Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 31

การจัดการความรู้ ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ ๔

พัฒนาการผลิตบุคลากรการพาณิ ชย์นาวีให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานประจาปี
งบประมาณ ๒๕๕๗

เรื่อง : ความรู้ทางด้านการฝึกสถานีฉุกเฉินต่างๆ บนเรือ


คณะทางานพัฒนาระบบบริ หารการจัดการความรู ้
ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
คานา
ด้วยศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้จัดให้มีการจัดการความรู้ในเรื่อง ความรู้ทางด้านการฝึกสถานีฉุกเฉินต่างๆ บนเรือ
การที่จะต้องทาการฝึกสถานีฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีต่างๆ ก็เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเป็นการป้องกัน
ความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของคนประจาเรือ เนื่องมาจากคนประจาเรือต้องมีความรู้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับ
อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety) ที่มีภายในเรือ รวมถึงแบบแผนในการฝึกประจาสถานีต่างๆ ในเรือ ดังนั้น ศูนย์
ฝึกพาณิชย์นาวี โดยเรือฝึกสาครวิสัย และเรือฝึกวิสูตรสาครซึ่งเป็นเรือฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลของ นักเรียนเดินเรือ
พาณิชย์ ก็ควรจะต้องจัดให้มีรูปแบบในการฝึกประจาสถานีให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎข้อบังคับของ อนุสัญญา SOLAS
(Safety of Life At Sea) และการฝึกสถานีต่างๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้น ให้คนประจาเรือ นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ มี
ความสนใจในระบบความปลอดภัยต่างๆ ที่ มีอยู่ที่เรือ และได้ฝึกประจาตาแหน่งของตัวเองในสถานีต่างๆ และใช้
อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างถูกวิธี และรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง เนื่องจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีเป็นหน่วยงานที่ผลิต
บุคลากรเพื่อไปทางานในเรือสินค้าเป็นหลัก ฉะนั้นก่อนที่นักเรียนเดินเรือพาณิชย์จะสาเร็จการศึกษา จึงควรที่จะมี
ความรู้ในเรื่องของการฝึกสถานีฉุกเฉินต่างๆ บนเรือ เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง บัดนี้ คณะทางานได้
จัดทาองค์ความรู้เรื่องการฝึกสถานีฉุกเฉินต่างๆ บนเรือ เพื่อเผยแพร่ให้กับนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ตลอดจนผู้ที่สนใจ
เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของการปฏิบัติงานบนเรือสินค้าได้อย่างเป็นรูปธรรม
ในการดาเนินการครั้งนี้ ขอขอบคุณบริษัทเรือต่าง ๆ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์เอกสาร และให้ความร่วมมือใน
การสัมมนาระดมความคิดเห็น หากมีข้อบกพร่องประการใด คณะทางานฯ ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะทางานพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้
กรกฎาคม ๒๕๕๗

2
สารบัญ
หน้า

คานา 2
สารบัญ 3
แผนผังการจัดสถานีฉุกเฉินบนเรือ (Muster list) เรือฝึกนักเรียนสาครวิสัย
การฝึกสถานีฉุกเฉิน 4
การฝึกสถานีฉุกเฉิน การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้บนเรือ 7
การฝึกสถานีฉุกเฉิน การปฏิบัติเมื่อเกิดการสละเรือใหญ่ 17
การสละเรือใหญ่และการดารงชีพ 24
การฝึกสถานีฉุกเฉิน การปฏิบัติเมื่อเกิดคนตกน้า 27
ภาคผนวก 31

3
การฝึกสถานีฉุกเฉิน (Emergency Station)
การทีจ่ ะต้องทาการฝึกสถานีฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีต่างๆ ก็เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเป็น
การป้องกันความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของคนประจาเรือ เนื่องมาจากคนประจาเรือต้องมีความรู้ความเอาใจ
ใส่เกี่ยวกับอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety) ที่มีภายในเรือ รวมถึงแบบแผนในการฝึกประจาสถานีต่างๆ ในเรือ
ดังนั้น ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี โดยเรือฝึกสาครวิสัย และเรือฝึกวิสูตรสาครซึ่งเป็นเรือฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลของนักเรียน
เดินเรือพาณิชย์ ก็ควรจะต้องจัดให้มีรูปแบบในการฝึกประจาสถานีให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎข้อบังคับของ อนุสัญญา
SOLAS (Safety of Life At Sea) และการฝึกสถานีต่างๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนประจาเรือ นักเรียนเดินเรือพาณิชย์
มีความสนใจในระบบความปลอดภัยต่างๆ ที่มีอยู่ที่เรือ และได้ฝึกประจาตาแหน่งของตัวเองในสถานีต่างๆ และใช้
อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างถูกวิธี และรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง ถ้าได้ฝึกอย่างสม่าเสมอแล้ว ก็สามารถที่จะลดความ
เสียหายละอันตรายต่างๆที่อาจเกิดได้จากคนประจาเรือ สินค้าหรือทรัพย์สินต่างๆ ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้เป็นอย่าง
มาก เนื่องจากพื้นที่ภายในเรือสินค้า มีจากัด จึงมีความยากลาบากในการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ขึ้น
ภายในเรือ เช่น กรณีที่เกิดไฟไหม้ขึ้นภายในเรือ กรณีที่มีคนประจาเรือตกน้าเป็นต้น
ดังนั้นศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี โดยเรือฝึกสาครวิสัย และเรือฝึกวิสูตรสาครซึ่งเป็นเรือฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลของ
นักเรียนเดินเรือพาณิชย์จงึ ควรที่จะต้องให้ความสาคัญในเรื่องทีเ่ กีย่ วกับความปลอดภัยบนเรือและสนับสนุนในด้าน
อุปกรณ์เครือ่ งมือ หรือแม้กระทั้งสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ สารคดีทมี่ ีความเกีย่ วข้องกับเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจะทาให้คนเรือมี
ความรู้ และความสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
การฝึกจะต้องเป็นไปตามข้อกาหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศในทะเล (SOLAS 74) โดยอ้างถึง”คู่มือ
การฝึก”(SOLAS Training Manual)
การฝึกสถานีฉุกเฉินบนเรือ
1. การฝึกประจาสถานีสละเรือใหญ่ (Abandon Ship Drill) อ้างถึงวิธีการใน SOLAS 74, Chapter III,
Reg.18
2. การฝึกประจาสถานีดับเพลิง อ้างถึงใน SOLAS 74,Chapter III, Reg.18
3. การฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต อ้างถึงวิธีการใน Chapter III, Reg. 18
โดยการฝึกข้างต้นได้อาศัยแนวทางจาก SOLAS 74, Chapter III, Reg.18 ดังนี้
1) ข้อกาหนดต่อไปนี้ ใช้กับเรือทุกลา
2) คู่มือ คู่มือการฝึก (SOLAS Training Manual) ซึ่งเป็นไปตามบทที่ 51 ของ SOLAS 74,
Chapter III จะต้องจัดไว้ในห้อง Mess และห้องพักผ่อนของคนประจาเรือแต่ละห้อง
3) การฝึกปฏิบัติการระดมพล และการฝึกประจาสถานี
3.1 คนประจาเรือแต่ละคนจะต้องร่วมในการฝึกประจาสถานีสละเรือใหญ่ และการฝึกประจาสถานีดับเพลิง
การฝึกประจาสถานีดังกล่าวจะต้องกระทาภายใน 24 ชม. ภายหลังเรือออกจากท่า หากว่ามีคนประจาเรือมากกว่า 25
เปอร์เซ็นต์ ยังไม่ได้ร่วมการฝึกประจาสถานี

4
3.2 การฝึกประจาสถานีสละเรือใหญ่ จะต้องรวมสิ่งต่อไปนี้ด้วย
1) การรวมตัวของผู้โดยสาร(หากมี) และคนประจาเรือ ณ จุดรวมพล เมื่อได้รับสัญญาณฉุกเฉิน
และทุกคนเข้าใจถึงคาสั่งการประจาสถานีสละเรือใหญ่ ตามที่ปรากฏใน Muster Lists ของเรือ
2) รายงานตัว ณ จุดรวมพล และเตรียมความพร้อมตามหน้าที่ที่กาหนด
3) ตรวจสอบดูว่าทุกคนสวมใส่ชุดเครื่องแต่งกายที่เหมาะสม
4) ตรวจสอบดูว่าเสื้อชูชีพได้สวมใส่อย่างถูกต้อง
5) ทดสอบหย่อนเรือช่วยชีวิตอย่างน้อย 1 ลา ภายหลังการเตรียมการที่จาเป็น
6) ทดสอบติดเครื่อง และเดินเครื่องยนต์เรือช่วยชีวิต
7) ทดสอบเสาเดวิดหย่อนแพชูชีพ
3.3 เรือช่วยชีวิตควรถูกหย่อนข้างเรือ สลับกันไปในแต่ละครั้งของการฝึกประจาสถานี
3.4 การฝึกประจาสถานี, เท่าที่เป็นไปได้, ให้กระทาราวกับว่าเหตุการณ์ฉุกเฉินได้เกิดขึ้นจริง
3.5 เรือช่วยชีวิตแต่ละลาควรหย่อนลงน้าพร้อมด้วยคนประจาเรือตามที่กาหนด และใช้งานในน้าอย่างน้อย 1
ครั้ง ในรอบ 3 เดือน ในระหว่างการฝึกประจาสถานีสละเรือใหญ่
ในกรณีที่ไม่อาจกระทาได้ อย่างน้อย ควรมีการหย่อนเรือช่วยชีวิตข้างเรือ อย่างน้อย 1 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
และหย่อนลงน้าอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
3.6 ไฟแสงสว่างฉุกเฉินบริเวณจุดรวมพล และเรือช่วยชีวิตควรได้รับการตรวจสอบทุกครั้งที่มีการฝึกประจา
สถานีสละเรือใหญ่
4) การฝึกอบรมบนเรือ และคาแนะนา
4.1 การฝึกอบรมในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต รวมทั้งอุปกรณ์เรือช่วยชีวิต ควรกระทาในทันทีที่เป็นไปได้ แต่ไม่
เกิน 2 อาทิตย์ ให้กับคนประจาเรือใหม่ที่เพิ่งขึ้นมาบนเรือ อย่างไรก็ตาม หากเป็นคนประจาเรือที่หมุนเวียนขึ้นมา
ประจาบนเรือดังกล่าวตามปกติอยู่แล้ว
4.2 คาแนะนาในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต และการยังชีพในทะเล ควรมีทุกครั้งระหว่างการฝึกประจาสถานี ซึ่ง
อย่างน้อยจะรวมสิ่งต่อไปนี้ด้วย
1) การปฏิบัติการ และการใช้แพชูชีพ
2) ปัญหาเมื่อเจอสภาพอากาศเย็นจัด และการปฐมพยาบาล
3) คาแนะนาพิเศษในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตในสภาพอากาศเลวร้าย และคลื่นจัด
4.3 การใช้แพชูชีพแบบมีเสาเดวิด

สิ่งที่เราจาเป็นจะต้องรู้เมื่อประจาสถานีฉุกเฉินต่าง มีดังนี้
1. Signal (เสียงสัญญาณ) เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินดังขึ้น ลูกเรือจะต้องทราบว่าเสียงสัญญาณที่ดังอยู่คือการเกิด
เหตุการณ์ใด ซึ่งเราสามารถแบ่งเสียงสัญญาณหลักๆ ได้ 3 เสียงดังนี้
๑.๑ สัญญาณกริ่งยาวติดต่อกัน (Continuously ringing of ship’s general alarm bell)

5
1.2 หวูดสั้น 7 ครั้ง และตามด้วยหวูดยาว 1 ครั้ง (7 Short blasts and 1 prolong blast)
สัญญาณฉุกเฉินดังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 นาที ทาซ้าตามที่ต้องการให้แน่ใจว่าลูกเรือทุกคนทราบ Continuously
ringing of emergency alarm for a period of not less than 10 sec., repeat as required in order to
ensure that crews have been acknowledged
1.3 หวูดยาว 3 ครั้ง (3 Prolong blasts on ship’s whistle)
2.ลูกเรือทุกคนจะต้องทาความคุ้นเคยด้วยตนเอง เกี่ยวกับสถานีและหน้าที่ของตน
3.ลูกเรือทุกคนจะต้องทราบถึงจุดรวม (Muster Station) เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในกรณีต่างๆ โดยหลักๆ ก็จะมี
2 ที่ดังนี้
- Bridge deck
- Main deck

4. ลูกเรือแต่ละคนจะต้องได้รับใบบอกรายละเอียดหน้าที่ของตนในเหตุฉุกเฉินต่างๆ
5. ลูกเรือทุกคนจะได้รับคาแนะนาต่างๆ ในการปฏิบัติหน้าที่
6. เพื่อให้แน่ใจและประสบผลสาเร็จและปฏิบัติตาม Shipboard Emergency Contingency Plan
Procedure ลูกเรือทุกคนต้องอ่านและทาความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือ การฝึกของ SOLAS c และรู้วิธีปฏิบัติของ
สถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนการใช้เครื่องช่วยในความปลอดภัย

6
1 การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้บนเรือ

สถานีดับไฟ (Fire station)


เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเพลิงไหม้ Continuous
ringing of alarm bells/ hore simultaneously
(สัญญาณกริ่งยาวติดต่อกัน) ให้ทุกคนเตรียมตัวให้
เหมาะสม เช่น สวมรองเท้าและสวมหมวก safety มา
พร้อมกันที่จุดรวมพล (Main deck) พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่
รับผิดชอบ (ระบุอยู่ใน Muster List) เพื่อรอรับคาสั่งและ
ปฏิบัติตามสาสั่ง ตรวจนับจานวนคนว่าครบหรือไม่ แล้ว
แจ้งให้ทางกัปตันเรือทราบ
ถ้าผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ติดอยู่ในที่เกิดเหตุให้รีบส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ประเมินสถานการณ์ว่าตัวเอง
สามารถดับไฟโดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่หรือไม่ และควรใช้ให้ถูกต้องตามชนิดของไฟ เพราะการใช้เครื่องมือผิดกับ
ประเภทของไฟอาจทาให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดเหตุไฟไหม้จากไฟฟ้าซ๊อตและมีไฟรั่วแล้วผู้ที่ทา
การดับไฟใช้โฟมดับไฟ อาจทาให้โดนไฟดูดเสียชีวิตได้
ถ้าเพลิงไหม้ในพื้นที่ปิดทึบ หรือพื้นที่ที่อาจเกิดการระเบิดได้ อย่าเพิ่งเข้าทาการดับไฟด้วยตัวเองเพียงลาพัง
ให้รอฟังคาสั่งเพื่อปฏิบัติการดับไฟ
แต่ละคนต้องรู้วิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิงเป็นอย่างดี สามารถใช้เครื่องมือดับเพลิงได้ถูกต้องกับชนิดของไฟ
เช่น ไฟที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไม่ควรใช้โฟมดับไฟ แต่ต้องใช้ CO2 ดับไฟ ตลอดจนรู้ที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง
เป็นอย่างดี
การจัดชุดดับไฟในเรือ
7
เพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่ที่จัดไว้ตาม Muster List ได้ไปทาหน้าที่ให้ทันต่อเหตุการณ์ตามตาแหน่งและหน้าที่ ดังนี้

BRIDGE CONTROL
PARTY

สะพานเดินเรือ

E/R CONTROL PARTY Emergency Team Emergency Team Support and


ทีมห้องเครื่อง 1 2 Medical Team
ชุดดับไฟ ชุดที่ 1 ชุดดับไฟ ชุดที่ 2 ชุดสนับสนุนและปฐม
พยาบาล

ถ้าเกิดเหตุไฟไหม้บนดาดฟ้าให้ปฏิบัติตามคาแนะนาหรือต้นเรือให้ปากเรือเป็นชุดผจญเพลิง ห้องเครื่องเป็น
ชุดสนับสนุน
ถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ในห้องเครื่องให้ปฏิบัติตามคาแนะนาของต้นกลเรือหรือรองต้นกลเรือ ให้ห้องเครื่องเป็นชุด
ผจญเพลิง ปากเรือเป็นชุดสนับสนุน
ส่วนชุดสนับสนุนให้เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และคอยให้การช่วยเหลืออื่นๆ ถ้ามีการร้องขอ

1.ชุดปฏิบัติงานบนสะพานเดินเรือ ชุดสั่งการ (Bridge Team)

8
มีหน้าทีเ่ กี่ยวการนาเรือ การติดต่อสื่อสาร ซึ่งประกอบไปด้วย นายเรือ ผู้ช่วยต้นหน นายท้าย นักเรียนฝึกฝ่าย
ปากเรือ
BRIDGE CONTROL PARTY : สะพานเดินเรือ
MASTER นายเรือ (กัปตัน หรือผู้บังคับการเรือ) ทาหน้าที่สั่งการทั้งหมด
3rd/OFFICER ผู้ช่วยต้นเรือ ทาหน้าที่ช่วยเหลือกัปตัน เป็นหัวหน้าหน่วยปฐม
พยาบาล
A/B 1 นายท้ายเรือ 1 ทาหน้าที่บังคับควบคุมเรือ

2.ชุดปฏิบัติงานในห้องเครื่อง (Engine Room Team)

9
มีหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรในห้องเครื่อง ประกอบด้วย ต้นกล รองต้นกล นายช่างกล 3 ช่างเครื่องและลูกเรือ
ฝ่ายช่างกล
E/R CONTROL PARTY : ห้องคอนโทรลในห้องเครื่อง
C/E ต้นกล ทาหน้าที่รับผิดชอบการสั่งการในห้องเครื่อง คอยสั่งการและ
รายงานสถานการณ์ต่างๆ ไปที่กัปตันที่อยู่บนสะพานเดินเรือ
และการปล่อย CO2 ในห้องเครื่อง
3/E นายช่างกลที่ 3 ทาหน้าที่ปิดวาล์ว FO, ปิด Blower และ Vents, เดิน Fire
pump, Set isolation valve และคอยช่วยเหลือต้นกล
E/E ช่างไฟฟ้า ทาหน้าที่ในการตัดระบบไฟฟ้าในส่วนที่เกิดไฟไหม้ คอย
ช่วยเหลือต้นกล
ENGINE OFFICER นายช่างกลเรือ ทาหน้าที่คอยช่วยเหลือ เมื่อมีคาสั่ง
OILER 1 ช่างน้ามัน 1 ปั๊มน้าดับเพลิงฉุกเฉิน
WIPER 1 ช่างเช็ดน้ามัน 1 ประจาห้องเครื่อง

10
3. ชุดดับไฟ ชุดที่ 1 ( Emergency Team A)
มีหน้าที่ทาการระงับไฟที่เกิดขึ้นด้วยสารดับเพลิงเบื้องต้น ประกอบด้วย บุคคลที่พบเห็นไฟไหม้ หรือคนที่ทา
ให้ไฟไหม้ การเข้าระงับไฟทันทีขณะเข้าทาการดับไฟต้องแจ้งให้คนอื่นทราบทันที เช่น การกดสัญญาณแจ้งการเกิดไฟ
(Fire Alarm) คนที่ได้ยินถัดไป ต้องตะโกนต่อทันที ถ้าสามารถตะโกนไปทางสะพานเดินเรือได้ ให้ตะโกนไปทาง
สะพานเดินเรือทันที เมื่อนายยามเรือเดิน หรือคนที่อยู่บนสะพานเดินเรือได้ยินจะได้กดหรือแสดงสัญญาณฉุกเฉิน
ออกไปทางหวูด ตามด้วยเสียงออกกริ่งให้ดังทั่วทั้งลา เพื่อให้คนอื่นๆที่ไม่ทราบ จะได้ไปทาหน้าที่ตามที่จัดไว้ในสถานี
และรวมถึงเรือที่จอดร่วมในอ่าวหรือท่าเรือ จะได้ทราบถึงเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

ชุด Fireman’s Outfit


ฝึกการดับเพลิงบนเรือ เรือฝึกสาครวิสัย

11
EMERGENCY TEAM 1 : ชุดดับไฟ ชุดที่ 1
C/O (Chief Officer) ต้นเรือ ทาหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทาหน้าที่คอยสั่งการและรายงาน
สถานการณ์ต่างๆ ไปที่กัปตันที่อยู่บนสะพานเดินเรือ
BOSUN สรั่งเรือ ทาหน้าที่ในการสวมชุดผจญเพลิงและเป็นผู้นาในการผจญ
เพลิง
A/B 2 นายท้าย 2 ทาหน้าที่ในการสวมชุดผจญเพลิง
A/B 3 นายท้าย 3 ทาหน้าที่ในการนาชุดเครื่องช่วยหายใจ (BA Set) ขวานผจญ
เพลิง และเชือกช่วยชีวิตมาที่จุด รวมพล รอรับคาสั่งจากต้น
เรือ ทาหน้าที่ต่อสายและประจาสายดับเพลิง
O/S 1 กะลาสี 1 ทาหน้าที่ต่อสายและประจาสายดับเพลิง
O/S 2 กะลาสี 2 ทาหน้าที่ต่อสายและประจาสายดับเพลิง
DECK OFFICER นายประจาเรือ นาผงเคมีแห้งหรือ CO2 ทาการดับไฟเบื้องต้น

ฝึกการดับเพลิงบนเรือ เรือฝึกสาครวิสัย

12
๔. ชุดดับไฟ ชุดที่ 2 (Emergency Team 2)
เมื่อได้ยินสัญญาณฉุกเฉินแจ้งให้ทราบว่าเกิดไฟไหม้ขึ้นบนเรือ จะต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าไปดับไฟทันที เช่น
สวมชุดดับเพลิง ต่อสายน้าดับเพลิง ต่อหัวฉีด พร้อมที่จะเข้าทาการดับไฟทันทีเมื่อได้รับคาสั่งจากสะพานเดินเรือ เมื่อ
Emergency Team 1 ไม่สามารถระงับไฟได้ ชุดดับไฟในเรือจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทันที เพราะการทางาน
ของบุคลากรในเรือทั้ง 2 ฝ่าย จะผลัดเปลี่ยนการทางานตามชุด ตามที่จัดไว้ ถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ บนส่วนที่อยู่ตาม
ดาดฟ้าบนเรือ ที่อยู่อาศัยหรือส่วนใดๆที่ไม่ได้อยู่ในห้องเครื่องจักร ให้ชุดที่ 1 ทาการดับไฟ ชุด 2 เป็นชุดเตรียมพร้อม
และทาการหล่อเย็น(boundary cooling) บริเวณรอบๆ ที่เกิดเหตุ แต่ถ้าเกิดเหตุไฟไหม้บริเวณที่อยู่ภายในห้องเครื่อง
ให้ชุดดับไฟ ชุดที่ 2 เข้าทาการดับไฟและให้ชุดดับไฟ ชุดที่ 1 ทาหน้าที่หล่อเย็นรอบๆ บริเวณนั้นแทน ในเรือจึงมีชุด
เตรียมพร้อมตลอดเวลา มีสัญญาณ แจ้งเหตุฉุกเฉินดังขึ้น ชุดเตรียมพร้อมต้องไปทาหน้าที่ตาม Muster List

ฝึกการดับเพลิงบนเรือ เรือฝึกสาครวิสัย
ชุดดับไฟที่ ๒

13
EMERGENCY TEAM 2 : ชุดดับไฟ ชุดที่ 2
2/nd engineer รองต้นกลเรือ ทาหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทาหน้าที่คอยสั่งการและรายงาน
สถานการณ์ต่างๆ ไปที่กัปตันที่อยู่บนสะพานเดินเรือ
ENGINE OFFICER นายช่างกล นาผงเคมีแห้งและ Co2 ทาการดับไฟ เบื้องต้น
FITTER สรั่งกลเรือ ทาหน้าที่ในการสวมชุดผจญเพลิงและเป็นผู้นาในการผจญ
เพลิง
OILER 2 นายท้าย 3 ทาหน้าที่ในการนาชุดเครื่องช่วยหายใจ (BA Set) ขวานผจญ
เพลิง และเชือกช่วยชีวิตมาที่จุด รวมพล รอรับคาสั่งจากรอง
ต้นกล
OILER 3 ช่างน้ามัน 3 ทาหน้าที่ต่อสายและประจาสายดับเพลิงทาหน้าที่ต่อสายและ
ประจาสายดับเพลิง
WIPER 2 ช่างเช็ดน้ามัน 2 ทาหน้าที่ต่อสายและประจาสายดับเพลิงทาหน้าที่ต่อสายและ
ประจาสายดับเพลิง

14
๕. ชุดสนับสนุนและปฐมพยาบาล (Support and Medical Team)
มีหน้าเข้าช่วยเหลือคนบาดเจ็บจากเหตุไฟไหม้ นาคนบาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุ ทาการปฐมพยาบาล
เบื้องต้น และยังมีหน้าที่ช่วยเหลือ สนับสนุนทีมดับไฟทั้งสองทีม รับคาสั่งโดยตรงจากชุดปฏิบัติงานบนสะพานเดินเรือ
ทีมนี้มีต้นหน เป็นหัวหน้าชุดควบคุม

การฝึกช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ฉุกเฉิน
เรือฝึกสาครวิสัย

15
ชุดสนับสนุนและปฐมพยาบาล : Support and Medical Team
2/O (Chief Officer) ต้นหน ทาหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทาหน้าที่คอยสั่งการและรายงาน
สถานการณ์ต่างๆ ไปที่กัปตันที่อยู่บนสะพานเดินเรือ
Medical Officer พยาบาลประจาเรือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Chief cook สหโภชน์ นาเปลพยาบาล รอคาสั่ง ต้นหน
Cook คนครัว นาเครื่องช่วยหายใจแบบพกพา รอคาสั่ง ต้นหน
Cook คนครัว นากล่องปฐมพยาบาล รอคาสั่ง ต้นหน
OS 3 กะลาสี ปิดช่องระบายอากาศ ประตูฝากั้นน้า

16
2 การปฏิบัติเมื่อเกิดการสละเรือใหญ่

ฝึกการชักหย่อนเรือช่วยชีวิต (สละเรือใหญ่) เรือฝึกสาครวิสัย

17
การสละเรือใหญ่
ผู้ที่มีอานาจในการสังการสละเรือใหญ่ หรือเตรียมยานช่วยชีวิต กัปตันเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีอานาจ ที่จะ
สั่งการได้ ประจาเรือหรือนายประจาเรืออื่นๆ ไม่มีสิทธิและอานาจสั่งการได้ เมื่อมีสัญญาณฉุกเฉินหรือเสียงประกาศให้
ทราบว่าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นถึงต้องสละเรือใหญ่แล้ว ทุกคนในเรือจะต้องรีบไปทาหน้าที่โดยเร็วที่สุด เท่าที่จะกระทาได้
เช่นการเตรียมยานชูชีพทุกประเภทที่มีอยู่บนเรือ ผู้ไม่มีหน้าที่ ก็ต้องรีบออกจากพื้นที่ไปรวมกัน ณ พื้นที่รวมพลทันที
การสละเรือใหญ่สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือจะต้องสวมเสื้อชูชีพหรือมีเสื้อชูชีพติดมือไปด้วยเสมอ ฉะนั้นการเรียนรู้ว่าในเรือมี
เสื้อเก็บอยู่ที่ใดใกล้ตัวจะต้องรู้อย่างชัดเจนตั้งแต่เหตุการณ์ยังไม่เกิดและต้องทราบว่าตัวเองประจาเรือ/แพชูชีพลาใด
ตาแหน่งที่ติดตั้งเรือ/แพชูชีพที่จะต้องไปประจาอยู่ที่ใดอยู่ส่วนใดของเรือ
ก่อนที่จะทาการสละเรือใหญ่
1 การแจ้งเตือนสัญญาณ (SOS / MAYDAY) ที่จะถูกส่งออกไปให้ โดยจะระบุตาแหน่งของเรือ
2 ทาการหยุดเครื่องจักรใหญ่
3 ถ้าเป็นไปได้ ที่ยังไม่ได้ทาการปิดทุกประตูผนึกน้า ฝาระวาง ฯลฯ ให้ทาการปิด
4 วิทยุสื่อสารแบบพกพา EPIRB, SART จะต้องนาไปเรือชูชีพ
5 ลูกเรือทั้งหมดจะสวมใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่นและหมวกคลุมร่างกาย, รวมทั้งสวมเสื้อชูชีพให้เรียบร้อย
การเตรียมความพร้อมที่จาเป็นเช่น
1. การสวมเสื้อผ้าที่สามารถให้ความอบอุ่นได้
2. สวมเสื้อชูชีพ ไปประจาสถานีตามผังใน Master list
3. หย่อนเรือ/แพชูชีพลงน้า ถ้ามีเวลานาอุปกรณ์และยังชีพเพิ่มเติมในเรือ/แพชูชีพให้มากที่สุดเท่าที่จะ
ทาได้ เช่น ปูม, ผ้าห่ม, อาหารทุกอย่าง, เครื่องเขียน, นาฬิกา, น้าจืด, น้ามันเชื้อเพลิงฯลฯ
4. ก่อนที่จะละทิ้งเรือไปต้องนึกเสมอว่าเรือใหญ่คือยานชูชีพที่ดีที่สุด ต้องแก้ไขสถานการณ์จนวาระ
สุดท้ายแล้วจึงไปจากเรือ
5. อย่าลงน้าโดยไม่สวมเสื้อชูชีพ อย่าว่ายน้าโดยไม่จาเป็น ทาตัวให้แห้งอยู่เสมอ
6. หากมีความจาเป็นต้องลอยคออยู่ในน้า ต้องพยายามเก็บรวบรวมทุกอย่างที่ลอยน้าได้มาไว้ เพื่อเพิ่ม
กาลังลอยแม้จะสวมเสื้อชูชีพอยู่แล้วก็ตาม
7. อย่าหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือในเวลาอันสั้น
8. หากมีความจาเป็นต้องลงจากยานชูชีพไปช่วยคนอื่นที่ลอยคออยู่ในน้า ต้องแน่ใจว่าได้ใช้เชือกผูก
ตัวเองไว้กับยานชูชีพแล้ว เพราะหากลงจากยานชูชีพไปช่วยคนอื่น ระหว่างทาการช่วยยานชูชีพก็จะลอยตาม
กระแสน้า กระแสลมห่างออกไป ในที่สุดตัวเราและผู้ที่เราเข้าไปช่วยเหลือก็จะไม่สามารถว่ายน้าตามยานชูชีพได้
ทัน
9. หากมีเรือ/แพช่วยชีวิตหลายลา จะต้องผูกรวมกัน การผูกยานชูชีพรวมกันระยะต่อจะต้องให้แต่ละลา
อยู่ห่างกัน 2-เท่าของความยาวของเรือ-ความยาวของเชือกจูงระหว่างเรือจูง-กับเรือถูกจูงลาที่ใกล้ที่สุดจะต้องใช้
เชือกจูงยาวระหว่าง 30 – 50 เมตร จึงจะเกิดความปลอดภัย
18
10. ขณะนั่งอยู่ในยานชูชีพขณะที่มีคลื่นทะเลปั่นป่วน ให้นั่งรวมกันทางด้านที่ทิ้งสมอทะเล
11. การค้นหาผู้รอดชีวิตในเวลาค่าคืน ควรใช้ไฟฉาย ไม่ควรใช้สัญญาณขอความช่วยเหลือเช่น พลุ
สัญญาณต่างๆ
12. การเคลื่อนที่เข้าหาหรือไปที่อื่นของแพชูชีพ ควรใช้สมอทะเลเข้าช่วยดีกว่าการใช้พายเพราะ จะทา
ให้แพชูชีพเคลื่อนที่ไปในลักษณะการหมุนระยะทางก็จะไปได้น้อยถ้าใช้สมอทะเลขว้างปาไปแล้วฉุดดึงเอา
สมอทะเลเข้าหาตัวก็จะทาให้แพลอยไปทางตรงจากแรงฉุดจะได้ระยะทางและใช้เวลาน้อยกว่าการใช้พาย
13. ขณะที่อยู่ในแพในเวลาค่าคืนควรใช้จุกอุดช่องระบายอากาศส่วนเกินไว้เสียเพื่อไม่ให้อากาศรั่วซึม
ออกอันเนื่องจากการเคลื่อนที่ของคนภายในแพชูชีพ ในเวลากลางวันควรเปิดจุกอุดดังกล่าวออกเสีย เพราะถ้าอุด
เอาไว้ แก๊ส CO2 ที่อยู่ในแพจะขยายตัว ถ้าแก๊สขยายตัวมากเกินกว่ากาลังที่แพชูชีพจะรับไว้ได้อาจจะทาให้แพ
แตกหรือรั่วได้
14. สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือต้องลดความเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังจากขึ้นยานชูชีพแล้วผู้ที่
ได้รับมอบให้ทาหน้าที่เป็นพยาบาลหรือหัวหน้าชุดจะต้องแจกยาแก้เมาคลื่นให้รับประทานทันทีคนละ2เม็ดจะ
ปฏิเสธไม่รับประทานยาแก้เมาคลื่นหรือเก็บไว้กินทีหลังไม่ได้

สถานีสละเรือ (Abandon ship)


สัญญาณของสถานีสละเรือ คือ 7 short followed by one prolonged blast/ring of the ship whistle
bells/horn (กริ่งสั้น 7 ครั้ง และตามด้วยกริ่งยาว 1 ครั้ง ) จุดรวมพลอยู่ที่เรือช่วยชีวิตลาที่เรามีหน้าที่อยู่ชั้น
Bridge deck เมื่อได้ยินสัญญาณประจาสถานีสละเรือใหญ่ ลูกเรือทุกคนจะต้องไปประจายังสถานีสละเรือใหญ่ของ
ตน โดนจะต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น รองเท้า หมวกและเสื้อชูชีพให้เรียบร้อยและถูกต้อง

การฝึกรวมพล ณ จุดรวมพล ก่อนการสละเรือใหญ่ เรือฝึกสาครวิสัย


การควบคุมการสละเรือใหญ่ขึ้นอยู่กับกัปตันหรือผู้มีอานาจควบคุมแทน คือ การสละเรือใหญ่จะทาหลังจาก
ได้ยินคาสั่งของกัปตันว่า “สละเรือใหญ่”เท่านั้น
การเลิกสถานี คือ หวูดสั้น 3 ครั้ง หรือกริ่งสัญญาณสั้น 3 ครั้ง
19
สัญญาณการหย่อนเรือช่วยชีวิต
1. เริ่มหย่อนเรือช่วยชีวิต หวูดสั้น 1 ครั้ง
2. หยุดหย่อนเรือช่วยชีวิต หวูดสั้น 2 ครั้ง

ฝึกการชักหย่อนเรือช่วยชีวิต (สละเรือใหญ่) เรือฝึกสาครวิสัย

สามารถแบ่งกลุ่มในการสละเรือใหญ่ได้ 2 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้


๑ เรือช่วยชีวิตลาที่ 1 (ทางกราบขวา)

20
การฝึกประจาสถานีสละเรือใหญ่ เรือฝึกสาครวิสัย

21
๑. เรื่อช่วยชีวิตลาที่ ๑ (ทางกราบขวา)

เรือช่วยชีวิตลาที่ 1 (ทางกราบขวา)
Master นายเรือ ทาหน้าที่ควบคุม สั่งการและส่งสัญญาณทั้งหมด ซึ่งในช่วงแรกๆ
กัปตันจะยังอยู่ที่บนสะพานเดินเรือเพื่อคอยสั่งการและส่งสัญญาณ
ต่างๆ แล้วจะลงมาเมื่อมีการหย่อนเรือช่วยชีวิตลงแล้ว
2nd officer ต้นหน ทาหน้าที่เป็นหัวหน้าชุด คอยควบคุมการหย่อนเรือช่วยชีวิต
ตรวจสอบความเรียบร้อยของลูกเรือ ที่ประจาอยู่ที่ทางกราบนี้
และคอยติดต่อสื่อสารกับกัปตัน โดยจะต้องนา GMDSS radio
ติดตัวมาด้วย
Chief Engineer ต้นกล ทาหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าชุด นา SART ติดตัวมาและเตรียม
เอกสารสาคัญมาด้วย
E/E ช่างไฟฟ้า ทาหน้าที่ถอดสายไฟที่ต่อสาหรับชาร์จแบตเตอรี่ และคอยดูแล
ระบบไฟฟ้าต่างๆ
Bosun สรั่งเรือ ทาหน้าที่ประจากว้านเพื่อหย่อนเรือช่วยชีวิต ตามคาสั่งของ
หัวหน้าชุด
AB 1 นายท้าย 1 ทาหน้าที่ในการปลด FWD. lashing และ FWD. painter คอย
ส่งเชือกหัวเรือให้นาไปต๋งไว้ สาหรับการหย่อนเรือช่วยชีวิต
AB 2 นายท้าย 2 ทาหน้าที่ในการปลด AFT. Lashing และทาหน้าที่นายท้าย
Oiler 1 ช่างเครื่อง 1 ทาหน้าที่ในการเตรียมการหย่อนบันไดสาหรับสละเรือใหญ่และ
เตรียมแพช่วยชีวิต
OS 1 กะลาสี 1 ปลดเหล็กยึด สลัก เดวิดหัว FWD. painter
OS 2 กะลาสี 2 ปลดเหล็กยึด สลัก เดวิดท้าย
Chief cook สหโภช ทาหน้าที่ในการเตรียมผ้าห่ม เสบียงอาหาร และคอยรอฟังคาสั่ง

2. เรื่อช่วยชีวิตลาที่ 2 (ทางกราบซ้าย)
22
เรือช่วยชีวิตลาที่ 2 (ทางกราบซ้าย)
Chief Officer ต้นเรือ ทาหน้าที่เป็นหัวหน้าชุด คอยควบคุมการหย่อนเรือช่วยชีวิต
ตรวจสอบความเรียบร้อยของลูกเรือที่ประจาอยู่ทางกราบนี้และ
คอยติดต่อสื่อสารกับกัปตัน
3rd officer ผู้ช่วยต้นเรือ GMDSS radio, SART,EPIRB และเตรียมเอกสารสาคัญติดตัวมา
ด้วย
2nd engineer รองต้นกล ทาหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าชุด และเตรียมเอกสารสาคัญมาด้วย
ทาหน้าที่ในการประจาเครื่องยนต์เรือช่วยชีวิต คอยตรวจสอบดูแล
ความเรียบร้อยในขณะที่มี การใช้เครื่อง
3rd engineer นายช่างกลที่ 3 ทาหน้าที่ประจากว้านเพื่อหย่อนเรือช่วยชีวิต ตามคาสั่งของ
หัวหน้าชุด
AB 3 นายท้าย 3 ทาหน้าที่ในการปลด AFT. Lashing และ ทาหน้าที่นายท้าย
OS 3 กะลาสี 3 ทาหน้าที่ในการปลด FWD. lashing และ FWD. painter คอย
ส่งเชือกหัวเรือให้นาไปต๋งไว้สาหรับการหย่อนเรือช่วยชีวิต
Oiler 2 ช่างเครื่อง 2 ปลดเหล็กยึด สลัก เดวิดหัว FWD. painter
Oiler 3 ช่างเครื่อง 3 ปลดเหล็กยึด สลัก เดวิดท้าย
Wiper กะลาสีห้องเครื่อง ทาหน้าที่ในการเตรียมการหย่อนบันไดสาหรับสละเรือใหญ่และ
เตรียมแพช่วยชีวิต
Cook คนครัว ทาหน้าที่ในการเตรียมผ้าห่ม เสบียงอาหาร และคอยฟังคาสั่ง

23
การสละเรือใหญ่ และการดารงชีพ
การปฏิบัติตนหลังสละเรือใหญ่
1. จงทาตัวให้แห้งตลอดเวลา
2. อย่าลงน้าโดยไม่ได้สวมเสื้อชูชีพ
3. จงอย่าพยายามว่ายน้าโดยไม่จาเป็น
4. พยายามหาวัสดุที่ลอยน้าได้มาเพิ่มกาลังลอยเสื้อชูชีพ
5. สวมเสื้อผ้าที่เปียกดีกว่าไม่สวมเสื้อเลย ถ้าเสื้อเปียกบิดให้
หมาดแล้วสวมไว้ทันที
6. อย่าแน่ใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือในเวลาอันสั้นหลังจากสละ
เรือใหญ่ไปแล้ว
7. ถ้าจาเป็นต้องลงจาก
ยานชูชีพว่ายน้าไปช่วยผู้อื่น ต้อง
แน่ใจว่าได้ผูกเชือกติดไว้กับยานชูชีพแล้ว เพราะถ้าไม่ได้ผูกเชือก หลังจากว่ายน้า
ออกไปแล้วจะไม่สามารถกลับยานชูชีพได้อีก เพราะยานชูชีพลอยตาม กระแสน้า
กระแสลมออกห่างไปไกลเกินกว่าที่จะว่ายตามได้ทัน
8. ถ้ามีเรือช่วยชีวิตหลายลาควรผูกรวมกันตามยาว เชือกที่ผูกควรให้มี
ระยะห่างกันระหว่าง 30 – 50 ฟุต ถ้าผูกรวมกันโดยใช้เชือกสั้นๆ จะทาให้เรือ
รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อคลื่นลมพัดปะทะเข้ากับกลุ่มของเรือจะ ทาให้เรือจมหรือ
คว่าได้ง่าย

เมื่อทาการสละเรือใหญ่ พึงระลึกถึงหลักปฏิบัติต่อไปนี้
1. ถ้าเรือลอยตามกระแสน้าหรือลมให้กระโดดออกจากเรือทางด้าน
เหนือกระแสน้าหรือลมมิฉะนั้นการว่ายให้พ้นจากเรือจะทาได้ยาก ให้กระโดด
ห่างจากข้างเรือให้มากที่สุด และว่ายออกจาก เรืออย่างรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคลื่นตีกลับเข้าหาเรือใหญ่อีก
2. ถ้าเรือเอียงให้กระโดดออกจากเรือทางด้านหัวเรือหรือท้ายเรือถ้าสามารถกระทาได้และกระโดด จากด้าน
กราบสูง ผู้กระโดดอาจกระแทกกับโครงสร้างของเรือ หรือใบจักร หรือร่างกายอาจได้รับบาดแผล จากเพรียงที่เกาะอยู่
ที่ท้องเรือด้านที่หงายขึ้นถ้ากระโดดจากด้านกราบต่าก่อนที่จะว่ายน้าผู้กระโดดอาจถูกตีด้วยส่วนประกอบบนดาดฟ้า
เช่น เสากระโดงหรือปล่องไฟ ถ้าเรือพลิกคว่าก่อนที่จะว่ายน้าออกห่างได้ทัน
3. คนเราสามารถว่ายผ่านผิวน้าที่มีไฟลุกแผ่เป็นวงกว้างได้ถึง 200-หลา-ได้อย่างปลอดภัยโดยให้ถอดเสื้อชู
ชีพและเสื้อผ้าที่หนักออก-สูดลมหายใจเข้าปอดให้เต็มที่กระโดดลงน้าโดยเอาเท้าลง-ดาน้าให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทาได้
เมื่อจะโผล่ขึ้นสูดลมหายใจให้ใช้มือสองข้างแหวกน้าเช่นเดียวกับ ท่าว่ายกบเพื่อให้เกิดช่องว่างพอที่จะหายใจได้โผล่ขึ้น
หายใจเฮือกหนึ่งแล้วรีบดาต่อไปทันทีในทิศทางเดิมอย่าเปลี่ยนทิศทางในการดาน้าเด็ดขาด
4. ถ้ากาลังมีการระเบิดใดๆใต้น้า ให้เปลี่ยนท่าว่ายน้าเป็นท่ากรรเชียง และพยายามยกหน้าอกให้สูงที่สุด
เท่าที่จะทาได้ เพื่อหลีกเลี่ยงแรงอัดของน้าอันเกิดจากการระเบิด
5. เมื่ออยู่ห่างจากเรือใหญ่แล้ว ให้หาวัตถุลอยน้าได้พยุงตัว และพยายามจับกลุ่มรวมตัวกันไว้ เพื่อจะได้
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเป็นการเพิ่มกาลังใจ ถ้าทาได้ให้ใช้เชือกหรือเข็มขัดผูกติดเข้าด้วยกัน และควรลอยคออยู่
24
ในลักษณะเป็นวงกลมหันหน้าออก อย่าออกแรงโดยไม่จาเป็น การลอยตัวเป็นกลุ่มๆ ทาให้โอกาสที่จะได้รับความ
ช่วยเหลือดีกว่าการอยู่อย่างโดดเดี่ยวจงอย่าลืมว่า เรือใหญ่-ยานชูชีพ จะลอยตามน้าเร็ว เร็วกว่าที่ท่านจะว่ายน้าได้ทัน
ดังนั้นการหย่อนยานชูชีพลงน้าควรหย่อนลงทางด้านเหนือลมบริเวณหัวเรือ หรือท้ายเรือใหญ่ ดีกว่าหย่อนลงกลางลา
ทางด้านใต้ลม และควรนายานชูชีพออกจากเรือใหญ่ให้เร็วที่สุด เพราะเหตุว่าเมื่อเรือใหญ่จม อาจจะเกิดอันตรายจาก
โครงสร้างของตัวเรือ หรือวัสดุอื่นๆ ที่หลุดออกจากตัวเรือใหญ่ ลอยขึ้นสู่ผิวน้าอันอาจทาให้เป็น อันตรายแก่ร่างกาย
เมื่อถูกกระแทกจากวัสดุดังกล่าวได้

ก่อนจะกระโดดลงน้า ควรสารวจสิ่งต่างๆ เสียก่อน


๑ เสื้อชูชีพที่สวมใส่ได้มีการผูกมัดแน่นหนาเรียบร้อยดีหรือไม่ การเตรียมตัวก่อนกระโดดมีคาแนะนาว่า ยืน
ชิดกราบเรือตรงจุดที่จะกระโดด เหลือบมองพื้นน้าเพื่อดูว่ามีวัสดุลอยน้าที่จะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือไม่ เห็นว่า
ปลอดภัยแล้วอย่าก้มมองพื้นน้าอีก ยืนสองขาชิดกัน มือทั้งสองข้าง มือหนึ่งเตรียมบีบปากและจมูก อีกมือหนึ่งจับที่
หัวไหล่หรือคอเสื้อชูชีพ โดยให้มือที่เตรียมบีบปาก-จมูกอยู่ด้านใน ข้อศอกกดแนบหน้าอกให้แน่น พร้อมแล้วกระโดด
ลงทางดิ่งเอาเท้าลง ลงถึงน้าแล้วให้ว่ายน้าด้วยวิธีไปตามสถานการณ์ที่กาลังเกิดขึ้นออกจากบริเวณนั้นให้เร็วที่สุด
ระยะที่ปลอดภัยจากแรงระเบิด จากแรงดูดของน้า จากไฟไหม้ที่ผิวน้า คือระยะประมาณ ¼ ไมล์ หรือ 500 หลา

การฝึกสถานีฉุกเฉิน กระโดดน้าสละเรือใหญ่
เรือฝึกสาครวิสัย
25
๒ การนั่งในแพชูชีพ การนั่งรวมกันในแพควรนั่งเหยียดเท้าไปที่ศูนย์กลางของแพชูชีพ ใช้แขนสองข้าสอดเข้า
ไปในเชือกช่วยชีวิตที่ผูกห้อยอยู่รอบท่อรับน้าหนักภายในแพ ซึ่งจะทาให้ผู้ที่อยู่ในแพมีที่ยึดไม่หลุดออกจากแพเมื่อแพ
พลิกคว่าได้ ในสภาพอากาศเลวร้าย ซึ่งจะเป็นสาเหตุทาให้แพพลิกคว่า ให้นั่งรวมกันทางด้านที่ปล่อยสมอทะเล เพื่อ
การทรงตัวของแพชูชีพ กรณีที่จาเป็นต้องกระโดดลงสู่แพชูชีพ อย่ากระโดดลงสู่แพที่ความสูงเกิน 2 เมตร ถ้า
จาเป็นต้องกระโดดให้กระโดดลงได้เฉพาะปากทาง (ประตู) เข้าแพชูชีพเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงที่จะกระโดดลงสู่พื้น
แพโดยตรง ให้กระโดดลงที่ท่อรับน้าหนักเพื่อป้องกันพื้นแพชารุด ถึงแม้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ทาให้แพ
กางออกให้ใช้ได้นั้นจะไม่เป็นพิษ แต่ถ้ามีการรั่วไหลสะสมอยู่ภายในแพขณะที่ปิดประตูทางเข้าแพไว้นานๆ ก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สะสมอยู่มากเกินกว่า 4 % / ปริมาตร ก็อาจจะทาให้เป็นอันตรายขาดอากาศหายใจได้
ถ้าปิดประตูแพไว้จะต้องพยายามระบายอากาศทุกๆ ครึ่งชั่วโมง หรือเมื่อได้กลิ่นก๊าซมากขึ้น
๓ สาเหตุที่ทาให้แพพลิกคว่าก็คือ สมอทะเลไม่ทางานอย่างถูกต้อง หรือเมื่อผูกแพหลายๆ แพเข้าด้วยกัน
ระยะชิดกันเกินไป ทาให้เกิดพื้นที่หนาแน่นรับกับคลื่นลมได้มากและรุนแรง ทาให้แพพลิกคว่าได้ง่าย เมื่อเกิด
เหตุการณ์ใดๆ ขึ้นขณะอยู่บนยานชูชีพ อย่าตื่นตกใจจนเกินเหตุ พยายามควบคุมสติอารมณ์ให้ได้ โดยเฉพาะขณะนั่ง
อยู่ในแพชูชีพ ถ้าแพพลิกคว่าอากาศที่มีอยู่ในโพลงของแพชูชีพมีเพียงพอที่จะมีเวลาหาทางออกจากแพชูชีพได้อย่าง
ปลอดภัย และถึงแม้ยานชูชีพจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม อย่าละทิ้งยานชูชีพเด็ดขาด ให้พยายามเกาะไว้ให้ได้ เพื่อรอ
เวลาการแก้ไขถ้าแพชูชีพพลิกคว่า คลื่นลมสงบแล้ว วิธีการกู้แพให้ขึ้นไปยืนใต้แพบริเวณขวดแก๊ส มือจับที่เชือกซุงใต้
แพ โหนตัวด้วยน้าหนักให้แพทางตรงข้ามยกตัวขึ้นจากน้าให้ได้ ถ้าใช้ลมเข้าช่วยจะทาให้แพยกตัวได้เร็ว โดยยืนหัน
หน้าทวนกระแสลมแล้วใช้น้าหนักโหนตัว

26
การปฏิบัติเมื่อเกิดการสละเรือใหญ่ และ การดารงชีพ
หลังจากหย่อนเรือช่วยชีวิตลงไปในน้าแล้ว ไม้สะเกตุควรถอดทิ้งไป มีดหรือของมีคมที่จะทาอันตรายกับยานชู
ชีพหรือใช้เป็นอาวุธได้ ตลอดจนของมึนเมา บุหรี่ ใบยา ห้ามนาลงไปในยานชูชีพ แต่ถ้ามีผู้นาลงไปโดย
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้ที่ทาหน้าที่เป็นหัวหน้าจะต้องเรียกยึดมารวมไว้เป็นส่วนกลาง สิ่งใดที่พิจารณาแล้วเป็นประโยชน์ก็
เก็บเอาไว้ ถ้าสิ่งใดเก็บเอาไว้อาจจะเป็นอันตรายได้ก็ให้ทิ้งน้าไป แต่ก่อนจะทิ้งน้าไปควรจะบอกให้เจ้าของรู้ด้วยว่าได้
ทิ้งน้าไปแล้ว ทั้งนี้ผู้เป็นเจ้าของจะได้ไม่กังวลว่าของตัวเองยังอยู่ที่ส่วนกลาง แต่ถ้าทิ้งไปโดยไม่บอกหรือแจ้งให้เจ้าของ
เขารู้ ความรู้สึกของผู้ที่นาลงมาก็อาจจะร้องขอไปกินไปใช้ไประงับความหนาวสั่นความหิวกระหายโดยเฉพาะเหล้า-
บุหรี่ เมื่อหัวหน้าชุดไม่ให้หรือบอกว่าทิ้งน้าไปแล้ว ความระแวงสงสัยว่าทิ้งไปจริงหรือไม่ก็จะเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ
ความเชื่อมั่นเชื่อถือจะลดน้อยลงไป ทาให้การปกครองบังคับบัญชาเกิดปัญหาตามมาด้วย
๑ รองเท้าที่มีส่วนที่สามารถเสียดสีพื้นแพให้เกิดความเสียหายได้ควรถอดทิ้งไป
๒ กระโจมวิทยุฉุกเฉิน (EPIRBS) ควรจะเริ่มทางานทันที ภายหลังจากการสละเรือใหญ่เกิดขึ้น
๓ พยายามปัสสาวะให้ได้ภายใน 2 – 3 ชั่วโมงแรก เพื่อลดความเครียด และไม่ควรวิตกกังวลเกี่ยวกับการ
ขับถ่ายหรือที่ที่จะทาการขับถ่าย ถุงรองรับอาเจียนที่มีอยู่ในถุงดารงชีพก็สามารถนามาใช้ได้
๔ ขณะที่อาศัยอยู่ในแพชูชีพในเวลากลางวัน ควรสูบลมเข้าไปในส่วนของหลังคาแพเพื่อให้ทาหน้าที่
เป็นเพดานช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้ ในเวลากลางคืนควรสูบลมเข้าส่วนพื้นของแพเพื่อจะได้รองรับน้าหนัก
ของคนไม่ให้ส่วนของก้นถูกหล่อน้าซึ่งจะทาให้หนาวเย็นได้ในเวลากลางคืน
๕ เรือ/แพชูชีพที่ไม่มีวัสดุสะท้อนเรดาร์ (Radar Reflect) ให้ใช้น้าสาดขึ้นไปบนหลังคาหรือกระโจมของแพ
เพื่อช่วยให้เกิดการสะท้อนเรดาร์ที่กาลังค้นหาได้

27
๓. การปฏิบัติเมื่อเกิดคนตกน้าจากเรือ
สถานีช่วยเหลือคนตกน้า (Man Overboard)
สัญญาณของสถานีคนตกน้า คือ Three long blast followed by announcement on the PA
system man overboard 3 ครั้ง ผู้ที่พบคนตกน้าจะต้องโยนห่วงชูชีพที่ใกล้ที่สุด ให้แก่ผู้ที่ตกน้าในทันที และ
ประกาศแจ้งไปที่สะพานเดินเรือ โดยพูดว่า “คนตกน้าทางกาบซ้าย” หรือ “คนตกน้าทางกาบขาว” นายยามบน
สะพานเดินเรือควรรีบปล่อยห่วงชูชีพที่มีควันและไฟสัญญาณ พร้อมกับกดสัญญาณคนตกน้า และนาเรือหลีกเลี่ยงคน
ตกน้าทางกาบนั้นๆ โดยทาการหมุนเรือแบบ Williemson Turn or Anderson Turn

28
ลูกเรือที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเรือกู้ภัย ทาการเตรียมเรือเพื่อปล่อยลงไปช่วยคนตกน้า (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ)
สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. Command team

Command team
Master นายเรือ ทาหน้าที่ในการควบคุม สั่งการทั้งหมด และวางแผนในการนาเรือ
3rd Officer ผู้ช่วยต้นเรือ ทาหน้าที่ในการให้สัญญาณ หาตาบลที่ของคนตกน้า และระยะทาง
AB 1 นายท้าย 1 ทาหน้าที่ถือท้ายตามคาสั่ง

2. Search and Rescue team

Search and Rescue team


Chief Officer ต้นเรือ ทาหน้าที่รับผิดชอบการนาเรือกู้ภัยลงน้า เพื่อไปช่วยคนตกน้า
3rd Engineer นายช่างกลที่ 3 ทาหน้าที่ในการดูแลเครื่องยนต์เรือกู้ภัย
Bosun สรั่งเรือ ทาหน้าที่ในการควบคุมกว้านของเรือกู้ภัย ในการนาเรือ ขึ้น – ลง
AB 2 นายท้าย 2 ลงไปในเรือกู้ภัย เพื่อคอยช่วยเหลือคนตกน้า และทาหน้าที่อุดรูดาว
ถือท้าย
AB 3 นายท้าย 3 ทาหน้าที่ในการปลด FWD. lashing, AFT.lashing และ
FWD.painter คอยส่งเชือกหัวเรือให้นา ไปต๋งไว้สาหรับการหย่อนเรือ
กู้ภัย

29
3. Back-up team

Back-up team
Chief engineer ต้นกล ทาหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมดในห้องเครื่อง
2nd engineer รองต้นกล ทาหน้าที่ในการเตรียมการใช้เครื่องจักรใหญ่ และรอรับคาสั่งในห้อง
เครื่อง
Electrician ช่างไฟฟ้า ทาหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือในห้องเครื่อง
Eng/Officer นายช่างกล ทาหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือในห้องเครื่อง
Oiler 1 ช่างเครื่อง 1 ทาหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือในห้องเครื่อง
Oiler 2 ช่างเครื่อง 2 ทาหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือในห้องเครื่อง

4. Medical and Reserve team

Medical and Reserve team


2/nd Officer ต้นหน ทาหน้าที่ควบคุมและเตรียมการปฐมพยาบาล
Cook สหโภช ทาหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

วิธีการปฏิบัติเมื่อเก็บคนตกน้าได้แล้ว
1. เมื่อเจ้าหน้าที่ ที่ลงไปพร้อมกับเรือกู้ภัยและสามารถเก็บคนตกน้าได้แล้ว ให้รีบแจ้งมายังสะพานเดินเรือ
2. นายเรือ(Master) จะได้ทาการออกคาสั่ง ทีมปฐมพยาบาล ให้เตรียมการรับคนตกน้า จากเรือกู้ภัย
3. เมื่อเรือกู้ภัย มาถึงเรือใหญ่แล้ว ให้ทาการขนย้ายคนตกน้าจากเรือกู้ภัยและส่งให้ทีมปฐมพยาบาล
4. ทีมปฐมพยาบาล ทาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต่อไป

30
KM TEAM

ชื่อ-นามสกุล ตาแหน่งงาน สังกัดหน่วยงาน หน้าที่

นายอานวย ศรีครุฑ บรรณารักษ์ชานาญการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ประธานคณะทางาน


นายคาสัน น้อยบุดดี เจ้าพนักงานเผยแพร่ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายจักรพงษ์ ศีลวินัยพร นายช่างกลเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายศักดิพงษ์ เพ็งแจ่ม นักเดินเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายธีรุตม์ ฉิมพลี นักเดินเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายประธาน จูตะกะสูต นักเดินเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายนนทพัฒน์ ภูมิราช นักเดินเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายนิพนธ์ พรเจริญ นายช่างกลเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายพิษณุ สีตะปัน นายช่างกลเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายณัฐวุฒิ กรวยทอง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางาน
นายเอกพจน์ เขม้นงาน นักเดินเรือปฏิบัติการ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางานและ
เลขานุการ
นายศรวัสย์ รัตนสากลชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี คณะทางานและ
ผู้ช่วยเลขานุการ

31

You might also like