Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

การปกป้องคุ้มครองพื้นที่แหล่งอาหารสมบูรณ์ภาคตะวันออก

สถานการณ์ใหม่ที่ขบวนประชาชนภาคคะวันออกต้องลุกขึ้นจัดการตนเอง

วิเคราะห์สถานการณ์
ปัจจุบันการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคตะวันออกยังมีอย่างต่อเนื่อง
ส่วนมากเป็นการกาหนดจากคนข้างนอกอย่างมีขั้นตอนกระบวนการ ผ่าน นโยบายและแผนการพัฒนาอนุ
ภูมิภาคของรัฐบาล มากกว่าคนภาคตะวันออกจะเป็นผู้กาหนดอนาคตการพัฒนาด้วยด้วยตนเอง
พื้นทีภ่ าคตะวันออกยังเป็นดินแดนที่หอมหวานและเป็นที่หมายปองของนักลงทุน ทั้งในประเทศและ
กลุ่มนักลงทุนข้ามชาคิ ด้วยทาเลที่ตั้งที่ส่งออกทางทะเลและทางอากาศที่สะดวกที่สุดของประเทศ มี
ปัจจัยพื้นฐานทางกายภาพ ระบบส าธารณูปโภค พลังงานไฟฟ้า และสิ่งอานวยความสะดวกที่รัฐบาลทุก
คณะได้ทุ่มเทลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5( พ.ศ.2525 –
2529)โดยมีโครงการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก พร้อมกับวลีการพัฒนาในยุคนั้นว่า
ประเทศไทยจะโชติช่วงชัชวาล
โดยแก่นแท้ของการพัฒนา เราจะพบว่าการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกหรืออีสเทอร์นซี
บอร์ดนั้นมุ่งเน้นเจาะจงใช้พื้นที่ภาคตะวันออกเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมของเอเชีย มีการวางแผนการ
ร่วมกันเป็นขบวนการใหญ่ระดับนานาชาติ เพื่อรองรับการลงทุนข้ามชาติของทุนนิยมครอบโลกโดย
ประเทศไทยต้องให้สิทธิพิเศษทางการลงทุน ต้องลงทุนทางด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอานวยความสะดวก
ให้ครบครัน ทั้งให้ข้อมูลกับคนไทยว่า เป็นการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออกและชดเชยการนาเข้า ไทย
เราจะได้เปรียบทางการค้าและมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการไทย ยกระดับประเทศไทยสู่การ
เป็นนิคส์แห่งเอเชีย ซึ่งทบทวนจะเห็นได้ชัดว่า ในระยะแรกประเทศไทยก็เป็นแหล่งรองรับการย้ายฐานการ
ผลิตอุตสาหกรรมหนัก(Sunset Industries) มาไว้ในประเทศไทยผลปรากฏว่า ทาให้ประเทศไทยต้องแบก
รับภาระการหาพลังงานไฟฟ้า แรงงานราคาถูก และจัดที่ตั้งทาเลชั้นดีให้ ส่วนความเป็นไปของภาค
ตะวันออก ก็ขึ้นอยู่ในความดูแลและชี้นาการพัฒนาโดยกลไกภาครัฐและเอกชนเป็นส่วนใหญ่ที่ล้วนมีทิศ
ทางการพัฒนาที่คล้อยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 – 7 – 8 ( พ.ศ. 2530 – 2544
) โดยประชาชนคนตะวันออกมีสิทธิ์ส่วนในการพัฒนาอนุภูมิภาคนี้น้อยมาก
ในระยะหลัง ชนชั้นนาการพัฒนาเหล่านี้ได้เล็งเห็น ประเทศไทยเป็นทาเลศูนย์กลางสามารถเป็นสะพาน
เชื่อมทางเศรษฐกิจทางบกที่ สาคัญของภูมิภาคอาเซียนทั้ง ในแนวเหนือใต้จากจีนถึง มาเลเซีย สิงคโปร์
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สู่ ออสเตรเลีย และ ในแนวตะวันออกถึงตะวันตก จาก อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา
เวียตนาม มีการวางแผนพัฒนาด้านคมนาคมและระบบลอจิสติกส์อย่างมหาศาลทั้งในส่วนระบบทางด่วน
และระบบรางรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่ภาคตะวันออก(ดูหลักฐานได้จากการศึกษาของกรมโยธาธิการและ
ผังเมือง )
อีกทั้งขีดผังแผนการพัฒนาให้ภาคตะวันออกมีบทบาทรองรับภารกิจในเรื่องพื้นที่อุตสาหกรรม การ
ลงทุนด้านต่างๆจากต่างชาติอย่างเต็มขีด ทั้งให้ภาคตะวันออกทาหน้าที่ดูแลต้อนรับนักท่องเที่ยวในแนว
บันเทิงเริงรมย์ระดับโลก และรองรับการขยายความแออัดจากเมืองกรุง (ดูได้จากการวางแผนพัฒนาอนุ
ภูมิภาคกลุ่มจังหวัดทั้ง2 กลุ่ม)
ในส่วนของพื้นทีอ่ ่าวไทยภาคตะวันออกไปถึงแนวเขตแดนทางทะเลรอยต่อกับประเทศกัมพูชา มี การ
สารวจพบน้ามันและก๊าซธรรมชาติในปริมาณมหาศาลที่จะนามาซึ่งรายได้ของบริษัทด้านพลังงาน พร้อม
กันนั้นก็มีความพยายามจัดหาน้าจืด ไฟฟ้า แรงงานราคาถูก เพื่อตอบสนองให้กับภาคอุตสาหกรรมและ
เมืองขนานใหญ่อย่างไม่หยุดหย่อน โดยมีทิศทางการศึกษาของภาครัฐเจ้าภาพส่งเสริม
ผลที่จะเกิดตามมาข้างหน้าก็คือ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม กับ ภาค
เกษตรกรรมทั้งที่ดิน น้า ทรัพยากรทางทะเล รุกผ่านกระบวนนายหน้ากว๊านซื้อที่ดินทาเลงามๆจาก
ชาวบ้านเกษตรกรที่มีหนี้สินและสิ้นหวังในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม ตัดสินใจเลิกกิจการและยินดีขาย
ให้กับนายทุนต่างชาติที่แฝงตัวมาในรูปของนอมินีคนไทย จนกระทั่งในเวลานี้สัดส่วนการถือครอง
กรรมสิทธิ์ที่ดินของคนตะวันออกเอง เหลือน้อยกว่า 35 % นอกนั้นอยู่ในมือของชนชั้นนาทางเศรษฐกิจ
ทั้งหมดนี้เป็นระยะผ่านที่น่าสนใจ ล้วนเกิดจากผลงานของนักวางแผนเศรษฐกิจและสังคมของไทยที่มี
ฐานคิดยึดถือเอาตัวชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP เป็นตัวตั้ง

ภาคตะวันออกกาลังอยู่ในสถานการณ์อะไร ?
1. เป็นดินแดนเป้าหมายต้องการของนายทุนนักล่าที่ดิน มีการร่วมมือ กันของหลายกลุ่ม ทั้งนายทุน
ต่างชาติภายใต้ระบบทุนนิยมโลก(นิคเอเชีย/ญี่ปุ่น) นายทุนไทย นายทุนท้องถิ่น (นักธุรกิจการเมือง
นายหน้าขายที่ดิน เจ้าพ่อ ผู้ใหญ่บ้าน กานัน อบต. สส. บ้านใหญ่) รัฐไทย (ข้าราชการที่ได้ผล
ประโยชน์ รัฐวิสาหกิจ) ที่ล้วนมีความเชื่อระบบคิดเลียนแบบการพัฒนาเศรษฐกิจจากต่างชาติ หวัง
รายได้จากการเก็งกาไรและสร้างมูลค่าเพิ่มจากที่ดิน ทุนต่างชาติ ไม่ใช่แค่โรงงานอุตสาหกรรม แต่
รวมถึงเรื่องระบบธุรกิจการเกษตร การใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง การผูกขาดระบบการค้าผลผลิต
การเกษตรทั้งระบบ
2. กลุ่มทุน ใช้เงินซื้อทุกอย่าง ทั้งที่ดิน ผู้นา มวลชน กาลังปรับขบวนใหม่ในการทางานมวลชน ส่วน
ประชาชนในพื้นที่ตกอยู่ในความกลัว ต่ออิทธิพลมืด ผู้นาจานวนมากที่ไม่เห็นด้วยแต่ไม่ยอมเปิดเผยตัว
ไม่กล้าแสดงตัว คนกล้าแสดงตัวจะตกเป็นเป้ากระสุน ความปลอดภัยของผู้ ไม่เห็นด้วยต่อสู้ขัดขืนไม่มี
3. คนตะวันออกกาลังได้รับผลกระทบจากผู้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนหรือได้รับอนุญาตการลงทุนจากรัฐ
กระทาการแย่งชิงทรัพยากร ดิน น้า ป่า พร้อมทั้งก่อภาระด้านขยะและมลพิษ ทั้งขยะจากการบริโภค
และขยะของเสียอุตสาหกรรมให้ประชาชนภาคตะวันออกไปแก้ปัญหาบนความขัดแย้งผลประโยชน์
ของคนในพื้นที่กันเอง มีหลายพื้นที่ที่ประชาชนเกิดความแตกแยกขัดแย้งรุนแรง ประชาชนเริ่มมีข้อมูล
ถึงบทบาทของทุนใหญ่ ที่อยู่เบื้องหลังหนุนประชาชนอีกส่วนให้ต้านประชาชนด้วยกัน
4. ภาคตะวันออกถูกกาหนดการพัฒนาจากภายนอก ทุกอย่างมาจากนโยบาย มาจากข้างบน เป็นการ
เปลี่ยนประเทศไทยครั้งใหญ่ โดยมีคนอื่นมาเปลี่ยน ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่เหมาะสม
ทั้งดิน น้า อุณหภูมิอากาศเพื่อการเกษตร แต่กลับเอามาพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และเห็นว่าทุก
โครงการรัฐ ที่ลงทุนด้านสาธารณูปโภคและ สิ่งอานวยความสะดวกทางเศรษฐกิจ ล้วนมีความ
เชื่อมโยงกับผลประโยชน์นักลงทุน และดูเหมือนจะมากกว่าการเอื้อประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่
5. ตะวันออกกาลังถูกรุกรานด้วยระบบทุนโลก และการสูญเสียที่ดินจะก่อให้เกิดการผูกขาดด้านอาหาร
เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย และระบบทุนจะยึดครองโลกนี้ได้ทั้งหมด เครื่องมือที่ระบบทุนใช้ คือ
GDP เป็นตัวชี้วัดความสาเร็จและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
6. มีข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในพื้นที่มาบตาพุด พบสารพิษใน
อากาศ 40 ชนิด ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใน 40 ชนิดมี 20 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง แต่ไม่สามารถ
นาเสนอข้อมูลสู่สาธารณะได้ เนื่องจากถูกสั่งห้ามเพื่อไม่ให้ผลกระทบต่อการลงทุนทางอุตสาหกรรม
ในส่วนของการลงนามความร่วมมืออาเซียน ทุกธุรกิจจะสามารถลงทุนในประเทศไทยโดยได้
ผลตอบแทน 70:30 ส่วนพื้นที่ชายแดนกัมพูชา กาลังถูกกว้านซื้ออย่างหนัก และกัมพูชายังเปิดลงทุน
แบบได้ผลตอบแทน 100% อีกด้านหนึ่งมีการพยายามขับเคลื่อนของคณะปฏิรูปในพื้นที่สระแก้ว วันที่
27 มกราคม 2554 จะมีการพูดคุยกันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ วันนี้เราจะเห็นว่าแต่ละเรื่องยากมาก
แต่ก็มีคนพยายามที่จะร่วมมือกันต่อสู้ สิ่งสาคัญควรให้ความสาคัญกับเรื่อง GNH มากกว่าเน้น GDP
ต้องสร้างแรงจูงใจใหม่ มองการพัฒนาที่ยั่งยืน สะสมทุนไว้ให้ลูกหลาน
7. เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ คนตะวันออกยังไม่สามารถสรุปได้ว่า จะหาทางออกในเรื่องเหล่านี้อย่างไรดี
ที่จะให้คนภาคตะวันออกเป็นผู้กาหนดชะตากรรมด้วยตนเอง มากกว่าให้คนอื่นมากาหน

สถานการณ์ความเคลื่อนไหวของประชาชนแต่ละพื้นที่ ในขณะนี้
 ชลบุรี อมตะนคร 2 ความคืบหน้าตอนนี้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของผังเมืองและแผนที่
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศปี 2600 เราจะเห็นว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของเอเชีย
ตอนล่างเป็นส่วนของไทย มาเล อินโด บนเป็น ไทย พม่า ลาว จีน ฝั่งตะวันตก เป็นพม่า
อินโดนีเซีย นี่เป็นที่มาของการรุกคืบของการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนผังการพัฒนาพื้นที่ประเทศไทย
เราจะพบว่ามีเส้นทางเศรษฐกิจการขนส่งเกิดในพื้นที่ประเทศไทยอยู่มากมาย ที่สาคัญวิสัยทัศน์
ของประเทศไทยในปี 2600 จะไม่มีเรื่องเกษตรหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่
จะถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม หากเป็นพื้นที่เกษตรจะพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจแทน และ
พื้นที่ป่าก็จะพัฒนาเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน โดยใช้ถนนเส้น 304 และถนนเลาะชายฝั่ง
เป็นเส้นทางขนส่งทางเศรษฐกิจ แผนเหล่านี้ถูกกาหนดในช่วงปี 2550 แต่จะถูกนาไปใช้ได้ต้องมี
มติคณะรัฐมนตรี และจะถูกนาส่งมาลงมายังกระทรวงต่างๆ งานของเราตอนนี้คือต้องนาข้อมูล
เหล่านี้ไปบอกต่อให้ชาวบ้านได้รับรู้ว่าพื้นที่ของเขากาลังถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเสียแล้ว
พี่น้องประชาชนในพื้นที่ยัง ไม่ค่อยตื่นตัว และมีปัญหาในพื้นที่ด้วย
ในส่วนพื้นที่อื่นของจังหวัดชลบุรี พบว่า มีปัญหาสาคัญเรื่องปัญหาที่ดิน เช่น ต.พวงทอง
อ.บ่อทองและมีการนาเสนอกับหน่วยงานไปบ้างแล้ว ปัญหาที่สองคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น บ่อ
ขยะ อ.บ่อทอง โรงงานอุตสาหกรรม อ.เกาะจันทร์ ปัญหาที่สามคือ ปัญหาการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน ประเด็น 3 ประเด็นดังกล่าว ถือเป็นประเด็นหลักของภาคได้
 จันทบุรี การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กตอนนี้เสร็จสิ้นแล้ว
กระบวนการอยู่ระหว่างการนาผลการศึกษาเข้า ครม. แต่ตอนนี้ยังนิ่งๆอยู่ จากการจับสถานการณ์
ความเคลื่อนไหวในจังหวัด พบว่า โครงการบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดจันทบุรี ที่มีการผันน้าและ
สร้างอ่างเก็บน้าเพื่อป้องกันปัญหาน้าท่วมนั้น มีความเชื่อมโยงกับนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก
เนื่องจากโมเดลการศึกษานั้นใช้น้าจากอ่างเก็บน้าดังกล่าว ซึ่งในการทาประชาพิจารณ์โครงการ
บรรเทาอุทกภัยฯที่ผ่านมา บอกว่าจะมีการนาน้าดังกล่าวมาให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้ใช้ แต่
หากมีนิคมฯจริง ชาวสวนจะถูกแย่งน้าอย่างแน่นอน
 ระยอง พื้นที่วังจันทร์ นิคมอุตสาหกรรม IRPC ที่วังจันทร์ อยู่บริเวณแนวเทือกเขาที่เป็นเขตต้น
น้า ที่ผ่านมาทางบริษัทมีการลงพื้นที่ประชาพิจารณ์แต่ไม่ผ่าน ซึ่งถือว่าเป็นการมาทาตามขั้นตอน
ของกฏหมาย ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้รับฟังชาวบ้านแต่ให้ชาวบ้านไปนั่งฟัง ขณะนี้ทางโรงงานฯ
พยายามลดกระแสโดยให้เหตุผลว่าจะทาเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปผลการเกษตร และพยายามรุก
ไปในพื้นที่โรงเรียนและวัด สร้างสิ่งก่อสร้างให้ ทาให้คนในพื้นที่รัก ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่บ้าน
ค่าย ผ่านการประชาพิจารณ์รอบแรกไปแล้ว ที่ผ่านมามีการปรับพื้นที่ ปลูกทุ่งทานตะวัน พยายาม
พัฒนาให้เป็นที่ท่องเที่ยว ชาวบ้านไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนคิดว่าทาที่ท่องเที่ยว เลยผ่านประชา
พิจารณ์ไป ในอนาคตเราควรให้ความสาคัญกับการทาข้อมูลในระดับพื้นที่ และควรมีหลายภาค
ส่วนที่ลงแรงไปช่วย พร้อมทั้งกระจายข้อมูลออกสู่ภายนอก ปลวกแดง อยู่ในช่วงของภาวะอึมครึม
เพราะพื้นที่ประมาณ 5 หมื่นไร่เป็นเขตอุตสาหกรรมไปแล้ว รวมจุดคาบเกี่ยวบริเวณพื้นที่ชลบุรี
ด้วย ซึ่งอยู่บริเวณต้นน้าอ่างเก็บน้าหนองปลาไหลและอ่างเก็บน้าดอกกลาย สิ่งสาคัญวันนี้ต้องมอง
เรื่องการป้องกัน ไม่ให้เป็นอย่างมาบตาพุด
 ฉะเชิงเทรา ที่เขาหินซ้อนโรงไฟฟ้าผ่านแล้ว เพราะชาวบ้านถูกตั้งคาถามว่าจะตายวันนี้หรือจะ
ตายผ่อนส่ง ชาวบ้านเลยยอมเอาด้วยกับโรงงานเพราะยังไม่อยากตายวันนี้ การขับเคลื่อนในพื้นที่
ค่อนข้างยาก การสร้างความร่วมมือกับพื้นที่รอบข้างก็ยากเช่นกัน หวังพึ่งใครไม่ได้เช่นกัน วันนี้
ประชาชนรู้สึกถึงความยากลาบากในการขับเคลื่อน
 ตราด โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีการนาคนมาเก็บข้อมูลผู้ที่ไม่เห็นด้วยในพื้นที่ มีการทาแบบสอบถาม
สารวจความคิดเห็น ขณะนี้มีแกนนาหลายคนที่เห็นด้วยกับกลุ่มนิวเคลียร์ และการขับเคลื่อน
ลาบากมาก เนื่องจากชาวบ้านแตกแยกเป็น 2 กลุ่ม มีการตัดกาลังกันเองในพื้นที่ที่มีรากมาจาก
เรื่องการเมืองท้องถิ่น
 ปราจีนบุรี มีความเคลื่อนไหวของประชาชนต่อต้านโรงไฟฟ้าชีว ะมวล ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชน
บางแห่ง ใช้ เชื้อเพลิงจาก ถ่านหินอยู่รอบจังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ที่
กาลังจะเกิดขึ้นที่ ต. เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา อีกทั้ง มีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง
ในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีมลภาวะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่บ่อยๆ มีการรวมกลุ่มกันจับตาม
เฝ้าระวังอยู่ พื้นที่ทาการเกษตรบริเวณรอยต่อปราจีนบุรีและสระแก้วส่วนใหญ่กว่าแสนไร่ เป็นของ
บริษัทเอกชน ประชาชนกาลังวิตกว่า หากมีการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว อาจจะต่อสู้ได้
ยาก เขตอุตสาหกรรม 304 เองก็กาลัง มีปัญหามลพิษ ด้านอากาศมาก โรงงานหลายแห่งมี การ
ปล่อยน้าเสีย ที่แงว่าบาบัดแล้ว ลงคลอง ซึ่งเป็นต้นน้าของแม่น้าบางปะกง โดยการวางท่อน้าทิ้งไป
แหล่งน้าโดยตรง ทาให้ประชาชนและชุมชนใช้น้าไม่ได้ดังเดิม
 สระแก้ว เป็นเมืองชายแดน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอนน้าท่วมไม่ถึง ปัจจุบันได้รับความสนใจจาก
นายทุน โดยการเช่าที่ป่าเสื่อมโทรมปลูกยูคาลิปตัส บริเวณอาเภอเขาฉกรรจ์-วังน้าเย็น ต่อถึง
อาเภอท่าตะเกียบสนามชัยเขต ของจังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ยังมี การปลูก ปาล์ม น้ามันและ
ยางพาราในพื้นที่จังหวัดสระแก้วโดยกลุ่มทุนเพิ่มขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวทาให้ จังหวัดสระแก้ว
สูญเสียพื้นที่ผลิตอาหารลง และนับวันยิ่งมากขึ้น

ข้อเสนอทางออกของสถานการณ์นี้
จากสภาพดังกล่าว ได้มีการจัดประชุม วิเคราะห์ สถานการณ์เหล่านี้มา 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23
ธันวาคม พ.ศ. 2553 และ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมเห็น ว่าต้องการให้เหตุการณ์
เหล่านี้ ได้รับการผลักดันแก้ไข มิใช่ปล่อยให้เป็นไปตามยะถากรรม วันนี้ คนภาคตะวันออกควร จะลุก
ขึ้นมาเรียนรู้และหาทางสู้ปัญหาร่วมกัน ระบบทุนครอบโลกได้เข้ามากระทากับท้องถิ่น โดยอาศัยกลไกทุน
กลไกรัฐ และกลไกผลประโยชน์และอานาจ วันนี้ คน 5 ล้านคนในตะวันออก จะอยู่ร่วมกันอย่างไร
ข้อคิดเห็นจากเวที
1. คนภาคตะวันออกต้องตอบโจทย์ก่อนว่าเราจะเดินงานร่วมกันหรือไม่ ต้องมีการจัดการความรู้ ต้องมี
การรวมพลังกัน และอยากให้มีความชัดเจนในวันนี้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องทางานเป็นระดับภาค เรา
ต้องประกอบกาลังกันทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ ต้องมีการทางานเคลื่อนไหวภาคประชาชนอย่าง
ต่อเนื่อง บทบาทการต่อสู้เราแยกส่วนจะไม่มีพลัง ต้องเลิกการทางานแบบตัวใครตัวมัน
2. ต้องมองหาศัตรูที่แท้จริงของเราคือใคร กิเลศ บวกอานาจ และทุน คือศัตรูของเรา
3. ควรยืนยันเจตนาของพี่น้องคนไทยด้วยการคัดค้านการครอบครองฐานทรัพยากรไปสู่การครอบงาทาง
เศรษฐกิจผ่านระบบการส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นให้ชาวบ้านหวงแหนทรัพยากรเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วย
ดึงชาวบ้านให้มองทางเดียวกับเราได้ วันนี้เราต้องแย่งชิงทรัพยากรกัน โดยเฉพาะน้า
4. ต้องมีแผนการมียุทธศาสตร์ที่เป็นระบบ ให้เราก้าวเดินได้ 1 2 3 เพื่อต่อสู้ในระยะยาว เรามีเครือข่าย
อยู่แล้วควรทาให้มีความรู้เท่าทันกันเต็มพื้นที่ซึ่งเป็นการต่อสู้อย่างมั่นคง ระดับภาคจะต้องทา
ยุทธศาสตร์เรื่องการจัดตั้งและเชื่อมโยงคนให้ได้ ให้พบเจอกันประจา มีการประชุมสัญจร มีการ
ขับเคลื่อนทั้งระดับภาค, จังหวัด และตาบล และมีการยกระดับตัวอย่างความสาเร็จ ทั้งมีการจัดเวทีใน
พื้นที่ปัญหา
5. บางตาบลยังไม่มีข้อมูลสถานการณ์ จึงยังไม่มีความรู้สึกร่วม ควรหาเป้าหมายการทางานร่วมกันของ
ตะวันออกให้ชัดเจน ถ้าต้องการชื่อคัดค้านก็ไม่ใช่เรื่องยาก เสนอจัดเวทีใหญ่ในพื้นที่ ปลุกคนให้เกิด
การรับรู้ และประกาศว่าเพื่อนตะวันออกจะมาลงพื้นที่ และเสนอว่าเพื่อนตะวันออกต้องยกระดับ
ความคิดการต่อสู้ เชิญแกนนามาพูดคุยกันแล้วหาข้อสรุป ยกทีมไปที่พื้นที่
6. เราต้องใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนา ควรจะร่วมกันขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจอย่างเป็น
รูปธรรมและเอาจริงเอาจัง วันนี้เราต้องมองภาพใหญ่ของทั้งภาค ศัตรู คือ ทุนนิยม ที่เราจะต้องยก
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขึ้นสู้ ซึ่งหลากหลายตามแต่พื้นที่ คนวงในต้องทาความเข้าใจ
เศรษฐกิจพอเพียงให้ตรงกัน
7. ชู 3 เรื่อง เดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการตนเองของชุมชนในเรื่องที่ดินตนเอง
และการต่อสู้กับวิกฤตโลกร้อน ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงใหญ่ แต่ต้องโยงเข้าไปกับ
สถานการณ์โลกร้อนที่องค์กรใหญ่ๆกาลังขับเคลื่อนอยู่ ที่เราต้องทาคือ ต้องหาโมเดลการจัดการที่ดิน
รูปแบบใหม่ ทาให้เห็นเป็นตัวอย่าง ผลักดันให้เป็นนโยบายของจังหวัด และจับมือกับจังหวัดอื่นๆมา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์กัน และการเดินสายการทางานระหว่างจังหวัดจะช่วยกดดันรัฐ
8. ทาความเข้าใจให้ชัดเจนว่าเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลต่อคนเมืองคืออาหารปลอดภัย ส่งผลให้ชาวบ้าน
คือแก้หนี้ แก้ความยากจน, ท้องถิ่นจัดการตนเอง, ธุรกิจ-ปรับตัวเข้าสู่กับสภาพโลกร้อน
9. ประชาชนเราสู้ได้ถ้ามีอุดมการณ์
10. ตอนนี้เราอยู่ในประเด็นร้อน เราต้องหยุดให้ได้ก่อน ในพื้นที่เราต้องการกาลังเพื่อสกัดให้ได้
11. ต้องทาให้คนในชุมชนรู้จักตัวเอง ชุมชนตัวเองให้มากขึ้น โดยกลับไปจัดทาข้อมูลของภาค มีการ
ออกแบบเพื่อลงไปเก็บ เราต้องมีข้อมูลเพื่อนาไปคุยกับภาครัฐ มีหน่วยงานที่พร้อมส่งเสริมการจัดทา
ข้อมูลสารสนเทศน้าเพื่อการเกษตร ซึ่งมีหลักสูตร ๔ วัน แต่ละตาบลควรจะมีการทาแผนที่ทามือ จะ
ได้ฝึกคนให้รู้จักตนเองว่ามีอะไรอยู่ ต้องค้นหาคนในพื้นที่
12. จัดทัพภาคตะวันออก ครั้งนี้แพ้ไม่ได้แล้ว ขอให้นาเรื่องราวเข้าสู่ขบวนองค์กรชุมชนกัน
13. ควรช่วยกันกลับไปไปดูแผนขององค์กรชุมชนแต่ละจังหวัดว่า ตรงสถานการณ์ปัญหาไหม หรือมีการ
ตอบโจทย์เรื่องนี้ขนาดไหน และ ควรบรรจุไว้ในแผนปี 2554 ที่กาลังทากันอยู่นี้
14. ต้องมีการนาเสนอให้เป็นข่าว และสร้างให้ทุกคนราลึกถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และควรมีชุด
ปฏิบัติการ มีคนทางาน
15. ชาวบ้านอยู่ในความกลัวไม่กล้าเผชิญหน้ากับผู้นาท้องถิ่น แต่พร้อมเซ็นชื่อคัดค้าน เสนอขอให้ประชา
สังคมในพื้นที่จังหวัดอื่นๆช่วยลงชื่อคัดค้านให้ด้วยแล้วส่งกลับมา ส่วนเรื่องอื่นๆขอให้ช่วยกันคิดด้วย
16. ต้องสร้างความมั่นใจ และยื่นหนังสือเรียกร้องเรื่องสิทธิชุมชน และใช้เวลาอย่างรวดเร็ว จากนั้นสร้าง
กระบวนการความรู้ จัดเวทีใหญ่ แต่ก่อนเวทีใหญ่ต้องมีการสร้างจุดยืนร่วมกัน
17. น่าจะมีการเจรจาระหว่างอมตะนครกับมวลชนในพื้นที่และเชิญเพื่อนตะวันออกไปด้วย
18. ควรประชาสัมพันธ์ด้วยแผ่นพับ เป็นเรื่องที่ต้องทา ให้คนในพื้นที่ได้รับรู้
19. วันที่ 18 มกราคมนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะมาให้การศึกษาเรื่องสิทธิชุมชนในกรณีอมตะนคร 2
20. ตอนนี้เราไม่มีทุนในการขับเคลื่อน ต้องระดมทุน ตัวอย่างทางจันทบุรีทาเสื้อขาย หาทางบอกต่อเรื่อง
การต่อสู้ระหว่างเกษตรกรกับอุตสาหกรรม สถานการณ์ต้องประเมินวันต่อวัน เพราะไม่มีความ
ปลอดภัยเลย ไม่มีคนในชุมชนขึ้นมาเดินร่วม อยากขอให้ช่วยฟังข่าวว่าข้างนอกเดินอย่างไรกัน
องค์กรที่มีทุนช่วยจัดประชุมทุก 2 เดือนได้หรือไม่ เพื่อบอกข่าวอย่างต่อเนื่อง
21. ควรมีการนัดหมายเพื่อวางแผนการเคลื่อนงานให้ชัดเจน ( road map) เสนอขอให้มีคณะทางานคณะ
หนึ่ง นัดหมายพูดคุยกันและทาการบ้านมานาเสนอร่วมกัน

แนวคิดนโยบายการขับเคลื่อน
วันนี้เราถูกเบียดเบียนจากภายนอก เราไม่รู้มาก่อน พี่น้องไม่มีโอกาสสนใจเรียนรู้ มวลชนเป็น
โอกาสเดียวที่จะต่อสู้ได้บ้าง โลกใบนี้ถูกเปลี่ยนให้เป็นโลกของการค้าและการลงทุนทุกประเทศ รัฐมีอานาจ
อยู่ใต้ทุน เราจะต้องใช้กติกาที่เรามีมาต่อสู้ ศัตรูของเราเป็นระบบทุนนิยมทั้งโลกที่ใช้เงินซื้อทุกอย่าง เมื่อ
ทุนนิยมเป็นกลไกของโลก เราต้องใช้เครื่องมือการต่อสู้ที่มองเรื่องการพึ่งตนเอง
อุตสาหกรรมมีอานาจทุนและอานาจรัฐ มีสิทธิในการกาหนดการใช้ประโยชน์เรื่องที่ดิน น้า ดังนั้นภาค
ประชาชนต้องมีปรัชญาสาคัญและสร้างแนวคิดในการต่อสู้ กล่าวคือ
1. ยุทธศาสตร์ต้องคมชัดว่าเราจะทาอะไร และควรมีเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ส่วนยุทธวิธีมีหลากหลาย
และสามารถปรับเปลี่ยนได้เสมอ
2. วันนี้กลไก/เครื่องมือของรัฐในประเทศของเราที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะยุติกระบวนการ
ทุนนิยมโลกที่แผ่ลงมาในประเทศเราได้ จะยุติได้ก็คือสร้างวิธีคานอานาจจากภายนอกประเทศด้วย
โดยอาจใช้แนวร่วมมุมกลับ
3. เคลื่อนพร้อมกันทุกพื้นที่ ทุกสถานการณ์ในพื้นที่สามารถเชื่อมโยงได้ เชื่อมร้อยได้ และ
สถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น เราต้องมีการถอดบทเรียนเพื่อการตั้งรับ และมองทิศทาง
อนาคตร่วมกัน
4. การสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในและนอกพื้นที่ ทุกคนต้องเป็นเจ้าภาพที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน ไม่ใช่
เป็นแค่เพียงแขกผู้มาเข้าร่วมเท่านั้น

ประเมินกาลังภาคประชาชน
 วันนี้เราขาดใครไม่ได้ซักคน ไม่ว่าจะเป็นพระ ทหาร ฯลฯ เราจะทาปึกแผ่นให้เดินไปข้างหน้าอย่าง
มีพลังได้อย่างไร มีใครอยู่ตรงไหนอยู่บ้าง
 มองว่า สภาองค์กรชุมชนมีอยู่เฉลี่ยประมาณ 20 ตาบลต่อจังหวัด เราควรจะใช้เครื่องมือนี้เป็น
ใบเบิกทาง แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อน เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้จริง
 ในส่วนเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน
เครือข่ายเกษตรสมดุล เครือข่ายพหุภาคีภาคอีสาน และเครือข่ายธนาคารต้นไม้ ยินดีให้การ
สนับสนุน เพราะทางานเป็นเครือข่ายที่จะช่วยหยุดยั้งการขายที่ดินของเกษตรกรซึ่งมีเป้าหมายที่
ตรงกันอยู่
 วันนี้ขอเสนอว่า ควรปรับโครงสร้างของงาน กาหนดงานที่จะทา และนัดหมายมาพูดคุย จากนั้น
กลับไปทางานแล้วกลับมานาเสนอข้อมูลกัน

เป้าหมายเฉพาะหน้าและงานเชิงรุกเร่งด่วน
ในการขับเคลื่อนงานครั้งนี้ ควรได้สรุปบทเรียนการทางานของภาคตะวันออก รวมทั้งเรียนรู้บทเรียน
การทางานของส่วนงานอื่นมาประกอบ เพื่อจะไม่ต้องเดินซ้ารอยความผิดพลาด และโดยเฉพาะหน้านี้
ขอเสนอให้มีการดาเนินการ 2 เรื่อง
1. ค้นหาภาพฝันของคนตะวันออกเพื่อพัฒนาเป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาค
ตะวันออกโดยประชาชน มีการรวบรวมความเห็นร่วมกันจากประชาชนทุกกลุ่ม
2. มีการทาระบบข้อมูล นาข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาหลอมรวม และรวบรวมเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องการ
วิธีการอาจใช้เทคนิคการวิเคราะห์พื้นที่อย่างรวดเร็ว
ทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อน
 มีคณะทางาน/กลไกการขับเคลื่อน จัดตั้งองค์กรขับเคลื่อนที่ชัดเจน
 จัดทาข้อมูลรวม วิเคราะห์ข้อมูล และกระจายข้อมูลออกไปเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของชาวบ้าน /มีองค์
ความรู้ /จัดทาข้อมูลจากพื้นที่และสื่อสารข้อมูลถึงกัน เครื่องมือทางานในพื้นที่ เช่น บันทึกการเฝ้า
ระวัง (คู่มือการเก็บข้อมูล) /เวทีเล็กๆตามหมู่บ้าน สร้างความรู้ให้กับคนในพื้นที่
 การทาแผนที่สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยพื้นที่ควรส่งข้อมูลมาให้ตรงกลางด้วย เช่น แผนที่
รูปถ่าย เนื้อหาสถานการณ์ เป็นต้น
 พัฒนาให้เป็นประเด็นสาธารณะแล้วขับเคลื่อนร่วมกันในระดับภาค เป็นประเด็นที่เป็นจุดคานงัดทา
เรื่องเดียวกระทบทั้ง 8 จังหวัด (ผลักดันให้เป็นนโยบาย) เช่น การกาหนดเขตการใช้ประโยชน์แต่ละ
พื้นที่ให้ชัดเจน
 สร้างสื่อเผยแพร่ให้เกิดเป็นกระแสของสังคม นาเสนอข้อมูลความจริงสถานการณ์โลก ลงไปกระจาย
ให้ประชาชนรับรู้ในระดับพื้นที่ และร่วมมือกับสื่อกว้างต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว นักข่าว
พลเมือง ข่าวสามมิติ รวมถึงสื่อสังคม
 มีเวทีระดับภาค เพื่อเติมความรู้/เวทีแลกเปลี่ยนโดยมีคนกลางเชื่อมทั้งเขาและเรามาแลกเปลี่ยนกัน/
เวทีระดับภาคมหกรรมของคนตะวันออก
 สร้างกิจกรรมเคลื่อนไหวในชุมชน เช่น ในวัด เพื่อสร้างจิตสานึกรักหวงแหนแผ่นดิน
 ชักชวนเครือข่ายพี่น้อง อื่นๆ เช่น สัจจะฯ เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ เข้าร่วมขบวนการ
 การสร้างมวลชนในพื้นที่ ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยๆ/พัฒนาเป็นเครือข่าย
 จัดทาทาเนียบกลุ่มแกนนา/ผู้ร่วมเวที
 สร้างโรงเรียนการเมืองเพื่อสร้างนักปฏิบัติการ สร้างคนรุ่นใหม่ จากชุดความรู้ที่ผ่านมา
 การใช้เรื่องเย็นประทะเรื่องร้อน เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
 ขับเคลื่อนเรื่องนิติรัฐ กฎหมาย โดยมีการศึกษาช่องทางกฎหมายทั้งระบบ

กลไกการขับเคลื่อน
5. มีทีมทีมต่างๆ คือ
1) ทีมทาข้อมูล ทาสื่อ เผยแพร่ให้ทั่วถึง ให้รู้สึก ระบบข้อมูล/สื่อ ผู้สนใจเข้าร่วม คือ คุณอัสนี
คุณกัญจน์ คุณอุนาโลม น้องโดม อ.ทัศวี สื่อการเมืองภาคพลเมือง จ.ชลบุรี
2) ทีมการขับเคลื่อน
2.1 ขับเคลื่อนเชิงนโยบายนโยบาย/ต่างประเทศ/แผนร่วม ผู้สนใจเข้าร่วม คือ คุณธีระ/หมอ
สุมล/คุณสมลักษณ์/คุณจารูญ คุณสมสิทธิ์
2.2 การหาแนวร่วมจากต่างประเทศ
2.3 เชื่อมความสัมพันธ์กับองค์กรใหม่ๆในพื้นที่ ที่จะสนับสนุนคน กฎหมาย นักวิชาการ
และเงิน เราควรจะใช้เครื่องมือของเราในพื้นที่ ทั้ง สภาองค์กรชุมชน องค์กรอื่นๆ เมื่อ
สถานการณ์ที่จะไปข้างหน้ายากขึ้น เราจะเริ่มจับมือจากจุดเล็กๆกันอย่างไร
3) ทีมกฎหมาย ศึกษาข้อมูลเชิงกฎหมาย ยื่นฟ้องหยุด ชะลอ เพื่อ ใช้มาตรการ กฎหมาย
คุ้มครอง ปรองดอง นิติรัฐ ผู้สนใจเข้าร่วม คือ คุณวิรัตน์ คุณสรายุทธ คุณสมลักษณ์ คุณมโน-
เพชรบูรณ์
4) ทีมงานจัดตั้งมวลชน จัดตั้งความคิด ผู้สนใจเข้าร่วม คือ คุณเจษฏา/คุณวิทยา/คุณระตะนะ/
คุณวิจารณ์/คุณสมสิทธิ์ มีหน้าที่จัดตั้ง จัดตั้งความคิดว่าเรามีเป้าหมายอยู่ที่เกษตรกรรม
ท่องเที่ยว ในเกิดอุดมการณ์/จัดตั้งองค์กรที่ชัดเจน สร้างความภาคภูมิใจ/จัดตั้งแนวร่วมจาก
พื้นที่อื่นๆ ภาคอื่นๆ มาช่วยสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ เทคโนโลยี งานวิชาการ หรือ
กาลังใจ เป็นต้น
5) ทีมกองเลขานุการ ทาหน้าที่ประสานงาน/เชื่อมโยง สร้างความต่อเนื่อง โดยใช้ทีมนักพัฒนา
รุ่นใหม่ของเครือข่ายเพื่อนตะวันออก

ปฏิทินงานและการนัดหมายสาคัญๆในระยะนี้
 วันที่ 9 ม.ค. 54 เวทีรับฟังความคิดเห็น หน้า อบต.ท่าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี
 วันที่ 18 ม.ค. 54 เวทีคณะกรรมการสิทธิฯ อมตะนคร /ลงพื้นที่สถานที่ อาเภอพานทอง จ.ชลบุรี
 วันที่ 19 ม.ค. 54 นัดหมายพูดคุยข้อมูลสถานการณ์ภาคตะวันออกเบื้องต้น สถานที่
 วันที่ 22-23 ม.ค. 54 การฝึกอบรม HIA ภาคประชาชน

หมายเหตุ
อ้างอิงข้อมูลในการเขียนจาก เวที 2 ครั้ง
1. เวที จากอมตะนคร2 สู่สถานการณ์ภาคตะวันออก (จะมีอะไรกันนักกันหนา) วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ม.บูรพา
2. เวที เราจะปกป้องคุ้มครองพื้นที่ภาคตะวันออกกันอย่างไร วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 ศูนย์กสิกรรมฯมาบเอื้อง

You might also like