Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 11

การเลีย

้ งปลาแบบผสมผสาน

การประกอบอาชีพการเกษตร ไม่วา่ จะเป็ นการปลูกพืชหรือ


เลีย้ งสัตว์ มักจะมีปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ที่มีมูลค่าสูงในขณะที่
การขายผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร
เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบปั ญหาทางด้านรายได้ จากการผลิตไม่คุ้ม
ทุนหรือได้กำาไรน้ อย ฐานะของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่มัน ่ คง ยากจน
และมีหนี้สิน เกษตรกรหลายรายจึงได้พยายามดิน ้ รน หาวิธีการช่วยตัว
เองให้พ้นจากปั ญหานี้โดยการลดต้นทุนการผลิตให้ตำ่าลง ซึ่งพบว่าหาก
ผสมผสานกิจกรรม ทางด้านการเกษตรหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน จะ
สามารถลดต้นทุนการผลิต ของผลผลิตบางอย่างลงได้อย่างมาก โดย
การใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมหนึ่ ง ไปเป็ นปั จจัยการผลิตของอีก
กิจกรรมหนึ่ งได้ ทำาให้ระบบการผลิตโดยรวมมีต้นทุนลดลงดังกล่าวนี้
หลักการเกษตรแบบผสมผสาน เป็ นเรื่องที่เกษตรกรรู้จักวิธี
การนี้มานานแล้ว แต่การนำ าไปใช้ในทางปฏิบัติในบ้านเรายังมีอยู่ในวง
จำากัด เนื่ องจากปั จจัยหลายอย่าง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ การเกษตร
แบบผสมผสานระหว่างการเลีย ้ งปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลีย ้ งปลา
ในนาข้าว หรือการเลีย ้ งปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ ด ไก่ และการเลีย
้ งปลา
ร่วมกับปลา ก็เช่นกัน เกษตรกรได้ปฏิบัติกันมานานนั บศตวรรษแล้ว
ทัง้ ในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวม
ทัง้ บางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี ด้วยประเทศเหล่านี้ ต่าง
ยอมรับว่าระบบการผลิตสัตว์นำ้าและสัตว์บก ที่ผสมผสานกันนี้ เอื้อ
อำานวยประโยชน์ให้แก่กันและกันเป็ นอย่างดี นั บเป็ นระบบการผลิต
ทางการเกษตร ที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่ ง
เท่าที่มีมา

ข้อดีของการเลีย้ งปลาแบบผสมผสาน
1. สามารถใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อ ใช้
ปลูกพืชผัก และใช้เป็ นที่สร้างคอกเลีย้ งสัตว์ ส่วนนำ ้ าในบ่อนอกจากใช้
เลีย
้ งปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำ ากลับมาใช้ได้อีก เช่น
มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็
กลายเป็ นอาหารปลา และเป็ นปุ ุยสำาหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกัน
โคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำ ามาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำ าของเศษ
เหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็ นการกำาจัดของเสีย และช่วยลด
ค่าใช้จา่ ยต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ ุย
3. เป็ นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภค
ภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำ าออกขาย เกิดเป็ นเงิน
ทุนหมุนเวียนในการดำาเนิ นการต่อไป และเป็ นการใช้แรงงานภายใน
ครอบครัวให้เป็ นประโยชน์
4. ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลีย ้ งปลา เลีย ้ ง
สัตว์ หรือ ปลูกพืชอย่างเดียวและเป็ นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรม
แต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำาหน่ ายผลผลิตจาก
ฟาร์มตลอดปี
ลักษณะการเลีย ้ งปลาแบบผสมผสาน
ในการเลีย ้ งปลาแบบผสมผสาน หากจำาแนกตามที่ตัง้ ของ
โรงเรียนเลีย ้ งสัตว์ จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
1. แบบสร้างโรงเรือนเลีย ้ งสัตว์ไว้เหนื อบ่อเลีย
้ งปลา เป็ นแบบที่
นิ ยม กันมากที่สุด เพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรง
เรือนลงสู่บ่อปลา โดยตรงสัตว์ท่ีอาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลา จะได้
ประโยชน์จากบ่อปลา ในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ตำ่าลง
สัตว์จึงไม่เครียด ทำาให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็ว และต้านทานโรคได้
ดีขึ้น ทัง้ ยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ
ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้นเนื่ องจากต้องใช้ไม้ทำาเสา และวัสดุปูพ้ืน
เพิ่มขึ้น โรงเรือนลักษณะนี้ จึงเหมาะสำาหรับเลีย ้ งสัตว์ปีก เช่น เป็ น
หรือไก่เท่านั ้น
2. แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีราง
ระบายมูลสัตว์จากโรงเลีย ้ งมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลีย ้ ง
สัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลีย ้ งสัตว์อยู่ก่อน แล้วจึงขยาย
เนื้ อที่เลีย
้ งปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
เกษตรกรที่จะลงทุนเลีย ้ งปลาผสมผสาน โดยการสร้างโรง
เรือนและขุดบ่อเลีย ้ งปลานั ้น ขอแนะนำ าให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่า
จะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่ากว่า เพราะ
เป็ นการประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำาหรับเกษตรกร
ที่มีโรงเรือนเลีย ้ งสัตว์แล้ว หากต้องการเลีย ้ งปลาเพิ่มขึ้นคงต้องใช้แบบ
หลัง
ขนาด ลักษณะของบ่อเลีย ้ งปลาและโรงเรือนเลีย ้ งสัตว์
เมื่อคัดเลือกพื้นที่ท่ีเหมาะสมทัง้ ทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ
และสังคม ส ำหรับการเลีย ้ งปลาแบบผสมผสานได้แล้ว ขอแนะนำ าให้
สร้างบ่อปลาเป็ นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเป็ นการเลีย
้ งขนาดใหญ่ระดับ
การค้า ควรขุดบ่อให้มีขนาดใหญ่ตัง้ แต่ 10-20 ไร่ ลึก 1.1-1.3 เมตร
เพื่อเก็บนำ ้ าให้ได้ลึก 1.0 เมตร ถ้าจะขุดติดต่อกันหลาย ๆ บ่อ ควรเว้น
คันบ่อไว้ 3.0 -5.0 เมตร โรงเรือนเลีย้ งสัตว์ปลูกเหนื อบ่อปลาปลูกชิด
คันบ่อด้านที่อยู่ต้นลม ควรปลูกเป็ นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเลีย
้ งไก่ บน
บ่อปลา ขนาด 15 ไร่ โรงเรือนควรมีขนาด 400 ตร.ม. เลีย ้ งไก่ได้
ประมาณ 9,000 ตัว เล้าไก่ควรสูงจากนำ ้ าประมาณ 1.0-1.5 เมตร หาก
เป็ นโรงเลีย้ งสุกร ในบ่อขนาด 15 ไร่ ควรปลูกสร้างบนคันดินของบ่อ
ปลาหรือ เหนื อบ่อปลาด้านต้นลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกแบบเรียบง่าย
ประหยัด ขนาดประมาณ 200 ตร.ม. เลีย ้ งสุกรได้มากประมาณ 100
ตัว พื้นโรงควรลาดเอียงไปทางด้านบ่อปลา เพื่อสะดวกในการระบาย
มูลสุกรลงบ่อปลา นอกจากไก่และสุกรแล้ว เกษตรกรอาจจะเลีย ้ งสัตว์
อื่น ๆ เช่น เป็ ด ห่าน แพะ นกกระทา ฯลฯ บนบ่อเลีย ้ งปลาได้การสร้าง
โรงเลีย ้ งสัตว์เหล่านี้ ควรปรึกษาผู้รู้ เช่น เจ้าหน้ าที่กรมปศุสัตว์ หรือ
หาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารคำาแนะนำ า หรือตำาราวิชาการต่าง ๆ ที่หา
ได้จากร้านค้าที่จำาหน่ ายพันธ์ุสัตว์ อาหารสัตว์ หรือจากร้านหนั งสือ
ทัว่ ไป

สำาหรับเกษตรกรที่เลีย
้ งปลาผสมผสานในชนบท แบบยังชีพควรขุดบ่อ
อย่างน้ อยขนาดครึ่งไร่ จนถึงสองไร่ แล้วสร้างโรงเรือนเลีย ้ งสัตว์ไว้บน
บ่อปลา ขนาดของโรงเรือน สำาหรับเลีย ้ งไก่ หรือเป็ ด บนบ่อปลา ขนาด
1 ไร่ ควรมีขนาดประมาณ 40 ตารางเมตร สำาหรับเลีย ้ งไก่หรือเป็ ดได้
200 ตัว ส่วนโรงเรือนสุกรควรมีขนาดประมาณ 5-8 ตารางเมตร เลีย
้ ง
สุกรได้คราวละ 3-5 ตัว หากเกษตรกรไม่มีทุนมากพอ ก็ลดขนาดของ
การเลีย
้ งสัตว์ลงได้อีกตามกำาลังทรัพย์ท่ีมีอยู่ แต่ผลผลิตปลาที่ได้จะตำ่า
ลง
พันธ์ุปลาที่ใช้เลีย
้ ง
พันธ์ุปลาทุกชนิ ด ที่สามารถเลีย
้ งเจริญเติบโตได้ดีในบ่อ
สามารถนำ ามาใช้เลีย ้ งแบบผสมผสานได้ แต่ท่ีนิยมเลีย้ งกันมากใน
ปั จจุบัน มี 4 ชนิ ดคือ ปลานิ ล ปลาสวาย ปลาตะเพียน และปลาดุกอุย
เทศ และมักนิ ยมปล่อยปลาลงเลีย ้ งในบ่อเดียวกันมากกว่า 1 ชนิ ด
เช่น เลีย
้ งปลานิ ล ร่วมกับปลาสวาย ปลาตะเพียนกับ ปลานิ ล หรือเลีย ้ ง
รวมกันทัง้ ปลานิ ล ปลาสวาย และปลาตะเพียน ส่วนปลาดุกบิก ๊ อุย
นิ ยมเลีย้ งเพียงชนิ ดเดียวในบ่อ อัตราการปล่อยปลาลงเลีย้ ง ส่วนใหญ่
ลูกปลาทุกชนิ ดที่ปล่อยลงเลีย ้ งในบ่อ จะมี ขนาด 1.0-1.5 นิ้ว เนื้ อที่ 1
้ งรวมกัน ดังนี้ คือ ปลานิ ล 4,000-5,000 ตัว
ไร่ จะปล่อยปลาลงเลีย
ปลาสวาย 2,000-2,500 ตัว ปลาตะเพียน 1,000-1,500 ตัว
อัตราส่วนการปล่อยปลาลงเลีย ้ งนี้ จะเลีย
้ งกันในบ่อขนาด
ใหญ่ประมาณ 15 ไร่ โดยเลีย
้ งไก่ ประมาณ 10,000 ตัว หรือ สุกร
220 ตัว พร้อมกันไปด้วย การปล่อยปลาลงเลีย ้ งนี้พบว่ามีข้อแตกต่าง
กันมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย หาก
เกษตรกรต้องการร่นระยะเวลาการเลีย ้ งให้สัน
้ ลง และต้องการปลาที่มี
ขนาดใหญ่ ก็ควรลดอัตราปล่อยลงอีก 20-25% หากต้องการยึดระยะ
การเลีย
้ งให้นานออกไป และไม่ต้องการปลาตัวใหม่มากนั ก เมื่อถึง
เวลาจับก็เพิ่มอัตราปล่อยมากกว่านี้ได้อีก สำาหรับปลาดุกอุยเทศ มัก
นิ ยมเลีย ้ งในบ่อที่มีขนาด 5-10 ไร่ จะ
้ งเพียงชนิ ดเดียว และมักเลีย
๊ อุย ขนาด 1 นิ้ว ไร่ละ 30,000 - 40,000 ตัว ใน
ปล่อยลูกปลาดุกบิก
บ่อขนาด 5 ไร่ จะปล่อยลูกปลาประมาณ 200,000 ตัว โดยเลีย
้ งไก่
เนื้ อ จำานวน 5,000 ตัวควบคู่ไปด้วย
สำาหรับเกษตรกรที่เลีย
้ งแบบยังชีพ ควรปล่อยปลาให้น้อย
กว่านี้ โดยปกติในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ พร้อมกับการเลีย้ งสุกรไว้ 5 ตัว
หรือ ไก่ หรือเป็ ด 100 ตัว ควรปล่อยปลาชนิ ดต่าง ๆ ลงเลีย
้ งประมาณ
1,000-1,200 ตัว ก็เพียงพอสำาหรับการเลีย ้ งปลาประมาณ 8 เดือน
และได้ปลาขนาดใหญ่ท่ีเหมาะสมสำาหรับการบริโภคหรือขาย เพื่อเป็ น
รายได้เสริมอย่างดี หากไม่สามารถเลีย
้ งสุกร หรือเป็ ด หรือไก่ ได้ตาม
จำานวนที่แนะนำ า ก็ลดจำานวนลงได้ แต่ควรใส่ปุยยูเรีย ลงในบ่อปลาใน
อัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ ทุกสัปดาห์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของ
มูลสัตว์ให้ดีขึ้น

การจัดการบ่อเลีย ้ งปลาแบบผสมผสาน
การเตรียมบ่อปลาเพื่อเลีย ้ งปลาควรเริ่มต้นในฤดูแล้ง โดยการ
สูบนำ ้ าออกจากบ่อ พร้อมทัง้ จับปลาออกให้หมด ตากดินก้นบ่อให้แห้ง
แล้วใส่ปูนขาว ในอัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าสภาพดินเป็ นกรด
มากต้องใส่ปูนขาวมากกว่านี้ เช่น ถ้าดินเป็ นกรดวัดค่าความเป็ นกรด
ได้น้อยกว่า 5 ต้องใส่ปูนขาว ถึง 800 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปูนขาวแล้ว
ปล่อยนำ ้ าเข้าบ่อ ควรกรองนำ ้ าด้วยมุ้งในลอนตาถี่ เพื่อป้ องกันลูกปลา
ชนิ ดอื่น ๆ เข้ามากับนำ ้ า ให้ได้นำ้าลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยให้
ระดับผิวนำ ้ าต่อจากระดับพื้นโรงเรือนเลีย ้ งสัตว์ประมาณ 1.0-1.5 เมตร
หากนำ าสัตว์เลีย ้ ง เช่นไก่ หรือ สุกรเข้าโรงเลีย้ งครัง้ แรก ควรทิง้ ระยะ
ประมาณ 7-10 วัน ภายหลังจากนำ าสัตว์เข้าเลีย ้ งในโรงเล้ว และนำ ้ าใน
บ่อมีสีเขียวจึงปล่อยปลาลงเลีย ้ ง พันธ์ุปลาที่จะปล่อยลงเลีย ้ ง ควรเลือก
ซื้อที่มีขนาดใหญ่ ถ้าได้ปลาขนาดความยาวตัง้ แต่ 2 นิ้วขึ้นไป จะได้ผล
ดี
ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มในระยะแรก แต่จะได้กำาไรคืนมา
คุ้มค่าที่ลงทุนไป เพราะลูกปลาขนาดใหญจะมีอัตรารอดสูง สามารถร่น
ระยะเวลาการเลีย ้ งให้สัน
้ ลง และควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อใจได้จริง ๆ
เพราะมีฟาร์มจำาหน่ ายลูกปลาบางรายเห็นแก่ได้ ทำาการปลอมปน
ลูกปลา เช่น เอาลูกปลาดุกยักษ์ มาหลอกจำาหน่ ายเป็ นลูกปลาดุกอุย
เทศให้แก่ผู้ซ้ือ เป็ นต้น ปลาที่ปล่อยทัง้ หมดควรมีขนาดใกล้เคียงกัน
และควรปล่อยปลาให้ครบชนิ ด และจำานวนในเวลาเดียวกัน หรือไม่
ควรปล่อยปลาห่างกันเกิน 5 วัน ทัง้ นี้เพื่อให้ลูกปลาแต่ละชนิ ดมีขนาด
เท่ากัน
เมื่อปล่อยลูกปลาลงเลีย ้ งแล้ว ก็ต้องระวังอย่าให้นำ้าในบ่อเน่ า
เสียเนื่ องจากมูลสัตว์ ลงไปในบ่อมากเกินไป จนปลากินไม่ทัน ทำาให้
หมักหมม เน่ าเปื่ อยอยู่ในนำ ้ าบริเวณก้นบ่อ ทำาให้ออกซิเจนในนำ ้ าลดลง
และเกิดแก๊สพิษบางชนิ ด เช่น แอมโมเนี ย ซึ่งเป็ นพิษต่อปลาเมื่อเกิด
นำ ้ าเสียในบ่อจะสังเกตได้จากสีของนำ ้ ามีสีเขียวเข้มจัด มีฟองอากาศผุด
ขึ้นมาจากก้นบ่อ โดยเฉพาะบริเวณใต้โรงเรือนเลีย ้ งสัตว์ และปลาจะ
ลอยหัวสขึ้นมาหายใจบนผิวนำ ้ าในตอนเช้า เมื่อเห็นอาการเน่ าเสียของ
นำ ้ าดังกล่าว จะต้องรีบลดปริมาณมูลสัตว์ท่ีตกลงในบ่อลงทันที โดยการ
ใช้กระสอบหรือผ้ามุ้งสีฟ้าขึงไว้ใต้โรงเรือนเลีย ้ งสัตว์ ประมาณครึ่งหนึ่ ง
ของเนื้ อที่เพื่อรองรับมูลสัตว์เอาไว้

สำาหรับเกษตรกรที่เลีย ้ งสุกรบนคันบ่อปลา แทนที่จะล้างมูลสุกรลงบ่อ


ปลาโดยตรง หากทำาบ่อเกรอะมูลสุกรโดยล้างมูลสุกรลงมารวมกันใน
บ่อนี้ ก่อนทิง้ ไว้ประมาณ 5- 7 วัน เพื่อให้ให้มูลสุกรเน่ าเปื่ อยดีก่อน
แล้วจึงระบายลงบ่อปลา จะช่วยลดปั ญหานำ ้ าเสียในบ่อลงไปได้อย่าง
มากในบ่อที่เลีย ้ งปลาหนาแน่ นมาก ถ้าหยุดการเลีย ้ งสัตว์เกิน 5 วัน
ควรจะหามูลสัตว์ท่ีเก็บสำารองไว้ใส่ลงไปในบ่อบ้าง หรืออาจจะให้
อาหารเสริม เช่น รำาละเอียดหรืออาหารเม็ดสำาเร็จรูป เพื่อไม่ให้ปลาอด
อาหาร ซึ่งจะเป็ นผลให้ปลาอ่อนแอติดโรคได้ง่าย เกษตรกรที่เลีย ้ งปลา
ดุกบิก๊ อุยร่วมกับการเลีย้ งไก่เนื้ อบางราย เมื่อตกลงซื้อขายปลากับ
พ่อค้าแล้วก่อนการจับปลาประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มขุนปลาที่เลีย ้ งไว้
โดยให้อาหารเม็ดสำาเร็จรูปเสริมวันละ 1-2 ครัง้ เพื่อเร่งให้ปลาสมบูรณ์
เมื่อถึงกำาหนดวันจับปลา จะได้ปลาที่มีขนาดพอเหมาะ มีความสมบูรณ์
สูง ได้นำ้าหนั กขายได้ราคาดี เป็ นที่พอใจของผู้ซ้ือ คุ้มค่ากับการลงทุนที่
ซื้ออาหารสำาเร็จรูปมาเลีย
้ ง
ผลผลิตจากการเลีย้ งปลาแบบผสมผสาน
ผลผลิตปลาจากการเลีย ้ งแบบผสมผสาน จะแปรผันไปกับ
ชนิ ดและปริมาณสัตว์ท่ีเลีย
้ ง รวมทัง้ ชนิ ดและขนาดของปลาที่ปล่อย
้ งด้วย ในบ่อขนาดประมาณ 10 ไร่ ที่เลีย
และระยะเวลาเลีย ้ งไก่กับปลา
นิ ลชนิ ดเดียว จะได้ผลผลิตปลานิ ลรวมประมาณ 5.7 ตัน ในเวลา
ประมาณ 10 เดือน ในบ่อขนาด 15 ไร่ ที่เลีย
้ งไก่กับปลานิ ล ปลาสวาย
ให้ผลิตปลารวมกันถึง 19 ตัน ในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลีย
้ งไก่ร่วมกับ
ปลานิ ล ปลาตะเพียน ปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 12
ตัน และในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลีย
้ งสุกรร่วมกับปลานิ ลและปลาสวาย
ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 15 ตัน สำาหรับปลาดุกอุยเทศ
้ งได้ผลผลิตปลาสูงถึง 16 ตัน ในบ่อขนาด 15 ไร่
เกษตรกรบางรายเลีย
นำ ้ าลึกประมาณ 1 เมตร ภายในเวลา 100 วัน โดยเลีย
้ งร่วมกับไก่เนื้ อ
2 ชุด ๆ ละ 5,000 ตัว ปล่อยปลาดุกอุยเทศลงเลีย
้ ง ขนาด 1 นิ้ว
จำานวน 200,000 ตัว เมื่อเลีย
้ งปลาได้ 2 เดือน แล้วเริ่มให้อาหารเม็ด
สำาเร็จรูปเสริมวันละครัง้ ๆ ละประมาณ 160 กิโลกรัม และให้เศษ
อาหารที่เก็บจากร้านอาหารอีกวันละ 5 ถัง (ถังขนาด 200 ลิตร)

สำาหรับปลาชนิ ดอื่น ๆ ที่นำามาทดลองเลีย


้ งแบบผสมผสาน
โดยนั กวิชาการพบว่าปลานิ ล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ
ปลานวลจันทร์เทศ ปลาหัวโต ปลากินหญ้า ปลากะโห้เทศ ปลาบึกและ
้ งในบ่อขนาด 6 ไร่ โดยปล่อยปลา
กุ้งก้ามกราม เมื่อนำ ามาปล่อยลงเลีย
้ งรวมกัน 12,000 ตัว เลีย
ลงเลีย ้ งร่วมกับสุกร 30 ตัวในระยะเวลา
ประมาณ 6 เดือน พบว่า ได้ผลผลิตปลารวมกันทัง้ หมด 3.5 ตัน เมื่อ
้ งในบ่อขนาด 2 ไร่ ปล่อยปลาลง
นำ าปลาชนิ ดดังกล่าวข้างต้นนี้ ไปเลีย
้ งรวมกัน 4,000 ตัว และเลีย
เลีย ้ งร่วมกับเป็ ดไข่ 200 ตัว จะได้ผลผลิต
ปลารวมกัน 2.6 ตัน ในระยะเวลา 10 เดือน

ผลตอบแทนจากการเลีย ้ งปลาแบบผสมผสาน
การเลีย
้ งปลาแบบผสมผสาน เป็ นกิจการที่ต้องลงทุนทัง้ เงิน
ทุน และแรงงาน นอกจากต้นทุนคงที่ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน โรงเรือนเลีย ้ ง
สัตว์ บ่อปลา เครื่องสูบนำ ้ า ฯลฯ แล้ว ยังมีต้นทุนผันแปร ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ขนาดของกิจการ ได้แก่ ค่าพันธ์ุสัตว์ ค่าอาหารสัตว์ ค่านำ ้ ามันเชื้อเพลิง
ค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ และค่าแรงงานเป็ นต้น ใน
ปั จจุบันมีบริษัทผู้ค้าสัตว์ หลายรายที่มีบริการจ้างเกษตรกรเลีย ้ งสัตว์
ให้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ การจ้างเลีย ้ งไก่เนื้ อ โดยบริษัทจะให้พันธ์ุสัตว์
พร้อมอาหารและยามาให้ เมื่อเลีย ้ งจนไก่โตได้ขนาดแล้ว ทางบริษัทจะ
จับคืนไป โดยคิดราคาตามราคาประกันและนำ ้ าหนั กไก่ทัง้ หมด แล้วหัก
ค่าใช้จา่ ยในส่วนของพันธ์ุสัตว์ อาหารและยาไว้ ส่วนที่เหลือคือกำาไรที่
จ่ายให้ผู้เลีย
้ งเป็ นค่าเลีย
้ ง เกษตรกรที่มีความชำานาญถ้าเลีย ้ งไก่โดยไม่
ตายเลย จะได้กำาไรตัวละประมาณ 7.00 บาท ในระยะเวลาประมาณ
50 วัน หากมีไก่ตายบ้างรายได้ก็ลดลงตามส่วน วิธีนี้ช่วยให้เกษตรกร
ที่ไม่มีเงินทุนมากพอ สามารถเลีย้ งไก่เป็ นอาชีพได้ จากการสอบถาม
เกษตรกรที่เลีย ้ งปลานิ ล และปลาสวายกับไก่ ในบ่อขนาด 15 ไร่
ประมาณการว่าต้องลงทุนค่าพันธ์ุปลา 51,000 บาท ค่าแรงงาน
45,500 บาท ค่าอาหารสัตว์นำ้า 15,500 บาท ค่านำ ้ ามันเชื้อเพลิง
2,800 บาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีก 1,900 บาท รวมต้นทุน
้ 116,700 บาท นอกจากนี้ยังมีต้นทุนคงที่ จึงได้แก่ค่า
ผันแปรทัง้ สิน
ดอกเบีย
้ ค่าเช่าที่ดิน ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ ฯลฯ รวมกันอีก
ประมาณ 36,000 บาท รวมต้นทุนทัง้ สิน ้ 152,700 บาท จับปลาได้ทัง้
้ 19 ตัน คิดเป็ นมูลค่า 160,000 บาท ได้กำาไรสุทธิประมาณ 7,300
สิน
้ งปลานิ ลและสวายกับสุกร ในบ่อขนาด 12 ไร่ พบว่า
บาท ส่วนการเลีย
เกษตรกรได้กำาไรมากขึ้นคือ จะได้กำาไรสุทธิประมาณ 20,000 บาท
สำาหรับเกษตรกรที่เลีย ๊ อุย พบว่าในบ่อขนาด 5
้ งไก่เนื้ อกับปลาดุกบิก
้ งไก่เนื้ อ 2 ชุด ๆ ละประมาณ 50 วัน ปล่อยปลาดุกบิก
ไร่ ซึ่งเลีย ๊ อุย
ขนาด 1 นิ้ว ลงเลีย
้ งทัง้ หมด 200,000 ตัว มูลค่า 30,000 บาท เมื่อ
้ งครบ 100 วัน ก็จับปลาขายขนาดตัวละประมาณ 85 กรัม (12
เลีย
ตัว/กิโลกรัม) ได้ผลผลิตปลารวมทัง้ สิน
้ 16 ตัน ในช่วงการเลีย
้ ง 40
วัน สุดท้ายได้ให้อาหารเสริมจำาพวกอาหารเม็ดสำาเร็จรูปลอยนำ ้ า และ
เศษอาหารจากร้านอาหาร รวมเป็ นมูลค่าประมาณ 105,000 บาท เมื่อ
คิดเฉพาะค่าพันธ์ุปลาและอาหาร พบว่าต้นทุนการผลิตของปลาชุดนี้
ประมาณ กิโลกรัมละ 11 บาท เท่านั ้น ในขณะที่ราคาขายส่งที่ฟาร์ม
ของปลาดุกบิก ๊ อุย จะตกประมาณ 18-28 บาท/กิโลกรัม
ปั ญหาและอุปสรรคในการเลีย ้ งปลาแบบผสมผสาน
จากการรับฟั งเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่ วยงานของราชการ
ส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อ
ปรับปรุงการเลีย ้ งปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดีย่ิงขึ้น
คือ
1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการ
เลีย
้ งปลาที่ถูกต้อง ทำาให้ประสบปั ญหาในเรื่องนำ ้ าเสีย แล้วปลาเป็ นโรค
หรือปลาตายมาก เป็ นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่ นเกินไป ทำาให้ปลาไม่เจริญ
เติบโตเท่าที่ควร
1.2 จำานวนสัตว์เลีย ้ งไม่สัมพันธ์ุกับจำานวนปลาในบ่อ ถ้า
จำานวนสัตว์เลีย ้ งน้ อยเกินไป ทำาให้ต้องเพิ่มอาหารสมทบเป็ นการสิน ้
เปลือง หรือถ้าจำานวนสัตว์เลีย ้ งมาก นำ ้ าในบ่อจะเป็ นสีเขียวเข้ม เพราะ
มีเแพลงก์ตอนพืชเกิดมากพวกนี้จะดึงเอาออกซิเจนจากนำ ้ าไปใช้ ทำาให้
ปลาตายได้

1.3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรีย ้ ว เพราะเมื่อฝนตกนำ ้ าจะชะ


เอาความเปรีย ้ วจากดินลงสู่บ่อ สภาพนำ ้ าเปลี่ยนแปลงกระทันหัน อาจ
ทำาให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยเอาปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดู
ฝนและทุก 2 สัปดาห์
1.4 การใช้ยา ฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มก ี าร
เลีย้ งปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำาเป็ นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะ
เป็ นอันตรายแก่ปลาได้
2. การกำาหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง ซึ่ง
มักจะเอารัดเอาเปรียบตัง้ ราคาให้ตำ่ากว่าที่เป็ นจริงมาก เพื่อหวังทำากำาไร
ให้มากที่สุด เกษตกรผู้เลีย ้ งปลามักจะแยกกันเป็ นเอกเทศไม่มีการ
รวมกลุ่ม จึงเกือบจะไม่มีอำานาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลางเลย
3. ขาดแหล่งจำาหน่ ายพันธ์ุปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำานวน
มากเพียงพอพันธ์ุปลาที่มีปัญหามากที่สุดในขณะนี้ คือ ปลานิ ล ซึ่งหา
ลูกปลาพันธ์ุแท้ได้ยากมาก เมื่อเลีย ้ งปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิต
ตำ่า ซำา้ ยังขายได้ราคาตำ่าเพราะมีสีดำาเข้ม ไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธ์ุ
ปลาสวายในบางปี จะขาดแคลนและมีราคาสูงมาก พันธ์ุปลาดุกบิก ๊ อุย
บางครัง้ ก็มก ี ารปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์ มาหลอกขาย เป็ นต้น
ข้อเสนอแนะสำาหรับเกษตรกร

1. ควรศึกษาหาความรู้ทางด้านการเลีย ้ งปลาให้ดี ก่อนที่จะ


ดำาเนิ นการ โดยการหาเอกสารคำาแนะนำ า ตำาราที่เขียนให้เฉพาะ
เกษตรกรมาอ่านก่อนแล้ว สอบถามความรู้เพิ่มเติม จากผ้รู ู้ซ่ ึงได้แก่
เจ้าหน้ าที่ของรัฐในพื้นที่ หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่ วยงานต่าง ๆ
ของรัฐ ที่เปิ ดอบรมทุกปี ปี ละหลาย ๆ ครัง้
2. ผู้เลีย
้ งปลาควรรวมตัวกันเป็ นกลุ่ม เพื่อสร้างอำานาจต่อรอง
กับพ่อค้าไม่ว่าจะเป็ นพ่อค้าพันธ์ุสัตว์ พ่อค้าสัตว์นำ้า หรือพ่อค้าอาหาร
สัตว์ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน
แล้วปั ญหาเรื่องการถูกโก่งราคาปั จจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อ
ผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก

3. เกษตรกรควรหมัน ่ ติดตามข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการ ที่


เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่างสมำ่าเสมอ เพื่อจะได้รบ ั รู้ข่าวสารที่
ทันสมัยสำาหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผล
ดีย่ิงขึ้น เช่น การอ่านหนั งสือพิมพ์ นิ ตยสาร ฟั งวิทยุ และชมโทรทัศน์
รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตร เป็ นต้น
4. เกษตรกรควรหมัน ่ ฝึ กตนให้เป็ นคนหนั กแน่ น รู้จกั พินิจ
พิเคราะห์ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรที่ควรเชื่อ อะไรที่ไม่ควรเชื่อ
ประพฤติตนให้เป็ นคนดี มีศีลธรรม เลิกลด หรือ ละจากอบายมุขทัง้
ปวง อย่าตกเป็ นทาสของสังคม พร้อมทัง้ ให้ยึดหลักธรรมของ
พระพุทธเจ้า ได้แก่ อิทธิบาทสี่ และพรหมวิหารสี่ เป็ นหลักในการ
ประกอบอาชีพ จึงจะได้ผลสำาเร็จที่แท้จริง

You might also like