B 64 Bebc 72 Ae 5222 Cefde

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี บทละครพูดคาฉันท์ เรื่องมัทนะพาธา

โดย

นางสาวปัณณชา เลิศลาภนนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๘


นายกวิน โลหบูรณนนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๙
นางสาวชิโณรถ ต๊ะวิชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๑๙

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึง่ ของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี บทละครพูดคาฉันท์ เรื่องมัทนะพาธา

โดย

นางสาวปัณณชา เลิศลาภนนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๘


นายกวิน โลหบูรณนนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๙
นางสาวชิโณรถ ต๊ะวิชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๑๙

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึง่ ของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
คานา
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
อ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา ในด้านการดาเนินเรื่อง ของบทละครพูดคาฉันท์ การพิจารณาด้าน
ภาษาและประโยชน์หรือคุณค่าของวรรณคดี
ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาความรู้มาจาก หนังสือเรียนวรรคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า หนังสือเรียนรายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช ๒๕๕๑

ผู้จัดทาขอขอบคุณ อาจารย์พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา ทางคณะ


ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน หากมีข้อเสนอแนะหรือ
การผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทาขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐
สารบัญ
หน้า
๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม ๑
๑.๑. เนื้อเรื่อง ๑
๑.๒.โครงเรื่อง ๑
๑.๓. ตัวละคร ๑
๑.๔. ฉากท้องเรื่อง ๒
๑.๕. บทเจรจาหรือราพึงราพัน ๒
๑.๖. แก่นเรื่อง ๒

๒.การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม ๓
๒.๑. การสรรคา ๓
๒.๒. การเรียบเรียงคา ๔
๒.๓. การใช้โวหาร ๖

๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม ๗
๓.๑. คุณค่าด้านอารมณ์ ๗
๓.๒. คุณค่าด้านคุณธรรม ๗
๓.๓. คุณค่าด้านอื่นๆ ๘
การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

๑.๑ เนื้อเรื่อง
บนสวรรค์นั้นมีเทพบุตรนามว่าสุเทษณ์ซึ่งหลงรักเทะธิดามัทนา แต่นางกลับไม่ปลงใจด้วย สุเทษณ์จึงใช้
มนตร์สะกดเรียกนางมา มัทนาเจรจากับสุเทษณ์อย่างคนไม่รู้สึกตัว สุเทษณ์จึงไม่โปรดและได้คลายมนตร์ออก
เมื่อมัทนารู้สึกตัวจึงตอบปฏิเสธสุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้นางไปเกิดในโลกมนุษย์ มัทนาเกิดไปเป็นดอก
กุหลาบตามคาขอของนาง แต่มัทนาสามารถแปลงเป็นมนุษย์เฉพาะวันเพ็ญเพียงวันและคืนเดียว ต่อเมื่อมีความรัก
จึงจะพ้นสภาพจากการเป็นดอกไม้ หากเป็นทุกข์ให้มาขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ในป่าหิมะวัน ฤษีกาละทรรศิ
นพบต้นกุหลาบจึงขุดไปปลูกไว้ที่อาศรม เมท่อมัทนากลายเป็นมนุษย์ก็เลี้ยงดู
รักใคร่เหมือนลูก มัทนาได้พบรักกับท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งเมืองหัสตินาปุระ ทั้งสองสาบานรักต่อกันทพให้มัทนาไม่
ต้องกลับไปเป็นกุหลาบอีก พระนางจัณฆีมเหสีของชัยเสนรู้เรื่องจึงเกิดอาการหึงหวงและแค้นใจมาก จึงใส่ร้ายมัท
นาว่ามัทนารักกับทหารเอก ท้าวชัยเสนจึงสั่งให้ประหารทั้งสอง ต่อมาท้าวชัยเสนรู้ความจริงก็รู้สึกเสียใจมาก
อามาตย์เอกจึงทูลความจริงว่ามัทนายังมีชีวิตอยู่ ชัยเสนเดินทางไปรับนางมัทนาแต่ก็สายไปแล้ว นางมัทนาได้ไปขอ
ความช่วยเหลือจากสุเทษณ์แต่ถูกสาปให้เป็นกุหลาบตลอดไปเพราะมัทนาไม่รับรักของเขา ท้าวชัยเสนจึงนากุหลาบ
กลับไปปลูกที่เมืองของตน

๑.๒ โครงเรื่อง
มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคาฉันท์ที่กล่าวถึงตานานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม่ที่สวยงามแต่ไม่เคยมี
ตานานในเทพนิยาย จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีต้นกาเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาป นอกจากนี้เนื้อเรื่องยัง
แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก และอนุภาพที่ยิ่งใหญ่ของความรัก

๑.๓ ตัวละคร
สุเทษณ์เป็นเทพบุตรที่เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตนเอง ไม่คานึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และหมกมุ่นในตัณหา
ราคะ
“ผิวะนางเผอิญชอบ มรุอื่นก็ข้าพลัน
จะทุรนทุรายศัล- ยะ บ่ อยากจะยินยล;
เพราะฉะนั้นจะให้นาง จุติสู่ ณ แดนคน,”
บทนี้กล่าวให้เห็นว่าสุเทษณ์จะส่งให้มัทนามาเกิดที่โลกมนุษ์ เพราะว่านางไม่ยอมรับรักของตน ทาให้รู้ว่าสุ
เทษณ์เป็นเทพที่เอาแต่ใจตนเอง

มัทนามีความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา คิดอย่างไรก็พดู อย่างนั้น ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม แต่ความตรงไปตรงมา


ของมัทนาทาให้นางได้รับความยากลาบากและทุกข์ใจ ดังบทละครพูดที่มัทนากล่าวว่า
“อ้าอันเทพศักดิ์สิทธิ์ซึ่ง พระจะลงพระอาญา,
ข้าเป็นแต่เพียงข้า บ มิมุ่งจะอวดดี
หม่อมฉันนี่อาภัพ และก็โชค บ่ พึงมี,
จึงไม่ได้รองศรี วรบาทพระจอมแมน”
บทนี้กล่าวให้เห็นว่ามัทนามินิสัยไม่อวดดี และยอมรับในการตัดสินใจของผู้อื่น ทาให้เห็นว่านางเป็นคน
ตรงไปตรงมา นอกจากนี้มัทนายังเป็นคนที่ซื่อตรงและมั่นคงในความรักอีกด้วย

๑.๔ ฉากท้องเรื่อง
เรื่องมัทนะพาธานัน้ เกิดขึ้นบนสวรรค์ ทั้งมัทนาและสุเทษณ์เป็นเทพ ซึ่งเทพนั้นอาศัยอยุ่บนสวรรค์
นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากการที่สุเทษณ์จะสาปให้มัทนามายังโลกมนุษย์อีกด้วย

๑.๕. บทเจรจาหรือราพึงราพัน
เป็นบทตอนที่สุเทษณ์พูดกับมัทนาและขอให้มัทนารับรักของตน พร้อมกับถามคาถาม ซึ่งมัทนาก็ไม่ปฏิเสธ
เนื่องจากถูกมนตร์สะกด

สุเทษณ์ “หากพี่จะกอดวธุและจุม- พิตะเจ้าจะว่าไร?”


มัทนา “ข้าบาทจะขัดฤก็มิได้ ผิพระองค์จะทรงปอง.”
สุเทษณ์ “ว่าแต่จะเต็มฤดิฤหาก ดนุกอดและจูบน้อง?”
มัทนา “เต็มใจมิเต็มดนุก็ต้อง ประติบัติ์ระเบียบดี.”
๑.๖ แก่นเรื่อง
เรื่องมัทนะพาธานัน้ แสดงให้เห็นว่าความรักสามารถทาให้เกิดความทุกข์ได้ แสดงให้เห็นว่าความรักนั้นมี
อานุภาพมาก ผู้ใดมีความรักมักจะมีความหลงตามมาด้วย และในบางครั้งความหลงก็นาไปสู่ความสูญเสียได้
การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

การประพันธ์วรรณคดีหรือวรรณกรรม การใช้ภาษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่สาคัญที่ทาให้ผู้อ่านรู้สึก
ซาบซึ้ง ได้อรรถรส เข้าใจในบทกวีมากขึ้น ให้เกิดความงามประจักษณ์ในวรรรณคดีและวรรณกรรม และยังให้
เพิ่มพูนความรู้ทางภาษาให้แก่ผู้อ่าน หากศึกษาถ้อยคาภาษาโดยละเอียดถ่องแท้ก็ทาให้เกิดความแตกฉานในเรื่อง
ภาษาขึ้นได้มาก ความรู้ทางภาษาที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม โดยเฉพาะวรรณคดี จะส่งผลต่อการศึกษาวรรณคดี
ในระดับที่สูงหรือยากยิ่ง ๆ ขึ้นไป ภาษาที่กวีใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามให้แก่บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองนัน้ มี
หลักสาคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน ๓ ข้อ คือ

๒.๑ การสรรคา
การสรรคา คือ การเลือกใช้คาให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดย
คานึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคาประพันธ์ การใช้ถ้อยคาและรูปแบบคาประพันธ์เหมาะสมกับ
เนื้อหา จะทาให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามเกิดความประทับใจ อยากติดตามอ่าน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา ด้วย
คาประพันธ์ประเภทฉันท์และกาพย์ บางตอนใช้กาพย์ยานี ใช้ร้อยแก้วในการดาเนินเรื่องรวดเร็ว ใช้ฉันท์เมื่อ
ต้องการจังหวะเสียงหรือเน้นอารมณ์ คาประพันธ์ประเภทฉันท์นั้นบังคับครุ ลหุ ซึ่งหมายถึงลักษณะของเสียงคา
หรือพยางค์ เล่นเสียงหนักเบา เช่น

ดูก่อนสุชาตา มะทะนาวิไลศรี
ยามองค์สเุ ทษณ์มี วรพจน์ประการใด
นางจงทานูลตอบ มะธุ รสธตรัสไซร้
เข้าใจมิเข้าใจ ฤก็ตอบพะจีพลัน

จากตัวอย่างบทประพันธ์ที่ได้ยกมาจากบทละครพูดคาฉันท์ เรื่องมัทนะพาธา เป็นคาประพันธ์ประเภท อินทร


วิเชียรฉันท์ ๑๑ ซึ่งได้มีการนาคาครุ ลหุมาใช้ โดยคาที่เป็นสีดา คือครุ หรือคาเสียงหนัก ส่วนคาที่เป็นตัวอักษรสีน้า
เงืน คือคาลหุ หรือคาเสียงเบา

บทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา นิยมใช้คาภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต บางตอนยังต้องการเน้น


อารมณ์ที่มีความอ่อนหวานจึงใช้ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ บางตอนต้องการความสับสน ความคึกตะนอง ความเกรี้ยว
กราด น่ากลัวจะใช้ จิตรปทาฉันท์ เช่น
ฟังถ้อยคาดารัสมะธุระวอน ดนุีผิ
น้ เอออวย.
จักเป็นมุสาวะจะนะด้วย บมิตรกะความจริง.
วันชายประกาศวะระประทาน ประดิพัทธะแด่หญิง,
หญิงควรจะเปรมกะละมะย่ีง ผิวะจิตตะตอบรัก;

บทประพันธ์ทีได้
่ ยกมาเป็นตัวอย่างน้ีนเน้นความอ่อนหวาน และมีการใช้คาบาลีและสันสกฤตเพื่อสื่อความหมายได้
กระชับชัดเจน

เลือกคาโดยคานึงถึงคาพ้องเสียงและคาซ้า
เมื่อนาคาพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทาให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้
ในบทพรรณนาหรือบทคร่าครวญยิ่งทาให้สะเทือนอารมณ์ เช่น

สุเทษณ์ ยิ่งฟังพะจีศรี ก็ระตีประมวญประมูล,


ยิ่งขัดก็ยิ่งพูน ทุขะท่วมระทมหะทัย!
การใช้คาซ้า ยิ่งฟัง ยิ่งขัด และยิ่งพูน ทาให้บทประพันท์ข้างตนทวีความเข้มข้นมากขึ้น โดยสื่อถึงการที่สุ
เทษณ์ยิ่งฟังคาพูดที่มัทนากล่าว ก็ยิ่งขัดใจและทุกข์ใจ

สุเทษณ์ ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย.


มัทนา ความรักละทดอุระละเหี่ย ฤ จะหายเพราะเคลียคลอ?
สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บ มิตอบจะจีพอ?
มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!

จากบทประพันธ์ที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ แสดงให้เห็นของการใช้คาซ้าในการขึ้นต้นของแต่ละบาท แสดงถึง


การโต้เถียงระหว่างสุเทษณ์และมัทนาที่เร่งจังหวะรวดเร็วในการตอบโต้กัน

๒.๒ การเรียบเรียงคา
การเรียบเรียงคา คือการจัดวางคาที่เลือกสรรแล้วให้มาเรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องตามจังหวะ ตาม
โครงสร้างภาษา หรือตามฉันทลักษณ์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น
เรียงข้อความที่สาคัญไว้ท้ายสุด เช่น
สุเทษณ์ ด้วยอานาจอิทธิ์ฤทธี อันประมวลมี ณ ตัวกูผู้แรงหาญ,
กูสาปมัทนานงคราญ ให้จุติผ่าน ไปจากสุราลัยเลิศ,
สู่แดนมนุษย์และเกิด เป็นมาลีเลิศ อันเรียกว่ากุพชะกะ,
ให้เป็นเช่นนั้นกว่าจะ รู้สึกอุระ ระอุเพราะรักรึงเข็ญ.
ทุกเดือนเมื่อถึงวันเพ็ญ ให้นางนี้เป็น มนุษย์อยู่กาหนดมี
พียงหนึ่งทิวาราตรี แต่หากนางมี ความรักบุรุษเมื่อใด,
เมื่อนั้นแหละให้ทรามวัย คงรูปอยู๋ไซร้ บ คืนกลับเป็นบุปผา,
หากรักชายแล้วมัทนา บ มีสุขา ภิรมย์เพราะเริดร้างรัก,
และนางเป็นทุกข์ยิ่งนัก จนเหลือที่จัก อดทนอยู่อีกต่อไป,
เมื่อนั้นผิว่าอรไท กล่าววอนเราไซร้ เราจึ่งจะงดโทษทัณฑ์.

เรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับ จนถึงขั้นสุดท้ายซึ่งสาคัญที่สุด เช่น


นางมทะนา จุติอย่านาน
จงมะละฐาน สุระแมนสวรรค์,
ไปเถอะกาเนิด ณ หิมาวัน
ดังดนุลั่น วจิสาปไว้!

เรียงถ้อยคาให้เป็นประโยคคาถามเชิงวาทศิลป์ แต่ไม่ได้ต้องการคาตอบจริงๆ เช่น

สุเทษณ์ รักจริงมิจริง ฤ ก็ไฉน อรไท บ่ แจ้งการ?


มัทนา รักจริงมิจริงก็สุระชาญ ชยะโปรดสถานใด?
สุเทษณ์ พี่รักและหวังวธุจะรัก และ บ ทอด บ ทิ้งไป.
มัทนา พระรักสมัคร ณ พระหทัย ฤ จะทอดจะทิ้งเสีย?
สุเทษณ์ ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย.
มัทนา ความรักละทดอุระละเหี่ย ฤ จะหายเพราะเคลียคลอ?
สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บ มิตอบจะจีพอ?
มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!
ข้างต้นเป็นการโต้เถียงระหว่างสุเทษณ์ทีกับมัทนาแสดงถึงความเข้มข้นของเนื้อเรื่อง

๒.๓ การใช้โวหาร
การใช้กวีโวหาร หรือ โวหารภาพพจน์ คือ การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้
อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ ต่างกับการใช้ภาษาอย่างตรงไปตรงมา
การใช้โวหารภาพพจน์มีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้

อุปมา
อุปมา หมายถึง การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง การเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้จะมี
คาแสดงความหมายว่า “เหมือน”ปรากฏอยู่ด้วย เช่น เหมือน เสมือน ดุจ ประดุจ ดัง เพียง คล้าย
ตัวอย่างเช่น
สุเทษณ์ แน่ะมายาวิน เหตุใดยุพิน จึ่งเป็นเช่นนี้?
ดูราวมะเมอ เผลอเผลอฤดี ประดุจไม่มี ชีวิตจิตใจ,
คราใดเราถาม หล่อนก็ย้อนความ เหมือนเช่นถามไป,
ดังนี้จะยวน ชวนเชยฉันใด ก็เปรียบเหมือนไป พูดกับหุ่นยนต์.

จากบทประพันธ์ข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบว่านางมัทนาพูดจาตอบโต้สุเทษณ์ราวกับหุ่นยนต์

สุเทษณ์ อ้ามัทนาโฉมฉาย เฉิดช่วงดังสาย วิชชุประโชติพร


ไหนไหนก็เจ้าสายสมร มาแล้วจะร้อน จะรนและรีบไปไหน?

ตัวอย่างที่ได้ยกมานี้ เป็นการเปรียบเทียบความงามของนางมัทนาว่าโชติช่วงสว่างไสวดั่ง แสงของสายฟ้า


ในท้องฟ้า

มายาวิน ไม้เรียกผะกากุพฺ- ชะกะสีอรุณแสง


ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย;
ดอกใหญ้และเกสร สุวคนธะมากมาย,
อยู่ทนบวางวาย มธุรสขจรไกล;
อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจะเข็มประดับไว้,
บทประพันธ์ข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบสีของกุหลาบว่าแดงเหมือนแก้มหญิงสาวเมื่อเขินอาย และยัง
เปรียบเทียบหนามของกุหลาบว่าเป็นดั่งเข็มประดับไว้ของผู้หญิง

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
คุณค่าด้านอารมณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถ่ายทอดอารมณ์ความเจ็บปวดจากความรักได้อย่างดีเยี่ยม
ทาให้ผู้อ่านสื่อถึงและเข้าใจอารมณ์ของตัวละคนที่กาลังพูดอยู่ เช่น ตัวอย่างในตอนที่สุเทษน์คลายมนตร์ให้มัทนา
มัทนาจึงโอดครวญว่าทาไมสุเทษน์จึงทาเช่นนี้

สุเทษณ์ “อ้ามัทนาโฉมฉาย เฉิดช่วงดังสาย วิชชุประโชติอัมพร


ไหนไหนก็เจ้าสายสมร มาแล้วจะร้อน จะรนและรีบไปไหน?”
สุเทษณ์ “เทวะ, อันข้านี้ไซร้ มานี่อย่างไร บทราบสานึกสักนิด;
จาได้ว่าข้าสถิต ในสวนมาลิศ และลมราเพยเชยใจ,
แต่อยู่ดีดีทันใด บังเกิดร้อนใน อุระประหนึง่ ไฟผลาญ,
ร้อนจนสุดที่ทนทาน แรงไฟในราน ก็ล้มลงสิ้นสมฤดี.
ฉันใดมาได้แห่งนี้? หรือว่าได้มี ผู้ใดไปอุ้มข้ามา?
ขอพระองค์จงเมตตา และงดโทษข้า ผู้บุกรุกถึงลานใน.”
สุเทษณ์ “อ้าอรเอกองค์อุไร พี่จะบอกให้ เจ้าทราบคดีดังจินต์;
พี่เองใช้มายาวิน ให้เชิญยุพิน มาที่นี้ด้วยอาถรรพณ์”
สุเทษณ์ “เหตุใดพระองค์ทรงธรรม์ จึ่งทาเช่นนั้น ให้ข้าพระบาทต้องอาย
แก่หมู่ชาวฟ้าทั้งหลาย? โอ้พระฦสาย พระองค์จงทรงปรานี.”

ตัวอย่างของบทที่ได้ยกมานั้น เมื่ออ่านแล้วจะรู้สึกได้ถึงอารมณ์ของตัวละครที่กล่าวออกมาและเข้าถึง
อารมณ์ ของทั้งมัทนาและสุเทษณ์ ของตัวละครว่าตัวละครเหล่านี้กาลังรู้สึกอย่างไร

คุณค่าด้านคุณธรรม

ในบทละคนคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีการสะท้อนสังคมเรื่อง “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” และ “ความรักทา


ให้คนตาบอด” ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นโทษของความรัก เวลาเรามีความรัก ความสามารถในการมองอะไรรอบๆ จะ
ค่อยๆ เสียไป ในบทละครพูดคาฉันท์นี้ สุเทศณ์รักนางมัทนา แต่พอไม่สมหวัง สุเทศณ์ก็เป็นทุกข์ สุเทศณ์พร้อมที่จะ
ทาลายหลังจากสุเทศณ์ไม่สมหวัง

บทละครนี้ยังมีคุณค่าด้านคุณธรรมเรื่อง ผู้หญิงควรจะระวังตัวจากผู้ชายให้ดี การสาปให้มัทนาเป็นดอก


กุหลาบนั้น สื้อถึงความสวยงามของดอกกุหลาบ แต่หนามของดอกกุหลาบสื่อถึงสติปัญญา หนามของดอกกุหลาบ
จึงเป็นเกราะป้องกันจากคนที่จะเด็ดดอกกุหลาบออกไป ถ้าผู้หญิงมีความเฉลียวฉลาดรู้ทัน ก็จะรอดจากผู้ชายที่
หมิ่นศักดิ์ศรีได้

คุณค่าด้านอื่นๆ: วรรณศิลป์

ในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธานั้น ไม่ได้ประกอบด้วยคาฉันท์อย่างเดียว แต่ประกอบด้วย กาพย์


ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ และบทเจรจาร้อยแก้วด้วย และเวลาใช้แล้วแต่สถานการณ์ โดยร้อยแก้วจะถูก
ใช้เวลาต้องการจะดาเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว กาพย์จะถูกใช้เวลาต้องการจังหวะเสียงและคาคล้องจอง และฉันท์จะ
ถูกใช้ในเวลาที่ผู้เขียนต้องการจะเน้นอารมณ์

ตัวอย่างกาพย์:
สุเทษณ์ รักจริงมิจริง ฤ ก็ไฉน“ อรไท บ่ แจ้งการ?”
มัทนา รักจริงมิจริงก็สุระชาญ“ ชยะโปรดสถานใด?”
สุเทษณ์ พี่รักและหวังวธุจะรัก“ และ บ ทอด บ ทิ้งไป”.
มัทนา พระรักสมัคร ณ พระหทัย“ ฤ จะทอดจะทิ้งเสีย?”
สุเทษณ์ ความรักละเหี่ยอุระระทด“ เพราะมิอาจจะคลอเคลีย”.
มัทนา ความรักระทดอุระละเหี่ย“ ฤ จะหายเพราะเคลียคลอ?”
สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา“ บ มิตอบพะจีพอ?”
มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ“ มะทะนามิพอดี”!

ตัวอย่างร้อยแก้ว:

(พิณพาทย์ทาเพลงรัว มายาวินยกมือไหว้ แล้วเสกเป่าไปทางนางมัทนา. ฝ่ายมัทนาค่อยๆ รู้สึกตัว, เอามือ


ลูบตาเหมือนคนตื่นนอน, และพอจบรัวก็พอได้สติบริบูรณ์. บัดนี้ นางเหลียวแลไปเห็นสุเทษณ์ก็ตกใจ, ตั้งท่าเหมือน
จะหนีไป, แต่สุเทษณ์ขวางทางไว้)

ตัวอย่างฉันท์:
สุเทษณ์ เออ! หล่อนนี้มาล้อเล่น อันตัวพี่เป็น คนโง่ฤาบ้าฉันใด?
มัทนา หม่อมฉันเคารพเทพไท ทูลอย่างจริงใจ ก็ บ มิทรงเชื่อเลย,
กลับทรงดารัสเฉลย ชวนชักชมเชย และชิดสนิทเสนหา.
พระองค์ทรงเป็นเทวา ธิบดีปรา- กฎเกียรติยศเกรียงไกร,
มีสาวสุรางค์นางใน มากมวลแล้วไซร้ ในพระพิมานมณี,
จะโปรดปรานข้าบาทนี้ สักกี่ราตรี? และเมื่อพระเบื่อข้าน้อย,
จะมิต้องนั่งละห้อย นอนโศกเศร้าสร้อย ชะเง้อชะแง้แลหรือ?
หม่อมฉันนี้จะเป็นผู้ถือ สัจจาหนึ่งคือ ว่าแม้มิรักจริงใจ,
ถึงแม้จะเป้นชายใด ขอสมพาสไซร้ ก็จะมิยอใพร้อมจิต,
ดังนี้ขอเทพเรืองฤทธิ์ โปรดข้าน้อยนิด, ข้าบาทขอบังคมลา.
อ้างอิง

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หนังสือเรียน รายวิชาพืน้ ฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕. พิมพ์


ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๖. ๑๓๑ หน้า

กิ่งกาญจน์. การใช้ภาษาให้งดงาม [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑. สืบค้นจาก


https://kingkarnk288.wordpress.com/2015/08/24/การใช้ภาษาให้งดงาม/

You might also like