางทิศตะวันตกของภูมิภาค เทือกเขาตะนาวศรี ทางตอนกลางของภูมิภาคและเทือกเขาอันนัม
ทางทิศตะวันออก พื้นที่ราบลุมประกอบไปดวย 4 บริเวณคือ ที่ราบลุมแมน้ําพรหมบุตร ที่ราบลุมแมน้ําสาลาวิน
แมน้ําอิรวดี ที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยาแมน้ําโขงและที่ราบลุมแมน้ําแดง
สําหรับพื้นฐานทางชาติพันธของกลุมคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต นักวิชาการจัดแบงตามการตั้งถิ่น
ฐานและการดํารงชีพเปน 3 กลุม คือ กลุมชาติพันธุเรรอน เปนกลุมที่เรรอนลาสัตวเก็บเกี่ยวพืชพันธุเปนอาหาร
เชน เซมัง ซาไก และมาบรี หรือผีตองเหลือง กลุมชาติพันธตั้งถิ่นฐานกึ่งถาวร เปนกลุมที่ตั้งพิ่นฐานบริเวณแนว
เทือกเขาตาง ๆ ดํารงชีพอยูดวยการเพาะปลูกพืชไรและปลูกพืชแบบไรเลื่อนลอย เชน ชาวเขาเผาตาง ๆ และ
กลุมชาติพันธุ รัฐประเทศ ไดแกรัฐประเทศที่มีพัฒนาการมาจากอาณาจักรโบราณตาง ๆ ภายในภูมิภาค
นักวิชาการทางดานชาติพันธุภาษาศาสตรไดแบงกลุมชาติพันธุตามลักษณะของตระกูลภาษาออกเปน 4 กลุม
ตระกูลภาษา คือ กลุมไซโนธิเบต (Sino-Tibetan) ประกอบไปดวย จีน ธิเบต พมา กลุมออสโตรเอเชียติค
(Austroasiatic) ไดแก กลุมมอญ เขมร เซนอย เซมัง มาบรี กลุมไต-กะได (Tai-Kadai) ไดแกกลุมที่พูดภาษา
ตระกูลไต เชนไทย ลาว และชาติพันธุไตกลุมตาง ๆ กลุมมาลาโย-โพลีนีเซียน(Malayo-Polynesian) ไดแกกลุม
จามและมาเลย

การลําดับยุคสมัยทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต
เนื่องจากความสนใจในการศึกษาทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีกําเนิดมาจากนักวิชาการ
ตะวันตกโดยเฉพาะยุโรป ซึ่งในระบบการลําดับยุคสมัยกอนประวัติศาสตรจึงแบงชวงอายุจากชวงระยะเวลา
เกาสุดมายังชวงระยะเวลาใหมสุด โดยลําดับยุคสมัยจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีของเครื่องมือ เครื่องใชเปน
หลัก โดยทั่วไปยุคกอนประวัติศาสตรแบงออกเปน 2 ยุค คือ
1. ยุคหิน (Stone age)
-3-

2. ยุคโลหะ (Metal age)


ยุคหินยังแบงออกเปนสมัยยอย 3 สมัย
1. สมัยหินเกา (Polaeolithic period)
2. สมัยหินกลาง (Mesolithic period)
3. สมัยหินใหม (Neolithic period)
ยุคโลหะแบงออกเปน 2 สมัย คือ
1. สมัยสําริด (Bronze period)
2. สมัยเหล็ก (Iron period)
การแบงยุคสมัยดังกลาวแบงตามพัฒนาการของการผลิตเครื่องมือ เครื่องใชของมนุษยหรือเทคโนโลยี
เปนหลัก เมื่อมีการศึกษาทางโบราณคดีเปนระยะเวลายาวนานมากขึ้น นักโบราณคดีที่เขามาศึกษาในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใตเริ่มพบวา การพิจารณาเฉพาะการแบงยุคสมัยทางเทคโนโลยีนั้นไมสอดคลองกับ
พัฒนาการทางวัฒนธรรมสมัยโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ทั้งนี้เนื่องจากความแตกตางหลากหลายทาง
วัฒนธรรมภายในภูมิภาคอายุสมัยที่แตกตางกัน รวมถึงการดํารงชีพ การตั้งถิ่นฐานและสภาพแวดลอมที่แตก
ตางกันที่เปนผลทําใหพัฒนาการทางวัฒนธรรมภายในภูมิภาคนี้แตกตางกันในแตละชวงยุคสมัย การใชเฉพาะ
เทคโนโลยีของเครื่องมือเครื่องใชในการลําดับยุคสมัยอาจทําใหเกิดความสับสนเกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒน
ธรรมในอดีต
การลําดับยุคสมัยทางโบราณคดีเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เริ่มขึ้นจากขอเสนอในการลําดับยุค
สมัยของวิลเลยม จีโซลไฮม (Solheim,1970:153-155) ดังตอไปนี้ คือ
1. ยุคหิน (Lithic) พัฒนาการของการใชเครื่องมือหินเปรียบเทียบไดกับยุคหินเกาตอนตน
2. ยุคไม (Lignic) ยุคของการใชไมและเครื่องมือหิน เปรียบเทียบไดกับพัฒนาการของยุคหินเกาตอน
กลางและยุคหินเกาตอนปลาย
3. ยุคหินขัด (Crystallitic) ยุคของการใชเครื่องมือหินขัด เริ่มตนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว
4. ยุคการขยายตัว (The Extensionistic stage) เริ่มตนทําการเกษตรกรรมบนพื้นที่ราบ รูจักการใช
ทองแดง และหลอหลอมโลหะสําริด เกิดการขยายตัวเปนชุมชนเกษตรกรรมทั่วไป
5. ยุคของความขัดแยง (Conflicting Empire) พัฒนาการของบานเมืองเขาสูอาณาจักรโบราณตาง ๆ
การแบงยุคสมัยของโซลไฮมสองสมัยแรกไดยึดเอารูปแบบทางเทคโนโลยีเปนหลัก สวนสามสมัยหลังนั้นใช
ระบบสังคมและการเมืองเปนหลักในการลําดับยุค ขอเสนอของโซลไฮมไมเปนที่ยอมรับกันเทาใดนัก เนื่องจาก
ความไมชัดเจนของนิยามคําวายุคหินและยุคไมที่แยกชวงสมัยออกจากกัน ซึ่งไมมีหลักฐานสนับสนุน
เชสเตอร กอรแมน ไดแบงพัฒนาการทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใตเปน 3 ขั้นตอนคือ
-4-

1. การใชเครื่องมือหินและไม มีการเปนอยูโดยการลาสัตว เก็บสะสมอาหารและจับสัตวน้ํา และอาจ


เริ่มตนการเพาะปลูกบางแลว
2. การเลี้ยงสัตว รูจักการใชโลหะ เชน สําริดและเหล็ก รูจักการเพาะปลูกขาว
3. การขยายพื้นที่เพาะปลูกจากการรูจักใชเครื่องมือเหล็ก มีการติดตอกับสังคมภายนอก
พัฒนาการทั้ง 3 ขั้น เปนพัฒนาการของการดํารงชีพซึ่งไดพัฒนาการตามพื้นที่ของการตั้งถิ่นฐาน 3 ระดับ คือ
พื้นที่สูง (Upland) พื้นที่ราบเชิงเขา (Pied mond) และพื้นที่ราบลุม (Open Plain)
ปจจุบันนักโบราณคดีสวนหนึ่งไดพัฒนาการแนวความคิดในการลําดับยุคสมัยจากการพิจารณา สภาพสังคม
การดํารงชีพ การตั้งถิ่นฐาน สภาพแวดลอม ตลอดจนความเจริญทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม โดยไดแบง
พัฒนาการทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงได เปน 3 ระยะ คือ
1. สังคมลาสัตว (Hunting and Food-gathering Society)
2. สังคมกสิกรรม (Village Farming Society)
3. สังคมเมือง (Urban Society)
อยางไรก็ตาม การลําดับยุคสมัยดังกลาวยังคงพิจารณาลักษณะทางสังคมในลักษณะของวิวัฒนาการ
จึงทําใหดูเหมือนวาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใตทุกสังคมมีพัฒนาการตามขั้นตอนดังกลาว ซึ่งเทาที่มีการ
ศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่ผานมาพบวา พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมสมัยโบราณในเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใตมีพัฒนาการที่แตกตางกันในชวงเวลาเดียวกันเนื่องจากปจจัยที่เปนองคประกอบสําคัญหลาย
ประการเชน สภาพแวดลอม แบบแผนของการตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยี แบบแผนการดํารงชีพ และการติดตอกับ
สังคมภายนอก ดังนั้นจึงมีการศึกษาโดยอธิบายลักษณะของสังคมและชุมชนตามลักษณะของการดํารงชีพ
การตั้งถิ่นฐาน และวัฒนธรรม เชน ชารลส ไฮแอม (Higham, 1989) กลาวถึงคุณลักษณะทางสังคมในเอเชีย
ตะวันเฉียงใตโดยแบงออกเปน
1. ชุมชนลาสัตวและกสิกรรมเริ่มแรก (Hunter-gatherer Communities and Eearly (Domistication)
2. ชุมชนกสิกรรม (Domestic Communities)
3. พัฒนาการของบานเมืองหรือมันดาละ (Mandalas)
4. อาณาจักรโบราณ (Dydastic History)
หากพิจารณาถึงหลักฐานทางโบราณคดีภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตก็จะพบวาลักษณะของ
การตั้งถิ่นฐานและการดํารงชีพของชุมชนโบราณในภูมิภาคนี้ประกอบไปดวย ชุมชน 3 ลักษณะ คือ
1. ชุมชนลาสัตวเก็บเกี่ยวพืชผล (Hunting and Gathering Groups or Communities)
2. ชุมชนหมูบานเกษตรกรรม (Paddy-field Communities)
3. สังคมบานเมือง(Development of Urban or Ancient Kingdoms)
-5-

มนุษยรุนแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ในการศึกษารองรอยของมนุษยรุนแรกในเอเชียนั้นยังไมพบรองรอยของออสตราโลพิธิคัสดังเชนใน
แอฟริกา สําหรับในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต ไดมีการคนพบโครงกระดูกของโฮโม อีเรคตัส
(Homo crectus) ในประเทศจีนและในชวา ในประเทศจีนมีซากหลักฐานที่สําคัญ คือ มนุษยแลนเทียนและ
มนุษยปกกิ่ง ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใตเทาที่พบหลักฐานมนุษยที่เกาแกที่สุดคือ โฮโมอีเรคตัส ซึ่งพบในชวา
โดยเฉพาะที่ ทรินิล ซานกิราน งานดอง และวัดจัก ซากเหลานี้พบบริเวณที่ราบเชิงภูเขาไฟเดิม ไมมีหลักฐาน
ของเครื่องมือเครื่องใชแตมีกระดูกสัตวที่พบรวมกันคือ ชางสเตโกดอน แรด กวาง และอื่น ๆ (Day ,1977 : 285-
312)
จากการศึกษาโครงกระดูกและซากของกระดูกสัตวนักมานุษยวิทยากายภาพกลาววา มนุษยโฮโมอีเรค
ตัส ที่ชวามีลักษณะคลายกับพวกออสตราโลพิธิคัสในแอฟริกา สันนิษฐานวาโฮโมอีเรคตัสที่ชวาดํารงชีวิตอยู
เมื่อประมาณ 5 แสนป จนถึง 1 หมื่น 5 พันปที่แลวมา ซึ่งคนพวกนี้มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 150
เซนติเมตร ปริมาตรความจุสมองประมาณ 755 ถึง 1,300 ซี.ซี.
การคนพบซากของมนุษยรุนแรกในประเทศจีนและชวาทําใหเกิดขอเสนอที่เปนขอโตแยงกันอยูวา ถิ่น
กําเนิดของมนุษยยุคแรกควรอยูในแอฟริกาหรือในเอเชีย และโดยเฉพาะอยางยิ่งแนวความคิดเกี่ยวกับการ
อพยพของคนรุนแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่พบในชวาหรือมนุษยชวา จากสมมติฐานที่วา โฮโม อีเรคตัส
ในชวาไดอพยพเคลื่อนยายมาจากผืนแผนดินใหญหรือทางตอนใตของจีน
วอน เคอนิคสะวาลดสันนิษฐานวา บรรพบุรุษของมนุษยชวาอพยพมาจากทางตอนใตของจีน โดยผาน
ทางไตหวัน ฟลิปปนสและบอรเนียวในสมัยไพลสโตซีน จนถึงสมัยโฮโลซีน เชนเดียวกับ ไวเดนวิชซึ่งไดศึกษา
เปรียบเทียบซากดึกดําบรรพของมนุษยปกกิ่งของมนุษยชวา โดยเสนอวา มนุษยทั้งสองกลุมมีลักษณะ
คลายคลึงกันซึ่งแสดงถึงความสัมพันธกันอยางใกลชิด อยางไรก็ตาม คอลเบอรทใหความเห็นวา ถิ่นกําเนิดของ
มนุษยชวานาจะอยูในพมามากกวาอินเดียหรือทางตอนใตของจีน และอพยพลงสูชวาโดยผานแผนดินซุนดา ซึ่ง
ปจจุบันกลายเปนดินแดนที่อยูใตทะเล
นักมานุษยวิทยากายภาพสรุปวา ฟอสซิลของมนุษยปกกิ่งและมนุษยชวาเปนมนุษยรุนแรกในเอเชียที่
สามารถปรับตัวใหดํารงอยูไดกับสภาพแวดลอมเมื่อหลายแสนปมาแลว อยางไรก็ตามในเอเชียตะวันออกเฉียง
ใตนอกจากมนุษยชวาและซากของลิงที่พบในบริเวณทะเลเกาของเทือกเขาปอนดองในพมา ซากฟนของลิง
ใหญที่พบททางภาคเหนือของประเทศไทย นักวิชาการยังไมพบหลักฐานของมนุษยรุนแรกในบริเวณอื่น ๆ อีก
ทั้งที่มีหุบเขาตาง ๆ หรือที่ราบที่มีอายุตั้งแตสมัยไพลสโตซีนตอนตนหรือไพลโอซีน ทําใหมีหลักฐานในการอาง
อิงถึงมนุษยและเครื่องมือเครื่องใชของมนุษยรุนแรกอยูนอยมาก
-6-

ชุมชนลาสัตวและเก็บเกี่ยวพืชผล
นักโบราณคดีใชเครื่องมือเครื่องใชของมนุษยเปนหลักฐานในการศึกษามนุษยยุคแรกโดยเฉพาะอยาง
ยิ่งเครื่องมือหินซึ่งเปนเครื่องมือเริ่มแรกของมนุษย ศาตราจารยฮัลลัม โมเวียส (Movius, 1943) ไดสรุปความ
เห็นในการศึกษาเครื่องมือหินในเอเชียและเอชียตะวันออกเฉียงใตวา วัฒนธรรมเครื่องมือหินกรวดในเอเชีย
ตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใตแตกตางกันมากกับสมัยหินเกา ในดินแดนแถบอื่นของโลกเกา เขาเรียก
เครื่องมือหินกรวดที่พบในภูมิภาคแถบนี้วาเปนกลุมเครื่องมือหินกรวดเอเชียตะวันออก ซึ่งมีรูปแบบเครื่องมือ
เปนแบบสับตัด (Chopper--chopping Tool Tradition) เครื่องมือหินเหลานี้มีอายุในสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง
เครื่องมือหินกรวดรุนแรกนี้ไดพัฒนาการมาจากเครื่องมือหินของมนุษยโฮโมอีเรคตัส ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได
กับเครื่องมือหินที่พบใกลกับซากของมนุษยชวาและมนุษยปกกิ่ง ดังนี้โมเวียสจึงสรุปวา เครื่องมือหินกระเทาะที่
ใชอยูในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใตัเปนเครื่องมือแกนหินแบบเครื่องมือสับตัด
อยางไรก็ตามแหลงโบราณคดีสมัยไพลสโตซีนตอนปลายในประเทศจีน และสุลาเวสีตอนใตในชวา
กลับพบเครื่องมือสะเก็ดหินเปนสวนใหญ นักโบราณคดีในปจจุบันคือ โซลไฮมและโกลเวอร ไดใหความเห็นวา
วัฒนธรรมเครื่องมือหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมี 2 รูปแบบคือ เครื่องมือแกนหินและเครื่องมือสะเก็ดหิน รูป
แบบของเครื่องมือสะเก็ดหินไดแพรกระจายจากจีนลงสูตอนใตผานแผนดิน ซุนดา สวนรูปแบบเครื่องมือแกน
หินกรวดยังคงมีการพัฒนาการอยูในแผนดินใหญดังนั้นจึงพบเครื่องมือแกนหินและเครื่องมือสะเก็ดหินขนาด
ใหญในผืนแผนดินใหญ สวนบริเวณหมูเกาะนั้นใชเครื่องมือสะเก็ดหินขนาดเล็ก
การขุดคนทางโบราณคดีของ ศาสตราจารยดักลาส แอนเดอรสัน (Anderson,1988:44-56) ทางภาค
ใตของประเทศไทยไดทําใหความเขาใจดังกลาวเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากพบวา นับตั้งแตสมัยไพลสโตซีนตอน
ปลายจนถึงสมัยโฮโลซีนนั้น ยังมีการผลิตและใชเครื่องมือสะเก็ดหินอยางตอเนื่อง เชนเดียวกับการขุดคนที่ถ้ํา
หมอเขียว จังหวัดกระบี่ ของรองศาสตราจารยสุรินทร ภูขจร (2534:12-16) ที่พบวามีการใชเครื่องมือสะเก็ดหิน
เทากับเครื่องแกนหินในชั้นวัฒนธรรมที่ 2 ถึงแมวาชั้นดินวัฒนธรรมแรกพบเฉพาะเครื่องมือแกนหินก็ตาม
จากชวงสมัยโฮโลซีนตอนตน พบเครื่องมือแกนหินจากหินกรวดทองน้ําหลายแหงภายในภูมิภาคทั้งใน
เวียตนาม ไทย มาเลเซีย และสุมาตรา นักโบราณคดีเรียกชื่อเครื่องมือเหลานี้ตามรูปแบบที่มีการศึกษาครั้งแรก
โดยโคลานี ที่เมืองหัวบินห ประเทศเวียตนามวาเปนเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียนเครื่องมือหินที่พบในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใตตั้งแตสมัยไพลสโตซีน จนถึงสมัยโฮโลซีนตอนตน จึงประกอบไปดวย
1. เครื่องมือแกนหิน ประเภทสับตัด (Chopper-chopping Tool)
2. เครื่องมือสะเก็ดหิน (Flake Tool)
3. เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน (Hoabinhian)
-7-

ปญหาที่สําคัญของการตีความกลุมลาสัตวและเก็บเกี่ยวพืชผล สมัยกอนประวัติศาสตร ในภูมิภาคเอเชียตะวัน


ออกเฉียงใตก็คือ การที่ยังไมพบหลักฐานทางโบราณคดีมากเพียงพอในการตีความวิถีชีวิตและวัฒนธรรมได
อยางชัดเจน นอกจากเครื่องมือหินและซากพืชและสัตวเทาที่มีการศึกษาในบางพื้นที่ซึ่งจะไดกลาวถึงตอไป

แหลงโบราณคดีชุมชนลาสัตวและเก็บเกี่ยวพืชผล

พื้นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุมลาสัตวในเอเชียตะวันออกเฉียงใตระหวาง 10,000-12,000 ปที่ผานมา พบ


หลักฐานวามีการตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่สูงโดยเฉพาะอยางยิ่งตามเพิงผาหินและสวนใหญอยูใกลบริเวณริมแม
น้ําใหญ รวมทั้งบริเวณชายฝงทะเล
บริเวณที่มีการศึกษาหลักฐานของกลุมลาสัตวครั้งแรกในภูมิภาคนี้ คือ แนวเขาตามเขตชายฝงของอาว
บัคโบ (Bac Bo) ในประเทศเวียตนาม จากการขุดคนของ มาเดอลีน โคลานี และ อองรี มองซุย (Madeleine
Colani and Henri Mausuy) ตลอดแนวชายฝงอาวบัคโบไปจนถึงแนวเขาใกลอาวฮาลอง มีการตั้งถิ่นฐานอีก
หลายแหง ชวงสมัยของการตั้งถิ่นฐานเขตชายฝงอยูระหวาง 7,000-6,000 ปมาแลว จนถึง 3,500 ปที่แลวมา
(5,000-4,000 B.C. to 1,500 B.C.) สวนพัฒนาการของดินแดนตอนในคือ วัฒนธรรมซอนวี (Son Vi) ระหวาง
20,000-11,000 ปมาแลว (18,000-9,000 B.C.) วัฒนธรรมฮัวบิเนียน (Hoabinhian) 11,000 ปมาแลว (9,000
B.C.) และบัคซอนเนียน (Bacsonian) 10,000 ปมาแลว(8,000 B.C.) อยางไรก็ตามชวงสิ้นสุดของวัฒนธรรม
ฮัวบิเนียนและวัฒนธรรมบัคซอนเนียน ยังไมเปนที่สรุปชัดเจนแนนอน คาดวาควรจะอยูในชวงประมาณ 5,000-
4,000 ปมาแลว (3,000-2,000 B.C.)
จากการศึกษารูปแบบของเครื่องมือหินที่พบ ศาสตราจารยฮา วัน ตัน แบงรูปแบบของเครื่องมือหินกระ
เทาะเปน 4 รูปแบบ คือ (Ha Van tan, 1976:127-197)
1. เครื่องมือแกนหินกะเทาะจากหินควอทไซท (Quartzite) ขนาดใหญ กะเทาะที่ขอบคลายเครื่องมือสับตัดหรือ
เครื่องมือขูด
2. เครื่องมือหินกะเทาะขอบเปนแนวยาวลักษณะใชดานขางเปนเครื่องมือสับหรือขูด
3. เครื่องมือหินที่กะเทาะสะเก็ดออกทั้งสองดาน
4. เครื่องมือแกนหินที่กะเทาะขอบดานเดียวมีลักษณะเปนเครื่องมือขอบมน (round-edged pebbles)
การขุดคนบริเวณเพิงผา 20 แหง ที่เมืองหัวบินห (Hoa Binh) โดยโคลานี ไดเรียกเครื่องมือหินที่พบในบริเวณ
แหงนี้วา ฮัวบิเนียน (Hoabinhian) และสรุปวาแหลงโบราณคดีแหลงนี้เปนของกลุมที่ดํารงชีพดวยการลาสัตว
และเก็บเกี่ยวพืชผลซึ่งใชเครื่องหินกรวดทั้งที่เปนแกนหินและสะเก็ดหิน ลักษณะคลายกับเครื่องมือหินสมัย
ไพลสโตซีนตอนปลาย จากการศึกษาของโคลานีและการนิยามศัพท เครื่องหินกะเทาะวา ฮัวบิเนียน
-8-
(Hoabinhian) ทําใหนักโบราณคดีเรียกชื่อรูปแบบของเครื่องมือหินกรเทาะที่คลายคลึงกับที่พบในเวียตนามวา
เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน หรือวัฒนธรรมฮัวบิเนียน
ในประเทศอื่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีแหลงโบราณคดีที่พบรองรอยของกลุมลาสัตวหลายแหง
เชน ถ้ําหางเหนือ ถ้ําหางใต และถ้ําพงในประเทศลาว ซึ่งพบเครื่องมือหินกะเทาะและภาชนะดินเผาลายเชือก
ทาบ ถ้ําลางสเปยน (Laang Spean) ในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชามีการขุดคนและหาอายุทางวิทยา
ศาสตรจากตัวอยางถานในชั้นดินพบวามีกิจกรรมของกลุมลาสัตวที่ใชเครื่องมือหินกะเทาะเมื่อประมาณ 6,000
ปมาแลว ถ้ําพาดาหลินในประเทศพมาซึ่งพบภาพเขียนสี การขุดคนพบเครื่องมือหินกะเทาะทั้งเครื่องมือแกน
หินและเครื่องมือสะเก็ดหิน แตพื้นที่แหงนี้ไมมีการหาอายุทางวิทยาศาสตร
เพิงผาหลายแหงในประเทศมาเลเซียไดรับการขุดคนและแหลงโบราณคดีที่สําคัญ คือ กัวชา(Gua
Cha) และกัวเกอชิล (Gua Kechil) ซึ่งพบเครื่องมือหินกะเทาะทั้งเครื่องมือแกนหิน เครื่องมือสะเก็ดหิน การหา
อายุทางวิทยาศาสตรดวยวิธีเรดิโอคารบอน จากตัวอยางถานที่ กัวเกอชีลพบวาอยูในชวงประมาณ 5,600-
4,000 ปมาแลว สวนในประเทศอินโดนีเซียแหลงโบราณคดีที่สําคัญอยูบนเกาะสุมาตรา ซึ่งพบเครื่องมือสะเก็ด
หินชิ้นใหญที่ถูกกะเทาะดานเดียวเพื่อใชสวนของสะเก็ดแบบที่เรียกวา “สุมาตราลิธส” (Sumatraliths) ถึงรอย
ละเกาสิบของเครื่องมือหินทั้งหมด
ในประเทศไทยสํารวจพบแหลงโบราณคดีที่มีเครื่องมือหินกะเทาะหลายแหง และไดมีการขุด
คนทางโบราณคดี ที่ถ้ําเขาทะลุ ถ้ําเมน ถ้ําเพชรคูหา และถ้ําหีบ ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี พบเครื่องมือหิน
กะเทาะและกระดูกสัตว การขุดคนที่ถ้ําผีแมน (Spirit cave) ในเทือกเขาสูงของจังหวัดแมฮองสอน พบรองรอย
ของเครื่องมือหินกรวดซึ่งมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมสองสมัย คือ สมัยแรกราว 12,000-7,500 ปมาแลว มี
เครื่องมือหินกรวดแบบฮัวบิเนียน รวมทั้งซากหลักฐานเกี่ยวกับพืช เชน แตงกวา ฟกเขียว ทอ สมอ พริกไทย
และอื่น ๆ สมัยที่สองราว 7,000-8,000 ปมาแลว พบขวานหินกะเทาะขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา รวมทั้ง
กระดูกสัตวปาหลายชนิด (Gorman, 1972 : 79-109) รวมทั้งที่ถ้ําปุงฮุง(Banyan Valley Cave) ในบริเวณพื้นที่
ใกลเคียงกันดวย
แบบแผนการตั้งถิ่นฐานและการดํารงชีพ
พื้นที่พบหลักฐานกลุมลาสัตวในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมี 2 ลักษณะคือ ถ้ําหรือเพิงผาหินปูน ซึ่ง
กระจัดกระจายอยูโดยทั่วไปในภูมิภาคและบริเวณชายฝงทะเล จากหลักฐานทางโบราณคดี เชสเตอร กอรแมน
(Gorman,1975 : 306) ไดตั้งขอสังเกตวากลุมลาสัตวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีแบบแผนการตั้งถิ่นฐานและ
การดํารงชีวิตในสภาพแวดลอมทั่วไป 2 แบบใหญ ๆ คือ
1. บริเวณที่เปนเพิ่งหินที่เกิดจากการกอตัวของหินปูนซึ่งอยูใกลกับลําธารเล็ก ๆ หรือบริเวณที่มปี าปกคลุม และ
ลักษณะภูมิประเทศแบบกึ่งภูเขาอยูใกลกับแมน้ําลําธาร
2. บริเวณแถบชายฝงทะเล อยูตามถ้ํา หรือเพิงผาใกลทะเล หรือชายฝงทะเล
-9-
สําหรับเศรษฐกิจการดํารงชีพนั้น โคลานี สรุปแบบแผนการดํารงชีพจากการพบหลักฐานในเวียตนามวา กลุมที่
ใชเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียนเปนพวกที่มีระบบเศรษฐกิจการดํารงชีพแบบลาสัตวและเก็บเกี่ยวพืชผล เชน
เดียวกับการพบหลักฐานที่ถ้ําผีแมนและถาปุงฮุงของกอรแมนซึ่งสรุปไดวา รูปแบบของการดํารงชีพของกลุมที่
ใชเครื่องหินแบบฮัวบีเนียนอยูบนพื้นฐานของการลาสัตวจับ ปลา และสะสมพืชอาหารตามธรรมชาติ โดย
ทรัพยากรธรรมชาติไดถูกนํามาใชใหเกิดประโยชนในแตละฤดูกาล
ชุมชนหมูบานเกษตรกรรม
จากหลักฐานการสํารวจและการขุดคนทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใตไดพบรองรอยการตั้งถิ่นฐาน
ของชุมชนเกษตรกรรมกระจัดกระจายโดยทั่วไปในเขตพื้นที่ราบลุม และพื้นที่ราบลุมแมน้ําทวมถึง หลักฐานที่
พบสะทอนใหเห็นถึงระดับของสังคมที่มีความซับซอนมากขึ้น เทคโนโลยีของเครื่องมือเครื่องใชมีทั้งเครื่องมือ
หินขัด โลหะสําริด และเหล็ก ชุมชนมีความเปนอยูโดยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตวและการแลกเปลี่ยนสินคา มี
แบบแผนของการตั้งถิ่นฐานชุมชน การจัดระเบียบทางสังคมและประเพณีพิธีกรรมตาง ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่ง
ประเพณีการฝงศพ ซึ่งปรากฏจากรองรอยของชุมชนเกษตรกรรมหลายแหง
การขุดคนทางโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลุมแมน้ําเจาพระยา ตอนกลาง
ของประเทศกัมพูชาและดินแดนสามเหลี่ยมปากแมน้ําแดงในประเทศเวียตนาม ไดแสดงใหเห็นสภาพการดํารง
ชีพดวยการแสวงหาอาหารจากทรัพยากรตามธรรมชาติและการเพาะปลูกขาว ตลอดจนแบบแผนของการตั้ง
ถิ่นฐานชุมชนตั้งแตเมื่อประมาณ 5,000-6,000 ปมาแลว
การกระจายตัวของชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยูตามบริเวณพื้นที่ราบ
ลุมที่มีแมน้ําไหลผาน (Low Terrace) และพื้นที่ราบลุมแมน้ําทวมถึง (Flood Plain) ของเขตลุมแมน้ําสงคราม
ในแองสกลนคร และลุมแมน้ําชี แมน้ํามูลในแองโคราช ซึ่งอยูในบริเวณที่เรียกวา ที่ราบสูงโคราช จากการศึกษา
รองรอยของการตั้งถิ่นฐานการกระจายของชุมชนจากเครื่องมือเครื่องใชที่พบ ชุมชนโบราณในภูมิภาคนี้
กระจายอยูตามเขตลุมแมน้ํา ซึ่งแบงออกเปน 4 กลุม คือ (ชลิต ชัยครรชิต, 2531 : 30-37 ) กลุมลุมแมน้ํา
สงครามหรือวัฒนธรรมบานเชียง กลุมลุมแมน้ําชีตอนบน กลุมลุมแมน้ํามูลตอนบนและกลุมลุมแมชี แมน้ํามูล
ตอนลาง
การสํารวจทางโบราณคดีในบริเวณที่ราบสูงโคราชหลายแหง ไดพบหลักฐานวามีชุมชนเกษตรกรรม
กระจายอยูโดยทั่วไปในพื้นที่ราบลุมและพื้นที่ราบลุมแมน้ําทวมถึง การขุดคนที่บานเชียงและโนนนกทา แสดง
ใหเห็นถึงกิจกรรมของการดํารงชีพและการตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะการยังชีพดวยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว มี
การเพาะปลูกพืชที่สําคัญ คือ ขาว ในขณะเดียวกันก็มีการหาอาหารจากการลาสัตวและจับสัตวน้ํา การพบ
หลักฐานของการผลิตและการใชเครื่องมือโลหะที่ทําดวยสําริดและเหล็กสะทอนถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยี
และความเจริญกาวหนาทางสังคมเกษตรกรรมที่ตั้งถิ่นฐานถาวร (Sedentary Settlement) ในภูมิภาคนี้ หลัก

-10-
ฐานของการใชสําริดจากการขุคนที่บานเชียงพบวามีอายุประมาณ 4,000 ปมาแลว อยางไรก็ตาม ยังมีขอถก
เถียงเกี่ยวกับอายุการทําสําริดในประเทศไทยวามีอายุถึง 2,000 ปกอนคริสตศักราชหรือ 4,000 ปมาแลวหรือไม
ศาสตราจารยชารลส ไฮแอม(Charles Higham) และศาสตราจารยอิจิ นิตตะ (Eiji Nitta) มีความเห็นตรงกันวา
อายุสมัยของการใชโลหะสําริดที่ราบสูงโคราชไมควรเกาแกไปกวา 1,400 ปกอนคริสตศักราชหรือประมาณ
3,400 ปมาแลว ซึ่งสอดคลองกับอายุของแหลงแรทองแดงที่ภโู ลน จังหวัดหนองคาย ที่มีรองรอยของการถลุงแร
มาใชเมื่อประมาณ 3,000 ปมาแลว
บริเวณลุมแมน้ําชีและแมน้ํามูลมีชุมชนเกษตรกรรมกอนประวัติศาสตรกระจายอยูโดยทั่วไปนอกจาก
การเพาะปลูกขาว การหาอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเปนเศรษฐกิจการดํารงชีพ โดยหลักอีกทั้งยังพบวา
มีอุตสาหกรรมที่สําคัญของภูมิภาคนี้คือ การถลุงเหล็ก และการผลิตเกลือ ชุมชนโบราณในเขตลุมแมน้ํามูลที่มี
รองรอยของการถลุงเหล็กถูกคนพบมากกวา 30 แหง การขุดคนที่บานดงพลอง อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย พบ
วา (Nitta 1991 : 1-26, ชลิต ชัยครรชิต , 2535 : 68-90) นับตั้งแตประมาณ 2,200 ปมาแลว มีการถลุงเหล็ก
แบบทางตรง (Direct Process) ซึ่งเปนสินคาแลกเปลี่ยนที่สําคัญของบริเวณนี้และการมีอุตสาหกรรมการถลุง
เหล็กไดทําใหเกิดชุมชนกระจายในเขตลุมแมน้ํามูลอยางกวางขวาง นอกจากนั้นเมื่อประมาณ 1,700 ปมาแลว
ก็มีการผลิตเกลือซึ่งเปนสินคาสําคัญในชวงบางฤดูกาลและเปนสินคาสําคัญทางเศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่ง สวน
พื้นที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยาทางภาคกลางของประเทศไทยก็มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนหลายแหง
แหลงโบราณคดีบริเวณที่ราบชายฝงทะเลที่สําคัญคือโคกพนมดี อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งพบวาการตั้ง
ถิ่นฐานในระยะแรกเปนชวงที่น้ําทะเลสูงกวาปจจุบัน จึงมีการใชทรัพยากรทางทะเลเปนจํานวนมากอีกทั้งยังตั้ง
อยูใกลกับแมน้ํา ดังนั้นจึงพบวามีการบริโภค ปูปลา และหอย ซึ่งไดจากทะเล ปาชายเลนและแมน้ํา ขาวก็เปน
พืชเศรษฐกิจที่สําคัญอีกประเภทหนึ่งของการดํารงชีพ ชารลส ไฮแอม (Higham, 1989 :85) ตั้งขอสังเกตวา
การเกษตรกรรมเพาะปลูกขาวทําใหชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานถาวรดังเชนโคกพนมดีมีการเติบโตของประชากรเพิ่มขึ้น
อยางรวดเร็ว การพบหลักฐานการรูจักทําภาชนะดินเผา ขวานหินขัด เบ็ดตกปลา ฉมวกที่ทําจากเปลือกหอย
และกระดูก แสดงใหเห็นวา โคกพนมดีเปนชุมชนหมูบานขนาดใหญที่มีสภาพแวดลอมเปนแบบที่ราบชายฝง
ทะเล และมีการตั้งถิ่นฐานตั้งแตประมาณ 4,000 ปมาแลวจนถึงราว 2,000 ปมาแลว
บริเวณลุมแมน้ําแควนอยและแควใหญ มีแหลงโบราณคดีที่สําคัญคือ บานเกา อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ซึ่งพบวาเมื่อประมาณ 3,500-4,000 ปมาแลว มีชุมชนขนาดใหญที่ตั้งอยูใกลกับแมน้ําแควนอย มีการใชขวาน
หินขัด ภาชนะดินเผาหลายรูปแบบและมีการใชภาชนะดินเผาแบบสามขา (Tripod pottery)
สําหรับชุมชนที่มีพัฒนาการของการใชโลหะพบอยูในเขตจังหวัดลพบุรีในชวงประมาณ 3,000-2,500 ปมาแลว
โดยเฉพาะแหลงทองแดงเมื่อ 2,500-1,500 ปมาแลว ที่โนนปาหวาย โนนหมากลา โนนกกหวา และวัดใหม
จังหวัดลพบุรี การพบหลักฐานของการผลิตทองแดงประกอบไปดวย แมพิมพทําดวยดินเผาและแมพิมพสําหรับ
หลอวัตถุโลหะ
-11-
บริเวณที่ราบลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําแดงเขตอาวบัคโปในประเทศเวียตนามเปนพื้นที่กระจายตัวของ
ชุมชนเกษตรกรรม วัฒนธรรมดองซอน (Dong Son culture) ซึ่งเปนวัฒนธรรมการทําโลหะสําริดระหวาง 500
ปกอนคริสตศักราชถึง 100 ปกอนคริสตศักราช (พุทธศตวรรษที่ 1-5) วัฒนธรรมนี้พบครั้งแรกที่ดองซอนใน
จังหวัดธานหัว ประเทศเวียตนาม ลักษณะที่สําคัญของวัฒนธรรมดองซอนคือการทํากลองมโหระทึกสําริด
(Bronze Drum) (ชิน อยูดี, 2529 : 81-82) หลักฐานพัฒนาการของการหลอสําริดวัฒนธรรมดองซอนแบงออก
เปน 3 สมัย คือ สมัยแรกมีประเพณีของการฝงศพที่มีเครื่องปนดินเผาอยูรวมดวย แตพบขวานสําริด มีด และ
หัวลูกศรสําริดนอยมาก ระยะนี้เปนชวงรวมสมัยกับสมัยโกมุน(Go Mun) ของลุมแมน้ําแดงมีอายุประมาณ
1,000-500 ปกอนคริสตศักราช(3,000-2,500 ปมาแลว) สมัยที่สองพบหลักฐานเครื่องใชสําริดจํานวนมากอัน
ประกอบไปดวย ดาบสองคม ดาบ ภาชนะสําริดขนาดใหญ และกลองมโหระทึก อายุในชวง 500-1 ปกอนคริสต
ศักราช (2,500-2,000 ปมาแลว) สมัยที่สาม เปนสมัยที่พบเครื่องใชแบบจีนอยูรวมกับหลุมฝงศพ เครื่องใชแบบ
จีนประกอบไปดวย ตราประทับ เหรียญเงินตรา กระจกเงาสําริดและหัวขวานปลายหอก ซึ่งหลักฐานเหลานี้ตรง
กับรูปแบบในสมัยราชวงศฮั่นของจีน ราวพุทธศตวรรษที่ 5 (Higham, 1989 : 195)
นอกจากในประเทศเวียตนามกลองมโหระทึกวัฒนธรรมดองซอนยังคนพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต บริเวณที่พบหลักฐานกลองมโหระทึก อยูในเขตทางตอนใตของจีน ในประเทศไทยและหมูเกาะอิน
โดนีเซีย โดยเฉพาะในประเทศไทยพบกลองมโหระทึกในเขตลุมแมน้ําโขง แมน้ํามูล ทางภาคตะวันตกในเขต
จังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งทางภาคใตบริเวณชายฝงทะเลที่พบอยูในเขตหลายจังหวัด
ฟรานซ เฮเกอร (Franz Heger) จัดแบงรูปแบบกลองมโหระทึกที่คนพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใตเปน 4 รูป
แบบ คือ
1. เฮเกอร 1 (Heger Type 1) เปนรูปแบบดองซอนที่พบในประเทศเวียตนาม มีลวดลายลักษณะยอย
3 กลุม ลักษณะเดนคือ มีลวดลายรูปคนและรูปสัตว หรือคนแลนเรือเปนสวนประดับ หนากลองมีรูปกบอยู 4
ดาน
2. เฮเกอร 2 (Heger Type 2) เปนกลองขนาดใหญ หนากลองโปงเปนแผนสําริดครอบอยูบนตอน
กลางและตอนลางที่กลมกลืนกัน หนากลองมีรัศมี 8 แฉก
3. เฮเกอร 3 (Heger Type 3) สวนบนกลางและลางกลมกลืนกัน หนากลองมีรูปกบโดยทั่วไปมักมีกบ
หลายตัวเกาะกันเปนชั้น มีหูขนาดเล็กเพื่อแขวนไวกับฐานตั้ง
4. เฮเกอร 4 (Heger Type 4) มีลวดลายแบบจีนหนากลองไมคอยมีรูปกบขนาดเล็กทําในประเทศจีน
และยังมีการใชในจีนทางตอนใตปจจุบัน
รูปแบบกลองมโหระทึกที่พบบริเวณที่ราบลุมสามเหลี่ยมปากแมน้ําแดงเปนรูปแบบเฮเกอร 1 ซึ่งเปนตนกําเนิด
ของกลองมโหระทึกวัฒนธรรมดองซอน ไดถูกคนพบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เชน ลุมแมน้ําโขงในเขต
อําเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เมืองปาเซ แขวงสวันนเขต แขวงจําปาสักในประเทศลาว และที่
-12-
บานนาโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี ทางภาคใตพบในเขตจังหวัดสุราษฎรธานี จังหวัดชุมพรและเกาะสมุย
ชารลส ไฮแอม (Higham, 1989 : 201-202) และ อิจิ นิตตะ (Nitta, 1994:9-23) ไดสรุปวา การทํากลอง
มโหระทึกวัฒนธรรมดองซอนในเวียตนามไดรับการถายทอดทางเทคโนโลยีและรูปแบบจากจีนในสมัยราชวงศ
จิวและราชวงศฮั่น ระหวาง 700 ปกอนคริสตศักราชถึงคริสศตวรรษที่ 2 (200 ปกอนพุทธศักราชถึงพุทธ
ศตวรรษที่ 7) และวัฒนธรรมดองซอนไดเผยแพรเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตสวนอื่นโดยสองเสนทางคือ
เสนทางแรกคือ เสนทางลุมแมน้ําโขง ระหวางลาวและกัมพูชา โดยผานสตึงเตร็งผานขึ้นไปถึงปากเซ สวันนเขต
เวียงจันทน หลวงพระบางไปยังทางใตของจีน นอกจากนั้นจากลาวยังเขาสูจําปาสักและลุมแมน้ํามูล อีกเสน
ทางหนึ่งคือการลองลงไปทางใตทางชายฝงทะเลลงสูภาคใตของประเทศไทยคาบสมุทรมลายูและหมูเกาะอิน
โดนีเซีย
จากชวงระยะ 200 ปกอนพุทธศักราชเปนตนมา การติดตอระหวางทางตอนใตของจีน วัฒนธรรมดอง
ซอนในเวียตนามและสวนอื่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตเปนไปอยางกวางขวาง การพบหลักฐาน
เครื่องมือเครื่องใชของจีนในสมัยราชวงศจิวตอนปลายและราชวงศฮั่น แสดงถึงการติดตอไปมาหาสูกันระหวาง
จีนกับวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแตชวง 200 ปกอนพุทธศักราชและวัฒนธรรมดองซอนคือการไดรับการ
ถายทอดการทํากลองมโหรทึกจากจีน ทั้งนี้เนื่องจากพบวา กลองมโหระทึกรูปแบบกอนวัฒนธรรมดองซอนที่
เรียกวา “ฟรี-เฮเกอร 1 (Pre-Heger Type I)” หรือรูปแบบที่จีนเรียกวา “หวั่นเจียปา” อายุประมาณ 300-100 ป
กอนพุทธศักราชไดคนพบในมณฑลยุนนาน[1]
หลักฐานของโบราณคดีในดินแดนตอนในเขตลุมแมน้ําชีและแมน้ํามูลไดยืนยันถึงการติดตอกับสังคมภายนอก
อยางกวางขวาง เพราะนอกจากการพบกลองมโหระทึก แบบเฮเกอร 1 แลว ประมาณ 500 ปกอนคริสตศักราช
หรือพุทธศตวรรษที่ 1 เปนตนมานั้น ยังพบกลองมโหระทึกแบบเฮเกอร 2 ซึ่งมีอายุหลังพุทธศตวรรษที่ 7 และยัง
พบลูกปดที่ทําจากหอยมือเสือเชนที่โนนชัย และลูกปดจากหอยเบี้ยในบริเวณลุมแมน้ําชีตอนบน ทรัพยากรดัง
กลาวเปนทรัพยากรธรรมชาติที่มาจากทางชายฝงทะเล การพบหลักฐานทรัพยากรทางทะเลในดินแดนตอนใน
ระหวางตนพุทธศักราชเปนตนมาแสดงใหเห็นถึงการติดตอกันระหวางชุมชนชายฝงทะเลกับชุมชนโบราณเขต
ลุมแมน้ําตอนในของภูมิภาค และชุมชนชายฝงทะเลที่ติดตอกับชุมชนลุมแมน้ําโขง ลุมแมน้ํามูล แมน้ําชีก็คือ
ชุมชนชายฝงทะเลเวียตนามกลุมวัฒนธรรมดองซอนนั่นเอง

[1] รูปแบบกลองมโหระทึกในประเทศจีน มีการพัฒนาการอยางตอเนื่องแบงรูปแบบตามความเกาใหมเปน 8


รูปแบบคือ 1. แบบหวั่นเจียปา อายุราว 300-100 ป กอนพุทธศักราช 2. แบบ สือจายซาน อายุราว พ.ศ.100-
400 3. แบบ หลิ่วสุยชง อายุราว พ.ศ.400 4. แบบ ไปหลิว อายุราว พ.ศ.400 5. แบบ หลิงซาน อายุราว พ.ศ.
800 6. แบบ จุนอี้ อายุราว พ.ศ. 1500-2400 7. แบบ หมาเจียง อายุราว พ.ศ. 1500-2400 8. แบบ ซีเหมิง อายุ
ราว พ.ศ. 1500-2400
-13-
พัฒนาการบานเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต
ในอดีตนักวิชาการทางตะวันตกมีแนวความคิดเกี่ยวกับการกําเนิดและพัฒนาการบานเมืองในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใตจากประวัติศาสตรราชวงศและการรับอิทธิพลโดยตรงจากอารยธรรมจีนและอินเดีย อยางไรก็
ตามจากความกาวหนาของการศึกษาคนควาหลักฐานทางโบราณคดีทําใหความคิดดังกลาวเปลี่ยนแปลงไป โอ
ดับปลิว โวลเตอร (Wolters, 1982) อธิบายวา ผูนําพื้นเมืองเปนผูสะสมอารยธรรมอินเดียโดยนักเดินเรือเปนตัว
กลาง การเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกฌียงใตจึงไมไดเกิดจากอิทธิพลการคากับอินเดียโดยตรง แตเปน
กระบวนการปรับตัวของทองถิ่น โอคอนเนอร (O’conner, 1983 : 5) กลาววา พื้นฐานการพัฒนาการบานเมือง
ในภูมิภาคนี้ประกอบไปดวยองคประกอบพื้นเมืองที่สําคัญคือ การรวบตัวของชุมชนตาง ๆ และพัฒนาการแบบ
แผนการปกครอง ศรีศักร วัลลิโภดม (2534 : 21-22) และ ธิดา สาระยา (2537:64-81) ใชหลักฐานทางโบราณ
คดีอธิบายพัฒนาการชุมชนที่กอตัวขึ้นตั้งแตสมัยกอนประวัติศาสตรและการปรับเปลี่ยนในการรับอารยธรรม
จีนและอินเดียใหเหมาะสมกับพัฒนาการของทองถิ่น แนวความคิดนี้จึงเปนการมองเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลง
ของชุมชนพื้นเมืองคือ คือ พัฒนาการของชุมชนภายในภูมิภาคที่ผสมผสานกับการเขามาของอารยธรรมจีนและ
อินเดีย
ประมาณชวงพุทธศตวรรษที่ 5 ถึง 8 ชุมชนโบราณในภูมิภาคโดยเฉพาะชุมชนชายขอบ และแถบชาย
ฝงทะเลไดเริ่มติดตอโดยตรงกับพอคาชาวอินเดียและราชฑูตจากจีน ในขณะเดียวกันชุมชนที่อยูในดินแดนตอน
ในไดพัฒนาการเปนชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานแบบถาวรที่มีชุมชนศูนยกลางเกิดขึ้นแลว การศึกษาชุมชนโบราณใน
บริเวณลุมแมน้ํามูลตอนตน (Welch,1985) และลุมแมน้ําชีตอนบน (ชลิต ชัยครรชิต, 2532) ทางภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของประเทศไทยพบลักษณะของชุมชนตั้งถิ่นฐานถาวรและขยายตัวจนเกิดลักษณะของชุมชนใหญท่ี
เปนศูนยกลางเกิดขึ้น
ดินแดนทางตอนลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใตสัมพันธกับพอคาชาวอินเดียโดยการคา เนื่องจากพบ
หลักฐานทางวัตถุจากอินเดียและโรมในภูมิภาคนี้ เชน หินหยก ลูกปดลวดลายแบบอินเดีย ภาชนะสําริด
เหรียญทองแดงของจักรพรรดิโรมัน ตะเกียงโรมันที่พงตึกและตราโรมันที่ออกแกว หลักฐานเหลานี้เปนสื่อของ
การแลกเปลี่ยนระหวางการคาทางแถบชายฝงจากการแลนเรือของพอคาชาวอินเดียมาทางหมูเกาะอันดามัน
และนิโคบารผานลงทางภายใตของประเทศไทย และอีกสวนหนึ่งเลียบฝงทะเลอันดามันเขาทางทิศตะวันตก
ของประเทศไทยสูลุมแมน้ําเจาพระยา
ถึงแมวามีการพบหลักฐานทางวัตถุหลายแหงแตไมปรากฏหลักฐานสิ่งกอสราง รองรอยของศิลปกรรม
หรือสถาปตยกรรมแบบอินเดียในแถบนี้ ซึ่งอาจเปนไปไดวาระหวางพุทธศตวรรษที่ 5 มีเพียงการติดตอคาขาย
แลกเปลี่ยนกันในระยะแรกโดยที่การกอตัวของชุมชนพื้นเมืองที่รับอารยธรรมอินเดียยังไมปรากฏเดนชัด จน
กระทั่งพุทธศตวรรษที่ 8 จึงพบหลักฐานบานเมืองโบราณจากเอกสารจีน เชน ฟูนัน และเจนละ

-14-
พัฒนาการของฟูนัน
ความรูเกี่ยวกับฟูนันมาจากบันทึกของราชฑูตจีนชื่อ คังไถ (K’ang T’ai) และ จูยิง (Chu Ying) ซึ่งเดินทางไปฟู
นันราวพุทธศตวรรษที่ 8 ในเอกสารไดกลาวถึงฟูนันวาประกอบดวยชุมชนที่อยูตามแนวลําน้ําทั้งหมด 7 ชุมชน
ดวยกัน ฟูนันมาจากคําภาษาเขมรโบราณวา “บนัม” หรือภาษาเขมรปจจุบันวา “พนม” อันหมายถึงภูเขา
ศาสตราจารยชอง บวสเซอลิเย (Jean Boisselier) สันนิษฐานวาศูนยกลางดั้งเดิมของฟูนันอาจตั้งอยูแถบลุม
แมน้ําเจาพระยา บริเวณเมืองอูทอง สุพรรณบุรี เนื่องจากพบโบราณวัตถุที่แสดงถึงการไดรับอิทธิพลรูปแบบศิล
ปอมราวดีทางภาคใตของอินเดียระหวางพุทธศตวรรษที่ 7-9 โบราณวัตถุที่พบประกอบไปดวย ลูกปด เครื่อง
ประดับทําดวยโลหะ และเศษของเครื่องถวยชาม เชนเดียวกับที่พบที่เมือง ดอกแกว (Oc Eo) แหลมโคชินไชนา
ทางทิศตะวันออกเฉียงใตของประเทศเวียตนาม
เอกสารจีนกลาวถึงฟูนันตอนหนึ่งวา ฟูนันประกอบไปดวยชุมชนอยูแนวลําน้ําทั้งหมด 7 ชุมชนดวยกัน
โดยมีเมืองหลวงชื่อ “วยธปุระ” มีเจาเมืองที่เรียกวา “บรรพตภูบาล” หรือราชาแหงภูเขา ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของฟูนั
นอยูหางจากชายฝงทะเลเขาไป 200 กิโลเมตร ซึ่งแสดงใหเห็นวาฟูนันเปนชุมชนที่มีการติดตอทางทะเลกับภาย
นอก บันทึกของถังไถกลาวถึงราชาองคแรกของฟูนันวา เปนผูที่เดินทางมาจากอินเดียหรือแหลมมลายูหรือหมู
เกาะอินโดนีเซีย ไดมาแตงงานกับนางพญาพื้นเมืองและตั้งตนขึ้นเปนกษัตริยพระองคแรก
ธิดา สารยา (2536 : 96-97) กลาวถึงฟูนันวาเปนความเคลื่อนไหวของพัฒนาการชุมชนชายฝงทะเลที่
มีการติดตอกับภายนอก โดยเฉพาะทางทะเลโดยมีกิจกรรมทางการคาเปนแรงผลักดัน การขุดคนทางโบราณ
คดีที่ออกแกว แหลมโคชินไชนาซึ่งเปนแหลงโบราณคดีที่สําคัญของฟูนันไดแสดงใหเห็นถึงการปรับตัวของ
สังคมที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรมดั้งเดิมมาเปนการติดตอคาขายทางน้ํามากขึ้น
อยางไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของฟูนันซึ่งเปนชุมชนที่ติดตอกับอารยธรรมอินเดีย
พบอยูไมมากนักโดยเฉพาะอยางยิ่งไมปรากฏรองรอยของศาสนสถานขนาดใหญภายในภูมิภาค แต
ศาสตราจารยวัน เลียร (Van Liere) ไดเสนอวารองรอยของคูน้ําคันดินที่ปรากฏมากมายตามอาณาบริเวณดิน
ดอนสามเหลี่ยมลุมแมน้ําโขง ลุมแมน้ําชี แมน้ํามูลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภาค
กลางของประเทศไทย และหลักฐานบนผิวดินที่เกี่ยวของกับคูน้ําคันดิน คือรองรอยของชุมชนเกษตรกรรมที่
สัมพันธกับฟูนัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรและการเพิ่มผลผลิต กระตุนการเขามาตั้งหลักแหลงตลอดจนการ
เติบโตของวัฒนธรรมเขมรโบราณในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงใหเห็นวามีการกระจายตัวของประชากร
จากชายฝงทะเลเขาสูดินแดนตอนใน
บันทึกของพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง ไดเขียนไวในพุทธศตวรรษที่ 13 วา ฟูนันไดเคยรุงเรืองในระหวางพุทธ
ศตวรรษที่ 10-11 โดยเฉพาะอยางยิ่งความรุงเรืองทางพุทธศาสนา จารึกภาษาสันสกฤต จากแควนบาตีใน

-15-
ประเทศกัมพูชา ไดกลาวถึงพระเจารุทธวรมันซึ่งสงราชฑูตไปยังประเทศจีนหลายครั้งรวมทั้งไดรวบรวมพระ
คัมภีรทางพุทธศาสนาประทานและสงไปยังประเทศจีน และเมื่ออาณาจักรเจนละไดเขารุกรานฟูนันและ
รวบรวมฟูนันเขาเปนสวนหนึ่งของอาณาจักรเจนละ ศาสนาพราหมณลัทธิไศวนิกายจึงถูกเผยแพรเขามาแทนที่
พุทธศาสนาที่เคยนับถืออยูแตเดิม

เจนละและเขมรโบราณ
คําวา “เจนละ” ปรากฏในบันทึกของจีนที่กลาวถึงอาณาจักรเขมรโบราณ แตไมพบคําในภาษา
สันสกฤตหรือภาษาเขมรโบราณที่ตรงกับคําดังกลาว จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศสุย (พ.ศ.1132-1161) ได
กลาววา เจนละเปนอาณาจักรที่อยูทางตะวันตกเฉียงใตของหลินยี(จามปา) เดิมอาณาจักรนี้เปนประเทศราช
ขึ้นตออาณาจักรฟูนัน พระเจาแผนดินทรงพระนามวาจิตรเสน ไดขยายอาณาจักรออกไปและไดเขายึดฟูนันไว
ในอํานาจ นอกจากนั้นยังไดกลาวถึงราชธานีของเจนละอยูใกลกับภูเขาลิงคบรรพต ยอรช เซเดส กําหนดอาณา
บริเวณของเจนละอยูทางแถบลุมแมน้ําโขงตอนกลางในแขวงจําปาศักดิ์ โดยมี “เศรษฐปุระ” เปนศูนยกลาง ศา
สนสถานหลักของอาณาจักรนี้คือ วัดภู ซึ่งเปนที่ประดิษฐานของเทพเจาภัทเรศวร กษัตริยที่สําคัญของเจนละ
คือ ภววรมัน ซึ่งทรงมีอํานาจอยูที่เมือง ภวปุระ ทางตอนเหนือของทะเลสาบใหญ และเปนผูรวบรวมเอาฟูนัน
เขาเปนสวนหนึ่งของเจนละ
พระญาติที่สําคัญของภววรมันคือ จิตรเสน ซึ่งเปนกษัตริยทรงพระนาม มเหนทรวมัน ไดขยายอํานาจ
ไปยังดินแดนตาง ๆ ปรากฏหลักฐานจารึกของเจนละในยุคตน ที่วัดศรีเมืองแอม อําเภอเขาสวนกวาง เขต
จังหวัดขอนแกน จารึกถ้ําเปดทอง จารึกปากแมน้ํามูล และจารึกที่พบในเขตจังหวัดปราจีนบุรีในประเทศไทย
เปนเปฌ)ฌ เปเปเนอักษรปลลวะภาษาสันสกฤตที่กลาวถึง เจาชายจิตรเสน หรือมเหนทรวมัน ที่ไดรบชนะคน
พื้นเมืองและสถาปนาศิวลึงคไวตามเมืองตาง ๆ เพื่อเปนเครื่องหมายแหงชัยชนะ จารึกดังกลาวอยูในชวงราว
พุทธศตวรรษที่ 12 (กรมศิลปากร, 2529 : 147-167)
จากการศึกษาทางโบราณคดีของนักโบราณคดีฝรั่งเศสที่บริเวณวัดภู จําปาศักดิ์ ในระหวาง พ.ศ.2533-
2534 พบหลักฐานประติมากรรมมีจารึกกลาวถึงพระเจามเหนทรวมัน นอกจากนั้นยังพบฐานของศิวลึงคและ
ทับหลังสมัยสมโบรไพรกุก ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งอยูในชวงตนของเจนละอยางไรก็ตามนักวิชาการ
บางทาน (ธิดา สาระยา , 2535 : 69-73 ) ใหความเห็นวาศูนยกลางที่เปนจุดกําเนิดของเจนละนาจะมีมากกวา
หนึ่งแหงซึ่งอีกบริเวณหนึ่งคือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
จดหมายเหตุสมัยราชวงคถังของจีนกลาวถึงเจนละในชวงตอมาวา พระเจาอีศานวรมันที่ 1 ไดปราบปรามฟูนัน
ไวไดทั้งหมดในระหวาง พ.ศ.1170-1192 และไดยายเมืองภวปุระลงมาทางตอนลางของแมน้ําโขงบริเวณที่เรียก
ในปจจุบันวา สมโบรไพรกุก ราชธานีแหงใหมนี้มีชื่อวา อีศานปุระ จนถึงพุทธศตวรรษที่ 13-14 เกิดสงคราม
-16-
กลางเมืองขึ้นเจนละจึงไดแยกออกเปน 2 สวน คือ เจนละบก และเจนละน้ํา เจนละบกอยูทางแถบแมน้ําโขง
ตอนกลางมีศูนยกลางอยูที่เศรษฐปุระบริเวณปราสาทวัดภู จําปาศักดิ์ ในประเทศลาว และบริเวณลุมแมน้ํามูล
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากพบศาสนสถานระหวางพุทธศตวรรษที่ 12-14 อยูหลาย
แหงเชน ทับหลังที่ปากมูลในเขตอําเภอพิบูลมังสาหาร ปราสาทภูมิโปน ปราสาทบานจารย ปราสาทเบ็ง จังหวัด
สุรินทร ศาสนาสถานดงเมืองเตย อําเภอคําเขื่อนแกว จังหวัดยโสธร การพบหลักฐานดังกลาวทําใหนักวิชาการ
ทางประวัติศาสตรและโบราณคดี สรุปวา แถบวัดภู จําปาศักดิ์และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
คือสวนหนึ่งของเจนละ และเปนเจนละบกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 (นิคม มุสิกะคามะ, 2536 : 66, ธิดา
สาระยา,2535 : 99) สวนเจนละน้ํา จากการสํารวจหลักฐานทางโบราณคดีพบวาอยูทางตอนใตของประเทศ
กัมพูชาปจจุบัน โดยเฉพาะเขตคีรีวงศและเขตตาแกว ซึ่งไดพบโบราณวัตุระหวางพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดย
เฉพาะอยางยิ่งชุมชนโบราณเหลานี้อยูในเขตเมืองออกแกวทางภาคใตของประเทศเวียตนามปจจุบัน

อาณาจักรเขมรโบราณ
การรวมตัวของเขมรโบราณเริ่มตนเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อพระเจาชัยวรมันที่ 2 ไดรวบรวม
บานเมืองตาง ๆ เขาเปนสวนหนึ่งในพระราชอํานาจของพระองค อยางนอยก็ครอบคลุมบริเวณตอนเหนือของ
ทะเลสาปใหญ จารึกสดกกอกธม กลาวไววา พระองคเสด็จกลับจากชวาเพื่อมาครองเมืองอินทรปุระ ตอจากนั้น
ก็เสด็จเขาครองเมืองหริหราลัย การที่พระเจาชัยวรมันที่ 2 ประดิษฐานลัทธิเทวราชา ซึ่งเปนศาสนาพราหมณที่
เกี่ยวของกับลัทธิไศวนิกายที่เขาพนมกุเลน ทําใหกษัตริยเขมรโบราณในสมัยเมืองพระนครตั้งอยูบนรากฐาน
ทางศาสนาที่มั่นคง เมืองหริหราลัยซึ่งปจจุบันอยูใกลกับหมูบานรอลั่วเปนที่ประทับของกษัตริยเขมรสืบตอมา
จนถึงสมัยพระเจายโศวรมันที่ 1 ไดสถาปนาเมืองพระนคร (Angkor) เมืองแรกในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15
เมืองพระนครแหงแรกนี้มีกําแพงลอมรอบกวางใหญ มีเขาพนมบาแค็งเปนจุดศูนยกลางเรียกวาเมืองยโศธรปุระ
ปจจุบันยังพบรองรอยคูน้ําคันดินบางสวน
กษัตริยที่มีบทบาทการขยายเมืองที่สําคัญไดแกพระเจาราเชนทรวรมันที่ 2 ซึ่งไดขยายอาณาเขตและ
สรางปราสาทแปรรูปในปลายพทุธศตวรรษที่ 15 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 พระเจาสุริยวรมันที่ 1 ขึ้นครอง
ราชยที่เมืองพระนครและไดสรางปราสาทเขาพระวิหารประดิษฐานศิวลึงค ทรงพระนามวาศรีศิขรีศวรระหวาง
พรมแดนประเทศไทยและกัมพูชาปจจุบัน สวนชวงตนพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น พระเจาอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ได
สรางปราสาทปาปวน ตอมาพระเจาสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชยราว พ.ศ.1645-พ.ศ.1690 ไดกอสรางปราสาท
นครวัด (Angkor Wat) ซึ่งเปนสถาปตยกรรมอันยิ่งใหญของเขมรโบราณ
ในป พ.ศ.1720 เมืองพระนครไดถูกยึดครองโดยอาณาจักรจัมปา พระเจาชัยวรมันที่ 7 ไดขับไลกองทัพ
จามผูรุกรานและสถาปนาเมืองพระนครหลวง หรือ พระนครธม (Angkor Thom) ขึ้นโดยมีปราสาทบายนเปน
ศูนยกลาง ในสมัยพระเจาชัยวรมันที่ 7 ระหวาง พ.ศ.1724-1762 เปนยุคของความรุงเรืองของเขมรโบราณ
-17-
เพราะไดมีการขยายอาณาเขตและสรางศาสนสถานไวเปนจํานวนมากดังเชน การขุดบารายเพื่อการชล
ประทาน การสรางถนนหนทาง สะพาน ที่พักคนเดินทาง และอโรคยาศาลาทั่วราชอาณาจักร และชวงปลาย
พุทธศตวรรษที่ 20 กองทัพไทยจากกรุงศรีอยุธยาไดเขาโจมตีเมืองพระนครหลวง ชาวเขมรจึงอพยพมาตั้งเมือง
ใหมที่ศรีสันธอร กรุงพนมเปญ
สําหรับความสัมพันธระหวางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกับอาณาจักรเขมรโบราณ จาก
การศึกษาหลักฐานททางโบราณคดีพบวามีชุมชนที่พบลักษณะที่มีวัฒนธรรมรวมสมัยกับเขมรโบราณในเขตลุม
แมน้ํามูลและกระจายอยูโดยทั่วไปในเขตลุมแมน้ําชี ปรากฏหลักฐานจารึกที่กลาวถึงมเหนทรวรมันจิตรเสนตั้ง
แตพุทธศตวรรษที่ 12 และศาสนาสถานแบบเขมรโบราณอยางตอเนื่องนับตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 15 เปนตนมา
หลักฐานจารึกที่พบไดกลาวถึงพระเจาสุริยวรมันที่ 1 พระเจาสุริยวรมันที่ 2 และพระเจาชัยวรมันที่ 7
ศาสตราจารย ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ (2537 : 18) เสนอวาชุมชนแบบเขมรที่อยูในเขตลุมแมน้ํามูลเปนที่ตั้ง
ของราชวงศมหิธรปุระที่เปนราชการวงศนอกเขตพระนคร นอกจากนั้นยังพบรองรอยสถาปตยกรรมและศิลปะ
วัตถุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ในชวงสมัยพระเจาชัยวรมันที่ 7 หลายแหง เชน จากเสนทางเมืองพระนครถึง
เมืองพิมาย และโบราณสถานแบบบายนหลายแหงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยไปจนถึงบาง
สวนของภาคกลาง ศาสนสถานเหลานี้ปรากฏเปนศาสนสถานที่สรางไวตามเมืองตาง ๆ ที่ระบุไวในจารึก
ปราสาท พระขรรคซึ่งพระเจาชัยวรมันที่ 7 ไดโปรดใหสรางขึ้นตามเสนทางจากเมืองพระนคร พรอมกับอโรคยา
ศาลาและที่พักคนเดินทาง

จัมปา
ชื่อของอาณาจักรจัมปาปรากฏขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ 8 ซึ่งเชื่อกันวานาจะกอตัวจากชวงระยะเวลา
ดังกลาว แตไมปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการเผยแพรวัฒนธรรมอินเดียหรือหลักฐานเกี่ยวกับกษัตริย เชน อาณา
จักรฟูนัน คําวาจัมปา ปรากฏในจารึกราวกลางพุทธศตวรรษที่ 12 (สุภัทรดิศ ดิศกุล, 2535 : 118-119) อยางไร
ก็ตามมีการพบจารึกภาษาสันสกฤตที่มีอายุระหวางพุทธศตวรรษที่ 8-9 กลาวถึงราชวงศแหงศรีมาร ซึ่ง
สันนิษฐานวาบานเมืองจัมปาก็เกี่ยวของกับชาวอินเดียที่เดินทางเขามาในภูมิภาคนี้เชนเดียวกัน ศาสตราจารย
ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล กลาวถึงจัมปาวา อาณาจักรจัมปาเกิดขึ้นจากชนชาติจามที่มีเชื้อชาติมลายูไดกอตั้งอาณา
จักรขึ้นทางภาคกลางของเวียตนามตั้งแตราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 ไดรับอารยธรรมอินเดีย ดังนี้จึงนับถือศาสนา
พราหมณเปนหลักและก็มีการนับถือพุทธศาสนาดวย จัมปาไดรบพุงกับจีน และเขมรโบราณหลายชวงเวลา
เมื่อเวียตนามเปนอิสระจากจีนก็ตองรบพุงกับเวียตนาม และถอยรนลงทางตอนใตจนกระทั่งตกเปนสวนหนึ่ง
ของเวียตนามในราวพุทธศตวรรษที่ 20
หลักฐานโบราณสถานที่เกี่ยวของกับอาณาจักรจัมปาปรากฏหลงเหลืออยูหลายเมือง เชน เมืองมิเซิน
เมืองคงเดือง เมืองดองเซิน เมืองนินดินห เปนตน แตหลักฐานทางดานสถาปตยกรรมหลงเหลืออยูนอยมาก
-18-
หลักฐานกอนพุทธศตวรรษที่ 13 มีเพียงจารึกภาษาสันสกฤตและภาษาจามสมัยโบราณ สวน
สถาปตยกรรมที่ปรากฏเหลืออยูสวนใหญ อยูในชวงพุทธศตวรรษที่ 13 เปนตนมา นักประวัติศาสตรศิลปะและ
โบราณคดีแบงชวงหลักฐานทางโบราณคดีจามเปน 4 สมัยคือ (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, 2530 : 2-3)
1. หลังป พ.ศ. 1200 ระหวางพุทธศตวรรษที่ 13-14 เปนชวงระยะที่นับถือศาสนาพราหมณหรือฮินดู
ลัทธิไศวนิกายศาสนสถานตาง ๆ เชน ประสาทฮัวลาย ก็ไดรับอิทธิพลจากเขมรสมัยกอนเมืองพระนคร
2. สมัยอินทรปุระ ระหวางพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ทางตอนเหนือของอาณาจักร
จัมปามีอํานาจ ปรากฏศาสนสถานทางพุทธศาสนาลัทธิมหายานจํานวนมากที่เมืองดงเดืองรวมทั้งอิทธิพลของ
จีนและอินโดนีเซีย
3. สมัยเมืองวิชัย พุทธศตวรรษที่ 16-21 เมืองหลวงของจัมปายายลงมาทางตอนใต มีสงครามมากมาย
เกิดขึ้น ในระหวางพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลของเขมรโบราณกลับเขามาอีกจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19-20 เวียต
นามและจีนเขารุกรานและเริ่มไดรับอิทธิพลจากจีนและเวียตนาม
4. พุทธศตวรรษที่ 21 เปนตนมา เวียตนามไดเขายึดเมืองวิชัย สิ้นสุดของอาณาจักรจัมปา อิทธิพลของ
เวียตนามเขามาแทนที่ทั้ง ศิลปะ และสถาปตยกรรม

อาณาจักรศรีเกษตร และ พุกาม


บานเมืองที่มีการติดตอกับอารยธรรมอินเดียที่อยูใกลชิดกับอินเดียมากที่สุดไดแก ศรีเกษตร(ปยู)
พุกาม และมอญโบราณ กอนพุทธศตวรรษที่ 16 เมื่อยังไมรวมเปนอาณาจักรพุกามนั้นไดเกิดบานเมืองที่รับ
อารยธรรมอินเดีย คือ ศรีเกษตร(ปย)ู พุกาม และ มอญโบราณ
อาณาจักรปยู (Pyu)หรือศรีเกษตร
จดหมายเหตุของจีนคือ พระภิกษุเหี้ยนจังและอี้จิง บันทึกไวในพุทธศตวรรษที่ 12 เรียกวา อาณาจักร
ศรีเกษตร ซึ่งมีความรุงเรืองในระหวางพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีการนับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท สองนิกายคือ
นิกายที่ใชภาษาบาลี และนิกายมูลสรรวาสติวาท หลักฐานทางโบราณคดี ที่เมืองเบคถาโน จากการขุดคนและ
ศึกษาเกี่ยวกับความรุงเรืองระหวางพุทธศตวรรษที่ 10-14 ไดคนพบซากกําแพงเมือง พระราชวัง และอาคารที่
ไดรับอิทธิพลอันธระของแควนอมราวดีของอินเดีย สวนเมือง หะมอซาร หรือเมืองศรีเกษตร หรือ ถเยขิตตยะ ก็
ปรากฏหลักฐานที่ไดรับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียตามคติศาสนาฮินดูและพุทธศาสนามหายานเชนเดียวกัน ศา
สนสถานที่สําคัญของศรีเกษตรคือ เจดียโบโบคยี ซึ่งสันนิษฐานวาสรางขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
มอญโบราณ
มีศูนยกลางชื่อสุธรรมวดีหรือเมืองสะเทิม สะเทิมเปนบานเมืองที่มีความสัมพันธกับอินเดียทางตอนใต
โดยตรงและไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทตั้งแตราวพุทธศตวรรษที่ 10 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 พุกาม

-19-
ไดเขามามีอิทธิพลเหนือสะเทิมทําใหเกิดการผสมผสานกันทางรูปแบบวัฒนธรรมเกิดขึ้น หลักฐานทางโบราณ
คดีที่สําคัญของเมืองสะเทิม คือ กําแพงเมืองและคูระหวางกําแพงเมืองมีปอมหรือพระราชวัง
อาณาจักรพุกาม หรือ พมาโบราณ
พุกามรุงเรืองขึ้นในระหวางพุทธศตวรรษที่ 14 แตหลักฐานทางโบราณคดีที่ชัดเจนกลับอยูในชวงตั้งแต
พุทธศตวรรษที่ 16 เปนตนมา หรือนั้บตั้งแตการปกครองภายใตสมัยการปกครองของพระเจาอนิรุทธเปนตนมา
วัฒนธรรมโบราณของพุกามแบงออกเปน 2 สมัย คือ สมัยมอญ ระหวางพุทธศตวรรษที่ 16-17 เปนยุคสมัยที่
อาณาจักรพุกามมีชัยชนะเหนืออาณาจักรมอญ มีการผสมผสานระหวางสถาปตยกรรมปยู มอญและพมาเขา
ดวยกัน รูปแบบของสถาปตยกรรมเปนรูปสถูปทรงกระบอก ทรงลอมฟาง ทรงระฆังลังกา สมัยพมา พุทธ
ศตวรรษที่ 17-18 วัฒนธรรมมอญเสื่อมหาย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เปนอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบปา
ละ-เสนะ
อาณาจักรทวารวดี
อาณาจักรทวารวดีเปนชื่อบานเมืองแรกของบริเวณลุมแมน้ําเจาพระยาทางภาคกลางของประเทศไทย
ที่มีการติดตอกับอารยธรรมของอินเดีย ทั้งรูปแบบทางการคาชายฝงทะเลและการรับวัฒนธรรมจากอินเดียโดย
ตรง ชื่อทวารวดีปรากฏจากบันทึกการเดินทางของพระสงฆจีนชื่อ เหี้ยนจัง กลาวถึงประเทศที่อยูระหวางศรี
เกษตรและอีสานปุระวา “โถลอปอติ” บันทึกของอี้จิงก็กลาวถึงประเทศ “ตูเหอปอตี่” วาอยูประมาณทางภาค
กลางของประเทศไทยปจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีของชื่อ ทวารวดี ไดจากเหรียญเงินซึ่งพบที่จังหวัด
นครปฐม อูทอง สุพรรณบุรี และ อินทรบุรี จังหวัดสิงหบุรี บนเหรียญเงินเหลานี้มีคําจารึกเปนภาษาสันสกฤต
อักษรปลลวะวา “ศรีทวารวตี ศวรปุณยะ” แปลวา “บุญของพระราชาแหงทวารวดี”
หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวของกับอาณาจักรทวารวดีพบอยูโดยทั่วไปทางภาคกลางบริเวณลุมแม
น้ําเจาพระยา ตลอดไปจนถึงบางสวนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รองรอยของ
ชุมชนโบราณแบบทวารวดีขนาดใหญ คือ บริเวณเมืองนครไชยศรี หรือนครปฐมโบราณ มีสถาปตยกรรมที่
สําคัญ คือวัดพระเมรุและเจดียจุลประโทน นอกจากนี้ยังพบหลักฐานโบราณวัตถุ พบชุมชนรวมสมัยที่คูบัว
จังหวัดราชบุรี อูทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงหบุรี จันเสนโบราณและเมืองบนจังหวัดนครสวรรค
จากการขุดคนทางโบราณคดีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยพบวาเมืองโบราณสมัยทวารวดีมีรูป
แบบและพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ติดตอกับอารยธรรมอินเดีย และมีพัฒนาการขึ้นเปนบานเมือง ตั้งแตพุทธ
ศตวรรษที่ 12 เปนตนมา บานเมืองเหลานี้พัฒนาการมาจากชุมชนโบราณที่เกิดขึ้นกอนหนานี้ และไดมีการ
พัฒนาการขึ้นเปนเมืองที่มีคูน้ําคันดินลอมรอบที่เรียกกันวาเมืองแบบทวารวดี ชุมชนโบราณเหลานี้มีพัฒนาการ
ตอเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา

-20-
วัฒนธรรมทวารวดีไดแพรกระจายจากลุมแมน้ําเจาพระยาทางภาคกลางของประเทศไทยไปทั่วทุกภูมิ
ภาคโดยเฉพาะอยางยิ่ง จากชุมชนโบราณที่โคกสําโรง และบานหมี่จังหวัดลพบุรี และเมืองศรีเทพ เพชรบูรณซึ่ง
เปนเมืองสําคัญจากลุมแมน้ําปาสักไปสูลุมแมน้ํามูล และลุมแมน้ําชีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ไทย ซึ่งไดพบเมืองโบราณที่มีคูน้ําคันดิน โบราณวัตถุและหลักฐานเสมาหินซึ่งเปนโบราณวัตถุตามคติทางพุทธ
ศาสนา เสมาหินที่พบมีหลายแหงที่ปรากฏภาพสลักพุทธประวัติและชาดกทางพุทธศาสนา รองศาสตราจารย
ศรีศักร วัลลิโดม (2533 : 345-346) เสนอความเห็นวาเสมาหินวัฒนธรรมทวารวดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีหนาที่ 3 อยาง คือ กําหนดเขตศักดิ์สิทธิ์โดยลอมรอบเขตพิธีกรรมทางพุทธศาสนา การสรางขึ้นเพื่อพุทธบูชา
แลวนําไปปกไวในเขตศักดิ์สิทธิ์ และเสมาหินขนาดใหญที่ทําหนาที่แทนพระสถูปเจดีย
ศาสตราจารยชอง บวสเซอริเย แบงพัฒนาการของวัฒนธรรมทวารวดีออกเปน 3 ระยะคือ ระยะแรก
เปนวัฒนธรรมทวารวดีแบบดั้งเดิมนับถือ พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ระยะที่สอง แสดงถึงอิทธิพลจากทาง
ภาคใตซึ่งนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานและไดแพรไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และ
ระยะที่สามเมื่อพุทธศาสนาลัทธิมหายานเสื่อมลง พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจึงกลับมาปรากฏในวัฒนธรรมทวาร
วดีอีกครั้ง จากการศึกษาประติมากรรมทางพุทธศาสนา วัฒนธรรมทวารวดี นักประวัติศาสตรศิลปะแบงรูป
แบบออกเปน 3 แบบคือ รูปแบบแรกราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 ไดรับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลัง
คุปตะ รูปแบบที่สองระหวางพุทธศตวรรษที่ 13-16 พุทธศาสนามหายานไดแพรเขาไปในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ประติมากรรมที่เปนรูปเคารพจึงเปนคติมหายานมีการพบรูปพระโพธิสัตวจํานวนมากรูป แบบที่สาม
ระหวางพุทธศตวรรษที่ 15-18 ไดรับอิทธิพลศิลปะขอมเขมรโบราณแบบบาปวน
จากการพบหลักฐานทางสถาปตยกรรมและชุมชนโบราณ วัฒนธรรมทวารวดีชวงระยะแรกในเขตลุมแมน้ํา
เจาพระยา ทําใหเกิดขอถกเถียงกันวา ศูนยกลางของอาณาจักรทวารวดีอยูบริเวณใด นักโบราณคดีบางทานให
ความเห็นวา ทวารวดีเปนเพียงอาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีเมืองลพบุรีเปนเมืองหลวง บางทานเห็นวาศูนยกลางของ
อาณาจักรทวาวรวดีอยูที่เมืองนครปฐม เนื่องจากเมืองนครปฐมโบราณเปนเมืองที่มีคูน้ําลอมรอบขนาดใหญ ได
พบศาสนสถานและเหรียญจารึกที่กลาวถึงอาณาจักรทวารวดี แตอยางไรก็ตามเหรียญเงินที่มีขอความจารึก
กลาวถึงทวารวดียังพบที่อูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอินทรบุรี จังหวัดสิงหบุรีเชนเดียวกัน อยางไรก็ตามการ
พบศาสนสถานและศิลปะวัตถุหลายรูปแบบและหลายชุมชนโบราณกระจายโดยกวางนี้ นักโบราณคดีบางทาน
ใหความเห็นวา วัฒนธรรมแบบทวารวดีอาจแพรหลายโดยกวางขวางในชุมชนโบราณที่มีการพัฒนาการขึ้นใน
บริเวณลุมแมน้ําเจาพระยาตอนลางในชวงระหวางพุทธศตวรรษที่ 12-16 แตยังไมมีอํานาจทางการเมืองแบบ
รวมศูนยหากเปนเพียงรูปแบบของเมืองเบ็ดเสร็จที่เกิดขึ้นพรอมกันและตางก็มีอิสระตลอดจนพัฒนาการทาง
วัฒนธรรมรวมกัน เนื่องจากสามารถติดตอคาขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอยาง

-21-
สะดวกทั้งทางบกและทางทะเล รวมทั้งชุมชนที่อยูตอนในซึ่งหางไกลออกไป เมืองเหลานี้ตางก็มีองค
ประกอบที่สมบูรณในตัวเองทั้งทางดาน เศรษฐกิจ ความเชื่อ ศาสนาและศิลปกรรมซึ่งเมืองทั้งหมดเหลานี้คือ
ชุมชนโบราณที่พัฒนาการขึ้นเปนบานเมืองวัฒนธรรมทวารวดีนั่นเอง

อาณาจักรศรีวิชัย
จุดเริ่มตนของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอานศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกํากับวาปพุทธศักราช 1318
ที่พบทางภาคใตของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎรธานี จารึกมีขอความที่กลาวถึง
“พระเจากรุงศรีวิชัย” และเมื่อนําไปประกอบกับบันทึกของภิษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งไดไดเดินโดยทางเรือจากเมือง
กวางตุงมาศึกษาพระธรรมวินัยในป พ.ศ.1214 ไดกลาวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได 20 วัน ไดแวะอาณาจักรโฟชิ
(Fo-Shih) ทานไดแวะศึกษาไวยากรณภาษาสันสกฤตอยู 6 เดือนกอนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่
อินเดียอยู 10 ป ไดกลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นไดกลายเปนอาณาจักร ชิลิโฟชิ (Shih-li-Fo-Shih) ไปแลว
ศาสตราจารย ยอรจ เซเดย สรุปวาอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเปนอาณาจักรหนึ่งที่มีอํานาจ
ทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกวางขวางครอบคลุมหมูเกาะตาง ๆ บริเวณตอนใตของคาบสมุทรมาเลย
ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางสวนของคาบสมุทร โดยมีศูนยกลางการปกครองอยูที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา
ประเทศอินโดนีเซีย
นักโบราณคดีหลายทานมีความเห็นสอดคลองกับศาสตราจารยยอรจ เซเดย เนื่องจากไดพบศิลาจารึก
8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู 2 หลัก กําหนดอายุในชวงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อยางไรก็ตาม
นักวิชาการ เชน ราเมชจันทร มาชุมดาร ควอริทช-เวลส และหมอมเจาจันทรจิรายุ รัชนี มีความเห็นวาศูนยกลาง
ของ ศรีวิชัยควรจะอยูบนคาบสมุทรมาเลย โดยเฉพาะหมอมเจาจันทรจิรายุ รัชนี มีความเห็นวา จารึกที่กลาวถึง
อาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎรธานี นั้น เปนจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของภิกษุอี้จิง ในขณะ
ที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเปนภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือเพียง 20 วัน ของภิกษุอี้
จิงควรถึงแคเมืองไชยา สุราษฎรธานี และคงไมผานเสนศูนยสูตรไปถึงเกาะสุมาตรา รวมทั้งทางภาคใตของ
ประเทศไทยก็ไดพบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียวา “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย” กําหนดอายุในชวง
ระหวางพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยสวนมากเปนศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมักพบพระรูป
พระโพธิสัตว เชน พระโพธิสัตวอวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว พระโพธิสัตวไวโรจนะ และศิลปะ
วัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบรองรอยของสถาปตยกรรมตลอด
จนโบราณสถานในชวงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลยทางภาคใต
ของประเทศไทย

-22-
อยางไรก็ตามปญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเปนประเด็นของการศึกษาคนควาจาก นักวิชาการยังมีขอ
ถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สําคัญคือ
1. รูปแบบทางการเมือง เมืองตาง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมูเกาะตางมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ
ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เปนสมาพันธรัฐ ที่มีศูนยกลางของอํานาจที่เปลี่ยนไปตามการ
ผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ
2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองตาง ๆ เหลานี้มีวัฒนธรรมรวมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนาลัทธิ
มหายาน ซึ่งแสดงออกดวยรูปแบบที่เรียกวา “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย”
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกวางจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทร
มาเยและทางภาคใตของประเทศไทย ไดมีขอสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ “ศรีวิชัย” ไมใชชื่ออาณาจักรที่มีศูนยกลาง
ของอํานาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยูเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแหงเดียว แตศรีวิชัยเปนชื่อกวาง ๆ
ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบานเมืองที่เปนศูนยกลางทางการคาทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุมบานเมืองหรือ
แวนแควนตาง ๆ เหลานี้มีวัฒนธรรมรวมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรี
วิชัยเชนเดียวกัน แวนแควนและบานเมืองทั้งบนผืนแผนดินใหญและหมูเกาะเกี่ยวของกันในลักษณะของสห
พันธรัฐที่มีศูนยกลางอํานาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสําคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศถังคือเปนศูนยกลางการคาขาย
สินคาขามสมุทรทางฝงทะเลตะวันตกและตะวันออก ผานชองแคบมะละกา ดังนั้นจึงไดพบ ลูกปดจากดินแดน
ทางตะวันตกและเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใตของประเทศ
ไทย แตในที่สุดความรุงเรื่องทางการคาของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนไดพัฒนาเรือที่คาขายและทําการคาขายโดย
ตรงกับบานเมืองที่อยูชายฝงทะเลตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไดทําใหเมืองทางแถบ
คาบสมุทรทางภาคใตของประเทศไทยรุงเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สําหรับทางภาคใตของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เปนบานเมืองและแควนหรือรัฐรวม
สมัยอาณาจักรศรีวชิ ัยคือ (สุจิตต วงษเทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แควนไชยา มีขอบเขตตั้งแตอําเภอทาชนะ
อําเภอไชยา อําเภอเมือง และอําเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎรธานี มีไชยาเปนศูนยกลาง พบศาสนสถาน
และศิลปกรรมหลายแหง เชน ที่วัดแกวไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพตาง ๆ แควนนครศรีธรรมราช มีขอบเขต
ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารตาง ๆ คือ “ตามพรลิงค” แควนสทิงพระมี
ขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบรองรอยโบราณศิลปวัตถุสถานที่นับถือศาสนา
พราหมณและพุทธศาสนา แควนปตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปตตานีและจังหวัดยะลา พบรอง
รอยเมืองทาที่สําคัญคือตรังและเมืองตะกั่วปา

You might also like