Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 5

ขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ :ลักษณาการและความหมาย ขบวนการฯในบริบทสั งคมไทย

นางสาวรัชมา ดาเดะ, นางสาวปฐมาภรณ์ จิตพินิจ


กระแสเรื่ องความทันสมัยจากสังคมตะวันตกได้ครอบงำพื้นที่ทางความคิดของผูค้ นในสังคม ได้
ทำให้วฒั นธรรมสังคมเลือนหายไปซึ่ งวัฒนธรรมสังคม1นี้ ถูกแทนที่ดว้ ยวัฒนธรรมมวลชน เช่น ค่านิยมเกี่ยว
กับความเจริ ญก้าวหน้า ลัทธิบริ โภคนิยม ซึ่ งวัฒนธรรมสังคมคือพื้นที่ในการดำเนินวิถีชีวิตพื้นฐานของผูค้ น
ในสังคม ได้ถูกเปลี่ยนแปลงจากความวัฒนธรรมมวลชน ทำให้ผคู ้ นในสังคมมีวิถีการดำรงอยูท่ ี่ต่างไปจาก
พื้นฐานเดิม ความแตกต่างดังกล่าว ได้กลายเป็ นความแปลกแยกทางสังคม เมื่อผูค้ นรู ้สึกอึดอัดและรู ้สึกถึง
การบีบรัดจากวัฒนธรรมมวลชน ผูค้ นจึงแสวงหาพื้นที่ใหม่ที่จะสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสังคมของตน
หรื อรื้ อฟื้ นวิถีการดำรงชีวิตพื้นฐาน พื้นที่แห่งนี้จะไม่ถูกครอบงำด้วยระบบหรื อวัฒนธรรมมวลชน และกว้าง
ขวางพอที่จะสามารถเคลื่อนไหวได้ได้อย่างเสรี พื้นที่“การเมืองใหม่”ที่ปราศจากระบบรัฐ สภาพการ
เคลื่อนไหวที่ไม่ได้มีเฉพาะผูม้ ีกำลังแต่จะเป็ นพื้นที่แห่งการเคลื่อนไหวสำหรับผูท้ ี่ไร้กำลัง ด้วยการเมืองใหม่
นี้จะมี“ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่”เป็ นแกนกลางในการหมุนภายใต้วฒั นธรรมสังคม
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ จึงถูกให้นิยามว่าเป็ น“การปฏิบตั ิการเพื่อต่อต้านอำนาจนิยมการ
ครอบงำของรัฐและเป็ นการต่อต้านการควบคุมของระบบทุนนิยม”2 ซึ่ งจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ของขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสังคม ที่ปรี ชาได้กล่าวไว้คือการเปิ ดพื้นสาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่ วมใน
ระบบการเมืองโดยตรง และกระบวนการในการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน ให้เกิดขึ้นมาใหม่เพื่อการปฏิบตั ิ
การเปลี่ยนแปลงสังคม3
การกำเนิดของ การเมืองใหม่ และ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ ในฐานะขบวนการ
ทางสังคมที่เปิ ดพื้นที่สาธารณะให้กบั ประชาชนทุกชนชั้น/ประชาชนผูไ้ ร้กำลัง เป็ นวาทกรรมใหม่ ที่ตอ้ งการ
เปลี่ยนแปลงการเมืองภาคประชาชน ซึ่ งแนวคิดการเมือง “ใหม่” นี้มีลกั ษณาการรู ปแบบวาทกรรม แนวคิด
บริ บททางสังคมต่างจากการเมืองแบบ “เก่า” ดังนี้จากบทความเรื่ อง การเมืองแบบใหม่ ขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่และวาทกรรม การพัฒนาชุดใหม่ของไชยรัตน์ สามารถสรุ ป ลักษณะของ
การเมือง “เก่า” และ “ใหม่” ได้ 5 ประการดังนี้
ตารางที่ 1 เปรี ยบเทียบลักษณาการการเมือง “ใหม่” กับ การเมือง “เก่า”4
การเมือง “ใหม่” การเมือง “เก่า”
กลุ่มอำนาจ เน้นประชาชน มีบทบาทในรู ปขบวน การ ระบบรัฐสภามีการแยกระหว่างรัฐบาลกับ
ทางสังคม ประชาชน ภาครัฐกับเอกชน เป็ นการแยก
เป็ นสองขั้ว

1
ปรี ชา เปี่ ยมพงศ์สานต์ ได้ใช้คำว่า ระบบ กับโลกชีวิต ในบทความนี้ ใช้ วัฒนธรรมมวลชน กับวัฒนธรรมสังคม ตามอาจารย์ไชยรัตน์ เจริ ญสิ น
โอฬาร ซึ่ งบริ บทแวดล้อมของทั้งสองคำนี้ทำให้ผเู้ ขียนตีความหมายว่าคำทั้งสองชุด มีความหมายที่คล้าคลึงกัน.
2
Haberms,Jurgen, New Social movement, in: Telos 49, อ้างถึงใน ปรี ชา เปี่ ยมพงษ์สานต์ “การเคลื่อนไหวสังคมแนวใหม่ และวิกฤตการณ์ทาง
วัฒนธรรมในยุค Postmodernity.
3
เรื่ องเดียวกัน.
4
ไชยรัตน์ เจริ ญสิ นโอฬาร, “การเมืองแบบใหม่,ขบวนการเคลื่อนไวทางสังคมรู ปแบบใหม่และวาทกรรมการพัฒนา
ชุดใหม่,” ในรัฐศาสตร์แนววิพากษ์ 2551: 145-192
ประเด็นสำคัญ ความมัน่ คงเกี่ยวกับชีวิตการดำรงอยู่ ความเจริ ญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความ
คุณภาพชีวิต เป็ นการเมืองระดับโลก มัน่ คงของรัฐชาติ
กลุ่มสนับสนุน โดยชนชั้นกลางใหม่ ที่การศึกษาสูง รายได้ นายทุนผูป้ ระกอบการ ชนชั้นกลาง และ
ดี เป็ นฐานสนับสนุน ไม่มีชนชั้นตายตัว ชนชั้นแรงงาน ในอัตราที่ต่างกัน
เป้ าหมาย ช่วงชิงการนำหรื อสร้างคำนิยาม ความ ขบวนการทางการเมืองแบบประท้วง
หมายชุดใหม่ให้สิ่งที่เรี ยกร้อง
ยุทธศาสตร์ การเผชิญหน้า แตกหัก ใช้ภาษารุ นแรง ประสานผลประโยชน์ และประนีประนอม
เมื่อเปรี ยบเทียบลักษณะของการเมืองแบบเก่า และการเมืองแบบใหม่ ที่เปิ ดกว้างให้กบั ภาคประชาชนได้เข้า
มามีบทบาท ในการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็นที่ไม่ เฉพาะเรื่ องการเมืองในระบบ แต่ยงั รวมไปถึง
ประเด็นทัว่ ไป เกี่ยวกับสิ่ งแวดล้อม สุ ขภาพอนามัย เพศ ความรู ้ ภาษา วัฒนธรรม สิ ทธิ ชนกลุ่มน้อยและผูด้ อ้ ย
โอกาส 5ฯลฯ ซึ่ งการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่น้ ียงั อยู่ ภายใต้วาทกรรม “การมีส่วนร่ วมของ
ประชาชน” จึงทำให้รูปแบบการเคลื่อนไหวเน้นเผชิญหน้า ใช้ภาษาที่หนักแน่น เพื่อสร้างจุดแตกหักในการ
ช่วงชิงนิยามใหม่จากการเมืองแบบเก่า “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” ในการเมืองใหม่ได้เข้ามาแทนที่
การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบเดิม ซึ่ ง จากพัฒนาการของ “การเมืองใหม่” ที่เปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้มีขอ้ สังเกต
ว่า ลักษณะของ “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่” สะท้อนลักษณะที่เฉพาะต่อรู ปแบบของ
ขบวนการ ดังที่บทความเรื่ อง “ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและการปฏิรูปการเมือง”6 ของ
นฤมล ทับจุมพล ที่ได้อธิบายถึง ลักษณะสำคัญไว้ดงั นี้ 7 ประการแรกคือ ขบวนการที่หลากหลายข้ามชนชั้น
ประการที่สอง ขบวนการเคลื่อนไหว มีความหลากหลายทางความคิด ค่านิยม ประการที่สาม มีการสร้างมิติ
ใหม่ของความเชื่อ สัญลักษณ์ และการให้ ความหมายที่ต่างไปจากมิติทางเศรษฐกิจการเมืองเพียงอย่างเดียว
ประการที่สี่ เน้นไปที่บทบาทของปัจเจกชน มากกว่าที่จะ เน้นกลไกแบบจัดตั้งจากองค์กรภาครัฐ ประการที่
ห้าเน้นการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ มากกว่าการแสวงหาอำนาจต่อรองเพื่ออิทธิ พล หรื อผล
ประโยชน์ของชนชั้น/กลุ่มตนเอง ประการสุ ดท้ายคือการปฏิเสธการเมืองกระแสหลัก ปฏิเสธอำนาจรัฐ และ
การให้อิสระกับประชาชน
อย่างไรก็ตามจากการ ข้อเสนอ Sidney Tarrow8 ได้ให้ คำอธิ บายที่แตกต่างเกี่ยวกับลักษณาการของ
“ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่” ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่น้ นั แม้จะมี
พัฒนาการที่เปลี่ยนมาจากอดีต แต่กย็ งั คงลักษณะรู ปแบบเก่าได้อยูอ่ ีกมาก เรื่ องของขบวนการแรงงานที่มี
ความสำคัญในยุคโลกาภิวตั น์ ทำให้ไม่สามารถแยก ขบวนการทางสังคมแบบเก่าและแบบใหม่ได้ เนื่องจาก
ขบวนการทางสังคมนั้นมีพ้ืนฐานมาจากแนวความคิดมาร์กซิ สต์ และไม่สามารถปฎิเสธได้วา่ ประเด็นปั ญหา

5
เรื่ องเดียวกัน.
6
ผาสุ ก พงษ์ไพจิตรและคณะ และคณะ,วิถีชีวิต วิถีสู้:ขบวนการประชาชนร่ วมสมัย 2549 : บทที่ 5 ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
และการปฏิรูปการเมือง
7
ซึ่ งคล้ายกับข้อเสนอของไชยรัตน์ได้ให้ลกั ษณะของ ไว้ 3 ประการ คือประการแรก มีลกั ษณะที่ไม่แบ่งความต่างอันชัดเจนระหว่าง รัฐกับ
ประชาชน คือพยามที่จะออกจาก แนวคิดตะวันตกที่ครอบงำ สังคมอยู่ ประการที่สอง คือตัดข้ามความคิดที่มองว่าทุกสิ่ งถูกแยกเป็ นสองขั้ว
โดยแบ่ง เป็ นภาครัฐและเอกชน และประการสุ ดท้าย คือการเคลื่อนไหวที่ชูประเด็นเรื่ องคุณค่า เสรี ภาพส่ วนบุคคล และคุณภาพชีวิต ในเวที
สาธารณะ โดยที่ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่
8
Sidney Tarrow อ้างใน “ถึงเวลารื้ อถอนการเมืองแบบเก่าของประชาชน” จากหนังสื อรื้ อฟื้ นการต่อสู ้ ซ้ายเก่าสู่ ซา้ ยใหม่ไทย ของใจ อึ๊งภากรณ์
ต่างๆนั้น แม้วา่ จะเป็ นยุคของทุนนิยม ก็ไม่อาจแยกเรื่ องเศรษฐกิจและชนชั้นออกจากกันได้ ทั้งนี้ความคิดเห็น
ของ Tarrow แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ขดั แย้งกับนักวิชาการอย่าง นฤมล ทับจุมพลและไชยรัตน์ เจริ ญสิ น
โอฬาร จากลักษณะบางประการที่ได้กล่าวมาของ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ ทำให้เรา
สามารถนึกถึง ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ ที่แสดงถึงลักษณาการอันชัดเจนคือ 9ขบวนการ
วัฒนธรรมชุมชน และขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนและการปฏิรูปการเมืองดังจะเปรี ยบเทียบ
ให้เห็น ในประเด็นสำคัญที่ทำให้ท้ งั สองขบวนการ ถึงแม้วา่ จะถูกเรี ยกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหวต่างสังคม
รู ปแบบใหม่” เหมือนกันแต่ในบริ บทแวดล้อมของการจัดตั้งและรู ปแบบมีความแตกต่าง กันในประเด็น
สำคัญอย่างชัดเจน ดังนี้
ตารางที่2 แสดงความแตกต่างระหว่าง ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญ และ ขบวนการวัฒนธรรมชุมชน
ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญ ขบวนการวัฒนธรรมชุมชน
ประเด็นสำคัญ การมีประเด็นร่ วมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน การลุกขึ้น ของวัฒนธรรมชุมชน/ท้องถิ่น
เชื่อมโยงไปเรื่ องผลประโยชน์กลุ่มย่อย สร้างพื้นที่สาธารณะให้กบั วัฒนธรรมชุมชน

กลุ่มนำ/หัวหอก ไม่มีกลุ่มนำเป็ นทางการแต่เคลื่อนตัวด้วย คนในท้องถิ่น ระดับรากหญ้า


ชนชั้นกลาง เป็ นการเคลื่อนไหวข้ามชนชั้น
โครงสร้าง มีลกั ษณะเป็ นเครื อข่ายแนวราบ ไม่มีสายบังคัญ เป็ นกระบวนการแนวราบ ของชุมชน
บัญชา
การเคลื่อนไหว รณรงค์ดา้ นกว้าง โน้มน้าวให้ขอ้ มูล การเผชิญหน้า สร้างจุดแตกหัก จากนิยามเก่า
ยุทธศาสตร์ แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ การกดดันเชิงนโยบาย การเดินขบวนประท้วง โดยสันติ
จากตารางจะสามารถสังเกตได้วา่ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ ทั้งสองขบวนการนี้ มีบริ บท
ทางสังคม เศรษฐกิจ และการถูกแรงกดดันจากรัฐที่ต่างกัน ทำให้ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญผูซ้ ่ ึ งต้องการ
เชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของกลุ่มตนเข้ากับ ผลประโยชน์ที่ตนต้องการบางอย่าง ทั้งนี้แกนนำการเคลื่อนไหว
เป็ นชนชั้นกลางที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่ งมีลกั ษณะเป็ นขบวนการแบบตะวันตกมากกว่าขบวนการ
วัฒนธรรมชุมชน เนื่องจากขบวนการวัฒนธรรมชุมชนนี้ มีพ้ืนฐาน การเคลื่อนไหวมาจากผูท้ ี่ถูกกดไว้ใต้
วัฒนธรรมมวลชน จึงมีความต้องการที่จะรักษา/ชูอตั ลักษณ์ของชุมชนให้ปรากฎในสังคม ทั้งนี้ขบวนการ
วัฒนธรรมชุมชน จึงเป็ นการปรากฏตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม อันเป็ นภาพตัวแทนสำคัญของ
การมีส่วนร่ วมของประชาชนระดับรากหญ้าในประเทศไทย ที่ตอ้ งการเข้ามามีส่วนร่ วมภาคประชาสังคม
สาธารณะ ทว่าการก่อตัวของขบวนการวัฒนธรรมชุมชน เกิดขึ้นจากองค์กรพัฒนาเอกชน10 ที่เป็ นเป็ น
ตัวกลาง ที่พยายามที่จะเชื่อมพื้นที่ในระหว่างรัฐกับประชาชน คอยผลักดันให้คนจากจากรากหญ้าที่มกั จะถูก
กดขี่จากรัฐหรื อระบบราชการ ให้มีพ้ืนที่ยนื ในสังคมมากขึ้น แต่ทว่าความประสงค์ขององค์กรพัฒนาเอกชน
มักจะเป็ นไปในทาง พี่เลี้ยง ในขบวนการเคลื่อนไหว ซึ่ งเดินตามทำให้รากหญ้า ไม่มีหลักยึดโยงขบวนการให้
แข็งแกร่ ง ซึ่ งบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนมีผลกรทบต่อพัฒนาการของภาคประชาสังคมในไทย เมื่อนำ

9
เรื่ องเดียวกัน.
10
เรื่ องเดียวกัน. องค์กรพัฒนาเอกชน จากบทความเรื่ อง “ถึงเวลารื้ อถอนการเมืองแบบเก่าของประชาชน” ในหนังสื อรื้ อฟื้ นการต่อสู ้ ซ้ายเก่าสู่
ซ้ายใหม่ไทย ของใจ อึ๊งภากรณ์ ได้ใช้ในบริ บทเดียวกับคำว่า N.G.O (Non Government Organization)
ทั้งสองขบวนการเคลื่อนไหวมาเทียบเคียงความสำเร็ จ ตามทัศนะของผูเ้ ขียนเห็นว่า ขบวนการเพื่อ
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน สามารถบรรลุเป้ าหมายของขบวนให้เห็นเป็ นรู ปธรรม ชัดเจนกว่าขบวนการ
วัฒนธรรมชุมชน เพราะการเข้ามามีบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนทำให้ ภาคประชาชนมีความอ่อนแอ
นัน่ อาจเป็ นเพราะข้อแตกต่างบางประการระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวในบริ บทสังคมไทยกับขบวนการ
เคลื่อนไหวที่มีลกั ษณะตะวันตกอยูม่ าก ไชยรัตน์ได้อธิ บายไว้วา่ 11ในโลกตะวันตกนั้นการ เคลื่อนไหวจุดเริ่ ม
ต้นมาจาก ชนชั้นกลาง ที่ไม่พอใจในคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลง แต่ทว่าในประเทศโลก ที่สาม การเคลื่อนไหว
เริ่ มจากประชาชนระดับรากหญ้าที่ได้รับความอยุติธรรมในการปกครองของชนชั้นนำทางสังคมเศรษฐกิจจึง
ทำให้รูปแบบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่มีลกั ษณะและความเข้มแข็งต่างกันอย่างมาก
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่น้ นั ได้รับอิทธิ พลมาจากแนวความคิด เรื่ อง
อนาธิ ปไตย ซึ่ งเป็ นเสมือนพลังในการปฏิบตั ิการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการ และอีกแนวคิดหนึ่งคือ
โพสท์โมเดิร์น เป็ นเสมือนพลังความคิด ที่ใช้ในการเชื่อมโยง จิตใจ ของผูค้ นในขบวนการให้รวมกันเป็ น
หนึ่ง จากบทความเรื่ อง “อิทธิพลของแนวคิด อนาธิ ปไตย โพสท์โมเดิร์น และแนวทางที่สาม ในขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสังคมไทย”12 ได้แสดงเห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทย นั้น ได้รับแนวคิด อิทธิ พล
จากทั้งสองแนวคิดนี้ เป็ นหลัก แต่ทว่า ขบวนการในประเทศไทยยังไม่สามารถหา จุดร่ วมที่ลงได้ ระหว่าง
แนวคิด อนาธิปไตย และ โพสท์โมเดิร์น ในการดำเนินยุทธศาสตร์ของขบวนการฯ ซึ่ งถ้าหากจะนำ ทั้งสอง
แนวคิดนี้มา อ่านรู ปแบบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่ “ขบวนการวัฒนธรรมชุมชน”
และ “ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญ” จะสังเกตได้วา่ ขบวนการวัฒนธรรมชุมชน ได้รับแนวความคิด
อนาธิ ปไตย เป็ นส่ วนมากเนื่องจากผูค้ น/ประชาชน ในท้องถิ่นลุกขึ้นมาแสดงจุดยืน ทางด้านวัฒนธรรม
ชุมชนของตน โดยมีการเคลื่อนไหวเชิงปฏิบตั ิ มากกว่าที่จะสร้างจิตสำนึกร่ วม หรื อเชื่อมโยงผูท้ ี่มีอุดมการณ์
ร่ วมในขบวนการเคลื่อนไหว ทำให้ขบวนการวัฒนธรรมชุมชน ขาดหลักคิด ในการยึดเหนี่ยว จึงเสมือนการ
พลังไปส่ วนหนึ่ง ส่ วนขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญนั้นเป็ นขบวนการที่ เชื่อมโยงด้วยแนวความคิดที่วา่
ต้องการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยที่ใช้แนวคิดนี้ในการสร้าง พลังแบบ “โพสท์โมเดิร์น” โดยที่
ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวในเชิงปฏิบตั ิ อย่างเป็ นรู ปธรรม ถึงแม้วา่ จะเป็ นพลัง ความคิดของกลุ่มคนหลายกลุ่ม
แต่ยงั ขาดพลังในทางปฏิบตั ิการเคลื่อนไหวเรี ยกร้องรัฐธรรมนูญฉบับ ประชาชน จึงทำให้เป้ าหมายของ
ขบวนการเคลื่อนไหว ยังไม่เป็ นผลบางประการ
ดังนั้นการเคลื่อนไหวแนว “อนาธิปไตย” และ “โพสท์โมเดิร์น” ทั้งทางแนวทฤษฎีความคิด และ
การเคลื่อนไหวเชิงปฏิบตั ิ เพื่อให้เกิดเขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่และการเมือง “ใหม่” อัน
ทรงพลัง จึงจำเป็ นต้องเปิ ดพื้นที่ระหว่างกลาง “ทางเลือกที่สาม” เป็ นพื้นที่ในการประนีประนอม ของทั้งสอง
แนวคิดนี้ เป้ าหมายในของการเคลื่อนไหวทางสังคม และการที่จะเปิ ดพื้นที่สาธารณะ ที่ปฏิเสธระบบรัฐ เพื่อ
เป็ นพื้นที่ของประชาชนในการแสดงความคิดเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี ในประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต
11
เรื่ องเดียวกัน.
12
ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ,ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย 2549 : บทที่ 2 อิทธิพลของแนวคิด อนาธิปไตย โพสโมเดิร์น และ “แนวทางที่
สาม” ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทย.
คุณค่าของการดำรงอยู่ จึงจะดำเนินไปได้ลุล่วงสำเร็ จ และการจะหลุดออกจาก การก้าวตามความทันสมัยของ
ผูค้ นจะทำให้วฒั นธรรมชุมชนกลายมาเป็ นจุดศูนย์กลางของผูค้ นในสังคม อีกครั้ ง

บรรณานุกรม
ไชยรัตน์ เจริ ญสิ นโอฬาร. 2551. “การเมืองแบบใหม่, ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรู ปแบบใหม่และวาท
กรรมการพัฒนาชุดใหม่” รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. (หน้า 145-192). กรุ งเทพฯ:สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
ใจ อึ๊งภากรณ์และ นุ่มนวล ยุพราช. 2547. “ถึงเวลารื้ อถอนการเมืองแบบเก่าของประชาชน, รื้ อฟื้ นการต่อสู ้
ซ้ายเก่าสู่ ซา้ ยใหม่ไทย”. (หน้า 53-75). กรุ งเทพฯ:ชมรมหนังสื อประชาธิ ปไตยแรงงาน.
ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ. 2549. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย.กรุ งเทพฯ:ชมรมหนังสื อ
ประชาธิปไตยแรงงาน.
ปรี ชา เปี่ ยมพงษ์สานต์. 2550 .“การเคลื่อนไหวสังคมแนวใหม่และวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรมในยุค
Postmodernity” รัฐศาสตร์สารฉบับพิเศษ. ปี ที่28 (หน้า 182-92). กรุ งเทพฯ:สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
ผาสุ ก พงษ์ไพจิตรและคณะ. 2549. “ขบวนการเพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และการปฏิรูปการเมือง,วิถี
ชีวิต วิธีสู้:ขบวนการประชาชนร่ วมสมัย”. (หน้า 463-511). เชียงใหม่: ตรัสวิน

You might also like