Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 30

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 8

เนื้อหา
1. นิวเคลียส
2. พลังงานยึดเหนี่ยว และแรงนิวเคลียร์
3. แบบจาลองของนิวเคลียส
4. การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
5. ชนิดของรังสีจากการสลายตัว
6. ธรรมชาติการสลายตัว
7. ปฏิกิริยานิวเคลียร์

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อศึกษาจบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. บอกความหมาย และองค์ประกอบของนิวเคลียสได้
2. อธิบายพลังงานยึดเหนี่ยวและแรงยึดเหนี่ยวในนิวเคลียสได้
3. อธิบายสมบัติของนิวเคลียสจากแบบจาลองของนิวเคลียสได้
4. อธิบายการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี และประโยชน์และโทษ จากรังสีได้
5. บอกชนิดและสมบัติของรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีได้
6. อธิบายการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์ จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้

วิธีสอนและกิจกรรม
บรรยายโดยใช้แผ่นใส
วีดีทัศน์
ค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และจากอินเทอร์เน็ต
อภิปรายกลุ่ม
208

สื่อการเรียนการสอน
ตาราและเอกสารประกอบการสอน
แผ่นใสพร้อมแผนภูมิประกอบ
ตัวอย่างสารกัมมันตรังสี
เครื่องมือวัดรังสีแบบไกเกอร์ เคาร์เตอร์
เครื่องมือวัดรังสีแบบหน้าต่างบาง ชนิดช่องเดี่ยว (single channel)

การวัดผลและการประเมินผล
สังเกต ซักถาม และความสนใจ
ตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย
แบบฝึกหัด แบบทดสอบ
209

บทที่ 8
ฟิสิกส์ของนิวเคลียร์

อะตอมประกอบด้วยอิเล็กตรอนและนิวเคลียส ในนิวเคลียสจะประกอบด้วยอนุภาค
หลัก คือ โปรตอนและนิวตรอน อนุภาคทั้งสองรวมกันอยู่เรียกว่า นิวคลีออน (nucleon)
ในบทนี้จะการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของนิวเคลียส การเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียส
ตลอดจนสมบัติต่าง ๆ ของนิวเคลียส กัมมันตภาพรังสี การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ชนิด
ของรังสีที่ได้จากการสลายตัว และปฏิกิริยานิวเคลียร์

8.1 นิวเคลียส

8.1.1 อนุภาคในนิวเคลียส
อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสประกอบด้วยอนุภาค โปรตอนซึ่งมี
ประจุเป็นบวก และนิวตรอนเป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้า ประจุบวกเป็นมวลเกือบทั้งหมด ของ
อะตอม และมีอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียส แรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
อิเล็กตรอนกับนิวเคลียส จะยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงคูลอมบ์ โดยปกติอะตอมจะเป็นกลางทาง
ไฟฟ้า มีจานวนประจุบวกในนิวเคลียส และประจุลบของอิเล็กตรอนเท่ากัน มวลและประจุของ
อนุภาคในนิวเคลียส แสดงได้ ดังตาราง8.1

ตารางที่ 8.1 แสดงสมบัติอนุภาคในนิวเคลียส

อนุภาค มวล (kg ) ประจุ สัญลักษณ์


โปรตอน 1.6726  10 27  1e p , 11 H
นิวตรอน 1.6749  10 27 0 n , 01 n
อิเล็กตรอน 9.1095  10 31  1e e , 10 e

นิวไคลด์ หมายถึงอนุภาคชนิดต่าง ๆ ในนิวเคลียส สัญลักษณ์แสดงนิวไคลด์ ของ


นิวเคลียส จะเขียนแทนด้วย A
Z X

เมื่อ Z แทน เลขเชิงอะตอม (atomic number) หมายถึง จานวนอนุภาคโปรตอนใน


นิวเคลียส
210

A แทน เลขเชิงมวล (mass number) หมายถึงผลรวมจานวนอนุภาคโปรตอน


และนิวตรอนในนิวเคลียส
และ N แทน เลขนิวตรอน (neutron number) หมายถึงจานวนนิวตรอนใน
นิวเคลียส
โดยที่ N  A  Z
นิวคลีออน (nucleon) คือ อนุภาคที่อยู่ภายในนิวเคลียส หมายถึงอนุภาคนิวตรอนและ
โปรตอน ดังนั้น จานวนนิวคลีออนในแต่ละนิวไคลด์ จะมีค่าเท่ากับเลขเชิงมวล
นิวไคลด์เสถียร (stable nuclide) หมายถึง นิวไคลด์ที่มีเสถียรภาพทางนิวเคลียร์
นิวคลีออน จะมีแรงกระทาต่อกันพอดี ทาให้เกิดความสมดุล ไม่เกิดการสลายตัว
นิวไคลด์กัมมันตรังสี ( radioactive radionuclide) หมายถึงนิวไคลด์ที่มีจานวน
นิวตรอนไม่เหมาะสม แรงกระทากับนิวคลีออนไม่อยู่ในสภาวะสมดุล นิวไคลด์เหล่านี้จะปล่อย
พลังงานส่วนที่เกินออกมา ในรูปของรังสี
ไอโซโทป (isotope) หมายถึง นิวไคลด์ของธาตุที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากัน แต่มีเลขมวล
ต่างกัน และไอโซโทปที่ไม่สลายตัว เรียกว่า ไอโซโทปเสถียร ( stable isotope) ส่วนไอโซโทปที่
มีการเปลี่ยนแปลงโดยการสลายตัวให้รังสีออกมา จะเรียกว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี
(radioactive isotope) เช่น ไฮโดรเจน มี 3 ไอโซโทป เป็น 11 H , 12 H และ 13 H
ไอโซบาร์ (isobar) หมายถึงนิวไคลด์ของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจานวนนิวคลีออน
เท่ากัน หรือเลขเชิงมวลเท่ากัน เช่น 1329 Al , 1429 Si และ 1529 P
ไอโซโทน (isotone) หมายถึง นิวไคลด์ของธาตุต่างชนิดกัน ที่มีจานวนนิวตรอนเท่ากัน
แต่มีจานวนโปรตอนต่างกัน หรือ เลขเชิงอะตอมต่างกัน เช่น 146C , 157 N , และ 168 O

8.1. 2 ขนาดของนิวเคลียส

นิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก โดยจะมีระดับขนาด 10 14 m หน่วยที่ใช้วัดรัศมีของ


นิวเคลียส เป็น เฟร์มี (fermi, fm) 1 fm = 1  10 15 m
เนื่องจากมวลอะตอมส่วนใหญ่อยู่ในนิวเคลียส ดังนั้นนิวเคลียสจะมีความหนาแน่นสูง
มากประมาณ 1017 kg / m 3 ความหนาแน่นของมวลจะสูงบริเวณแกนกลาง และลดลงไป
เรื่อย ๆ ตามแนวรัศมี และนิวเคลียสมีลักษณะเป็นทรงกลม จากการทดลองของ
รัทเทอร์ฟอร์ด ศึกษาการกระเจิงกลับของอนุภาคแอลฟา พบว่า ปริมาตรของนิวเคลียสเป็น
สัดส่วนโดยตรงกับจานวนนิวคลีออน หรือเลข เชิง มวล จะหาค่ารัศมีของนิวเคลียสได้ จาก
สมการ
จาก ปริมาตรของนิวเคลียส
211

V  R3
หรือ V  A
ดังนั้น R3  A
R = r0 A1 / 3 (8.1)
เมื่อ r0 เป็นค่าคงตัวของรัศมี (radius constant) มีค่าเท่ากับ 1.2  1.4 fm

ตัวอย่าง 8.1 จงหาค่ารัศมี นิวเคลียส ของธาตุอะลูมิเนียม 27


13 Al ถ้ารัศมีนิวเคลียสของ
ไฮโดรเจน 11 H มีค่าเท่ากับ 1.4  10 15 เมตร
วิธีทา จาก R = r0 A1 / 3
นิวเคลียสของไฮโดรเจนมีเลขมวล A = 1
จะได้ r0 = R = 1.4  10 15 m
อะลูมิเนียม 13 Al
27

R = 1.4  10 15 (27 )1 / 3


= 1.4  10 15 (3)
R = 4.2  10 15 m = 4.2 fm

8.2 พลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส และ แรงนิวเคลียร์

8.2.1 พลังงานยึดเหนี่ยว

พลังงานยึดเหนี่ยว (binding energy) เป็นพลังงานที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวอนุภาคใน


นิวเคลียสให้อยู่รวมกันได้ภายในนิวเคลียส มวลของนิวเคลียสค วรจะเท่ากับมวลรวมของ
อนุภาคที่มาประกอบกันเป็นนิวเคลียส แต่ ความเป็นจริง พบว่ามวลที่รวมเป็นนิวเคลียสแล้ว จะ
มีมวลน้อยกว่าผลรวมของมวลของอนุภาคที่จะประกอบกันขึ้นเป็นนิวเคลียส ผลต่างของมวล
พิจารณาในรูปพลังงาน จากหลักสมมูลของมวลสารและพลังงานของไอน์สไตน์
E = mc 2 (8.2)
เมื่อ c เป็นความเร็วของแสง มีค่าเท่ากับ 3.0  10 8 m / s
ให้ m เป็นมวลที่หายไปเมื่ออนุภาครวมตัวกันเป็นนิวเคลียส
พลังงานที่สมมูลกับมวลที่หายไป จะได้
E = mc 2 (8. 3)
พลังงานที่เกิดจากมวลที่หายไป จะ กลายไปเป็นพลังงานยึดเหนี่ยวของอนุภาคภายใน
นิวเคลียสให้อยู่รวมกันได้
212

เนื่องจากมวลของนิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก ๆ จึงกาหนดหน่วยของมวลของนิวเคลี ยส
โดยใช้อะตอมของธาตุคาร์บอน-12 เป็นมาตรฐาน เรียกว่า หน่วยมวล เชิง อะตอม (atomic
mass unit) ใช้ตัวย่อเป็น amu. หรือ u โดยที่
1
1 u = ของมวลอะตอมของคาร์บอน-12
12
= 1.66057  10 27 kg
มวลของอนุภาค และไอโซโทปของนิวเคลียสของธาตุบางชนิด ในหน่วยมวล เชิง
อะตอม ( u ) แสดงได้ดังตารางที่ 8.2

ตารางที่ 8.2 แสดงค่ามวลอะตอมของไอโซโทปของธาตุบางธาตุ

ไอโซโทป มวลอะตอม ( u )
e 0.000548
n 1.008665
1
1 H 1.007275
2
1 H 2.014102
3
1 H 3.016050
3
2 He 3.016030
4
2 He 4.002603
5
3 Li 5.012500
6
3 Li 6.01512
7
3 Li 7.016004
12
6 C 12.00000
13
6 C 13.003354
14
6 C 14.003242
14
7 N 14.003074
16
8 O 15.994915
17
8 O 16.999133
18
8 O 17.999160
235
92 U 235.043915
238
92 U 238.050770
213

พลังงานของมวล 1 u . จะหาค่าสมมูลกับพลังงาน ตามกฎของไอสไตน์ เป็น


E = mc 2
= (1.66056  10 27 )(3  10 8 ) 2 kg
= 1.492  10 10 J
หรือ E = 931.5 MeV
พิจารณามวลของดิวเทอรอน (deuteron) เป็นนิวเคลียสของดิวเทอเรียม (deuterium)
ประกอบด้วยนิวตรอน 1 อนุภาค และโปรตอน 1 อนุภาค โดยที่ แรงนิวเคลียร์พิจารณา
อะตอมของดิวเทอเรียม นิวเคลียสเรียกว่า ดิวเทอรอน ในนิวเคลียสจะประกอบด้วยโปรตอน 1
อนุภาค และนิวตรอน 1 อนุภาค
มวลของโปรตอน m p = 1.007826 u.
มวลของนิวตรอน m n = 1.008665 u.
มวลรวม ระหว่างโปรตอน กับนิวตรอน
m p + m n = 2.015941 u.
แต่ มวลของดิวเทอรอน mD = 2.013554 u.
มวลต่างกัน เป็น (mH  mD )  mD = 0.002387 u.
มวลของนิวเคลียสจะมีค่าน้อยกว่ามวลรวมของโปรตอนและนิวตรอน ที่อยู่อิสระเดี่ยว
ๆ มวลที่หายไปนี้เรียกว่า ส่วนพร่องมวล (mass defect) แทนด้วย m มวล ส่วนนี้จะ
กลายเป็นพลังงานยึดเหนี่ยว ทาให้โปรตอนกับนิวตรอนประกอนกันเป็นนิวเคลียส
เมื่อเปลี่ยนมวลเป็นพลังงานโดยใช้สมมมูลมวลและพลังงงานของไอสไตน์ จะได้
พลังงานยึดเหนี่ยว = 0.002387 931.5 MeV / u
= 2.223 MeV
จะได้ว่าพลังงานที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวระหว่างโปรตอนกับนิวตรอนของ ดิวเทอรอนมีค่า
เท่ากับ 2.22 MeV
ให้ E b เป็นค่าของพลังงานยึดเหนี่ยวในนิวเคลียส จะได้
E b = [(Zm H  Nm n )  M A ]  931.5 MeV / u (8.4)
โดย mH เป็นมวลเชิงอะตอมของโปรตอน
m n เป็นมวลของนิวตรอน
M A เป็นมวลเชิงอะตอมของนิวเคลียส
ค่าพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสจะมีค่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าพลังงานยึดเหนี่ยว
ของอะตอม ใน ไฮโดรเจนอะตอมจะมีพลังงานยึดเหนี่ยวระหว่างโปรตอนกับอิเล็กตรอน
ประมาณ 13.58 eV ถ้าคานวณค่าพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนของนิวเคลียสที่มี
เสถียรภาพในธรรมชาติ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์กับค่าเลขมวล A ได้ดังรูปที่ 8.1
214

ค่าพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนสูงสุด ประมาณ 8.75 MeV ของ 56


26 Fe ถือเป็น
นิวเคลียสที่มีเถียรภาพมากที่สุด

BE / A ( MeV )

เลขมวล (A)

รูปที่ 8.1 แสดงค่าพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนของนิวเคลียสที่มีเลขมวลต่าง ๆ


ที่มา (Bars. 2005)

8.2.2 แรงนิวเคลียร์

นิวเคลียสมีเสถียรภาพจะอยู่ด้วยกันได้ด้วยค่าพลังงานยึดเหนี่ยว ซึ่งค่าพลังงานเป็นผล
มาจากแรงค่าหนึ่งที่เกิดขึ้นในนิวเคลียส แรงนี้เรียกว่าเป็นแรงนิวเคลียร์
ยูกาวา ( H. Yukawa) ได้เสนอแนวคิดว่า แรงนิวเคลีย ร์ซึ่งเป็นแรงยึดเหนี่ยวของ
นิวคลีออนในนิวเคลียส เกิดจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคที่เรียกว่า พาย – เมซอน ส่งไปมา
ระหว่าง นิวคลีออนที่อยู่ใกล้ ๆ กัน การแลกเปลี่ยน พาย - เมซอน โดยพิจารณาว่าทุก ๆ
นิวคลีออน จะประกอบด้วยแกนกลางที่เหมือนกัน มีอนุภาคเมซอนห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ อนุภาค
เมซอน จะมีประจุ เป็น 0 ,  e , และ  e ซึ่งเป็นประจุของอิเล็กตรอน และการที่นิวคลีออนตัว
ใดจะแสดงตัวเป็นนิวตรอน หรือโปรตอนจะขึ้นอยู่กับอนุภาคเมซอน ที่อยู่รอบ ๆ แรงกระทา
ระหว่างนิวตรอนกับนิวตรอน หรือโปรตอนกับโปรตอน เกิดจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคที่เป็น
215

กลางระหว่างคู่นั้น ๆ แทนด้วย  0 ส่วนแรงกระทาระหว่างโปรตอนกับนิวตรอน เกิดจากการ


แลกเปลี่ยนอนุภาค เมซอนที่เป็น   และ   เช่น
นิวตรอนเปลี่ยนเป็นโปรตอน จะให้   ออกมา
n p + 
เมื่อ โปรตอนรับ   จะเปลี่ยนไปเป็นนิวตรอน
p +  n
โปรตอนเปลี่ยนเป็นนิวตรอน จะให้   ออกมา
p n + 
และ เมื่อ นิวตรอนรับ   จะเปลี่ยนเป็นโปรตอน
n +  p
แรงระหว่างโปรตอนกับโปรตอน
p p +  0
และ แรงระหว่างนิวตรอนกับนิวตรอน
n n +  0
การแลกเปลี่ยนอนุภาคจะเกิดได้ทั้งแรงดูดและแรงผลัก และการแลกเปลี่ยน พาย –
เมซอน จะเกิดได้เมื่อนิวคลีออนอยู่ห่างกันในระยะไม่เกิน 9 x 10-15 เมตร
จากการศึกษาแรงนิวเคลียร์จะมีลักษณะสาคัญ สรุปได้ ดังนี้
1. เป็นแรงที่เกิดขึ้นในระยะทางสั้นๆ ในนิวเคลียส และมีค่ามากกว่าแรงคูลอมบ์ จาก
การศึกษาจากการชนระหว่างอนุภาค แสดงว่าแรงนิวเคลียร์เป็นแรงที่เกิดขึ้นในระยะที่สั้นมาก
ๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อนิวคลีออนอยู่ห่างกันเป็นระยะ ไม่เกิน 10 15 เมตร
2. แรงนิวเคลียร์เป็นแรงไม่ขึ้นกับประจุไฟฟ้า จากการทดลองพบว่า แรงระหว่าง
นิวคลีออน สองตัวที่อยูต่ ิดกัน เช่น โปรตอนกับโปรตอน นิวตรอนกับนิวตรอน และ นิวตรอน
กับโปรตอน เมื่อไม่คิดแรงคูลอมบ์แล้ว จะได้ผลเหมือนกัน
3. แรงนิวเคลียร์ที่กระทาระหว่างนิวคลีออน เป็นแรงดึงดูด แต่ ทีร่ ะยะสั้น ๆ น้อยกว่า
0.5  10 15 เมตร เป็นช่วงของแรงผลัก เรียกว่า แกนของแรงผลัก (repulsive core) ผลของ
แรงผลักจะทาให้ นิวคลีออนไม่รวมตัวกัน
4. แรงนิวเคลียร์เป็นแรงที่แสดงสมบัติอิ่มตัว ความสามารถของแรงนิวเคลียร์ที่กระทา
ต่ออนุภาคอื่น ที่อยู่ล้อมรอบ และจะถึงจุดอิ่มตัว เมื่อนิวคลีออนนั้นถูกล้อมรอบด้วยนิวคลีออน
ตัวอื่นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งนิวคลีออนตัวอื่นที่อยู่ถัดออกไปจะไม่ถูกแรงนิวเคลียร์ตัวนั้นกระทา
216

8.3 แบบจาลองของนิวเคลียส

โครงสร้างของนิวเคลียสที่แน่นอนยังไม่มีทฤษฎีใดที่ อธิบาย ได้ อย่าง สมบูรณ์


ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนิวเคลียส นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามสร้างแบบจาลอง
นิวเคลียส ที่เหมาะสมขึ้นมาช่วยอธิบาย แต่อย่างไรก็ตามแบบจาลองนิวเคลียส แต่ละ
แบบจาลองจะสอดคล้องกับปรากฏการณ์ของนิวเคลียสเพียงบางอย่างเท่านั้นถือว่ายังไม่
สมบูรณ์

8.3.1 แบบจาลองหยดของเหลว

แบบจาลองหยดของเหลว (liquid drop model) มีสมมติฐานว่านิวเคลียสมีลักษณะ


เหมือนหยดของเหลว โดยคิดว่านิวคลีออนในนิวเคลียสจะมีลักษณะเหมือนกับโมเลกุลของ ของ
เหลวในหยดของเหลว แรงนิวเคลียร์ระหว่างนิวคลีออนจะเป็นแรงที่มีค่าสูง แต่จ ะเป็นแรงที่มี
ผลในระยะสั้น ดังนั้น ใน นิวคลีออนแต่ละนิวคลีออน จะมีอันตรกิริยากับนิวคลีออนเฉพาะที่อยู่
ติดกันเท่านั้น เหมือนกับแรงระหว่างโมเลกุลของของเหลว ตามแบบจาลองนี้นิวเคลียสจะมี
รูปร่างเป็นทรงกลมจะทาให้นิวเคลียสมีเสถียรภาพสูงและพลังงานยึดเหนี่ยวในนิวคลีออนสูง
ด้วย พิจารณาพลังงานต่าง ๆ ที่มีผลต่อแบบจาลองหยดของเหลว ดังนี้
1. พลังงานปริมาตร
ให้ U เป็นพลังงานยึดเหนี่ยวระหว่างคู่นิวคลีออนทีม่ ีพันธะร่วมกัน พลังงานยึด
1
เหนี่ยว ต่อนิวคลีออน จะเป็น U ถ้านิวคลีออนหนึ่งมีนิวคลีออนทีอ่ ยูต่ ิดกันโดยรอบมีจานวน
2
1
เท่ากับ n นิวคลีออน นิวคลีออนนีจ้ ะพลังงานยึดเหนี่ยวเป็น nU
2
ถ้า A เป็นจานวนนิวคลีออนทั้งหมดในนิวเคลียส พลังงานยึดเหนี่ยวทั้งหมดของ
นิวเคลียส เป็น
1
Ev = nUA
2
หรือ Ev = a1 A (8.5)
เมื่อ Ev เรียกว่า พลังงานปริมาตร (volume energy) ของนิวเคลียส
จากสมการ (8.5) จะได้ว่า พลังงานปริมาตรของนิวเคลียสจะขึ้นกับขนาดของนิวเคลียส
2. พลังงานพื้นผิว นิวคลีออนที่อยูผ่ ิวนอกสุดของนิวเคลียส จะมีจานวนนิวคลีออนข้าง
เคียงน้อยกว่า นิวคลีออนที่อยู่ข้างใน จึงทาให้พลังงานยึดเหนี่ยวของนิวคลีออน ตัวที่อยู่ที่ผิว
ของนิวเคลียสมีค่าน้อยกว่านิวคลีออนที่อยู่ภายใน โดยที่จานวนนิวคลีออนที่อยู่ที่ผิวนิวเคลียส
217

นั้น จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวของนิวเคลียส ถ้านิวเคลียสมีรัศมี R จะมีพื้นที่ผิวเป็น 4R 2 หรือ


4R02 A 2 / 3
จานวนนิวคลีออนที่อยู่ที่ผิวของนิวเคลียส จะแปรผัน ตรงกับ A 2 / 3 จึ งทาให้
นิวเคลียส
มีพลังงานยึดเหนี่ยวลดลงไปด้วยพลังงาน ซึ่งเท่ากับ
Es =  a2 A2 / 3 (8.6)
เมื่อ E s เป็น พลังงานพื้นผิว (surface energy) ของนิวเคลียส
3. พลังงานคูลอมบ์ (coulomb energy) เกิดจากแรงผลักระหว่างโปรตอนกับ
โปรตอน ในนิวเคลียส ซึ่งจะมีผลทาให้พลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสลดลงสาหรับนิวเคลียส
ซึ่งมีจานวน โปรตอนทั้งหมด Z อนุภาค
Z ( Z  1) 1
พลังงานคูลอมบ์ Ec  และ Ec 
2 R
Z ( Z  1)
ดังนั้น Ec =  a3 (8.7)
A1 / 3
พลังงานยึดเหนี่ยวทั้งหมดของนิวคลีออนในนิวเคลียส จะเป็น
E = Ev + E s + Ec
Z ( Z  1)
E = a1 A +  a 2 A 2 / 3  a3 (8.8)
A1 / 3
หรือ พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนจะเท่ากับ
E a2 Z ( Z  1)
= a1 - - a3 (8. 9)
A A1 / 3 A4 / 3

ผลของค่าพลังงานยึดเหนี่ยวตามแบบจาลองหยดของเหลว แสดงดังรูปที่ 8.2 และ


พลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสตามแบบจาลองนี้ จะสอดคล้องกับการหาค่าพลังงานยึด
เหนี่ยวของนิวเคลียสซึ่งหาจากผลต่างของมวล-พลังงาน และแบบจาลองนี้อธิบายกระบวนการ
ของปฏิกิริยาแตกตัวได้ดี
218

รูปที่ 8.2 ผลค่าพลังงานตามแบบจาลองหยดของเหลวของนิวเคลียส


ที่มา(Serway and Beichner. 2000 : 1396)

8.3.2 แบบจาลองชั้น

จากปรากฏการณ์และผลการทดลองแสดงว่า นิวคลีออนในนิวเคลียสประพฤติตัวเป็น
อนุภาคที่อิสระต่อกันคล้ายกับอิเล็กตรอนในอะตอม โดยที่อิเล็กตรอนในอะตอมเคลื่อนที่ภายใต้
แรงคูลอมบ์ ดังนั้นนิวคลีออนจะ ต้องเคลื่อนที่ในสนามของแรงของนิวเคลียส ซึ่งเป็นแรงในแนว
สู่ศูนย์กลางโครงสร้างของนิวเคลียสควรจะเป็นทานองเดียวกันกับอะตอม หรือกล่าวได้ว่า
นิวคลีออน จะมีสถานะควอนตัม (quantum states) ที่แน่นอน การเรียงตัวของนิวคลีออนจะ
จัดอยู่เป็นชั้น ๆ และ เป็นตามหลักการห้ามซ้อนกันของพอลลี (Paull’s exclusion principle)
ซึ่งแต่ละสถานะพลังงานของนิวคลีออน จะกาหนดด้วยเลขควอนตัม n และ l แบบจาลอง
นิวเคลียสนี้ เรียกว่า แบบจาลองชั้น (shell model)
การเรียงตัวของอิเล็กตรอนเป็นชั้นในอะตอมมีลักษณะที่แสดงถึงสมบัติของอะตอมนั้น
ๆ เช่น อะตอมที่มีอิเล็กตรอนเป็นจานวน 2 10 18 36 54 และ 86 ตัว จะเป็นอะตอมที่มี
อิเล็กตรอนครบชั้นพอดีจะแสดงสมบัติเป็นอะตอมที่เฉื่อยเหมือนกับนิวเคลียสที่มีจานวน
โปรตอนหรือนิวตรอนเป็น 2 8 20 28 50 82 และ 126 จะเป็นนิวเคลียสที่มีเสถียรภาพ
มาก เช่น 24 He หรือ 168 O เรียกตัวเลขนี้ว่า เลขพิศวง (magic number)
219

ในแบบจาลองนิวเคลียสนี้อธิบายอันตรกิริยาสปิน – ออร์บิต (spin – orbit interaction)


เมื่อคิดตามอันตรกิริยานี้แล้ว จะมีผลทาให้ระดับพลังงานตามค่าของ n และ l แยกออกเป็น
พลังงานย่อยตามค่าของ j ซึ่งเป็นเลขควอนตัม เนื่องจากอันตรกิริยาสปิน – ออร์บิต โดย
1
ที่ค่าของ j จะเท่ากับ (l  ) เช่น ระดับพลังงานซึ่งมีค่า n = 2l = 1 j จะมีค่า
2
1 3
เท่ากับ และ เขียนกากับระดับพลังงานได้เป็น 2 p1 / 2 และ 2 p3 / 2 และแต่ละ
2 2
สถานะของ nl และ j จะมีสถานะย่อยที่เป็นไปได้ซึ่งสามารถบรรจุนิวคลีออนได้เป็นจานวน
นิวคลีออน สูงสุด เป็น (2 j  1) เช่น j = 1, 3, 5
, ... จะมี นิวคลีออนได้สูงสุดในแต่ละ
2 2 2
ค่าของ j เป็นจานวน 2, 4, 6, …ตามลาดับ

8.4 การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี

กัมมันตภาพรังสีถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดย เเบกเคอเรล (Henri Becquerel) สังเกต


พบว่า มีกัมมันตภาพรังสีเกิดขึ้นในสารประกอบของยูเรเนียม กัมมันตภาพรังสี
(radioactivity) เป็นปรากฏการณ์ที่ธาตุบางชนิดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สามารถแผ่รังสีออกมา
ได้เองโดยไม่ได้รับการกระตุ้นจากภายนอก เช่น ยูเรเนียน (uranium) เรเดียม (radium)
และธาตุที่สามารถแผ่รังสีออกมาได้เอง เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive elements)
การแผ่รังสีจากธาตุ กัมมันตรังสี เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพของนิวเคลียสของธาตุ
กัมมันตรังสี การที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีเปลี่ยนสภาพเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ และมี
การแผ่กัมมันตภาพรังสีออกมา เรียกว่า การสลายตัว
อัตราการสลายตัวของนิวเคลียสจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจานวนนิวเคลียสที่มีอยู่เดิม
ขณะนั้น
ให้ N เป็น จานวนนิวเคลียสที่มีอยู่ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
dN
เป็น อัตราการสลายตัวของนิวเคลียส
dt
จะได้
dN
 N
dt
dN
หรือ  - N (8.10)
dt
เมื่อ  เป็น ค่าคงที่การสลายตัว (decay constant) มีหน่วยเป็น (วินาที)-1
ถ้า N 0 เป็นจานวนนิวเคลียสที่มีอยู่เดิม เมื่อเริ่มต้น t  0 เมื่อ เวลาผ่านไป t
จานวนนิวเคลียสจะเหลืออยู่เป็น N โดยการอินทิเกรต สมการ (8.10) จะได้
220

NtdN t
N0 N =   0 dt (8.11)
ln N  ln N 0 =  t
N
ln =  t
N0
N
= e  t
N0
= N 0 e  t
N (8.12)
สมการ (8.12) เรียกว่า กฎของการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี (law of
radioactive decay) การสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี แสดงได้ดังรูป ที่ 8.3

จำนวนนิวเคลียส

เวลำ

รูปที่ 8.3 การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี

8.4.1 ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (half – life) เป็นช่วงเวลาที่ธาตุกัมมันตรังสีสลายตัวไปครึ่งหนึ่งของปริมาณ


ที่มีอยู่เดิม
ให้ T1 / 2 เรียกช่วงเวลาครึ่งชีวิต
จากสมการ (8.12) N = N 0 e  t
N0
เมื่อ N
2
N0
= N 0 e  T1 / 2
2
221

1
ln e  T1 / 2 = ln( )
2
จะได้
0.693
T1 / 2 = (8.13)

ธาตุกัมมันตรังสีที่สลายตัวจะมีครึ่งชีวิตแตกต่างกัน บางนิวเคลียสยาวมากเป็น 1010 ปี


บางนิวเคลียสครึ่งชีวิตสั้นมากเพียง 1 / 10 14 ของวินาที เช่น ทอเรียม- 232 สลายตัวเป็น
เรเดียม – 228 จะใช้เวลา 1.39  1010 ปี หรือ การสลายของโพโลเนียม - 214 สลายตัวเป็น
ตะกั่ว – 210 มีครึ่งชีวิตสั้นเพียง 1.64  10 4 วินาที
นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่รวมกันอยู่จะมีช่วงชีวิตที่สลายตัวแตกต่างกัน จะหา
เวลาของ ชีวิตเฉลี่ย (average life) ของนิวเคลียสได้จาก การรวมชีวิตของนิวเคลียสทั้งหมด
หารด้วยจานวนนิวเคลียสที่อยู่เดิม ซึ่งจะเขียนได้ว่า
0
 tdN
 = N0
(8.14)
N0
แทนค่า dN = - N 0 e t dt

จะได้  = 0  te t dt
1
 = (8.15)

T1 / 2
หรือ  = = 1.44T1 / 2 (8.16)
0.693
จะได้ว่าค่าชีวิตเฉลี่ย จะเป็นส่วนกลับของค่าคงที่ของการสลายตัว

8.4.2 กัมมันตภาพ

กัมมันตภาพ (activity) เป็น อัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี ที่แผ่ออกมา


กัมมันตภาพ ของธาตุกัมมันตรังสีใด ๆ จะหาได้จาก
ให้ A เป็นจานวนของกัมมันตภาพที่สลายออกมา
dN
จะได้ A = 
dt
หรือ = A N
ถ้า A0 = N 0 เป็นกัมมันตภาพรังสีของธาตุกัมมันตรังสี ขณะเริ่มต้น (t  0)
กัมมันตภาพของธาตุกัมมันตรังสี ขณะเวลาใด ๆ
A = A0 e  t (8.17)
222

กัมมันตภาพมีหน่วยเป็นนิวเคลียสต่อวินาที หรือ เบกเคอเรล (becquerel, Bq )


และ คูรี (curie, Ci ) โดยที่
1 Ci = 3.7  1010 นิวเคลียสต่อวินาที
= 3.7  1010 Bq

8.5 ชนิดของรังสีจากการสลายตัว

รังสีที่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และ รังสี


แกมมา รายละเอียดแต่ละชนิด จะแสดงได้ดังนี้

8.5.1 การสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา

อนุภาคแอลฟา ประกอบด้วย โปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค เป็น


นิวเคลียสของฮีเลียม ( 24 He ) เมื่อพาเรนต์ (P) ปลดปล่อยอนุภาคแอลฟากลายเป็นนิวเคลียส
ของดอเทอร์ (D ) ที่มีเลขอะตอมลดลงไปจากเดิม 2 อนุภาค และเลขมวลลดลง ไป 4 อนุภาค
การสลายตัวจะเขียนในรูปสมการทั่วไป โดยกฎการอนุรักษ์ประจุ และอนุรักษ์มวล ได้เป็น

A
Z P A 4
Z 2 D + 4
2 He + Q (8.18)

เมื่อ Q เป็นพลังงานที่ได้จากการสลายตัว
เช่น บิสมัท- 212 สลายตัวให้อนุภาคแอลฟาแล้วกลายเป็นแทลเลียม – 208 จะเขียน
สมการการสลายตัว ได้เป็น

212
83 Bi 208
81Tl + 4
2 He + Q

พลังงานของการสลายตัว การสลายตัวจะเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์ของพลังงาน และ


โมเมนตัมเชิงเส้น เริ่มต้นพาเรนต์อยู่นิ่ง เมื่อสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาซึ่งมีมวลเป็น m และ
ความเร็ว v และนิวเคลียสใหม่มีมวลเป็น mD มีความเร็วเป็น vD
พลังงานของการสลายตัว
m P c 2 = (mD  m )c 2 + K D + K  (8.19)
โมเมนตัม
mD v D = m v (8.20)
223

ค่า KD + เป็นค่าพลังงานของการสลายตัว (disintegration energy) เแทนด้วย Q


K
Q = K D + K  = (m p  mD  m )c 2 (8.21)
ค่าพลังงานการสลายตัวพิจารณาในเทอมของพลังงานจลน์ จะได้
จากสมการ การสลายตัว ตามสมการ (8.20) จะได้
1 1
m D ( )m D v D2 = m ( )m v2
2 2
=
mD K D m K  (8.22)
มวลของดิวเทอรอนและแอลฟา มีค่าประมาณ ( A  4) u. และ 4 u. ตามลาดับ ดังนั้น
( A  4) K D = 4 K 
A
จะได้ Q = K  K D = K ( )
A4
A4
หรือ K = Q( ) (8.23)
A

ตัวอย่าง 8.2 จงหาพลังงานจลน์ของอนุภาคแอลฟาที่สลายตัว จาก 210


84 Po
วิธีทา สมการการสลายตัว จะได้
82 Pb + 2 He
210 208 4
84 Po

มวลของ 210
84 Po = 209.98287 u

มวลของ 82 Po = 205.97447 u
208

มวลของ 24 He = 4.00206 u
จากสมการ
Q = [m p  (mD  m )]c 2
จะได้ Q = [209.98287-(205.97447 + 4.00206)]  c 2
= (0.00580 ) x (931.5 )
= 5.4 MeV
หรือ พิจารณาพลังงาน จากสมการ (8.23)

( A  4)
K = Q
A
(210  4)
=  5 .4
210
= 5.3 MeV
224

8.5.2 การสลายตัวให้อนุภาคบีตา (  - Decays)

อนุภาคบีตาที่ปล่อย ออกจากนิวเคลียสมี 2 ชนิด คือ อิเล็กตรอนและโพสิตรอน โ พสิ


ตรอนจะมีประจุเป็นบวก และมีมวลเท่ากับมวลของอิเล็กตรอน เมื่ออนุภาคอิเล็กตรอน หรือโ พ
สิตรอน ถูกปลดปล่อยออกมาจากนิวเคลียสแล้ว ค่าเลขมวลของนิวเคลียสของพาเรนต์ จะเท่า
เดิม ส่วนประจุจะเปลี่ยนแปลง

8. 5.2.1 อิเล็กตรอน (   - decay)


ถ้าปล่อยอิเล็กตรอน จะทาให้เลขอะตอมของนิวเคลียสเดิมเพิ่มขึ้นหนึ่ง ซึ่ง
เกิดจากนิวตรอน 1 ตัวเปลี่ยนไปเป็นโปรตอน และอิเล็กตรอน แล้วปล่อยอิเล็กตรอน และ แอน
ตินิวตริโน (antineutrino) ตามสมการ
n p  e  
A
Z P A
Z 1 D + e + 

เช่น 14
6C 7N + e + 
14 

พลังงานจากการสลายตัว จะหาได้จากกฎทรงพลังงาน
Q  = ( m P  m D )c 2
 (8.24)
พลังงาน Q ของปฏิกิริยาจะแบ่งเป็นพลังงานจลน์ของ   และ  ซึ่งมีอัตราส่วน
ไม่แน่นอน การปล่อยรังสีบีตา ส่วนใหญ่เกิดกับนิวเคลียส ที่มีจานวนนิวตรอนมากเกินไป
เพื่อที่จะ ให้ นิวเคลียสเสถียร จึงต้องลดนิวตรอนเพื่อเพิ่มโปรตอนให้มากขึ้น

8. 5.2.2 โพสิตรอน (   - decay)


การปลดปล่อยอนุภาคโพสิตรอน จะเป็นกระบวนการตรงข้ามกับการปล่อย
อิเล็กตรอน จะทาให้เลขอะตอมของนิวเคลียสเดิมลดลงลดลงไป 1 อนุภาค เกิดจากโปรตอน
ในนิวเคลียสเปลี่ยนไปเป็นนิวตรอนโดยปล่อยโพสิตรอน และ นิวตริโน ดังสมการ
p n + e + 
Z 1 D + e +  (8.25)
A A 
Z P

ตัวอย่าง 11
6 C 11
5 B + e + 
225

พลังงานจากการสลายตัว
Q  = ( m P  m D  2 me )c 2
 (8.26)
การสลายตัวให้อนุภาคโพสิตรอน ซึ่งเกิดกับนิวเคลียสที่มีจานวนโปรตอนมากเกินไป
แล้วทาให้นิวเคลียสไม่เสถียรภาพ จึงปลดปล่อยโปรตอนออกมา

8.7.2.3 กระบวนการจับอิเล็กตรอน
กระบวนการนี้ นิวเคลียสจะดึงอิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบ ๆ เข้ามาในนิวเคลียส
ทาให้นิวเคลียสเดิมเปลี่ยนโปรตอนไปเป็นนิวตรอนในนิวเคลียสใหม่ การดึง
อิเล็กตรอนเข้ามาส่วนใหญ่ จะเป็นอิเล็กตรอนในชั้น K ( K - shell) ซึ่งเป็นชั้นของ
อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุด ดังสมการ
p + e n +
Z P + e Z 1 D +  (8.27)
A  A

เช่น 4 Be +
7
e 7
3 Li +
พลังงานจากการสลายตัว
Q EC = ( m P  m D )c 2 (8.28)

เมื่ออิเล็กตรอนวงในของอะตอมถูกดึงดูดเข้าไปในนิวเคลียสอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอก ซึ่ง
มีระดับพลังงานสูงกว่าจะเข้ามาแทนที่ทาให้แผ่รังสีเอ็กซ์ออกมา

8.5.3 การสลายตัวให้รังสีแกมมา

นิวเคลียสเมื่ออยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น อาจจะ เกิดจากการระดมยิงด้วยอนุภาค หรือรังสี


โฟตอน หรือ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภายในนิวเคลียส เช่น การสลายตัว เมื่อนิวเคลียส
อยู่ในสภาวะถูกกระตุ้นจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ จะปล่อยพลังงานออกมา ในรูปของโฟตอน
พลังงานสูง หรือรังสีแกมมา จะเขียนสมการ ได้เป็น

A
Z X* A
Z X +  (8.29)

เช่น 210
82 Pb ( 210
83 Bi )
*
+ e +
226

( 210 จะอยู่ในสถานะถูกกระตุ้น และจะสลายตัวต่อให้รังสีแกมมาออกมา เพื่อกลับ


83 Bi )
*

สู่สถานะปกติ ดังสมการ
( 210 83 Bi + 
* 210
83 Bi )

ถ้า E * เป็นพลังงานของนิวเคลียสที่อยู่ในสถานะถูกกระตุ้น E เป็นพลังงานเมื่ออยู่


ในสถานะปกติ รังสีแกมมาที่แผ่อกมาจะมีค่าพลังงาน เป็น
h = E * - E (8.30)
เมื่อ  เป็นความถี่ของรังสีแกมมา

8.6 ธรรมชาติการสลายตัว

เมื่อนิวเคลียสกัมมันตรังสีที่เป็นต้นกาเนิด สลายตัวเป็นนิวเคลียสใหม่ และนิวเคลียส


ใหม่ ก็สลายตัวต่อเนื่องต่อ ๆ กันไป จนกระทั่งได้นิวเคลียสสุดท้ายที่ เสถียร ไม่สลายตัว การ
สลายตัวต่อเนื่องเป็นลาดับเรียกว่า อนุกรมกัมมั นตรังสี (radioactive series) อนุภาคจาก
การสลายในอนุกรม จะสัมพันธ์กับเลขมวลกับสมาชิกของอนุกรมทั้ง 4 อนุกรม ได้แก่

1. อนุกรมทอเรียม (Thorium series)


อนุกรมนี้เริ่มต้นจาก ทอเรียม – 232 สลายตัวต่อเนื่อง สุดท้ายจะได้ไอโซโทปเสถียร
เป็นตะกั่ว – 206 ทุก ๆ สมาชิกที่เกิดจากการสลายในอนุกรมนี้ เลขเชิงมวล ( A) เมื่อหารด้วย
4 จะลงตัว จึงเรียกอนุกรม 4 n เมื่อ n เป็นเลขจานวนเต็มบวก
สลายตัว 10 ขั้นตอน
232 208
90 Th 82 Pb

2. อนุกรมเนปทูเนียม (Neptunium series)


อนุกรมนี้เริ่มต้นจาก เนปทูเนียม – 237 สลายตัวต่อเนื่อง สุดท้ายจะได้ไอโซโทป
เสถียร เป็นบิสมัท – 209 ทุก ๆ สมาชิกที่เกิดจากการสลายในอนุกรมนี้ เลขเชิงมวล ( A) เมื่อ
หารด้วย 4 จะเหลือเศษ 1 จึงเรียกอนุกรม 4 n +1
สลายตัว 11 ขั้นตอน
237 209
93 Np 83 Bi
227

3. อนุกรมยูเรเนียม (Uranium series)


อนุกรมนี้เริ่มต้นจาก ยูเรเนียม – 238 สลายตัวต่อเนื่อง สุดท้ายจะได้ไอโซโทปเสถียร
เป็น ตะกั่ว – 206 ทุก ๆ สมาชิกที่เกิดจากการสลายในอนุกรมนี้ เลขเชิงมวล ( A) เมื่อหารด้วย
4 จะเหลือเศษ 2 จึงเรียกอนุกรม 4 n +2
สลายตัว 14 ขั้นตอน
238 206
U
92 82 Pb

4. อนุกรมแอกทิเนียม (Actinium series)


อนุกรมนี้เริ่มต้นจาก ยูเรเนียม – 235 สลายตัวต่อเนื่อง สุดท้ายจะได้ไอโซโทปเสถียร
เป็น ตะกั่ว – 207 ทุก ๆ สมาชิกที่เกิดจากการสลายในอนุกรมนี้ เลขเชิงมวล ( A) เมื่อหารด้วย
4 จะเหลือเศษ 3 จึงเรียกอนุกรม 4 n +3
สลายตัว 11 ขั้นตอน
235 207
U
92 82 Pb

อนุกรมกัมมันตรังสีต่าง ๆ นิวเคลียสต้นกาเนิดพร้อมทั้งครึ่งชีวิตและนิวเคลียสผลิตผล
สุดท้ายแสดงไว้ในตาราง 8.2

ตาราง 8.2 อนุกรมกัมมันตรังสี


อนุกรม นิวเคลียสต้นกาเนิด ครึ่งชีวิต ( ปี ) นิวเคลียสสุดท้าย
ยูเรเนียม 238
92 U 4.47  10 9
206
82 Pb
แอกทิเนียม 235
92 U 7.04  10 8
207
82 Pb
ทอเรียม 232
90 Th 1.41  1010
208
82 Pb
เนปทูเนียม 237
93 Np 2.14  10 6
209
83 Bi

สาหรับอนุกรมเนปทูเนียม มีครึ่งชีวิตสั้นมาก เมื่อเทียบกับอายุของเอกภพ ซึ่งมีอายุประมาณ


1010 ปี ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะพบนิวเคลียสที่เป็นสมาชิกในอนุกรมนี้ในธรรมชาติแต่
อย่างไรก็ตาม นิวเคลียสของธาตุในอนุกรมนี้สามารถทาขึ้นได้ในห้องทดลอง
การสลายตัวของแต่ละอนุกรมกัมมันตรังสีแสดงได้ดังรูป 8.4 ก. ข. ค. และ ง.
228

รูป 8.4 อนุกรมกัมมันตรังสี ก. อนุกรมทอเรียม ข. อนุกรมเนปทูเนียม


ค. อนุกรมยูเรเนียม ง. อนุกรมแอกทิเนียม
ที่มา (Berg. 2005)
229

8.7 ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในนิวเคลียส ทาให้นิวเคลียสเปลี่ยนแปลง
ไปจากเดิม เช่น การเรียงตัวใหม่ การปลดปล่อยพลังงาน และกัมมันตภาพรังสี ปฏิกิริยา
นิวเคลียร์ จะเกิดจากระดมยิงนิวเคลียสของเป้า ด้วยอนุภาคต่าง ๆ เช่น นิวตรอน โปรตอน
อนุภาคแอลฟา ดิวเทอรอน และรังสีแกมมา
รัทเทอร์ฟอร์ดใช้อนุภาคแอลฟาจากการสลายตัวของโปโลเนียม -214 ระดมยิงเข้าไป
ในนิวเคลียสของไนโตรเจน -14 และพบว่าเกิดโปรตอน และกาซออกซิเจน ดังสมการ
2 He + 7 N 8O + 1H (8.31)
4 14 17 1

สมการทั่วไปของปฏิกิริยานิวเคลียร์ จะแสดงการเกิดปฏิกิริยา ของอนุภาคที่วิ่งเข้าชน


นิวเคลียสเป้า และหลังเกิดปฎิกิริยา เกิดนิวเคลียสใหม่ และอนุภาคที่ปล่อยออกมา แสดงดังรูป
ที่ 8.5 และเขียนเป็นสมการ จะได้
x X Yy (8.32)
เมื่อ X เป็นนิวเคลียสของเป้า x เป็น อนุภาคที่วิ่งเข้าชน
Y เป็นอนุภาคที่เกิดขึ้นใหม่ y เป็นอนุภาคที่ปล่อยออกมา
สมการ (8.32) เขียนย่อ ๆ ได้ X ( x, y ) Y (8.33)
จากสมการ (8.31) จะเขียนได้เป็น 147 N ( , p)187O

ก่อนชน
หลังชน

รูปที่ 8.5 แบบจาลองปฎิกริยานิวเคลียร์


230

ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ การเกิดปฏิกิริยาจะเป็นไปตามกฎที่สาคัญ ดังนี้


1. หลักการคงตัวของประจุไฟฟ้า คือผลรวมของประจุไฟฟ้าก่อนเกิดปฏิกิริยา จะ
เท่ากับผลรวมของประจุไฟฟ้าหลังปฏิกิริยา
2. หลักการคงตัวของจานวนนิวคลีออน คือ ผลรวมของเลขมวลก่อนและหลัง ปฏิกิริยา
ต้องเท่ากัน
3. หลักการสมมูลของมวลและพลังงาน มวลและพลังงานทั้งหมดของระบบจะคงที่
4. หลักการคงตัวของโมเมนตัมเชิงเส้น และ หลักการคงตัวของโมเมนตัมเชิงมุม

8.7.1 กระบวนการฟิชชัน

ฮาน (Otto HaHn) และ สตราสมาน (Fritz Strassman) พบว่า เมื่อใช้นิวตรอนระดมยิง


เข้าไปในนิวเคลียสของยูเรเนียมแล้ว ทาให้นิวตรอนไปรวมกับนิวเคลียสของยูเรเนียม เรียกว่า
นิวเคลียสประกอบ นิวเคลียสนี้จะอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น และหลังจากนั้นนิวเคลียสประกอบ จะ
แตกตัวทาให้นิวเคลียสใหม่ เป็นนิวเคลียสขนาดกลาง มี ขนาดใกล้เคียงกัน 2 นิวเคลียส พร้อม
กับให้นิวตรอนออกมา ครั้งละประมาณ 2 - 3 อนุภาค เรียกปฏิกิริยานี้ว่า กระบวนการฟิชชัน
(nuclear fission) ตัวอย่าง การเกิดปฎิกิริยาแตกตัวของ 235
92 U แสดงดังรูปที่ 8.6 และ เขียน
เป็นสมการได้

235
U
92 + 1
0 n 236
U*
92 X  Y  (2, 3) 01n + Q (8.34)
ตัวอย่างเช่น
235
92 U + 1
0 n 236
U*
92
141
56 Ba + 92
36 Kr + 3( 01n) + Q

ค่า Q คือ พลังงานที่ปลดปล่อยออกมา หรือ ให้พลังงาน เข้าไปในปฏิกิริยานิวเคลียร์


ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดที่มวลรวมลดลงภายหลังเกิดปฏิกิริยา ค่า Q เป็นบวก มวลที่ลดลงจะ
เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานที่เรียกว่า ปฏิกิริยาคายพลังงาน (exothermic reaction or exoergic
reaction) ถ้าปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดที่มวลสารรวมเพิ่มขึ้นหลังปฏิกิริยาแล้ว ค่า Q เป็นลบ
แสดงว่า พลังงานบางส่วนเปลี่ยนรูปเป็นมวล พลังงานจะถูกดูดกลืนเข้าไปในปฏิกิริยา เรียก
ปฏิกิริยา นี้เป็น ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (endothermic reaction or endoergic reaction ) และ
ค่า Q ที่ได้จากการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี มีค่าเป็นบวก
พลังงานที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของนิวเคลียส พลังงานส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานจลน์
ของนิวเคลียสใหม่ ที่เกิดจากการแตกตัวประมาณ 84 % พลังงานจลน์ของนิวตรอนที่เกิดขึ้น
ใหม่ ประมาณ 2.5% และเป็นพลังงานของรังสีแกมมาที่เกิดขึ้นขณะเกิดการแตกตัวของ
231

นิวเคลียส และส่วนที่เหลืออีก 11 % เป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาในช่วงของนิวเคลียสที่เกิดขึ้น


ใหม่สลายตัว

ก.

ข.
รูปที่ 8.6 แสดงการแตกตัวในการเกิดปฎิกิริยาแบบฟิชชัน ก. อนุภาคนิวตรอนชนนิวเคลียส
ของยูเรเนียม ข. นิวเคลียสประกอบ 236
92 U แตกตัวให้นิวตรอน และนิวเคลียสใหม่

ที่มำ (Doyle. 2000)

ค่าพลังงานที่เกิดจากกระบวนการฟิชชัน จะหาค่าได้ ดังตัวอย่าง สมการ


92 U + 0 n 56 Ba + 36 Kr + 3( 0 n)
235 1 236 * 141 92 1
92 U

มวลก่อนเกิดกระบวนการฟิชชัน
235
92 U = 235.043924 u
1
0n = 1.008665 u
มวลรวมก่อนเกิดปฏิกิริยา = 236.052589 u
มวลภายหลังกระบวนการฟิ ชชัน
56 Ba = 140.913900
141
u
36 Kr = 91.897200
92
u
232

3 01 n = 3.025995 u
มวลรวมก่อนเกิดปฏิกิริยา = 235.837095 u
ผลต่างของมวล m = 0.215494 u
Q = 0.215494 x 931.5 = 200.73 MeV
พลังงานที่เกิดจากกระบวนการฟิชชันจะมีค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับการสลายตัวของ
อนุภาคแอลฟา ซึ่งให้พลังงานประมาณ 5 MeV
ในกระบวนการฟิชชันจะให้นิวตรอนเกิดขึ้นใหม่ประมาณ 2 – 3 อนุภาคต่อ ปฏิกิริยา
ซึ่งนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่ จะถูกควบคุมให้วิ่งเข้าชนนิวเคลียสของยูเรเนียมตัวต่อไป จะทาให้ได้
ปฏิกิริยาต่อเนื่อง เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) ดังรูปที่ 8.7 และ ปฏิกิริยาลูกโซ่
เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงทาให้ได้พลังงานที่ปล่อยออกมามีค่าสูง เป็นประโยชน์ในการผลิต
พลังงานในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และ เรือดาน้า เป็นต้น

รูปที่ 8.7 แสดงการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่


ที่มำ (Doyle. 2000)

8.7.2 กระบวนการฟิวชัน

ในปี พ.ศ. 2481 เบเท (Hans Bethe) ได้อธิบายว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์สามารถเกิดขึ้น


ได้จากการหลอมตัวของ นิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียส กลายเป็นนิวเคลียสของธาตุหนัก
หนึ่งนิวเคลียส และจะปล่อยพลังงานออกมา และเชื่อว่าในดวงอาทิตย์หรือดาวดวงอื่นสามารถ
จะทาให้เกิดพลังงานได้จากปฏิกิริยานี้
233

ภายในนิวเคลียสจะมีประจุบวกรวมกันอยู่ ดังนั้ นการที่จะทาให้นิวเคลียสเข้าไปอยู่ใกล้


กันจนกระทั่งรัศมีของแรงนิวเคลียสนั้น จะต้องใช้พลังงานมากพอในการเอาชนะแรงผลัก
ระหว่างประจุ ดังนั้นถ้าเลขอะตอมของนิวเคลียสสูง ๆ แรงคูลอมบ์จะสูง ตามไป ด้วย ทาให้
เกิดปฏิกิริยาแบบฟิวชันได้ยาก กระบวนการนี้จึงเกิดจากนิวเคลียสของธาตุเบา ที่มีเลขอะตอม
ต่า ๆ
ตัวอย่าง การเกิดกระบวนการฟิวชัน
1H + 1H 1 H + e + 0.4
1 1 2 
MeV
1H + 1H 2 He + 5.5
1 2 3
MeV
2 He + 2 He 2 He + 21 H  12.9
3 3 4 1
MeV
ปฏิกิริยานี้เรียกว่าวัฎจักรโปรตอน -โปรตอน นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัว มาหลอม
รวมเข้าเป็น อนุภาคแอลฟา 1 ตัว โปรตอน 2 ตัว และ โพซิตรอน อีก 2 ตัว พร้อมกับปล่อย
พลังงานออกมาในวัฎจักร 24.7 MeV
วัฎจักรคาร์บอนซึ่งเกิดขึ้นบนดวงดาวที่มีอุณหภูมิสูงกว่าดวงอาทิตย์ มีกระบวนการ
เกิดปฏิกิริยา ดังนี้
1H + 6C 7 N + 2.0 MeV
1 12 13

6C + e +1.2 MeV
13 13 
7N

1H + 6C 7 N + 2.0 MeV
1 12 13

1H + 7 N 8O +
1 14 15
7.3 MeV
1H + 7 N + 24 He + 4.9 MeV
1 15 12
6C

พลังงานที่ได้จากกระบวนการฟิวชัน จะเรียกว่า พลังงานเทอร์โมนิวเคลียร์ จะให้ค่า


พลังงานต่อมวลมากกว่ากระบวนการฟิชชัน เมื่อเทียบต่อมวล
200
พลังงานต่อมวลในกระบวนการฟิชชัน  = 0.85 MeV / nucleon
235
24.7
พลังงานต่อมวลในกระบวนการฟิวชัน  = 6 MeV / nucleon
4
จะได้ว่าอัตราพลังงานแบบฟิวชัน ต่อ ฟิชชัน = 6 : 0.85  10 เท่า
แต่การที่จะได้พลังงานจากกระบวนการแบบฟิวชัน จะต้องให้พลังงานเข้าไปสูงมาก จึง
จะเพียง พอที่จะทาให้เกิดการหลอมรวมของนิวเคลียส หรือ อาจทาให้เกิดกระบวนการแบบ
ฟิชชันก่อนและ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาการควบคุมพลังงานจากปฏิกิริยา ใน
การนามาใช้งาน และการทาให้เกิดปฏิกิริยาแบบฟิวชันที่อุณหภูมิต่า ๆ
234

8.8 บทสรุป

นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอนโดยรวมกันอยู่ได้ด้วยพลังงานยึดเหนี่ยว
จากส่วนพร่องมวลจากการรวมกัน ซึ่งเกิดจากแรงนิวเคลียร์ เป็นแรงในระยะสั้น ๆ และมีค่าสูง
กว่าแรงคูลอมบ์
แบบจาลองนิวเคลียสแบบหยดของเหลว เสนอว่านิวเคลียสจะมีลักษณะคล้ายหยด
ของเหลว และแบบจาลองชั้น เสนอว่านิวคลีออนในนิวเคลียสจะมีพลังงานเป็นชั้น ๆ คล้ายกับ
อิเล็กตรอนในอะตอม
ธาตุกัมมันตรังสี นิวเคลียสจะอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น จะสลายตัวปลดปล่อยพลังงาน
ส่วนที่เกินออกมาในรูปของกัมมันตภาพรังสี ได้แก่ แอลฟา บีตา และ แกมมา โดยแอลฟา และ
บีตา เป็นนิวเคลียสของฮีเลียม และ อิเล็กตรอน ตามลาดับ ส่วนแกมมา เป็นคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง
ปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในนิวเคลียสของธาตุ การเกิดปฏิกิริยาแบบ
แตกตัวเกิดจากนิวเคลียสของธาตุหนัก ถูกระดมยิงด้วยนิวตรอน ทาให้เกิดการแตกตัวเป็น
นิวเคลียสขนาดกลาง 2 นิวเคลียส และนิวตรอน 2-3 นิวตรอนต่อปฏิกิริยา และพลังงาน ส่วน
ปฏิกิริยาแบบรวมตัว เกิดจากนิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกัน กลายเป็นนิวเคลียสใหม่และ
ให้พลังงานออกมา ซึ่งปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์จะเป็นปฏิกิริยาแบบรวมตัว

8.9 คาถามท้ายบท

1. นิวเคลียสไฮโดรเจนมีรัศมี 1.2 เฟร์มี จงหารัศมีของนิวเคลียส 126C , 3064 Zn และ 197


79 Au

( 2.75 , 4.80 , และ 6.98 เฟร์ม)ี


2. จะต้องใช้พลังงานเท่าไร ในการแยกนิวตรอนหนึ่งอนุภาคออกจาก 37 Li และ 49 Be
(7.25 MeV และ 1.67 MeV )
3. จงคานวณหา ก. พลังงานยึดเหนี่ยวของ 126C ข. พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนของ 126C
(ก. 92.16 MeV ข. 7.68 MeV / นิวคลีออน)
15
4. เรเดียมมีครึ่งชีวิต 1,600 ปี จะเป็นเวลานานเท่าใด ที่เรเดียมนี้จะสลายตัวไป ของ
16
ปริมาณเรเดียมที่มีอยู่เดิม (6,400 ปี)
5. ตะกั่ว –214 ซึ่งมีเลขมวล 3 x 104 กิโลกรัม มีกัมมันตภาพ 1 มิลลิคูรี จงหาค่าคงที่การ
สลายตัวของ ตะกั่ว –214 นี้ ( 4.4 x 10-4 ต่อวินาที)
6. เรเดียม -226 มีการสลายตัวให้อนุภาคอัลฟาโดยมีค่าคงที่การสลายตัว 1.36 x 10-11
วินาที-1 เรเดียมมวล 1 กรัมจะมีกัมมันตภาพเป็นเท่าใด (3.7x 1010 Bq)
235

7. ในการวัดกัมมันตภาพของคาร์บอน -14 ในต้นไม้ที่มีชีวิตมีค่า 0.007 ไมโครคูรีต่อ


กิโลกรัม และจาการวัดกัมมันตภาพของคาร์บอน -14 ในซากไม้ของเรือโบราณพบว่ามี
เหลืออยู่เพียง 0.0048 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม ถ้าครึ่งชีวิตของคาร์บอน -14 นาน 5,760 ปี
จงคานวณอายุของเรือโบราณนั้น (3,133 ปี)
8. จงอธิบายสมบัติของ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และ รังสีแกมมา
9. จงอธิบายกระบวนการจับอิเล็กตรอน
10. จงคานวณหาพลังงานที่เกิดจากการสลายตัวของ 88 Ra ให้อนุภาคอัลฟา (4.87
226

MeV )
11. จงอธิบายข้อแตกต่างระหว่างปฏิกิริยานิวเคลียร์ในกระบวนการแตกตัว และ กระบวนการ
รวมตัว
236

เอกสารอ้างอิง

คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2545). ฟิสิกส์ 2.


กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุกรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย. (2543). ฟิสิกส์ เล่ม 2.
กรุงเทพฯ : สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ .
Bars, I. (2005, December 22). Nuclear Physics [online] :
Berg, R. E. (2005,March 15). HONR228Q: Nuclear Physics and Society. [online].
Available : http://www.physics.umd.edu/lecdem/honr228q/notes/notesl.htm.
Doyle,J. (2000). Energy from nuclear fission. [online]. Available :
http://www.btinternet.com/~j.doyle/SR/Emc2/Fission.htm.
Halliday, D., Resnick, R. and Walker, J. (2001). Fundamentals of Physics. 6th ed.
New York. : John Wiley & sons.
http://physics.usc.edu/bars/135/LectureNote/NuclearPhysics_files/image006.jpg.
Serway, R.A. and Beichner, J. B. (2000). Physics For Scientists and Engineers
with Modern Physics. Florida. : Saunders College Publishing.

You might also like