Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

กรณีศึกษา บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด

(Garden of Fruition, Suan Nguen Mee Ma)

1. ภาพรวมของธุรกิจ

1.1 ประวัติ ความเปนมา


เริ่มจากการคนพบ “จุดออน” ของ NGOs แบบเดิม ที่ตองพึ่งพาแหลงทุนภายนอก ไมสามารถสรางรายไดเพื่อ
หลอเลี้ยงตัวเอง ในขณะที่องคกรธุรกิจก็มุงเนนกำไร โดยละเลยสังคม จึงเปนแรงบันดาลใจใหสรางบริษัทที่มี
แนวคิดใกลเคียงกับคำวา “ผูประกอบการเพื่อสังคม” ขึ้นมา
Q
“บริษัท สวนเงินมีมา” กอตั้งขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2544 เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไปพรอมกับ กิจกรรม
ทางสังคม อันประกอบไปดวยผูถือหุนทั้งจากองคกรดานสังคมและนักธุรกิจ ที่ใสใจในปญหาสังคม ชุมชน สิ่ง
แวดลอม และศักยภาพดานในของมนุษย

1.2 แนวคิดของธุรกิจ
การผลิตหนังสือในแนว “กระบวนทัศนใหม” ทั้งดานการศึกษา ศิลปะ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร ฯลฯ ถึงแมจะ
ไมใชกระแสหลักของสังคม แตก็มีตลาดเฉพาะของตัวเอง ที่สำคัญยังมี “คูแขง” ไมมากนัก เพราะตองใชทั้ง
ความสามารถในเชิงธุรกิจ ควบคูกับความสนใจเรื่องราวทางสังคม

เคล็ดลับสำคัญ คือ การทำ Social Marketing ซึ่งเปนการประชาสัมพันธหนังสือและบริษัท โดยไมใชแคการ


ถามและตอบ(Q&A) เหมือนกับบริษัทหนังสือทั่วไป แตมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรูและกิจกรรมทางสังคม
ควบคูไปดวยเสมอ จึงทำใหยากที่ “คูแขง” จะเขามาแยงชิงตลาดได เพราะขาดความเขาใจที่ลึกซึ้งและความ
พรอมที่จะลงทุนในจุดแข็งนี้

1.3 วิสัยทัศนของบริษัท
จนกระทั่งปจจุบัน บริษัทสามารถเผยแพร “กระบวนทัศนใหม” ทางสังคมและสิ่งแวดลอมไปในวงกวางมากขึ้น
อยางไรก็ตาม หนังสือนับ 100 เลมที่พิมพจำหนายนั้น ยังคงเปน “หนังสือแปล” ถึง 80%

ดังนั้น วิสัยทัศนของบริษัท ที่นอกจากพยายามผลักดัน “กระบวนทัศนใหม” โดยผานสื่อและกิจกรรมที่หลาก


หลายแลว ยังตองการที่จะพัฒนาคนรุนใหมใหสามารถผลิตผลงานในเชิงกระบวนทัศนดานสังคมและสิ่ง
แวดลอมใหเพิ่มมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยหวังวาความคิดและเครือขายที่บริษัทไดพัฒนามา
หลายปนั้น จะชวยทำใหเกิด “นักเขียนหนาใหม” เพิ่มมากขึ้น
แนนอนวา รากฐานของการเขียน ก็คือ การอาน ดังนั้น สำนักพิมพจึงยังคงเรงพัฒนา เผยแพร และจัดกิจกรรม
อยางตอเนื่อง เพื่อทำใหสังคมไทยเปน “สังคมอุดมปญญา (Wisdom Society)”

1.4 วัตถุประสงค
1. เสริมสรางการมีสวนรวมของผูผลิตและผูบริโภค ดวยตระหนักถึงพลังอันสรางสรรค ของผูบริโภค รวม
ทั้งจิตสำนึกที่ตื่นขึ้นมารับผิดชอบรวมกับผูผลิต ในดานสิ่งแวดลอม สังคม วัฒนธรรม ชุมชน สุขภาพ
2. รณรงคใหเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของรูปแบบทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการตลาด ที่เปน
โอกาสใหเกิดการเรียนรูรวมกันถึงคุณคาอยางใหมในการดำเนินชีวิต

1.5 ขั้นตอนการเริ่มดำเนินการ
เริ่มจากการนำแนวคิดธุรกิจมาปรึกษาคุณสุลักษณ ศิวรักษ จึงไดรับเงินลงทุนเริ่มตน 250000 บาท หลังจาก
นั้นจึงไดเขียน Business Plan เพื่อระดมทุนเพิ่มเติมจากนักธุรกิจและองคกรเพื่อสังคมตางๆ จนไดเงินทุนจด
ทะเบียนในเบื้องตน 5 ลานบาท

1.6 สรุปผลการทำงานที่ผานมา
ในชวงเริ่มตน หนังสือที่พิมพออกมาขายไดไมมากนัก กวาจะพิมพซ้ำครั้งที่ 2 ก็ผานไป 5 ป แตในปจจุบัน
หนังสือที่พิมพออกมามีเกินกวา 100 เลมแลว และบางเลมสามารถพิมพซ้ำไดภายในเวลาไมกี่เดือน โดยไดรับ
ความสนใจจากสถาบันตางๆ มาขอซื้อครั้งละมากๆ

ตั้งแตป 2549 สวนเงินมีมา เริ่มไดรับความสนใจจากองคกรตางๆ ทั้งการสั่งซื้อหนังสือ การขอคำปรึกษาใน


เรื่องการจัดกิจกรรมสัมมนา จนกระทั่งไดรับ “ทุน” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ
(สสส.) เพื่อจัดทำโครงการ “เครือขายตลาดสีเขียว” เพื่อเผยแพรและสนับสนุนการสรางเศรษฐกิจสีเขียว
(Green Economy) ใหประสบความสำเร็จในประเทศไทย

สวนเงินมีมา จึงกำลังอยูในชวงวงจรแหงการเจริญเติบโต และสามารถเผยแพรกระบวนทัศนใหมทางสังคม


ออกไปสูสาธารณะชนในวงกวางไดอยางทรงพลัง
2. ผลิตภัณฑ/บริการ

2.1 ภาพรวมผลิตภัณฑ/บริการ
Q
สวนเงินมีมา มุงเนนการเผยแพร “กระบวนทัศนใหม” ทางสังคมอยางครบวงจร ดังนั้น ผลิตภัณฑและบริการจึง
มีหลากหลาย ดังนี้

1. สำนักพิมพสวนเงินมีมา ผลิตหนังสือเพื่อเผยแพร “กระบวนทัศนใหม” ทั้งทางดานการศึกษา ศิลปะ


เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร ฯลฯ โดยปจจุบันไดมีผลิตงานออกมานับ 100 ชิ้นแลว
2. รานหนังสือศึกษิตสยาม เปนสถานที่สำหรับผูคนมานั่งเลน ไดพลิกอาน หนังสือ เปนการบมเพาะ
อุปนิสัยรักการอาน หรือวางรากฐานดานวัฒนธรรมหนังสือ ใหมั่นคง ยิ่งนักอาน รุนใหมสนใจพูดคุยถก
เถียงและอภิปรายกันดวยปญหาตางๆ ยิ่งสมควรมีที่ทางใหผูคนไดใช ตั้งแตป 2553 บริษัทสวนเงินมี
มาจะเปลี่ยนชื่อรานเปน “สวนเงินมีมา” เพื่อสรางแบรนดที่ชัดเจนใหกับผูบริโภค
3. การจัดงานสัมมนาเพื่อเผยแพรแนวคิดทางสังคม (Social Marketing) มีการเชิญผูเขียนหนังสือเลม
ตางๆของทางสำนักพิมพ มาปาฐกถาและเสวนาแลกเปลี่ยน โดยไมจำกัดที่การโปรโมตหนังสือ แตยัง
เปนการเผยแพรแนวคิดและสรางเครือขายของผูที่สนใจอีกดวย
4. ออรแกนิคสเตชั่น (Organic Station) ตั้งอยูที่รานหนังสือศึกษิตสยาม โดยเปนมุมสถานีเกษตรอินทรีย
เล็กๆ ภายในรานจำหนายสินคาเกษตรอินทรียจากแหลงผลิตในชุมชนและผูประกอบการราย ยอย
ตางๆ ที่มีคุณภาพและปลอดภัยตอผูบริโภค นอกจากนี้ยังเปนแหลงเรียนรูเกี่ยวกับเรื่องราวของ เกษตร
อินทรียโดยมีมุมเผยแพรความรูเกี่ยวกับเกษตรอินทรียและระบบ CSA เพื่อสรางผูบริโภคสายพันธุใหม
ที่นอกจากจะรักสุขภาพแลวยังตระหนักและ หวงใยถึงสิ่งแวดลอม
5. โครงการพิเศษ เชน เครือขายตลาดสีเขียว ที่ไดรับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุข
ภาพ (สสส.)

2.2 ศักยภาพและขอบเขตของผลิตภัณฑ/บริการ
ผลิตภัณฑและบริการของสวนเงินมีมา ไดขยายขอบเขตจากสำนักพิมพเล็กๆ ไปเปนสำนักพิมพที่สรางผลกระ
ทบในวงกวาง และยังไดรับทุนสนับสนุนใหจัดทำโครงการพิเศษ เพื่อเผยแพรกระบวนทัศนใหมทางสังคม

ยิ่งกวานั้น ภายหลังการตื่นตัวเรื่อง “โลกรอน” ไดกลายเปนกระแสโลก รวมถึง กระบวนทัศนใหมทางดานการ


ศึกษา ธุรกิจเพื่อสังคม ฯลฯ ไดรับความสนใจจากผูคนในวงกวาง จึงทำใหผลิตภัณฑและบริการของสวนเงินมี
มา มีศักยภาพในการขยายตัวทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ จนสามารถ “สื่อสาร” กับประชาชนไดอยางครบ
วงจร
3. โอกาสทางธุรกิจ

3.1 แผนการตลาด
“สวนเงินมีมา” เชื่อวาการทำกิจกรรมเพื่อสังคมไมควรปฏิเสธ “ความงาม” เหมือนกับที่ NGOs สวนใหญเชื่อถือ
กัน ดังนั้น สำนักพิมพจึงใหความสำคัญกับ “การออกแบบ” หนังสือเพื่อใหมีสุนทรียะและเปนกลยุทธทางการ
ตลาดที่ทำใหสินคาของตนเองโดนเดนสะดุดตาจากคูแขงเมื่อวางเรียงกันในรานหนังสือทั่วประเทศ
Q
ปรัชญาในการออกแบบที่ใชคือ “วะบิ-ซะบิ” ที่เนนความงามที่อิงกับธรรมชาติ แสวงหาสุนทรียะทามกลาง
ความไมยั่งยืนของสรรพสิ่ง ยิ่งกวานั้น สำนักพิมพควรจะมี “บุคลิก” เฉพาะตัว เพื่อใหคนจดจำได และในที่สุดก็
จะกลายเปนแฟนประจำ โดยสวนเงินมีมาจะเลือกพิมพเฉพาะหนังสือที่เขากับบุคลิก นั่นคือ กระบวนทัศนใหม
ในเรื่องตางๆ ไมวาจะเปนวิทยาศาสตร การศึกษา ศิลปะ ฯลฯ

นอกจากนี้ สำนักพิมพยังมีการทำ Social Marketing ในรูปแบบตางๆ ซึ่งนอกจากสอดคลองกับอุดมการณใน


การกอตั้งสวนเงินมีมาแลว ยังชวยในการประชาสัมพันธหนังสือของสำนักพิมพอีกดวย

3.2 แผนการผลิต
สำนักพิมพคอนขางใหความสำคัญกับการใชวัสดุที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมในการผลิตหนังสือ โดยไดเปลี่ยน
จากการใชกระดาษอารตมันมาเปนกระดาษปอนด แนนอนวา ในอุดมคติบริษัทตองการจะใชกระดาษ
Recycle แตเนื่องจากตนทุนที่คอนขางสูง จึงตองประนีประนอมมาใชกระดาษปอนดที่ทำลายสิ่งแวดลอมนอย
กวากระดาษอารตมัน
Q
อยางไรก็ตาม กระดาษปอนดมีความคงทนนอยกวากระดาษอารตจึงอาจทำใหหนาปกยับเยินไดงายกวา ดัง
นั้นสำนักพิมพจึงไดแกปญหาดวยการใส “ปกปก” เพื่อทำใหปกหนงสือแข็งแรงขึ้น แนนอนวา ยอมทำให
หนังสือมีราคาแพงขึ้น แตกระนั้นก็ยังถือเปนการสราง “ความแตกตาง” จากหนังสือทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อ
สามารถใสประวัติผูเขียนเขาไปที่ “ปกปก” ซึ่งชวยในการตัดสินใจซื้อของผูบริโภคไดอีกทางหนึ่งดวย
Q
เนื่องจาก “บุคลิก” ของหนังสือเปนสิ่งที่ตองรักษาใหเกิดความภักดีในแบรนด ดังนั้น ในการจัดทำหนังสือจะ
ตองมีการ “ประชุม” อยางสม่ำเสมอ เพื่อรวมกันคิด Concept และการออกแบบใหเปนไปในแนวทางเดียวกัน
โดยจะเห็นวา แมสำนักพิมพจะจางบริษัทออกแบบปกนับ 10 แหง แตรูปลักษณและสไตลยังคงรักษาบุคลิก
เฉพาะตัวของหนังสือไว เนื่องจากสำนักพิมพมีความชัดเจนในแนวคิดจึงสามารถบรีฟงานใหฝายออกแบบได
อยางถูกตองตรงตามสิ่งที่ตองการนำเสนอใหกับนักอาน
3.3 วิเคราะหตลาด และคูแขง
ในปจจุบันมีสำนักพิมพผุดขึ้นมาแขงขันกันเปนจำนวนมาก อยางไรก็ตาม กลุมลูกคาของ “สวนเงินมีมา” มี
ลักษณะเฉพาะคอนขางมาก ดังนั้น จึงมีคูแขงไมมากนัก โดยเฉพาะคนที่จะทำหนังสือประเภทนี้ไดจะตองมี
ความรูความเขาใจดานกิจกรรมเพื่อสังคมเปนอยางดี ซึ่งทำใหยากที่สำนักพิมพทั่วไปจะสามารถเขามาแขงขัน
ไดเลย
Q
ปญหาสำคัญของ “สวนเงินมีมา” จึงนาจะอยูที่การขยายตลาดมากกวาความรุนแรงจากการแขงขัน โดยเฉพาะ
เมื่อคนไทยยังคอนขางลาหลังในเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคม แตในอนาคตเมื่อกระแส “เพื่อสังคม” ไดเติบโตอยาง
ยั่งยืนในประเทศพัฒนา ก็มีแนวโนมวาตลาดของสวนเงินมีมาจะขยายออกไปอยางกวางขวาง โดยในชวง 3 ป
ที่ผานมาก็ไดพิสูจนความจริงขอนี้เปนอยางดี

3.4 วิเคราะหการเติบโตของธุรกิจ
“สวนเงินมีมา” ไดสรางรากฐานและตราสินคา (Brand) จนเปนที่รูจักของคนในวงกวางแลว เมื่อบวกกับกระแส
โลกที่กำลังหันมาสนใจเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอม ก็ยิ่งทำใหบริษัทมีโอกาสเติบโตสูงมาก
Q
ที่สำคัญ บริษัทยังเลือกที่จะ “สื่อสาร” กับผูบริโภคอยางกวางขวาง ทั้งผานหนังสือ เว็บไซต งานสัมมนา และ
โครงการพิเศษอื่นๆ เชน เครือขายตลาดสีเขียว โครงการ GNH ทั้งหมดไดชวยทำใหธุรกิจของสวนเงินมีมาไดรับ
การตอยอดและบอกตอในกลุมผูบริโภคที่อาจมีความตองการและรสนิยมที่แตกตางกัน ไดรูจักและมาเปน
ลูกคาของบริษัทมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกลนี้

4. ผลทางสังคม/สิ่งแวดลอม

4.1 การแกปญหาทางสังคม/สิ่งแวดลอมของบริษัท
ผลิตภัณฑและบริการของบริษัท ไดชวยแกปญหาทางดานสังคมและสิ่งแวดลอม ดังนี้

1. หนังสือ
เนื่องจาก “บุคลิก” ของสำนักพิมพ คือ การเผยแพร “กระบวนทัศนใหม” ทางสังคม ทั้งในเชิงการศึกษา
วิทยาศาสตร ศาสนา ศิลปะ เศรษฐกิจ สิ่งแวดลอม ฯลฯ โดยปจจุบันไดตีพิมพหนังสือออกมาเกินกวา 100
รายการแลว โดยบางรายการนั้นก็มีการตีพิมพซ้ำหลายครั้ง มีองคกรตางๆ เชน มหาวิทยาลัย กระทรวง บริษัท
ฯลฯ ไดสั่งซื้อไปเผยแพรใหกับบุคลากร จึงยอมทำให “เนื้อหาทางสังคม” ที่บริษัทตองการนำเสนอ ไดซึมซาบ
เขาไปในจิตใจและความคิดของบุคคลตางๆ และบางสวนยอมแปรเปลี่ยนเปนการกระทำทางสังคม
2. การปาฐกถาและเสวนา
เนื่องจากบริษัทเขาใจถึง “ขอจำกัด” ของหนังสือที่มีอิทธิพลตอจิตใจของผูคน ดังนั้น จึงไดมีการเชิญผูเขียนมา
รวมสนทนากับนักอาน เพื่อเปดโอกาสใหผูอานที่สนใจในเรื่องเดียวกันสามารถมาแลกเปลี่ยนสนทนาและตอย
อดความรูกันได ซึ่งนาจะนำไปสูการสรากลุมเคลื่อนไหวทางสังคมในอนาคตได
ดังนั้น จึงนับวา “หนังสือ” และ “วงเสวนา” เปนการสื่อสารทางสังคมที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และทำให
แนวคิดเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอม สามารถซึมลึกและนำไปสูการเปลี่ยนแปลงไดมากกวาใชเพียงสื่อใดสื่อหนึ่ง
เพียงอยางเดียว
Q
หลังจากงานเสวนาหลายตอหลายครั้ง ไดมีผูฟงจำนวนหนึ่งบังเกิดแรงบันดาลใจ และติดตอเขามาเพื่อขอ
ความชวยเหลือในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมตางๆ จึงนับวาบริษัทประสบความสำเร็จในการสรางความ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมอยางนอยในระดับหนึ่ง

3. เครือขายตลาดสีเขียว
หลังจากที่บริษัทไดสรางอิทธิพลทางความคิดผานตัวหนังสือและวงเสวนามาระดับหนึ่งแลว จึงไดรับทุนจาก
หนวยงานภายนอก เพื่อใหเปน “ตัวกลาง” ในการประสานเครือขายเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอม

โดยเฉพาะ “เครือขายตลาดสีเขียว” ไดเปนตัวกลางในการประสานระหวางผูผลิต ผูบริโภค และตลาด ลาสุดได


จัดตั้ง “ตลาดนัดสีเขียว” ที่บริเวณอาคาร Regent House โดยพอคาแมคาสามารถบริหารงานกันเองได
นอกจากนี้ ยังเขาไปใหคำแนะนำกับผูผลิตในการลดเลิกการใชสารเคมี โดยเสนอความชวยเหลือดานตลาด
และผูบริโภคใหกับผูผลิตที่เขารวมโครงการ

ปจจุบัน “เครือขายตลาดสีเขียว” มีผูประกอบการรายยอยเขารวมโครงการ 30-40 ราย มีสมาชิกบอกรับ


ขาวสารขอมูลหลายพันคน และมีแผนงานที่จะขยายเครือขาย กิจกรรม และนวัตกรรมใหมๆ ออกไปในพื้นที่
ตางๆทั่วประเทศไทย

5. แผนการบริหารจัดการ
Q
5.1 ขอมูลบริษัท
P
ชื่อP บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด (Garden of Fruition)
ที่อยูQ ๑๑๓-๑๑๕ ถนนเฟองนคร ตรงขามวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕. ๐ ๒๒๒๒ ๕๖๙๘
โทรสาร ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘
แผนที่

โดยมี “โครงสรางผูถือหุน” ดังนี้

ชื่อ หนวยงาน เวบไซด


๑.อาจารยสุลักษณ ศิวรักษ www.sulak-sivaraksa.org
๒. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป www.semsikkha.org
๓. อาศรมวงศสนิท www.semsikkha.org
๔. เสมสิกขาลัย www.semsikkha.org
๕. สถาบันสันติประชาธรรม www.sulak-sivaraksa.org
๖. ปรีดา เตียสุวรรณ บริษัทแพรนดาจิวเวลรี่ www.pranda.com
๗. ธีรพล นิยม มูลนิธิสานแสงอรุณ www.thailandkid.com
๘. เสถียร เศรษฐสิทธิ์ โรงเบียรเยอรมันตะวันแดง www.tawandang1999.com
๙. สมเกียรติ อภิญญาชน บริษัทเอพินาอุตสาหกรรม www.apina.co.th
๑๐.ประวิทย เยี่ยมแสนสุข หางหุนสวนวังแดงเอ็กซเพรส www.wangdex.co.th
๑๑.อภิสิรี จรัลชวนะเพท, มาซากิ ซาโต โรงเรียนอนุบาลบานรัก www.baanrakk.th.edu
๑๒.สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง บริษัทวันเดอรเวิลด www.wonderworldtoy.com
๑๓.บริษัท เคล็ดไทย จำกัด www.kledthai.com
๑๔.ศิโรช อังสุวัฒนะ
๑๕.วัลลภา แวน วิลเลี่ยนสวารด http://www.suan-spirit.com
๑๖.ฮันส แวน วิลเลี่ยนสวารด http://www.suan-spirit.com

5.2 แผนผังบริษัท

ชื่อ บทบาท อีเมล


วัลลภา แวนวิลเลี่ยนสวารด ผูจัดการ wallapa@suan-spirit.com
ฮันส แวนวิลเลี่ยนสวารด ฝายตางประเทศ hans@suan-spirit.com
Businessandsociety นิตยสาร Business&society businessandsociety@suan-spirit.com
ฝายการตลาดและฝายขาย สำนักพิมพสวนเงินมีมา shopping@suan-spirit.com
ฝายหนังสือและสำนักพิมพสวนเงินมี
สำนักพิมพสวนเงินมีมา publishers@suan-spirit.com
มา
http://www.suan-
ผูดูแเลเว็บไซต webmaster@suan-spirit.com
spirit.com
ฝายธุรการและสำนักงาน บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด suanco@suan-spirit.com

You might also like