Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 13

1.

เทคนิคการเขียนขอบเขตของการวิจัย
1.1 หลักการเขียนขอบเขตของการวิจัย
การวิจยั แตละเรื่องมีขอบเขตมากนอยเพียงใดขึ้นอยูก ับงบประมาณและระยะเวลาที่จะ
ทําการวิจยั การกําหนดขอบเขตของการวิจยั จะชวยใหผวู จิ ัยวางแผนการเก็บขอมูลไดครอบคลุมและ
ตรงกับความมุง หมายของการวิจัยที่ตั้งไว
ขอบเขตของการวิจัยที่สําคัญที่ผูวจิ ัยตองกําหนด มีดังนี้
1. ลักษณะประชากรและจํานวนประชากร (ถาหาได)
2. การเลือกกลุมตัวอยาง ขนาดของกลุมตัวอยาง และวิธีเลือกกลุมตัวอยาง
3. ตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระ

การกําหนดขอบเขตของการวิจัยนั้นใหคํานึงถึงความมุง หมายของการวิจัยเปนสําคัญ

กรณีที่เปนการวิจัยเชิงทดลอง นอกจากกลาวถึงประชากร กลุมตัวอยางและตัวแปร


แลวควรจะตองกลาวถึงเนื้อหาที่ใชในการทดลอง และระยะเวลาทีใ่ ชในการทดลองดวย
1.2 ตัวอยางการเขียนขอบเขตของการวิจัยที่สอดคลองกับความมุงหมายของการวิจัย
พรอมแนวคิด
ตัวอยางที่ 1 เรื่อง เจตคติตอ วิชาคอมพิวเตอรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
แผนการเรียนธุรกิจ สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 5
ประชากรที่ใชในการวิจัย เปนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจ
ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 จํานวน 5 จังหวัด ไดแก จังหวัด
สุพรรณบุรี ราชบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 จํานวน
นักเรียนทั้งสิ้น 4,255 คน
กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ใน
ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 สุมแบบแบงชั้น (Stratified random Sampling) มีขนาดโรงเรียนเปน
ชั้นและมีโรงเรียนเปนหนวยการสุม (Sampling Unit) ไดกลุมตัวอยาง จํานวน 4 โรงเรียน มีนักเรียน
จํานวนทั้งสิ้น 451 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ไดแก ระดับชั้นเรียน ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพผูปกครอง
รายไดของครอบครัว การมีเครื่องคอมพิวเตอรใชที่บาน
2

ตัวแปรตาม ไดแก เจตคติตอวิชาคอมพิวเตอรใน 3 ดาน คือ ดานคุณประโยชน


ดานเนื้อหา ดานกิจกรรม

แนวคิด
จากขอบเขตของการวิจัยดังกลาว แสดงวา
1. เขียนครบถวนทั้ง 3 หัวขอตามหลักการกําหนดขอบเขตของการวิจัย
2. แตละหัวขอ มีรายละเอียดครบถวนและชัดเจน

ตัวอยางที่ 2 ผลการใชกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบตั ิในการฝกประสบการณวิชาชีพเพือ่


เสริมสรางเจตคติที่ดตี อวิชาชีพครูของนิสติ ศึกษาศาสตร
ขอบเขตของการศึกษาคนควา
1. ประชากร ไดแก นิสิตคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปที่ 4
ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 จํานวน 400 คน แบงออกเปน 10 หองเรียน
2. กลุมตัวอยาง ไดแก นิสิตคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริน
ทรวิโรฒ ชั้นปที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 จํานวน 40 คน ไดมาโดยวิธีการสุมจับฉลาก
หองเรียนจํานวน 1 หองจากนั้นสุมแบงกลุมนิสิตเปน 2 กลุม (random assignment) ไดกลุมละ 20 คน
และสุมจับฉลากอีกครั้งวากลุมใดเปนกลุมทดลอง กลุมใดเปนกลุมควบคุม
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระ ไดแก วิธีการฝกประสบการณวิชาชีพ แบงออกเปน 2 วิธี คือ
การใชกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติ และการใชวิธีตามปกติ
3.2 ตัวแปรตาม ไดแก เจตคติที่ดีตอวิชาชีพครู
4. ระยะเวลา การศึกษาคนควาครั้งนี้กระทํา ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 เปน
เวลา14 สัปดาห ใชเวลาทดลองสัปดาหละ 4 คาบ คาบละ 50 นาที
5. เนื้อหาวิชาที่ใชในการทดลอง ไดแก วิชา 404362 การฝกประสบการณวิชาชีพ 2
ตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต พ.ศ. 2548 ของคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
6. สถานที่ใชฝกประสบการณวิชาชีพ ไดแก โรงเรียนวัดอัมพวา อําเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม และคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3

2. เทคนิคการเขียนนิยามศัพทเฉพาะ
2.1 หลักการเขียนนิยามศัพทเฉพาะ
การใหนิยามศัพทเฉพาะเปนการใหความหมายของคําที่มีความสําคัญในการวิจัยเรื่อง
นั้น โดยเฉพาะอยางยิ่งคําที่เปนตัวแปรตามที่เปนนามธรรม เชน ตัวแปร แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ เชาว
ปญญาทางอารมณ ความพึงพอใจในการบริการ เจตคติตอสินคา เปนตน ซึ่งจะตองนิยามโดยอาศัย
ทฤษฎี หลักการ แนวคิดจากผูรู ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวของ ซึ่งจะตองนิยามใหอยูในรูปของนิยาม
ปฏิบัติการ จึงจะสามารถสรางเครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพดานความเที่ยงตรง
นิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) เรียกสั้นๆ วา O.D. คือการใหความหมาย
ตัวแปรที่สําคัญ โดยเฉพาะตัวแปรตาม (Dependent Variable) ที่ตองการศึกษา หรือตัวแปรอิสระที่มี
ลักษณะเปนนามธรรม ซึ่งจะตองนิยามใหเปนคุณลักษณะพฤติกรรม และหรือกิจกรรมที่จะศึกษา ให
อยูในรูปที่วัดได สังเกตได ซึ่งจะเปนประโยชนตอการสรางเครื่องมือวิจัยใหมีความเที่ยงตรง (Validity)
2.2 ประเภทของการเขียนนิยามศัพทเฉพาะ
นอกจากนี้การนิยามศัพทเฉพาะก็เพื่อใหผูอานงานวิจัยมีความเขาใจในตัวแปรที่ศึกษา
และมีความเขาใจตรงกันกับผูวิจัย และเปนการชวยใหการเขียนเคาโครงการวิจัยรัดกุมขึ้น
1. คํานิยามศัพทเฉพาะ ในการวิจัยทั่ว ๆ ไปมักจะตองใหความหมายของคําบางคําที่
ใชในรายงานการวิจัยใหเฉพาะเจาะจงในประเด็นที่เกี่ยวของกับการวิจัย เพื่อใหผูวิจัยและผูอานมีความ
เขาใจตรงกัน ดังนั้นนักวิจัยจะทําการวิจัยเรื่องใดจะตองนิยามศัพทเฉพาะแตละตัวใหชัดเจนกอน ซึ่งจะ
ชวยใหงานวิจัยอยูในกรอบมากยิ่งขึ้นอีกดวย
สําหรับคําที่ควรใหนิยามนั้นอาจะเปนคํายอ ๆ หรือคําสั้น ๆ ที่ใชแทนขอความยาว ๆ
เพราะถาเขียนขอความยาว ๆ ซ้ํากันบอย ๆ จะทําใหเสียเวลาในการเขียน ผูเขียนจึงกําหนดเปนคํายอหรือ
คําสั้น ๆ แทน ซึ่งคําเหลานี้จะตองใหนิยามศัพทเฉพาะดวย เพื่อใหผูอานเขาใจตรงกับผู วิจัยวาคํานั้น ๆ
หมายถึงอะไร เชน
การกาวราว หมายถึง การกระทําที่รุนแรงผิดไปจากปกติ เปนการกระทําที่ทําใหผูอื่น
เจ็บปวด เสียหาย หรือมุงทํารายผูอื้น ทั้งมีเจตคติและไมมีเจตคติโดยตรง
เกษตรกร หมายถึง ผูที่ประกอบอาชีพในการทํานา ทําไร ทําสวน หรือเลี้ยงสัตว ในป
พ.ศ.2544
สําหรั บคํ าที่มีค วามหมายเฉพาะเจาะจงในการวิจัย ซึ่งอาจมีความหมายไมใ ช
ความหมาย ทั่ว ๆ ไป ผูวิจัยจะตองใหคํานิยามคําเหลานี้ดวย เพื่อไมใหผูอานเขาใจไปเปนอยางอื่น เชน
โฮสต (Host) หมายถึง คนหรือสัตวที่มีปรสิตอาศัยอยู
ครูบริหาร หมายถึง ครูใหญ ผูชวยครูใหญ และครูหวั หนาหมวดวิชา
4

คําอีกประเภทหนึ่งที่ควรใหคํานิยามก็คือ คําที่มีลักษณะเปนนามธรรม มีความหมาย


ไมชัดเจน เขาใจยาก เชนคําวา ความมุงหวัง (Aspiration) เพทุบาย (Machiavellianism) ความเชื่อ แบบ
ฝงใจ (Dogmatism) เปนตน
โดยทั่วไปแลวการใหนิยามศัพทเฉพาะ อาจแบงไดเปน 2 แบบคือ การนิยมแบบทั่วไป
กับการนิยามปฏิบัติการ
2. การนิยามแบบทั่วไป เปนการกําหนดความหมายโดยทั่วไปอยางกวาง ๆ อาจให
ความหมายตามทฤษฎี พจนานุกรม หรือตามผูเชี่ยวชาญก็ได เปนการนิยามในรูปมโนภาพซึ่งยากแกการ
ปฏิบัติ ไมรูวาจะวัดไดโดยวิธีใด และใชอะไรวัด เชน
วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนในรูปบทกวีนิพนธ รอยกรองและขอเขียนทั้งหมดที่ใช
ภาษารอยแกว
การตอบและการตรวจใหคะแนนวิธี 0-1 (Zero-one method) หมายถึง วิธีการที่ให
นักเรียนเลือกตอบเฉพาะตัวเลือกที่ถูก จะใหคะแนน 0 คะแนนถานักเรียนตอบผิด และใหคะแนน 1
คะแนนถานักเรียนตอบถูก
3. การนิยามปฏิบัติการ (Operational definition) เปนนิยามที่สามารถเอาผลมาใช
ปฏิบัติไดจริง หรืออธิบายไดวาพฤติกรรมหรือตัวแปรนั้นวัดไดหรือสังเกตไดดวยอะไร ซึ่งแสดงถึง
คุณสมบัตินั้น ๆ เชน
เจตคติตอวิชาวิทยาศาสตร หมายถึง ความรูสึกหรืออารมณของนักเรียนวาชอบหรือไม
ชอบ พอใจหรือไมพอใจ ตอวิชาคณิตศาสตรอันเกิดจากการเรียนรูและประสบการณ ซึ่งจะแสดงออกมา
ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง วัดไดโดยแบบสอบถามที่ผูวิจัยสรางขึ้น นักเรียนคนใดที่ไดคะแนนมากก็มีเจตคติ
ตอวิชาคณิตศาสตรดีกวาคนที่ไดคะแนนนอย
ความสนใจทางวิทยาศาสตร หมายถึง ความรูสึกชอบหรือพอใจที่มีตอวิทยาศาสตร
หรือกิจกรรมทางวิทยาศาสตร เชน สละเวลาใหกับวิทยาศาสตรมากกวาอยางอื่น เขารวมกิจกรรมทาง
วิทยาศาสตรดวยความสมัครใจ
ตัวอยางการนิยามศัพทเฉพาะ “ตัวแปรตาม” ที่ชัดเจนพรอมแนวคิด
ตัวอยางที่ 1 เรื่อง พฤติกรรมเลือกซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร
พฤติกรรมเลือกซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร หมายถึง พฤติกรรมของลูกคา
องคกรของบริษัทที่มีความสัมพันธกับการซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร จํานวน 3 ดาน ดังนี้
1. ดานความถี่ในการซื้อ หมายถึง ระยะหางเฉลี่ยของรอบการสั่งซื้อลิขสิทธิ์
โปรแกรมคอมพิวเตอรของลูกคาองคกรของบริษัท
2. ดานสถานการณที่ซื้อ หมายถึง เหตุการณที่ทําใหเกิดการจัดซื้อ และวิธีการ
จัดซื้อของลูกคาองคกรของบริษัท
5

3. ดานปริมาณที่ซื้อ หมายถึง ปริมาณไลเซ็นซ (Licenses) เฉลี่ยที่มีการจัดซอในก


แตละครั้ง และปริมาณเงินเฉลี่ยของเงินที่ใชในการซื้อแตละครั้ง
ตัวอยางที่ 2 ระดับความสําเร็จของการนําหลักการบริหารกิจการบานเมืองที่ดีไป
ปฏิบัติ(ตัวแปรตาม)
ระดับความสําเร็จของการนําหลักการบริหารกิจการบานเมืองที่ดีไปปฏิบัติ(ตัวแปร
ตาม) หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชประสบความสําเร็จในการนําหลักการบริหาร
กิจการบานเมืองที่ดี 6 หลักการ ไดแก หลัก นิติรัฐ หลักความรับผิดชอบ หลั กคุณ ธรรม หลักความ
โปรงใส หลักการตรวจสอบได และหลักการมีสวนรวมไปปฏิบัติ
หลั ก นิ ติ รั ฐ หมายถึ ง การที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชได มี ก ารประกาศใช
กฎระเบียบตางๆ ที่ชัดเจน และยึดประโยชนของราชการเปนหลักสําคัญ
ตัวแปร A หมายถึง.....................................................................
ตัวแปร B หมายถึง.....................................................................
ตัวแปร C หมายถึง.....................................................................
ตัวแปร D หมายถึง.....................................................................

3. เทคนิคการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
3.1 หลักการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
เปนการนําเสนอแนวคิดและทฤษฎีที่ผูวิจัยใชเปนหลักของการอางอิงงานวิจัยของตน
โดยตองเขียนขออางอิงใหชัดเจนวาไดแนวคิดเหลานั้นจากใคร นํามาใชอยางไร โดยตองมีการบูรณาการ
ความคิดที่ไดมาอยางหลากหลาย และเชื่อมโยงระหวางแนวคิดทฤษฎีหลักกับประเด็นงานวิจัยของผูวิจัย
ใหผูอานไดเห็นความเชื่อมโยงอยางชัดเจน
กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework) ในการวิจัยทางสังคมศาสตร
หมายถึง แนวความคิดของผูวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธระหวางตัวแปรตางๆ มักแสดงดวยแผนภูมิ โดย
เปนแผนภูมิที่แสดงความสัมพันธระหวางตัวแปร หรือความเกี่ยวของสัมพันธระหวางประเด็นสําคัญที่
นักวิจัยตองการศึกษา และเชื่อมโยงความสัมพันธดวยลูกศร แผนภูมิดังกลาวจะมีลักษณะแตกตางกันไป
ตามแบบแผนการวิจัยที่ผูวิจัยใชตอบคําถามวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย ไดมาจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวของและทฤษฎีตางๆที่เกี่ยวของ
ประกอบกับแนวความคิดของผูวิจัยเองหลังจากทบทวนผลงานวิจัยและทฤษฎีตางๆที่เกี่ยวของแลว
3.2 ลักษณะการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย มีได 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 เขียนบรรยายเชื่อมโยงระหวางแนวคิด ทฤษฎีหลัก และประเด็นงานวิจัย
ของผูวิจัยแลวสรุปเปนแผนภูมิ ดังตัวอยางแผนภูมิ 1
6

ลักษณะที่ 2 เปนแผนภูมิแสดงความสัมพันธระหวางตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตน
(Independent variable) และตัวแปรตาม (dependent variable) ดังแผนภูมิในตัวอยางที่ 3.3.1
ตอไปนี้เปนตัวอยางการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ของการวิจัยศึกษาตัวแปร
สภาพแวดลอมในครอบครัว ลักษณะของครู และลักษณะของนักเรียนที่สงผลตอความสามารถในการ
คิดอยางมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 จังหวัดนครพนม (ครองสิน มิตะทัง. 2548 : 6-8)
กรอบแนวคิดในการวิจัย
สภาพแวดล อ มในครอบครั ว ที่ พ อ แม ส ร า งขึ้ น มี ส ว นในการส ง เสริ ม การเรี ย นของเด็ ก
ครอบครัวที่มีความอบอุน พอแมแสดงออกถึงความรักใครและมีความมั่นคงทางอารมณจะมีผลตอ
แรงจูงใจในการเรียนของเด็ก (Cronbach.1977: 205, พรรณี ชูชัย. 2522 : 229 ) ความเอาใจใสและความ
รักที่พอแมมีตอเด็กนั้นจะเกี่ยวของกับความรูสึกพึงพอใจและความสําเร็จดานการเรียน (Gage and
Berliner. 1979 : 121) สิ่งใดก็ตามที่ผูใหญแสดงปฏิกิริยาตอเด็กในครอบครัวจะเปนตัวกําหนดที่สําคัญ
ของลักษณะนิสัยตางๆ ของเด็กมากกวาสถานภาพดานอื่นๆ (Bloom. 1976 : 2) และการสงเสริมปญญา
ภายในครอบครัวมีความสัมพันธกันสูงกับสติปญญาและผลการเรียนของเด็ก (Lindgren. 1980 : 151)
ความสามารถทางการเรียนและผลสัมฤทธิ์ยังมีความสัมพันธกับลักษณะทางจิตวิทยาและการกระตุน
สงเสริมทางปญญาภายในบาน (Iverson and Walberg. 1982 : 144-151)
จากการศึกษาพบวาครูเปนผูชวยชี้ชองทางใหเด็กรูจักวางเปาหมาย โดยการกระตุนให
กําลังใจ (พรรณี ชูทัย. 2522 : 230) ซึ่งรูปแบบการสอนหรือวิธี การสอนมี ผลตอการคิดอยางมี
วิจารณญาณ การเสริมแรงและการมีสวนรวมมีความสัมพันธกับผลการเรียนรูของผูเรียน (West. 1994 :
55 – A , bloom. 1976 : 118,128, Mccrink. 1999 : 3420-A) นอกจากนี้การรับรูความสามารถยัง
กอใหเกิดแรงจูงใจ และความพยายามมุมานะสําหรับงานใหมตอไป (Bloom. 1976 : 27,95) และผูที่มี
ความเชื่ออํานาจภายในตัวยังเปนผูที่มีการตัดสินใจ มั่นคงและเด็ดเดี่ยวทํางานโดยเห็นคุณคาและความ
พยายามของตน (Strickland. 1997 : 233 - 243) และความเชื่ออํานาจภายในตนเองยังมีความสัมพันธ
ทางบวกกับความสามารถในการคิดอยางมีวิจารณญาณ (Mara. 1997 : 1215-A) สําหรับการเรียนรูที่มี
ประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาการคิดอยางมีวิจารณญาณนั้นเกิดจากแรงจูงใจภายใน (อุษณีย อนุรุทธิ์วงศ.
(โพธิสุข). 2545 : (3) – (4 )) นอกจากแรงจูงใจภายในแลว นิสัยในการเรียนยังเปนคุณลักษณะสําคัญที่มี
อิทธิพลตอการคิดอยางมีวิจารณญาณ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์. 2545 : 139 , 154,163 - 164) และใน
การเรียนเพื่อประสบผลสําเร็จนั้นจะตองใชความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และการใชความคิดไตร
ตรองในงานที่ทําและการคิดอยางมีวิจารณญาณนั้นเปนการคิดโดยใชเหตุผล ซึ่งการมีเหตุผลที่ดีนั้นเปน
คุณคาแหงความเปนมนุษยที่สมบูรณ (พุทธทาส ภิกขุ. 2517 : 41-42)
ผลจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัย และแนวคิดของนักศึกษา นักการศึกษาและผูที่เกี่ยวของ
กับการศึกษาหลายทาน พบวา ตัวแปรที่สําคัญที่สงผลตอความสามารถในการคิดอยางมีวิจารณญาณ (Y)
7

ไดแก สัมพันธภาพภายในครอบครัว (X1) การสนับสนุนทางวิชาการจากผูปกครอง (X2) คุณภาพการ


สอนของครู (X3) ความเชื่ออํานาจภายในตน (X4) แรงจูงใจภายใน (X5) และนิสัยในการเรียน (X 6)
ซึ่งตัวแปรตางๆ นี้สงผลทั้งทางตรงและทางออมตอความสามารถในการคิดอยางมีวิจารณญาณ ผูวิจัย
จึงกําหนดรูปแบบเสนทางตามสมมติฐานของตัวแปรสาเหตุที่สงผลตอความสามารถในการคิดอยางมี
วิจารณญาณ ดังแสดงในภาพ 3.1

สัมพันธภาพ นิสัยในการเรียน (X6)


ภายในครอบครัว (X1)

การสนับสนุนทางวิชาการ ความสามารถในการคิด
จากผูปกครอง (X2) แรงจูงใจภายใน (X5) อยางมีวิจารณญาณ (Y)

คุณภาพของการสอน
ความเชื่ออํานาจ
ของครู(X3)
ภายในใจตน (X4)
แผนภูมิ 1 รูปแบบสมมติฐานการวิเคราะหความสัมพันธเชิงสาเหตุ (Causal Model) ของตัวแปร
ที่สงผลตอความสามารถในการคิดอยางมีวจิ ารณญาณ

3.3 ความเกี่ยวกับของระหวางกรอบแนวคิดในการทําการวิจัยและการตั้งสมมติฐาน
กรอบแนวคิดในการวิจยั จะมีลกั ษณะแตกตางกันไปตามแบบแผนการวิจัยทีผ่ วู ิจัยใช
ตอบคําถามวิจยั และนําไปสูก ารตั้งสมมติฐานของการวิจยั ดังตัวอยางที่ 3.3.1 – 3.3.3
ตัวอยางที่ 1 แบบเปรียบเทียบ

ตัวแปรอิสระ
คานิยมสรางสรรค ประกอบดวย 5 ดานดังนี้
1. เพศ
1. กลายืนหยัดทําในสิ่งที่ถกู ตอง
2. วุฒิการศึกษา
2. ซื้อสัตยและมีความรับผิดชอบ
3. ระดับตําแหนง
3. โปรงใส ตรวจสอบได
4. ลักษณะงานทีป่ ฏิบัติ
4. ไมเลือกปฏิบตั ิ
5. มุงผลสัมฤทธิข์ องงาน

แผนภูมิที่ 2 กรอบแนวคิดในการวิจัยสําหรับงานวิจัยแบบเปรียบเทียบ
8

จากกรอบแนวความคิดในการวิจัย นําไหสูการตั้งสมมติฐานของการวิจยั ดังนี้


1. ขาราชการที่มีเพศตางกัน มีคา นิยมสรางสรรคโดยรวมและรายดานแตกตางกัน
2. ขาราชการที่มีวุฒิการศึกษาตางกัน มีคานิยมสรางสรรคโดยรวมและรายดานแตกตางกัน
3. ขาราชการที่มรี ะดับตําแหนงตางกัน มีคานิยมสรางสรรคโดยรวมและรายดาน
แตกตางกัน
4. ขาราชการที่มลี ักษณะงานทีป่ ฏิบัติตางกัน มีคานิยมสรางสรรคโดยรวมและรายดาน
แตกตางกัน

ตัวอยางที่ 2 แบบความสัมพันธเชิงสาเหตุ โดยใชสถิติวิเคราะหการถดถอยพหุคูณ

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ

การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

พฤติกรรมแสดงตัว - เก็บตัว
ตัวแปรตาม

ลักษณะความเปนชาย ความคิดแนวขาง

ลักษณะความเปนหญิง

อารมณขัน

แผนภูมิ 3 กรอบแนวคิดในการวิจัยสําหรับงานวิจัยแบบความสัมพันธเชิงสาเหตุ
ที่ใชสถิติการวิเคราะหการถดถอยพหุคูณ
9

จากกรอบแนวคิดในการวิจยั ขางตน นําไปสูการตั้งสมมติฐานของการวิจัยดังนี้


1. คุ ณ ลั ก ษณะบางประการ ได แ ก ลั ก ษณะการอบรมเลี้ ย งดู แ บบประชาธิ ป ไตย
บุคลิกภาพแบบแสดงตัว -เก็บตัว ลักษณะความเปนชาย ลักษณะความเปน หญิ ง และอารมณขัน มี
ความสัมพันธกับความคิดแนวขางของนักเรียนชวงชั้นที่ 3
2. น้ําหนักความสําคัญของคุณลักษณะบางประการ ไดแก ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู
แบบประชาธิปไตย บุคลิกภาพแบบแสดงตัว – เก็บตัว ลักษณะความเปนชาย ลักษณะความเปนหญิง
และอารมณขัน สงผลตอความคิดแนวขางของนักเรียนชวงชั้นที่ 3

ตัวอยางที่ 3 แบบความสัมพันธเชิงสาเหตุ โดยแสดงทิศทางการสงผลในแผนภูมิของ


กรอบแนวคิดดวย (สุชาติ ประสิทธิร์ ัฐสินธุ. 2534 : 60-61)

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ
รายได +b 1
ตัวแปรตาม
+b 2
การศึกษา การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
-b 3
อาชีพเกษตร

แผนภูมิ 4 กรอบแนวคิดในการวิจัยแบบความสัมพันธเชิงสาเหตุที่แสดงทิศทางการสงผล

จากกรอบแนวคิดในการวิจยั นําไปสูการตั้งสมมติฐานของการวิจยั ดังนี้


1. รายไดมผี ลในเชิงบวกตอการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
2. การศึกษามีผลในเชิงบวกตอการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3. อาชีพการเกษตรมีผลในเชิงลบตอการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
10

ตัวอยางที่ 4 แบบความสัมพันธเชิงสาเหตุ ที่แสดงทั้งอิทธิพลทางตรงและทางออมจาก


กรอบแนวคิดในการวิจัย ของแผนภูมิ 4 สามารถนําไปสูการตั้งสมมติฐานของการวิจัยไดดังนี้
1. ตัวแปรสาเหตุมีความสัมพันธกับความสามารถในการคิดอยางมีวิจารณญาณของ
นักเรียน
2. ความสั ม พั น ธ เ ชิ ง สาเหตุ ข องโมเดลที่ ส ร า งขึ้ น มี ค วามสอดคล อ งกั บ ข อมู ล เชิ ง
ประจักษ
3. ตั ว แปรสาเหตุ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต อ ความสามารถในการคิ ด อย า งมิ วิ จ ารณญาณของ
นักเรียนทั้งทางตรงและทางออม ดังนี้
3.1 การสนับสนุนทางวิชาการจากผูปกครอง คุณภาพการสอนของครู ความเชื่อ
อํานาจภายในตน แรงจูงใจภายใน และนิสัยในการเรียนมีอิทธิพลทางตรงตอความสามารถในการคิดอยา
มีวิจารณญาณ
3.2 สัมพันธภาพภายในครอบครัว มีอิทธิพลทางออมตอความสามารถในการคิด
อยางมีวิจารณญาณโดยผานทางความเชื่ออํานาจภายในตน แรงจูงใจภายในและนิสัยในการเรียน
3.3 การสนับสนุนทางวิชาการจากผูปกครองมีอิทธิพลทางออมตอความสามารถ
ในการคิดอยางมีวิจารณญาณ โดยผานทางแรงจูงใจภายในและนิสัยในการเรียน
3.4 คุณภาพการสอนของครู มีอิทธิพลทางออมตอความสามารถในการคิดอยาง
มีวิจารณญาณโดยผานทางความเชื่ออํานาจภายในตน แรงจูงใจภายในและนิสัยในการเรียน
3.5 ความเชื่ออํานาจภายในตนมีอิทธิพลทางออมตอความสามารถในการคิด
อยางมีวิจารณญาณโดยผานทางแรงจูงใจภายใน
3.6 แรงจู ง ใจภายในมี อิ ท ธิ พ ลทางอ อ มต อ ความสามารถในการคิ ด อย า งมี
วิจารณญาณโดยผานทางนิสัยในการเรียน
11

รูปแบบของกรอบแนวคิดในการวิจัย

แผนภูมิที่ 5 กรอบแนวคิดในการวิจัย

4. เทคนิคการเขียนสมมติฐานของการวิจัย
4.1 หลักการตั้งสมมติฐานของการวิจัย
สมมติฐานของการวิจัย คือ คําตอบที่ผูวิจัยคาดคะเนไวลวงหนาอยางมีเหตุผลเพื่อตอบ
ความมุงหมายของการวิจัยที่ไดตั้งไว โดยจะเปนขอความที่แสดงถึงความเกี่ยงของสัมพันธระหวางตัว
แปรอยางนอยสองตัว สมมติฐานของการวิจัยมี 2 ชนิด คือ
1. แบบมีทิศทาง มี 2 ลักษณะ
1.1 ถาเปนการวิจัยแบบเปรียบเทียบ จะมีคําวา “มากกวา”, “สูงกวา”หรือ “ต่ํา
กวา” ในสมมติฐานนั้นๆ
1.2 ถาเปนการวิจัยแบบหาความสัมพันธ จะมีคําวา “สัมพันธกันทางบวก”หรือ
“สัมพันธกันทางลบ” ในสมมติฐานนั้นๆ
12

2. แบบไมมีทิศทาง มี 2 ลักษณะ
2.1 ถาเปนการวิจัยแบบเปรียบเทียบ จะมีคําวา “แตกตางกัน” ในสมมติฐานนั้นๆ
2.2 ถาเปนการวิจัยแบบหาความสัมพันธ จะมีคําวา “สัมพันธกัน” ในสมมติฐานนั้นๆ
3.2 ลักษณะของงานวิจัยที่ตองตั้งสมมติฐาน
โดยทั่วไปมี 3 ลักษณะดังนี้
1. แบบเปรียบเทียบ
2. แบบหาความสัมพันธ
3. แบบทดลอง
3.3 ตัวอยางการตั้งสมมติฐานของการวิจัย
ตัวอยางที่ 1. แบบเปรียบเทียบ
ความมุงหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบความเขาใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยระหวางนิสิตที่มีประสบการณ
ทํางานแตกตางกัน
สมมติฐานของการวิจัย
นิสิตที่มีประสบการณทํางานแตกตางกัน มีความเขาใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
แตกตางกัน

ตัวอยางที่ 2. แบบความสัมพันธ
ความมุงหมายของการวิจัย
เพื่อศึกษาความสัมพันธระหวางความถนัดทางตัวเลขกับผลการเรียนวิชาสถิติของ
นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
สมมติฐานของการวิจัย
ความถนั ด ทางตั ว เลขกั บ ผลการเรี ย นวิ ช าสถิ ติ ข องนิ สิ ต ระดั บ ของนิ สิ ต ระดั บ
บัณฑิตศึกษามีความสัมพันธกันทางบวก

ตัวอยางที่ 3. แบบทดลอง มี 2 ลักษณะ


(1) ศึกษากลุมเดียวเปรียบเทียบกันเองภายในกลุม เชน
ความมุงหมายของการวิจัย
เพื่ อ เปรี ย บเที ย บความรู เ กี่ ย วกั บ โรคเอดส ข องนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาป ที่ 5
ระหวางกอนและหลังการใชสถานการณจําลอง
สมมติฐานของการวิจัย
13

ความรูเกี่ยวกับโรคเอดสของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 หลังการใชถานการณ
จําลองกอนและหลังการใชสถานการณจําลอง
(2) เปรียบเทียบกับกลุมอื่น
เพื่อเปรียบเทียบเจตคติตอวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ที่สอน
โดยใชบทเพลงพื้นบานภาคกลางประกอบการสอนโดยใชบทบาทสมมติ
สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ที่ไดรับการสอนโดยใชบทเพลงพื้นบานภาคกลาง
ประกอบการสอนกับที่ไดรับการสอนโดยใชบทบาทสมมติมีเจตคติตอวิชาภาษาไทย แตกตางกัน
3.4 ขอคิดเกี่ยวกับการตั้งสมมติฐานของการวิจัย
1. สมติฐานของการวิจัยแตละขอ ตองสอดคลองกับความมุงหมายของการวิจัยแต
ละขอ ความมุงหมายของการวิจัยที่อาจจะไมตองตั้งสมมติฐาน คือ ความมุงหมายของการวิจัยที่ศึกษา
เฉพาะตัวแปรตาม
ความมุงหมายของการวิจัยที่ตองตั้งสมมติฐานก็คือความมุงหมายของการวิจัย ที่
ตองการอธิบาย/แสดงความเกี่ยวของระหวางตัวแปรอยางนอย 8.3.1 หรือในลักษณะความสัมพันธ ดัง
ตัวอยาง 8.3.2
2. จํานวนขอของสมมติฐานของการวิจัยประเภทสํารวจ-เปรียบเทียบ จะเทากับ
จํานวนตัวแปรอิสระ
3. การตั้งสมมติฐานของการวิจัยจะเปนแบบมีทิศทางหรือไมมีทิศทางขึ้นอยูกับ
การศึ ก ษาเอกสารและงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข อ งว า มีน้ํ า หนั ก พอที่ จ ะสนั บ สนุ น ในทิ ศ ทางใดหรื อ ไม นั้ น
หมายความวา กอนตั้งสมมติฐานของการวิจัย ผูวิจัยจะตองทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของให
เขาใจละเอียด ลึกซึ้งกอนเสมอ ไมจําเปนตองตั้งวา แตกตางกัน ทุกครั้งเสมอไป
4. การตั้งสมมติฐานของการวิจัยโดยมีเหตุผลบนพื้นฐานของการศึกษาเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวของ จะเปนประโยชนตอการอภิปรายผลของผูวิจัยอยางมาก

You might also like