Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 1

การถ่ายทอดลักษณะตามกฏของเมนเดล (ส่วนเพิ่ม)
(Extensions of Mendelian inheritance)

สมชาย แสงอำานาจเดช
2 มีนาคม 2553

การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวต ิ ตามกฏของเมนเดล (Mendelian inheritance) เป็ นรูปแบบ


การถ่ายทอดท่ีเป็ นไปตามกฏสองข้อ คือกฏของการแยกออกจากกัน (law of segregation) และกฏ
ของการจัดรวมเข้าชุดกันอย่างอิสระ (law of independent assortment) กรณีท่ีเป็ นการถ่ายทอด
ลักษณะตามกฏของเมนเดลอย่างง่ายเรียกว่า simple Mendelian inheritance คือลักษณะ (trait) ท่ีเป็ น
ผลจากยีนๆเดียวท่ีพบในแอลลีลต่างกันสองแอลลีลและแอลลีลหนึ่งเด่นกว่าอีกแอลลีลหนึ่งทำาให้
สามารถสังเกตอัตราส่วนในรุ่นลูกท่ีเป็ นไปตามกฏของเมนเดล (เช่นผสมต้นถ่ัวพันธุส ์ ูงและพันธุ์
แคระ เม่ ือได้รุ่นลูก F1 (first filial generation) ก็นำามาผสมกันเองจะได้รุ่นลูก F2 (second filial
generation) ซึ่งจะมีอัตราส่วนของต้นสูงและแคระเป็ น 3 ต่อ 1)
กรณีท่ีการถ่ายทอดลักษณะมีความซับซ้อนท่ีแอลลีลจำานวนมากไม่แสดงอัตราส่วนของ
ลักษณะในรุ่นลูกตามกฏของเมนเดล เน่ ืองจากมีปัจจัยหลายอย่างท่ีมีผลต่อการแสดงลักษณะ เช่น
ระดับการแสดงออกของโปรตีน เพศของแต่ละคน การมีหลายแอลลีลในยีนๆหนึง ่ และผลจากสิ่ง
แวดล้อม นอกจากน้ีลก ั ษณะหนึ่งๆอาจเป็ นผลจากยีนสองยีนท่ีต่างกัน นอกจากน้ีรูปแบบการ
ถ่ายทอดพันธุกรรมในยูคารีโอตอาจจะไม่เป็ นไปตามกฏท้ังสองข้อ (laws of segregation และ
independent assortment)
ในบันทึกย่อจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกของยีนเพ่ ือสร้างโปรตีนท่ีทำา
หน้าท่ี และลักษณะฟี โนทัยป์ ของคนท่ีได้มาจากยีน รวมท้ังเหตุผลว่าทำาไมบางคร้ังจึงไม่ได้
อัตราส่วนรุ่นลูกเป็ น 3 :1

ชนิดของการถ่ายทอดลักษณะ
การถ่ายทอดลักษณะตามกฏของเมนเดลแบบต่างๆในยีนๆเด่ียว
1. Simple Mendelian
2. Incomplete dominance
3. Incomplete penetrance
4. Overdominance
5. Codominance
6. X linked
7. Sex-influenced inheritance
8. Sex-limited inheritance
9. Lethal alleles

1. Simple Mendelian

การถ่ายทอดแอลลีลเป็ นไปตามกฏของเมนเดลและในลักษณะเด่นและด้อย บางยีนอาจมีต้ัง


แต่ส
่ ามแอลลีลทำาให้ความสัมพันธ์ซับซ้อน แต่โปรตีนเพียงครึ่งเดียว (50 %) ท่ีสร้างขึ้นมาจากแอล
ลีลท่ีเด่น (dominant allele) น้น
ั เพียงพอท่ีจะทำาให้ได้ลก
ั ษณะเด่น
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 2

แอลลีลท่พี บมากๆในประชากรตามธรรมชาติจัดเป็ น wild-type alleles และในกลุ่มประชากร


ท่ีมีขนาดใหญ่มากอาจมี wild-type alleles จำานวนมาก เรียกว่า genetic polymorphism ตามปรกติ
แอลลีลท่ีเป็ น wild-type จะเก็บรหัสโปรตีนท่ีสร้างขึ้นในปริมาณท่ีพอเหมาะและทำาหน้าท่ีได้ตาม
ปกติ แอลลีลน้ีมักช่วยให้สง ิ่ มีชีวิตสืบพันธุ์ได้สำาเร็จในสภาพตามธรรมชาติ ถ้ามีการกลายพันธุ์เกิด
ขึ้นจะได้ mutant alleles ซึ่งมักทำาให้เกิดความผิดปกติไม่สามารถสร้างโปรตีนท่ีทำาหน้าท่ีได้ แอลลีล
ชนิดน้ีมักเกิดน้อย โดยท่ัวไปจะถ่ายทอดในลักษณะด้อยแต่ไม่เสมอไป ในแมลงหว่ี ลักษณะตาสีแดง
และปี กขนาดปรกติเป็ น wild-type alleles ส่วนตาสีขาวและปี กขนาดเล็กเป็ น recessive mutant alleles

ตัวอย่างโรคในคนท่ีเกิดจาก recessive alleles

โรค โปรตีนท่ีสร้างในยีนปรกติ
Phenylketouria Phenylalanine hydrolase
Albinism Tyrosinase
Tay-Sachs disease Hexoaminidase A
Sandhoff disease Hexoaminidase B
Cystic fibrosis Chloride transporter
Lesch-Nyhan syndrome Hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase (unable to metabolize
purines, leading to self-multilation behaviour, poor motor sills, and
usually mental impairment and kidney failure.)

ในคนยีนทุกๆยีนมีสองชุดยกเว้น sex-linked genes ในเฮเตอโรไซกัสจะมีแอลลีลหนึ่งเป็ น


recessive allele แต่จะมีลักษณะฟี โนทัยป์ ปรกติเพราะว่า ปริมาณโปรตีนท่ีผลิตจากแอลลีลเด่น
(dominant allele) เพียงชุดเดียวน้น
ั สามารถผลิตโปรตีนท่ีสามารถทำาหน้าท่ีได้ในปริมาณ 50 % น้น ั
เพียงพอ อย่างไรก็ตามในยีนอ่ ืนๆเฮเตอโรไซกัสอาจสร้างโปรตีนท่ีทำาหน้าท่ีตามปกติในปริมาณ
มากกว่า 50 % โดยทำาให้เกิดการเพิ่มขึ้น (up-regulated) เพ่ ือชดเชยการขาดไปใน defective alleles

2. Incomplete dominance

มีบางกรณีท่ีเฮเตอโรไซโกตแสดงลักษณะเด่นท่ีไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) ซึ่งแสดง


ลักษณะฟี โนทัยป์ ตรงกลางระหว่างฟี โนทัยป์ ของโฮโมไซโกตท้ังสอง เช่นสีชมพูท่ีเป็ นลูกผสมของสี
แดงและขาวของดอกต้น four-o'clock (Carl Correns, German botanist, 1905) ลักษณะดอกสีชมพูของ
เฮเตอโรไซโกตเป็ น intermediate phenotype
แอลลีลสำาหรับดอกขาวน่าจะไม่สร้างโปรตีนท่ีเก่ียวกับสี ดังน้ันกรณีของเฮเตอโรไซโกตแอล
ลีของดอกสีแดงจะสร้างโปรตีนได้เพียง 50 % ซึ่งไม่พอเพียงท่ีจะแสดงลักษณะสีแดงของดอก ใน
ลักษณะฟี โนทัยป์ เดิมท่ีพบว่ามีความสัมพันธ์แบบ simple Mandelian เช่นลักษณะของเมล็ดถ่ัวกลม
หรือย่น และเฮเตอโรไซโกตมีลักษณะเมล็ดกลม แต่ถ้าผ่าเม็ดดูแล้วตรวจการสร้างแป้ งจะพบว่าเฮ
เตอโรไซโกตไม่สามารถสร้างโปรตีนเพียงพอท่ีจะทำาให้มีแกรนูลของแป้ งมากพอการตรวจลงใน
รายละเอียดน้ีจง
ึ สรุปได้ว่าเฮเตอโรไซโกตของแอลลีลน้ีแสดงลักษณะเด่นท่ีไม่สมบูรณ์

(บางคร้ังสุนัขพันธุ์ Dalmatian ท่ีไปผสมกับสุนัขพ้ ืนบ้าน ได้ลก


ู สุนัขท่ีมีลักษณะคล้ายสุนัข
Dalmatian แต่แสดงจุดดำาท่ีผิวไม่ชัดเจนหรือจางๆเท่าน้ัน น่ันคือการแสดงลักษณะเด่นท่ีไม่สมบูรณ์
ดังน้น
ั อาจจัดอยูใ่ นกรณีน้)ี
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 3

3. Incomplete penetrance

บางคร้ังแอลลีลเด่นซึ่งตามปกติเม่ ืออยูใ่ นเฮเตอโรไซโกตจะแสดงลักษณะฟี โนทัยป์ แต่บาง


คร้ังในเฮเตอโรไซโกตน้ันกลับไม่แสดงฟี โนทัยป์ เลย เช่น การเกิด polydactyly ซึ่งเป็ นแอลลีลเด่น
บนออโตโซม (โครโมโซมท่ีไม่ใช่โครโมโซมเพศ) ซึ่งให้ลักษณะนิ้วมือ และ/หรือ นิ้วเท้าเพิ่มขึ้น เช่น
พ่อของนักเบสบอล Antonio Alfonseca เป็ นเฮเตอโรไซโกตแต่ไม่แสดงอาการแต่ถ่ายทอดแอลลีลน้ีสู่
ลูกชายและลูกสาวซึ่งแสดงอาการ
คือ แอลลีลเด่นน้ีไม่เข้าไปในลักษณะของคนได้เสมอไป ระดับของ penetrance หาจากกลุ่ม
ประชากร คือถ้าเฮเตอโรไซโกตท่ีมีแอลลีลเด่นจำานวน 60 เปอร์เซ็นต์แสดงลักษณะจะเรียกลักษณะ
trait น้ีว่าเป็ น 60% penetrant (แต่พูดในระดับบุคคลเพียงบอกว่าแสดงหรือไม่แสดงลักษณะน้ัน)
ลักษณะท่ีแสดงออกอาจเป็ นระดับการแสดงออกของ trait หรือ expressivity กรณีของ
polydactyly ถ้ามีจำานวนนิ้วมือหรือนิ้วเท้ามากเรียกว่ามี expressivity มากกว่า แต่ถ้าไม่มีลก
ั ษณะ
เลยเรียกว่า incomplete penetrance

4. Overdominance

เฮเตอโรไซโกตในบางยีนแสดงลักษณะท่ีทำาให้สามารถอยู่รอดในสิง ่ แวดล้อมบางอย่างคือ
ทำาให้อยู่รอดและมีลก ู หลาน เช่น มีขนาดใหญ่ ต้านทานโรค หรือทนทานสภาพแวดล้อมท่ีไม่เหมาะ
สมในการเจริญ เรียกว่าเป็ น overdominance หรือ heterozygote advantage
คนส่วนมากมีฮีโมโกลบิน เอ (HbA allele) ส่วนท่ีเป็ นโรคเลือดจางแบบเม็ดเลือดเป็ นรูปเส้ียว
(sickle-cell anemia) เป็ นโฮโมไซโกตสำาหรับแอลลีล HbS ผลิตฮีโมโกลบิน เอส ซึ่งรูปร่างน้ีทำาให้เม็ด
เลือดแดงมีอายุส้ันเพียงไม่กส ี ัปดาห์ นอกจากน้ียง ั ขาดความยืดหยุ่นทำาให้ไปติดในหลอดเลือดฝอย
ทำาให้บางบริเวณขาดออกซิเจนทำาให้เกิดความเจ็บปวดและบางคร้ง ั ทำาให้เน้ ือเย่ ือและอวัยวะเสีย
หาย คนท่ีเป็ นโฮโมไซโกตสำาหรับ Hb Hb จึงมีอายุส้ันกว่า จากการท่ีพบว่าแอลลีล ้HbS มีความถ่ส
S S
ี ูง
ในประชากรท่ีอยู่ในเขตมาลาเรีย เม็ดเลือดแดงของเฮเตอโรไซโกตเม่ ือติดเช้ ือมาลาเรีย
(Plasmodium) จะแตกทำาให้เช้ ือโปรโตซัวไม่สามารถเพิ่มจำานวนในคนน้ันได้ทำาให้ไมเป็ นมาลาเรีย
ดังน้น
ั ในเขตท่ีมาลาเรียชุกชุมน้ีจึงมีอัตรารอดและมีลก ู ได้มากกว่าความถ่ีของแอลลีลน้ีจึงมากกว่า
และเป็ น overdominance
การอธิบายระดับโมเลกุลเป็ นไปได้สามอย่าง คือ 1. มีโปรตีนต่างชนิดกันท่ีมีผลต่อการเจริญ
ของโปรโตซัว 2. โปรตีนอาจทำางานในรูปไดเมอร์ ในเฮเตอโรไซโกตมีโปรตีนไดเมอร์หลายชนิด
และอาจทำาหน้าท่ีได้ดีกว่า 3. โปรตีนอาจทำางานในสภาวะต่างกัน เช่นอุณหภูมิ โปรตีนจากเฮเตอโร
ไซโกตอาจทำางานได้ในช่วงอุณหภูมิกว้างกว่า
คำาว่า heterosis หรือ hybrid vigor ใช้เรียกผลท่ี hybrid แสดงลักษณะ (เช่น ขนาด น้ำหนัก
อัตราการเจริญ และความทนต่อโรค) ท่ีดก ี ว่าสายพันธุ์พ่อแม่

5. Codominance

ตัวอย่างคือแอลลีลท่ีกำาหนดหมู่เลือด มี 3 แอลลีล คือ IA, IB, และ i ซึ่งแอลลีล i เป็ นแอลลีล


ด้อย คนท่ีมีแอลลีลเป็ น ii จะมีหมู่เลือดเป็ นกลุ่มโอ แอลลีสำาหรับหมู่เลือด A ซึ่งมีแอนติเจนเออาจ
เป็ น IAIA หรือ IAi ในทำานองเดียวกัน หมู่เลือด B ซึ่งมีแอนติเจนบีอาจมีแอลลีลเป็ น IฺBIB หรือ IBi ใน
กรณีท่ีเป็ น IAIB ท้ังสองแอลลีลแสดงออกทำาให้คนมีเลือดเป็ นหมู่เอบี ปรากฏการณ์ในลักษณะน้ี
เรียก codominance ในกรณีน้ีเป็ น codominant ซึ่งกันและกัน

6. X-linked genes

ในสัตว์เล้ียงลูกด้วยน้ำนมโครโมโซมเพศชายจะเป็ น XY และเพศหญิงจะเป็ น XX ถ้า


Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 4

ลักษณะบางอย่างควบคุมโดยยีนท่ีอยู่บนโครโมโซมเพศ จะแสดงผลขึ้นกับจีโนทัยป์ และเพศ


ตัวอย่างคือโรค DMD (Duchenne muscular dystrophy) ท่ีแสดงกล้ามเน้ ืออ่อนแรงอาจจะแสดง
อาการในเด็กอายุน้อยท่ีสุดคือ 3 ขวบ จากน้ันจะทำาให้กล้ามเน้ ือโครงสร้างอ่อนแรงและในท่ีสุดมีผล
ต่อกล้ามเน้ ือหัวใจและกล้ามเน้ ือช่วยการหายใจ โอกาสรอดชีวต ิ หลังจากอายุ 30 ปี น้ันน้อยมาก ยีน
ของ DMD อยู่บนโครโมโซม X เก็บรหัสโปรตีนช่ ือ ดิสโทรฟิ น (dystrophin) ท่ีสำาคัญในการหนุน
โครงสร้างของเซลล์กล้ามเน้ ือโดยอาจจะช่วยให้องค์ประกอบของโครงสร้าง cytoskeleton ไปอยู่ใน
เย่ ือหุ้มเซลล์ กรณีท่ีขาดโปรตีนดิสโทรฟิ นเย่ ือหุ้มเซลล์จะไม่สามารถควบคุมการเข้าออกของสาร
และแตกได้ ดังน้น ั แอลลีลสำาหรับ DMD ถ่ายทอดแบบ X-linked recessive อาการแสดงส่วนมากจะ
เกิดในเพศชายและเพศหญิงจะเป็ นพาหะ (heterozygous carrier) การเกิดอาการในเพศหญิงน้อย
มากเน่ ืองจากต้องการแอลลีลท่ีกลายพันธุ์สองชุด (จากพ่อและแม่)
นอกจากน้ียังพบได้ในสุนัขบางสายพันธุ์เช่น โกลเดนรีทรีฟเวอร์ และส่วนมากมักตายในปี
แรกแต่บางตัวอยู่ได้ 3-5 ปี และมีลูกได้
ถ้าชายท่ีเป็ น DMD (XdY) แต่งงานกับหญิงท่ีปกติ (XDXD) จะมีโอกาสได้ลก ู หลานท่ีมีจโี นทัยป์
และฟี โนทัยป์ แสดงด้วย Punnett square ได้ดง ั น้ี

สเปริมส์
Xd Y
ไข่ XD XDXd XDY
พาหะ
ไม่เป็ นโรค ไม่เป็ นโรค
XD XDXd XDY
พาหะ
ไม่เป็ นโรค ไม่เป็ นโรค

ตรงกันข้าม ถ้าชายปกติ (XDY) แต่งงานกับหญิงท่ีเป็ น DMD (XdXd) จะมีโอกาสได้ลูกหลานท่ี


มีจีโนทัยป์ และฟี โนทัยป์ แสดงด้วย Punnett square ได้ดง
ั น้ี

สเปริมส์
XD Y
ไข่ Xd XDXd XdY
พาหะ
ไม่เป็ นโรค เป็ นโรค
Xd XDXd XdY
พาหะ
ไม่เป็ นโรค เป็ นโรค

จะเห็นว่าได้ Punnett square ไม่เหมือนกัน ท้ง


ั น้ีเพราะโครโมโซม X ของพ่อจะไม่มีโอกาสไปท่ี
ลูกชาย การท่ีได้ผลไม่เหมือนกันน้ีช้ีแนะว่าลักษณะฟี โนทัยป์ น้น
ั อาจเป็ น X-linked
ยีนท่ีอยู่เฉพาะบนโครโมโซม X (X-linked gene) ในมนุษย์และสัตว์เล้ียงลูกด้วยนมต่างๆมี
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 5

หลายร้อยยีน กรณีท่ียีนอยู่บนโครโมโซมเพศอันใดอันหนึ่งแต่ไม่พบในท้ง ั สองโครโมโซมเรียกว่า


ยีนท่ีเก่ย
ี วกับเพศ (sex-linked gene)
คำาว่า hemizygous ใช้เรียกยีนท่ีเป็ น X-linked ท่ีพบเพียงชุดเดียวในชาย เรียกสัตว์เล้ียงลูก
ด้วยนมเพศผู้ว่าเป็ น h้ emizygous สำาหรับยีน X-linked น้ัน มียีนน้อยกว่าท่ีอยู่บนโครโมโซม Y
เท่าน้ันเรียกว่าเป็ น holandric genes เช่นยีน Syr ในสัตว์เล้ียงลูกด้วยนมท่ีสำาคัญต่อพัฒนาการของ
สัตว์เพศผู้ การถ่ายทอดยีนน้ีชัดเจนว่าจากพ่อสูล ่ ูกเท่าน้ัน
โครโมโซมเพศท้ัง X และ Y มีบริเวณท่ีเป็ น homology ท่ีมียีนเด่ย ี วกัน นอกเหนือบริเวณ
เล็กๆยังมีบริเวณท่ีตรงกันสามบริเวณท่ีช่วยการวางเรียงโครโมโซม X และ Y ในระหว่างไมโอซิส I
มียีนไม่ก่ียน
ี ท่ีอยู่ในบริเวณ homologous region น้ี ตัวอย่าง เช่น ยีน Mic2 ซึ่งเป็ นยีนของแอนติเจน
บนผิวเซลล์ท่พ ี บในท้ังโครโมโซม X และ Y และมีการถ่ายทอดในลักษณะท่ีเรียกว่า
pseudoautosomal inheritance คือในแบบเดียวกับยีนท่ีอยู่บนออโตโซมท่ัวไป ดังน้น ั ในชายถือว่ามียีน
น้ีสองชุดท่ีสามารถถ่ายทอดให้ท้ังลูกสาวและลูกชาย

7. Sex-influenced inheritance

กรณีน้ีเพศมีผลต่อลักษณะฟี โนทัยป์ คือการถ่ายทอดท่ีแอลลีลเด่นในเพศหนึง ่ แต่ด้อยในอีก


เพศหนึ่ง พบใน heterozygotes และปกติเป็ นออโตโซม ไม่ใช่ยีนบนโครโมโซมเพศ ตัวอย่างเช่น
ลักษณะศีรษะล้านข้างหน้าและข้างบน (ไม่ล้านด้านข้าง) แอลลีลน้ี (baldness allele) ไม่ใช่ X-linked
แต่เป็ นออโตโซม ถ้าเพศชายถ้ามีแอลลีลน้ีเพียงชุดเดียว (heterozygous) จะศีรษะล้าน ในขณะท่ีเพศ
หญิงท่ีเป็ น h้ eterozygous สำาหรับยีนน้ีศีรษะจะไม่ล้าน กรณีท่ีผู้หญิงเป็ น homozygous สำาหรับแอล
ลีลศีรษะล้านจะแสดงลักษณะแต่มก ั แสดงในลักษณะผมบางชัดเจนเม่ ือเข้าช่วงท้ายของชีวิต

จีโนทัยป์ ฟี โนทัยป์
เพศชาย เพศหญิง
BB ศีรษะล้าน ศีรษะล้าน

Bb ศีรษะล้าน ศีรษะไม่ล้าน

bb ศีรษะไม่ล้าน ศีรษะไม่ล้าน

ลักษณะศีรษะล้านท่ีเกิดในเพศชายท่ีเป็ น heterozygote เน่ ืองจากเพศชายผลิตฮอร์โมนเพศ


เทสโทสเตอโรน (ถ้า ่ ผู้หญิงท่ีเป็ น heterozygote เป็ นเน้ ืองอกท่ีต่อมหมวกไตและมีการสร้างเทสโตส
เตอโรนมากจะแสดงลักษณะศีรษะล้านเช่นกัน) ยีนท่ีเก่ียวกับศีรษะล้านจะสร้างเอ็นไซม์ อัลฟา-รี
ดักเตส (α-reductase) จำานวนมากซึง ่ จะเปล่ียนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็ น 5-α-
dihydrotestosterone (DHT) (เพศหญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยจะมีการเปล่ียนเป็ น DHT น้อย)
ซึ่ง DHT เม่ ือจับตัวรับท่ีผิวเซลล์จะกระตุ้นให้เซลล์รวมท้ง ั เซลล์ของหนังศีรษะแสดงออกยีนจำานวน
มาก
การวิเคราะห์จากหลายๆตระกูล (pedigree) พบว่าพ่อท่ีศีรษะล้านโดยเฉล่ียมีลูกศีรษะล้าน
ประมาณครึ่งหนึ่ง ถ้าพ่อและแม่ท่ต ี ่างเป็ น heterozygous จะมีลูกชายท่ีศีรษะล้าน 75% แต่ถ้าท้ังพ่อ
และแม่เป็ น homozygous ลูกชายทุกคนจะศีรษะล้าน
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 6

ตาราง Punnett square สำาหรับพ่อและแม่ท่ีต่างเป็ น heterozygous ท่ีจะมีสัดส่วนรุ่นลูกศีรษะ


ล้านต่อศีรษะไม่ล้านเท่ากับ 4:4 หรือเท่ากับ 1:1 ดังน้ี

สเปริมส์
B b
ไข่ B BB Bb
เพศชายศีรษะล้าน เพศชายศีรษะล้าน
เพศหญิงศีรษะล้าน เพศหญิงศีรษะไม่ล้าน
b Bb bb
เพศชายศีรษะล้าน เพศชายศีรษะไม่ล้าน
เพศหญิงศีรษะไม่ล้าน เพศหญิงศีรษะไม่ล้าน

8. Sex-limited inheritance

ลักษณะบางอย่างเกิดในบางเพศ เช่นเต้านมในเพศหญิง เคราในเพศชาย ลักษณะน้ีมาจาก


ยีนท่ีเป็ นออโตโซม

9. Lethal alleles

แอลลีลท่สี ามารถทำาให้สิ่งมีชีวต ิ ตายเรียกว่า lethal alleles ประมาณว่ายีนจำานวนหนึ่งในสาม


ของยีนท้ังหมดเป็ นยีนสำาคัญ (essential genes) ในการอยู่รอด แต่ยน ี ท่ีไม่สำาคัญถ้าการแสดงออก
รบกวนหน้าท่ีของเซลล์ตามปกติแล้วทำาให้ตายได้ ตัวอย่างโรค ฮันติงตัน (Huntinhton) จากแอลลีล
ท่ีเด่น จะเกิดการเส่ ือมของระบบประสาทไปเร่ ือยๆ ทำาให้ความจำาเส่ ือม และเสียชีวิตเร็ว อายุท่ีจะ
เกิดอาการปกติระหว่าง 30-50 ปี บางคร้ังสิง ่ มีชีวิตจะตายในภาวะบางอย่าง เรียกแอลลีลน้ีว่า
conditional lethal alleles เช่น temperature-sensitive (ts) lethal alleles ในตัวลาร์วาของแมลงหว่ีท่ีมีแอล
ลีลน้ีจะตายท่ีอุณหภูมิสูง (30°C) แต่จะรอดท่ีอุณหภูมิต่ำ (22 °C) สาเหตุอาจเกิดจากการกลายพันธุ์
ท่ีทำาให้โปรตีนมีโครงสร้างผิดปกติท่ีไม่ทำางานตามปกติในบางอุณหภูมิหรือโปรตีนไม่จัดรูปร่างและ
ถูกทำาลายอย่างรวดเร็ว ในคนท่ีขาดเอ็นไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) ถ้ารับ
ประทานถ่ัวฟาวา (fava beans) ท่ีทำาให้เกิดเม็ดเลือดแตก (acute hemolytic syndrome) ท่ีมีอัตราเสีย
ชีวติ 10 % ถ้ารักษาไม่ถก ู ต้อง
แมวแม็งซ์ท่ีมีการกลายพันธุ์ลก ั ษณะเด่นท่ีทำาให้สันหลังผิดปกติ ทำาให้หางส้น ั ลง จะพบหาง
ยางปกติจนถึงไม่มีหาง ถ้านำาแมวน้ีมาผสมกัน (Mm x Mm) ลูกท่ีเป็ น homologous (MM) จะตาย
ขณะเป็ นตัวอ่อน และจะได้ลูกแมวปกติ (mm) ต่อลูกแมวแมงซ์ (Mm) ในอัตราส่วน 1:2

ลักษณะฟี โนทัยป์ อาจเปล่ียนแปลงตามสิ่งแวดล้อม เช่นสุนัขจิง ้ จอกอาร์คติก (Alopex


lagopus) สีขนส่วนใหญ่เป็ นสีขาวในหน้าหนาว และส่วนใหญ่เป็ นสีน้ำตาลในหน้าร้อน คนท่ีเป็ น
PKU (phenylketouria) จะขาดเอ็นไซม์ phenylalanine hydroxylase การสะสมของ phenylalanine ทำาให้
เกิด mental retardation, ฟั นไม่เจริญเต็มท่ี, ปั สสาวะมีกลิ่นเน่า แต่ถ้าควบคุมให้ไม่ได้อาหารท่ีมีกรด
อะมิโนน้ีก็สามารถป้ องกันความผิดปกติได้ ตาแมลงหว่เี ป็ นตาประกอบซึ่งมีหน่วยย่อยเรียก facet
จำานวนของ facet เปล่ียนแปลงตามระดับอุณหภูมิ คือมากขึ้นเม่ ืออุณหภูมิต่ำ
ยีนจำานวนมากมีสามหรือมากกว่าสามแอลลีล คือยีนอยู่ในรูป multiple alleles เช่นสีขน
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 7

กระต่าย ควบคุมด้วย 4 แอลลีล การผสมระหว่างแอลลีลเหล่าน้ีทำาให้มีจโี นทัยป์ และฟี โนทัยป์ ได้


ต่างๆกัน คือ C (full coat colour), cch (chinchilla pattern of coat colour), ch (himalayan pattern of coat
colour), และ c (albino) ยีนน้ีเก็บรหัสเอ็นไซม์ท่ีเรียกว่า tyrosinase ซึ่งเป็ นโปรตีนลำาดับแรกสำาหรับ
การสังเคราะห์เมลานินจากกรดอะมิโนไทโรซีน เมลานินมีสองรูป คือ ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็ น
รงควัตถุสีดำาท่ีสร้างขึ้นก่อน จากน้น ั จึงเปล่ย
ี นเป็ น เฟโอเมลานิน (phaeomelanin) ซึ่งมีสส ี ้ม/เหลือง
อย่างไรก็ตามแอลลีลของยีนอ่ ืนจะมีผลต่อปริมาณของรงควัตถุเหล่าน้ีด้วย
แอลลีล C เก็บรหัสเอ็นไซม์ไทโรซิเนสท่ีทำาหน้าท่ีได้เต็มท่ีสามารถสังเคราะห์ท้ังยูเมลานิน
และฟี โอเมลานินทำาให้เกิดสีขนสีน้ำตาลท่ัวตัว แอลลีล C น้ีเด่นกว่าแอลลีลอ่ ืนท้ังสาม แอลลีล cch
เกิดเอ็นไซม์ไทโรซิเนสท่ีผิดปกติเป็ นบางส่วนทำาให้ผลิตรงควัตถุสีดำาลดลงเล็กน้อยและรงควัตถุสี
เหลืองส้มลดลงมากมายทำาให้ขนออกสีเทา สำาหรับแอลลีล c (albino) ไม่ผลิตเอ็นไซม์น้ีเลยทำาให้
ขนมีสีขาว ส่วนแอลลีล ch (himalayan) เป็ นตัวอย่างแอลลีลท่ีไวต่ออุณหภูมิ (temperature-sensitive
allele) การกลายพันธุ์ท่ียีนน้ีทำาให้เกิดการเปล่ย ี นแปลงโครงสร้างของเอ็นไซม์ทำาให้ทำางานท่ี
อุณหภูมิต่ำเท่าน้ัน บริเวณท่ีเย็นของร่างกายคือ หาง อุ้งเท้า ปลายจมูกและหู เอ็นไซม์จะทำางานได้
ดีและเกิดการสร้างรงควัตถุ แอลลีลท่ีไวต่ออุณหภูมิอีกตัวอย่างคือลักษณะสีขนของแมวไทย

Full coat colour : CC, Ccch, Cch , หรือ Cc


Chinchilla coat colour: cchcch , cchch, หรือ cchc
Himalayan coat colour: chch หรือ chc
Albino coat colour : cc

Pleiotropic effects

แม้ว่าข้างต้นจะกล่าวถึงยีนท่ีมีผลต่อลักษณะๆหนึง ่ เท่าน้ัน แต่ยีนส่วนมากมีผลหลายอย่าง


(multiple effects) ท่ัวท้ง
ั เซลล์หรือท้ง
ั ตัวของสิง
่ มีชีวิตหลายเซลล์น้ัน ผลหลายๆอย่างของยีนๆเดียว
น้ันเรียกว่า pleiotropy เช่น ยีนสำาหรับ cystic fibrosis เก็บรหัสโปรตีน CFTR (cystic fibrosis
transmembrane conductance regulator) ควบคุมสมดุลไอออนโดยปล่อยไอออนของคลอไรด์ข้ามเย่ ือ
หุ้มเซลล์ มีผลท่ีปอด ต่อมเหง่ ือ และท่อส่งสเปริมส์จากอัณฑะ (vas deferens)

Gene interactions

ยีนสองยีนท่ีแตกต่างกันอาจมีปฏิสัมพันธ์กน ั ในลักษณะท่ีมีผลต่อการแสดงลักษณะฟี โนทัยป์


ได้หลายแบบคือ epistasis, complementation, gene modification, gene redundancy, และ intergenic
suppressors
ลักษณะสัณฐานวิทยา เช่นความสูง น้ำหนัก อัตราเจริญเติบโต และสี (pigmentation) ต่าง
ควบคุมโดยการแสดงออกของยีนต่างกันหลายชนิดร่วมกับปั จจัยจากสิง ่ แวดล้อม
การท่ียน ี ต่างกันมีผลต่อลักษณะเดียวกันเรียกว่าเกิด gene interaction ตัวอย่างเช่น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนสองยีนทำาให้เกิดฟี โนทัยป์ ได้ 4 แบบแตกต่างกัน ตัวอย่างแรกค้นพบโดย
William Bateson และ Reginald Punnett (1906) ขณะท่ีกำาลังศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของหงอนไก่
(comb morphology) ลักษณะหงอนไก่แตกต่างกันส่ีแบบคือ rose comb (R_pp), pea comb (rrP_),
walnut comb (R_P_), และ single comb (rrpp) เม่ ือเขาผสมไก่พันธุ์ Wyandotte ท่ีมีหงอนแบบ rose
comb กับพันธุ์ Brahma ท่ีมีหงอนแบบ pea comb รุ่นลูกท่ี 1 (F1) จะมีหงอนแบบ walnut comb ท้ังหมด
เม่ ือนำาไก่รุ่น F1 ผสมกันจะได้รุ่นลูก F2 ท่ีประกอบด้วยหงอนส่ช ี นิดในอัตราส่วนดังน้ี 9 walnut : 3
rose : 3 pea : 1 single คืออัตราส่วน 9 : 3 : 3 : 1 (เช่นเดียวกับท่ีได้รับในรุ่น F2 เม่ ือรุ่น F1 เป็ น
heterozygous สำาหรับยีนต่างกันสองยีนและต่างจัดเข้าชุดยีนต่างๆ (assort) ได้อย่างอิสระ แต่กรณีน้ี
ลักษณะเดียวมีส่แ ี บบแตกต่างกัน) หลังจากการวิเคราะห์พบว่า
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 8

R (rose comb) เป็ นลักษณะเด่นต่อ r


P (pea comb) เป็ นลักษณะเด่นต่อ p
R และ P (walnut comb) เป็ น codominant
rrpp ได้ลักษณะเป็ น single comb

การผสมรุ่น F1 (RrPp) x F1 (RrPp) ได้รุ่นลูก F2 แสดงเป็ นตารางของ Punnett ได้ดง


ั น้ี

RP Rp rP rp
RP RRPP RRPp RrPP RrPp
Walnut Walnut Walnut Walnut
Rp RRPp RRpp RrPp Rrpp
Walnut Rose Walnut Rose
rP RrPP RrPp rrPP rrPp
Walnut Walnut Pea Pea
rp RrPp Rrpp rrPp rrpp
Walnut Rose Pea Single

(1.) Epistasis

ปรากฏการณ์ท่ีแอลลีลของยีนหนึ่งทำาให้ลก ั ษณะของอีกแอลลีลหนึ่งไม่แสดง เช่น กรณี


ตัวอย่างหงอนไก่ ลักษณะจีโนทัยป์ ท้ัง rr และ pp ปิ ดปั งการแสดงลักษณะฟี โนทัยป์ หงอนไก่แบบ
walnut เน่ ืองจากจีโนทัยป์ ในตัวอย่างน้ีต้องเป็ น homozygous สำาหรับแอลลีลด้อย (recessive allele)
จึงเรียกว่าเป็ น recessive epistasis
epistasis มักเกิดเน่ ืองจากมีโปรตีนสองหรือมากกว่าสองชนิดท่ีร่วมในหน้าท่ีเด่ียวกัน เช่นมี
สองหรือมากกว่าสองโปรตีนท่ีอาจเป็ นส่วนหนึ่งของวิถีของเอนไซม์ซึ่งนำาไปสูก ่ ารสร้างสารๆหนึง่
เช่นในตัวอย่างต่อไปน้ีการท่ีจะได้ลก ั ษณะฟี โนทัยป์ สีม่วงจะต้องมียน
ี ท้ัง C และ P ท่ีสามารถสร้าง
โปรตีนเอนไซม์ท่ีสามารถทำาหน้าท่ีได้ตามปกติ

สารเริ่มต้น → สารตัวกลาง → สารสีม่วง


(ไม่มีส)ี เอนไซม์ C (ไม่มีส)ี เอนไซม์ P

(2.) Complementation

การนำาถ่ัวหวานสีขาว (CCpp) มาผสมกับต้นสีขาวท่ีมีจโี นทัยป์ ต่างกัน (ccPP) ได้รุ่นลูก F1


มีดอกเป็ นสีม่วงท้ง
ั หมด (CcPp) การผลิตรุ่นลูกท่ีมีลักษณะฟี โนทัยป์ แบบ wild-type จากรุ่นพ่อแม่ท่ี
มีลักษณะฟี โนทัยป์ ด้อยท่ีเหมือนหรือคล้ายกันเรียกว่า complementation

สีขนของสัตว์ฟันแทะเป็ นตัวอย่างของปฏิสัมพันธ์ของยีนท่ีทำาให้เกิดลักษณะฟี โนทัยป์ สีขน


สามสี เช่นเม่ ือผสมหนูแรทขนสีดำา (true-breeding black) กับขนสีขาว (true-breeding albino) จะได้รุ่น
ลูก (F1) มีขนสี agouti ท้ง
ั หมด (สีน้ีจะมีรงควัตถุสีดำาท่ีปลายขนแต่ละเส้นแล้วจะเปล่ียนเป็ นรงควัตถุ
สีส้มใกล้กับโคนขน เม่ ือนำาหนูแรทรุ่น F1 น้ีมาผสมกันเองจะได้หนูรุ่นลูก F2 มีขนเป็ นสี agouti,
Note on Mendelian Inheritance (The Extensions) page 9

black , และ albino ในอัตราส่วน 9 : 3 : 4 เหตุท่ีเป็ นเช่นน้ีเพราะว่ามียีนสองยีนท่ีเก่ยี วข้อง คือยีน A


(ย่อสำาหรับ agouti) และยีน C (ย่อสำาหรับ colour) แอลลีล A เป็ นยีนเด่นท่ีเก็บรหัสโปรตีนท่ีควบคุม
สีขนให้รงควัตถุเปล่ย ี นจากสีดำา (eumelanin) ท่ีปลายขนไปเป็ นสีส้ม (phaeomelanin) ใกล้โคนหรือ
รากขน ส่วนแอลลีลด้อยคือ a จะยับย้ังการเปล่ย ี นแปลงรงควัตถุดง ั กล่าวทำาให้มีรงควัตถุสีดำาในขน
ท้ังเส้น (จีโนทัยป์ เป็ น aa) ส่วนยีนสี C จะเก็บรหัสเอนไซม์ tyrosinase ท่ีจำาเป็ นสำาหรับการ
สังเคราะห์เมลานิน กรณีท่ีเป็ น cc จะเป็ นหนู albino และมีขนสีขาว

ตารางของ Punnette สำาหรับการผสมหนูแรทรุ่น F1 (AaCc x AaCc) เป็ นดังน้ี

สเปริมส์
AC Ac aC ac
ไข่ AC AACC AACc AaCC AaCc
Agouti Agouti Agouti Agouti
Ac AACc AAcc AaCc Aacc
Agouti Albino Agouti Albino
aC AaCC AaCc aaCC aaCc
Agouti Agouti Black Black
ac AaCc Aacc aaCc aacc
Agouti Albino Black Albino

(3.) Gene modification

จากตารางจะเห็นว่า c น้ันเป็ น epistatic ต่อ A ดังน้ันกรณี cc จะทำาให้แอลลีล A ไ่ม่แสดง


ลักษณะ หนูจึงมีขนสีขาว ในระดับโมเลกุล aa น้ันป้ องกันการแสดงฟี โนทัยป์ รงควัตถุสีส้ม และ cc
ป้ องกันการแสดงฟี โนทัยป์ รงควัตถุทุกสี ในกรณีน้ีบ้างก็เรียกว่าเป็ นผลการเปล่ียนแปลงยีน (gene
modifier effect) คือแอลลีลของยีนหนึ่งเปล่ยี นแปลงลักษณะฟี โนทัยป์ ของแอลลีลของยีนต่างกัน

(4.) Gene redundancy

ถ้ายีนๆหนึ่งไม่สามารถทำาหน้าท่ีได้แต่ยง
ั ไม่มีผลต่อลักษณะฟี โนทัยป์ แต่เม่ ือยีนสองยีนท่ต
ี ่าง
กันสูญเสียหน้าท่ีไปเป็ นผลทำาให้ลักษณะฟี โนทัยป์ เปล่ย
ี นไป ดังน้น
ั การมียีนท่ีปกติชุดเดียวจำาเป็ น
สำาหรับการเกิดลักษณะฟี โนทัยป์ ปกติและเรียกยีนน้ีว่าเป็ นยีนท่ีซ้ำซ้อน

(5.) Intergenic suppressors

การกลายพันธุ์ท่ีเปล่ย
ี นลักษณะฟี โนทัยป์ ท่ีเกิดจากการกลายพันธุ์คร้ังแรกเรียกว่า
suppressor mutation และถ้าการกลายพันธุ์น้ีอยู่ในยีนอ่ ืนท่ีไม่ใช่ยีนแรกเรียกว่า intergenic suppressor

You might also like