Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 35

รายงาน

เรื่อง สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์

เสนอ
อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย

จัดทาโดย
นายพชระ มณีผล รหัสนักศึกษา 537190055
นางสาวจีระนันท์ ผันผาย รหัสนักศึกษา 537190065
นางสาวณัฐธิดา ทองเภา รหัสนักศึกษา 537190067
นางสาวนงลักษณ์ ศรีวิสุทธินันท์ รหัสนักศึกษา 537190072
นางสาวปนัดดา วงศ์ทองดี รหัสนักศึกษา 537190074
นางปัทมา ศิริฤกษ์ รหัสนักศึกษา 537190075
นางศิวิไล โมเล็ก รหัสนักศึกษา 537190082
รุ่นที่ 13 หมู่ 2
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทางการศึกษา รหัสวิชา GD 6108 ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
คานา
รายงานฉบับนี้ได้นาเสนอเกี่ยวกับสื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หรือ โสตทัศนูปกรณ์ ประเภทของสื่อ
อุปกรณ์มี 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง เครื่องฉาย เช่น เครื่อง
ฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายดีวีดี เป็นต้น เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น
เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และเครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น เครื่องเสียง ส่วนประกอบ
ของการขยายเสียงที่สาคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยาย
เสียง และภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลาโพง เป็นต้น โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ครูผู้สอน ในการการจัด
การศึกษาดังกล่าวไปใช้กับผู้เรียนต่อไป

คณะผู้จัดทา
สารบัญ
หน้า
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ 1
ประเภทของสื่ออุปกรณ์ 1
เครื่องฉาย 1
ส่วนประกอบของเครื่องฉาย 1
หลอดฉาย 1
แผ่นสะท้อนแสง 2
เลนส์ 2
จอ 2
หลักการของเครื่องฉาย 4
ตัวอย่างเครื่องฉาย 7
เครื่องฉายสไลด์ 7
เครื่องฉายข้ามศีรษะ 10
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ 13
เครื่องวิชวลไลเซอร์ 13
เครื่องเล่นวีซีดี 14
เครื่องเล่นดีวีดี 15
เครื่องวิดีโอโพรเจ๊กเตอร์ 16
เครื่องเสียง 19
ระบบขยายเสียง 19
องค์ประกอบของระบบขยายเสียง 19
ภาคสัญญาณเข้า 20
ไมโครโฟน 20
ภาคขยายสัญญาณ 26
เครือ่ งขยายเสียง 27
ภาคสัญญาณออก 29
ลาโพง 30
บทสรุป 31
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio – visual equipments ) มีหน้าที่หลัก คือ
การฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรูและเรียนรู้ได้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้าหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อ
พ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง ผสมผสานกับความก้าวหน้าของสื่อวัสดุที่มีศักยภาพในการบรรจุเนื้อหาข้อมูลได้
อย่างวิจิตรพิสดาร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอานวยความสะดวกในการรับรู้ของมนุษย์
ดังนั้นการนาอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดย
ครูผู้สอนสามารถศึกษาหลักการและวิธีการใช้ได้ไม่ยากนัก

ประเภทของสื่ออุปกรณ์ สื่ออุปกรณ์จาแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. เครื่องฉาย ( Projectors )
2. เครือ่ งอุปกรณ์แปลงสัญญาณ ( Connected Equipment )
3. เครือ่ งเสียง ( Amplifiers )

เครื่องฉาย ( Projectors )

เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทาให้ผู้ เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจาก


จอรับภาพ กระคุ้นความสนใจได้ดี เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษาปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ
เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายสไลด์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ
เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นต้น

ส่วนประกอบของเครื่องฉาย

1. หลอดฉาย (Projector Bulbs) เป็นสิ่งจาเป็นต้องมีในเครื่องฉายทุกชนิด ทาหน้าที่กาหนด


แสงสว่าง เพื่อให้เกิดภาพที่จอ หลอดฉายของเครื่องฉายแต่ละประเภทมักมีกาลังส่องสว่างสูง บางเครื่องอาจมี
กาลังส่องสว่างถึง 1,000 วัตต์ และจะมีความร้อนสูงขณะใช้งาน ในเครื่องฉายแต่ละเครื่องจึงต้องมีพัดลมระบาย
ความร้อนของหลอดฉาย เพื่อช่วยให้หลอดฉายมีอายุการใช้งานได้นาน
2. แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) หรือ กระจกสะท้อนแสง ทาหน้าที่สะท้อนแสงจากหลอดฉาย
ให้พุ่งตรงไปทิศทางเดียว แผ่นสะท้อนแสงจะฉาบด้วยเงิน ถ้าฝุ่นจับหรือสกปรกจะสะท้อนแสงได้ไม่ดี กาลังส่อง
สว่างจะลดลง ควรใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดระวังไม่ให้มีรอยขีดข่วน
3. เลนส์รวมแสง (Condenser lens) หรือเลนส์ควบคุมแสง ทาหน้าที่รวมแสงให้มีความเข้มมาก
ขึ้นและเกลี่ยแสงให้กระจายทั่วบริเวณภาพที่ฉาย เพื่อให้ภาพบนจอมีความชัดเจนเท่ากันทุกจุด เลนซ์รวมแสงมี
ลักษณะเป็นเลนส์นูนครึ่งซีกประกอบกัน หรือแยกส่วนตามลักษณะของเครื่องฉายแต่แต่ละชนิด
4. เลนส์ฉาย (Objective lens) เลนส์ฉายเป็นส่วนสาคัญที่สุดในเครื่องฉาย ภาพจะคมชัดเจน
เพี้ยน ขยายโตขึ้น หรือไม่ขึ้นอยู่กับเลนซ์นี้ ซึ่งเป็นตัวปรับภาพที่ปรากฏบนจอเครื่องฉายภาพแต่ละเครื่องจะใส่
เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ เลนส์ที่มีคุณภาพดีจะเคลือบสารเคมีไว้เพื่อป้องกัน
แสงสะท้อน ผิวหน้าของเลนซ์จะต้องระวังไม่ให้มีฝุ่น คราบสกปรกและรอยนิ้วมือ โดยต้องปิดฝาครอบเลนส์อยู่
เสมอเมื่อไม่ใช้งาน
5.จอรับภาพ (Screen) เป็นจอหรือฉากสาหรับรับภาพที่ฉายมาจากเครื่อง ให้เห็นได้อย่างชัดเจน
โดยปกติจะเป็นจอที่มีพื้นผิวเคลือบด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี แต่หากไม่สามารถหาได้จริงก็
อาจใช้ผนังห้องสีขาวเป็นจอรับภาพแทนได้
ประเภทของจอฉาย แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. จอแก้ว (Beaded Screen) เป็นจอที่มีผิวขาว จอชนิดนี้เป็นจอที่มีการสะท้อนดีมาก แต่มุมตกกระทบแคบ
มุมสะท้อนชัดเจนเพียง 20 องศา ฉะนั้น จึงเหมาะสาหรับใช้กับห้องที่แคบแต่ยาว
2. จอเกลี้ยง (Matte Screen) มีพื้นผิวทึบ ขาวบริสทุ ธิ์ ไม่มันมาก สะท้อนแสงได้ดีไม่เท่าจอแก้ว แต่มุม
สะท้อนกว้างกว่า เหมาะจะใช้ในห้องกว้างยาวหรือมีผู้ดูกระจัดกระจาย
3. จอเงิน (Silver Screen) เป็นจอที่มีใช้มานานแล้ว ปัจจุบันมีผู้คิดออกแบบโดยใช้วัสดุพลาสติกเข้าช่วยหรือ
ใช้แผ่นอลูมิเนียมบางประกอบ ปัจจุบันใช้ฉายภาพยนตร์ประเภท 3 มิติ หรือภาพยนตร์สโคป (Scope) ต่าง ๆ
มักใช้ในโรงภาพยนตร์ใหญ่
การติดตั้งจอ
การตั้งจอที่ดีต้องตั้งให้พื้นผิวของจอทามุมฉากกับลาแสงที่ฉายจากเครื่องฉาย เพื่อป้องกันการบิด
เบี้ยวของภาพ (Distortion) การติดตั้งจอที่ใช้ฉายในห้องเรียนเพื่อสะดวกอาจจะตั้งไว้หน้าชั้นเรียน โดยใช้จอที่มี
ระบบม้วนเก็บเองโดยอัตโนมัติ เมื่อจะใช้ก็ดึงลงมา และปล่อยขึ้นจอจะม้วนเก็บเอง
นอกจากนี้ ในห้องเรียนควรติดตั้งจอให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพจากการฉายได้ ทั่วทุกคน และควรจัดที่
นั่งให้สมดุลกับมุมสะท้อนแสงของจอด้วย
การจัดที่นั่งผู้ดูจะต้องคานึงถึงขนาดของจอ โดยให้ผู้นั่งแถวหน้าห่างจากจอไม่น้อยกว่า 2 เท่าความกว้าง
ของจอ เช่น ถ้าจอกว้าง 40 ฟุต ผู้ดูแถวหน้าต้องนั่งห่างจากจอ 80 ฟุต เป็นอย่างน้อย และผู้ดูแถวหลังสุดต้องห่างจอ
ไม่เกิน 6 เท่าของความกว้างของจอ ถ้าจอกว้าง 30 ฟุต แถวหลังสุดควรห่างจากจอไม่เกิน 180 ฟุต
หลักการของเครื่องฉาย

เครื่องฉายต่างๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ สไลด์ ฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง และเครื่องฉายภาพ


ข้ามศีรษะ มีทฤษฎีในการฉายภาพให้มีขนาดขยายไปปรากฎบนจอเป็นภาพขนาดใหญ่พอที่ผู้ชมจานวนมาก
สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทุกคน มีหลักการทางานแบ่งออกเป็นระบบได้ 3 ระบบดังนี้

1.ระบบฉายตรง (Direct Projection) เป็นการฉายโดยให้แสงผ่านทะลุวัสดุฉายและเลนส์ฉายไปยัง


จอภาพในแนวเส้นตรง การใส่วัสดุต้องใส่ไว้หลังเลนส์ฉายในลักษณะตั้งฉากกับพื้น เหมือนกับภาพที่ปรากฏบน
จอรับภาพ เนื่องจากเลนส์จะกลับภาพภาพที่ฉายออกไปเป็นด้านตรงข้าม ด้วยเหตุนี้จึงต้องใส่วัสดุฉายในลักษณะหัว
กลับเสมอ

2. ระบบฉายทางอ้อม (Indirect projection) เป็นการฉายโดยให้แสงจากหลอดฉายผ่านขึ้นไปยัง


เลนส์ฉาย โดยมีการหักเหของลาแสงผ่านวัสดุฉายไปยังจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายอ้อมคือ ต้องวาง
วัสดุฉายในแนวระนาบบนแท่นเครื่องฉาย โดยหันด้านหน้าขึ้นบนและริมล่างเข้าหาจอ
3. ระบบสะท้อน (Replicated projection) เป็นการฉายโดยให้หลอดฉายส่องตรงมายังวัสดุฉาย
ก่อนแล้วจึงสะท้อนไปยังกระจกเงา ที่อยู่ด้านบนสุดของเครื่องสะท้อนแสงผ่านไปยังเลนส์ฉาย และส่องแสงปรากฏ
เป็นภาพบนจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายสะท้อนคือ ต้องวางวัสดุฉายตามลักษณะที่เป็นจริงในแนว
ระนาบบนแท่นวางของเครื่องฉาย

ภาพจาก สานักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข้อควรจาในเรื่องทฤษฎีเครื่องฉาย

1. การใส่ภาพในเครื่องฉายทุกประเภท ต้องใส่ภาพหัวกลับ

เครื่องฉายสไลด์
2. หลอดฉายในเครื่องฉายทั่ว ๆ ไป มีกาลังส่องสว่างตั้งแต่ 300 – 1,000 แรงเทียน หรือมีความร้อน
เท่ากับหลอดไฟฟ้าขนาด 100 แรงเทียน 3 – 10 ดวง รวมกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการชารุดของหลอดฉายจะต้อง
เปิดพัดลมระบายความร้อนในขณะใช้งานตลอดเวล า และต้องระบายอากาศจนมั่นใจว่าหลอดฉายเย็นจึงจะปิด
เครื่องฉาย
ตัวอย่างเครื่องฉาย

1. เครื่องฉายสไลด์

เป็นเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสระบบฉายตรง (Direct Projection) ประกอบด้วย แผ่นสะท้อนแสงโค้ง หลอด


ฉายมีกาลังส่องสว่างประมาณ 150-500 วัตต์ แผ่นกรองความร้อน เลนส์รวมแสงกลักใส่สไลด์เลนส์ฉายและพัดลม
ระบายความร้อนดังภาพด้านล่างแสดงส่วนประกอบต่างๆภายในเครื่องฉายสไลด์

เครื่องฉายชนิดนี้สามารถบรรจุสไลด์ได้ครั้งละหลาย ๆ ภาพลงในกล่องหรือถาดใส่สไลด์ ทาให้สะดวก


และรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลในเรื่องบรรจุสไลด์ที่ละภาพ สามารถเปลี่ยนสไลด์ได้โดยการกดปุ่มเปลี่ยนภาพที่เครื่อง
ฉาย หรือควบคุมสไลด์ให้เดินหน้าหรือถอยหลังได้ในระยะไกล ๆ โดยใช้สายต่อจากเครื่องฉายหรือชนิดไม่ต้องใช้
สาย บางเครื่องสามารถตั้งเวลาเพื่อเปลี่ยนสไลด์ได้โดยอัตโนมัติ และบางเครื่องสามารถปรับความชัดได้โดย
อัตโนมัติ
ภาพแสดง ส่วนประกอบต่างๆภายในเครื่องฉายสไลด์

กล่องใส่สไลด์ทใี่ ช้กับเครื่องฉายชนิดนี้มี 2 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะสี่เหลี่ยม เรียกว่า แมกกาซีน (Magazine) มีขนาดกว้างกว่าสไลด์เล็กน้อย ความยาวของกล่อง


สามารถบรรจุสไลด์ได้ประมาณ 30-40 ภาพ เมื่อนาไปบรรจุในเครื่องฉายจะอยู่ในแนวนอนตัวเลขบอกลาดับภาพจะ
อยู่ด้านบน
2. ลักษณะกลมหรือที่เรียกว่าถาดกลม สามารถบรรจุสไลด์ได้ประมาณ 80-140 ภาพ มีทั้งชนิดถาดกลม
แนวนอน เรียกว่า เทค (Tray) และถาดกลมแนวตั้ง เรียกว่า โรตารี่ (Rotary) ดังภาพด้านล่าง

3. ชนิดมีจอและเครื่องเทปในตัว เครื่องชนิดนี้มีเครื่องเทปและจอขนาดประมาร 9" x 9" อยู่ในตัวสามารถ


ฉายสไลด์ให้ปรากฎบนจอนี้พร้อมเสียงที่สัมพันธ์กับภาพได้โดยอัตโนมัติ ดังภาพด้านล่าง
4. ชนิดบันทึกเสียงบนกรอบสไลด์ ซึ่งเรียกว่า เครื่องฉายชนิดซาวน์ออนสไลด์ (Sound on Slide Projector
Recorder) สไลด์ที่ใช้ฉายกับเครื่องชนิดนี้มีกรอบขนาดใหญ่ฉาบด้วยสารแม่เหล็กโดยรอบสาหรับการบันทึกเสียง
คาบรรยายประกอบสไลด์ภาพนั้น เครื่องฉายชนิดนี้ราคาสูง จึงไม่ค่อยนิยมใช้ดังภาพ

การใช้เครื่องฉายสไลด์

ในการใช้เครื่องฉายสไลด์เพื่อให้ได้ผลสมตามความมุ่งหมาย ควรดาเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. บรรจุสไลด์ลงในถาดกลมหรือกล่องสี่เหลี่ยมหรือกลักใส่ฟิล์ม โดยให้ด้านมันหันเข้าหาหลอดฉายและให้
ภาพอยู่ในลักษณะหัวกลับ ด้านที่มันน้อยกว่าหรือด้านหลังสไลด์จะหันเข้าหาจอภาพ
2. นาถาดหรือกล่องหรือกลักที่บรรจุสไลด์เรียบร้อยแล้วใส่หรือวางบนเครื่องฉาย ถ้าเป็นชนิดถาดกลม
แนวนอนให้หมายเลข 0 ที่ถาดใส่สไลด์ตรงกับเครื่องหมายในเครื่องฉาย แต่ถ้าเป็นถาดกลมแนวตั้งให้หมายเลข 1
ที่ถาดใส่สไลด์ตรงกับเครื่องหมายในเครื่องฉาย
3. เสียบปลั๊กไฟจากตัวเครื่องกับแหล่งจ่ายไฟ (บางเครื่องพัดลมจะทางานทันที)
4. ปิดหรือหรี่ไฟในห้องฉาย
5. เปิดสวิตช์พัดลมและสวิตช์หลอดฉาย
6. ปรับความชัดและขนาดของภาพที่ปรากฏบนจอตามต้องการ
7. ปรับระดับสูงต่าของภาพ พึงระวังภาพอาจผิดเพี้ยนเนื่องจากลาแสงจากเครื่องฉายไม่ตั้งฉากกับจอภาพ
8. เปลี่ยนสไลด์ภาพต่อไปตามลาดับ ถ้าเป็นเครื่องฉายชนิดธรรมดา เปลี่ยนภาพโดยดึงกลัก
ใส่สไลด์ออกทางด้านขวาของเครื่อง บรรจุสไลด์ภาพใหม่ลงไปแล้วผลักกลักนี้ไปในเครื่อง ก็จะได้
ภาพใหม่ปรากฏบนจอ ถ้าเป็นเครื่องชนิดอัตโนมัติเปลี่ยนภาพโดยกดปุ่มเปลี่ยนภาพที่เครื่องฉาย
หรืออาจใช้เครื่องบังคับสไลด์ (Remote Control) หรืออาจใช้การตั้งเวลาเพื่อเปลี่ยนสไลด์ภาพใหม่
9. เมื่อใช้สไลด์เสร็จแล้วควรปิดสวิตช์หลอดฉายทันที ปล่อยให้พัดลมทางานต่อไปจนกว่า
หลอดฉายจะเย็นจึงเปิดสวิตช์พัดลม

2.เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

ภาพเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

1. ลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ

เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ หรือบางทีเรียกว่า เครื่องฉายภาพโปร่งใส เพราะวัสดุฉาย เป็นแผ่นโปร่งใส


(Transparency) หรืออาจเรียกว่า กระดานชอล์กไฟฟ้าเพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ใน
ระบบฉายอ้อม ใช้สาหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส
ซึ่งอาจจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า แล้วนามาวางบนเครื่องฉายซึ่งตั้งอยู่หน้าชั้นเรียน ภาพที่ปรากฏบนจอเหมือนการใช้
กระดานชอล์ก ซึ่งผู้สอนจะอธิบายประกอบการฉายก็ได้ สะดวกต่อการนามาใช้ โดยทัว่ ไปจะมีคุณลักษณะเฉพาะ
ของเครื่องฉาย ดังนี้

1. ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้
2. ห้องฉายไม่จาเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนัก ห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้
ผู้เรียน สามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน
3. เครื่องฉายมีน้าหนักเบา ใช้และบารุงรักษาง่าย
4. สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย ในขณะที่ใช้เป็นการ สะดวกในการ
สังเกตความสนใจของผู้เรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงการสอนได้อย่างเหมาะสม
5. ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคาอธิบาย เพราะผู้สอนสามารถวาด (หรือให้ผู้อื่นวาด)
หรือถ่าย (เหมือนถ่ายเอกสาร) หรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสมาก่อนล่วงหน้า เวลาใช้นามาวางบนเครื่องฉายได้ทันที
6. สามารถแสดงการใช้แผ่นโปร่งใสให้เห็นเหมือนกับภาพเคลื่อนไหวได้ โดยใช้แผ่นโปร่งใส
ชนิดเคลื่อนไหวได้ (Motion or Polarized Transparency) วางบนเครื่องฉาย แล้วใช้กระจกตัดแสงอยู่ในกรอบกลม ๆ
เรียกว่า Polarizing Filter หรือ Polaroid Spinner โดยเปิดสวิทซ์ให้กระจกตัดแสงหมุนใต้เลนส์ฉาย ภาพที่ปรากฏบน
จอจะมีลักษณะเหมือนการเคลื่อนไหวได้ เช่น ภาพภูเขาไฟระเบิดการสูบฉีดโลหิตการทางานของเครื่องจักร
เครื่องยนต์
7. สามารถดัดแปลงการใช้แผ่นโปร่งใสจากการฉายครั้งละแผ่น เป็นการฉายครั้งละหลาย ๆ แผ่นซ้อนกัน
ซึ่งเรียกว่า Overlays 8) สามารถฉายวัสดุหรือเครื่องมือที่ทาด้วยวัสดุโปร่งใสได้ หรือวัสดุทึบแสงได้ ซึ่งจะให้ภาพ
เป็นภาพดาบนจอ ไม่แสดงรายละเอียดเหมือนวัสดุโปร่งใส จะเห็นเป็นเพียงรูปแบบของวัสดุ หรือเครื่องมือเท่านั้น
8. สามารถใช้แสดงการทดลองหรือสาธิต โดยนาวัสดุมาวางบนเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส วางแผ่นโปร่งใส
บนแท่งแม่เหล็ก โรยผงตะไบเหล็กบนแผ่นโปร่งใส แล้วเคาะแผ่นโปร่งใส ภาพของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบนแผ่น
โปร่งใสจะปรากฏที่จอ

ภาพแสดงส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

2. ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะโดยทั่ว ๆ ไป จะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เครื่องควรจะ ทราบไว้ เพื่อสามารถ
ใช้เครื่องฉายได้ถูกต้อง ดังนี้
1. หลอดฉาย (Projection Lamp) อยู่ภายในเครื่อง ทาหน้าที่ให้แสงสว่างมีกาลังส่องสว่างประมาณ 250-600
วัตต์ มีแผ่นสะท้อนแสงอยู่ภายในหลอด บางเครื่องอยู่ใต้หลอด ทาหน้าที่สะท้อนแสงจากหลอดฉายขึ้นไป ช่วยให้
แสงมีความเข้มมากขึ้น
2. เลนส์เฟรสนัล (Fresnel Lens) เป็นเลนส์ชนิดพิเศษเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมีร่องคล้ายแผ่นเสียง ทาหน้าที่เกลี่ย
แสงจากหลอดฉายให้เสมอกันผ่านวัสดุฉายไปยังเลนส์ฉายพอดี
3. แท่นวางโปร่งใส (Platen) เป็นกระจกสาหรับวางแผ่นโปร่งใส ช่วยกรองความร้อนไม่ให้ผ่านมายังแผ่น
โปร่งใสมากเกินไป ซึ่งอาจทาให้แผ่นโปร่งใสเสียหายได้ อาจจะติดแผ่นกรองแสง (Glare Free) ใต้แท่นนี้ด้วยก็ได้
เพื่อให้ผู้ใช้มองแผ่นโปร่งใสได้สบายตาขึ้น
4. เลนส์ฉาย (Projection Lens) เป็นชุดของเลนส์นูน ทาหน้าที่รับแสงจากหลอดฉายซึ่งผ่านเลนส์เฟรสนัล
ผ่านวัสดุฉาย และขยายภาพออกสู่จอ ที่ด้านบนของเลนส์ฉายจะมีกระจกเงาราบ ทาหน้าที่สะท้อนแสงจากแนวดิ่ง
ให้กลับไปในแนวระดับสู่จอ สามารถยกให้สูงหรื อต่าได้เพื่อให้ภาพบนจอสูงขึ้นหรือต่าลง
5. ปุ่มปรับความชัด (Focusing Knob) ใช้สาหรับหมุนเพื่อให้เลนส์ฉายเลื่อนขึ้นเลื่อนลง ทาให้ภาพบนจอมี
ความคมชัด
6. พัดลม (Fan) ทาหน้าที่ระบายความร้อนภายในเครื่อง เหมือนเครื่องฉายอื่น ๆ การทางานของพัดลมใน
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะบางชนิดใช้การควบคุมแบบเทอร์โมสตัท (Thermostat) คือ พัดลมจะทางานเองเมื่อเครื่อง
เริ่มร้อน และจะหยุดทางานเองเมื่อเครื่องเย็นลง
7. สวิทซ์สาหรับเปิดปิดหลอดฉาย บางเครื่องมีปุ่มสาหรับหรี่และเพิ่มความสว่างของหลอดฉายได้ด้วย
8. ปุ่มสาหรับเปิดฝาเวลาเปลี่ยนหลอด

เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ ( Connected Equipment )


เครื่องแปลงสัญญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุต่าง ๆ ได้แก่
1. วัสดุที่บรรจุข้อมูลในรูปแบบของแม่เหล็ก เช่น แถบวีดิทัศน์
2. วัสดุในรูปแบบของตัวอักษรหรือภาพ เช่น สิ่งพิมพ์หรือฟิล์ม
3. วัสดุในรูปแบบของการเข้ารหัสดิจิทัล เช่น แผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดี
เครื่องแปลงสัญญาณจะทาหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพือ่ แปลงกลับเป็น
สัญญาณภาพและเสียงในระบบอะนาล็อกตามธรรมชาติเสนอขึ้นบนจอภาพ ตัวอย่างเช่น เครื่องเล่นวีซีดีจะอ่าน
ข้อมูลที่บันทึกภาพยนตร์จากแผ่นวีซีดีซึ่งเข้ารหัสเป็นระบบดิจิทัล แล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อถอดรหัสและ
แปลงกลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงระบบอะนาล็อกเสนอบนจอโทรทัศน์ต่อไป

เครื่องถ่ายทอดสัญญาณ
เครื่องถ่ายทอดสัญญาณ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับสัญญาณภาพจากเครื่องแปลงสัญญาณเพื่อ
ถ่ายทอดขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ขึ้นบนจอภาพ ตัวอย่างเช่น เครื่องวิดีโอ โพรเจ็กเตอร์จะรับสัญญาณจากเครื่อง
คอมพิวเตอร์เพื่อเสนอภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ (แทนการเสนอบนจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์) เพื่อให้ผู้เรียน
เห็นเนื้อหาได้อย่างทั่วถึง ดังนี้ เป็นต้น เครื่องถ่ายทอดสัญญาณจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับเครื่องแปลงสัญญาณ
เสมอโดยไม่สามารถนามาใช้เพียงลาพังได้

ประเภทของเครื่องแปลงและเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ
เครื่องแปลงและเครื่องถ่ายทอดสัญญาณที่นามาใช้ในการเรียนการสอนมีดังนี้

1. เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer)
เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นเครื่องแปลงสัญญาณที่เสนอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยต้องต่อเครื่อง
วิชวลไลเซอร์กับจอมอนิเตอร์เพื่อเสนอภาพ หรืออาจต่อร่วมกับเครื่องแอลซีดี เพื่อถ่ายทอดสัญญาณเป็นภาพ
ขนาดใหญ่บนจอภาพ
หลักการทางานของเครื่องวิชวลไลเซอร์
จะเป็นการใช้กล้องถ่ายภาพของวัตถุเพื่อแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะแปลงกลับเป็นสัญญาณภาพอีก
ครั้งหนึ่ง การเสนอภาพนิ่งจะเป็นการวางวัสดุฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ โดย
สามารถใช้ฉายได้ทั้งวัสดุทึบแสง เช่น ภาพและข้อความบนสิ่งพิมพ์ วัสดุ 3 มิติ วัสดุกึ่งโปร่งแสงและ
โปร่งใส เช่น ฟิล์มสไลด์และแผ่นโปร่งใส และใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อเสนอภาพความเคลื่อนไหว
ภายในสถานที่นั้น
ประโยชน์ของเครื่องวิชวลไลเซอร์
การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ในการเรียนการสอนมีประโยชน์ดังนี้
1. สามารถใช้ในการเสนอวัสดุได้ทุกประเภททั้งวัสดุทึบแสง วัสดุ 3 มิติ รวมถึงวัสดุกึ่งโปร่งแสง และวัสดุ
โปร่งใส
2. ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเสนอภาพวัตถุและการสาธิตภายในห้องเรียนได้
3. ให้ภาพที่ชัดเจน สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านได้อย่างทั่วถึง
4. สามารถใช้กล้องตัวรองเป็นกล้องวีดิทัศน์เคลื่อนที่ได้

2. เครื่องเล่นวีซีดี (Video Compact Dise)

เครื่องเล่นวีซีดี (VCD) หรือเรียกอย่างเต็มว่า “วิดีโอซีด”ี (Video CD ซึ่งย่อมาจาก Video Compact Disc)


เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดีระบบดิจิทัลที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียงเพื่อ
เสนอภาพบนจอโทรทัศน์
3. แผ่นวีซีดี
แผ่นวีซีดีจะมีลักษณะทางกายภาพทุกอย่างเหมือนแผ่นซีดี เพียงแต่แผ่นวีซีดีจะเป็นการเสนอภาพยนตร์
พร้อมเสียงสเตอริโอ มีอัตราการเสนอภาพ 1.44 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) แผ่นวีซีดีสามารถบันทึกภาพยนตร์จาก
การถ่ายทาหรือจากแถบวีดิทัศน์แล้วบันทึกลงแผ่น

ประโยชน์ของเครื่องเล่นวีซีดี
1. คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัด โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดิทัศน์
2. ไม่มีการยืดเหมือนแถบวีดิทัศน์
3. เครื่องเล่นวีซีดีสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีและวีซีดี
4. ทาความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น

4. เครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player)


เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง
เพื่อเสนอภาพบนจอโทรทัศน์ในลักษณะเดียวกับแผ่นวีซีดี แต่จะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่ามาก รวมถึง
คุณลักษณะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายประการ
แผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดีเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลระบบดิจิทัลและมีลักษณะทางกายภาพเช่นเดียวกับแผ่นซีดี แต่ต่างกันตรงที่
สามารถบรรจุข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 – 17 จิกะไบต์ จึงทาให้แผ่นดีวีดีหนากว่าแผ่นซีดีโดยเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลแบบ
ด้านเดียว/ชั้นเดียวไปจนถึงแบบบันทึกสองด้าน/สองชั้น

ประโยชน์ของเครื่องเล่นดีวีดี
1. คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดิทัศน์
2. ให้เสียงดอลบีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
3. สามารถเลือกชมตอนใดของภาพยนตร์ก็ได้โดยไม่ต้องเรียงตามเนื้อเรื่อง
4. ไม่มีการยืดของแผ่นบันทึกเหมือนแถบเทป
5. หากเกิดความสกปรกบนแผ่นสามารถทาความสะอาดได้โดยง่าย
6. เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดี แผ่นวีซีดี และแผ่นดีวีดี
5. เครื่องวิดีโอโพรเจ็กเตอร์ (Video Projector)
เครื่องวีดิโอโพรเจ็กเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสัญญาณจากอุปกรณ์หลายประเภท เช่น
เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่น ดีวีดีให้ปรากฏเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ เครื่องวิดีโอ
โพรเจ็กเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะเป็นเครื่องแอลซีดีและเครื่องดีแอลพี
1) เครื่องแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) แอลซีดีเป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อยโดย
การใช้คริสทัลโมเลกุลอัดอยู่กลางระหว่างแผ่นกระจก โมเลกุลเหล่านี้จะมีการจัดเรียงตัวใหม่ ในลักษณะทึบแสง
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านทาให้มองเห็นเป็นภาพหรือตัวหนังสือได้
เครื่องแอลซีดีเป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณที่ใช้ต่อพ่วงต่อกับจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ เครื่องวิชวล
ไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ หรือเครื่องเล่นวีซีดี เพื่อเสนอภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขยายขนาดใหญ่ขึ้นบน
จอภาพ เครื่องแอลซีดีมีลักษณะเครื่องอยู่ 3 ลักษณะ คือ

ก. แผงวางบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเพื่ออาศัยแสงจากเครื่องฉายส่องผ่านขึ้นมาให้ปรากฏข้อมูลบนจอภาพ
ข. เครื่องแบบตั้งโต๊ะที่รวมลักษณะของแผง แหล่งจ่ายไฟ และ หลอดฉายอยู่ในเครื่องเดียวกัน
ค. เครื่องที่มีแหล่งแสงสีแดง เขียว และน้าเงินแยกจากกันในลักษณะ “ปืนอิเล็กทรอน” เพื่อยิงกระแสไฟไป
ยังคริสทัลโมเลกุล
เครื่องลักษณะนี้จะมีทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบแขวนติดเพดานตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และเลนส์
ฉายอาจมีทั้งแบบเลนส์เดียวและแยกเป็น 3 เลนส์ ๆ ละสี ถ้าเป็นเครื่องที่มีเลนส์แยกสี 3 เลนส์ อาจเรียกอีกชื่อ
หนึ่งว่าเครื่องซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) เครื่องแอลซีดีมีความคมชัดของภาพที่เสนอแตกต่างกันขึ้นอยู่
กับคุณภาพของเครื่องแต่ละรุ่นซึ่งมีตั้งแต่ 640 X 480, 800 X 600 และ 1,024 X 768 จุด

2) เครื่องดีแอลพี (DLP : Digital Light Processing)


เครื่องดีแอลพี เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัลในลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความ
คมชัดสูงกว่า โดยให้ความคมชัดมากถึง 1,280 X 1,024 จุด ในขณะที่เครื่องแอลซีดีจะให้ความคมชัดได้สูงสุด
เพียง 1,024 X 768 จุดเท่านั้น
ประโยชน์ของเครื่องวีดิโอโพรเจ็กเตอร์
1. สามารถใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลายประเภท
2. สามารถเสนอภาพขนาดใหญ่จากอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
เครื่องเสียง ( Amplifiers )

ความหมายของเสียง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของเสียงว่า "สิ่งที่รับรู้ได้ด้วย


หู เสียงเพลง เสียงพูด ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้ง เป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก"

ระบบขยายเสียง

เมื่อเสียงมีจุดกาเนิดจากสิ่งต่างๆ ที่เราสามารถรับฟัง ได้ในระยะทางที่จากัด จึงมีความจะเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้อง


มีระบบขยายเสียง โดยหลักการเปลี่ยนพลังงาน เสียงที่มีความถี่ 20 - 20000 Hertz (Hz) ให้อยู่ในรูปของ
สัญญาณไฟฟ้า แล้วนาเอาพลังงานไฟฟ้า ที่ได้ไปทาการขยาย ให้มีพลังมากขึ้นตามความต้องการ แล้วจึงนาพลังงาน
ไฟฟ้า ที่ได้ผ่านการขยายแล้ว มาแปลงเสียงพลังงานเสียง เช่นเดิม จนทาให้ผู้ที่อยู่ในระยะทางที่ไกลขึ้น ได้รับฟัง
เสียงดังกล่าว

องค์ประกอบของระบบขยายเสียง

ระบบขยายเสียง ประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คือ

 ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal)


 ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier)
 ภาคสัญญาณออก (Output Signal)
ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal)

เป็นภาคที่ทาหน้าที่ เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง เช่น ไมโครโฟน หรืออีกนัยหนึ่งภาคสัญญาณ


เข้า เป็นอุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นคอมแพกดิสก์ เครื่องเล่นเทปคาสเซส เป็น
ต้น ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่กล่าวถึง ในภาคสัญญาณเข้า เป็นอุปกรณ์ ที่จะก่อให้เกิดเสียง เพื่อเตรียมส่งไปยัง ภาคขยาย
สัญญาณ ภาคสัญญาณเข้า

อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทาหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง ให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง อุปกรณ์ที่เห็นได้ชัด


ได้แก่ ไมโครโฟน

ไมโครโฟน
เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทาหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound wave) หรืออากาศจากแหล่งกาเนิดเสียง
เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ไหลไปตามสายไมโครโฟนสู่
เครื่องขยายเสียง ชนิดของไมโครโฟน ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในไมโครโฟน มี 6 ชนิด คือ
1. ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone) ไมโครโฟนชนิดนี้ให้เสียงที่มีคุณภาพไม่ค่อยดี ปัจจุบัน
ใช้ในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น

2. ไมโครโฟนชนิดคริสตัล (Crystal Microphone) ไมโครโฟนที่มีราคาถูก น้าหนักเบาแต่ไม่ทนต่อสภาพ


ความร้อน หรือความชื้นสูง เพราะอาจทาให้คริสตัลเสื่อมได้ ไมโครโฟนแบบนี้ให้กาลังไฟฟ้าออกมาสูง และ
สามารถสภาพสัญญาณได้ดีจึงไม่ต้องอาศัยหม้อแปลง (Transformer) ในตัวของไมโครโฟนช่วยแต่อย่างใด สามารถ
ส่งสัญญาณไปยังเครื่องขยายเสียงได้โดยตรง สามารถใช้สายไมโครโฟนต่อยาวออกไปได้ไม่เกิน 25 ฟุต เพราะถ้า
พ่วงสายยาวกว่านี้จะทาให้มีสัญญาณอื่นมารบกวนได้และทาให้สัญญาณจากไมโครโฟนอ่อนลงมาก
3. ไมโครโฟนชนิดเซรามิค (Ceramic Microphone) มีลักษณะการออกแบบหรือหลักการทางานคล้ายกับ
ไมโครโฟนชนิดคริสตัล ต่างกันที่วัสดุเซรามิคมีคุณภาพดีกว่าคริสตัล เพราะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของ
อุณหภูมิและความชืน้ มากกว่า

4. ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) เป็นไมโครโฟนที่กาลังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน


สามารถรับเสียงได้ไวมาก มีราคาแพงและมักติดอยู่กับเครื่องบันทึกเสียงทั่ว ๆ ไป
5. ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon or Velocity Microphone) เป็นไมโครโฟนที่บอบบาง เสียง่ายไม่มี
ไดอะแฟรม การทางานอาศัยการสั่นสะเทือนของแผ่นริบบอน มีลักษณะบางเบา และขึงตึงอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวร
กาลังสูงและจะทางานทันทีเมื่อได้รับการสั่นสะเทือนเป็นไมโครโฟนที่มีคุณภาพสูงและควบคุมสัญญาณได้ดีที่สุด
(Highest Fidelity) แต่ไม่ค่อยนิยมใช้กันมาก เพราะมีข้อเสียคือ ไม่เหมาะต่องานสถานที่ แม้แต่เสียงลมพัดก็จะรับ
เสียงเอาไว้หมดอาจแก้ได้โดยใช้วัสดุกันลม เป็นกระบอกฟองน้าสวมครอบแต่ก็ไม่ได้ผลนัก นอกจากนี้ยังมีปัญหา
อื่น ๆ อีก เช่น สัญญาณไฟฟ้าที่ได้ออกมาค่อนข้างต่า (Low Output) ต้องใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกาลังแรง และ
คุณภาพสูง ถ้าพูดใกล้มาก เสียงลมหายใจจะกลบเสียงที่พูด ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่นิยมใช้นอกสถานที่ มักพบใน
สถานีส่งวิทยุ โทรทัศน์และบันทึกเสียง

6. ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone) เป็นแบบที่ได้รับนิยมมากเพราะให้คุณภาพเสียงดี


เหมือนธรรมชาติ มีความทนทานเหมาะสมกับการกระจายเสียงหรือระบบเสียงหลายประเภท แต่ราคาค่อนข้างสูง
ชนิดของไมโครโฟน ที่แบ่งตามลักษณะการใช้งาน มี 5 ชนิด คือ

1. แบบตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะ เป็นไมโครโฟนที่มาประกอบกับขาตั้งที่ทามาเพื่อเสียบไมโครโฟนได้ เพื่อให้ผู้ใช้


ไม่ต้องใช้มือถือไมโครโฟนไว้ตลอดเวลาที่พดู ผู้พูดยืนหรือนั่งห่างจากไมโครโฟนไม่มาก

2. แบบมือถือ มีลักษณะยาว สามารถถือได้อย่างสะดวก เหมาะสาหรับนักร้อง นักแสดงตลก หรือ รายการ


สนทนาที่มีการสัมภาษณ์ไม่ยาวนัก

3. แบบหนีบติดเสื้อ หรือแบบห้อยคอ เป็นแบบที่นิยมใช้ในการแสดง เช่นการถ่ายทารายการโทรทัศน์ ทา


ให้ผู้แสดงไม่ต้องถือไมโครโฟนไว้ตลอดเวลา ไมโครโฟนประเภทนี้มีขนาดเล็กมาก สามารถซ่อนได้อย่างมิดชิด
4. แบบติดแขนยาว (Boom Microphone) เป็นไมโครโฟนที่เหมาะกับการใช้ในการแสดงอีกชนิดหนึ่ง
เนื่องจากผู้แสดงไม่ต้องถือไมโครโฟน คือ จะมีแขนยาวยื่นมาจนเกือบถึงผู้แสดง ทาให้สามารถตัดภาพไม่ให้
มองเห็นกล้องถ่ายวีดิทัศน์ได้

5. แบบไม่มีสาย (Wireless Microphone) หรือที่เรียกกันติดปากว่า ไมค์ลอย นั่นเอง ไมโครโฟนชนิดนี้จะ


บรรจุเครื่องส่งวิทยุขนาดเล็กสามารถส่งคลื่นได้ในระยะหนึ่ง โดยอาศัยการส่งตามคลื่นของระบบ F.M. คือช่วงคลื่น
ระหว่าง 88 - 108 เมกกะเฮิร์ตช์ ดังนั้นเวลารับคลื่นจึงต้องอาศัยเครื่องรับที่มีคลื่นเดียวกับระบบ F.M. นั่นเอง

เพื่อให้ไมโครโฟนสามารถทางานร่วมกับอุปกรณ์ในระบบขยายเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควร
ต้องทราบข้อมูลของไมโครโฟนที่จะนามาใช้ดังนี้ คือ
1. อิมพีแดนซ์ (Impedance) หมายถึงตัวเลขที่บอกค่าความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขี้นขณะที่มี
สัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง หรือกระแสสลับไหลผ่านมีหน่วยเป็นโอห์ม แบ่งเป็น 2 พวก คือ
1.1 อิมพีแดนซ์สูง หรือมีค่าความต้านทานสูง (High Impedance) จะมีค่าอยู่ในช่วง 5,10,50 หรือ
อาจถึง 100 กิโลโอห์ม (KQ) จะให้กาลังใจของสัญญาณออกมาต่า (Low Power Output) มีเสียงรบกวนได้ง่าย เช่น
เสียงฮัม ยิ่งถ้าต่อสายยาว ๆ หรือเกินกว่า 25 ฟุต ก็ยิ่งทาให้สูญเสียกาลังของสัญญาณมากขึ้น คุณภาพของเสียงจะ
ลดลงด้วย ใช้ต่อร่วมกับเครื่องขยายเสียงโดยต่อช่องที่ช่อง High
1.2 อิมพีแดนซ์ต่าหรือมีค่าความต้านทานต่า(Low Impedance) มีค่าอิมพีแดนซ์อยู่ในช่วง 200 ถึง
600 โอห์มซึ่งมีคุณภาพดีให้กาลังของสัญญาณออกสูง (High Power Output) ไม่มีเสียงรบกวนสามารถใช้กับสาย
ยาว ๆ ได้แต่จะมีความไวในการรับเสียงต่าใช้ต่อร่วมกับเครื่องขยายเสียงที่ช่อง Low Impedance
2. ผลในการตอบสนองความถีของเสียง (Frequency Response) คือความสามารถของไมโครโฟนในการรบ
ความถี่ของคลื่นเสียงได้กว้างและมีความเรียบมากน้อย ซึ่งไมโครโฟนแต่ละชนิดก็จะออกแบบมาเพื่อใช้ในลักษณะ
งานต่าง ๆ กัน ฉะนั้น จึงมีความสามารถในการตอบสนองความถี่ต่าง ๆกัน มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hertz: Hz) เช่น
ไมโครโฟน สาหรับพูดในที่ชุมนุมชน ประกาศ สั่งงาน การเรียนการสอนในห้องเรียน จะใช้ช่วงการตอบสนอง
ความถี่ต่า ๆ และแคบ ๆ ก็พอ เช่น 300-5,000 เฮิรตซ์ แต่ถ้าต้องการคุณภาพของเสียงเรียบและแยกความถี่ได้กว้าง
ขึ้น ควรอยู่ในช่วง 70-10,000 เฮิรตซ์ ถ้าต้องการคุณภาพของเสียงที่ดีเยี่ยมนอกจากเสียงพูดแล้ว ยังมีเสียงดนตรีด้วย
ควรต้องใช้ไมโครโฟนที่ให้ผลตอบสนองความถี่ที่กว้างและเก็บความถี่ได้ละเอียดยิ่งขึ้น ควรอยู่ในช่วง 50-15,000
เฮิรตซ์ แต่ราคาก็จะค่อนข้างแพงตามคุณภาพไปด้วย
3. ความไวในการรับเสียงของไมโครโฟน(Sensitivity) คือความสามารถในการรับความแรงของคลื่นเสียง
ที่มาจากแหล่งกาเนิดเสียงจากระยะทางใกล้ไกลต่าง ๆ กัน นั่นเองไมโครโฟนที่มีความไวสูงจะสามารถรับเสียงเบา
ๆ และอยู่ไกลออกไปได้ไมโครโฟนความไวต่า ต้องป้อนคลื่นเสียงดัง ๆ และใกล้ ๆ มีหน่วยเป็น เดซิเบล (Decibel:
dB) โดยวัดจากสัญญาณที่ได้ออกจากไมโครโฟนผ่านไปเข้าเครื่องขยายเสียง เช่น -90 dB -60dB -45dB เป็นต้น
ค่าติดลบมาก จะมีความไวกว่า ค่าติดลบน้อย เช่น -90dB มีความไวต่ากว่า -60dB เป็นต้น

วิธีใช้และรักษาไมโครโฟน

 เลือกไมโครโฟนชนิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์โดยพิจารณาทั้งในเรื่องทิศทางการรับเสียง ช่วงการ
ตอบสนองความถี่เสียงความไวในการรับเสียงและลักษณะการใช้งาน
 ระยะห่างจากไมโครโฟนถึงผู้พูด ถ้าเป็นไมโครโฟนที่มีความไวต่อการรับเสียงมากควรอยู่ห่างประมาณ 4
นิ้ว ถึง 1 ฟุต หากใกล้มากจะทาให้เสียงเพี้ยนหรือฟังไม่รู้เรื่อง
 อย่าเคาะหรือเป่าไมโครโฟนเป็นอันขาด อาจทาให้ไมโครโฟนขาดชารุด และระวังอย่าให้ล้มหรือตกหล่น
จากที่สูง และระวังอย่าให้ถูกน้า
 อย่าวางสายไมโครโฟนควบคู่หรือใกล้ชิดหรือตัดผ่านกับสายไฟฟ้ากระแสสลับ ( AC. Cord) เพราะจะทา
ให้มีสัญญาณความถี่ของกระแสไฟฟ้าไปรบกวนสัญญาณเสียง
 ขณะใช้ไมโครโฟน หากมีเสียงหวีดหรือเสียงหอน อาจเป็นเพราะใช้ไมโครโฟนใกล้กับลาโพงมากเกินไป
หรืออาจจะหันด้านหน้าของไมโครโฟนไปตรงกับทิศทางด้านหน้าของลาโพง ทาให้เสียงเกิดการย้อนกลับ
(Feedback) ต้องเปลี่ยนตาแหน่งการตั้งไมโครโฟนใหม่ให้ถูกต้อง
 การใช้ไมโครโฟนนอกสถานที่หรือกลางแจ้งมักจะมีเสียงรบกวนจากลมพัดและเสียงรอบข้างมาก
โดยเฉพาะไมโครโฟนที่มีความไวในการรับเสียงสูง ควรใช้อุปกรณ์กันเสียงรบกวน (Wind Screen) สวม
ป้องกัน จะทาให้เสียงมีความชัดเจนแจ่มใสมีคุณภาพดีขึ้น

ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier)

ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) เป็นภาคที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง จากภาคสัญญาณเข้า แล้วนาไปขยาย


สัญญาณให้มีความแรงขึ้นเพื่อเตรียมส่งต่อไปยัง ภาคสัญญาณออก

ภาคขยายสัญญาณเป็นภาคที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง จากภาคสัญญาณเข้า แล้วนามาปรับแต่งและ


ขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้นเพื่อเตรียมส่งต่อไปยัง ภาคสัญญาณออก ภาคขยายแบ่งออกเป็น 2 วงจร คือ

1. วงจรก่อนการขยาย (Pre amplifier) เนื่องจากสัญญาณที่ถูกส่งเข้ามาจากภาคสัญญาณเข้ามีความแตกต่างกัน


มากบ้างน้อยบ้าง เช่น ไมโครโฟน เครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่นคอมแพกดิสก์ เป็นต้น ดังนั้นภาคก่อนการ
ขยายจะช่วยในการปรับแต่งเสียงให้มีสัญญาณมากน้อยพอๆ กัน ก่อนจะส่งไปวงจรขยายกาลัง
2. วงจรขยายกาลัง (Power Amplifier) ทาหน้าที่รับสัญญาณจากวงจรก่อนขยาย (Pre Amplifier) เข้ามาเพื่อทา
การขยายให้มีกาลังแรงเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนนี้ ก็ได้แก่ เครื่องขยายเสียง (Amplifier) นั่นเอง

เครื่องขยายเสียง นิยมแบ่งชนิดตามกาลังของการขยายเสียง คือ การแบ่งตามความดังของภาคขยาย เช่น


เครื่องขยายเสียงที่นิยมใช้กัน มีกาลังตั้งแต่ 10 วัตต์ ไปจนถึง หลายร้อยวัตต์เลยทีเดียว กาลังวัตต์ของเครื่องขยาย
เสียงจะบอกถึงความดังที่ออกทางลาโพงกล่าวคือ เครื่องขยายเสียงที่มีกาลัง 200 วัตต์ จะดังกว่า เครื่องขยายเสียงที่มี
กาลัง 150 วัตต์นั่นเอง

ส่วนประกอบด้านหลังของเครื่องขยายเสียง ได้แก่

1. ช่องรับสัญญาณเข้า ใช้เสียบ Jack ต่อสัญญาณที่มาจากภาคสัญญาณเข้า เช่น ไมโครโฟน เครื่องเล่น


แผ่นเสียง เป็นต้น
2. จุดสาหรับต่อสัญญาณออก ใช้ต่อสายเพื่อส่งกาลังไฟฟ้าความถี่เสียงไปยังภาคสัญญาณออก อันได้แก่
ลาโพง นั่นเอง
3. สายไฟฟ้าเข้าเครื่อง เป็นสายต่อเพื่อใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ไฟฟ้า 220 Volts

ส่วนประกอบด้านหน้าของเครื่องขยายเสียง ได้แก่

- ปุ่มควบคุม (Control Knobs) Mic.1 Mic.2 Mic.3 เป็นปุ่มควบคุมการรับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากไมโครโฟน


แต่ละตัวเพื่อทาการปรับความดังของไมโครโฟนแต่ละตัวแยกอิสระจากกัน
- ปุ่มควบคุม Phono เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Phonograph)
- ปุ่มควบคุม Aux. เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจาก Auxiliary เช่นเครื่องบันทึกเสียงที่มีการขยายสัญญาณกาลังต่า
มาก่อนแล้ว หรืออาจใช้ควบคุมอุปกรณ์รับสัญญาณเข้าอื่นๆ ที่ไม่มีปุ่มควบคุมอยู่ด้านหน้าด้วย
- ปุ่มควบคุมการปรับแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และแหลม (Treble) หรือปุ่ม Tone Control ใช้เพื่อปรับเสียงทุ้มแหลม ของ
เสียงให้มากขึ้น ในเครื่องขยายเสียงบางรุ่นอาจรวม ปุ่มปรับแต่ทุ้มแหลมนี้ไว้ในปุ่มเดียวกันก็เป็นได้
- ปุ่มควบคุมการขยายกาลัง (Master volume) ทาหน้าที่ควบคุมสัญญาณให้มีเสียงดังเบา ก่อนจะออกทางลาโพง ซึ่ง
ปุ่มนี้จะทาหน้าที่ร่วมกับปุ่มอื่นๆ ทุกปุ่มข้างต้นด้วย ดังนั้นการที่ปรับปุ่ม Master volume ดังเบา ก็จะทาให้เสียงที่
ออกทางลาโพงดังเบาตามปุ่มนี้เป็นสาคัญ
- สวิตช์ไฟฟ้า (Switch) ใช้เปิด (On) เมื่อต้องการเริ่มใช้งาน และใช้ปิด (Off) เมื่อเลิกใช้งาน
- หลอดไฟหน้าปัด (Pilot lamp) หลอดไฟฟ้าแสดงให้ทราบว่า มีไฟฟ้าเข้าเครื่องฯ หรือไม่

ลักษณะของเครื่องขยายเสียงที่ดี มีช่องรับสัญญาณเข้าหลายวงจรและหลายช่อง เพื่อสามารถเลือกใช้ให้


เหมาะสม

o มีกาลังขยายสูง โดยที่ไม่มีเสียงเพี้ยน (Distortion) และเสียงฮัม (Hum)


o สามารถขยายเสียงได้ทุกช่วงความถี่ของเสียง ตั้งแต่ 20 - 20,000 ไซเคิลอย่างสม่าเสมอ
o ให้ความไพเราะ ชัดเจน (high fidelity)
o สามารถปรับเสียงทุ้มและเสียงแหลมได้มาก
o สามารถเคลื่อนย้ายสะดวก
o สามารถต่อเข้ากับเครื่องมืออื่นๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปได้สะดวก
o บารุงรักษาและซ่อมแซมง่าย
o มีความทนทานและปลอดภัยในการใช้
o มีจุดสาหรับสัญญาณออกที่จะเลื่อนให้เหมาะกับความต้านทานของลาโพงหลายชุด

ภาคสัญญาณออก (Output Signal)

ภาคสัญญาณออก (Output Signal)เป็นภาคที่ทาหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้า ความถี่เสียงที่ได้รับ การขยาย


จากภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) นามาเปลี่ยน เป็นคลื่นเสียง อุปกรณ์ ของภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลาโพงภาค
สัญญาณออก

ภาคสัญญาณออก เป็นภาคที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียง เป็นพลังงานเสียง ซึ่งได้แก่ ลาโพง ลาโพงมี


การแบ่งประเภท ได้หลายลักษณะ เช่น การแบ่งตามลักษณะ โครงสร้างภายในของลาโพง การแบ่งตามลักษณะ การ
ตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง การแบ่งตามลักษณะการใช้งาน

ชนิดของลาโพง

การแบ่งลาโพงตามลักษณะการตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง 3 ชนิด คือ

1. ลาโพงเสียงทุ้ม (Woofer) เป็นลาโพงกรวยกระดาษแบบไดนามิก ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่


6 นิ้วขึ้นไป มีความไวต่อการสั่นสะเทือน ตอบสนองความถี่เสียงในช่วง 20 - 250 Hz
3. ลาโพงใช้ภายในและภายนอกอาคาร เป็นลาโพงที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งมิได้เน้น
ให้มีเสียงและความคงทนที่ดีมาก แต่เน้นเป็นกลาง ๆ ส่วนใหญ่จะมีเสียงกลาง (Midrange) ใส่ในตู้ลาโพง
รูปยาวๆ หรือสูง ประมาณ 4 - 12 ตัว เหมาะสาหรับงานโฆษณา การกระจายเสียง ใช้ในห้องประชุมใหญ่
เป็นต้น

บทสรุป

สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หรือ โสตทัศนูปกรณ์มีหน้าที่หลัก คือ ฉายเนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่


ขึ้น และขยายเสียงให้ดังขึ้น จาแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์ แปลงสัญญาณ และ
เครื่องเสียง
เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่อง
ฉายแอลซีดี เครื่องฉายดีวีดี เป็นต้น ส่วนประกอบที่สาคัญของเครื่องฉาย ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง
วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตัวมันเอง ต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์
เครื่องฉายหรือเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และเครื่องเล่นดีวีดี
เป็นต้น
เครือ่ งเสียงมีหน้าที่รับเสียง ขยายเสียง ละส่งออก ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สาคัญประกอบด้วย
ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียง และภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลาโพง


บรรณานุกรม

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ .(2547) .เทคโนโลยีการศึกษา. ราชบุรี : สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง


http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/Index.html
http://www.ipecp.ac.th/wbi/ed-techno/program/unit8/page5.html

You might also like