Check 06

You might also like

Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 5

การตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ

คลื่นไฟฟ้ าหัวใจ หรือ กราฟหัวใจ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า


Electrocardiogram ใช้ คำา ย่ อ ว่ า ECG หรื อ EKG ซึ่ ง ตั ว K นั ้ น เป็ นภาษา
เยอรมั น มาจากคำา ว่ า Kardiac แปลว่ า หั ว ใจ เหมื อ นกั บ ตั ว C ในภาษา
อั ง กฤษ คื อ Cardiac จึ ง ใช้ ไ ด้ ค วามหมายเหมื อ นกั น คื อ การตรวจจั บ
กระแสไฟฟ้ าที่อ อกมาจากหั วใจ หั ว ใจคนเราเป็ นอวั ย วะ มหั ศ จรรย์ จ ริ ง ๆ
ประกอบไปด้วยส่วนของกล้ามเนื้ อหัวใจที่แข็งแรง ทำา งานตลอดชีวิตไม่ มี
วัน เวลา หยุดพัก อวัยวะอื่นๆ ยังพักได้ แต่หัวใจไม่เคยพัก การที่กล้ามเนื้ อ
หั ว ใจจะทำา งานบี บ ตั ว ได้ นั้ น จะต้ อ งอาศั ย ไฟฟ้ ากระตุ้ น ไฟฟ้ านี้ ก็ ม าจาก
หัวใจเอง โดยจะปล่อย ไฟฟ้ าออกมาเป็ นจังหวะ จากหัวใจห้องบนขวา ลง
มายังหัวใจห้องล่าง ขณะที่ไฟฟ้ าผ่านกล้ามเนื้ อหัวใจ กล้ามเนื้ อหัวใจจะเกิด
การ หดตัว (และตามมาด้วยการคลายตัว) หัวใจจึงบีบตัวไล่เลือดจากห้อง
บน มายั ง ห้ อ งล่ า ง อย่ า งสั ม พั น ธ์ กั น เมื่ อ เรานำ า เอาตั ว จั บ สั ญ ญาณ ไฟฟ้ า
(electrode) มาวางไว้ที่หน้ าอก ใกล้หัวใจ เราก็สามารถบันทึกไฟฟ้ าที่ออก
จากหัวใจนี้ได้
ประโยชน์ของการตรวจ EKG
ก าร ต ร ว จ ค ลื่ น ไ ฟฟ้ า
หัวใจบอกให้ท ราบข้อมูลเกี่ยวกับ
หั ว ใจ เช่ น จั ง หวะการเต้ น ความ
สมำ่ าเส มอ กา รนำ า ไ ฟฟ้ า ใ น หั วใ จ
ชนิ ดของการเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต
หรื อ ไม่ กล้ า มเนื้ อหั ว ใจตาย กล้ า ม
เนื้ อหั ว ใจขาดเลื อ ด ความผิ ด ของ
ระดับเกลือแร่บางชนิ ดในร่างกาย เป็ นต้น ข้อมูลที่ได้มาก็ต้องนำ ามาแปลผล
อีกครัง้ โดยอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย ความชำานาญของแพทย์ จึงจะ
สรุปอีกครัง้ ว่าคลื่นไฟฟ้ า หัวใจผิดปกติหรือไม่

การแปลผลคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ
ถ้าเป็ นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติ
ได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้ าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็ นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง
มาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้ าเป็ นสำาคัญ ความสูง
ของคลื่นนี้ จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด
ฯลฯ และบ่อยครัง้ ที่คลื่นไฟฟ้ าหัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความ
จริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ
นั ้ น มี ค วามไวตำ่ า มาก ซึ่ ง หมายความว่ า หั ว ใจอาจจะโตโดยที่ ค ลื่ น ไฟฟ้ า
หัวใจปกติ ข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำ ามาแปลผลอีกครัง้ จากการซักประวัติ และการ
ตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครัง้ ว่าหัวใจผิด
ปกติแน่ นอนหรือไม่

ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณี ที่มีอาการหัวใจเต้น
ผิดปกติ ใจสัน
่ เจ็บหน้ าอก ในกรณีที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจ
คลื่ น ไฟฟ้ าหั วใจจะไม่ มีป ระโยชน์ การตรวจคลื่ น ไฟฟ้ าหั ว ใจควรตรวจใน
กรณี ที่ อ ายุ ม ากกว่ า 40 ปี และมี ปั จจั ย เสี่ ย งต่ อ โรคหั ว ใจ เช่ น ไขมั น ใน
เส้ น เลื อ ดสู ง สู บ บุ หรี่ เบาหวาน แม้ ว่ า จะไม่ มี อ าการของโรคหั ว ใจ แต่ สิ่ ง
เหล่านี้ ถือว่าเป็ นปั จจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทัง้ สิ้น จึงควรที่จะรับการ
ตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจ เพื่อเก็บการตรวจไว้เปรียบเทียบกันในอนาคต หรือ
ในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสัน
่ เจ็บหน้ าอก เหนื่ อยง่าย หรือตรวจพบ
ความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรัว
่ ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจทันที

ดังนั ้น การตรวจคลื่นไฟฟ้ าหัวใจจึงมีความจำา เป็ นในกลุ่มเสี่ยงต่อการ


เกิด โรคหั วใจ และ มีอ าการผิด ปกติเกี่ ยวกับ หัว ใจในเวลานั ้น ส่ ว นคนที่ มี
สุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เป็ นปั จจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึง
อาจไม่จำา เป็ นต้องตรวจ และเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ควรขอคำา ปรึกษา
จากแพทย์ก่อน

ข้อควรระวัง
คลื่นไฟฟ้ าหัวใจปกติ ไม่ได้หมายความว่าหัวใจปกติ ปราศจากโรค ใน
โรคหัวใจขาดเลือด หรือ หลอดเลือดหัวใจตีบนั น
้ คลื่นไฟฟ้ าหัวใจจะผิดปกติ
ก็ ต่อ เมื่ อ เป็ นโรคขั น
้ รุ น แรงจนเกิ ด กล้ า มเนื้ อหั ว ใจ ตายแล้ ว ถ้ า เป็ นเพี ย ง
หลอดเลือดตีบแต่ไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบได้
คลื่นไฟฟ้ าหัวใจไม่ได้บอกความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หรือ หลอดเลือด
หัวใจโดยตรง แต่เป็ นการตรวจผลเสียที่เกิดขึ้นเนื่ องจากโรคของลิ้นหัวใจ
หรือ หลอดเลื อดหัวใจ การตรวจจะได้ ป ระโยชน์ เมื่ อ ตรวจขณะเกิ ด อาการ
เช่น ใจสัน
่ หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้ าอก เป็ นต้น

……………………………………………………………………………………………
่ า : ศูนย์บริการสุขภาพเคลื่อนที่ โรงพยาบาลสมเด็จ
ทีม
พระนางเจ้าสิริกิติ ์
และ นวลจันทร์ ดีพิริยานนท์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์

You might also like