ส่งยาทางไปรษณีย์

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

ส่งยาทางไปรษณีย์ แก้ปัญหารอรับยานานได้ดีจริงหรือไม่

เนื่องจากปัจจุบันประชากรในประเทศมีจานวนมากขึ้น การเข้ารับบริการสาธารณสุขในโรงพยาบาลรัฐบาลจึงมีผู้
เข้ารับบริการเป็นจานวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ปัญหาหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อต้องเข้ารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล
คือ การรอคิวตั้งแต่เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ ไปจนถึงการรอรับยาจากห้องจ่ายยาโดยเภสัชกร จาเป็นต้องใช้เวลา
ตลอดทั้งวัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าเสียเวลาของผู้ป่วย และสถานที่รอรับบริการไม่เอื้ออานวย มีความแออัด ทาให้เกิด
ความหงุดหงิด ไม่พึงพอใจในการรับบริการ เกิดความเครียดที่ต้องรอคิวนาน เสียทั้งเวลาในการรอรับบริการและเสียรายได้
ในการประกอบอาชีพ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่มาจากต่างจังหวัดบางรายไม่สามารถกลับบ้านได้ทันเวลาจะต้องเสียค่าที่พัก
เพิ่มเพื่อเดินทางกลับในวันถัดไป
จากปัญหาดังกล่าวหากวิเคราะห์สาเหตุแล้วจะพบว่า ปัญหาหลักได้แก่ ปริมาณผู้ป่วยที่ต้องมารับบริการใน
โรงพยาบาลรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่ เฉลี่ยต่ อวันมีปริมาณหลายพันคนต่อวัน และหากแยกประเภทของผู้ป่วยที่มารับบริการ
จะพบว่า มากกว่าร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า Universal Coverage (UC) และเกินครึ่งเป็นผู้ป่วย
ที่ใช้ยาเป็นประจาเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง ต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ซึ่งประชากร
กลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการในโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากข้อจากัดเรื่องค่ารักษาพยาบาล1
ดังนั้นบางโรงพยาบาลรัฐบาลที่ประสบปัญหาดังกล่าว ได้คิดค้นแนวทางการแก้ปัญหาจากการที่มีผู้รับบริการ
จานวนมาก โดยการคิดค้นโครงการเพื่อลดระยะเวลาการรอรับบริการในแต่ละครั้งของผู้ป่วย ลดความแออัดในการรอรับ
ยาหลังจากตรวจรักษาจากแพทย์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่ออานวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ให้มีความพึงพอใจ เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด โดยมีโรงพยาบาลที่เริ่มนาร่องในการทดลองให้บริการโครงการนีใ้ น
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า Universal Coverage (UC) แล้ว 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี และที่กาลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนเพื่อเริ่มปฏิบัติจริง ได้แก่ โรงพยาบาลสวน
ปรุง จังหวัดเชียงใหม่2

• โครงการ “ศิริราชก้าวไกล ส่งยาทั่วไทยทางไปรษณีย์” 3


ปัจจุบันนี้โรงพยาบาลศิริราชมีแนวทางการปรับบริการผู้ป่วยนอกโดยร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด ใน
โครงการ “ศิริราชก้าวไกล ส่งยาทั่วไทยทางไปรษณีย์ ” ให้บริการจัดส่งยาผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลศิริ
ราชไปยังทั่วประเทศไทยในรูปแบบ “One Stop Service” รวดเร็ว ปลอดภัย ด้วยมาตรฐานสากล เพื่อแก้ปัญหาจานวน
ผู้ป่วยนอกซึ่งเฉลี่ยต่อวันประมาณ 8,000 – 9,000 คน ที่ต้องรอรับยา โดยปรับปรุงรูปแบบใหม่เป็นการจัดส่ง ยาถึงบ้าน
ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่อานวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
ผศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อานวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า “แต่ละวันมีการออกใบสั่งยามากถึง 8,000
ใบสั่งยาและมักจะเป็นช่วงทีม่ ีการตรวจรักษาในชั่วโมงเร่งด่วน ทาให้เภสัชกรต้องทางานด้วยความเร่งรีบในการจัดยา ทาให้
ผู้ป่วยรต้องรอคิวรับยานาน จนบางครั้งผู้ป่วยที่มาจากต่างจังหวัดไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลาเนาได้ทันตามกาหนด และ
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการค้างคืนต่อเพื่อเดินทางกลับภูมิลาเนาในวันถัดไป แม้ว่าโรงพยาบาลศิริราชจะพยายามพัฒนาด้วย

1
การเพิ่มเภสัชกร จนขณะนี้มีเภสัชกรอยู่ประมาณ 200 คน แต่ภาระงานก็ยังคงมาก จึงต้องมองหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อแก้ไข
ปัญหานี้”
รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจารัสเลิศ รองผู้อานวยการโรงพยาบาลศิริราชด้านบริการผู้ปว่ ยนอกและพัฒนาคุณภาพ จึง
คิดค้นหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับยากลับบ้านให้รวดเร็วขึ้น จึงเป็นที่มาของกระบวนการส่งยาทางไปรษณีย์
โดยหลังจากผู้ป่วยที่ทาการตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการจัดส่งยาทางไปรษณีย์จะเป็นยาสาหรับผู้ป่วยกลุ่มโรค
เรื้อรังเป็นหลัก ส่วนยาและเวชภัณฑ์ต้องห้าม ได้แก่ ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมไปถึงยาน้า ยา
ที่ต้องเก็บรักษาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส จะยังไม่จัดส่ง เนื่องจากมีข้อจากัด
โดยขั้นตอนการจัดส่งหลังเข้ารับการตรวจรักษาและได้รับใบสั่งยาจากแพทย์แล้ว ผู้ป่วยจะต้องมาลงทะเบียนทีอ่ ยู่
ให้ชัดเจน รับฟังคาแนะนาเรื่องยา จึง สามารถกลับบ้านได้และรอรับยาที่บ้าน โดยชาระเงินเพิ่มเพียง 150 บาท ทั้งนี้
โครงการนี้จะเสียเวลาในการลงทะเบียนครั้งแรก และได้รับการอธิบายวิธีการใช้ยา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที แต่ครั้งต่อ
ๆ ไปก็จะรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระงานของเภสัชกรทาให้ไม่ต้องรีบเร่งจัดยา จ่ายยา ซึ่งอาจทาให้เกิดความ
ผิดพลาด อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ต้องรอรับยาไม่ต้องรอคิวนาน
เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วย 4
1) ต้องเป็นผู้ปว่ ยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการนาส่งยาทางไปรษณีย์
2) ได้รับการประเมินจากเภสัชกรในเรื่องการใช้ยาแล้วว่าผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
3) เป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ซึ่งปกติจะได้รบั
ยาสาหรับรับประทาน 3-4 เดือน และส่วนใหญ่จะมีอาการคงที่แล้ว
ยาที่ไม่จดั ส่งให้ทางไปรษณีย์4
1) ยาแช่เย็นหรือยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ 2-8 องศา
2) ยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ต้องใช้ใบ ย.ส. และ ย.ว.
3) ผู้ป่วยที่ได้รับยาน้าที่อาจมีการแตกของภาชนะได้ (ให้เภสัชกรพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งเป็นกรณี)
4) ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีวิธีใช้ยาซับซ้อนและเภสัชกรประเมินแล้วว่าอาจทาให้ผู้ป่วยเกิดความสับสนได้
ปัญหาและอุปสรรค4
1) ผู้ป่วยยังไม่ทราบว่ามีโครงการจัดส่งยาทางไปรษณีย์
2) ผู้ป่วยไม่ทราบถึงขั้นตอนการใช้บริการ
3) ผู้ป่วยจากหน่วยตรวจอื่นต้องการใช้บริการ แต่ยังไม่สามารถให้บริการได้
4) ผู้ป่วยต้องการใช้บริการ แต่มีรายการยาที่ไม่ผ่านเกณฑ์และเงื่อนไข

• โครงการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ (Drug Delivery Address) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี5


ที่มาของโครงการ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังและต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องต้องมารับยาทุกเดือนที่ห้องจ่ายยา Refill ผู้ป่วยส่วน
ใหญ่ให้ข้อมูลว่าไม่สะดวกที่จะมารับยาทุกเดือน เนื่องจากบ้านอยู่ไกลเดินทางลาบาก ต้องลางานมารับยา อายุ
2
มากไม่มีผู้ดูแล ต้องจ้างคนอื่นมารับยาแทน เป็นต้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่สะดวกขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับยา มีความพึงพอใจ
ต่อบริการที่ได้รับ และช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล
ลักษณะโครงการ
1) เลือกรับบริการโดยความสมัครใจ
2) ค่าจัดส่งยาทางไปรษณีย์ 100 บาท/ครั้ง ทั่วประเทศไทย
3) ข้อจ ากัด ของประเภทยาที่ไม่ จัด ส่งทางไปรษณีย์ ได้ แก่ ยาแช่ เย็น , ยาน้ า, วั ต ถุออกฤทธิ์ ต่ อจิตและ
ประสาทประเภท 2, ยาเสพติดให้โทษประเภท 2
4) ยาที่จัดส่งเป็นยาที่รอได้ ไม่ใช่ยาที่ต้องใช้ฉุกเฉิน
5) ยาจะถูกจัดส่งถึงบ้านผูป้ ่วยไม่เกินวันทีน่ ัดรับยา
6) เน้นกระบวนการตรวจสอบ และควบคุมทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับยา
ถูกต้อง และทันเวลา
7) ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) นาส่งยาที่อยู่ในสภาพที่ดีถึงบ้าน
8) นาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการทางาน ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งยาได้
ด้วยหมายเลขพัสดุ 13 หลักผ่านทางอินเทอร์เน็ต
กลุ่มเป้าหมาย
นาร่องในผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เป็นโรคเรื้อรังและต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง
โรงพยาบาลกาหนดให้ห้องยาจ่ายยาได้ครั้งละไม่เกิน 1 เดือน

ปัญหา – อุปสรรค ในการดาเนินงาน


1) ค่าบริการจัดส่งไปรษณีย์ และค่ากล่องที่โรงพยาบาลต้องชาระให้ไปรษณีย์ เป็นราคาเหมาจ่าย ประมาน
80 บาท/กล่อง ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทาให้โรงพยาบาลต้องกาหนดราคาทีจ่ ะเก็บจากผู้ใช้บริการค่อนข้าง
สูงเช่นกัน
2) บางครั้งไม่มีคนรอรับยาทีบ่ ้าน และผู้รับบริการไม่สะดวกที่ต้องตามไปรับยาที่ไปรษณีย์ทาให้ห้องยาต้อง
ประสานไปรษณีย์ขอให้ช่วยจัดส่งอีกครั้ง

• การบริการยาทางไปรษณีย์โรงพยาบาลสวนปรุง6
ผู้ป่วยทีส่ ามารถรับบริการยาทางไปรษณียไ์ ด้ คือ
1) ผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินอาการแล้วว่าอาการคงที่ ไม่มีความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงอาการทางจิต จนต้อง

3
ประเมินติดตามในระยะน้อยกว่าทุก 6 เดือน
2) มีข้อจากัดในการเข้าถึงยา เช่น มีปัญหาในการเดินทางหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านไม่มียาที่จาเป็นต้องใช้
3) ก่อนการรับยาทางไปรษณีย์ครั้งแรกผู้ป่วยหรือญาติต้องได้รับจดหมายสั่งซื้อยา รับทราบค่าใชจ่ายต่อเดือน
และรับฟังการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการสั่งซื้อจากเจ้าหน้าที่ห้องยาไปรษณีย์
4) ผู้ป่วยควรส่งจดหมายซื้อยาพร้อมทั้งธนาณัติค่ายาก่อนยาหมดประมาณ 15 วัน
5) ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจประเมินอาการทางจิตจากจิตแพทย์ทุก 6 เดือน
6) ผู้ป่วยที่ได้รับยา clozapine ต้องได้รับการตรวจนับเม็ดเลือดทุก 3 เดือน (ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางมายัง
โรงพยาบาลสวนปรุงได้ผู้ป่วยสามารถตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านและส่งผลการตรวจแนบมาพร้อมจดหมาย
ซื้อยา ได้)
7) การจ่ายยาทางไปรษณีย์จะจ่ายได้สูงสุดครั้งละไม่เกิน 3 เดือน
8) หากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง หรือแพทย์/เภสัชกรประเมินแล้วว่ามีอาการทางจิตเปลี่ยนแปลง หรืออาจมี
อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรงสามารถแจ้งระงับการจ่ายยาทางไปรษณีย์และส่งธนาณัติคืนเงินให้
ผู้ป่วย

4
สรุปการสัมมนา “ส่งยาทางไปรษณีย์ แก้ปัญหารอรับยานานได้ดีจริงหรือไม่”
จากโครงการการส่งยาทางไปรษณีย์ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยมีแก้ปัญหาจากการ
ที่มีผู้รับบริการจานวนมากและลดระยะเวลาการรอรับบริการในแต่ละครั้งของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางมารับยา ซึ่งโครงการนี้เหมาะสาหรับการแก้ปัญหาเฉพาะโรงพยาบาลรัฐบาล และยังไม่มีการนาโครงการนี้มาใช้กับ
โรงพยาบาลเอกชนเนื่องจากจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนนั้นมีจานวนไม่มากและโรงพยาบาล
สามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างทั่งถึง
เมื่อได้เริ่มโครงการนี้ขึ้นมา ก็มีหลายๆ ความคิดเห็นที่มีความกังวลถึงความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นและความถูกต้อง
ของยาที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งทางโรงพยาบาลที่เริ่มโครงการนี้ ก็ได้มีมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดความ
ผิดพลาดขึ้นเช่น มีการติดกล้องวงจรปิดควบคุมการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน มีการสุ่มตรวจสอบความถูกต้องของยาในกล่อง
พัสดุ มีการสุ่มโทรศัพท์เพื่อสอบถามความถูกต้องของยากับผู้ป่วย มีการตรวจเช็คยาโดยเภสัชกรสองคนทุกขั้นตอน เป็น
ต้น
ส่วนในด้านความคุ้มค่าของโครงการนี้ พบว่า โรงพยาบาลจะต้องมีการลงทุนอยู่สูง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการติด
กล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมความถูกต้องในการจัดส่งยา การจัดให้มีบุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อจัดเตรียมยาส่งไปรษณีย์ให้กับผู้ป่วย
อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มภาระงานให้เภสัชกรเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ แต่เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าที่ได้ม าที่ทาให้ผู้ป่วยใช้เวลา
น้อยลงในการรอรับยา ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสาหรับผู้ป่วย และผู้ป่วยไม่ขาดงาน เมื่อต้องแลกกับการที่
ผู้ป่วยมีรายจ่ายค่าจัดส่งยาเดือนละ 100-150 บาท จึงถือว่าโครงการนี้มีความคุ้มค่า ซึ่งในปัจจุบันจานวนผู้ป่วยที่เข้าร่วม
โครงการนี้มีจานวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงสามารถสะท้อนให้เห็นว่าโครงการนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วยได้
จากโครงการส่งยาทางไปรษณีย์ แก้ปัญหารอรับยานาน ได้เกิดข้อสงสัยว่า การส่งยาทางไปรษณ๊ย์สามารถ
แก้ ปั ญ หาได้อย่า งแท้ จริงหรือไม่ เมื่อเที ยบกั บการไปรับ ยาที่ร้า นยาโดยใช้ใบสั่ง แพทย์แทน พบว่า การสั่งยาทาง
ไปรษณีย์และการรับยาที่ร้านยาสามารถลดความแออัดของผู้ป่วยและลดระยาเวลาในการรอรับยาของผู้ป่วยได้เหมือนกัน
ซึ่งถ้าในอนาคตมีการดาเนินการ โครงการการนาใบสั่งยาของแพทย์จากโรงพยาบาลนาไปซื้อยาที่ร้านยาแทนโครงการส่ง
ยาทางไปรษณีย์ จะมีประโยชน์ทั้งโรงพยาบาลและผู้ป่วย ช่วยเพิ่มสะดวกมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถรับ
คาปรึกษาการใช้ยาจากเภสัชกรได้อีกด้วย แต่ทั้งการดาเนินการในเรื่องค่าตอบแทนของร้านยา และสิทธิการรักษาพยาบาล
ของผู้ป่วยจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การดาเนินการในร้านยาจึงมีความยุ่งยากมากกว่าเมื่อเทียบกับการส่งยาทางไปรษณีย์
ด้านกฎหมาย การส่งยาทางไปรษณีย์ของโรงพยาบาลรัฐบาลนัน้ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ตาม พรบ. ยา
พ.ศ.2510 ซึ่งในปัจจุบันนั้นยังไม่มีกฎหมายที่มารองรับการส่งยาทางไปรษณีย์ของโรงพยาบาลที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องที่สามารถสนับสนุนได้ว่าโรงพยาบาลสามารถส่งยาทางไปรษณีย์ให้กับผู้ป่วยได้ จากกรณีสถานพยาบาลของรัฐ
(ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 กาหนดเฉพาะกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบาบัดโรค) สภากาชาดไทย และ
องค์การเภสัชกรรม แม้ว่ามีการขายยาหรือจ่ายยาแผนปัจจุบันให้กับผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา
13(3) ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาตขายยาตามมาตรา 12 ซึ่งเมื่อไม่ต้องรับอนุญาตการขายยาจึงไม่ถือว่าเป็นผู้รับ

5
อนุญาตตามมาตรา 12 จึงไม่มีหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา 19(1) คือห้ามขายยานอกสถานที่ที่กาหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่
เป็นการขายส่ง เพราะบทบัญญัติตามมาตรา 19(1) ใช้บังคับกับผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น การจ่ายยา
การแจกยา ตลอดจนถึงการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ของสถานพยาบาลของรัฐ สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม จึง
สามารถทาได้ไม่ฝ่าฝืนมาตรา 19(1)

Reference :
1) สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) National Health Security Office (NHSO) [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย:
[2560; เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nhso.go.th/FrontEnd/index.aspx.
2) ศิริราชก้าวไกลจัดส่งยาทั่วไทยทางไปรษณีย์สร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้ป่วย [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล; [2557; เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/
th/hotnews_detail.asp?hn_id=1562.
3) ศิริราชจัดส่งยาผ่านไปรษณีย์ ลดรอคิวรับยา [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: Manager; [2557; เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2560].
เข้าถึงได้จาก: http://ads.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000055899.
4) วิชิต ตั้งจิตติพร, นริสา ตัณฑัยย์. จินตนาการ สร้างสรรค์คุณภาพ: ส่งยาทางไปรษณีย์มีจริงเหมือนฝัน. [อินเทอร์เน็ต].
กรุ ง เทพมหานคร: ฝ่ า ยเภสั ช กรรม โรงพยาบาลศิ ริ ร าช ; [2557; เข้ า ถึ ง เมื่ อ 8 มี น าคม 2560]. เข้ า ถึ ง ได้ จ าก:
file:///C:/Users/USER/Downloads/HA%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0
%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0
%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C9.3.58-1%20(1).pdf.
5) การจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ (Drug Delivery Address) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัด
นนทบุรี; [2557; เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/
files/DrugMailDelivery.pdf.
6) แนวปฏิบัติในการบริการยาทางไปรษณีย์. [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; [เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2560].
เข้าถึงได้จาก: http://www.suanprung.go.th/medicine/pdf/med10.pdf.

You might also like