Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 6

แนวความคิ ดการออกแบบตามสาขาวิชาชีพ

งานวิ ศวกรรมโครงสร้าง

การออกแบบโครงสร้ างของอาคารวิจยั ธรณีวิทยา และวิศวกรรมปิ โตรเลียม ให้ มนั่ คงแข็งแรงและสอดคล้ อง


กับแนวความคิดหลักของงานออกแบบ จะต้ องมีการกำหนดเป้าหมายการออกแบบ ให้ ได้ อาคารซึง่ มีคณ ุ สมบัติ
พิเศษ ที่นอกเหนือจากข้ อกำหนดทัว่ ไปสำหรับการออกแบบโครงสร้ างอาคารที่สำคัญ ดังต่อไปนี ้

(ก) โครงสร้ างอาคารจะต้ องสามารถต้ า นทานแรงแผ่นดินไหวที่มีอตั ราความเร่ง ของพื ้นดินได้ หมายถึง


อาคารในพื ้นที่ของโซน 3 (พระนครศรี อยุธยา) ตามมาตรฐาน ม.ย.ผ. 1302-52 ประกอบการออกแบบ
อาคารเพื่อต้ านทานการสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
(ข) อัตราการทนไฟของโครงสร้ างหลักของอาคาร ต้ องไม่น้อยกว่า 3 ชัว่ โมง (3 hour Fire rating)
(ค) ระยะเคลื่อนในแนวราบที่ยอดอาคารไม่เกิน h/500 (h = ความสูงของอาคาร) ภายใต้ แรงลมสูงสุด และ
ค่าการสัน่ ไหวของอาคาร มีคา่ ไม่เกิน 0.15 m/s² ในกรณีของอาคารที่พกั อาศัยหรื อ 0.25 m/s² ในกรณี
ของอาคารพาณิชย์ ซึง่ หมายความว่า คนที่อยู่ชนบนสุ
ั้ ดของอาคารจะไม่ร้ ูสกึ ถึงการเคลื่อนไหวของอาคาร
(ง) การทรุดตัวของฐานรากต้ องไม่เกิน 15 มิลลิเมตร ทังในระหว่
้ างการก่อสร้ างและตลอดอายุการใช้ งานของ
อาคาร เพื่อมิให้ เกิดปั ญหาการแตกร้ าวของผนังอิฐก่อ
(จ) การออกแบบและก่อสร้ างห้ องใต้ ดินของอาคารจะต้ องปลอดภัยจากปั ญหาน้ำท่วม สำหรับคาบการเกิด
ซ้ำในรอบ 1,000 ปี ได้ นอกจากนี ้จะต้ องคำนึงถึงการรักษาให้ ปริ มาณดินขุดและดินถมมีความสมดุลและ
จำกัดอยู่เฉพาะภายในพื ้นที่ เพื่อลดปั ญหาผลกระทบสิ่งแวดล้ อมในการลำเลียงดินขุดที่เหลืออยู่ออกจาก
พื ้นที่

ระบบโครงสร้ างที่จะใช้ ในการออกแบบอาคารเพื่อให้ ได้ เป้าหมายที่กำหนดไว้ ข้างต้ น

การวิเคราะห์โครงสร้ างจะกระทำโดยการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้ รับความเชื่อถือจากวงการวิศวกรรม


และจะมีการตรวจทานจากการคำนวณซ้ำด้ วยมืออีกครัง้ เพื่อให้ แน่ใจในผลวิเคราะห์โครงสร้ างที่ได้

ระบบโครงสร้ างที่นำมาใช้ ในการออกแบบนัน้ แบ่งออกเป็ น 2 ส่วนสำคัญ ดังนี ้

(ก) ระบบโครงสร้ างรับแรงในแนวดิ่ง จะใช้ โครงสร้ างแผ่นพื ้นคอนกรี ตชนิดไร้ คาน (Flat Slab) ออกแบบให้
สามารถรับน้ำหนักบรรทุกจรได้ ตามข้ อกำหนด รองรับด้ วยเสาเป็ นคอนกรี ตเสริ มเหล็ก โดยมีการถ่ายน้ำ
หนักในแนวดิ่งจากระบบพื ้นไปสูเ่ สา และเสาหรื อกำแพงปล่องลิฟต์ลงสูฐ่ านรากตามลำดับ
(ข) ระบบโครงสร้ างรับแรงด้ านข้ าง จะเป็ นระบบโครงข้ อแข็งเสมือน โดยพิจารณาแถบออกแบบบริ เวณเสา
(Column- Strip) เป็ นโครงข้ อแข็งเสมือนที่มีความเหนียว (Ductility) ซึง่ เป็ นการทำงานร่วมกันระหว่าง
แผ่นพื ้นและเสา หรื อกำแพงปล่องลิฟต์ของอาคาร

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบโครงสร้ างอาคารที่ใช้ ในการออกแบบนัน้ มีดงั นี ้

อาคารวิจัยธรณีวิทยา และวิศวกรรมปิ โตรเลียม

ระบบฐานราก
ระบบฐานรากเป็ นฐานเฉพาะเสา (Individual Column Footing) ชนิดคอนกรี ตเสริ มเหล็กรองรับด้ วยเสา
เข็มเจาะคอนกรี ตขนาดใหญ่ชนิดหล่อในที่ (Cast in-situ large diameter bored pile) มีปลายเสาเข็มวางอยู่ในชัน้
ทรายแข็ง เพื่อมิให้ เกิดการทรุดตัวต่างกันของโครงสร้ างอาคารในระยะยาวซึง่ จะทำให้ เกิดปั ญหาการแตกร้ าวขึ ้นได้
นอกจากนี ้ ยังทำให้ การก่อสร้ างมีผลกระทบน้ อยที่สดุ ต่อสภาพแวดล้ อม และยังลดระยะเวลาในการก่อสร้ างเสาเข็ม
อีกทังไม่
้ เป็ นอุปสรรคต่อการขุดดิน และลดค่าก่อสร้ างในส่วนของฐานราก ทังนี ้ ้ จะต้ องมีการเจาะสำรวจชันดิ
้ นเพื่อนำ
ข้ อมูลมาประกอบการออกแบบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม

ในการออกแบบระบบฐานรากจะพิจารณาการใช้ เสาเข็มเพียงหนึง่ ต้ นรองรับน้ำหนักจากเสาแต่ละต้ นของ


อาคารเพื่อให้ มีจำนวนเสาเข็มน้ อยที่สดุ ซึง่ จะทำให้ การก่อสร้ างมีผลกระทบน้ อยที่สดุ ต่อสภาพแวดล้ อม และยังลด
ระยะเวลาในการก่อสร้ างเสาเข็ม อีกทังไม่้ เป็ นอุปสรรคต่อการขุดดิน และลดค่าก่อสร้ างในส่วนของฐานราก เนื่องจาก
สามารถถ่ายน้ำหนักจากเสาของอาคารลงสูห่ วั เสาเข็มได้ โดยตรง

นอกจากนี ้ ในการออกแบบระบบฐานรากจะพิจารณาให้ มีคานยึดโยงระหว่างเสาเหนือฐานรากด้ วย เพื่อให้


โครงสร้ างมีเสถียรภาพมากขึ ้น เมื่อรับแรงกระทำด้ านข้ าง นอกจากนี ้ คานดังกล่าวยังสามารถใช้ รับแรงที่เกิดจากการ
เจาะเสาเข็มเยื ้องศูนย์ด้วย

โครงสร้างพืน้ ชัน้ เหนือดิ น

ระบบโครงสร้ างพื ้นชันเหนื


้ อดิน ส่วนใหญ่จะเป็ นระบบแผ่นพื ้นคอนกรี ตชนิดไร้ คาน (Flat Slab) มีความ
หนาประมาณ XXX มิลลิเมตร และ Drop panel หนา XXX มิลลิเมตร ตรงบริ เวณเสาในบางพื ้นที่ ต้ องออกแบบให้
สามารถรับน้ำหนักบรรทุกจรได้ ตามข้ อกำหนด และต้ องสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกที่เกิดขึ ้นในระหว่างการก่อสร้ าง
เช่น น้ำหนักจากค้ำยันของการก่อสร้ างพื ้นชันที ้ ่อยู่เหนือขึ ้นไป ระบบแผ่นพื ้นไร้ คานนี ทำ
้ ให้ สามารถก่อผนังได้ ในทุก
พื ้นที่ จึงมีความคล่องตัวในการจัดพื ้นที่ อีกทังโครงสร้
้ างพื ้นระบบนี ้มีความสามารถต้ านทานน้ำหนักบรรทุกเกินพิกดั
ในบริ เวณที่จำกัดได้ ดี และสามารถกระจายน้ำหนักบรรทุกที่เกินพิกดั นี ้ไปยังพื ้นที่ข้างเคียงได้ เหมาะสมกับอาคาร
สำนักงานสมัยใหม่ที่อาจมีการจัดวางอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากๆ ในบางพื ้นที่ของส่วนการจัดกิจกรรม นอกจากนี ้การ
เดินท่อทางของงานระบบเหนือฝ้าเพดานก็ไม่มีอปุ สรรคกีดขวางจึงเป็ นการลดความปริ มาตรสูญเปล่าเหนือฝ้าเพดาน
ของอาคารลงได้ ดีที่สดุ

สำหรับหลังคาและดาดฟ้าของอาคารจะเป็ นพื ้นคอนกรี ตชนิดไร้ คาน ออกแบบให้ สามารถรับน้ำหนักบรรทุก


คงที่รวมถึงน้ำหนักจากการจัดภูมิสถาปั ตยกรรมและน้ำหนักบรรทุกจรตามสภาพการใช้ งานได้ ซึง่ ทำให้ ปลอดจาก
การรั่วซึมของน้ำฝนและยังเป็ นฉนวนกันความร้ อนและเสียงได้ ดีที่สดุ อีกด้ วย

มาตรฐานการออกแบบโครงสร้ างอาคาร (Building Design Codes)

การออกแบบโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็กและโครงสร้ างเหล็กของอาคารจะใช้ ทฤษฎี กำลังประลัย (Ultimate


Strength Design) โดยมีมาตรฐานอ้ างอิงดังนี ้

- มาตรฐาน ว.ส.ท. 1008-38 : มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรี ตเสริ มเหล็ก โดยวิธีกำลัง


- มาตรฐาน ว.ส.ท. 1015-40 : มาตรฐานสำหรับเหล็กรูปพรรณ
- มาตรฐาน ว.ส.ท. 1009-34 : มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรี ตอัดแรง
- ม.ย.ผ. 1311-50 มาตรฐานการคํานวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง
กระทรวงมหาดไทย
- ม.ย.ผ. 1302-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้ านทานการสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว กรม
โยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
- ACI 318-99 : มาตรฐานการออกแบบโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก
- ว.ส.ท. 1020-46 : มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กรูปพรรณ โดย ตัวคูณความต้ านทานและน้ำหนัก
บรรทุก

ข้ อบัญญัติ
- กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
- พระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
- การออกแบบอาคารเพื่อต้ านทานการสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวง พ.ศ.2550 (ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 124 ตอนที่ 86 หน้ า 17 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2550)

น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ ออกแบบ (Design Gravity Loads)

น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ ในการออกแบบจะต้ องเป็ นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารและสภาพการใช้ งาน


โครงสร้ างของอาคารแต่ละส่วนได้ ถกู ออกแบบให้ สามารถรับน้ำหนักบรรทุก ได้ ดงั นี ้

น้ำหนักบรรทุกคงที่
- น้ำหนักคอนกรี ตเสริ มเหล็ก 2400 กก./ลบ.ม.
- น้ำหนักเหล็กเสริ ม 7850 กก./ลบ.ม.
- น้ำหนักเหล็กรูปพรรณ 7850 กก./ลบ.ม.
- น้ำหนักดิน 1800 กก./ลบ.ม.
- วัสดุตกแต่งพื ้น 120 กก./ตร.ม.
- ฝ้าเพดานและงานระบบ 30 กก./ตร.ม.
- ผนังคอนกรี ตสำเร็จรูป 3000 กก./ม.
- ผนังกระจก 1000 กก./ม.
- ผนังก่อครึ่งแผ่น 180 กก./ตร.ม.
- ผนังก่อเต็มแผ่น 360 กก./ตร.ม.
- บันไดเลื่อน (1 ชุด) 7000 กก./หน่วย
- สวน : ความสูงดิน 1.2 ม. 2160 กก./ตร.ม.
- หน่วยน้ำหนักน้ำ 1000 กก./ลบ.ม.
น้ำหนักบรรทุกจร
- หลังคาคอนกรี ต 500 กก./ตร.ม.
- บันได,ห้ องโถงและทางเดิน 500 กก./ตร.ม.
- ห้ องทำงาน (office) 300 กก./ตร.ม.
- ห้ องเก็บเอกสาร 500 กก./ตร.ม.
- สวน 600 กก./ตร.ม.
- ที่จอดรถ 400 กก./ตร.ม.
- ภัตตาคาร 400 กก./ตร.ม.
- ห้ องโถง 500 กก./ตร.ม.
- ห้ องไฟฟ้า และ AHU 500 กก./ตร.ม.
- ห้ อง Chillers และ MDB 1500 กก./ตร.ม.
- ห้ อง Cooling Tower 1500 กก./ตร.ม.
- ห้ อง Duct Collection 500 กก./ตร.ม.

หมายเหตุ บริ เวณอื่นที่มิได้ มีข้อกำหนดของกฎหมายให้ ใช้ น้ำหนักบรรทุกจรตามสภาพการใช้ งานจริ ง

การรวมน้ำหนักบรรทุก
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้ กำหนดการ
รวมน้ำหนักบรรทุกเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกต่างๆ ไว้ ดงั นี ้

สำหรับการออกแบบโครงสร้ างคอนกรีต:
1.4 DL
1.4 DL + 1.7LL
0.75*(1.4 DL + 1.7 LL + 1.7 WL)
0.75*(1.4 DL + 1.7 LL + 1.87 EQ)
0.9 DL + 1.3 WL
0.9 DL + 1.43 EQ
1.4 DL + 1.7 LL + 1.7 H
1.4 DL + 1.7 LL + 1.4 W
สำหรับการออกแบบโครงสร้ างเหล็ก:
DL
DL+LL
0.75(DL+LL+WL)
0.75(DL+LL+EQ)
โดยที่ DL = น้ำหนักบรรทุกคงที่
LL = น้ำหนักบรรทุกจร
WL = แรงลม
EQ = แรงแผ่นดินไหว
H = แรงดันดิน
W = แรงดันน้ำ

แรงกระทำด้ านข้ าง (Design Lateral Load)

(ก ) แรงลม (Wind Load)


แรงลมที่ใช้ ในการออกแบบจะอ้ างอิงกับ ม.ย.ผ. 1311-50 มาตรฐานการคํานวณแรงลมและการตอบสนอง
ของอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ไม่น้อยกว่าข้ อ กำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 โดยขนาดของแรงลมจะแปรตามความสูงของอาคารดังนี ้

50 กิโลกรัม ต่อ ตารางเมตร จากระดับพื ้นถึงความสูงระดับ 10 เมตร

80 กิโลกรัม ต่อ ตารางเมตร ความสูงระหว่าง 10 เมตร และ 20 เมตร

120 กิโลกรัม ต่อ ตารางเมตร ความสูงระหว่าง 20 เมตร และ 40 เมตร

160 กิโลกรัม ต่อ ตารางเมตร ความสูง มากกว่า 40 เมตร ขึ ้นไป

(ข) แรงกระทำจากแผ่นดิ นไหว (Seismic Load)

การวิเคราะห์ผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีตอ่ โครงสร้ าง จะเป็ นไปตามมาตรฐาน ม.ย.ผ. 1302-52 ประกอบ


การออกแบบอาคารเพื่อต้ านทานการสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

(ค) แรงดันดิ น

แรงดันดินคำนวณจากคุณสมบัติของดินที่ได้ จากรายงานการเจาะสำรวจดิน

กำลังของวัสดุท่ ใี ช้ ออกแบบ

คอนกรีต
กำลังคอนกรี ตจะขึ ้นอยู่หรื อยึดติดกับกำลังของตัวอย่างทดสอบลูกทรงกระบอก ชนิดคอนกรี ตแบ่งตามการใช้
งานทัว่ ไปของแต่ประเภทตามต่อไปนี ้
- พื ้นคอนกรี ตอัดแรง 320 กก/ซม 2
- เสาและกำแพง Shear Wall 400 กก/ซม 2
- โครงสร้ างส่วนอื่น 320 กก/ซม 2
- เข็มเจาะ 320 กก/ซม 2
เหล็กเสริม
เหล็กเส้ นกลมต้ องตรงตามขนาดมาตราฐาน มอก 24-2527 ชนิด SR 24 โดยมีกำลังครากต่ำสุดเท่ากับ 2,400
กก/ซม 2
เหล็กเส้ นข้ ออ้ อยที่มีเส้ นผ่าศูนย์กลางน้ อยกว่า 32 มิลลิเมตร ต้ องตรงตามขนาดมาตราฐาน มอก 24-2527 ชนิด
SD 40 โดยมีกำลังครากต่ำสุดเท่ากับ 4,000 กก/ซม 2
เหล็กเส้ นข้ ออ้ อยที่มีเส้ นผ่าศูนย์กลางตังแต่
้ 32 มิลลิเมตร ขึ ้นไปต้ องตรงตามขนาดมาตราฐาน มอก 24-2527
ชนิด SD 50 โดยมีกำลังครากต่ำสุดเท่ากับ 5,000 กก/ซม 2
เหล็กรูปพรรณ
เหล็กรี ดร้ อนสำหรับ Truss และ Girder ต้ องตรงตามมาตราฐาน มอก 1227-2539 ชนิด SM 490 โดยมีกำลัง
ครากต่ำสุดเท่ากับ 325 MPa (3,314 กก/ซม 2)

ความทนทาน

ความหนาคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริม
ความหนาคอนกรี ตหุ้มเหล็กเสริ มน้ อยสุดดังนี ้
- เสาเข็มหล่อในที่ 75 มม
- ฐานรากเหนือเสาเข็ม 75 มม
- โครงสร้ างที่สมั ผัสดิน 75 มม
- คาน 40 มม
- เสาและกำแพงรับแรงเฉือน 40 มม
- พื ้น 30 มม
- กำแพงทัว่ ไป 30 มม

พิกัดการโก่ งตัว

ระยะการโก่งตัวมากที่สดุ จากการคำนวณที่ยอมรับได้ จะต้ องเป็ นไปตามมาตราฐาน ACI 318-99 ตาราง 9.5(b)


ของมาตรา 9.5.2.6
สำหรับพื ้นคอนกรี ตอัดแรง การโก่งตัวอันเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกคงที่ถาวรและจากการอัดแรงคอนกรี ต (pre-
stress forces) จะคำนวณตามมาตราฐาน ACI 318-99 มาตรา 9.5.4.2 การโก่งตัวที่เพิ่มขึ ้นในระยะยาวจะเป็ น 2 เท่า
ของการโก่งตัวทันที

You might also like