Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 16

7.

บทบาทข อง สถาบ ัน นิติบ ัญ ญัต ิใ นการ แก้ ไขปั ญหาชาวไ ทย


มุส ลิ ม

1. ปัญห าชนกลุ่มน้อยชาวไ ทยมุสลิม


ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยตามสภาพความเป็นจริงในทางประวัตศิ าสตร์จะพบว่า ไทยเรา
มีชนกลุ่มน้อยหลายประเภท เช่น ด้านเชื้อชาติ ได้แก่ ชนกลุ่มน้อยชาวจีน ชาวเขา ชาวญวนอพยพ
และด้านศาสนา ได้แก่ ชาวไทยมุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ นอกจากศาสนาพุทธ
อย่างไรก็ตาม จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นปัญหาชนกลุ่มน้อยใน
ประเทศไทย จะพบว่า ปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหา
สำาคัญและมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก เนื่องจากกลายเป็นปัญหาทีมีความสลับซับซ้อนหลายด้าน
ติดตามมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร ได้ชี้วา่ ชาวไทยมุสลิมแม้ว่าจะเป็นชนส่วนน้อยของประเทศ แต่ก็
เป็นชนส่วนใหญ่ของภาคใต้ โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีความผูกพันและรวมตัวกันอย่างเหนียว
แน่นตามคำาสอนของศาสนาสูงมาก ความเคร่งครัดต่อหลักศาสนา ทำาให้สังคมชาวไทยมุสลิมใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสังคมอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน
วัฒนธรรมเกี่ยวกับภาษาและการศึกษา ซึ่งนำาไปสู่การทำาให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างรัฐบาล
ชาวพุทธและชาวมุสลิม
จากปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างรัฐบาลชาวพุทธและชาวมุสลิมข้างต้นก่อให้เกิด
ปัญหาอืน่ ๆ ตามมาอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การไม่ยอมรับการปกครองจากรัฐบาล โดยมีการ
เคลื่อนไหวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนหลายขบวนการ ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่าง
ชาวพุทธกับชาวมุสลิมในบางท้องที่ และปัญหาการไม่ยอมส่งบุตรหลานของชาวมุสลิมเข้าโรงเรียน
สามัญของทางราชการและไม่ยอมเรียนภาษาไทย
อารง สุทธาศาสน์ นักวิชาการด้านสังคมวิทยา ได้ชี้ประเด็นในการมองปัญหาของชาวไทย
มุสลิมว่า การมองปัญหาที่พบอยู่ในปัจจุบันในวงการต่าง ๆ จากการสำารวจเอกสารวิจัยและข้อ
เขียนต่าง ๆ ตลอดจนการสัมภาษณ์บุคคลหลายฝ่าย สามารถแบ่งการมองปัญหาได้ 2 แง่ กล่าวคือ
ในแง่ของผู้ปกครองชนกลุ่มใหญ่ และในแง่ของชาวไทยมุสลิมที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

121
บทบาทของสถาบันฯ
โดยในแง่ของผู้ปกครองชนกลุ่มใหญ่ จะมีทศั นะว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาทางการ
เมืองที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน และมีการดำาเนินการทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ประชาชนไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าเป็นคนไทย ไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาลไทย ประชาชนในท้องถิ่นถือว่า
ตนเองมีเชื้อชาติและสัญชาติมลายู จึงนิยมพูดภาษามลายู ศึกษาภาษามลายู และยึดประเพณี
ท้องถิ่นที่คล้ายคลึงกับชาวมลายู ชาวไทยมุสลิมไม่ค่อยเป็นมิตรกับชาวไทยพุทธ จะติดต่อคบค้า
สมาคมด้วยก็เมื่อมีความจำาเป็นเท่านั้น นอกจากนี้แล้วจะมีลักษณะต่างคนค่างอยู่ โจรผู้รา้ ยที่เป็น
มุสลิมมักจะรับควานเฉพาะชาวไทยพุทธเท่านั้น ไม่ทำาร้ายบุคคลที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน ชาวไทย
มุสลิมไม่ค่อยนิยมเข้าโรงเรียนไทยนอกจากการศึกษาภาคบังคับ พอพ้นภาคบังคับแล้วก็ส่งบุตร
หลานเข้าเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือไม่ก็ส่งไปศึกษาต่อไปประเทศใดประเทศหนึ่ง
สำาหรับในแง่ของชาวไทยมุสลิม มีทัศนะว่า รัฐบาลไม่มีความจริงใจต่อประชาชนชาวไทย
มุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ ได้รับอคติและการกีดกันเสมอมา ไม่วา่ จะเป็นในทางเศรษฐกิจ การเมือง
สังคม หรือการศึกษา นอกจากนี้ รัฐบาลยังกีดกันมิให้ชาวไทยมุสลิมรับราชการในสี่จังหวัดภาคใต้
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงโดยแท้จริง รัฐบาลพยายามที่จะกลืนหรือล้างวัฒนธรรมและประเพณี
ของชาวไทยมุสลิมแถบนี้มาโดยตลอด ทั้งนี้การใช้วิธีการหลายรูปแบบ อาทิ ให้ขา้ ราชการที่เป็น
ชาวไทยพุทธจากภูมิภาคอืน่ ไปปกครอง ส่งคนไทยพุทธจากภูมิภาคอืน่ เข้าไปตั้งภูมลิ ำาเนาในสี่
จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะในนิคมสร้างคนเอง และพยายามที่จะขจัดภาษามลายูที่ประชาชนกลั่น
แกล้งและข่มเหงรังแกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น กล่าวหาคนดี ๆ ว่าเป็นโจรขบวนการแบ่งแยกดินแดน
หรือให้ความร่วมมือกับขบวนการดังกล่าวเหล่านี้เป็นประจำา เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพยายามสร้าง
สถานการณ์เพื่อให้บุคคลภายนอกเห็นว่า สีจ่ ังหวัดภาคใต้นั้นเต็มไปด้วยขบวนการแบ่งแยกดิน
แดน เช่น กล่าวหาว่าประชาชนไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาลไทย ฯลฯ ชาวไทยพุทธมีความรังเกียจเดียด
ฉันท์ หรือดูถูกชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ โดยการเรียนกว่า ไอ้แขกบ้าง หรือแขกมลายูบา้ ง
ชาวไทยพุทธไม่เคยถือว่าชาวไทยมุสลิมเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือน ๆ กับพวกเขา
กล่าวโดยสรุป ปัญหาสำาคัญในเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ ก็คือ
ปัญหาที่ฝ่ายปกครองกับชาวไทยมุสลิมต่างมองปัญหากันคนละด้านคนละแง่ตามสถานภาพและ
ความนึกคิด โดยมีรากฐานของปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่าง ชาวไทยมุสลิมกับชาว
ไทยพุทธในด้านศาสนาและภาษาเป็นด้านหลัก ส่งผลให้เป็นสาเหตุการเกิดปัญหาด้านอื่น ๆ
ติดตามมา ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และการศึกษา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในสภาพปัจจุบันปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมภาคใต้จึงมิได้มีแต่
เพียงปัญหาความแตกต่างกับชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวพุทธในเรื่องศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังมีปัญหาอื่น ๆ ติดตามมาด้วย การแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมในปัจจุบัน จึงไม่
122 บทบาทของสถาบันฯ
อาจแก้ไขแต่เพียงด้านศาสนาอย่างเดียว หากแต่ต้องแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ประกอบด้วยพร้อม ๆ กัน
ไป
โดยทั่วไปแล้ว หน้าที่ในการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล และ
หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเป็นด้านหลัก การกำาหนดนโยบายของรัฐบาลตลอดจนแผนงานและ
โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล และกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่จะพบได้ทั่วไปตั้งแต่
รัฐบาลในอดีตจนถึงปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยหลักการปกครองแล้ว จะจัดเรื่องนีไ้ ว้
ในเรื่องกระบวนการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งเน้นบทบาทของข้าราชการส่วนภูมิภาค ในเขต
การปกครองที่มีปัญหาชนกลุ่มน้อย
โดยทั่วไปนโยบายในการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยตามทฤษฎีในทางรัฐศาสตร์นั้น รัฐบาล
ต่าง ๆ ทัว่ โลกสามารถกำาหนดได้ใน 3 แบบคือ
1. นโยบายแยกพวก (Segregation) นโยบายนี้ได้แก่ การที่ชนกลุ่มใหญ่ของประเทศกับ
ชนกลุ่มน้อยแยกกันในลักษณะต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กัน นโยบายแบบนี้เกือบจะ
ไม่มีประเทศใดในโลกใช้กันแล้ว เพราะเป็นนโยบายที่ไม่อาจใช้ในการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยทั้งใน
ระยะสั้นและระยะยาว
2. นโยบายรวมพวกหรืออยู่ร่วมกัน (Integration) นโยบายแบบนี้ ได้แก่ การที่รัฐบาล
ปล่อยให้ชนกลุ่มน้อยคงมีและรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชวี ิตของพวกเขา
ไว้ แต่ขณะเดียวกันก็มีการติดต่อสัมพันธ์กับชนกลุ่มใหญ่ของประเทศและหน้าที่ของชนกลุ่มน้อย
จะต้องมีความจงรักภักดีต่อประเทศเป็นส่วนรวมด้วย
3. นโยบายผสมกลมกลืนชาติ (Assimilation) นโยบายแบบนี้ ได้แก่ การที่รัฐบาล
พยายามให้ชนกลุ่มน้อยเข้าผสมกลมกลืนกับชนกลุ่มใหญ่ โดยผ่านทางกระบวนการทางสังคมก
รณ์ (Socialization) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การพยายามให้ชนกลุ่มน้อยค่อย ๆ เปลี่ยนวิถีชีวิต
ขนบธรรมเนียมประเพณีของเขาเข้าผสมกลมกลืนรวมกับชนกลุ่มใหญ่ในที่สุด
กล่าวได้ว่า ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ประเทศไทยเราใช้
นโยบายผสมกลมกลืนกับชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด แม้หลังช่วงดัง
กล่าวก็ยังใช้อยู่และเน้นมากขึ้นในช่วงที่ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ
พ.ศ.2481 โดยจะรวมอยู่ใน “นโยบายสร้างชาติ” ซึ่งเน้นในเรื่องวัฒนธรรมมาเป็นพิเศษ ดังจะเห็น
ได้จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติบำารุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2483 และกฎหมายในทำานอง
เดียวกันอีกหลายฉบับในเวลาต่อมา ซึ่งมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมและศาสนา
อิสลามในประเทศไทยอย่างมาก

123
บทบาทของสถาบันฯ
สุรนิ ทร์ พิศสุวรรณ อดีตนักวิชาการรัฐศาสตร์และปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงนโยบายสร้างชาติของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไว้ในงานวิจัย
เกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในสี่จังหวัดภาคใต้ ไว้ว่า(8)
“...เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นมามีอำานาจหลังจากการเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2481 ได้นำา
เอาลัทธิชาตินิยมเข้ามาใช้และมีผลกระทบต่อชาวมาเลย์มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง
มาก เกิดความรู้สึกแปลกแยก (Alienated) และผิดหวังกับระบอบการปกครอง ความคิดที่จะแยก
ตัวออกไปก็คุกรุ่นขึ้นมาในหมู่ผู้นำา...นโยบายชาตินิยมผสมผสานทางวัฒนธรรม จึงมีผลกระทบ
อย่างใหญ่หลวงต่อความรู้สึกของชาวมาเลย์มุสลิมซึ่งมีต่อรัฐบาลไทย...”
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม หมดอำานาจไปใน พ.ศ.2487 รัฐบาล
ของนายควง อภัยวงศ์ ได้ใช้นโยบายที่นายปรีดี พนมยงค์ ผูส้ ำาเร็จราชการในขณะนั้นพยายามที่จะ
ลบรอยบาดหมาง หรือลดความเคียดแค้นจากนโยบายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยใช้
นโยบาย “อุปถัมภ์อิสลาม” ซึ่งก็คือ มีการนำานโยบายการอยู่ร่วมกัน (Integration) มาใช้กับชนกลุ่ม
น้อยชาวไทยมุสลิมเป็นครั้งแรกนั่นเอง
จากจุดนี้เอง นับตั้งแต่ พ.ศ.2487 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเราโดยรัฐบาลชุดต่าง ๆ ได้
นำานโยบายการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมทั้งสองแบบ คือ แบผสมผสานกลมกลืน
และแบบอยู่ร่วมกันมาใช้ร่วมกันแล้วแต่จุดเน้นของรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะเน้นแบบใดมากกว่ากัน
อย่างไรก็ตาม ตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏจากการใช้นโยบายทั้งสองแบบก็คือ นโยบายแบบ
ผสมกลมกลืนมักไม่ได้ผลและได้รับการต่อต้านจากชาวไทยมุสลิมอย่างมากโดยเฉพาะชาวมุสลิม
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้น (75% เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ด้วย
เหตุนี้เอง นโยบายแบบอยู่ร่วมกัน จึงเป็นแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้มากกว่าในการแก้ไขปัญหา
ชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคต

2. บทบาทของสถาบันนิติบัญญัติในการสร้างบูรณาการ
ในสังคมใดก็ตามที่มีชนกลุ่มน้อย ปัญหาทางการเมืองที่สำาคัญที่เกิดขึ้นควบคู่เสมอก็คือ
ปัญหาการสร้างบูรณาการในทางการเมืองและทางสังคม การสร้างบูรณาการในด้านทั้งสอง ใน
แนวความคิดของนักวิชาการ คือ Sidney Verba ก็คือ ในเรื่องการสร้างความเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกันในสังคม โดยเฉพาะในสังคมที่อยู่ระหว่างระยะเวลาการรวมชาติ ทั้งนี้ในบางสังคมยังเป็น
สังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มชนหลากหลายที่มีความแตกต่างกันทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่า
นิยม การขาดบูรณาการหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันย่อมเป็นสาเหตุทำาให้เกิดผลเสียต่อการ
พัฒนาประเทศทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

124 บทบาทของสถาบันฯ
โดยทั่วไปแล้ว การสร้างบูรณาการทางสังคม (Social Integration) หมายถึง กระบวนการ
ใด ๆ ก็ตามที่สามารถก่อให้เกิดความร่วมมือ การติดต่อสัมพันธ์ของกลุ่มชนอย่างน้อยสองกลุ่มอยู่
ในระดับสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความแบ่งแยก (separate) ระหว่างกลุ่มและทำาให้เกิด
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสูง มีผลประโยชน์และค่านิยมร่วมกัน
สำาหรับบูรณาการทางการเมือง (Political Integration) ตามทัศนะของ Myron Weiner ได้
ให้ความหมายดังนี้
1. หมายถึง กระบวนการที่ทำาให้กลุ่มที่มีความแตกต่างกันด้านสังคมและวัฒนธรรม มี
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำาชาติ เป็นประเด็นการสร้างสำานึกแห่ง
ความเป็นชาติร่วมกันในสังคมหลากหลายหรือพหุสังคม
2. หมายถึง กระบวนการสร้างศูนย์กลางอำานาจแห่งชาติที่สามารถควบคุมองค์กรทางการ
เมืองหรือภูมิภาค ที่อาจจะมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรมหรือมีกลุ่มทางสังคมที่แตกต่าง
กันให้ยึดมั่นหรือปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคม
3. หมายถึง กระบวนการเชื่อมประสานระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน เนื่องจากในสังคม
ทีอ่ ยู่ในระยะรวมชาติ ผู้ปกครองมักจะมีลักษณะแตกต่างไปจากประชาชนที่ถูกปกครองพยายามที่
ปกครองควบคุมบังคับมวลชน
4. หมายถึง กระบวนการที่จะรักษาความเป็นระเบียบทางสังคม โดยใช้เครื่องมือทางสังคม
ทีไ่ ด้รับการยอมรับจากสมาชิกในสังคม ได้แก่ ปทัสถานจากรัฐบาลในกระบวนการแก้ไขปัญหา
เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม การพัฒนาประเทศ การพัฒนา
ระบบเศรษฐกิจ และการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
5. หมายถึง ความสามารถของประชาชนในการรวมกลุ่ม การจัดองค์กรต่าง ๆ เพื่อบรรลุ
เป้าหมายแห่งชาติร่วมกัน และในบางสังคมเป็นการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์อันจะเป็น
กลไกที่มีพลังต่อรองหรือผลักดันให้รัฐบาลดำาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม โดยใน
สังคมที่มีลักษณะบูรณาการสูงจะมีลักษณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกชนชั้นมีเสรีภาพในการ
รวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรของตนขึ้น ในขณะที่สังคมที่มีบูรณาการทางการเมืองตำ่า ผูท้ ี่สามารถก่อสร้าง
กลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่มจะเป็นบุคคลที่มีอำานาจบางกลุ่มเท่านั้น
ดังนั้นจากที่กล่าวมาข้างต้น คำาว่า บูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมหรือการเมือง เป็น
เรื่องเกี่ยวกับการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนต่าง ๆ ภายใต้ความ
ร่วมมือกันในทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และในกรณีเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย การ
บูรณาการ ก็คือ การอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนที่มีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ภายใต้ความสำานึก
ว่าเป็นชาติเดียวกันนั่นเอง
125
บทบาทของสถาบันฯ
การสร้างบูรณาการข้างต้น นอกเหนือจากจะเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลในการกำาหนด
นโยบายให้สอดคล้องในเรื่องนี้แล้ว สถาบันทางการเมืองอื่น ๆ ก็สามารถมีบทบาท หน้าที่ในเรื่องนี้
ได้เช่นกัน โดยเฉพาะสถาบันนิติบัญญัติ (Legislative Institution) ทั้งนี้มีแนวความคิดหลักที่ว่า
กระบวนการนิติบัญญัติจะให้ประกันในเรื่องบูรณาการ โดยอาศัยวิธีการออกกฎหมายที่เอื้ออำานวย
ต่อเรื่องดังกล่าว ตลอดจนบทบาทในการเป็นตัวแทน ของชนกลุ่มน้อยในสถาบันนิติบัญญัติ
ภายใต้การเกิดขึ้นของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติเปรียบเทียบนัก
วิชาการได้เพิ่มจำานวนมากขึ้นที่จะตรวจสอบความเหมาะสมของหน้าที่ของสถาบันนิติบัญญัติใน
การสร้างบูรณาการแห่งชาติ ในงานเขียนของ Malcolm E. Jewell ได้กล่าวว่า เรื่องที่สำาคัญมาก
ซึ่งได้รับการศึกษาจากนักศึกษาเกี่ยวกับระบบนิติบัญญัติ ก็คือ ความสามารถของกระบวนการ
นิติบัญญัตใิ นการสนับสนุนการบูรณาการในระบบการเมือง เป็นเรื่องที่จะตัดสินใจว่าภายใต้
สถานการณ์ใดที่สถาบันนิติบัญญัติจะเอื้ออำานวยต่อการบูรณาการ และภายใต้สถานการณ์ใดที่จะ
เป็นอุปสรรคก่อให้เกิดการแตกแยก คุณลักษณะต่าง ๆ ของระบบนิติบัญญัติอาจจะมีผลกระทบต่อ
กระบวนการเป็นตัวแทน และมีผลกระทบต่อชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ การเป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อย
จำาเป็นต้องได้รับการศึกษา ในทุก ๆ แง่มุม ได้แก่ การแต่งตั้ง กระบวนการเลือกตั้งระบบ
พรรคการเมือง ตลอดจนบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิกสถาบันนิติบัญญัติทไี่ ด้รับเลือกจากผู้มี
สิทธิ์เลือกตั้งซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย
ในทัศนะของ Albert F. Eldridge สถาบันนิติบัญญัติมีหน้าที่หลายประการซึ่งได้รับการ
อธิบายในเรื่องระบบนิติบัญญัติทไี่ ด้รับพิจารณาว่ามีผลกระทบต่อบูรณาการแห่งชาติ หน้าที่ดัง
กล่าวได้แก่
1. หน้าที่การเป็นตัวแทน (Representation) หมายถึง การแสดงออกและกระบวนการ
ในการเข้าถึงอย่างเป็นทางการในสภานิติบัญญัติ เพื่อการเป็นตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ อย่างหลาก
หลาย
2. หน้าที่กำาหนดนโยบาย (Policy Making) หมายถึง กระบวนการการตัดสินใจและการ
ทำาให้นโยบายเกิดเป็นผลออกมา (ในรูปของกฎหมายต่าง ๆ )
3. หน้าที่สร้างความชอบธรรม (Legitimacy) หมายถึง การสร้างความสนับสนุนแก่
สถาบันต่าง ๆ ภายใต้การตัดสินใจของตนเอง ช่วยตรวจสอบการตัดสินใจของรัฐบาล ทำาให้
สาธารณชนสนับสนุนระบอบการปกครองที่ดำารงอยู่
สำาหรับในกรณีของประเทศไทย สถาบันนิติบัญญัติ โดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎร อาจ
กล่าวได้ว่าได้มีส่วนในการทำาหน้าที่ข้างต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 แม้ว่าจะประสบปัญหาการล้มลุก
คลุกคลาน เนื่องจากความไม่ต่อเนื่องของสถาบันนิติบัญญัติก็ตาม
126 บทบาทของสถาบันฯ
ในกรณีสถาบันนิติบัญญัติของไทย ซึ่งมีบทบาททั้ง 3 ด้านข้างต้นนั้น หากวิเคราะห์
ลักษณะของสภาผู้แทนราษฎรของไทยในช่วงหลัง ๆ กล่าวคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา เมื่อ
ระบบการเมืองไทยมีความต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น จะพบว่าสภาผู้แทนราษฎรไทยได้ทำาหน้าที่ทั้ง
3 ด้านข้างต้นในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างบูรณาการในปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่
พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
จะมีผู้แทนราษฎรที่เป็นชาวไทยมุสลิมอย่างต่อเนื่องดังตารางแสดงจำานวนสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ใน พ.ศ. 2522 , พ.ศ. 2526 , พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 ดังต่อไปนี้

จำานวน ส.ส.มุสลิม
การเลือกตั้งทั่วไป จำานวน ส.ส.มุสลิมทัง้ หมด
4 จังหวัดภาคใต้
22 เมษายน 2522 9 คน 7 คน
18 เมษายน 2526 9 คน 7 คน
27 กรกฎาคม 2529 10 คน 7 คน
24 กรกฎาคม 2531 12 คน 7 คน

จากตารางข้างต้น ซึ่งเป็นข้อมูลจากเอกสารของสำานักงานเลขาธิการรัฐสภาเกี่ยวกับ
ประวัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ส.ส.มุสลิมส่วนใหญ่จะมาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่
สำาคัญ ๆ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล และมีอาชีพเป็นอดีตข้าราชการครูและ
ทนายความมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ อาทิ นายเด่น โต๊ะมีนา ส.ส.ปัตตานีหลายสมัยติดต่อกัน มีอาชีพ
เป็นทนายความมาก่อน นายเสนีย์ มะดากะกุล ส.ส.นราธิวาสหลายสมัยเช่นเดียวกัน ก็มีอาชีพเป็น
ข้าราชการครูมาก่อน
เมื่อวิเคราะห์สัดส่วนการเป็นตัวแทนของ ส.ส. เหล่านี้ ตั้งแต่พ.ศ. 2522-2531 แล้วพบว่า
จะมีจำานวนเฉลี่ยประมาณ 3 % ของ ส.ส. ทัง้ หมดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนการเป็นตัวแทนของ
ชาวไทยมุสลิมทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งมีประมาณ 2 ล้านคน (ในจำานวนนี้ประมาณ 1 ล้านคนอยู่
ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ในแง่ของการเป็นตัวแทนของชาวไทยมุสลิมในสถาบัน
นิติบัญญัตนิ ั้น ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้เข้ามามีส่วนร่วมในสัดส่วนที่พอเหมาะ
กับจำานวนประชากรที่เป็นชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวคือ หาก
เทียบว่า ส.ส. 1 คน เป็นตัวแทนประชากร 150,000 คน

127
บทบาทของสถาบันฯ
ดังนั้น หากพิจารณาในแง่ของจำานวนแล้ว เราจะไม่มีปัญหาในเรื่องการเป็นตัวแทนของ
ชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิม แต่ในแง่บทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติแล้ว จะต้องศึกษาในราย
ละเอียดต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทในการกำาหนดนโยบาย/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชนก
ลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิม ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป

3. กฎหมายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิม
ในการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมของไทยที่ผ่านมา โดยอาศัยกระบวนการ
นิติบัญญัตหิ รือสถาบันนิติบัญญัติ โดยเป็นหน้าที่ในด้านการกำาหนดนโยบายหรือการออก
กฎหมาย เพื่อให้เกิดการสร้างบูรณาการนั้น จากการศึกษาพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศไทยมีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมในลักษณะการอยู่ร่วมกันเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน (Integration) มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากบทบาทของรัฐบาลและสถาบันนิติบัญญัติในการ
ออกกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารกิจการของศาสนาอิสลามในประเทศไทยมากขึ้นโดยลำาดับ อาจ
กล่าวได้ว่าเป็นการออกกฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะสำาหรับชาวไทยมุสลิมเพื่อให้สอดคล้องต่อหลัก
การอิสลามและอำานวยประโยชน์ต่อชาวไทยมุสลิม กฎหมายต่าง ๆ ได้แก่
1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488
2. พระราชบัญญัติวา่ ด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา
และสตูล พุทธศักราช 2489
3.พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พุทธศักราช 2490
4. กฎกระทรวง (พ.ศ. 2491) ออกตามความในพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พุทธศักราช
2490
5. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2491
6. ระเบียบการจดทะเบียนมัสยิด พุทธศักราช 2491
7. ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำามัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำาเนินการ
อันเกี่ยวกับศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พุทธศักราช 2492
8. พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พุทธศักราช 2524
ในบรรดากฎหมายข้างต้นทั้ง 8 ฉบับนี้ ฉบับทีส่ ำาคัญ ๆ ได้แก่ ฉบับที่ 2 , 3 และ 8 โดยมี
เนื้อหาสาระพอสังเขปคือ
ใน พ.ร.บ. ว่าด้วย การใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล
นัน้ ตราขึ้นก็เพื่อใช้บังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และ 6 เพื่อให้การ
สงเคราะห์และคุ้มครองชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้รับความสะดวกและความ
128 บทบาทของสถาบันฯ
ยุติธรรมเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวมรดกเป็นสำาคัญ การที่ตรากฎหมายฉบับนี้นอกจากจะมีเจตนา
รมย์ เพื่ออำานวยความสะดวกและให้ชาวไทยมุสลิมได้รับความยุติธรรมเมื่อกรณีพิพาทเกี่ยวข้องกับ
เรื่องครอบครัวมรดกแล้ว ยังเป็นการสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยมุสลิมอีก
ด้วย ทำาให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านการปกครองและเป็นการสนับสนุนศาสนาอิสลามโดยตรง
สำาหรับ พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 นัน้ เป็นการวางระเบียบข้อบังคับในการจัดตั้ง
มัสยิดอันเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวมุสลิม และให้มีผู้รับผิดชอบในการดูแล
กิจการของมัสยิด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดการดูแลรักษาทำานุ บำารุง และป้องกัน
กรณีพิพาทเรื่องทรัพย์สินของมัสยิด ตามพระราชบัญญัตินกี้ ำาหนดให้มัสยิดต้องจดทะเบียน และมี
ฐานะเป็นนิติบุคคลมีกรรมการมัสยิดไม่น้อยกว่า 7 คน จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร
มีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองบรรดาผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามให้สามารถประกอบศาสนกิจได้เป็นไป
ด้วยความเรียบร้อย ให้ความคุ้มครองและมีผลบังคับใช้ได้ทั่วประเทศไม่ว่าในท้องที่ใด หากมีชาว
ไทยมุสลิมเป็นจำานวนมาก ก็สามารถก่อตั้งมัสยิดเพื่อบำาเพ็ญศาสนกิจได้
ส่วน พ.ร.บ. ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 นั้นตราขึ้นเพื่ออำานวยความสะดวกในการเดิน
ทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทยมุสลิม ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และเพื่อแก้ไข
ปัญหาและอุปสรรคบางประการทางด้านกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้การเดินทางของชาวไทยมุสลิมได้รับ
การส่งเสริมให้ถูกต้องสมบูรณ์ในทางหลักทางศาสนา ความสะดวก ปลอดภัย มีหลักประกันในการ
เดินทางและป้องกันการหาประโยชน์อันมิชอบ เช่น การหลอกลวงให้เดินทางไปแต่ไม่ได้นำากลับมา
เนื่องจากมีบริษัทบางแห่งขาดความรับผิดชอบทำาการทุจริตหลอกลวงให้เดินทางไปแต่ไม่รับกลับ
คืนมา หรือการโกงเงินค่าเดินทางที่มัดจำาไว้ เป็นต้น
อนึ่ง ในการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
กิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นชาวไทยมุสลิมและเป็นตัวแทนของ
ประชาชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ นายเสนีย์ มะกากะกุล ส.ส. จังหวัดนราธิวาส ได้แสดง
บทบาทในการเป็นตัวแทนของชาวมุสลิมอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
(สมัยสามัญ) พ.ศ. 2524 ครั้งที่ 8/2524 เรื่องที่ 4 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการ
ฮัจย์ พ.ศ. ............ โดยในวาระที่ 2 ขั้นแปรญัตติ นายเสนีย์ได้ลุกขึ้นอภิปราย เพื่อขอให้มีการแก้ไข
บทบัญญัติในมาตราที่ 5(3) และมาตรา 6 โดยได้อภิปรายว่า
“...ท่านประธานครับ ผมคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องทีส่ ำาคัญมากนะครับ เพราะผมคิดว่ามาตรา
5 (3) นีน่ ะครับ ขัดรับธรรมนูญครับ เพราะการไปฮัจย์ในหลักการอิสลามนั้นเป็นสิ่งที่บังคับ 5
ประการ เป็นหลักปฏิบัติเลยครับ แต่ใน (3) นีบ้ อกว่าการโฆษณาหรือกระทำาอื่นใดอันมีลักษณะ
เป็นการชักชวนเพื่อไปประกอบพิธีฮัจย์อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์สำาหรับตนเองหรือผู้อื่น
129
บทบาทของสถาบันฯ
โดยผู้กระทำามิได้เป็นตัวแทน หรือเจ้าหน้าที่ของบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการแล้วนะ
ครับ จะผิดและจะได้รับโทษ ผมคิดว่าเรื่องนี้ ถ้าพวกเราผ่านไปแล้ว สภาผ่านไปแล้วก็เท่ากับว่า คน
จะสอนพวกครูหรือพวกอะไรที่สอนเกี่ยวกับการทำาพิธีฮัจย์นี้มิได้ การชักชวน ที่นี้ก็ระบุเห็นชัด
ว่าการชักชวน อันนี้ ในลักษณะเป็นการชักชวน หมายความว่า คนทุกคนที่เป็นครูนั้นเขาจำาเป็นที่
จะต้องสอนตามหลักการนี้ ตามโรงเรียน ตามมัสยิด ตามอะไรต่าง ๆ ฉะนั้น ถ้าหากว่าตามวงเล็บนี้
แล้ว ก็ห้ามคนอื่นไปเกี่ยวข้อง นอกจากว่า ใน (1) (2) เท่านั้นที่สามารถกระทำาได้ ฉะนั้นผมคิดว่า
เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่เหมาะสม และก็ขัดกับรัฐธรรมนูญ”
ผลจากการอภิปรายคัดค้าน มาตรา 5 (3) ข้างต้นนี่เอง ทำาให้มีการแปรญัตติ จากฝ่าย
รัฐบาลเองที่เสนอร่าง พ.ร.บ. นีเ้ ข้ามา โดยนำาคำาว่า “ในทางธุรกิจ” มาต่อท้ายข้อความที่ว่า “อัน
เป็นการแสวงหาผลประโยชน์” เพื่อให้มาตรานี้ไม่คลุมถึงกิจการเกี่ยวกับการสอนศาสนาอิสลามใน
เรื่องการชักชวนไปประกอบพิธีฮัจย์
นอกจากนี้ในมาตรา 6 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้ง คณะกรรมการขึ้นมารับผิด
ชอบตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ นายเสนีย์ มะดากะกุล ยังได้อภิปรายสนับสนุนสมาชิกบางท่านที่เสนอให้
เปลี่ยนชื่อของคณะกรรมการดังกล่าว จากชื่อ “คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยส่งเสริมกิจการฮัจย์”
มาเป็นชื่อ “คณะกรรมการว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย” โดยได้อภิปรายว่า
“...ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนที่ไปอยู่นครเมกกะ หรือซาอุดิอาระเบียนั้นจะได้ระบุถึงประเทศใด
บ้าง คนที่มาจากประเทศใด ฉะนัน้ การที่บอกว่า แห่งชาติอย่างเดียวไม่ได้ เห็นชัดว่าเรามาจาก
ประเทศไทย ฉะนั้นผมคิดว่า คณะกรรมการว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยจะดี
ทีส่ ุดนะครับ...”
ผลจากการอภิปรายสนับสนุนของนาย เสนีย์ข้างต้น ในเรื่องชื่อคณะกรรมการนีต้ ่อมาได้มี
การอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และในที่สุดได้มีการแปรญัตติขอแก้ไขมาตรา 6 ในส่วนที่เกี่ยวกับ
ชื่อของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่นายเสนีย์อภิปรายสนับสนุน
ดังนั้น จากตัวอย่างบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชาวไทยมุสลิมจากจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ข้างต้นนี้ จึงกล่าวได้ว่า ส.ส.มุสลิมในสภาผู้แทนราษฎรสามารถทำาหน้าที่ได้ในการ
ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนชาวไทยมุสลิมโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการ
ฮัจย์ พ.ศ. 2524 เป็นต้น หน้าที่ที่แสดงออกได้แก่ การท้วงติง ให้คำาแนะนำา และสนับสนุนแก่
บทบัญญัติในร่างกฎหมายที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวไทยมุสลิมโดยส่วนรวม
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการนิติบัญญัติของไทยที่ผ่านมาโดยเฉพาะในช่วง
หลัง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้พยายามนำากระบวนการดังกล่าวมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาชนกลุ่ม
น้อยชาวไทยมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม โดยที่รัฐบาลและรัฐสภาได้พยายามที่จะออกกฎหมาย
130 บทบาทของสถาบันฯ
ต่าง ๆ ทีจ่ ะเอื้ออำานวยต่อการปฏิบัติตามหลักการในศาสนาอิสลามของพี่น้องชาวไทยมุสลิมใน
ด้านต่าง ๆ อย่ากว้างขวาง นอกจากนี้ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็น
ชาวไทยมุสลิม และเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยมุสลิมในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มี
สัดส่วนในจำานวนที่พอเหมาะ พอดีกับจำานวนประชากรในเขตดังกล่าว ทำาให้บทบาทในการเป็น
ตัวแทนมีความสมบูรณ์ ในแง่ของปริมาณ ในขณะเดียวกัน ในแง่ของบทบาทในเชิงคุณภาพก็จะ
พบว่า ส.ส.มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นทัศนะเพื่อ
พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์เป็นปกเป็นเสียงแทนพี่น้องชาวไทยมุสลิมได้เช่นเดียวกัน ดังจะเห็น
ตัวอย่างในกรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 ที่กล่าวมา
ข้างต้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า สถาบันนิติบัญญัติและกระบวนการนิติบัญญัติ สามารถนำามาใช้เพื่อ
ก่อให้เกิดบูรณาการทางสังคมและทางการเมืองในสังคมไทย ซึ่งประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยในบาง
พื้นที่ได้ สามารถสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบการปกครอง ในแง่ของการเปิดโอกาสให้ชนก
ลุ่มน้อยได้มีส่วนร่วมในการปกครอง โดยผ่านสภานิติบัญญัติ ตลอดจนสามารถแสดงออกในความ
ต้องการในด้านต่าง ๆ อันเป็นของชนกลุ่มน้อยเอง

4. สรุปและข้อเสนอแนะ
ปัญหาชนกลุ่มน้อย เป็นปัญหาที่เกือบทุกประเทศประสบ แต่สภาพความรุนแรง ก็แตก
ต่างกันออกไปตามเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ ในกรณีประเทศไทยปัญหาชนก
ลุ่มน้อยที่สำาคัญ ได้แก่ ปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิม ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในสี่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ทำาให้ปัญหาเรื่องความมั่นคงได้เกิดติดตามมาในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว รากฐานของปัญหา
ชาวไทยมุสลิมเกิดจากความแตกต่างในด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเรื่องศาสนาและภาษา ก่อให้
เกิดปัญหาในด้านอื่น ๆ ติดตามมาอีกหลายประการ คือปัญหาการเมืองการปกครอง ปัญหาทาง
เศรษฐกิจ และปัญหาในการจัดการด้านการศึกษา เป็นต้น
ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยได้พยายามแก้ไข โดยนำานโยบายการผสม
กลมกลืนและนโยบายการอยู่ร่วมกันมาใช้ มีจุดเน้นในบางยุคบางสมัยแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม
สถาบันนิติบัญญัติได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยให้นโยบายการอยู่ร่วมกันเกิดเป็นผล
สำาเร็จ โดยการแสดงบทบาทในการเป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อยชาวไทยมุสลิมบทบาทในการออก
กฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของชนกลุ่มดังกล่าว ตลอดจนบทบาทในการสร้างความชอบธรรมให้แก่
ระบอบการปกครองของไทยในปัจจุบัน ทัง้ นี้ พิจารณาได้จากข้อมูลเกี่ยวกับ ส.ส.ทีเ่ ป็นชาวไทย
มุสลิม และบทบาทของพวกเขาเหล่านี้ในกระบวนการนิติบัญญัติบางส่วน

131
บทบาทของสถาบันฯ
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาข้างต้นนี้ อาจนำาเสนอเป็นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาชาว
ไทยมุสลิมได้ ดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลไทยจะต้องเน้นนโยบายการอยู่ร่วมกันมากกว่าการผสมกลมกลืนในการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว เพราะในอดีตที่ผ่านมา การใช้นโยบายการผสมกลมกลืนที่ไม่รอบคอบ ก่อให้เกิด
ปฏิกิริยาต่อต้านจากชาวไทยมุสลิมมากขึ้น
2. ในการใช้นโยบายการอยู่ร่วมกัน นอกจากบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการดูแลการ
บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว สถาบันนิติบัญญัติโดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎร จะต้อง
เพิ่มบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่ในแง่ปริมาณ ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนชาวไทยมุสลิม หากแต่ในแง่
บทบาทในการเป็นปากเป็นเสียงของชาวไทยมุสลิมเพื่อพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาให้
มากขึ้น
3. กระบวนการนิติบัญญัติ สามารถนำามาใช้ในการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่จะเอื้ออำานวยต่อ
ผลประโยชน์และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องชาวไทยมุสลิมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นนอกเหนือจาก
กฎหมายเดิมที่เน้นในเรื่องการสนับสนุนการนับถือศาสนาอิสลามแล้ว กฎหมายอื่น ๆ ทีจ่ ะช่วย
เหลือชาวไทยมุสลิมในด้านการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ ควรจะเกิดขึ้นด้วย อาทิ กฎหมาย
ว่าด้วยการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าที่จะมี
การกระจายอำานาจไปให้ประชาชนมีส่วนในการคัดเลือกผู้ปกครองระดับต่าง ๆ มากขึ้นตามลำาดับ
และอาจมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองพัทยา และ
กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะต้องพิจารณาในรายละเอียดอย่างรอบคอบในการที่จะนำามาใช้ในพื้นที่ดัง
กล่าว
ส่วนในด้านเศรษฐกิจ น่าที่จะได้มีการออกกฎหมายเพื่อใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะ
เอื้ออำานวยต่อการประกอบอาชีพและธุรกิจของชาวไทยมุสลิมให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับด้านศาสนา
กฎหมายที่จะตราขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีอากรการส่งเสริมการค้าหรือธุรกิจ เช่น
กฎหมายส่งเสริมการลงทุนของประชาชนในสี่จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น
4. รัฐบาลและสภาบันนิติบัญญัติจะต้องเร่งรัดให้กฎหมายที่มีลักษณะปฏิรูป ซึ่งจะมีผลก
ระทบต่อประชาชนส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มใดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากขึ้น เช่น กฎหมาย
ประกันสังคม และกฎหมายการถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา เป็นต้น เพราะเกี่ยวข้องกับความเป็น
อยู่ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยส่วนรวมและจะเกิดผลดีต่อชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ อีกด้วย
5. ส.ส. ทีเ่ ป็นชาวไทยมุสลิมจะต้องสำานึกในบทบาทหน้าที่ของตนในการเป็นตัวแทนมาก
ขึ้น โดยเฉพาะ ส.ส. ที่มาจากสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องลดความแตกต่างในการสังกัดพรรค
คนละพรรคและให้ความร่วมมือกันมากขึน้ ในการผลักดันกฎหมาย และนโยบายสาธารณะที่จะ
132 บทบาทของสถาบันฯ
เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น รูปแบบที่อาจดำาเนินการได้ในกรณี
นีก้ ็คือ การรวมกลุ่ม ส.ส. มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคณะกรรมาธิการว่าด้วยปัญหาสี่
จังหวัดชายแดนภาคใต้

133
บทบาทของสถาบันฯ
ภาคผนวก
รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นชาวไทยมุสลิม
ในระหว่าง พ.ศ. 2522-2531

ก. ชุดจาการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522


(จำานวน ส.ส. ทัง้ หมด 301 คน)
ลำาดับ ชื่อ-นามสกุล พรรค จังหวัด อาชีพเดิม
1 นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี กิจสังคม ปัตตานี ลูกจ้างธนาคาร
2 นายเด่น โต๊ะมีนา ประชาธิปัตย์ ปัตตานี ทนายความ
3 นายทวีศักดิ์ อับดุลยบุตร ชาติประชาชน ปัตตานี เกษตรกร
4 นายปริญญา เจตาภิวัฒน์ กิจสังคม นราธิวาส รับราชการ
5 นายเสนีย์ มะดากะกุล กิจสังคม นราธิวาส รับราชการ (ครู)
6 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กิจสังคม ยะลา รับราชการ
7 นายอดุล ภูมิณรงค์ ชาติประชาชน ยะลา ค้าขาย
8 นายปรีชา เอสก้า ประชากรไทย กรุงเทพฯ ทนายความ
9 นางวนิดา กุลามไมดินเซท ประชากรไทย กรุงเทพฯ นักธุรกิจ

ข. ชุดจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526


(จำานวน ส.ส. ทัง้ หมด 324 คน)
ลำาดับ ชื่อ-นามสกุล พรรค จังหวัด อาชีพเดิม
1 นายเด่น โต๊ะมีนา ชาติไทย ปัตตานี ทนายความ
2 นายทวีศักดิ์ อับดุลยบุตร สยามประชาธิปไตย ปัตตานี เกษตรกร
3 นายสิทธิชัย บือราเฮง ชาติไทย นราธิวาส เกษตรกร
4 นายเสนีย์ มะดากะกุล กิจสังคม นราธิวาส รับราชการ (ครู)
5 นายเฉลิม เบ็ญหาวัน กิจสังคม ยะลา ทนายความ
6 นายอดุล ภูมิณรงค์ สยามประชาธิปไตย ยะลา รับจ้าง
7 นายรังสฤษดิ์ เชาวน์ศิริ ประชากรไทย กรุงเทพฯ รับราชการ (ครู)
8 นายเล็ก นานา ประชากรไทย กรุงเทพฯ นักธุรกิจ
9 นายจิรายุส เนาวเกตุ ประชาธิปัตย์ สตูล รับราชการ (ครู)

134 บทบาทของสถาบันฯ
ค. ชุดจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
(จำานวน ส.ส. ทัง้ หมด 347 คน)
ลำาดับ ชื่อ-นามสกุล พรรค จังหวัด อาชีพเดิม
1 นายเด่น โต๊ะมีนา ประชาธิปัตย์ ปัตตานี ทนายความ
2 นายสุดิน ภยุทธานนท์ สหประชาธิปไตย ปัตตานี นักธุรกิจ
3 นายเสนีย์ มะดากะกุล กิจประชาคม นราธิวาส รับราชการ (ครู)
4 นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ประชาธิปัตย์ นราธิวาส ทนายความ
5 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประชาธิปัตย์ นราธิวาส รับราชการ
6 นายอดุล ภูมิณรงค์ สหประชาธิปไตย ยะลา นักธุรกิจ
7 นายจิรายุส เนาวเกตุ ก้าวหน้า สตูล ค้าขาย
8 นายสมนเล๊าะ โปขะรี่ ประชาธิปัตย์ สงขลา ประมง
9 นายสมบูรณ์ สิทธิมนต์ ประชาธิปัตย์ กระบี่ รับราชการ (ครู)
10 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประชาธิปัตย์ นครศรีธรรมรา รับราชการ
ช (อาจารย์)
ง. ชุดจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
(จำานวน ส.ส. ทัง้ หมด 357 คน)
ลำาดับ ชื่อ-นามสกุล พรรค จังหวัด อาชีพเดิม
1 นายเด่น โต๊ะมีนา ประชาธิปัตย์ ปัตตานี ทนายความ
2 นายทวีศักดิ์ อับดุลยบุตร สหประชาธิปไตย ปัตตานี เกษตรกร
3 นายปริญญา เจตาภิวัฒน์ นราธิวาส รับราชการ
4 นายเสนีย์ มะดากะกุล กิจประชาคม นราธิวาส รับราชการ (ครู)
5 นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ประชาธิปัตย์ นราธิวาส ทนายความ
6 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประชาธิปัตย์ ยะลา รับราชการ
7 นายวิทูร หลังจิ สหประชาธิปไตย สตูล นักธุรกิจ
8 นายสมนเล๊าะ โบขะรี่ ก้าวหน้า สงขลา ประมง
9 นายสมบูรณ์ สิทธิมนต์ เอกภาพ กระบี่ รับราชการ (ครู)
10 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประชาธิปัตย์ นครศรีธรรมรา รับราชการ
ช (อาจารย์)
11 นายสมาน ใจปราณี ประชากรไทย กรุงเทพฯ ไม่ระบุ
12 นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ประชากรไทย กรุงเทพฯ ไม่ระบุ

135
บทบาทของสถาบันฯ
บรรณานุกรม

1. ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ ชนกลุ่มน้อยในไทยกับความมั่นคงของชาติ กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา ,


2526.
2. ภัคคินี เปรมโยธิน “กระบวนการบริหารราชการส่วนภูมภิ าคกับการแก้ไขปัญหาชนกลุม่
น้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519.
3. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร คุณลักษณะทางสังคมของชาวไทยมุสลิมและการสนองตอบต่อ
รัฐบาล. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
4. สุรินทร์ พิศสุวรรณ นโยบายประสบประสมประสานชาวมาเลย์มุสลิมในประเทศไทย
สมัยรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2525.
5. เสาวนีย์ จิตต์หมวด กลุ่มชาติพันธุ์ : ชาวไทยมุสลิม กรุงเทพฯ : มปท., 2531.
6. สำานักงานเลขาธิการรัฐสภา “รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญ พ.ศ. 2524
ครั้งที่ 8-16” (เล่ม 2)
7. อารง สุทธาศาสน์ “ปัญหาสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวโน้ม” ใน ปัญหาการเมืองส่วน
ภูมิภาคและชนกลุ่มน้อย รวบรวมโดย สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529.
8. Eldridge , Albert F. (ed.) Legislative in Plural Societies. North Carolina : Duke
University Press , 1977.
9. Jewell , Malcolm E. “Legislative Representation and National Integration.” in
Legislative in Plural Societies. ed. By Albert F. Eldridge North, Carolina : Duke
University Press , 1977.
10. Plano , Jack C. Political Science Dictionary. lllinois : The Dryden Press , 1973.
11. Verba , Sidney. “Comparative Political Culture.” in Political Culture and Political
Development. ed. by Lucian Pye and Sidney Verba. Princeton , N.J. : Princeton
University Press , 1965.
12. Weiner , Myron. “Modernization and Social Integration.” in Political Modernization.
ed. by Claud E. Welch. California : Wadswarth Publishing Company , Inc. 1967.

136 บทบาทของสถาบันฯ

You might also like