Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

สรุปย่อวิชากฎหมายล้มละลาย ตอนที่ 4

นิติศาสตร์เชียงใหม่ 11

สรุปย่อวิชากฎหมายล้มละลายนี้ ผมได้ทำาขึ้น โดยการรวบรวมมาจากความเข้าใจส่วนตน โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์ผู้มีความรู้


หลายท่าน ผมได้นำาสรุปย่อนี้ไปใช้ในการทบทวนก่อนสอบ และสามารถสอบเป็นเนติบัณฑิตตามที่มุ่งหวังไว้ได้ จึงคิดว่าควรจะนำา
มาเผยแพร่ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักศึกษา สำาหรับใช้ทบทวนในการสอบครับ

การประชุมเจ้าหนี้
1.หลักเบื้องต้น
มาตรา 41 วางหลักว่า ถ้าไม่ได้ตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้ การกระทำาใด ๆ ที่ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ก่อน
นัน้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้

2.การประชุมเจ้าหนี้
การประชุมเจ้าหนี้มี 2 ประเภท
1.1.การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก
1.2.การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น

3.การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก
มาตรา 31 วางหลักว่า
1.เมื่อศาลได้มีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว
2.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุดเพื่อ
2.1.ปรึกษาว่าจะควรยอมรับคำาขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

ข้อสังเกต ให้โยงมาตรา 45 ว.ท้ายที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะ


ยอมรับคำาขอหรือไม่
2.2.ปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป
3.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ข้อสังเกต หากเจ้าหนี้อื่นไม่ทราบ แต่หากมีการลงมติแล้ว เจ้าหนี้ก็ต้องยอมรับผลในมติด้วย เช่นตามมาตรา 56 ว.1 “การ


ประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำาระได้”
4.การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ๆ
การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ๆ นัน้ อาจเกิดก่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกก็ได้ เช่น ตามมาตรา 120 กรณีที่มีคำาสั่งพิทักษ์
ทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำาเนินธุรกิจของลูกหนี้นั้นเองเพื่อชำาระสะสางธุรกิจนั้นให้เสร็จไปหรือจะตั้งบุคคลใดหรือ
ลูกหนี้เป็นผู้จัดการโดยกำาหนดอำานาจหน้าที่ไว้ก็ได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้แล้ว
มาตรา 32 วางหลักว่า
1.การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นนั้น
2.เกิดเมื่อ
2.1.ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกตามเวลาที่เห็นสมควรหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือ
2.2.ตามที่ศาลสั่ง หรือ
2.3.เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งมีจำานวนหนี้รวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำานวนหนี้ที่ได้มีการยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ไว้ได้ทำา
หนังสือขอให้เรียกประชุม
3.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งกำาหนดวันเวลา และสถานที่กับหัวข้อประชุมไปยังเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ไว้
ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน และในกรณีที่ยังไม่พ้นกำาหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ได้นั้น ให้แจ้งไปยังเจ้าหนี้ที่ยังไม่
ได้ยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ แต่มีชื่อในบัญชีซึ่งลูกหนี้ได้ทำายื่นไว้ หรือปรากฏตามหลักฐานอื่นด้วย

5.หลักเกณฑ์การประชุมเจ้าหนี้

5.1.ประธานที่ประชุม
มาตรา 33 วางหลักว่า
1.ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุมเจ้าหนี้ทุกคราว
2.ให้มีรายงานการประชุมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บไว้เป็นหลักฐาน

5.2.การออกเสียงมติ
5.2.1.มาตรา 34 วางหลักว่า
1.ผูม้ ีสิทธิออกเสียงลงมติ คือ
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็น
1.1.เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำาระหนี้ได้
ข้อสังเกต ให้พิจารณาตามมาตรา 94 ดังนี้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำาระหนี้ได้ ถ้า
1.มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
2.หนี้เงินเท่านั้น
3.แม้ว่าหนีน้ ั้นยังไม่ถึงกำาหนดชำาระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม
เว้นแต่
(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
(2) หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำาขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้
ยอมให้กระทำาขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำาเนินต่อไปได้
1.2.ได้ยนื่ คำาขอรับชำาระหนี้ไว้แล้วก่อนวันประชุมนั้น
จึงเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย
2.วิธีการออกเสียง
2.1.เจ้าหนี้จะออกเสียงด้วยตนเอง หรือ
2.2.มอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทน
ข้อสังเกต มาตรา 48 มีบทบัญญัติที่พิเศษว่า ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำาขอประนอมหนี้นั้น เจ้าหนี้ที่ไม่
มาประชุมจะออกเสียงโดยทำาเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับหนังสือนัน้ ก่อนวันประชุม ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเจ้าหนี้นั้นได้มาประชุมและออกเสียงด้วยตนเอง
3.ข้อห้ามลงมติ
ข้อปรึกษาใดที่ทำาให้เจ้าหนี้หรือผู้แทนหรือผู้มีหุ้นส่วนกับเจ้าหนี้หรือผู้แทนได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของลูกหนี้
โดยตรงหรือโดยอ้อม เจ้าหนี้หรือผู้แทนจะออกเสียงลงคะแนนไม่ได้ เว้นเสียแต่ประโยชน์ที่ควรได้รับอยู่แล้วตามส่วนในฐานะ
เป็นเจ้าหนี้
5.2.2.มาตรา 35 วางหลักว่า
1.ในการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้คราวหนึ่ง ๆ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถามเจ้าหนี้ที่มาประชุมนั้นว่า ผูใ้ ด
จะคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้ที่ศาลยังไม่ได้มีคำาสั่งรับคำาขอรับชำาระหนี้รายใดบ้างหรือไม่
2. หากว่า
2.1.ไม่มีผู้ใดคัดค้านก็ให้นับคะแนนเสียงสำาหรับเจ้าหนี้รายนั้น
2.2.แต่ถ้ามีผคู้ ัดค้านคำาขอรับชำาระหนี้รายใด ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งให้ออกเสียงในจำานวนหนี้ได้เท่าใด
ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ายังสั่งในขณะนั้นไม่ได้ ก็ให้หมายเหตุ การขัดข้องไว้ แล้วให้เจ้าหนี้ออกเสียงไปพลางก่อน โดยมี
เงื่อนไขว่า ถ้าต่อไปเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ออกเสียงเพียงใด การออกเสียงของเจ้าหนี้นั้น ให้ถือว่าเป็นอันใช้ไม่ได้เพียง
นัน้ ซึ่งคำาสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น อาจอุทธรณ์ไปยังศาลได้

ข้อสังเกต อย่างไรก็ตามการคัดค้านการออกเสียงลงมติจะกระทำาได้ต่อเมื่อศาลยังไม่มีคำาสั่งรับคำาขอรับชำาระหนี้
ของเจ้าหนี้นั้น

5.3.มติและมติพิเศษ

“มติ” หมายความว่า
1.มติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำานวนหนี้ข้างมาก(ของจำานวนหนี้ทั้งหมด โดยพิจารณาหนี้เฉพาะเจ้าหนี้ที่เข้า
ร่วมเป็นองค์ประชุมในวันนั้นเท่านั้น)
2.ซึ่งเจ้าหนี้นั้นได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และ
ได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

“มติพิเศษ” หมายความว่า
1.มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจำานวนหนี้เท่ากับสามในสี่(ของจำานวนหนี้ทั้งหมด โดยพิจารณาหนี้
เฉพาะเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมเป็นองค์ประชุมในวันนั้นเท่านั้น)
2.ซึ่งเจ้าหนี้นั้นได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้ และ
ได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

5.4.การเพิกถอนมติ
มาตรา 36 วางหลักว่า
1.เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า
1.1 มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย หรือ
1.2.ประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย
2.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้องต่อศาล (ต้องยื่นต่อศาลภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้า
หนี้ลงมติ)
3.ศาลอาจมีคำาสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้

You might also like