Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

ว่านนางคํา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Curcuma aromatica Salisb.
ชื่อสามัญ :
-
วงศ์ :
Zingiberaceae
ชื่ออื่น :
-
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบ
หอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบ
งอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว
ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสี
ขาวแกมชมพู แฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม
ส่วนที่นํามาใช้ประโยชน์และสรรพคุณ :
หัว
- ใช้ฝนทาแก้เม็ดผื่นคัน prurigo
- เป็นยาขับลมในลําไส้และแก้ปวดท้อง
- ใช้ตําพอกแก้ฟกช้ํา และข้อเคล็ด อกแก้ฟกช้ํา และข้อเคล็ด
ราก - ใช้เป็นยาขับเสมหะและยาสมาน แก้ลงท้อง แก้โรคหนองในเรื้อรัง แยกสารได้
น้ํามันหอมเรซิน 4.47
น้ําตาล 1.21
ยาง กรด ฯลฯ 10.10
แป้ง 18.75
ใยไม้ 25.40
เถ้า 7.51
ความชื้น 9.76
ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้
-ยังไม่มีรายงาน-
ข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มีการศึกษาฤทธิ์ของสมุนไพร 2 ชนิด คือข่า (Alpinia galanga) และว่านนางคํา (Curcuma
aromatica) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้ในการรักษาปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
และใช้บํารุงผิว ทดสอบฤทธิ์ต้านการผลิตของสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด โดยทดสอบการทํางานและการแสดงออกของ
tyrosinase ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตเมลานิน และวัดปริมาณของเมลานินที่ถูกผลิตในเซลล์ human melanoma
(G361) ที่ได้รับการฉายแสง UVA นอกจากนั้นยังมีการศึกษาบทบาทต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรในการยับยั้ง
melanogenesis โดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งภาวะ oxidative stress ของเซลล์ และฤทธิ์กระตุ้น antioxidant
defenses ได้แก่ การทํางานของ catalase (CAT) และ glutathione peroxidase (GPx) และปริมาณ
glutathione (GSH) ภายในเซลล์ นอกจากนั้นยังศึกษาสารสําคัญของสมุนไพรโดยใช้เทคนิค thin layer
chromatography (TLC)-densitometric analysis การศึกษานี้พบว่า UVA (8 J/cm2) กระตุ้นการทํางาน
และการแสดงออกระดับ mRNA ของ tyrosinase และUVA (16 J/cm2) กระตุ้นการผลิตเมลานินของเซลล์
G361 อย่างไรก็ตามสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดสามารถยับยั้ง melanogenesis ดังกล่าวโดยลดการทํางานและการ
แสดงออกของ tyrosinase และลดการผลิตเมลานิน โดยไม่ทําให้เกิดพิษต่อเซลล์ นอกจากนั้นสมุนไพรทั้ง 2
ชนิดสามารถยับยั้ง UVA ที่ทําให้เกิด cellular oxidative stress การสูญเสียหน้าที่ของ CAT และ GPx และ
การลดลงของปริมาณ GSH และการศึกษาโดยใช้ TLC-densitometer พบว่า eugenolและ curcuminoids
น่าจะเป็นสารสําคัญในข่าและว่านนางคํา ตามลําดับ พบฤทธิ์ต้านการทํางานของ tyrosinae ของข่าและว่าน
นางคํา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และเป็นการศึกษาที่ไม่เคยรายงานมาก่อน โดยฤทธิ์ยับยั้ง
ภาวะ oxidative stress และกระตุ้น antioxidant defense อาจเป็นกลไกการออกฤทธิ์ทีสําคัญของสมุนไพร
ทั้ง 2 ชนิดในการลดการสร้างเม็ดสีที่เกิดจาก UVA
เอกสารอ้างอิง
ประภาวี นรเศรษฐบุตร.ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทย.โครงการพิเศษ ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล,2551

48

You might also like