Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 11

1
PERICYCLIC REACTION
THE ORGANIC CHEMISTRY SERIES

Translated version

Asst. Prof. Dr. KiddRyan


Starfleet Academy, United Federation of Planet

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 21
1
1 ธรรมชาติของปฏิกิริยาเพอริไซคลิก
The Natural of pericyclic reaction

1.1 ไอออน อนุมูลอิสระ และ ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก


ในทุก ๆ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับเคมีอินทรีย์ เราสามารถจัดจาแนกให้อยู่ในกลุม่ ของปฏิกิรยิ าชนิดต่าง ๆ ได้ โดย
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปฏิกิรยิ าที่เกิดผ่านไอออน อนุมูลอิสระ และเพอริไซคลิก สาหรับปฏิกิริยาที่เกิดผ่าน
ไอออน (Ionic reaction) มีความเกีย่ วข้องกับการเคลื่อนที่ของคู่อิเล็กตรอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ปฏิกิริยายู
นิโมเลกุลลาร์ ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาการเกิดเป็นไอออน (Ionization) ของสารประกอบอัลคิลเฮไลท์ตติยภูมิ เกิด
การแตกออกของพันธะที่เกิดขึน้ ระหว่าง คาร์บอน – ฮาโลเจน

รูปภาพที่ 1 ตัวอย่างปฏิกิริยาการเกิดเป็นไอออนของสารประกอบอัลคิลเฮไลท์
โดยอิเล็กตรอนหนึ่งตัวเคลื่อนที่จากพันธะไปยังธาตุคลอรีนเกิดเป็นคลอไรด์ไอออน และเกิดเป็นคาร์โบแคทไอออน
ซึ่งเป็นสารประกอบทีข่ าดแคลนอิเล็กตรอน สาหรับปฏิกิริยาไบโมเลกุลลาร์ จะมีสารประกอบอยู่ 2 ชนิดซึ่งตัวหนึ่ง
จะทาหน้าที่เป็น นิวคลีโอไฟด์ ซึ่งทาหน้าที่ในการให้คู่อิเล็กตรอนในการสร้างพันธะ และอีกตัวทาหน้าที่เป็น
อิเล็กโทรไฟด์ ซึ่งทาหน้าที่ในการรับคู่อิเล็กตรอนจากนิวคลีโอไฟด์ ตัวอย่างเช่นปฏิกิรยิ า-แอลดอล ซึ่งเกิดขึ้น
ระหว่างอินอลเลตของอะซิโตนและอะซิโตนเอง โดยทั่วไปปฏิกิริยาไอออนิกนี้พบมากที่สุดในปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์
เลยทีเดียว
ปฏิกิริยาที่เกิดผ่านเรดิคัล (Radical reactions) มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเพียง 1
ตัวเท่านั้น สาหรับปฏิกิรยิ ายุนิโมเลกุลาร์ เช่น ปฏิกิริยาการแตกออกด้วยแสงของแก๊สคลอรีน อิเล็กตรอนที่สร้าง
พันธะจะเคลื่อนที่ไปยังคลอรีนอย่างละ 1 อิเล็กตรอนซึ่งทาให้ได้อะตอมที่มีลักษณะอิเล็กตรอนไม่ครบคู่ เรียกว่า
“เรดิคัล” หรือ “อนุมูลอิสระ”

รูปภาพที่ 2 ตัวอย่างปฏิกิริยาการเกิดผ่านเรดิคัล
ในปฏิกิริยาไบโมเลกุลาร์การเกิดพันธะใหม่จะเกิดขึ้นจากการที่อิเล็กตรอนจาก 2 คอมโพเนนท์มีการเข้าคูก่ ัน เช่น
ปฏิกิริยาการกาจัดไฮโดรเจนอะตอมออกจากโมเลกุลของ Toluene โดยมีคลอรีนเรดิคัลเข้ามาเกี่ยวข้องกับปฏิกิรยิ า
เกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์เป็น Benzyl Radical และ Hydrochloric Acid ปฏิกิริยาชนิดนี้เนื่องจากอิเล็กตรอนมีการ
เคลื่อนที่เพียง 1 ตัวดังนั้นลูกศรที่ใช้จะมีลักษณะเป็นครึ่งหัว (fishhook arrows)

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 31

ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก (Pericyclic Reaction) เป็นปฏิกิริยาที่มีการเกิดสภาวะทรานซิชันที่เป็นวง 1


(cyclic transition state) โดยมีการแตกออกของพันธะและมีการสร้างพันธะในเวลาเดียวกัน (concerted) โดยไม่
มีการเกิดสารมัธยันต์เกิดขึ้น (intermediate) ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยา Diel-Alders โดยลูกศรที่ใช้ในการบอกการ
เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะสามารถวาดได้ในลักษณะตามเข็มนาฬิกา หรือสามารถเขียนในแบบทวนเข็มนาฬิกาก็ได้
เพราะเราไม่สามารถทราบได้อย่างแน่นอนว่าอิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่แบบใด และเราไม่ทราบอีกเช่นกันว่า
ไฮโดรเจนที่เกิดการเคลื่อนที่จากคาร์บอนหนึ่งไปยังอีกคาร์บอนหนึ่งนั้นเป็นลักษณะของการเกิดไฮไดร์ชิพหรือ
โปรตรอนชิพกันแน่

รูปภาพที่ 3 ตัวอย่างปฏิกิริยาการเกิดผ่านเพอริไซคลิก

1.2 ประเภทของปฏิกิริยาเพอริไซคลิก
ทุก ๆ ประเภทของปฏิกิรยิ าเพอริไซคลิกมีสภาวะทรานซิชันที่เป็นวง (cyclic transition state) ซึ่งมีการ
เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนโดยแตกออกของพันธะและสร้างพันธะอย่างต่อเนื่อง โดยเราแบ่งประเภทของปฏิกิริยาเป็น
4 ประเภท ได้แก่ Cycloaddition electrocyclic reaction sigmatropic rearrangement และ group transfer
reactions โดยปฏิกิริยา Cycloaddition จะเป็นปฏิกิรยิ าที่ใหญ่มาก ๆ (มีปฏิกิรยิ าที่เกี่ยวข้องเยอะ) และโดยทั่วไป
แล้วปฏิกิรยิ านี้การเกี่ยวข้องกับ stereochemistry เสมอ และสามารถมีตาแหน่งที่เกิดปฏิกิรยิ าที่แน่นอน
(regioselectivity) เมื่อสารตั้งต้นที่ใช้มีลักษณะโครงสร้างที่ไม่สมมาตร

1.3 ปฏิกิริยา Cycloaddition


มีลักษณะเฉพาะตัวคือเกิดจาก 2 คอมโพเนนท์เข้ามาทาปฏิกริ ิยากันโดยมีการสร้างพันธะซิกมาใหม่ขึ้นมา
ที่บริเวณปลายโครงสร้างของทั้ง 2 คอมโพเนนท์ และเกิดเป็นโครงสร้างของสารประกอบที่มีลักษณะเป็นวงขึ้นมา
นอกจากนี้ยังทาให้ความยาวของระบบคอนจูเกตในระบบลดลงด้วย (พันธะคู่หายไป 1 พันธะ) ปฏิกิรยิ านี้เกิดขึ้น
บ่อยครั้งและมีความสาคัญกับปฏิกิริยาเพอริไซคลิกมาก
ปฏิกิริยา Diel-Alders เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่เกิดผ่านลักษณะของ Cycloaddition โดยมีการเคลื่อนที่ของ
อิเล็กตรอน 6 ตัวของพันธะไพ โดยปฏิกิรยิ าการเกิดไดเมอร์ของสารประกอบ cyclopentadiene (1.1) เกิดเป็นสาร
ผลิตภัณฑ์ (1.2) โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยานี้สามารถเกิดย้อนกลับได้ โดยเมื่อสารผลิตภัณฑ์ได้รบั ความร้อนจะเกิดการ
สลายตัวได้สารตั้งต้น เรียกว่า retro-cycloaddition หรือ cycloreversion

รูปภาพที่ 4 ปฏิกิรยิ า Cycloaddition ของสารประกอบ cyclopentadiene

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 41

1,3-dipolar cycloaddition ก็เป็นประเภทหนึ่งของปฏิกิริยา cycloaddition ที่สาคัญมาก เช่นปฏิกิริยา 1


ระหว่างก๊าซโอโซนและแอลคีนที่อุณภูมิ -78 องศาเซลเซียส โดยโอโซนจะทาปฏิกิรยิ ากับแอลคีนได้สารประกอบ
molozonide (1.4)

รูปภาพที่ 5 ปฏิกิรยิ า 1,3-dipolar Cycloaddition

และเมื่อได้รับความร้อนจะเกิดปฏิกิริยา 1,3-dipolar cycloreversion ดังลูกศรรูป 1.4 และเกิดปฏิกริ ิยาต่อโดยสาร


ผลิตภัณฑ์ที่ 1.5 และ 1.6 จะเกิดปฏิกริ ิยา 1,3-dipolar cycloaddition ดังลูกศร โดยมีตาแหน่งที่เกิดปฏิกิรยิ า
เฉพาะ ได้สารประกอบ ozonide (1.7) ซึ่งเป็นสารผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียว
ปฏิกิริยาโคเลโทรปิก (Cheletropic reaction) เป็นปฏิกิรยิ าหนึ่งในกลุ่มของ Cycloaddition หรือ
Cycloreversion ซึ่งเกิดกับพันธะซิกมา 2 พันธะมีการสร้างหรือแตกออกที่อะตอมเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยา
การเติมโมเลกุลของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปยัง 1,3-butadiene ได้สารประกอบ adduct (1.8) ปฏิกริ ิยาเกิดขึ้น
โดยที่โมเลกุลของซัลเฟอร์นั้นนาคู่อิเล็กตรอนแก่โมเลกุลไดอีนและรับอิเล็กตรอนเข้ามาจะเห็นว่ามีการเกิดพันธะซิก
มา 2 พันธะที่อะตอมซัลเฟอร์ ปฏิกิรยิ านี้สามารถเกิดขึ้นย้อนกลับได้เมื่อได้รบั ความร้อน โดยปกติแล้วปฏิกิรยิ านี้
มักใช้ในการปกป้อง (Protecting group) หมู่ไดอีนจากปฏิกิรยิ าอื่น ๆ ได้ด้วย

1.4 ปฏิกิริยา Electrocyclic reaction


จากหัวข้อที่ผ่านมาจะพบว่าปฏิกิริยา cycloaddition เป็นปฏิกิริยาที่เกิดกับ 2 คอมโพเนนท์เข้ามาทา
ปฏิกิริยากันแล้วเกิดการสร้างพันธะซิกมาใหม่ แต่ปฏิกิริยาอิเล็กโทรไซคลิกนี้จะแตกต่างโดยที่จะเกิดขึ้นภายใน
โมเลกุลเดียวเท่านั้น โดยลักษณะเฉพาะของปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นจากการสร้างสารประกอบที่เป็นวงขึ้นจาก
สารประกอบที่เป็นเส้นตรงที่มลี ักษณะพันธะคู่ที่คอนจูเกตกัน ซึ่งวงที่เกิดขึ้นจะเกิดที่ปริเวณตรงข้ามของระบบคอน
จูเกตและมีผลทาให้ระบบคอนจูเกตมีความยาวที่สั้นลงเนื่องจากพันธะคู่หายไป
ตัวอย่างปฏิกริ ิยานี้ได้แก่ปฏิกิรยิ าการเปิดวงของสารประกอบไซโคบิวทีน (1.9) โดยการให้ความร้อนได้
สารประกอบ 1,3-butadiene และปฏิกิริยาการปิดวงของเฮกซะไตรอีน (1.11) ได้สารประกอบไซโคเฮกซะไดอีน
โดยธรรมชาติของปฏิกริ ิยานี้จะสามารถเกิดย้อนกลับได้อยู่แล้ว โดยจะเกิดย้อนกลับมากหรือน้อยจะพิจารณาได้ตาม
หลักของเทอร์โมไดนามิกซ์ ส่วนใหญ่แล้วปฏิกิริยาอิเล็กโทรไซคลิกนี้จะเกิดการปิดวงมากกว่าการเปิดวง ซึ่งจะ
พบว่าเมื่อมีการปิดวงจะเกิดการสร้างพันธะซิกมาใหม่ขึ้นมาและพันธะไพจะลดลงไปทาให้โมเลกุลมีความเสถียรสูง
แต่ก็สามารถเกิดการเปิดวงได้เช่นกันในบางกรณีเพราะผลของความเครียดของพันธะ

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 51
1

รูปภาพที่ 6 ลักษณะของปฏิกิรยิ า electrocyclic

รูปภาพที่ 7 ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยา electrocyclic

1.5 ปฏิกิริยา Sigmatropic rearrangement


ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิรยิ าที่ยากมากที่จะสามารถตรวจพบได้ โดยการเกิดปฏิกริ ิยาจะเกิดขึ้นภายในโมเลกุล
ผ่านการเปลี่ยนแปลงไอโซเมอร์ (isomerization) และมีการเคลื่อนที่ของพันธะซิกมาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งและ
ในขณะเดียวกันก็มกี ารเคลื่อนที่ของพันธะไพไปด้วยกันและมีการสร้างพันธะใหม่เกิดขึ้น ตัวอย่างของปฏิกิรยิ านี้
ได้แก่ปฏิกิริยาของสารประกอบ 1.13 -> 1.14 โดยขั้นตอนแรกจะเกิด Claisen rearrangement เมื่อสารประกอบ
phenyl allyl ether ได้รับความร้อนจะเกิดปฏิกิรยิ า Sigmatropic rearrangement ขึ้นโดยการเคลื่อนที่ของพันธะ
เดียวของสารประกอบ 1.13 ขึน้ ซึ่งจะแสดงเป็นเส้นทึบดังรูปภาพที่ 9 ไปยังตาแหน่งใหม่ได้สารประกอบใหม่ 1.14
จากรูปภาพจะเห็นว่ามีการเคลือ่ นที่อะตอมของคาร์บอนที่ 1 2 3 และออกซิเจนตาแหน่งที่ 1’ คาร์บอนตาแหน่งที่
2’ และ 3’ ด้วยการเกิดการจัดเรียงใหม่เช่นนี้เราจะเรียกว่า [3,3] shift โดยตัวเลขแสดงถึงจานวนอะตอมทั้งหมดที่
เกิดการเคลื่อนย้าย หลังจากที่ได้สารประกอบ 1.14 แล้วจะเกิดปฏิกิรยิ าต่อได้สารประกอบ 1.15 โดยการ
เกิดปฏิกิรยิ าแบบไอออนิกโดยการเกิด enolization ของสารประกอบคีโตน จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าการ
เกิดปฏิกิรยิ าในสารประกอบอินทรีย์นั้นอาจสามารถเกิดได้ทั้ง Pericyclic และ ionic ในปฏิกิริยาเดียวกันก็ได้ โดย
อาจเกิดปฏิกิรยิ าใดก่อนก็ได้เช่นกัน

รูปภาพที่ 8 ลักษณะการเกิดปฏิกิริยาแบบ sigmatropic rearrangement

รูปภาพที่ 9 การเกิดปฏิกิรยิ า sigmatropic rearrangement แบบ [3,3] shift

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 61

นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิกิรยิ าอืน่ ๆ อีก เช่นการเกิด hydride shift จากสารประกอบ 1.16 -> 1.17 ซึ่ง 1
สารประกอบ 1.16 นั้นรูปจักกันดีในชื่อวิตามินดี ในกรณีนี้พนั ธะ C-H ที่ปลายสุดที่อยู่ติดกับกับไฮโดรเจนอะตอม
(H-1’) จะเข้าไปจับไฮโดรเจน และเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากคาร์บอนตาแหน่งที่ 1 ไปยังตาแหน่งที่ 7
ไปตามระบบคอนจูเกตของพันธะคู่ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า [1,7] shift

รูปภาพที่ 10 การเกิดปฏิกิริยา sigmatropic rearrangement แบบ [1,7] shift


อีกหนึ่งปฏิกิริยาที่น่าสนใจคือปฏิกิริยาที่เรียกว่า Mislow rearrangement ตัวอย่างเช่นการเกิดปฏิกิรยิ า
จากสารประกอบ 1.18 -> 1.19 โดยทั่วไปแล้วจะไม่สามารถเกิดได้เพราะความไม่เสถียรของสารผลิตภัณฑ์ในเชิง
เทอร์โมไดนามิกซ์ แต่ในที่นี้จะแสดงให้เห็นว่าสารประกอบ Sulfoxide racemize สามารถเกิดปฏิกริ ิยานี้ได้ใน
ขณะที่ Sulfoxide ชนิดอื่นไม่สามารถเกิดได้ ปฏิกิริยาที่เกิดขึน้ เกิดที่ส่วนปลายของพันธะ C-S เกิดการเคลื่อนย้าย
จากอะตอมซัลเฟอร์ตาแหน่งที่ (S-1’) ไปยังอะตอมออกซิเจนตาแหน่ง (O-2’) และเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
จากคาร์บอนตาแหน่งที่ 1 ไปยังตาแหน่งที่ 3 ปฏิกิริยานี้เรียกว่า [2,3] shift จากรูปภาพพันธะที่แสดงเส้นที่เข้มนั้น
เกิดการเคลื่อนที่ของสองอะตอมไปยังส่วนปลายอีกข้างและเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนสามอะตอม

รูปภาพที่ 11 การเกิดปฏิกิริยา sigmatropic rearrangement แบบ [2,3] shift

1.6 ปฏิกิริยา Group Transfer


ปฏิกิริยาทีเกิดขึ้นในกลุ่มนี้มจี านวนไม่มาก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับสารประกอบที่มีลกั ษณะเป็น
พันธะคู่ ตัวอย่างสาคัญได้แก่การเกิดปฏิกริ ิยาของสารประกอบ 1.20 และ 1.21 ได้สารประกอบใหม่ 1.22
ปฏิกิริยาเกิดขึ้นโดยการที่พันธะไพถูกเปลี่ยนให้เป็นพันธะซิกมา แต่แน่นอนว่าปฏิกิรยิ านี้สามารถเกิดย้อนกลับได้
เหมือนกับปฏิกิริยาอื่น ๆ และมีลักษณะที่คล้ายกับ [1,5] sigmatropic rearrangement เพราะมีการเคลื่อนที่ของ
พันธะไพ และนอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับปฏิกิริยา cycloaddition ด้วยเพราะมีลักษณะคล้ายกับปฏิกิริยา Diel-
Alder โดยพันธะไพ 1 พันธะถูกเปลีย่ นให้เป็นพันธะซิกมา แต่อย่างไรก็ดถี ึงแม้ว่าปฏิกิริยานีจ้ ะมีลักษณะเป็น
Unimolecular และไม่มีการสร้างวงเกิดขึ้น ปฏิกิรยิ านี้ก็ไม่ใช่ปฏิกิริยา sigmatropic rearrangement หรือ
Cycloaddition เลย

รูปภาพที่ 12 การเกิดปฏิกิริยา Group Transfer

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 71

ปฏิกิริยามักจะเกิดขึ้นโดยมีการเคลื่อนย้ายอะตอมของไฮโดรเจนจากพันธะคู่ 1.20 ไปยัง enophile 1.21 1


และสาหรับอะตอมอื่น ๆ จะมีเพียงอะตอมไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวก
โลหะ เช่น ลิเธียม แมกนิเซียมและพาราเดียม จากรูปภาพสารประกอบ 1.23 เมื่อเกิดปฏิกริ ิยา Group transfer
ปฏิกิริยานี้เรียกว่า metalla-ene reaction

รูปภาพที่ 13 การเกิดปฏิกิริยา Metalla-ene reaction

ในสารประกอบอินทรีย์หากสารประกอบนั้นมีอะตอมของออกซิเจนหรือไนโตรเจนตั้งแต่ 1 อะตอมขึ้นไป
ในบริเวณสายโซ่ หากอะตอมของออกซิเจนหรือไนโตรเจนั้นมีอะตอมของไฮโดรเจนอยู่จะสามารถเกิดปฏิกริ ิยา
Aldol reaction ได้ โดยมีกรดหรือเบสเป็นตัวเร่งปฏิกริ ิยาซึ่งปฏิกิริยานี้เป็นหนึ่งในปฏิกิริยาเพอริไซคลิกที่พบได้ยาก
มาก ๆ ในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่นการสลายตัวของสารประกอบ เบต้า-คีโตน โดยการเกิดกระบวนการ
Decarboxylation โดยมีความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิรยิ า 1.24

รูปภาพที่ 14 การเกิดปฏิกิริยา Decarboxylation

นอกจากนี้ปฏิกิรยิ าในกลุม่ Group transfer คือปฏิกิรยิ าการเคลื่อนย้ายไฮโดรเจนสองอะตอมจาก


สารประกอบ 1.25 ไปยังโมเลกุลของแอลคีนหรือแอลไคลทาให้ได้โมเลกุลไนโตรเจนที่เสถียร

รูปภาพที่ 14 การเกิดปฏิกิริยา Diimide reduction

1.7 เอกสารอ่านเพิ่มเติม
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือเคมีอินทรีย์ทุกเล่ม ทีม่ ีเนื้อหา Pericyclic reaction. ตัวอย่างเช่น T. L.
Gilchrist and R. C. Storr, Organic Reaction and Orbital Symmetry, CUP, Cambridge, 2nd Edition.,
1979; A. P. Marchand and R. E. Lehr, Orbital Symmetry, Academic Press, New York, 1972

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 81
1
1.8 โจทย์ปัญหา
1.1 จากปฏิกริ ิยาเพอริไซคลิกต่อไปนี้จงวาดภาพสารอินเทอมีเดียต A-E และบอกประเภทของปฏิกิริยาต่อไปนี้

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 91
1
3 กฎ Woodward-Hoffman และทฤษฏีออบิทัลเชิงโมเลกุล
The Woodward-Hoffman and molecular orbital theory

3.3 Frontier Orbitals


การอธิบายการเกิดพันธะที่ง่ายที่สุดนั้นทาได้โดยใช้หลักของ Frontier orbital โดยมีอยู่ 2 ชนิดคือ
HOMO (Highest occupied molecular orbital) และ LUMO (Lowest unoccupied molecular orbital)
ซึ่งออบิทัลทั้งสองนี้จะมีระดับพลังงานที่ติดกัน ซึ่งสองออบิทัลนี้มีผลในการเกิดพันธะเป็นอย่างมากเพราะมันมี
อันตรกิริยาระหว่างกันในช่วงการเกิดสภาวะ transition state ของปฏิกริ ิยามีผลกับพลังงานก่อกัมมันต์ด้วย เมื่อ
เราพิจารณาปฏิกิริยาที่เป็น [2+2] cycloaddition ออบิทัลที่เกิดพันธะจะเป็นดัง 3.2 และ [4+2] เป็นดัง 3.3 และ
3.4

รูปภาพที่ ลักษณะออบิทัลในการเกิดพันธะของปฏิกิรยิ า Pericyclic


ในรูปภาพฟรอนเทียออบิทัลของสารประกอบ 3.2 นั้นมีสัญลักษณ์ของ p-orbital ของคาร์บอนตาแหน่งที่ 1 กับ 1’
ที่ตรงข้ามกันทาให้เกิดการผลักกัน หรือที่เราเรียกว่า อันตรกิรยิ าแบบ antibonding ทาให้ไม่สามารถสร้างพันธะ
ได้ แต่ที่ตาแหน่ง 2 กับ 2’ นั้นมีออบิลทัลที่เหมือนกันทาให้สามารถสร้างพันธะได้ ซึ่งบางครัง้ สามารถเกิดปฏิกิรยิ า
แบบ stepwise หรือเป็นขั้นตอนได้ เนื่องจากการกีดกันการสร้างพันธะนั้นจะเกิดขึ้นในกรณีที่พยายามมีการสร้าง
พันธะทั้งคู่ในเวลาเดียวกันเท่านั้น เมื่อพิจารณา [4+4] และ [6+6] ก็พบปัญหานี้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบปัญหานี้
กับ [8+2] และ [6+4] ให้ลองพิจารณาเอง
หากลองมองฟรอนเทียออบิทัลของปฏิกิรยิ า [2+2]

บรรณานุกรม

Starfleet Academy: United Federation of planet


ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก : Pericyclic Reaction 101
1

Starfleet Academy: United Federation of planet

You might also like