Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 65

พุทธประวัติ

ประมาณ ๖๐๐ ปี เศษ ก่อนคริสต์


ศักราชประเทศอินเดียหรือที่เรียกกันว่า ชมพู
ทวีปมีแคว้น หรือรัฐใหญ่ๆ รวมอยู่ 10 แคว้น
ด้วยกัน ในจำานวนนี้ ๘ แคว้น ปกครองแบบรา
ชาธิปไตย คือมี พระเจ้าแผ่นดินปกครอง เช่น
มคธ (ราชคฤห์ -เมืองหลวง), โกศล (สาวัตถี-
เมืองหลวง), วังสะ (โกสัมพี-เมืองหลวง)
เป็ นต้น ที่เหลืออีก ๘ รัฐ เช่น วัชชี (เวสาลี -
เมืองหลวง) มัลละ (ปาวา และกุสินารา-เมือง
หลวง) เป็ นต้น ปกครองแบบสามัคคีธรรม
หรือคณะราชย์ ซึ่งก็คือ ระบบประชาธิปไตย
นั่ นเอง
มีรัฐเล็กๆ ที่นับว่าเจริญ
รุ่งเรืองมากในสมัยนั ้นรัฐหนึ่ ง อยู่ทางเหนื อ
สุดของอินเดียที่เชิงเขา หิมพานต์ (ภูเขา
หิมาลัย) ชื่อ กรุงกบิลพัสด์ุ อยู่ในความ
อารักขาของแคว้นโกศล มีกษั ตริย์ราชวงศ์
ศากยะปกครอง พระราชาทรงพระนามว่า พระ
เจ้าสุทโธทนะ พระอัครมเหสีพระนามว่า
พระนางศิริมหามายาเทวี

ประสูติ
คืนหนึ่ งพระนางทรงสุบิน
นิ มิต(ฝั น)ว่า มีท้าวมหาพรหมทัง้ สี่ มายกแท่น
บรรทม ของพระนาง ไปวางลงไว ภายใต้ต้น
สาละใหญ่ ณ ป่ าหิมพานต์ (ต้นสาละเป็ นต้น
ไม้สกุลเดียว กับต้นรังของเรา) เหล่าเทพธิดา
พากันนำ าพระนาง ไปสรงสนานในสระ
อโนดาต ซึ่งอยู่ข้างๆ ต้นสาละนั ้น เพื่อชำาระ
ล้างมลทิน ในขณะนั ้น มีลูกช้างเผือกเชือก
หนึ่ ง ถือดอกบัวขาว ลงมาจากภูเขา ร้องเสียง
ลัน
่ เข้ามาทำาประทักษิ ณสามรอบ แล้วเข้าสู่
ท้องทางเบื้องขวาของพระนาง นั บแต่นั้นมา
พระนางก็เริ่ม ทรงครรภ์ (คนอินเดียมี
วัฒนธรรมสูง และส่วนมากเคร่งศาสนา
ธรรมเนี ยมของเขา ไม่วา่ จะเป็ นชาวพุทธ หรือ
พวกนั บถือศาสนาฮินดู เมื่อย่างเข้าไปใน
สถานที่ศักดิส์ ิทธิแ์ ห่งใด เขาจะทำาความเคารพ
สถานที่นั้นๆ ด้วยการทำาประทักษิ ณเดินเวียน
สามรอบเสมอ โดยเดินเวียนขวา)
เมื่อครรภ์พระนางแก่จวน
ครบทศมาส (๑๐ เดือน) ธรรมเนี ยมของคน
อินเดียสมัยนั ้น (ถึงแม้ขณะนี้ ยังปฏิบัติกันอยู่
แต่โดยมากเฉพาะลูกคนแรก) ฝ่ ายหญิงจะ
เดินทางไปอยู่คลอดบุตร ที่บา้ นพ่อแม่ของตน
พระนางมายาเทวี จึงเสด็จกลับยังพระราชวัง
เดิมของกษั ตริย์โกลิยะ (พระราชบิดาของ
พระนาง) ที่เมืองเทวะทหะนคร ซึ่งอยู่ไม่ไกล
จากกรุงกบิลพัสด์ุนัก
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าลุมพิ
นี อย่ก
ู ่ ึงทางระหว่างกบิลพัสด์ก
ุ ับเทวะทหะ
นคร (แต่เวลานี้ ตัวเมืองทัง้ สอง ไม่มีซากเหลือ
อยู่เลย) เมื่อขบวนยาตราไปได้ประมาณ ๒๐
กิโลเมตร จากกบิลพัสด์ุถึงป่ าลุมพินี พระนาง
เจ้าประชวรพระครรภ์หนั กจะประสูติ จึงให้
หยุดขบวนประทับ ใต้ต้นสาละ ทรงยืนเหนี่ ยว
กิ่งสาละ ณ วันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖
แห่งปี ก่อนพุทธศก ๘๐ เวลาสายใกล้เที่ยง เจ้า
ชายสิทธัตถะราชกุมาร ก็ได้ประสูติ จากครรภ์
พระมารดา ทรงเพียบพร้อมด้วย มหาปุริสลัก
ษณะ ๓๒ ประการครบบริบูรณ์ อันเป็ น
ลักษณะแห่ง องค์พุทธางกูรโดยเฉพาะ
และเป็ นที่น่าอัศจรรย์ย่ิงที่พระองค์ได้เสร็จ
ออกจากพระครรภ์แล้ว ทรงแสดงอิทธิ
ปาฏิหาริย์ ก้าวพระบาทออกไปได้ ๗ ก้าว
พร้อมกับกล่าววาจา ประกาศความสูงสุดว่า
"เราเป็ นผููเลิศแห่งโลก เราเป็ นผููเจริญที่สุด
แห่งโลก
ชาตินี้เป็ นชาติสุดทูาย ภพใหม่ของเราจะไม่มี
อีกแลูว"

เป็ นบุพนิ มิตหมายว่า


พระองค์จะประกาศรัศมีแห่งธรรมของ
พระองค์ไปใน เจ็ดชนบทน้ อยใหญ่ ของ
อินเดียสมัยนั ้น พระองค์ประสูติบริสุทธิ ์ ไม่
เปรอะเปื้ อนพระองค์ ด้วยครรภ์มลทิน มีหมู่
เทพยดามาคอยรับ ก่อนที่พระวรกายจะถึง
แผ่นดิน มีธารนำ ้ าร้อนนำ ้ าเย็น พร้อมที่จะสรง
สนาน พระวรกาย
พระองค์ประสูติได้เจ็ดวัน
พระนางสิริมหามายาเทวีก็เสด็จทิวงคต (พุทธ
องค์ทรงตรัสภายหลัง กับพระอานนท์ว่า "ถูก
แล้ว อานนท์ จริงทีเดียว มารดาแห่งโพธิสัตว์มี
ชนมายุน้อย เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้ว ได้
เจ็ดวัน ย่อมสวรรคต ย่อมเข้าถึงเทวนิ กายชัน

ดุสิต") พระนางสิริมหามายาเสด็จทิวงคตแล้ว
พระเจ้าสุทโธทนะ ได้มอบการเลีย ้ งดู พระราช
กุมารแก่พระนางปชาบดีโคตมี (น้ องสาว
พระนางมหามายาเทวี) และก็ทรงเป็ นพระ
มเหสี ของพระเจ้าสุทโธนะด้วย พระนางทรงมี
พระเมตตารักใคร่พระกุมารยิ่งกว่าพระโอรส
ของพระนางเอง ทัง้ ๆ ที่ต่อมา จะทรงมีพระ
โอรสและธิดาถึงสองพระองค์ คือ นั นทกุมาร
(ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายคลึงพระบรมศาสดา
อย่างยิ่ง ในกาลต่อมา) และรูปนั นทากุมารี
คำาทำานายของโหราจารย์
เมื่อพระองค์ประสูติแล้ว พระเจ้าสุทโธ
ทนะราชบิดา ก็ได้พาเสด็จกลับกรุงกบิลพัสด์ุ
อัญเชิญพราหมณ์ปุโรหิต ที่เป็ นโหราจารย์ยอด
เยี่ยม ๑๐๘ คน มาเลือกสรรค์ เอาแต่ผู้
เชี่ยวชาญยอดเยี่ยมจริงๆ ได้ ๘ คน ใน
พราหมณ์โหราจารย์แปดคนนั ้นเป็ นคนแก่
เจริญด้วยวัยวุฒิเสียเจ็ดคน พยากรณ์รวม
พร้อมกันเป็ นสองคติว่า
"พระกุมารนี้ถ้าอยู่ครองราชสมบัติ จะได้
เป็ นพระเจ้าจักรพรรดิ ์ ถ้าออกทรงผนวชจะได้
บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็ นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็ นศาสดาเอกในโลก"

ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์* ซึ่งยังเป็ น
เด็กหน่ ุมอยู่ในขณะนั ้น แต่สูงด้วยความรู้ ได้
ถวายพยากรณ์เป็ นคติเดียวว่า
"พระกุมารพระองค์นี้ จะไม่อยู่ในราช
สมบัติ จะเสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้เป็ น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็ นศาสดาเอก
ในโลกแน่ นอน"

* ท่านโกณฑัญญะผู้นี้เชื่อในคำาทำานาย
ของตนเอง เลยออกบวชไปรออย่ก ู ่อน หลัง
จากที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็ นพระพุทธเจ้า
ก็ได้เป็ นศิษย์องค์แรกของพระองค์ ต่อมาได้
ฟั งปฐมเทศนาจากพระพุทธองค์ได้สำาเร็จ
โสดาบัน และเป็ นพระสงฆ์องค์แรกของพุทธ
ศาสนา

เจริญพระชันษา
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเติบโตขึ้น ทรงได้รบ

การศึกษาเล่าเรียนโดยเชิญผู้รู้เป็ นพราหมณ์ผู้
เฒ่า ชื่อ วิศวามิตร มาสอนในวัง วิชาที่สอนก็
เป็ นไปตามที่สอนกันในสมัยนั ้น คือ
ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ* มีการรบ เป็ นต้น
เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับการศึกษาเพียบ
พร้อมบริบูรณ์ทุกแขนง ทัง้ ทางยุทธวิธีทหาร
การปกครอง และการศาสนา ทรงได้ผ่านการ
ชนะเลิศทุกครัง้ ที่มีการประลองฝี มือต่อสู้
ป้ องกันตัว และทดสอบวิชาความรู้ ทุก
ประเภท จนพระเกียรติเลื่องลือไปทัว่ ชมพูทวีป
*ศิลปศาสตร์ ๑๘ หมายถึงวิชาความรู้
ต่างๆ ซึ่งได้มก
ี ารเรียนการสอนกันมาตัง้ แต่
สมัยพุทธกาล เรียกกว่า ศิลปศาสตร์ ได้แก่ ่
๑. ความรู้ทัว่ ไป (สูต)ิ
๒. ความรู้กฏธรรมเนี ยม (สัม
มติ)
๓. คำานวณ (สังขยา)
๔. การช่างการยนตร์ (โยค
ยันตร์)
๕. นิ ติศาสตร์ (นี ติ)
๖. ความรู้การอันให้เกิดมงคล (วิ
เสสิกา)
๗. วิชาร้องรำา (คันธัพพา)
๘. วิชาบริหารร่างกาย (คณิ กา)
๙. วิชายิงธนู (ธนุพเพธา)
๑๐. โบราณคดี (ปุราณา)
๑๑. วิชาแพทย์ (ติกิจฉา
๑๒. ตำานานหรือประวัติศาสตร์
(อิติหาสา) )
๑๓. ดาราศาตร์ (โชติ)
๑๔. ตำาราพิชัยสงคราม (มายา)
๑๕. การประพันธ์ (ฉั นทสา)
๑๖. วิชาพูด (เกตุ)
๑๗. วิชามนต์ (มันตา)
๑๘. วิชาไวยากรณ์ (สัททา)
อภิเษกสมรส
เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้ทรง
ทำาการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพา ยโสธรา
ราชธิดาพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะ
นคร
จากการทำานายของโหร พระเจ้าสุทโธทนะ
ทรงเกรงว่า สิทธัตถะราชกุมารจะออกบวชเสีย
จึงตรัสให้ สร้างปราสาทถวายสามแห่งคือ
สำาหรับประทับในฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดู
ร้อน แล้วให้บำารุงบำาเรอด้วยความสุข ทาง
กามคุณทุกวิถีทาง ในปราสาทนั ้นเต็มไปด้วย
สิ่งสวยงาม รวมถึงสาวใช้รูปร่างดี ชำานาญใน
การฟ้ อนรำา ตามแบบอินเดีย รอบๆ ปราสาทมี
สวน มีสระ มีนก มีปลา และมีอะไรๆ ที่น่า
รื่นรมย์เพื่อความเพลิดเพลินของเจ้าชาย แล้วก็
ในปราสาทนั ้นมีแต่สตรีทัง้ นั ้น คอยเอาใจใส่
รับใช้ใกล้ชิด ช่วยเหลือทุกสิ่งทุกประการไม่ให้
เจ้าชายเดือดร้อน
ที่พระเจ้าสุทโทนะผู้เป็ นบิดาทำาเช่นนั ้นก็
เพื่อผูกมัดเจ้าชาย ไม่ให้คด
ิ ถึงเรื่องการบวช
แล้วไม่ให้ออก ไปไหนเสียด้วย ถ้าจะไปไหนนี่
ต้องได้รบั อนุญาตจากพระราชบิดา ในพระทัย
ของพระราชบิดาก็ไม่อยากให้ออกไปไหน กลัว
ว่าจะไปคบหาสมาคมกับคนที่เป็ นนั กบวชใน
สมัยนั ้น จิตใจจะโน้ มเอียงไปในทางเป็ นฤาษี ชี
ไพร ท่านไม่ต้องการ เพราะว่ามีลูกชายเพียงผู้
เดียว อยากจะให้เป็ นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป ถ้า
ออกบวชเสียแล้วก็หมดหวัง
แต่ว่าความต้องการของพระเจ้าสุทโธทนะ
หาสำาเร็จไม่ เพราะเจ้าชายแม้ไม่ได้ไปไหนก็จริง
แต่ว่าชอบ ไปนั่ งคนเดียวในป่ า ในสวนหลัง
ปราสาท นั่ งคนเดียวก็นั่งคิดนั่ งนึ กอะไรต่างๆ
เหม่อลอยไปในเวิง้ ว้างของสถานที่ คือเป็ นคน
ชอบคิดนั่ นเอง ไปนั่ งคิดนั่ งนึ กอะไรต่างๆ ดู
นกดูสัตว์ในบริเวณนั ้นว่ามันมีสภาพเป็ น
อย่างไร สิ่งเหล่านั ้น เป็ นเครื่องกระตุ้นเตือน
จิตใจให้พระองค์เบื่อหน่ ายในความเป็ นอยู่ใน
โลก คิดแต่ว่าจะแสวงหาธรรมะท่าเดียว แต่ก็
ยังออกไปไหนไม่ได้
ต่อมาก็ได้ทรงขออนุญาตพระบิดา เพื่อ
ออกไปชมบ้านชมเมืองบ้าง พระบิดาก็ได้สัง่ ให้
ตกแต่งบ้านเมือง ให้สะอาดเรียบร้อย ไม่ให้
เห็นสิ่งที่ไม่น่าดูเช่น คนแก่ คนเจ็บ คนไข้ คน
รูปร่างไม่สมบูรณ์ อะไรนั ้น เขาไม่ให้ออกมา
เดิน บนถนน กลัวเจ้าชายจะเห็นเข้า กีดกันทุก
อย่างไม่ให้พบสิ่งซึ่งทำาให้เบื่อหน่ าย ให้เห็นแต่
สิ่งที่สบายตา ฟั งเสียงสบายหู พบคนที่สบายใจ
กีดกันอย่างนั ้นเพื่อให้ได้อยู่วังครองเมือง
ในการเสด็จชมเมืองวันแรก เจ้าชายได้
เห็นคนแก่ร่างกายคู้ผอมเหลือแต่หนั งหุ้ม
กระดูก ถือไม้เท้า เดินกระง่องกระแง่งผ่านมา
พระองค์ก็หยุดรถแล้วก็ถามฉั นนะว่า ทำาไมจึง
เป็ นอย่างนั ้น ฉั นนะคนขับรถบอกว่า นี่ แหละ
พระเจ้าค่ะ คนแก่ อายุมากๆ ไปมันก็ต้องแก่
อย่างนี้
ท่านก็ถามต่อไปว่าพระบิดาของเราจะแก่
อย่างนี้ไหม นายฉั นนะก็ตอบอีกว่า ก็เป็ น
อย่างนี้ทุกคน ไม่มีใครหลีกพ้นความแก่ไปได้
ภาพที่เห็นทำาให้สลดพระทัยในเรื่องความแก่
แล้วก็สงสารคนแก่ท่ีลำาบากอย่างนั ้น
วันที่สองได้เดินทางออกไปชมเมืองอีก
พบคนเจ็บร้องครวญครางอยู่ข้างถนน
พระองค์ได้ลงจากรถ เข้าไปใกล้แล้วถามว่า
เป็ นอะไร เขาคนนั ้นบอกกับพระองค์ว่า ไม่
สบาย เจ็บตรงนั ้นเจ็บตรงนี้ พระองค์ก็สงสาร
คนเหล่านั ้นว่าทำาอย่างไรจะช่วยคนเจ็บเหล่านี้
ได้
วันที่สามออกไปเจอคนตาย กำาลังหามไป
ป่ าช้า ญาติเดินร้องไห้ครวญคราง สยายผมตี
อกชกหัว ไปข้างหลัง เป็ นภาพที่สะเทือนใจ
มาก ทำาให้พระองค์คิดว่าชีวิตของคนเรามันก็
เท่านี้ อยู่ไปสนุกไปมันก็ตามเท่านั ้นเอง ตาย
แล้วก็ไม่เห็นมีอะไร ไปแต่เสื้อผ้าหุ้มกายนิ ด
หน่ อย เอาไปเผา กลายเป็ นขีเ้ ถ้า แล้วเราจะมัว
เพลิดเพลินอะไร กันหนั กหนา แต่ยังไม่คิดไม่
ออกว่าจะทำาอย่างไร
ส่วนวันที่ส่ีก็เสด็จออกชมเมืองอีกครัง้
หนึ่ ง คราวนี้พระองค์ไปเห็นนั กบวชผู้มีอาการ
สงบเรียบร้อย หน้ าตาเปล่งปลัง่ มีอารมณ์ดี ก็
เห็นว่า สาธุโขปั พพัชชา บวชดี ท่านพูดกับตัว
เองว่า บวชเข้าทีแน่ สาธุโขปั พพัชชา -บวชนี่ ดี
แน่ แล้วก็เลยไปพักอยู่ในสวน นั่ งชมปลาชม
นกอะไรไปตามเรื่อง

เสด็จออกบรรพชา
พระองค์ได้เสด็จประพาสรอบพระนคร ๔
วาระด้วยกัน ได้ทรงเห็นเทวทูตทัง้ สี่ คือ คน
แก่ คนเจ็บ คนตาย และนั กบวช ทำาให้สังเวช
สลดพระทัยและเบื่อหน่ ายในสังสารทุกข์ ทรง
เห็นว่าการออกบรรพชาเป็ นทางดีท่ีสุด ที่อาจ
ทำาให้พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
การที่ได้เห็นนั กบวชก็เป็ นเครื่องเตือนใจ
ว่า การบวชจะช่วยให้มีเวลาว่างเป็ นของตัว จะ
ได้คิดค้นอะไรได้มาก เพราะฉะนั ้นการเห็น
เทวทูตสี่จึงเป็ นเครื่องเตือนใจ
วันหนึ่ งเสด็จออกจากปราสาทไปพักใน
สวน พอดีพระนางพิมพ์พาประสูติพระโอรส
อำามาตย์ก็ไปกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่า
บัดนี้พระนางพิมพาได้ประสูติพระโอรสแล้ว
เพราะองค์ก็อุทาน "ราหุลำ ชาตำ" แปลว่า "บ่วง
เกิดแล้ว"
อำามาตย์ผู้นั้นได้ยินก็นึกว่า เจ้าชายสิทธัต
ถะตัง้ ชื่อลูกชายว่า "ราหุล" เลยกลับไปทูลพระ
เจ้าสุทโธทนะว่า มกุฎราชกุมารพอพระทัยใน
การที่มีลูก ตัง้ ชื่อให้แล้วว่า "ราหุล"
ในความจริงนั ้นไม่ใช่ พระองค์บ่นออกมา
ด้วยความรู้สึกในใจว่าบ่วงเกิดแล้ว "ราหุล"
แปลว่า "บ่วง" มนุษย์เรานี่ มีบ่วงอยู่ ๓ บ่วง
มีบุตร เรียกว่า บ่วงพันคอ
มีภรรยา เรียกว่า บ่วงผูกมือ
มีทรัพย์ เรียกกว่า บ่วงผูกเท้า
ก่อนที่พระองค์จะตัดสินใจแน่ วแน่ เพื่อ
ออกบวช พระองค์เสด็จเข้าไปในห้องพระนาง
พิมพา ได้เห็นนางกอดลูกน้ อยราหุลอยู่ นึ กใน
ใจว่า ควรบอกสักหน่ อยดีหรือว่าอุ้มลูกชายสัก
หน่ อย แล้วจึงค่อยไปดี อีกใจหนึ่ งบอกว่า อย่า
นะ ขืนปลุกก็ไม่ได้ไปเด็ดขาด นางจะกอดแข้ง
กอดขาไว้จะไปได้อย่างไร ก็เลยไม่ปลุกไปยืนดู
ใกล้ๆ ดูดว้ ยความรัก
พระองค์ไม่ใช่คนใจหิน ย่อมมีอาลัย
อาวรณ์เป็ นธรรมดา ดูแล้วถอยออกมาแล้วก
ลับเข้าไปใหม่ ทำาท่าจะจับจะปลุกให้ลก ุ ขึ้น แต่
ใจหนึ่ งก็ว่าไม่ได้ๆ อย่ายุ่ง ให้เขานอนให้สบาย
แล้วก็เลยถอยหลังมาที่ประตู รีบปิ ดประตูแล้ว
ผลุนผลันออกไปเลย
ในที่สุดพระองค์ตัดสินพระทัยทิง้ ลูกน้ อย
ที่เพิ่งประสูติ ออกบวชเมื่อพระชนม์พรรษา
๒๙ ปี เสด็จหนี ออกจากพระราชวังในเวลา
กลางคืน ประทับบนหลังม้ากัณฐกะ มีนายฉั น
นะ อำามาตย์ผู้ใกล้ชิดตามเสด็จด้วย สำาหรับม้า
กัณฐกะและนายฉั นนะนี้ นั บว่าอยู่ในสหชาติ
ทัง้ เจ็ดของพระพุทธเจ้าด้วย สหชาติทัง้ เจ็ด คือ
สิ่งที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า มี
๑. พระพุทธองค์

๒. พระนางพิมพายโสธรา

๓. พระอานนท์

๔. นายฉั นนะ

๕. อำามาตย์กาฬุทายี *

๖. ต้นศรีมหาโพธิท
์ ่ีพุทธคยา

๗. ม้ากัณฐกะ **

*อำามาตย์ผู้ใหญ่ท่านนี้ หลังจากพระพุทธ
องค์ตรัสรู้แล้ว และเที่ยวจาริกไปตามชนบท
น้ อยใหญ่เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ พระเจ้าสุทโธ
ทนะได้จัดส่ง เป็ นทูตคนสุดท้าย มาทูลเชิญ
เสด็จกลับกรุงกบิลพัสด์ุ อำามาตย์คนก่อนๆ ที่
ถูกส่งมา กลับใจออกบวชกันหมด เมื่อได้ฟัง
ธรรมของพระพุทธองค์แล้ว ไม่ยอมกลับไปทูล
รายงานให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ กาฬุทา
ยีก็เปลี่ยนใจ ออกบวชเช่นเดียวกันและได้
สำาเร็จเป็ นพระอรหันต์ ได้ทูลเชิญ พระพุทธ
องค์เสด็จเยี่ยมกรุงกบิลพัสด์ุได้สำาเร็จ
**บางคนถามว่า ทำาไมม้ามีอายุอย่ไู ด้ถึง
๒๙ ปี เชียวหรือ ความจริงม้าแก่อายุถึง ๔๕ ปี
หรือมากกว่านี้ก็เคยมี
พระพุทธองค์เสด็จจากแคว้นศากยะวงศ์
ผ่านดินแดนกษั ตริย์โกลิยะ จนมาถึงฝั่ งแม่นำ้า
แห่งหนึ่ ง
เมื่อเสด็จมาถึงแม่นำ้าดังกล่าว ก็เป็ นเวลา
สว่าง พระองค์ก็ตรัสถามนายฉั นนะว่า แม่นำ้า
นี้ช่ ืออะไร นายฉั นนะบอกว่า "แม่นำ้าอโนมาน
ที" (ซึ่งแปลว่า หาที่เปรียบมิได้) พระองค์จึง
ตรัสต่อว่า การกระทำาของพระองค์วันนี้ก็ไม่มี
ที่เปรียบเหมือนกัน เหมือนกับชื่อแม่นำ้านี้
นายฉั นนะยังไม่รู้ดว้ ยซำา้ ว่าพระองค์จะทำา
อะไรในวันนี้ พระองค์จึงตรัสว่า จะทรงผนวช
นายฉั นนะทูทัดทานว่า ประชาชนยังจงรักภักดี
อยู่ พระนางพิมพาก็เพิ่งประสูติ พระเจ้าสุทโธ
ทนะก็แก่ชราแล้วพระองค์จะทิง้ ไปได้อย่างไร
แต่เจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยแน่ วแน่ แล้ว
จึงสัง่ นายฉั นนะให้นำาเครื่องประดับและม้า
กลับวัง นายฉั นนะจึงจำาใจกลับไปจากนั ้น
พระองค์จึงเสด็จข้ามแม่นำ้าไปอีกฟากหนึ่ งซึ่ง
เป็ นดินแดนแคว้นมัลละกษั ตริย์ แล้วตัดพระ
เมาลี(ผมมวย) ด้วยพระขรรค์ (มีด) อธิษฐาน
สู่เพศบรรพชิต สถานที่นี้เรียกว่าอนุปิย
อัมพวัน พระองค์ตัง้ พระทัยเด็ดเดี่ยวว่า จะ
พยายามค้นหาแต่ส่ิงที่ประเสริฐเป็ นหนึ่ งใน
โลก ประทับอยู่อนุปิยอัมพวันนี้ ๗ วัน แล้วจึง
เสด็จดำาเนิ นต่อไป
ขณะที่ประทับอยู่ท่ีนั่น ตื่นเช้าวันแรกได้
ไปบิณฑบาตขออาหารตามบ้านแถวนั ้น ซึ่ง
เป็ นป่ า อาหารที่ได้มาก็เป็ นอาหารแบบชาว
บ้านป่ า เมื่อเจ้าชายได้อาหารมาแล้ว ก็ต้องนั่ ง
พิจารณาเสียนานกว่าจะกลืนลงไปได้ เพราะว่า
เคยเสวยอาหารดี นำ ้ าสะอาด ที่นอนสบาย
อะไรๆ ดีทัง้ นั ้น แล้วก็เสียสละสิ่งเหล่านั ้น
ทัง้ หมด มานอนบนดินกินบนทราย
หลังจากที่ประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวันนี้
ครบ ๗ วันแล้ว จึงเดินทางลงมาทางใต้ จนเข้า
เขตแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร เวลาเช้าก็
เข้าไปบิณฑบาตอยู่ในเมืองราชคฤห์ ประชาชน
แตกตื่นกันเพราะเห็นนั กบวชผู้นี้เป็ นหน่ ุม
น้ อยรูปงาม แต่งกายเรียบร้อย ท่าทางสงบ น่ า
ดู ผิดกว่าคนอื่น คนก็พากันเดินตามล้อมหน้ า
ล้อมหลังตื่นเต้นกันไปทัง้ เมือง ตำารวจเห็น
แปลกก็สะกดรอยตาม เมื่อพระองค์ได้รับ
อาหารก็ออกจากเมือง ไปนั่ งฉั นอาหารอยู่ท่ีริม
ห้วย
ความทราบถึงพระเจ้าพิมพิสาร จึงเสด็จมา
เฝ้ าที่มัณฑวะบรรพต และชักชวนให้ลาสิกขา
เพราะไม่เป็ นการเหมาะที่กษั ตริยจ์ ะออก
ภิกขาจารและ บำาเพ็ญพรตด้วยความทุกข์
ทรมานอย่างนี้ และสัญญาว่าจะแบ่งราชสมบัติ
ให้ปกครอง พระพุทธองค์ไม่ยินยอม พระเจ้า
พิมพิสารจึงทูลว่า
"ถ้าได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณเมื่อใด
แล้ว ขอได้เสด็จมาสู่พระนครแว่นแคว้นของ
ข้าพเจ้าก่อนให้ได้"
แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จต่อไปยังเมืองพา
ราณสี เข้าศึกษาในสำานั กอาฬารดาบส กาลาม
โคตร ซึ่งมีช่ ือเสียงที่สุดอยู่ในขณะนั ้น
สำานั กอาฬารดาบส กาลามโคตร เป็ น
สำานั กที่มีผู้มีความรู้สูงในทางจิต ทางฌาน ทาง
ภาวนา เมื่อพระองค์เรียนจบความรู้ของ
อาจารย์จนอาจารย์ยกย่องว่า พระองค์ทรงเก่ง
กว่าใครๆ ทรงเรียนจบได้ถึงขัน ้ อากิญจัญญาย
ตนะณานสมาบัติ เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึง
เสด็จต่อไปยังสำานั กของท่านอุทกดาบส
รามบุตร (ซึ่งเป็ นสำานั กที่ให้ความรู้สูงกว่า
อาฬารดาบส) ได้สำาเร็จสมาบัติ ๘ เนวสัญญา
นาสัญญายตนะขัน ้ สูงสุดของสำานั ก ซึ่งก็ไม่
ทรงเห็นว่าจะเป็ นทางตรัสรู้อีกนั่ นแหละ
(เพราะขณะเข้าฌานอยู่นั้นไม่มีทุกข์ก็จริง แต่
เมื่ออกจากฌานแล้วจิตใจก็เหมือนคน
ธรรมดา) จึงเสด็จจาริกต่อไปอีกหลายแคว้น
หลายตำาบลในรัฐมคธขณะนั ้น
จนในที่สุดเสด็จมาถึงตำาบลอุรุเวลา
เสนานิ คม ริมแม่นำ้าเนรัญชรา ติดกับพุทธคยา
ในปั จจุบันนี้ ได้พักแรมอยู่ท่ีน่ี เพราะทรงเห็น
ว่ามีป่าร่มเย็นสบาย แม่นำ้าก็ไหลใสเย็นจืด
สนิ ท มีทางเดินลงแม่นำ้าราบเรียบ น่ าเพลินใจ
และมีหมู่บา้ นสำาหรับการออกในการ
บิณฑบาต สมควรจะหยุดทำาความเพียรที่น่ี ต่อ
ไป จึงเสด็จไปประทับที่เชิงภูผาเขาดงคสิริ
(มีช่ ือต่อมาว่าคยาสีสะ) ตัง้ ตระหง่านอยู่เบื้อง
หลังระหว่างลุมพินีกับพุทธคยา
ต่อมาพระปั ญจวัคคีย์ (คือโกญฑัญญะ
ภัททิยะ วัปปะ มหานาม และอัสสชิ) เมื่อรู้ข่าว
ว่า เจ้าชายสิทธัตถะออกบวชจึงได้มาขออยู่
อุปัฏฐากพระองค์ โดยหวังว่าเมื่อทรงบรรลุจด ุ
หมายแล้วจะได้สัง่ สอนพวกเขาต่อไป
บำาเพ็ญทุกกรกิรย
ิ า
พระพุทธองค์ทรงค้นคว้าหาทางตรัสรู้พระ
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่างๆ
โดยบำาเพ็ญเพียรทาง ทุกกรกิริยา ทรมานกาย
ให้ลำาบากอย่างยิ่ง เริ่มแต่ทรงขบฟั นด้วยฟั น
อัดเพดานปากด้วยลิน ้ ผ่อนลมหายใจเข้าออก
ให้เหลือน้ อยๆ แล้วกลัน ้ ลมหายใจนานๆ จน
ตัวร้อนเป็ นไฟเหงื่อไหลย้อย หัวใจสวิงสวาย
ทรงเสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวย
เลย ในที่สุดพระวรกายก็ซบ ู ผอมได้รับความ
ลำาบากอย่างยิ่ง จวนเจียนพระชนม์จะแตก
สลาย นั บว่าเป็ นความเพียรอย่างยิ่ง ยากที่นัก
พรตใดๆ จะทำาได้ แต่ก็หาสำาเร็จพระสัมมา
สัมโพธิญาณไม่ เพราะทุกกรกิริยาไม่ใช่ทาง
แห่งการตรัสรู้
จึงมาทรงดำาริเห็นว่า อันความเพียรนั ้น ถ้า
ย่อหย่อนก็เสียผลทีหลัง ถ้าตึงเครียดนั กก็มัก
พลาด ต่อเมื่อเดินทางสายกลางพอดีๆ ทัง้ กาย
และใจจึงจะเกิดผล ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อน
นั กมักไม่ดัง ถ้าตึงนั กก็ขาด แต่พอดีๆ จึงจะมี
เสียงนิ่ มนวลพอฟั งได้ (ตำาราประวัติ
พระพุทธเจ้าบางเล่มก็กล่าวว่า ช่วงที่พระองค์
กำาลังทรมานพระวรกายอยู่จนถึงที่สุดนั ้น มี
เทวดาเสด็จลงมาทรงพิณสามสาย ซึ่งได้ตัง้
สายพิณไว้ 3 ระดับ คือตึงเกินไป เล่นได้สักครู่
สายพิณก็ขาด ตัง้ สายพิณหย่อนเกินไป เสียง
เพลงก็ไม่ไพเราะ และสุดท้ายตัง้ สายพิณปาน
กลาง ปรากฏว่ามีความไพเราะจับใจ)
พระองค์ทรงเห็นแล้วขณะนี้ว่า ได้เคย
เสวยสุขในทางกามคุณมาก็มากปฏิบัติทางทุก
กรกิริยาก็มาเต็มที่แล้ว ทัง้ สองนี้ จะไม่ทำาให้ผู้
ปฏิบัติบรรลุจด
ุ หมายปลายทางได้เลย ทางที่ถูก
ต้องเป็ นทางสายกลาง (หรือที่รู้จก
ั กันในการ
เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา) ตัง้ มัน
่ ลงในศีล
สมาธิ ปั ญญา รู้แจ้งในอริยสัจจธรรม เกิดความ
เบื่อหน่ ายคลายกำาหนั ด จึงจะเข้าถึงญาณแห่ง
ความหลุดพ้น(วิมุตติอริยมัคคญาณ)ได้ใน
ที่สุด พระองค์จึงเปลี่ยนความตัง้ ใจเดิม เลิกทุก
กรกิริยาทรมานตนเอง กลับใจเสวยพระ
กระยาหารเพื่อบำารุงพระวรกายอย่างแต่ก่อน
ปั ญจวัคคีย์ทัง้ ห้าเสียใจ พากันหลีกไป
ทรงตรัสเล่าภายหลังว่า "ครัน ้ ตถาคตกลืนกิน
อาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมสดแล้ว
ปั ญจวัคคีย์ทัง้ ห้ารูป พากันหน่ าย ในเรา พากัน
หลีกไปด้วยคิดว่า พระสมณโคดมเป็ นคน
มักมาก คลายความเพียรเสียแล้ว"
พระองค์ทรงปริวิตกว่า อะไรหนอคือ
หนทางที่จะทำาให้หลุดพ้นออกจากความทุกข์
อันมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ (โสกะ
แปลว่า ความโศก ปริเทวะ แปลว่า ความ
ครำ่าครวญ ความรำาพัน) เป็ นต้น เสียได้ ทรง
พิจารณาสืบสาวไปหาเหตุปัจจัยที่ทำาให้เกิด
ทุกข์ ได้พบว่า เพราะชาติน่ี เองมีอยู่ ความแก่
ความตาย เป็ นต้น จึงได้มีตามมา คือถ้าคนไม่
เกิดเสียอย่างเดียว ความทุกข์ทัง้ หลายก็ไม่มี
ทรงค้นหาสาเหตุเรื่อยไปๆ จนพบลูกโซ่คือ
เหตุปัจจัยต่างๆ กันว่า เพราะชาติมีอยู่ ชรา
มรณะ เป็ นต้น จึงได้มีเพราะภพมีอยู่ จึงทำาให้
มีชาติและต่อๆ ไป คือ อุปาทาน(ความยึดมัน ่ )-
ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ..ฯลฯ จนถึงอวิชชา*
เป็ นปั จจัยให้เกิดสังขาร**
ทรงพิจารณากลับอีกทีหนึ่ ง ก็เห็นว่าเมื่อ
อวิชชายังมีอยู่ สังขารจึงมี เมื่อสังขารมีอยู่
วิญญาณจึงมี และ…ฯลฯ จนถึง ชาติ ชรา
มรณะ คือ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทัง้ ปวง
เหล่านี้ ย่อมมีขึ้นอย่างนี้เอง ทรงกล่าวว่า "ดู
ก่อน ภิกษุทัง้ หลาย จักษุ ญาณ ปั ญญา วิชชา
แสงสว่าง (หมายถึงทรงรู้จริงเห็นแจ้ง) ได้
บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ทัง้ หมดเป็ นฝ่ ายข้างเกิด คือทำาให้ ชาติ
ชรา มรณะ เกิดขึ้น" แล้วตรัสถึงฝ่ ายข้างดับ
ต่อไปเป็ นลำาดับ สรุปลงในที่สุดว่า "จักษุ
ญาณ ปั ญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดแก่เรา
ในธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็ น
ฝ่ ายข้างดับ คือ การเกิดขึ้น จะไม่มีอก
ี แล้ว
ดังนี้"
พุทธภาษิ ตนี้แสดงว่า ที่พระองค์ได้ตรัสรู้
อภิสัมโพธิญาณในเวลาต่อมา ก็เพราะ
พิจารณาจนเห็นแจ้งแทงตลอดทัง้ ฝ่ ายทำาให้
เกิด และฝ่ ายทำาให้ดบั นี้เอง ได้ทรงค้นคว้าเหตุ
ปั จจัยของความทุกข์ ครัน ้ เมื่อพบเหตุปัจจัยนั ้น
เข้าด้วยอำานาจแห่งพระปั ญญาความตรัสร้จู ึง
เกิดขึ้น
*อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์ - คือ ความลำาบาก ความไม่


สบายกาย ความไม่สบายใจ
สมุทัย - เหตุท่ีทำาให้เกิดทุกข์
นิ โรธ - วิธีการดับทุกข์
มรรค - หนทางสู่การดับทุกข์

** สังขาร หมายถึง กายสังขาร สภาพที่


ปรุงแต่งการกระทำาทางกาย วจีสังขาร สภาพที่
ปรุงแต่งการกระทำาทางวาจา มโนสังขาร สภาพ
ที่ปรุงแต่งการกระทำาทางใจ

พระสุบิน ๕ ขูอ
พระองค์จึงตัดสินใจจะเสด็จลงจากเชิงเขา
ดงคสิริ มายังหมู่บา้ นนางสุชาดา คืนนั ้นทรง
ฝั นสำาคัญ เรียกว่า มหาสุบิน ๕ ประการ คือ
๑. ฝั นว่า ทรงบรรทมเหนื อโลก มีเขา
หิมพานต์(ภูเขาหิมาลัย)เป็ นหมอนหนุน
๒. ฝั นว่า หญ้าแพรกเส้นหนึ่ งงอก
จากพระนาภี(สะดือ) ยาวขึ้นไปจดท้องฟ้ า

๓. ฝั นว่า หนอนหัวดำาตัวขาวไต่ขึ้น
มา แต่ปลายพระบาทจนถึงพระชาณุ (เข่า)

๔. ฝั นว่ามีนาค ๔ จำาพวก สีเหลือง สี


เขียว สีแดง สีดำา เลื้อยเข้ามาฟุบลงแทบ
พระบาท แล้วกลายเป็ นสีขาวไปทัง้ หมด
๕. ฝั นว่า พระองค์เสด็จขึ้นไปจงกรม
อย่บู นยอดเขา อันเต็มไปด้วยมูตคูถ แต่ของ
สกปรกเหล่านี้ จะได้ติดต้องพระบาท แม้แต่
นิ ดเดียว ก็หามิได้
คำาทำานายของพระสุบินนิ มิตนี้มีว่า
๑. บรรทมเหนื อพื้นภูมิภาค นั ้นเป็ น
บุพนิ มิตจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
แน่ นอน
๒. หญ้าแพรกงอกขึ้นจากพระนาภี
สูงไปจดอากาศนั ้น เป็ นบุพนิ มิตที่จะได้ตรัส
เทศนาพระอริยมรรค มีองค์ ๘ แก่มนุษย์และ
เทพดาทัง้ ปวง
๓. หนอนไต่ขึ้นมานั ้น คือคฤหัสถ์ทัง้
หลายจะเข้ามาสู่สำานั กของพระองค์ และจะเข้า
ถึงพระไตรสรณคมน์
๔. สกุณชาติทัง้ หลายสี่สีบินมาจาก
ทิศต่างๆ ถึงพระบาทแล้วกลับกลายเป็ นสีขาว
ไปสิน้ หมายถึง สกุลทัง้ ๔ มี ขัตติยะสกุล
เป็ นต้น จะออกจากฆราวาสมาบรรพชา และ
ตรัสรู้ซ่ึงวิมุตติธรรมอัน ประเสริฐ
๕. เสด็จขึ้นไปจงกรมบนยอดเขาที่
เต็มไปด้วยมูตคูถ เป็ นต้น แสดงว่าจะได้
จตุปัจจัย ๔ มากมาย แต่มิได้ทรงห่วงกังวลกับ
ของเหล่านี้เลย
ลอยถาดทอง
เช้าวันรุ่งขึ้น พระองค์เสร็จมายังใต้ร่มไทร
ต้นหนึ่ งในหม่บ ู ้าน เผอิญไทรต้นนี้ นางสุชาดา
ลูกสาวคหบดีผู้มัง่ คัง่ ในละแวกนั ้น ได้เคยมา
บนบานศาลกล่าวไว้ว่า ขอให้ได้ลูกชาย
(ลูกชายคนนี้คือพระยสะ ซึ่งภายหลังย้ายไป
อยู่เมืองพาราณสี เกิดเบื่อหน่ ายทางกามคุณ
ได้พบและฟั งธรรมพระพุทธเจ้าจนได้สำาเร็จ
เป็ นพระอรหันต์) เมื่อได้บุตรชายสมปรารถนา
แล้ว ก็ตัง้ ใจจะมาแก้บนกันเสียที เพราะทิง้ เอา
ไว้นานหลายปี แล้ว
นางได้จัดทำาข้าวปายาส หุงต้นด้วยนำ ้ านม
โคสดอย่างดีไว้และให้สาวใช้ล่วงหน้ ามาปั ด
กวาด ทำาความสะอาดสถานที่เตรียมการบูชา
รุกขเทวดาที่ต้นไทร สาวใช้ได้มาเห็นพระพุทธ
องค์ประทับผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
มีรัศมีดังสีทองแผ่สร้านออกไปทัว่ ปริมณฑล
ก็คิดในใจว่า เป็ นเทวดาที่สิงสถิตอยู่ท่ีต้นไทร
นี้มาปรากฏกายให้เห็น เพื่อคอยรับเครื่องพลี
กรรม นางดีใจรีบวิ่งกลับไปรายงานให้นายสาว
ทราบ นางสุชาดาปลื้มใจมาก จึงจัดข้าวปายาส
ใส่ถาดทองคำามายังต้นไทร
พอได้มาเห็นพระพุทธองค์สมจริงดังคำา
บอกเล่าของสาวใช้ก็ย่ิงเกิดความปิ ติยินดีมาก
ขึ้น คิดว่าเป็ นรุกขเทวดาแน่ แล้ว จึงเข้าไป
กราบถวายข้าวปายาส พร้อมทัง้ ถาดทองราคา
แสนกหาปณะ โดยมิได้มีความเสียดายแม้แต่
น้ อย พระพุทธองค์รับข้าวปายาสจากนาง
สุชาดาแล้ว ทรงเดินปทักษิ ณาวรรตต้นไทร
สามรอบและตรงไปยังท่าสุปปติฏฐิตะ สรงนำ ้ า
ชำาระกาย แล้วเสด็จกลับมาที่ต้นไทร ปั ้ นข้าว
ปายาสเป็ นก้อนใหญ่พอประมาณได้ ๔๙ ก้อน
แล้วเสวยจนหมด พระกระยาหารมื้อนี้มีความ
สำาคัญมาก เพราะเป็ นอาหารที่ทำาให้พระองค์
อิ่มอยู่ได้ถึง ๔๙ วัน โดยมิต้องกังวลต่อความ
หิวใดๆ ทัง้ สิน้
เมื่อเสวยแล้ว ทรงนำ าถาดทองไปลอยนำ ้ า
อธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า หากจะได้ตรัสรู้อนุ
ตตรธรรมแล้วไซร้ ก็ขอให้ถาดลอยทวน
กระแสนำ ้ าขึ้นไป ถ้าจะไม่ได้ตรัสรู้ ก็ขอให้ถาด
ลอยตามนำ ้ าไปเถิด ปรากฏว่าถาดได้ลอยทวน
นำ ้ าขึ้นไปด้วยแรงอธิษฐานแล้วจมลงสู่นาค
พิภพ รวมกับถาดสามใบของอดีตพระพุทธเจ้า
คือ พระกกุสันโธ พระโคนาคม และพระกัสสป
เมื่อลอยถาดทองแล้ว เวลาใกล้เที่ยง จึงเสด็จ
กลับมาพักที่ดงต้นสาละเพื่อหลบแดดตอน
เที่ยง จวบจนบ่ายตะวันคล้อยจึงเสด็จข้ามแม่
นำ ้ าเนรัญชรามายังอีกฝากหนึ่ งคือตรงมายังต้น
ศรีมหาโพธิ ์ นำ ้ าในแม่นำ้าขณะนั ้นคงจะไม่ลึก
นั ก และแห้งเป็ นบางแห่งเพราะหน้ าร้อน

ตรัสรูู
ระหว่างทางก่อนถึงต้นโพธิ ์ ได้พบคนตัด
หญ้า ชื่อโสตถิยะ (หรือสวัสดิกะ) เกิดศรัทธา
เลื่อมใสในพระองค์ถวายฟ่ อนหญ้ากุสะ
(คล้ายๆ หญ้าคาของเรา) ๘ ฟ่ อนเล็กๆ เมื่อ
ทรงรับฟ่ อนหญ้าคาแล้ว ก็เอามาปูลาดเป็ นสัน
ถัดประทับนั่ งบำาเพ็ญเพียรที่ใต้ต้นพระ
ศรีมหาโพธิ ์ เพราะที่น่ี เป็ นทำาเลสงบดีกว่าที่
อื่นๆ ทรงหันพระพักตร์ไปทางตะวันออก คือ
แม่นำ้าเนรัญชรา ซึ่งในสมัยนั ้นไม่ค่อยมีบ้าน
ช่อง จึงมองเห็นแม่นำ้าได้อย่างถนั ด แสงเดือน
ในคืนวันเพ็ญสาดลงสู่สายนำ ้ าเป็ นประกาย
แวววับ ทำาให้เกิดปิ ติสุขได้อย่างดี
ขณะนั ้นพญาวสวัตตีมาร เห็นพระมหา
บุรุษจะพ้นจากอำานาจของตน จึงยกทัพมารบก
วนรังแกมิให้ทรงตัง้ จิตมัน
่ เป็ นสมาธิได้
พระองค์ได้น้อยพระหฤทัยถึงบารมีธรรม ๑๐
ทัศ ซึ่งทรงบำาเพ็ญมาแล้วในอดีต มิได้สะดุ้งตก
พระทัยแต่อย่างใด พญามารได้ใช้อาวุธร้ายแรง
ขว้างไปเพื่อหวังสังหารพระองค์ แต่อาวุธทัง้
หลายเหล่านั ้นกลับกลายเป็ นดอกไม้ และฉั ตร
กัน
้ กางอยู่เหนื อพระเศียรอย่างน่ าอัศจรรย์
พญามารไม่รู้จะทำาอย่างไรก็ได้แต่ร้องตู่ว่า
รัตนบัลลังก์นี้ เป็ นสมบัติของตน พระองค์จึง
ทรงอธิษฐาน โดยเอามือขวาจับพื้นดินขอให้
แม่ปฐพีเป็ นสักขีพยาน (ภาพพระพุทธรูปปาง
มารวิชัย) ทรงเสี่ยงพระบารมีขันติธรรมเข้า
ช่วยผจญมาร แม่พระธรณี เทพยดาผู้รักษาพื้น
แผ่นดินบริเวณนั ้น จึงแปลงเพศเป็ นหญิงสาว
ขึ้นมาบีบมวยผม (ที่มาของรูปปั ้ นพระแม่ธรณี
บีบมวยผม) เกิดนำ ้ าไหลท่วมกองทัพพญามาร
ให้พ่ายแพ้ไปหมดสิน ้ ก่อนที่พระอาทิตย์จะ
ตกดิน ทำาให้พระองค์ตัง้ จิตมัน ่ เป็ นสมาธิได้ลึก
และแน่ วแน่ นับแต่บัดนั ้น เป็ นชัยชนะที่ย่ิง
ใหญ่ท่ีสุด เพราะเป็ นการเบิกทางไปสู่การ
ตรัสรู้เป็ นพระสัมมาสัมพุทธะในราตรีนั้น ตรง
กับวันวิสาขปุรณมี ดิถึเพ็ญเดือน ๖ แห่งปี
ก่อนพุทธศก ๔๕ (และชาวพุทธเรายึดถือเอา
วันนี้เป็ นวันวิสาขบูชา เพื่อเป็ นที่ระลึกนึ กถึง
วันคล้ายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในทางศาสนา
พิธี) ทรงพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

เสวยวิมุตติสุข
หลังจากตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
แล้ว พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุข (คือการ
พบสุขที่เกิดเพราะความหลุดพ้น จากกิเลส)
อยู่ในที่ ๗ แห่งๆ ละ ๗ วัน ดังนี้

สัปดาห์แรก
ประทับนั่ งสมาธิท่ีวัชรอาสน์ใต้ต้น
ศรีมหาโพธิ ์ ๗ วัน พระพุทธองค์ได้กำาหนดนึ ก
ในใจ เพื่อพิจารณาทบทวนเรื่องราว โดยตาม
ลำาดับ ตลอดปฐมยามแห่งราตรีนั้น แล้วทรง
เปล่งอุทานว่า "ในการใดแล ธรรมทัง้ หลาย มา
ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ใน
กาลนั ้น ความสงสัยทัง้ ปวงของพราหมณ์ผู้นั้น
ย่อมสิน้ ไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วย
เหตุ"
ในเวลากลางคืน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิ
จจสมุปบาท แบบย้อนตามลำาดับ คือพิจารณา
จากปลายมาจุดเริ่มแรกแล้วมีพุทธอุทานว่า
"ในกาลใดแล ธรรมทัง้ หลายมาปรากฏแก่
พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั ้น
ความสงสัยทัง้ ปวงของพราหมณ์ย่อมสิน ้ ไป
เพราะได้รู้แจ้งความสิน
้ ไปแห่งปั จจัยทัง้ หลาย"
ในปั จฉิ มยาม ทรงมนสิการปฏิจจสมุ
ปบาททัง้ ตามลำาดับและ ย้อนตามลำาดับแล้วมี
พุทธอุทานขึ้นว่า "ในกาลใดแลธรรมทัง้ หลาย
มาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
ในกาลนั ้นพราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำาจัดมารและ
เสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำาจัดมืดส่อง
แสงสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั ้น"
สัปดาห์ท่ีสอง
อนิ มิสเจดีย-์ ทรงพระดำาเนิ นไปทางทิศ
ตะวันออกเฉี ยงเหนื อของต้นพระศรีมหาโพธิ ์
เมื่อได้ระยะพอควรกับการทอดพระเนตร ก็
ทรงหันกลับพระพักตร์มายืนพิจารณาต้นโพธิ ์
ที่ได้ตรัสรู้นั้น ทรงลืมพระเนตรโดยมิได้กระ
พริบเลยตลอดสัปดาห์ เพื่อทบทวนความทรง
จำาต่อเหตุการณ์ท่ีผ่านมาแล้วโดยลำาดับ ความ
หมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำานาจของ
สังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นมหาโพธิต์ ้นนี้
เป็ นที่ให้กำาเนิ ดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระ
สัจจธรรมอันบริสุทธิ ์ สามารถชำาระล้างกิเลส
นานาชนิ ดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิส ์ ิทธิ ์ ทรง
พอพระทัยในการตรัสรู้นี้เป็ นอย่างยิ่ง สถานที่
นี้จึงเรียกว่า อนิ มิสเจดีย์
สัปดาห์ท่ีสาม
เสด็จมาเดินจงกรมอยู่ ๗ วัน ตรงระหว่าง
กลางแห่งอนิ มิสเจดีย์กับต้นศรีมหาโพธิ ์ ทาง
ด้านเหนื อของวิหาร ที่ตรงนั ้นเขาก่อฐานปูน
สูงขึ้นประมาณ ๔ ฟุต จากพื้นถนน แล้วสลัก
หินเป็ นรูปดอกบัวโตพอประมาณ ๑๙ ดอก
แสดงว่าเป็ นทางเดินจงกรมของพระพุทธองค์
เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์

สัปดาห์ท่ีส่ี
เทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้นทางทิศเหนื อ
ของต้นโพธิ ์ เสด็จนั่ งขัดบัลลังก์พิจารณาพระ
อภิธรรมปิ ฎกสิน ้ เจ็ดวัน สถานที่นี้เรียกว่ารัตน
ฆรเจดีย์

สัปดาห์ท่ีหูา
เสด็จข้ามแม่นำ้าเนรัญชราไปยังต้นไทรอช
ปาลนิ โครธ ประทับอยู่เจ็ดวันขณะเสวยวิมุตติ
สุขอยู่ ธิดาพญามารสามตน คือ ราคะ อรตี
และตัณหา ได้อาสาพ่อเข้าไปประเล้าประโลม
ด้วยเสน่ ห์กามคุณต่างๆ นานา พระองค์กลับ
ไล่ไปเสียแสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐ
ของผู้ชนะตนได้แล้ว จะไม่ยอมกลับเป็ นผู้แพ้
อีก
สัปดาห์ท่ีหก
ทรงเสด็จเสวยวิมุตติสุขที่สระมุจลินท์
(มุจลินท์เป็ นชื่อต้นไม้ชนิ ดหนึ่ งคือ ไม้จก

ปั จจุบันทัง้ สระนำ ้ ามุจลินท์และต้นมุจลินท์ไม่มี
ให้เห็นแล้ว มีแต่สระมุจลินท์จำาลองที่สร้างไว้
ใกล้ๆ อาณาบริเวณวิหารพุทธคยา ทัง้ นี้ เพื่อ
กันลืมสระดัง้ เดิม) และเพราะต้นมุจลินท์ขึ้น
อยู่ริมสระแห่งนั ้นจึงมีช่ ือว่า สระมุจลินท์ เมื่อ
พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขได้ ๗ วัน ที่ใต้
ต้นอชปาลนิ โครธแล้ว ได้เสด็จมาประทับที่ใต้
ต้นจิกริมสระนี้ ตอนนั ้นเกิดฝนตกหนั กเจือ
ด้วยลมหนาว ฝนตกพรำาอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน
ร้อนถึงพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระนี้ ขึ้นมา
ขดตัวเจ็ดรอบแลแผ่พังพานเพื่อจะป้ องกันฝน
และลมมิให้ถูกพระวรกาย (นี้เป็ นกำาเนิ ดของ
พระพุทธรูปางนาคปรก) ครัน
้ ฝนหายแล้วก็
คลายขนดออก จำาแลงเพศเป็ นชายหน่ ุมมายืน
เฝ้ าต่อหน้ าพระพักตร์พระองค์ ได้ทรงเปล่ง
อุทานเป็ นภาษิ ตที่ไพเราะจับใจดังนี้
"ความสงบสงัดเป็ นสุขสำาหรับบุคคลผู้ได้
เจริญธรรมแล้วยินดีอยู่ในสงัด ทำาให้ได้ตามรู้
ตามเห็นสังขารทัง้ ปวงตามความเป็ นจริง ทำาให้
สำารวมระวังตัว เลิกการเบียดเบียนสัตว์ทัง้
หลาย และสิน ้ ความกำาหนั ด คือความล่วง
กามคุณทัง้ หลายเสียได้ด้วยประการทัง้ ปวง
ความละคลายการถือตน ถือว่ามีตัวมีตนให้
หมดได้ เป็ นความสุขอย่างยิ่ง"
สัปดาห์ท่ีเจ็ด
ราชายตนเสด็จประทับที่ร่มต้นไม้เกตนี้
เป็ นสัปดาห์สุดท้ายหลังจากตรัสรู้แล้วและได้
ทรงอดอาหารมาเป็ นเวลา ๔๙ วัน ณ ที่ราชาย
ตนะนี้เอง ได้มีนายพานิ ชสองคนเป็ นชาวพม่า
ผ่านมา ชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้เกต มี
พระรัศมีอันผ่องใสงดงามยิ่งนั ก ก็บังเกิดความ
เลื่อมใส จึงนำ าข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็ น
เสบียงเดินทางของตน แล้วประกาศตนเป็ น
อุบาสกคู่แรกของพระพุทธศาสนา และทูลขอ
ของที่ระลึกจากพระองค์เพื่อเอาไปบูชา
พระองค์ทรงรับด้วยบาตรที่ท้าวจตุมหาราชทัง้
สี่นำามาถวาย ซึ่งทรงอธิษฐานให้รวมเข้าเป็ น
ใบเดียวกัน (ในทางประวัติศาสตร์ พม่าได้ไป
มาค้าขายกับอินเดียมาช้านานแล้ว พอออก
พรรษานำ ้ าหยุดท่วมนอง ชาวพม่าจะบรรทุก
ของใส่เกวียนมาแลกสินค้ากับอินเดีย กลับไป
กลับมาอยู่เป็ นประจำา)
พระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุแล้ว ทรง
อนุโมทนาในความศรัทธาของตปุสสะกับภัลลิ
กะและทรงลูบพระเกศา(ผม) พระเกศาตกลง
มา ๘ เส้น มอบให้พ่อค้าทัง้ สองไปเป็ นการ
สนองความศรัทธาของเขา ชาวพม่าทัง้ สองนี้
ได้นำาพระเกศา ๘ เส้นนั ้น กลับไปเมืองย่างกุ้ง
พอถึงพม่าได้มีพิธีสมโภชเส้นพระเกศานี้หลาย
วันหลายคืน และได้จัดสร้างพระเจดีย์ชะเวดาก
อง บรรจุพระเกศาธาตุ มาจนถึงตราบเท่าทุก
วันนี้

ปฐมเทศนา
ครัน
้ ถึงวันอาสาฬปุณณมี วันเพ็ญขึ้น ๑๕
คำา่ เดือน ๘ อาสาฬหมาส ได้โอกาสอันควรที่จะ
แสดงธรรม โปรดพระปั ญจวัคคีย์ พระพุทธ
องค์จึงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
หรือการปฐมเทศนาครัง้ แรกในโลก ณ ป่ าอิสป ิ
ตนมฤคทายวันแห่งนั ้น พระพุทธองค์ทรง
แสดงถึงที่สุดสองอย่าง ที่ภิกษุไม่ควรเสพ คือ
การพัวพันหนั กใน กามสุข และการประกอบ
กรรม อันเป็ นการทรมานตัวเองให้เหนื่ อย
เปล่า ไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น ทรงชีท ้ างให้
ดำาเนิ นตาม มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง
ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
•สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ คือญาณ
ปั ญญาที่รู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔ ว่า นี่ ทุกข์ นี่ เหตุให้
เกิดทุกข์ นี่ ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ นี่
ทางดำาเนิ นเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
•สัมมาสังกัปปะ - คือดำาริชอบในการที่จะ
ออกจากกามารมณ์ทัง้ หลายดำาริในเรื่องเลิก
ไม่ผูกพยาบาทเขาและดำาริชอบในอันที่จะไม่
เบียดเบียนเขา
สัมมาวาจา - เจรจาชอบ คือเว้นจากการ

กล่าวคำาเท็จ เว้นจากกล่าวคำาส่อเสียด เว้นจาก


กล่าวคำาหยาบ คำาพูดที่เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่มี
ประโยชน์
• สัมมากัมมันตะ - ประกอบการงานชอบ
คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เว้นจาการถือเอาสิ่ง
ที่เจ้าของเขาไม่อนุญาตให้(ขโมย) และเว้นจาก
การประพฤติผิดลูกเมียเขา
•สัมมาอาชีวะ -เลีย ้ งชีพชอบคือ เว้นจาก
การเลีย
้ งชีวิตในทางที่ผิดโดยอุบายทุจริต
หลอกหลวง บีบคัน ้ ผู้อ่ ืน ให้ทำาเฉพาะการงาน
ประกอบอาชีพที่ดีท่ีชอบ
• สัมมาวายามะ - เพียรระวังไม่ให้บาป
เกิดขึ้นในสันดาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้น
แล้ว เพียรยังบุญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
และเพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้
เสื่อมหายไปเสีย
• สัมมาสติ - ระลึกชอบ คือ เฝ้ าคำานึ ง
ใคร่ครวญพิจารณาสติปัฏฐานทัง้ สี่เสมอ คือให้
มีสติกำาหนดพิจารณา กาย เวทนา จิต และ
ธรรม ให้เห็นเป็ นแต่สักว่า กาย เวทนา จิต
และ ธรรม ส่วนหนึ่ งๆ เท่านั ้น หาได้มีสัตว์
บุคคล ตัวตน เรา เขา ผู้หญิง ผู้ชาย อะไร
ที่ไหนเลย เรียกว่ามีแต่รูป หรือกายกับนาม
คือจิตผู้รู้เท่านั ้นในโลกนี้แล้วถอนทิง้ เสียซึ่ง
ความยินดียินร้ายในโลกเสีย
•สัมมาสมาธิ - ตัง้ จิตไว้ชอบ คือ ทำาจิตให้
สงบจากกามารมณ์ และธรรมทัง้ หลายที่เป็ น
อกุศลที่เป็ นนิ วรณ์ด้วยการเจริญสมาธิ เจริญ
ญาณทัง้ สี่ให้เกิดให้มีขึ้น
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเล่าให้ภิกษุสงฆ์
ฟั งภายหลังว่า "ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัม
พุทธเจ้า ได้ประกาศ อนุตตรธรรมจักร ให้เป็ น
ไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพา
ราณสี เป็ นธรรมจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์
เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะต้านทาน
ให้หมุนกลับไม่ได้ ข้อนี้คือการบอก การแสดง
การบัญญัติ การแต่งตัง้ การเปิ ดเผย การ
จำาแนก และการทำาให้ต่ ืน ซึ่งความจริงอัน
ประเสริฐสี่ประการ ได้แก่
๑. ความจริงอันประเสริฐคือ
ความทุกข์
๒. เหตุให้เกิดทุกข์

๓. ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
๔. หนทางทำาผู้ปฏิบัติให้บรรลุ
ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
สรุปได้วา่ พระพุทธองค์ทรงเห็นสังขาร
ทุกข์ของสัตว์มนุษย์ทัง้ ปวงว่า เมื่อเกิดมาแล้ว
มันมีแต่ทุกข์ทัง้ นั ้น จะต้องแก่ เจ็บ ตาย
เป็ นต้น แล้วก็มาเกิดอีก หมุนเวียนอย่ด ู ังนี้
เรื่อยไปเป็ นลูกโซ่ ทีนี้ทำาอย่างไรเล่าจะไม่ต้อง
มาแก่ เจ็บ ตาย และทนทุกข์ทรมาน รวมถึง
ทุกข์อ่ ืนๆ เช่น ความโศก ความรำาพัน เป็ นต้น
มีทางเดียวคือเลิกเกิด ทำาอย่างไร มันถึงจะเลิก
เกิดได้ ที่เราต้องเวียนเกิดเวียนตายกันอยู่นี้ ก็
เพราะอวิชชา เราต้องทำาลายอวิชชาให้หมดไป
คือ มารู้ และปฏิบัติตามความจริงอันประเสริฐ
สี่ประการที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔
ท่านโกณฑัญญะ ผู้เป็ นหัวหน้ าตัง้ ใจฟั งไป
ตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ก็ได้ปัญญา
เห็นธรรม ปราศจากมลทิน คือ โสดาปั ตติ
มรรคเกิดขึ้นว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ งมีความเกิดขึ้น
เป็ นธรรมดา สิ่งทัง้ ปวงเหล่านั ้น ก็จะต้อง มี
ความดับไปเป็ นธรรมดาเช่นกัน" เมื่อ
พระองค์ทรงทราบว่า ท่านโกณฑัญญะได้
ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงเปล่งพระ อุทาน ว่า
"โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ" แล้วพระโกณ
ฑัญญะจึงทูลขออุปสมบท ก็โปรดอนุญาตให้
เป็ นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อจากนั ้น
มา พระองค์ทรงอบรมสัง่ สอนท่านภัททิยะ
วัปปะ มหานาม และท่านอัสสชิ เพื่อให้มี
ปั ญญาแก่กล้าขึ้น ทัง้ สี่ท่านก็ได้สำาเร็จเป็ น
โสดาบันทุกองค์แล้วจึงทูลขออุปสมบท ต่อ
มาทรงเห็นว่า ภิกษุทัง้ ห้ามีอินทรีย์แก่กล้า
ควรแก่การเจริญปั ญญาเพื่อความหลุดพ้นจาก
กิเลสแล้ว ก็โปรดเทศน์เรื่อง อนั ตตสักขณ
สูตร ภิกษุเหล่านั ้นเข้าใจโดยถ่องแท้จากการ
ฟั งพระธรรมเทศนาตามไปจนจบ ก็ได้สำาเร็จ
เป็ นพระอรหันต์ ทัง้ หมดด้วยกัน เป็ นอันว่า
พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆ
รัตนะ ได้เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ณ ที่นี้

• อวิชชา - ความไม่รู้จริงในอริยสัจ ๔
• อุปสมบท - การบวชพระ
อหิภิกขุอุปสัมปทา - การบวชเป็ น

พระองค์แรกในพระพุทธศาสนา

ปัจฉิ มวาจา
คืนวันนั ้นเป็ นวันเพ็ญวิสาขะปุรณมี
(ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม)
พระจันทร์เต็มดวง เวลาก็ล่วงมัชฌิมยามไป
แล้ว พระบรมศาสดาบรรทมเหยียดพระกายใน
ท่าสีหไสยาสน์ทรงระโหยโรยแรงยิ่งนั ก แต่ก็
ฝื นพระทัย ดำารงสติมัน ่ สัง่ สอนให้โอวาทพระ
ภิกษุสงฆ์สาวกเป็ นครัง้ สุดท้ายก่อนเสด็จ
ปรินิพพานดังนี้
"อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พวกเธอ
ทัง้ หลายอาจคิดไปว่า บัดนี้ไม่มีพระศาสดาแล้ว
อาจรู้สึกว้าเหว่ไร้ท่ีพ่ึง พวกเธอจงอย่าคิดอย่าง
นั ้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติ
แล้วแก่พวกเธอ ธรรมวินัยเหล่านั ้น จักเป็ น
องค์ศาสดาของพวกเธอทัง้ หลายแทนเราต่อ
ไป"

"อีกเรื่องหนึ่ ง คือพระฉั นนะ เธอดื้อดึง มี


ทิฐิมานะมาก ไม่ยอมเชื่อฟั งอ่อนน้ อมใคร
เพราะถือว่า เป็ นอำามาตย์ ราชบริพารเก่าแก่
ของเรา เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ขอให้สงฆ์ลง
พรหมทัณฑ์แก่พระฉั นนะ คือเธอจะทำา จะพูด
สิ่งใด หรือประสงค์จะอยู่อย่างไร ก็ปล่อยเธอ
ตามสบาย สงฆ์ไม่ควรว่ากล่าวตักเตือน ไม่ควร
พรำ่าสอนเลย เธอจะรู้สึกตัวเองในทีหลัง"

"อีกเรื่องหนึ่ งคือ สิกขาบทบัญญัติท่ีเราได้


บัญญัติไว้ เพื่อภิกษุทัง้ หลาย จะได้อย่ดู ้วยกัน
อย่างผาสุก ไม่กินแหนงแคลงใจกัน มีธรรม
เป็ นเครื่องอยู่เสมอกัน สิกขาบทบัญญัติเหล่า
นั ้น มีอยู่เป็ นจำานวนมาก เมื่อเราล่วงลับ ไป
แล้ว สงฆ์พร้อมใจกันจะถอนสิกขาบทเล็ก
น้ อย ซึ่งขัดกับกาลสมัยเสียบ้างก็ได้ จะเป็ น
ความลำาบากในการปฏิบัติ สิกขาบทที่ไม่เหมาะ
สมัยเช่นนั ้น เราอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็ก
น้ อยได้"

"ภิกษุรูปใดมีความเคลือบแคลงเห็นแย้ง
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรคใน
ข้อปฏิบัติใดๆ ก็ดี จงถามเสีย อย่าเป็ นผู้เดือด
ร้อนในภายหลังว่า เราอยู่เฉพาะหน้ าพระ
ศาสดาแล้ว ไม่กล้าถามในที่เฉพาะหน้ า"
ปรากฏว่าไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ลอด
เวลาที่ทรงเตือนซำา้ จนครบสามครัง้ ทุกองค์นั่ง
เงียบกริบ ในบริเวณป่ าต้นสาละแห่งนี้ สงบ
เงียบไม่มีเสียงใดๆ เลย แม้จะมีพุทธบริษัท
ประชุมกันอยู่เป็ นจำานวนมากก็ตาม พระกำาลัง
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้ อยเต็มทีแล้ว
ในที่สุดทรงตรัสปั จฉิ มวาจาครัง้ สุดท้ายว่า
"ภิกษุทัง้ หลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอว่า
สังขารทัง้ หลายมีความเสื่อมไปเป็ นธรรมดา
พวกเธอทัง้ หลาย จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์
ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี่
เป็ นวาจาครัง้ สุดท้ายของตถาคต"
• ปั จฉิ มวาจา - วาจาครัง้ สุดท้าย
• มัชฌิมยาม - ยามกลางคืน ในภาษาบาลี
เขาจะแบ่งเวลากลางคืนออกเป็ น ๓ ช่วง
เวลา (หรือเรียกตามภาษาบาลีวา่ ๓
ยาม) ช่วงเวลาละ ๔ ชัว่ โมง ซึ่งเรียกว่า
ปฐมยาม (18:00-22:00) มัชฌิมยาม
(22:00-02:00) ปั จฉิ มยาม (02:00-
06:00)
• สีหไสยาสน์ - ท่านอนเหยียดตรง
แบมือขวาพยุงศีรษะไว้ หรือพูดง่ายๆ ว่า
เป็ นท่าพระนอนสมาธิ
• สิกขาบทบัญญัติ - ข้อบังคับในเรื่องของ
ศีล
• ตถาคต - พระนามพระพุทธเจ้า เป็ นคำาที่
พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง

ปรินิพพาน
ต่อจากนี้ทรงนิ่ งเงียบ ไม่ตรัสอะไรอีกเลย
เสด็จเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถ
ฌาน อากาสานั ญจายตนฌาน วิญญาณั ญจาย
ตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญา
นาสัญญายตนฌาน สัญญาเทวยิตินิโรธ แล้ว
ย้อนกลับลงมาตามลำาดับจนถึงปฐมฌาน แล้ว
ย้อนขึ้นอีกโดยลำาดับจนถึง จตุตถฌาน เป็ น
อนุโลม ปฏิโลม และเสด็จปรินิพพานในเมื่อ
ออกจากจตุตถฌานนั่ นเอง
พระอนุรุทธะเถระ ซึ่งเป็ นพระเถระผู้ใหญ่
อยู่ในที่ประชุมขณะนั ้น และได้รับการยกย่อง
จากพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็ นผู้เชี่ยวชาญเลิศ
ทางทิพยจักษุ ได้เข้าฌานตาม ทราบว่า
พระพุทธองค์เข้าสู่ฌานนั ้นๆ แล้ว และก็
ปรินิพพานเมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังมิได้เข้า
สู่อากาสานั ญจายตนะ คือพระองค์เสด็จ
ปรินิพพาน ในระหว่างนั ้นนั่ นเอง (พระบรม
ศาสดาประสูติ ณ ใต้ต้นสาละในป่ าและก็เสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน ณ โคนต้นสาละคู่ ในป่ า
ในวันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖) เหตุ
อัศจรรย์ก็บันดาลให้เป็ นไป มหาปฐพีก็หวัน ่
ไหวครัง้ ใหญ่ ขนพอง สยองเกล้า น่ า
หวาดเสียว และกลองทิพย์ก็บันลือลัน ่ ไปใน
อากาศ พร้อมกับการปรินิพพาน ท่านพระอนุ
รุทธะ ได้กล่าวว่า
"ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้มีพระหฤทัยตัง้ มัน
่ คงที่ มิได้มี
อีกแล้ว พระมุนีมิได้ทรงพรัน
่ พรึง ทรงปรารถ
ความสงบ ทรงทำากาละแล้ว มีพระหฤทัยไม่
หดหู่ ทรงครอบงำาเวทนาได้แล้ว ได้เป็ นผู้มี
พระทัยหลุดพ้นพิเศษแล้ว เหมือนดวงประทีป
ที่สว่าง ดับไปฉะนั ้น"
บรรดาภิกษุท่ีประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น
ภิกษุเหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ก็กอดแขน
ครำ่าครวญ ฟุบลงกลิง้ เกลือกไปมา รำาพันว่า
"พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้วๆ"
พระอนุรุทธะผู้มีอาวุโสสูงสุด ได้มบี ัญชา ให้
พระอานนท์ เข้าไปแจ้งข่าวปรินิพพาน แก่
มัลละกษั ตริย์ในเมืองกุสินารา ซึ่งประจวบกับ
ที่พวกกษั ตริย์ กำาลังประชุม ปรึกษาพร้อมกัน
อยู่ ต่างคนก็ต่างเศร้าโศกเสียใจ แล้วรับสัง่ ให้
ราชบุรุษตระเตรียมเครื่องหอม ดอกไม้ ดนตรี
และผ้าอีก ๕๐๐ คู่ เข้าไปยังสวนป่ าสาลวัน
ทำาการบูชาพระพุทธสรีระ ด้วยการฟ้ อนรำา ขับ
ร้อง ประโคมดนตรีเป็ นต้น จนถึงวันที่ ๗ จึง
พร้อมกันอัญเชิญพระพุทธสรีระ ไปทางทิศ
เหนื อของพระนคร นำ าไปประดิษฐาน ณ มกุฏ
พันธนเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก ของนครกุสิ
นารา
มัลละกษั ตริย์ได้ปฏิบัติตามพระพุทธ
ประสงค์ คือปฏิบัติเหมือนในพระสรีระของ
พระเจ้าจักรพรรดิ ์ โดยให้พันพระพุทธสรีระ
ด้วยผ้าใหม่ และซับด้วยสำาลีบริสุทธิ ์ แล้วพัน
ผ้าใหม่ ซับด้วยสำาลีอก
ี โดยนั ยนี้ ตามกำาหนด
ถึง ๕๐๐ คู่ เสร็จแล้วอัญเชิญลงประดิษฐาน
ในรางเหล็กซึ่งเต็มไปด้วยนำ ้ ามัน ปิ ดด้วยราง
เหล็กอีกเป็ นฝาครอบ แล้วสร้าง จิตกาธาน
(เชิงตะกอน) ด้วยไม้หอมทัง้ หมด อัญเชิญ
พระพุทธสรีระ ขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธาน
นั ้น เพื่อถวาย พระเพลิงทันที พอดีมีข่าวมาว่า
พระมหากัสสป พระเถระผู้ใหญ่ท่ีพระบรม
ศาสดา ทรงยกย่องมาก กำาลังเดินทาง จาก
เมืองปาวา จวนจะถึงกุสินาราอยู่แล้ว คณะ
มัลละกษั ตริย์และพระอนุรุทธะ ประธานฝ่ าย
สงฆ์ จึงให้หยุดการถวายพระเพลิงไว้ก่อน รอ
จนกระทัง่ พระมหากัสสป มาถึงมกุฏพันธน
เจดีย์ ท่านและพระภิกษุบริวาร อีกประมาณ
๕๐๐ รูป ได้เดินวนเวียน ประทักษิ ณจิ
ตกาธาน ๓ รอบแล้ว เปิ ดแต่พระบาท ถวาย
บังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
เศียรเกล้าของตน เสร็จแล้ว พิธีถวายพระเพลิง
จึงได้เริ่มขึ้น โดยมีพระมหากัสสป เป็ น
ประธาน ในฐานะอาวุโสสูงสุด

ครัง้ นั ้น พระเจ้าอชาตศัตรูกษั ตริย์ลิจฉวี


ศากยะกษั ตริย์แห่งกรุงกบิลพัสด์ุ พูลิกษั ตริย์
ชาวเมือง อัลลกัปปนคร โกลิยกษั ตริย์ ชาว
เมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองนครเวฏฐทีป
กะ มัลละกษั ตริย์อีกพวกหนึ่ ง ที่ครองเมืองปา
วา ต่างส่งทูตมาขอปั นส่วนแห่ง พระบรม
สารีริกธาตุ โดยจะนำ าไปบรรจุในพระสถูปหรือ
เจดีย์ต่อไป มัลละกษั ตริย์แห่งเมืองกุสินาราไม่
ยินยอม โดยอ้างว่าพระพุทธองค์เสด็จ
ปรินิพพานในดินแดนของตน จึงเกิดโต้เถียง
กันขึ้น จนจวนจะเกิดสงครามใหญ่ โทณ
พราหมณ์ นั กปราชญ์ใหญ่ท่านหนึ่ งแห่งกุสิ
นารา เห็นเหตุการณ์แปรผันไป เช่นนั ้น จึง
ของร้องให้กษั ตริย์ทัง้ หลายสามัคคีปรองดอง
กัน ด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็ น
๘ ส่วน นำ าไป บรรจุในสถูปในที่ต่างๆ กัน เพื่อ
ให้แพร่หลายไปทัว่ ทุกทิศ ในที่สด ุ ก็ตกลงกัน
ได้ ฝ่ ายกษั ตริย์วงศ์เมารยะ(หรือโมริยะ) มาถึง
ช้า จึงได้แต่พระอังคารไป (คือเถ้าถ่านเหลือ
จากการถวายพระเพลิง)
สรุปแล้ว สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมี
อยู่ ๘ เมืองด้วยกันคือ
๑. พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าแผ่นดิน
แคว้นมคธ อัญเชิญไปบรรจุในพระสถูปที่กรุง
ราชคฤห์
๒. เจ้าลิจฉวี ชาวเมืองเวสาลี (หรือ
ไพศาลี) อัญเชิญไปไว้ ณ กรุงเวสาลี
๓. กษั ตริย์ศากยวงศ์ แห่งเมืองกบิลพัสด์ุ

๔. พูลิกษั ตริย์ แห่งเมืองอัลลกัปปนคร

๕. โกลิยกษั ตริย์ ชาวเมืองรามคาม หรือ


เทวทหะนคร
๖. พราหมณ์ผู้ครองนครเวฏฐทีปกะ

๗. มัลละกษั ตริย์ ชาวเมืองกุสินารา


ส่วนโทณพราหมณ์ได้ทะนานทองที่ใช้ใน
การตวงแบ่งพระบรมสารีรก ิ ธาตุ นำ าไปบรรจุไว้
ในสถูป แห่งหนึ่ ง เรียกว่า ตุมพสถูป (ตุมพะ
แปลว่า ทะนาน) กษั ตริย์วงศ์เมารยะได้รบ ั
พระอังคารบรรจุไว้ในสถูป ที่เมืองปิ ปผลิวัน

You might also like