Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

Intrinsically Safe ในระบบ FieldBus

Industrial Technoloqy Review 110


มิถุนายน 2546
ทวิช ชูเมือง

พื้นที่อันตราย (Hazardous Area ) / เสนโคงการจุดประกายไฟ (Ignition Curves)/


ระบบจํากัดพลังงาน (Intrinsically Safe System) / ระบบจํากัดพลังงานในระบบควบ
คุม / ระบบจํากัดพลังงานแบบ FISCO /

อุตสาหกรรมกระบวนการผลิต ทั้งอุตสาหกรรมปโตรเคมี, การกลั่นน้ํามัน และ


กาซ ในขั้นตอนการผลิตสวนมากจะมีกาซติดไฟได (Flammable Gases) มีโอกาสที่
จะเกิดการรั่วไหลออกมาแพรกระจายอยูรอบ ๆ กระบวนการผลิตหรือรอบบริเวณถัง
เก็บ ซึ่งกาซติดไฟเหลานี้ สามารถระเบิดหรือเกิดการลุกไหมได เมื่ออยูในสภาวะที่
เหมาะสม เชนมีอัตราสวนความหนาแนนของกาซติดไฟและออกซิเจนที่เหมาะสมและมี
แหลงกําเนิดพลังงานที่พอเพียงตอการลุกไหม ซึ่งพลังงานเหลานี้อาจจะมาจากอุปกรณ
ไฟฟาตาง ๆ ที่อยูในพื้นที่บริเวณนั้น สามารถแสดงรูปสามเหลี่ยมการลุกไหม (Fire
Triangle) ไดดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 สามเหลี่ยมการลุกไหม
วิธีการปองกันการระเบิดหรือลุกไหม อันเนื่องมาจากกาซติดไฟเหลานี้ สามารถ
กระทําไดโดยการควบคุมตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งเพื่อไมใหครบองคประกอบของการลุก
ไหม ดังนั้นจึงตองมีการแบงบริเวณพื้นที่กระบวนการผลิตออกเปน 2 เขตคือ
1. พืน
้ ทีป
่ ลอดภัย (Safe Area) สวนมากจะเปนบริเวณพื้นที่ในอาคารควบคุม
(Central Control Room) และเปนบริเวณที่กาซติดไฟที่รั่วไหลออกมาไมสามารถแพร
กระจายเขาไปถึง
2. พืน
้ ที่อน
ั ตราย (Hazardous Area) สวนมากจะเปนบริเวณพื้นที่ในกระบวน
การผลิตหรือบริเวณที่มีโอกาสเกิดการรั่วไหลของกาซติดไฟออกมาไดตลอดเวลา
การแบงเขตพื้นที่อันตรายจะมีมาตรฐานสากลสําหรับใชในการแบง อาทิเชน
API RP 500 หรือ NFPA article 500 เมื่อทําการแบงเขตพื้นที่ในกระบวนการผลิต
แลว ถามีอุปกรณไฟฟาหรืออุปกรณเครื่องมือวัดที่ตองการนําไปติดตั้งอยูในพื้นที่
อันตราย จะตองมีการปองกันไมใหอุปกรณไฟฟาหรืออุปกรณเครื่องมือวัดตาง ๆ เหลา
นี้ เปนแหลงกําเนิดประกายไฟหรือแหลงกําเนิดพลังงานพอเพียงตอการเกิดลุกไหมถา
เกิดการรั่วไหลของกาซติดไฟออกมา สําหรับวิธก ี ารปองกันนั้นสามารถออกแบบระบบ
เครื่องมือวัดหรือเลือกใชอปกรณตามมาตรฐานสากลไดหลายวิธี อาทิเชน การปองกัน
การระเบิด (Explosion Proof : Ex d), การจํากัดพลังงาน (Intrinsically Safe : Ex i),
การไลกาซติดไฟออกไปจากแหลงพลังงาน (Pressurized : Ex p) เปนตน การปอง
กันในรูปแบบจํากัดพลังงานและการปองกันการระเบิดจะพบเห็นการใชงานไดบอยครั้ง
ในระบบเครื่องมือวัด ในบทความนี้จะแสดงเขตพื้นที่อันตรายและกาซติดไฟประเภท
ตาง ๆ แสดงหลักการทํางานของระบบจํากัดพลังงานหรือที่เรียกกันวา ระบบ I.S.
(Intrinsically Safe System) การใชงานระบบ Intrinsically Safe ในระบบการควบ
คุมพื้นฐานและระบบการควบคุม FieldBus นอกจากนั้นแลว จะนําเสนอหลักการ
ทํางานของระบบ Intrinsically Safe ในระบบ FieldBus อีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกวา
FISCO (Fieldbus Intrinsically Safe Concept)

พื้นทีอ
่ น
ั ตราย (Hazardous Area )

ในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตมีโอกาสที่จะเกิดการรั่วไหลของกาซติดไฟออก
มาไดตลอดเวลาและกาซติดไฟยังมีอยูหลายชนิดขึ้นอยูกับกระบวนการผลิต ดังนั้นจึง
ตองมีการกําหนดเขตพื้นที่อันตรายตามระยะเวลาการรั่วไหลและชนิดของกาซติดไฟที่
รั่วไหลออกมาในพื้นที่อันตราย มาตรฐานที่ใชในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา นอกเหนือ
จากการแบงกลุมกาซติดไฟแลว ยังมีการแบงกลุมสารไวไฟที่เปนฝุนและเสนใยอีกดวย
พื้นที่อันตรายที่ถูกกําหนดขึ้นจะใชเปนแนวทางในการเลือกใชอุปกรณเครื่องมือวัด
และกําหนดลักษณะการติดตั้งอุปกรณเครื่องมือวัดในพื้นที่อันตรายเหลานั้น เพื่อให
เหมาะสมกับพื้นที่อันตรายและเหมาะสมกับวิธีปองกันการระเบิดหรือลุกไหมที่เลือกใช
ซึ่งการแบงเขตพื้นที่อันตรายตามมาตรฐานสากล สามารถแบงเขตพื้นที่อันตรายได
เปน 2 กลุม ดังนี้
IEC & CENELEC USA & CANADA

ZONE 0 คือ บริเวณที่กาซติดไฟ Division 1 คือ บริเวณที่กาซติดไฟ


สามารถรั่วไหลออกมาได สามารถรั่วไหลออกมาได
ZONE 1 คือ บริเวณที่กาซติดไฟ
สามารถรั่วไหลออกมาได
่ มี Division 2 คือ บริเวณที่สารไวไฟ
ZONE 2 คือ บริเวณที่ปกติจะไม
การรั่วไหลของกาซติด สามารถรั่วไหลออกมาได
อุปกรณตาง ๆ ใน
กระบวนการผลิต
การแบงกลุม
 ของสารไวไฟในแตละพืน
้ ที่
การแบงกลุมของสารไวไฟจะแบงตามปริมาณพลังงานที่ตองการสําหรับการติด
ไฟ
IEC & CENELEC USA & CANADA
การแบงกลุมของกาซติดไฟ จะแบง การแบงกลุมของกาซติดไฟ จะแบง
ไดดังนี้ ไดดังนี้
Group IIC : Acetylene Class I, Group A : Acetylene
Group IIC : Hydrogen Class I, Group B : Hydrogen
Group IIB : Ethylene Class I, Group C : Ethylene
Group IIA : Propane Class I, Group D : Propane
Group I : Methane การแบงกลุมของฝุนติดไฟ จะแบง
ไดดังนี้
Class II, Group E : Metal Dust
Class II, Group F : Carbon
Dust
Class II, Group G : Flour,
Starch, Grain
การแบงกลุมของเสนใยติดไฟ จะ
แบงไดดังนี้
Class III : Fiber
การแบงกลุม
 อุณหภูมข
ิ องอุปกรณทใ
ี่ ชในพืน
้ ทีอ
่ ันตราย
การแบงกลุมอุณหภูมิของอุปกรณจะแยกตามคาอุณหภูมิที่ผิวของอุปกรณ เมื่อ
เกิดความผิดปกติขึ้นกับอุปกรณที่อุณหภูมิรอบขางที่ 40OC สามารถแบงไดดังนี้
การแบงกลุมอุณหภูมิของอุปกรณจะแยก
ตามคาอุณหภูมิที่ผิวของอุปกรณ เมื่อ
เกิด ความผิดปกติขึ้นกับอุปกรณที่อุณหภูมิ
รอบขางที่ 40OC สามารถแบงไดดังนี้
T1 450 OC
T2 300 OC
T3 200 OC
T4 135 OC
T5 100 OC
T6 85 OC

กลับดานบน
เสนโคงการจุดประกายไฟ (Ignition Curves)

เปนกราฟที่ใชแสดงคาแรงดันและกระแสไฟฟาที่สามารถยอมใหใชไดในแตละ
กลุมกาซสําหรับวงจรไฟฟาที่มีความตานทานเพียงอยางเดียว (Purely Resistive
Circuit) ขอมูลแรงดันและกระแสไฟฟาที่แสดงในกราฟนี้ เปนขอมูลที่ไดจากการ
ทดลองและมีการยอมรับสําหรับการนําไปใชงานกันอยางกวางขวาง [3] การทดลอง
กระทําโดยทําการปดและเปดหนาสัมผัสที่มีการตอวงจรไฟฟาในกลองปดที่มีการปลอย
กาซติดไฟไหลเขาไปและกลองปดนี้ตองสามารถทนตอการระเบิดจากภายในได
อุปกรณนี้จะเรียกวา Spark Test Apparatus ดังแสดงในรูปที่ 2 ในการนําขอมูลจาก
กราฟนี้ไปใชงานจริงตองมีการคูณดวยคาตัวแปรความปลอดภัยที่ 1.5 ของกระแสที่
แสดงในกราฟ แสดงกราฟเสนโคงการจุดประกายไฟไดดังรูปที่ 3

รูปที่ 2 วงจรไฟฟาที่มีความตานทานเพียงอยางเดียวและ Spark Test


Apparatus

รูปที่ 3 เสนโคงการจุดประกายไฟ

การจุดประกายไฟอันเนื่องมาจากคาคาปาซิแตนซ (Capacitance) ของวงจรจะ


ขึ้นอยกับแรงดันไฟฟาที่ใชงานโดยคาคาปาซิแตนซจะเปนคาคาปาซิแตนซรวมของวง
จร การจุดประกายอันเนื่องมาจากคาอินดักแตนซ (Inductance) ของวงจรจะขึ้นอยูกับ
คากระแสของวงจร และคาอินดักแตนซจะถูกกําหนดอยูในรูปแบบอัตราสวนกับความ
ตานทาน (L/R Ratio) เพราะเมื่อความยาวของสายไฟยาวขึน
้ จะทําใหคาความตาน
ทานมีคาเพิ่มขึ้นดวย

กลับดานบน

ระบบจํากัดพลังงาน (Intrinsically Safe System)

ระบบจํากัดพลังงานเปนระบบการปองกันอุปกรณเครื่องมือวัดในพื้นที่อันตรายที่มี
การใชกันอยางกวางขวางในปจจุบันหรือที่เรียกวา ระบบ I.S. หลักการทํางานของ
ระบบจํากัดพลังงานจะเปนการปองกันไมใหพลังงานจากพื้นที่ปลอดภัยออกไปยังพื้นที่
อันตรายเกินกวาที่กําหนด หรือเกินกวาพลังงานที่สามารถทําใหเกิดประกายไฟในพื้นที่
อันตรายจนเปนสาเหตุใหเกิดการลุกไหมหรือระเบิดเมื่อมีกาซติดไฟรั่วไหลออกมา
ระบบจํากัดพลังงานจะตองมีอุปกรณที่เรียกวา Barriers ติดตั้งอยูในวงจรเสมอและตอง
ติดตั้งอยูในพื้นที่ปลอดภัย เพราะ Barriers จะเปนตัวที่ใชจํากัดพลังงานไมใหออกไปยัง
พื้นที่อันตราย ดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 Barriers ในระบบจํากัดพลังงาน

จากรูปที่ 4 จะเห็นวา Barriers จะมีสวนประกอบพื้นฐานหลัก ๆ อยู 3 สวนคือ ฟวส


(Fuse), ซีเนอรไดโอด (Zener Diode) และความตานทาน (Resistor) ในการใชงาน
ตองทําการตออุปกรณการวัดกับ Barrier ใหถูกตอง สําหรับอุปกรณตาง ๆ ในระบบ I.S
จะมีจุดตอสายไฟสําหรับดาน Hazardous Area เปนสีฟา จากวงจรในรูปที่ 4 จะพบวา
พลังงานสูงสุดที่สามารถจายออกไปยังพื้นที่อันตราย คํานวณไดโดยการลัดวงจรดาน
Hazardous Area และสามารถคํานวณพลังงานสูงสุดจะไดเทากับ แรงดันไฟฟาของซี
เนอรไดโอดคูณกับความตานทาน (UZ * R) จากกราฟเสนโคงการจุดประกายไฟทําให
สามารถกําหนดคากระแสในแตละกลุมกาซที่จะนําไปใชงานได
สวนฟวสกับซีเนอรไดโอดจะเปนสวนที่ใชปองกันแรงดันไฟฟาสูง ๆ ไมใหออกไปยังพื้น
ที่อันตราย โดยการทํางานของซีเนอรไดโอดสามารถแสดงไดดงั รูปที่ 5
รูปที่ 5 การทํางานของซีเนอรไดโอด
จากรูปที่ 5 เมื่อมีความผิดพลาดในสวนพื้นที่ปลอดภัยแลวทําใหเกิดมีแรงดันไฟฟา
ที่สูง ๆ กวาแรงดันไฟฟาใชงานปกติ ซึ่งแรงดันไฟฟาสูง ๆ นี้สามารถที่จะออกไปยังพื้นที่
อันตรายและอาจเปนสาเหตุใหเกิดประกายไฟได ซึ่งแรงดันไฟฟาที่คาสูง ๆ นี้จะทําใหซี
เนอรไดโอดทํางานและซีเนอรไดโอดจะเริ่มนํากระแสและจะนํากระแสจนกระทั่ง กระแส
ที่ไหลผานตัวซีเนอรไดโอดมีคามากกวาคากระแสที่ฟวสทนไดจะทําใหฟวสขาด โดยคา
กระแสของฟวสตองกําหนดใหเหมาะสมกับกระแสที่ซีเนอรไดโอดทนได สามารถแสดง
การปองกันแรงดันไฟฟาเกินไดดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 การปองกันแรงดันไฟฟาเกิน
ระบบ I.S ยังมีการแบงชนิดของ Barriers ออกไปเพื่อใหเหมาะสมกับพื้นที่
อันตรายที่จะนําไปใชงานไดเปน 2 ชนิดคือ Barriers ชนิด "ia" สามารถนําไปใชกับ
อุปกรณเครื่องมือวัดที่ติดตั้งอยูในพื้นที่อันตราย Zone 0, 1 และ 2 และอีกชนิดหนึ่งจะ
เปน Barriers ชนิด "ib" สามารถนําไปใชกับอุปกรณเครื่องมือวัดที่ติดตั้งอยูในพื้นที่
อันตราย Zone 1 และ 2 แตไมสามารถนําไปใชกับ Zone 0 ได
สามารถแสดงขอดีของระบบจํากัดพลังงานไดดังนี้
• มีคาใชจายต่ํา

• สวนหอหุมอุปกรณ (Enclosure) ไมตอ


 งออกแบบพิเศษ
• มีความปลอดภัยตอผูปฏิบัติงานเพราะมีแรงดันไฟฟาทํางานต่ํา

• สามารถใชกับพื้นที่อันตรายที่เปน Zone 0 ได

• สามารถซอมบํารุงขณะที่วงจรยังจายไฟอยู

นอกจาก Barrier จะถูกแบงออกตามพื้นที่ในการนําไปใชงานแลว Barrier ยังจะ


ถูกแบงออกตามลักษณะอุปกรณภายในของ Barriers ไดอีก 2 ชนิดคือ

1. ซีเนอร Barriers จะมีการทํางานดังรายละเอียดที่ไดกลาวไปแลวขางตน แสดง


รูปของ ซีเนอร Barriers ไดดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 ซีเนอร Barriers

นอกจากขอดีที่ไดกลาวไปแลว ซีเนอร Barriers จะมีขอเสียดังนี้


• มีขอจํากัดของแรงดันไฟฟาที่ใชงาน

• ตองการ I.S กราวดที่มีคณ


ุ ภาพดี

2. Galvanic Isolator จะมีการทํางานที่คลายคลึงกับซีเนอร Barriers แตจะแตก


ตางกันตรงอุปกรณภายในที่มีการเพิ่มตัวแยกสวน (Isolator) ระหวาง I.S Circuit และ
Non-I.S Circuit ดังรายละเอียดแสดงไดดังรูปที่ 8

รูปที่ 8 Galvanic Isolator

นอกจากขอดีของระบบจํากัดพลังงานที่ไดกลาวไปแลว Galvanic Isolator ยังมี


ขอดีเมื่อเปรียบเทียบกับ ซีเนอร Barriers ดังนี้

• มีการแยกสวนกันระหวาง I.S Circuit และ Non-I.S Circuit

• ไมมีขอจํากัดของแรงดันไฟฟาที่ใชงาน

• ไมตองการ I.S กราวด

กลับดานบน

ระบบจํากัดพลังงานในระบบควบคุม

ในอุตสาหกรรมการผลิตตาง ๆ จะมีระบบควบคุมและอุปกรณเครื่องมือวัดที่ถูกติด
ตั้งอยูในกระบวนการผลิตเปนสวนใหญ และเปนที่ทราบกันดีวาอุตสาหกรรมการผลิตที่
เกี่ยวกับการกลั่นน้ํามัน, กาซ และปโตรเคมี พื้นที่ในกระบวนการผลิตจะถูกกําหนดให
เปนพื้นที่อันตราย (Hazardous Area) ดังนั้นอุปกรณเครื่องมือวัดที่จะนําเขาไปติดตั้ง
ในกระบวนการผลิตเหลานี้ จะตองมีการปองกันไมใหอุปกรณเครื่องมือวัดเหลานี้เปน
แหลงกําเนิดประกายไฟหรือพลังงานที่พอเพียงตอการลุกไหมเมื่อเกิดการรั่วไหลของ
กาซติดไฟ
จากหลักการทํางานของระบบจํากัดพลังงานที่ไดแสดงรายละเอียดในหัวขอที่
ผานมา สามารถนําระบบการปองกันแบบนี้มาใชงานกับระบบการควบคุมพื้นฐานหรือที่
รูจักกันดีคือ ระบบ DCS (Distributed Control System) ที่มีสวนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
อุปกรณการวัดและควบคุมที่ติดตั้งอยูในกระบวนการผลิต (Field Devices), ตูสําหรับ
ตัวควบคุม (Controller Cabinet), ตูสําหรับตอสาย (Marshalling Cabinet) และสวน
ติดตอกับผูปฏิบัติงาน (Human Machine Interface) ดังแสดงในรูปที่ 9 สําหรับการนํา
ระบบการจํากัดพลังงานไปใชงานนั้น อุปกรณเครื่องมือวัดทุกตัวจะตองมี Barriers ติด
ตั้งอยูในพื้นที่ปลอดภัยหรือในตูตอสาย (Marshalling Cabinet) และอุปกรณทุกตัวจะ
ตองมีคุณสมบัติตามขอกําหนดของการใชงานในระบบ I.S (I.S Certified Devices)
ดังแสดงรายละเอียดการใชงานในรูปที่ 10

รูปที่ 9 ระบบควบคุมพื้นฐาน
รูปที่ 10 การใชงาน Barriers กับระบบควบคุมพื้นฐาน
ในทํานองเดียวกันระบบจํากัดพลังงานยังสามารถนําไปใชงานกับระบบการควบ
คุมแบบ FieldBus [1] โดยใช Barrier เพียงตัวเดียวกับสายบัสที่ใชเปนจุดตอของ
อุปกรณ แตการใชงานในรูปแบบนี้จะมีขอจํากัดของจํานวนอุปกรณที่จะนํามาตอเขา
กับสายบัสนัน
้ จะขึ้นอยูกับความสามารถในการจายกระแสของตัว Barrier ที่ออกไปยัง
สายบัส สามารถแสดงการใชงานในระบบ Fieldbus ไดดังรูปที่ 11

รูปที่ 11 การใชงานระบบจํากัดพลังงานกับระบบ FieldBus


จากรูปที่ 11 จะเห็นไดวาในสายบัสเสนเดียวสามารถจะมีอุปกรณการวัดและควบ
คุมตออยูไดหลายตัว โดยจํานวนอุปกรณที่จะนํามาตอนั้นจะขึ้นอยูกับความสามารถใน
การจายกระแสของบัส ซึง่ สามารถหาคากระแสบัสสําหรับการใชงานในระบบ I.S ได
โดยจะกําหนดใหมีคาตัวแปรตาง ๆ ดังนี้
1. สายบัสจะใชสายไฟตามมาตรฐาน Fieldbus Type A โดยมีคาความตานทาน
ตอตัวนําเปน 24 ( /Km เมื่อคิดเปนลูปจะไดความตานทานเปน 48 ( /Km หรือ 0.048 (
/m

2. อุปกรณการวัดจะทํางานไดที่แรงดันไฟฟาต่ําสุดเทากับ 9 VDC

3. กําหนดให Barrier สําหรับใชใน Zone 0 และกาซกลุม IIC มีแรงดันไฟฟา


ดานขาออกมีคาเปน 19 VDC และมีความตานทานภายในเทากับ 105 (
สามารถหาคากระแสสูงสุดตอความยาวของสายไฟไดดังนี้
กระแส (mA) = (แรงดันไฟฟาดานขาออก - 9V) / (ความตานทานภายใน +
ความตานทานสายไฟ)
และสามารถแสดงกราฟความสัมพันธระหวางกระแสและความยาวของสายไฟได
ดังรูปที่ 12
รูปที่ 12 กราฟความสัมพันธระหวางกระแสและความยาวของสายบัส
จากรูปที่ 12 จะพบวาเมื่อความยาวของสายบัสยาวขึ้นจะทําใหความสามารถใน
การจายกระแสของบัสลดลง ถากําหนดใหมีอุปกรณการวัดแบบ FieldBus ตออยูที่
ปลายของสายบัสที่ระยะความยาว 750 เมตร จากกราฟรูปที่ 12 จะเห็นไดวาจะมีคา
กระแสที่บัสจายไดเพียง 70 mA สําหรับการใชงานในระบบ Fieldbus อุปกรณจะมี
การดึงกระแสจากสายบัสประมาณ 15- 20 mA ตออุปกรณขึ้นอยูกับอุปกรณที่เลือกใช
ดังนั้นจํานวนอุปกรณการวัดแบบ Fieldbus ที่สามารถตอเขากับสายบัสในระบบ I.S
จะไดสูงสุดประมาณ 3-4 ตัว

กลับดานบน

ระบบจํากัดพลังงานแบบ FISCO

จากหัวขอที่ผานมาจะเห็นวาการนําระบบจํากัดพลังงานไปใชกับระบบ Fieldbus
จะมีขอจํากัดเกี่ยวกับความสามารถในการจายกระแสของบัสเมื่อมีความยาวของบั
สมาก ๆ จึงทําใหจํานวนอุปกรณตอบัสถูกจํากัด ดังนั้นจึงมีการนําเสนอแหลงจาย
กระแสไฟสําหรับสายบัสที่เรียกวา FISCO (Fieldbus Intrinsically Safe COncept)
[2] เพื่อนํามาใชงานกับระบบ Fieldbus ในแบบ I.S โดยการใชงานแหลงจายไฟแบบ
FISCO จะคลายกับการใชงาน Barrier แตสายบัสและอุปกรณที่จะนํามาตอกับแหลง
จายไฟแบบ FISCO จะมีขอกําหนดตาง ๆ ดังนี้

* ระบบบัสตองเปนไปตามมาตรฐาน IEC-1158-2
* อุปกรณที่ตออยูกับบัสจะตองดึงกระแสจากบัสเทานั้น
* อุปกรณแตละตัวตองกินกระแสไฟฟาต่ําสุดที่ 10 mA และในชวงการสง
สัญญาณกระแสจะแกวงอยูในชวง ( 9 mA
* ความยาวของบัสสูงสุดเทากับ 1,000 เมตร
* สายบัสตองมีคาตัวแปรตาง ๆ ดังนี้ ความตานทาน = 15-150 (/km, คาอินดัก
แตนซ = 0.4-1 mH/km, คาคาปาซิแตนซ = 80-200 (F/km
* Bus Terminator มีความตานทาน = 90 - 100 (, คาคาปาซิแตนซ = 0- 2.2 (F

รูปที่ 13 การใชงาน FISCO

รูปที่ 14 สัญญาณกระแสตามขอกําหนดของ FISCO

แหลงจายกระแสในรูปแบบ FISCO จะมีกราฟคุณลักษณะการจายกระแสเปน


แบบสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Trapezoidal หรือ Rectangular) โดยจะมี
ชุดสําหรับควบคุมกระแสใหคงที่ เมื่อมีการดึงกระแสเพิ่มขึ้นแรงดันไฟฟาจะยังคงมีคา
คงที่จนถึงคากระแสสูงสุดที่กําหนดไว ตัวอยางแหลงจายไฟแบบ FISCO สําหรับการ
ใชงานในกลุมกาซ IIC ชนิด "ib" จะมีคาแรงดันไฟฟาดานขาออกสูงสุดเปน 15 V และ
มีแรงดันไฟฟาทํางานที่ 13.5 V และจากรายงานของ PTB report W-39 [2] จะ
กําหนดคากระแสสูงสุดไวที่ 128 mA ดังนั้นสามารถเขียนกราฟคุณลักษณะของแหลง
จายไดดังรูปที่ 15

รูปที่ 15 กราฟคุณลักษณะแหลงจายไฟแบบ FISCO ชนิด "ib"

จากขอกําหนดสัญญาณกระแสของอุปกรณการวัดในแบบ FISCO จะใชกระแส


ที่ชวงเวลาปกติเปน 10 mA ดังนั้นเมื่อนําแหลงจายแบบ FISCO ไปใชงานกับระบบ
FieldBus ที่มีระยะความยาวของสายบัสเปน 750 เมตร จะสามารถจายกระแสได
ประมาณ 110 mA ดังนั้นจํานวนอุปกรณที่สามารถนําไปตอกับสายบัสแบบนี้จะมี
จํานวนไดเทากับ 10 ตัว ซึ่งจํานวนอุปกรณการวัดจะมีจํานวนมากกวาการใช Barrier
แบบเกา ในปจจุบันแหลงจายไฟแบบ FISCO สามารถนําไปใชงานกับระบบควบคุม
FieldBus ที่มีใชกับอุปกรณเครื่องมือวัดทั้งสองรูปแบบคือ FOUNDATION FieldBus
และ PROFIBUS-PA
จากหลักการของระบบการปองกันการเกิดประกายไฟในรูปแบบจํากัดพลังงาน
หรือ ระบบ Intrinsically Safe (I.S) จะมีขอกําหนดในการนําไปใชที่ตองพิจารณาอยู
หลายขอ ดังนั้นในการนําระบบนี้ไปใชงานทั้งในการควบคุมแบบทั่วไปและแบบ
FieldBus จะตองมีการคํานวณคาตัวแปรใหเหมาะสมกันระหวางอุปกรณการวัดและ
Barriers นอกจากนั้นแลวชนิดของ Barriers ก็จําเปนตองเลือกใหเหมาะสมเชนกัน
ปญหาที่พบบอยครั้งในการใชงานระบบ I.S จะเปนคาแรงดันไฟฟาที่ดานขาออกของ
Barrier มีคาต่ําเกินไปจนทําใหอุปกรณการวัดบางชนิดหยุดทํางาน เมื่อมีการดึง
กระแสจากระบบมากขึ้น

You might also like