Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

การบริหารจัดการน้าในลุ่มน้าบางปะกงฯ

“การประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลการบริหารจัดการน้าในลุ่มน้าบางปะกงฯ”

คุ้มครองบางคล้า
๒๐ เมษายน ๒๕๕๔

เอกสารฉบับนีเป็นรายงานสรุปผลการประชุม ที่เกิดขึนโดยความร่วมมือของ
โครงการชลประทานฉะเชิงเทรา, โครงการส่งน้าและบ้ารุงรักษาบางพลวง, โครงการส่งน้าและบ้ารุงรักษาเขื่อนบางปะกง,
โครงการส่งน้าและบ้ารุงรักษาคลองสียัด, การประปาส่วนภูมิภาค, ส้านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
ฉะเชิงเทรา, บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้าภาคตะวันออก จ้ากัด (มหาชน) และคุ้มครองบางคล้า
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นายชัยยันต์ ต้นเงิน การประปาส่วนภูมิภาค
๒. นายกฤษฎา ด้วงมณี การประปาส่วนภูมิภาค
๓. นายมนตรี อุทัยศรี การประปาส่วนภูมิภาค
๔. นายสมนึก ลิ้มทองสิทธิคุณ การประปาส่วนภูมิภาค
๕. นายวิทยา ล่ามสุวรรณ การประปาส่วนภูมิภาค
๖. นายพงศ์ศักดิ์ ณ ศร โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาเขื่อนบางปะกง
๗. นายเกษม เกสรา โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาคลองสียัด
๘. นายเชิงชาญ ชวลิตเมธารัตน์ โครงการชลประทานฉะเชิงเทรา
๙. นายยงยุทธ ทัดเทียมพร โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาบางพลวง
๑๐. นายวุฒิศักดิ์ สุคุณณี โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาเขื่อนบางปะกง
๑๑. นายพรชัย วิสุทธาจารย์ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา
๑๒. นายประเสริฐ มาลีวงษ์ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา
๑๓. นายบุญเสริม เจริญรัตนโอภาส อนุกรรมการลุ่มน้ําคลองท่าลาด
๑๔. นายสืบตระกูล ป. เทวารุทธ สจ.เขตอําเภอคลองเขื่อน
๑๕. นางสาวนันทวัน หาญดี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา
๑๖. นางพนารัตน์ จันดา เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา
๑๗. นายสัมฤทธิ์ ตันจินซุย เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า
๑๘. นายสุทัศน์ ซิ้มเจริญ เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า
๑๙. นายกัญจน์ ทัตติยกุล เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า
๒๐. นางสาวกอบมณี เลิศพิชิตกุล เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า
๒๑. นายอดิศักดิ์ ดุลภาคไพศาล เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า
๒๒. นายวรพจน์ กุศลสงเคราะห์กุล เกษตรกร ต.สาวชะโงก
๒๓. พรทิพย์ อิ้งสอาด เกษตรกร ต.บางคล้า
๒๔. ปิยะวดี ยมเจริญ เกษตรกร ต.บางสวน
๒๕. วันเพ็ญ สิขเรศ เกษตรกร ต.บางสวน
๒๖. นางไพรัช แตงอ่อน เกษตรกร ต.บางสวน
๒๗. นายวิไล พรมประสิทธิ เกษตรกร ต.บางสวน
๒๘. นายสมทรง วัฒนา กลุ่มพนมสารคามพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
๒๙. นายมานพ แก้วเจริญ กลุ่มพนมสารคามพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
๓๐. นายเสริมศักดิ์ คุณธรรมอนันต์ กลุ่มพนมสารคามพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
๓๑. นายเพชร จีนหนู บมจ.อีสท์วอเตอร์
๓๒. นายชวลิต จาลรุกลัส บมจ.อีสท์วอเตอร์
๓๓. กันยานาถ วีระพันธุ์ บมจ.อีสท์วอเตอร์
๓๔. ศิริพร บุญโกย บมจ.อีสท์วอเตอร์
๓๕. คุณชัยพร สุวรรณ บมจ.อีสท์วอเตอร์

๑ | หน้า
ที่มา
เนื่องจาก “น้ํา” ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญของการดํารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ที่ส่วนใหญ่ใช้ในการอุปโภค บริโภค
และประกอบอาชีพทั้งเกษตรกรรมและปศุสัตว์ แต่ในปัจจุบันน้ําที่สามารถนํามาใช้ได้มีปริมาณลดลง และมีคุณภาพที่
ด้อยลง ทั้งที่เกิดจากสภาพตามธรรมชาติและการบริหารจัดการของมนุษย์ เครือข่ายคุ้มครองบางคล้าเล็งเห็นถึง
ความสําคัญของปัญหานี้และต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมแก้ไขปัญหาที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น

วัตถุประสงค์
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการบริหารจัดการน้ํา อันจะนําไปสู่การบริหารจัดการน้ําที่มี ความเป็นธรรมและยั่งยืนแก่
คนในลุ่มน้ําบางปะกงฯ

เนื้อหาการประชุม
กปภ. นําเสนอข้อมูลการใช้น้ํา โดยหน้าที่การประปาส่วนภูมิภาคมีหน้าที่หาน้ําดิบมาผลิตเป็นน้ําประปาเพื่อ
บริการประชาชน โดยหลักการทํางานจะมีการวางแผนล่วงหน้า ๑๐ ปี ซึ่งปัจจุบันทางการประปาส่วนภูมิภาคจะมี
ข้อจํากัดเรื่องน้ําดิบในช่วงฤดูแล้ง ปัจจุบันแหล่งน้ําดิบที่สําคัญมากจาก ๒ แหล่งคือ
๑. อ่างเก็บน้ําสียัด (กรมชลประทาน) ความจุ ๔๓๖ ล้านลบ.ม. โดยมีการส่งน้ําเพื่อ อุปโภคบริโภค และเพื่อ
การเกษตร ผ่านคลองชลประทานท่าลาด โดยในบางช่วงเวลา กรมชลประทาน จะมีการหยุดส่งน้ําเพื่อ
ซ่อมบํารุงคลองส่งน้ํา
๒. แม่น้ําบางปะกง (แหล่งน้ําสาธารณะ) มีปริมาณน้ําไหลลงทะเลรวมปีละ ๖,๗๑๕ ล้านลบ.ม. โดยจะมี
ปริมาณและคุณภาพซึ่งสามารถผลิตน้ําประปาได้ประมาณ ๔-๖ เดือน (ก.ค. ถึง ต.ค.)-(มิ.ย. ถึง พ.ย.)

ตารางปริมาณน้ําแม่น้ําบางปะกง (ล้านลบ.ม./เดือน)

เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รายปี
ปริมาณ 28 15 16 26 134 366 756 1,358 1,871 1,729 376 94 6,715
กปภ. 0 0 0 0 0 0 1.44 1.44 1.44 1.44 1.44 0 7.20
(7.20/6,715x100 = 0.11%)

(เอกสารแนบ)

คุณทองหล่อ ประชาชนมีข้อกังวลเมื่อเห็นการวางท่อสีดํานาดใหญ่ จึงอยากทราบว่าโครงการวางท่อน้ําขนาด


ใหญ่นี้จะนําน้ําไปที่ไหน? ไปให้ใคร? ปริมาณเท่าไหร่? นโยบายเป็นอย่างไร แล้วจะคุ้มค่าที่ลงทุนไป ๓๐๐ กว่าล้านบาท
ไหม? แล้วมีการถามคนในพื้นที่หรือไม่?

๒ | หน้า
ตอบ หน้าที่ของเราคือหาน้ําป้อนให้ประชาชน เดิมเราใช้น้ําดิบจากเขื่อนสียัด และซื้อและกักเก็บน้ําในช่วงที่น้ํา
ขาดแคลน ปัจจุบันมีการขยายตัวของเมือง เพื่อประหยัดน้ําต้นทุนจากเขื่อนสียัดในช่วงที่แม่น้ําบางปะกงมีน้ํามากคือช่วง
ประมาณเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ที่มีน้ําไหลบ่ามากกว่า ๓๐๐ ลบ.ม.ต่อวินาที เราจะสูบน้ํามา ๐.๕ ลบ.ม./วินาที ซึ่ง
น้อยมากจนไม่สามารถแสดงได้ น้ําที่สูบมาจะนําไปทําน้ําประปาเพื่อบริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและ
บริเวณใกล้เคียง โดยโครงการทําตามขั้นตอนทั่วไป มีการทําประชาพิจาร ณ์ในพื้นที่ การวางท่อมีการขออนุญาตจาก
ท้องถิ่น หรือทางหลวง หรือเจ้าของชุมชน ตามเส้นทาง และขอยืนยันว่าเราสูบน้อยมาก แต่ถ้าชาวบ้านเดือดร้อนก็บอก
เราก็หยุดสูบ เพราะเราเป็นหลวง เรามีหน้าที่บริการประชาชน

คุณกัญจน์ จากที่วางท่อ ส่งน้ําดิบไป ผู้ที่ได้รับน้ําดิบและผลิตน้ําประปาที่สระสี่เหลี่ยมเป็นใคร ใช่บริษัท


Industrial Water Resource หรือไม่?

กปภ. ตอบ มันก็เป็นปัญหาเดิม คือช่วงที่สูบน้ําไม่พอ ก็ต้องซื้อน้ําจากเอกชน

คุณสืบตระกูล ก่อนอื่นขอชี้แจงก่อนว่าที่คุณทําไม่ใช่ประชาพิจาร ณ์เป็นเพียงประชามติ โครงการนี้ส่งผลกระทบ


ต่อคนทั้งลุ่มน้ําแต่คุณถามชาวบ้านแค่ หมู่๑ หมู่เดียว แล้วข้อมูลที่คุณให้ก็ไม่ตรงกัน วันนั้นบอกว่าไม่เกิน ๐.๔ % ของ
๓๐๐ ล้าน ลบ.ม. ถ้าตามข้อมูลเดิม ๐.๔ % ของ ๓๐๐ ล้าน ลบ.ม. นั่นคือ ๑.๒ ล้าน ลบ.ม. อยากถามว่าตอนนี้การ
ประปาส่วนภูมิภาคซื้อน้ําจากบริษัท East Water ลบ.ม.ละเท่าไหร่?

East Water ลบ.ม.ละ ๙ บาทครับ

คุณสืบตระกูล (ต่อ) คุณลงทุน ๓๐๐ กว่าล้านบาท คุณซื้อน้ํา East Water ใช้ได้ ๓๐ ปี คุณจะลงทุนทําไม แล้ว
ยังมีข้อมูลอีกว่าปีหนึ่งแม่น้ําบางปะกงมีน้ําทิ้ง ๓๐๐ ล้าน ลบ.ม. บอกว่าได้ข้อมูลมาจากกรมชล มีใครกล้ายืนยันบ้างว่าน้ํา
๓๐๐ ลบ.ม. นี้คือน้ําทิ้ง ถ้าผมจะพูดว่า น้ํา ๓๐๐ ล้าน ลบ.ม.นี้คือน้ําต้นทุนที่เอาไว้ต่อสู้กับน้ําเค็มล่ะ ข้อมูลตรงนี้ต้องมี
การศึกษาและค้นคว้า แล้วเอาข้อมูลมาคุยกันบนโต๊ะ บนพื้นฐานของความเป็นจริงของพื้นที่ ไม่ใช่เอาตัวเลขในกระดาษ
มาคุยกัน ต้องถามคนในลุ่มน้ําก่อน ไม่ใช่คิดอะไรก็ทํากัน ต้องทําข้อตกลงเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ อยากให้เข้าใจกันจริงๆ ว่า
แม่น้ําบางปะกงสภาพจริงๆ มันเป็นยังไง

กปภ. ตอบ เราดําเนินการไปตามขั้นตอน และภารกิจหลักของเราคือการหาน้ํามาทําน้ําประปาเพื่อบริการ


ประชาชน เราไม่ได้ทําไปเพื่อการหากําไร แล้วการบริการประปานั้นก็ให้บริการในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง ไม่ได้ส่งไป
ไกล

คุณสุทัศน์ บริการประชาชนแล้วทําไมเวลาขอวางท่อจะต้องเอาเงินไปเส้น?

กปภ. ตอบ เราบริการตามหน้าที่ ตามขั้นตอน ไม่มีกรณีอย่างนั้นแน่นอน ถ้ามีก็ขอให้ท่านนําหลักฐานมา แล้ว


ทางเราจะดูแลให้

๓ | หน้า
คุณทองหล่อ แม่น้ําบางปะกงตอนนี้เค็ม ๖ เดือน จืด ๖ เดือน แต่เรากําลังจะเค็ม ๗ เดือน เมื่อก่อนนี้น้ําเค็ม ๑-
๒ ppm แล้วอาทิตย์หนึ่งถึงจะเพิ่มเป็น ๓-๔ ppm ไปจนถึง ๑๐ ชาวสวนจะมีเวลาดูดน้ําเข้าสวน แต่เดี๋ยวนี้มันเค็ม ๑-๒
แล้วปุบปับไป๑๐ ไม่สามารถดูดเข้าสวนได้ จึงอยากจะถามว่าเกิดอย่างนี้แล้วท่านจะดําเนินการแก้ไขอย่างไรให้กับคนใน
ลุ่มน้ําบางปะกง?

คุณวรพจน์ เสริม ที่ประชุมนี้ใช้ตัวเลขจากกระดาษผมอยากให้ย้อนไปดูนิดนึง เขื่อนบางปะกงก็เกิดมาจาก


กราฟแบบนี้แหละครับ คนเฒ่าคนแก่ค้านว่าถ้าทําเขื่อนบางปะกงเมื่อไหร่น้ําจะแห้ง แต่นักวิชาการบอกว่าไม่มีทางเป็นไป
ได้ น้ําขึ้นสูงสุดเท่านั้นเท่านี้ ทุกวันนี้เป็นยังไง คุณเปิดน้ําได้ไหม? นี่แหละคือตัวอย่างของนักวิชาการที่ทําโครงการจาก
ตัวเลข ทําฝืนธรรมชาติ แล้วคุณทําได้ไหม? แล้วการประปาจะลงทุน ๓๐๐ กว่าล้านบาท ห้วยโสมงจะปิดแล้ว อีก
ประมาณ ๕-๖ ปี ถ้าห้วยโสมงปิดน้ํา แล้วคุณจะมาดูดน้ําอย่างนี้ ถามหน่อยคุณจะเอาน้ําที่ไหนมาให้ผม ทุกวันนี้ที่เราร้อง
ตามอบต.ว่าไม่มีน้ําใช้ ขอประปาด้วยก็ตัวนี้แหละครับ แล้วยิ่งมาคุยกันวันนี้เราคุยว่าเราใช้น้ําในเขื่อน เราก็ต้องไปร้องขอ
เขื่อนเอง ทุกวันนี้เขื่อนสียัด คนฉะเชิงเทราเราเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่เราใช้น้ําได้กี่เปอร์เซ็น สุดท้ายของน้ําไปที่อมตะนคร
แล้วคนแปดริ้วได้อะร? อย่าง East Water มาอยู่ที่คลองเขื่อน ชาวคลองเขื่อนได้อะไร? ถ้าอีกหน่อยน้ําเค็มมากกว่า ๖
เดือน คุณจะช่วยประชาชนยังไง? อีกข้อที่คุณบอกว่าคุณจะดูดน้ําในช่วง ต.ค. หรือ พ.ย. คุณดูดไม่ได้หรอก เพราะ
ชาวสวนเขาต่อท่อเตรียมจะดูดเข้าสวน ถ้าคุณดูดก็โดนร้องเหมือนที่ผมไปร้อง East Water เขาดูดน้ําตอนที่น้ําได้ระดับ
ผมอัดน้ําเข้าสวนไม่ได้ ที่เราร้องวันนี้เพราะต้นทุนการทําเกษตรเราไม่มี ขอบคุณครับ

คุณสืบตระกูล เสริม พวกเราไม่ใช่พวกฝักใฝ่ม็อบ หรือนิยมม็อบ แต่เราอยากคุยด้วยเหตุด้วยผล ผมบอกเลยว่า


ข้อมูลที่ประปามีอยู่ในปัจจุบันมันไม่พอ กระดาษแบบนี้มันใช้ไม่ได้ในสภาพความเป็นจริง
ประการแรก กฎหมายรัฐธรรมนูญกําหนดไว้เลยว่าโครงการที่ส่งผลกระทบขนาดไหน ต้องทําการศึกษาอะไร
ยังไงบ้าง ตามสิทธิแล้วพวกผมมีสิทธิ์ร้องศาลปกครอง เพราะโครงการนี้มีผลกระทบต่อคนหลายแสน แต่ท่านไม่ได้ทํา
อะไรเลย อยู่ดีๆ ท่านก็เอาข้อมูลจากไหนมา แล้วก็จะมาวางท่อ โดยที่ถามแต่คนหมู่ ๑ หัวไทรหมู่เดียว
แม่น้ําบางปะกงโดยธรรมชาติน้ํามันหลาก สมัยก่อนน่ะใช่ แต่ปัจจุบันน้ําต้นทุนมัน โดนกักเก็บด้วยเขื่อนต่างๆ ปี
หนึ่ง ๗๐๐-๘๐๐ ล้าน ลบ.ม. ไม่ว่า ห้วยโสมง แควระบม สียัด ท่าด่าน เสร็จแล้ว ต่อไปจะมีพระปรง ต่อไปจะมีอะไรอีก
ไหนจะ East Water ต่อไปน้ําต้นทุนตรงนี้จะเป็นยังไง? มันไม่ได้ไหลไปตามปกติ ตามธรรมชาติของมัน แสดงว่าน้ําจืดที่
จะไหลลงสู่แม่น้ําก็จะน้อยลงทุกปี แล้วแต่โครงการจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะเหลือน้ําต้นทุนตามธรรมชาติที่จะมายัน
กับน้ําเค็มน้อยลงทุกปี แล้วท่านจะเสียเงิน ๓๐๐ กว่าล้านบาทไปทําไม?
ผมเห็นด้วยกับที่ท่านพูดเมื่อครู่ ท่านบอกว่าเพื่อลดการใช้น้ําในเขื่อนจึงมาสูบน้ําในแม่น้ําใช้ เหตุผลนี้ดีครับ แต่
ผมอยากให้ท่านคิดกลับกันเลย ท่านกลับไปใช้น้ําในเขื่อน แล้วปล่อยให้พวกผมใช้น้ําในแม่น้ําเหมือนเก่าดีกว่า เพราะน้ํา
ในเขื่อนระบบชลประทานเขาเก็บไว้ให้ท่านใช้อยู่แล้ว เขามีระบบบริหารจัดการน้ํา ถ้าท่านใช้มากไปเขาก็หยุดส่งเอง แต่
น้ําในแม่น้ําหยุดส่งใครไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามธรรมชาติ ผมพูดด้วยเหตุด้วยผล จริงๆ แล้วแม่น้ําตรงนี้มันอ่อนแอ
แล้วท่านก็มีผู้มีประสบการณ์ ท่านถาม East Water ก็ได้ว่าปีหนึ่งเขาสูบน้ําได้มากกว่า หรือน้อยกว่าเป้าที่วางไว้ นี่เป็น
๔ | หน้า
ข้อมูลอย่างดีเลย ตั้งแต่มีเขื่อนเดี๋ยวนี้น้ํา จาก ๐ ถึง ๑๐ ใช้เวลาแค่ ๓ วัน ชาวสวนสูบน้ําเข้าสวนไม่มีทางทัน ขอความ
กรุณาเถอะครับ คนไทยไม่ใจจืดใจดํา ถ้ามันพอที่จะแบ่งปันกันพวกผมก็ยินดี แต่เท่านี้พวกผมก็จะตีกันตายแล้ว
ผมจึงขอนําเรียน ทําไมท่านต้องลากท่อมาสูบน้ําจากแม่น้ําบางป ะกง อย่างที่ท่านบอกว่าท่านใช้ไม่เยอะ ท่านก็
กลับไปใช้น้ําในเขื่อนเถอะครับ เพราะเขื่อนต้องจัดสรรให้ท่าน แล้วผมขอเสนอว่าอีกหน่อยจะมีการแย่งชิงน้ํา ประปา
สาขาไหนที่น้ําไม่พอก็ควรเตรียมพร้อม โดยการหาแหล่งน้ําเพิ่ม แล้วใช้น้ําในท้องถิ่นนั้นๆ บริการแก่คนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้
เกิดปัญหาความขัดแย้ง ขอบคุณครับ

คุณทองหล่อ ขอเสริมว่าตอนนี้โครงการที่คลองหลวงก็กําลังจะเสร็จในอีก ๒ ปีนี้แล้วครับ น้ําต้นทุนก็มาจากน้ํา


ในแม่น้ําบางปะกงเหมือนกัน ถ้าโครงการเสร็จน้ําตรงส่วนนี้ก็จะหายไปอีก ขอบคุณครับ

คุณนันทวัน อยากขอข้อมูลชัดๆ ว่าทุกวันนี้เขื่อนสียัดมีความสามารถในการกักเก็บน้ําเท่าไหร่? การปล่อยน้ํามา


บริการมีการจัดสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่? ตอนนี้มีปัญหาหรือเปล่า? เพราะวันนี้มันมีปัญหาแล้ว กําลังจะมี โครงการ
ขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างที่เขาหินซ้อน และจะใช้น้ําในลุ่มน้ําคลองท่าลาด ซึ่งมีต้นน้ํามาจากระบม และ
สียัด เพราะฉะนั้นจะมีผลกระทบอย่างแน่นอนในเรื่องการแย่งชิงน้ํา วันนี้จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนําเสนอข้อมูลที่ได้
จากการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่ใช่ข้อมูลที่สรุป ประเมินเองแล้วก็เป็นข้อมูลที่เอาไปใช้แล้วไม่เคยแก้ปัญหาได้จริงเลย จะ
เป็นไปได้ไหมที่หลังจากวันนี้แล้วจะขอข้อมูลเป็นเอกสาร?

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ ตอบ ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่าทางชลประทานเราเพิ่งได้รับหนังสือ


เร่งด่วน อย่างตัวผมเพิ่งได้รับเอกสารเมื่อเช้านี้เพราะฉะนั้นข้อมูลที่เป็นเอกสารชัดเจนทางเราไม่สามารถให้ได้ในวันนี้ แต่
ว่าปัญหาลุ่มน้ํานั้นก็เป็นอย่างที่ท่านๆ พูด เราต้องดูแลกันทั้งลุ่มน้ํา ไม่ใช่ดูแลกันเฉพาะจุด ข้อมูลที่ท่านอยากได้ผมยินดี
นะครับ ท่านทําเอกสารหรือหนังสือมาสักหน่อย เรายินดีให้ข้อมูล จะเป็นเขื่อนสียัดหรือภาพรวมทั้งกรมก็ได้

ชล.ส่งน้้าฯคลองสียัด คุณเกษม ชี้แจง เขื่อนสียัดในปีนี้พื้นที่เกษตรไม่มีปัญหาเรื่องน้ํานะครับ ทุกวันนี้เขื่อนสี


ยัดมีความจุ ๔๒๐ ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ําอยู่ ๔๐ % ซึ่งเรายังปล่อยน้ําอยู่วันลั ๑.๕ ล้าน ลบ.ม. จนถึงสิ้นเดือนเราจะมา
ดูปริมาณฝนอีกครั้งแล้วปรับลดตามสถานการณ์ เราเคยปล่อยน้ําต่ําสุดคือเหลือน้ําอยู่ที่ ๗๐ ล้าน ลบ.ม. แต่ถ้าวิกฤต
จริงๆ คือเรายังปล่อยได้อีก ๔๐ ล้าน ลบ.ม. คือต้องเหลือน้ําไว้ในเขื่อน ๓๐ ล้าน ลบ.ม. ครับ

คุณทองหล่อ ผมขอเสริมนิดนึงวันนี้เราดูกันแต่ว่าน้ําในเขื่อนมีเท่าไหร่ ลองถาม ทสจ.คุณพรชัยดูว่า ต้นทุนน้ําที่


จะไหลลงเขื่อนมันเป็นยังไง ป่ามัน โดนทําลายไปเท่าไหร่ เรามองกันบ้างรึเปล่าว่าถ้าป่าหมดเขื่อนก็ไม่มีประโยชน์ แล้ว
วันนี้ที่ท่านบอกว่าเปิดน้ําวันละ ๑.๕ ล้าน ลบ.ม.แรงดัน น้ําไม่พอ น้ําขึ้นไม่ถึง ทุกวันนี้มาดูได้เลย ฝากให้ท่านแก้ไขด้วยนะ
ครับ

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ ตอบ คงไม่ชี้แจงแต่จะแก้ไขครับ

๕ | หน้า
กปภ. ประปาบางคล้า ชี้แจง ผมจากประปาบางคล้านะครับ ประปาบางคล้าเราดูแลอยู่ ๗ อําเภอ เมือง บางน้ํา
เปรี้ยว ราชสาส์น คลองเขื่อน บางคล้า แปลงยาว บ้านโพธิ์ ถ้ามีปัญหาก็ช่วยชี้แจงด้วย เพื่อจะได้ร่วมมือกันในการแก้ไข
ปัญหา ขอบคุณครับ

กปภ. คือตามตัวเลขที่มีน้ําผ่านแม่น้ําบางปะกงปีหนึ่งมากมายนะครับ ถ้าเราดูตามกราฟ

คุณสืบตระกูล ถ้าน้ําตรงนี้มันทิ้งจริง ท่านลากท่อไปปากอ่าวเลย ถ้ามันจืดก็ไปดูดที่นั่น แต่น้ําตรงนี้มันขึ้นๆ ลงๆ


คอยยันน้ําเค็ม ใครจะว่ายังไงก็ไม่ทราบ แต่ชาวคลองเขื่อนเห็นว่าน้ําก้อนนี้มีความสําคัญอย่างมาก

กปภ. เราก็ไม่โต้แย้งในเรื่องน้ําทิ้งนะครับ แต่ขอชี้แจง เรื่องจุดที่ตั้งท่อสูบเราต้องดูคุณภาพน้ําด้วย ถ้าเอาน้ําที่


เน่าเหม็นมีกลิ่นมาบริการประชาชนก็คงไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องดูจุดที่วางท่อด้วยอย่างที่บอกว่าการวางแผนนี้เพื่อรองรับ
แผน ๑๐ ปี แล้วตามที่เรียนปริมาณการสูบของเราก็น้อยมาก ผมก็กินเงินเดือนข้าราชการธรรมดา แต่เราก็อยากจะทํา
หน้าที่ของเรา ซึ่งการที่วางท่อตรงนี้ก็สูบน้ํามาบริการชาวฉะเชิงเทรา ตามแนวท่อตลอดครับ แล้วก็บริเวณใกล้เคียง เราก็
ดูวางตรงไหนที่พร้อม แล้วหลวงลงทุนน้อยสุดเท่านั้นแหละครับ

คุณสุทัศน์ ก็ต้องดูว่าพวกผมทําการเกษตร แล้วเราชาวแปดริ้วทําทุกอย่าง ปลูกข้าว เลี้ยงหมู กุ้ง ปลา ไก่ เรา


เลี้ยงแล้วก็ส่งออก ถ้าพวกท่านทํากันอย่างนี้แล้วอีก หน่อยเราจะเอาน้ําที่ไหนมาทําการเกษตร ถ้าเราเลี้ยงไม่ได้แล้วคน
กรุงเทพจะเอาที่ไหนกิน เราก็ต้องจัดสรร ไม่ใช่มารุมดูดน้ํากันอยู่ในอ่างเดียว

คุณกัญจน์ เพื่อเป็นการบริหารเวลา จะมีภาคส่วนทางบริษัทเอกชนที่เราส่งจดหมายเชิญไป นําเสนอข้อมูลอีก


ฝ่ายหนึ่งนะครับ แล้วเดี๋ยวเราจะให้ซักถามเพิ่มเติมในช่วงสุดท้าย

คุณนันทวัน วันนี้ประชาชนมีข้อกังวลใจอยากให้ทางท่านช่วยรับฟังข้อกังวลใจของประชาชน ส่วนที่ท่าน


ต้องการจะชี้แจงหรือตอบคําถามอยากให้รวบรวมแล้วตอบทีเดียวเพื่อบรรยากาศในการพูดคุย จะไม่ได้เป็นไปในลักษณะ
ที่ตอบโต้กัน ซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์ ขอบคุณค่ะ

East Water ชี้แจง เพื่อให้เห็นภาพทาง East Water ขอนําเสนอ VDO แนะนําบริษัท ๕ นาที

๖ | หน้า
East Water มีการทําท่อส่งน้ําความยาว ๓๒๔ กม. เชื่อมโยงแหล่งน้ําสําคัญในภาคตะวันออกได้แก่ อ่างเก็บน้ํา
หนองปลาไหล ดอกกราย คลองใหญ่ และประแสร์ในจ.ระยอง อ่างเก็บน้ําหนองค้อ และบางพระใน จ.ชลบุรี และแม่น้ํา
บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา โครงข่ายนี้สูบส่งน้ําดิบ ๔๗๓ ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ศูน์ปฏิบัติการหลักคือศูนย์ฯ ระยอง
จริงๆ ทางกรมชลประทานจะเป็นผู้บริหารจัดการว่า เกษตรกรรมใช้เท่าไหร่ ครัวเรือนใช้เท่าไหร่ เราเป็นเหมือน
ผู้ส่งน้ําทางท่อให้กับผู้ใช้น้ําเท่านั้นเองค่ะ
ซึ่งแหล่งน้ําที่สําคัญจริงๆ ของเราตอนนี้จะอยู่ที่ระยอง ส่วนในจังหวัดฉะเชิงเทราของเราจะมีจุดสูบอยู่ที่นคร
เนื่องเขต คลองเขื่อน แล้วก็มีโรงสูบแรงต่ําที่ไม่ได้สูบอยู่ตรงมอเตอร์เวย์ ส่วนอีกจุดจะอยู่ที่ท่าไข่ แต่ปิดไปแล้ว

๗ | หน้า
บริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือกับ โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมชลประทานใน
การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดฉะเชิงเทราในปี ๒๕๕๔ โดยได้หยุดการสูบน้ําจากแหล่งน้ําในพื้นที่
ฉะเชิงเทราตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน บริษัทฯ ใช้น้ําจากแหล่งน้ําสํารองของบริษัทฯ ซึ่งได้สํารองไว้ในช่วงฤดูฝนปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ส่งจ่ายให้
ให้แก่ผู้ใช้น้ําในพื้นที่ฉะเชิงเทรา จํานวน ๒ แหล่ง ประกอบด้วย
o สระสํารองน้ําดิบฉะเชิงเทรา บริเวณ อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา ปริมาณน้ําใช้งาน ๑.๔ ล้าน ลบ.
o สระสํารองน้ําดิบสํานักบก บริเวณ อ.เมือง จ.ชลบุรี ปริมาณน้ําใช้งาน ๔.๒ ล้าน ลบ.ม.
(เอกสารแนบ Power Point)
นอกจากนั้นเราก็มีท่อธาร มีรถน้ําดื่มบริการประชาชน ในกรณีที่มีปัญหาขากแคลนน้ํา หรือมีกิจกรรม

คุณบุญเสริม ถาม จากกราฟที่บอกมาว่า ๖๖ % เอามาใช้ในเกษตร แต่ผมจะบอกว่าจริงๆ แล้วเก ษตรกรรมไม่


สามารถนํามาใช้ได้ เพราะระหว่างที่คุ ณสูบภาคเกษตรไม่สามารถกักเก็บน้ําได้ เพราะน้ําขึ้นแล้วไม่เข้าคูเข้าคลอง
เกษตรกรจะเอามาใช้ได้อย่างไร แต่เดิมเราสามารถเปิดคลองให้น้ําเข้าโดยไม่ต้องสูบเลย แต่เดี๋ยวนี้จะสูบยังสูบไม่ได้เลย
ผมอยากจะถามว่าเราจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร ผมถามนิดนึงว่าท่านเข้าใจคําว่าน้ําหลากว่าอย่างไร เมื่อท่านบอกว่า
ท่านสูบเมื่อตอนน้ําหลาก น้ําหลากหมายถึงตอนที่น้ําไหลทางเดียว ให้สังเกตุผักตบชวา คือน้ําต้องไหลลงทางเดียวผักตบ
ไม่ย้อนขึ้น อันนั้นคือน้ําหลาก ถามว่าคุณเข้าใจกันไหม ผมคนทําเกษตรในปี ๒๕๔๗ ผมน้ําตาร่วง เพราะร่องสวนผม แห้ง
ไม่มีน้ํา หมาก พลู มะม่วง ที่เป็นอาชีพหลักของคนปากน้ํา หมากลูกโตๆ ปีนั้นเหลือเท่าลูกมะกอก ปีนั้นชาวบ้านต่างพูด
๘ | หน้า
กันว่าถ้า East Water เกิดแล้วมันจะเป็นอย่างนี้ จะไม่ยอมให้เกิด ที่ประปาจะมาฝังท่อใหม่ชาวบ้านจึงตกใจพอสมควร
ปัจจุบัน ม.ค. น้ําเค็ม ๗ แล้วนะครับ ชาวสวนเรากักเก็บน้ําไว้ได้ไม่พอ พื้นที่เกษตรเสียหาย เกษตรของเราต้องเปลี่ยนวิถี
ชีวิตไป ต้องทําบ่อกักเก็บบ้าง อยากจะถามกับทางบริษัทว่าเราจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร ขอบคุณครับ

คุณวรพจน์ ถามต่อ ผลกระทบรอบพื้นที่ท่านมีโครงการแก้ไขปัญหาผลกระทบของภาคประชาชน หรือไม่


อย่างไร?

East Water อีสวอเตอร์ไม่มีนโยบายในการตั้งเป็นกองทุนชัดเจน แต่มีการทํากิจกรรม และมีโครงการพัฒนา


ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมทั้งสามพื้นที่คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

East Water คุณชวลิต อย่างที่เรียนไปแล้ว

ข้อ ๑ ครึ่งหนึ่งของกําไรของอีสวอเตอร์จะแบ่งให้รัฐ ในรูปแบบเงินปันผล (รัฐเป็นผู้ถือหุ้น) และเราจ่ายค่าเช่าใน


การใช้อะไรต่างๆ ให้แก่รัฐ

ข้อ ๒ เรามีการจัดกิจกรรมในพื้นที่ครอบคลุมทั้งสามพื้นที่คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ๖๘ อบต. ตามแนวท่อ


ซึ่งเราจะเฉลี่ยจากงบประมาณที่ได้รับลงไปให้ทั่วถึง

คุณทองหล่อ ถามเพิ่ม ท่านบอกว่าท่านจะดูแลประชาชนในภาพรวม แต่ผลกระทบมันตกอยู่ที่พี่น้องในคลอง


เขื่อน ท่านลองดูสิว่าท่านพอจะเจียดมาดูแลคนที่ทุกข์ร้อนแสนสาหัสตรงนี้ได้หรือไม่ ถ้าท่านมัวแต่มองในภาพกว้าง ผม
บอกตรงๆ ผมคนในพื้นที่ ผมรู้สึกแย่

East Water คุณชวลิต ปีที่แล้วเรามีโครงการคืนสภาพให้แม่น้ําบางปะกงโดยการนําพันธุ์ปลามาปล่อยในแม่น้ํา


บางปะกง และผมมีการลงนามใน MOU กับกลุ่มโครงการป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ซึ่งเป็นต้นน้ําบางปะกง

คุณสืบตระกูล ผมว่าท่านแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ชาวบ้านเดือดร้อนแต่ท่านไม่เหลียวแล ท่านเอางบให้ผู้ว่า ๓ ล้าน


ให้อําเภอเท่าไหร่ แต่กับชาวบ้านที่เดือดร้อนสาหัสไม่มีน้ําทําการเกษตร ท่านเอาน้ําดื่มไปแจกเขา ทําไมท่านไม่เอาเงินที่
ท่านให้ผู้ว่ามาทําเขื่อน ทําทดให้น้ํามันเข้าคลอง ท่านมองไม่ตรงจุด อย่างท่านบอกว่าท่านเอาพันธุ์ปลาไปปล่ อยที่บางปะ
กง คนเดือดร้อนขาดน้ําก็ยังขาดอยู่ ท่านเลือกเอาว่าท่านจะเอาเงินไปให้ผู้หลักผู้ใหญ่ แล้วปล่อยชาวบ้านให้อยู่กับปัญหา
หรือท่านจะช่วยชาวบ้านแก้ปัญหา แล้วอยู่ร่วมกัน แล้วการอยู่ร่วมกันก็ต้องเคารพกติกา ซึ่งเราเคยตกลงกันว่าถ้าน้ําเค็ม
มาถึงบ้านโพธิ์เมื่อไหร่ท่านต้องหยุดสูบน้ํา ไม่ว่าจะเค็มเท่าไหร่ จะมากําหนดเป็นเดือนไม่ได้ เพราะบางปีมันเค็มเร็ว เค็ม
ช้า แล้วถ้าเมื่อไหร่น้ําเค็มถอยไปถึงปากอ่าวแม่น้ําบางปะกงแล้วท่านถึงจะสูบได้ กติกานี้ยังมีบันทึกอยู่ ขอบคุ ณครับ

East Water คุณชวลิต ครับต่อไปนี้ผมก็จะนําแนวคิดอย่างที่ท่าน สจ.ว่าไปนําเสนอท่านผู้บริหาร East Water


ต่อไป ซึ่งผมก็จะพยายามทําโครงการที่ให้ผลต่อส่วนรวม ก็ขออนุญาตขอเวลาผมปรับนิดนึง คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ไปในทางที่ดี
๙ | หน้า
คุณกัญจน์ ถาม East Water ได้สัมปทานก่อสร้างสถานีสูบน้ําที่คลองหลวงแพ่งใช่ไหมครับ และที่มีการวางท่อ
ขนาดใหญ่บริเวณมอเตอร์เวย์ เป็นโครงการอะไรครับแล้วโครงการนี้จะเดินท่อใหม่ หรือจะใช้ท่อเดิมของ East Water ซึง่
มีอยู่แล้ว

East Water ตอบ Universal Utility เป็นบริษัทลูกของเรา ประปาบางปะกงได้ไปก่อสร้าง เป็นโครงการสูบน้ํา


จากคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ต้องเรียนให้ทราบว่าถึงบริษัทลูกของ East Water เป็นคนได้สัมปทานบริหารประปา
บางปะกง-ฉะเชิงเทรา แต่การจัดหาน้ําดิบก็เป็นส่วนของการประปาอยู่ดี และที่มีการวางท่อขนาดใหญ่บริเวณมอเตอร์เวย์
คือโครงการท่อส่งน้ําจากคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตไปยังอ่างเก็บน้ําบางพระ เป็นโครงการของชลประทานซึ่งจะวางท่อ
น้ําใหม่

คุณทองหล่อ เรียนถามคุณเชิงชาญโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อนที่กําลังจะสร้าง ทราบว่าจะใช้น้ําจากเขื่อนสียัดเขาจะ


เอาไปยังไง วางท่อไปทางไหน แล้วเขาจะใช้น้ําเท่าไหร่ต่อวันต่อเดือนนี่ประมาณเท่าไหร่? น้ําที่ใช้ไปแล้วจะเอาไปไหน จะ
ทิ้งตรงไหน?

ชลประทาน ฉช. คุณเชิงชาญ เท่าที่ผมทราบข้อมูลนะครับ โรงไฟฟ้าที่เขาหินซ้อนจะใช้น้ําจากลุ่มคลองระบม


จะไม่เกี่ยวกับลุ่มของสียัด คนละที่กัน ซึ่งสายนั้นจะมีอ่างเก็บน้ําคลองระบม แล้วก็จะมีอ่า งใหม่ที่กําลังจะเกิด อ่างของ
พระปรง ห้วยปลอกเทียน แล้วก็หนองกระทิง ๓ อ่างที่กําลังจะเกิดขึ้น ตัวโรงไฟฟ้าจะใช้น้ําในปริมาณปีละ ๖-๗ ล้าน
ลบ.ม. ส่วนน้ําที่ใช้แล้วทิ้งทางไหนยังไง ผมยังไม่มีข้อมูล แต่ยังไงเสียก่อนที่เขาจะสามารถใช้น้ําจากอ่างเก็บน้ําคลองระบม
หรือทางท้ายอ่าง เขาต้องทําหนังสือขออนุญาตโดยที่ให้ทางกรมชลฯ เป็นผู้พิจารณา โดยที่ต้องมีเกณฑ์ว่าต้องไม่ให้
กระทบกระเทือนกับน้ําสําหรับอุปโภค บริโภค การเกษตร และก็ระบบนิเวศ โดยอุตสาหกรรมจะเป็นลําดับสุดท้าย อันนี้
ในทุกๆ ที่จะใช้เกณฑ์นี้เป็นหลัก ซึ่งเราจะมีเกณฑ์กําหนดให้ว่าปีหนึ่งไม่เกินกี่ล้าน ลบ.ม. เพื่อไม่ให้กระทบกับครัวเรือน

คุณนันทวัน อยากทราบว่าเราจะตรวจสอบปริมาณน้ําที่เอาไปใช้ยังไงคะ ตอนนี้ทราบว่าทางบริษัทได้ทําหนังสือ


ขออนุญาตใช้น้ําให้ทางกรมชลฯ แล้วทางกรมชลฯได้อนุญาตให้ใช้น้ําไปแล้วใช่ไหมคะ มีการกําหนดสัดส่วนไหมคะในการ
ให้บริการน้ํา

ชลประทาน ฉช. คุณเชิงชาญ ปกติเวลาที่เขาเอาน้ําจากคลองธรรมชาติมาใช้ เขาจะมีตัวระบบสูบ หรือรอกชัก


น้ําเข้าไปใช้ตัวสูบขึ้นมาโดยตัวนี้จะมีมิเตอร์วัดว่าเขาสูบมาเท่าไหร่ เรื่องการขออนุญาตตัวนี้ผมไม่ทราบนะครับ ไม่มีข้อมูล
ตามเกณฑ์ของเราอันดับหนึ่งจะเป็นอุปโภคบริโภค ก็คือน้ํากินน้ําใช้ในครัวเรือน คงจะไปกําหนดตายตัวไม่ได้ อั นนับสองก็
จะเป็นเกษตรกรรม อันดับสามเป็นน้ําเพื่อระบบนิเวศ และอันดับสุดท้ายจะเป็นอุตสาหกรรม แต่ในส่วนของ
ภาคอุตสาหกรรมมันจะมีกําหนดตายตัวอยู่แล้วว่าจะอนุญาตให้ใช้ไม่เกินกี่ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งโรงไฟฟ้าจัดอยู่ในหมวด
อุตสาหกรรม

๑๐ | หน้า
คุณทองหล่อ น้ําจากโรงไฟฟ้าที่ใช้แล้ว ผมเชื่อว่ายังไงเขาต้องปล่อยน้ําทิ้งลงในแม่น้ําบางปะกง ตรงส่วนนี้จะเป็น
หน้าที่ของใครที่ตรวจสอบดูแลครับ สิ่งที่พวกเรากังวลคือส่วนนี้จะไม่มีการบําบัดที่ได้มาตรฐานจริงจัง ซึ่งพวกเราทุกคนที่
เป็นคนในลุ่มแม่น้ําบางปะกงต้องได้รับผลกระทบ ตรงส่วนนี้ผมอยากจะฝากไว้ สุขภาพของประชนเป็นสิ่งสําคัญ

ชลประทาน ฉช. คุณเชิงชาญ กรมโรงงานอุตสาหกรรมครับ

ทสจ.ฉช. คุณพรชัย ทาง ทสจ. จะมีข้อมูลเรื่องคุณภาพน้ําอยู่เพราะบริเวณแม่น้ําบางปะกงจะมีสํานักงาน


สิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ ชลบุรี อยู่ซึ่งจะมีจุดตรวจวัดคุณภาพน้ําอยู่ ๑๒ จุดในเขตของจังหวัดฉะเชิงเทราจะอยู่ตั้งแต่
บริเวณสะพานบางขนากไล่ไปจนถึงปากแม่น้ําบางปะกง ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ํามาหลาย ปี คุ ณภาพน้ําในช่วง ๔-๕
ปี อยู่ในขั้นทรงๆ ทรุดๆ ไม่ดีขึ้น ช่วงประมาณ เม.ย.-พ.ค. ค่อนข้างแย่ ขึ้นอยู่กับปริมา ณฝน หรือน้ําที่ลงมาช่วยเจือจาง
เพราะกิจกรรมของคนในลุ่มน้ําก็ยังเป็นเหมือนเดิม ยังทิ้งน้ําเสียลงคลองในทุกๆ เดือน แต่เดือนไหนที่มีน้ําฝนมาก หรือมี
น้ําจืดจากต้นน้ําลงมาก็จะค่อยยังชั่ว เดือนไหนที่มีน้ํามาเจือจางน้อยคุณภาพน้ําก็จะต่ําลง โดยรวมคุณภาพน้ําจัดอยู่ในขั้น
พอใช้ไปจนถึงเสื่อมโทรม ที่น่าเป็นห่วงคือคลองที่มีการปิดประตูน้ํา เพราะมีปัญหาเรื่องการหมุนเวียนของน้ํา และเขต
ชุมชน ซึ่งเมื่อเปิดประตูน้ําทีนึงก็จะมีปัญหาต่อปลากระชัง อีกปัญหาหนึ่งคือเรื่องผักตบชวา ซึ่งคุยกันมาหลายครั้ง แล้วก็
ยังไม่ได้ข้อสรุป ยังไม่มีการดูแลทั้งระบบครับ

คุณทองหล่อ ท่านอย่าลืมคลองวังซุง วังศาลาครับมีปัญหาเรื่องการปล่อยน้ําเสียมาจากโรงงานอุตสาหกรรม


แล้วก็โรงเชือดหมู ครับ งานนี้ก็ขอฝากไว้ด้วย ขอบคุณครับ

ทสจ.ฉช. คุณพรชัย คลองวังซุงต้องยอมรับครับว่ามีปัญหา น่าจะมีปัญหาที่สุดของบางคล้า แล้วก็ต้องยอมรับว่า


มันช้าจริงๆ กับการแก้ปัญหาแต่ก็ไม่ได้หยุดนะครับ แต่ว่าต้องยอมรับว่ามันเคลื่อนไปได้ช้าๆ คุณทองหล่อก็คงทราบดีว่า
มันเกี่ยวกับส่วนไหนบ้าง เรื่องโรงฆ่าหมูเมื่อวานนี้เพิ่งเข้าไปดู แล้วทางกรมควบคุมมลพิษก็ได้แนะนําให้บริษัท ทีป่ รึกษาที่
มีความรู้เรื่องระบบบําบัดน้ําเสียเข้าไปดู เพราะว่าระบบที่เขาใช้อยู่มันไม่เหมาะกับการบําบัดน้ําเสียที่มีปริมาณขนาดนั้น
ก็ได้ให้คําแนะนํากับโรงฆ่าหมูไปแล้ว แต่ทางโรงฆ่าหมูก็ต้องทราบว่าเขามีหนี้สินค่อนข้างเยอะมาก ดังนั้นทางที่ปรึกษาก็
จะพยายามดูว่าอันไหนที่เจ้าหน้าที่ของโรงฆ่าหมูทําเองได้ก็ให้เขาทําแล้วเขาก็จะมาช่วยในส่วนที่ขาด เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่ง
มีความคืบหน้า อีกฟาร์มที่อยู่ในแปลงยาวก็ไม่ได้ทอดทิ้งยังดูแลอยู่นะครับ

คุณเสริมศักดิ์ ตอนนี้แควระบมมีอุตสาหกรรมใช้น้ําอยู่แล้ว ๒ ที่ คือโรงแป้ง SC ส่วนอีกโรงก็เครือเกษตรรุ่งเรือง


ใต้ลงก็มีโรงแป้งสีมา อันนี้ใช้น้ําที่สียัดมารวมกับท่าลาดพอดี ผมอยากจะถามว่าที่เขื่อนสียัดปล่อยน้ํามาวันละ ๑.๕ ลบ.ม.
ปล่อยลงคลองระบม เท่าไหร่ คลองท่าลาดเท่าไหร่ แล้วโรงแป้ง SC ที่ใช้น้ําจากคลองท่าลาดมีการขออนุญาตอย่างไร
แล้วก็โรงแป้งสีมาด้วย ทั้งสองโรงขออนุญาติ หรือซื้อน้ําจากกรมชลฯ รึเปล่า แล้วใช้วันละเท่าไหร่? เครือเกษตรรุ่งเรือง
ดับเบิล้ เอ ทีส่ บู น้าํ เข้าไปในบ่อพัก วันหนึง่ สูบน้าํ เท่าไหร่ ปัจจุบนั นะครับ อันนีไ้ ม่เกีย่ วกับโรงไฟฟ้าทีก่ าํ ลังจะสร้างใหม่ ซึง่

๑๑ | หน้า
ปัจจุบันสามโรงนี้ก็มีผลกระทบในเรื่องน้ําเสีย ปีหนึ่งร้องกันไม่รู้กี่รอบ ๓-๔ ได้ ไม่ต้องหน้าแล้งก็มีปลาตาย พอร้องโรง SC
ก็โทษสีมา จึงอยากจะขอตัวเลขการใช้น้ําที่ชัดเจนครับ

ชลประทาน ฉช. คุณเชิงชาญ โรงแป้งทั้ง ๒ โรง ทั้ง SC และสีมารวมทั้ง ๓๐๔ อันนี้ใช้น้ําจากคลองระบมนะ


ครับ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสียัดมีโรงสีมาที่ใช้ตรงจุดที่รวมกัน พอดี ซึ่งตรงนี้ผมไม่ได้ดูแลในเรื่องการขออนุญาตนะครับ พอดี
หัวหน้าติดราชการ ผมมาแทน แต่ผมทราบว่าเขามีการขออนุญาตจากกรมชลฯ แต่ว่าเรื่องเก็บค่าน้ํา ยังไม่สามารถเก็บได้
เพราะมันมีเรื่องของ พรบ.ชลประทาน มาตรา ๘ เรื่องการเก็บค่าน้ํา ตอนนี้เราประกาศมาตรา ๕.๑ เรื่องของทางน้ํา
ชลประทาน ส่วนมาตรา ๘ คาดว่าภายในสิ้นปี ๒๕๕๔ จะสามารถเก็บค่าน้ําได้ในปีถัดไป
ปัจจุบันฤดูแล้งที่ผ่านมา พ.ย. ถึง มี. ค. น้ําสียัด และระบม ส่งมาเก็บที่ท้ายฝายมาที่วัดกกสับในวันละ ๓๐๐.๐๐๐
ลบ.ม. คลองชลประทานสายหลักที่ไปบ้านโพธิ์ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ลบ.ม. ที่เหลือก็เป็นค่าศูนย์เสียระหว่างทาง ซึ่งบางปีที่น้ํา
แล้งเราก็จะเปิดน้ําถึง ๑.๘ – ๒ ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นภาพรวม ในปีที่แล้งจัดหรือมีปัญหามากเราก็จะขอน้ําจากอ่างพระปรง
สียัด แล้วก็ขุนด่านครับ
คุณนันทวัน อยากทราบว่าทางชลประทานมีการศึกษาข้อมูลการใช้น้ําอย่างน่าเชื่อถือก่อนจะอนุญาตให้มีการใช้
น้ําหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ที่เขื่อนสียัดความจุ ๔๒๔ ลบ.ม. โดยมีลําดับความสําคัญตามที่บอกมาคือ อุปโภคบริโภค
เกษตรกรรม ระบบนิเวศ แล้วก็อุตสาหกรรม แต่เท่าที่มองดู เหมือนกับว่ากลุ่มที่ใช้น้ํามากที่สุดคืออุตสาหกรรม อยาก
ทราบว่าในระหว่างทางที่จากสียัดไปก็จะผ่านโครงข่ายให้เกษตรกร อยากทราบว่ามีข้อมูลตรงนี้ไหมว่าจริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบทุกฝ่ายมีการใช้น้ําอย่างไร

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ ครับทุกอ่าง ทุกเขื่อนของกรมชลฯ จะมีการศึก ษาก่อนว่าจะสร้างอ่าง


ที่ไหน ผู้ใช้น้ําเป็นใครบ้าง แล้วจึงจะสร้างเขื่อน แม้แต่เขื่อนสียัดเองลูกค้าเราก็มีทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรมหลากหลาย
เรามีตัวเลข โดยในแต่ละปีเราจะมีการประชุมกันของผู้เกีย่ วข้อง ตัวแทนเกษตรกรเอง ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ตัวแทน
ของกรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับอ่างสียัด หรืออ่างต่างๆ ว่าต้นปีเรามีน้ําเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ ใช้ในส่วนไหนได้เท่าไหร่ เรามี
ตัวเลขครับ ขอดูย้อนหลังได้

คุณนันทวัน ประเด็นที่ถามคําถามนี้เพราะว่าน้ํา ๔๒๔ ล้าน ลบ.ม. ที่เก็บไว้ได้ มันยังไม่มีการทําโครงข่าย


เพราะฉะนั้นนี่เป็นข้อมูลใหม่ แล้ วเราทราบว่าทางโรงไฟฟ้าได้มีการอ้างอิงในรายงานศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมว่า
ได้ยื่นขออนุญาตใช้น้ํา แล้วทางกรมชลฯ ก็ได้อนุญาตแล้วด้วย แล้วกรมชลฯ อนุญาตบนพื้นฐานข้อมูล อะไร

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ เรื่องโรงไฟฟ้ามีหลักฐานไหมครับว่ากรมชลฯ อนุญาตแล้ว ยกตัวอย่าง


โรงไฟฟ้าที่จะมาสร้างที่บางคล้าตอนนั้นที่ผมย้ายมาใหม่ๆ โรงไฟฟ้าก็จะมาสร้าง เขาก็ขออนุญาตใช้น้ําจากลําน้ําบางปะ
กง ผมบอกลําน้ําบางปะกงไม่ใช่ของกรมชลฯ เป็นของคนลุ่มน้ําบางปะกง เพราะฉะนั้นผมไม่อนุญาต เราตอบไปเลยว่า
เราไม่สามารถอนุญาตให้โรงไฟฟ้าใช้น้ําจากตรงนี้ได้เพราะมันไม่ใช่น้ําของกรมชลฯ ต้องไปถามคณะกรรมการลุ่มน้ํา กรม
ชลฯเราก็มีข้อจํากัดเหมือนกันว่าในเขตที่เราไม่ได้ประกาศเป็นธารน้ําชลประทาน เราก็ไม่สามารถไปอนุญาตให้ใช้ได้
๑๒ | หน้า
แม้แต่ที่ East Water ไปสูบที่ด้านบน เราก็ไม่ได้เกี่ยวข้อง นอกจากกรมชล ฯจะวางแผนหลักในภาพรวมว่าในภาค
ตะวันออกมีพื้นที่เกษตรกรรมเท่าไหร่ อุตสาหกรรมเท่าไหร่ อะไรเท่าไหร่ ยังขาดน้ําอีกเท่าไหร่ จะต้องสร้างแหล่งน้ําเพิ่ม
ไหม อันนี้กรมชลต้องศึกษา ต้องพัฒนาอยู่เรื่อยๆ แต่อันไหนที่ไม่ใช่กรมชลฯเราก็ไม่สามารถอนุญาตได้

คุณนันทวัน งั้นให้ข้อมูลนิดหนึ่ง ทางโรงไฟฟ้าไม่ได้เป็นผู้ขอใช้น้ําจากทางกรมชลฯ เอง แต่มีบริษัทเอกชน ชื่อ


บริษัท น้ําใส 304 จํากัด เป็นผู้ยื่นขออนุญาตจากกรมชลฯ แล้วการขออนุญาตเกิดขึ้นจริงใช่ไหมคะ เพราะมีอยู่ในรายงาน
EIA ประเด็นก็คือว่าทางกรมชลฯ ทราบไหมคะว่าบริษัทน้ําใส 304 จํากัดนี้ จําหน่ายน้ําให้โรงไฟฟ้า อย่างนี้สามารถ
ดําเนินการได้ไหมคะ ทําได้ไหมคะ เขาขออนุญาตทางกรมชลฯ ที่จังหวัดนี่แหละคะ ทางเราขอเอกสารได้ไหมคะ?

ชลประทาน ฉช. คุณเชิงชาญ ขออนุญาต เรื่องทางกฎหมายผมไม่ทราบ ผมไม่แน่ใจว่าน้ําใสขอหรือเปล่า แต่


เกษตรรุ่งเรืองมีการขอครับ อย่างที่ผมเรียนว่าผมไม่ได้ดูแลเรื่องการขออนุญาต

คุณนันทวัน แล้วอย่างนี้ผิดกฎหมายของกรมชลฯหรือไม่ กรมชลฯมีสิทธิอนุญาตหรือไม่ หรือจะเป็นหน้าที่ของ


คณะกรรมการลุ่มน้ํา แต่ทางคณะกรรมการลุ่มน้ําก็ปฏิเสธมาแล้วว่าไม่รับทราบเรื่องการขออนุญาตใช้น้ํานี้เลย ไม่มีการ
เสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการลุ่มน้ํา ชลประทานมีสิทธิ์หรือไม่?

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ ถ้าไม่อยู่ในเขตของชลประทาน ชลประทานก็ไม่มีสิทธิ์อนุญาต

ชลประทาน ฉช. คุณเชิงชาญ ผมไม่แน่ใจนะ เรื่องขออนุญาตจะเป็นเรื่องระดับกรม ถ้าจังหวัดอนุญาตคงไม่ใช่


เพราะกรมจะเป็นผู้อนุมัติ และอาจจะมอบหมายให้จังหวัดพิจารณาหรือยังไง ผมไม่แน่ใจ จริงๆ เรื่องนี้เป็นข้อมูลเปิดเผย
สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ครับ ซึ่งจริงๆ ต้องตรวจสอบ มีการแอบอ้างเยอะ

คุณนันทวัน เดิมเขามีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอยู่แล้วไม่ทราบว่ามีการตรวจสอบไหมว่าเดิมโรงไฟฟ้าขนาดเล็กของ
เขามีการใช้น้ําเท่าไหร่ เพราะตรงนี้จะเป็นปัญหาวิกฤติในอนาคตค่ะ เพราะโรงไฟฟ้าปฏิเสธว่าไม่มีการแอบสูบจากคลอง
ระบม แต่เมื่อประชาชนยืนยันว่าเขาสูบน้ําจากคลองระบมในที่สุดเขาถึงยอมรับ แต่ขออนุญาตแล้ว ข้อมูลเหล่านี้อยากจะ
ขอด้วยเพราะเป็นข้อมูลที่ประชาชนไม่ทราบ แล้วก็มีผลต่อการจัดการน้ําด้วย

คุณกัญจน์ อยากจะชวนปรึกษาแนวทางว่าหลังจากวันนี้ที่เรามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแล้ว เราจะดําเนินการ


ร่วมกันต่อไปได้อย่างไรบ้าง

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ เวทีนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดี อยากให้ทางกลุ่มคุ้มครองบางคล้าแข็งแรง


แล้วก็ตั้งคณะทํางานที่ชัดเจน เพราะเรื่องที่เรามาคุยกันก็เป็นเรื่องที่ดี ผมมั่นใจว่าส่วนราชการทุกส่วนก็ยินดีที่จะมาร่วม
ชี้แจง และให้ความร่วมมือกับท่าน

ทสจ.ฉช. คุณพรชัย ผมคิดว่าวันนี้หลายเรื่องที่เราคุยกันยังไม่ค่อยตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลที่เรานํามาคุยกัน


ข้อมูลบอกว่าน้ํามีเยอะ แต่เกษตรกรบอกว่าน้ําไม่เข้าคลอง ข้อมูลมันอาจจะมีอะไรคลาดเคลื่อนเราอาจจะต้องมีเวทีที่ต้อง
๑๓ | หน้า
มีรายละเอียดของข้อมูล หรือแผนผัง อะไรที่มาวาดด้วยกันเป็นผังใหญ่ๆ แล้วเห็นร่วมกัน เพราะเราก็มาจากภาคส่วน
ต่างๆ เราดูกันเป็นระบบลุ่มน้ํา เพราะในความกังวลของหลา ยคน ถ้าตอนบนสร้างเขื่อนอีกหลายเขื่อนมันจะไม่มีน้ําที่จะ
ลงมาเสริมในบางปะกง แต่ทางชลประทานบอกถึงจะสร้างเขื่อนเสร็จ แต่เขื่อนเขาก็จะเปิดน้ําลงมาบางปะกง ผมว่ามัน
ต้องทําความเข้าใจร่วมกัน ว่าจริงๆแล้วมันจะเป็นอย่างไรในอนาคต น้ําจะถูกใช้ข้างบนจนหมด หรือสร้างเขื่อนแล้วจะยิ่ง
ดีเขื่อนจะทยอยเปิดน้ําส่งลงมาให้บางปะกง ผมคิดว่าข้อมูลตรงนี้มันจําเป็น แล้วครั้งต่อไปน่าจะมีข้อมูลพวกนี้เตรียมมา
แล้วทําความเข้าใจร่วมกัน เราต้องละเอียดมากขึ้น แต่วันนี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี

ชล.ส่งน้้าฯบางพลวง คุณยงยุทธ ถ้าเรามองจากพนม ฯมาบางคล้า ฝั่งขวาของท่าลาดจะเป็นพื้นที่ของโครงการ


ส่งน้ําบางพลวง ซึ่งเราไม่มีแหล่งน้ําต้นทุน ต้องอาศัยน้ําจากสียัด โดยผ่านฝายท่าลาด แล้วมาเก็บที่ฝายกกสับใน ปัญหาที่
เกิดในพื้นที่คือน้ําไม่เพียงพอ เราจะส่งน้ําไปให้เกษตรกรก่อน แต่ขณะเดียวกันเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากทํา
นาปีละ ๑ ครั้ง เป็น ๒ ครั้ง เป็น ๓ ครั้ง ทีนี้ตอนเราสร้างเขื่อนเราคํานว ณว่าเกษตรกรทํานาครั้งเดียว แต่ตอนนี้ทํานา ๒
ครั้ง ข ณะเดียวกันเกษตรกรบางส่วนก็มาทํากุ้ง เลี้ยงปลา เกษตรกรก็จะเ ก็บน้ําไว้ แต่พอฝนตกหนัก เขาก็จะสูบน้ําออก
จึงต้องมีการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ําขึ้นมาเพื่อมีการรองรับ มีการพูดคุยกัน เพราะอย่างช่วงฝนตกที่ผมบอกว่าเขาสูบน้ําออก ก็เข้า
นา น้ําท่วมนาอีก ชาวนาเป็นผู้รับกรรมก่อน เราจะระบายน้ําออกตามคลองธรรมชาติ ต้องอาศัยน้ําจากสียัดมาดัน เกิด
จังหวะที่ฝนตกหนักชาวนาเก็บน้ําไม่ไหวต้องระบายลงคลองท่าลาด กกสับในก็ต้องรีบลดฝาย น้ําท่วมข้างล่างหมดนี่คือ
สาเหตุ แล้วอีกอย่างท่านย้อนขึ้นไปมองที่ปราจีน หลายท่านสงสัยทําไมน้ําท่ว มปราจีน เพราะตัวเมืองมีการทําเขื่อนกันน้ํา
ท่วมถนน โดยทิ้งหินก้อนใหญ่ลงไปในแม่น้ําปราจีน เวลาน้ํามาโรงพยาบาลเจ้าพระยาฯท่วมก่อน แล้วก็มาศรีมหาโพธิ
แล้วก็ไหลมาบางคล้า หัวไทรถูกด่าตลอดครับ ระบายน้ําไม่ทัน ปีนี้สถานีสูบน้ําไฟฟ้าคงเสร็จ ปีนี้เราคงสูบน้ําทัน

East Water ทางเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเมื่อได้ยินเสียงชาวบ้านบอกว่าการสูบน้ําของ East Water มีผลกระทบต่อ


การเพิ่มค่าความเค็มของน้ําที่เร็วขึ้น ซึ่งตรงนี้ทางบริษัทก็ได้มีการศึกษาโดยนักวิชาการ ซึ่งเราจะทําข้อมูลตรงนี้ให้ชัดเจน
อีกทีว่าอย่างไรค่ะ อีกส่วนหนึ่งคือเราเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการบริหารงานของเราสามารถตรวจสอบ
ได้ หรือถ้าทางคณะกรรมการลุ่มน้ํา หรือใครก็ตามต้องการที่จะไปเยี่ยมชมการทํางานของบริษัทเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น
ทางเราก็ยินดีค่ะ

คุณทองหล่อ อย่างนี้ผมขอเรียนนําเสนอว่า ในชลประทานบางปะกง ท่านบันทึกข้อความว่าน้ําเค็มช่วงนี้มาถึง


ไหนแล้ว มาจากท่าข้าม มาจากบ้านโพธิ์ มาจากอําเภอเมือง น้ําเค็มมาถึงไหน ความเค็มเท่าไหร่ กรุณาท่านแจ้งไปทาง
อบต. เพราะ อบต.ตอนนี้มีการสื่อสารทางเสียงกระจายข่าวรอบหมู่บ้านแล้ว เพื่อ อบต.จะได้ประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่า
น้ําเค็มมาถึงไหนแล้วมีความเค็มเท่าไหร่ ชาวบ้านจะได้ปรับตัวทัน เพราะวิกฤติตอนนี้ชาวบ้านปรับตัวไม่ทันเพราะน้ําใน
แม่น้ําบางปะกงตอนนี้ความเค็มมันขึ้นเร็ว ถ้าท่านมีข้อมูลก็ให้แจ้ง อบต. อบต.จะได้แจ้งให้ชาวบ้าน เก็บน้ําเข้าสวนทัน
ท่านต้องเปลี่ยนโอกาสให้ชาวบ้านบ้าง

๑๔ | หน้า
คุณบุญเสริม แต่ถ้าน้ําขึ้นไม่เข้าคูเข้าคลองชาวบ้านจะทําอย่างไร? เกษตรกรถ้าเขาเก็บน้ําได้เขาไม่เดือดร้อน
หรอก? ผมสงสัยทุกรัฐบาลเลย ความรู้ผมน้อย ผมจบแค่ ป. ๔ ผมไม่เข้าใจว่าทําไมทุกรัฐบาลเอาแต่ส่งเสริมอุตสาหกรรม
ไม่ส่งเสริมเกษตรกรรม พื้นที่เกษตรในโลกนี้มันเหลือไม่ถึง ๒๐% หรอก ทําไมถึงไม่เอาภาคเกษตรไปต่อลองอุตสาหกรรม
ผมรู้ว่าพัฒนาอุตสาหกรรมมันจะทําให้เกิดการนําเข้าส่งออก แต่มันก็ได้นิดเดียว แล้วถามว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมมัน
ทําลายพื้นที่เกษตรกรรมไหม ทําลายมหาศาลเลย อย่างมาบตาพุด ผมมีเพื่อนอยู่ เมื่อก่อนนี้มาตั้งอุตสาหกรรม เพื่อนผม
ดีใจเลย บอก กูรวยแล้วขายที่ ปัจจุบันนี้น้ําตาร่วง ขนาดน้ําใต้ดินจะตักขึ้นมาใช้ยังใช้ไม่ได้เลย เดี๋ยวนี้ลืมตามาก็เสียตังค์
แล้ว แล้วมลพิษอีก ทําไมฝ่ายบริหารถึงไม่เอาเกษตรกรรม พื้นที่เกษตรกรรมนี่แหละยั่งยืนที่สุด

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณพงศ์ศักดิ์ ช่วงน้ําเค็มถึงบ้านโพธิ์เราจะเริ่มควบคุมบาน แล้วเราจะทําหนังสือ


ประชาสัมพันธ์ไปทาง อบต. แต่ก็ยังไม่ได้ผล อาจจะยังไม่ทั่วถึง แต่เดี่ยวนี้เรามีเว็บไซต์แล้ว
http://bangpakongdam.com/ สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้เลย จุดไหนความเค็มเท่าไหร่แล้ว อย่างช่วง ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
ต้องยอมรับว่าปีนี้เป็นปีที่มันเค็มเร็วจริงๆ จนเราต้องทําหนังสือเตือนไปทางจังหวัด แต่ช่วงที่ขึ้นเร็วนั้นมันเตือนไม่ทัน
จริงๆ เพราะมันขึ้นเร็ว ขึ้นเยอะ แต่ทุกครั้งสามารถเข้าไปดูได้ http://bangpakongdam.com/

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณวุฒิศักดิ์ ชี้แจงเพิ่ม ปีที่แล้วเรามีตัวอักษรวิ่งที่หน้าเทศบาล ที่อําเภอเมือง ที่บาง


ขนาก แต่อาจจะไม่ทั่วถึง ในอนาคตเราจะพยายามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คุณทองหล่อ แหม..รุ่นนี้แล้วอินเตอร์เน็ตคงไม่ถนัดรบกวนท่านประสานทาง อบต. แล้วกําชับให้ประกาศให้


ประชาชนทราบด้วยครับ ขอบคุณครับ

ชล.ส่งน้้าฯเขื่อนบางปะกง คุณวุฒิศักดิ์ เมื่อก่อนตอนน้ําขึ้นเราจะหรี่ ซึ่งเป็นช่วงทดลอง ตอนนี้เราใช้ พอน้ําขึ้น


ให้น้ําขึ้นเต็มที่ไม่มีการหรี่ เพื่อให้น้ําดันขึ้นได้เต็มที่ แต่พอน้ําลงเราจะหรี่เพื่อชะลอไม่ให้น้ําลงเร็ว เพื่อกันตลิ่งพัง แล้วก็ให้
น้ําลงช้า แต่ปีที่แล้วนี่วิกฤติจริงๆ แต่เวทีนี้ผมเห็นว่าเป็นเวทีที่สะท้อนได้ดี

คุณบุญเสริม อยากให้ East Water สูบในช่วงน้ําหลากจริงๆ น้ําหลากที่หมายถึงน้ําขึ้นทางเดียว ไม่ใช่ไหลขึ้น


ไหลลงแล้วสูบ ถ้าอย่างนั้นก็จะไม่กระทบกับเกษตรกร

East Water ในปีนี้คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตก็มีภัยแล้ง ก็มีการแจ้งให้ East Water หยุดสูบ ซึ่งเราก็หยุด


แล้วก็ใช้น้ําสํารอง

คุณกัญจน์ สรุปแนวทางที่จะสามารถด้าเนินการต่อไปได้

o ควรมีเวทีปรึกษาหารืออีก โดยมีแผนที่ประกอบ และมีข้อมูลที่มีความชัดเจนกว่านี้ เช่น


 น้ําต้นทุน และการใช้น้ําอย่างแท้จริงของพื้นที่
 แนวทางการจัดสรรน้ําของชลประทาน และลําดับความสําคัญ

๑๕ | หน้า
 กรมชลประทานมีสิทธิ์ในการอนุญาตให้บริษัทเอกชน (เช่น โรงไฟฟ้า) ใช้น้ําได้หรือไม่
 คุณภาพน้ํา, ค่าความเค็ม, การรุกของน้ําเค็ม และปริมาณการสูบน้ําของบริษัทเอกชน
o ควรสรุปข้อกังวลของประชาชน ประเด็นต่างๆที่ประชาชนมีความกังวลพร้อมข้อมูลประกอบ เช่น
 น้ําไม่พอสําหรับการทําการเกษตร
 น้ําเสียจากอุตสาหกรรม
o เรื่องคณะกรรมการที่ชัดเจน
o การสื่อสาร/การแจ้งข่าวสารเรื่องน้ําให้ถึงชาวบ้าน
o ทบทวนเงื่อนไข/ข้อตกลงการใช้น้ําและการสูบน้ําของบริษัทเอกชน

๑๖ | หน้า

You might also like