การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอำนวยการ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

๑ 11 มี.ค.

54

เอกสารประกอบการบรรยายฉบับย่อ
เรื่อง การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ
โดย พลตรี เอนก แสงสุก
ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชการกองทัพไทย

๑. ความหมายของคา
ผู้บังคับบัญชา : ผู้ตกลงใจ ผู้ตัดสินใจ
ฝ่ายอานวยการ : ผู้ให้ข้อมูล ผู้เสนอแนะ
๒. ประเภทของฝ่ายอานวยการ : ฝอ.ประจาตัว ฝ่ายกิจการพิเศษ ฝอ.ประสานงาน
๓. ใครคือ ผบ. และ ฝอ. ใน บก.ทท. และ นขต.บก.ทท.
บก.ทท. : ผบ.ทสส. เป็น ผบ. จก.สธร.บก.ทท. เป็น ฝอ.
หน.นขต.บก.ทท. อื่น ๆ ไม่ใช่ ฝอ.
นขต.บก.ทท. : เจ้ากรม เป็น ผบ. ผอ.สานัก เป็น ฝอ.
สานัก : ผอ.สานัก เป็น ผบ. ผอ.กอง เป็น ฝอ.
กอง : ผอ.กอง เป็น ผบ. หัวหน้าแผนก และกาลังพลทุกคน เป็น ฝอ.
๔. หน้าที่ของฝ่ายอานวยการ : คิด เขียน พูด / อ่าน ฟัง สรุป
จะคิด เขียน พูด ให้ได้ดี ต้องหมั่นฝึกฝนการ อ่าน - สรุป และ ฟัง - สรุป
๕. ความหมายของข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ : ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของ ฝอ.
๖. รูปแบบข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ
๖.๑ แบบ ๖ หัวข้อ : ๑. ปัญหา ๒. สมมุติฐาน ๓. ข้อเท็จจริง ๔. ข้อพิจารณา ๕. ข้อสรุป ๖. ข้อเสนอ
๖.๒ แบบ ๔ หัวข้อ : ๑. ปัญหา ๒. ข้อเท็จจริง ๔. ข้อพิจารณา ๕. ข้อเสนอ
๖.๓ แบบ ๓ หัวข้อ : ๑............... ๒................ ๓. ข้อเสนอ
๖.๔ แบบ ๒ หัวข้อ : ๑.............. ๒. ข้อเสนอ
๗. ความหมายของคา
๗.๑ ปัญหา : เรื่องที่จะขออนุมัติ (ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร)
๗.๒ ข้อเท็จจริง : ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ข้อบังคับ ระเบียบ คาสั่ง นโยบาย การดาเนินการที่
ผ่านมา
๗.๓ ข้อพิจารณา : ความคิดเห็นของผู้ลงนามต่อเรื่องนี้
๗.๔ ข้อเสนอ : เสนอแนะต่อ ผบ. ว่า ควรอนุมัติให้ ใคร ทาอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร
๘. สิ่งที่ต้องยึดถือในการร่างหนังสือ
๘.๑ หลักการ : ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ระเบียบ กห. ระเบียบ/ข้อกาหนดของหน่วยเหนือ
๘.๒ แบบธรรมเนียมการปฏิบัติของหน่วย
๘.๓ นโยบายของผู้บังคับบัญชา
การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ โดย พลตรี เอนก แสงสุก www.anegsangsoog.com 0866441825
๒ 11 มี.ค. 54

๙. เทคนิควิธีในการร่างหนังสือ
๙.๑ จะร่างหนังสือให้ใครลงนาม ต้องสวมวิญญาณเป็นท่านผู้นั้น พยายามคิดอย่างท่านผู้นั้น
พยายามเขียนอย่างท่านผู้นั้น การรู้นิสัยใจคอของผู้บังคับบัญชาที่จะลงนาม และรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้ลงนามกับผู้รับหนังสือ จะทาให้การนึกคิดเพื่อร่างหนังสือมีความละเอียดลออ และตรงใจผู้ลงนามมากขึ้น
๙.๒ คิดข้อเสนอก่อน
๙.๓ ฉบับของ ผอ.กอง จะเสนอ เจ้ากรม ว่าอย่างไร
๙.๔ ฉบับของ เจ้ากรม จะเสนอ ผบ.ทสส. ว่าอย่างไร
๙.๕ สวมวิญญาณเป็นผู้ลงนาม คิดแบบผู้ลงนาม
๙.๖ แยกให้ออกว่า อะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรเป็นข้อพิจารณา
๙.๗ อาจใช้กระดาษโน้ตเขียนเป็นขีดนาไว้ก่อน แล้วจับกลุ่มภายหลังว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริง
อะไรเป็นข้อพิจารณา
๙.๘ คิดข้อ ๑ (ปัญหา) ในใจ ว่าจะเขียนอย่างไร
๙.๙ ให้ความสาคัญต่อฉบับของ เจ้ากรม เรียน ผบ.ทสส. มากกว่า เพราะเป็นฉบับหลัก
๙.๑๐ ฉบับของ ผอ.กอง เรียน เจ้ากรม กับฉบับของ เจ้ากรม เรียน ผบ.ทสส. เนื้อหาไม่ควร
เหมือนกันทั้งหมด (ยกเว้นเอกสารตามแบบที่กาหนด)
๙.๑๑ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ในกระดาษเสียก่อน
๙.๑๒ อ่านร่างที่เป็นตัวพิมพ์ แล้วปรับแก้สานวน ถ้อยคา ข้อความ ให้สมบูรณ์ ถูกต้อง ยิ่งขึ้น
๙.๑๓ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พิมพ์จริง แล้วนาเรียน ผอ.กอง พิจารณาลงนาม (ผอ.กอง อาจกาหนดให้เสนอ
ร่างที่เป็นตัวพิมพ์ในกระดาษเสีย เพื่อให้ตรวจก่อนพิมพ์จริงก็ได้)
๑๐. ขั้นตอนการร่างหนังสือของผู้บรรยาย
๑๐.๑ ขั้นตอนที่ ๑ การอ่านและสรุป การคิดโครงร่างในใจ และการวางแผนการเขียน
๑๐.๒ ขั้นตอนที่ ๒ การศึกษาหลักฐานเอกสาร และการประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง
๑๐.๓ ขั้นตอนที่ ๓ การลงมือร่างหนังสือ และหนังสือประกอบ
๑๑. ถกแถลง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
๑๒. สรุป สิ่งที่ควรระลึกถึงในการร่างหนังสือ คือ หลักการ แบบธรรมเนียมของหน่วย และนโยบายของ
ผู้บังคับบัญชา

การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ โดย พลตรี เอนก แสงสุก www.anegsangsoog.com 0866441825


๓ 11 มี.ค. 54

สรุปเทคนิคการร่างหนังสือ
 พยายามคิด เขียน ให้เป็นสานวนของ ผบ.หน่วย ถึง ผบ.หน่วย เช่น สานวนของ ผอ.กอง ถึง เจ้ากรม
หรือสานวนของ เจ้ากรม ถึง ผบ.ทสส. หรือสานวนของ ผบ.ทสส. ถึง รมว.กห.
 เรื่องที่มีรายละเอียดทางเทคนิค หรือรายละเอียดการปฏิบัติระดับเจ้าหน้าที่ ซึ่ง เจ้ากรม หรือ
ผบ.ทสส. ไม่จาเป็นต้องทราบ ควรย่อหรือสรุปสั้น ๆ
 ก่อนเริ่มลงมือเขียน ควรอ่านต้นเรื่องอย่างน้อย ๒ เที่ยว แล้วสรุปถามตัวเองว่า ใคร ต้องการอะไร
เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร
 แล้วคิดข้อเสนอในใจก่อนว่า เรื่องนี้ถ้าเราเป็น ผอ.กอง จะเสนอ เจ้ากรม ว่าอย่างไร ถ้าเราเป็น
เจ้ากรม จะเสนอ ผบ.ทสส. ว่าอย่างไร
 แล้วค่อยคิดว่าจะเขียน ข้อ ๑, ๒, ๓ ว่าอย่างไร จะใช้รูปแบบการเขียนแบบใด เช่น
ข้อ ๑, ๒, ๓, ๔. ข้อเสนอ หรือ ข้อ ๑, ๒. ข้อเท็จจริง , ๓. ข้อพิจารณา , ๔. ข้อเสนอ
 เขียนข้อ ๑ โดยการสรุปจากต้นเรื่องว่า ใคร ต้องการอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร
 เขียนข้อ ๒. ข้อเท็จจริง โดยการรวบรวมความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เช่น ระเบียบ คาสั่ง
อนุมัติหลักการ อนุมัติงบประมาณ ฯลฯ
 กรณีที่ไม่ต้องการใช้ ๒. ข้อเท็จจริง อาจใช้ ๒. เรื่องตามข้อ ๑ สรุปได้ดังนี้ หรือ
๒. กอง ฯ ขอเรียนดังนี้ หรือ ๒. เรื่องเดิม หรือ ๒. ความเป็นมา หรือ ๒. กองฯ พิจารณาและ
ดาเนินการดังนี้
 เขียนข้อ ๓. ข้อพิจารณา ให้เป็นความคิดเห็นของ ผอ.กอง หรือ เจ้ากรม จริง ๆ ไม่ใช่ความคิดเห็นของ
หัวหน้าแผนก ประเด็นการพิจารณาทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ประโยชน์ ข้อดี ผลดี ผลเสีย งบประมาณ
 ไม่ควรใช้คาว่า เห็นควร ในข้อที่เป็น ความเห็น หรือ ข้อพิจารณา เพราะคาว่า เห็นควร เป็นลักษณะ
ของ การเสนอแนะ ควรเขียนไว้ใน ข้อเสนอ หากจะเขียนไว้ในข้อที่เป็น ความเห็น หรือ ข้อพิจารณา
ควรใช้คาว่า สมควร
 การเขียนข้อเสนอ ควรระบุให้สมบูรณ์ว่า ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร หรือ อนุมัติ
งบประมาณจานวนเท่าใด ให้หน่วยใด ไปทาอะไร เมื่อไร ที่ไหน (เมื่อไร กับ ที่ไหน อาจใช้
ตามข้อ ๑ แทนก็ได้) เช่น ๔.๑ อนุมัตใิ ห้ ศรภ. นานายทหารนักเรียนหลักสูตรข่าวกรองทางยุทธศาสตร์
รุ่นที่ ๔๒ พร้อมข้าราชการ ศรภ. รวม ๔๐ คน เดินทางไปศึกษาภูมิประเทศและดูกิจการ ณ ประเทศ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตามข้อ ๑ เป็นต้น
 ไม่ควรเขียนข้อเสนอว่า ๔. ข้อเสนอ เห็นควรดาเนินการตามข้อ ๓.๓ (ซึ่งเป็นข้อความที่อยู่ในข้อที่เป็น
ข้อพิจารณา) ควรใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
๑. เปลี่ยนข้อ ๓.๓ ให้เป็น ๔. ข้อเสนอ แล้วใช้ข้อความตามเดิม
๒. เขียนข้อความในข้อ ๓.๓ ให้เป็นลักษณะของความคิดเห็นแบบกว้าง ๆ แล้วนามาเขียน
รายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในข้อ ๔. ข้อเสนอ

การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ โดย พลตรี เอนก แสงสุก www.anegsangsoog.com 0866441825


๔ 11 มี.ค. 54

 เรื่องที่รายงานเพื่อทราบ แต่มีการขออนุมัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเนื่องกันด้วย ไม่ควรใช้ คาลงท้ายว่า


จึงเรียนมาเพื่อกรุณาทราบและอนุมัติในข้อ ๓ ควรใช้ จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณา หากเห็นสมควร
กรุณาอนุมัติในข้อ ๓ (หรือตามแบบธรรมเนียมของ กรม, บก.ทท.)
 ข้อควรระวัง
๑. ต้องใช้หัวข้อหรือรูปแบบที่กาหนดเสมอ ที่ควรระวัง คือ ถ้ามีข้อ ๒. ข้อเท็จจริง ต้องมี
๓. ข้อพิจารณา เสมอ หากมีข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียว แล้วไม่มีอีกข้อหนึ่ง ถือว่า ผิดรูปแบบ
๒. ทุกเรื่องที่เป็นเรื่อง ขออนุมัติ ไม่ใช่เรื่องเพื่อทราบ ต้องมี ข้อเสนอ เป็นข้อสุดท้ายเสมอ
๓. ไม่ควรเขียนข้อความที่เป็นลักษณะ การเสนอแนะ ไว้ในข้อเดียวกับ ข้อพิจารณา หรือ
ข้อที่เป็นความคิดเห็น ควรตัดตอนมาเขียนใหม่ใน ข้อเสนอ หรือถ้าต้องการกล่าวถึงเพื่อให้สอดคล้องกัน
ควรกล่าวแต่เพียงกว้าง ๆ โดยใช้คาว่า สมควร
 ข้อคิดบางประการ (หากต้องการทางานอย่างมีความสุข)
๑. ไม่ควรยึดติดกับรูปแบบหนังสือที่ผู้บังคับบัญชาลงนามให้แล้วในฉบับก่อน ๆ แล้วนามา
อ้างว่า “เรื่องที่แล้วนายยังเซ็นเลย” ควรยึดถือ หลักการ เพราะนายอาจเซ็นให้เพราะเห็นว่าพอปล่อยไปได้
หรือเพราะไม่อยากให้เรื่องช้า หรือเพราะเบื่อที่จะพูดแล้ว ก็ได้ (อย่าดื้ออย่ารั้น)
๒. สามารถควรอ้าง หลักการ กับหน้าห้องผู้บังคับบัญชาเท่านั้นว่า เหตุใดจึงร่างแบบนั้น
แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาที่เป็นผู้ลงนามสั่งให้แก้ไขแล้ว ไม่ควรดื้อดึงขอเข้าพบเพื่ออ้าง หลักการ กับท่าน
(ชนะแล้วได้อะไร มิตรหรือศัตรู)
๓. ควรยึดถือ นโยบาย ของผู้บังคับบัญชาที่เป็นผู้ลงนาม หรือ แบบธรรมเนียมของหน่วย
เป็นหลัก เพราะเราไม่ได้เป็นผู้ลงนามเอง ฉะนั้น ถ้าหน้าห้องผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาจะเอาแบบ
ไหน เมื่อเราชี้แจงเหตุผลแล้ว ท่านยืนยันให้แก้ไข ก็ควรทาใจยอมรับและแก้ไขตามนั้นโดยไม่หงุดหงิด
(รู้จักปล่อยวางซะบ้าง)

การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอานวยการ โดย พลตรี เอนก แสงสุก www.anegsangsoog.com 0866441825

You might also like