Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 16

ความขัดแย้ งอันยาวนานระหว่ างรัฐฉานกับรัฐบาลพม่ า

บทนำ
ปัญหาเรื้ อรังสำหรับสหภาพเมียนมาร์ คือปัญหาความขัดแย้งทางชาติพนั ธุ์ ที่ยงั แก้ไม่ได้จาก
การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพนั ธุ์/ชนกลุ่มน้อย ที่
ลุกลามจนถึงขั้นจับอาวุธสู้รบกัน ได้ผลกระทบต่อผูค้ นจำนวนมาก ที่อาศัยอยูใ่ นดินแดนของรัฐของ
ชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า และความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างรัฐบาลพม่าและรัฐฉาน/ไทใหญ่
มีจุดเริ่ มต้นที่คล้ายคลึงกับกลุ่มชาติพนั ธุ์ต่างๆ ในพม่า แต่จะเด่นของรัฐฉานคือ รัฐฉานมีประชากรที่
มีจำนวนมากที่สุด ในบรรดากลุ่มชาติพนั ธุ์ที่ถูกเรี ยกว่า ชนกลุ่มน้อย ซึ่งมีถึง 3.5 ล้านคน และ
ชนชาติไทยใหญ่/ฉาน ยังมีกลุ่ม/ขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชที่มีพลังมาก และดำเนินการต่อสู้ นับ
อาวุธ อย่างแข็งขัน ดังนั้น รายงานชิ้นนี้ตอ้ งการที่จะนำเสนอความขัดแย้งทางชาติพนั ธุ์ระหว่าง
รัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อยไทใหญ่/ฉาน เป็ นการเฉพาะจุดเริ่ มต้นของความขัดแย้งเกิดขึ้นได้
อย่างไร ปัจจัยที่ส่งเสริ มต่อบริ บทของความขัดแย้งนั้นคืออะไร สถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยูเ่ ป็ น
อย่างไร ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ เป็ นแนวทางในการทำรายงานชิ้นนี้ เพื่อให้ได้วตั ถุประสงค์ตามที่
กำหนด “ความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างรัฐบาลพม่ากับรัฐฉาน” จะถูกแบ่งออกเป็ น 3 ส่ วน ส่ วน
แรกเป็ นการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลพม่า ส่ วนที่ 2 รัฐบาลพม่ากับชนชาติไท
ใหญ่/รัฐฉาน ส่ วนที่ 3 ปัจจัยเหตุแห่งความขัดแย้งทางชาติพนั ธุ์
การดำเนินนโยบายเกีย่ วกับชนกลุ่มน้ อยของรัฐบาลพม่ า
สหภาพพม่านั้นมีที่ต้ งั ทิศเหนือ ติดกับพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย ทิศใต้ ติดกับเทือก
เขาอาระกันโยมากั้นเป็ นแนวยาว ทิศตะวันออก ติดกับเป็ นที่ราบสูงชาน ทิศตะวันตก ติดกับมีทิวเขา
ตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า สหภาพพม่ามีพ้ืนที่ใหญ่เป็ นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉี ยงใต้ โดยพื้นที่หรื อภูมิประเทศนั้นส่ วนใหญ่เป็ นพื้นที่ราบสูงและเทือกเขาอยูท่ างด้านทิศ
เหนือและทิศตะวันออก ส่ วนทางใต้ที่ติดทะเลเป็ นพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่เรี ยกว่าที่ราบลุ่มแม่น้ำอิ
ระวดี ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ สภาพภูมิประเทศและอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากมายในแต่ละพื้นที่
ทำให้ประเทศพม่ามีความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์ค่อนข้างสูงตามแต่ละภูมิภาคของประเทศ
ประเทศพม่าประกอบไปด้วยชาติพนั ธุ์หลากหลายเชื้ อชาติ ที่มีลกั ษณะทางสังคม วัฒนธรรม
ภาษา ประเพณี ที่แตกต่างกัน ซึ่งกลุ่มชาติพนั ธุ์หลัก ประกอบไปด้วย พม่า ไทยใหญ่ กระเหรี่ ยง
กะยา คะฉิ่ น ฉิ่ น คะย้า มอญ ยะไข่ โดยพลเมืองของประเทศพม่านั้นจากข้อมูลทางสถิติประชากร
ของสหประชาชาติได้ระบุไว้วา่ พม่ามีพลเมืองประมาณ 33.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็ นชาวพม่าแท้
เพียง 21 ล้านคน ที่ลา้ นเป็ นกลุ่มชาติพนั ธุ์อื่นถึง 11.3 ล้านคนซึ่งเป็ นจำนวนถึง 1 ใน 3 พม่าแบ่งเขต
การปกครองออกเป็ น 7 รัฐ 7 เขต ซึ่ง 7 รัฐเป็ นรัฐของชนกลุ่มน้อยชาติพนั ธุ์อื่นที่ไม่ใช่ชาวพม่า คือ
รัฐยะไข่ ประกอบไปด้วยชาวยะไข่พทุ ธและโรฮิงยามุสลิม, รัฐฉาน เป็ นรัฐที่ใหญ่ที่สุดมีชนชาติไทย
ใหญ่อยูอ่ าศัยมากที่สุด, รัฐคะยา ของชาวคะย้าที่มีเอกราชและปกครองตนเองมายาวนาน, รัฐคะฉิ่ น
ชาวคะฉิ่ นมีเอกลักษณ์วฒั นธรรม ภาษาที่แตกต่างจากพม่าอย่างสิ้ นเชิง, รัฐมอญติดทางภาคตะวันตก
ของประเทศไทยของชาวมอญที่ยงั คงรักษาเอกลักษณ์ของชนชาติไว้, รัฐฉิ่ น มีประชากรชาวชิน
อาศัยมากที่สุด และรัฐกระเหรี่ ยง มีชนชาติเชื้อสายกระเหรี่ ยง หลายกลุ่มอาศัยโดยแต่ละกลุ่มมี
เอกลักษณ์เป็ นของตน จากการที่ประเทศพม่ามีความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์นี่เอง ที่ทำให้เกิด
ปัญหาต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยูร่ ะหว่างรัฐบาลทหารพม่าและ กลุ่มชาติพนั ธุ์ชนกลุ่มน้อยต่างๆ อัน
เนื่องมาจากแนวทางการปกครองที่รวมศูนย์จากระบอบเผด็จการทหารพม่า แนวคิดความต้องการที่
จะสร้างความยิง่ ใหญ่ให้กบั ชาวพม่าแท้ และผลประโยชน์มากมายจากรัฐของชนกลุ่มน้อยในพม่า
ทำให้รัฐบาลพม่าเข้าไปแทรกแซงกิจการการบริ หารงาน และใช้กำลังเข้าไปเพื่อครอบครองดินแดน
เหล่านั้น ซึ่งการเมืองการปกครองนั้นขัดกับแนวทางจุดเริ่ มต้นของ “สหภาพพม่า” อย่างมาก ทั้งนี้
มันจึงกลายปัญหาเป็ นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าและชนกลุ่มน้อย
นโยบายของรัฐบาลพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษนั้นหากแบ่งเป็ นสามยุคตามผูนำ ้
พม่า แต่ละผูนำ ้ ก็จะมีความคิดและทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยต่างกัน ซึ่งจะส่ งผลต่อนโยบายที่มีต่อ
ชนกลุ่มน้อยต่างกันเช่นกันในช่วงของการเรี ยกร้องเอกราชอองซาน อองซานต้องการให้พม่าได้รับ
เอกราชจากอังกฤษ ดังนั้นเขาจึงทำข้อตกลงแอตลีย-์ อองซานกับอังกฤษที่มีสาระสำคัญว่าหากพม่ามี
การรวมตัวระหว่างชนกลุ่มน้อยก็สามารถได้รับเอกราช เขาจึงมีนโยบายที่เปิ ดกว้างและยอมรับชนก
ลุ่มน้อย จึงมีการทำข้อตกลงระหว่างชุนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า เพื่อให้พม่าได้รับเอกราชนัน่ ก็คือ
สนธิสญ ั ญาปางโหลง
สื บเนื่องมาในช่วงที่พม่าได้รับเอกราชแล้วใช่ช่วงที่อูนุได้เป็ นนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญ
ของพม่าได้ร่างสำเร็ จแล้ว ข้อกำหนดให้พม่าและชนกลุ่มน้อยรวมตัวกัน แจ่สามารถแยกตัวออกไป
ได้ในภายหลัง และสิ ทธิต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ หลังจากที่นายพลเนวินเข้ามามี
อิทธิพลในพม่า นโยบายที่มีต่อชนกลุ่มน้อยก็เปลี่ยนไป มีความรุ นแรงมากขึ้น มีการแทรกแซง
การเมืองภายในระหว่างชนกลุ่มน้อยด้วยกันเอง เช่นการสร้างความวุน่ วายภายในรัฐฉานทำให้เมื่อ
ถึงกำหนดเวลาที่สามารถแยกตัวออกจากพม่าได้ตามที่ตกลงไว้ในรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำได้ จน
นายพลเนวินได้ทำการรัฐประหารและยกเลิกรัฐธรรมนูญไป จนทำให้สิทธิการถอนตัวของชนกลุ่ม
น้อยถูกยกเลิกไป
ภายหลังจากเหตุการณ์นองเลือด 8888 ในวันที่ 8 สิ งหาคม ปี 1988 ซึ่งประชาชนออกมา
ประท้วงเผด็จการทหารภายใต้ระบอบเผด็จการเนวิน    จึงนำมาสู่การรัฐประหารครั้งใหม่ หรื ออาจ
เรี ยกได้วา่ เป็ นเพียงการปฏิวตั ิตนเองของทางการพม่าเท่านั้น มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผูม้ ี
อำนาจของประเทศแต่อย่างใด  ภายใต้การนำของ นายพลซอ หม่อง ในนามของ  “สภาฟื้ นฟูกฎ
ระเบียบแห่ง รัฐ” หรื อ “สลอร์ค” (The State Law and Order Pestoration Council ; SLORC) ในช่วง
ที่พม่ามีการปกครองแบบเผด็จการทหารตั้งแต่ยคุ นายพลเนวินจนถึง SLORC เป็ นต้นมา ก็มีแนวคิด
ที่ไม่ยอมรับการมีอยูข่ องชนกลุ่มน้อย และทำการรวบรวมรัฐของชนกลุ่มน้อยเข้าภายใต้รัฐบาลเดียว
ของพม่า และมีการใช้กำลังเข้าปราบปราม มีการละเมิดสิ ทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยงั ใช้ยทุ ธวิธีทาง
ทหารเพื่อเป็ นการตัดกำลังของชนกลุ่มน้อย เช่นนโยบายตัดสี่ ที่มีต่อชนกลุ่มน้อย คือตัดอาหาร ตัด
อาวุธ ตัดเงินทุน และตัดข่าวสาร แต่ถึงอย่างไรพม่าในยุคของรัฐบาล SLORC นั้น ก็มีนโยบายต่อ
ชนกลุ่มน้อยที่ดีข้ ึนในช่วงหลัง มีการทำข้อตกลงหยุดยิงกับชนกลุ่มน้อยเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง โดย
แลกกับผลประโยชน์ทางการค้าให้กบั คนกลุ่มน้อย รัฐบาลพม่าหันมาใช้การเจรจามากขึ้น แต่กห็ นั
มาใช้วิธีให้ชนกลุ่มน้อยสูร้ บกันเอง เพื่อตัดกำลังโดยไม่ให้พม่าต้องลงมือกระทำเอง
ปัจจุบนั รัฐบาลทหารพม่าภายใต้การควบคุมของกองทัพโดย  SPDC  (The State Peace and
Development Council) มีนโยบายที่ตอ้ งการนำพม่าไปสู่แนวทางประชาธิปไตยมากขึ้น เพื่อ
ปรับปรุ งภาพลักษณ์ของพม่าให้ดีข้ ึน จึงหันมาใช้การเจรจากับชุนกลุ่มน้อย และหันมาใช้การต่อสู้
ทางการเมืองมาใช้แทนการใช้กำลัง แต่ถึงกระนั้นก็ยงั มีการแทรกแซวงกิจการภายในของชนกลุ่ม
น้อยอยู่
สนธิสญ ั ญาปางโหลง (Panglong Agreement) 12 กุมภาพันธ์ 1947
ในการประชุมที่ปางหลวงครั้งนี้มีสมาชิกจากคณะกรรมการบริ หาร(Executive Council)
ของรัฐบาล เจ้าฟ้ าและตัวแทนจากรัฐฉาน ชนชาวเขาคะฉิ่ นและฉิ่ นเข้าร่ วมด้วย ซึ่งมีสาระสำคัญดัง
ต่อไปนี้
1. ตัวแทนของชาวเขาที่ได้รับเลือกจากข้าหลวง(อังกฤษ) จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็ นที่
ปรึ กษาข้าหลวงในกิจการที่เกี่ยวกับพื้นที่ของรัฐชายแดน
2. สมาชิกสภาบริ หารสูงสุ ดของชนเขาซึ่งมิได้มีหน้าที่บริ หารพื้นที่ชายแดน จะต้องไป
ปฏิบตั ิหน้าที่ร่วมกับคระกรรมการบริ หารตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ
เฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการป้ องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ
3. ที่ปรึ กษาข้าหลวงและผูช้ ่วยที่ปรึ กษา มีหน้าที่รับผิดชอบดินแดนของตนเอง
4. ที่ปรึ กษาจะเป็ นสมาชิกและเป็ นตัวแทนเพียงผูเ้ ดียวของรัฐพื้นที่ชายแดนในคณะ
กรรมการบริ หาร
5. คณะกรรมการบริ หารแห่งข้าหลวงอังกฤษไม่มีหน้าที่บริ หารรัฐพื้นที่ชายแดน เพราะ
อาจจะไปขัดขวางสิ ทธิการบริ หารกิจการภายในของรัฐ
6. การสถาปนารัฐคะฉิ่ นเป็ นหน้าที่การตัดสิ นใจของรัฐสภา
7. ประชากรในรัฐชายแดนมีสิทธิเท่ากับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ
8. การดำเนินงานตามสนธิสญ ั ญาต้องไม่ละเมิดสิ ทธิทางการคลังของรัฐฉาน รัฐฉิ่ น และ
รัฐคะฉิ่ น
สรุ ปใจความสำคัญก็คือ ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจะอยูร่ วมกันในรู ปแบบของสหภาพพม่า
ซึ้งรัฐฉานและคยาจะมีสิทธิแยกตัวออกไปในภายหลัง จากสนธิสญ ั ญาดังกล่าวที่ตกลงกันไว้ จึงได้
ถือเอาวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็ นวันสหภาพ (Union Day) และกำหนดให้เป็ นวันหยุดแห่งชาติของ
พม่า
สภาร่ างรัฐธรรมนูญและสิ ทธิการในถอนตัว
สภาร่ างรัฐธรรมนูญได้เปิ ดการประชุมระหว่างวันที่ 10 มิ.ย. ถึง 24 กันยายน 1947 ในการ
ร่ างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น สมาชิกที่เป็ นตัวแทนของรัฐฉานและรัฐพื้นที่ชายแดนได้แสดงออกถึง
ความปรารถนาที่จะสร้างสหพันธรัฐ ที่ยอมรับสถานะและสิ ทธิของรัฐต่างๆอย่างเท่าเทียมในการ
บรรจุมาตราต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปกครองในลักษณะสหพันธรัฐนั้น ก็ได้มีการจัดรู ปแบบ
ประเภท โดยมีเกณฑ์ ดังนี้ ที่ต้ งั ทางภูมิศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรมเฉพาะ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจที่
เลี้ยงตัวเองได้ ประชากร ความปรารถนาที่จะจัดตั้งรัฐ ซึ่งในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญอยูน่ ้ นั มีมือปื น
ได้บุกเข้าไปในที่ประชุม และยิงเข้าใส่ นายพลออง ซาน และที่ปรึ กษาทางการบริ หาร จนเสี ยชีวิต
ซึ่งการเสี ยชีวิตของนายออง ซาน ทำให้การเมืองของพม่าเกิดความวุน่ วาย แตกแยกเป็ นฝักฝ่ าย
ทำให้บา้ นเมืองเกิดความสับสนและไร้เสถียรภาพ แต่ถึงกระนั้นการร่ างรัฐธรรมนูญก็ดำเนินต่อไป
จนสำร็ จ
อูนุ ได้ข้ ึนมาเป็ นผูนำ
้ แทนนายออง ซาน และเป็ นประธานร่ างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญที่
เสร็ จสิ้ นมีบทบัญญัติให้พม่าใช้ชื่อว่า “สหภาพพม่า” มีการปกครอง 2 ระบบคือ สภาชนชาติ และ
สภาผูแ้ ทนราษฎร แต่รัฐธรรมนูญนั้นมีขอ้ บกพร่ องมากมายซึ่งต้องแก้ไขในภายหลัง อีกทั้งการที่
ผูนำ
้ ของรัฐฉานและรัฐอื่นๆขาดประสบการณ์ในด้านกฎหมายมีแต่ความปรารถนาที่จะได้เอกราชจึง
ไว้ใจผูนำ ้ พม่า ในส่ วนของรัฐธรรมนูญมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับชนกลุ่มน้อยคือในเรื่ องของการบอกถึง
ส่ วนประกอบของสหภาพพม่า ที่มีรัฐพม่าแท้ รัฐฉาน รัฐคะฉิ่ น รัฐกะเหรี่ ยงแดงหรื อคะยา และ
แคว้นฉิ่ นนอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังระบุถึงการปกครองที่ใช้ระบบรัฐสภาที่แบ่งเป็ น สภาผูแ้ ทน
ราษฎรและสภาชนชาติซ่ ึงแต่ละรัฐจะมีผแู้ ทนของตนเป็ นสมาชิกรวมไปถึงคณะรัฐมนตรี ต่างๆด้วย
นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุถึงสิ ทธิในการถอนตัว ที่เป็ นการบบรรจุเพื่อให้ผูนำ ้ รัฐชายแดน
ไม่มีขอ้ กังขาต่อสัญญานี้ โดยได้ระบุไว้ดงั นี้
1. หลังจากเวลาผ่านไป 10 ปี ถึงจะทำการถอนตัวได้
2. ต้องได้รับความเห็นชอบด้วยเสี ยง 2 ใน 3 ของสภาแห่งรัฐ
3. ผูนำ
้ ของรัฐนั้นจะต้องแจ้งให้ผนำ ู้ แห่งสหภาพรับทราบมติและผูนำ ้ สหภาพจะสัง่ ให้ลง
ประชามติในรัฐนั้น
4. รัฐที่มิได้ทำการถอนตัวเท่านั้น ที่จะยังคงใช้สิทธิต่างๆ (ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ)
นโยบายของพม่าในขณะนั้นต้องการที่จะให้พม่ามีความเป็ นเอกภาพ ซึ่งต้องให้ชนกลุ่มน้อย
อยูภ่ ายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของพม่า หลังจากการประกาศอิสรภาพของพม่า ประเทศก็
เกิดการจราจลมากมาย จากพรรคคอมมิวนิ สต์ของพม่า รวมถึงกองกำลังจากมอญและกะเหรี่ ยง พม่า
ซึ่งมีกองทัพไม่เข้มแข็งเป็ นฝ่ ายเสี ยเปรี ยบมาตลอด จนะกระทัง่ ได้นายพลเนวิน เข้ามาเป็ นผู้
บัญชาการ นายพลเนวินมีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยต่างจากออง ซาน และ อู นุ ซึ่งก็คือ ไม่เห็นด้วยกับ
การที่ชนกลุ่มน้อยจะแยกตัวเป็ นอิสระ และตั้งรัฐเป็ นอิสระซึ่งก่อนที่รัฐฉานจะใช้สิทธิถอนตัว ฝ่ าย
พม่าส่ งกำลังทหารเข้ามาแทรกซึมเพื่อให้เกิดความแตกแยกในรัฐฉาน ในที่สุดนายพลเนวินก็ได้ก่อ
รัฐประหารขึ้นเสี ยก่อนเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2508 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ จับผูนำ ้ ชนก
ลุ่มน้อยเข้าที่คุมขัง ทำให้สิทธิในการถอนตัวจึงถูกระงับไป
การไม่ปฏิบตั ิตามสัญญาที่ให้ไว้ดงั กล่าว ทำให้เกิดการเรี ยกร้องที่ตอ้ งสูญเสี ย ไม่วา่ จะเป็ น
ด้านเศรษฐกิจ สังคมที่ส่งผลกระทบต่อพม่าถึง 40 ปี จนถึงการประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปี 1988 รัฐบาล
ใหม่ (SLORC) ได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปลี่ยนยุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งการเจรจาและ การทำข้อตกลงหยุดยิง (ceasefire) กับ
กองกำลังต่างๆ
ข้อตกลงการหยุดยิง (ceasefire) ของรัฐบาลพม่า
รัฐบาลทหารพม่าได้เปลี่ยนยุทธวิธีที่ใช้แก้ปัญหาระหว่างชนกลุ่มน้อยจากการสู้รบมาตกลง
“หยุดยิง” โดยแลกเปลี่ยนกับความเป็ นอิสระในด้านการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน และโครงการ
เศรษฐกิจและสังคมของชนกลุ่มน้อย ซึ้ งข้อเสนอนี้รัฐบาลพม่าได้ทดลองใช้กบั กองกำลังของชนก
ลุ่มน้อยที่แยกตัวจากพรรคคอมมิวนิ สต์พม่า เช่นกลุ่มว้า โดยใช้การเจรจาที่มีเงื่อนไขให้กลุ่มนี้
สามารถค้าขายกับจีนได้ แต่คงรักษากองกำลังไว้ พม่าหันมาใช้การเจรจาแทนการใช้กำลังกับกลุ่ม
ต่างๆซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็ จไปได้ดว้ ยดี จนสามารถทำข้อตกลงหยุดยิงได้กบั กลุ่มชนกลุ่ม
น้อยได้ถึง 13 กลุ่ม ในปี 1989-1994
รัฐบาลพม่ ากับชนชาติไทใหญ่ /รัฐฉาน
รัฐฉานเป็ นรัฐทางภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือของประเทศพม่า มีอาณาเขตทางตะวันออกติด
กับประเทศลาว และมณฑลยูนนานของจีน (สิ บสองปันนา) ทางตะวันออกเฉี ยงใต้ติดกับไทยทาง
จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ทางทิศใต้ติดกันรัฐคะยาของชนชาติกระเหรี่ ยง และทางทิศตะวันตก
ติดต่อกับมัณฑะเลย์ และเขตการปกครองสะกายของพม่า พื้นที่ของรัฐฉานนั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ใน
บรรดารัฐทั้ง 7 ของสหภาพพม่า โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็ นที่ราบสูง 3000 – 6000 ฟุตจากระดับน้ำ
ทะเล มีแร่ ธาตุ ทรัพยากร อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำสาละวินเป็ นแม่น้ำสายหลัก มีแม่น้ำโขงเป็ นเขตแดน
และยังมีทะเลสาบอินเล ทะเลสาบขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของรัฐ ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่อุดม
สมบูรณ์ พื้นที่ที่กว้างใหญ่น้ นั ทำให้รัฐบาลพม่าพยายามเข้ามาครอบครอง/ควบคุม เรื่ อยมาตั้งแต่
สมัยยุคหลังอาณานิคม พื้นที่และผูค้ นเพื่อผลประโยชน์อนั มหาศาลที่อยูใ่ นแผ่นดินรัฐฉาน
รัฐฉาน มีประวัติศาสตร์ความเป็ นมาของชนชาติตนอย่างยาวนาน และเป็ นชนชาติที่มีเอกราช มี
อิสระจากพม่า มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมเป็ นของตนเอง ซึ่งประวัติศาสตร์ของรัฐฉานและชนชาติ
ไทใหญ่ สามารถแบ่งได้เป็ น 4 ยุคสมัย คือ 1) ยุคโบราณ เป็ นยุคของการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
ชาติพนั ธุ์ต่างๆ อย่างอิสระ และหากกลุ่มใดมีอำนาจมากจะทำสงครามแย่งชิงผูค้ น เพื่อสร้าง
อาณาจักรเป็ นของตนเอง ในยุคนี้ รัฐฉานมีผนำ ู้ ที่แข่งแกร่ งมีราชวงศ์เจ้าฟ้ าปกครองรัฐฉาน 2) ยุค
อาณานิคม การเข้ามาในฐานะเจ้าอาณานิคมของอังกฤษ ในช่วงแรกอังกฤษได้ปกครองรัฐฉาน
ประหนึ่งรัฐอิสระที่อยูใ่ นการคุม้ ครองของอังกฤษ ซึ่งนโยบายของอังกฤษในการปกครองพม่านั้น
คือนโยบายการแบ่งแยกและปกครอง (Divide and Ruled) เพือ่ สร้างความขัดแย้งต่อชาติพนั ธุ์กลุ่ม
ต่างๆ ในดินแดนพม่า ทั้งนี้องั กฤษ ได้สนับสนุนชนชาติกระเหรี่ ยงในการเข้ารับราชการภายใต้การ
ปกครองของอังกฤษ ส่วนรัฐฉานนั้นยังคงปกครองตนเอง โดยใช้ระบบเจ้าฟ้ าตามเดิม อาจกล่าวได้
ว่า ในยุคอาณานิคมนั้นรัฐฉาน ยังคงเป็ นอิสระต่อพม่าและมีรายได้จากการที่องั กฤษเข้ามาทำ
สัมปทานป่ าไม้ในรัฐฉาน 3) จนกระทัง่ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ชนชาติพม่าได้ก่อตั้งขบวนการ
ชาตินิยมและได้เข้าร่ วมกับญี่ปุ่น ซึ่งการเข้าร่ วมครั้งนี้ทำให้ชนชาติพม่า มีอิทธิพลขึ้นมาเรื่ อยๆ และ
ขบวนการชาตินิยมนี้ ยงั ได้กลายมาเป็ นกลุ่มผูนำ ้ ในการต่อรองกับอังกฤษในการเรี ยกร้องเอกราช
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ที่ถูกชาติตะวันตกครอบครองต้องการเอกราช ชนชาติไท
ใหญ่และชาติชาติอื่นๆ ได้ต้ งั สภาสหพันธรัฐเทือกเขา เพือ่ ขอเป็ นอำนาจต่อรองกับอังกฤษในการขอ
เอกราช ภายหลังกลุ่มชนชาติพม่า นำโดยนายพลอองซาน ได้เข้าเจรจากับสภาสกพันธรัฐเทือกเขา
เพื่อเกลี้ยกล่อมให้เข้าร่ วมกับขบวนการชาตินิยมพม่า (Anti-Fascist People's Freedom League) ที่ทำ
หน้าที่เป็ นแกนนำในการ ทำข้อตกลงเรี ยกร้องเอกราชกับอังกฤษ โดยอู ออง ซานได้เสนอข้อตกลงที่
เรี ยกว่า สัญญาปางโหลง รัฐฉานและสภาสหพันธรัฐเทือกเขา ในขณะนั้นต้องการเอกราชปกครอง
ตัวเอง ซึ่งมีมติลงความเห็นว่าข้อเสนอที่นายพล ออง ซานได้สญ ั ญาไว้น้ นั จะทำให้รัฐในสภา
สหพันธรัฐเทือกเขาได้เอกราชเร็ วขึ้น จึงตกลงลงนามร่ วมใน สนธิสญ ั ญาปางโหลง และการลงนาม
ครั้งนี้ได้กลายเป็ นข้อผูกกมัดระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่าเรื่ อยมา ชนกลุ่มน้อยมิเคยได้รับ
อิสระภาพอย่างที่หวังไว้ 4 ) ยุคภายใต้สหภาพพม่า จากการลงนามใน สัญญาปางโหลง นี้ เองเป็ นจุด
เริ่ มต้นของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่า มีเงื่อนไขให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิในการแยกตัว (Right of
Seccession) ได้ต่อเมื่อหลัง 10 ปี ที่ได้รับเอกราช
ในช่วง 10 ปี แรกนี้ เอง การอยูร่ วมกับพม่านั้นรัฐฉานให้ความร่ วมมือเป็ นอย่างดีต่อการ
ปกครองของพม่า เพราะในช่วงนั้นเกิดความขัดแย้งระหว่างพม่าและพรรคคอมมิวนิ สต์ รัฐฉานจึง
ให้ความร่ วมมือมาตลอดจนมาเกิดความขัดแย้งกันเมื่อรัฐบาลของพม่านั้นครอบงำผูนำ ้ นักการเมือง
ในรัฐฉานมากเกินไป จนไม่มีสิทธิในการปกครองหรื อบริ หารรัฐฉานอีกทั้งพม่าเองก็ตอ้ งการ
ปกครองรัฐฉานและเอาอำนาจของเจ้าฟ้ ามาสู่รัฐบาลกลาง การแทรกแซงกิจการภายในรัฐฉานอยู่
บ่อยครั้ง ทำให้รัฐฉานต้องการแยกตัวเป็ นอิสระ
อีกทั้งยังมีการก่อความวุน่ วายโดยที่ รัฐบาลทหารพม่าได้ส่งกำลังทหารเข้าสู่รัฐฉาน โดยอ้างจะ
กวาดล้างกองกำลังจีนก๊กมินตัง๋ ที่พา่ ยแพ้พรรคคอมมิวนิ สต์ถอยร่ น เข้าสู่รัฐฉาน และเพิ่มกำลังทหาร
กระจายเข้าสู่ทวั่ ทุกพื้นที่ ทำให้พ้ืนที่น้ ีปกคลุ่มด้วยการสู้รบมาตลอด พม่าได้ถือโอกาสดังกล่าว
ปลดอาวุธของชาวไทยใหญ่และฆ่าผูท้ ี่เป็ นปรปักษ์กบั รัฐบาลทำให้รัฐฉานต้องสูญเสี ยผูนำ ้ ทางการ
เมืองไปมาก ด้วยเหตุน้ี จึงเกิดการรวมตัวของกองกำลังทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลพม่าตั้งแต่
นั้นมา รัฐฉานมีกองกำลังต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นมาเพื่อพยายามต่อต้านรัฐบาลพม่า แต่ถึงกระนั้นก็
ไม่ได้สร้างความหวัน่ เกรงให้กบั พม่าเนื่องจากอาวุธที่ไม่ทนั สมัยพอ ดังนั้นรัฐฉานหรื อไทยใหญ่ใน
ปัจจุบนั จะเน้นการต่อสู้ทางการเมืองมากกว่ากองกำลัง และทางไทยใหญ่เองก็หนั มาใช้วิถีทาง ทาง
รัฐธรรมนูญในการต่อสู้แทนและเสริ มสร้างศักยภาพของรัฐให้มีการพัฒนาขึ้น
ขบวนการกอบกูช้ นชาติไทใหญ่/รัฐฉาน
หลังจากสหภาพพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 1948 แล้วนั้น ทำให้
นักการเมืองหรื อผูท้ ี่สนใจในเรื่ องการเมืองรวมทั้งประชาชนทัว่ ไป ต่างมีความตื่นตัวในเรื่ องของ
สิ ทธิและเสรี ภาพเป็ นอย่างมาแต่ดว้ ยเหตุที่สิทธิและเสรี ภาที่ได้รับนั้นมีความไม่เท่าเทียมกัน จึง
ทำให้มีการลุกขึ้นจับอาวุธตั้งเป็ นกลุ่มต่อต้านขึ้นจำนวนมา เพื่อแสดงความไม่พอใจในความไม่เท่า
เทียมกัน แม้กระทัง่ ชาติพนั ธุ์พม่าด้วยกันเองก็มีความแตกแยก กลุ่มที่ไม่พอใจรัฐบาลต่างพากันหนี
เข้าป่ า กระทัง่ กลุ่มชาติพนั ธุ์ต่างๆ ก็พากันหนีเข้ามามากมายเพื่อจับอาวุธเข้าต่อสู้กบั ฝ่ ายรัฐบาล
ทหารพม่า การกระทำของรัฐบาลทหารพม่า ในแต่ละยุคสมัยมีมาตรการนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยรัฐ
ฉานและรัฐอื่นไม่มีความเป็ นธรรม และสิ ทธิความเป็ นพลเมืองของชาวพม่าแท้ และชนกลุ่มน้อยนั้น
ไม่มีความเท่าเทียม ดังนั้นรัฐฉานจึงมีความจำเป็ นที่จะต้องจับอาวุธเพื่อเป็ นสร้างอำนาจต่อรองกับ
รัฐบาลทหารพม่า การกระทำดังกล่าวอาจถือว่าไม่ถูกต้องนักเนื่องจากสร้างผลกระทบให้กบั ผูค้ น
ประชาชนล้มตายลง แต่ทว่า วิธีการจับอาวุธนี้ อาจเป็ นวิธีการสุ ดท้าย เพราะว่าผูนำ ้ รัฐฉานได้ใช้วิธี
การเจรจา และประนีประนอมแล้วแต่ไม่เกิดผล การต่อสู้เพื่ออิสระภาพและเอกราชขบวนการต่อสู้
เพื่อเอกราชที่สำคัญของรัฐฉานนั้น ในแต่ละยุคสมัยได้เกิดและสลายขบวนการ กองทัพกอบกูร้ ัฐ
ฉานขึ้นมากมาย แต่ทว่าขบวนการกอบกูเ้ อกราชรัฐฉานที่สำคัญ มีดงั นี้
กองกำลังกูช้ าติหนุ่มศึกหาญ (Num Siek Han) 1958 – 1960
เริ่ มแรกเจ้าน้อย หรื อ ซอว์หยัน่ ต๊ะ ได้รวบรวมพลพรค กองกำลังกูช้ าติหาญศึกเพื่อต่อต้าน
การรุ กรานของจีนพรรคก๋ กมินตัง๋ ที่ถูกจีนคอมมิวนิ สต์ตีถอยร่ นลงมาอยูท่ ี่บริ เวณชายแดนมณฑลยูน
นาน ของจีนและรัฐฉาน ของพม่า ซึ่งการกระทำของก๋ กมินตัง๋ นั้นได้เข้ามาและทำร้ายประชาชนไท
ใหญ่ ขูดรี ดเอาเสบียงอาหาร และเกณฑ์ผคู้ นให้ทำการเกษตรเพื่อสนับสนุนพรรก๋ กมินตัง๋ ซึ่งการก
ระทำทั้งหมดนี้รัฐบาลทหารพม่าได้เข้ามาปราบกองกำลังของพรรคก๋ กมินตัง๋ และใช้เป็ นข้ออ้างใน
การที่จะเข้ายึดพื้นที่ของรัฐฉาน ด้วยเหตุน้ี ทำให้เจ้าน้อยจำเป็ นต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
กองกำลังกูช้ าติหนุ่มศึกหาญ มาเพื่อต่อต้านขับไล่กองทัพพม่าให้ออกไปจากดินแดนรัฐฉาน
กองกำลังกูช้ าติไทใหญ่ (Shan State Army) 1960 – 1964
ในปี 1960 เป็ นช่วงเวลาที่มีการจัดตั้งกองกำลังกอบกูร้ ัฐฉานขึ้นเป็ นจำนานมาก โดยความ
สำคัญของเจ้านางเฮือนคำ และเจ้าส่ วนแต๊ก คือการรวบรวมกองกำลังทั้งหลายที่ แบ่งแยกออกเป็ น
เหล่า ให้กลายมาเป็ นกองกำลังกูช้ าติไทใหญ่ แต่วา่ กองกำลังกูช้ าติไทใหญ่น้ ี ก็รวมตัวกันอยูไ่ ด้ไม่
นานเนื่องจาก เกิดความขัดแย้งกันภายหลังก็ได้สลายตัวไป
กองกำลังไตรวมพลัง (Shan United Army) 1964 -1985
กองกำลังไตรวมพัง เป็ นกองกำลังของ ขุนส่ า ราชายาเสพติด ซึ่งเป็ นกองกำลังที่สำคัญ อีก
กลุ่มหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของชนชาติไทใหญ่ ทำการเคลื่อนไหวอยูบ่ ริ เวณชายแดน
ไทย- พม่า ตรงจังหวัดเชียงราย และได้ใช้พื้นที่
กองกำลังปฏิวตั ิแห่งรัฐฉาน (Shan United Revolution Army) 1969 – 1985
กองกำลังปฏิวตั ิแห่งรัฐฉาน นำโดยเจ้ากอนเจิง เจ้ากอนเจิงได้เข้ารวมกับเจ้าน้องที่กอง
บัญชาการดอยปางตอง และได้เคลื่อนไหวภายใต้ยทุ ธศาสตร์ดา้ นการเมือง 5 ข้อดังนี้
1. ต่อต้านคอมมิวนิ สต์พม่า
2. ความเป็ นเอกราช
3. ความเป็ นประชาธิปไตย
4. ความสามัคคี
5. ความร่ มเย็นเป็ นสุข
ซึ่งนโยบายทั้ง 5 ข้อนี้ได้เป็ นเสมือนแนวทางในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกองกำลังต่าง ที่เกิด
ขึ้นมาในภายหลังและยังคงถูกสื บทอดเจตนารมณ์ในการกอบกูเ้ อกราชของเจ้ากอนเจิง โดยเจ้ายอด
ศึก
กองทัพเมิงไต (Mong Tai Army) 1985 – 1995
กองทัพเมิงไตเป็ นหน่วยงานทางทหารของไทใหญ่ที่มีประสิ ทธิภาพมากที่สุด มีฐานที่มนั่
ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า บริ เวณจ.เชียงรายและจ.เชียงใหม่ กองทัพเมิงไตเป็ นการรวมตัวกัน
้ คนสำคัญของ ขบวนการกูช้ าติไทใหญ่ คือขุนส่ า เจ้ากอนเจิง เจ้านางเฮือนคำ โดยมีเป้ า
ระหว่างผูนำ
หมายคือ ใช้กำลังอาวุธ เพื่อสร้างอิสรภาพให้แก่ชนชาติไทใหญ่ กองทัพเมิงไต ภายใต้ผนำ ู้ ขุนส่ านี้มี
ความรุ่ งเรื อง อย่างที่สุด ขุนส่ านั้นมีนโยบายในการสูร้ บ 3 ข้อคือ
1. ใครให้การช่วยเหลือถือเป็ นพันธมิตร แต่ใครทำร้ายให้ถือว่าเป็ นศัตรู
2. กอบกูเ้ อกราช
3. ปัญหายาเสพติด หากทำให้ได้ซ่ ึงเอกราชแล้ว ค่อยขุดรากให้สิ้น
ทว่าความต้องการของขุนส่ าในการได้เอกราช โดยไม่คำนึงถึงวิธีการนี้ ทำให้ ขุนส่ า กลาย
เป็ นราชายาเสพติด เป็ นต้องยอมละทิ้งเป้ าหมาย ของการกอบกูเ้ อกราช และยอมจำนนต่อรัฐบาล
ทหารพม่า
กองกำลังรัฐฉาน (Shan State Army) 1996 –ปัจจุบนั
หลังจากปัญหาภายในของ กองทัพเมิงไต และการวางอาวุธ (Ceasefire Agreement) ของขุน
ส่ าได้สร้างความไม่พอใจต่อผูนำ ้ บางคน คือ เจ้ายอดศึก (SURA) เจ้าเสื อแท่น (SSA) ได้แยกตัว
ออกมาจากกองทัพเมิงไต และได้รวมตัวกันเป็ นกองกำลังรัฐฉาน ดำเนินการเคลื่อนไหวต่อสู้ ภายใต้
จุดประสงค์เดียวกับกองกำลังปฏิวตั ิแห่งรัฐฉาน (Shan United Revolution Army) ของเจ้ากอนเจิง
และได้ถอยร่ นมาตั้งฐานบัญชาการ ที่ ดอยไตแลง บริ เวณชายแดนไทย – พม่า ตรงข้ามอำเภอปางมะ
ผ้า และได้เคลื่อนไหวกองกำลังรัฐฉาน จนถึงปัจจุบนั
ขบวนการกอบกูร้ ัฐฉานทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบนั มีเป้ าหมายที่เหมือนกันคือ
เอกราชของรัฐฉาน ความเป็ นอิสระของชนชาติไทใหญ่ แต่ทว่า วิธีการและการดำเนินนโยบายของ
แต่ละกลุ่มนั้นต่างกัน ทำให้มีกลุ่มที่แตกสลายด้วยความไม่มนั่ คงภายในของกลุ่มนั้นเอง กองกำลัง
กอบกูเ้ อกราชที่ยงั คงอยูน่ ้ นั ยังคงเคลื่อนไหว เพื่อเป้ าหมายที่มนั่ คงของชนชาติไทใหญ่ต่อไป การ
จับอาวุธเพื่อต่อสู้ในปัจจุบนั ของกองกำลังรัฐฉานภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก นั้นยึดหลัก 5
ประการตามแนวทางที่เจ้ากอนเจิงเป็ นผูว้ างไว้ และเจ้ายอดศึกยังได้สร้างกำลังสนับสนุนโดย เพิ่ม
นโยบายปราบปรามยาเสพติด เพื่อได้รับการสนับสนุนจากองค์กรนานาชาติ และสหรัฐอเมริ กา กลุ่ม
ประเทศที่มีนโยบายในการป้ องกันยาเสพติดเข้าประเทศอีกด้วย
ปัจจัยเหตุแห่ งความขัดแย้ งทางชาติพนั ธุ์
ความขัดแย้งที่ดำเนินมาอย่างยาวนานระหว่างรัฐบาลพม่าและรัฐฉาน หรื อแม้กระทัง่ รัฐของ
ชนกลุ่มน้อยต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีปัจจัยเหตุของความขัดแย้ง ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุ
สำคัญได้เป็ น 3 ปัจจัยคือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางวัฒนธรรม และปัจจัยทางการเมือง ดังนี้
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ต้ งั แต่ในอดีตนั้นมักมีผลต่อปัญหาความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง
ระหว่างกันอยูเ่ สมอมา ไม่วา่ จะเป็ นกรณี ในประเทศหรื อระหว่างประเทศก็ตาม การแบ่งแยก
ประเทศออกจากกันโดยลักษณะพื้นที่ส่งผลสำคัญอย่างยิง่ ต่อความรู ้สึกชาตินิยมและแนวคิดการ
ปรับใช้ชาตินิยมของประเทศนั้นๆ การที่แนวคิดเรื่ องความเป็ นชาติเดียวกันจะปรับใช้ให้ได้ผลต้องมี
องค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิง่ ก็คือ การรู ้จกั คุน้ เคยและการมีแนวคิดไปในแนวทางเดียวกัน แต่จาก
เหตุผลที่ภูมิประเทศแบ่งแยกจากกันนี้ส่งผลให้แต่ละกลุ่มคนมีมุมมองในเชิงที่แตกต่างกันไปด้วย
ยกตัวอย่างเช่น มุมมองเรื่ องน้ำของผูท้ ี่อาศัยอยูบ่ ริ เวณเทือกเขาสูง ก็มกั จะไม่ตรงกับผูท้ ี่อาศัยใน
ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็ นต้น ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ยงั ส่งผลสำคัญต่อการปรับเข้าหากันในเชิงแนวคิด
กล่าวคือ เมื่อแนวคิดมีความแตกแยกออกจากกัน สภาพพื้นที่ทำให้แนวโน้มการหันมาเข้าใจตรง
กันทำได้ยาก เพราะการติดต่อสื่ อสารเชื่อมโยงนั้นทำได้ไม่สะดวกและไม่ได้อยูใ่ นระดับสมาชิก
ส่ วนใหญ่จะทำความเข้าใจกันได้ อีกเรื่ องคือหากแนวคิดด้านชาตินิยมไม่สามารถปฏิบตั ิได้แล้ว
ความรู ้สึกไม่ใช่พวกเดียวกันที่ตามมาส่ งผลต่อความหวงแหนในเขตพื้นที่ของตนเอง และเมื่อกลุ่ม
คนอื่นที่ไม่ได้รู้สึกเป็ นพวกเดียวกันเข้ามาในพื้นที่ ก็จะมีความขัดแย้งในเรื่ องการบุกรุ กและเลือก
ตอบโต้ดว้ ยวิธีการที่รุนแรงเพื่อขับไล่ออกไป ความเข้าใจระหว่างกันยิง่ ถูกทำให้กลายเป็ นความ
เข้าใจผิดและความขัดแย้งยิง่ ขึ้น
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
เราปฏิเสธไม่ได้วา่ วัฒนธรรมนั้นถือเป็ นสิ่ งที่แสดงเอกลักษณ์และตัวตนของมนุษย์
วัฒนธรรมที่แตกต่างกันนั้นเป็ นผลให้เกิดความรู ้สึกไม่เข้ากันระหว่างกลุ่มคนได้อย่างชัดเจน การ
ไม่เข้ากันของวัฒนธรรมนี้ จะไม่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งหากว่าได้รับการยอมรับในฐานะที่เท่า
เทียมกัน แต่ปัจจัยด้านวัฒนธรรมนี้ เมื่อถูกกำหนดให้มีความเหลื่อมล้ำและไม่ยอมรับวัฒนธรรมที่
แปลกแยกจากกันนั้น มักจะมีแนวคิดด้านการทำลายด้วยวิธีการปฏิเสธและล้มล้างระหว่างกันอยู่
เสมอ ทำให้มีการพยายามรักษาไว้ซ่ ึงวัฒนธรรมความเชื่อของตนเอง การแก้ปัญหาการรุ กล้ำที่ดี
ที่สุดคือการแบ่งแยกออกไปเป็ นเอกเทศ เมื่อไม่สามารถแยกออกไปด้วยวิธีปรกติได้กม็ กั มี
ปัญหาด้านความรุ นแรงตามมานัน่ เอง
เชื้อชาติ หมายถึงความแตกต่างด้านรู ปใบหน้า สี ผวิ เส้นผม ขนาดรู ปร่ าง เชื้อชาติที่ต่าง
กันนี้ส่งผลให้เกิดการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ด้วยความแปลกแยกกันนั้นปัญหาที่ตามมาคือการ
ยึดถือในเชื้อชาติของตนเองเป็ นหลักใหญ่ มีการกดขี่ต่อเชื้อชาติอื่นที่ไม่ใช่พวกเดียวกับตนในประ
เทศหนึ่งๆ การปฏิบตั ิอย่างไม่เท่าเทียมกันหรื อหลายมาตรฐานนี้ เอง ทำให้ประเทศที่มีความแตกต่าง
ด้านเชื้อชาติน้ นั มักขัดแย้งและมีความพยายามแยกตัวออกไปอยูใ่ นลักษณะเชื้อชาติเฉพาะของตนเอง
อยูเ่ สมอ
ภาษา ถือได้วา่ เป็ นแกนกลางในการติดต่อสื่ อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน ภาษานั้นถูก
สร้างขึ้นมาต่างก็เพื่อสื่ อความหมายไปในเชิงหนึ่งๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผูใ้ ช้ แต่ปัญหา
หลักใหญ่กค็ ือความที่ภาษานั้นมีมากมายและหลากหลายแตกต่างกันไป เมื่อแปลความเข้าหากันมัก
จะพบความบิดเบือนไม่ตรงประเด็นในการสื่ อสาร อันอาจเป็ นผลจากการเปรี ยบเทียบกันไม่ได้หรื อ
ความพยายามเพื่อผลประโยชน์ในรู ปแบบหนึ่งๆ ส่ งผลให้เกิดเข้าใจผิดและความขัดแย้งอยูเ่ สมอ
ศาสนา ส่ งผลอย่างยิง่ ต่อลักษณะความเชื่อ การมองโลก และการปฏิบตั ิต่อกัน การไม่
ยอมรับซึ่งความเชื่อต่างศาสนานั้นยังผลให้มีความขัดแย้งในโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบนั เพราะ
ศาสนาแต่ละศาสนาก็กำหนดให้การกระทำถูกหรื อผิดแตกต่างกันไปนัน่ เอง การที่กลุ่มคนใน
ประเทศหนึ่งใดที่มีศาสนาแตกต่างกัน การปฏิบตั ิต่างกันนี้ยอ่ มจะส่ งผลให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง
ตามมา
ปัจจัยทางการเมือง
ปัจจัยทางการเมืองการปกครองถือเป็ นสาเหตุหลักของความขัดแย้งตั้งแต่ในอดีตจนถึง
ปัจจุบนั เพราะการเมืองการปกครองนั้นส่ งผลอย่างยิง่ สภาพชีวิตโดยรวมของประเทศทุกประเทศ
ไม่วา่ จะเป็ นเรื่ องแนวคิด ลักษณะความเชื่อ และการแสดงออกด้านการปฏิบตั ิต่อกัน การเมืองการ
ปกครองจะต้องมีแนวทางที่เป็ นกลางต่อกลุ่มประชาชนในประเทศ คือ การให้สิทธิอย่างเท่าเทียม
โดยไม่แบ่งแยกกันออกตามความแตกต่าง อันจะนำมาซึ่งสภาพความสุ ขสงบและการยอมรับในการ
ปกครองของประเทศนั้นๆ แต่หากว่าประเทศใดในโลกก็ตามมีลกั ษณะการเมืองการปกครองที่เลว
ร้าย คือ โน้มเอียงเข้าหาฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งโดยละเลยต่ออีกฝ่ ายที่เหลือ ก็จะยังผลให้เกิดการต่อต้าน
และความรุ นแรงตามมา ไม่ใช่เพียงในประเทศที่เราได้ทำการศึกษาเท่านั้น โดยในประเทศสหภาพ
พม่าเราสามารถแบ่งออกได้เป็ น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ ยุคอาณานิคมของอังกฤษ ช่วงเวลาหลังตกเป็ น
อาณานิคมของอังกฤษนั้นระบบการเมือง การปกครองในประเทศเปลี่ยนไปมาก จากนโยบายที่
เห็นได้ชดั คือ นโยบายแบ่งแยกและปกครอง อังกฤษพยายามหาวิธีการปกครองเพื่อให้พม่าอ่อนแอ
ไม่สามารถรวมกำลังกันต่อสู้เพื่อการแยกตัวออกจากอาณานิคมหลักได้ โดยเน้นถึงเจาะไปที่ปัญหา
หลักใหญ่เดิมคือ ความไม่เป็ นชาตินิยมของชนเผ่าต่างๆ ในพม่า อังกฤษแบ่งการปกครองภายใน
ด้วยวิธีการแบ่งแยกและปกครอง คือการแยกเอาส่ วนที่เป็ นพม่าแท้ รัฐยะไข่ และรัฐมอญ เข้าเป็ น
มณฑลหนึ่งของอินเดีย และส่ วนที่เหลือซึ่งอยูใ่ นบริ เวณเทือกเขาให้เป็ นการปกครองของตนเอง มี
ระบบการปกครองและกษัตริ ยเ์ ดิม ให้การส่ งเสริ มด้านการพัฒนาการเมือง มีรัฐสภาและระบบ
การเมืองของตนเองแยกกับพม่า ดังนั้นการเมืองการปกครองของชนกลุ่มน้อยที่ปกครองตนเองนี้
พัฒนาไปเหมือนกับเป็ นประเทศที่สมบูรณ์ประเทศหนึ่งภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
เช่นกัน ฐานะทางการเมืองที่เท่าเทียมกับส่ วนพม่าแท้ ยังผลให้เกิดความรู ้สึกเป็ นชาตินิยมของ
ตนเอง นำมาซึ่งความขัดแย้งและการต่อต้านพม่าแท้ที่จะเข้ามาปกครองประเทศเป็ นสหภาพโดย
รวมนั้นเอง และการปกครองที่การรับเอาประชาชนจากกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เป็ นทหารในกองทัพของ
อังกฤษ เมื่อมีการต่อต้านเพื่อเรี ยกร้องเอกราช ทหารส่ วนนี้ถูกส่ งเข้าไปปราบปรามการเรี ยกร้อง
เหล่านั้น ทำให้ผเู้ รี ยกร้องซึ่งเป็ นชนพม่านั้นเกิดอคติต่อชนกลุ่มน้อยและมีผลต่อแนวคิดที่มีต่อชนก
ลุ่มน้อยมากยิง่ ขึ้นในเวลาต่อมา
ยุคได้รับเอกราชถึงปัจจุบนั
หลังการได้รับเอกราชมาจากอังกฤษด้วยสนธิสญ ั ญาปางหลวงและการมีรัฐธรรมนูญของ
พม่า การเมืองการปกครองของสหภาพพม่านั้นเป็ นการปกครองที่เน้นเอาส่ วนประชาชนของพม่า
แท้เป็ นหลัก มีการเหยียดชนกลุ่มน้อย มองชนกลุ่มน้อยเป็ นเพียงชนชั้นที่ต ่ำต้อยกว่า พยายาม
เอาเปรี ยบเรื่ องผลประโยชน์ในอาณาบริ เวณของชนกลุ่มน้อยนั้น มาจากแนวคิดการปกครองของ
ตัวผูนำ
้ ทางการเมืองของประเทศในแต่ละช่วงเวลา อันได้แก่ นายพลอองซาน นายพลอองซานผูน้ ้ี
เป็ นผูท้ ี่ถือว่านำมาซึ่งเอกราชของพม่าจากอาณานิคมอังกฤษ แนวคิดทางการเมืองของตัวผูนำ ้ เน้น
ย้ำในเรื่ องการเปิ ดกว้างยอมรับความแตกต่างของชาติพนั ธุ์ เห็นได้จากข้อตกลงในสนธิสญ ั ญาปาง
หลวง ซึ่งยินยอมให้ชนกลุ่มน้อยสามารถแยกตัวออกจากประเทศพม่า หลังมีการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญไปแล้ว 10 ปี แนวคิดของนายพลอองซานนำมาซึ่งความเป็ นปึ กแผ่นของสหภาพพม่า
ในช่วงระยะแรก ความขัดแย้งระหว่างพม่าแท้กบั ชนกลุ่มน้อยจึงไม่แสดงออกมา
รัฐบาลนายอูนุ เป็ นนายกรัฐมนตรี ที่มีแนวคิดหลักที่คล้ายคลึงกับนายพลอองซาน ทำให้
รัฐบาลของพม่าในช่วงนี้ไม่ได้ฉีกสนธิสญ ั ญาปางหลวงทิ้งไป แต่กลับมาเน้นด้านความเชื่อมัน่ ใน
แนวคิดด้านชาตินิยม ผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาร่ วมกันเป็ นหลัก การที่รัฐบาลพม่านำ
เอาแนวคิดนี้มาใช้ส่งผลให้เกิดความไม่เชื่อมัน่ ของชนกลุ่มน้อยต่อรัฐบาล มีการสู้รบกันระหว่างกัน
เกิดขึ้น รัฐบาลนายพลเนวิน ผูม้ ีแนวคิดด้านชาตินิยมเป็ นหลักใหญ่ ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของ
เขามีการปฏิบตั ิต่อชนกลุ่มน้อยที่เลวร้ายในแง่ความไม่เท่าเทียมกัน ประเด็นหลักอีกอย่างคือมีการ
ล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญที่ยนิ ยอมให้มีการแยกตัว การเมืองการปกครองของรัฐบาลมีนโยบาย
ที่เน้นด้านการใช้การปราบปรามด้วยอาวุธเป็ นหลัก ยุทธวิธีที่ นำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งคือ
ยุทธวิธีแบบตัดสี่ คือ อาหาร คลังวัสดุ ฝ่ ายการข่าว และกองกำลัง ของชนกลุ่มน้อย ความขัด
แย้งยิง่ ลุกลามขึ้นและไม่สามารถตกลงกัน
รัฐบาล SLORC (State Law and Order Restoration) หรื อสภาฟื้ นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ หลัง
รัฐบาลของนายพลเนวิน การเมืองการปกครองของสหภาพพม่าในช่วงนี้น้ นั มีความพยายามที่จะหัน
กลับมาเน้นหลักสันติภาพมากขึ้น เห็นได้จากการมีขอ้ ตกลงหยุดยิงหรื อ Creasefire ต่อชนกลุ่มน้อย
บางชนเผ่า แต่ในแง่การปราบปรามก็ยงั คงมีอยูเ่ พราะรัฐบาลในยุคนี้ กย็ งั คงยึดแนวคิดไม่เท่าเทียม
กันแบบที่ผา่ นมานัน่ เอง และท้ายสุ ดรัฐบาล SPDC หรื อ รัฐบาลทหารพม่าในนามสภาเพื่อสันติภาพ
และการพัฒนาแห่งรัฐ ลักษณะของการเมืองการปกครองในรัฐบาลนี้ มีแนวโน้มปฏิบตั ิในทางที่ดี
ขึ้น จากแนวคิดด้านการพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย 7 ขั้นตอน ทำให้ลดความขัดแย้งของชนกลุ่ม
น้อยกับรัฐบาลกลางไปมาก แต่ยงั คงไม่หมดไปด้วยแนวคิดการนำเอาชนกลุ่มน้อยเข้ามารบกันเอง
บทสรุป
ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าและรัฐฉานของชนชาติไทใหญ่ การปะทะด้วย
กำลังอาวุธได้ก่อให้เกิดความสูญเสี ยต่อประชาชนผูบ้ ริ สุทธิ์ ของทั้งสองฝ่ ายมานับเป็ นระยะเวลากว่า
50 ปี และไม่มีวี่แววว่าความขัดแย้งดังกล่าวนี้จะยุติลงด้วยวิธีการอย่างไร การทำความเข้าใจต่อเหตุ
ปัจจัยเบื้องต้นของความขัดแย้งจึงมีความสำคัญอย่างยิง่ กระนั้นการให้คำตอบต่อต้นเหตุดงั กล่าวมี
สาเหตุจากความต้องการผนวกความเป็ นปึ กแผ่นให้กบั รัฐชาติพม่า ดูเหมือนว่ามันจะยังไม่ลึกซึ้ง
เพียงพอ เนื่องจากสาเหตุเรื่ องของผลประโยชน์และความสมบูรณ์ในทรัพยากรของรัฐฉาน ก็เป็ น
ตัวแปรใหญ่อีกตัวหนึ่ง และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ตั้งแต่บรรพบุรุษ ของทั้งสองเชื้อชาติก็
เป็ นเสมือนน้ำมันที่คอยเติมเชื้อไฟ ในภาวะความขัดแย้งนี้
ความต้องการของรัฐบาลพม่าในการที่จะทำให้ดินแดน สหภาพพม่านี้ เป็ นปึ กแผ่นคงไม่
สามารถทำได้ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารที่จอ้ งแต่จะเอาเปรี ยบ และสร้างความเป็ นใหญ่ให้แก่
ชนชาติพม่า เพียงอย่างเดียว สิ่ งที่จำเป็ นที่สุดในการสร้าง สันติภาพ ภายในดินแดนพหุเชื้ อชาติ พหุ
วัฒนธรรม นี้ ตอ้ งอาศัยความเสมอภาค ความเท่าเทียมภายใต้ ระบอบการปกครองที่เท่าเทียม อย่าง
แท้จริ งไม่วา่ จะเป็ นระบอบประชาธิปไตย หรื อระบอบสังคมนิยม หากรัฐบาลสามารถสร้างความ
เท่าเทียมให้แก่กลุ่มชาติพนั ธุ์อนั หลากหลายได้แล้ว สันติภาพย่อมเป็ นจริ ง แนวโน้มในอนาคต
ความสงบสุ ขของชนกลุ่มน้อยยังสามารถมองเห็นแสงอันริ บหรี่ ได้ เนื่องจากขณะนี้ นานาชาติกดดัน
ให้รัฐบาลพม่าสร้างประชาธิปไตยภายในชาติ ทำให้พม่าจำต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีดว้ ยการสร้าง
แผนสู่ประชาธิปไตย การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ อาจเป็ นสัญญาณที่ดีที่ส่งถึง
ขบวนการกอบกูเ้ อกราชของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ไม่เฉพาะรัฐฉานเท่านั้น แต่รวมไปถึงรัฐกระเหรี่ ยง
รัฐคะฉิ่ น รัฐยะไข่ กลุ่มชาติพนั ธุ์ต่างๆ ที่ถูกกดขี่จากรัฐบาลทหารพม่ามาเกือบกึ่งศตวรรษ
บรรณานุกรม
นิพทั ธ์พร เพ็งแก้ว. (2552). แผ่ นดินฉานในม่ านหมอก.โอเพ่นบุ๊ค:กรุ งเทพมหานคร.
---------------------. (2552). ก่ อนตะวันฉายฉาน.โอเพ่นบุ๊ค:กรุ งเทพมหานคร.
ุ ิ ถือทอง. (2548). การเมืองอัตลักษณ์ แห่ งสหภาพพม่ า กรณี ชนชาติไทใหญ่ .วิยานิพนธ์
ฐิติวฒ
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง.มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ :กรุ งเทพมหานคร.
พรพิมล ตรี โชติ.(2542). ชนกลุ่มน้ อยกับรั ฐบาลพม่ า.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
วิจยั :กรุ งเทพมหานคร.
อัคนี มูลเมฆ.(2548).รั ฐฉาน กระวัติศาสตร์ และการปฏิวัติ.สำนักพิมพ์มติชน:กรุ งเทพมหานคร.

You might also like