เมืองอัจฉริยะ: กรอบแนวคิดสำหรับการพัฒนาเมืองด้วยระบบนวัตกรรม

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 23

~, sa, s~u, n ,;s n1SJ1¥)11ωU.

l1F
f 1ll
a:
:1口e)¥)
U行2auu行1(UnS1F
1U-SUJ1F
1U 2560)
Yls L.J 5 ~löUJö1n可去百寸印可 15コl \J 11 ωW l l宵}Ja::1 口é)\) L.J S::~102560
aUUfi

2
017
U
rba
nandR
egi
ona
lPl
ann
ingAcademicS
ymp
osi
um


INNOVATIONCITY'

J
ournalofUrbanandRe
gio
nalPla
nning
Vol.2No.1( J
anu
ary
-December201
7)
ISSN 2465-5104

Journal of Urban and Regional Planning


วารสารวิชาการการวางแผนภาคและเมือง
ฉบับการประชุมวิชาการด้านการวางแผนภาคและเมือง ประจําปี2560
“Innovation City”

ปีที่2 ฉบับที่ 1 (มกราคม – ธันวาคม 2560)


Vol. 1 No. 1 (January – December 2017)

I

วารสารวิ ช าการการวางแผนภาคและเมื อ ง ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 1 (มกราคม-ธั น วาคม
2560)

บรรณาธิการ รศ.ดร.นิพันธ์ วิเชียรน้อย


อ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์
ที่ปรึกษา : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ผศ.ดร.นิจ ตันติศิรินทร์
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ ผศ.ดร.ลักษณา สัมมานิธิ
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กองบรรณาธิการและผู้พิจารณาบทความจากหน่วยงานภายใน อ.ดร.วิทยา ดวงธิมา
รศ.ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร.นิกร มหาวัน
ผศ.ชัยชนะ แสงสว่าง : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ
ผศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม
ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ มหาสารคาม
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.พลเดช เชาวรัตน์
อ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม
อ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ประสานงาน
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวธีรินทรา จันทร์แดง
ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวเยาวลักษณ์ จันทมาศ
อ.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวสุพัตรา กิ่งไทร
อ.ดร.สิริรัตน์ ศรประสิทธิ์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวชนิตา มานะวรพงศ์
อ.สุภาพิมพ์ คชเสนี : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายพนรัตน์ มะโน
อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวมัซวินส์ อดุลภักดี
ผู้พิจารณาบทความจากหน่วยงานภายนอก : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.อมร กฤษณพันธุ์ ออกแบบรูปเล่มและปก
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นายเวสพล ตรีธาราทิพย์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.คณิน หุตานุวัตร นางสาวณัฐภาส์ วรปทุม
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นางสาวศุภราณี พิมเสน
ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กำหนดออก ปีละ 1 ฉบับ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีที่พิมพ์ 2560
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์ จำนวนพิมพ์ 100 เล่ม
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขา การวางแผนภาคและเมือง
อ.ดร.ธนะ จิระพิวัฒน์ สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่
อ.ดร.สุพักตรา สุทธสุภา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทรศัพท์ 0-2218-3549-50
รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ ลิขสิทธิ์ของ
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ 254 ถนน พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรศัพท์ 02-218-4302
ผศ.ดร.มนสิชา เพชรานนท์ http://www.arch.chula.ac.th/
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

II

สารบัญ
• การปริทัศน์แนวทางการออกแบบพื้นที่นวัตกรรมมหาวิทยาลัย 5
สุภาพิมพ์ คชเสนี

• การประยุกต์ใช้ Cellular Automata คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน


ของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 23
พนรัตน์ มะโน และสุธี อนันต์สุขสมศรี

• การวิเคราะห์ความหนาแน่นของพื้นที่ย่านจากค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อ
พื้นที่ดินระดับแปลงโฉนดที่ดิน โดยการประยุกต์ใช้ข้อมูล Point Cloud จากยูเอวี
กรณีพื้นที่ศูนย์กลางเมืองเทศบาลนครขอนแก่น 41
รัตวิภา สุภเมธีร์ และรวี หาญเผชิญ

• การประยุกต์ใช้แบบจำลองระบบซับซ้อน (Complex System) เพื่อการศึกษาการ


เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในภาคตะวันออกของประเทศไทย 61
สุธี อนันต์สุขสมศรี, ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์, และนิจ ตันติศิรินทร์

• ผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินต่อกระบวนการเป็นเมือง 77
ปานปั้น รองหานาม และมนสิชา เพชรานนท์

• การศึกษาปัจจัยทีม่ ีผลต่อพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางภายในพื้นที่
มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ 91
อัญญาลักษณ์ ปิมลื้อ โชคอนันต์ วาณชย์เลิศธนาสาร, แทนวุธธา ไทยสันทัด,
และพันธุ์ระวี กองบุญเทียม

• การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานของที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง
ในเขตเมืองขอนแก่น 105
ปฏิญญา ลูกบัว และประพัทธ์พงษ์ อุปลา

• ลักษณะทางกายภาพของจุดจอดแล้วจรในการสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขน
ส่งมวลชนระบบราง 121
ปริวรรต แม้นศิริ และเปี่ยมสุข สนิท

• ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนา
พื้นที่ในประเทศไทย 135
รษิกา อิสริยธนกูล และประพัทธ์พงษ์ อุปลา

V

• การศึกษาการปรับตัวของประชาชนต่อภัยพิบัติด้านการก่อความไม่สงบในเมือง
กรณีศึกษาเมืองยะลา 153
มัซวินส์ อดุลภักดี และสุธี อนันต์สุขสมศรี

• การศึกษาการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการขยายตัวเชิง
พื้นที่ของเมืองบุรีรัมย์ 167
สุทธิเกียรติ สมบัติธีระ และพรณรงค์ ชาญนุวงศ์

• ผลกระทบของการเผาอ้อยต่อพื้นที่เมือง: กรณีศึกษา อำเภอเมืองชลบุรีและ


อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 185
สุพัตรา กิ่งไทร และสุธี อนันต์สุขสมศรี

• การศึกษากระบวนการสร้างการผลิตเชื้อเพลิงขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา:
ประเทศสวีเดน 201
พิมพ์ชนก เกสพานิช

• อิทธิพลของเลขาคณิตเมืองที่มีผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง:
การศึกษาทดลองในพื้นที่วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 211
เสกสรร วรรณแแก้ว, วิทยา ดวงธิมา, นิกร มหาวัน, ลักษณา สัมมานิธิ,
และมานัส ศรีวนิช

• เปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมการออกแบบกลุ่มอาคารด้วยการประยุกต์ใช้
FORM-BASED CODES ประเทศตะวันตกและตะวันออก กรณีศึกษา:
ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอินเดีย 231
กนกวรรณ มะสุวรรณ และภูษิต เลิศวัฒนารักษ์

• โครงสร้างเชิงสัณฐานของโครงข่ายสัญจรและพื้นที่ว่างสาธารณะในพื้นที่เมือง
ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ 243
วรวุฒิ บุญมา, ลักษณา สัมมานิธิ, วิทยา ดวงธิมา, และนิกร มหาวัน

• ผลกระทบของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดบริเวณห้าม
ก่อสร้างและดัดแปลงอาคารภายในระยะ 15 เมตร จากทั้งบริเวณสองฟากของ
เขตถนนสายหลัก 261
ณัฐภาส์ วรปทุม และพรสรร วิเชียรประดิษฐ์

VI

• แนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการการวางแผนภาคจากยุคเริ่มต้นการรวมกลุ่มสู่ยุคหลัง
ฟื้นฟูภาคนิยมใหม่ 277
เดชชาติ นิยมตรง

• แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อสร้างความเป็นย่านสูนย์กลางธุรกิจและการค้า
แห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาย่านนวัตกรรมธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 291
พีรดร แก้วลาย และทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า

• บทบาทของนวัตกรรมทางการเงินกับการพัฒนาย่านนวัตกรรมในกรุงเทพมหานคร 305
ภูริณัฐ ทองชมภู และสุธี อนันต์สุขสมศรี

• กิจกรรมกีฬากับการพัฒนาเศรษฐกิจเมือง กรณีศึกษา : เมืองบุรีรัมย์ 319


วรารัตน์ ศรีอรรคฮาด และพรณรงค์ ชาญนุวงศ์

• กรณีศึกษา บทบาทสู่การเป็นเมืองหลวงแห่งการออกแบบของโลก 331


ณุสุระ ปัทมดิลก

• เมืองอัจริยะ: กรอบแนวคิดสำหรับการพัฒนาเมืองด้วยระบบนวัตกรรม 341


สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ และศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ

• ระดับการปฏิบัติและระดับปัญหาในกระบวนการวางแผนการจัดทำผังเมืองรวม 357
ณัฐชา ด้วงศิริ และประพัทธ์พงษ์ อุปลา

• การสำรวจการจัดการตนเองเชิงพื้นที่ของการให้บริการจักรยานยนต์รับจ้างใน
เขตจตุจักร 373
วรเมธ ศิริจินตนา และ สิริรัตน์ ศรประสิทธิ์

• An Empirical Exploration on Dwelling Requirements and Living Prospect


of Young Generation Based in Bangkok and Perimeter 387
Rawisara Chulerk

• ปัจจัยในการตัดสินใจใช้ขนส่งมวลชนในการเข้าถึงสวนสาธารณะของผู้สูงอายุ 395
อภิสิทธิ์ วัดโต

• แนวทางการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่ต่อเนื่องรัตนโกสินทร์
โดยมาตรการโอนสิทธิการพัฒนา กรณีศึกษา:พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

VII

วัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพมหานคร 411
สาริณี ประทุมสุวรรณ และณัฐพงศ์ พันธ์น้อย

• การเปรียบเทียบกรณีศึกษาเพื่อหาปัจจัยสำคัญที่มีผลในการอนุรักษ์ชุมชน
ประวัติศาสตร์ตามแนวคิด Community-Base Conservation 427
สุประดิษฐ์ จิตรกร

• หาบเร่แผงลอยกับแนวคิดพื้นที่สาธารณะเพื่อปวงชนสู่การพัฒนาเมือง 443
เวสพล ตรีธาราทิพย์ และสิริรัตน์ ศรประสิทธิ์

• ความต้องการของผู้เดินทางต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเส้นทางเดินเท้าใน
พื้นที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ 459
จีรนันท์ อินทร์ประเสริฐ, พันธุ์ระวี กองบุญเทียม, และแทนวุธธา ไทยสันทัด

• การควบคุมมลภาวะทางแสงโดยอาศัยการวางผังเมือง (Light Pollution Control


in Urban Planning) 473
ปีดิเทพ อยู่ยืนยง

• ปรากฏการณ์ตลาดสดเคลื่อนที่ในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครกับการใช้บริการโดย
ผู้สูงวัย 489
ณฐมน พุ่มงาม และสิริรัตน์ ศรประสิทธิ์

• การจำแนกประเภทรูปแบบเชิงพื้นที่ พื้นที่ย่านซอยท่าน้ำเจ้าพระยา 505


ปณัฐพรรณ ลัดดากลม

• The In-Between Space in Bangkok 509


ดวงนภา ศิลปสาย

VIII

เมืองอัจฉริยะ: กรอบแนวคิดสำหรับการพัฒนาเมืองด้วยระบบนวัตกรรม
Smart City: A Concept for Urban Development with Innovation Systems

สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ1 และศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ2

บทคัดย่อ:
เมืองอัจฉริยะเป็นคำแสดงถึงกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาเมืองอย่างกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองและนิยาม
ที่สอดคล้องกับบริบทและเงื่อนไขของแต่ละเมือง แต่อย่างไรก็ดีจากการกรอบแนวคิดที่หลากหลาย สามารถอธิบาย
กรอบแนวคิด อย่างกว้างและกระชับ ได้ว่า เมือ งอัจ ฉริย ะเสมือ นระบบของสิ่งมีช ีวิต ขนาดใหญ่ (Large organic
system) ที่ส ามารถตรวจสอบและโต้ต อบได้ด ้ว ยภายในของตัว ระบบเมือ งเอง (Self-monitoring and self-
response system) เป็น ไปเพื่อ การแก้ไขปัญ หาให้ส อดคล้อ งกับ สถานการณ์แ ละบริบ ทของแต่ล ะเมือ ง นิย าม
ดังกล่าวมีค วามสอดคล้อ งกับ กรอบแนวคิด ของระบบนวัต กรรมเมือ ง (City Innovation Systems) ที่ม ุ่งค้น หา
รูป แบบสิ่งใหม่เพื่อการยกระดับ คุณ ภาพให้กับ การพัฒ นาเมือง สิ่งดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งมิติเชิงกายภาพ เชิง
สถาบัน หรือเชิงกระบวนการ ฯลฯ บทความนี้เป็นบทความวิพากษ์กรอบแนวคิดและความสัมพันธ์ของความเป็น
เมืองอัจฉริยะกับระบบนวัตกรรมเมือง

Abstract:
Smart city represents a general framework for city development, related to with the
context of each city. However the core concept of Smart city can be described as a large organic
system, self-monitoring and self-response system, for solving problems in the urban context. This
smart city definition related to the concept of innovation systems can be a new solution for
develop city. This paper describes the relation between the smart city and innovation systems
concepts

คำสำคัญ: เมืองอัจฉริยะ, ระบบนวัตกรรม, การพัฒนาเมือง, กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี


Keyword: Smart city, Innovation systems, Urban development, Theoretical framework

บทนำ:
เมืองอัจฉริยะเป็นคำแสดงถึงกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาเมืองอย่างกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองและนิยาม
ที่สอดคล้องกับบริบทและเงื่อนไขของแต่ละเมือง แต่อย่างไรก็ดีจากการกรอบแนวคิดที่หลากหลาย สามารถอธิบาย
กรอบแนวคิด อย่างกว้างและกระชับ ได้ว่า เมือ งอัจ ฉริย ะเสมือ นระบบของสิ่งมีช ีวิต ขนาดใหญ่ (Large organic
system) ที่ส ามารถตรวจสอบและโต้ต อบได้ด ้ว ยภายในของตัว ระบบเมือ งเอง (Self-monitoring and self-

1
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาการจัดการผังเมือง คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตนครราชสีมา E-mail: Sarittiya@gmail.com
2
หลักสูตรการวัดและประเมินผลการศึกษามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา E-mail.com: Siripantiya@gmail.com
Journal of Urban and Regional Planning 1 341
response system) เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของแต่ละเมือง (Monzon,
2015; Nam and Pardo, 2011a) นิยามดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของระบบนวัตกรรมเมือง (City
Innovation Systems) ที่มีลักษณะเชิงกระบวนการของกลุ่มคนและมุ่งค้นหารูปแบบสิ่งใหม่เพื่อการแก้ไขปัญหา
และการยกระดับคุณภาพให้กับการพัฒนาเมือง สิ่งดังกล่าวจะครอบคลุมมิติ เชิงสถาบัน หรือเชิงกระบวนการ ซึ่ง
องค์ประกอบดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเมืองให้เกิดขึ้น
Nam and Pardo (2011a; 2011b) ได้ก ล่า วไว้ว ่า กรอบแนวคิด คำว่า “เมือ งอัจ ฉริย ะ (Smart City)”
ไม่ใช่เพียงการบอกถึงสถานะของเมืองใดเมืองหนึ่งว่ามีความอัจฉริยะอย่างไร แต่หมายถึงเมืองที่พยายามจะสร้าง
ความเป็นอัจฉริยะได้ด้วยระบบของเมืองเอง และนอกจากนี้ความเป็นเมืองอัจฉริยะยังมีความเป็นนวัตกรรมอยู่
ภายในแนวคิดของระบบเองอีกด้วย
ปัจจุบันมีกรอบแนวคิด “เมืองอัจฉริยะ (Smart City)” ที่นิยมอย่างแพร่หลายจำแนกเป็น 6 ประเด็นหลัก
ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการ (2) ด้านเศรษฐกิจ (3) ด้านการเดินทาง (4) ด้านสิ่งแวดล้อม (5) ด้านกลุ่มชาวเมือง
และ (6) ด้านการอยู่อาศัย (Albino, Berardi and Dangellico, 2015; Monzon, 2015) ในขณะที่บางกลุ่มสำนัก
วิชาการได้เรียบเรียงและอธิบายกรอบแนวคิดในเชิงกระบวนการเป็น 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) องค์ประกอบ
ด้า นเทคโนโลยี (2) องค์ป ระกอบด้า นสถาบัน และ (3) องค์ป ระกอบด้า นมนุษ ย์ (Nam and Pardo, 2011b)
อย่างไรก็ด ีแ ม้ว่านิย ามและกรอบแนวคิด ในเชิงปฏิบ ัต ิก าร (Operational Definition) และการวิจ ัย ของ “เมือ ง
อัจฉริยะ (Smart City)” จะมีความหลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งเมื่อตีความประเด็นหลัก คือ ความสามารถของเมืองใน
การแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรม (City Innovation) จนกลายเป็นแนวคิดในการสร้างเมืองที่มีระบบเอื้อต่อการเกิด
นวัตกรรมเพื่อพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ สิ่งนี้อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นนวัตกรรมความเป็นเมือง (Urban Innovation) โดย
จะมุ่งเน้น การใช้ระบบเทคโนโลยีในการสื่อ สาร (Information and Communication Technology, ICT) ผ่าน
ระบบอินเตอร์เนตเข้ามาช่วยสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ให้กับชาวเมือง ตลอดจนการพยายามสร้าง
ปฏิสัมพันธ์ท่ามกลางสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมให้กับเมือง
สิ่งที่ก ล่าวมาข้างต้น คือ การพยายามทำความเข้าใจด้านเมือ งอัจฉริย ะควรมีก ารศึก ษากรอบแนวคิด
พื้นฐานด้านนวัตกรรมเมืองและระบบนวัตกรรม เพื่อการสร้างความเข้าใจในการนำไปสู่กรอบแนวคิดด้านเมือง
อัจฉริยะเพิ่มมาก สำหรับการเป็นองค์ความรู้ของการวางแผนเมืองต่อไป

ว่าด้วยกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนวัตกรรรมกับเมืองอัจฉริยะ
ในปีค.ศ.1973 Faludi (1984 อ้างใน สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ, 2555) ได้ศึกษาและอธิบ ายแนวคิดด้าน
ทฤษฎีการวางแผน โดยแบ่งประเภทได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ
(Substantive planning theory or theory in planning) ซึ่งเป็นมุมมองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ภายในเมือง หรือการประยุกต์แนวคิดต่างๆ มาช่วยในการวางแผน เช่น ระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการตั้งถิ่น
ฐานของเมือง เป็นต้น ทำการศึกษาสร้างความเข้าใจนำมาเป็นสาระสำหรับการวางแผน และ 2) ทฤษฎีการวางแผน
ที่เน้น กระบวนการ (Procedural planning theory or theory of planning) เป็น มุม มองเกี่ย วกับ ขั้น ตอนและ
วิธีการของกระบวนการวางแผนโดยเฉพาะวิธีการตัดสินใจและบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการวางแผน
สำหรับ บทความฉบับ นี้ไ ด้ใ ช้ก รอบแนวคิด ของทฤษฎีก ารวางแผน (Planning Theory) วิเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบแนวคิดด้านระบบนวัตกรรมเมืองกับกรอบแนวคิดด้านเมืองอัจฉริยะ

Journal of Urban and Regional Planning 1 342


ว่าด้วยกรอบแนวคิดนวัตกรรมเมืองกับระบบนวัตกรรม
นวัตกรรมยุคเริ่มต้นมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมจากการเสนอแนวคิดการพัฒนาและ
เปลี่ยนแปลงเมืองขับเคลื่อนด้วยการสร้างนวัตกรรมโดยแนวคิดของโจเซฟ ชุมปีเตอร์ (อภิวัฒน์ รัตนวราหะ และ
สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ., 2556) โดยพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ควบคู่กับการสร้างสรรค์
ของมนุษย์เพื่อตอบสนองต่อปัญหาหรือความต้องการของการอยู่อาศัย ดังนั้นกล่าวได้อีกแบบ คือ การเกิดนวัตกรรม
จำเป็นต้องมีการสร้างและส่งเสริมองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อเมือง รวมถึงการสนับสนุนให้นำองค์ความรู้เหล่านั้นมา
สร้างสรรค์เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของเมือง ตลอดจนการประยุกต์นวัตกรรมที่ค้นพบสามารถไป
ประยุกต์หรือทำซ้ำได้ในพื้นที่เมืองอื่นที่มีบริบทคล้ายกัน ขั้นตอนเหล่านี้ในการส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรม
ท่ามกลางองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมจะเรียกว่า “ระบบนวัตกรรม (Innnovation systems)”
ทั้งนี้ พันธุ์อาจ ชัยรัตน อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ดวงหทัย เพ็ญตระกูล และกิตติพงษ์ จันทรสกุล (2552) ได้
กล่า วไว้ว ่า “นวัต กรรมเมือ ง (City Innovation)” สามารถอธิบ ายได้ 2 มิต ิ กล่า วคือ มิต ิข องเนื้อ หา หมายถึง
แนวทางใหม่ในการสร้างคุณค่า เพิ่มให้แก่ผู้คนในเมืองทั้งด้านผลผลิตและด้านสังคม และมิติเชิงกระบวนการและเชิง
สถาบัน สิ่งนี้เปรียบเทียบระบบที่ท ำให้เกิด นวัต กรรม (Innovation System) หมายถึง กระบวนการปฏิสัม พัน ธ์
ระหว่างสถาบัน การเมืองและการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และการ
ร่วมมือในรูปแบบใหม่จนเกิดนวัตกรรมด้านต่าง ๆ
งานศึกษาของ Rattanawaraha, Chairatana and Ellis (2013) และ Chairatana and Ratanawaraha
(2010) ได้อ ธิบ ายเกี่ย วกับ นวัต กรรมเมือ ง (City innovation) คือ สิ่งที่ส ามารถแก้ป ัญ หาและตอบสนองความ
ต้องการของชาวเมืองได้ อยู่ในรูปแบบ 6 ลักษณะ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product innovation) กระบวนการ (Process
innovation) ตำแหน่งหรือสถานที่ (Position innovation) แนวคิดหรือกระบวนทัศน์ (Paradigm innovation)
ลักษณะของสถาบันหรือการรวมกลุ่มเชิงองค์กร (Institutional innovation) นวัตกรรมทั้ง 6 ประเภท สามารถ
เกิดขึ้นได้ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ทางกายภาพ (Physical space) พื้นที่ทางข้อมูลข่าวสาร (Information space)
และพื้นที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ (Cognitive space) นวัตกรรมเหล่านี้จะเกิดจากระบบเชิงสถาบันทำงาน
ร่วมกัน 3 สถาบัน ได้แก่ หน่วยงานวิจัยและสร้รางสรรค์เทคโนโลยี (Research and Technology Organization)
กลุ่มบริษัทเอกชน (Private firms) และภาครัฐ (Government) (ภาพที่ 1 ประกอบ)

Journal of Urban and Regional Planning 1 343


ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดองค์ประกอบของนวัตกรรมเมืองและระบบนวัตกรรมเมือง
ที่มา: Chairatana and Ratanawaraha (2010)

สามารถตีค วามได้ว่าในกระบวนการเกิด นวัต กรรมเมือ งจะเกิด จากองค์ป ระกอบเชิงสถาบัน เป็น หลัก


ท่ามกลางปฏิสัมพันธ์เชิงกระบวนการ 3 สถาบัน อาทิ หน่วยงานวิจัยและสร้รางสรรค์เทคโนโลยี (Research and
Technology Organization) กลุ่ม บริษ ัท เอกชน (Private firms) และภาครัฐ (Government) เพื่อ นำไปสู่
นวัตกรรมให้กับเมืองในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายมิติ ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาเป็นอย่างสูงทำให้มิติ
ด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Space) ส่งผลให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่และง่ายต่อ
การเข้าถึงของคนในสังคม (Big and Open Data) ทำให้เกิด การเรีย นรู้อ ย่างรวดเร็ว มากขึ้น สิ่งนี้เองที่น ำไปสู่
กระบวนการเรียนรู้ ตรวจสอบและโต้ตอบท่ามกลางปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันเหล่านี้เกิดขึ้น จนมีแนวโน้มของการ
เกิดนวัตกรรมภายในเมืองเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน (Self-Monitoring and Self-Response System)
นอกจากนี้งานศึกษาของ สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ (2552) ได้ทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับระบบนวัตกรรมใน
เชิงกระบวนการ จะสามารถเกิดนวัตกรรมเมืองได้จากปฏิสัมพันธ์ท่ามกลางผู้ดำเนินการหลักเชิงสถาบันร่วมกัน
ขับเคลื่อนจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเมือง ทั้งนี้ผู้ดำเนินการหลักแต่ละสถาบันจะพยายามใช้ทรัพยากรของตนเองในแต่
ละสถาบันทั้งรูปทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนงบประมาณช่วยระดมเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ที่ตั้งไว้ นั้นคือ การเกิดนวัตกรรม เพื่อการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่เหล่านั้นทีน่ ิยามไว้ร่วมกัน

Journal of Urban and Regional Planning 1 344


ภาพที่ 2 การวิเคราะห์เชิงกระบวนการของการเกิดนวัตกรรมเมือง โดย สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ (2552)

ว่าด้วยกรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะ
คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ถือเป็นคำแสดงถึงกรอบแนวคิดด้านการพัฒ นาเมืองอย่างกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
มุมมองและนิยามที่สอดคล้องกับบริบทและเงื่อนไขของแต่ละเมือง แต่อย่างไรก็ดีจากการกรอบแนวคิดที่หลากหลาย
สามารถอธิบายกรอบแนวคิดอย่างกว้างและกระชับได้ว่า
“เมือ งอัจ ฉริย ะ (Smart City) เสมือ นระบบของสิ่งมีช ีวิต ขนาดใหญ่ (Large Organic
System) ที่สามารถตรวจสอบและโต้ตอบได้ด้วยภายในของตัวระบบเมืองเอง (Self-
Monitoring and Self-Response System) ทั้งนี้ภายในระบบของเมืองนั้นจะประกอบ
ไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ท ำงานประสานร่วมกัน อย่างสัม พัน ธ์แ บบองค์รวม (System of
Systems Smarter) และมีระบบเชื่อมโยงอย่างเป็นเครือข่ายภายในเมืองอีกด้วยเช่นกัน
(A Network & Linked System) นอกจากนี้ไม่อาจทำงานได้ถ้าระบบใดระบบหนึ่งอยู่
อย่างเอกเทศ ความสามารถในการตรวจสอบและโต้ตอบจะมาจากการวิเคราะห์และ
ป้อนข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับ การตัด สิน ใจภายในระบบย่อยที่เกิด ขึ้น ภายในเมืองโดยใช้
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการประสานระบบเหล่านัน้ ” (Monzon, 2015)
ภาพที่ 2 แสดงงานศึกษาของ Monzon (2015) เกี่ยวกับการประเมินโครงการเมืองอัจฉริยะทั่วทวีปยุโรป
ด้วยเกณฑ์หลักของความเป็นเมืองอัจฉริยะ 6 หลักการ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการเมือง (Governance) 2)
ด้า นเศรษฐกิจ เมือ ง (Economy) 3) ด้า นการเดิน ทาง (Mobility) 4) ด้า นสิ่งแวดล้อ ม (Environment) 5) ด้า น
ชาวเมือง (People) และ 6) ด้านการอยู่อาศัย (Living) พบว่าแต่ละหลักการทั้ง 6 ในการเป็นเมืองอัจฉริยะ กลุ่ม
เมืองภายในทวีปยุโรปมีการดำเนินโครงการในกรอบเหล่านี้ คือ
1. ด้านการบริหารจัดการเมือง อาทิ การมีส่วนร่วมในการพัฒ นาเมือง (Participation) ความโปร่งใส
และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลด้านการพัฒนาเมือง (Transparency and Information Accessibility) การ

Journal of Urban and Regional Planning 1 345


ให้บริการสาธารณะและสังคม (Public and Social Service) และการบูรณาด้านการบริหารจัดการร่วมกันหลาย
ระดับ (Multi-level Governance)
2. ด้า นเศรษฐกิจ เมือ ง อาทิ การสร้า งนวัต กรรมให้เ กิด ขึ้น (Innovation) การสร้า งความเป็น
ผู้ประกอบการของชาวเมือง (Entrepreneurship) การสร้างความเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างระดับท้องถิ่นกับระดับโลกา
วิวัฒ น์ (Local & Global Interconnectedness) การสร้างศักยภาพในการผลิต (Productivity) และสร้างความ
ยืดหยุ่นให้กับตลาดแรงงาน (Flexibility of Labor Market)
3. ด้านการเดิน ทางภายในเมือ ง อาทิ การบริห ารจัด การการจราจร (Traffic Management) ขนส่ง
สาธารณะ (Public Transport) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของการเดินทาง (ICT Infrastructure)
ระบบโลจิส ติก ส์ (Logistic) ความสามารถในการเข้าถึงระบบการเดิน ทางที่เกิด ขึ้น ภายในเมือ ง (Accessibility)
ทางเลือกในการเดินทางเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการไม่เลือกเดินทางด้วยยานยนต์ (Clean, Non-Motorized
Options) และการมีร ูป แบบการเดิน ทางที่ห ลากหลายภายในเมือ งที่ม ีค วามต่อ เนื่อ งและเชื่อ มโยงกัน
(Multimodality)
4. ด ้า น สิ่ง แวด ล้อ ม อาท ิ เค รือ ข่า ยด ้า น การต ิด ต าม ค ุณ ภ าพ สิ่ง แวด ล้อ ม (Network and
Environmental Monitoring) การใช้พ ลังงานอย่า งมีป ระสิท ธิภ าพ (Energy Efficiency) การวางแผนเพื่อ การ
พัฒนาใหม่ของเมือง (Urban Planning and Urban Refurbishment) การซ่อมแซมกลุ่มอาคารภายในเมืองเพื่อ
การเป็นอาคารอัจฉริยะ (Smart Building and Building Renovation) การบริหารจัดการทรัพยากร (Resources
Management) และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)
5. ด้านชาวเมือง อาทิ การศึกษาด้านดิจติ อล (Digital Education) ความสามารถในการสร้างสรรค์ของ
ชาวเมือง (Creativity) การทำงานผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารของชาวเมือง (ICT-Enabled Working) การบริหาร
จัดการชีวิตชาวเมืองและการสร้างความเป็นชุมชน (Community Building and Urban Life Management) การ
สร้างสังคมมีสว่ นร่วม (Inclusive Society)
6. ด้านการอยู่อาศัย อาทิ พื้นที่การท่องเที่ยวของเมือง (Tourism) ความชัดเจนด้านวัฒนธรรมและการ
เดิน ทางเข้า เมือ งเพื่อ พัก ผ่อ น (Culture and Leisure) การดูแ ลสุข ภาพให้ก ับ ชาวเมือ ง (Healthcare) ความ
ปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย (Security) ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี (Technology Accessibility) สวัสดิการ
และการมีส่วนร่วมทางสังคม (Welfare and Social Inclusion) และการบริหารจัดการให้เกิดพื้นที่สาธารณะให้
เกิดขึ้น (Public Spaces Management)

Journal of Urban and Regional Planning 1 346


ภาพที่ 3 โครงการที่ดำเนินการเพื่อสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะของเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป (Monzon, 2015)

ในขณะที่ Nam and Pardo (2011a; 2011b) ได้อ ธิบ ายกรอบแนวคิด ขยายความเพิ่ม ขึ้น อีก มุม มอง
เกี่ยวกับด้าน “นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Innovation)” จากการวิเคราะห์เนื้อหาและนิยามแนวคิดของ
เมืองอัจฉริยะสามารถสรุปประเด็นหลักจำแนกได้เป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) เทคโนโลยี (Technology Factor) (2)
สถาบัน (Institution Factor) และ (3) มนุษย์ (Human Factor)
ปัจจัยด้านเทคโนโลยี มีความสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเมืองจำนวนมาก อาทิ เมืองดิจิตอล (Digital
City) เมืองแห่งปัญญา (Intelligent City) เมืองแห่งข้อมูล (Information City) ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการ
ใช้ระบบ ICT ในการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตและการทำงานของชาวเมืองเป็นองค์ประกอบหลัก ในฐานะของ
ภาครัฐอาจจะต้องมีการเตรียมระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายอินเตอร์เนตไวไฟ (Wifi
Internet Network) จุดให้บริการสัญญาณอินเตอร์เนต (Public Access Point) ให้ชาวเมืองสามารถเข้าถึงได้อย่าง
ทั่วถึงทุกพื้นที่ (Ubiquitous City) การเข้าถึงข้อมูลสำคัญเหล่านี้ของชาวเมืองที่ภาครัฐเตรียมไว้ให้ถือเป็นวัตถุดิบ
พื้นฐานของการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในเมือง

Journal of Urban and Regional Planning 1 347


ปัจจัยด้านสถาบัน มีความสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเมืองที่หลากหลายมุมมอง อาทิ ชุมชนอัจฉริยะ
(Smart Community) ปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางด้านบริหารจัดการและนโยบายของภาครัฐเพื่อ
การเป็นพื้นฐานในการออกแบบและดำเนินโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรมและสะท้อนถึงความเป็นอัจฉริยะของเมือง
ในปัจ จัย นี้ไม่ได้ห มายถึงเพีย งสถาบัน ภาครัฐ เพีย งอย่า งเดีย ว แต่ย ังหมายถึงหน่ว ยงานต่า ง ๆ ที่จ ะมาร่ว มกัน
ขับเคลื่อนในความเป็นอัจฉริยะของเมืองด้วยเช่นกัน อาทิ หน่วยงานเอกชน หน่วยงานไม่ใช่ภาครัฐ ชุมชน กลุ่มสังคม
ด้านต่าง ๆ องค์ประกอบเชิงสถาบันของสังคมที่หลากหลายนำไปสู่การพิจารณาความเป็นอัจฉริยะของเมือง คือ
ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นโครงข่ายท่ามกลางสถาบันเหล่านี้ที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่นวัตกรรมให้กับ
เมือง สำหรับหน้าที่ภาครัฐ คือ การเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวให้เกิดขึ้น
เช่น การบริหารจัดการอย่างโปร่งใส ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกระดับ (Open Data) กิจกรรมการสร้าง
แนวทางหรือกลยุทธเพื่อแก้ปัญหา การสร้างเครือข่าย ตลอดจนการสร้างความเป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตรระหว่าง
สถาบัน
ปัจจัยด้านมนุษย์ มีความสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาชาวเมือง อาทิ เมืองสร้างสรรค์ (Creativity City)
เมือ งแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เมือ งแห่งความรู้ (Knowledge City) ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้อ งกับ การ
พัฒนาศักยภาพและความสามารถของชาวเมืองเพือ่ นำไปสู่การใช้โครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ได้อย่างมีความสัมพันธ์กัน
โดยเฉพาะโครงสร้างพื้น ฐานด้าน IT ปัจ จัย นี้จ ำเป็น ต้อ งมุ่งประเด็น ไปที่ก ารพัฒ นาทรัพ ยากรมนุษ ย์ให้ม ีระดับ
การศึกษาและบทบาทที่ดีต่อการพัฒนาเมือง ดังที่ Richard Florida (2002 อ้างถึงใน Nam and Pardo 2011a;
2011b) ชาวเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เป็นองค์ประกอบสำคัญหลักของการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
ซึ่งการสร้างชาวเมืองอัจฉริยะจะเกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างหลากหลายมิติ อาทิ การ
เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ความหลากหลายทางสังคมและจริยธรรม (Social and Ethnic Plurality)
ความสร้างสรรค์ของชาวเมือง (Creativity) เป็นต้น

ภาพที่ 4 กรอบแนวคิดองค์ประกอบพื้นฐานของความเป็นเมืองอัจฉริยะ โดย Nam and Pardo (2011a)

Journal of Urban and Regional Planning 1 348


ตารางที่ 1 การวิเคราะห์นิยามเมืองอัจฉริยะโดย Nam and Pardo (2011a)
นิยามเมืองอัจฉริยะ ผู้แต่งบทความ
เมืองที่มีศักยภาพในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นลักษณะ Giffinger, R., & Gudrun, H.
ต่าง ๆ เพื่อสร้างกิจกรรมรองรับสิ่งเหล่านั้น ตลอดจนความสามารถของ (2010).
การตัดสินใจร่วมกันอย่างอิสระของชาวเมือง
เมืองที่มีความสามารถติดตามผลของการบูรณาการบริบทต่าง ๆ ทั้งหมด Hall, R. E. (2000).
เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเมืองได้
เมืองที่มีระบบการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญด้านต่าง ๆ อาทิ ทาง Hartley, J. (2005).
กายภาพ ทางเทคโนโลยีข้อมูล (IT) ทางสังคม และทางธุรกิจในทุกระดับ
เพื่อทำให้การร่วมกันสร้างองค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ให้กับเมือง
เมืองที่บูรณาการเทคโนโลยีด้านการสื่อสารกับอินเตอร์เนตในกระบวนการ Toppeta, D. (2010).
ทำงานของหน่วยงานราชการด้านต่าง ๆ ทั้งระบบองค์กร การออกแบบ
การวางแผน เพื่อสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ในการจัดการ
ระบบของเมืองทีซ่ ับซ้อน เพื่อนไปสู่ความยืนยันและการอยู่อาศัยที่ดี
การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการประมวลผลสร้างองค์ประกอบที่สำคัญ Washburn, D., Sindhu, U.,
ของโครงสร้างพื้น ฐานและการให้บ ริการของเมืองด้านต่าง ๆ อาทิ การ Balaouras, S., Dines, R.
บริหาร การศึกษา การสาธารณสุข ความปลอดภัย อสังหาริมทรัพย์ และ A., Hayes, N. M., &
การคมนาคมขนส่ง ที่มีการบูรณาระบบเหล่านี้แบบองค์รวม Nelson, L. E. (2010).

ในความคิดเห็นของ Nam and Pardo (2011b) ได้เปรียบกรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะเสมือนกับการสร้าง


ระบบนวัตกรรมของเมืองให้เกิดขึ้น กล่าวคือการนิยามเมืองอัจฉริยะถือว่าเป็นความหมายแฝงของความเป็นเมือง
นวัตกรรมอยู่แล้ว เนื่องจากนิยามของความอัจฉริยะเสมือนถึงความสามารถของการรับรู้และการแก้ปัญหาของเมือง
ด้วยแนวทางใหม่เสมอ สิ่งนี้ย่อมหมายถึง ความหมายของการสร้างนวัตกรรมให้กับเมืองในด้านต่าง ๆ นวัตกรรม
เมืองที่เกิดขึ้นควรจะเกิดจากการมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อและมีกระบวนการเกิดขึ้น ตลอดจนการมีวิสัยทัศน์ในการ
สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้กรอบแนวคิดนวัตกรรมของการเป็นเมืองอัจฉริยะของ Nam and Pardo (2011b) มี
ความสอดคล้องกับนิยาม นวัตกรรม ที่หมายถึง กิจกรรมกับความเสี่ยง (Innovation = Activity + Risk)

Journal of Urban and Regional Planning 1 349


ตารางที่ 2 กรอบแนวคิดด้านนวัตกรรมของการเป็นเมืองอัจฉริยะในมุมมองของ Nam and Pardo (2011b: 187)
ทิศทาง นวัตกรรม ความเสี่ยง แนวทางของ
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การสร้างนวัตกรรมมีความ ความสำเร็จ
การให้บริการของภาครัฐ เสี่ยงใดบ้าง การกระจายความ
เสี่ยงในขณะสร้าง
นวัตกรรม
ด้านเทคโนโลยี สร้างผลประโยชน์จากการ - ขาดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง - ความสามารถของ
ให้บริการด้านต่าง ๆ เชื่อมโยงการบริหารทุก - ความเข้ากันไม่ได้ของ การบูรณาการ
ในการสร้างสรรค์ ระดับเข้าด้วยด้วยระบบ ระบบ ระบบเข้าด้วยกัน
นวัตกรรม ICTs ขั้นสูง - ความคาดหวังที่มากเกินไป - การบูรณาการ
- ระบบความปลอดภัย ระบบและ
โครงสร้างพื้นฐาน
ด้านองค์กรหรือ - การเสริมสร้าง - ความขัดแย้งขององค์กร - ความสามารถใน
สถาบัน ประสิทธิภาพและ - การต่อต้านความ การทำงานร่วมกัน
ความพร้อมของการ ประสิทธิผลของการ เปลี่ยนนแปลง ของกลุ่มบริษัทจน
บริหารให้เกิด บริหารจัดการ (front- - การจัดเรียงระบบการ ได้แบบจำลองทาง
นวัตกรรม back office) ทำงานที่ผิดพลาดระหว่าง ธุรกิจ
- การปรับปรุงการทำงาน เป้าหมายกับโครงการ - ความสามารถการ
ร่วมกันทั้งภายในและ บริหารจัดการข้าม
ภายนอกขององค์กร องค์กรและการ
บริหารร่วมกัน
- มีความเป็นผู้นำ
ขององค์กรเกิดขึ้น
ด้านนโยบาย - การออกแบบ - ขาดพิจารณานโยบายมา - มีการบูรณาการ
การสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ระหว่าง จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ นโยบายเข้าด้วยกัน
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ ภาครัฐและผู้ดำเนินการ หลากหลาย - มีการตลาดที่ดี
การเกิดนวัตกรรม ให้รูปแบบใหม่ - แรงกดดันทางการเมือง - มีการกำกับดูแลที่ดี
- การทดสอบและ - ความขัดแย้งระหว่าง - มีความร่วมมือกันดี
ประเมินผลของนโยบาย นโยบายอื่น - มีความเป็นหุ้นส่วน
ที่ดี
บริบท - ลักษณะของพื้นที่ทาง การพิจารณาบริบท
กายภาพ
- บรรยากาศสิ่งแวดล้อม
- ระดับของการปฏิสัมพันธ์

Journal of Urban and Regional Planning 1 350


ความสัมพันธ์ในเชิงทฤษฎีและองค์ประกอบสำคัญของกรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะกับระบบนวัตกรรม
ความสัมพันธ์ในเชิงทฤษฎีระหว่างกรอบแนวคิดด้านเมืองอัจฉริยะกับระบบนวัตกรรมเมือง เมื่อทบทวน
วรรณกรรมอาจสามารถกล่าวได้ว่าระบบนวัตกรรมเมืองเป็นองค์ประกอบย่อยของกรอบแนวคิดการพัฒนาเมือง
อัจฉริยะ (ดูภาพที่ 4 ประกอบ) ซึ่งกรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะเป็นแนวคิดที่พัฒนาและขยายขอบเขตเนื้อหามาจาก
ระบบนวัตกรรม

เดิมแนวคิดระบบนวัตกรรมเริ่มต้นกล่าวโดย โจเซฟ ชุมปีเตอร์ ไว้ว่าเศรษฐกิจของเมืองสามารถยกระดับ


การพัฒนาได้ด้วยการใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือ ดังนั้นเมืองใดที่สามารถสร้างกลไกในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
มาก เมืองนั้นจะสามารถกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ดีแนวคิดของ โจเซฟ ชุมปีเตอร์ ได้มีอิทธิพลอย่าง
แพร่หลายต่อนักวิจัย นักพัฒนา และกลุ่มผู้กำหนดนโยบายพัฒนาเมือง ทำให้เกิดงานวิจัยและแผนพัฒนาเมืองด้วย
นวัตกรรมหรือระบบนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การศึกษาเป็นอธิบายระบบการเกิดนวัตกรรมของเมือง (The City
and Innovation Systems) หรือการกำหนดระบบนวัตกรรมของชาติ (NIS: National Innovation Systems) แต่
ละงานวิจัยและแนวคิดดังกล่าวยังมุ่งเน้นเกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและระบบนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมือง
และยังไม่มีการเชื่อมโยงแนวคิดระหว่างระบบนวัตกรรมเมืองกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ

ภาพที่ 5 กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเมืองอัจฉริยะกับระบบนวัตกรรม

ต่อมากรอบแนวคิดได้มีการพัฒ นาเชื่อมโยงกับความเป็นเมืองและการพัฒ นาเมืองทั้งเชิงพื้นที่และเชิง


ปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการสร้างองค์ความรู้และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีการใช้องค์ความรู้
เป็นฐาน จนเป็นกรอบแนวคิดเกี่ยวกับเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) หรือเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)
และมาในปัจจุบนั ได้พัฒนาต่อเนื่องจนสรุปมาเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีการนิยามว่า เมืองควรต้องมีความสามารถที่เอื้อ

Journal of Urban and Regional Planning 1 351


ต่อการเรียนรู้ต่อปัญ หา (Self-monitoring & Self-Response) และสร้างแนวทางการแก้ไขปัญ หาของชาวเมือง
ร่วมกับสถาบันทางสังคม (Problem Solution) ที่เกี่ยวข้องโดยใช้องค์ความรู้เป็นฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ให้กับตนเองและความเป็นเมืองให้เกิดขึ้น สิ่งนี้เรียกว่าระบบนวัตกรรมของความเป็นเมืองอัจฉริยะ
ตารางที่ 3 ได้ทำการเปรียบเทียบกรอบแนวคิดระหว่างระบบนวัตกรรมเมืองกับเมืองอัจฉริยะด้วยทฤษฎี
การวางแผนเชิงกระบวนการทำให้สร้างความเข้าใจได้ว่าในมิติของระบบนวัตกรรมเมืองมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมอยู่
ภายใต้ปฏิสัมพันธ์ในเชิงสถาบัน อาทิ นักวิจัย บริษัท และภาครัฐ ในขณะที่มิติของเมืองอัจฉริยะในด้านกระบวนการ
จะมุ่งเน้นองค์ประกอบเพิ่มเติมมาอีก 2 ประเด็น ร่วมกับองค์ประกอบเชิงสถาบันของระบบนวัตกรรม กล่าวคือ การ
ใช้องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีช่วยในการสื่อสารที่เรียนรวดมากขึ้น ตลอดจนการเป็นการสร้างชุดข้อมูลขนาดใหญ่
และทันสถานการณ์ในการตัดสินใจ นอกจากนี้จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับองค์ประกอบด้านมนุษย์ที่มุ่งเน้นให้
เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจที่ตรงกัน ตลอดจนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตระหนักในปัญหาหรือสถานการณ์เพื่อ
นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และสามารถติดตามและประเมินผลเพื่อประยุกต์ใช้นวัตกรรมให้
เหมาะสมมากขึ้น

ตารางที่ 3 การเปรีย บเทีย บองค์ป ระกอบด้วยทฤษฎีก ารวางแผนเชิงกระบวนการระหว่างกรอบแนวคิด ระบบ


นวัตกรรมเมืองกับกรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะ
การเปรีย บเทีย บองค์ป ระกอบด้ว ย ก ร อ บ แ น ว ค ิด ร ะ บ บ กรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะ
ทฤษฎีการวางแผนเชิงกระบวนการ นวัตกรรมเมือง
√ องค์ประกอบด้านสถาบัน องค์ประกอบด้านสถาบัน
- องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี
- องค์ประกอบด้านมนุษย์

การอภิปรายผล หรือ การวิจารณ์และสรุป หรือ ข้อเสนอแนะ:


การเพิ่มเติมหรือพัฒนากรอบแนวคิดในความเป็นอัจฉริยะของเมือง มีกลไกภายในเพื่อสร้างให้เกิดความ
เป็นอัจฉริยะมีพื้นฐานมาจากแนวคิดระบบนวัตกรรมเมือง นอกจากนี้ความเป็นเมืองอัจฉริยะจะมีองค์ประกอบที่
สำคัญ คือ ระบบการประเมินสถานการณ์และโต้ตอบด้วยระบบเองเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้กับเมืองต่อไป
(Self-monitoring & Self-Response) จนกลายเป็นระบบแบบวนรอบ (Loop System) ที่สามารถแก้ไขปัญหาของ
เมืองได้ทุกสถานการณ์ท่ามกลางความเป็นพลวัตของเมือง (Urban Dynamic) อย่างไรก็ดีสำหรับบทความนี้เป็น
เพียงการวิพากษ์ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างความเป็นเมืองอัจฉริยะกับระบบนวัตกรรมของเมืองเพื่ออธิบาย
ว่าการสร้างความเข้าใจด้านเมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ด้านระบบนวัตกรรมเมืองเป็นพื้นฐานจึงจะสามารถ
สร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและนำไปสู่การดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แต่ในเชิงวิจัยและการพัฒนายัง
จำเป็นต้องมีการพัฒนารายละเอียดของกรอบแนวคิดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือมีหลักฐานเชิง
ประจักษ์ที่มากขึ้นกว่านี้
ด้านการวิจัยและนโยบายเมื่อทบทวนวรรณกรรมพบว่าสำหรับต่างประเทศมี 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1) การ
จัดลำดับ ความเป็น เมืองอัจฉริยะ (Smart City Ranking) ในทวีป ยุโรปและทวีป อเมริกา ผ่านกระบวนการสร้าง
ตัวชี้วัดจากกรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะ 6 องค์ประกอบ และ 2) นโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อย่างไรก็ดีสำหรับ
นโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะยังสังเกตได้ว่าหลักการพัฒนาไม่ได้มุ่งเน้นหรือยึดโยงกับความเป็นเมืองด้วยลักษณะ

Journal of Urban and Regional Planning 1 352


ทางกายภาพหรือ ผังเพีย งอย่า งเดีย ว แต่ย ังมีค วามสัม พัน ธ์ในเชิงกระบวนการทางสังคมอีก ด้ว ย ดังนั้น ในการ
ประยุกต์ใช้ในมิติของการพัฒนาเมืองจำเป็นต้องใช้คำว่าการวาง “แผน” และ “ผัง” เมืองเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติการ
อย่างชัดเจน
และสำหรับประเทศไทยแม้ว่าปัจจุบันจะมีกระแสของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะผ่านโครงการและนโยบาย
ต่าง ๆ ระดับประเทศไทยยังเป็นระดับการท้าทายให้เกิดการพัฒนากรอบแนวคิด ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสสำหรับการวิจัย
เพื่อรอการดำเนินโครงการกับการพัฒนาเมืองเพื่อการวิจัยเรียบเรียงองค์ความรู้อย่างเป็นระบบต่อไป

บรรณานุกรม:
พันธุ์อาจ ชัยรัตน อภิวัฒ น์ รัตนวราหะ ดวงหทัย เพ็ญ ตระกูล และกิตติพงษ์ จันทรสกุล. (2552). ภาวะผู้นำการ
เปลี่ยนแปลง-ผู้เปลี่ยนแปลงเมืองกับระบบนวัตกรรมเมือง. งานประชุมวิชาการภาควิชาการวางแผนภาค
และเมือง ประจำปี 2552 จัดที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อเรื่อง
“Innovative City-City Innovation”. วันที่ 18 ธันวาคม 2552.

สฤษดิ์ ติย ะวงศ์ส ุวรรณ. (2555). บทบาทขององค์ก รชุม ชนในกระบวนการมีส ่วนร่วมในโครงการบ้านมั่น คงใน
กรุง เทพมหานคร. ดุษ ฎีน ิพ นธ์ส าขาวิช าการวางแผนภาคและเมือ ง. คณะสถาปัต ยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง-ผู้เปลี่ยนแปลงเมืองกับระบบนวัตกรรมเมือง. งาน


ประชุม วิช าการภาควิช าการวางแผนภาคและเมือ ง ประจำปี 2552 จัด ที่ค ณะสถาปัต ยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อเรื่อง “Innovative City-City Innovation”. วันที่ 18 ธันวาคม
2552.

อภิว ัฒ น์ รัต นวราหะ และ สฤษดิ์ ติย ะวงศ์ส ุว รรณ. (2556). การกระจายตัว เชิงพื้น ที่ข องบริษ ัท สร้า งสรรค์ใน
กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาบริษัทโฆษณา ออกแบบสถาปัตยกรรม และธุรกิจซอฟท์แวร์.วารสารวิชาการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับที่ 62.
2thinknow & associated entities. (2016). Innovation cities program: 162 standard indicators.
Retrieved February 25, 2017, from http://www.innovation-cities.com/162-standard-
indicators/6365
Albino, V.; Berardi, U. and Dangellico, R.M. (2015). Smart Cities: Definitions, Dimensions,
Performance, and Initiatives [online]. Retrieved February 25, 2017, from
https://www.researchgate.net/publication/267038770https://www.researchgate.net/publi
cation/267038770
Atkinson, R. (2012). Innovation in Cities and Innovation by Cities [online]. Retrieved February 25,
2017, from http://www.itif.org/files/2012-innovation-in-cities-by-cities.pdf
Chairatana, P. and Ratanawaraha, A. (2010). City, Innovation and Arts: The Case of Bangkok.
CISASIA Project.
Faludi, A. (1984). Planning Theory. 4th edition. Urban and Regional Planning Series. Volume 7.
Oxford: Pergamon Press.

Journal of Urban and Regional Planning 1 353


Monzon, A. (2015). Smart Cities Concept and Challenges: Base for the Assessment of Smart City
Project [online]. Retrieved February 25, 2017, from
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j
&q=&esrc=s&source=web&cd=8&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwiM16u85o_SAhWHKo8KH
YtuAXwQFghdMAc&url=http%3A%2F%2Fwww.springer.com%2Fcda%2Fcontent%2Fdocu
ment%2Fcda_downloaddocument%2F9783319277523-c2.pdf%3FSGWID%3D0-0-45-
1545150-p177840426&usg=AFQjCNETRis7U0-hFZAPFLFDCgFEJdoiCQ&sig2=RYvA_IqpyL
Q5c6X5AvkMkg
Nam, T. and Pardo, T. (2011a). Conceptualizing Smart City with Dimensions of Technology,
People, and Institutions [online]. Retrieved February 25, 2017, from https://inta-
aivn.org/images/cc/
Urbanism/background%20documents/dgo_2011_smartcity.pdf
Nam, T. and Pardo, T. (2011b). Smart City as Urban Innovation: Focusing on Management,
Policy, and Context [online]. Retrieved February 25, 2017, from https://www.ctg.albany.e
du/publications/journals/icegov_2011_smartcity/icegov_2011_smartcity.pdf
Rattanawaraha, A.; Chairatana, P. and Ellis, W. (2013). Innovation Systems in Southeast Asia.
Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Rattanawaraha, A and Tiyawongsuwan, S. (2010). Spatial Distribution of Creative Industries in


Bangkok. The 7th Asialics International Conference on Topic ofGlobal Recession and
Reform of Innovation Systems in Asia. Chung-Hua Institution for Economic Research
(CIER), Taipei: Taiwan. 15-17 April 2010.

Totty, M. (2016). Five cities that are leading the way in urban innovation. Retrieved February 25,
2017, from https://www.wsj.com/articles/five-cities-that-are-leading-the-way-in-urban-
innovation-1461549789
Zygiaris, S. (2013). Smart City Reference Model: Assisting Planners to Conceptualize the Building
of Smart City Innovation Ecosystems. Journal of Knowledge Economy. 4: 217-231.

Journal of Urban and Regional Planning 1 354


2017
จัดโดย

¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏ ¨ØÌÒŧ¡Ã³ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂ
¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¢͹ᡋ¹
¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏáÅСÒüѧàÁ×ͧ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅѸÃÃÁÈÒʵÏ
¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏ ʶҺѹ෤â¹âÅÂÕ¾ÃШÍÁà¡ÅŒÒ਌Ҥس·ËÒÃÅÒ´¡Ãкѧ
¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏ ¼Ñ§àÁ×ͧáÅйÄÁÔµÈÔÅ»Š ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÁËÒÊÒäÒÁ
¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ
¤³Ðʶһ˜µÂ¡ÃÃÁÈÒʵÏáÅСÒÃÍ͡ẺÊÔ่§áǴŌÍÁ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂáÁ‹â¨Œ
ÊÁÒ¤Áʶһ¹Ô¡¼Ñ§àÁ×ͧä·Â
áÅТ͢ͺ¤Ø³
a
uua
uuf
oa
d1古n muU50nsstJHHUU15
(u¥
l
丙n1SUK1UU)
ns~ns:)\)5mJ1F11aaS lIa~In AfufaÐ

1
AREA-BASEDINNOVATION鴫:

4令

,,
a unu uu51
阿nS
SUl
l同Uln両
NIA T
NATIONAL INNOVAlON AGENCY
ns~ns:JりJnEJ吋何1aI1l S11a~lnAruraEJ alU
-n¥J1UUJ日nSSUllvlIJt
!l両 MINISTRYOFSCIENCEANDTECHNOLOGY
A

h
ttp
://
www
.ni
a.o
r.t
h
Dl以⋮
HU仙川一
﹀FE¥

、 }向C
mm

RE-m

h司 圃

7I'
﹁d/

w一
川町


m

m rEI
M門

You might also like