Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

ประชาชนลุมน้ําโขงจะไดประโยชนอะไร

จากการประชุมสุดยอดผูนําประเทศลุมน้ําโขงตอนลาง?

มนตรี จันทวงศ, โครงการฟนฟูนิเวศในภูมิภาคแมน้ําโขง

ประเทศไทยรวมกับคณะกรรมาธิการแมน้ําโขง(MRC) กําลังจะไดหนาเปนเจาภาพอีกครั้งหนึ่ง กับการ


จัดการประชุมสุดยอดผูนําประเทศลุมน้ําโขงตอนลาง ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ ในระหวางวันที่ 2-5 เมษายน
ที่จะถึงนี้ ดวยเหตุที่ประเทศในลุมน้ําน้ําโขงตอนลางไดแก ไทย, สปป.ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม ไดรวมลง
นามใน ขอตกลงความรวมมือ ในการพัฒนาลุมแมน้ําโขงอยางยั่งยืน เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2538 พรอม
กับการเกิดขึ้นอยางเปนทางการ ของ คณะกรรมาธิการแมน้ําโขง ซึ่งไดวนมาครบรอบ 15 ปพอดีในปนี้ โดยจะ
มีการจัดการประชุมนานาชาติกอนในวันที่ 2-3 เมษายน ภายใตชื่อการประชุมหรูๆวา “การจัดการน้ําขาม
พรมแดน ในยุคสมัยของโลกที่กําลังเปลี่ยนแปลง” และนัยวาจะนําขอสรุปที่ไดเสนอตอที่ประชุมสุดยอด
ผูนําประเทศลุมน้ําโขงตอนลาง และประเทศสังเกตการณอีกสองประเทศสําคัญคือ จีน และพมา ในวันที่ 5
เมษายน ดวยเชนกัน

หากจะตั้งคําถามกันตรงไปตรงมาวา ประชาชนในลุมน้ําโขงจะไดประโยชนอะไรเปนชิ้นเปนอันกับการ
ประชุมสุดยอดที่จะถึงนี้ ผูเขียนคิดวาคําตอบที่กระชับและไดใจความมากที่สุดคือ ประชาชนลุมน้ําโขงจะไมได
ประโยชนอะไรเลย กับการลงทุนประชุมกันที่หัวหินในครั้งนี้ การระบุเชนนีห้ าไดเปนการมองโลกในแงราย
จนเกินไป หากแตผูเขียนมีขอคิดเห็นสนับสนุนอยางนอย 2 ประการ ไดแก

ประการแรก การประชุมนี้ไมไดมุงแกไขปญหาของประชาชนในลุมน้ําโขง หากแตแนวคิดเบื้องหลัง


ของการจัดการประชุมนานาชาติ คือ ความพยายามในการผลักดันการสรางเขื่อนไฟฟาพลังน้ําในลุมน้ําโขง ดัง
จะเห็นไดจากหัวขอการประชุมหลักของทั้งสองวัน ไดแก มองไปขางหนาการจัดการน้ํา อาหาร และพลังงาน
อยางยั่งยืน, การปรับตัวของประเทศในลุมน้ํา ในสถานการณการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และ มองไป
ขางหนาตอบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนกับการลงทุนพัฒนาโครงสรางพื้นฐาน ซึ่งปจจุบันกลุมประเทศในลุม
น้ําโขงตอนลางมีแผนที่จะดําเนินการถึง 11 เขื่อน โดย 7 เขื่อนอยูในประเทศ สปป.ลาว(หนึ่งในเจ็ดเขื่อนคือ
เขื่อนไซยะบุรี โดย กฟผ.เพิ่งลงนามรับซื้อไฟฟากับบริษัทช.การชาง ซึ่งไดรับสัมปทานจากรัฐบาลสปป.ลาว), 2
เขื่อนอยูบนพรมแดน ไทย-สปป.ลาว(เขื่อนปากชม และเขื่อนบานกุม) และ 2 เขื่อนอยูในประเทศกัมพูชา
แนวคิดการสรางเขื่อนไฟฟาพลังน้ําบนแมน้ําโขง คือภารกิจหลักที่มีมาตั้งแต พ.ศ. 2500 ตั้งแตยังเปนในรูปของ
คณะกรรมการแมน้ําโขง กอนจะพัฒนาองคกรมาเปนคณะกรรมาธิการแมน้ําโขงในป 2538 โดยปจจุบันรัฐบาล
ของประเทศลุมน้ําโขงไดใหสัมปทานแกบริษัทเอกชน จาก จีน, ไทย, มาเลเซีย และ เวียดนาม ทําการศึกษา
ความเปนไปไดเกือบทั้งหมดแลว ดังนั้นเวทีการประชุมนานาชาติที่หัวหิน จึงเปนเพียงพิธีกรรมในอันที่จะสราง
ความชอบธรรมใหกับการสรางเขื่อนไฟฟาบนแมน้ําโขงเทานั้น โดยการไปหยิบยกตัวอยางจากแมน้ําอื่นๆทั่ว
โลกมาเปนแบบอยาง วาเปนแบบอยางในการใชประโยชนจากการใชแมน้ํารวมกัน ทั้งในดานพลังงาน , น้ํา
และการผลิตอาหาร แตสิ่งทีค่ ณะกรรมาธิการแมน้ําโขงหลีกเลี่ยงที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในเวทีการประชุม
นานาชาติ มีอยางนอยในสองเรื่องสําคัญ คือ
การศึกษาดานผลผลิตการประมง ของคณะกรรมาธิการแมน้ําโขงเอง ที่ระบุไวอยางชัดเจนวา มูลคา
ของผลผลิตการประมงในลุมน้ําโขงมีมากกวา 3 พันลานเหรียญสหรัฐตอไป ประชาชนในลุมน้ําโขงไดพึ่งพา
โปรตีน วิตามินเอ และแคลเซียม จากปลาในระดับที่สูงถึง 49-82% และปลาที่จับไดในลุมน้ําโขงตอนลาง
ระหวาง 40-70% ตองพึ่งพาการอพยพทางไกล นอกจากนีย้ ังไมมีเทคโนโลยีการสรางเขื่อนใดที่จะบรรเทา
ผลกระทบดานการประมงนี้ได และรวมถึงปลาบึก ปลาน้ําจืดที่มีขนาดใหญที่สุดในแมน้ําโขง จะตองสูญพันธุ
หากมีการสรางเขื่อนบนแมน้ําโขง
และยังไมมีประสบการณการสรางเขื่อนไฟฟาพลังน้ําขามพรมแดน บนลําน้ําสาขาในลุม น้ําโขงตอนลาง
ที่ประสบความสําเร็จทั้งดานไฟฟา, น้ําและการผลิตอาหารไปพรอมกัน หากแตมีบทเรียนผลกระทบตอระบบ
นิเวศแมน้ําและชุมชนอยางรุนแรง ในกรณีการสรางเขื่อนไฟฟาน้ําตกยาลี กั้นแมน้ําเซซาน หรือเขื่อนไฟฟา
สะเรปอก กั้นแมน้ําสะเรปอก เขื่อนทั้งสองแหงอยูในเวียดนาม แตทายน้ําอยูในประเทศกัมพูชา จนกระทั่งทุก
วันนี้ประชาชนที่อาศัยอยูทายน้ําในกัมพูชา ยังคงไดรับผลกระทบมานานนับ 10 ป โดยคณะกรรมาธิการแมน้ํา
โขงไมสามารถเขาไปจัดการแกปญหาใดๆได

ประการที่สอง คณะกรรมาธิการแมน้ําโขง หลีกเลี่ยงบทบาทที่จะใชเวทีการประชุมนานาชาติครั้งนี้


แสวงหาขอเท็จจริงตอปรากฏการณน้ําโขงแหง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดชวงเดือนกุมภาพันธและตอเนื่องถึงเดือน
มีนาคมของปนี้ ดวยการตรวจสอบการพัฒนาเขื่อนไฟฟาพลังน้ํา ที่สรางเสร็จแลวตอนตนน้ําในประเทศจีน ซึ่งมี
มากถึง 4 เขื่อนแลวคือ เขื่อนมานวาน, เขื่อนตาเฉาซาน, เขื่อนจินฮง และเขื่อนเสี่ยววาน รวมทั้งกําลังเริ่ม
กอสรางเขื่อนนัวจาตูแหงใหมในขณะนี้ เพื่อใหเปนแบบอยางของการมองหาแนวทางการจัดการแมน้ํารวมกัน
อยางยั่งยืน แตคณะกรรมาธิการแมน้ําโขง กลับออกแถลงการณ (แทนรัฐบาลจีน) วาสาเหตุน้ําโขงแหงนั้น เกิด
จากสภาพความแหงแลงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในระดับภูมิภาคแมน้ําโขง ซึ่งเปนผลตอเนื่องมาจากปริมาณฝนตก
ที่นอยในฤดูฝนของป 2552 สงผลใหในฤดูแลงระดับน้ําแมน้ําโขง จึงไดลดระดับลงอยางรวดเร็ว ดังนั้นการ
ประชุมที่หัวหินจะไมสามารถแกไขปญหาเรื่องน้ําโขงแหงไดแตอยางใด

ผูเขียนเห็นวา สถานการณปญหาแมน้ําโขงแหงนั้น มิไดเกิดจากสาเหตุของธรรมชาติเพียงประการ


เดียว หากแตยังมีสาเหตุหลักจากการสรางเขื่อนปดกั้นแมน้ําโขงในประเทศจีนดวย นับตั้งแตการสรางเขื่อน
มานวานกั้นแมน้ําโขงแหงแรก เริ่มเปดใชงานมาตั้งแต พ.ศ. 2535 ทั้งนีก้ ารศึกษาปริมาณการไหลของน้ําใน
แมน้ําโขง โดยสวนวิจัยและพัฒนาอุทกวิทยา สํานักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ํา ที่มีมาตั้งแต
เดือนเมษายน 2547 ไดยืนยันวา คาเฉลี่ยการไหลของน้ําโขงที่สถานีวัดน้ําเชียงแสน(จ.เชียงราย) เกิดความผัน
ผวนที่ชัดเจน คือเมื่อเปรียบเทียบกับในชวงป 2505-2535 กอนเขื่อนมานวานจะเปดใชงาน คาเฉลี่ยการไหล
ของน้ําในแมน้ําโขงต่ําสุดในฤดูแลงอยูที่ 752 ลูกบาศกเมตรตอวินาที แตในชวงป 2536-2546 หลังเขื่อนมาน
วานเปดใชงาน คาเฉลี่ยการไหลของน้ําโขงลดต่ําลงเหลือเพียง 569 ลูกบาศกเมตรตอวินาที เฉพาะป 2536
เพียงปเดียว ปริมาณการไหลของน้ําโขงลดลงเหลือเพียง 315 ลูกบาศกเมตรตอวินาทีอยางฉับพลันทันที และ
ระดับน้ําโขงไดลดลงต่ําสุดจนไมสามารถวัดไดในวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ทั้งๆที่เปนชวงเขาฤดูฝนแลว
ปจจุบันจีนไดสรางเขื่อนกั้นแมน้ําโขงแลวเสร็จอีก 3 แหง โดยเฉพาะเขื่อนเสี่ยววาน เพิ่งเริ่มติดตั้ง
เครื่องกําเนิดไฟฟาตัวแรกและเปดใชงานในเดือนกันยายน 2552 ที่ผานมา เปนเขื่อนที่มีขนาดอางเก็บน้ําใหญ
มากถึง 14,560 ลานลูกบากศเมตร หรือมีขนาดใหญกวา 5 เทา เมื่อเทียบกับเขื่อนที่สรางเสร็จแลวทั้ง 3 เขื่อน
และหากเปรียบเทียบความจุอางเก็บน้ําทั้ง 4 เขื่อนในจีนซึ่งมีมากถึง 17,603 ลานลูกบากศเมตร จะพบวาเขื่อน
ในจีนทั้งหมดนี้ สามารถเก็บน้ําไวไดมากถึง 167% ของปริมาณการไหลของน้ําโขงเฉลี่ย 4 เดือนชวงฤดูแลง
(มค.-เมย.) ในชวงป 2504-2552 (หากเขื่อนนัวจาตูสรางเสร็จ ตัวเลขสัดสวนขางตนนี้จะเพิ่มเปน 400%) ดังนั้น
การเปดใชเขื่อนเสี่ยววานจึงเปนสาเหตุสําคัญอีกประการประการหนึ่ง ที่ทําใหแมน้ําโขงไดลดระดับลงอยาง
รวดเร็ว เชนเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในป 2536 เมื่อเริ่มเปดใชเขื่อนมานวาน

นอกจากนีผ้ ลของการเปดใชเขื่อนมานวานในป 2535 จนถึงปจจุบัน ทําใหระดับน้ําในแมน้ําโขงเกิด


ความผันผวนตลอดเวลา กลาวไดวารูปแบบการไหลของน้ําโขงแบบธรรมชาติกอนหนาป 2535 ไดหายไปโดย
สิ้นเชิง สิ่งนีไ้ ดสรางผลกระทบอยางรุนแรงตอระบบนิเวศแมน้ําโขง, การอพยพของปลา, อาชีพประมงของ
ชุมชน, อาชีพเกษตรกรรมริมฝงโขง และปญหาการพังทลายของตลิ่งแมน้ําโขง ตอเนื่องมาจนถึงปจจุบัน โดย
พื้นที่ที่ไดรับผลกระทบรุนแรงมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของแมน้ําโขงนี้ คือเขตอ.เชียงแสน อ.เชียงของ
และอ.เวียงแกน ของจ.เชียงราย

โดยสรุปรวมแลว งานพิธีกรรมครบรอบ 15 ปที่หัวหินที่กําลังจะถึงนี้ หาไดมีแกนสารสาระที่เปน


ประโยชนกับประชาชนในลุมน้ําโขง หรือแกไขปญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนลุมน้ําโขงในขณะนี้ ในทางกลับกัน
ทุกฝายกลับจองฉกฉวยผลประโยชนจากการประชุม เห็นไดจากมีเคาลางของฝายการเมืองไทย (ในฐานะทีเ่ ปน
ประธานดวย) ที่จะมุงใชวิกฤตภัยแลงของลุมน้ําโขง เปนโอกาสในการผลักดันการสรางเขื่อนบนแมน้ําโขง โดย
มี “ประชาชนลุมน้ําโขง” เปนเพียงตัวละครรองรับความชอบธรรมของโครงการเขื่อนตางๆที่จะเกิดขึ้นเทานั้น นี่
ยังไมนับรวมวา สถานที่จัดการประชุมยังอุตสาหไปจัดนอกลุมน้ําโขง กับงบประมาณที่ทุมลงไปกวา 60 ลาน
บาท แลวประชาชนลุมน้ําโขงจะไดประโยชนอะไร ..ถามจริงๆ

------------------------------

You might also like