Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

พระราชกําหนด
ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบ บริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกําหนดนี้เรีย กว่า “พระราชกําหนดให้อํา นาจกระทรวงการคลั งกู้เงิ น เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ก ระทรวงการคลั ง โดยอนุมัติ ค ณะรัฐ มนตรี มีอํา นาจกู้เ งิน บาทหรือ เงิน ตรา ต่างประเทศในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้นําไปใช้จ่ายในการวางระบบบริหารจัดการน้ํา และสร้างอนาคตประเทศ โดยให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดนี้ต่อรัฐสภา เพื่อทราบก่อนเริ่มดําเนินการ การกู้เงิน ตามวรรคหนึ่ง ให้มีมูลค่ารวมกัน ไม่เกินสามแสนห้าหมื่นล้านบาทและให้กระทําได้ ภายในกําหนดเวลาไม่เกินวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๒ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

มาตรา ๔ เงินที่ได้จากการกู้ตามมาตรา ๓ ให้นําไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้โดยไม่ต้อง นําส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง กระทรวงการคลังอาจนําเงินที่ได้จากการกู้ไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับ ดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบัน การเงิน ภาครัฐตามกฎหมายว่าด้ว ย การบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อนําไปใช้จ่ายในการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศก็ได้ มาตรา ๕ วงเงิน การจัดการและวิธีการที่เกี่ยวกับการกู้เงินในแต่ละปีงบประมาณ ให้เป็นไป ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ มาตรา ๖ ค่าใช้จ่ายในการกู้เงินและการออกและจัดการตราสารหนี้ อาจจ่ายจากเงินที่ตั้งไว้ ในงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือเงินกู้รายนั้นก็ได้ มาตรา ๗ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้กระทรวงการคลังรายงานการกู้เงิน ตามพระราชกําหนดนี้ที่กระทําในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบโดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อย ต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัต ถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ร วมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ มาตรา ๘ ให้ กระทรวงการคลั ง โดยอนุมั ติค ณะรัฐ มนตรี มีอํ านาจปรับ โครงสร้ างหนี้ เงิ น กู้ ตามมาตรา ๓ โดยดําเนินการกู้เงินรายใหม่เพื่อชําระหนี้เดิม แปลงหนี้ ชําระหนี้ก่อนถึงกําหนดชําระ ขยายหรือย่นระยะเวลาการชําระหนี้ ต่ออายุ ซื้อคืน หรือไถ่ถอนตราสารหนี้ของรัฐบาล หรือทําธุรกรรม ทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ มาตรา ๙ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ตามมาตรา ๓ ให้กระทําได้เฉพาะเพื่อเป็นการ ประหยัด ลดความเสี่ย งในอัต ราแลกเปลี่ย น หรื อกระจายภาระการชําระหนี้โ ดยกระทรวงการคลั ง จะกู้เป็นสกุลเงินแตกต่างจากหนี้เดิมก็ได้ เงินกู้ตามวรรคหนึ่ง มิให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา ๓ และต้องไม่เกินจํานวนเงินกู้ที่ยังค้างชําระ ในกรณีที่หนี้เงินกู้ซึ่งจะทําการปรับโครงสร้างหนี้มีจํานวนเงินมากและกระทรวงการคลังเห็นว่า ไม่สมควรกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวในคราวเดียวกัน กระทรวงการคลังอาจทยอยกู้เงินเป็นการ ล่วงหน้าได้ไม่เกินสิบสองเดือนก่อนวันที่หนี้ถึงกําหนดชําระ มาตรา ๑๐ ให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศทํ า หน้ า ที่บ ริ ห ารเงิน ที่ ได้ รั บ จากการกู้ เงิ น เพื่ อ ปรั บ โครงสร้ า งหนี้ เ งิน กู้ ต ามที่ บัญ ญั ติไ ว้ ใ น พระราชกําหนดนี้ เงินที่ได้รับจากการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรา ๙ วรรคสาม ให้นําส่งเข้ากองทุนบริหารเงินกู้ เพื่ อ การปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ส าธารณะและพั ฒ นาตลาดตราสารหนี้ ใ นประเทศโดยให้ นํ า เข้ า บั ญ ชี ปรั บ โครงสร้ า งหนี้ ส าธารณะ และให้ ก ระทรวงการคลั ง นํา ไปใช้ จ่ า ยในการชํ า ระเงิ น ต้ น ดอกเบี้ ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๓ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

มาตรา ๑๑ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะมีอํานาจหน้าที่ดําเนิน การเกี่ย วกับการบริหาร และจัดการการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชําระหนี้ และการอื่นใดที่เกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกําหนดนี้ มาตรา ๑๒ นอกจากกรณีที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชกําหนดนี้ ให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกําหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๔ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับ นี้ คือ เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เ กิด วิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างรุนแรง รัฐบาลมีความจําเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ เยียวยาความเสียหายให้แก่ ประชาชน รวมทั้งดําเนินการวางระบบการบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ โดยการจัดให้มีการลงทุน ในโครงสร้างสาธารณูป โภคพื้นฐานที่จําเป็น นอกจากนี้ ผลจากการเกิดความเสียหายนั้นยัง ทําให้ร ะบบ เศรษฐกิจ ของประเทศไทยโดยรวมเริ่มถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อ ความเชื่อมั่นของสาธารณะ จึง จําเป็นต้อ งมีมาตรการฟื้นฟูป ระเทศทั้ง การแก้ไขเยียวยาความเสียหาย การป้องกันภัยพิบัติที่ใกล้จ ะถึง และการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ลงทุน ซึ่งการดําเนินการตามมาตรการ ดังกล่าวจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจํานวนมาก และต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง และโดยที่การวางระบบ การบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศจะต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิด ภัยพิบัติในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลมีความจําเป็นต้องใช้เงินในการดําเนินการดังกล่าว จํานวนมาก แต่โดยที่การกู้เงินของรัฐบาลตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีข้อจํากัดบางประการ สมควรให้มี กฎหมายว่าด้วยการให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ เพื่อให้กระทรวงการคลังมีอํานาจกู้เงินในนามของรัฐบาลเพื่อนํามาใช้จ่ายในการดําเนินการดังกล่าวได้ทนทีในการ ั ป้องกันภัยพิบัติล่วงหน้าและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นตั้งแต่ในขณะนี้ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็น รีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจําเป็น ต้องตราพระราชกําหนดนี้

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๕ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

พระราชกําหนด
กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พระราชกํ า หนดนี้มี บ ทบั ญ ญัติ บ างประการเกี่ย วกั บ การจํ า กั ด สิท ธิ แ ละเสรี ภ าพของบุ ค คล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกําหนดนี้เรีย กว่า “พระราชกําหนดกองทุน ส่งเสริมการประกัน ภัย พิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกําหนดนี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า วาตภัย อุทกภัย ธรณีพิบัติภัย และภัย พิบัติอื่น ตามที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนด “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ “ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๖ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกําหนดนี้ มาตรา ๔ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกระทรวงการคลัง เรียกว่า “กองทุน ส่งเสริม การประกัน ภัย พิบัติ” มีฐานะเป็น นิติบุคคลมีวัต ถุประสงค์เพื่อบริหารจัด การความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยการรับ ประกั น ภั ย และทํ าประกัน ภัย ต่อ และให้ ความช่ว ยเหลื อทางการเงิ น แก่ผู้ ประกอบธุร กิ จ ประกันวินาศภัยตามที่กําหนดไว้ในพระราชกําหนดนี้ มาตรา ๕ รายได้ของกองทุนไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๒) เงินที่ได้รับตามมาตรา ๑๒ (๓) เงินที่ได้รับตามมาตรา ๑๓ (๔) เงินที่เป็นเบี้ยประกันภัย (๕) เงิ น ที่ ไ ด้ รั บ จากการชดเชยค่ า สิ น ไหมทดแทนหรื อ การคื น เบี้ ย ประกั น ภั ย จากการทํ า ประกันภัยต่อ (๖) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคให้ (๗) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ กิจการของกองทุน ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้ว ยการประกัน วิน าศภัย และกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มาตรา ๘ กองทุนมีอํานาจกระทํากิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๔ อํานาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทํานิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๔) กระทํ า การอื่ น ใดที่ เ กี่ ย วกั บ หรื อ เกี่ ย วเนื่ อ งในการจั ด การให้ สํ า เร็ จ ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ของกองทุน มาตรา ๙ การจ่ายเงินจากกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายสําหรับการดังต่อไปนี้ (๑) การดําเนินการในการรับประกันภัยและการทําประกันภัยต่อ และการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) การบริหารกองทุน และการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๗ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

มาตรา ๑๐ การรับประกันภัยและการทําประกันภัยต่อของกองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง กองทุนอาจมอบหมายหรือว่าจ้างนิติบุคคลอื่นให้ดําเนินการแทนก็ได้ มาตรา ๑๑ ประเภทของการประกันภัย แบบและกรมธรรม์ประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัย และการชดเชยค่าสิน ไหมทดแทนในการรับประกัน ภัย ของกองทุน ให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่มีความจําเป็นและคณะกรรมการเห็นสมควร กองทุนอาจให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายจากการชดเชยค่าสินไหมทดแทน ในการรับประกันวินาศภัยที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรง ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยที่ประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่งแจ้งความประสงค์ ต่อกองทุน และเมื่อกองทุน พิจารณาเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือและแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจประกัน วิ น าศภั ย ทราบแล้ ว ให้ ผู้ ป ระกอบธุ ร กิ จ ประกั น วิ น าศภั ย นํ า ส่ ง เงิ น สมทบเข้ า กองทุ น ตามอั ต รา ที่คณะกรรมการกําหนด การให้ความช่วยเหลือ การขอรับความช่วยเหลือ และการนําส่งเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกําหนด และให้นําความในมาตรา ๑๐ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ ให้ก ระทรวงการคลั ง โดยอนุมัติ ค ณะรัฐ มนตรี มีอํา นาจกู้เ งิน บาทหรือ เงิน ตรา ต่ า งประเทศในนามรั ฐ บาลแห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย และนํ า ส่ ง เข้ า กองทุ น เพื่ อ ให้ นํ า ไปใช้ จ่ า ยตาม วัตถุประสงค์ โดยไม่ต้องนําส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง การกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกินห้าหมื่นล้านบาท มาตรา ๑๔ วงเงิน การจัดการและวิธีการที่เกี่ยวกับการกู้เงิน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ มาตรา ๑๕ ค่าใช้ จ่ายในการกู้เงิน และการออกและการจั ด การตราสารหนี้ อาจจ่ ายจากเงิ น ที่ตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือเงินกู้รายนั้นก็ได้ มาตรา ๑๖ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะมีอํานาจหน้าที่ดําเนิน การเกี่ย วกับการบริหาร และจัดการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชําระหนี้ และการอื่นใดที่เกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกําหนดนี้ มาตรา ๑๗ นอกจากกรณีที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชกําหนดนี้ ให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้มีค ณะกรรมการคณะหนึ่ง เรีย กว่า “คณะกรรมการบริหารกองทุน ส่งเสริม การประกันภัยพิบัติ” ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกจํานวนไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๘ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

ให้ ป ลั ด กระทรวงการคลั ง แต่ ง ตั้ ง ข้ า ราชการในกระทรวงการคลั ง คนหนึ่ ง เป็ น เลขานุ ก าร และอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๙ การดํารงตําแหน่ง และการพ้น จากตําแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไป ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมี อํ า นาจหน้ า ที่ ค วบคุ ม ดู แ ลกองทุ น ให้ ดํ า เนิ น กิ จ การให้ เ ป็ น ไป ตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๔ อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กําหนดนโยบายและให้ความเห็นชอบในการดําเนินงานของกองทุน (๒) เสนอแนะต่อ คณะรัฐ มนตรี เพื่อ มีม ติให้ หน่ว ยงานของรั ฐหน่ ว ยงานหนึ่ง หน่ว ยงานใด ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกําหนดนี้ (๓) กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารกิจการของกองทุนตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ (๔) กํา หนดระเบี ย บเกี่ ย วกั บการรับ เงิ น การจ่ า ยเงิน การเก็ บรั กษาเงิ น และการจัด หา ผลประโยชน์ของกองทุน (๕) กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ (๖) กระทําการอื่นใดที่จําเป็นหรือเกี่ยวเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๒๑ ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามพระราชกํ า หนดนี้ คณะกรรมการมี อํ า นาจแต่ ง ตั้ ง คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือดําเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ มาตรา ๒๒ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๒๓ การบัญชีของกองทุนให้จัดทําตามหลักสากลตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กําหนด มาตรา ๒๔ ให้ ก องทุ น จั ด ทํ า งบดุ ล งบการเงิ น และบั ญ ชี ทํ า การส่ ง ผู้ ส อบบั ญ ชี ภ ายใน หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ในทุกรอบปี ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้ง ด้ว ยความเห็น ชอบของสํานักงานการตรวจเงิน แผ่น ดิน เป็น ผู้สอบบัญ ชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สิน ของกองทุน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็น ข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็น ไปตาม วัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทําบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อ คณะกรรมการ และให้ส่งสําเนารายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีด้วย มาตรา ๒๕ ในกรณีที่การดํา เนิน กิ จการของกองทุ น ไม่ มีค วามจํา เป็น อี กต่อไป ให้รัฐ มนตรี เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้มีการยุบเลิกกองทุน เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้ว ย ให้กองทุน ยุบเลิกเมื่อพ้น กําหนดสามสิบวัน นับแต่วัน ที่ คณะรัฐมนตรีมีมติ

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๙ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

ให้สภาพนิติบุคคลของกองทุน ดํารงอยู่ต ราบเท่าที่จําเป็น เพื่อประโยชน์ในการดําเนิน กิจการ ตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๖ เมื่อยุบเลิกกองทุนแล้ว ให้ทําการตรวจสอบทรัพย์สินและชําระบัญชี รวมทั้งการโอน หรือจําหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๒๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกําหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๐ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับ นี้ คือ เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เ กิด วิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างรุนแรง รัฐบาลมีความจําเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ เยียวยาความเสียหายให้แก่ ประชาชน รวมทั้งดําเนินการวางระบบการบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ โดยการจัดให้มีการลงทุน ในโครงสร้างสาธารณูป โภคพื้นฐานที่จําเป็น นอกจากนี้ ผลจากการเกิดความเสียหายนั้นยัง ทําให้ร ะบบ เศรษฐกิจ ของประเทศไทยโดยรวมเริ่มถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อ ความเชื่อมั่นของสาธารณะ จึง จําเป็นต้อ งมีมาตรการฟื้นฟูป ระเทศทั้ง การแก้ไขเยียวยาความเสียหาย การป้องกันภัยพิบัติที่ใกล้จ ะถึง และการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ลงทุน ซึ่งการดําเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจํานวนมากและต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง และโดยที่ปรากฏว่า ในขณะนี้ ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการรับประกันวินาศภัยทีเ่ กิด จากภัยพิบัติ ส่ง ผลให้ประชาชนและผู้ป ระกอบการต้อ งเสียเบี้ยประกันเป็นจํานวนสูง มากหรือ ไม่สามารถ เอาประกันภัยได้ ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการ ของบุคคลดังกล่าวที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นในอนาคต และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศ สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เพื่อจัดตั้งกองทุนในการทําหน้าที่บริหารจัดการ ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๑ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

พระราชกําหนด
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ๒๕๕๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ เ ป็ น การสมควรมี ก ฎหมายว่ า ด้ ว ยการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ทางการเงิ น แก่ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ความเสียหายจากอุทกภัย พระราชกํ า หนดนี้มี บ ทบั ญ ญัติ บ างประการเกี่ย วกั บ การจํ า กั ด สิท ธิ แ ละเสรี ภ าพของบุ ค คล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดย อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกําหนดนี้เรีย กว่า “พระราชกําหนดการให้ค วามช่ว ยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ ใช้บัง คับตั้งแต่วัน ถั ดจากวัน ประกาศในราชกิ จจานุ เบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกําหนดนี้ “อุทกภัย” หมายความว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศ เป็ น พื้ น ที่ ป ระสบภั ย พิ บั ติ ก รณี ฉุ ก เฉิ น ตามระเบี ย บกระทรวงการคลั ง เกี่ ย วกั บ เงิ น ทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๒ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงิน และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น มาตรา ๔ ให้มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชกําหนดนี้ ภายในวงเงินจํานวนไม่เกินสามแสนล้านบาท โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินร่วมกันดําเนินการดังกล่าว มาตรา ๕ นอกเหนือ จากการให้ กู้ยื มเงิน ตามที่ กํา หนดไว้ใ นกฎหมายว่ าด้ ว ยธนาคารแห่ ง ประเทศไทย ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะคราว เพื่อให้สถาบันการเงินนําไปใช้ในการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย อัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ให้คิดเท่ากับร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่งต่อปี การให้ กู้ ยื ม เงิ น แก่ ส ถาบั น การเงิ น นอกจากจะให้ กู้ ยื ม โดยทํ า สั ญ ญากู้ ยื ม แล้ ว ธนาคาร แห่งประเทศไทยอาจให้กู้ยืมโดยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินผู้กู้เป็นผู้ออกก็ได้ การจัด สรรวงเงิน ในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบัน การเงิน ให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด มาตรา ๖ เงินที่สถาบันการเงินได้รับจัดสรรตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ต้องนําไปใช้ในการ ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด (๑) บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนา ที่อยู่อาศัย สถานที่ทํางาน สถานที่ประกอบอาชีพหรือสถาน ประกอบธุรกิจหรือการค้าของตนอยู่ในเขตพื้นที่อุทกภัย (๒) ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในเขตพื้นที่อุทกภัย มาตรา ๗ การให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย สถาบันการเงินต้องดําเนินการ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) วงเงินที่ให้กู้ยืมต้องเป็นเงินในส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ในสัด ส่ว นไม่เกิน ร้อยละเจ็ด สิบของวงเงิน ดังกล่าว และสถาบัน การเงิน ออกเงินสมทบในส่ว นที่เหลือ จนเต็มวงเงินที่ให้กู้ยืม (๒) สถาบันการเงินต้องคิดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินตาม (๑) ไม่เกินร้อยละสามต่อปี มาตรา ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณากําหนดจํานวนวงเงินที่จะจัดสรรให้แก่สถาบัน การเงินแต่ละแห่งในการกู้ยืมเงิน สถาบันการเงินที่ได้รับการจัดสรรเงินตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคําขอกู้ยืมเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๙ ในกรณีที่สถาบัน การเงิน ได้รับชําระคืน ต้น เงิน กู้จากผู้ที่ได้รับความเสีย หายจาก อุทกภัย ให้ดําเนินการส่งคืนต้นเงินกู้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินต้องชําระคืน เงิน ที่ ไ ด้ กู้ ยื ม ตามพระราชกํ า หนดนี้ ภ ายในเวลาห้ า ปี นั บ แต่ ไ ด้ รั บ เงิ น กู้ จ ากธนาคารแห่ ง ประเทศไทย แต่ต้องไม่เกินวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๓ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

มาตรา ๑๐ การยื่นคําขอกู้ยืมเงินตามมาตรา ๘ วรรคสอง และการชําระคืนเงินกู้ตามมาตรา ๙ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด มาตรา ๑๑ มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙ (๔) แห่งพระราชบัญญัติธ นาคารแห่ง ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับกับการให้กู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตามพระราชกําหนดนี้ มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกําหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๔ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับ นี้ คือ เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เ กิด วิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างรุนแรง รัฐบาลมีความจําเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ เยียวยาความเสียหายให้แก่ ประชาชน รวมทั้งดําเนินการวางระบบการบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ โดยการจัดให้มีการลงทุน ในโครงสร้างสาธารณูป โภคพื้นฐานที่จําเป็น นอกจากนี้ ผลจากการเกิดความเสียหายนั้นยัง ทําให้ร ะบบ เศรษฐกิจ ของประเทศไทยโดยรวมเริ่มถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อ ความเชื่อมั่นของสาธารณะ จึงจําเป็นต้องมีมาตรการฟื้นฟูประเทศ ทั้งการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย การป้อ งกันภัยพิบัติที่ใกล้จ ะถึง และการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ลงทุน ซึ่งการดําเนินการตามมาตรการ ดังกล่าวจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจํานวนมากและต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง และในช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมาได้มีการดําเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาสภาพความเป็นอยู่ สถานประกอบการ การประกอบธุรกิจ กิจการ และทรัพย์สินต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาพหรือภาวะปกติดังเดิม แต่โดยที่ประชาชนและผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบอุทกภัยมีจํานวนมาก และมีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ทางการเงินเป็นพิเศษ สมควรกําหนดให้มีการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่บุคคลดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะคราว เพื่อให้สถาบัน การเงินนําไปใช้ในการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยต่อไปในอัตราดอกเบี้ยต่ํา อันเป็นการ ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินที่ก่อ ให้เ กิดประสิทธิภาพและประสิท ธิผ ลในการฟื้นฟูเ ศรษฐกิจ ของประเทศ และสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจโดยรวม หากการดําเนินการดังกล่าวล่าช้า ความเสียหายทางเศรษฐกิจ อาจจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็น รีบ ด่วนอันมิอ าจจะหลี ก เลี่ยงได้ เพื่อ ประโยชน์ในอันที่จ ะรัก ษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๕ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

พระราชกําหนด
ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงการบริหารหนี้เงิน กู้ที่กระทรวงการคลัง กู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พระราชกํ า หนดนี้มี บ ทบั ญ ญัติ บ างประการเกี่ย วกั บ การจํ า กั ด สิท ธิ แ ละเสรี ภ าพของบุ ค คล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกํ า หนดนี้ เ รี ย กว่ า “พระราชกํ า หนดปรั บ ปรุ ง การบริ ห ารหนี้ เ งิ น กู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกําหนดนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกําหนดนี้

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๖ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

มาตรา ๔ ให้ ก องทุ น มี ห น้า ที่ แ ละรับ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บการชํ า ระคื น ต้ น เงิ น กู้แ ละการชํ า ระ ดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ดังต่อไปนี้ (๑) หนี้ เ งิ น กู้ ที่ ก ระทรวงการคลั ง กู้ ต ามพระราชกํ า หนดให้ อํ า นาจกระทรวงการคลั ง กู้ เ งิ น และจัด การเงิ น กู้เพื่ อช่ว ยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้น ฟูแ ละพัฒ นาระบบสถาบั น การเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ยังคงมีอยู่ (๒) หนี้ เ งิ น กู้ ที่ ก ระทรวงการคลั ง กู้ ต ามพระราชกํ า หนดให้ อํ า นาจกระทรวงการคลั ง กู้ เ งิ น และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ยังคงมีอยู่ การจัดลําดับการชําระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยเงินกู้ และการกําหนดจํานวนเงินที่จะต้องชําระ ตามพระราชกําหนดนี้ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังแจ้งให้ทราบ ทั้งนี้ โดยให้คํานึงถึงจํานวนเงิน หรือสินทรัพย์ในบัญชีตามมาตรา ๕ ที่อาจนํามาชําระหนี้ได้ หนี้เงินกู้ตามมาตรานี้ ให้หมายความรวมถึงหนี้ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ด้วย มาตรา ๕ เพื่อประโยชน์ในการดําเนิน การตามมาตรา ๔ ให้บัญ ชีสะสมเพื่อการชําระคืน ต้น เงิน กู้ชดใช้ ค วามเสีย หายของกองทุน เพื่ อการฟื้น ฟูและพัฒ นาระบบสถาบัน การเงิน ซึ่งจัด ตั้ง โดย พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัด การเงิน กู้เพื่อช่ว ยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้น ฟู และพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ มีวัต ถุประสงค์เพื่อการชําระคืนต้น เงิน กู้ ตามมาตรา ๔ และการชําระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ดังกล่าว เงินหรือสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้นําส่งเข้าหรือรับขึ้นบัญชีตามวรรคหนึ่ง (๑) เงินหรือสินทรัพย์ที่นําส่งหรือโอนตามมาตรา ๗ (๒) เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนําส่งตามมาตรา ๑๐ (๓) เงินหรือสินทรัพย์ที่กระทรวงการคลังโอนตามมาตรา ๑๑ (๔) ดอกผลของเงินหรือสินทรัพย์ตาม (๑) (๒) และ (๓) มาตรา ๖ รายได้ของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นเงินหรือสินทรัพย์ในบัญชีตามมาตรา ๕ มิให้นําไปจัดสรรเป็น เงิน สํารองหรือ เป็น เงิน นํา ส่ง รัฐ ตามกฎหมายว่า ด้ว ยธนาคารแห่ง ประเทศไทย หรื อ กฎหมายอื่ น ใด และให้ ธ นาคารแห่ ง ประเทศไทยมี ห น้ า ที่ ดู แ ลรั ก ษา ตลอดจนจั ด การเงิ น หรื อ สิ น ทรั พ ย์ ดั ง กล่ า วและแปลงเงิ น ตราต่ า งประเทศเป็ น เงิ น บาท เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ต้ น เงิ น กู้ และดอกเบี้ย เงินกู้ตามพระราชกําหนดนี้ รวมทั้งให้มีอํานาจสั่งจ่ายเงิน จากบัญชีดังกล่าวให้แก่กองทุน เพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ชําระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ตามมาตรา ๔ (๒) ชําระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา ๔ (๓) จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินการตาม (๑) และ (๒) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนด

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๗ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

มาตรา ๗ ในระหว่างการชําระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา ๔ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในแต่ละปี ให้ธ นาคารแห่ง ประเทศไทยนําส่งเงิน กําไรสุท ธิที่ต้องนําส่งรัฐตามกฎหมาย ว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบ เข้าบัญชีตามมาตรา ๕ (๒) ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจําปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลังจาก การจ่ายเมื่อสิ้น ปีเข้าบัญ ชีต ามมาตรา ๕ เฉพาะเพื่อชําระคืน ต้น เงิน กู้ต ามพระราชกําหนดให้อํานาจ กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสํารองพิเศษ (๓) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา ๕ ตามจํานวนที่คณะรัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๘ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจเรียกให้สถาบันการเงิน นําส่งเงิน เป็น อัตรา ร้อยละต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กําหนดให้สถาบันการเงินนําส่งเข้ากองทุนคุ้มครอง เงินฝากตามกฎหมายว่าด้ว ยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝาก ถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก เพื่อประโยชน์ในการชําระคืนต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยเงินกู้ให้พอเพียง ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจเรียกให้สถาบันการเงินนําส่งเงินเพิ่มขึ้นจากที่กําหนดในวรรคหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอั ต ราที่ ธ นาคารแห่ ง ประเทศไทยประกาศกําหนด แต่เมื่ อรวมกับเงิน ที่นํ าส่ง ตามวรรคหนึ่ ง แล้ ว ต้องไม่เกินอัตราร้อยละหนึ่งของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน สถาบัน การเงิน ตามมาตรานี้ หมายความว่า สถาบั น การเงิน ตามกฎหมายว่ าด้ วยสถาบั น คุ้มครองเงินฝาก มาตรา ๙ สถาบันการเงินใดไม่นําส่งเงินตามมาตรา ๘ หรือนําส่งไม่ครบภายในระยะเวลา ที่กําหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสองต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่นําส่งหรือนําส่งไม่ครบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่สถาบันการเงิน ใดไม่นําส่งเงินตามมาตรา ๘ หรือนําส่งไม่ครบ และไม่เสียเงิน เพิ่ม ตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจออกคําสั่งเรียกให้สถาบันการเงินนั้นชําระเงินดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กําหนด มาตรา ๑๐ เงินที่สถาบันการเงินนําส่งตามมาตรา ๘ และเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ ให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยนําส่งเข้าบัญชีตามมาตรา ๕ ต่อไป เงินที่สถาบันการเงินจะต้องนําส่งตามมาตรา ๘ และเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ ให้ถือว่าเป็นหนี้ อันมีบุริมสิทธิลําดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงินนั้น มาตรา ๑๑ ให้กระทรวงการคลังโอนเงินของกองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย ของกองทุน เพื่อ การฟื้ น ฟู แ ละพั ฒ นาระบบสถาบัน การเงิ น ซึ่ง จั ด ตั้ ง โดยพระราชกํ าหนดให้ อํา นาจ กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ เข้าบัญชีตามมาตรา ๕

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๘ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

เมื่อดําเนิน การตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น แล้ว ให้ยุบเลิกกองทุน เพื่อการชําระคืนต้น เงินกู้ชดใช้ ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกําหนดให้อํานาจ กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ ทั้งนี้ นับแต่วันที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด มาตรา ๑๒ ให้บทบัญญัติมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลัง กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ และบทบั ญ ญัติมาตรา ๘ วรรคสอง มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แห่ งพระราชกําหนดให้อํานาจ กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นอันสิ้นผลใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกําหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ก

หน้า ๑๙ ราชกิจจานุเบกษา

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕

หมายเหตุ :- เหตุผ ลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับ นี้ คือ เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เ กิด วิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างรุนแรง รัฐบาลมีความจําเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ เยียวยาความเสียหายให้แก่ ประชาชน รวมทั้งดําเนินการวางระบบการบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ โดยการจัดให้มีการลงทุน ในโครงสร้างสาธารณูป โภคพื้นฐานที่จําเป็น นอกจากนี้ ผลจากการเกิดความเสียหายนั้นยัง ทําให้ร ะบบ เศรษฐกิจ ของประเทศไทยโดยรวมเริ่มถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อ ความเชื่อมั่นของสาธารณะ จึง จําเป็นต้อ งมีมาตรการฟื้นฟูป ระเทศทั้ง การแก้ไขเยียวยาความเสียหาย การป้องกันภัยพิบัติที่ใกล้จ ะถึง และการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ลงทุน ซึ่งการดําเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจํานวนมากและต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง และแนวทางหนึ่งคือการต้อง ลดภาระงบประมาณเพื่อชําระดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาเพื่อช่วยเหลือการดําเนินการของกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและ พัฒ นาระบบสถาบันการเงินที่เ กิดจากการแก้ไขปัญหาวิกฤตของระบบสถาบันการเงินเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยจําเป็นต้องปรับปรุงและจัดการระบบการชําระหนี้เงินกู้ดังกล่าวเสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่เป็น ภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไป สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยกําหนดให้กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชําระคืนต้นเงินกู้และการชําระ ดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือการจัดการและฟื้นฟูสถาบันการเงิน ที่ป ระสบปัญ หาวิก ฤตทางการเงินเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ธนาคารแห่ง ประเทศไทยเป็นผู้กํากับ ดูแล การดําเนินงานของกองทุนดังกล่าว ตลอดจนปรับปรุงการจัดหาแหล่งเงินในการนําไปชําระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงหลักเกณฑ์และแหล่งเงินในการชําระคืนต้นเงินกู้ที่กําหนดไว้แต่เดิม พร้อมกับเพิ่มเติม การเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินเพื่อนําไปใช้ในการดําเนินการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ภายใต้หลักการในการ รักษาวินัยการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งการปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ดังกล่าวจะทําให้รัฐบาลมีงบประมาณ รายจ่ายไปสมทบกับเงินอื่นที่จะนําไปใช้ในการบูรณะ ฟื้นฟู และพัฒนาประเทศได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็น การสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงินการคลังของประเทศโดยรวม และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็น รี บ ด่ ว นอั น มิ อ าจหลี ก เลี่ ย งได้ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นอั น ที่ จ ะรั ก ษาความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ ของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้

You might also like