Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 47

อนุสรณ์

งานพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์เกียรติคณ
ุ นายแพทย์นิวฒ
ั น์ จันทรกุล
ณ เมรุวดั มกุฏกษัตริยาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔
ชาตะ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๗๔
มรณะ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔
สิริรวมอายุ ๗๙ ปี

สานึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบถวายบังคมพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชิ นีน าถ สํา นึ ก ในพระกรุ ณ าธิ คุ ณทั้ง ปวงที่ ใ ต้ฝ่ าละอองธุ ลี พ ระบาททรงพระกรุ ณ าพระราชทานแก่
ศาสตราจารย์เ กี ย รติ คุ ณ นายแพทย์ นิ ว ัฒ น์ จัน ทรกุ ล ม.ป.ช., ม.ว.ม. กราบถวายบัง คมลาถึ ง แก่ อ นิ จ กรรม
เนื่องจากปอดติดเชื้อในโรงพยาบาล ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุ งเทพมหานคร เมื่อวันพุธที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา
๐๒.๒๕ น. ความทราบฝ่ าละอองธุ ลี พ ระบาท พระบาทสมเด็ จ พระเจ้า อยู่ หั ว ฯ ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า
โปรดกระหม่ อมพระราชทานโกศแปดเหลี่ ย ม ฉัตรเบญจาตั้ง ประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคม เวลาพระราชทาน
นํ้าหลวงอาบศพ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กําหนด ๓ คืน และทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้า ฯ ให้
นายชาญชัย ลิ ขิตจิตถะ องคมนตรี เชิ ญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรม
ราชินีนาถ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิ ริวฒั นาพรรณวดี และของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรราชาทินดั ดามาตุ ไปวางไว้ที่หน้าโกศศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ นิ วฒั น์ จันทรกุล ม.ป.ช., ม.ว.ม.
ที่ศาลา ๔ วัดมกุฏกษัตริ ยาราม เขตพระนคร กรุ งเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๙.๐๐ น.
เมื่อถึงกําหนดการรับพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อม พระราชทานเพลิ งในวันพุธที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ เมรุ วดั มกุฏกษัตริ ยาราม เขต
พระนคร กรุ งเทพมหานคร
นับเป็ นเกี ยรติยศและพระมหากรุ ณาธิ คุณ แก่ ศาสตราจารย์เกี ยรติคุณนายแพทย์ นิ วฒั น์ จันทรกุล ม.ป.ช.,
ม.ว.ม. เป็ นล้นพ้น หากผูว้ ายชนม์มีญาณวิถีใดที่ได้ทราบแล้ว ก็คงมีความปลามปลื้มปิ ติโสมนัสและสํานึ กในพระมหา
กรุ ณาธิคุณเป็ นล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ในนาม ภริ ยา – บุ ต ร รวมทั้ ง ญาติ มิ ต รของศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ นายแพทย์
นิวฒั น์ จันทรกุล ม.ป.ช., ม.ว.ม. ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบถวายบังคมมาแทบเบื้องยุคลบาท ด้วย
ความจงรักภักดี และสํานึ กในพระมหากรุ ณาธิ คุณเป็ นล้นพ้น และจะเทิดทูนไว้เหนื อเกล้าเหนื อกระหม่อม เพื่อเป็ น
เกี ย รติ และสวัส ดิ ม งคลแก่ วงศ์ต ระกู ล สื บ ไป นับ เป็ นพระมหากรุ ณาธิ คุ ณ ล้นเกล้า ล้นกระหม่ อมหาที่ สุ ด มิ ไ ด้แ ก่
ครอบครัว จันทรกุล

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
นาง ลัดดา จันทรกุล
พลเรื อตรี พฤหัส – พลตรี หญิง บุศรา จันทรกุล
นาย อาทิตย์ - นางระพีพร จันทรกุล
นาย นิดิชญ์ จันทรกุล

พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อม

ประวัติ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์นิวฒ
ั น์ จันทรกุล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์นิวฒั น์ จันทรกุล เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.


๒๔๗๔ ที่หมู่บา้ นห้วยลึก ตําบลดอนประดู่ อําเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง เป็ นบุตรของ นายแดง - นางสงวน (หั้ว)
จันทรกุล มีพี่นอ้ งร่ วมบิดา มารดา จํานวน ๕ คน คือ
๑. พลเรื อโท อนันต์ (เขียนเอก) จันทรกุล
๒. นางศิริรัตน์ สุ เอียนทรเมธี
๓. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นิวฒั น์ (ประวาว) จันทรกุล
๔. นายประวิทย์ จันทรกุล
๕. นางสาวสํารวย จันทรกุล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์นิวฒั น์ จันทรกุล ได้สมรสกับนางลัดดา จันทรกุล (นามสกุลเดิม


มโนรัตน์) (ตุ)๊ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๒ มีบุตรชาย ๓ คน คือ
๑. พลเรื อตรี พฤหัส จันทรกุล (แมว)
สมรสกับ พลตรี หญิง บุศรา จันทรกุล (นามสกุลเดิม บุณยทรรพ) (โอ๋ )
๒. นายอาทิตย์ จันทรกุล (หมู)
สมรสกับ นางระพีพร จันทรกุล (นามสกุลเดิม สง่าเมือง) (ตุก๊ ตา)
๓. นายนิดิชญ์ จันทรกุล (ต่อ)

การศึกษา

พ.ศ.๒๔๘๕ จบชั้นประถมศึกษา โรงเรี ยนประชาบาลวัดห้วยลึก อําเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง


พ.ศ.๒๔๘๘ จบชั้นมัธยมปี ที่ ๓ โรงเรี ยนวชิรานุกลู อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา
พ.ศ.๒๔๙๑ จบชั้นมัธยมปี ที่ ๖ โรงเรี ยนมหาวชิราวุช อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา
พ.ศ.๒๔๙๓ จบชั้นมัธยมปี ที่ ๘โรงเรี ยนวัฒนศิลป์ วิทยาลัย กรุ งเทพมหานคร
พ.ศ.๒๔๙๕ จบเตรี ยมแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.๒๕๐๑ แพทยศาสตร์บณ ั ฑิต คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.๒๕๒๙ อนุมตั ิบตั รพยาธิวทิ ยากายวิภาค ของแพทยสภา
พ.ศ.๒๕๓๓ Fellow of the International College of Surgeons (F.1.C.S)

การรับราชการ

พ.ศ.๒๕๐๑ - ๒๕๐๒ แพทย์ประจําบ้าน ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ และศิริราชพยาบาล


มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.๒๕๐๒ - ๒๕๐๙ อาจารย์โท ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.๒๕๐๙ - ๒๕๑๒ อาจารย์เอก ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๕ อาจารย์เอก ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิ ดล
พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๑๗ ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิ ดล
พ.ศ.๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ อาจารย์ช้ นั พิเศษ ภาควิชาพยาธิ วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิ ดล
พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๒๓ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิ ดล
พ.ศ.๒๕๒๓ - ๒๕๓๕ ศาสตราจารย์ ภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิ ดล
พ.ศ.๒๕๓๖ - ปัจจุบนั ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาพยาธิ วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

ตาแหน่ งบริหาร

พ.ศ.๒๕๒๔- ๒๕๒๘ รองหัวหน้าภาควิชาพยาธิวทิ ยา


พ.ศ.๒๕๒๘- ๒๕๓๔ หัวหน้าภาควิชาพยาธิวทิ ยา

การศึกษา ดูงาน และการประชุมต่ างประเทศ

พ.ศ.๒๕๐๗ ประชุมสมาคมต่อต้านโรคมะเร็ งนานาชาติ (U.I.C.C) เรื่ อง Nasopharyngeal Cancer ร่ วมกับ


ศาสตราจารย์นายแพทย์สงัด กาญจนกุณชร โดยทุนขององค์การอนามัยโลก เป็ นเวลา ๔ วัน ณ ประเทศ
สิ งคโปร์
พ.ศ.๒๕๑๒ ศึกษาและอบรมเกี่ยวกับ Tumor Registry และ Leprosy ที่ประเทศอินเดีย เป็ นเวลา ๓ เดือน โดยทุน
ขององค์การอนามัยโลก
พ.ศ.๒๕๑๕ ฝึ กอบรมทาง Electron Microscopy ที่ Chester-Beatty Institute of Cancer Research, London,
England เป็ นเวลา ๑ ปี โดยทุนขององค์การอนามัยโลก
พ.ศ.๒๕๑๕ ดูงานที่โรงงานผลิตเครื่ องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ของบริ ษทั Hitachi เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็ น
เวลา ๗ วัน โดยทุนของบริ ษทั Hitachi
พ.ศ.๒๕๒๔ ประชุมโครงการแลกเปลี่ยนความรู ้เกี่ยวกับมะเร็ งเต้านมกับการใช้ยาคุมกําเนิ ดขององค์การอนามัยโลก เป็ น
เวลา ๑๐ วัน โดยทุนขององค์การอนามัยโลก
พ.ศ.๒๕๓๒ โครงการดูงานของกลุ่มหัวหน้าภาควิชาปรี คลีนิกของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิ ดล เป็ น
เวลา ๒๔ วัน โดยเยีย่ มดูงานที่โรงเรี ยนแพทย์ในประเทศเยอรมัน อังกฤษ แคนาดา และสหรัฐอเมริ กา โดย
ทุนไชน่า เมดิเกิล บอร์ ด

หน้ าทีก่ ารงาน


๑. การสอน
๑.๑ การสอนนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- สอนวิชาพยาธิ วทิ ยาแก่นกั ศึกษาปี ที่ ๓ ตลอดปี การศึกษา ทั้งการบรรยายและการปฏิบตั ิ
- สอนนักศึกษาปี ที่ ๔,๕ และ ๖ โดยวิธีผสมผสานร่ วมกับภาควิชาคลีนิคด้วย ปี ๒๕๒๙-๒๕๓๕
- นักศึกษาปี ที่ ๓ บรรยายทั้งหมด ๘๖ ชม. อธิบายและควบคุมงานปฏิบตั ิ ๒๕๒ ชม.
๑.๒ สอนวิชาพยาธิ วทิ ยา แก่นกั ศึกษาแพทย์ปีที่ ๓ ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ปี ละ ๖ ชัว่ โมง ทุก ๆ ปี
๑.๓ สอนวิชาพยาธิ วทิ ยา แก่นกั ศึกษาแพทย์ปีที่ ๓ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทร
วิโรฒ ปี ละ ๕ ชัว่ โมง ทุกๆ ปี
๑.๔ สอนวิชาพยาธิ วิทยา แก่นกั ศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี ละ ๖ ชัว่ โมง ในปี พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๕
๑.๕ สอนวิชาพยาธิ วทิ ยา แก่นกั ศึกษาพยาบาลปี ที่ ๓ ของวิทยาลัยพยาบาล โรงพยาบาลโรคทรวงอก นนทบุรี
ปี ละ ๖ ชัว่ โมง ในปี พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๓๕

๑.๖ สอนวิชาพยาธิ วทิ ยา แก่นกั ศึกษาพนักงานวิทยาศาสตร์ การแพทย์, นักศึกษาอายุรเวทวิทยาลัย,


นักศึกษาเวชนิทศั น์, นักศึกษากายภาพบําบัด, นักศึกษาวิทยาศาสตร์ การกีฬา และนักศึกษารังสี เทคนิค ซึ่ง
บรรยายร่ วมกัน โดยบรรยาย ๓ ชัว่ โมง จากชัว่ โมงบรรยายทั้งหมด ๑๗ ชัว่ โมง ทุกๆ ปี ตลอดมา
๑.๗ สอนพยาธิวทิ ยาโรคผิวหนัง ในการอบรม Diploma Course in Dermatology ของสถาบันโรคผิวหนัง
กรมการแพทย์ ทุกปี
๑.๘ สอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ เกี่ยวกับพยาธิ วทิ ยาศัลยกรรม และการตรวจศพ แก่แพทย์ประจําบ้าน พยาธิ
วิทยากายวิภาค ทั้ง ๓ ชั้นปี ตลอดปี โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ ๒ ชัว่ โมง ตลอดปี ทุกๆ ปี
๑.๙ สอนพยาธิวิทยาของกามโรค ในการอบรมกามโรคประจําปี ของโรงพยาบาล บางรัก กระทรวงสาธารณสุ ข ทุกปี
๑.๑๐ Lecture of a tropic of “Pathology of Cancer” in A Course of Cancer Epidenieology;
Sponsor by WHO at National Cancer Institute, Thailand. พ.ศ.๒๕๒๗
๑.๑๑ สอนทางห้องปฏิบตั ิการพยาธิ วทิ ยา แก่นิสิต สัตวแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑-
๒๕๑๗ ร่ วมกับ ศ.นพ.ประดิษฐ์ ตันสุ รัต และ ศ.นพ.ประเสริ ฐ์ ปาจรี ย ์

๑.๑๒ สอนวิชาพยาธิ วทิ ยา แก่นกั ศึกษาพยาบาลปริ ญญา คณะพยาบาลศาสตร์ ปี ละ ๑๒ ชัว่ โมง อยูห่ ลายรุ่ น

๒. งานบริการทางวิชาการ
๒.๑ เป็ นที่ปรึ กษาการตรวจเนื้อศัลยกรรมและเซลล์วทิ ยาแก่อาจารย์ในภาควิชาตลอดปี ทุกปี
๒.๒ ทําการตรวจศพและเป็ นที่ปรึ กษาแก่อาจารย์ในภาควิชาตลอดปี ทุกปี
๒.๓ เป็ นที่ปรึ กษาทางพยาธิวทิ ยาของ Tumor Clinic ของสถาบันมะเร็ งโรงพยาบาลศิริราช ตลอดปี ทุกปี จนถึง
พ.ศ.๒๕๓๕
๒.๔ เป็ นที่ปรึ กษาทางพยาธิวทิ ยาของ Skin Clinic ของหน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ ตลอดปี ทุกปี จน
ถึงปี พ.ศ.๒๕๒๘

หน้ าทีอ่ นื่ ๆ


๑. กรรมการศึกษาหลังปริ ญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
๒. ประธานฝ่ ายวิชาการ สถาบันมะเร็ งโรงพยาบาลศิริราช
๓. หัวหน้าโครงการ Mobile Tumor Clinic ของสถาบันมะเร็ งโรงพยาบาลศิริราช
๔. Local Pathologist : WHO Collaborative Study of Neoplasia and Steroid Contraceptives. (1980-1985)
๕. นายกสมาคมวิทยาลัยพยาธิวทิ ยา นานาชาติ สาขาประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๒๙-๒๕๓๐ และได้จดั ทําหนังสื อ
ทําเนียบนามพยาธิ แพทย์ ขึ้นเป็ นครั้งแรก
๖. กรรมการดําเนินการงานฉลอง ๑๐๐ ปี ศิริราช
๗. อนุกรรมการเฉพาะกิจในการจัดสัมมนาย่อย เรื่ อง การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์
๘. กรรมการฝ่ ายนิทรรศการ, การศึกษาข้อมูลประวัติศิริราช และฝ่ ายพิพิธภัณฑ์ งานฉลอง ๑๐๐ ปี ศิริราช
๙. กรรมการรักษาและป้ องกันโรคเอดส์ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

๑๐. กรรมการบริ หารทุนศึกษาและดูงานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


๑๑. กรรมการฝ่ ายไทยในการประชุม The Third International Symposium on Locomotor Tissue Bank.
๑๒. กรรมการจัดงาน “วันศิริราช” ประจําปี ๒๕๓๒
๑๓. กรรมการงานมหกรรมสิ นค้าและวิง่ ลอยฟ้ าเฉลิมพระเกียรติ
๑๔. ประธานคณะกรรมการจัดสัมมนามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่ อง การพัฒนาการป้ องกันและควบคุมโรคมะเร็ งใน
ประเทศไทย ๘-๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒
๑๕. อนุกรรมการคัดเลือกนักวิจยั ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ของสภาวิจยั แห่งชาติ
๑๖. อ.ก.ม. พิจารณาตําแหน่งทางวิชาการ ทบวงมหาวิทยาลัย
๑๗. ประธานคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการพยาธิ วทิ ยาแห่งชาติ ครั้งที่ ๔
๑๘. ประธานคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการของสมาคมวิทยาลัยพยาธิวทิ ยานานาชาติ สาขาประเทศไทย ในวาระครบ
๒๕ ปี
๑๙. กรรมการแพทย์ถวายการรักษา สมเด็จพระเจ้าภคนีเธอ เจ้าฟ้ าเพชรรัตน์ราชสุ ดาฯ
๒๐. กรรมการแพทย์ถวายการรักษาสมเด็จพระราชชนนีแห่งประเทศเนปาล
๒๑. เหรัญญิก มูลนิธิสถาบันมะเร็ งโรงพยาบาลศิริราช
๒๒. ประธานกรรมการฝ่ ายแพทย์ สมาคมต่อต้านโรคมะเร็ งแห่ งประเทศไทยในพระบรมราชูถมั ภ์
๒๓. กรรมการที่ปรึ กษาของชมรมพยาบาลผูป้ ่ วยมะเร็ งแห่งประเทศไทย
๒๔. กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ พิจารณาตําแห่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลาคริ นทร์ และ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๕. ประธานฝ่ ายวิชาการของชมรมเชื้อราแห่งประเทศไทย
๒๖. ประธานอนุกรรมการฝึ กอบรมและสอบเพื่อวุฒิบตั ร และอนุมตั ิบตั รพยาธิวทิ ยากายวิภาคของแพทยสภา
๒๗. ที่ปรึ กษาทางพยาธิ วทิ ยา ให้กบั โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๕
๒๘. ที่ปรึ กษาทางพยาธิ วทิ ยา ให้กบั โรงพยาบาลตากสิ น กรุ งเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐
๒๙. กรรมการเฉพาะกิจ ชุดที่ ๒ สําหรับการจัดการประชุมแพทยศาสตร์ ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ เรื่ อง ความต้องการและ
การกระจายของแพทย์และแพทย์เฉพาะทาง
๓๐. ประธานคณะกรรมการเครื อข่ายมะเร็ งของมหาวิทยาลัยมหิ ดล
๓๑. ประธานวิทยาลัยพยาธิ แพทย์แห่งประเทศไทย
๓๒. กรรมการบริ หารของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๔

สมาชิกของสมาคมต่ างๆ
๑. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
๒. แพทยสภา
๓. สมาคมศิษย์เก่าศิริราช
๔. สมาคมวิทยาลัยพยาธิวทิ ยานานาชาติ สาขาประเทศไทย
๑๐

๕. วิทยาลัยศัลยแพทย์ นานาชาติแห่งประเทศไทย
๖. ราชวิทยาลัยพยาธิ แพทย์แห่งประเทศไทย
๗. สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิ ดล

เกียรติคุณ
พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับเลือกเป็ นอาจารย์ดีเด่น ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ได้รับทุนเจ้าพระยาพระเสด็จสุ เรนทราธิบดี
พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับเลือกเป็ นอาจารย์ดีเด่น ของสภาอาจารย์ศิริราช
พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานปริ ญญา แพทยศาสตร์ดุษฎีบณั ฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล
จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

วัน เดือน ปี ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์


๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๗ บ.ช. เบญจมาภรณ์ชา้ งเผือก
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๙ บ.ม. เบญจมาภรณ์มุงกุฎไทย
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๑ ต.ม. ตริ ตาภรณ์มุงกุฎไทย
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ต.ช. ตริ ตาภรณ์ชา้ งเผือก
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ท.ม. ทวีติยาภรณ์มุงกุฎไทย
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ท.ช. ทวีติยาภรณ์ชา้ งเผือก
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ป.ม. ประถมาภรณ์มุงกุฎไทย
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ป.ช. ประถมาภรณ์ชา้ งเผือก
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ (พิเศษ) ม.ว.ม. มหาวชิรมงกุฎ
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ม.ป.ช. มหาปรมาภรณ์ชา้ งเผือก

ผลงานทางวิชาการ
๑. ผลงานทีต่ ีพมิ พ์
๑.๑ CHANTARKUL, N. (1960)
SKIN LEPROSY
J. Med. Ass. Thailand, 42:2, 240-244
๑๑

๑.๒ CHANTARAKUL, N. and SAKOLPHADUNGKET, S. (1961)


MUCORMYOSIS OF THE CAVERNOUS SINUS,
REPORT OF A CASE.
SIRIRAJ Hosp. GAZ., 13:6, 327-340
๑.๓ BHAMARAPRAVATTI, N. and CHANTARAKUL, N. (1961)
PATHOLOGICAL FINDINGS IN EMPYEMA.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. 13, 146-155
๑.๔ BOVORNKITTI, S. et al (1963)
FALLURE TO TRANSFER TUBERCULIN HYPERSENSITIVITY
PASSIVELY WITH SUPERNATE OF PRE = EXUDATIVE CELL SUSPENSION.
J. Med. Ass. Thailand, 46:1
๑.๕ BOVORNKITT, S. et al (1963)
PASSIVE TRANSFER OF DELAYED HYPERSENSITIVITY
WITH IODINE. 131 – LABELLED SERUM.
JAP. J. TUBERCULOSIS, 11:1-4, 28-34
๑.๖ BURI, R. et al (1964)
HISTOLOGIC STUDY OF TUBERCULIN TEST IN TUBERCULOUS PATIENTE.
J. Med. Ass. Thailand, 47:1, 18-24
๑.๗ CHANTARAKUL, N. (1964)
THREE NEW CASES OF HISTOPLASMOSIS
J. Med. Ass. Thailand, 47:4, 188-199
๑.๘ CHANTARAKUL, N. (1964)
ASPERGILLUS ENDOCARDITIS, REPORT OF A CASE
J.Med. Ass. Thailand, 47:12, 781-790
๑.๙ BOVORNKITTI, S. et al (1964)
A HISTOLOGIC STUDY OF THE PASSIVE Transferred
TUBERCULIN HYPERSENSITITY REACTIONS
J. Med. Ass Thailand, 47:18
๑.๑๐ BURI, R. et al (1964)
CHANGES IN THE SKIN BLOOD VESSELS DIABETES MELLITUS
J. Med. Ass. Thailand, 47:2, 61-66
๑๒

๑.๑๑ BOVORNKITTI, S. et al (1964)


ROENTGENOGRAM OF INTEREST
VAJIRA Med. J., 8:1, 33-35
๑.๑๒ BOVORNKITTI, S., et al (1964)
THE “FALSE POSITIVE” TUBERCULIN REACTIONS,
SIRIRAJ Hosp. GAZ., 16-8, 474-478
๑.๑๓ GARNJANA-GOONCHORN, S. AND CHANTARAKUL, N. (1965)
NASOPHARYNGEAL CANCER AT SIRIRAJ HOSPITAL
U.I.C.C. MONOGRAPH
๑.๑๔ CHANTARAKUL, N. (1965)
MUCORMYCOSIS, A RARE COMPLICATION OF PEPTIC ULCER
REPORT OF 2 CASES
SIRIRAJ Hosp. GAZ., 17:8, 468-476
๑.๑๕ CHANTARAKUL, N. (1965)
SUBCUTANEOOUS PHYCOMYCOSIS, REPORT OF A CASE
J. Med. Ass. Thailand, 48:1, 740-749
๑.๑๖ VAREENIL, J. AND CHANTARAKKUL, N. (1966)
HARLEQUIN FETUS, REPORT OF A CASE
Med. Ass. Thailand, 49:3, 222-226
๑.๑๗ PRIJYANONDA, B. et al (1966)
EPIDEMIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND
II HISTOLOGY OF THE HISTOPLASMIN REACTION
Med. Ass Thailand, 49:9, 695-700
๑.๑๘ PRIJANONDA, B. et al (1966)
EPIDEMIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND
III. HISTOPLASMIN TESTING AT AMPUR MUANG, RAYONG
Med. Ass. Thailand, 49:10, 762-767
๑.๑๙ CHANTARAKUL, N. et al (1967)
SUBCUTANEOUS ENTEROBIASIS, REPORT OF A CASE
Med. Ass. Thailand, 50:1, 78-84
๑๓

๑.๒๐ CHANTARAKUL, N. et al (1967)


A CASE OF GARGOYLISM WITH SKIN MANIFESTATION,
REPORT OF A CASE
SIRIRAJ Hosp. GAZ., 19:2, 81-87
๑.๒๑ PRIJYANONDA, B. et al (1967)
EPIDEMIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND,
XIIII. A SURVEY AT DHONBURI
SIRIRAJ Hosp. GAZ., 19:10, 548-553
๑.๒๒ PRIJYANONDA, B. et AL (1968)
EPIDEMIOLOGIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND
XV. A SURVEY AT PECHBURI
Med. Ass. Thailand, 51:5, 289-304
๑.๒๓ PRIJYANONDA, B. et al (1968)
EPIDEMIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS
Med. Ass. Thailand, 51:7, 446-452
๑.๒๔ BOVORNKITTI, S. et al (1968)
NON = TUBERCULOUS MYCOBACTERIAL SENSITIVITY IN THAILAND, A PRELIMINARY
REPORT
Med. Ass. Thailand, 51:8, 503-519
BOVORNKITTI, S. (1968)
๑.๒๕ EPIDEMIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND, XVII. A SURVEY AT NAN
PROVINCE
Med. Ass. Thailand, 51:8, 554-566
๑.๒๖ PRIJYANONDA, B. et al (1968)
EPIDEMILOLGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND, XVII. A SURVEY AT NAN
PROVINCE
Med. Ass. Thailand, 51:9, 606-613
๑.๒๗ BOVORNKITTI, S. et al (1968)
TUBERCULIN
Med. Ass. Thailand, 51:11, 767-803
๑.๒๘ PRIJYANONDA, B. et al (1968)
EPIDEMIOLOGICAL STUDY OF HISTOPLASMOSIS IN THAILAND. XVIII. A SURVEY AT
SONGKLA PROVINCE J. SIRIRAJ Hosp. GAZ., 21:3, 232-240
๑๔

๑.๒๙ THASNAKORN, P.et al (1969)


SUBCUTANEOUS MYCOSIS DUE TO BASIDIOBOLUS MERISTOSPORUS
Med. Ass. Thailand, 52:4, 372-378
๑.๓๐ CHANTARAKUL, N. (1970)
FORDYCES DISEASE, REPORT OF 2 CASES
SIRIRAJ Hosp. GAZ., 22:1
๑.๓๑ PLENGVANIT, U. et al (1970)
A CASE OF ACUTE FATTY LIVER OF PREGNANCY
S-E ASIAN J. TROP. MED. PUB. HLTH., 1:2, 287-290
๑.๓๒ BOVERNKITTI, S. et al (1970)
SKIN REACTIVITY TO MYCOBACTERIAL ANTIGENS IN LEPROSY PATIENTS.
Med. Ass. Thailand, 53:5, 338-345
๑.๓๓ CHANTARAKUL, N. (1971)
SUBCUTANEOUS CYSTIC GRANULOMA DUE TO BROWN
PIGMENTED FUNGI, REPORT OF 6 CASES.
Med. Ass. Thailand, 54:12, 953-956
๑.๓๔ YOUNGCHAIYUD, U. et at (1972)
MADUROMYCOSIS OF THE HAND DUE TO PHIALOPHORA JEANSELMEI.
Southeast Asian J. Trop. Med. Pub. Hlth; 3:1, 138-142
๑.๓๕ BOVORNKITTI, S. et al (1972)
THE KVEIM REACTIVITY IN THAI LEPROSY PATIENTS.
Med. Ass. Thailand, 55:12, 708-714
๑.๓๖ DENCHAIVIJITR, S. and CHANTARAKUL, N. (1973)
“CLINICO-PATHOLOGICAL CONFERENCE”
SIRIRAJ Hosp. GAZ. 25:3, 565-568
๑.๓๗ BOVORNKITTI SOMCHAI, SURAPOL WORATRAI, DUSDEE PRABHASAWAT and NIVAT
CHANTARAKUL. (1974)
“CHEST WALL TUMOR : (2) HEPATOCELLULAR CARCINOMA”
SIRIRAJ Hosp. GAZ. 26:5, 1071-1074
๑.๓๘ VANASIN, BOON., NAAPIN CHAISUPTHAWATCHAI and NIVAT CHANTARAKUL (1974)
“CLINICO-PATHOLOGICAL CONFERENCE” CASE 6/1974
SIRIRAJ Hosp. GAZ. 26:12, 2375-2382
๑๕

๑.๓๙ TOOMKOSITA, and CHANTARAKUL, N. (1975)


PARADOXICAL EMBOLISM; A CASE REPORT
Med. Ass. Thailand, 58:2, 106-109.
๑.๔๐ LIKITSAWAT, P. , VANICHAYAKORNKUL, S. and CHANTARAKUL, N. (1975)
CLINICO-PATHOLOGICAL CONFERENCE, CASE 1/1975
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 27:8, 1219-1226.
๑.๔๑ TUCHINDA, CH. , PUNNAKANTA, L. , ANGSUSINGHA, K. and CHANTARAKUL, N. (1975).
LINEAR SEBACEOUS NEVI WITH CONVULSION AND MENTAL RETARDATION.
Med. Ass. Thailand, 58:7, 374-377.
๑.๔๒ TUCHINDA, M. , HABANANONDA, S. , SAKIYALAK, P. and CHANTARAKUL, N. (1975).
POSTERIOR MEDIASTINAL TERATOMA IN AN INFANT, A CASE REPORT.
Med. Ass. Thailand, 58:8, 437-441.
๑.๔๓ SITAKARIN, CH. , YONGCHAIYUD, U. , VIBHATAVANIJ, T. , LIMPAPHAYOM P. and
CHANTARAKUL, N. (1975)
LAMELLA ICHTHYOSIS, A CASE REPORT.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 27:10, 1558-1566.
๑.๔๔ GHERUNPONG, CH. , and CHANTARAKUL, N. (1975).
PERICHONDRAL ABSCESS MIMICKING A CHEST WALL TUMOR.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 27:11, 1775-1778.
๑.๔๕ PARICHATIKANOND, P. , BENJARASMEROJ, S. and CHANTARAKUL, N. (1976)
LIVER ABSCESSES DUE TO ASCARIS AND ITS COMPLICATION.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 28:2, 204-214.
๑.๔๖ CHANTARAKUL, N. , BOVORNKITTI, S. , VIRIYAVEJKUL, A. and LADPLI, R. (1976).
OSTEOGENIC SARCOMA OF THE SOFT TISSUES ACCOMPANIED WITH
PARAPARESIS AND PLEURAL EFFUSION.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 28:9, 1424-1430.
๑.๔๗ SARASAS, A. , SINGHADEJ, P. , PAUSAWASDI, A. and CHANTARAKUL, N. (1976).
PENTASTOMIASIS, MICROSCOPIC PICTURE AND REPORT OF A CASE.
THAI Med. Counc. Bull., 5:10, 542-548.
๑.๔๘ CHANTARAKUL, N. (1977).
PULMONARY MYCOSIS
THE THAI POLICE MEDICAL JOURNAL, 3:1, 21-39.
๑๖

๑.๔๙ BOONYAPRAKOB, U. , JAIWATANA, S. , SUVATTE, V. , and CHANTARAKUL, N. (1977).


SYSTEMIC MASTOCYTOSIS : REPORT OF A CASE IN THE NEONATAL PERIOD.
Med. Ass. Thailand, 60:1, 47-53.
๑.๕๐ SINGCHOOVONG, L. , CHIRAWONG, P. , NIMMANNIT, S. , VANICHAYAKORNKUL, S. ,
CHANTARAKUL, N. and NILWARANGKUR, S. (1977).
HENOCH-SCHONLEIN SYNDROME IN YOUNG ADULTS.
Med. Ass. Thailand, 60:4, 184-189.
๑.๕๑ CHANTARAKUL, N. and PARICHATIKANCND, P. (1977).
HISTOPLASMOMA OF THE LUNG : A NECROPSY CASE REPORT.
Med. Ass. Thailand, 60:8, 379-382.
๑.๕๒ UNHANAND, S. , CHANTARAKUL, N. and SUNTHORNPALIN, P. (1977).
MYCOSIS FUNGOIDES.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 29:11, 1605-1616.
๑.๕๓ TALALAK, P. and CHANTARAKUL, N. (1977).
PULMONARY ACTINOMYCOSIS.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 29:12, 1792-1797.
๑.๕๔ GHERUNPONG, CH. , CHANTARAKUL, N. and BOVORNKITTI, S. (1977).
ROENTGENOGRAM OF INTEREST : PULMONARY ACTINOMYCOSIS.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 29:12, 1833-1838.
๑.๕๕ CHANTARAKUL, N. and NITAYASUTHI, T. (1978).
ABDOMINAL ACTINOMYCOSIS.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 30:1, 1-13.
๑.๕๖ THONGCHAROEN, P. , WASI, CH. , CHAVANIJ, L. , CHANTARAKUL, N. and OONSOMBUT, P.
(1978).
RABIES : A STUDY AT SIRIRAJ HOSPITAL BANGKOK.
Med. Ass. Thailand, 61:2, 99-102.
๑.๕๗ CHAVALITTAMRONG, B. and CHANTARAKUL, N. (1978).
TUBERCULOSIS VERRUCOSA CUTIS : REPORT OF A CHILDHOOD CASE.
Pediatrics, 17:8, 620-623.
๑.๕๘ RATANARAPEE, S. , TRISAKWATANA, S. , MANONUKUL, J. , LAOHAPAND, T. and
CHANTARAKUL, N. (1979).
APPENDICITIS.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 13:1, 45-49.
๑๗

๑.๕๙ CHANTARAKUL, N. and LIMSILA, TH. (1979).


BRONCHIAL ADENOMA, MIXED TUMOR.
(SALIVARY GLAND TYPE) REPORT OF ONE CASE.
Med. Ass. Thailand, 62:2, 83-88.
๑.๖๐ CHANTARAKUL, N. , SOOK-ANEK, M. , TANTIWONGSE, A. , PATHARANGKRERA, P. and
THAKERGPOL, K. (1979).
AMEBIASIS OF THE PENIS ON TOP OF GIANT CONDYLOMA.
ACUMINATA; REPORT OF A CASE.
Med. Ass. Thailand, 62:7, 387-394.
๑.๖๑ CHANTARAKUL, N. , ANGKUSTSIRI, K. and THAKERGPOL, K. (1979).
CYTOMEGALIC INCLUSION DISEASE : A STUDY OF 55 AUTOPSIES.
Med. Ass. Thailand, 62:8, 403-413.
๑.๖๒ YONGCHAIYUD, U. , THIANPRASIT, M. , VIBHATAVANIJA, T. and CHANTARAKUL, N.
(1979).
NORWEGIAN SCABIES : REPORT OF 3 CASES.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 31:10, 1635-1642.
๑.๖๓ LAOHAPAND, T. , SUWANPRAKORN, P. , and CHANTARAKUL, N. (1980).
DISSEMINATED ACTINOMYCOSIS; AN AUTOPSY CASE REPORT.
Med. Ass. Thailand, 63:1, 35-40.
๑.๖๔ CHANTARAKUL, N. , SAKIYALAK, P. , YONGCHAIGUD, P. and KHAWCHAROENPORN, V.
(1980).
SCLEROSING HEMANGIOMA OF THE LUNG : REPORT OF A CASE WITH
AN ULTRASTRUCTURAL STUDY.
Med. Ass. Thailand, 63:6, 359-366.
๑.๖๕ SUTTHIWAN, P. and CHANTARAKUL, N. (1980).
METASTATIC MALIGNANT MELANOMA IN A CHILD.
THAI J. Surg. , 1:4, 100-102.
๑.๖๖ CHAVALITTHAMRONG, B. , CHANTARAKUL, N. , TALALAK, P. and BEDAVANIJA, A. (1980).
PAPULONECROTIC TUBERCULID IN CHILDHOOD.
SOUTHEAST ASIAN J. Trop. Med. Pub. Hlth. , 11:3, 395-398.
๑.๖๗ LAOHAPAND, T. , RATANARAPEE, S. , CHANTARAKUL, N. and VITAVASIRI, A. (1981).
TUBERCULOUS THYROIDITIS : A CASE REPORT.
Med. Ass. Thailand, 64:5, 256-260.
๑๘

๑.๖๘ THONGCHAROEN, P., WASI, C., SIRIKAVIN, S., BOONTHAI, P., BEDAVANIJ, A.,
DUMAVIBHAT, P.,CHANTARAKUL, N., EUNGPRABBHANTH, V., PUTHAVATANA,
P., CHAVANICH, L. and TANTAWACHAKIT, S. (1981).
๑.๖๙ HUMAN-TO-HUMAN TRANSMISSION OF RABIES VIA CORNEAL.
TRANSPLANT-THAILAND.
(MORBIDITY AND MORTALITY WEEKLY REPORT)
MMWR, September 25, 30:37, 473-474.
๑.๗๐ CHANTARAKUL, N. , CHUANGSUWANITCH, T. , PUNYAHOTRA, S. and VICHANKAIYAKY,
S.(1982).
OVARIAN ACTINOMYCOSIS : REPORT OF ONE CASE.
Med. Ass. Thailand, 65:4, 224-228.
๑.๗๑ PUNYATHANYA, R. , and CHANTARAKUL, N. (1982).
MELANOTIC EPENDYMOMA WITH DISTANT METASTASIS.
Med. Ass. Thailand, 65:8, 454-458.
๑.๗๒ TEPMONGKOL, P. , CHANTARAKUL, N. and SUPAPONGS, N. (1982).
DERMATOGLYPHIC (FINGERPRINT) AND CERUMINAL PATTERNS IN THE
PATIENTS WITH BREAST CANCER IN SIRIRAJ HOSPITAL.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 34:8 521-529.
๑.๗๓ TAN-NGAM-TRONG, D., HITANANT, S., TENG AMNUAY, V., SUPCHAROEN, S.,
CHANTARAKUL,N. and VIRANUVATTI, V. (1982).
CHRONIC EROSIVE GASTRITIS.
Med. Ass. Thailand, 65:11, 603-606.
(Proceedings of the third Asian-Pacific Congress of Digestive Endoscopy, September 25-27, 1980,
Taipei, Republic of China). Proceedings III APCDE 560-562, Sept. 1980.
๑.๗๔ CHUNTRASKUL, CH. and CHANTARAKUL, N. (1983).
MUCORMYCOSIS IN SEVERELY BURN PATIENTS.
REPORT OF TWO CASES WITH EXTENSIVE DESTRUCTIVE LESIONS.
Med. Ass. Thailand, 66:2, 132-138.
๑.๗๕ YONGCHAIYUD, U. , PRIJAYANONDA, B. , VISUDHIPHAN, S. , NUCHPRAYOON, CH. and
CHANTARAKUL, N. (1983).
DISSEMINATED CUTANEOUS ABSCESSES CAUSED BY ATYPICAL
MYCOBACTERIUM; REPORT OF 2 CASES.
Med. Ass. Thailand, 66:9, 551-557.
๑๙

๑.๗๖ RATANARAPEE, S. , PRINYAR-NUSSORN, N. , CHANTARAKUL, N. and PACHAREE, P. (1983).


HIGH-GRADE MUCOEPIDERMOID CARCINOMA OF THE BREAST, A CASE. REPORT
Med. Ass. Thailand, 66:10, 642-648.
๑.๗๗ PARICHATIKANOND, P. MANONUKUL, J. and CHANTARAKUL, N. (1983)
SYSTEMIC FUNGAL INFECTION : A STUDY OF 165 AUTOPSIES.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 35(10), 867-872.
IMVIDTHAYA, S. , CHUNTRASAKUL, CH. and CHANTARAKUL, N.
OPPORTUNISTIC FUNGAL INFECTION OF THE BURN WOUND.
Med. Ass. Thailand, 1984, 67:4, 242-248.
๑.๗๘ SUNTHORNPALIN, P. , KRITALUGSANA, S. , CHANTARAKUL, N. and THIANPRASIT, M.
ERYTHROPOIETIC PROTOPORPHYRIA : A FIRST CASE REPORT IN THAILAND AND
FAMILY STUDY
Med. Ass. Thailand, 1985, 68:4, 205-211.
๑.๗๙ BAMRUNGPOL, V. , BURANASIRI, P. and CHANTARAKUL, N.
MADUROMYCOSIS OF SPINAL CORD
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 1974; 26:4, 972.
๑.๘๐ SRIMARUTA, N. , VIRAVAN, S. , VAREENIL, J. , and CHANTARAKUL, N.
LYMPHANGIOMA CUTIS : A REPORT OF A CHILDHOOD CASE.
SIRIRAJ Hosp. GAZ. , 1985; 37:5:361-365.
๑.๘๑ IMVIDHYA, S. , VICHAVASIRI, A. , SUPIYAPAN, P and CHANTARAKUL, N.
HISTOPLASMOSIS OF THE LARYNX : REPORT OF A CASE
Med. Ass. Thailand, 1985:68 (9), 485-488.
๑.๘๒ TEPMONGKOL, P. , SUPHAPHONGS, N. , CHANTARAKUL, N. , and THANSAKUL, A.
TAMOXIFEN IN TREATMENT OF ADVANCED BREAST CANCER, CLINICAL
EXPERIENCE AT SIRIRAJ HOSPITAL
Med. Ass. Thailand, 69:2, 96-102, 1986.
๑.๘๓ SUVATTE, V. , MAHASANDANA, EH. , TANPHAICHITR, V. , TUCHINDA, M. ,
CHANTARAKUL, N. and BOVORNKITTI, S. (1984)
A FIRST REPORT OF PEDIATRIC SARCOIDOSIS IN THAILAND.
ASIAN PACIFIC. J. ALLERGY IMMUN 2:107-112.
๒๐

๑.๘๔ TEPMONGKOL, P. , SUPHAPHONGS, N. , CHANTARAKUL, N. and THANSAKUL, A


EXTENDED TAMOXIFEN THERAPY FOR ADVANCED BREAST CANCER,
CLINICAL EXPERIENCE AT SIRIRAJ HOSPITAL.
Med. Ass. Thailand, 69:12, 635-640, 1986.
๑.๘๕ PANTHEP SUTTINONT, CHUANPIS THAMMANICHANONT AND NIVAT CHANTARAKUL:
VISCERAL LEISHMANIASIS : A CASE REPORT.
SOUTHEAST ASIAN J. TROP. MED. PUB.HLTH, 1987, 18:1, 103-106.
๑.๘๖ YAOVARES NAKJANG, THEERAYUTH SASIPRAPA AND NIVAT CHANTARAKUL
PRURIGO PIGMENTOSA : A CASE REPORT.
BULLETIN OF THE DEPARTMENT OF MEDICAL SERVICES. Vo. 12 NO. 3 MARCH 1987
๑.๘๗ CHANTARAKUL, N.
MUEINOUS SYRINGOMETAPLASIA, A CASE REPORT. เสนอในการประชุมของชมรมโรคผิวหนัง, 2524.
๑.๘๘ CHANTARAKUL, N. AND NITIDANDHAPRAPAS, P.LEIOMYOSARCOMA OF SCROTUM
WITH MULTIPLE CUTANEOUS METASTASIS.
PRESENT IN THE 7th REGIONAL CONFERENCE IN DERMATOLOGY ณ โรงแรมเอราวัณ กทม.
พ.ศ. ๒๕๒๘
๒. ตารา
๒.๑ ตําราพยาธิ วทิ ยา เล่ม ๒ พยาธิวทิ ยาเฉพาะและพยาธิวทิ ยาตามระบบ จัดพิมพ์โดย ภาควิชาพยาธิวทิ ยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๓๕ เรื่ อง
Fungal Infection หน้า ๕๖-๗๓
Veneral Disease หน้า ๙๓-๑๐๖
๒.๒ วัณโรคปอด
บรรณาธิการ : สมชัย บวรกิตติ พ.ค.
ผูจ้ ดั พิมพ์ : สาราณี ยกร ส.พ.ส. ๒๕๑๑ กรุ งเทพฯ มีนาคม ๒๕๑๒
๒.๓ อายุรเวชปริ ทรรศน์, ระบบการหายใจ
เล่มที่ ๓ ภาคเวชกรรม
บรรณาธิการ : สมชัย บวรกิตติ
๒.๔ โรคพิษสุ นขั บ้า
บรรณาธิการ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเสริ ฐ ทองเจริ ญ
โรงพิมพ์อกั ษรสมัย ถนนราชบพิตร กรุ งเทพฯ พ.ศ. ๒๕๒๓ หน้า ๒๕๒-๒๖๒
๒๑

๒.๕ ศัลยศาสตร์ววิ ฒั น์ (๗)


(ภาคผนวก)
ราชวิทยาลัยศัลย์แพทย์แห่งประเทศไทย
สํานักพิมพ์กรุ งเทพเวชสาร : ๒๕๓๒
๓/๓ สุ ขมุ วิท ๔๙ (ซอยกลาง) พระโขนง กรุ งเทพฯ
๓. เอกสารประกอบการสอน
๓.๑ เอกสารประกอบการสอน นักศึกษาแพทย์ ปี ที่ ๒ เรื่ อง Fungal Infection
๓.๒ เอกสารประกอบการสอน นักศึกษาแพทย์ ปี ที่ ๒ เรื่ อง Sexually Transmitted Disease
๓.๓ เอกสารประกอบการสอน นักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่ อง
- Disturbance of body fluid and circulation
- Disturbance of cell growth
- Dermatopathology
๓.๔ เอกสารประกอบการสอน Diploma Course of Dermatology ของสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุ ข เรื่ อง Congenital Skin Diseases
๔. การบรรยายทางโทรทัศน์ และการประชุ ม
๔.๑ อภิปรายเรื่ อง “โรคมะเร็ ง”
ในรายการโทรทัศน์ “ชีวติ และสุ ขภาพ” ของนายแพทย์สุรพงษ์ อําพันวงศ์ ที่ช่อง ๙ อสมท. ๒๕๒๗
๔.๒ อภิปรายเรื่ อง “มะเร็ งเต้านม”
ในรายการโทรทัศน์ “ชีวติ และสุ ขภาพ” ของนายแพทย์สุรพงษ์ อําพันวงศ์ ที่ช่อง ๙ อสมท. ๒๕๒๘
๔.๓ บรรยายเรื่ อง “ก้อนในเต้านมและระบาดวิทยาของมะเร็ งเต้านม”
การประชุมประจําปี ของสมาคมส่ งเสริ มโครงการวิจยั ทางเจริ ญพันธุ์แห่งประเทศไทย ๒๕๒๗
๔.๔ อภิปรายเรื่ อง “ก้อนในเต้านม”
การประชุมประจําปี ของสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒๕๒๘
๔.๕ อภิปรายเรื่ อง Recent Advance in Chemotherapy in Breast Cancer.
๔.๖ อภิปรายเรื่ อง “มะเร็ งเต้านม”
การประชุมประจําปี ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนื อ ๒๕๒๘
๒๒

หลังจากเกษียณอายุราชการ (ปี พ.ศ.๒๕๓๕)


ได้รับเชิ ญทําการสอน และเป็ นที่ปรึ กษาทางพยาธิ วทิ ยา ดังนี้ :-
๑. การสอนของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
๑.๑ สอนบรรยายและภาคปฏิบตั ิแก่ น.ศ.พ. ปี ๒ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ เรื่ อง Fungal Infection และ Sexually
Transmitted Diseases
๑.๒ สอนบรรยายและภาคปฏิบตั ิแก่ น.ศ.พ. ปี ที่ ๒, ๓ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(รังสิ ต) ทุกระบบ ตลอดทั้งปี ทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๖-๒๕๔๔
๑.๓ สอนวิชาพยาธิ วทิ ยาแก่นกั ศึกษากายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉี ยว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๓๙
๒. เป็ นที่ปรึกษา
๒.๑ เป็ นที่ปรึ กษาเต็มเวลา แก่ภาควิชาพยาธิ วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖-
ปัจจุบนั
๒.๒ เป็ นที่ปรึ กษาทางพยาธิวทิ ยา ๑ วันต่อสัปดาห์ แก่โรงพยาบาลชลประทาน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐-
๒๕๒๕ และ พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๓๘
๒.๓ เป็ นที่ปรึ กษาทางพยาธิวทิ ยา ๒ วันต่อสัปดาห์ แก่โรงพยาบาลตากสิ น กรุ งเทพมหานคร ตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๕๒๐-ปัจจุบนั
๒.๔ เป็ นที่ปรึ กษาของนิตยสารฟ้ าตํารวจ
๓. ผลงานทีต่ ีพมิ พ์เพิม่ เติม
๓.๑ Vitavasiri, A. , Bunnag, C. , Throngsuwanrakit, W. , Suthipinittharm, P. , and Chantarakul, N.
Intranasal Leprosy Granuloma : The first case report in Thailand.
Siriraj Hosp. GAZ. , 46:1, 32-39, 1994
๓.๒ Rungrote Supachokniran, et al.
Pulmonary alveolar cell carcinoma
Siriraj Hosp. GAZ. , 48(2), 123-124, 1996
๓.๓ C. Bunnag, P. Jareoncharsri, P. Tansuriyawong, W. Bhothisuwan and N. Chantarakul
Characteristics of atrophic rhinitis in Thai patients at siriraj Hospital.
Rhinology, 37, 125-130, 1999
๓.๔ นิวฒั น์ จันทรกุล
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ทินรัตน์ สถิตนิมานการ “แบบอย่างของครู แพทย์”
สารศิริราช ๕๓(๘), ๔๖๓-๔๖๕ม ๘ ส.ค.๒๕๔๔
๓.๕ นิวฒั น์ จันทรกุล
บทบาทเกี่ยวกับโรคมะเร็ งในมหาวิทยาลัยมหิ ดล
สารศิริราช ๕๓(๘), ๖๓๙-๖๔๕, ส.ค.๒๕๔๔
๒๓

๔. กรรมการและสมาชิกต่ าง ๆ คือ
๔.๑ กรรมการหมู่บา้ นประชานิเวศน์ ๑ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๖-๒๕๔๕
๔.๒ สมาชิกของพัทลุงสามัคคี
๔.๓ สมาชิกสมาคมศิษย์เก่ามหาวชิราวุช สงขลา
๔.๔ สมาชิกสมาคมปักษ์ใต้
๔.๕ สมาชิกชมรมศิษย์เก่ามหาวชิราวุช อาวุโส
๔.๖ เหรัญญิก มูลนิธิโรคมะเร็ งโรงพยาบาลศิริราช
๔.๗ กรรมการที่ปรึ กษา มูลนิธิถนั ยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรี นครริ นทราบรมราชชนนี
๕. เกียรติยศ
๕.๑ เป็ นกรรมการแพทย์ถวายการรักษาพระอาการประชวร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒั นา
กรมหลวงนราธิวาสราชนคริ นทร์
๕.๒ ได้รับเกียรติจากภาควิชาพยาธิ วทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จารึ กนามของห้องประชุมทาง
วิชาการ ว่า ห้องประชุมจันทรกุล ที่หอ้ ง ๒๒๗ ชั้น ๒ ของตึกอดุลยเดชวิกรม
๕.๓ โล่เกียรติยศ จาก
๕.๓.๑ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๒๔ สิ งหาคม พ.ศ.๒๕๔๑
๕.๓.๒ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๓
๕.๓.๓ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑
๕.๓.๔ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุ ข เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๓๖
๕.๔ ได้รับพระราชทาน ปริ ญญาแพทยศาสตร์ ดุษฎีบณั ฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล ประจําปี การศึกษา
๒๕๔๐-๒๕๔๑ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๕๔๑

------------------------------------------
๒๔

คาไว้อาลัย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ นิวฒ


ั น์ จันทรกุล

เมื่อข้าพเจ้าเข้ามาเป็ นแพทย์ประจําบ้านพยาธิ วิทยาที่ ศิริราช อาจารย์นิวฒั น์ท่านเป็ นอาจารย์อาวุโสรอง


จากอาจารย์ประเสริ ฐ ( ศ. นพ.ประเสริ ฐ ปาจรี ย )์ และอาจารย์ทิ นรัตน์ ( ศ. นพ.ทินรัตน์ สถิ ตนิ มานการ) ซึ่ งเป็ น
หัวหน้าภาควิชาพยาธิ วิทยาในขณะนั้น ข้า พเจ้ารู ้ ว่าอาจารย์ใจดี จึ งชอบที่ จะเข้าไปเรี ยนรู ้ วิชาพยาธิ วิทยาจากท่า น
เช่นเดียวกับแพทย์ประจําบ้านคนอื่นๆ และพบว่าหน้าห้องอาจารย์จะมีคิวยาวเสมอ ข้าพเจ้าจึงย้ายโต๊ะทํางานมาอยูห่ น้า
ห้องอาจารย์เสี ย แถวสั้นเมื่อไหร่ ก็รีบไปต่อท้าย พลอยได้มีโอกาสคุ ยกับอาจารย์เรื่ องโน้น เรื่ องนี้ อยู่เสมอ ยิ่งพบว่า
ท่านมีความเป็ นครูอยูต่ ลอดเวลา ท่านมีวธิ ีศึกษา วิเคราะห์ ชิ้นเนื้ออย่างเป็ นระบบ ดังนั้น ไม่วา่ จะเป็ นโรคของอวัยวะ
ใด ท่า นจะให้ค วามเห็ นได้ตามหลัก วิช า และจากประสบการณ์ ของท่ านเอง เมื่ อข้าพเจ้าติ ดตามอาจารย์ไปเข้าฟั ง
อภิปราย และดูคนไข้ที่โอพีดีกบั อาจารย์ทางตจวิทยา และที่ทูเมอร์ คลินิก ทําให้ขา้ พเจ้าได้เห็นบทบาทของพยาธิ แพทย์
ต่อผูป้ ่ วย เป็ นบทบาทของผูน้ าํ ทางวิชาการแพทย์ที่น่าประทับใจ และไม่มีวนั ได้เห็นถ้าพยาธิ แพทย์จะทํางานอยูแ่ ต่ใน
ห้องปฏิบตั ิการ จึงเปลี่ยนมุมมองของตัวเองที่มีต่อวิชาชีพมาจนทุกวันนี้ เมื่อข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนนักศึกษา
แพทย์ พูดเสี ยงเบา นํ้าเสี ยงเรี ยบๆ และเร็ ว นักเรี ยนหลับกันมาก จึงคอยสังเกตวิธีการสอนของอาจารย์ พูดช้า ชัด และ
นํ้าเสี ยงที่เป็ นจังหวะจะโคนอย่างที่ตอ้ งให้อาจารย์รุ่นน้องมาฟั งไว้เป็ นตัวอย่าง อาจารย์เป็ นผูช้ กั ชวนข้าพเจ้า มาร่ วม
ทํางานพิพิธภัณฑ์ของภาควิชา สิ่ งแสดงที่มีคุณค่ายิ่ง เช่นรายงานผลการตรวจชิ้ นเนื้ อเล่มแรกของประเทศ ล้วนได้มา
จากที่อาจารย์ช่วยเก็บรักษา รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสําคัญ
อาจารย์เป็ นผูท้ ี่ทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กบั ภาควิชาพยาธิ วทิ ยามาเป็ นเวลานานมาก สอนนักเรี ยนแพทย์เท่าที่
จะมีกาํ ลังสอนได้ สอนแพทย์ประจําบ้านและให้คาํ ปรึ กษาแก่อาจารย์ในภาควิชาได้ตลอดเวลา แม้เมื่อเกษียณอายุแล้ว
อาจารย์ยงั มาช่วยงาน มาเป็ นขวัญและกําลังใจที่ภาควิชาฯ มาโดยตลอด
อาจารย์เป็ นปูชนียาจารย์ท่านหนึ่งของศิริราช เป็ นที่เคารพนับถือของพยาธิ แพทย์ทวั่ ประเทศ บัดนี้ ท่านได้
ตามอาจารย์ท้ งั สองท่านดังกล่าวข้างต้นไปแล้วอย่างสงบในรุ่ งเช้าวันที่ 23 มีนาคม 2554 เหลือแต่ความอาลัยรักที่ยงั คง
อยูใ่ นใจของข้าพเจ้าและชาวพยาธิ วทิ ยาศิริราชทุกท่าน

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงตุม้ ทิพย์ แสงรุ จิ


24 มีนาคม 2554
๒๕

พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์ เสน่ งคง สาคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ ้นทั้งอิ นทรี ย์
สถิตทั่วแต่ ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส : กฤษณาสอนน้องคําฉันท์)

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิวฒั น์ จันทรกุล เป็ นปูชนียาจารย์ทางการแพทย์ที่ควรแก่การยกย่องในฐานแห่ งผูท้ รงวิทยาคุณ และ


เป็ นผูข้ วนขวายในวิชาความรู ้และหน้าที่ราชการอย่างหาได้ยาก อาจารย์ได้สร้างคุณูปการไว้กบั วงการแพทย์และกับภาควิชา
พยาธิ วิทยา โรงพยาบาลศิริราช ไว้อย่างมากมาย อาจารย์ได้ประสิ ทธิ์ ประสาทวิชาความรู ้ให้กบั นักศึกษาแพทย์ และพยาธิ
แพทย์รุ่นต่อรุ่ น ด้วยความมุมานะ อุตสาหะ ตามกําลังความสามารถของท่านอย่างต่อเนื่อง อาจารย์เป็ นผูม้ ีคุณธรรมเป็ นเยี่ยม
กล่าวคือ เปี่ ยมไปด้วยธรรมเมตตา เป็ นผูใ้ ห้ความช่วยเหลือนักศึกษาแพทย์ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และผูใ้ ต้บงั คับบัญชา
ทุกระดับ ที่มาขอคําปรึ กษาหารื อในกรณี ต่างๆ อย่างไม่เลือกหน้า สําหรับข้าพเจ้า ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิวฒั น์ จันทรกุล
เป็ นครู ตวั อย่างที่มีความเมตตา เป็ นที่พ่ ึง เป็ นกัลยาณมิตร ในยามที่ขา้ พเจ้าประสพปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการงาน และปัญหาทาง
โลกที่ยงุ่ ยาก ซึ่ งมักจะได้รับคําแนะนําที่มีประโยชน์เสมอมา อาจารย์เป็ นผูใ้ ห้แสงสว่างทางความรู ้ โดยเฉพาะด้านตจพยาธิ
วิทยาและวิทยาการต่าง ๆ รวมทั้งจริ ยธรรมอันเป็ นปัญญาภายในแก่ขา้ พเจ้า อาจารย์ยงั มีความซื่ อตรงต่ออุดมคติของความเป็ น
ครู มีเจตนารมณ์ ที่แน่วแน่ ในการมุ่งสร้างสังคม สร้างชาติ บ้านเมือง มีความอดทน เสี ยสละ ไม่เห็นแก่ตวั และเป็ นผูน้ าํ ทางจิต
วิญญาณ เปรี ยบเสมือนดวงประทีปที่ช่วยพัฒนาจิตใจบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะต่อข้าพเจ้าให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ให้มีชีวิตอย่าง
ถูกต้อง แม้นประสบปัญหาอุปสรรค ก็สามารถแก้ไขได้ดว้ ยสติปัญญา

แม้วา่ การเกิด การดับจะเป็ นสัจจธรรมของชีวิตก็ตาม แต่เมื่อศาสตราจารย์ นายแพทย์นิวฒั น์ จันทรกุล ผูซ้ ่ ึ งพร้อม


ด้วยคุณธรรม มีความเมตตา กรุ ณา มุทิตา อุเบกขา และเป็ นตัวอย่างของครู แพทย์ที่สมบูรณ์แบบ ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบและ
ไม่มีวนั กลับท่ามกลางความโศกเศร้าและอาลัยเป็ นอย่างยิ่งเช่นนี้ ก็อดที่จะรู ้สึกใจหายและอาลัยอย่างสุ ดซึ้ งเสี ยไม่ได้ ด้วยกุศล
ผลบุญที่อาจารย์ได้สร้างสมมา ได้โปรดเป็ นพลปั จจัยส่ งเสริ มให้ดวงวิญญาณของอาจารย์สู่สุขคติในสัมปรายภพ ด้วยความ
สงบสุ ขทุกประการ พวกเราในฐานะศิษย์รุ่นหลังจะสื บทอด สื บสานเจตนารมณ์อาจารย์ต่อไป

จากศิษย์ที่อาจารย์กรุ ณาให้ ความเมตตาเสมอมา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เจน มโนนุกลุ


๒๖

คําไว้อาลัยอาจารย์นิวฒั น์ จันทรกุล
ผมยังจําได้ดีถึงวันแรกที่ผมเข้ามาทํางานในภาควิชาพยาธิ วทิ ยาเมื่อสําเร็ จเป็ นแพทยศาสตรบัณฑิตจากรั้วศิริ
ราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในวันนั้น ผมได้นงั่ ทํางานในห้องที่อยูด่ า้ นหน้าทางเดินที่จะเข้าไปสู่ หอ้ งทํางานของอาจารย์
นิวฒั น์ (ศิริราชรุ่ น ๖๓) พี่วชิ ยั ทิพยดาราพาณิ ชย์ (ศิริราชรุ่ น ๘๙) ซึ่งทํางานใช้ทุนในภาควิชาฯ มาได้ ๑ ปี แล้ว
(ปั จจุบนั เป็ นหัวหน้ากลุ่มงานพยาธิ วทิ ยากายวิภาค โรงพยาบาลศูนย์ จังหวัดลําปาง) เป็ นคนพาผมเข้าไปรายงานตัวกับ
อาจารย์ ซึ่ งท่านมาแต่เช้า เวลาประมาณ ๗ โมง ตําแหน่งห้องทํางานของตึกพยาธิ วทิ ยาหลังที่สองในครั้งนั้นตรงกับ
ตําแหน่งของห้องทํางานแพทย์ประจําบ้านในตึกอดุลยเดชวิกรมในปั จจุบนั พอดี อาจารย์กาํ ลังดูสไลด์กบั พี่วชิ ยั แต่เช้า
ซึ่ งปฏิบตั ิเช่นนี้กนั มาตลอด พี่วชิ ยั เปิ ดโอกาสให้ผมได้ดูสไลด์กบั อาจารย์ผา่ นกล้องจุลทรรศน์สาํ หรับ ๒ คนดู
อาจารย์แสดงให้ผมดูวา่ ถ้าฝึ กฝนทักษะให้ดี จะสามารถบอกได้วา่ รอยโรคนั้นมีเซลล์อกั เสบชนิดนิวโตรฟิ ลได้แม้ดู
ด้วยกําลังขยายตํ่าสุ ด อาจารย์ใช้การเปรี ยบเปรยว่า “เหมือนดูเม็ดทรายละเอียด” เห็นเป็ นเม็ด ๆ ตามลักษณะของ
นิวเคลียสของเซลล์ดงั กล่าว ตั้งแต่น้ นั มา ผมได้เรี ยนรู ้จากการเป็ นสมาชิกใหม่ที่ทาํ หน้าที่เป็ นหน้าห้องให้อาจารย์
ร่ วมกับพี่วชิ ยั เวลามีสไลด์อะไรสวย ๆ อาจารย์จะเรี ยกให้เราสองคนได้เข้าไปดู สิ่ งเหล่านี้เป็ นโอกาสที่อาจารย์กรุ ณา
ให้ความรู ้ ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กบั พวกเราได้ซึมซับไปทีละเล็กละน้อย ความมัน่ ใจในการดูรอยโรคต่าง ๆ
เกิดขึ้นเมื่อเราได้ยนื ยันสิ่ งที่กล่าวไว้ในตํารา แล้วเห็นภาพตามนั้น ตลอดจนสิ่ งที่อาจารย์นิวฒั น์ท่านได้เรี ยนรู ้มาจากครู
ของท่านคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงัด กาญจนกุญชร (พยาธิ แพทย์ผรู ้ ่ วมก่อตั้งทูเมอร์ คลินิกของศิริราช) แล้วนํามา
ถ่ายทอดให้กบั พวกเราคือ “หมอต้องดูรอยโรคให้ออกในลักษณะไดนามิก (dynamic) ไม่ใช่เอาแต่ท่องจํา” อาจารย์
เน้นยํ้าเสมอว่า รอยโรคมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา พยาธิ แพทย์ตอ้ งฝึ กฝนให้สามารถบอกได้วา่ ในระยะเวลาต่าง
ๆ รอยโรคจะมีหน้าตาอย่างไร
อาจารย์นิวฒั น์มีวธิ ี การสอน โดยเฉพาะท่วงทํานองการพูดที่น่าติดตามอย่างยิง่ จําได้วา่ คําศัพท์ “endarteritis
obliterans” ซึ่ งเป็ นรอยโรคที่พบในโรคซิ ฟิลิสนั้น อาจารย์ออกเสี ยงได้ไพเราะมาก ประทับใจไม่ลืมตั้งแต่ครั้งที่ผมยัง
เป็ นนักศึกษาแพทย์ช้ นั ปี ที่ ๓ แม้ทุกวันนี้ยงั มองเห็นภาพรอยโรคที่ท่านอธิ บายไว้ในชัว่ โมงบรรยาย และยังทําให้ผม
สามารถให้การวินิจฉัยโรคนี้ ได้เวลาที่ผมไปฝึ กอบรมเป็ นโลหิ ตพยาธิ แพทย์ที่สหรัฐอเมริ กา โดยทําให้อาจารย์ฝรั่งของ
ผมทึ่ง เพราะบรรดาลูกศิษย์ฝรั่งไม่มีใครตอบได้ มีแต่ลูกศิษย์ตวั เล็ก ๆ จากเมืองไทยคนนี้ตอบได้เพียงคนเดียว
เรื่ องความเป็ นครู แพทย์ที่ถ่ายทอดความรู ้ได้อย่างดีเยีย่ มของอาจารย์นิวฒั น์น้ ี ลูกศิษย์ทุกคนของท่านต่าง
ตระหนักได้เป็ นอย่างดี อาจารย์ธวัชชัย พงศ์พฤฒิพนั ธ์ ซึ่ งเป็ นอาจารย์ใหม่ของภาควิชาฯ ยังฝากระลึกถึงอาจารย์ใน
เรื่ องนี้วา่ “ในสมัยที่ผมเป็ น resident ช่วงนั้น เป็ นช่วงที่ อ.นิวฒั น์ มีบทบาทในการร่ วม conference หลายอย่าง ทั้ง
SPC และโดยเฉพาะ Gross ผมในฐานะ resident ได้เรี ยนกับ อ.นิวฒั น์ มากเลยครับ อาจารย์เป็ นผูท้ ี่ไม่ลงใน
รายละเอียดมาก แต่ได้ให้ point สําคัญ ๆ ซึ่ งเป็ นประโยชน์กบั ผมมากในสมัยเรี ยน และก็เชื่อว่าเป็ นประโยชน์ต่อ
resident อื่น ๆ ด้วยไม่นอ้ ย รู้สึกซาบซึ้ งในตัว อ.นิวฒั น์ มากครับ”
อาจารย์นิวฒั น์มีความจําที่เป็ นเลิศ เวลาที่ดูสไลด์กบั อาจารย์โดยเฉพาะเรื่ องโรคผิวหนัง อาจารย์จะชี้และ
บรรยายลักษณะรอยโรคที่เห็นให้ฟัง แล้วบอกให้เปิ ดหนังสื อ Lever (สําหรับ Dermatopathology) หน้านั้นหน้านี้
๒๗

ซึ่ งจะตรงกับสิ่ งที่บรรยายไว้ได้อย่างแม่นยํา นอกจากนี้ อาจารย์นิวฒั น์เป็ นตัวอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ในเรื่ องของการให้


โอกาส อาจารย์มกั จะเล่าให้ฟังบ่อย ๆ ว่า อาจารย์ใช้เวลาเรี ยนนานกว่าคนอื่น จึงมีเพื่อนมากกว่าคนอื่น และอาจารย์มกั
ชอบที่จะให้โอกาสผูอ้ ื่นเสมอ อาจารย์ช้ ีให้เห็นว่า คนเราถ้าพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าด้วยตนเองแล้วเมื่อไหร่
ความสําเร็ จก็จะตามมาเมื่อนั้น โดยอาจารย์จะยกเรื่ องของอาจารย์ให้ดูเป็ นตัวอย่าง อาจารย์นิวฒั น์เป็ นผูท้ ี่มีความสุ ภาพ
อ่อนน้อม มีน้ าํ ใจเป็ นนักกีฬา เป็ นสุ ภาพบุรุษ ท่านมีความตั้งใจที่มุ่งมัน่ เด็ดเดี่ยวในสิ่ งที่ตดั สิ นใจว่าจะทํา ตัวอย่างเช่น
เมื่อประมาณปี ๒๕๔๐ ที่ท่านเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปรกติชวั่ คราว ท่านเลิกสู บบุหรี่ ทนั ที และไม่
แสดงอาการหงุดหงิดขาดยา (เส้น) เหมือนคนอื่นให้เห็นเลย
ในฐานะศิษย์คนหนึ่งที่ได้รับความกรุ ณาจากอาจารย์นิวฒั น์ (อาจารย์เป็ นผูค้ ้ าํ ประกันการเซ็นสัญญาเป็ นแพทย์
ประจําบ้านให้) นับจากวันนั้นมาจนถึงวันที่ผมได้รับตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ที่ผา่ นมา
รวม ๒๔ ปี อาจารย์เป็ นหนึ่งในบรรดาอาจารย์ที่ผมให้ความเคารพรักเป็ นพิเศษ พยายามดูท่านเป็ นตัวอย่าง และรู ้สึกดี
ใจที่ทาํ ให้ท่านภูมิใจเมื่อเห็นศิษย์คนนี้ได้ดีในหลายครั้งที่ผา่ นมา ผมจะพยายามต่อไป ไม่ให้ท่านต้องผิดหวัง และ
ไม่ให้ท่านต้องห่วงตามที่ได้บอกกับท่านในช่วงที่ท่านอยูโ่ รงพยาบาลครั้งสุ ดท้าย ผมเชื่อแน่วา่ พวกเราชาวพยาธิ
วิทยาศิริราชทุกคนจะช่วยกันทําให้ภาควิชาฯ ที่ท่านรัก ประสบความสําเร็ จยิง่ ๆ ขึ้นไป ให้ท่านได้ภูมิใจในตัวพวกเรา
ครับ สุ ดท้ายนี้ ขอบพระคุณสําหรับทุกสิ่ งทุกอย่างที่อาจารย์ให้พวกเราด้วยความเมตตากรุ ณามาโดยตลอดครับ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สัญญา สุ ขพณิ ชนันท์
หัวหน้าภาควิชาพยาธิวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
๒๘

อาลัยอาจารย์ นิวฒ
ั น์ จันทรกุล

อาจารย์เป็ นที่รักของภรรยาและลูก ๆ ทุกคน ตลอดจนญาติพี่นอ้ งและผูใ้ กล้ชิด อาจารย์จะให้ความช่วยเหลือ


แก่ทุกคนที่มาปรึ กษาได้ตลอดเวลา ด้วยความดีของอาจารย์อนั นี้ จึงเป็ นที่ภูมิใจของภรรยาและลูกทั้งสาม รวมไปถึง
ลูกสะใภ้ดว้ ย

รักและอาลัย
ลัดดา จันทรกุล

หลับให้ สบายนะ..พ่อ

ในสมัยที่ผมยังเด็กพอจะจําความได้ ผมเคยถามพ่อว่า “ทําไมเราไม่รวยเหมือนหมอคนอื่น ๆ เค้าล่ะพ่อ?” พ่อ


มองมาที่ผมแล้วตอบอย่างอ่อนโยนแต่มุ่งมัน่ จริ งจังว่า “มีผคู ้ นมากมายที่ไม่ได้รับโอกาสทางการแพทย์ที่เหมาะสม ใน
เมื่อพ่อเรี ยนมาเพื่อที่จะรักษาคน ก็จะให้การรักษาให้เขาเหล่านั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บต่อไปโดยไม่คาดหวังว่าจะต้อง
ได้ผลตอบแทนเป็ นตัวเงินเพื่อสร้างฐานะให้ร่ าํ รวยแต่อย่างใด” บ่อยครั้งที่ผมเห็นพ่อทุ่มเททํางานอย่างหนัก รักษา
คนไข้ยากไร้โดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาล แต่สีหน้าพ่อมีความสุ ขใจที่เห็นว่าผูท้ ี่ได้รับการรักษาจากพ่อมีสุขภาพที่ดีข้ ึน
นอกจากนี้พ่อยังทุ่มเทอย่างหนักให้กบั การค้นคว้าทางวิชาการจนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสายวิชาชีพ และแม้
จะต้องทํางานในหน้าที่ของตัวเองอย่างหนักเพียงใด พ่อก็ไม่ได้ละเลยหน้าที่ของความเป็ นพ่อแม้แต่นอ้ ย ยังคงมีเวลา
ให้ความรัก ให้การดูแล อบรม สั่งสอน ให้คาํ แนะนําในเรื่ องต่าง ๆ แก่ลูก ๆ เป็ นอย่างดีตลอดเวลา
และจากความทุ่มเทจริ งจังของพ่อนี่เองที่ทาํ ให้พอ่ ลืมที่จะใส่ ใจในสุ ขภาพร่ างกาย เป็ นเวลากว่าสี่ สิบปี ที่
สุ ขภาพของพ่อไม่แข็งแรงเหมือนคนอื่น ๆ ผมจําได้วา่ อาหารหลักประจําของพ่อคือ นม ที่จะต้องจิบอยูแ่ ทบจะ
ตลอดเวลา เนื่องจากพ่อมีอาการปวดท้องเสมอเพราะทําแต่งาน ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ที่สาํ คัญที่สุดคือพ่อสู บบุหรี่ จดั
มาก ผมเคยวิง่ ซื้ อบุหรี่ ให้พ่อถึงวันละสามซอง จนตอนหลัง ๆ ซื้ อเป็ นแถวไปเลย ไม่ตอ้ งเสี ยเวลาวิง่ ซื้ อกันบ่อย ๆ บุหรี่
ที่พอ่ สู บได้มียหี่ อ้ เดียวคือ เกล็ดทอง ไม่มีกน้ กรอง จึงทําให้สารพิษต่าง ๆ ในบุหรี่ ส่งผลต่อพ่อรุ นแรง ถึงพ่อจะเลิกสู บ
บุหรี่ มานานกว่ายีส่ ิ บปี แล้วก็ตาม ผลร้ายที่สะสมตัวมาตลอดเวลาได้ทาํ ให้สุขภาพของพ่อแย่ลงตามลําดับ แต่พอ่ ก็ไม่
เคยปริ ปาก ยังคงทํางานที่พอ่ รักอย่างทุ่มเทตลอดเวลา แม้จะเกษียณอายุราชการแล้วพ่อก็ยงั คงไปทํางานที่
โรงพยาบาลศิริราชที่พอ่ รักตลอดมา เพื่อถ่ายทอดความรู ้เป็ นวิทยาทานแก่ศิษย์รุ่นหลังจนถึงวาระสุ ดท้ายของชี วติ
กระทัง่ ขณะที่พอ่ เข้ารับการรักษาตัวเป็ นครั้งสุ ดท้ายที่ตึกมหิ ดลวรานุสสรณ์ พ่อยังคงใช้ตวั เองเป็ นอาจารย์สอนลูกศิษย์
อยูเ่ ช่นเดิม
พ่อเหนื่ อยมามากแล้ว ถึงเวลาที่พอ่ จะได้พกั ผ่อนอย่างสุ ขสงบในสัมปรายภพ ไม่ตอ้ งมีห่วงกังวลใด ๆ อีก
ต่อไป ผมจะดูแลแม่และน้อง ๆ ทุกคนต่อไปเอง หลับให้สบายนะพ่อ

แมว
๒๙

ถึง...คุณพ่ อผู้เอือ้ อารีย์


๒๐ ปี ของการได้เข้ามาเป็ นสมาชิกของครอบครัว “จันทรกุล” ข้าพเจ้าไม่เคยมีความรู ้สึกว่าเป็ นคนนอกของ
บ้านนี้เลย เพราะทั้งคุณพ่อนิ วฒั น์ ฯ และคุณแม่ลดั ดา ฯ ได้กรุ ณาให้ความเมตตาเสมือนข้าพเจ้าเป็ นลูกอีกคนหนึ่ง
อาหารมื้อเย็นของทุกวัน เป็ นช่วงเวลาที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะได้ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารโดยพร้อมเพรี ยงกัน
มีการสนทนาถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน บ่อยครั้งที่คุณพ่อมักจะโยงเรื่ องที่พวกเราคุยกันกับเหตุการณ์ที่
คุณพ่อประสบมาในอดีต ทําให้ขา้ พเจ้าได้ทราบถึงเรื่ องราวต่าง ๆ ที่ผา่ นมา เรื่ องที่คุณพ่อเล่าให้ฟังส่ วนใหญ่ลว้ นเป็ น
เกร็ ดความรู ้ที่มีคุณค่าสําหรับพวกเรา
วันเกิดของคุณพ่อ เมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่ผา่ นมา ซึ่ งข้าพเจ้ามีความรู ้สึกว่าเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่
กี่วนั นี้เอง พี่แมวได้พาพวกเราทุกคนในบ้านไปเลี้ยงวันเกิดให้คุณพ่อ ในวันนั้นคุณพ่อได้กล่าวขอบคุณข้าพเจ้าที่ได้
จัดเตรี ยมชุดสังฆทานให้คุณพ่อไปทําบุญที่วดั ข้าพเจ้าไม่คิดว่านัน่ จะเป็ นครั้งสุ ดท้ายที่พวกเราจะได้ทานข้าวในวันเกิด
คุณพ่อร่ วมกัน ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงความรู ้สึกในใจของคุณพ่อที่เปี่ ยมไปด้วยความสุ ขในวันนั้น ปกติคุณพ่อจะทานข้าว
น้อยมากแทบจะนับคําได้ แต่ทุกครั้งที่ลูก ๆ พาคุณพ่อไปทานข้าวในโอกาสต่าง ๆ คุณพ่อจะทานได้มากขึ้น เสมือนกับ
เป็ นการให้กาํ ลังใจ และแสดงให้ลูก ๆ เห็นว่าคุณพ่อมีความสุ ข นับแต่น้ ี ต่อไปครอบครัวของเราก็คงจะขาดเสาหลัก
ของครอบครัวไป แต่อย่างไรก็ตามความเข้มแข็ง ความอดทน และความเป็ นผูม้ ีน้ าํ ใจเอื้ออารี ยข์ องคุณพ่อ จะเป็ น
แบบอย่างให้พวกเราทุกคนดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมัน่ คง และภาคภูมิใจตลอดไป
รักและระลึกถึงคุณพ่อเสมอ
โอ๋
๓๐

พ่อ

ตั้งแต่จาความได้ “พ่อ” คือศูนย์รวมความรูท้ ุกด้าน ไม่วา่ จะเป็ นเรื่องอะไร “พ่อ” จะมีคาตอบให้ทุกครั้ง


เมื่อข้าพเจ้ายังอยูใ่ นวัยเด็ก แม้จะมีงานมาก “พ่อ” จะแบ่งเวลามาทบทวนบทเรียนให้เสมอ และ“พ่อ” เคยพูด
ว่า “ขยันเรียนให้สาเร็จก่อน อย่าเพิ่งคิดเรื่องอื่น เมื่อเรียนสาเร็จ มีการงานที่ดีทา สิ่งที่ดีๆจะตามมาเอง ” “พ่อ”
ไม่เคยทาตัวเป็ นตัวอย่างหรือสอนให้ลกู ๆเป็ นคนเห็นแก่ตวั แต่ “พ่อ” จะแสดงความมีน้ าใจและช่วยเหลือผูค้ น
เสมอ “พ่อ” จึงเป็ นที่รกั ของ แม่ ลูกๆ ญาติพี่นอ้ ง เพื่อนร่วมงาน และผูค้ นที่รจู ้ กั ตลอดมา

“พ่อ” ให้ความเมตตากับทุกคน แม้กระทัง่ กับคู่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมไปถึงญาติพี่นอ้ งของเธอ ทาให้ทุก


คนในครอบครัวของคู่ชีวิตของข้าพเจ้ารักและเคารพ “พ่อ” มาก

“พ่อ” เป็ นคนที่รกั การทางาน และรักสถานที่ทางานมาก แม้กระทัง่ เกษี ยณอายุราชการแล้ว “พ่อ” ก็ยงั
ไปทางานมาตลอดเกือบ 20 ปี รวมชีวิตการทางานของ “พ่อ” ก็ประมาณ 50 ปี ทาให้ความสามารถของ “พ่อ”
เป็ นที่ยอมรับจากหลายๆสถาบัน แต่สิ่งที่ “พ่อ” ต้องประสบมาตลอดก็คือ สุขภาพ ซึ่งไม่ค่อยแข็งแรง มักจะไม่
สบายเป็ นโน่ นเป็ นนี่ อยูบ่ ่อยครั้ง “พ่อ” มักจะพูดติดตลกกับแม่เสมอว่า “อายุ 80 ชั้นถือว่า ได้กาไรชีวิตแล้ว”

“พ่อ” ทางานจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต

รัก “พ่อ” ครับ

หมู & ตุก๊

พ่อทีเ่ ป็ นทั้งหมอและผู้ให้
สําหรับลูกคนเล็ก พ่อเป็ นผูใ้ ห้เสมอ ทํางานหนักเพื่อครอบครัว ทําให้แม่และลูก ๆ มีความสุ ข มีพร้ อมทุก
อย่าง รวมไปถึ งการเป็ นแพทย์ที่ตอ้ งดู แลรักษาผูป้ ่ วย จนทําให้ลืมดู แลตัวเอง ส่ งผลให้มีสุขภาพไม่ดี แต่พ่อก็ยงั ทํา
หน้าที่ให้จนวันสุ ดท้ายก่อนที่จะป่ วยหนัก
ขอให้พอ่ พักผ่อนให้เต็มที่ ไม่ตอ้ งห่วงข้างหลัง ขอให้มาเป็ นพ่อลูกกันอีก

ต่อ
๓๑

ชีวิตครอบครัว
๓๒

ความภาคภูมิใจ

ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบณ ั ฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล


ประจาปี การศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑

ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
สมาชิกสมาคมศัลยแพทย์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ครุยราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
นานาชาติแห่งประเทศไทย
๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๑
๓๓

จากครูเป็ นแพทย์ จากแพทย์ เป็ นครู

ณ หมู่บา้ นห้วยลึก ตําบลดอนประดู่ อําเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง เป็ นหมู่บา้ นที่อยูแ่ ดนต่อแดนระหว่าง


จังหวัดสงขลากับจังหวัดพัทลุ ง อยู่ก่ ึ งกลางระหว่างทางรถไฟกับทะเลสาปสงขลา ซึ่ งห่ างกันประมาณ ๖ กิ โลเมตร
นับ ว่า เป็ นหมู่บ ้านที่ค่ อนข้างกันดารที เดี ยว ณ ที่ นี่เอง ที่ เป็ นถิ่ นเกิ ดของข้าพเจ้าในครอบครั วของครู ประชาบาล
คุ ณพ่อของข้าพเจ้าซึ่ งมีภูมิลาํ เนาเดิ มอยู่ในอําเภอเมือง จังหวัดสงขลา เรี ยนจบชั้น ม. ๓ จากโรงเรี ยนมหาวชิ ราวุธ
สงขลา ต้องย้ายตามครอบครัวมาอยูท่ ี่บา้ นห้วยลึก ได้เข้ารับราชการครู ต้ งั แต่อายุ ๑๖ ปี ได้รับแต่งตั้งให้เป็ นครู ใหญ่
คนแรกของโรงเรี ยนประชาบาลวัดห้วยลึก และได้ดาํ รงตําแหน่งนี้อยูน่ านถึง ๒๘ ปี จึงได้ลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.
๒๔๘๙ เพื่อไปประกอบการค้าส่ วนตัว ตลอดเวลาที่ คุณพ่อเป็ นครู ใหญ่อยู่ ได้พฒั นาโรงเรี ยนให้เจริ ญก้าวหน้า
ทางด้านการศึกษา และการกี ฬา จนทําให้โรงเรี ยนมีชื่อเสี ยง เป็ นโรงเรี ยนชั้นแนวหน้า เป็ นที่เลื่ องลื อกันในสมัยนั้น
ประกอบกับคุณพ่อเป็ นผูท้ ี่มีจิตใจโอบอ้อมอารี ยเ์ อื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ เป็ นที่รักใคร่ นบั ถือยกย่องจากลูกศิษย์และคนทัว่ ไป ซึ่ ง
ทําให้ครอบครัวและญาติพี่นอ้ งพลอยได้อานิสงส์ไปด้วย จากความประทับใจอันนี้ เป็ นแรงจูงใจให้ขา้ พเจ้าศรัทธาใน
ความเป็ นครู เป็ นครั้งแรก
ต่อมาข้าพเจ้าไปเข้าเรี ยนชั้นมัธยมในโรงเรี ยนวชิ รานุ กูล อําเภอเมืองสงขลา ตอนเรี ยนชั้นมัธยมปี ที่ ๑ ก็รู้สึก
ประทับใจครู ประจําชั้น ซึ่ งเป็ นครู ผหู ้ ญิง ชื่ อครู สมบูรณ์ (ปั จจุบนั ครู ยุพดี วิกรมสุ ข) ซึ่ งใจดี เอื้ออาทร และให้ความ
เป็ นกันเอง นึ กในใจว่าเป็ นครู นี่ดีนะ พอเรี ยนจบชั้น ม. ๓ ก็ยา้ ยไปเรี ยนโรงเรี ยนรัฐบาล คือโรงเรี ยนมหาวชิ ราวุธ
(มอ. ๒๙๑๙) จนจบชั้น ม. ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ไม่ได้ประทับใจครู คนใดโดยเฉพาะแต่ประทับใจครู ทุกคน ขณะ
เรี ยนชั้น ม. ๖ ราว ๆ กลางปี ข้าพเจ้าได้สนทนากับเพื่อนร่ วมชั้นอีก ๒ คน ปรากฏว่าทั้ง ๓ คน มีปณิ ธานเหมือนกันว่า
จะเข้ากรุ งเทพฯ เรี ยนต่อ เผือ่ จะกลับไปเป็ นครู โดยที่คิดกันว่าอาชีพครู เป็ นอาชีพที่มีเกียรติ
เมื่อข้าพเจ้าเดินทางเข้ากรุ งเทพฯ ได้เข้าเรี ยน ม. ๗ - ๘ ที่โรงเรี ยนวัฒนศิลป์ วิทยาลัย ถนนราชปรารภ ใกล้
มักกะสัน โรงเรี ยนนี้ ดาํ เนิ นงานโดยครู ๓ พี่นอ้ ง คือครู วิเชียร ครู มณี และครู ชวาลย์ แพรัตกุล ทางโรงเรี ยนได้เปิ ด
โครงการให้นกั เรี ยน ม. ๗ - ๘ ต้องอยูป่ ระจําที่โรงเรี ยน เรี ยกว่าอยูแ่ ค้มพ์ ทําให้นกั เรี ยนมีระเบียบวินยั และขยันเรี ยน
ทําให้ผลการเรี ยนดี สามารถสอบ ม. ๘ ได้ยกชั้นทั้ง ๖๐ คน ความเอื้ออาทร เคี่ยวเข็น ปลุกเร้าให้นกั เรี ยนได้เรี ยนสําเร็ จ
โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่ อย เป็ นที่ประทับใจของข้าพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ในวันสุ ดท้ายของการศึกษา ครู ชวาลย์ได้เรี ยก
ประชุมนักเรี ยน ม. ๘ ทั้งหมด แล้วถามว่าใครจะไปเรี ยนอะไรต่อกันบ้าง ไม่มีใครตอบ ครู ถามอีกว่าใครจะไปเรี ยน
แพทย์บา้ ง เงียบกันไปอึดใจหนึ่งแล้วก็มีมือยกขึ้น ๒ มือ โดยเพื่อนที่อยูใ่ กล้กนั จับยกขึ้น คือมือของข้าพเจ้าและมือของ
ดิเรก ภักดี พอเลิกประชุมแล้ว ดิเรกก็เลยบอกว่าไหน ๆ เขายกมือให้แล้ว เราไปสมัครเรี ยนแพทย์กนั ดีกว่า
ปรากฏว่า ทั้งดิเรกและข้าพเจ้าสมัครเข้าเรี ยนเตรี ยมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้เลือก
วิชาอื่นเผือ่ ไว้เลย โชคดีที่สามารถสอบเข้าเรี ยนเตรี ยมแพทย์ได้ท้ งั ๒ คน และจับฉลากข้ามฟากมาเรี ยนแพทย์ที่ศิริราช
พร้อมกัน (ปัจจุบนั ดิเรกคือ พล.ร.อ. นายแพทย์ดิเรก ภักดี นัน่ เอง) ขณะที่ขา้ พเจ้ามาเรี ยนแพทย์ เพื่อนของข้าพเจ้า
๒ คนที่มีปณิ ธานเหมือนกันได้เข้าเรี ยนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรี ยนจบแล้วคนหนึ่งทํางานธนาคาร อีกคน
รับราชการ
๓๔

เมื่อข้าพเจ้าเริ่ มเรี ยนวิชากายวิภาคศาสตร์ ต้ งั แต่วนั แรกเลย ปรากฎว่าข้าพเจ้าและเพื่อนพาร์ ตเนอร์ อีก ๓ คน


เลือกได้ศพอาจารย์ใหญ่ในห้องไซบีเรี ย แต่ปรากฎว่า ๗ วันเต็ม ๆ ที่ขา้ พเจ้าจะต้องอาเจียนทุกครั้งที่เข้าห้องชําแหละ
ศพ เพราะทนกลิ่นศพดองไม่ได้เลย โชคดีที่อาจารย์ที่ดูแลห้องไซบีเรี ยตอนนั้นคือ อาจารย์หมอบุณฑรี ณ นคร ได้ให้
ความช่วยเหลือ แนะนํา จนข้าพเจ้าพ้นวิกฤต สามารถเรี ยนแพทย์ต่อมาได้ ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็ นอย่างสู งไว้ ณ
ที่น้ ี พอปี พ.ศ. ๒๕๐๑ หลังจากสอบไล่ปีสุ ดท้ายแล้วข้าพเจ้าเกิดกังวลอย่างมากว่าอาจจะต้องสอบซ่อมวิชาสู ตินรี เวชฯ
อยากหนีไปไกล ๆ สักพักหนึ่ง จึงได้มาเขียนใบสมัครเป็ นแพทย์ประจําบ้านพยาธิ วิทยาเป็ นคนแรกแล้วออกเดินทาง
ไปอีสาน ไปพักกับแพทย์รุ่นพี่ที่โรงพยาบาลประจําจังหวัดร้อยเอ็ด จนถึงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๐๑ นึกขึ้นมาได้วา่ ถ้า
เราสอบผ่านก็จะต้องรับปริ ญญาในวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๐๑ จึงได้รีบกลับกรุ งเทพฯ และมาถึงตึกอํานวยการเพื่อเซ็นชื่อ
เข้ารับปริ ญญาเป็ นคนสุ ดท้าย พอวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๐๑ ตอนเช้าก็ได้มารายงานตัวต่ออาจารย์ประดิษฐ์ ซึ่ งขณะนั้น
อาจารย์เป็ นหัวหน้าสาขาพยาธิวทิ ยา อาจารย์ขนุ เกตุทศั น์วิทยาพยาธิเป็ นหัวหน้าภาควิชาพยาธิ วทิ ยา คุณประภาพรรณ
จันทร์ เพ็ญ ซึ่ งเป็ นหัวหน้าห้องธุ รการ ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามารายงานตัวช้าไป ๑ สัปดาห์ แต่อาจารย์ประดิษฐ์
ได้บอกว่าหมอนิวฒั น์ เขามาสมัครเป็ นคนแรก รอเขาหน่อยก็แล้วกัน ซึ่ งเป็ นความประทับใจของข้าพเจ้าต่ออาจารย์
ประดิษฐ์ เป็ นครั้งแรกและไม่เคยลืมเลย เพราะถ้าไม่ใช่ความกรุ ณาของอาจารย์ ข้าพเจ้าก็คงไม่ได้เป็ นพยาธิ แพทย์อย่าง
ทุกวันนี้ ในความรู ้สึกของข้าพเจ้า อาจารย์ประดิษฐ์ ท่านแสดงออกซึ่ งความเป็ นครู อย่างแท้จริ ง
เมื่อข้าพเจ้าปฏิบตั ิงานเป็ นแพทย์ประจําบ้านพยาธิวทิ ยาได้ครบ ๑ ปี แล้ว รู้สึกชอบงานด้านนี้ จึงได้สมัครเป็ น
แพทย์ประจําบ้านปี ที่ ๒ ต่อในปี ๒๕๐๒ ทํางานได้ประมาณ ๓ เดือน อาจารย์ประดิษฐ์เรี ยกไปพบบอกว่ามีตาํ แหน่ง
อาจารย์ ๑ ตําแหน่ง ข้าพเจ้าต้องการหรื อไม่ ข้าพเจ้าเลยตอบรับและได้บรรจุในตําแหน่งอาจารย์ต้ งั แต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒
เป็ นต้นมา ซึ่ งก็ได้เป็ นครู สมตามปณิ ธานที่ต้ งั ใจไว้ สมดังคํากล่าวในหัวข้อ "จากครู เป็ นแพทย์ - จากแพทย์เป็ นครู "
นัน่ เอง.

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ นิวัฒน์ จันทรกุล


๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
๓๕

เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตที่อุทิศให้กบั งาน

พ.ศ. ๒๕๐๐ พ.ศ.๒๕๐๑ ว่าที่รอ้ ยโท พ.ศ.๒๕๐๒ อาจารย์โท พ.ศ.๒๕๐๖


๓๖
๓๗
๓๘

ภัยจากพิษบุหรี่ : ประสบการณ์ ตรงของข้ าพเจ้ า

ในสมัยเมื่อ ๖๐-๗๐ ปี มาแล้ว ค่านิ ยมหลายอย่างไม่เหมือนกับในปั จจุบนั การที่ผชู ้ ายดื่มเหล้าและสู บบุหรี่


เป็ นของธรรมดา เหมื อนเป็ นสัญลักษณ์ ของลู กผูช้ ายที เดี ย ว เรี ยกว่าถ้าผูช้ ายคนใดไม่ ดื่มเหล้า ไม่ สู บบุ หรี่ ถื อว่าเป็ น
ลูกผูช้ ายไม่เต็มตัว ตอนเด็ก ๆ บ้านของข้าพเจ้าอยูใ่ นชนบทที่ห่างไกล พวกผูช้ ายชอบดื่มนํ้าตาลเมา และสู บบุหรี่ ยาตั้งมวน
ด้วยใบจาก เมื่ออายุประมาณ ๗-๘ ขวบ ข้าพเจ้าเคยลองสู บแต่รู้สึกฉุ นมาก และสําลักไออย่างรุ นแรงทุกที ทําให้ ไม่ติด
บุหรี่ แต่เด็ก ๆ
เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบุกประเทศไทยหลายจุด รวมทั้งอําเภอเมือง
สงขลาด้วย ตัวเมื องสงขลาจึ งเต็มไปด้วยทหารญี่ ปุ่ น ทําให้ชาวเมื องสงขลาต้องอพยพหนี ภยั ไปอยู่ตามชนบทไกล ๆ
ครอบครัวป้ าถิ้น (นางกัลยา โลวะนะ) เจ้าของร้านย่งฮง ขายทองรู ปพรรณอยูท่ ี่ถนนนครในติดกับร้านยินดี ขายข้าวเกรี ยบ
กุง้ ในตัวจังหวัดสงขลา เคยรู ้จกั คุณพ่อของข้าพเจ้า ได้อพยพครอบครัวมาพักอยูท่ ี่บา้ นข้าพเจ้าหลายเดือน พอเหตุการณ์
สงบก็อพยพกลับ แต่ได้บอกคุณพ่อว่าถ้าข้าพเจ้าไปเรี ยนต่อที่ตวั จังหวัดสงขลา ต้องไปอยูท่ ี่บา้ นท่าน ข้าพเจ้าไปอยูบ่ า้ นป้ า
ถิ้น ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๘๘ โดยเข้าเรี ยนหนังสื อชั้น ม.๑-๓ ที่โรงเรี ยนวชิ รานุ กูล ซึ่ งอยูไ่ ม่ไกลจากบ้าน ป้ าถิ้นได้
ให้ความเมตตา เอ็นดู ดุจลูกหลาน อาจเพราะนิสัยขี้เกรงใจ ตลอดเวลาที่อยูบ่ า้ นป้ าถิ้นจึงไม่ได้นึกถึงเรื่ องบุหรี่ เลย
ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ข้าพเจ้าได้ย า้ ยไปเรี ยนต่อ ม.๔-๖ ที่ โรงเรี ยนมหาวชิ ราวุธ ซึ่ งเป็ นโรงเรี ยนรั ฐบาลที่ มี
ชื่ อเสี ยงของภาคใต้ ประกอบกับคุณพ่อของข้าพเจ้าลาออกจากราชการครู แล้วมาเปิ ดร้ านขายของแห้งต่าง ๆ โดยเช่าร้าน
อยู่ใกล้ตลาดบ้านบน อยู่ริมทะเลสาบ ถนนนครนอก ในตัวเมื องสงขลา ข้าพเจ้าเลยต้องออกจากบ้านป้ าถิ้ นแต่บดั นั้น
เพื่อไปเผ้าร้านให้คุณพ่อ ช่วงนี้ เองข้าพเจ้าเริ่ มริ สูบบุหรี่ เป็ นครั้งแรก เมื่ออายุ ๑๕ ปี เรี ยนอยูช่ ้ นั ม.๔ เป็ นต้นมา เป็ น
จังหวะพอดีกบั ที่ขา้ พเจ้ากําลังแตกเนื้ อหนุ่ ม ก็เลยสู บบุหรี่ เพื่อแสดงลักษณะลูกผูช้ าย ถึงแม้ว่าการสู บบุหรี่ ของ ผูช้ ายใน
สมัยนั้นเป็ นค่านิ ยมอย่างหนึ่ ง แต่ด้วยความเกรงใจผูใ้ หญ่ ข้าพเจ้าจึ งมักแอบสู บเรื่ อยมา แรก ๆ ก็สูบไม่มากมายอะไร
เพราะต้องแอบสู บ แต่ก็เพิ่มขึ้นเรื่ อย ๆ พอเรี ยนจบแพทย์แล้วต้องทํางานหนักและทํางานดึก ๆ ทําให้สูบบุหรี่ มากขึ้น จาก
วันละ ๑ ซอง เป็ น ๒ ซอง สุ ดท้ายวันละ ๓ ซอง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๑๕ เป็ นต้นมา บุหรี่ ที่สูบเป็ นบุหรี่
เกล็ดทองเพียงชนิ ดเดี ยว นอกจากเดิ นทางไปต่างประเทศก็จะเลื อกสู บบุ หรี่ ชนิ ดอื่ น ๆ ของประเทศนั้น ชนิ ดที่ ไม่ฉุ น
เกินไป จนกระทัง่ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐ ข้าพเจ้าป่ วยกระทันหัน ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย
โรคความดันโลหิ ตสู ง (Hypertension) และมี อาการทางสมอง ที่ เรี ยกว่าสมองขาดเลื อดชั่วคราว (TIA = Transcient
Ischemic Attack) คุ ณหมอหลายคนที่เป็ นลูกศิษย์ของข้าพเจ้าและร่ วมกันบําบัดรักษาข้าพเจ้า ได้ช่วยกันขอร้ องให้
ข้าพเจ้าเลิกบุหรี่ จึงได้ตดั สิ นใจเลิกสู บบุหรี่ ต้ งั แต่วนั แรกที่นอนอยูโ่ รงพยาบาล คือ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐
นัน่ เอง นับจากวันนั้นมาจนปั จจุบนั ข้าพเจ้าไม่เคยรู ้ สึกอยากสู บบุหรี่ อีกแม้แต่ในวันแรก ๆ ที่เลิ กสู บใหม่ ๆ ข้าพเจ้ายัง
รู ้ สึกแปลกใจเลยว่า ทําไมไม่รู้สึกหงุ ดหงิ ด ปากไม่ อยากรั บประทานของขบเคี้ ยว หรื อพวกยาอม เหมื อนคนอื่ น ๆ ที่
ชาวบ้านเรี ยกว่า “ลงแดง” เหมือนกับว่าข้าพเจ้าไม่เคยสู บบุหรี่ จดั มาก่อนเลย
๓๙

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากพิษภัยของบุหรี่ คนสู บบุหรี่ จะก่อให้เกิ ดโรคอะไร อาการมากน้อย


แค่ไหนขึ้ นอยู่กบั ปั จจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คื อสู บวันละกี่ มวน และสู บมานานกี่ ปีแล้วเป็ นสําคัญ นอกจากนั้นยังมีปัจจัย
อื่น ๆ ที่ตอ้ งนํามาพิจารณาด้วย เช่น เริ่ มสู บบุหรี่ ต้ งั แต่อายุเท่าไร ลักษณะการสู บ เช่น สู บพ่นหรื อสู ดเข้าไปลึก ๆ อาชีพ
ของคนสู บบุหรี่ ก็สาํ คัญ เช่น ทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ทาํ งานอากาศถ่ายเทไม่ดี ทํางานในเมืองใหญ่เสี่ ยงกว่าใน
ชนบท เป็ นต้น และที่น่าจะต้องนํามาพิจารณา คือ ขึ้นอยู่กบั แต่ละบุคคล (Individual) บางคนสู บบุหรี่ ไม่มากแต่มีโรค
เกิ ดขึ้ นมากมายและรุ นแรง ในขณะที่ บางคนสู บบุหรี่ จดั หลายปี แต่ไม่มีแสดงอาการว่าจะเป็ นโรคอะไร หรื อเป็ นแต่ก็
อาการไม่มากมายเป็ นต้น จนบางคนบอกว่ามีความเป็ นไปได้วา่ มีความเกี่ยวข้องกับพันธุ กรรมก็ได้
โรคต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึ งต่อไปนี้ เป็ นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุ แต่พิสูจน์ได้แล้วว่าการสู บบุหรี่ เป็ นสําเหตุ
สําคัญ จะพยายามเรี ยงลําดับโรคที่เป็ นบ่อยไปหาโรคที่เป็ นน้อยตามลําดับไป ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้ อรัง โรคหลอดเลือด
แดงแข็งตีบตัน มะเร็ งปอด มะเร็ งกล่องเสี ยง มะเร็ งหลอดอาหาร มะเร็ งไต มะเร็ งตับอ่อน โรคแผลในกระเพาะอาหาร และ
โรคอื่น ๆ ที่กล่าวต่อไป ในขณะเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงโรคใดหากข้าพเจ้าเป็ นโรคนั้นแล้ว ก็จะเล่าไว้เป็ นอุทาหรณ์ แต่ละ
เรื่ องไป
๑. โรคปอดอุดกั้นเรื้ อรัง (COPD = Chronic Obstructive Pulmonary Disease) ซึ่ งครอบคลุมถึงโรคหลอดลม
อักเสบเรื้ อรัง (Chronic bronchitis) และโรคถุงลมโป่ งพอง (Emphysema) ซึ่ งสาเหตุสําคัญก็คือการสู บบุหรี่ นัน่ เอง ยิง่ สู บ
มากและนานเท่าไร อาการของโรคก็จะรุ นแรงขึ้นเรื่ อย ๆ ยกตัวอย่างตัวข้าพเจ้าเอง เริ่ มแสดงอาการของหลอดลมอักเสบ
เรื้ อรังครั้งแรก เมื่อข้าพเจ้าเข้ามาอยูก่ รุ งเทพฯ ใหม่ ๆ ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ยังไม่ชินกับอากาศหนาวในกรุ งเทพฯ สมัยนั้น
ซึ่งหนาวถึงศูนย์องศาเซลเซี ยสทีเดียว จําได้วา่ ตอนเป็ นครั้งแรกมีไข้ เจ็บคอ ไอมาก และเสมหะเหนียวสี ขาวปนเขียว โดย
ไอมากในเวลากลางคืนเป็ นอยูน่ าน ๒-๓ สัปดาห์ก็ดีข้ ึน หลังจากนั้นก็จะมีอาการเช่นเดิม ปี ละ ๒-๓ ครั้ง แต่ละครั้งนาน
เป็ นเดื อน แต่ไม่ ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่ อ เพี ยงรั บประทานยาแก้อกั เสบ พอหายก็เหมื อนคนปกติ นอกจากมี ไอตอน
กลางคืนมากบ้างน้อยบ้าง ตื่นนอนเช้าก็จะไอเอาเสมหะออกมา ๑ ก้อน ทุกวันเรื่ อยมาแต่ยงั สามารถวิ่งและเดินขึ้นบันได
ไปชั้น ๓-๔ ได้สบายโดยไม่ตอ้ งหยุดพัก รู ้ สึกเหนื่ อยนิ ดหน่ อย หลังจากปี พ.ศ.๒๕๓๒ รู ้ สึกว่าเหนื่ อยง่ายขึ้น แต่ยงั
สามารถเดินเร็ ว ๆ รอบสนามฟุตบอล ๔-๕ รอบได้เลย เดินขึ้นชั้น ๓ รู ้สึกเหนื่ อย ต้องพักชั้น ๓ ชัว่ ขณะจึงจะขึ้นชั้น
ต่อไปได้ ตอนนี้ บุหรี่ ก็ยงั สู บวันละ ๓ ซอง เหมือนเดิ ม ตอนที่เริ่ มไม่สบายจากความดันโลหิ ตสู ง และมีอาการของโรค
สมองขาดเลือดชัว่ คราว (TIA = Transcient Ischenic Attack) ต้องนอนโรงพยาบาล เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐
นั้น ได้ทาํ การตรวจสมรรถภาพของปอด (Lung function) ผลปรากฎว่าสมรรถภาพปอดเหลือครึ่ งเดียว (Moderate
Degree) ก็พยายามประดับประคองไม่ให้เป็ นหวัด ประกอบกับข้าพเจ้าได้เลิกบุหรี่ เด็ดขาด และเร็ วนี้ ๆ คุณหมอได้แนะนํา
ให้ฉีดวัคซี นไข้หวัดใหญ่ดว้ ยอีกทางหนึ่ ง ตั้งแต่วนั ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐ เป็ นต้นมา อาการหอบเหนื่ อยก็ไม่เพิ่มขึ้น
แต่ตอนนี้เดินเร็ วไม่ได้ ต้องเดินช้า ๆ ธรรมดาก็ยงั พอทําได้ ขึ้นบันไดชั้น ๒ ได้ไม่เหนื่อยมาก จนกระทัง่ ข้าพเจ้าต้องเข้านอน
โรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ ง เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๕ ด้วยอาการปวดข้อเฉี ยบพลัน (Severe migratory myofascial pain)
ปรากฏว่าเกิดมีอาการของ COPD เฉี ยบพลันแทรกซ้อนขึ้นมา แต่ก็สามารถบําบัดรักษาโดยแพทย์ผเู้ ชี่ ยวชาญให้หายได้
ภายใน ๑๐ วัน แม้กระนั้นทําให้อาการของ COPD ทรุ ดลงไปกว่าเดิม ต้องเดินช้า ๆ
๔๐

ขึ้นบันไดได้แต่เหนื่ อยมากขึ้น จําเป็ นต้องใช้อ๊อกซิ เจนอย่างน้อยวันละ ๕ ชัว่ โมง ขณะนี้ ขา้ พเจ้าต้องมีถงั อ๊อกซิ เจนไว้
ประจําในห้องทํางาน ส่ วนที่บา้ นข้าพเจ้าต้องใช้เครื่ องกรองอ๊อกซิ เจนจากอากาศ (Oxygen Concentrator) ต่อไปนี้ ตอ้ ง
ประคับประคองในการดํารงชี วิต ออกกําลังตามสมควร หลี กเลี่ ยงกลิ่ นยาฉี ดกันยุง หรื ออะไรก็ตามที่กลิ่ นและรสรุ นแรง
โดยเฉพาะอาหารเผ็ดและรสจัดทุกชนิ ดเพื่อไม่ให้ไอ ซึ่ งทําให้เหนื่ อยโดยไม่จาํ เป็ น ระยะท้ายของโรค COPD ก็คือภาวะ
หัวใจวาย ถ้าไม่ตายจากโรคแทรกซ้อนเสี ยก่อน
๒. โรคหลอดเลือดแข็ง (Arteriosclerosis) เป็ นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าคนที่มีไขมันในเลื อดสู งจะไปพอก ที่
ผนังหลอดเลือดแดง ทําให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบไป หลอดเลือดแข็งดังกล่าว อาจแบ่งเป็ นหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจ
แข็ง และหลอดเลื อดแดงทัว่ ตัวแข็ง ทั้งนี้ การสู บบุ หรี่ เป็ นเหตุเสริ มสําคัญที่ทาํ ให้เกิ ดขึ้น และการแข็งตัวของหลอด
เลื อดแดงนี้ บางคนหลอดเลื อดแดงแข็งหมดทั้งที่หัวใจและทัว่ ตัว บางคนหลอดเลือดแดงทัว่ ตัวแข็งอย่างเดี ยว ในขณะที่
บางคนหลอดเลือดหัวใจเพียงอย่างเดียว ทําให้คนเป็ นหลอดเลือดแดงแข็ง มีอตั ราเสี่ ยงต่างกัน คือ
๒.๑ หลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจแข็งและตีบ (Coronary Heart Disease = CHD) ถ้าตีบมาก ๆ จนตันไปก็
ทําให้กล้ามเนื้ อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic Heart Disease = IHD) ซึ่ งเป็ นเหตุตายที่สําคัญและเฉี ยบพลัน และพบว่า
คนที่สูบบุหรี่ วนั ละซองขึ้นไป เสี่ ยงต่อการเป็ นโรค CHD เป็ น ๒ เท่า ของคนไม่สูบ ปั จจุบนั โรค CHD กลายเป็ นโรคที่
มีผปู ้ ่ วยเป็ นกันจํานวนมาก ซึ่ งก็นบั ว่าโชคดี ที่ปัจจุบนั แพทย์สามารถบําบัดรักษาได้ผลดี ไม่ว่าการใช้ยา การใส่ บอลลูน
หรื อการผ่าตัดทํา By pass ไม่วา่ กี่ เส้น ในรายที่มีอาการและมาพบแพทย์ทนั แต่ก็มีคนไข้ CHD อีกพวกที่ไม่ค่อยแสดง
อาการเตื อนล่ วงหน้า พอเป็ นก็รุนแรงแพทย์ช่วยไม่ทนั ข้าพเจ้าโชคดี ที่จากการตรวจทุ กอย่างแล้วไม่ได้เป็ นโรคนี้ ใน
ขณะนี้
๒.๒ หลอดเลือดแดงแข็งทัว่ ตัว (Systemic arteriosclerosis) เป็ นตัวการที่ทาํ ให้เกิดโรคความดันโลหิ ตสู ง
(Hypertension) ซึ่ งเกิ ดจากหลายสาเหตุ แต่การสู บบุหรี่ เป็ นปั จจัยสําคัญ ความดันโลหิ ตสู งนาน ๆ ทําให้หวั ใจโต และถ้า
หลอดเลื อดแดงในสมองแข็งและตี บไป เลื อดไปเลี้ ยงไม่ พอเกิ ดอาการของโรคสมองขาดเลื อดชั่วคราว (Transcient
Ischemic Attack = TIA) ซึ่ งอาจมีอาการเป็ นลมหมดสติไปชัว่ ขณะ หรื อไม่เป็ นลมแต่รู้สึกโงนเงน หน้ามืด แขน ขาและ
หน้าชา และหนักข้างใดข้างหนึ่ ง พูดช้า พูดไม่ชดั เขียนหนังสื อไม่เหมือนเดิม หรื อบางคนมีอาการอัมพฤต (Paresis) หรื อ
อัมพาต (Paralysis) จนถึงไม่รู้สึกตัวไปเลย เดี๋ยวนี้ อาการทางสมองต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว จัดเป็ นโรคที่ตอ้ งรักษารี บด่วน
(Emergency) สามารถรักษาให้หายหรื อดี ข้ ึนได้ หากมาพบแพทย์ทนั การ ตัวข้าพเจ้าเองก็เคยมีอาการความดันโลหิ ตสู ง
และ TIA ซึ่งเป็ นเหตุให้ขา้ พเจ้าต้องนอนโรงพยาบาล และตัดสิ นใจเลิกบุหรี่ เมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๐ นัน่ เอง
๓. มะเร็ งปอด (Lung Cancer) พบว่าผูท้ ี่สูบบุหรี่ มากกว่าวันละ ๑ ซอง เป็ นระยะเวลานาน ๆ มีอตั ราเสี่ ยงต่อ
การเป็ นมะเร็ งปอดสู ง ๑๐-๑๔ เท่า ของคนไม่สูบบุหรี่ คนสู บบุหรี่ ทุกคนไม่มีโอกาสรู ้วา่ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไร แรก ๆ ก็ไม่
มีอาการ พอมีอาการตรวจพบได้ก็ชา้ ไปแล้ว คนไข้มะเร็ งปอดตั้งแต่เริ่ มตรวจพบว่าเป็ นก็จะมีชีวิตอยูไ่ ด้ ๖ เดือน ถึงปี ครึ่ ง
แต่ปัจจุบนั มียาเคมีบาํ บัดใหม่ ๆ ก็อาจยืดเวลาไปได้บา้ ง แต่ที่สําคัญก็คือมะเร็ งมักลุกลามไปสมองได้บ่อย ดีที่สุดคือคน
สู บบุหรี่ ตอ้ งคอยสังเกตอาการตัวเอง และเอ๊กซเรย์ปอดบ่อย ๆ ทุก ๓ เดือน ๖ เดือน ก็อาจตรวจพบแต่เริ่ มแรกซึ่ งสามารถ
รักษาโดยการผ่าตัดตามด้วยฉายแสงและเคมีบาํ บัดได้ผลดี
๔๑

๔. มะเร็ งชนิดอื่น ๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าเกี่ยวข้องกับการสู บบุหรี่ คือ มะเร็ งกล่องเสี ยง และมะเร็ งหลอดอาหาร มีอตั รา
เสี่ ยงสู งกว่าคนไม่สูบบุหรี่ ราว ๆ ๗ เท่า นอกจากนั้นยังพบมีรายงานว่าบุหรี่ ยงั ทําให้เกิดมะเร็ งไต มะเร็ งกระเพาะปั สสาวะ
และมะเร็ งตับอ่อนด้วย ข้าพเจ้าโชคดีที่ไม่ได้เป็ นมะเร็ งชนิดที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในขณะนี้
๕. แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) การสู บบุหรี่ เป็ นสาเหตุอย่างหนึ่ งแน่ นอน ข้าพเจ้าเองจําได้วา่ ตอน
เรี ยนแพทย์ปี ๑ ตอนเรี ยนวิชาฟิ สิ โอโลยี จะต้องใส่ สายยางลงกระเพาะอาหารแล้วดูดเอานํ้าย่อยออกมาหา pH. ข้าพเจ้า
อาสาเป็ นผูก้ ลืนสายยางเอง ปรากฏว่าข้าพเจ้ามีกรดในกระเพาะอาหารสู ง (Hyperacidity) แต่น้ นั มาข้าพเจ้ามีอาการปวด
ท้องเป็ นประจําทั้งก่อนและหลังอาหาร ปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ ได้ไปตรวจและกลืนแบเรี ยม ปรากฏว่าข้าพเจ้าเป็ น
แผลในกระเพาะอาหาร ๓ แผล แต่โชคดี ที่รักษาหายภายใน ๓ สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการปวดท้องก็มีมาเรื่ อย ๆ ข้าพเจ้า
ต้องดื่มนมแทนนํ้าเรื่ อยมาหลายปี พอข้าพเจ้าเลิกบุหรี่ อาการปวดท้องไม่เคยปรากฏอีกเลย
๖. ผูห้ ญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ ซึ่ งปั จจุบนั นี้ แนวโน้มผูห้ ญิงสู บบุหรี่ มากขึ้น พบว่าผูห้ ญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่
เสี่ ยงต่อการแท้งลูก ทารกตายแรกคลอดหรื อเบาะ ๆ ก็ทาํ ให้ทารกคลอดออกมานํ้าหนักตัวน้อยกว่าปกติ
๗. หลอดเลือดแดงขนาดกลางอักเสบและอุดตัน (Thromboangiitis obliterans หรื อ Buergers disease) มัก
เป็ นในคนสู บบุหรี่ มาไม่นาน มักเป็ นในคนอายุน้อยกว่า ๓๕ ปี แรก ๆ เป็ นจะมีอาการเดินมากแล้วปวดบริ เวณเท้าหรื อ
นิ้วเท้า บางทีก็นิ้วมือก็ได้ แล้วอาการก็จะเป็ นมากขึ้น จนเริ่ มมีผิวหนังพองเหมือนนํ้าร้ อนลวก พอแตกก็หายและเป็ นอีก
นาน ๆ เข้าบางนิ้ วอาจซี ดแล้วตามด้วยบวมแดง แดงคลํ้าจนเป็ นสี ดาํ แสดงว่านิ้วนั้นตายจากการขาดเลื อดไปเลี้ยงต้องตัด
นิ้วทิง้ บางคนเป็ นมากต้องตัดขาทั้ง ๒ ข้างทิง้ เหมือนกับคนเป็ นโรคเบาหวานก็ได้
๘. โรคที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการสู บบุหรี่ ที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า คือ
๘.๑ กระจกตาเป็ นแผล (Corneal ulcer) ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๖ ข้าพเจ้านอนดึกมาก และสู บบุหรี่ จดั มาก
มวนต่อมวน ทําให้ควันบุ หรี่ เข้าตา ตาแห้ง ขยี้บ่อย ๆ เลยเกิ ดเป็ นแผลที่กระจกตา และมี โรคแทรกซ้อนด้วยเชื้ อไวรัส
เฮอร์ ปีย์ที่ทาํ ให้เกิดโรคเริ มเป็ น ๆ หาย ๆ ตลอดเวลานานเกือบ ๙ ปี จึงหายเหลื อแผลเป็ นที่ตาขวา ทําให้เป็ นฝ้ ามองไม่ชดั
จนบัดนี้
๘.๒ เหงือกอักเสบ (Gingivitis) หรื อที่เรี ยกว่าโรครํามะนาด ความร้ อนจากการสู บบุหรี่ ทาํ ให้ขา้ พเจ้ามี
อาการเหงือกอักเสบเป็ น ๆ หาย ๆ ตลอดมา สุ ดท้ายฟั นโยกไล่กนั หมดทั้งปากจําเป็ นต้องถอนฟั นหมดทั้งปาก ข้าพเจ้าต้อง
ใส่ ฟันปลอมมายีส่ ิ บกว่าปี แล้ว
๘.๓ ฝ้ าขาวที่ริมฝี ปากและในปาก (Leukoplakia) เกิดจากความร้อนจากบุหรี่ หรื อสู บไพพ์ก็ได้ ทําให้เยื่อ
บุริมฝี ปากหรื อกระพุง้ แก้มหนาขึ้นจนเห็นเป็ นฝ้ าขาว หยุดบุหรี่ ฝ้าขาวก็จะหายไป อย่างไรก็ดีหากยังสู บต่อไปนาน ๆ ก็จะ
กลายเป็ นมะเร็ งได้เช่นกัน
บังเอิญ ขณะข้าพเจ้ากําลังเขียนเรื่ องนี้ อยู่ เป็ นวันอาทิตย์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ซึ่ งเป็ นวันงดสู บบุหรี่ โลก
ข้าพเจ้าเลยถือโอกาสนําผลการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่ งชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ ระบุวา่ มีคนไทยที่สูบบุหรี่ เป็ นประจํา
๑๐.๖ ล้านคน คิดเป็ นร้อยละ ๒๐.๖ เป็ นชาย ๑๐ ล้านคนที่เหลือเป็ นหญิง อายุเฉลี่ยที่เริ่ มสู บบุหรี่ ของผูท้ ี่สูบบุหรี่ เป็ นประจํา
คือ ๑๘.๕ ปี จํานวนมวนบุหรี่ ที่สูบต่อวันรวม ๑๐.๖ มวน โดยคนภาคอิสานที่สูบบุหรี่ เป็ นประจํามีมากที่สุด คือ ร้อยละ
๒๓.๓ รองลงมาคือคนภาคใต้ ร้อยละ ๒๒ และคนกรุ งเทพฯ ตํ่าสุ ดเพียง ร้อยละ ๑๔.๗ ปั จจุบนั ทัว่ โลกมีผสู ้ ู บบุหรี่
๔๒

ประมาณ ๑.๑ หมื่นล้านคน เท่ากับ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลกทั้งหมด โดยประมาณการว่าในจํานวนนี้ เป็ นผูท้ ี่มีรายได้


ปานกลางและรายได้ต่าํ ถึง ร้อยละ ๘๐ ส่ วนสถิติการเสี ยชี วิตจากพิษบุหรี่ ตกปี ละ ๕ ล้านคน หรื อเท่ากับทุก ๆ ๑๐ คน ที่
เสี ยชี วิตจะมี ๑ คน ที่เสี ยชี วิตจากการสู บบุ หรี่ คาดกันว่าตัวเลขนี้ จะสู งถึ ง ๑๐ ล้านคนต่อปี ในอีก ๒๐-๓๐ ปี ข้างหน้า
ภายในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ สัดส่ วนผูเ้ สี ยชีวติ จะเพิม่ ขึ้นเป็ น ๑ คน ในทุก ๆ ๖ คน
เท่าที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ต้องการให้ผทู ้ ี่กาํ ลังสู บบุหรี่ อยู่ ผูท้ ี่คิดจะเริ่ มสู บบุหรี่ และผูท้ ี่กาํ ลังเริ่ มมีความคิดว่า จะ
เลิกบุหรี่ ลองพิจารณาเลิกสู บบุหรี่ หรื อไม่เริ่ มสู บบุหรี่ เลยดีไหม ปั จจุบนั นี้ สถานที่ที่จะสู บบุหรี่ ก็หายากขึ้นทุกปี คนสู บบุหรี่
จะกลายเป็ นชนกลุ่มน้อยที่น่ารั งเกี ยจของสังคมในอนาคตอันใกล้น้ ี สําหรั บข้าพเจ้าเองถ้าเลื อกได้ว่าจะไม่สูบแต่ตน้
ก็อยากจะทําเช่ นนั้น เพราะพิษภัยของบุหรี่ ท้ งั ตัดทอนสุ ขภาพและความสุ ขของข้าพเจ้าตลอดจนคนใกล้ชิดหลายคน
ท้ายสุ ดนี้ ขา้ พเจ้าขอขอบคุณคุณหมอทั้งหลายที่กรุ ณาช่วยรักษา ข้าพเจ้าเป็ นอย่างดีในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ข้าพเจ้าจะรําลึ ก
ถึงความดีของท่านทั้งหลายไว้ตลอดไป
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณนายแพทย์ นิวัฒน์ จันทรกุล
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
๔๓

บุคคลผู้อยู่ในความทรงจาของข้ าพเจ้ า

๑. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประดิษฐ์ ตันสุ รัต


เช้าวันจันทร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๐๑ ข้าพเจ้าได้ไปรายงานตัวต่ออาจารย์ประดิษฐ์ ซึ่ งขณะนั้นอาจารย์เป็ น
หัวหน้าสาขาพยาธิ วทิ ยา โดยมีท่านอาจารย์ขนุ เกตุทศั น์วทิ ยาพยาธิ เป็ นหัวหน้าภาควิชาพยาธิ วทิ ยา คุณประภาพรรณ จันทร์
เพ็ญ ซึ่งเป็ นหัวหน้าห้องธุรการได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามารายงานตัวช้าไป ๑ สัปดาห์ แต่อาจารย์ประดิษฐ์ ได้บอกไว้
ว่า หมอนิวฒั น์เขามาสมัครเป็ นคนแรก รอเขาหน่อยก็แล้วกัน นัน่ คือความประทับใจของข้าพเจ้าต่ออาจารย์ประดิษฐ์
เป็ นครั้งแรกและไม่เคยลืมเลย เพราะถ้าไม่ใช่เป็ นความกรุ ณาของอาจารย์ ข้าพเจ้าก็คงไม่ได้เป็ นพยาธิ แพทย์และเป็ นครู
ตามปณิ ธานของข้าพเจ้ามาแต่ตน้ ในความรู ้สึกของข้าพเจ้า อาจารย์ประดิษฐ์ท่านได้แสดงออกซึ่ งความเป็ นครู อย่าง
แท้จริ ง ตลอดเวลาที่ได้ทาํ งานร่ วมกับอาจารย์ผมรู ้สึกภูมิใจและเป็ นสุ ขใจที่ได้ทาํ งานอย่างอิสระภายใต้การบังคับ
บัญชาของอาจารย์ตลอดมา จึงขอบันทึกไว้เตือนใจตลอดไป
๒. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สงัด กาญจนกุณชร
เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าเป็ นแพทย์ประจําบ้านแผนกพยาธิวทิ ยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้ว และได้รับการบรรจุ
เป็ นอาจารย์ในแผนกพยาธิวทิ ยา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสใกล้ชิดและได้รับความกรุ ณาจากอาจารย์สงัด
อย่างมาก อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู ้และประสบการณ์ในการทํางานทางด้านพยาธิ วทิ ยา คําสอนที่ขา้ พเจ้าจดจําไม่ลืม
และได้ถ่ายทอดแก่พยาธิ แพทย์รุ่นน้องตลอดมา คือ ๑. การวินิจฉัยโรคทางพยาธิวทิ ยาจากสไลด์ดว้ ยกล้องจุลทรรศน์
ของเนื้ อเยื่อหรื ออวัยวะใดว่าเป็ นโรคอะไร เราจะต้องรู้จกั ลักษณะทางจุลกายวิภาค (Histology) ของเนื้ อเยื่อนั้น ๆ เป็ น
อย่างดีก่อน จึงจะบอกพยาธิ สภาพที่เกิดได้ ๒. การมองพยาธิ สภาพที่เกิดขึ้นอย่ามองเท่าที่เห็น (Static) แต่ ใ ห้ ม องว่า
พยาธิ ส ภาพที่ เ ห็ น นั้น เริ่ ม ต้น เป็ นอย่า งไร และสุ ด ท้า ยจะเป็ นอย่า งไร (Dynamic) ๓. การวินิจฉัยเนื้ องอกหรื อ
มะเร็ ง ให้ยึดหลักการดูรูปร่ าง (Shape) และการเรี ยงตัว (arrangement) ของเซลล์เป็ นสําคัญ ดังนั้นนอกเหนือจาก
ความรู ้ที่ทาํ ได้จากการอ่านตําราแล้ว ข้าพเจ้าได้อาศัยประสบการณ์ของอาจารย์เป็ นแนวทางตลอดมาจนถึงปั จจุบนั
อนึ่งการที่ขา้ พเจ้าได้ติดตามอาจารย์ไปออก Tumor Clinic ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ จนกระทัง่ อาจารย์เกษียณอายุในปี พ.ศ.
๒๕๑๕ ข้าพเจ้าก็เลยได้รับแต่งตั้งเป็ นกรรมการสถาบันมะเร็ ง โรงพยาบาลศิริราช จนถึงได้รับแต่งตั้งเป็ นประธานฝ่ าย
วิชาการของสถาบันมะเร็ งโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๓๑ และได้คลุกคลีอยูใ่ นวงการของโรคมะเร็ ง
ตลอดมา ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ไว้ในโอกาสนี้อีกครั้งหนึ่ง
๓. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สงกรานต์ นิยมเสน (อดีตหัวหน้ าแผนกนิติเวชวิทยา)
ในระยะเวลาที่อาจารย์เป็ นหัวหน้าสาขานิติเวชวิทยา ของแผนกพยาธิ วทิ ยา เวลามีการประชุมอ่าน
วารสารของแผนกพยาธิ วทิ ยา อาจารย์ทุกคนในทุกสาขาวิชาจะเข้าประชุมพร้อมกัน ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๓ อาจารย์
ได้ทาํ หน้าที่เป็ นบรรณาธิการของวารสารจดหมายเหตุการแพทย์ของสมาคมแพทย์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (จ.พ.ส.ท.)
วันประชุมวันหนึ่งอาจารย์ได้บอกให้ขา้ พเจ้าหาเรื่ องเขียน อาจารย์จะช่วยนําลงในหนังสื อให้ ข้าพเจ้าถือว่าอาจารย์
สงกรานต์เป็ นผูจ้ ุดประกายในการเขียนเรื่ องทางวิชาการ ซึ่ งข้าพเจ้าก็ได้เขียนเรื่ องแรกให้อาจารย์ได้ลงใน จ.พ.ส.ท. คือ
เรื่ อง การพบเชื้ อโรคเรื้ อนที่ช้ นั นอกของผิวหนังซึ่ งไม่ ปรากฎแผล : รายงานผูป้ ่ วย ๑ ราย นับจากปี พ.ศ. ๒๕๐๓
๔๔

เป็ นต้นมา ข้าพเจ้าได้เขียนเรื่ องลงในวารสารการแพทย์ต่าง ๆ มาแล้วเกือบ 100 เรื่ อง ข้าพเจ้าขอบันทึกไว้ในความทรงจํา


ในความปราณี ของอาจารย์ตลอดไป
๔. ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ ณฐั ภมรประวัติ
แม้วา่ ข้าพเจ้าได้เคยทํางานร่ วมกับอาจารย์ไม่นาน (ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๗) ข้าพเจ้าในฐานะ
เริ่ มเป็ นพยาธิ แพทย์ใหม่ รู ้ สึกศรัทธาในความเป็ นพหู สูตรของอาจารย์ อาจารย์ได้เป็ นผูจ้ ุดประกายให้ขา้ พเจ้าได้รู้จกั การ
วิจยั และการแปลผล จากผลงานเรื่ อง พยาธิ สภาพที่พบในผูป้ ่ วยที่ตายด้วยโรคเอ็มพัยอีม่า (สารศิริราช ๑๓,๑๔๖ -๑๕๕,
๒๕๐๔) ซึ่ งเป็ นผลงานร่ วมกับอาจารย์ นอกจากนั้นอาจารย์ได้กรุ ณาสอนและแนะนําเกี่ยวกับโรคเชื้ อรา ซึ่ งเป็ นแนวทาง
ให้ขา้ พเจ้าหันมาสนใจเกี่ยวกับโรคเชื้ อราอย่างจริ งจังตลอดมา แม้อาจารย์จะย้ายไปอยูโ่ รงพยาบาลรามาธิ บดีและสุ ดท้าย
อาจารย์เป็ นอธิ การบดีมหาวิทยาลัยมหิ ดลแล้ว อาจารย์ก็ยงั ให้ความเป็ นกันเอง ถามถึงภรรยาและลูก ๆ ของข้าพเจ้าเสมอ
และที่ขา้ พเจ้ารู ้สึกซาบซึ้ งก็คืออาจารย์ได้เขียนจดหมายมาแสดงความยินดีในวาระที่ขา้ พเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็ นหัวหน้า
ภาควิชาพยาธิวทิ ยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่ งข้าพเจ้ายังคงเก็บจดหมายของอาจารย์ไว้จนบัดนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ อาจารย์
ได้สนับสนุนให้ขา้ พเจ้าทําหน้าที่เป็ นประธานเครื อข่ายมะเร็ งมหาวิทยาลัยมหิ ดล และหลังเกษียณอายุราชการแล้ว อาจารย์
ยังกรุ ณาชักชวนให้ขา้ พเจ้าร่ วมทํางานเกี่ ยวกับระบาดวิทยาของโรคมะเร็ งอีก แต่ขา้ พเจ้า จําต้องปฏิ เสธความหวังดี ของ
อาจารย์เนื่ องจากสุ ขภาพ ความเอื้ ออาทรของอาจารย์ที่มีต่อข้า พเจ้า ดัง กล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้าขอบันทึกไว้ดว้ ยความ
ขอบคุณเป็ นอย่างยิง่
๕. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ทองน่ าน วิภาตะวณิช
วันหนึ่งประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ซึ่งเป็ นผลสื บเนื่องจากเรื่ องที่ขา้ พเจ้าได้รายงานใน จ.พ.ส.ท. เรื่ อง
โรคเรื้ อนในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ อาจารย์ได้ชวนข้าพเจ้าให้ไปร่ วมกับอาจารย์ ในการตรวจคนไข้โรคผิวหนังที่ห้องตรวจโรค
ผิวหนังของตึกตรวจโรคนอกหลังตัวแอลที่อยูร่ ิ มแม่น้ าํ เจ้าพระยา โดยให้ขา้ พเจ้านํากล้องจุลทรรศน์และสไลด์ของ
คนไข้โรคผิวหนังที่ตอ้ งตัดเนื้ อไปตรวจวินิจฉัยทางพยาธิ วิทยาไปที่หอ้ งตรวจโรคผิวหนังดังกล่าว โดยอาจารย์จะดูรอย
โรคผิวหนังของคนไข้คิดว่าเป็ นโรคอะไร แล้วให้ขา้ พเจ้าอ่านผลทางพยาธิ วทิ ยาไปพร้อม ๆ กัน ต่อมาได้กาํ หนดเอา
ตอนบ่ายวันอังคาร ตั้งแต่ ๑๓.๐๐ น. เป็ นต้นไป เป็ นวันประชุม ซึ่ งต่อมาปั จจุบนั ก็คือ Skin Clinic นัน่ เอง ข้าพเจ้าได้
ร่ วมประชุมกับอาจารย์มาตลอดจนอาจารย์เกษียณอายุราชการ ข้าพเจ้าก็ยงั ไป Skin Clinic เรื่ อยมา จนถึงปี พ.ศ.
๒๕๒๘ จึงได้หยุดเพื่อให้อาจารย์หมอเจน มโนนุกลู ทําหน้าที่แทนมาจนถึงปัจจุบนั ความรู ้และประสบการณ์เกี่ยวกับ
โรคผิวหนังทั้งทางคลีนิกและทางพยาธิ วทิ ยา ส่ วนใหญ่ขา้ พเจ้าได้จากประสบการณ์ที่ได้ทาํ งานร่ วมกับอาจารย์หมอทอง
น่าน ใน Skin Clinic และจากตํารา LEVER: HISTOPATHOLOGY OF THE SKIN โดยแท้ขา้ พเจ้าสํานึกในพระคุณ
ของอาจารย์เสมอมาที่กระตุน้ ให้ขา้ พเจ้าสนใจพยาธิ วทิ ยาของโรคผิวหนังอย่างจริ งจัง และใช้เป็ นประโยชน์มาจนบัดนี้
จึงขอขอบพระคุณอาจารย์ไว้ในโอกาสนี้
๖. ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมชัย บวรกิตติ
เป็ นผูท้ ี่ชกั ชวนให้ขา้ พเจ้าทํางานร่ วมกับอาจารย์หลายเรื่ อง นอกจากนั้นยังเป็ นตัวอย่างในการทํางานโดย
เฉพาะงานเขียนและงานวิจยั ข้าพเจ้าศรัทธาในการทํางานเป็ นระบบ รวดเร็ ว แม่นยํา จริ งจัง และจริ งใจ ข้าพเจ้ารู ้ สึก
ภูมิใจ และดีใจที่อาจารย์ได้เลือกข้าพเจ้าเป็ นผูร้ ่ วมงานด้วยคนหนึ่ง จึงขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่น้ ี
๔๕

๗. ดร. ชวาลย์ แพรัตกุล


ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓ ข้าพเจ้าเรี ยน ม.๗ - ๘ ที่โรงเรี ยนวัฒนศิลป์ วิทยาลัย แถว ๆ ประตูน้ าํ โดยต้อง
อยูป่ ระจําที่โรงเรี ยนเพื่อเรี ยนติวเข้ม มี ๒ ห้อง ๆ ละ ๓๐ คน ห้องของข้าพเจ้าอาจารย์ที่ดูแลก็คือครู ชวาลย์ แพรัตกุล
ซึ่ งเป็ นคนเก่ งสอนได้หลายวิชา เอาใจใส่ และเป็ นกันเองกับนักเรี ยนทุ กคน อาจารย์เป็ นคนสู บบุ หรี่ จดั มากจําได้ว่า
ข้าพเจ้ามักจะถูกเรี ยนใช้ให้ไปซื้ อบุหรี่ ให้ครู ชวาลย์เป็ นประจํา ผลการเรี ยนของนักเรี ยนทุกคนดี ข้ ึนอย่างเห็ นได้ชัด
โดยเฉพาะข้าพเจ้ายอมรับเลยว่าการอยู่แค้มพ์และได้รับการเอาใจใส่ ของครู ชวาลย์ได้มีส่วนเป็ นอย่างมากต่อความ
เจริ ญก้าวหน้าของข้าพเจ้า ตอนปลายปี ผลการสอบไล่ ม.๘ ปรากฎว่านักเรี ยนสอบได้ยกชั้น ในห้องประชุ มวันสุ ดท้าย
ครู ชวาลย์ได้ถามว่าใครจะไปเรี ยนอะไรกันบ้าง ไม่มีใครตอบครู ถามต่อว่าใครจะเรี ยนแพทย์บา้ ง ก็มีมือยกขึ้นมา ๒ มือ
คือ ข้าพเจ้า และดิเรก ภักดี โดยเพื่อนทั้งๆ ช่วยยกให้ ข้าพเจ้าและดิเรกก็มาสอบเข้าแพทย์ได้ท้ งั ๒ คน หลังจากจาก
กันราวๆ ๑๕ ปี ปรากฎว่าครู ชวาลย์ได้สอบชิ งทุนไปทําปริ ญญาเอกทางการศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริ กา ถ้าไม่ได้รับ
การเอาใจใส่ เคี่ยวเข็ญจากครู ชวาลย์ ตอนนั้นข้าพเจ้าอาจไม่ได้มาเป็ นอย่างนี้ ขอขอบคุณคุณครู ไว้ ณ ที่น้ ี
๘. ป้าถิน้ (นางกัลยา โลวะนะ)
เป็ นเจ้าของร้านย่งฮง ขายทองรู ปพรรณอยูท่ ี่ถนนนครในติดกับร้านยินดี ซึ่ งขายข้าวเกรี ยบกุง้ ในอําเภอเมือง
จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทยหลายจุดรวมทั้งตัวเมืองสงขลาด้วย ทําให้
ชาวสงขลาต้องอพยพหนีภยั ไปอยูต่ ามชนบทไกลๆ ครอบครัวป้ าถิ้น เคยรู ้จกั คุณพ่อของข้าพเจ้า ขณะที่คุณพ่อยังอยูท่ ี่
เมืองสงขลาตอนเด็กๆ ได้อพยพมาอยูบ่ า้ นข้าพเจ้าหลายเดือน พอเหตุการณ์สงบครอบครัวป้ าถิ้นก็อพยพกลับ แต่ได้
บอกคุณพ่อว่าหากข้าพเจ้าไปเรี ยนต่อที่อาํ เมืองสงขลาเมื่อไร ต้องไปอยูท่ ี่บา้ นท่าน ข้าพเจ้าได้ไปอยูบ่ า้ นป้ าถิ้นเป็ นเวลา
๓ ปี ขณะเรี ยนชั้น ม. ๑ - ๓ ที่โรงเรี ยนวชิรานุกลู การได้อยูบ่ า้ นป้ าถิ้นช่วยหล่อหลอมให้ขา้ พเจ้ารู้จกั อดทน อดกลั้น
และรู ้จกั วางตัว ทําให้ใจเย็น และรู ้จกั หน้าที่ รู ้จกั เกรงใจผูอ้ ื่น เหล่านี้ เป็ นแรงผลักดันให้ขา้ พเจ้าผ่านพ้นสิ่ งไม่ดีต่างๆ
ไปได้ และช่วยกล่อมเกลาให้ขา้ พเจ้าเป็ นอย่างที่เห็นในปั จจุบนั จึงขอขอบพระคุณป้ าถิ้นไว้ ณ ที่น้ ี
๙. คุณสนุ่นและคุณกาญจนา ปิ ณฑสุ วรรณ
สองสามีกรรยา ได้อนุ เคราะห์ ให้ขา้ พเจ้าพักและเลี้ยงอาหารแก่ ขา้ พเจ้าตลอดเวลา ๒ สัปดาห์ ที่
ข้าพเจ้าดู งานที่ All India Instiute of Cancer Research ที่กรุ งนิวเคลฮี ประเทศอินเดีย ประมาณเดือน ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๑๒ โดยการแนะนําของคุณระเด่น ทักษนา (ปัจจุบนั ดร.ระเด่น ทักษณา) โดยไม่เคยรู ้จกั กับข้าพเจ้ามาก่อน จึงขอ
บันทึกความเอื้ออารี ย ์ ที่ท่านทั้งสองที่มีต่อข้าพเจ้า จะขอจดจําไว้ตลอดไป
๑๐. คุณพ่ อและคุณแม่ ของข้ าพเจ้ า (นายแดง-นางสงวน จันทรกุล)
คุณพ่อของข้าพเจ้าได้ศึกษาที่โรงเรี ยนมหาวชิ ราวุธ จังหวัดสงขลา จนถึงมัธยมปี ที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙
จึงได้ขอตั้งนามสกุล “จันทรกุล” พอเรี ยนจบ ม.๓ จึงได้ลาออก เพื่อติดตามครอบครัว ซึ่ งย้ายภูมิลาํ เนาจากตําบล
บ่อยาง อําเภอเมื อง จังหวัดสงขลา ไปอยู่ที่บา้ นห้วยลึ ก ตําบลดอนประดู่ อําเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุ ง ในปี พ.ศ.
๒๔๖๑ คุณพ่ออายุ ๑๖ ปี ได้เข้ารับราชการครู และได้รับแต่งตั้งให้เป็ นครู ใหญ่คนแรกของโรงเรี ยนประชาบาลวัดห้วยลึก
และได้ดาํ รงตําแหน่งนี้ อยูน่ านถึง ๒๘ ปี จึงได้ลาออกจากราชการ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อไปประกอบธุ รกิจการค้าส่ วนตัว
ตลอดเวลาที่ คุ ณพ่อเป็ นครู ใ หญ่ ไ ด้พ ฒ ั นาโรงเรี ย นให้เจริ ญก้า วหน้า ทั้ง ทางด้า นการศึ ก ษาและการกี ฬ าจนทํา ให้
โรงเรี ย นมีชื ่ อ เสี ย งเป็ นโรงเรี ย นชั้ น แนวหน้า เป็ นที ่เ ลื ่อ งลือ สมัย นั้ น คุณ พ่อ เป็ นผู ท้ ี ่ม ีจ ิต ใจโอบอ้อ มอารี ย ์
๔๖

เอื้ อเฟื้ อเผื่อแผ่เป็ นที่รักใคร่ นบั ถื อของญาติและเพื่อน ๆ ให้ความช่ วยเหลื อและเป็ นที่ปรึ กษาของกํานันผูใ้ หญ่บา้ น
เกี่ยวกับงานหนังสื อราชการ และช่ วยราชการในกิจกรรมต่างๆ ตลอดมา อนึ่ ง คุ ณพ่อเป็ นคนทันสมัยตลอดเวลา เป็ น
ผูม้ ีความคิดริ เริ่ มมองกาลไกล ดังจะเห็นได้จากการส่ งบุตรทุกคนให้เรี ยนหนังสื อจนถึงชั้นมหาวิทยาลัย และยังแนะนํา
ให้เพื่อนๆ ส่ งบุตรหลานได้เรี ยนต่อด้วยเช่นกัน ถ้าเปรี ยบคุณพ่อเป็ นเหมือนเสนาธิ การของบ้านทีเดียว
ส่ วนคุณแม่ไม่รู้หนังสื อ แต่อาศัยความพยายามเรี ยนด้วยตนเอง จนอ่านออกเขียนได้คุณแม่เป็ นผูท้ ี่มีความ
พยายาม อดทนและใฝ่ รู ้ สมัยนั้นจักรเย็บผ้าซิ งเกอร์ ได้บริ การซื้ อเงินผ่อน คุณแม่เย็บจักรไม่เป็ นแต่ได้ซ้ื อจักรมาหัดแล้ว
ซื้ อเสื้ อกางเกงสําเร็ จรู ปมาเลาะตะเข็บออกแล้วหัดตัดเย็บเช่ นนี้ จนชํานาญ ขนาดระยะหลังๆ เวลาคนมาจ้างตัดเสื้ อ
คุณแม่เพียงแต่มองแล้วตัดเย็บออกมาพอดีตวั ทุกที จนยึดเป็ นอาชี พทั้งตัดเย็บเสื้ อผ้า และขายเสื้ อผ้าตามตลาดนัด เพื่อ
เป็ นค่าเล่าเรี ยนของลูกๆ ทุกคน ความอุตสาหะและบากบัน่ อย่างหนักของคุ ณพ่อคุณแม่เพื่อความเจริ ญก้าวหน้าของ
ลูกๆ ทุกคนลูกขอจารึ กไว้เป็ นอนุสรณ์ชวั่ ชีวติ
๑๑. ภรรยาของข้ าพเจ้ า (นางลัดดา จันทรกุล)
เป็ นบุคคลสําคัญที่อยู่เคียงข้างข้าพเจ้าตลอดเวลา ไม่วา่ ทุกข์หรื อสุ ข คอยให้กาํ ลังใจ สนับสนุ น
แบ่งเบาภาระในการดูแลและรับ-ส่ งบุตรไปโรงเรี ยน พร้อมกับดูแลเรื่ องในบ้านทั้งหมด ทําให้ขา้ พเจ้าหมดความกังวล
ใจ สามารถทุ่มเทเวลาให้กบั การทํางานที่รับผิดชอบให้ลุล่วงไปด้วยดี จนสามารถก้าวหน้ามาเป็ นลําดับจนถึงจุดสู งสุ ด
ของหน้าที่การงาน ข้าพเจ้าภูมิใจเป็ นอย่างยิง่ ที่ได้ภรรยาที่เป็ นคู่ทุกข์-คู่ยากอย่างแท้จริ ง และสามารถอบรมบุตรทุกคน
ให้เป็ นคนดี และเล่าเรี ยนสู งถึงชั้นปริ ญญา และได้ทาํ งานเป็ นหลักเป็ นฐานทุกคน ซึ่ งเธอก็เป็ นหนึ่งในดวงใจของ
ข้าพเจ้าตลอดเวลาและตลอดไป

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ นิวัฒน์ จันทรกุล


๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๖
๔๗

กราบขอบพระคุณ
ภริ ยา บุตร และครอบครัวของศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ นิวฒั น์ จันทรกุล ม.ป.ช., ม.ว.ม. ขอกราบ
ขอบพระคุณท่านผูม้ ีเกียรติตลอดจนญาติมิตรที่นบั ถือทุกท่าน ที่ได้กรุ ณาให้เกียรติแก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
นายแพทย์ นิวฒั น์ จันทรกุล นับแต่การมาร่ วมในพิธีพระราชทานนํ้าหลวงอาบศพ กรุ ณานําพวงหรี ดมาวางเคารพศพ
มอบปั จจัยเพื่อบําเพ็ญกุศล ร่ วมเป็ นเจ้าภาพและร่ วมการสวดพระอภิธรรมบําเพ็ญกุศล ตลอดจนได้กรุ ณาเขียนคําไว้
อาลัยในหนังสื อเล่มนี้ และร่ วมเป็ นเกียรติในพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันนี้
ในโอกาสนี้ขอขอบคุณคณะแพทย์และพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศิริราชทุกท่านที่ได้ช่วยเหลือ
ในการรักษาพยาบาลเป็ นอย่างดีจนกระทัง่ วาระสุ ดท้าย
ด้วยกุศลอันมีเมตตาจิตของทุกท่านในครั้งนี้ ขอได้ส่งผลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความร่ มเย็นเป็ น
สุ ขและได้รับสิ่ งอันเป็ นที่พึงปรารถนาทุกประการ
หากมีสิ่งใดผิดพลาด ขาดตกบกพร่ องหรื อมิชอบด้วยเหตุใด เจ้าภาพขออภัยมา ณ โอกาสนี้ดว้ ย

นาง ลัดดา จันทรกุล


พลเรื อตรี พฤหัส – พลตรี หญิง บุศรา จันทรกุล
นาย อาทิตย์ - นางระพีพร จันทรกุล
นาย นิดิชญ์ จันทรกุล

You might also like