Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 35

ทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

บรรยายโดย ดร. มงคล นาฏกระสูตร


(Sociological and Anthropological Theory)
ความรู้เบื้องต้นทฤษฎีทางสังคมวิทยา (26/5/48)
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา (Social Theory) เกี่ยวกับ 2 ศัพท์ คือ
ทฤษฎี Theory
ทางสังคม Social
ทฤษฎี หมายถึง “กลุ่มของข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนามธรรมและตรรกะที่พยายามอธิบายความ
สั ม พั น ธ์ ใ นระหว่ า งสถานการณ์ นั้ น ๆ (A set of abstract and logical propositions which
attempts to explain relationship between the phenomena)
อั บ ราฮั ม คั บ ลาน (Abraham Kaplan) กล่ า วว่ า “ทฤษฎี เ ป็ น วิ ธี ใ นการทำา ความเข้ า ใจต่ อ
สถานการณ์กดดัน เพื่อให้เรานำา กลุ่มความคิดที่เป็นสาระมาปรับและเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่ต้องการ
อย่างมีประสิทธิภาพ”
ทฤษฎีจึงเปรียบเสมือน เครื่องมือสำาหรับตีความหมาย วิพากษ์ ตั้งคำาขึ้นมารองรับ ปรับเปลี่ยน
ไปตามข้อมูลที่คน้ พล เพื่อสร้างรูปแบบนำาไปสู่การค้นพบใหม่ ๆ เพื่อตั้งเป็นคำาที่ถาวรต่อไป
ในการสร้างทฤษฎีไม่ใช่เป็นเพียงเรียนรู้จากประสบการณ์อย่างเดียว แต่เป็นการเอาความคิดไปใช้
แทนประสบการณ์สำาหรับการเรียนรู้
สัตว์ทั่วไป ใช้กฎตามกฎธรรมชาติ ประสบการณ์ตรง
นักทฤษฎี รู้ทฤษฎีตามธรรมชาติ ความรู้แทนประสบการณ์
ความหมายที่สำาคัญของคำาว่า “ทฤษฎี”
1. ความคิดที่เชื่อมโยงเป็นตรรกะประกอบกันเข้ากับข้อเสนอแนะ โดยการสังเกต (นักทฤษฎี)
ประกอบแล้วตั้งเป็นทฤษฎี
ตรรกะ
ทฤษฎี ประกอบกัน ข้อเสนอแนะนำา ทฤษฎี
การสังเกต
2. ทฤษฎีต้องประกอบไปด้วยความเป็นสากล (Generalization) จากข้อเท็จจริงที่รู้จักกันดีและ
หลักสากลนั้นอธิบายได้
ข้อเท็จจริง
ทฤษฎี ความเป็นสากล อธิบาย

3. ทฤษฎี คือ กลุ่มความคิดต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขดังต่อไปนี้


3.1 ข้อคิดเห็นต้องมีคำาอธิบายที่ชัดเจน
3.2 ข้อคิดเห็นต้องสอดคล้องซึ่งกันและกัน
3.3 หลักสากลควรมาจากการอนุมาน
3.4 ต้องการแสดงแนวทางการสังเกตและความเป็นสากลเพื่อขยายขอบเขตแห่งความรู้
ต่อไป
องค์ประกอบของทฤษฎี (2/6/48)
1. ความคิดรอบยอด (Concepts)
2. ตัวแปร (Variables)
3. ประโยค (Statements)
4. รูปแบบ (Formats)
ทฤษฎี 4 รูปแบบ
1. ทฤษฎีในแบบวิเคราะห์ (Analytic Theories) ใช้ตรรกะประกอบไปด้วยประโยค (Axiom)
โดยนำามาหาความสัมพันธ์กันด้วยเหตุผล
2. ทฤษฎีแบบบรรทัดฐานหรืออุดมการณ์ (Normative Theories) ทฤษฎีแบบนี้มาจากแนวคิด
ทางจริยธรรม เช่น ทฤษฎีของ Marx ในเรื่อง ชนชั้น เป็นต้น
3. ทฤษฎีแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Theories) ใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ จนได้ผลเป็น
หลักสากล และพิสูจน์จนมั่นใจแล้วจึงตั้งเป็นทฤษฎี
4. ทฤษฎีแบบปรัชญา (Metaphysical Theories) ใช้แนวคิดปรัชญาเป็นตัวตั้งทฤษฎี ส่วนใหญ่
ไม่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ใช้แต่ปรัชญาเท่านั้น
สังคมวิทยากับสังคมศาสตร์ (Sociology & Social Science)
ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 หมวด
1. วิทยาศาสตร์ (Science)
1. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) หรือ (Pure Science) วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มี
2 อย่างคือ
1.1 วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ศาสตร์ที่เกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวติ เช่นเคมี ฟิสิกส์
อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์ เป็นต้น
1.2 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น ชีววิทยา พฤกษศาสตร์
สัตว์วิทยา ฯลฯ
2. วิ ท ยาศาสตร์ ป ระยุ ก ต์ (Applied Science) การนำา วิ ท ยาศาสตร์ ธ รรมชาติ ม าใช้ ใ ห้ เ ป็ น
ประโยชน์ ใ นชี วิ ต ประจำา วั น เช่ น แพทย์ ศ าสตร์ วิ ศ วกรรมศาสตร์ คอมพิ ว เตอร์ แ ละ
เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ
ข. สั ง คมศาสตร์ (Social Science) ศาสตร์ ข องมนุ ษ ย์ ที่ ร วมกั น เป็ น หมู่ เ ป็ น เหล่ า การฝึ ก
พฤติกรรมของคนทั้งปัจ เจกชนและกลุ่มบุคคล เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ จิตวิทยา
ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
ในสังคมศาสตร์แบ่งเป็น 2 ด้าน
1. การศึกษาเฉพาะด้าน (Specific Study) เช่น ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
เป็นต้น
2. การศึกษาทั่วไป (General Study) เช่น สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา เป็นต้น
สังคมวิทยาในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ (Sociology as science)
วิทยาศาสตร์ คือ มรรควิธีในการได้มาซึ่งความรู้ อาจนำาไปใช้ได้ทุกหนทุกแห่ง ความรู้จากความ
จริง วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ มากและเป็น การแสวงหาความรู้จ ากข้อ เท็ จจริ ง วิทยาศาสตร์ จึง เป็นที่
ยอมรับโดยทั่วไป
หน้าที่ของวิทยาศาสตร์
1. เป็นกระบวนการ วิธีจัดระเบียบ (Organize) และแยกประเภทสิ่งต่าง ๆ (Typology) จัด
หมวดหมู่
2. การพยากรณ์เหตุการณ์และอรรถาธิบาย (Predication and Explanation)
3. ความเข้าใจ (Understanding) สามารถแสดงกลไกเหตุที่เชื่อมต่อการเปลี่ยนแปลงในความ
คิดหนึ่งกับอีกความคิดหนึ่งอย่างชัดเจน
4. การควบคุม (Control) การสามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้เนื่องมาจากการศึกษาเหตุและ
อิทธิพลของตัวแปรนั้น
สังคมวิทยาใช้หลักต่อไปนี้
1. มโนทัศน์ (Concept) ความคิดรวบยอด คือ แนวคิดที่ตกผลึกผ่านกระบวนการ ใ ห้
ความหมาย แยกแยะ ตีความ สรุปรวบยอด เช่น บทบาท
สถานภาพ ความขัดแย้ง พฤติกรรมร่วม ฯลฯ
2. ตัวแปร รูปแบบของมโนทัศน์ คุณลักษณะของมโนทัศน์ ๆ แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยทาง
สังคม และต้องอาศัยมโนทัศน์หลักเท่านั้น มี 2 ตัวแปร คือ

ตัวแปรหลัก ตัวแปรตาม

เช่น สถานภาพ มีมาแต่กำาเนิด มีมาในภายหลัง


สถานภาพเป็นตัวแปรหลัก ส่วนมีมาในภายหลัง เป็นตัวแปรตาม
3. ข้ อ สรุ ป รวม (Generalization) การที่ มโนทั ศ น์ อ ย่ า งน้ อ ย 2 มโนทั ศ น์ ขึ้ น ไปเข้ า กั น ได้ แ ละ
สอดคล้องกัน เป็นข้อความที่แสดงสัมพันธภาพระหว่างมโนทัศน์อย่างสมเหตุสมผล
ขยาย
เช่น ครอบครัว
เดียว
4. ทฤษฎี เข้ากันโดยนัยสัมพันธ์กัน การผสมผสานของหลักสากลภาพเป็นการอธิบายเป็นระบบ
ตรรกนัย โดยไม่มีความขัดแย้งกัน
ศาสตร์ที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ค้นคว้าหาความจริง (Empirical Relevance) วิทยาศาสตร์มุ่งค้นคว้าแต่ความจริงเท่านั้น
โดยใช้การสังเกต ทดลอง เป็นหลัก
2. เป็ น กลาง (Neutrality) ไม่ มี ก ารบอกว่ า สิ่ ง นี้ ดี ก ว่ า สิ่ ง นั้ น ในทางวิ ท ยาศาสตร์ อ ธิ บ าย
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความเป็นกลาง นักวิทยาศาสตร์จะสนใจเฉพาะเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่มิได้ต้อง
ศึกษาให้ทั่วและครอบคลุม
3. ปราศจากอคติ (Free Value) ยิ่งให้อารมณ์และค่านิยม ส่วนตัวลงไปมากเพียงการศึกษานั้น
ยิ่งกว่าความจริงเข้าไปมากเพิ่มขึ้น
ความจริงทางสังคม
1
2
3
4
5
6
7
8
9
0
1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 ค่านิยมส่วนตัว
4. ต้องเพิ่มเติมความรู้ต่อไปข้างหน้า (Accumulation) การศึกษาแบบนี้ต้องเป็นการต่อยอดมา
จากการศึกษาครั้งก่อน ไม่ใช่ผุดขึ้นมาแบบเสร็จทันทีเลยแบบไม่มีหัวไม่มีหางไม่ได้
5. มีความเอกเทศและเป็นนามธรรม (Abstractness) ความคิดรวบยอด (Concepts) ต่าง ๆ
ต้องมีลักษณะเอกเทศของตนเองทุกเวลาและสถานที่ เช่น คำาว่า “ระบบสังคม” (Social system) เป็น
นามธรรมและเอกเทศชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือไม่เกี่ยวพันกับความคิดอื่น
6. มีความเป็นสากล (Generalization) ทฤษฎีและศาสตร์ต้องชัดเจนและครอบคลุมทั่วไป ไม่
เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นที่เข้าใจโดยสากล
ลักษณะของปรากฏการณ์ทางสังคม
หลักจากอธิบายตัวทฤษฎีไปแล้ว เราควรจะรู้เรื่องของสังคมหรือ ปรากฏการณ์ทางสังคมด้วย
ปรากฏการณ์ทางสังคมอาจจะแตกต่างจากปรากฏการณ์อื่น ๆ ด้วยลักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ความสลั บซั บซ้อ น (Complexity) ปรากฏการณ์ทางสัง คมมัก จะสลับซั บซ้อ นมาก ความ
สัมพันธ์ทางสังคมแสดงพฤติกรรมมนุษย์ทั้ง 2 ด้าน
กายภาพ ชัดเจน
มนุษย์ ซับซ้อน + ชัดเจน
2. ความหลากหลาย (Variety) ปรากฏการณ์ ท างกายภาพ แบ่ง กลุ่ ม ได้ ง่ า ย เช่ น ของแข็ ง
ของเหลว ก๊า ซ ฯลฯ ปรากฏการณ์ ทางสั ง คมกว้า งกว่า มาก ไม่มีที่ สิ้น สุ ด เช่ น เศรษฐกิ จ การเมือ ง
ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ
3. ไม่ปรากฏชัดความเป็นสากล (Absence of Universality) ทางกายภาพสามารถตั้งกฎสากล
ได้งา่ ย แต่ในทางสังคมกลับตั้งได้ยาก
4. ปรับเปลี่ยนได้ง่าย (Dynamism) ปรากฏการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว แต่
ปรากฏการณ์ทางกายไม่ค่อยปรับเปลี่ยน
5. ทำา ความเข้าใจได้ยาก (Incomprehensibility) ปรากฏการณ์ทางสังคมกว้า งและง่ ายที่ จะ
เข้าใจ คือสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ทางสังคมไม่เป็นเช่นนั้น
6. ขาดเรื่องวัตถุวิสัย (Lack of Objectivity) ปรากฏการณ์ทางกายภาพพิสูจน์ได้ทางวัตถุอย่าง
เพียงพอ แต่ปรากฏการณ์ทางสังคมขาดอย่างมากด้านวัตถุวิสัย
7. มีลักษณะในเชิงคุณภาพ (Qualitative nature) นับและวัดเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน แต่ทาง
สังคมนับและวัดเป็นตัวเลขได้ยาก
8. ยากในการพยากรณ์ การพยากรณ์ ท างวิ ท ยาศาสตร์ เ ป็ น ไปได้ ง่ า ยและชั ด เจนกว่ า
ปรากฏการณ์ทางสังคมกลับไม่ง่ายอย่างนี้
ลักษณะทฤษฎีทางสังคมวิทยา (9/6/48)
ทฤษฎีทางสังคมวิทยาอาจจะมีมากมายและหลากหลาย แต่ทฤษฎีทางสังคมวิทยาทุกทฤษฎีควร
จะมีลักษณะเฉพาะตน ทีน่ ักสังคมวิทยายอมรับโดยทั่วไปดังนี้คือ
1. องค์ความรู้ (Body of Knowledge) การเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม
ประมวล และรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหลาย มาไว้ด้วยกัน เช่น ความหมาย
ประเภท องค์ประกอบ ลักษณะ ความเป็นมา บทสรุป เป็นต้น
2. คำา อธิบาย (Explanation) เป็นคำา อธิบาย แสดงเหตุผลของปรากฏการณ์ทางสังคม เช่ น
อธิบายความขัดแย้งของกลุ่มเชื้อชาติว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งใด ไม่ใช่ชี้ว่าถูกหรือผิด เป็นต้น
3. ความถูกต้อง (Preciseness) ความถูกต้องเป็นข้อเท็จจริงทางสังคม ไม่ใช้สมมติขึ้นมาเอง
เป็นความจริงที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมโดยทั่วไป ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) สิ่ง
ที่สั มผั สได้ด้ ว ยประทาสสั มผั สทั้ ง 5 และต้ อ งเป็น วั ต ถุวิ สั ย (Objectivity) พิ สูจ น์ได้ โดยเจื อ ปนด้ว ย
อารมณ์และความรู้สึก
ความหมายของทฤษฎีทางสังคมวิทยา
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา คือ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม คำาอธิบาย
การเกิดขึ้น การดำารงอยู่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
(สัญญา สัญญาวิวัฒน์)
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา คือ การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่มนุษย์ประพฤติ มีความสัมพันธ์ และจัดตั้ง
องค์กรได้อย่างไรและเพราะเหตุใด
(Jonathan H. Turner)
ทฤษฎีทางสังคมวิทยาอาจจะอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้หลากหลายแนวทาง แต่ที่อธิบาย
เป็นแนวทางหลัก มักมี 4 ทฤษฎีด้วยกันคือ
1. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional Theory)
2. ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory)
3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory)
4. ทฤษฎีสัญลักษณ์ (Symbolic Theory)
ประโยชน์ของการใช้ทฤษฎีทางสังคม
ทฤษฎีทางสังคมทำาให้เรามองปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยความเป็นจริง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่
มองโลกด้วยอารมณ์และความรู้สึก แต่ทฤษฎีจะทำาให้เราเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริง (Real World)
ทฤษฎีที่ดีมักช่วยเราเข้าใจในสามด้านคือ
1. เข้าใจความจริง
2. อธิบายความจริง
3. ทำานายอนาคตจากความจริงนั้น
นอกจากโลกของความจริงแล้ว ยังทำาให้เราเข้าใจโลกทางสังคม (Social World) อีกด้วย แต่ละ
จะให้ความกระจ่างชัดต่อข้อเท็จจริงทางสังคม (Social Reality) ในแง่มุมนั้นอย่างดี จากการคิดและ
สร้างทฤษฎีในแง่มุมต่าง ๆ ดังกล่าว ทำาให้เราสามารถเข้าใจความจริงทางสังคมที่หลากหลายได้ดีขึ้น

ผ่าน ความเข้าใจ
แง่มุมทางสังคม ทฤษฎี โลกทางสังคม
เฉพาะด้าน
ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับทฤษฎี
1. การค้ น พบความจริ ง ล้ ว น ๆ ไม่ส ามารถนำา มาใช้ ไ ด้ ความจริ ง ต้ อ งถู ก ตี ค วามวิ เ คราะห์
ทำานาย ฯลฯ จึงสามารถนำาเอาใช้ได้จริง เครื่องมือในการทำาเช่นนั้น มีเพียง “ทฤษฎี” เท่านั้น
2. ทุ ก ทฤษฎี มั ก สร้ า งภาษาของตนเอง (Jargon), ศั พ ท์ เ ฉพาะทาง (Technical) เพื่ อ สร้ า ง
ขอบเขตของการศึกษา และแยกประเภทคนที่รู้กับคนที่ไม่รู้ ให้ปรากฏชัด ทฤษฎีจึงมีความยากและซับ
ซ้อนในตัวเองเสมอ
3. การนำาทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ เป็นสิ่งจำาเป็นและต้องกระทำาการเชื่อมต่อระหว่าง Concept กับ
ประสบการณ์ (experience) จึงเป็นงานหลักในทางวิชาการ
4. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ได้ปรับนึกศึกษาให้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงอย่างสมบูรณ์ ทั้งด้าน
ทฤษฎี และปฏิบัติที่มีอยู่ในสังคม
5. ทฤษฎีทำา ให้สามารถมองสถานการณ์ที่ซ่อนอยู่ (Implicit) ให้ออกมาเป็นสถานการณ์ที่เห็น
ชัดเจน (Explicit) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีกับนักทฤษฎีทางสังคมวิทยา
ทฤษฎีทุกทฤษฎีล้วนมีนักคิดและพัฒนามาเป็นลำา ดับ ทฤษฎีทางสังคมที่ควรเรียนรู้มี 2 สำานัก
(Schools)
1. Classical Theory ทฤษฎีแนวคลาสิก หรือทฤษฎีมาตรฐาน เป็นทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของ
ทฤษฎีสมัยใหม่ทุกทฤษฎี หรืออีกมุมหนึ่งคือเป็นทฤษฎีเก่าแก่ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก และสืบทอดจนมาถึงสมัย
ปัจจุบัน มีคนคิดก่อนแล้ว มีคนคิดต่อ ๆ มาจนถึงยุคปัจจุบัน
2. Contemporary Theory ทฤษฎีร่วมสมัยหรือทฤษฎีสมัยใหม่ เป็นทฤษฎีในยุคปัจจุบัน อาจ
จะเป็นทฤษฎีใหม่ล้วน ๆ ก็ได้ หรือเป็นการผสมผสานแนวคิดที่มาจากทฤษฎีคลาสิกมาจนถึงปัจจุบันก็ได้
เราเรียกทฤษฎีอย่างนี้อีกอย่างว่า “Post-modern Theory” ก็ได้
นักทฤษฎี (Theorists) ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่เช่นกันคือ
1. The Classical Theorists นักทฤษฎียุคคลาสิกเป็น ผู้ริเริ่มและก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาและ
ทฤษฎีทางสังคม จนนักวิ ชาการทั้ งในสาย (in the field) และนอกสาย (out of the
field) ยอมรับและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก ทีจ่ ะมาแนะนำาในที่นี้ได้แก่
1) Auguste Comte 2) Emile Durkheim
3) Max Weber 4) Karl Marx
5) Herbert Spencer 6) George Simmel
7) Wilfredo Pareto etc.
2. The Contemporary Theorists นักทฤษฎีร่วมสมัย ยุคปัจจุบันในที่นี้ได้แก่
1) Robert Merton 2) Talcott Parson
3) Goffman 3) Coolney
5) Mead
ข้อสังเกต หนึ่งทฤษฎี อาจจะมีนักทฤษฎีหลายคนและหลายยุคคิดมาเป็นทอด ๆ ตามลำาดับก็ได้
หรือนักทฤษฎีร่วมสมัย ยุคปัจจุบันในที่นี้ก็ได้
Theorist
Theory Theorist
Theorist
Theory
Theorist Theory
Theory
กำาเนิดของแนวคิดทางสังคมวิทยา
สั ง คมวิ ท ยามี อ ายุ เ พี ย ง 20 ปี เ ท่ า นั้ น ออกั ส ต์ คองต์ (August Comte) สร้ า งคำา ว่ า
“สังคมวิทยา” (Sociology) เป็นคนแรก จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสังคมวิทยางานแรกของท่านมีชื่อว่า
(The Course of Positive Philosophy) (วิ ช าปรั ช ญาทางบวก) ตี พิ ม พ์ ใ นปี ค.ศ. 1830 – 1842,
หนังสือได้สะท้อนข้อผูกมัดอย่างมั่นคงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) คือวิธีการที่นำา
ไปใช้การค้นคว้ากฎธรรมชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงปรากฏการณ์ทางสังคมด้วย ความจริงทางสังคม (Social
Reality) ได้ถูกแยกออกมาจากความคิดในระดับคนธรรมดา
Scientific law
Social Reality Principle law Individual

ทฤษฎีของ Comet ได้กลายเป็นพื้นฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ของโครงสร้างทางสังคม


หรือความจริงสังคม สังคมวิทยาได้เริ่มต้นในการศึกษาทางด้านวิทยาตั้งแต่นั่นมา
แนวคิดทางสังคมก่อนจะมาเป็นสังคมวิทยา
ในศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาได้เน้นบทบาทของเหตุผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และการจัดตั้ง
กฎหมายและรัฐขึ้น การกฎแห่งเหตุผลนี้เองเป็นหมายเหตุสำาคัญต่อความคิดฝังหัว โดยเฉพาะที่อธิบาย
ความเชื่อทางศาสนาในสมัยกลาง ความคิดทางสังคมถูกครอบงำา โดยความเชื่อทางศาสนา ประมาณ
400 ปีก่อนค.ศ. คองต์คิดสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาในฝรั่งเศสอิบราฮิ ม คาลดุ น (Ibm Kaldun) ชาว
อาหรั บ ได้ ส ร้ า งแนวคิ ด เรื่ อ ง “Contrast” การเปรีย บเที ยบของเผ่า ชน เขาอธิบายกระบวนการทาง
ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเจริญ และความเสื่อมของอารยธรรมทีใ่ ช้การเปรียบเทียบความเจริญรุ่งเรือง
ด้านอารยธรรม เป็นผลผลิตของสังคมที่ตั้งถิ่นฐาน มาจากความชอบในเรื่องความหรูหรา สะดวกสบาย
ระบบการใช้อำา นาจทางการเมือ งเป็นศูน ย์ก ลางความเป็น ปึก แผ่ น (Solidarity) อารยธรรมคนเร่ ร่ อ น
(nomadic people) ถูกทดแทนด้วยระบบนี้และหมุนเวียนใช้อารยธรรมนี้กนั ไปทั่ว
แนวคิดของคาลดุน มีสีสันด้วยมรดกแห่งวัฒนธรรมอาหรับ แต่เขาไม่คิดแต่เฉพาะจากอาหรับ
เท่านั้น ยังได้คิดสร้างทฤษฎีที่เป็นสากลต่อไปอีกด้วย
พลังทางสังคมในพัฒนาการของทฤษฎีสังคมวิทยา
การพัฒนาทฤษฎีอยู่บนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมทางสังคมในยุคนั้น ๆ โดยมีเงื่อนไขทางสังคม
ทีส่ ำาคัญดังต่อไปนี้
ก. การปฏิวัติทางการเมือง (Political Revolution) ตั้งแต่ปี 1789 – ศตวรรษที่ 19 มีการปฏิวัติ
ในประเทศฝรั่งเศส เป็นปัจจัยโดยตรงในการสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา การปฏิวัติที่ขยายผลกว้างออกไป
ทั้ ง ฝ่ า ยดี ฝ่ า ยเสี ย แต่ สิ่ ง ที่ ดึ ง ดู ด นั ก สั ง คมวิ ท ยา กลั บ เป็ น ด้ า นลบ (negative effect) ในการ
เปลี่ยนแปลง นักทฤษฎีสะท้อนความคิดต่อสังคมใน 2 ด้านคือ
1. การจลาจล (Chaos)
2. การไร้ระเบียบ (Disorder)
สภาพการเช่นนี้นำา สังคมไปสู่ความวุ่นวาย สับสน และเสื่อมโทรม พวกเขาจึงคิดหาทาง เพื่อ
แก้ไข ซ่อมแซมในยุคนั้น นักปราชญ์หลายท่านคิดอยากให้สังคมกลับไปสู่ยุคโบราณเหมือนเก่า แต่นัก
ทฤษฎีหัวใหม่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะผสมผสานทั้งเก่าและใหม่ได้ จึงคิดหาทางสร้างความคิดเป็น
ระเบียบในสังคมขึ้น ความสนในเรื่องการจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization) มีมาจนถึงทุกวัน
นี้ และกลายเป็นทฤษฎีหลักของหลาย ๆ ทฤษฎีทางสังคมวิทยา
ข. การปฏิวัติอุตสาหกรรมและกำาเนิดของทุนนิยม (The Industrial Revolution and the Rise
of Capitalism) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 – 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้เปลียนซีกโลกตะวันตกจากสังคม
เกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตหาหกรรมเต็ มรูปแบบ ประชาขนทิ้งไร้ ทิ้ง นาเข้า มาสู่ เ มือ งทำา งานในโรงงาน
โรงงานก็พยายามเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นเทคโนโลยีแทน ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่เกิดขึ้น เพื่อ
เตรียมการบริการให้สนองกับสังคมอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นระบบทุนนิยมไปในที่สุด ในระบบเศรษฐกิจ
แบบนี้ ตลาดเสรี การค้า การแลกเปลี่ยน ก็เกิดตามด้วย มีนายทุนไม่กี่คนได้กำาไรมหาศาล ขณะที่คน
งานต้องทำางานหลักเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินเดือนเพียงเล็กน้อย เกิดการข่มขี่เอารัดเอาเปรียบทางชนชั้นขึ้น
จึงทำาให้มีการประท้วงและจัดตั้งเป็นขบวนการทางสังคม (Social Movement) ต่อสู้กับลัทธินายทุนและ
ล้มล้างระบบนีไ้ ปเสีย
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบบทุนนิยม การต่อต้านทุนนิยมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน
สังคมตะวันตก ซึ่งสะท้อนต่อจิตใจของนักสังคมวิทยาในสมัยนั้นอย่างมาก บุคคลสำา คัญ 4 ท่านที่ควร
กล่าวถึงในที่นี้ได้แก่ Karl Marx, Emile Durkheim, Max Weber, and George Simmel ล้วนได้แรง
บันดาลใจในการสร้างทฤษฎีจากสถานการณ์เหล่านี้
ค. การเกิดขึ้นของลัทธิสังคมนิยม (The Rise of Socialism) สิ่งหนึ่งที่อยู่ในขบวนการกำา จัด
ระบบทุนนิยม มีชื่อว่า “สังคมนิยม” (Socialism) นักคิดทางสังคมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเกิดขึ้นของ
สังคมนิยมในการแก้ระบบทุนนิยม
Karl Marx สนับสนุนอย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนจากทุนนิยมไปสู่สังคมนิยม โดยเน้นความรุนแรง
Max Weber กับ Emile Durkheim กลับค้ดค้านระบบสังคมนิยม แม้ว่าพวกเขาจะยอมรับใน
ระบบทุนนิยมมีปัญหาก็ตาม แต่ทั้งสองกลับแนะนำา การปฏิรูปมากกว่าการปฏิวัติทางสังคม จึงเสนอ
ทางออกแนวใหม่ที่ไม่นิยมความรุนแรงเช่น Marx
ง. ความเป็นเมือง (Urbanization) เพราะผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชาชนจึงย้ายจาก
ชนบทเข้าสู่เ มือง เพื่ อหางานทำา ในโรงงานอุ ตสาหกรรมตามเมืองใหญ่ ๆ เป็นให้เ กิด ชีวิตในเมือ งขึ้ น
ลักษณะของชีวิตในลังคมเมืองและปัญหาของคนในเมือง ได้ดึงดูดให้นักคิดทางสังคมหันมาสนใจเรื่องนี้
อย่างจริงจัง เช่น Weber กับ Simmel
จ. การเปลี่ยนแปลงด้านศาสนา (Religious Change) จากการเปลี่ยนสังคม โดยการปฏิวัติ
ทางการเมือง อุตสาหกรรม และความเป็นเมือง ได้มีผลกระทบถึงศาสนาด้วยนักทฤษฎีหลายท่านสนใจ
บทบาทของศาสนาต่ อ การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมอย่ า งมาก เช่ น Comte, Durkheim ได้ เ ขี ย น
สังคมวิทยาศาสนาไว้อย่างมากคือ
กฎศีลธรรม จริยธรรม ที่มีบทบาทต่อสังคมจากอดีตถึงปัจจุบัน Parsons and Weber ได้อุทิศ
ตนกับงานด้านนี้ โดยเฉพาะกับศาสนาของโลก
ฉ. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The Growth of Science) ในขณะสังคมวิทยากำาเนิดขึ้น
ขณะนัน้ วิทยาศาสตร์กำาลังก้าวหน้า ไม่เฉพาะในมหาวิทยาลัยอย่างเดียว แต่ทั้งสังคมก็ว่าได้ ผลิตผลจาก
วิทยาศาสตร์ ได้แก่ เทคโนโลยี มีบทบาทอย่างมากและแทรกซึมไปในทุกส่วนของสังคม วิทยาศาสตร์
มีชื่อเสียงมาก นักสังคมวิทยารุ่นแรก เช่น Comte and Durkheim จึงให้ความสนใจวิทยาศาสตร์ด้าน
สังคมอย่างมากและได้มีการนำาวิทยาศาสตร์ (Scientific Methld) มาใช้ในการศึกษาทางสังคม
พลังแห่งปัญญาและการเกิดขึ้นของทฤษฎีสังคมวิทยา
พลังแห่งปัญญาเกิดขึ้นจากความรอบรู้ การพัฒนาปัญญาที่ชัดเจนและการเปลี่ยนความคิดทาง
ด้านปรัชญาไปสู่แนวแห่งเหตุและผลและความจริง นักคิดที่ใช้ปัญญา 2 ประการ
1. ปรัชญาในยุคศตวรรษที่ 17
2. วิทยาศาสตร์
ปรัชญายุคนี้สัมพันธ์กับงาน Rene Descarte, Thomas Hobbs and John Locke โดยเน้น
หลักเหตุผล (Rational Sense), สากล (General)
ส่ ว นวิ ท ยาศาสตร์ โดยมี ค วามคิ ด ว่ า โลกแห่ ง วั ต ถุ (Physical World) ถู ก กำา หนดโดยกฎ
ธรรมชาติ ต้ อ งใช้ ข้ อ มู ล เชิ ง ประจั ก ษ์ (Empirical Data) และเป็ น จริ ง (Real) เท่ า นั้ น จึ ง พิ สู จ น์ ก ฎ
ธรรมชาติได้ การพิ สู จน์ ก ฎแห่ ง สั งคม (Social Law) ก็เ ช่น เดี ยวกันใช้ การปฏิบัติ มากกว่า ความเชื่ อ
ประเพณีนิยม ฯลฯ
ขบวนการพัฒนาแห่งวุฒิปัญญาและกำาเนิดของสังคมวิทยาในฝรั่งเศส
ขบวนการวุฒิปัญญา = ความรอบรู้ (Enlightenment Movement) คือการนำา เหตุผลตามหลัก
วิทยาศาสตร์ใช้การมองปัญ ญาที่สำา คัญ ๆ ในสังคม (Potential Problems) และใช้ความรู้วิเคราะห์
สภาพการณ์โดยการวิจารณ์อย่างมีเหตุผลตรงไปตรงมา (Critical Analysis)
หลักของวุฒิปัญญา (The Principles of Enlightenment) วุฒิปัญญาเชื่อว่า มนุษย์สามารถ
เข้าใจและควบคุมจักรวาลได้ด้วยหลักแห่งเหตุและผลการศึกษาวิจัยเชื่อประจักษ์ ความเชื่อดังกล่าว สืบ
เนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า โลกทางกายภาพถูกครอบงำาโดยกฎแห่งธรรมชาติ ถ้าเราเข้าใจกฎแห่งธรรมชาติ
เราจะเข้าใจจักรวาลได้อย่างดีด้วยหลักการทางวุฒิปัญญาดังกล่าว
หลักแห่งเหตุผล
จักรวาล กฎธรรมชาติ ความรอบรู้

มนุษย์คนเดียว การวิจัยเชิงประจักษ์

จากการใช้หลักแห่งความรอบรู้ดังกล่าวทำาให้นั กปรัชญาส่วนใหญ่ปฏิเสธความเชื่อ (Belief) และ


อำานาจแห่งประเพณีโบราณ (Traditional Authority) ทัง้ สองสิ่งขัดแย้งกับกฎธรรมชาติและยังหยุดยั้งการ
เจริญ พัฒนาด้านสติปัญญาของมนุษย์ หน้าที่ของความรอบรู้ก็คือ การเอาชนะระบบแห่งการไร้เหตุผล
ต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง

ปฏิกิริยาของสังคมวิทยาต่อความรอบรู้ทางปัญญา
แม้นักสังคมวิทยาจะยอมรับระบบของความรอบรู้ทางปัญญาก็ตามแต่ก็ไม่รับและปฏิเสธทั้งหมด
พอสรุปไว้ดังนี้
1. สังคมวิทยายอมรับหลักเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. สังคมวิทยาปฏิเสธความรู้เชิงเหตุผลของคน ๆ เดียว สังคมถือเป็นหน่วยที่สำาคัญทีสุดในโลก
ของสังคม
3. สังคมยอมรับการอนุรักษ์ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิม
4. สังคมยอมรับกระบวนการพัฒนาความคิดในสมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ฯลฯ
5. ทุก ๆ คนในสังคม (ปัจเจกบุคคล) เป็นองค์ประกอบของสังคม เมื่อส่วนใดถูกกระทบก็จะ
กระทบไปหมด
6. สถาบันทางสังคมมีอิทธิพลต่อความคิด พฤติกรรมของทุกปัจเจกชนในสังคม
ทั้งหมดนี้เป็นปฏิกิริยาของนักคิดทางสังคมวิทยา ที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส
นักทฤษฎีทางสังคมวิทยาในยุคก่อตั้ง
นักทฤษฎีสังคมวิทยา ผู้ที่ถือว่า ได้วางรากฐานของวิชาสังคมวิทยามี 3 ท่าน คือ
1. โคลด อองรี แซงติ-ซีมอง (Claude Henri Saint-Simon : 1790-1825)
Simon มีอายุแก่กว่า ออกุส คองต์ และเคยเป็นเจ้านายของคองต์ ๆ เป็นเลขานุการ Simon อยู่
หลายปี ทั้งสอง จึงมีความคิดคล้าย ๆ กัน ความคิดหลักของ Simon ได้แก่ ทฤษฎีสังคมวิทยาเชิงอนุรักษ์
กับทฤษฎีของมาร์ก (Conservative Sociology and Marxian Theory)
ด้านการอนุรักษ์ ซีมองต้องการอนุรักษ์สังคมตามที่มันเป็นและเป็นนักปฏิฐานนิยม (Positivist) =
การศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมควรใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์
ส่อนอีกด้านหนึ่ง ซีมอง มองเห็นความต้องการให้สังคมปฏิรูปตามแนวคิดสังคมนิยม เช่น การใช้
ระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์ (Centralized Economy) เป็นต้น แต่ไม่ถึงขนาดหนักเท่ากับ Karl Marx
ออกุสค์ คองต์ (August Comte : 1798 - 1857)
คองต์ เป็ น คนแรกที่ ใ ข้ คำา ว่ า “สั ง คมวิ ท ยา” และมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ นั ก สั ง คมวิ ท ยายุ ค ต้ น เช่ น
Herbert Spencer and Emile Durkheim เขาเชื่อว่า การศึกษาแบบสังคมวิทยาต้องเป็นวิทยาศาสตร์
เท่านั้น ความคิดนี้มีมาถึงปัจจุบัน
งานของคองต์สะท้อนการต่อต้านการปฏิวัติในฝรั่งเศสและความรอบรู้ทางปัญญา ซึ่งเป็นมูลหตุ
สำาคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคองต์ไม่พอใจต่อความวุ่นวายในสังคม และวิจารณ์ต่อผู้สนับสนุน
การปฏิวัติและความรอบรู้ทางปัญญา
คองต์ ยังคิดสร้างความคิดแนวปฏิฐานนิยม (Positivism) หรือ ปรัชญาแนวปฏิฐาน (Positive
Philosophy) และคิดเรื่อง “ฟิสิกส์ทางสังคม” (Social Physics) ที่เรียกว่า “Sociology” (สังคมวิทยา)
เพื่อตอบโต้ปฏิกิริยาเชิงลบและความวุ่นวานจากการปฏิวตั ิ คองต์เน้นสังคมใน 2 ลักษณะ คือ
1. สังคมสถิตย์ (Social Statics) = สังคมคงที่แนวอนุรักษ์ประกอบด้วยความเชื่อ ประเพณี
วัฒนธรรมดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
2. สั ง คมพลวั ต ร (Social Dynamics) = สั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปตามเหตุ ก ารณ์ แ ละ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทั้งสังคม ถูกตั้งเป็นกฎของชีวติ สังคม (Laws of Social Life)
คองต์รู้สึกว่า สังคมพลวัตรสำาคัญกว่าสังคมสถิตย์จากข้อสังเกตนี้ ทำาให้เขาสนใจการปฏิรูปทาง
สังคม (Social Reform)
Statics
Social Reform
Dynamics
เขาไม่สนับสนุนการปฏิวัติ (Revolution) แต่จะสนับสนุนการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง หรือวิวัฒนาการ
(Evolution) การปฏิรูป
ความคิดในเรื่องการวิวัฒนาการของ Comte นำาไปสู่ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory)
อันประกอบด้วยการพัฒนาทางปัญญา 3 ขั้นตอน (The law of three stages)
1. ขั้น เทววิท ยา (Theological stage) ขั้นตอนนี้ เชื่อว่า อำา นาจเหนื อธรรมชาติ แ ละองค์
ศาสดา เป็นต้นแบบแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ และเป็นรากฐานแห่งความเชื่อทุกชนิด เช่น
โลกเป็นผลผลิตของพระเจ้า เป็นต้น
2. ขั้ น อภิ ป รั ช ญา (Metaphysical Stage) เชื่ อ ในพลั ง นามธรรม (ปรั ช ญา) มากกว่ า
เทพเจ้า ซึ่งสามารถอธิบายได้ทุกเรื่อง
3. ขั้นปฏิฐานนิยม (Positive Stage) เชื่อในเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันคนเลิกคิด
เกี่ยวกับโลกและพระเจ้าแล้ว แต่กลับมาคิด สังเกตโลกและสังคม เพื่อหาวิธีจัดการกับมัน
อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีของคองต์ เน้นที่ ปัจ จัย ทางด้านปัญ ญาเป็นหลัก เขาอธิบายว่า “ความไรระเบีย บทาง
ปัญญาเป็นสาเหตุแห่งการไร้ระเบียบทางสังคม” การไร้ระเบียบทางปัญญามาจากความคิดเทวนิยม และ
ปรัชญาเป็นหลัก เมื่อปฏิฐานนิยมแพร่หลายอย่างทั่วถึง สามารถจะยุติความวุ่นวายในสังคมได้อย่างสิ้น
เชิง นี้คือ กระบวนการวิวัฒนาการ เป็นกระบวนการ่อย ๆ พัฒนาความเป็นระเบียบในสังคมในที่สุด โดย
ไม่ต้องปฏิวัติทั้งสังคมและการเมืองเลย
คาร์ล มาร์ก (Karl Marx : 1818 – 1883) (7 /7/2548)
พัฒนาการทางสังคมวิทยาในประเทศเยอรมัน
พัฒนาการทางสังคมวิท ยาในฝรั่ง เศส ค่อนข้า งจะเป็นไปตามลำา ดับเริ่ มตั้ งแต่ซี มอง, คองต์,
จนถึง เดอร์คไฮม์ มาเป็นทอด ๆ ส่วนเยอรมัน กลับแยกออกเป็นส่วน ๆ คือ แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย

พวกหัวรุนแรง พวกประนีประนอม
Marx และผู้สนับสนุน Weber and Simmel

อย่างไรก็ตามแม้ว่าทฤษฎีของมาร์คจะถูกต่อต้านจากหลาย ๆ ฝ่าย แต่ทฤษฎีของมาร์คก็ได้สร้าง


สังคมวิทยากระแสหลักของเยอรมันไว้อย่างดี ผู้มีอิทธิพลทางด้านสติปัญญาแก่ มาร์ก ได้แก่ นักปรัชญา
ชื่อว่า “G.W.F.”
Hegel - เฮเกล : 2 มโนทัศน์ (Concept) ของเฮเกล ได้แก่
1. วิพากษ์วิธี (Dialectics)
2. อุดมการณ์นิยม (Idealism)
แต่ เ ฮเกลมัก เน้ น กระบวนการวิ พ ากษ์วิ ธีท างด้า นจิ ตใจ ส่ว น มาร์ ก มัก จะนำา มาใช้ ด้ า นวั ต ถุ
มากกว่า เช่น ระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
ส่วนด้านอุดมการณ์นิยมนั้น เฮเกลเน้นความสำา คัญที่จิตและวิญญาณมากกว่าวัตถุ จิตเป็นตัว
สร้างรูปแบบของวัตถุขึ้นมา มีตัวตนอยู่ นักอุดมการณ์นิยม เน้นที่กระบวนการทางจิตใจและความคิดที่
เกิดจากกระบวนการนี้
มนุษย์ในตอนแรก เข้าใจเฉพาะตัวเอง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางด้านจิตใจมากขึ้น มนุษย์ก็เริ่ม
รู้ว่า มนุษย์ควรรู้เรื่องภายนอกมากกว่าตัวเอง เช่น ความขัดแย้ง เกิดจากสิ่งที่มนุษย์เป็นอยู่กับสิ่งที่มนุษย์
ควรจะเป็น = สังคมโลก (Social World) ดังนั้นการสร้างสำา นึกแก่ส่วนรวม (The Spirit of Society)
คือ การบรรลุจุดสุดยอดของความเป็นมนุษย์
มาร์ก (Marx) ได้รับอิทธิพลจากเฮเกล (Hegel) แต่มาร์กก็วิจารณ์เฮเกลทีใ่ ห้ความสำาคัญด้านจิต
วิญญาณมากเกินไป การที่มนุษย์จะบรรลุจุดมุ่งหมายได้ต้องใช้วัตถุเป็นตัวช่วย จึงจะสำา เร็จลงได้ เช่น
เรื่องความมั่งมีและรัฐ เป็นต้น การแก้ปัญหาสังคมต้องแก้ด้วยโลกแห่งความเป็นจริง คือ โลกของวัตถุ
(Material World) เท่านั้น มาร์ก ได้นำาความคิดของเฮเกลมาผสมกับความคิดของตน ได้สร้างทฤษฎีที่
ชื่อว่า “วัตถุนิยมวิภาษณ์วิธี” (Dialectic Materialism) ลักธิวัตถุนิยมให้ความสนใจต่อระบบเศรษฐกิจ
มีนักเศรษฐศาสตร์ การเมือ งที่ สนใจเรื่อ งนี้ คื อ Adam Smith and David Ricardo มีความเชื่ อว่า
แรงงานเป็นที่มาของทรัพย์ ทำาให้มาร์กเสนอโต้แย้งว่า ผลกำาไรของนายทุนมาจากการเอารัดเอาเปรียบผู้
ใช้แรงงาน โดยจ่ายค่าจ้างที่น้อยกว่าที่ควรจะได้ แล้วเอาส่วนต่างค่าจ้างเหล่านี้ไปลงทุนผลิตเพิ่มอีก
เรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” (Surplus Value)
นายจ้าง ค่าจ้าง เอาเปรียบ ลูกจ้าง มูลค่าส่วนกิน
ลงทุนใหม่
มาร์กจึงไม่เห็นด้วยกับระบบทุนนิยมอย่างสิ้นเชิง และเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอน
โคน โดยการปฏิวัติเท่านั้นจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งได้แก่ “สังคมนิยม” (Socialism)
มาร์กเสนอทฤษฎีทุนนิยม โดยเชื่อว่ามนุษย์โดยพื้นฐานเป็นผู้ผลิตอาหาร เครื่อ งไม้เ ครื่ อ งมือ
ความสามารถในการผลิตเป็นธรรมชาติโดยสมบูรณ์ของมนุษย์ การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เท่ากับ
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น มนุษย์มีลักษณะสังคมมาตั้งแต่แรก มนุษย์ต้องการทำางานร่วมกับผู้อื่น เพื่อผลิตสิ่ง
ที่มนุษย์ต้องการ
การผลิต สร้างสังคมกับผู้อื่น ความอยู่รอด สังคมสมบูรณ์แบบ
การผลิตเพื่อความอยู่รอดล่มสลายไปเพราะทุนนิยม
เศรษฐกิจ 2 ประเภท
1. การผลิตเพื่ออยู่รอด (Sufficient Economy)
2. การผลิตโดยทุน (Capital Economy)
จากการผลิตเพื่ออยู่รอด มากเป็นการผลิตเพื่อกำาไร ก่อให้เกิดความแปลกแยก (Alienation) คือ
ขัดขวางระหว่างปัจเจกบุคคลกับกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติ มนุษย์ใช้ความสามารถของตนเองผลิต
วัตถุตามความต้องการของตน เพื่อความอยู่รอด ส่วนระบบทุนนิยมมนุษย์ใช้เครื่องจักร, เทคโนโลยี ผลิต
เพื่อความต้องการของผู้อื่น
ระบบแรกไม่มีชนชั้น
ระบบแบ่งชนชั้นเป็น 2 ชนชัน้ คือ
1. Capitalist : ชนชัน้ นายทุน = เจ้าของกิจการ
2. Labourer : ชนชั้นกรรมมาชีพ = ลูกจ้าง, คนงาน
มีการเอารัดเอาเปรียบกันอย่างหนัก จนเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นแล้วชน กลุ่มหลังซึ่ง
เป็นคนจำานวนมากของสังคมได้ลุกขึ้นรวมตัวกันล้มล้างระบบนายทุนลง เกิดเป็นสังคมคอมมิวนิสต์
รากเหง้าของสังคมวิทยาเยอรมัน
Max Weber แมกซ์ เวเบอร์ : (1864-1920) แม้มาร์กและผู้สนับสนุน เขาจะมีชื่อเสียง
ในด้ า นทฤษฎี ที่ นำา ไปใช้ ก็ ต าม แต่ มาร์ ก ก็ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ นกระแสหลั ก ของสั ง คมวิ ท ยาเยอรมั น ผู้ ที่ ส ร้ า ง
สังคมวิทยาในเยอรมันอย่างมั่นคง ได้แก่ แมกซ์ เวเบอร์, เวเบอร์ไม่ค่อยเห็นกับมาร์กนัก โดยกล่าวว่า
มาร์กคิดแง่เดียว คือ เศรษฐกิจ โดยละทิ้งชีวิตทางสังคม เวเบอร์สนใจระบบความคิดและผลกระทบจาก
ความคิดในด้านเศรษฐกิจ ความคิดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระบบความคิดทาง
ศาสนา ผลจากศาสนาต่อสถาบันเศรษฐกิจ

ความคิด ศาสนา ระบบเศรษฐกิจ

ในจริยธรรมโปรเทสแตนท์ เวเบอร์เปรียบเทียบศาสนากับเศรษฐกิจไว้ดังนี้
System for idea of Spirit of Capitalism Capitalist Economic system
Protestant Ethics หัวใจของทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

ระบบความคิดของโปรเทสแตนท์
เวเบอร์ยังมองเรื่องการแบ่งชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) ไม่ได้แบ่งด้วยพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่แบ่งด้วยเกียรติ (สถานภาพ) และอำานาจ
งานของเวเบอร์ โ ดยพื้ น ฐานเป็ น ทฤษฎี ข องกระบวนการสร้ า งเหตุ ผ ล (The Process of
Rationalization) เวเบอร์ ส นใจว่ า สถาบั น ในโลกตะวั น ตกได้ เ จริ ญ รุ่ ง เรื อ งอย่ า งมี เ หตุ ผ ล (หลั ก การ)
มากกว่าประเทศที่เหลือในโลกด้วยวิธีการอย่างนี้
ในงานของเวเบอร์ มัก ใช้ ความมีเ หตุ ผ ล (Rationality) เป็น หลั ก แต่สิ่ ง ที่ เ น้ น มากของ Weber
ได้แก่การมีเหตุผลอย่างเป็นทางการ (Formal Rationality) มันเกี่ยวกับเรื่องที่ผทู้ ำาต้องเลือกซึ่งวิธีการและ
จุดหมายไว้ด้วยกัน การเลือกต้องใช้กฎสากล (General Applied Rules) ซึ่งมาจากโครงสร้างขนาด
ใหญ่จากองค์กร (bureaucracy) และระบบเศรษฐกิจ เขาศึกษาจากประวัติศาสตร์ของชาติต่าง ๆ เช่น
ตะวันตก, จีน, อินเดีย เป็นต้น เขาพบปัจจัยที่ช่วยให้เกิดและยับยั้งการพัฒนาการของการสร้างความ
เป็นเหตุผล
เวเบอร์มองที่องค์กรว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างความเป็นเหตุผล เขาขยายการอธิบายไปที่
สถาบันทางการเมือง เขาแบ่งอำานาจออกเป็น 3 อย่าง
1. (Traditional) = ระบบอำานาจประเพณี
2. (Charismatic) = ระบบบารมี
3. (Rational – Legal) = ตามเหตุผล-กฎหมาย
ในโลกสมัยใหม่มีแต่อำานาจที่มีแนวโน้มไปสู่ระบบเหตุผล-กฎหมายมากขึ้น แต่จะพบที่ในองค์กรที่
มีการพัฒนาด้านอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนที่เหลือยังพัฒนาด้วยระบบอำานาจและบารมี
จอร์จ ซิมเมล (Goerge Simmel) เขาเป็นคนรุ่นเดียวกับเวเบอร์ ผู้ก่อตั้งสังคมวิทยาใน
เยอรมัน งานของซิมเมลมีส่วนช่วยพัฒนาทฤษฎีทางสังคมในอเมริกา โดยเฉพาะสำา นักชิคาโก – ทฤษฎี
หลักได้แก่ “การปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์” (Symbolic Interactionism)
ซิมเมล ต่างจากคนอื่นคือ มาร์กและเวเบอร์สนใจปัญหาสังคมในวงกว้าง การสร้าง = หลัก
เหตุผลและระบบเศรษฐกิจ แต่ซิมเมลกับสนใจปัญหาเล็ก ๆ โดยเฉพาะการกระทำา และการปฏิสัมพันธ์
ของปัจเจกชน ซิมเมลมองเห็นว่า ความเข้าใจระหว่างคนต่าง ๆ เป็นงานหลักของสังคมวิทยา เป็นไม่ได้
เลยที่จะศึก ษาการปฏิสั มพั นธ์ข องคนส่ว นใหญ่ โดยปราศจากไม่มีเ ครื่ องมือที่ไ ร้ก รอบความคิดไม่ไ ด้
ซิมเมลสามารถแยกการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในกลุ่มต่าง ๆ ได้ เขายังได้เขียนทฤษฎีชื่อว่า “ปรัชญาแห่ง
เงินตรา” (Philosophy of Money) ระบบเงินตราได้แยกการกระทำาส่วนบุคคล ระบบเงินตรามีอิทธิพล
ครอบงำาของส่วนรวมที่เหนือปัจเจกบุคคลในสมัยใหม่ ความสำาคัญของปัจเจกบุคคลยิ่งลดน้อยลงไปทุกที
นี้เป็นวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่ขยายตัวออกไป

กำาเนิดสังคมวิทยาในอังกฤษ (16/7/2548)
สังคมวิทยาอังกฤษตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1900) ประกอบไปด้วยแหล่งข้อมูลที่ค่อนข้างขัด
แย้ง 3 ประการ คือ
1. เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) นักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ ยอมรับทฤษฎีของ
อดั ม สมิ ท (Adam Smith) (บิ ด าแห่ ง เศรษฐศาสตร์ ) พวกเขาเชื่ อ ตลาดเป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง อิ ส ระ
(Independent Reality) ที่อยู่ เหนือ ปัจ เจกชนและเป็น ตั วควบคุ มพฤติ ก รรมของปัจ เจกชนเหล่า นั้ น ๆ
ตลาดเป็นพลังทางบวก แหล่งกฎระเบียบ ความปองดองและบูรณาการของสังคม
2. ลัทธิการแก้ไขสังคมหรือปัจเจกชนปฏิรูป (Ameliorism) ในขณะที่ Marx, Comte, Weber,
Durkheim มองโครงสร้าง ทางสังคมเป็นเพียงความจริงพื้นฐาน แต่นักคิดชาวอังกฤษกับมองที่ ปัจเจก
ชน เป็นผู้สร้างโครงสร้างขึ้นมา ในการศึกษาโครงสร้างสังคมขนาดใหญ่ ต้องค่อย ๆ เก็บข้อมูลของระดับ
ปัจเจกชนแล้วนำา มารวบรวมสร้างเป็นภาพรวมของสังคม (Collective Portrait) นักสถิติจึงมีบทบาท
อย่างมากในสังคมวิทยาแนวนี้นอกจากนี้นักคิดชาวอังกฤษยังสร้างรูปแบบความคิดที่เรียกว่า “ลัทธิแก้ไข
สังคม” (Ameliorism) คือความต้องการแก้ไขปัญหาสังคมโดยแก้ที่ปัจเจกชนแม้ยอมรับสังคมมีปัญหา
เช่น ความยากจน แต่พวกเขายังอยากรักษาสังคมไว้ ไม่อยากให้ปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงสังคมในชั้น
รุนแรง จึงชื่อว่า “พวกอรุรักษ์นิยม” (Conservative) พวกนี้มองไม่เห็นปัญหาสังคมในเชิงโครงสร้าง แต่
มองปัญหาที่ปัจเจกชน เช่น อาชญากรรม ความยากจน ฯลฯ แล้วแก้ที่ตัวปัจเจกชนนั้น สภาพที่เรียกว่า
“สังคมป่วย” (Social Pathology) จะไม่เกิดขึ้น
3. วิวัฒนาการทางสังคม (Social Evolution) ต่อมานักคิดชาวอังกฤษเริ่มมาสนใจทฤษฎีของ
Comte ในแนวทางการศึกษาเปรียบเทียบกับทฤษฎีวิวัฒนาการ นักคิดชาวอังกฤษที่โดยเด่นในทฤษฎีเชิง
วิ วั ฒ นาการได้ แ ก่ เฮอร์ เ บริ ต์ สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ผู้ มีอิ ท ธิ พ ลครอบงำา วงการทฤษฎี
สังคมวิทยาของอังกฤษ โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการของ Herbert Spencer (เฮอร์เบริต์ สเปนเซอร์ :
1820-1930) สเปนเซอร์ เป็นทั้งนักอนุรักษนิยมและเสรีนิยมทั้ง 2 บุคลิกในตัวเอง แนวคิดด้านเสรีนิยม
เขายอมรั บหลั กการค้า เสรี (Laissez-Faire) ที่รัฐ ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง ยัง เว้น ด้านความมั่น คงเขา
ต้องการให้สังคมวิวัฒนาการไปตามอิสระ โดยไร้การควบคุมจากภายนอก ส่วนด้านการวิวัฒนาการ เขา
ถูกจัดอยู่ในพวกแนวคิดดาร์วินทางสังคม (Social Darwinism) ซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ
1. โลกมีการเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ และดีขึ้นเรื่อย ๆ
2. การแซรกแซง - ขวางกั้น ทัง้ ให้โลกเสื่อมลง
3. สถาบันทางสังคมเหมือนกับพืชและสัตว์ จะมีการปรับตัวในทางบวก เพื่อความอยู่รอด
4. มีการเลือกสรรตามธรรมชาติ (Natural Selection)
5. ผู้เหมาะสมเท่านั้นที่จะอยู่รอด (Survival of Fittest)
6. สเปนเซอร์ มองที่ปัจเจกชนมากกว่าหน่วยทางสังคม
สเปนเซอร์พบว่า การวิวัฒนาการของสังคมที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าไปสู่สภาวะสังคมอุดมคติ
ในสังคมดังกล่าวจะสัมพันธ์กันด้วยข้อตกลงหรือสัญญา และมีกฎศีลธรรมที่เหนี่ยวแน่น แม้การควบคุม
บรรทั ด ฐานภายนอกเป็ น สิ่ ง จำา เป็ น แต่ รั ฐ ก็ ไ ม่ค วรบั ง คั บ ให้ ป ระชาชนทำา โดยให้ เ กิ ด จากสำา นึ ก ของ
ประชาชนเอง จะทำาให้เกิดความร่วมมือกว่า
ในขั้นที่ 2 มีลักษณะที่ทฤษฎีมากขึ้น มีอุดมการณ์น้อยลง เขาเสนอว่า สังคมพัฒนาไปตรม
ทิศทางที่แตกต่างด้านโครงสร้าง ซึ่งช่วยทำาหน้าที่สนองความต้องการของสังคม สังคมสมัยใหม่พัฒนา
โครงสร้างเพื่อช่วยแก้ปัญหาความบกพร่องด้านหน้าที่ ที่มีอยู่ในทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่
ในขั้นที่ 3 สเปนเซอร์ เปรียบเทียบการแบ่งงานของ Durkheim เท่ากับการวิวัฒนาการของสังคม
คือ เมื่อสังคมมีปัญหาประชากรเพิ่มขึ้นสังคมจะปรับตัวเอง การปรับตัวเอง ได้แก่ การแบ่งงานกันทำา
สังคม ประชากรเพิ่มขึ้น ปรับตัว การแบ่งงาน

และถูกบังคับให้มีความหลากหลายมากขึ้น
ท้ายสุดสเปนเซอร์ได้คำานึงถึงว่า ทำาไมสังคมบางสังคมจึงอยู่ได้ และอีกสังคมหนึ่งอยู่ไม่ได้ มา
ลงท้ายที่สังคมที่เหมาะสม (Fittest Society) จะอยู่รอดได้ สังคมที่ปรับเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลา ทฤษฎี
ของ Spencer เป็นที่ยอมรั บอย่างมาก จนมาถึงการนำา มาปรับปรุงเปลี่ยนเป็น Neo – Evolutionary
Sociological Theory (ทฤษฎีวิวัฒนาการทางสังคมแนวใหม่)
สังคมวิทยาในอิตาลี : วิลเฟรโด พาเรโต้, Vilfrady Pareto (1848-1923) และแกตาโน
มอสคา (Gaetano Mosca : 1858-1941) สองนักสังคมวิทยาผู้มีอิทธิพลในยุคนั้น พาเรโต พัฒนาความ
คิดจากการปฏิเสธมาร์กซ์และปฏิเสธกระบวนการของวุฒิปัญญา
วุฒิปัญญา เน้น หลักเหตุผล
พาเรโต้ เน้น ปัจจัยที่ไร้เหตุผล สัญชาตญาณ
เพราะปัจจัยทางสัญชาตญาณ ไม่เป็นจริงที่สังคมจะเปลี่ยนไปโดยการปฏิวัติทางเศรษฐกิจ
พาเรโต้ พัฒนาหรือคิดทฤษฎีการเปลี่ยนทางสังคมที่มาจากชนชั้นสูง (Elite) สังคมหลีกเลี่ยงไม่
ได้ที่จะถูกครอบงำาโดย ชนชั้นสูงกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งเสมอ พวกนี้ปกครองคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่ง
มักจะใช้อำานาจที่ไม่มีเหตุผลเสมอครอบงำา และด้วยอำานาจอันนี้ทั้งให้ชนกลุ่มใหญ่ไม่มีอำานาจที่รุกขึ้นมา
ต่อรองกับผู้มีอำานาจได้เลย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดขึ้นเมื่อชนชั้นสูงเริ่มเสื่อมและถูกแทนที่โดยชนชั้นปกครองอีกกลุ่ม
หนึ่ง หรือจากกลุ่มชั้นสูงสุดของประชากรกลุ่มใหญ่
ชั้นสูงกลุ่มอื่น
สังคม ชนชั้นสูง เปลี่ยน
กลุ่มบนสุดของ Mass

เมื่อกลุ่มใหญ่เข้ามา ก็ดำาเนินการเหมือนเดิมกลายเป็นวัฎจักรเวียนกันไปไม่สิ้นสุด ทฤษฎีพาเรโต้


ไม่สนใจพลังของคนส่วนใหญ่คนส่วนใหญ่คงสภาพเดิม
นอกจากนี้ Pareto ยังคิดว่า สังคมเป็นระบบที่มีดุลยภาพในส่วนรวมประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่
ต้องพึ่งพาอาศัยกัน การเปลีย่ นแปลงในส่วนรวม ๆ จะมีผลต่ออีกส่วนหนึ่ง

ทฤษฎีสงั คมวิทยาในอเมริกา (28/7/2548)


ทฤษฎีสังคมวิทยาในอเมริกายุคต้น มีลักษณะเป็นเสรีนิยม โดยพื้นฐานสำาคัญมี 2 ประการ
1. เชื่อในอิสรภาพและสวัสดิการของปัจเจกชน

2. ยอมรับวิวัฒนาการของความก้าวหน้ามี 2 ประการ
2.1 รัฐควรปฏิรูปสังคม
2.2 รัฐควรส่งเสริมเสรีนิยมในกิจการต่าง ๆ (Laissez Faire)
นักสังคมวิทยาในอเมริกา มองทุนนิยมนำา มาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความร่วมมือ
ระหว่างชนชั้นทางสังคมแทนการแบ่งแยกทางชนชั้น โดยหาเหตุผลมาสนับสนุนระบบทุนนิยม แก้ตา่ งการ
เอาอัดเอาเปรียบทางชนชั้น เหมือนพวกอนุรักษ์นิยม
นักสังคมวิทยาอเมริกา เขียนสังคมวิทยาเพื่อเป็นการโต้ตอบระบบความเชื่อดั้งเดิม เช่น ศาสนา
ให้กลายมาเป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
การเกิดขึ้นของสังคมวิทยาในอเมริกา ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป พร้อมกับการพัฒนาด้านงาน
วิชาการบวกกับระบบมหาวิทยาลัยที่แข็งแกร่งขึ้น จึงทำาให้สังคมวิทยาในอเมริกาเจริญก้าวหน้าและเป็นที่
แพร่หลายโดยเร็ว
วิลเลี่ยม แกรแฮม ซัมเนอร์ (William Graham Sumner : 1840-1910) เป็นศิษย์ของเฮอร์เบิร์ต
สเปนเซอร์ ที่ นั บ ถื อ และนำา ทฤษฎี ข องสเปนเซอร์ มาใช้ เ ผยแพร่ เป็ น ผู้ ส อนวิ ช าสั ง คมวิ ท ยาใน
มหาวิทยาลัยของอเมริกาเป็นคนแรก
ซัมเนอร์ ยอมรับว่าการอยู่รอดของผู้เหมาะสมที่สด มีอยู่ในการศึกษาโลกทางสังคม (Social
World) เช่นเดียวกับสเปนเซอร์
เหมาะสม

มนุษย์ ต่อสู้ สิ่งแวดล้อม ผู้อยู่รอด

ไม่เหมาะสม ผู้อยู่ไม่รอด
ซัมเนอร์ สนับสนุนการแข่งขัน ความก้าวร้าว กล้าเผชิญกับอุปสรรคของคน จะทำา ให้ประสบ
ความสำาเร็จ ส่วนคนที่มีลักษณะตรงข้างก็ต้องล้มเหลวไป
ซัมเนอร์ ต่อต้านรัฐบาลที่ไปสนับสนุนผู้ล้มเหลว ถือว่ารัฐแทรกแซง เพราะขัดกับการเลือกสรร
ตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นลัทธิทุนนิยมจึงมีความเหมาะสม เพราะสร้างความชอบธรรม คือ ความแตก
ต่างทางด้านทรัพย์สินและอำานาจ เขาจงสนับสนุนอย่างยิ่งในการแข่งขันตามระบบทุนนิยม
สังคมวิทยาสำานักชิคาโก (The Chicago School)
คณะสังคมวิทยา (Sociology Department) มหาวิทยาลัยชิคาโก ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1892 โดย
แอลเนียน สมอลส์ (Albion Small) คณะสังคมวิทยาได้กลายเป็นศูนย์กลางของวงการสังคมวิทยาของ
อเมริ ก า สมอลส์ ไ ด้ จั ด ทำา วารสาร American Journal of Sociological และก่ อ ตั้ ง American
Sociology Society ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพของนักสังคมวิทยาจนถึงปัจจุบัน
จุดเด่นของสำานักชิคาโก
1. สังคมวิทยาต้องสนใจเรื่องส่วนรวม
2. สังคมวิทยามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
3. สังคมวิทยามีจุดหมายในการปรับปรุงแก้ไขและปฏิรูปสังคม
สมาชิกทีส่ ำาคัญของสำานักนี้
1. ดับบริว ไอ โทมัส (W.I. Thomas : 1863-1947) เขาเน้นเรื่องความจำาเป็นของการทำา
วิจัยทางสังคมโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
อีกประการหนึ่ง Thomas สนใจสังคมวิทยาจุลภาพ (Micro Sociology) ได้แก่ จิตวิทยาสังคม
เขากล่าวว่า “ถ้ามนุษย์นิยามสถานการณ์ต่าง ๆ ว่าจะเป็นจริง ก็จะส่งผลให้สถานการณ์นั้นเป็นจริงขึ้น
มา” แนวศึ ก ษาแนวนี้ ก ลายเป็น แนวเพราะด้ า นของสำา นั ก ชิ ค าโก ทฤษฎี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์
(Symbolic Interactions)
2. โรเบิร์ต ปาร์ค (Robert Park : 1864-1944) ปาร์ค ได้พัฒนาสังคมวิทยาในหลาย ๆ
ด้าน ปาร์คสนใจเรื่องการกระทำาและการปฏิสัมพันธ์เป็นพื้นฐานของการพัฒนาและสนใจเรื่องเก็บข้อมูล
ส่วนตัว ทัศนะดังกล่าวก่อให้เกิดความสนใจด้านนิเวศวิทยาเมือง (Urban Ecology) เขาพิมพ์หนังสือชื่อ
ว่า “An Introduction to the Science of Sociology” เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงและทรงอิท ธิพลของ
สังคมวิทยาในอเมริกา
3. ชาร์ ล ฮอร์ ตั น คู ลี ย์ (Charles Horton Cooley : 1864-1929) คู ลี ย์ ส อนใน
มหาวิทยาลัยมิซิแกน แต่แนวคิดอยู่ในแนวเดียวกับปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ งานที่สำาคัญของเขาได้แก่
จิตวิทยาทางสังคม ความสำานึกในสังคม ไม่อาจแยกออกจากความสำานึก แนวคิดที่ดังมากของคูลีย์ได้แก่
ทฤษฎีสะท้อนเงาตัวเองในกระจก (The Looking Glass Self) เขาคิดว่า มนุษย์มีความสำา นึก ๆ เกิด
จากการถูกหล่อหลอมโดยความปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
อีกประการหนึ่ง คูลีย์ ศึกษาเรื่องกลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) กลุ่มปฐมภูมิ เป็นกลุ่มที่มี
ความสนิทสนมผูกพันธ์อย่างใกล้ชิด เขาพบว่า กลุ่มนี้มีบทบาทอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงผู้กระทำากับสังคม
ส่วนใหญ่

เชื่อมโยง
ปฐมภูมิ ผู้กระทำา สังคมใหญ่
มีอิทธิพล

คูลีย์กระตุ้นให้นักสังคมวิทยา อยูใ่ นฐานผู้ประกระทำา และพยายามใช้วิธีที่เขาเรียกว่า “วิเคราะห์


ด้วยความเห็นอกเห็นใจ” (Sympathetic Introspection) จึงสามารถจะเข้าใจพฤติกรรมของคนในสังคม
ได้อย่างท่องแท้
3. จอร์จ เฮอร์เบริต์ มีด (George Herbert Mead : 1863-1931) มีด สวนปรัชญา
และจิตวิทยาสังคม หนังสือผลงานของมีดชื่อว่า (Mind Self and Society : 1934) เป็นต้นคิดของทฤษฎี
การปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์เป็นต้น
ทฤษฎีมีด เป็นทฤษฎีพฤติกรรมทางจิตวิทยา (Psychological Behaviorism) เขาสนใจเรื่อง
รางวัลและคุณค่าของผู้กระทำาสิ่งที่ถูกต้อง
ความสำานึกและเป็นวิทยาศาสตร์ โดยขยายพฤติกรรมจิตวิทยา ซึ่งมีลักษณะทางวิทยาศาสตร์
เข้าไปด้วย
คุ ณู ป การของมี ด ต่ อ สั ง คมวิ ท ยาอเมริ ก า คื อ ทฤษฎี สั ง คมวิ ท ยาจิ ต วิ ท ยา (Social
Psychological Theory)
ทฤษฎีสงั คมวิทยาในกลางศตวรรษ
------------------

การเกิดขึ้นที่ ฮาร์วาร์ดและทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม (Haward School and Structural –


Functional Theory)
เราสามารถสืบเสาะสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พีทีริม โซโรกิน (Pitirim Sorokin :
1930) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดี เป็นคนแรก (Head of Department) ณ ที่คณะสังคมวิทยา แห่ง
มหาวิทาลัยฮาร์วาร์ดนี้เอง ได้สร้างบุคคลที่มีชื่อเสียงของสังคมวิทยาอเมริกา คือ Sorokin and Talcott
Parsons และได้พิมพ์เผยแพร่ผลงานเป็นจำานวนมาก
พีทิริม โซโรกิน (Pitirim Sorokin) งานของโซโรกินมีทั้งความกว้างและความลึกซึ้งกว่า พาร์สัน
มาก งานที่ โ ดดเด่ น ได้ แ ก่ “Social and Cultural Dynamics” (การปรั บ เปลี่ ย นทางสั ง คมและ
วัฒนธรรม) เขาใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์มาสร้างเป็นทฤษฎีหลักของการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม
และพัฒนาทฤษฎีวัฏจักร “Cyclical Theory” โดยมองที่จิตใจในการสร้างสังคม โซโรกินแบ่งสังคมเป็น 3
วงจร คือ
1. สังคมจิตสำานึก (Senate Society) = เน้นบทบาทของความรู้สึกในการแสวงหาความจริง
2. สังคมแห่งความคิด (Idealtional Society) = เน้นศาสนา อำา นาจเหนือธรรมชาติ ในการ
เข้าใจความจริง
3. สังคมอุดมคติ (Idealistic Society) = เน้นการเปลี่ยนถ่ายอย่างสมดุจของทั้ง 2 สังคมข้าง
ต้น
ในสังคมทั้ง 3 นี้ จะผลัดเปลี่ยนถ่ายเป็นยุค ๆ ไป เมื่อสังคมถึงจุดสุงสุดแล้วก็จะเปลี่ยนไปสู่อีก
สังคมหนึ่ง แล้ววนกลับไปสู่สังคมเดิมอีกครั้ง เขาได้นำาข้อมูลทางศิลปะ ปรัชญา และการเมือง เข้ามาส
นับสนุนทฤษฎีของเขาด้วย นับว่าเป็นความสำาเร็จที่น่าชื่นชม
ทัลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons : 1902-1979) พาร์สันได้มีอิทธิพลจากนักทฤษฎีชื่อ
ดังชื่อ โรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton) และคิงสเลย์ เดวิด (Kinsley Davis) พาร์สันเรียนทฤษฎี
โครงสร้างหน้าที่ (Structural – Functional Theory)
ในปี ค.ศ. 1937 เขาผลิ ต ตำา ราชื่ อ ว่า “โครงสร้ า งของการกระทำา ทางสั ง คม” (Structure of
Social Action) หนังสือเล่มนี้มีข้อดี ต่อสังคมวิทยาอเมริกา 4 ประการด้วยกันคือ
1. เป็นการแนะนำา ทฤษฎีทางสังคมวิทยาต่อชาวอเมริกา และสร้างกรอบแห่ง ภาพพจน์ของ
สังคมวิทยาอเมริกา
2. เขาไม่เน้นทฤษฎีของคาร์ล มาร์ก และ
3. โครงสร้างแห่งการกระทำา ทางสังคม ได้ทำา ให้ทฤษฎีทางสังคมวิทยาเป็นที่ยอมรับและมีนัย
สำาคัญทางวิชาการ
4. เขาเน้น หนักที่ ผู้ กระทำา (Actors) ความคิด ของผู้นั้ น (Thew Thought) และการกระทำา
(Actions) งานของพาร์สันจึงดูเหมือนมุ่งไปที่ระบบสังคมและวัฒนธรรมส่วนใหญ่มากกว่า
หนังสือสำาคัญอีกเล่มหนึ่ง คือ Social System “ระบบทางสังคม” เขามุ่งไปที่โครงสร้างทางสังคม
และความสัมพันธ์ของกันและกัน
โครงสร้างถูกมองว่าสนับสนุนและมีแนวโน้มไปสู่ “ดุลยภาพที่แปรผัน” (Dynamic Equilibrium)
= วิธีการที่ระเบียบ (ทางสังคม) ถูกรักษาไว้ระหว่างพื้นฐานต่าง ๆ ของสังคม ส่วนการเปลี่ยนแปลง
เป็นกระบวนการตามลำา ดับ เขาไม่เพียงสนใจระบบทางสังคมเท่านั้น ยังสนใจระบบการกระทำา อีกด้วย
(Action System) ได้แก่ ระบบวัฒนธรรมและบุคลิกภาพ, ความคิดหลักของพาร์สันจึงมาอยู่ที่โครงสร้าง
ทางสังคม ถูกปฏิบัติโดยหน้าที่เชิงบวกของแต่ละคน
จอร์จ โฮแมน (Gearge Homans : 1962-1984) โฮแมนจบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขา
ชื่นชมทฤษฎีของพาเรโต้ ด้วยเหตุนี้เขาจึงแต่งหนังสือเรื่อง “การรู้จักพาเรโต้” (Introduction to Pareto)
พิมพ์ใน ค.ศ. 1934 การพิมพ์หนังสือเล่มนี้ทำาให้โฮแมนเป็นนักสังคมวิทยาอย่างเต็มตัว
เมื่อ ทัลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) ตั้งคณะสังคมวิทยาขึ้น โฮแมนก็ได้เข้ามาร่วมด้วย
โฮแมนนับถือ พาร์สนั เช่นกัน แต่ได้วิพากษ์ทฤษฎีของพาร์สนั บ้าง เช่น ทฤษฎีของพาร์สันกว้างขว้างมาก
เกิ น กว่า สั ง คมโลกจริ ง ที่ มีอ ยู่ เป็น ต้ น และว่ า ทฤษฎีค วรสร้ า งขึ้ น จากพื้ น ฐานของการสั ง เกตุ อ ย่ า ง
รอบคอบในสังคมโลก
เขาใช้การสมการสังเกตุเชิงประจักษ์เป็นเวลาหลายปี แล้วจึงตั้งเป็นทฤษฎี ทฤษฎีที่เขาสร้างขึ้น
คื อ ทฤษฎีพ ฤติ กรรมนิ ย มทางจิ ต วิ ท ยา (Psychological Behaviorism) มหาวิท ยาลัย ฮาร์ วาร์ ด จึ ง
แทนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ในด้านสังคมวิทยา เพราะบุคคล 2 ท่านนี้ ได้อย่างแนบสนิท
ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ เป็นทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยา และเป็นทฤษฎีที่ทางอิทธิพลทฤษฎีหนึ่ง
ของสังคมวิทยา นัน่ หมายถึงเราสามารถใช้ทฤษฎีโครงสร้าง -หน้าที่ อธิบายหรือพยากรณ์ ทำาความเข้าใจ
ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างชัดเจนและละเอียดในทุกระดับชั้นของสังคมโลกเป็นอย่างดี
ขอบข่ายของทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่
ถ้าเราจะศึกษาทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ ให้ครบถ้วนแล้วเราต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง เรื่องที่เราจะ
ต้องศึกษามีดังต่อไปนี้คือ
1. ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่คลาสสิก (Classical Structural Functionalism)
2. ทฤษฎีหน้าที่ของการชนชั้น (The Functional Theory of Stratification)
3. สิ่งจำาเป็นของหน้าที่ในสังคม (The Functional Prerequisites of Society)
4. ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ของพาร์สัน (Parsons’s Structural Functionalism)
ความสมานฉันท์และความขัดแย้ง (Consensus and Conflict)
ก่อนที่เรียนรู้ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ เราต้องรู้ 2 ศัพท์ คือ
1. ความสมานฉันท์ (Consensus)
2. ความขัดแย้ง (Conflict)
ทฤษฎีสมานฉันท์ มองที่บรรทัดฐานร่วม (Shared Norms and Values) และค่านิยมร่วมว่า
เป็น พื้ น ฐานของสั ง คม และมองที่ ค วามเป็ น ระเบีย บทางสั ง คม ขึ้ น อยู่ กั บข้ อ ตกลงโดยอ้ อ ม ๆ(Social
Order) และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และเป็นไปตามแฟชั่น
ทฤษฎีความขัดแย้ง เน้นที่ การมีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในสังคม โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และมองเห็น
ความเป็นระเบียบของสังคมว่า ขึ้นอยู่กับการใช้กลยุทธ์และควบคุม โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และมองการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมว่าเกิดขึ้นโดยอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นไปตามแฟชั่น
ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)
คำาว่า “โครงสร้างกับหน้าที่” ไม่ต้องใช้รวมกันก็ได้ เราสามารถแยกใช้ต่างกันได้ มาร์ก อับราฮัม
สัน ได้ระบุทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ไว้ 3 ระดับ
1. Individualistic Functionalism (หน้าที่นิยมส่วนบุคคล) = ทฤษฎีนี้เน้นที่ความต้องการผู้
กระทำา (Actors) โครงสร้างหน้าที่จึงปรากฏที่หน้าที่ที่สนองตอบต่อความต้องการ
2. Interpersonal Functionalism (หน้าที่นิย มกั บผู้อื่ น) = ทฤษฎีนี้ เน้ นที่ความสั มพั นธ์ทาง
สังคม (Social Relationship) โดยกลไกที่ขจัดความตึงเครียดที่มีอยู่ในความสัมพันธ์นั้น ๆ
3. Societal Functionalism (หน้าที่นิยมสังคม) = ทฤษฎีนี้เน้นที่โครงสร้างทางสังคมขนาด
ใหญ่และสถาบันทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกันและบังคับ ผลของการบังคับต่อผู้กระทำา
ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่แบบคลาสสิก
นักสังคมวิทยาแบบคลาสสิก 3 ท่าน คือ ออกุสค์ คองต์, เฮอร์เบริต์ สเปนเซอร์ และอีมิล เด
อร์คไฮม์ มีอิทธิพลต่อทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่อย่างมาก
คองต์ มีความคิดแบบบรรทัดฐานเกี่ยวกับสังคมที่ดี (Good Society) สังคมที่ดีต้องมีดุลยภาพ
(equilibrium) เขานำาเสนอทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม (Organism) โดยมองเปรียบเทียบสังคมกับอวัยวะ
ทางร่างกายคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะการทำา หน้าที่ เขาจึงเรียกว่า “ทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม” (Social
Organism ) เช่น เขาเปรียบเซลส์เหมือนกับครอบครัว และ
เนื้อเยื่อกับการแบ่งชนชั้นทางสังคม อวัยวะกับเมือง และชุมชน เป็นต้น
สเปนเซอร์ ก็นำา หลักอินทรีย์มาใช้เหมือนกัน แต่เขามองที่สังคมทั้งหมด โดยเน้นที่ตัวผู้กระทำา
เป็นหลัก เขาแบ่งอินทรีย์ไว้เป็น 2 ระดับ คือ
1. สังคม (Social Organism)
2. ปัจเจก (Individual Organism)
ขณะที่ทั้ง 2 อย่างเจริญขึ้น สิ่งที่ไม่เป็นอินทรีย์ไม่เจริญ และยิ่งมีจำานวนประชากรเพิ่มขึ้น ยิ่งมี
ความสลับซับซ้อนและแตกต่างยิ่งขึ้น ยิ่งแตกต่าง ยิ่งทำาให้หน้าที่แตกต่างไปด้วย และต้องพึ่งพาอาศัยกัน
และกัน ดังนั้น ตัวไหนเปลี่ยนอีกตัวก็เปลี่ยน
เดอร์คไฮม์ ความสนใจของเขาอยู่ที่ Social Organism และการปฏิสัมพันธ์กัน ทุกอย่างขึ้นอยู่
กับความต้องการทางสังคม (Social Need) อันประกอบไปด้วย
1. สาเหตุทางสังคม (Social Cause)
2. หน้าที่ทางสังคม (Social Function)
สาเหตุ เกี่ยวกับว่าเหตุใดจึงมีโครงสร้างอย่างนี้และมีรูปแบบอย่างนี้
หน้าที่ เกี่ยวกับความต้องการการต่อระบบที่ขยายออกไปได้รับการตอบสนอง โดยโครงสร้างที่ให้
ไว้หรือไม่

ทฤษฎีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดชนชั้นทางสังคม
ตามความคิดของ Kingley David & Wilbert Moore คิงเลย์ เดวิด และวิลเบริต์ มัวร์ ทั้งสอง
คิดว่า การจัดชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) เป็นสากลและจำาเป็นทุกสังคมต้องมีชนชั้น ชนชั้น
มาจากเจตจำานงในการทำาหน้าที่
1. ในด้านโครงสร้าง มองว่าการจัดชนชั้นได้จัดบุคคลเข้าสู่ตำา แหน่งต่าง ๆ ที่ได้รับความนับถือ
ตาม (ค่านิยม) โดยมีเหตุจูงใจ 2 ประการ
1.1 ปลูกฝังให้บุคคลอยากเข้าสู่ตำาแหน่งที่กำาหนด
1.2 ทำาตามบทบาทในตำาแหน่งที่สังคมคาดหวังไว้

ระบบหน้าที่
ความต้องการ
ชนชัน้ บทบาท
ตำาแหน่ง

สนองระบบ

ดั ง นั้ น การจั ด บุ ค คลที่ เ หมาะสมกั บ ตำา แหน่ ง ที่ เ หมาะสมจึ ง เป็ น ระบบทางสั ง คมในทฤษฎี
โครงสร้าง-หน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สิ่งจำา เป็นพื้นฐานต่อหน้าที่หลักของสังคม (The Functional Prerequisite of Society ) ในการ
นิยามหน้าที่พื้นฐาน (Prerequisite) ก่อนเกิดหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (Action System) มี 4 อย่าง คือ
1. การปรับตัว (Adaptation)
2. การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)
3. บูรณาการ (Integration)
4. การธำารงไว้ซึ่งแบบแผน (Pattern Maintenance)
สังคมเกิ ดจาการต้ องการอยู่ รวมกั น แบบสมานฉั น ท์ ข องสมาชิ กในสั ง คม สิ่ ง ที่ทำา ให้ เ กิ ด การ
สมานฉันท์ที่สมบูรณ์แบบคือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Potential Communication) หมายถึง ระบบ
สัญลักษณ์ร่วม (Shared Symbolic systems )โดยผ่านการเรียนรู้ระเบียบทางสังคม (Socialization)
สังคมต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ถ้าต่างกันจะเกิดความวุ่นวาย ด้วยเหตุนี้สังคมจำาเป็นต้องมีวิธีการ
ในการกำา หนดเป้าหมาย โดยใช้ระบบบรรทัดฐาน (Normative System) , ความสำา เร็จของบุคคล ถ้าไร้
บรรทัดฐานแล้ว สังคมจะไร้ระเบียบและเดือดร้อน
สังคมต้องมีระบบการเรียนรู้ สำาหรับคนในสังคมต้องเรียนสิ่งต่างๆ ทั้งสถานภาพในระบบชนชั้น
ค่านิยมร่วม จุดหมายที่ยอมรับร่วมกัน การรับรู้ร่วมกัน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก
จึงช่วยให้เกิดความร่วมมือและปฏิบัติที่สอดคล้องกับบรรทัดฐาน
สังคมต้องมีมาตรการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ยอมรับในค่านิยม
ที่เหมาะสม เขาจะประพฤติอยู่ในกรอบของความถูกต้องดีงาม โดยความสมัครใจ
ทฤษฎีหน้าที่นิยมของทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons’s Structural Functionalism) 4 ประการ
ที่จำาเป็นต่อระบบต่าง ๆ คือ
1. Adaptation = การปรับตัว ระบบต้องจำาเป็นปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในภายนอก คือ
ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของสังคม
2. Goal Attainment = การบรรลุเป้าหมาย ระบบจะต้องกำาหนดและตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก
3. Integration = บูรณาการ ระบบจะต้องกำาหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ และจะ
ต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน้าทีพ่ นื้ ฐานอืน่ ๆ
4. Latency (Pattern Maintenance) ระบบต้องธำารงและพื้นฟู แรงจูงใจของปัจเจกบุคคลและ
แบบบรรยายทางวัฒนธรรมทีน่ ร้างรักษาแรงจูงใจนั้นไว้
สิ่งจำาเป็นพื้นฐานด้านหน้าที่ 4 ประการนี้ จะต้องเกี่ยวข้องระบบการกระทำา (Action system) 4
อย่างคือ
1. อินทรีย์ทางชีววิทยา (Biological Organism) ทำาหน้าที่ในการปรับตัว
2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ทำาหน้าที่ในการบรรลุ
เป้าหมาย
3. ระบบสังคม (Social system) ดูแลเกี่ยวกับการบูรณาการ โดยควบคุม
ส่วนต่าง ๆ
4. ระบบวัฒนธรรม (Cultural system) ทำาหน้าที่ในการธำารงแบบแผน โดยกำาหนดบรรทัดฐานและ
ค่านิยมแก่ผู้ปฏิบัติ
โครงสร้างระบบการทำาหน้าที่หลัก
L I
ระบบวัฒนธรรม ระบบสังคม

อินทรีย์แห่งพฤติกรรม ระบบบุคลิกภาพ

A G
ระบบการระทำา (The Action System)
พาร์สันมีความคิดชัดเจนเกี่ยวกับ “ระดับ” ของความเป็นจริงในสังคม = การชนชั้น ตลอดจน
ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น ที่ต้องสนองพลังและความต้องการของระบบ ดังนี้
ข่าวสารระดับสูง

ลำาดับขั้นของปัจจัยที่เป็นตัวสร้างเงื่อนไข

พลังงานระดับสูง
พาร์สันค้นพบระบบจากความเป็นระเบียบทางสังคม
1. ระบบต่างมีความเป็นระเบียบ เป็นคุณลักษณะและหลายส่วนต้องพึ่งพาอาศัยกัน
2. ระบบมีแนวโน้มไปสู่การมีระเบียบแก่ตัวเอง หรือเรียกว่า “ดุลยภาพ” (Equilibrium)
3. ระบบอาจมีลักษณ์สถิตย์ (Static) หรือเป็นพลวัตร (Change) ก็ได้
4. ส่วนหนึ่งของระบบต้องมีผลกระทบต่อมีสว่ นหนึ่งเสนอ
5. ระบบมีขอบเขตภายในสภาพแวดล้อมนั้น
6 6. การแบ่งสรรและบูรณาการ (จัดการ) เป็นกระบวนการพื้นฐานสำาหรับการสร้างดุลยภาพใน
ระบบ
7 7. ระบบต่างมีแนวโน้มที่รักษาไว้ขอบเขตและความสัมพันธ์ของส่วนร่วมที่มีต่อส่วนรวมและ
ควบคุมความแตกต่าง และการเปลี่ยนแปลงภายในระบบไว้
ระบบสังคม (Social System)
Pansons เริ่มความคิดเกี่ยวกับระบบสังคม ในระดับดุลภาค (Micro Level) ด้วยการปฏิสัมพันธ์
ระหว่างตัวเอง (ego) กับผู้อื่น (Alter ego) โดยนิยมว่าระบบหน้าที่
Pansons ระบบสังคมประกอบขึ้นด้วยผู้กระทำา มาปฏิสมั พันธ์กนั ในสถานการณ์ทมี่ ลี กั ษณะทาง
กายภาพและสิ่ง แวดล้อ มคล้ายคลึง กั น ผู้ ก ระทำา ถู ก จู ง ใจจากแนวโน้ ม ด้ า นความพึ ง พอใจขั้ น สู ง และ
พฤติกรรมของพวกเขาเกี่ยวพันกับสถานการณ์นั้น ๆ มันถูกนิยามและสื่อสารในรูปของระบบ โครงสร้าง
ทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ร่วม
วัฒนธรรม

ผู้กระทำา การปฏิสัมพันธ์ สภาพแวดล้อม สัญลักษณ์


ร่วม

ความพึงพอใจ

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของทัลค๊อต พาร์สัน

พาร์สัน เริ่มทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ด้วยความจำาเป็นทางหน้าที่ 4 ประการ คือ AGIL


AGIL
หน้าที่คือ ภารกิจที่ซับซ้อนที่มุ่งไปสูการตอบสนองต่อความต้องการ หรือสู่ความจำาเป็นของระบบ
พาร์สัน เชื่อว่า มีหน้าที่ ๆ จำาเป็นจริงอยู่ 4 อย่างคือ
1. Adaptation (การปรับตัว) ระบบต้องปรับเข้ากับความจำา เป็นเร่งด่วน (ฉุกเฉิน) จากภาย
นอนสถานการณ์ ต้องปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมไปสู่ความจำาเป็น
2. Goal Attainment (การบรรลุเป้าหมาย) ระบบต้องกำาหนดและบรรลุเป้าหมายเบื้องต้น
3. Integration (บูรณาการ) ระบบต้องสร้างระบบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขององค์ประกอบต่าง ๆ คือ
ต้องจัดความจำาเป็นพื้นฐานทั้ง 3 ตัวคือ AGL ให้สอดคล้องกัน
4. Latency (Pattern Maintenance) การรักษาแบบแผนไว้ ระบบต้องธำารงไว้ รักษา
ฟื้นฟู ทั้งการกระตุ้นปัจเจกชน และแบบแผนทางวัฒนธรรม ที่สร้างและสนับสนุนแรงจูงใจ
นั้น
สิ่งจำาเป็นพื้นฐานเหล่านี้ เชื่อมกับระบบอินทรีย์ 4 ประการ คือ
1. ระบบอินทรีย์ทางชีวภาพ (Biological) + ระบบการปรับตัว (Adaptation)
2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) + การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)
3. ระบบทางสังคม (Social System) + บูรณาการ (Integration)
4. ระบบทางวัฒนธรรม (Cultural System) + การรักษาแบบแผน (The Pattern Maintenance)
โครงสร้างของระบบการกระทำาหลัก
L I
Cultural System Social System
Biological Organism Personality System
A G
ระบบการกระทำา
ความคิดของพาร์สันชัดเจน่มากในเรื่องของระบบการกระทำาซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2
ลักษณะ คือ
1. ระดับล่าง (A & G) เป็นพื้นฐานสำาหรั้บระดับข้างบนนและจำาเป็นสำาหรับระดับบน
2. ระดับบน (L & I) คอยควบคุมระดับล่างตามลำาดับชั้น
ระบบสังคม (Social System) = แนวความคิดของพาร์สันในเรื่อง “ระบบสังคม” เริ่มที่จุดเล็ก ๆ
คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรา (Ego) กับผู้อื่น (Atter ego) เขาจึงนิยามคำา ว่า “Social System”
ดังนั้น
“ระบบสังคมประกอบไปด้วยคนหลาย ๆ คน มาปฏิสัมพันธ์กัน ในสถานการณ์อันใดอันหนึ่ง ผู้
กระทำาได้รับแรงจูงใจในแนวโน้มมีความพึงพอใจสูงสุด ถูกกำาหนด และเชื่อมต่อในระบบที่มีสัญลักษณ์
ทางมีโครงสร้างวัฒนธรรม และร่วมกันอยู่”
ความหมายของพาร์สัน ประกอบไปด้วยตัวหลัก 5 ตัว คือ
1. Acton = ผู้กระทำา 2. Interaction = การปฏิสัมพันธ์
3. Environment = สภาพแวดล้อม 4. Optimization of gratification = ความพึงพอใจ
สูงสุด 5. Culture = วัฒนธรรม
สรุปก็คือ ระบบสังคม (Social System)
ระบบสังคม (Social System) คือ การปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม ภายในระบบบการปฏิสัมพันธ์
นั้น พาร์สันเน้นที่ บทบาทและสถานภาพ เป็นเรื่องใหญ่
สถานภาพ หมายถึง ตำาแหน่งทางโครงสร้างภายในระบบของสังคม
บทบาท หมายถึง สิ่งที่ผู้กระทำา ๆ ตามสถานภาพผู้กระทำา ตามทัศนะของพาร์สัน จึงเป็นส่วน
หนึ่งในสถานภาพและบทบาทภายในระบบสังคม
นอกจากนี้ แ ล้ ว พาร์ สั น ยั ง สนใจองค์ ป ระกอบของโครงสร้ า ง ได้ แ ก่ ลั ก ษณะส่ ว นรวม
(Collectivities) บรรทัดฐาน (Norm) ค่านิยม (Values)
พาร์สัน ยังสนใจเกี่ยวกับวิธีที่จะนำา โครงสร้างทั้ง 3 ประการข้างต้น ไปสู่ผู้กระทำา ให้ได้ นั่นคือ
กระบวนการ, ขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และกระบวนการการปลูกฝัง (Internalization) ให้มี
ประสิทธิภาพ เพื่อได้ให้สมาชิกในสังคมได้เกิดความสำานึกต่อสังคม นั่นหน้าที่ของโครงสร้างของบทบาท
และค่านิยมสำาคัญของระบบทางสังคม
อีกวิธีหนึ่งที่จะทำาให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตามบรรทัดฐานและค่านิยม คือ การควบคุมทาง
สังคม (Social Control) แต่ควรใช้เพียงเล็กน้อย และในสถานการณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น ระบบที่ยืดหยุ่น
จะทำาให้ระบบแข็งเกร็ง และบูรณาการในตัว
สรุป การขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมทางสังคมจึงเป็นกลไก (เครื่องมือ) อย่างดีที่จะทำาให้
ระบบทางสังคมอยู่ในดุลยภาพ

การขัดเกลาทางสังคม
สังคม กลไก สังคมดุลยภาพ
การควบคุมทางสังคม

ระบบวัฒนธรรม (Cultural System)


พาร์สัน เห็นว่าวัฒนธรรม เป็นพลังยึดเหนี่ยวที่สำาคัญของพื้นฐานต่าง ๆ (Element) ของสังคม
= ระบบการกระทำา (Social System) มันเชื่อมการปฏิสัมพันธ์กับตัวผู้กระทำา และทำาให้บุคลิกภาพและ
ระบบสังคมสัมบูรณ์แบบ ระบบวัฒนธรรมจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและอยู่ในบรรทัดฐานและค่า
นิยม
พาร์สั น มองระบบวัฒนธรรมว่าเป็นแบบแผน มีร ะเบีย บทางสั ญลั กษณ์ มีก ารปลู กฝั งด้า น
บุคลิกภาพ มีแบบแผนในรูปสถาบัน ในระบบสังคม เช่น มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์และจิตพิสัย และมัก
ถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งเสมอ
ระบบวัฒนธรรมสามารถควบคุมระบบการกระทำาอีกระบบหนึ่งได้ พาร์สันสรุปว่า มาตรฐานทาง
ศีลธรรมเป็นเทคนิคสมบูรณ์แบบที่เชื่อมประสานของระบบการกระทำา ระบบวัฒนธรรมจึงอยู่เหนือระบบ
อื่น
ระบบบุคลิกภาพ (Personality System)
ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ถูกควบคุมโดย 3 ระบบ
1. ระบบวัฒนธรรม ผ่านการขัดเกลาทางสังคม
2. ระบบสังคม ผ่านการขัดเกลาทางสังคม
3. องค์ประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพ คือ การแสดงออกซึ่งความต้องการ
บุคลิกภาพจึงถูกนิยามความหมายว่า ระบบที่จัดระเบียบไว้เกี่ยวกับแนวทาง และแรงจูงใจต่อ
การกระทำาของผู้กระทำาแต่ละคน และมูลเหตุของการจูงใจต้องการกระทำา = แรงขับ (Drive) แรงขับถูก
กำาหนดโดยบริบททางสังคม
แรงขับมี 3 ประเภท
1. การแสวงหาความรัก, การยอมรับจาก สังคม
2. ค่านิยมที่ถูกปลูกฝังมา ซึ่งนำาผู้กระทำาไปสู่มาตรฐานทางวัฒนธรรม
3. การคาดหวังต่อบทบาท นำาไปสู่การให้และได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม
ระบบอินทรีย์ดา้ นพฤติกรรม (Behavioral Organism)
ระบบอินทรีย์ดา้ นพฤติกรรม = ระบบทางกายภาพภายในร่างกาย ซึ่งกลายพลังและพื้นฐานของ
การกระทำาในด้านต่าง ๆ หลงเหลืออยู่ (Residue System)
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของโรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton’s Structural Functionalism)
เมอร์ตัน (Merton) เป็นลูกศิษย์ของพาร์สัน (Parson) เขาแต่งหนังสือชื่อว่า “Toward the
codification of Functional Analysis in Sociology” เมอร์ตั น วิ จารณ์ ท ฤษฎีโ ครงสร้ า ง – หน้า ที่ว่ า
สมมุติฐานของการวิเคราะห์เกี่ยวกับหน้าที่มี 3 ประการคือ
1. สมมุติฐานเกี่ยวกับเอกภาพของหน้าที่ (The Postulate of Functional Unity) = ความเชื่อ
และการปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นหน้าที่ต่อสังคม เท่ากับมีหน้าที่ต่อปัจเจกชน ความจริงคือถูก
สำาหรับสังคมเล็ก, ดั้งเดิม แต่ใช้กับสังคมใหญ่ ๆ และสลับซับซ้อนกว่าไม่ได้
2. สมมุ ติ ฐ านเกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะสากลของทฤษฎี ห น้ า ที่ (The Postulate of Universal
Functionalism) = โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ต้องมีหน้าที่เชิงบวก เขาแย้งว่า ในโลกแห่งความ
จริง มันชัดเจนว่า ไม่ใช่ทุกโครงสร้างที่เป็นอย่างนี้ เช่น ลัทธิชาตินิยม หัวรุนแรง กลับมีหน้าที่เชิงลบ
3. สมมุติฐานว่าความไม่จำาเป็น (The Postulate of Indispensability) = ลักษณะของสังคม
ทั้งหมดจำาเป็นต่อสังคม แต่ที่จริงแล้ว ยังมีระบบอื่นในสังคมที่ไม่จำาเป็นด้วยก็มี
เมอร์ตัน กล่าวว่า การวิเคราะห์ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ต้องเน้นที่กลุ่มคน, องค์กร, สังคม,
และวัฒนธรรม โดยเปลี่ยนจากวัตถุวิสัยเป็นจิตพิสัย ดังนี้
บทบาททางสั ง คม (Social Role), แบบแผนของสถานบั น (Institutionlized Patterns),
กระบวนการทางสังคม (Social Process) รูปแบบทางวัฒนธรรม (Cultural Patterns) บรรทัดฐานทาง
สังคม (Social Norms) การจัดกลุ่ม (Group Organization) โครงสร้างทางสังคม (Social Structure)
และเครื่องมือสำาหรับการควบคุมทางสังคม (Devices for Social Control)
เมอร์ตัน คิดว่า นักทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ควรสนใจที่หน้าที่ของสังคม มากกว่าแรงจูงใจ
ของปัจเจกชน เขาปฏิเสธแรงจูงใจด้านจิตพิสัยของปัจเจกชน ต่อระบบโครงสร้าง – หน้าที่
หน้าที่ ตามนิยามของเมอร์ตัน คือ สิง่ ที่เกิดผลซึ่งสร้างไว้สำาหรับการปรับตัวกับระบบที่กำาหนดไว้
คือ คนมักจะมองหน้าที่แต่ในทางบวก แต่ความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ในทางลบก็มีเช่นกัน โครงสร้างหรือ
สถาบัน อาจจะก่อให้เกิดผลในทางลบต่อสับคมเช่นกัน
นอกจากนี้ เมอร์ตันยังได้เสนอความคิดเรื่อง การไม่มีหน้าที่ (Non - Functions) คือผลที่ไม่เกี่ยว
เนื่องระบบที่คิดไว้อยู่ ซึ่งแม้จะมีผลทั้งบวกและลบในอดีต แต่ปัจจุบันมันไม่มีผลแล้ว
เมอร์ตัน ยังคิดพัฒนา Concept เรื่อง Net Balance (ดุลยภาพสุทธิ) = ความเท่าเทียมของ
ทั้ง 2 อย่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หน้าที่ควรจะสมดุลยทั้ง 2 ฝ่ายที่กล่าวไป
หน้าที่ 2 ประการของ โรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton)
1. หน้าที่ปรากฏชัด (Manifest Function)
2. หน้าที่แอบแฝง (Latent Function)
เช่น ระบบวรรณะ หน้าที่ชัด คือ การแบ่งหน้าที่กันทำา (Division of Labour) และหน้าที่แฝง
คือ การกดขี่ทางชนชั้น (Class Exploitation) หน้าที่ทั้ง 2 อย่างนี้ จะเกิดผล 2 อย่างคือ
1. ผลทีไ่ ด้ตั้งใจไว้ (Anticipated Consequences)
2. ผลทีไ่ ม่ได้ตั้งใจไว้ (Unanticipated Consequences)
เมอร์ตันถือว่าผลทั้ง 2 สิ่ง มีความหมายทางสังคมวิทยา เมอร์ตันกล่าวอีกว่า โครงสร้าง
บางส่วนอาจจะก่อให้เกิดผลลบต่อบางส่วนของสังคมก็จริง เช่น การแบ่งแยกยิว เป็นต้น แต่หน้าที่
ตัวนี้ยังอยู่ต่อไปได้ เพราะมันยังให้ประโยชน์ต่อส่วนอื่น เช่น คนส่วนใหญ่ เป็นต้น

คาดหวัง
หน้าที่
ไม่ได้คาดหวัง

หน้าที่ คาดหวัง

หน้าที่ ไม่ได้คาดหวัง

สรุป โครงสร้างบางส่วน อาจจะเกิดผลลบก็จริง แต่ยังอยู่ได้เพราะให้ผลประโยชน์กับอีกส่วน


หนึ่ง จึงอยู่ได้ เช่น ธุรกิจใต้ดิน เป็นต้น

ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction)


ทฤษฎีนี้ได้รับการคิดและพัฒนามาจากการทำางานของนักสังคมวิทยาอเมริกา 3 ท่าน คือ จอห์น
ดิวอี้ (John Dewey) , วิลเลี่ยม ไอ โทมัส (William I .Thomas) , จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert
Mead) ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ เน้นที่ตัวผู้กระทำา (Actor) และการตีความหมายของความจริงทาง
สังคม
มันเกี่ยวกับ “สิ่งภายใน” (Inner) หรือลักษณะทางพฤติกรรม (The aspect of human behavior)
ในบรรดานักทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์นี้ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด เด่นที่สุด
ในทัศนะของมีด “ ความคิด ประสบการณ์ และพฤติกรรมมีส่วนสำา คัญต่อสังคม , มนุษย์สร้าง
ความสัมพันธ์ผ่านระบบสัญลักษณ์ ( Symbols ) สัญลักษณ์ทสี่ ำาคัญที่สุด คือ ภาษา
สัญลักษณ์ไม่ได้หมายถึงวัตถุหรือเหตุการณ์เท่านั้น แต่ยังอาจหมายถึง การกระทำาจากวัตถุ
และเหตุการณ์นั้นด้วย เช่น คำาว่า “เก้าอี้ “ เมื่อพูดถึงเก้าอี้ นอกจากหมายถึงที่นั่งแล้ว ยังแสดงถึง
การนั่ง ท่าทางที่นั่ง การครอบครองตำาแหน่งอีกด้วย
สัญลักษณ์จึงหมายถึง “วิธีการที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับธรรมชาติและบริบททาง
สังคม
ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ มนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์กันไม่ได้และจะไม่มีคำาว่า”สังคม “ เกิดขึ้นมา สัญลักษณ์
ไม่ใช่สัญชาตญาณ มันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
เมื่อมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้สัญลักษณ์ มนุษย์จะไม่ใช้สัญชาตญาณในการสร้างพฤติกรรม เพื่อความ
อยู่ ร อด มนุ ษ ย์ จึ ง สร้ า งระบบสั ญ ลั ก ษณ์ ขึ้ น มาและต้ อ งอยู่ ใ นโลกแห่ ง การตี ค วามหมาย (World of
Meaning) คือการตีความหมายต่อสิ่งกระตุ้น และตอบสนองต่อสิ่งนั้น เช่น พิจารณาว่า อะไรคือ อาหาร
อะไรไม่ใช่อาหาร แล้วจึงนำามากิน

Food
Meaning Response

Non-Food

ชีวิตในสังคมสามารถดำาเนินไปได้ ถ้าการตีความสัญลักษณ์ถร่วมมาใช้ โดยสมาชิกในสังคมร่วม


กัน แต่ถ้าไม่ก็สื่อสารกันไม่ได้ ดังนั้นสัญลักษณ์ร่วม (Common Symbols) จึงเป็นวิธีเดียวที่มนุษย์จะ
ปฏิสัมพันธ์กันได้ ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักความหมายของสัญลักษณ์ที่ไปสัมพันธ์กับผู้อื่น, วิธีนี้มีดเรียกว่า
“ การรับรู้บทบาท “ (role – taking) = การรู้จักบทบาทของผู้อื่นจะทำา ให้เราทราบความหมายและความ
ตั้งใจของผู้อื่น และสามารถตอบสนองการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างดี
จากการรับรู้บทบาทนี้ มีด ได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง “Self ” ( ตัวตน ) ขึ้นมา เขากล่าวว่า ความคิด
เรื่องตัวตนเกิดขึ้นได้ เมื่อบุคคลคิดออกไปนอกตัว แล้วมองสะท้อนกลับมา เหมือนผู้อื่นมองเรา = บทบาท
ของผู้อื่น ( Role of Another ) การรับรู้บทบาทนี้ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำาเนิด ต้องมาเรียนในภายหลัง และเรียน
รู้ตอนเป็นเด็ก
เขามองเห็นขั้นตอนของการพัฒนาอยู่ 2 ขั้นตอน คือ
1. Play Stage (ขั้นการละเล่น) = ตอนเป็นเด็กเรามักจะเล่นบทบาทที่ไม่ใช่ของตนเอง เช่น บท
บทพ่อแม่ ทหาร ตำา รวจ นักฟุตบอล ฯลฯ ซึ่งจะทำา ให้เขารู้ถึงความแตกต่างระหว่างตนเองกับผู้อื่นและ
บทบาทที่เล่นทีี่แตกต่างออกไป
2. Game Stage (ขั้นเล่นเกม) = ในการเล่นกับเพื่อนๆในกลุ่ม เด็กต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์
ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ผ่านกติกาของเกมที่เล่น เขาจะต้องถูกวางตัวเองไว้ในตำาแหน่งใด ตำาแหน่งหนึ่งใน
เกม เพื่อจะเล่นกับผู้อื่นให้ได้
Mead สรุปว่า การพัฒนาความสำา นึกในตัวตน ( Consciousness of Self ) เป็นสิ่งสำา คัญของ
ความเป็นมนุษย์ มันเป็นพื้นของความคิด การกระทำาและการสร้างสังคม ถ้าปราศจากความคิดเรื่อง Self
แล้ว มนุษย์จะไม่สามารถตอบสนองและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
เมื่อมนุษย์สามารถรู้ว่าผู้อื่นคิดอย่างไรกับตน มนุษย์ก็สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างดี และสิ่งนี้ก็
สร้างความร่วมมือทางสังคมได้อย่างดีด้วย (Cooperative Action) ได้อย่างดีเช่นกัน
การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์มี 2 ประการ คือ มนุษย์สร้างตัวตนขึ้นมาและ มนุษย์สะท้อนตัวเองจาก
ผู้อื่น ทั้งปัจเจกบุคคลและสังคมจึงแยกกันไม่ได้ ถ้าปราศจากการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ที่มีการตีความ
หมายร่วมกัน กระบวนการทางสังคมจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นมนุษย์ที่จึงอยู่ในโลกแห่งสัญลักษณ์ที่มีความ
หมายและมีความสำาคัญต่อชีวิตและพื้นฐานหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์

*------------------/---------------*

You might also like