Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

สรุปสาระจากเวที “จากอมตะนคร2 สู่สถานการณ์ภาคตะวันออก”

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่ห้อง 201 ตึกคณะมนุษยศาสตร์ ม.บูรพา

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 มีการประชุมปรึกษาหารือของคณะผู้ทางานองค์กรชุมชนในพื้นที่ภาค


ตะวันออก ได้พบข้อมูลการลงทุนพื้นที่เขตอุตสาหกรรมอมตะนคร 2 ที่กาลังจะดาเนินการในพื้นที่ จ.ชลบุรีและ
ฉะเชิงเทรา และพบการรุกคืบใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อื่นๆ ของ 8 จังหวัดภาคตะวันออกด้วย
อย่างเช่น จันทบุรีกรณีโรงงานถลุงเหล็ก ที่ใช้พื้นที่กว่า 3 หมื่นไร่ สระแก้วกาลังถูกสารวจเหมืองทองและการปลูกพืช
เศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ระยองมีปัญหาจากการขยายตัวอุตสาหกรรม ปราจีนบุรี เขาหินซ้อน ฉะเชิงเทรา มีสถานการณ์เรื่อง
โรงงานไฟฟ้า และตราดก็ถูกวางให้พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สถานการณ์ของมลพิษที่เพิ่มขึ้น ความรุนแรงของน้าเสีย
อากาศ ต่างๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของที่มาในการพูดคุยกันวันนี้

ภาคตะวันออกกาลังอยู่ในสถานการณ์อะไร ?
1. ภาคตะวันออกยังเป็นทาเลทองและเป็นที่หมายปองของนักลงทุนในประเทศและกลุ่มทุนต่างชาติ ด้วย
ปัจจัยพื้นฐานทั้งทางกายภาพและทาเลที่ตั้งที่ส่งออกทางทะเลและทางอากาศที่สะดวกที่สุดของประเทศ มี
สาธารณูปโภคและสิ่งอานวยความสะดวกที่ดีมาก เป็นพื้นที่น่าลงทุน
2. เหตุเพราะที่มาเป็นขบวนการใหญ่ มองประเทศไทยเป็นชัยภูมิสาคัญของภูมิภาคอาเซียนทั้งแนวเหนือใต้จากจีน
ถึง มาเลเซีย อินโดนีเชีย ออสเตรเลีย และ ตะวันออกถึงตะวันตกพม่า อินเดีย ลาว เวียตนาม ปัจจุบันมีแผนการ
ลงทุนด้านคมนาคมอย่างมหาศาลในพื้นที่ประเทศไทย มีการสารวจเรื่องน้ามันในอ่าวไทยที่มีปริมาณมหาศาล
เรากาลังถูกรุกรานด้วยระบบทุนโลก และการสูญเสียที่ดินจะก่อให้เกิดการผูกขาดด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่
อยู่อาศัย และระบบทุนจะยึดครองโลกนี้ได้ทั้งหมด เครื่องมือที่ระบบทุนใช้ คือ GDP เป็นตัวชี้วัดความสาเร็จและ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3. มันเป็นระบบทุนนิยมโลก ที่ไม่มีขอบเขตประเทศ มีเป้าหมายที่เงินอย่างเดียว อย่ามองแค่ท้องถิ่นต้องมองเชื่อม
ระดับโลก ศัตรูเป็นการสมคบกันของหลายกลุ่ม คือ นายทุนต่างชาติภายใต้ระบบทุนนิยมโลก (นิคเอเชีย/ญี่ปุ่น)
นายทุนไทย (SCG) นายทุนท้องถิ่น (นักธุรกิจการเมือง นายหน้าขายที่ดิน เจ้าพ่อ ผู้ใหญ่บ้าน กานัน อบต. สส.
บ้านใหญ่) รัฐไทย (ข้าราชการที่ได้ผลประโยชน์ รัฐวิสาหกิจ) อมตะนครเองก็รู้จักทางานด้านวัฒนธรรมเพื่อสร้าง
ความเชื่อเลียนแบบกับต่างชาติ เช่น การเขียน การสร้างหนัง การจัดงาน ผลกระทบจากระบบทุน คือ การแย่งชิง
ทรัพยากร ดิน น้า ป่า กับ ขยะและมลพิษ ทั้งขยะจากการบริโภคและขยะอุตสาหกรรม
4. ภาคตะวันออกถูกกาหนดการพัฒนาจากภายนอก ทุกอย่างมาจากนโยบาย มาจากข้างบน เป็นการเปลี่ยน
ประเทศไทยครั้งใหญ่ โดยมีคนอื่นมาเปลี่ยน ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่เหมาะสมทั้งดิน น้า
อุณหภูมิอากาศเพื่อการเกษตร แต่กลับเอามาพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
5. ทุนต่างชาติ ไม่ใช่แค่โรงงานอุตสาหกรรม แต่รวมถึงเรื่องระบบธุรกิจการเกษตร การใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง การ
ผูกขาดระบบการค้าผลผลิตการเกษตรทั้งระบบ และเห็นว่าทุกโครงการรัฐในสิ่งอานวยความสะดวกทาง
เศรษฐกิจ มีความเชื่อมโยงกับนิคมอุตสาหกรรมแน่นอน เช่นมีการสร้างอ่างเก็บน้าผันน้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้
6. ทุน เตรียมใช้เงินซื้อทุกอย่าง ทั้งที่ดิน ผู้นา มวลชน กาลังปรับขบวนใหม่ในการทางานมวลชน ประชาชนในพื้นที่
ตกอยู่ในความกลัวอิทธิพลมืด กลัวปืน ผู้นาจานวนมากไม่ยอมเปิดเผยตัว ไม่กล้าแสดงตัว คนกล้าแสดงตัวคือ
เป้ากระสุน และสภาวะประชาชนไม่รู้ตัวว่ากาลังเผชิญหน้ากับทุนใหญ่ ผู้นา 99 % เป็นคนของนายทุน และถูกใช้
เป็นเครื่องมือ ความปลอดภัยของผู้ต่อสู้ไม่มี ขอความร่วมมือที่ปรึกษาจากคนที่มีชื่อเสียง

ข้อเสนอทางออกของสถานการณ์นี้

~ ต้องตอบโจทย์ก่อนว่าเราจะเดินงานร่วมกันหรือไม่ ต้องมีการจัดการความรู้ ต้องมีการรวมพลังกัน และอยากให้มี


ความชัดเจนในวันนี้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องทางานเป็นระดับภาค เราต้องประกอบกาลังกันทั้งภาคประชาชน
นักวิชาการ ต้องมีการทางานเคลื่อนไหวภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง บทบาทการต่อสู้เราแยกส่วน จะไม่มีพลัง
ต้องเลิกการทางานแบบตัวใครตัวมัน
~ ต้องมองหาศัตรูที่แท้จริงของเราคือใคร กิเลศ บวกอานาจ และทุน คือศัตรูของเรา
~ ควรยืนยันเจตนาของพี่น้องคนไทยด้วยการคัดค้านการครอบครองฐานทรัพยากรไปสู่การครอบงาทางเศรษฐกิจ
ผ่านระบบการส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นให้ชาวบ้านหวงแหนทรัพ ยากรเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยดึงชาวบ้านให้มอง
ทางเดียวกับเราได้ วันนี้เราต้องแย่งชิงทรัพยากรกัน โดยเฉพาะน้า
~ ต้องมีแผนการ มียุทธศาสตร์ที่เป็นระบบ ให้เราก้าวเดินได้ 1 2 3 เพื่อต่อสู้ในระยะยาว เรามีเครือข่ายอยู่แล้วควร
ทาให้มีความรู้เท่าทันกันเต็มพื้นที่ ซึ่งเป็นการต่อสู้อย่างมั่นคง ระดับภาคจะต้องทายุทธศาสตร์เรื่องการจัดตั้งและ
เชื่อมโยงคนให้ได้ ให้พบเจอกันประจา มีการประชุมสัญจร มีการขับเคลื่อนทั้งระดับภาค, จังหวัด และตาบล และ
มีการยกระดับตัวอย่างความสาเร็จ ทั้งมีการจัดเวทีในพื้นที่ปัญหา
~ บางตาบลยังไม่มีข้อมูลสถานการณ์ จึงยังไม่มีความรู้สึกร่วม ควรหาเป้าหมายการทางานร่วมกันของตะวันออก
ให้ชัดเจน ถ้าต้องการชื่อคัดค้านก็ไม่ใช่เรื่องยาก เสนอจัดเวทีใหญ่ในพื้นที่ ปลุกคนให้เกิดการรับรู้ และประกาศ
ว่าเพื่อนตะวันออกจะมาลงพื้นที่ และเสนอว่าเพื่อนตะวันออกต้องยกระดับความคิดการต่อสู้ เชิญแกนนามา
พูดคุยกันแล้วหาข้อสรุป ยกทีมไปที่พื้นที่
~ เราต้องใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนา ควรจะร่วมกันขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมและ
เอาจริงเอาจัง วันนี้เราต้องมองภาพใหญ่ของทั้งภาค ศัตรู คือ ทุนนิยม ที่เราจะต้องยกหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงมาขึ้นสู้ ซึ่งหลากหลายตามแต่พื้นที่ คนวงในต้องทาความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงให้ตรงกัน
~ ชู 3 เรื่อง เดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการตนเองของชุมชนในเรื่องที่ดินตนเอง และการ
ต่อสู้กับวิกฤตโลกร้อน ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงใหญ่ แต่ต้องโยงเข้าไปกับสถานการณ์โลกร้อนที่
องค์กรใหญ่ๆกาลังขับเคลื่อนอยู่ ที่เราต้องทาคือ ต้องหาโมเดลการจัดการที่ดินรูปแบบใหม่ ทาให้เห็นเป็น
ตัวอย่าง ผลักดันให้เป็นนโยบายของจังหวัด และจับมือกับจังหวัดอื่นๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์กัน และ
การเดินสายการทางานระหว่างจังหวัดจะช่วยกดดันรัฐ
~ ทาความเข้าใจให้ชัดเจนว่าเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลต่อคนเมืองคืออาหารปลอดภัย ส่งผลให้ชาวบ้านคือแก้หนี้
แก้ความยากจน, ท้องถิ่นจัดการตนเอง, ธุรกิจ-ปรับตัวเข้าสู่กับสภาพโลกร้อน
~ ประชาชนเราสู้ได้ถ้ามีอุดมการณ์
~ ตอนนี้เราอยู่ในประเด็นร้อน เราต้องหยุดให้ได้ก่อน ในพื้นที่เราต้องการกาลังเพื่อสกัดให้ได้
~ ต้องทาให้คนในชุมชนรู้จักตัวเอง ชุมชนตัวเองให้มากขึ้น โดยกลับไปจัดทาข้อมูลของภาค มีการออกแบบเพื่อลง
ไปเก็บ เราต้องมีข้อมูลเพื่อนาไปคุยกับภาครัฐ มีหน่วยงานที่พร้อมส่งเสริมการจัดทาข้อมูลสารสนเทศน้าเพื่อ
การเกษตร ซึ่งมีหลักสูตร ๔ วัน แต่ละตาบลควรจะมีการทาแผนที่ทามือ จะได้ฝึกคนให้รู้จักตนเองว่ามีอะไรอยู่
ต้องค้นหาคนในพื้นที่
~ จัดทัพภาคตะวันออก ครั้งนี้แพ้ไม่ได้แล้ว ขอให้นาเรื่องราวเข้าสู่ขบวนองค์กรชุมชนกัน
~ ควรช่วยกันกลับไปไปดูแผนขององค์กรชุมชนแต่ละจังหวัดว่า ตรงสถานการณ์ปัญหาไหม หรือมีการตอบโจทย์
เรื่องนี้ขนาดไหน และ ควรบรรจุไว้ในแผนปี 2554 ที่กาลังทากันอยู่นี้
~ ต้องมีการนาเสนอให้เป็นข่าว และสร้างให้ทุกคนราลึกถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และควรมีชุดปฏิบัติการ มี
คนทางาน
~ ชาวบ้านอยู่ในความกลัวไม่กล้าเผชิญหน้ากับผู้นาท้องถิ่น แต่พร้อมเซ็นชื่อคัดค้าน เสนอขอให้ประชาสังคมใน
พื้นที่จังหวัดอื่นๆช่วยลงชื่อคัดค้านให้ด้วยแล้วส่งกลับมา ส่วนเรื่องอื่นๆขอให้ช่วยกันคิดด้วย
~ ต้องสร้างความมั่นใจ และยื่นหนังสือเรียกร้องเรื่องสิทธิชุมชน และใช้เวลาอย่างรวดเร็ว จากนั้นสร้างกระบวนการ
ความรู้ จัดเวทีใหญ่ แต่ก่อนเวทีใหญ่ต้องมีการสร้างจุดยืนร่วมกัน
~ น่าจะมีการเจรจาระหว่างอมตะนครกับมวลชนในพื้นที่และเชิญเพื่อนตะวันออกไปด้วย
~ ควรประชาสัมพันธ์ด้วยแผ่นพับ เป็นเรื่องที่ต้องทา ให้คนในพื้นที่ได้รับรู้
~ วันที่ 18 มกราคม นี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะมาให้การศึกษาเรื่องสิทธิชุมชนในกรณีอมตะนคร 2
~ ตอนนี้เราไม่มีทุนในการขับเคลื่อน ต้องระดมทุน ตัวอย่างทางจันทบุรีทาเสื้อขาย หาทางบอกต่อเรื่องการต่อสู้
ระหว่างเกษตรกรกับอุตสาหกรรม สถานการณ์ต้องประเมินวันต่อวัน เพราะไม่มีความปลอดภัยเลย ไม่มีคนใน
ชุมชนขึ้นมาเดินร่วม อยากขอให้ช่วยฟังข่าวว่าข้างนอกเดินอย่างไรกัน องค์กรที่มีทุนช่วยจัดประชุมทุก 2 เดือนได้
หรือไม่ เพื่อบอกข่าวอย่างต่อเนื่อง
~ ควรมีการนัดหมายเพื่อวางแผนการเคลื่อนงานให้ชัดเจน ( road map) เสนอขอให้มีคณะทางานคณะหนึ่ง นัด
หมายพูดคุยกันและทาการบ้านมานาเสนอร่วมกัน

บทสรุป
ที่ประชุมเห็นว่าเป็นสถานการณ์สาคัญของภาคตะวันออก ที่ทุกคนไม่ควรเพิกเฉยดูดาย อีกต่อไป ควรนาเรื่อง
ทั้งหมดนี้ไปสู่การขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม เสนอให้มีแกนประสานงาน และ เรียนเชิญผู้นาความคิดและผู้พร้อม
ปฏิบัติการมาร่วมการปรึกษาประเมินสถานการณ์และขับเคลื่อนการปกป้องคุ้มครองพื้นที่ภาคตะวันออก โดยนัดหมาย
พูดคุยกันอีกครั้ง วันที่ 4 มกราคม 2554 เวลา 09.30 น. สถานที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ(มาบเอื้อง)

You might also like