Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 4

แนวทางการจัดการกากของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม

แนวทางการจัดการกากของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม
แนวทางการจัดการที่ถูกต้อง ควรคำานึงถึงการลดปริมาณของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดมากกว่าที่จะมุ่งตรงไปที่ การหาทางจัดการ
กำาจัดของเสียนั้นตั้งแต่ต้น และมาตรการจัดการนั้นๆ ต้องสามารถตามจัดการได้ตั้งแต่จุดกำาเนิดของเสียไปจนถึงการฝังกลบขั้น
สุดท้าย
1.การลดปริมาณของเสีย
การลดปริมาณของเสีย (Minimization) หรือเทคนิคในการผลิตที่สะอาด (Clean Technology) หรือการป้องกันมลพิษ (Prevention)
หรือเทคนิคในการผลิต ที่มีของเสียน้อย หรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย (Low and Nonwaste) มีแนวทางใหญ่ๆ 2 แนวทาง คือ การลด
ที่แหล่งกำาเนิด เช่นการเปลี่ยนไปใช้ วัตถุดิบชนิดใหม่ เปลี่ยนวิธีการผลิต หรือปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการนำาของ
เสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น การนำาสารตัวทำาละลายใช้แล้วมากลั่นใช้ใหม่ และการแยกสารมีค่า หรือโลหะหนักจากนำ้าเสีย
ด้วยไฟฟ้า เพื่อนำาโลหะมีค่ากลับมาใช้ประโยชน์อีก เป็นต้น ซึ่งทำาได้ทั้งในโรงงาน หรือส่งไปจัดการที่อื่น
2.การกำาจัดหรือทำาลายฤทธิ์และฝังกลบอย่างปลอดภัย
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ไม่ว่าเราจะพยายามลดปริมาณของเสียให้มีน้อยที่สุด หรือไม่ให้มีเลย หรือพยายามนำาของเสียกลับมา
ใช้ใหม่แล้วก็ตาม ก็ยังคงต้องมีของเสียเหลืออยู่อีกจำานวนหนึ่งที่ต้องนำาไปจัดการต่อ สำาหรับประเทศเยอรมัน ใช้วิธีกำาหนดมาตรการ
กำาจัดที่เหมาะสมเป็นประเภทๆ คือ ของเสียบางประเภท กำาหนดให้ส่งไปฝังกลบได้เลย ซึ่งมีทั้งการฝังกลบแบบของเสียประเภทเดียว
(Mono disposal) และการฝังกลบรวมกับของเสียอื่นได้ (co-disposal) และของเสียประเภทที่ต้องผ่านการกำาจัดทำาลายฤทธิ์
(Detoxification and Stabilisation) ก่อนนำาไปฝังกลบ เช่น กำาหนดให้กำาจัด หรือทำาลายฤทธิ์ ด้วยระบบเคมี-ฟิสิกส์ หรือเผาที่
อุณหภูมิสูง จนเหลือแต่ขี้เถ้าก่อน ทั้งนี้การเลือกกรรมวิธี การเดินระบบ และการบริหารจัดการ จะต้องได้มาตรฐานที่ระบุไว้
ตัวอย่างสำาหรับประเทศออสเตรเลีย ได้แบ่งของเสียอันตราย ออกเป็น 7 กลุ่ม คือ ของเสียที่ปนเปื้อน 1) นำ้ามัน (Oily Wastes) 2) ตัว
ทำาละลาย (Solvents) 3) ยาฆ่าแมลง (Pesticides) 4) กรด (Acid) 5) ด่าง (Alkali) 6) โลหะหนัก (Heavy Metals) และกลุ่มเจาะจง
เฉพาะ (Special) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหลักการกำาจัดทำาลายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การกำาจัดทำาลายฤทธิ์ด้วยวิธีใช้สารเคมี หรือการใช้
ความร้อนเผา แล้วนำาไปฝังกลบ
ก. การกำาจัดหรือทำาลายฤทธิ์ ด้วยวิธีทางเคมี-ฟิสิกส์
หลักการของวิธีการนี้ คือ การทำาลายฤทธิ์ด้วยสารเคมี ให้หมดสภาพอันตราย เช่น สารไซยาไนต์ กรณีเป็นโลหะหนัก ก็ปรับสภาพให้
ตกตะกอนแยกจากนำ้าเสีย แล้วนำาไปผสมกับสารเคมีให้อยู่ในสภาพคงตัว ไม่ละลายนำ้าได้อีก เช่น ผสมปูนขาวและซีเมนต์ แล้วนำาไป
ฝังกลบตามหลักวิชาการ ก่อนนำาไปฝังกลบจะต้องทดสอบคุณสมบัติ ของตะกอนว่า ได้ผ่านการทำาให้คงตัวได้สมบูรณ์แล้ว คือ ไม่
ละลายนำ้าได้อีก การทำาลายฤทธิ์ด้วยวิธีทางเคมี - ฟิสิกส์นี้ เหมาะสำาหรับของเสียประเภทสารอนินทรีย์
ข. การเผาด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง
การกำาจัดหรือทำาลายฤทธิ ด้วยวิธีทางเคมี - ฟิสิกส์นั้น ไม่สามารถกำาจัด ทำาลายฤทธิ์ของเสียจำาพวก นำ้ามัน ยาฆ่าแมลงบางชนิด
และสารตัวทำาละลายได้ เพราะจะไม่ทำาปฏิกริยากัน จึงจำาเป็นต้องกำาจัด โดยใช้ความร้อนเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้ของเสียถูกออกซิ
ไดซ์ไปเป็นขี้เถ้า การเผาเหมาะสำาหรับการกำาจัดของเสียประเภทสารอินทรีย์สามารถใช้กำาจัดนำ้ายาเคมีเสื่อมคุณภาพ หรือของเสียที่
มีความสลับซับซ้อนมากๆ (complex) ได้ ขี้เถ้าหรือกากตะกอนที่เกิดขึ้น ก็ยังต้องนำาไปฝังกลบ และกรณีที่มีสารอันตรายเจือปน เช่น
โลหะหนัก ต้องทำาให้คงรูปไม่ละลายนำ้า ก่อนนำาไปฝังกลบ
การเผาของเสียอันตราย หรือกากสารพิษต้องเผา ที่อุณหภูมิสูงถึง 1,000 หรือ 1,200 องศาเซลเซียส เตาเผาต้องมีเวลาในการเผาไอ
ก๊าซ ได้นานกว่า 2 วินาที ซึ่งต้องใช้เตาที่มีส่วนเผาไอก๊าซ (After Burner) และมีการปรับเชื้อเพลิง และอากาศให้เกิดการเผาไหม้
สมบูรณ์ มีการติดตั้งเครื่องฟอกไอก๊าซที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องดักฝุ่น เครื่องชะไอกรดไอด่าง อาจมีเครื่องดูดซับ dioxin รวมทั้ง
เครื่องเผาเพิ่มอุณหภูมิของไอนำ้าก่อนระบายออกทางปล่อง เพื่อให้ไอเสียมองดูสะอาดไม่น่ากลัว นอกจากนี้เตาเผานั้นๆ ยังต้องติดตั้ง
เครื่องตรวจวัด และจดบันทึกคุณภาพอากาศที่ระบายออกมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาเพื่อให้ควบคุม และตรวจสอบตลอด
เตาเผาอุณหภูมิสูงที่มีระบบฟอกอากาศครบถ้วน มีราคาแพง ค่าบริการเผาจึงแพงมาก ของเสียที่ไม่อันตราย จึงควรจัดการโดยวิธีอื่น
ได้เช่นกัน เช่น เศษพลาสติกหรือพีวีซี เศษยาง สามารถนำาไปฝังเลยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการจะมีราคาถูกกว่ากันมาก ยกเว้น
เมื่อการขนส่งมีราคาแพง หรือไม่มีที่ฝังกลบเลยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการจะมีราคาถูกกว่ากันมาก ยกเว้นเมื่อการขนส่งมีราคา
แพงหรือไม่มีที่ฝังกลบ อย่างไรก็ตามต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เตาเผาไม่เหมาะที่จะเผาของเสียบางชนิด เช่น ของเสียที่มีปรอทปน
เปื้อนมาก เพราะระบบฟอกอากาศ ไม่มีประสิทธิภาพที่จะดักไอควันของสารเหล่านี้ออกได้ดี (ประมาณ 0.1 ฟุตต่อปี) มีความหนาไม่
ตำ่าหว่า 90 เซนติเมตร และแผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์ โพลีเอธีลีนความหนาแน่นสูง (High dinsity polyethylene) มีความหนาอย่าง
ตำ่า 1.5 มิลลิเมตร ในกรณีที่ใช้วัสดุธรณีสังเคราะห์ แบบคอมโปสิท (Geocomposite) จะต้องได้ชั้นกันซึมที่มีอัตราการซึมนำ้าและ
คุณสมบัติการดูดซับ (Sorption capacity) เทียบเท่ากับชั้นกันซึมดังกล่าว หรือดีกว่า
ชั้นระบบรวบรวมนำ้า (Secondary leachate collection layer) จะต้องประกอบด้วย ชั้นกรวดทราย ซึ่งเป็นหินกรวดคัดขนาด
(Graded sand and gravel) ที่ยอมให้นำ้าซึมผ่าน (Hydraulic conductivity) ได้ไม่ตำ่ากว่า 1x10 กำาลังลบสองเซนติเมตรต่อวินาที
และมีความหนาไม่ตำ่ากว่า 30 เซนติเมตร ในกรณีที่ใช้วัสดุธรณีสังเคราะห์ แบบ Geonet จะต้องได้ชั้นรวบรวมนำ้า ที่มีค่าอัตราการ
ไหลของนำ้า (Transmissivity) ไม่ตำ่ากว่า 3 x 10 ยกกำาลังลบห้า ตารางเมตรต่อวินาที
ชั้นกันซึมปฐมภูมิชั้นบน (Primary protective barrier) ประกอบด้วยแผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์ โพลีเอธีลีนความหนาแน่นสูง (High
density polyethylene) มีความหนาอย่างตำ่า 1.5 มิลลิเมตร ในกรณีที่ใช้วัสดุธรณีสังเคราะห์แบบคอมโปสิท (Geocomposite) จะ
ต้องได้ชั้นกันซึม ที่มีค่าอัตราการซึมนำ้า และคุณสมบัติการดูดซับ (Sorption capacity) เทียบเท่ากับชั้นกันซึมดังกล่าว หรือดีกว่า
ชั้นระบบรวบรวมนำ้า (Primary leachate collection layer) จะต้องประกอบด้วยชั้นกรวดทราย ซึ่งเป็นหินกรวดคัดขนาด (Graded
sand and gravel) ที่ยอมให้นำ้าซึมผ่าน (Hydraulic conductivity) ไม่ตำ่ากว่า 3x10 ยกกำาลังลบห้าตารางเมตรต่อวินาที
ต้องมีชั้นกรอง (Filter zone) ซึ่งเป็นวัสดุกรองใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่สามารถระบายนำ้าส่วนที่อิ่มตัว (Saturated hydratilic
conductivity) ได้ไม่ตำ่ากว่า 1x10 ยกกำาลังลบสองเซนติเมตรต่อวินาที ซึ่งใช้แยกชั้นระบบรวบรวมนำ้าเสียออกจากชั้นที่บรรจุสิ่งปฏิกูล
หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
- ต้องมีระบบนำานำ้า ออกจากชั้นกันซึมปฐมภูมิชั้นบน (Primary protective barrier) และชั้นกันซึมทุติยภูมิชั้นล่าง (Secondary
protective barrier) โดยนำ้าที่รวบรวมจากแต่ละชั้นในหลุมฝังกลบ จะต้องระบายออกไปเก็บในบ่อสูง (Sump) ที่แยกกัน เพื่อมิให้เกิด
การขังของนำ้าภายในหลุมฝังกลบ และใช้เป็นระบบตรวจสอบการรั่ว (Leak detection System) ของชั้นกันซึมด้วย
- การระบายที่ก้นหลุมฝังกลบ ต้องมีความลาด (Slope) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 (%) เพื่อให้การระบายนำ้าก้นหลุม เป็นไปอย่างสะดวก
เมื่อหลุมฝังกลบเต็มแล้ว ให้ทำาการปิดหลุม (Capping) ด้วยวัสดุต่างๆ หลายชั้น เพื่อป้องกันมิให้นำ้าหรือสิ่งรบกวนจากภายนอกเข้า
มาสัมผัสกับสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในหลุมฝังกลบ โดยปูตามลำาดับชั้น ตัง้ แต่ล่างสุดจนถึงบนสุดคือ ชั้นดินเหนียวที่ยอม
ให้นำ้าซึมผ่าน (Hydraulic conductivity) ได้ไม่เกินกว่า 1x10 ยกกำาลังลบเจ็ด เซนติเมตรต่อวินาที มีความหนาไม่ตำ่ากว่า 1.5
มิลลิเมตร หรือแผ่นวัสดุสังเคราะห์อื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือดีกว่า จากนั้นให้ปูทับด้วยชั้นกรวดทรายคัดขนาด เพื่อช่วยในการ
ระบายนำ้าหนาอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ซึ่งใช้ระบายนำ้าที่อิ่มตัว (Saturated hydraulic conductivity) ได้ไม่ตำ่ากว่า 1x10 ยกกำาลัง
ลบสองเซนติเมตรต่อวินาที แล้วจึงปูทับด้วยวัสดุกรองใยสังเคราะห์ และชั้นดินธรรมดาที่เหมาะสม สำาหรับปลูกพืชคลุมดินเป็นชั้นบน
สุด มีความหนาอย่างน้อย 90 เซนติเมตร หากสิ่งปฏิกลู หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สามารถก่อให้เกิดก๊าซขึ้นได้ใน ภายหลังการฝังกลบ ให้
จัดมีระบบท่อรวบรวม และระบายก๊าซออกไปอย่างเพียงพอ
แผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์ โพลีเอธีลีนความหนาแน่นสูงที่ใช้ต้องมีความทึบนำ้าสูง ทนทานต่อสภาพการกัดกร่อนทางเคมี และต่อ
สภาวะแวดล้อมมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนต่อการรับนำ้าหนัก และแรงดันที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด โดยต้องมีคุณลักษณะไม่ตำ่ากว่า
เกณฑ์ที่กำาหนด ดังต่อไปนี้ คุณลักษณะของแผ่นวัสดุทับนำ้า ค่าที่กำาหนดหน่วยวิธีทดสอบหรือวิเคราะห์
ความหนาเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า (Average thickness) 60 มิลส์ (mils) ASTM D-751/1593/374
ความหนาตำ่าสุดเมื่อวัด ไม่น้อยกว่า (Minimum thickness) 54 มิลส์ (mils) ASTM D-751/1593/374
ความหนาแน่นไม่น้อยกว่า (Density) 0.94 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ASTM D-1505
กำาลังดึงที่จุดคลาก ไม่น้อยกว่า (Tensile Strength at Break) 132 ปอนด์ต่อนิ้ว (ความกว้าง) ASTM D-638-IV
การยึดตัวที่จุดขาด ไม่น้อยกว่า (Tensile Strength at Break) 304 ปอนด์ต่อนิ้ว (ความกว้าง) ASTM D-638-IV
การยึดตัวที่จุดขาด ไม่น้อยกว่า (Elongation at Break) 750 % (ร้อยละ) ASTM D-638-IV
การยึดตัวที่จุดคลาก ไม่น้อยกว่า (Elongation at Yield) 12 % (ร้อยละ) ASTM D-638-IV
ความต้านทานแรงฉีกขาดไม่น้อยกว่า (Tear resistance) 42 ปอนด์ ASTM D-1004-C
ดัชนีการหลอมเหลวไม่มากกว่า (Melt flow index) 1.0 กรัมต่อ 10 นาที ASTM D-1238
แผ่นวัสดุทับนำ้าสังเคราะห์ โพลีเอธีลีนความหนาแน่นสูงนี้ ต้องเป็นชนิดคุณภาพสูง (High grade) ซึ่งทำาจากโพลีเอธีลีนเรซิน
(Polyethylene resin) หรือเอธีลีนโคโพลีเมอร์เรซิน (Ethylene copolymer resin) หรือส่วนผสมของโพลีเอะลีนเรซินเป็นส่วนใหญ่
กับโพลีเมอร์อื่นเพียงเล็กน้อย จะต้องเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน ผลิตสำาเร็จรูปจากโรงงานของผู้ผลิตที่ไดรับมาตรฐานสากล
ทางด้านการผลิต และต้องมีสีสมำ่าเสมอ ไม่มีคราบเหนียว หรือข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจมีผลเสียต่อการใช้งาน เช่น รู รอยพอง รอยฉีก
ขาด ตำาหนิ ซึ่งเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น การเชื่อมต่อแผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์ โพลีเอธีลีนความหนาแน่นสูง ให้ต่อโดยวิธี
เชื่อมด้วยความร้อน โดยต้องเป็นแบบ wedge weld ชนิด dual track หรือ extrusion joint ตามความเหมาะสมของวิธีการ
โดยมีระยะทาบตามคำาแนะนำา ของผู้ผลิต หรือ ไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เมื่อทดสอบ shear test และ peel test ของจุดเชื่อม ตาม
มาตรฐาน ASTM D4437 จะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ไม่ตำ่ากว่าแผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์โพลีเอธีลีนความหนาแน่นสูงเองและให้
ทดสอบรอยรั่วจากการเชื่อม โดยวิธี air pressure test สำาหรับ dual track และโดยวิธี vacuum box สำาหรับ extrusion welding
หากใช้แผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์ (Geomembrane) ประเภทอื่นๆ ต้องมีคุรสมบัติเทียบเท่ากับแผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์โพลีเอธีลีน
ความหนาแน่นสูงหรือสูงกว่า และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุธรณีสังเคราะห์ (Geosynthetics) ประ
เภทอื่นๆ ที่นำามาใช้ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
หลุมฝังกลบจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถควบคุมการไหลท่วมและขังนองของปริมาณนำ้าฝนในรอบ 24 ชั่วโมงของคาบการ
ตกของฝนในรอบ 25 ปีได้ โดยจัดให้มีระบบป้องกันมิให้นำ้าผนหรือนำ้าไหลบ่าจากด้านนอกหลุมฝังกลบเข้ามาสัมผัสกับสิ่งปฏิกูลหรือ
วัสดุที่ไม่ใช้แล้วในหลุมฝังกลบระหว่างการฝังกลบ รวมทั้งจัดให้มีระบบระบายนำ้าออกจากบริเวณหลุมฝังกลบได้อย่างรวดเร็ว และ
เหมาะสม หากนำ้าที่สัมผัสกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ว่ากรณีใดให้ถือเสมอนหนึ่งเป็นนำ้าเสียที่ต้องผ่านการบำาบัดจนมี
คุณลักษณะได้ตามมาตรฐานนำ้าทิ้งตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำาหนด จึงจะระบายออกทิ้งได้
การดำาเนินการฝังกลบ
1. สิง่ ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่นำามาฝังกลบนั้น เมื่อทำาการสกัดและวิเคราะห์ตามวิธีที่กำาหนดในข้อ 3 ของภาคผนวกที่ 2 ตาม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 (พ.ศ.2540) เรื่องการกำาจัดสิง่ ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จะต้องมีความเข้มข้นของสาร
อันตรายต่างๆ ไม่มากกว่าที่ระบุไว้ ในข้อ 5 หมวดที่ 1 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับดังกล่าว
2. ห้ามมิให้ฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งมีส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอิสระ (Free liquid) โดยให้ทดสอบสภาวะของ
ของเหลวอิสระด้วยมาตรฐาน Paint filter liquids tes-US EPA (United States Environmental Protection Agency) SW - 846
Method 9095 ทุกครั้ง
3. ให้จัดทำาบันทึกการดำาเนินงาน ซึ่งมีรายการแสดงเกี่ยวกับประเภท ชนิด ปริมาณ วิธีการฝัง รวมทั้งผังการจัดแบ่งส่วน (Cell) หลุม
ฝัง และชนิดของสิ่งปฏิกลู หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่อยู่ในแต่ละส่วนของหลุมฝัง โดยให้เก็บรักษาบันทึกนี้ไว้ เพื่อให้กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สามารถตรวจสอบได้ทุกเมื่อ
4. เมื่อเลิกใช้หลุมฝังกลบ ในบางบริเวณเป็นการชั่วคราว ต้องจัดให้มีการปิดคลุม ด้วยแผ่นวัสดุทึบนำ้าสังเคราะห์ โพลีเอลีนความหนา
แน่นสูง ที่มีความหนาไม่ตำ่ากว่า 1.5 มิลลิเมตร และจัดระบบระบายนำ้าออกจากพื้นที่นั้นให้เพียงพอ พร้อมทั้งให้มีวิธีการป้องกัน การ
ชะล้างโดยวิธีที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
5. จัดให้มีวัสดุปิดคลุมสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในหลุมฝังกลบ หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจการฝังในแต่ละวัน เพื่อลดการกระจาย
ของฝุ่นอันอาจเกิดจากแรงลม วัสดุปดิ คลุมอาจเป็นวัสดุสังเคราะห์ หรือวัสดุธรรมชาติ ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ
6. ให้ปลูกพืชคลุมดินบนหลุมฝังกลบที่ปิดแล้ว เพื่อลดความรุนแรงของการพังทลายของผิวหน้าดิน โดยพืชที่ปกคลุมดินจะต้องเป็น
พืชรากสั้น หรือมีเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าความยาวที่สุด ของรากจะยาวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร
7. ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานจะต้องแจ้ง ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ทราบถึงกำาหนดการปิดหลุมฝังกลบขั้นสุดท้าย เพื่อให้กรม
โรงงานอุตสาหกรรมทำาการตรวจสอบความเรียบร้อยของหลุมฝังกลบก่อนการปิดหลุม หากต้องแก้ไขและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเท่าใด
ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการโรงงานทั้งหมด
8. เมื่อเลิกใช้หลุมฝังกลบ โดยปิดคลุมด้านบนเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษา และตรวจสอบ
หลุมฝังกลบ ไปอีกเป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่ปิดหลุมฝังกลบเสร็จเรียบร้อย ในกรณีที่ยังไม่แน่ใจ ในความปลอดภัยของหลุม
ฝังกลบนั้น กรมโรงงานอุตสาหรรม อาจพิจารณากำาหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้นานขึ้นตามความเหมาะสมได้
9. ค่าใช้จ่ายของการแก้ไขหลุมฝังกลบ ที่เกิดมีรอยรั่ว การฉีกขาด หรือเกิดข้อบกพร่องใดๆ ที่ก่อให้เกิด การรั่วไหลของสารต่างๆ ออก
สู่ภายนอกหลุม ทั้งในระหว่างการฝัง และในช่วงระยะเวลาการดูแลของผู้ดำาเนินการฝัง หลังการปิดหลุมฝังกลบแล้ว ให้อยู่ในความ
รับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการโรงงานทั้งหมด

ท่ีมา :ส่วนบริหารจัดการของเสีย สำานักเทคโนโลยีส่ิงแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดทำาเป็ นเว็บเพจโดย


: www.thaienvironment.net

You might also like