PO330 (พม่า) Take Home Test

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 3

ผูบ้ รรยาย อ.

ภิญญ์ ศิรประภาศิริ นางสาวปฐมาภรณ์ จิตพินิจ 5003610564


ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายด้ านเศรษฐกิจของอูนุ และ นายพลเนวิน และวิเคราะห์ ถึงความมีประสิ ทธิภาพ และ ประสิทธิผล
ของนโยบายของ 2 ผู้นำดังกล่าว
งานเขียนชิ้นนี้ประกอบไปด้วย 3 ส่ วน คือ 1. แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการบริ หารรัฐพม่า 2.
นโยบายเศรษฐกิจ พุทธสังคมนิยมของอูนุ กับ นโยบายสังคมนิคมวิถีพม่าของนายพลเนวิน ส่ วนสุ ดท้าย 3. วิเคราะห์เปรี ยบ
เทียบประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิภาพนโยบายเศรษฐกิจของทั้ง 2 ผูนำ ้
แนวคิดพืน้ ฐานในการกำหนดแนวทางการบริหารรัฐพม่ า
จากข้อมูลที่มีมากมายที่ได้กล่าวถึง สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งในอดีด และปัจจุบนั ตั้งแต่ประเทศพม่าได้
รับเอกราชจากการตกเป็ นอาณานิคมของประเทศอังกฤษที่แสนยาวนานประมาณ 100 กว่าปี จากประวัติศาสตร์อนั ยาวนาน
เหล่านั้น สามารถสังเกตได้วา่ พม่า มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับคำ 2 คำคือ “พุทธศาสนา” และ “สังคมนิยม” ไม่วา่
จะอูนุ หรื อ นายพลเนวิน รัฐบาล SLORC (State Law and Order Restoration Council) หรื อ SPDC (State Peace and
Development Council) ต่างก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายการบริ หาร ปกครอง อยูบ่ นพื้นฐานของพุทธศาสนาที่เป็ นหลัก
ศูนย์รวมจิตใจของคนพม่ามานาน ตั้งแต่ก่อนที่จะถูกลัทธิล่าอาณานิคมอังกฤษครอบงำ พุทธศานาทำให้ ชาวพม่า (ทั้งนี้รวม
ถึงชนกลุ่มน้อยที่อยูใ่ นพม่า) สามารถที่จะอดทนต่อสถาการต่างๆ ได้มาก ทั้ง เคยมีพระมหาอุตตมะ นำแนวคิดของพุทธ
ศาสนามาตีความควบคู่ไปกับแนวทางสังคมนิคม ว่า เป้ าหมายของสังคมนิยมแท้จริ งแล้วคือ โลกนิพพาน ทำให้ “สังคมนิยม
” กลายมาเป็ นรากฐานในการบริ หารจัดการรัฐของชาวพม่า อีกแนวหนึ่ง
แนวคิดทาง “สังคมนิยม” พัฒนาควบคูม่ ากับการจัดการรัฐของพม่าหลังได้รับเอกราชผูอ้ ่านอาจสงสัยว่า “พม่า
นั้นมีความหลังอะไรกับ คอมมิวนิสต์ สังคมนิยมหรื อ” หากจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง ประเทศพม่า (ในที่น้ ี คือ
รัฐบาลผูม้ ีอำนาจในการจัดการรัฐ) กับแนวทางสังคมนิยม มีความเป็ นไปได้หลัก อยู่ 2 ประการที่ทำให้ไม่วา่ รัฐบาล จะ
เปลี่ยนไปแตความนิยมในการจัดการรัฐ ระบอบการปกครอง ก็มกั จะลงตัวอยูท่ ี่ สังคมนิยม ประการแรกนั้น ค่อนข้างมีความ
สำคัญทีเดียวเนื่องจากว่า การตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษและระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษเป็ นระยะเวลานาน นั้น
ทำให้สงั คม เศรษฐกิจของคนพม่า มีความเหลื่อมล้ำกับชนชั้นนำที่เป็ นชาวต่างชาติ ทั้งนายทุน พ่อค้าชาวอินเดีย และอังกฤษ
ซึ่งครอบครองทรัพย์สิน เงิน ส่ วนใหญ่ของประเทศพม่าไว้ ทำให้คนพม่ารู้สึกว่าถูกเอาเปรี ยบ ขูดรี ด ของชาวต่างชาติและมี
อคติกบั การปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วย ประการที่สอง ในช่วงที่ ขบวนการเพื่อประชาธิปไตยของพม่า กำลังรุ่ งเรื่ อง
นั้น แนวคิดสังคมนิยม กำลังเป็ นที่แพร่ หลาย ทั้งกลุ่ม 30 สหาย หรื อ กลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist People's Freedom
League) ผูนำ้ ในการเรี ยกร้องเอกราชทั้งหลาย ล้วนได้รับอิทธิพลโดยแนวสังคมนิยมทั้งสิ้ น เหตุผลทั้ง 2 ประการนี้ ดูเหมือน
จะทำให้ สังคมนิยม ฝังรากอยูใ่ นสังคมพม่า กลายเป็ นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญในการปกครอง เศรษฐกิจของพม่า และยังคง
ไว้การผสมผสาน กับการผลักดันให้เกิดการพัฒนากระแสหลัก จนถึงปัจจุบนั
นโยบายเศรษฐกิจพุทธสั งคมนิยมของอูนุ กับ นโยบายสั งคมนิคมวิถีพม่ าของนายพลเนวิน
อูนุ และ นายพลเนวิน เป็ นผูนำ้ ของพม่าในยุคหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ผูนำ้ ทั้ง 2 คนนี้ได้สลับสับเปลี่ยนการ
ขึ้นลงสู่อำนาจในช่วงแรกคือ 1948 – 1962 จนกระทัง่ นายพลเนวินได้ทำการยึดอาจ จากนายกรัฐมนตรี อูนุ ตั้งแต่ ปี 1962
เป็ นต้นมา สามารถสังเกตได้วา่ ไม่วา่ การเมืองจะดำเนินแนวทางในลักษณะใด อูนุ ตามแนวทางประชาธิปไตย เนวิน ตาม
แนวทางรัฐบาลเผด็จการทหาร ทว่า “สังคมนิยม” ยังคงเป็ นหลักการที่สำคัญอยูน่ นั่ เอง จากนี้ จะอธิบายถึงรายละเอียดคร่ าวๆ
ถึง นโยบายเศรษฐกิจของอูนุ และ นโยบายเศรษฐกิจของนายพลเนวิน
นโยบายเศรษฐกิจของอูนุ
การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของอูนุ รัฐบาลในขณะนั้น ตั้งอยูบ่ นหลัก การเมืองระหว่างประเทศ แบบวางตัว
เป็ นกลาง (Nuetralist) ที่อาจเรี ยกได้วา่ เป็ นนโยบายแบบสร้างสรรค์ คือการวางตัวเป็ นกลางของรัฐบาลในยุคนั้น ไม่
ต้องการเข้าไปมีส่วนร่ วมในสงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจ แต่มิได้จำกัดอยูท่ ี่การปิ ดตัวเอง แต่พยายามที่จะเข้าไปเป็ นตัว
แสดงในเวทีโลกโดย การเป็ นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ และยังดำเนินการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างมหาอำนาจต่างค่าย ทั้งจีน และ สหรัฐอเมริ กา และเปิ ดรับความช่วยเหลือทางด้านการเงิน ในการนำมาใช้พฒั นา
ประเทศจากองค์การนานาชาติ ซึ่งนโยบายการเมืองระหว่างประเทศแบบวางตัวเป็ นกลางของพม่า นั้นได้ส่งผลต่อภาพ
ลักษณ์ของประเทศพม่าด้วย ด้านนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ของพม่าในยุคนนี้ มีเป้ าหมายที่สำคัญคือ กระจายรายได้
จัดการรัฐแบบรัฐสวัสดิการ จัดการความไม่เท่าเทียมของก มีการโอนกิจการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญบางอย่างมาเป็ นของ
รัฐ และรัฐบาลได้จดั ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 2 ปี ขึ้นโดยมีเป้ าหมาย 3 ประการด้วยกันคือ การเลิกระบบการถือครองที่ดิน
ขนาดใหญ่ โดยพวกเจ้ าของที่ดิน และเอาที่ดินเหล่ านั้นจัดสรรให้ แก่ ชาวบ้ านสามัญ ประการต่ อมาเพื่อให้ เอาที่ดินเหล่ านั้น
ไปทำให้ เกิดผลิตผล และรายได้ ที่จะทำให้ ประชาชนทั่วไปมีชีวิตความเป็ นอยู่ที่สะดวกสบายขึน้ และประการสุดท้ าย คือการ
ทำให้ พม่ าผลิตข้ าวได้ พอ และสามารถส่ งเป็ นสิ นค้ าออกได้ อย่ างในอดีต 1
ในช่วงแรกรัฐบาลภายใต้การนำของอูนุ นั้น สถานการณ์การเมืองภายในยังไม่รุนแรงมากนัก จึงสามารถดำเนิน
นโยบายเศรษฐกิจได้ค่อนข้างมัน่ คง ถึงแม้เกิดปัญหาบ้าง ต่อมาช่วงหลัง สถานการณ์การเมืองภายในพรรคต่อต้านเผด็จการ
ฟาสซิสต์ (พรรครัฐบาล) เริ่ มรุ นแรงขึ้น ความนิยมในตัวผูนำ้ พรรค และรัฐบาล เริ่ มสัน่ คลอน จึงทำให้อูนุนำเอา พุทธศาสนา
มาชูโรง ในนโยบายการบริ หารประเทศ ทำให้เกิด นโยบายเศรษฐกิจ “พุทธิกะสังคมนิยม” ซึ่งการบริ หารจัดการเศรษฐกิจ
ภายใต้ชื่อ พุทธิกะสังคมนิยม ยังคงดำเนินแนวทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หากมีการ สร้างความเชื่อมัน่ ทางจิตใจให้กบั
ประชาชน โดยโยงนโยบายทางพุทธศาสนา คือมีการสังคายนาประไตรปิ ฎกครั้ งใหญ่ของพม่า จัดให้มีการประชุมสัมมนา
เกี่ยวกับพุทธศาสนาโลกขึ้นมาก การดำเนินนโยบายพุทธิ กะสังคมนิยมนี้ เป็ นแนวทางในการสร้างความเป็ นเอกภาพทาง
ด้านการเมืองให้เกิดขึ้นภายใต้แนวทางศาสนา เสมือนการเบี่ยงเบนความสนใจ ของประชาชนให้หนั มาสนใจรัฐบาลอูนุ
สร้างคะแนนนิยมต่อรัฐบาลมากขึ้น แต่วา่ การดำเนินนโยบายเหล่านี้ไม่เป็ นผล เนื่องจากต่อมา นายพลเนวินได้ใช้ ข้ออ้าง
เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอูนุ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล ความไร้สามารถในจัดการปัญหา
ของรัฐบาล เป็ นประเด็นในการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากผูนำ ้ รัฐบาลอูนุ
นโยบายเศรษฐกิจของนายพลเนวิน
หลังจากที่นายพลเนวิน ยึดอำนาจจากรัฐบาลของอูนุ ในปี 1962 การบริ หารประเทศของรัฐบาลทหารนายพลเน
วิน ภายใต้พรรคการเมือง ชื่อว่า พรรคโครงการสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า โดยได้ดำเนินตามนโยบาย สังคมนิยมวิถีพม่า
(The Burmese Way to Socialist) โดยนโยบายนี้ ดำเนินนโยบาย ความเป็ นกลาง แบบปิ ดประเทศ ไม่รับความช่วยเหลือจาก
นานาประเทศ ต้องการที่จะอิสระจากกระแสโลก และสามารถอยูไ่ ด้ดว้ ยตัวเอง นโยบายเศรษฐกิจนี้แบ่งเป็ น 2 ระยะ คือ
ระยะแรกสังคมนิยมวิถีพม่าได้ดำเนินตามแนวทางสังคมนิยมอย่างเคร่ งครัด มีการยึดกิจการคมนาคม การสื่ อสาร
การเกษตร ยึดธนาคารต่างชาติมาเป็ นของรัฐ รัฐเข้าไปควบคุมจัดการธุรกิจทั้งหมด ทั้งธุรกิจรายใหญ่ของต่างชาติ ภาค
เอกชน รวมถึงการค้า ร้านค้าของประชาชนทำให้ เกิด ตลาดมืด เนื่องจากสิ นค้าอุปโภคบริ โภคขาดแคลนความต้องการ
สิ นค้าสิ นค้าของประชาชนมีมากรัฐไม่สามารถจัดการ ให้แก่ประชาชนได้ทวั่ ถึง ภายใต้นโยบายสังคมนิยมวิถีพม่า รัฐบาล
พรรคโครงการสังคมนิยมแห่งพม่าได้เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างเร่ งด่วน ทั้งที่ขาดการช่วยเหลือด้านเงินทุนจาก
ต่างประเทศ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในช่วงแรกของรัฐบาลอูนุ ประสบความล้มเหลวอย่างหนัก ทำให้รัฐบาลหัน
มาทบทวนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผา่ นมา และได้จดั ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 20 ปี ในปี 1971 โดยมีเป้ าหมายที่จะ
ทำให้อตั ราการเจริ ญเติบโตทางเศรษฐกิจก้าวหน้าเทียบเท่าในอดีต แบ่งเป็ น 5 ระยะ โดยในระยะที่หนึ่งได้ หันไปใส่ ใจใน
การพัฒนาภาคเกษตรกรรม การประมง เหมืองแร่ ซึ่งพม่า เป็ นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์มาก และ

1
มล.พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์, ผูแ้ ต่ง, การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองพม่า, (กรุ งเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2541), 17.
ยอมรับการช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างชาติ เพื่อทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็ นไปอย่างมีประสิ ทธิภาพ รัฐบาลทหารภายใต้
การนำของนายพลเนวิน ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ (แนวทางการปกครอง) เพื่อให้เป็ นประชาธิปไตยมากขึ้น
วิเคราะห์ เปรียบเทียบประสิ ทธิภาพและประสิทธิทผลนโยบายเศรษฐกิจของทั้ง 2 ผู้นำ
จากรายละเอียด ของนโยบายเศรษฐกิจสังคมนิยม“พุทธิกะสังคมนิยม” ของอูนุ และ นโยบายสังคมนิคมวิถีพม่า
ของนายพลเนวิน เมื่อเปรี ยบเทียบประสิ ทธิภาพ เป้ าหมายของนโยบายทั้งสองแล้วพบว่าทั้งนโยบายเศรษฐกิจสังคมนิยม
“พุทธิกะสังคมนิยม” ของรัฐบาลภายใต้การนำของอูนุ และ นโยบายสังคมนิยมวิถีพม่า ระยะที่สองมีความคล้ายคลึงกันใน
ด้านเนื้ อหา คือ เน้นภาคการเกษตรกรรม การประมง รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากมายในพม่า เป็ นพื้นฐานใน
การจัดการทางเศรษฐกิจ และการตั้งเป้ าหมายผลิตข้าวเพื่อส่ งออก เพิ่มอัตราเร่ งการเจริ ญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็ น
ค่อยไป ทั้งยังมีแนวโน้มพึ่งพาความ ช่วยเหลือด้านเงินทุน จากต่างประเทศคล้ายคลึงกัน ทำให้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่
อาศัยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยูม่ ากมายในประเทศพม่านั้น เป็ นนโยบายที่มีประสิ ทธิภาพอย่างมาก แต่ทว่า นโยบาย
เศรษฐกิจในช่วงแรก ของสังคมนิยมวิถีพม่า ของนายพลเนวินนั้น เป็ นนโยบายสังคมนิยมสุ ดโต่ง ปิ ดประเทศไม่รับความ
ช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจพม่าในช่วงนั้นดำเนินการอย่างล้มเหลว เนื่องจากรัฐบาลนายพลเนวิน รัฐบาล
ทหารพม่าหลังการปฏิวตั ิยดึ อำนาจมีเสถียรภาพสูงมาก นายพลเนวินสามารถกุมอำนาจบริ หาร และอำนาจทางทหารไว้ได้ทุ
ด้านซึ่งแตกต่างกับการดำเนินการบริ หารของรรัฐบาลของอูนุที่ ขาดความมีเสถียรภาพทางการเมือง เกิดการแย่งชิงอำนาจ
ภายในพรรค และเกิดปัญหาระหว่างชาติพนั ธุ์กลุ่มต่างๆ ภายในประเทศพม่า ทำให้ตอ้ งยืมมือทหาร นายพลเนวินเข้ามา
บริ หารบ้านเมืองชัว่ คราว ในระยะนี้ นายพลเนวินได้วางฐานอำนาจของตนเอง และทำการยึดอำนาจรัฐจากนายอูนุได้ สำเร็ จ
และ เป็ นผูนำ
้ ประเทศพม่า ระหว่าง ค.ศ. 1962 – 1988 รวมระยะเวลา 26 ปี จนกระทัง่ เกิดการลุกขึ้นเรี ยกร้องประชาธิปไตย
ของนักศึกษา ในเหตุการณ์ 88888 ขึ้น

บรรณานุกรม
โกสุ มภ์ สายจันทร์ .(2549). พม่าในความสัมพันธ์ทางการเมืองกับต่างประเทศ. เชียงใหม่:โชตนาพริ นท์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ.(2541). การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุ งเทพฯ : มูลนิธีโครงการตำราสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์ , โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์,มล.(2541). การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองพม่า. พิมพ์ครั้งที่ . กรุ งเทพฯ : สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระรัตนราชสุ ดา สยามบรมราชกกุมารี , ธรรมศาสตร์ .
พรพิมล ตรี โชติ.(2551). การต่างประเทศพม่า:ปฏิสมั พันธ์กบั เพื่อนบ้านและชนกลุ่มน้อย. กรุ งเทพฯ :โครงการสิ่ งพิมพ์
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศรี บูรณ์การพิมพ์.

………………………………………………………………………………………………………………………………

You might also like