Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 36

สารบัญ

The Subject 6 Insight 20


The “Not-So-Secret” Garden Meet the Bonsai Designer

Creative Entrepreneur 22
Ziamese Sisters รสชาติแหงคุณภาพจากธรรมชาติ

The Object 7
โคเคดามะ… ศิลปะมีชีวิต

Creative Resource 8 Creative City 24


Featured Book/ Book/ DVD / DVD Marlborough บมมูลคาเมืองในขวดไวน

Matter 10 The Creative 28


The Sunflower Home Heliostat ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล Let your passion live, share it with future.

Classic Item 11
Greenhouse

Cover Story 12
Plant a Garden

Creative Will 34
พันพรรณ… สวนปนพันธุเพื่อชีวิตยั่งยืน

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล
ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข,
ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล
สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l อคีรัฐ สะอุ
จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร
622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ผูออกแบบปก l The RAXX
โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th นักออกแบบกราฟก สไตลลิสต และศิลปนผูมี
พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม ทวงทำนองที่ปราศจากเนื้อรอง ไมวาจะเปนเพลงแจส
หรือเพลงพื้นเมือง เปนแรงบันดาลใจ
ผลงาน : facebook.com/the.raxx.bkk
นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม
และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย
จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ
สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค
(Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส
แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE
บทบรรณาธิการ

เรือนเพาะชำ�รายได้จากความเขียว
ที่เกาะคิวชู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น บริษัทรถไฟเจอาร์ คิวชู กำ�ลังทำ�ในเรื่องที่เป็นมากกว่าการ
บริหารตารางการเดินรถไฟ ด้วยตระหนักดีว่า ธุรกิจของพวกเขาไม่ได้ขึ้นกับความเร็วและความ
สะดวกสบายเท่านั้น แต่ความงามของทิวทัศน์สองข้างทางรถไฟยังเป็นจุดขายสำ�คัญที่ดึงดูดลูกค้า
เพื่อให้เข้ามาใช้บริการรถไฟสายนี้ แต่เมื่อหลายปีก่อน ทิวทัศน์จากท้องทุ่ง ไร่นา และฟาร์มดอกไม้
ที่เป็นจุดดึงดูดกลับค่อยๆ เลือนหายไป เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการละทิ้งชีวิตเกษตรกรโดยการขาย
ฟาร์มและไร่ของครอบครัวทิ้ง และหันไปทำ�งานในเมืองแทน ดังนั้น เพื่อที่จะคงความงามจาก
ท้องทุ่งเอาไว้ เจอาร์ คิวชูจึงลงทุนซื้อฟาร์มดอกไม้ในจุดที่รถไฟวิ่งผ่าน และจ้างให้ชาวไร่ยังคงทำ�
ฟาร์มดอกไม้ต่อไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาวิวทิวทัศน์ไว้ได้แล้ว ก็ยังเป็นช่องทางต่อยอดธุรกิจ
การเกษตรให้ชุมชน เพราะหลายปีต่อมาจนทุกวันนี้ ชาวเมืองได้กลับมาเห็นความสำ�คัญและให้
ความสนใจทำ�กิจการฟาร์มดอกไม้และพืชผักผลไม้กนั อย่างหนาตา ทัง้ ยังงอกเงยไปสูก่ ารสร้างสรรค์
เป็นธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งการผลิตสินค้าเพื่อส่งขายบนสถานีและบนขบวนรถไฟ ธุรกิจร้านอาหาร
หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญที่ผู้คนจะแวะเวียนมา
เป็นไปได้ว่า ถ้าเป็นหลายปีก่อน ธุรกิจฟาร์ม สวนต้นไม้ และการเกษตร อาจถูกมองข้าม หรือ
บริษทั รถไฟอาจต้องพ่ายแพ้ตอ่ ความต้องการใช้ชวี ติ ในเมืองของคนรุน่ ใหม่ แต่ปจั จุบนั ความห่วงใย
ต่อโลกใบนี้ได้สร้างความปรารถนาที่จะเป็นส่วนเล็กๆ ของการบ่มเพาะพื้นที่สีเขียว และในอีกด้าน
ก็เป็นแรงผลักดันให้คนรุ่นใหม่ได้หันไปสู่ธุรกิจที่ต้องเดิมพันกับธรรมชาติและวิทยาการการเกษตร
อันทันสมัยอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยที่ทำ�ให้ธุรกิจฟาร์มและสวนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอาจมาจาก
ความเบือ่ หน่ายชีวติ ในเมืองและการมุง่ สูช่ วี ติ กลางแจ้งของนักธุรกิจหน้าใหม่ หรือแม้แต่การมองเห็น
โอกาสงดงามที่จะปั้นธุรกิจสีเขียวเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าจำ�นวนมหาศาล
รายงานจาก ReportLinker ระบุถึงภาวะตลาดของอุตสาหกรรมการทำ�สวนและการใช้ชีวิต
นอกบ้าน (Gardening and Outdoor Living) ทั่วโลกในปี 2011 ว่ามีมูลค่าแตะ 187 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราเติบโตที่ร้อยละ 3 ในตลอด 4 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังประเมินว่า การ
ขยายตัวของธุรกิจดังกล่าวจะเพิ่มเป็นร้อยละ 3.5 ระหว่างปี 2011-2016 และอาจมีมูลค่าตลาดสูง
ถึง 220 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิดอกออกใบอย่างหลากหลาย
ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ เครื่องมือทำ�สวน อุปกรณ์การเพาะปลูก เรือนกระจกเพาะชำ�ต้นไม้ รวมทั้งสื่อ
สิ่งพิมพ์และรายการโทรทัศน์ที่นำ�เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีสีเขียวซึ่งกำ�ลังได้รับความนิยมอย่างสูง
และทำ�รายได้งดงาม จนคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของมูลค่าอุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกัน
ทัง้ หมด โดยมีชนชัน้ กลางชาวจีนเป็นกลุม่ คนทีเ่ พลิดเพลินกับความสดชืน่ ของธุรกิจนีม้ ากทีส่ ดุ ด้วย
อัตราการขยายตัวของธุรกิจที่สูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 10 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องร้อยละ
9 ต่อปีจนถึงปี 2016
ยิง่ เมืองเติบโตรวดเร็วและแออัดขึน้ เท่าไร การได้ปลีกตัวอยูก่ บั สิง่ แวดล้อมอืน่ เพียงชัว่ ครู่ ก็อาจ
ช่วยสร้างแรงบันดาลใจมหาศาล และจะยิง่ ดีขน้ึ ไปอีก เมือ่ การสร้างแรงบันดาลให้คนอืน่ นัน้ สามารถ
สร้างผลตอบแทนที่น่าพึงใจทางธุรกิจได้พร้อมๆ กัน
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
บรรณาธิการอํานวยการ

เมษายน 2556 l Creative Thailand l5


THE SUBJECT
ลงมือคิด

flickr.com/photos/gelatobaby
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

ปัจจุบัน เมื่อการทำ�สวนในเมืองใหญ่กำ�ลังเป็นเทรนด์ใหม่มาแรง คงไม่มีใครรู้ซึ้งถึงเรื่องนี้ดีไปกว่า ทารา คอลลา (Tara Kolla) กูรู


การทำ�ฟาร์มในเขตเมืองเจ้าของ "ซิลเวอร์ เลค ฟาร์มส (Silver Lake Farms)" ฟาร์มดอกไม้แบบเกษตรอินทรียใ์ นเขตซิลเวอร์ เลค
ในลอสแอนเจลิส สหรัฐฯ เรื่องราวของสวนมากเอกลักษณ์แห่งนี้เป็นบทพิสูจน์ได้อย่างดีว่า การทำ�สวนหลังบ้านในเขตเมืองเป็นได้
มากกว่างานอดิเรก หากการลงแรงกับผืนดินยังสามารถงอกงามขึน้ มาเป็นรายได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึง่ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้
ในการประนีประนอม “ความเป็นเมือง” เข้ากับ “ความโรแมนติก” ของการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

ภายหลังการซื้อบ้านในพื้นที่หุบเขาของซิลเวอร์ เลค ในปี 2001 คอลลา อย่างไรก็ดี นั่นไม่ใช่จุดจบของสวนดอกไม้แห่งนี้ แม้จะใช้เวลานาน


ตัดสินใจเปลี่ยนสวนหลังบ้านบนพื้นที่ราว 2.5 ไร่ เป็นสวนปลูกไม้ตัดดอก นับปี แต่คอลลาและเพื่อนเกษตรกรในพื้นที่จับมือกันต่อสู้กับกฎหมาย
และไม้ยืนต้นให้ผลหลากชนิด เพื่อเป็นแหล่งรายได้ในการดูแลรักษาบ้าน ล้าสมัยที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1946 และชัยชนะที่ได้จากการลงคะแนนเสียงแก้
และที่ดินขนาดไม่ย่อมนัก คอลลาซึ่งทิ้งงานประจำ�มาจับเรื่องการทำ�สวน กฎหมายดังกล่าวของสมาชิกสภาเมืองอย่างเป็นเอกฉันท์ในปี 2010 ทำ�ให้
อย่างเต็มตัว ลงเรียนทั้งวิชาพฤกษศาสตร์ ปฐพีศาสตร์ และการจัดสวนที่ คอลลาสามารถกลับมาปลูกดอกไม้เพื่อส่งไปจำ�หน่ายในตลาดของชุมชน
วิทยาลัยเพียร์ซ (Pierce College) และเริ่มขายดอกไม้แสนสวยจากสวน ได้อีกครั้ง รวมถึงเปิดทางให้กับเกษตรกรชาวเมืองลอสแอนเจลิสอื่นๆ
หลังบ้านที่เธอปลูกขึ้นแบบปลอดสารพิษที่ตลาดนัดเกษตรกรในชุมชน ในการทำ�สวนไม้ดอกและไม้ผลในเขตที่อยู่อาศัยเพื่อการจำ�หน่าย ซึ่งมี
ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ขอบเขตที่ชัดเจนมากขึ้น
ความนิยมอย่างสูงในดอกไม้สดหลากสายพันธุ์ที่ปลูกขึ้นอย่างใส่ใจ เรื่องราวของซิลเวอร์ เลค ฟาร์มส ดูเผินๆ อาจเป็นเพียงแค่การ
ของเธอนำ�ความไม่พอใจมายังเพื่อนบ้าน ซึ่งในปี 2009 ได้ร้องเรียนไปยัง ทำ�ความฝันให้กลายเป็นความจริง แต่หยาดเหงื่อและนํ้าตาที่คอลลาแลก
แผนกการก่อสร้างและความปลอดภัยของลอสแอนเจลิส (The City of มาในการเปลี่ยนกฎของเมืองให้เอื้อกับการทำ�สวนนั้น น่าจะเป็นต้นแบบ
Los Angeles Department of Building and Safety) โดยอ้างกฎ ให้กับผู้อาศัยในเขตเมืองทั่วทุกมุมโลกได้ว่า การทำ�สวนให้ทำ�เงินในเขต
เทศบัญญัติห้ามการปลูกดอกไม้ในเขตที่อยู่อาศัยเพื่อการนำ�ไปจำ�หน่าย เมืองไม่วา่ จะเป็นดอกไม้ ผลไม้ หรือพืชผักและสมุนไพรแบบไมโครกรีน
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิซึ่งดอกไม้กำ�ลังเบ่งบานงดงามที่สุด เมืองซึ่งเห็นดีเห็น ซึง่ กำ�ลังมาแรง ใช่จะเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไม่ไปได้ และอาจเป็นกรณีศกึ ษาทีช่ ว่ ย
งามไปกับคำ�ร้องของเพื่อนบ้าน ได้สั่งให้ซิลเวอร์ เลค ฟาร์มส หยุดการ เปลี่ยนนิยามและกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกับพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองได้
ทำ�สวนเพื่อการค้าในทันที ต่อไปในอนาคต
ที่มา: latimes.com, silverlakefarms.com

6l Creative Thailand l เมษายน 2556


becomingbonsai.wordpress.com
THE OBJECT
คิดแล้วทำ�

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

เมื่อแทบทุกๆ วัฒนธรรมในโลกต่างกำ�ลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรีบร้อน จนทำ�ให้แนวคิด อุดมคติ รวมถึงคุณค่าต่างๆ ทางวัฒนธรรม


ค่อยๆ เลือนหายหรือแม้แต่ถูกหลงลืมไป แต่ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็อาจสร้างความน่าสนใจและโอกาสใหม่ที่จะได้
มองเห็นการเปลี่ยนผ่านของคุณค่า รูปแบบ และวิธีการ ที่ถูกปรับไปตามกาลเวลา เช่นเดียวกับศิลปะการรังสรรค์ “โคเคดามะ
(Kokedama)” ที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่

คำ�ว่า “โคเคดามะ” นั้นหมายถึงมอสส์สีเขียวที่ปกคลุมอยู่บนก้อนดิน ชุ่มมาพันให้สนิท ใช้ด้ายพันทับให้แน่นอีกครั้ง รดนํ้าให้ทั่ว ก่อนนำ�ไป


มีประวัติความเป็นมาย้อนไปได้ถึงยุคเอโดะ (ปี 1603-1868) ซึ่งเป็นยุคที่ ประดับตกแต่งได้ตามต้องการ
นิยมปลูกบอนไซแบบ “เนอาไร (Nearai)” ทีเ่ ริม่ ปลูกในกระถาง ก่อนจะ ปัจจุบัน โคเคดามะกำ�ลังได้รับความนิยมอย่างสูงในแวดวงคนรัก
นำ�ออกมาและปล่อยให้เติบโตภายนอก ทั้งนี้ก่อนที่จะนำ�บอนไซและดิน บอนไซทั่วโลก ทั้งในญี่ปุ่นเอง เนเธอร์แลนด์ ไปจนถึงสหรัฐฯ และอังกฤษ
ออกจากกระถาง ศิลปินผู้รังสรรค์จะต้องมั่นใจว่าบอนไซต้นนั้นๆ เติบโต โดยมักได้รบั การกล่าวขานในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ในการปรับเปลีย่ น
และหยั่งรากลงดินแน่นแล้ว เพื่อว่าเมื่อนำ�มาออกมา รากที่อยู่ในดินจะ บอนไซในกระถางให้เป็นประติมากรรมจากธรรมชาติที่สวยงามและ
ยังคงรักษารูปฟอร์มของตัวเองและเติบโตได้ต่อไป น่าทึ่งผ่านกรรมวิธีและกระบวนการใหม่ๆ เช่น ผลงานของชาร์ลอตต์
หลังความนิยมเลีย้ งเนอาไรเริม่ อิม่ ตัว ก็ได้มกี ารพัฒนาและปรับเปลีย่ น แคเธอรีน (Charlotte Catherine) ที่นำ�ศาสตร์แห่งการจัดวางแท่นบูชา
รูปแบบการเลีย้ งบอนไซมากขึน้ โดยมีการนำ�ต้นมอสส์มาปลูกยึดเกาะรอบๆ มาใช้กับโคเคดามะจนเป็นผลงานแปลกตาและให้ความรู้สึกที่หรูหรา
ก้อนดินทีใ่ ช้ปลูก กระทัง่ มีการนำ�เอามอสส์มาพันจนรอบก้อนดินและบัญญัติ รวมถึงการเลือกพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจอย่างดอกไซคลาเมน กล้วยไม้ และ
ศัพท์ไว้ใช้เรียกเนอาไรที่มีมอสส์สีเขียวปกคลุมทั่วแล้วว่า “โคเคดามะ” ดอกหน้าวัวมาผสมผสานกับศิลปะการปลูกโคเคดามะได้อย่างลงตัว
ลักษณะเด่นของโคเคดามะอยู่ที่การเตรียมดินให้เป็นก้อนกลมคล้าย จนกลายเป็นกระแสความนิยมในการนำ�บอนไซออกจากกระถางเพื่อ
ลูกบอล ด้วยการผสมดินพีทร้อยละ 70 กับดินอาคาดามะที่มีลักษณะ รังสรรค์ความงามจากธรรมชาติในรูปแบบทีแ่ ตกต่าง แต่ยงั คงรักษาคุณค่า
เหมือนดินเหนียวร้อยละ 30 เพื่อให้ดินจับตัวกันได้ดี ส่วนไม้ที่จะใช้ปลูก ในฐานะศูนย์กลางแห่งความสงบและพลังจากธรรมชาติไว้ อันเปรียบเสมือน
อาจเป็นไม้กลุ่มบอนไซหรือไม้ประดับประเภทอื่น และเมื่อนำ�ต้นไม้ลงใน การรังสรรค์ศิลปะที่มีชีวิตอย่างแท้จริง
ดินเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการนำ�ต้นมอสส์สีเขียวที่รดนํ้าจน
ที่มา: charlottecatherine.com, cutebonsaitree.com, บทความ Gardening Trends:
The Rise of Kokedama โดย Tovah Martin (1 ธันวาคม 2012) จาก telegraph.co.uk

เมษายน 2556 l Creative Thailand l7


CREATIVE RESOURCE
วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา
FEATURE BOOK
แทบไม่น่าเชื่อว่า ท่ามกลางสินค้ามากมายภายในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาด
ใหญ่นั้น แท้จริงแล้วจะสามารถรองรับความต้องการของพลเมืองใน
เมืองๆ หนึง่ ได้เพียงสามวัน อันเป็นผลมาจากความล้มเหลวของกระบวนการ
ผลิตอาหารของโลกในวันนี้ โดยเฉพาะปัญหาความยุ่งยากของระบบ
การขนส่งเพื่อให้ได้มาซึ่งความสดใหม่อยู่เสมอ และหากระบบดังกล่าว
ผิดพลาดขึ้นเมื่อใด นั่นอาจหมายถึงการขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์
ระหว่างประเทศ หรือแม้แต่ความวุ่นวายที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังระบบ
เศรษฐกิจทั้งระบบ การจัดการด้านทรัพยากรอาหารที่ดีพอเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของประชากรโลกกว่า 7 ล้านล้านคน รวมถึงการขยายตัว
ของเขตที่ พั ก อาศั ย ที่ เ รี ย กว่ า เมื อ งจึ ง กลายเป็ น โจทย์ สำ � คั ญ ที่ ต้ อ ง
เร่งหาทางออก
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ลื อ กนำ � เสนอคำ � ตอบอย่ า งการทำ � เกษตรในเมื อ ง
(Urban Agriculture) เพือ่ เป็นอีกหนึง่ ทางเลือกสำ�หรับการผลิตอาหารเอง
ภายในเมืองใหญ่ตา่ งๆ ทัว่ โลกทีก่ �ำ ลังเผชิญกับโอกาสทีจ่ ะเกิดวิกฤตการณ์
ขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ยังได้นำ�เสนอวิธีจัดการกับข้อจำ�กัดด้าน
พื้นที่ของเมือง เพื่อให้ยังคงสามารถสร้างพื้นที่สำ�หรับการทำ�เกษตรกรรม
ได้ อันจะเป็นกระบวนการสำ�รองอาหารให้อยู่ในมือของผู้บริโภคเองได้
อย่างยั่งยืน เจนนิเฟอร์ ค็อกรอลล์-คิง ผู้เขียน ยังได้ทำ�การสำ�รวจและ
แสวงหาผู้นำ�กระแสด้านการทำ�สวนครัวในเมืองใหญ่ รวมทั้งทำ�วิจัยตาม
เมืองต่างๆ ที่ประสบความสำ�เร็จในการรับมือกับการขาดแคลนอาหาร
ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นเทรนด์ระดับโลกที่ทุกๆ ฝ่ายกำ�ลังให้ความสนใจ
เจนนิเฟอร์อธิบายถึงกระแสโลกซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่องนี้ว่า เกิดขึ้นทั้ง
ในเมืองจากฝั่งยุโรปอย่างลอนดอนและปารีส ไปจนถึงโลกตะวันตก
อย่างแวนคูเวอร์และนิวยอร์ก ซึ่งต่างก็เป็นเมืองที่สามารถสร้างทาง
เลือกใหม่ของระบบซูเปอร์มาร์เก็ตแบบบูรณาการให้เป็นโมเดลตัวอย่างที่
FOOD AND THE CITY: URBAN AGRICULTURE ดำ�รงตัวอยู่ได้อย่างเอกเทศ โดยแกนนำ�เหล่านี้นอกจากจะเป็นผู้ที่มอง
AND THE NEW FOOD REVOLUTION การณ์ไกลและมีหัวก้าวหน้าแล้ว พวกเขายังสร้างพื้นที่เพิ่มเพื่อทำ�การ
โดย Jennifer Cockrall-King เพาะปลูกด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ว่างบนหลังคา สวนหลังบ้าน
ทีจ่ อดรถ พื้นที่ว่างข้างทาง หรือแม้แต่ฟาร์มแนวตั้ง ด้วยความร่วมมือ
ร่วมใจของคนในชุมชน หรือการสร้างฟาร์มคนเมืองโดยใช้พื้นที่ที่ถูกทิ้ง
ร้างในการปลูกและจำ�หน่ายผักสดคุณภาพดีให้กับร้านอาหารและเชฟ
ท้องถิ่น เพื่อให้วงการการผลิตอาหารภายในเมืองได้รับการปฏิวัติให้กลับ
มาใช้งานได้ดีและมีคุณภาพอีกครั้ง
การทำ�งานของเกษตรกรคนเมืองผู้ที่เริ่มลงมือทำ�สวนในเมืองใหญ่
จึงเปรียบเสมือนกลุม่ คนหัวขบถซึง่ กำ�ลังทำ�การปฏิวตั แิ บบเล็กๆ ลับๆ กับ
ระบบอุตสาหกรรมการผลิตอาหารขนาดใหญ่ของโลก ทว่าก็กลับมีส่วน
ช่วยผลักดันให้สงั คมเติบโตขึน้ จนกระทัง่ สามารถผลิตอาหารเพือ่ ป้อนตนเอง
และแบ่งปันกันภายในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง
8l Creative Thailand l เมษายน 2556
CREATIVE RESOURCE
วัตถุดิบทางความคิด

BOOK DVD DVD

THE VERTICAL GARDEN: FROM TRUCK FARM HULA GIRL


NATURE TO THE CITY กำ�กับโดย Curt Ellis และ Ian Cheney กำ�กับโดย Lee Sang-il
โดย Patrick Blanc
ในปี 2005 นอกจากคนไทยจะได้ตื่นตาตื่นใจ พื้นที่อาจเป็นข้อจำ�กัดลำ�ดับต้นๆ ของคนใน เมื่อบริษัทเหมืองถ่านหินกำ�ลังจะปิดตัวลง ชาว
กับการเปิดตัวของห้างสรรพสินค้าใหญ่ใจกลาง เขตเมืองที่ปรารถนาจะมีแปลงผักเล็กๆ เป็น เมือ งจึงวางแผนร่วมกั บเทศบาลเพื่ อเปลี่ย น
กรุงอย่างสยามพารากอนแล้ว ยังถือเป็นครัง้ แรกๆ ของตัวเอง แต่สารคดีขนาดสัน้ จำ�นวน 3 ตอนนี้ เมืองอุตสาหกรรมสีทึมในเขตหนาวให้กลาย
ที่ไทยได้นำ�ระบบผนังสีเขียวหรือ Green Wall ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุกพื้นที่สามารถเปลี่ยน เป็นเมืองท่องเที่ยวในบรรยากาศฮาวายแห่งที่
มาใช้ภายในอาคารนี้ด้วยเช่นกัน จนทำ�ให้ เป็นแปลงเพาะปลูกได้ไม่ยาก ไม่เว้นแม้แต่ทา้ ย สอง ภาพยนตร์ดัดแปลงจากเหตุการณ์จริงราว
หลายคนเริ่มให้ ความสนใจเกี่ยวกับขั้นตอน รถกระบะ ภาพยนตร์สารคดีเรือ่ งนีจ้ งึ ช่วยตอกยา้ํ ปี 1965 ในเมืองโทโฮคุทางภาคตะวันออกเฉียง
และที่ ม าในการผสมผสานพื ช พั น ธุ์ ข อง ให้เห็นถึงการสร้ างคุ ณภาพชี วิ ต ที่ ดี จ ากการ เหนือของญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นความงดงามเดียวที่
ไม้น้อยใหญ่หลายสายพันธุ์ที่ถูกนำ�มารังสรรค์ รั บ ประทานอาหารที่ ม าจากแปลงเพาะปลู ก สะท้อนบรรยากาศของฮาวายได้มีเพียงพื้นที่ที่
เป็นผลงานจากธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชิดวิถีชีวิต ของตัวเอง ด้วยโมเดลการเพาะปลูกสำ�หรับคนใน อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลเท่านั้น ชาวเมืองจึงต้อง
คนเมือง เมืองใหญ่ ที่เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนท้ายกระบะ ร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่เพื่อทลายกำ�แพง
แพทริก บลังก์ นักพฤกษศาสตร์และศิลปิน เป็นแปลงดิน สู่การสร้างผลผลิตขนาดย่อมที่ ของความเป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่การจ้างครูสอน
ชื่อก้องชาวฝรั่งเศส คือผู้ที่พลิกโฉมหน้าของป่า ค่อยๆ เติบโตพร้อมส่งตรงสูผ่ ปู้ ลูกและผูบ้ ริโภค เต้นรำ�มาจากโตเกียวเพื่อสอนให้ลูกสาวของ
คอนกรีตให้รม่ รืน่ เขาเดินทางสำ�รวจและศึกษา จนสร้างรายได้เป็นรูปธรรมและนำ�มาพร้อมกับ คนงานกลายเป็นนักเต้นฮูลา่ บนเวที รวมถึงการ
ป่าเขตร้อนทั่วโลก เพื่อแปลงความรู้สู่การทำ� ความสุข สารคดีเรื่องนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ ช่วยกันนำ�ตะเกียงนำ�มันก๊าดมาให้ความอบอุ่น
สวนแนวตั้ ง ที่ ส ามารถดำ � รงชี วิ ต ควบคู่ กั บ เกิดโครงการ Truck Farm Chicago ที่เปลี่ยน แก่พืชพรรณเขตร้อนในโดม จนทำ�ให้ Joban
อาคารสำ�คัญต่างๆ ในเมืองใหญ่ได้จริง ไม่ว่า รถฟอร์ดให้กลายเป็นสวนผักเคลื่อนที่เพื่อให้ Hawaiian Center ซึ่งเป็นความหวังเดียวของ
จะเป็นอาคาร 21st Century Museum of ความรู้แก่เด็กๆ ตามโรงเรียน รวมถึงชุมชน ชาวเมืองเปิดให้บริการได้ทนั เวลา และกลายเป็น
Contemporary Art ในคานาซาวะ Quai Branly ต่างๆ และรณรงค์ให้พวกเขาตระหนักถึงความ สวนสันทนาการ ในบรรยากาศฤดูร้อนแห่งแรก
Museum ในปารีส หรือ CaixaForum Madrid สำ�คัญของการมีสุขภาพที่ดีที่ควรเริ่มจากการ ของญี่ปุ่นที่เรียกผู้เข้าชมได้กว่า 1.24 ล้านคน
ในสเปน หนังสือเล่มนีจ้ งึ เต็มไปด้วยภาพสวยสีสด สร้างแปลงผักเป็นของตัวเอง เพือ่ ลดการพึง่ พิงจาก ภายในปีแรกที่เปิดเท่านั้น
ซึง่ รวบรวมผลงานและแนวคิดของ แพทริก บลังก์ ระบบอุตสาหกรรมหลักทีเ่ ต็มไปด้วยสิง่ ปนเปือ้ น
ศิลปินผู้มีเส้นผมสีเขียวคนนี้ได้อย่างน่าตื่นตา
ตื่นใจ
เมษายน 2556 l Creative Thailand l9
MATTER
วัสดุต้นคิด

THE SUNFLOWER HOME


เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
HELIOSTAT
เมื่อแบบแปลนของบ้านและการจัดสวนถูกแยกออกจากกันด้วยผนัง หน้าต่าง รวมทั้งระบบปรับอากาศ ด้วยเหตุผลในเรื่องของ
ประโยชน์ใช้สอยและข้อจำ�กัดด้านพื้นที่ ผู้อยู่อาศัยหลายบ้านจึงรู้สึกห่างไกลกับธรรมชาติรอบตัวแม้จะมีพื้นที่สวนอยู่ในบ้านก็ตาม
ปัจจุบันจึงมีนวัตกรรมใหม่ที่ทำ�หน้าที่เชื่อมโยงพื้นที่การอยู่อาศัยเข้ากับพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบความต้องการในการ
เข้าใกล้กับธรรมชาติมากขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานและการประหยัดพลังงานในครัวเรือน ซึ่งนวัตกรรมที่ว่านี้ก็คือ
The Sunflower Home Heliostat หรือ เครื่องมือควบคุมแสงสำ�หรับการจัดสวน

โดยทั่วไปแล้ว Heliostat จะเป็นที่รู้จักในฐานะอุปกรณ์กระจกที่ใช้ ดึงพลังงานแสงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ช่วยสร้างบรรยากาศ


เปลี่ ย นทิ ศ ทางของแสงและใช้ ผ ลิ ต พลั ง งานสะอาดที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ ภายในบ้านอย่างละมุนละไม ไม่ว่าจะเป็นในห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือ
สิง่ แวดล้อมเท่านัน้ แต่ The Sunflower Home Heliostat เป็นนวัตกรรมใหม่ ห้องนา้ํ โดยสามารถใช้ทดแทนแสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์
ที่ออกแบบขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดแสงในสวน และการสร้าง ที่ จ ะช่ ว ยถนอมสายตาและให้ แ สงสว่ า งได้ ม ากกว่ า หลอดไฟปกติ
แหล่งกำ�เนิดแสงที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด โดย The Sunflower Home นอกจากนี้ การมีแสงจากธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาในตัวบ้านในปริมาณที่
Heliostat จะทำ�ให้แสงธรรมชาติสามารถส่องผ่านเข้าไปภายในตัวบ้าน เหมาะสม ยังช่วยให้คนในบ้านสามารถปลูกต้นไม้ในกระถางตรงบริเวณ
ได้อย่างเพีย งพอตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะทางทิศเหนือ ซึ่งปกติแล้ว ที่เคยอับแสงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกปลอดโปร่งและใกล้ชิด
แสงแดดจะส่องได้ไม่ถึงตลอดวัน นอกจากนี้ มันยังได้ผนวกเครื่อง ธรรมชาติมากขึ้น โดยในทุกกระบวนการทำ�งานของ The Sunflower
ควบคุมการสะท้อนของแสงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่จะปรับตามเส้นทาง Home Heliostat ยังไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดระยะเวลาการใช้งาน
ของแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงวันได้โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กหรือสายเคเบิลใดๆ ของอุปกรณ์นี้
แต่ใช้เพียงพลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้น จะเห็นได้ว่า แม้ The Sunflower Home Heliostat จะเป็นเพียง
กระบวนการทำ�งานของกระจกหกเหลี่ยมที่มีมอเตอร์พลังงานแสง เครื่องมือควบคุมแสงสำ�หรับการจัดสวน แต่ก็แฝงไว้ด้วยการออกแบบ
อาทิตย์คอยควบคุมทิศทางนี้ ได้รับการออกแบบมาให้มีรูปลักษณ์คล้าย ที่ผ่านกระบวนการคิดเพื่อที่จะเชื่อมโยงพื้นที่การใช้งานระหว่างบ้านและ
ดอกทานตะวัน เพื่อให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และ พื้นที่ธรรมชาติในสวนได้เป็นอย่างดี หากรู้จักการจัดการที่ดีพอ
ยังมาพร้อมประโยชน์ใช้สอยที่มากกว่าการสังเคราะห์แสงให้กับพืช แต่จะ ที่มา: wikoda.com

inhabitat.com
wikoda.com

10 l Creative Thailand l เมษายน 2556


CLASSIC ITEM
คลาสสิก

GREENHOUSE
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

พายุเฮอริเคนที่ถล่มเมืองเอดินบะระในสกอตแลนด์เมื่อมกราคมปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อสวนพฤกษศาสตร์
แห่งเอดินบะระ (Royal Botanic Garden Edinburgh) ที่มีอายุยาวนานกว่า 343 ปี แม้สวนแห่งนี้จะผ่านร้อนผ่านหนาว
และเคยเผชิญหน้ากับความเลวร้ายของสภาพอากาศมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นฤดูที่ฝนตกตลอด 24 ชั่วโมง หรือความหนาว
เหน็บแบบติดลบหลายสิบองศา แต่พายุจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ก็ได้ทำ�ลายล้างต้นไม้อายุยืนกว่าร้อยปีที่ตระหง่านอยู่ภายนอก
เหลือไว้เพียงพันธุ์ไม้ภายในเรือนกระจก (Greenhouse) ที่แม้จะได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่เพียงห้าเดือนให้หลัง เหล่าพืชพันธุ์
ก็กลับมาแตกใบอ่อนเป็นสัญลักษณ์แห่งการเติบโตครั้งใหม่ ภายใต้เรือนกระจกที่คอยโอบอุ้มการเจริญเติบโตนี้ให้เป็นไปด้วยดี
ได้ต่อไปอย่างที่เคยเป็นมา

© B. Anthony Stewart/National Geographic


Society/Corbis
ในช่วงศตวรรษที่ 30 กษัตริย์ไทบีเรียส (Tiberius) แห่ง เนเธอร์ แ ลนด์ เ ป็ น ประเทศที่ มี ก ารปลู ก พื ช ในเรื อ น ขณะที่เ รื อ นกระจกแบบเย็ น (7 องศาเซลเซียส)
จักรวรรดิโรมัน ผูเ้ ผชิญกับอาการป่วย ได้รบั คำ�แนะนำ� กระจกมากที่สุดในโลก โดยร้อยละ 80 ของผลผลิต เหมาะกับต้นกล้าหรือพืชเมืองหนาวอย่างผักโขมและ
ของแพทย์ ป ระจำ � พระองค์ ว่ า ให้ เ สวยผั ก ประเภท ทางการเกษตรทีส่ ง่ ออกไม่วา่ จะเป็นพริกหยวก ผักกาด ถั่วลันเตา
แตงกวาเพื่อรักษาอาการให้บรรเทาลง “โรงปลูก และแบล็กเบอร์รี่ ล้วนมาจากการเพาะปลูกในเรือน
แตงกวา” จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม กระจก ซึง่ ใช้พน้ื ทีเ่ พียงร้อยละ 25 ของพืน้ ทีก่ ารเกษตร เรือนกระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือโครงการอี
ให้แตงกวาสามารถเติบโตได้ในทุกฤดูกาล โดยใช้วิธี ทั้งหมด เดน (Eden Project) ที่มณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวัน
การปลูกให้ต้นแตงกวาเลื้อยไปกับล้อเกวียน เพื่อให้ ตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ด้วยขนาดเทียบเท่า 30 สนาม
สามารถนำ�ออกมาตากแดดได้ทุกเช้า และเลือ่ นเข้าไป กระจกคือวัสดุสำ�คัญในการก่อสร้างเรือนเพาะปลูก ฟุตบอล ทำ�ให้ที่นี่สามารถจำ�ลองระบบนิเวศวิทยา
เก็บในโรงเรือนเพื่อควบคุมปัจจัยในการเจริญเติบโต ประเภทนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติกรองความร้อนจาก สำ � หรั บ ผู้ ที่ ห ลงใหลในโลกแห่ ง พฤกษศาสตร์ ไ ว้ ไ ด้
อย่างการรักษาความร้อนในตอนกลางคืน แสงแดดในตอนกลางวัน และรักษาความอบอุ่นได้ดี อย่างครบถ้วน โดยมี Humid Tropics Biome เป็น
เมื่อ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความหนาวเย็ น ในตอนกลางคื น โดมเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีการจำ�ลอง
ในยุควิกตอเรียน บทบาทของเรือนกระจกถูกเปลีย่ นแปลง แต่เนื่องจากกระจกมีนํ้าหนักมากและราคาสูง ใน ระบบนิ เ วศที่ ห ลากหลายทั้ ง เขตร้ อ นชื้ น และเขต
ไปเป็นสัญลักษณ์เพือ่ บ่งบอกสถานะทางสังคม หญิงสาว ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุเรือนกระจกจึงพัฒนามา เมดิเตอร์เรเนียน
ชนชั้นกลางในอังกฤษนิยมจิบชายามบ่ายท่ามกลาง เป็นการใช้แผ่นพลาสติกอย่างไฟเบอร์กลาสหรือพีวีซี
สวนสวยในเรือนกระจกภายในบ้านของตนเอง รูปแบบ แบบม้วนแทน สวนขวดแก้ว (Terrarium) เป็นหนึ่งในประเภทของ
การปลู ก พั น ธุ์ พื ช ในยุ ค นั้ น จึ ง เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ รองรั บ การเพาะพันธุ์ไม้ในเรือนกระจก ปัจจุบันการทำ�สวน
การแสดงออกทางสังคมนีโ้ ดยเฉพาะ เช่น เรือนกระจก เรื อ นกระจกสามารถแบ่ ง ประเภทได้ ต ามอุ ณ หภู มิ ขวดแก้วกำ�ลังกลายเป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยม
ทีเ่ พาะปลูกองุน่ สำ�หรับเป็นวัตถุดบิ ในการทำ�ไวน์ ซึง่ เป็น โดยเรือนกระจกแบบร้อน (18-26 องศาเซลเซียส) ด้วยแนวคิดง่ายๆ อย่างการ “ลงมือปลูก รดนํ้า แล้ว
เครือ่ งดืม่ ทีบ่ ง่ บอกสถานะทางสังคม เป็นต้น เหมาะสมกับพืชเมืองร้อนอย่างต้นหม้อข้าวหม้อแกง ลืมไปซะ” อันมีที่มาจากระบบนิเวศในสวนขวดแก้วที่
ลิง เฟิร์น และปาล์ม ส่วนเรือนกระจกแบบอุ่น (13- เป็นแบบพึ่งพาตนเอง ทำ�ให้ผู้เลี้ยงไม่ต้องรดนํ้าเป็น
15 องศาเซลเซียส) เหมาะสมกับพืชผักและดอกไม้ ประจำ�ทุกวัน เพียงแค่นานๆ ครั้ง ต้นไม้ก็ยังสามารถ
เจริญเติบโตได้ดีเป็นระยะเวลาหลายปี
ที่มา: ars.wisc.edu/greenhouse/History, greenzonelife.com, web.agri.cmu.ac.th, greenhousegrower.com, วิกิพีเดีย
เมษายน 2556 l Creative Thailand l 11
COVER STORY
เรื่องจากปก

เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพประกอบ: The RAXX

ภาพของชาวนาที่ เ กี่ย วเก็ บ และสะบั ด ข้ า วที ล ะฟ่ อ น


กลางทุง่ นา ประหนึง่ กำ�ลังร่ายรำ�ตามจังหวะของบทเพลง
พื้นบ้าน หยาดเหงื่อและดินเลนกระเซ็นเป็นสายกลาง
อากาศ ทอประกายเมื่อต้องกับแสงอาทิตย์ใต้ผืนฟ้า
สีคราม คือฉากหนึ่งในภาพยนตร์ไทยนอกกระแส
สวรรค์บ้านนา (Agrarian Utopia) ฝีมือกำ�กับของ
อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ทีส่ ะกดอารมณ์ผชู้ มได้อยูห่ มัด จน
อยากจะลุกขึน้ มาทำ�นาดูบา้ งสักครัง้
หันกลับมามองความเป็นจริง ทุกวันนี้ประชากรส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่
ในเมื อ งและดำ � เนิ น ชี วิ ต ไปตามกฎกติ ก าของเงิ น ตราภายใต้ ร ะบบ
เศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ จากรายงานสถิติของ Demographia World
Urban Areas พบว่าความหนาแน่นของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเขต
เมืองเพิม่ ขึน้ สูงถึง 1.9 พันล้านคนในปี 2012 ทีผ่ า่ นมา หรือคิดเป็นร้อยละ
52 ของจำ�นวนประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ความเจริญทาง
เทคโนโลยีทำ�ให้ชุมชนที่เคยห่างไกลค่อยๆ กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย
ความหนาแน่นและวุ่นวาย และแม้ว่าสิ่งอำ�นวยความสะดวกจะช่วยย่น
ระยะทางระหว่างสังคมเมืองกับชนบทให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ก็นำ�มา
ซึ่งการรุกลํ้าผืนดินทำ�กินและวัฒนธรรมท้องถิ่นไปทีละน้อย ความวุ่นวาย
และมลพิษในป่าคอนกรีตทำ�ให้คนเมืองเริ่มโหยหาชีวิตที่สงบ เรียบง่าย
และมองว่าคงจะไม่มีอะไรดีไปกว่าการกลับไปอยู่กับธรรมชาติอีกแล้ว

12flickr.com/photos/gel
l Creative Thailandatobaby
l เมษายน 2556
COVER STORY
เรื่องจากปก

กำ�เนิดบุปผาชนยุคใหม่
เมือ่ วงล้อแห่งการพัฒนาอันไร้พรมแดนหรือ “โลกาภิวตั น์” ได้หมุนเวียนมาถึงจุดสูงสุดของยุคสมัยและความเจริญด้านวัตถุมใี ห้เห็น
อยู่รอบตัว ในขณะที่พื้นที่สีเขียวในมุมเมืองกลับค่อยๆ ร่อยหรอ ผู้คนก้มหน้าก้มตาทำ�งานและมีชีวิตที่เปลี่ยวเหงา สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้ผู้ที่
อยู่มานานกว่าอย่างกลุ่มคนยุคเบบี้บูมเมอร์ต่างพากันปลดเกษียณตนเองและย้ายถิ่นฐานไปอยู่ตามต่างจังหวัด หรือไม่ก็หันมาสนใจ
ทำ�กิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม แม้แต่บิล เกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ ก็ยังจัดตั้งมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda
Gates Foundation) ร่วมกับภรรยา เพื่อหยิบยื่นความช่วยเหลือให้กับเพื่อนมนุษย์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงมอบเงินบริจาค
ส่วนหนึ่งให้กับการพัฒนาเกษตรกรรมและผลผลิตจากธุรกิจฟาร์มรายย่อยในแอฟริกา
ไม่ใช่แค่กลุ่มวัยเกษียณเท่านั้น แต่บรรดาผู้บริหาร นักธุรกิจ และ หากเปรียบเทียบกับคนหนุ่มสาวในยุคดอกไม้บานที่ลุกขึ้นมาต่อต้าน
ผู้ประกอบการเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่ประสบความสำ�เร็จตั้งแต่อายุยังน้อยก็ สังคมนิยมทุนและวัตถุ แสวงหาเสรีภาพอันปราศจากสงคราม บุปผาชน
พบว่า “เงิน” ไม่ใช่คำ�ตอบของการดำ�รงชีวิตเสมอไป สื่อนอกกระแสเริ่ม ร่วมสมัยกลับมีแนวคิด ทัศนคติ และวิถีการดำ�รงอยู่ที่ต่างไปจากเดิม
นำ�เสนอประเด็นของ “ความสุขที่แท้จริงของชีวิต” ด้วยการกลับไปหา แม้จะหลงใหลในสุนทรียภาพของสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่พวกเขาก็มิได้
ธรรมชาติ ผ่านภาพยนตร์ วรรณกรรม บทความออนไลน์ ศิลปะแนว ปฏิเสธหรือหันหลังให้กับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง ตรงกันข้าม พวกเขา
ทดลองต่างๆ ผู้คนเริ่มตั้งคำ�ถามถึงผลผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่ไร้ เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคม ณ ปัจจุบันขณะ โดยใช้ความ
ที่มา ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาวะของผู้บริโภค โดยเฉพาะอาหาร คิดสร้างสรรค์ ทักษะความชำ�นาญ และประสบการณ์ชีวิต เป็นเครื่องมือ
สำ�เร็จรูปและฟาสต์ฟู้ด ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้คนรุ่นใหม่อย่าง ในการสร้างจุดสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตท่ามกลางกระแสทุนนิยมกับการ
เจเนอเรชั่นวายมีแนวโน้มที่จะแสวงหาแนวทางการใช้ชีวิตที่แตกต่างไป ชื่นชมธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน
จากเดิม มีอิสระ และมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ผลการสำ�รวจพฤติกรรม
ของผู้บริโภคซึ่งแบ่งตามเจเนอเรชั่น โดย เทคโนมิค (Technomic)
สถาบันวิจัยและที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมอาหารสากล ระบุว่าเจนวาย
คือกลุ่มผู้บริโภคอาหารประเภทออร์แกนิกที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้ ไม่ว่าจะ
ด้วยอิทธิพลของสื่อ กระแสนิยม หรือแรงบันดาลใจจากคนรุ่นก่อนๆ แต่
คนรุ่นใหม่ก็หันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
หลายคนเลือกทำ�ธุรกิจตามความฝันหรืองานอิสระ หรือไม่ก็ย้ายไปอาศัย
อยู่ในต่างจังหวัดเพื่อหลีกหนีความจำ�เจของชีวิตเมือง และมองหาสิ่งที่
ทุนนิยมมิอาจมอบให้ได้
แต่ใช่ว่าคนกรุงและผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองจะมองข้ามความน่าอภิรมย์
ของต้นไม้ใบหญ้าเสมอไป เพราะผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในช่วง
หลายปีที่ผ่านมา ไม่เพียงกระตุ้นให้คนทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงแนวคิด
และพฤติกรรมการบริโภคในชีวิตประจำ�วัน แต่ยังสร้างจิตสำ�นึกในการ
เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองอย่างจริงจังอีกด้วย การทำ�สวนกลายเป็นหนึ่งใน
งานอดิเรกยอดฮิตของคนเมือง และค่อยๆ เข้ามามีบทบาทสัมพันธ์กับ
ชีวติ ประจำ�วันทีละน้อย ทัง้ ในด้านทีอ่ ยูอ่ าศัย อาหารการกิน สวนสาธารณะ
ไปจนถึงศิลปะและการออกแบบ ประกอบกับการเติบโตของสังคมออนไลน์
ทำ�ให้คนสวนในเมืองและนอกเมืองสามารถแชร์ข้อมูลข่าวสาร ไอเดีย
สร้างสรรค์ หรือแม้แต่รวมตัวกันสร้างกลุ่มเครือข่ายได้อย่างเสรี

เมษายน 2556 l Creative Thailand l 13


COVER STORY
เรื่องจากปก

สวน | คน | เมือง
ในยุคดิจทิ ลั ชุมชนออนไลน์ถอื เป็นคอมมูนติ แ้ี ห่งหนึง่ ทีด่ งึ ดูดกลุม่

facebook.com/UrbanOrganicGardener
คนที่มีความสนใจเฉพาะด้านมารวมตัวกัน แบ่งปันข้อมูลและ
ประสบการณ์ของตนเอง จนกลายเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ
ให้กบั คนหมูม่ าก "เออร์เบิน ออร์แกนิก การ์เดนเนอร์ (Urban
Organic Gardener)" คือตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีประโยชน์
อย่างยิง่ สำ�หรับมือใหม่หดั ปลูก โดยเฉพาะผูท้ อ่ี าศัยอยูใ่ นเขตเมือง
ไมค์ ลีเบอร์แมน (Mike Lieberman) เจ้าของเว็บไซต์นี้เชื่อว่าเขาสามารถ
สร้างอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพได้เอง โดยไม่ต้องพึ่ง
อาหารสำ�เร็จรูปหรือปรุงสำ�เร็จที่อาจมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่เป็นจำ�นวนมาก
ในปี 2009 เขาพิสูจน์ความเชื่อนั้นด้วยการลงมือเปลี่ยนอพาร์ตเมนต์
อันคับแคบในนิวยอร์กให้กลายเป็นสวนผักขนาดย่อมได้ส�ำ เร็จ พืน้ ทีท่ างบันได
หนีไฟขนาด 2X3 ตร.ม. ถูกแทนที่ด้วยกระถางของผักกาดหอม ออริกาโน
สะระแหน่ ไปจนถึงมะเขือเทศราชินี เมื่อย้ายไปอยู่ที่ลอสแองเจลิสในปี
2010 ไมค์กย็ งั คงทำ�สวนบนระเบียงขนาด 13X4 ตร.ม. และเขียนเรือ่ งราว
ของตนเองลงในเว็บไซต์เพื่อชักชวนให้คนเมืองลองทำ�สวนเองแบบง่ายๆ
ด้วยอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในชีวติ ประจำ�วัน แนะนำ�วิธปี ลูกขัน้ พืน้ ฐานและการรับมือ
กับแมลงร้าย ผลปรากฏว่าเว็บไซต์ได้รบั เสียงตอบรับเป็นอย่างดี มีผสู้ นใจ

apartmenttherapy.com
เข้ามาถามไถ่และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเขาอย่างต่อเนื่อง และคน
จำ�นวนไม่น้อยหันมาปลูกผักกินเองมากขึ้น
หากเออร์เบิน ออร์แกนิก การ์เดนเนอร์ เปรียบเสมือนกับวิชาขั้น
พื้นฐานสำ�หรับคนที่อยากลองทำ�สวนเองแบบง่ายๆ สวนแนวตั้งลํ้าสมัย
อย่าง “วินโดว์ฟาร์มส (Windowfarms)” ก็คอื บทเรียนการทำ�สวนในแบบฉบับ
ของคนเมืองทีเ่ พิม่ ดีกรีความยากขึน้ ไปอีกขัน้ แต่พว่ งด้วยความสร้างสรรค์
เชิงวิทยาศาสตร์ บริตตา ไรลีย์ (Britta Riley) กับรีเบคกา เบรย์ (Rebecca
Bray) นำ�วิธีการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์บนยานอวกาศของนาซามา
ประยุกต์ใช้กับไอเดียการปลูกผักในขวดนํ้า ใช้วัสดุอื่นแทนพลาสติก จน
เกิดเป็นสวนแนวตั้งระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะกับการปลูกในที่ร่มเป็น
ที่สุด ข้อดีของวินโดว์ฟาร์มสคือสามารถควบคุมระดับของอุณหภูมิได้
ฤดู ก าลและสภาพอากาศจึ ง ไม่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การเติ บ โตของพื ช
นอกจากนี้ พืชไฮโดรโปนิกส์จะมีรากสั้นและเติบโตในพื้นที่จำ�กัดได้ดีกว่า
พืชที่ปลูกในดิน ผลงานสุดสร้างสรรค์ชิ้นนี้จึงตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของ
คนเมือง ทั้งยังทำ�รายได้ให้กับบริษัท Windowfarms.org อย่างงดงาม แม้ไอเดียของไมค์และบริตตาจะแตกต่างกันในแง่วิธีการนำ �เสนอ
จนได้รับการโหวตจากนิตยสาร Entrepreneur ให้เป็นหนึ่งใน 100 ธุรกิจ แต่พวกเขาก็มีจุดยืนร่วมกันในเรื่องการพึ่งพาตนเอง และปลุกกระแสให้
ที่น่าจับตามองแห่งปี 2012 ในงานสัมมนา “เท็ด (Ted)” บริตตาได้เล่าถึง คนเมืองหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินและความเป็นอยู่มากขึ้น โดยมี
หลักการทำ�งานแบบ “R&DIY (Research & Develop It Yourself)” ‘สวน’ เป็นสื่อกลาง ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการ
ที่ไม่ใช่แค่การสร้างนวัตกรรมที่ยกระดับคุณภาพชีวิตในเมือง แต่ต้อง ทำ�สวนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด และพื้นที่จำ�กัดก็ไม่ใช่อุปสรรคสำ�หรับ
ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย การปลูกความฝันอีกต่อไป

14 l Creative Thailand l เมษายน 2556


COVER STORY
เรื่องจากปก

iwan.com
เมือง | คน | สวน
โตเกียวขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก แต่ก็ใช่ว่าจะ
ไม่มีพื้นที่ให้กับสีเขียว ริวเอะ นิชิซาวา (Ryue Nishizawa) สถาปนิกหนุ่มแห่ง
สตูดิโอ SANAA ได้ออกแบบตึกแถว 5 ชั้น “Garden & House” เพื่อเอาใจคนเมือง
ที่อยากทำ�สวนบ้าง แม้จะมีพื้นที่แค่ 8X4 ตร.ม. แต่ภายในกลับดูโปร่งโล่งสบาย
เพราะเขาใช้กระจกบานใหญ่แทนฝาผนัง เจาะมุมเล็กๆ บนเพดานของทุกชั้นให้
ทะลุถึงกันได้ และปล่อยให้ต้นไม้เติบโตตามธรรมชาติ การออกแบบดังกล่าว
ไม่เพียงแสดงถึงทักษะชั้นเลิศของชาวญี่ปุ่นในการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำ�กัดให้เกิด
ประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยังสะท้อนปรัชญาของนิกายเซนที่ว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง
ของธรรมชาติอีกด้วย

เมษายน 2556 l Creative Thailand l 15


COVER STORY
เรื่องจากปก

Growing Food, Growing Lives

© Roger Ressmeyer/CORBIS
การปลูกผักกินเอง นอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและ
ลดภาระรายจ่ายไปในตัวแล้ว ยังเพิ่มอรรถรสในการทำ�อาหาร
ให้สนุกขึ้นอีกด้วย เมื่อคนทำ�อาหารมีความสุข อาหารที่อยู่ใน
จานก็ยง่ิ อร่อย และความสุขอาจจะเพิม่ เป็นทวีคณ ู ถ้าเราได้แบ่งปัน
ให้กบั คนอืน่ ด้วย “สวน” เล็กๆ ทีเ่ ป็นแหล่งอาหารในบ้านจึงเติบโต
และต่อยอดไปสู่เส้นทางทางธุรกิจที่ใส่ใจสังคมอีกมากมาย
ปัจจุบัน มีร้านอาหารและธุรกิจออร์แกนิกจำ�นวนไม่น้อยที่นำ�วัตถุดิบที่
ปลอดสารเคมีจากเกษตรกร ชาวนาชาวไร่ในท้องถิ่น มาปรุงเป็นอาหาร
รสเลิศที่ทั้งถูกสุขอนามัยและเปี่ยมด้วยคุณประโยชน์ให้แก่ลูกค้า อลิซ
วอเทอร์ส (Alice Waters) เชฟหญิงชาวอเมริกันชื่อดังคือหนึ่งในนั้น เธอ
ปฏิวัติวัฒนธรรมอาหารของชาวอเมริกันที่คลั่งไคล้ฟาสต์ฟู้ด ด้วยการ
เปิดร้านอาหารสไตล์โฮมเมดสุดพิถีพิถัน “เช ปานีซ (Chez Panisse)”
เน้นการใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลที่ดีที่สุดและสดใหม่ที่สุดจากชาวท้องถิ่น
ทั้งยังผลักดันให้โรงเรียนเอกชนในอเมริกาเพิ่มหลักสูตรการทำ�สวน และ
นำ�ผลผลิตไปปรุงเป็นมือ้ กลางวัน เพือ่ ให้เด็กรูจ้ กั วงจรทีแ่ ท้จริงของอาหาร
และบริโภคอย่างรู้เท่าทัน การกระทำ�ของอลิซได้สร้างแรงกระเพื่อมไป
ทั่วโลกและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาใส่ใจ
การคัดเลือกวัตถุดิบและคำ�นึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคมากกว่าเดิม
ไม่ใช่แค่ในโลกตะวันตกเท่านั้น ทางฝั่งบ้านเราก็ดูเหมือนจะตอบรับ
กระแสอาหารออร์แกนิกอย่างดีไม่แพ้กัน สังเกตได้จากร้านอาหารและ
ร้านค้าออร์แกนิกทีผ่ ดุ ขึน้ ในย่านสุขมุ วิท-ทองหล่อ คอยหยิบยืน่ ทางเลือก
ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ชาลี กาเดอร์ (Chalee Kader) เชฟฝีมือเยี่ยม
หนึ่งในหุ้นส่วนของร้านอาหาร Surface Kitchen & Garden Lab ในซอย อลิซ วอเทอร์ส เตรียมวัตถุดิบสำ�หรับทำ�อาหารภายในครัวของเธอ ปี 1982
ทองหล่อ 11 เล่าถึงวัตถุดบิ การปรุงอาหารทีเ่ ขาใส่ใจคัดเลือกอย่างพิถพี ถิ นั เรือ่ งยาก แค่ตอ้ งปรุงและดึงรสชาติทด่ี ที ส่ี ดุ ออกมา ไม่จ�ำ เป็นต้องปรุงแต่ง
ตั้งแต่ศึกษาแหล่งที่มา วิธีการปลูก ไปจนถึงการบรรจุและจัดส่งมายัง อะไรมาก และคงจะดีกว่าถ้าเราได้สนับสนุนคนที่ปลูกผักด้วยใจ ดีกว่า
ร้านอาหาร วัตถุดิบส่วนใหญ่อยู่ในระดับพรีเมียม มีทั้งผลผลิตจากฟาร์ม เรามักง่ายเอาผักผลไม้ที่ใส่สารเคมีไปให้คนอื่นทาน” แม้ว่าสินค้าระดับ
เกษตรในประเทศ เช่น คลีนฟาร์ม สระบุรี (Clean Farm Saraburi) และ พรีเมียมจะสนนราคาสูงลิบ แต่ชาลีกลับมองว่าการสนับสนุนกระบวนการ
มิสเตอร์ มาร์เตนส์ ไมโครกรีนส์ กรุงเทพฯ (Mr. Maarten’s Microgreens) ผลิตที่ปลอดภัยและเป็นธรรมนั้นคุ้มค่ามาก เพราะเกษตรกรต้องใส่ใจ
รวมทั้งนำ�เข้าวัตถุดิบอื่นๆ จากต่างประเทศ ทุกกระบวนการที่ถูก ดูแลพืชพันธุ์เป็นพิเศษ คุณภาพที่ได้ก็ย่อมดีกว่าผลผลิตจากโรงงานที่ให้
บอกกล่าวนั้น แสดงให้เห็นว่าเขารู้จักพืชพันธุ์เป็นอย่างดีและรู้ว่าจะนำ� ความสำ�คัญกับจำ�นวนเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกัน ถ้าหากมีผู้สนับสนุน
ผลผลิตชั้นเลิศที่อยู่ในมือมาปรุงให้อร่อยที่สุดได้อย่างไร แต่สิ่งที่เชฟ มากขึ้น เกษตรกรก็จะมีแรงใจในการทำ�งานมากขึ้นไปด้วย
คนนี้ยึดถือมาโดยตลอดก็คือ วัตถุดิบที่ใช้จะต้องปลอดสารเคมีหรือเลี่ยง สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่ดีของการเปลี่ยนแปลงระบบ
การใช้สารเคมีให้มากที่สุด เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า “ถ้าลอง การตลาดในสังคมทุนนิยม เพราะไม่วา่ การแข่งขันระหว่างคูแ่ ข่งจะดำ�เนิน
เปรียบเทียบกันจะรู้เลยว่าผักที่ถูกเร่งการเจริญเติบโตจะมีรสชาติและ ต่อไปอย่างไร ก็ยังเป็นสังเวียนที่แต่ละฝ่ายพยายามมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับ
สัมผัสไม่เหมือนกับผักปลอดสารเคมี และเราก็อยากเลือกแต่สิ่งดีๆ ให้ ผู้บริโภค โดยคำ�นึงถึงผลกระทบรอบด้านกันมากขึ้น ตั้งแต่สุขภาพของ
คนทานอาหารอย่างมีความสุข พอเรามีวัตถุดิบที่ดี การทำ�อาหารก็ไม่ใช่ ปัจเจกไปจนถึงสิ่งแวดล้อม
16 l Creative Thailand l เมษายน 2556
COVER STORY
เรื่องจากปก

GARDEN TO GETAWAY
Mr. Maarten’s Microgreens
มิสเตอร์ มาร์เตนส์ ไมโครกรีนส์ คือผู้ผลิตและจัดจำ�หน่ายพืชผักอายุเพียง สวนที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ชื่นชมความ
1 สัปดาห์ที่กำ�ลังมาแรงในตอนนี้ ด้วยกรรมวิธีการปลูกที่เรียบง่าย ตั้งแต่ งดงาม หรือหล่อเลีย้ งการดำ�รงชีวติ เมือ่ ได้รบั ความนิยม ก็จ�ำ ต้อง
การหว่านเมล็ดพันธุ์ชั้นดีลงบนผ้าขาวบาง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และปล่อยให้ ปรับสเกลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการของ
เติบโตโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อรักษารสชาติดั้งเดิมเอาไว้ จากนั้นจึงนำ� ประชาชนทีเ่ พิม่ มากขึน้ เช่นกัน จนกระทัง่ กลายเป็นแหล่งท่องเทีย่ ว
แพ็คส่งไปยังร้านอาหารต่างๆ แม้จะมีขนาดเล็ก แต่กส็ ามารถนำ�ไปประกอบ ที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
อาหารได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดแต่งบนจานอาหาร ทำ�สลัด หรือทาน
สดๆ ก็อร่อยไม่แพ้กัน และยังการันตีว่าคุณภาพไม่ได้วัดกันที่ขนาดเสมอไป ในปี 2006 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
ได้จดั งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ขึน้ ทีเ่ ชียงใหม่
ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานแสดงพืชพันธุ์ในพื้นที่เขตร้อนชื้นใน
ประเทศอย่างยิ่งใหญ่ และมียอดผู้เข้าชมทั้งคนไทยและชาวต่างชาติรวม
3,781,624 คน สะท้อนถึงค่านิยมของคนไทยที่หันมาสนใจ “สวน” เพื่อ
เติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับตนเอง
ความสำ�เร็จดังกล่าวทำ�ให้ทางคณะกรรมการบริหารเดินหน้าจัดงาน
มหกรรมพืชสวนโลกฯ ขึ้นอีกครั้งในปี 2011 และยังคงเปิดทำ�การเพื่อ
ต้อนรับนักท่องเทีย่ วมาจนถึงทุกวันนี้ หรือแม้กระทัง่ สวนสุดคลาสสิกอย่าง
สวนนงนุช เมืองพัทยา ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ส่วนบุคคลของคุณพิสิฐ
และคุณนงนุช ตันสัจจา ปรับเปลี่ยนมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับ
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมอย่างสวยงาม พร้อมบริการที่พักให้กับ
นักท่องเที่ยว ในขณะที่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ก็เริ่มขยับขยายไลน์ธุรกิจจาก
การผลิตเพื่อจำ�หน่ายในประเทศและต่างประเทศ ไปสู่แหล่งท่องเที่ยว
เชิงเกษตร แหล่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ธุรกิจรีสอร์ต โฮมสเตย์ และ
ศูนย์การเรียนรู้ เช่น ไร่ปลูกรัก ซึง่ เปิดบริการให้คนทัว่ ไปเข้ามาทำ�ความรูจ้ กั
กับเกษตรอินทรีย์ด้วยตนเอง รวมทั้งการนำ�องค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำ�วัน แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เปิด
ประตูให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านและ
วัฒนธรรมท้องถิ่น ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตลอดจนเรียนรู้การอยู่อย่าง
พึ่งพาตนเองผ่านคอร์สและเวิร์กช็อปต่างๆ เช่น ทำ�บ้านดิน ทำ�สบู่
ยาสระผม ทำ�อาหาร และงานฝีมอื เป็นต้น ซึง่ เป็นทีน่ ยิ มในหมูน่ กั ท่องเทีย่ ว
ผู้สูงอายุ และคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

"เมฆและภูเขาไร้ชีวิต
แต่มันยังมีเงาของความรัก"
facebook.com/MrMaartensMicrogreens
- รงค์ วงษ์สวรรค์ -
เมษายน 2556 l Creative Thailand l 17
COVER STORY
เรื่องจากปก

Gardens by the bay


“การ์เดนส์ บาย เดอะ เบย์” หนึ่งในโครงการล่าสุดของแผนพัฒนาระยะ
ยาว 10 ปี ของสิงคโปร์ ซึ่งคณะกรรมการดูแลอุทยานแห่งชาติ (National
Park) ได้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายจากการพัฒนาประเทศให้เป็น ‘เมืองอุทยาน’
ไปสู่ ‘เมืองในอุทยาน’ โดยระดมนักพัฒนาและนักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
ระดับหัวกะทิจากทั่วโลก มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบอ่าวมารีนา โดย
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ เบย์ อีสต์ และเบย์ เซ็นทรัล ซึ่งกำ�ลังอยู่ใน
ระหว่างการพัฒนา ในส่วนของเบย์ เซาธ์นั้น เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
อย่างเป็นทางการในปี 2012 มีจุดเด่นคือโดมแก้ว 2 แห่ง ได้แก่ โดมดอกไม้
(Flower Dome) ทีร่ วบรวมพันธุไ์ ม้ดอกจากเขตหนาวในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
และพื้นที่กึ่งแห้งแล้งใกล้เขตร้อน โดมแก้วแห่งที่ 2 มีชื่อว่าป่าฝน (Cloud
© Glen Espinosa

Forest) ซึง่ จำ�ลองลักษณะของสภาพป่าฝนบนภูเขาทีส่ งู มีอากาศเย็น หมอก


ปกคลุม และอุดมไปด้วยกล้วยไม้และกาฝากหลากชนิด แต่สุดยอดไฮไลต์ที่
เรียกเสียงฮือฮาจากนักท่องเที่ยวได้มากที่สุด คงจะหนีไม่พ้นซูเปอร์ทรีส์หรือ
ต้นไม้ยักษ์ทั้ง 18 ต้น ซึ่งใช้ระบบสวนแนวตั้งสำ�หรับปลูกพืชเมืองร้อน ทั้งไม้
ดอกและไม้ประดับ มีความสูงตั้งแต่ 25-50 เมตร พร้อมติดตั้งแผงพลังงาน
แสงอาทิตย์ เพือ่ มอบความสว่างไสวอย่างไร้มลพิษในยามคํา่ คืน พร้อมกับให้
ความเย็นแก่พืชพันธุ์ต่างๆ ในบริเวณพื้นที่โดยรอบ
โครงการสุดกรีนนี้นับเป็นการสร้างสวนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ของสิงคโปร์ ซึง่ ยกระดับจากการสร้างสรรค์สวนเพือ่ เพิม่ ชีวติ ชีวาให้กบั มุมเมือง
ไปสู่รูปแบบของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับ
ประเทศ แต่เป้าหมายสูงสุดของโครงการนี้ถูกกำ�หนดไว้ไกลกว่านั้น เพราะ
รั ฐ บาลสิ ง คโปร์ ม องว่ า การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ารเพิ่ ม พื้ น ที่ สี เ ขี ย ว
gardensbythebay.com.sg

ในเมือง แต่ตอ้ งเป็นพืน้ ทีส่ เี ขียวทีม่ คี วามหลากหลายทางชีวภาพด้วย “การ์เดนส์


บาย เดอะ เบย์” จึงเปรียบเสมือนโอเอซิสทีก่ �ำ ลังเรียกคืนสิง่ ความอุดมสมบูรณ์
ของพืชพรรณธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตให้กลับคืนสู่มหานครอีกครั้ง

สาเหตุที่ทำ�ให้การแปรรูปจาก “พื้นที่สวนส่วนบุคคล” ไปสู่รูปแบบสถานที่ ปล่อยจิตใจไปกับบรรยากาศอันเงียบสงบของธรรมชาติ และกลับคืนสู่


ท่องเที่ยวนั้นประสบความสำ�เร็จ ส่วนหนึ่งมาจากการมอบประสบการณ์ ความเรียบง่ายอีกครั้ง เพราะต่อหน้าธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ เราก็เพียงแค่
ที่หาซื้อไม่ได้ในมหานคร เพราะว่าพื้นที่เหล่านี้ได้หยิบยื่นโอกาสให้ผู้คน จุดเล็กๆ จุดหนึ่ง
ได้ปลดเปลื้องภาระความเครียดที่สั่งสมจากกิจวัตรประจำ�วันอันวุ่นวาย

ที่มา:
การบรรยายหัวข้อ A garden in my apartment โดย Britta Riley ในงาน Ted 2010 จาก ted.com rndiy.org
บทสัมภาษณ์ ชาลี กาเดอร์ หนึ่งในหุ้นส่วนและเชฟประจำ�ร้าน Surface Kitchen & Garden Lab royalflora2011.com
และอดีตเชฟสถานทูตฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ryuenishizawa.com
chezpanisse.com urbanorganicgardener.com
facebook.com/MrMaartensMicrogreens wikipedia.org
facebook.com/SurfaceKitchenAndGardenLab windowfarms.com

18 l Creative Thailand l เมษายน 2556


พบกับนิตยสาร Creative Thailand COVER STORY
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน
และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม เรื่องจากปก
หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ
กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม
• Asia Books • สมาคมธนาคารไทย
• รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย
• คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย
• C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย
• แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป
• ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม)
• โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันบุนกะแฟชั่น
• Chaho • สถาบันราฟเฟลส
• คอฟฟ เวิลด • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
• อาฟเตอร ยู ชื่อ *สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง
• ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม ชื่อและนามสกุล
• โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October นามสกุล
• ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon เพศ ชาย หญิง อายุ อีเมล
• บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ โโทรศััพทบาน โโทรศััพทที่ทำำงาน
• ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public
• รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café โทรสาร โทรศัพทมือถือ
• Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม อาชีพ
• วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา
• แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café นักเรียน นิสิต/นักศึกษา นักออกแบบ/ครีเอทีฟ อาชีพอิสระ ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
• Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art ครู/อาจารย พนักงานบริษัท ผูประกอบการ อื่นๆ โปรดระบุ
• มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม
• ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน
• ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู
• อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso • เดอะเชดี โฆษณา สถาปตยกรรม ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน หัตถกรรม/งานฝมือ อาหาร คาปลีก/คาสง
• ชีสเคกเฮาส Bar • บรรทมสถาน แฟชั่น ศิลปะการแสดง วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ การเงิน/ธนาคาร การแพทย โทรคมนาคม
• คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Minimal • บานเส-ลา
ดนตรี ภาพยนตร พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ทัศนศิลป/การถายภาพ การออกแบบ
• รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Luvv coffee Bar • Yesterday The Village
• บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • Gallery Seescape • Hallo Bar โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม อื่นๆ โปรดระบุ
• ไอเบอรรี่ • The Salad Concept • บานศิลาดล
• Take a Seat • Casa 2511 • Cotto Studio (นิมมานฯ) ที่อยูในการจัดสง
• รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • กาแฟโสด • 9w Boutique Hotel
• ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • รานสวนนม • Good Coffee หมูบาน/บริษัท หนวยงาน/แผนก
• Greyhound (Shop and Café) • กาแฟวาวี ทุกสาขา • ไหม เบเกอรี่ เลขที่ ซอย ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต
• รานกาแฟบางรัก • ช็อกโก คาเฟ • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ
• Acoustic Coffee • Love at First Bite บายนิตา จังหวัด รหัสไปรษณีย
• Mango Tango • เวียง จูม ออน • Hub 53 Bed & Breakfast
• I Love Coffee Design • Fern Forest Café • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต ที่อยูในการออกใบเสร็จ
• Just Kao Soi
โรงภาพยนตร / โรงละคร • อิฐภราดร ลําปาง เหมือนที่อยูในการจัดสง
• โรงภาพยนตรเฮาส • อาลัมภางค เกสตเฮาส
• เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร หัวหิน แอนด มอร หมูบาน/บริษัท หนวยงาน/แผนก
• ภัทราวดีเธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop เลขที่ ซอย ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต
หองสมุด • ชุบชีวา หัวหิน นาน จังหวัด รหัสไปรษณีย
• หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • ทรู คอฟฟ หัวหิน • รานกาแฟปากซอย
• หองสมุดมารวย • ดอยตุง คอฟฟ • Nan Coffee Bean
• ศูนยหนังสือ สวทช. • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ ภูเก็ต ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม
• SCG Experience แอนดคาเฟ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท
• The Reading Room • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • The Oddy Apartment
พิพิธภัณฑ / หอศิลป • สตาร บ ค
ั ส หอนาิ กา วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม)
• มิวเซียม สยาม • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel
• อุทยานการเรียนรู (TK park) สปา เลย
• หัว หิน มั
น ตรา รี
ส อรท • มาเลยเด เกสตเฮาส เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก
• หอศิลปวัฒนธรรม • บานชานเคียง โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0
แหงกรุงเทพมหานคร • เลท ซี หั วหิ

• กบาล ถมอ รี
ส อรท โคราช ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ
• การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่
• นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • บานใกลวงั • Hug Station Resort
ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand)
• HOF Art • บานจันทรฉาย ปาย 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
• ภัตตาคารมีกรุณา • รานเล็กเล็ก
โรงแรม • ลูนา ฮัท รีสอรท หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th
• หลับดี โฮเทล สีลม • ราน all about coffee สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
• The Rock • ปายหวานบานนมสด
โรงพยาบาล • บานถั่วเย็น
• โรงพยาบาลศิริราช (ถนนแนบเคหาสน) • Dip Choc Café
นครปฐม
สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand สำหรับเจาหนาที่การเงิน
• โรงพยาบาลปยะเวท • ราน Rhythm & Book
• โรงพยาบาลกรุงเทพ อุทัยธานี
• โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น • Booktopia 1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 1. เจาหนาที่การเงิน ………………………………….
กระบี่ 2. วันที่ ………………………………………………… 2. วันที่ …………………………………………………
หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น
สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org • A Little Handmade Shop 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ………………………………. 3.เมษายน 2556
วันที่โอนเงิ l Creative Thailand
น ……………………………………….. l 19
คนที่ไม่เคยเลี้ยงบอนไซจะไม่มีวันเข้าใจจริงๆว่า บอนไซคืออะไร
ตามศัพท์แล้ว บอนไซ (Bonsai) หมายถึง ต้นไม้ที่โตในกระถาง
(บอน = กระถาง ไซ = การปลูกต้นไม้) หลายคนเข้าใจผิดว่าการ
ปลูกต้นไม้พันธุ์แคระคือบอนไซ แต่แท้จริงแล้ว บอนไซคือการ
ปลูกต้นไม้ในกระถางให้ออกมาหน้าตาเหมือนกับต้นไม้ใหญ่ที่
ขึน้ ตามธรรมชาติ ไม่ตา่ งกับการนำ�ไฟฉายย่อส่วนของโดราเอมอน
ส่องไปทีต่ น้ ไม้ใหญ่ให้เหลือขนาดตามทีต่ อ้ งการ ตัง้ แต่ตน้ เล็กจิว๋
ที่สูงแค่ 2.5 เซนติเมตร จนถึงขนาดสูงท่วมหัวผู้ใหญ่

รากเหง้าของบอนไซนัน้ มาจากจีน เรียกว่า เผินจิง่ (Penjing - มีความหมาย


เดียวกับบอนไซ) เชื่อกันว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 1,500-2,000 ปีมาแล้ว
ในสมัยราชวงศ์ฉิน โดยยุคแรกจะมีการขุดต้นไม้ที่ขึ้นตามหน้าผามาปลูก
ในกระถางเซรามิก เมือ่ จีนและญีป่ นุ่ เริม่ ติดต่อค้าขายกันและรับเอาศาสนา
พุทธมาจากอินเดียในสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุนนางและชนชั้นนำ�ในญี่ปุ่นจึง
นิยมสั่งพ่อค้าจีนให้ขนต้นไม้ย่อส่วนในกระถางมาพร้อมกับเรือสินค้าด้วย
เมื่อเข้าสู่ยุคเอโดะ การจัดรูปทรงและตำ�แหน่งของกิ่งและลำ�ต้นที่ต้องทำ�
อย่างประณีตและแม่นยำ� ทำ�ให้การเลีย้ งบอนไซกลายเป็นพิธกี รรมเพือ่ ฝึก
สมาธิอย่างหนึ่งของพระนิกายเซน
ในประเทศไทย การปลูกไม้ที่มีลักษณะคล้ายๆ บอนไซมีมาตั้งแต่
สมัยอยุธยา เรียกกันว่า ไม้ดัด ส่วนบอนไซหรือไม้แคระนั้นเพิ่งจะเริ่ม
เลี้ยงกันอย่างจริงจังในช่วง 30 ปีให้หลังมานี้ โดยมีต้นไม้ไทยหลายชนิด
ที่ถูกนำ�มาทดลองปลูกเป็นบอนไซและได้รับความนิยม หลายชนิด
เป็นพันธุ์ที่ใช้ทำ�ไม้ดัดแบบไทย ก่อนจะนำ�มาทำ�บอนไซ เช่น ข่อย ตะโก
โพธิ์ มะสัง หมากเล็กหมากน้อย ชาฮกเกี้ยน ไทร ไกร หรือแม้แต่ไม้ดอก
อย่าง โมก แก้ว หรือเฟื่องฟ้า
ฐานันดร์ ปฏิภานธาดา สถาปนิก นักออกแบบบอนไซ และเจ้าของ
เว็บไซต์ bonsaibaison.com นับเป็นนักเลี้ยงบอนไซมือวางอันดับต้นๆ
ของประเทศ เริม่ ต้นจากความสนใจทีเ่ กิดขึน้ ตัง้ แต่ได้เปิดดูหนังสือบอนไซ
ภาษาญี่ปุ่นในร้านขายหนังสือต่างประเทศเมื่ออายุได้ 10 ขวบ เขาอาศัย
ภาพเทคนิคการทำ�จากหนังสือ ค่อยๆ ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดย
เริ่มจากใช้ต้นไม้ของไทยก่อน จนมาเล่นไม้สนพันธุ์ต่างๆ อย่างสนมังกร
สนสามร้อยยอด สนบลู สนปอม สนประดิพัทธ์ สนแผง และมาโฟกัสที่
สนเลื้อยและสนชิมปากุ เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา
บอนไซในแบบของฐานันดร์นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพื่อไม่ให้เกิด
เรื่อง: ปิยพงศ์ ภูมิจิตร ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง ข้อจำ�กัด เขาจะเริ่มจากการเลือกต้นไม้ที่จะใช้เป็นโครงสร้าง พยายาม
หาต้นที่โคนและรากมีลักษณะคล้ายต้นไม้ใหญ่ เลือกด้านที่สวยที่สุด
ออกแบบและสเก็ตช์ภาพ เพื่อวางเป้าหมายว่าอยากให้บอนไซมีหน้าตา
ออกมาแบบไหน จากนัน้ ก็ลงมือตัดแต่งกิง่ และใช้ลวดดัดเพือ่ ให้เกิดรูปทรง
อย่างทีต่ อ้ งการ นอกจากนี้ ฐานันดร์ยงั ได้ใช้ความรูท้ างด้านสถาปัตยกรรม
ที่รํ่าเรียนมาอย่างเทคนิคการเล่นกับแสงและเงาตกกระทบ และการสร้าง

20 l Creative Thailand l เมษายน 2556


INSIGHT
อินไซต์

รูปทรง มาเป็นพื้นฐานในการทำ�บอนไซ เขากล่าวว่าสถาปัตยกรรมและ


บอนไซแตกต่างกันเพียงที่งานสถาปัตยกรรมจะเริ่มต้นจากศูนย์และ
ความว่างเปล่า แต่สำ�หรับต้นไม้นั้นได้มีการออกแบบตัวเองไปแล้ว 50%
และการลงมือทำ�บอนไซก็คือการจัดการกับอีก 50% ที่เหลือ เพราะเชื่อว่า
การทำ�บอนไซคือการเคารพและเดินตามสิ่งที่ต้นไม้มีมาให้อยู่แล้ว
ทุกวันนี้ บอนไซในประเทศไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก แม้จะ
เป็นรองเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่ก็มีชมรมบอนไซอยู่
ทุกภูมภิ าค มีการจัดกลุม่ เวิรก์ ช็อปให้ความรูใ้ นการทำ�บอนไซกันเป็นประจำ�
ทุกเดือน เช่นเดียวกับเว็บไซต์ที่มีอายุร่วม 4 ปีของเขาที่มีผู้เข้าชมแล้ว
ประมาณ 30,000 คน ซึ่งกลายเป็นสังคมออนไลน์ของคนรักบอนไซ
ขนาดไม่ย่อมนักที่รวบรวมคนรักบอนไซจากทั่วโลกเข้ามาแลกเปลี่ยน
ความรู้ ความคิด และแรงกระตุน้ ชัน้ ดีในการทำ�บอนไซระหว่างกัน ทีส่ �ำ คัญ
คือ เป็นการต่อยอดการเลี้ยงบอนไซของฐานันดร์ให้กลายเป็นธุรกิจที่เริ่ม
จากงานอดิเรก ความรักและการเอาใจใส่ในทุกรายละเอียด ทำ�ให้ทกุ ครัง้ ที่
มีลกู ค้ามาซือ้ บอนไซจากเขา ฐานันดร์จะให้กล่องเครือ่ งมือทีม่ ที ง้ั กรรไกร
ปุ๋ย ที่ใส่ปุ๋ย และคู่มือแนะนำ�การดูแลเล็กๆ น้อยๆ ให้คนที่ซื้อไปรู้สึก
สนุกกับการดูแลไปได้นานๆ เพราะเขาเชื่อว่า บอนไซเป็นศิลปะอย่าง
เดียวที่มีชีวิต ไม่มีวันเสร็จ และเราสามารถทำ�ไปได้ตลอดชีวิต
ที่มา: บทสัมภาษณ์ ฐานันดร์ ปฏิภาณธาดา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bonsaibaison: โทร. 089 000 5544, bonsaibaison.com
facebook.com/thanun.patipantada

เมษายน 2556 l Creative Thailand l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR

Ziamese
คิด ทำ� กิน

Sisters เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

รสชาติแห่งคุณภาพจากธรรมชาติ
“ชีวิตคนเราจะยาวจะสั้นแค่ไหนไม่มีใครรู้ ทำ�งานแทบแย่ แก่ตัวลง
ก็ต้องเอาเงินมาจ่ายค่ายารักษาตัวเอง ออกมาทำ�อะไรที่อยากจะทำ�
ดีกว่า จะได้มคี วามสุข” ย้อนกลับไปเมือ่ สิบกว่าปีกอ่ น ความเครียด
จากการทำ�งานในแวดวงธนาคารพาณิชย์ และผลข้างเคียงที่เกิด
จากการรักษาอาการป่วยด้วยยาแผนตะวันตก ปลุกให้หัวใจที่รัก
ในอิสระของ นัทธ์หทัย พุกกะณะสุต บอกลางานประจำ�ที่ทำ�มากว่า
สิบปี แล้วหันมาปรับสมดุลให้ร่างกายและการใช้ชีวิตด้วยการสร้าง
ธุรกิจชาใบหม่อนสายพันธุ์ไทยภายใต้ชื่อ “ศิอามีส ซิสเตอร์ส
(Ziamese Sisters)” จนได้บุกเบิกในตลาดต่างประเทศ ด้วย
ประสบการณ์และความทุ่มเทที่การันตีด้วยรางวัลคุณภาพและ
รสชาติระดับโลก

Good Health, Good Business


จากประสบการณ์การเจ็บป่วยทำ�ให้นัทธ์หทัยได้เรียนรู้ว่าการแพทย์แผน
ปัจจุบันไม่ใช่คำ�ตอบของการรักษาเสมอไป หลายครั้งที่ศาสตร์การแพทย์
แผนโบราณซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาสามารถเยียวยาให้หายจาก
อาการป่วยได้โดยไม่กอ่ ให้เกิดผลข้างเคียง เช่นเดียวกับอาการปวดศีรษะของ
เธอทีบ่ รรเทาลงได้ดว้ ยการนวดผ่อนคลายแบบตะวันออก และเมือ่ ตัดสินใจ
บอกลาจากงานประจำ� เธอจึงเริม่ หันมาระมัดระวังเรือ่ งอาหารการกิน รวมถึง
หาความรู้เพิ่มเติมจนเกิดความเข้าใจว่า โรคภัยที่คนส่วนใหญ่เป็นกันอยู่
ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการที่มนุษย์เข้าไปยุ่งกับระบบธรรมชาติมาก
เกินไป “เราดัดแปลงพันธุกรรมเพือ่ ให้ได้ผลผลิตตามความต้องการของตลาด
และทำ�ทุกอย่างเพือ่ ให้ผลิตสินค้าได้ในปริมาณมาก จนเกิดเป็นวงจรปัญหา
ทีท่ �ำ ลายวัฏจักรทีแ่ ท้จริงของธรรมชาติ อย่างเช่น เนือ้ วัวทีเ่ รียกว่า Corn-fed
beef ซึ่งเป็นเนื้อที่ได้จากการเลี้ยงวัวด้วยข้าวโพดซึ่งมีราคาถูกและทำ�ให้
วัวโตเร็ว สารอาหารที่ได้จะต่างจากเนื้อวัวที่กินหญ้าเพราะมันผิดธรรมชาติ
ทุกวันนี้คนจึงเป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็งกันมาก เพราะผู้บริโภคเองก็
ไม่ทันคิดและไม่ได้ทำ�ความเข้าใจว่าสิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแท้จริงแล้ว
มันมาอย่างไร”

22 l Creative Thailand l เมษายน 2556


CREATIVE ENTREPRENEUR
คิด ทำ� กิน

ความตระหนั ก ในเรื่ อ งอาหารซึ่ ง ส่ ง ผล


ต่อสุขภาพโดยตรง ประกอบกับที่คุณพ่อเป็น
ข้าราชการ ทำ�ให้เมื่อลงมือจับธุรกิจของตนเอง
เธอจึงหวังว่ากิจการเล็กๆ ของเธอจะช่วยสร้าง
ชื่อเสียงให้แก่แผ่นดินบ้านเกิดได้บ้าง ดังนั้น
เป้าหมายหลักที่ตั้งไว้จึงไม่ใช่เม็ดเงินมหาศาล
แต่เป็นการนำ�เสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพชั้นเยี่ยม
ทีไ่ ด้จากการคัดสรรวัตถุดบิ พันธุด์ ี นำ�ไปปลูกใน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดโดยปล่อยให้
เติบโตตามธรรมชาติ ด้วยเหตุผลที่ว่า “เมื่อ
ลงมือทำ�แล้วก็อยากจะทำ�ให้ดี ไม่ดกี ไ็ ม่สบายใจ
เพราะว่ามันเป็นเรื่องสุขภาพของคน”

Everyone’s Cup of Tea เพื่อพิสูจน์ว่าการเข้าใจธรรมชาติของต้นหม่อน ระดับกลางและสูง โดยนำ�เข้าชาคุณภาพดีจาก


ความตัง้ ใจเริม่ แรกของเธอ คือการพัฒนาสินค้า อย่างทะลุปรุโปร่ง การคัดเลือกสายพันธุท์ ด่ี ี และ ทั่วโลก พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเบเกอรี่ที่
ไทยให้มีคุณภาพและเป็นที่รู้จักในตลาดโลก การควบคุมกระบวนการปลูกในไร่ของเธอเอง ทำ�จากหม่อนและวัตถุดิบสดใหม่อื่นๆ อาทิ
ในขณะนั้นชาใบหม่อนยังไม่เป็นที่นิยมนัก เธอ ทำ�ให้ได้คุณภาพและรสชาติที่แตกต่างจริง เธอ ครัวซอง คุกกี้และแยมลูกหม่อนซึ่งกำ�ลังอยู่ใน
จึงส่งตัวอย่างชาไปทำ�วิจัยที่คณะการแพทย์ จึงทดลองส่งชาใบหม่อนสูตรต้นตำ�รับซึ่งเป็น ช่วงทดลองตลาด นอกจากนี้ ยังเปิดคอร์สทำ�
แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จนพบว่าชา ผลิตภัณฑ์ตัวแรกไปประกวดในปี 2006 ที่กรุง อาหารส่วนตัวในครัวทีบ่ า้ นของเธอเอง โดยหวัง
ใบหม่อนมีข้อได้เปรียบเหนือชาทั่วไปที่ผลิต บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และได้รับรางวัล จะสร้ า งความนิ ย มในการดื่ ม ชาและทำ � ให้
จากใบของต้นชา (Camellia Sinensis) เพราะ Superior Taste Award ด้วยคะแนนถึง 89.6% ผลิตภัณฑ์จากชาใบหม่อนเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ไม่มสี ารคาเฟอีนและสารแทนนิน จึงไม่มรี สฝาด จากสถาบันอาหารชั้นนำ� iTQi ซึ่งก่อตั้งโดย อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงเป้าหมายต่อไปของ
ไม่ทำ�ให้ท้องผูกหรือนอนไม่หลับ นอกจากนี้ยัง คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) หลังจากนัน้ ไม่นาน ธุรกิจ เธอบอกกับเราเพียงว่า อยากทำ�สินค้า
มีสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทิน (Quercetin) ปีเตอร์ กอร์ดอน (Peter Gordon) เชฟมิชลินสตาร์ ให้ดีที่สุด เพราะเชื่อว่า “ของดี อย่างไรก็มีคน
และเคมเฟอรอล (Kaempferol) ซึ่งมีสรรพคุณ ซึง่ เคยได้รบั ชาของเธอเป็นของทีร่ ะลึก ก็ได้ตดิ ต่อ ต้องการ” เช่นเดียวกับทีเ่ คยมีคนถามเธอว่าคูแ่ ข่ง
บรรเทาอาการแพ้หรืออักเสบ ทั้งยังช่วยชะลอ ให้เธอส่งตัวอย่างชาไปให้ก่อนตัดสินใจรับไป ทางธุรกิจของเธอคือใคร และคำ�ตอบของเธอ
การเติบโตของเซลล์มะเร็ง ชาใบหม่อนจึงเหมาะ ขายในร้านอาหารของเขา “ตอนทีห่ ยิบชาออกมา ก็คือ “ไม่ได้มองว่าใครเป็นคู่แข่ง แต่อยากมอง
กับผูบ้ ริโภคทุกวัย และสามารถตอบโจทย์ตลาด เขาก็ท�ำ หน้าไม่คอ่ ยดีแล้ว เพราะเห็นว่าเป็นชาถุง ให้เป็นคู่ค้ามากกว่า อีกอย่างเราอยากทำ�ของ
โลกในอนาคตที่ ก ระแสรั ก สุ ข ภาพกำ � ลั ง ทวี ดีที่เขาเห็นใจว่าเรามาไกล พอชิมปุ๊บก็รีบฉีกถุง เราให้ดีก่อน”
ความสำ�คัญขึ้นได้ดี ออกเลย แล้วก็หยิบขึ้นมาดมใหญ่ ชมว่ากลิ่น ความเชือ่ ทีส่ ะท้อนถึงการมองข้ามขีดจำ�กัด
ดีมาก ถามว่ายังมีรสอื่นอีกไหม ช่วยส่งราคา ทางความคิดนี้ ไม่เพียงตอกยํ้าถึงความเป็น
Journey of the Perfect Taste มาให้หน่อย” ปัจจุบันชาสมุนไพรหอมกรุ่นของ ตัวจริงด้านผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของศิอามีส
การตีตลาดในระยะแรกของศิอามีสพบอุปสรรค เธอจึงได้อวดโฉมในร้านขายชาและร้านอาหาร ซิสเตอร์ส แต่ยังแสดงให้เห็นว่า การเคารพซึ่ง
ไม่น้อย เนื่องจากคนไทยมักเลือกซื้อสินค้า ในกรุงลอนดอนไม่ตํ่ากว่าสี่ร้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่ กันและกัน และการรับผิดชอบทัง้ ต่อตนเองและ
จากราคาเป็นอันดับแรก ในขณะที่ชาวต่างชาติ เป็นร้านของเชฟระดับมิชลินสตาร์ทั้งหมด ผูอ้ น่ื ด้วยการทำ�หน้าทีข่ องตนเองให้ดที ส่ี ดุ ยังคง
แม้จะเห็นคุณค่าแต่ก็มองว่าสินค้าไทยเป็นของ เป็นสิ่งสำ�คัญที่ธรรมชาติได้สอนให้เราเรียนรู้
ถูกที่สามารถต่อรองราคาได้ ดังนั้นลูกค้ากลุ่ม Do the Best, the Key to Success อยู่ตลอดเวลา
แรกๆ ของศิอามีสจึงเน้นไปที่โรงแรมเป็นหลัก เมื่อเร็วๆ นี้ นัทธ์หทัยยังได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่
เธอรู้ดีว่านอกจากคุณภาพที่ได้มาตรฐานแล้ว “พาเล ดู โดฟีน (Palais Du Dauphine)” ที่วาง ศิอามีส ซิสเตอร์ส: ziamesesisters.com,
เมื่อขึ้นชื่อว่าอาหาร รสชาติเป็นสิ่งสำ�คัญที่สุด ตำ � แหน่ ง ทางการตลาดไว้ สำ � หรั บ ผู้ บ ริ โ ภค ziameseteasociety.com

เมษายน 2556 l Creative Thailand l 23


CREATIVE CITY
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

MARLBOROUGH บ่มมูลค่าเมืองในขวดไวน์
เรื่อง: รัตมา พงศ์นพรัตน์

© Tim Clayton/ Corbis


"โซวีญยองบล็องทำ�ให้มาร์ลโบโรห์ประสบความสำ�เร็จ และมาร์ลโบโรห์ก็ทำ�ให้โซวีญยองบล็องประสบความสำ�เร็จเช่นกัน"
บ็อบ แคมป์เบลล์
หากกล่าวถึงความนิยมในไวน์แห่งโลกใหม่อย่างนิวซีแลนด์ พันธุ์องุ่นที่สร้างชื่อเสียงติดอันดับต้นๆ ในตลาดโลกซึ่งบ็อบ แคมป์เบลล์
(Bob Campbell) กูรูด้านไวน์ถึงกับยกให้เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของประเทศแทนผลไม้เลื่องชื่ออย่างกีวีก็คือ องุ่นขาวพันธุ์โซวีญยอง
บล็อง (Sauvignon Blanc) ซึ่งมีการเพาะปลูกมากถึงร้อยละ 57 ของจำ�นวนไร่องุน่ ทัว่ ทัง้ ประเทศ และถูกนำ�มาผลิตเป็นไวน์ถงึ ร้อยละ
69 โดยร้อยละ 89 ของไร่องุ่นพันธุ์นี้ล้วนตั้งอยู่ที่แคว้นทางเกาะใต้ของประเทศนิวซีแลนด์อย่าง "มาร์ลโบโรห์ (Marlborough)"
แม้จะมีอายุเพียง 40 ปี แต่องุน่ ขาวพันธุโ์ ซวีญยองบล็องจากไร่ในมาร์ลโบโรห์ การกระโจนเข้ า สู่ ค วามสำ � เร็ จ อย่ า งรวดเร็ ว อั น เป็ น ผลมาจาก
ก็สามารถตีตลาดไวน์แห่งโลกเก่าอย่างฝรั่งเศสได้อย่างไม่ไว้หน้า ทัง้ ยังได้ องค์ประกอบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นใจ และความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
เปลี่ยนภาพลักษณ์ของมาร์ลโบโรห์จากเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะดิน ของกลุ่ ม อุ ต สาหกรรมไวน์ ที่ ทำ � ให้ รั ฐ บาลท้ อ งถิ่ น เล็ ง เห็ น และให้ ก าร
แดนแห่งความสมบูรณ์ของแสงแดดและการผลิตข้าวบาร์เลย์ ไปสูศ่ นู ย์กลาง สนับสนุน ตลอดจนการให้ความสำ�คัญในการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ ไม่วา่
แห่งการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยม ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่องุ่นขาวพันธุ์โซวีญยองบล็อง จะเป็นในด้านการวิจัยและการค้นคว้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อยู่ภายใต้
เท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาร์ดอเนย์ (Chardonnay) รีเอสลิง (Riesling) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้ไวน์ของ
ปิโนต์กรีส์ (Pinot Gris) และองุ่นแดงพันธุ์ปิโนต์นัวร์ (Pinot Noir) ที่ได้รับ มาร์ลโบโรห์ได้รับความนิยมจนถึงขีดสุด และยังจะคุมบังเหียนในการ
การยอมรับและการันตีจากเวทีประกวดไวน์ระดับโลก เป็นผู้นำ�การผลิตไวน์ในสายพันธุ์อื่นๆ อีกในอนาคต
24 l Creative Thailand l เมษายน 2556
CREATIVE CITY
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

จะรู้ว่าดินแดนแห่งนี้มีศักยภาพที่ดีพร้อมสำ�หรับการเจริญเติบโตขององุ่น
ซึ่งเป็นผลผลิตตั้งต้นในการผลิตไวน์
ในปี 1973 ขณะที่ผู้ผลิตไวน์รายใหญ่จากโอ๊กแลนด์อย่างมอนแทนา
(Montana) กำ�ลังมองหาที่ทางในการขยับขยายกิจการไวน์ของตนจาก
การผลิตเพื่อบริโภคภายในเป็นการส่งออก การสำ�รวจพื้นที่เพาะปลูก
เพิ่มเติมทางเกาะใต้ซึ่งยังมีราคาถูกกว่าเกาะเหนือ ประกอบกับสภาพ
แวดล้อมที่อำ�นวย คือ มีแสงแดดปริมาณมากพอ มีปริมาณนํ้าฝน
ค่อนข้างตํ่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ระบายนํ้าได้ดี และ
ปราศจากนํ้าค้างแข็งตามฤดูกาล จึงทำ�ให้มอนแทนาตัดสินใจซื้อที่ดินใน
มาร์ลโบโรห์และเริ่มการปลูกองุ่นเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ก่อนที่จะมีการ
จับจองผืนดินจากผู้ผลิตรายอื่นในเวลาต่อมา ซึ่งรวมถึงจิเซ็น (Giesen)
ครอบครัวเชื้อสายเยอรมันที่ย้ายรกรากมายังนิวซีแลนด์ และเพิ่งเริ่ม
เพาะปลูกองุ่นเพื่อทำ�ไวน์ที่มาร์ลโบโรห์ในปี 1981 แต่สามารถผลิตไวน์
ออร์แกนิกคุณภาพรางวัลเหรียญทองที่มีโรเบิร์ต ปาร์กเกอร์ (Robert
Parker) การันตีความโดดเด่น (Outstanding) อย่างต่อเนื่องมาจนถึง
ปัจจุบัน

appzoom.com

WINE INDUSTRY

facebook.com/marboroughwinefestival
ไวน์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็วของนิวซีแลนด์ ซึ่ง
มีมูลค่าถึง 28.3 พันล้านบาทในปี 2011 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่า 15,167
ล้านบาทในปี 2006 โดยเกือบร้อยละ 80 ของจำ�นวนการส่งออกทั้งหมดถูก
ส่งไปยังประเทศที่เป็นผู้นำ�ด้านการส่งออกไวน์ อาทิ ออสเตรเลีย ร้อยละ 31
สหราชอาณาจักร ร้อยละ 26 และสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 21 ทั้งนี้ภูมิภาค
ที่ผลิตไวน์รายใหญ่ซึ่งคอไวน์คุ้นหูกันดีในนิวซีแลนด์ก็ได้แก่ โอ๊กแลนด์
(Auckland) กิสบอร์น (Gisborne) ไวราราปา (Wairarapa) มาร์ตินโบโรห์
(Martinborough) ฮอว์กสเบย์ (Hawke’s Bay) เซ็นทรัล โอทาโก (Central ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างของมาร์ลโบโรห์ในแต่ละพื้นที่ ยัง
Otago) แคนเทอร์เบอรี่ (Canterbury) และมาร์ลโบโรห์ (Marlborough) อำ�นวยให้ไวน์ที่ปลูกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยพื้นที่ที่มีเทือกเขาไคคูรา
โดยปัจจุบันที่มาร์ลโบโรห์แห่งเดียวมีพื้นที่ปลูกไวน์กว่า 23,600 เอเคอร์
(Kaikoura) ปกคลุมทางภาคตะวันตกของเกาะใต้ คั่นกลางด้วยแม่นํ้า
ไวราว (Wairau) ซึ่งเป็นบริเวณลุ่มแม่นํ้าที่มีดินชนิดพิเศษที่เรียกว่า
A LAND LIKE NO OTHER “Bony Soil” อยู่ทางตอนเหนือของถนนนิว เรนวิก (New Renwick)
จึงทำ�ให้เมล็ดองุ่นมีรสชาติดีและกลิ่นหอมละมุน ขณะที่ดินโคลนทาง
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีไวน์ที่ไหนในโลกที่มีรสชาติเหมือนไวน์ที่บ่มจาก ด้านใต้ของลุ่มแม่นํ้าไวราวจะให้รสชาติที่เข้มข้น มีกลิ่นอายของเสาวรส
องุ่นแห่งมาร์ลโบโรห์ ด้วยลักษณะพิเศษที่สามารถรักษาความบริสุทธิ์ของ เคพกูสเบอร์รี่ และผลไม้เมืองร้อนซ่อนอยู่ ส่วนองุ่นขาวพันธุ์โซวีญยอง
รสสัมผัสให้สมดุลกับรสชาติอันเข้มข้นและกลิ่นที่น่าประทับใจ และหาก บล็องที่ปลูกในบริเวณลุ่มแม่นํ้าอวาทีรี (Awatere) ที่มีสภาพภูมิอากาศ
ดิน นํ้า และแสงแดด คือปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการฟูมฟักเมล็ดองุ่นให้ พิเศษ โดยมีอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างตอนกลางวันที่จะมี
เจริญงอกงาม แต่ประวัติความเป็นมาของการปลูกพันธุ์องุ่นนำ�เข้าและ อากาศร้อนจัดและจะเย็นลงอย่างมากในตอนกลางคืน ซึ่งภูมิอากาศเช่น
ผลิตไวน์ในมาร์ลโบโรห์ในช่วงเริม่ ต้นนัน้ กลับมาจากความจำ�เป็นในฐานะ นี้จะช่วยยืดเวลาการสุกงอมของเมล็ดองุ่น และส่งผลให้มีกลิ่นอายของ
เครื่องดื่มทางสังคมและเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มากกว่าที่ หญ้าตลอดจนได้รสชาติขององุ่นที่เข้มข้นกว่าปกติ
เมษายน 2556 l Creative Thailand l 25
CREATIVE CITY
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เทศบาลที่แข็งแกร่ง
ส่วนหนึ่งของการรักษาสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยต่อการเพาะปลูกองุ่น และยังถูกนำ�ไปปฏิบัติในแถบชายฝั่งและเขตเทศบาลเมืองมาร์ลโบโรห์
เพื่อผลิตไวน์ชั้นเลิศของภูมิภาคใหญ่อย่างมาร์ลโบโรห์นั้น มาจากรูปแบบ โดยจะเน้ น การส่ ง เสริ มการบริ ห ารจั ด การที่ ยั่ ง ยื น ของทรั พ ยากรทาง
การบริหารงานของเทศบาล การจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลสมาชิกผู้ผลิต กายภาพของภูมภิ าคทัง้ หมด แผนนีจ้ งึ จะครอบคลุมนโยบาย กระบวนการ
และการจัดตั้งศูนย์พัฒนาข้อมูลอย่างอย่างจริง ด้วยความร่วมมือร่วมใจ ต่างๆ และกฎระเบียบเพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทว่ี างไว้ และ 3) แผนบริหาร
จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและต่างก็มองเห็นโอกาสการงอกเงยของเมล็ด จัดการทรัพยากรของแม่นํ้าไวราวและแม่นํ้าอวาทีรี ซึ่งเป็นแผนงานที่
พันธุ์องุ่นที่จะผลิดอกออกผลเป็นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมือง เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนของลุ่มแม่นํ้า
นิวซีแลนด์ประกอบขึ้นด้วย 2 เกาะใหญ่ๆ คือเกาะเหนือและเกาะใต้ ทั้งสอง
โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 5 เขตเทศบาล แต่ละพื้นที่มีอิสระที่จะดูแล นอกจากนี้ ทางเทศบาลมาร์ลโบโรห์ยังได้ร่วมมือกับชุมชนในการ
ปกครองและออกนโยบายภายในเขตของตนเองโดยไม่ต้องผ่านการเห็น วางกรอบวิสัยทัศน์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างพร้อมเพรียงกัน โดย
ชอบจากรัฐบาลกลาง แต่ถึงกระนั้น เทศบาลเขตมาร์ลโบโรห์ที่อยู่บน ตั้งโจทย์ง่ายๆ ว่าเราอยากเห็นอะไรในมาร์ลโบโรห์ในอีกสิบปีข้างหน้า
เกาะใต้ ข องนิ ว ซี แ ลนด์ ก็ ยั ง จำ � เป็ น ต้ อ งกำ � หนดให้ มี ก ารจั ด ทำ � แผน เพื่ อ จะได้ เ ห็ น มาร์ ล โบโรห์ เ ป็ น เมื อ งที่ พั ฒ นาเชื่ อ มต่ อ กั บ ทั่ ว โลก
และนโยบายของเทศบาล รวมไปถึงการวางกฎระเบียบการบริหารเพื่อ มีอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นสถานที่ที่มี
จัดการกับปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ภายใต้ขอบเขต สิง่ แวดล้อมทีส่ มบูรณ์ ทั้งนี้จุดประสงค์หลักของการสร้างวิสัยทัศน์ดังกล่าว
ของร่มบทบั ญ ญั ต ิ ก ารบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ ปี 1991 ก็เพื่อสร้างให้มาร์ลโบโรห์กลายเป็นภูมิภาคที่ทั้งฉลาดและมีการเชื่อมต่อ
(Resource Management Act 1991) อย่างสมบูรณ์ (Marlborough Smart and Connected) โดยมีการ
จากข้อกำ�หนดดังกล่าวจึงส่งผลให้ขอบข่ายงานด้านการจัดการ ส่งเสริมให้ชุมชนคิดอย่างมีกลยุทธ์ สามารถแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
บริหารแผนเทศบาลมาร์ลโบโรห์ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 แผนใหญ่ๆ คือ และนำ�กลยุทธ์ใหม่ๆ มาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส การเกิดขึ้นของ Smart
1) ถ้อยแถลงนโยบายภูมิภาคเทศบาลมาร์ลโบโรห์ (Marlborough Business Marlborough ยังนับเป็นบริการอีกประเภทหนึ่งที่เทศบาลได้
Regional Policy Statement) แผนปฏิบัติการนโยบายส่วนภูมิภาคที่ จัดเตรียมไว้เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ โดยให้ประชาชนเข้ารับ
นำ�มาบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพ คำ�ปรึกษา หรือค้นหาข้อมูลด้านการลงทุนทำ�ธุรกิจใหม่ๆ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง
2) แผนบริหารจัดการทรัพยากรทีด่ ขี องมาร์ลโบโรห์ (Marlborough Sounds แผนบริหารจัดการต่างๆ การขออนุญาตสร้างอาคาร ข้อมูลสาธารณูปโภค
Resource Management Plan) เป็นแผนปฏิบัติการที่เป็นทั้งของภูมิภาค การจัดหาที่ดิน แรงงาน ครอบคลุมไปจนถึงกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรฐกิจ

Yealands Estate Wines


นอกจากเรื่องของรสชาติแล้ว สิ่งที่น่าสนใจของไวน์จากไร่องุ่นในมาร์ลโบโรห์คือ
การนำ�การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมาเป็นหัวใจหลักในการประกอบธุรกิจ เช่น
อุตสาหกรรมไวน์ภายใต้การนำ�ของปีเตอร์ เยียแลนด์ส (Peter Yealands)
Yealands Estate Wines ถือว่าเป็นโรงกลั่นไวน์น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อ
สิงหาคม ปี 2008 แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นผู้ผลิตไวน์ชั้นนำ�ระดับโลกในด้านการ
ดำ�เนินงานที่ยั่งยืนในทุกขั้นตอนของการผลิต อาทิ รถแท็กเตอร์ใช้นํ้ามันไบโอ
ความร้อนของนํ้าในการทำ�ไวน์ได้มาจากการตัดกิ่งของต้นองุ่นมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
ใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่ทำ�จากกากขององุ่น และที่น่าตื่นตาตื่นใจคือการใช้แกะ Babydoll
ถอนหญ้าในไร่องุ่น ส่งผลให้ช่วยกำ�จัดแมลงรบกวนต้นองุ่นได้โดยปริยาย ซึ่ง
โรงกลั่นไวน์แห่งนี้ไม่เพียงได้รับการรับรองจาก Sustainable Winegrowing New
Zealand แต่ยังได้รับประกาศนียบัตรจาก carboNZero และ ISO14001 ในการ
บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้วิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ ผสมผสาน
กับความคิดสร้างสรรค์แสวงหาสิง่ ใหม่อย่างไม่หยุดนิง่ ทำ�ให้ Yealands Estate Wine
ได้รับรางวัลประเภท “Business Innovation” ของ Marlborough Environment
Award เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2013 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับการสนับสนุนจาก
เทศบาลเมื อ งมาร์ ล โบโรห์ เ พื่ อ ยกย่ อ งธุ ร กิ จ ที่ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำ � คั ญ ของ
vitalia.cz

สิ26่งแวดล้ อมที่ดี Thailand l เมษายน 2556


l Creative
CREATIVE CITY
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ของเทศบาลมาร์ลโบโรห์เอง เทศบาลมาร์ลโบโรห์ เพื่อให้ความรู้ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดองุ่นที่สุก


ศูนย์วิจัยไวน์แห่งมาร์ลโบโรห์ (The Marlborough Wine Research พอเหมาะสำ�หรับการบ่ม ไปจนถึงความสำ�คัญของไนโตรเจนในกระบวนการ
Center) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1984 จากการรวมกลุ่มเกษตรกร ชาวนา และ ผลิตไวน์ ในขณะที่สถาบันวิจัยคราวน์ (Crown Research Institute) นั้น
นักการเมืองผู้มองการณ์ไกลซึ่งเล็งเห็นความสำ�คัญของการพัฒนาด้าน ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิและกลุ่มนักธุรกิจ เพือ่ ทำ�ผลงาน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีระบบการบริหารจัดการแบบทรัสต์เพื่อ วิจัยที่เจาะเรื่องเมล็ดพันธุ์ของโซวีญยองบล็อง อันเป็นการรักษาคุณภาพ
การกุศล (Charitable Trust) ยังมีส่วนช่วยผลักดันเรื่องการพัฒนาด้าน ของพันธุ์องุ่นให้โด่งดังไปทั่วโลกและรักษามาตรฐานในตลาดระหว่าง
เกษตรกรรม พืชสวน และการทำ�ไร่องุ่นโดยเฉพาะ องค์กรนีท้ �ำ งานร่วมกับ ประเทศ
© Tim Clayton/ Corbis

เศรษฐกิจรสละมุน
"เราเลือกโปรแกรมทัวร์ไร่องุ่นในมาร์ลโบโรห์จากคำ�บอกเล่า และเราก็ไม่ ในหัวข้อต่างๆ เกีย่ วกับไวน์จากผูผ้ ลิตไวน์ชน้ั นำ� และเข้าชมห้องจัดแสดง
ผิดหวังเลย" นักท่องเที่ยววัยปลดเกษียณชาวอังกฤษผู้มีโอกาสได้เดินทาง วัตถุดิบอันเลิศรสสำ�หรับคนรักอาหาร พร้อมการสาธิตวิธีทำ�อาหารจาก
ไปมาร์ลโบโรห์ครั้งแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมากล่าว มาสเตอร์เชฟของนิวซีแลนด์ และเพลิดเพลินกับการแสดงดนตรีของ
ไวน์ไม่เพียงเป็นทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจของมาร์ลโบโรห์และ นักร้องนำ�ประจำ�ท้องถิ่น เป็นต้น รูปแบบการจัดงานเทศกาลดังกล่าว
นิวซีแลนด์ แต่ยังเป็นตัวแปรทางด้านวัฒนธรรมในการกินดื่มของประเทศ จึงนับว่าเป็นการทำ�ตลาดเพื่อการท่องเที่ยวของเมืองและประเทศอีกรูป
ซึ่งนำ�ไปสู่ก ารสร้า งรายได้ให้ก ับ อุตสาหกรรมภาคอื่นๆ ด้ว ย เช่น แบบหนึ่งที่สามารถนำ�รายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ�
การท่องเที่ยว และการบริการ โดยเห็นได้จากการจัดเทศกาลต่างๆ ใน
ที่มา:
แต่ละเมืองที่ผลิตไวน์ สำ�หรับมาร์ลโบโรห์ เทศกาลอาหารและไวน์ bobcampbell.co.nz
(Marlborough Wine and Food Festival) จะจัดขึ้นครบรอบ 30 ปี ในปี marlborough.govt.nz
mrc.org.nz
2014 โดยผู้เข้าร่วมเทศกาลจะสามารถลองลิ้มรสชาติของไวน์ชั้นนำ�และ marlboroughwinefestival.co.nz
อาหารรสเลิศ อีกทั้งยังสามารถบำ�รุงสมองด้วยการเข้าร่วมงานสัมมนา tripadvisor.com

เมษายน 2556 l Creative Thailand l 27


THE CREATIVE
มุมมองของนักคิด

นอกเหนือจากบทบาทหน้าที่หลักในการเป็นนักออกแบบตกแต่ง
ภายใน รวมถึงการเป็นเชฟและเจ้าของร้านชาในสวนสวยใจกลาง
สุขุมวิทอย่างร้านอกาลิโก (Agalico) งานอดิเรกที่เป็นเหมือน
ลมหายใจของ ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล อีกอย่างหนึ่งก็คือการออกแบบ
สวนซึง่ เขาทำ�อย่างต่อเนือ่ งมากว่าสิบปี ความคุน้ เคยทีห่ ล่อหลอม
เป็นความหลงใหลนี้ ทำ�ให้ ม.ล.ภูมิใจถ่ายทอดความรักในต้นไม้
สูพ
่ ื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เพียงสวนในบ้านของตนเองเท่านั้น แต่หมาย
รวมถึงสวนในสถานที่ สำ � คั ญ ทางประวั ติ ศ าสตร์ อ ย่ า งสวนใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวนในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
หรือสวนรอบพระตำ�หนักคอยท่าปราโมช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
เป็นต้น
สิ่งที่ม.ล.ภูมิใจยึดถือเป็นวิถีในการออกแบบสวนนั้น ไม่ได้
เป็นเรื่องความแม่นยำ�ของหลักการ หรือองค์ประกอบการจัดวาง
ต้นไม้ที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยน แต่กลับเป็นประสบการณ์ที่สั่งสม
มาอย่างยาวนาน ผ่านแนวคิดในการสร้างพืน้ ทีท่ ร่ี อ้ ยสายสัมพันธ์
เข้าไว้กับชีวิตของผู้อาศัย ชีวิตของสวนและชีวิตของคนที่เป็น
ส่วนหนึ่งซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืน โดยสิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ
การส่งต่อเรื่องราวแห่งความสวยงามหรือคุณสมบัติของพันธุ์
ไม้ที่บรรจุไว้ในแต่ละสวนให้ถึงมือคนรุ่นหลังได้อย่างสมบูรณ์

LET YOUR
PASSION LIVE,
SHARE IT WITH FUTURE.
ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

28 l Creative Thailand l เมษายน 2556


THE CREATIVE
มุมมองของนักคิด

จุดเริ่มต้นของความชอบในการทำ�สวน กระบวนการในการออกแบบสวน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง


เดิมทีที่ตรงนี้ (สุขุมวิท) เราเพาะปลูกกันหมด ไม่ได้มีตึกรามบ้านช่องเลย เวลาจัดสวน เรานึกถึงคอมมอนเซ็นส์ก่อนอื่นเลย ว่านี่คือสวนอะไร เรา
คือเป็นบ้านนะ แต่เป็นบ้านแบบวิลล่า พอหลังสงครามโลกคนก็เลยคิดว่า กำ�ลังทำ�สวนดอกไม้ สวนต้นไม้ หรือสวนหิน คือเราต้องถามตัวเราก่อน
ถิ่นนี้ดี ชวนกันมาปลูกบ้าน มีสวนอยู่กันแถบชานเมือง แล้วความเจริญ ว่าเราเป็นใคร แล้วเรากำ�ลังทำ�อะไร ทำ�ให้ใคร ทำ�อย่างไร คือ 3 คำ�ถาม
ก็ค่อยๆ เข้ามา แต่ก่อนนี่นํ้าทั้งนั้นเลย สุขุมวิทนี่หล่อด้วยนํ้า แล้วเวลามี นี้ต้องขึ้นมาก่อนเสมอ ไม่ใช่แค่เฉพาะสวน แต่เฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น
นํ้าท่วมนี่ไปเร็ว เพราะคลองต่อกันหมด แล้วนํ้าก็ลงแม่นา้ํ เจ้าพระยาหมด ทั้งหมด อย่างน้อยถ้าเราตอบคำ�ถามเหล่านี้ได้ ทุกอย่างจะลงตัวไป
ปลูกต้นไม้ดี เพราะว่านํ้าท่วมนำ�มาซึ่งปุ๋ยธรรมชาติ นํ้าฝนมันชะป่าไม้ เปาะหนึง่
ชะพื้นดินที่อยู่ทางเหนือของประเทศ มันเป็นการให้ปุ๋ยธรรมชาติ ต้องดูว่าถ้าเราไปทำ�สวนในพื้นที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ อย่างเช่น
สำ�หรับสวนกับเรานี่ค่อยๆ โตมาด้วยกัน เกิดจากความที่ว่าเรามี วัดบวรนิเวศวิหารหรือพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เราต้องดูว่าสิ่งที่เขา
สิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็นแบบนี้ ตั้งแต่เด็กแล้ว ปูเ่ ราชอบทำ�สวน เราก็ชอบทำ�สวน ปลูกอยูก่ อ่ นคืออะไร แล้วว่าสิง่ ทีเ่ ขาต้องการรักษาไว้คอื อะไร ดูสถานทีก่ อ่ น
ชอบรดนํ้าต้นไม้ ปู่จะลงสวนห้าโมงเย็นถึงทุ่มนึง เราก็ถือกรรไกรและ เพราะถ้าเกิดเราลุกขึ้นทำ�สวนหินญี่ปุ่นในพระราชนิเวศน์ฯ ก็คงไม่ได้
ตะกร้าตาม ปู่จะคอยบอกว่าตัดต้นนี้ เล็มแบบนี้ เราเลยได้ตั้งแต่เด็ก มฤคทายวันคืออะไร ต้องตอบให้ได้ก่อน นั่นคือพระราชวังที่สถาปนิกชาว
มีอยู่วันหนึ่ง ในบ้านมีบ่อนํ้าพุ เราก็รู้สึกว่านํ้าพุนี้ไม่สวยเลย ดูแห้งแล้ง อิตาลีออกแบบ โดยใช้แรงบันดาลใจจากอินเดีย เพราะฉะนั้นที่นี่คือ
เราก็เอาต้นไม้ทป่ี เู่ พาะไว้หลังบ้านมาจัด ปู่จะสอนเลยว่าอันนี้ไม้รม่ ตัดกิง่ ลูกครึง่ เลย์เอาท์เป็นอิตาลี องค์ประกอบก็อติ าลีสดุ ๆ เลย แต่รายละเอียด
แบบไหนๆ เราก็ได้เรียนโดยมีปู่เป็นครูคนแรก ปู่ก็ปลื้มมากเลยตอนนั้น มีความเป็นอินเดีย เพราะสยามมีแรงบันดาลใจมาจากอินเดีย เวลาจัดสวน
นั่นเป็นสวนแรกในชีวิตที่ทำ� แต่ว่าทำ�แล้วรู้เลยว่าเรามีแรง มีพลังอยากจะ ก็อิงตามเลย์เอาท์ที่เป็นอิตาลี และมีรายละเอียดที่เป็นอินเดียเหมือนกัน
ทำ�มันต่อไป รายละเอียดในที่นี้หมายถึงการดัดต้นไม้ ลวดลายที่อยู่บนสนาม ก็ต้องใช้
ลายอินเดีย
มุมมองและความหมายของคำ�ว่าธรรมชาติ
ธรรมชาติคือสิ่งที่เรารัก รักธรรมชาติของเราไม่ใช่รักแบบตกหลุมรัก รัก เราจะหาจุดตรงกลางระหว่างความสวยงาม ความพึงพอใจ และการใช้
ของเราคือ “รักษ์” แล้วเวลาที่เรารักษ์อะไรสักอย่าง เราต้องรักษาให้เขา ประโยชน์สำ�หรับการทำ�สวนได้อย่างไร
อยู่โดยสวัสดิภาพใช่ไหม ไม่ใช่ว่าเรารักษ์อะไรสักอย่าง แล้วเราอ้างอิงถึง เราต้องรู้จักคนที่เราจะออกแบบให้ก่อน ต้องคุยกับเขาให้มาก ต้องรู้จัก
จนมันพังทลาย เอามาใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง นั่นไม่ได้เรียกว่ารัก วิถชี วี ติ เขาด้วย แล้วจริงๆ ดีไซเนอร์คนหนึง่ ต้องคุน้ เคยกับวิถชี วี ติ แบบนัน้
หรือรักษ์แล้ว ต้องรักษาให้คงอยู่ตลอดไป สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่บรรพบุรุษมอบ เป็นเรื่องของวาระและโอกาส การใช้ประโยชน์มาเป็นอันดับหนึ่ง ทำ�อะไร
มาให้ เราต้องรักษาไว้ให้รุ่นต่อไป ลองมองกลับไปในอดีตดูสิ อันไหนดี ให้ใคร ทำ�อย่างไร คิด 3 อันนี้ก่อน แล้วสไตล์จะตามมาทีหลัง
เราเก็บ เพราะว่าเรามีหน้าที่ คนรุ่นหนึ่งมีหน้าที่ส่งต่อให้คนอีกรุ่นหนึ่ง การทำ�สวนต้องทำ�เอง ดีไซเนอร์ที่ไม่ทำ�สวนเอง ก็จะได้สวนที่ไม่มี
แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดหูปิดตาไม่รับสิ่งใหม่ แต่ว่าเรามีหน้าที่ ชีวิต แล้วจะไม่เข้าใจต้นไม้เลย เพราะต้นไม้คือสิ่งที่ต้องลองผิดลองถูก
จัดเก็บของที่ดีส่งต่อให้ลูกหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อม รวมไป เอง ทำ�เอง วางเอง เราจะได้รู้ว่าธรรมชาติของต้นไม้ต้นไหนเป็นอย่างไร
ถึงวัฒนธรรมและประเพณี เพราะต้นไม้เป็นส่วนหนึ่งของเรา แต่ส�ำ หรับเรามันคือชีวติ ของเราทัง้ หมด
มันคือความรู้ คือประสบการณ์ที่สะสมมาทั้งชีวิต แล้วต้องสะสมด้วยการ
การออกแบบสวนที่ดีเป็นอย่างไร รูจ้ กั ต้นไม้ เมือ่ คนทำ�สวนต้องรูจ้ กั ต้นไม้ สวนทีอ่ อกแบบมาด้วยคนทีไ่ ม่รจู้ กั
สวนที่ดีคือการสร้างสิ่งแวดล้อมให้นกเข้ามาอยู่ให้ได้ เหตุหนึ่งที่เราต้องมี ต้นไม้จึงจะดูตลก
นก เพราะนกคือตัวกินแมลงให้เรา นกตัวหนึ่งกินหนอน กินแมลงวันละ
ไม่รู้กี่ร้อยตัว เพราะถ้ามีนกสักฝูงหนึ่ง มันก็จะไม่เหลือแมลงอะไรเลย วัฒนธรรมการทำ�สวนของคนไทยเป็นอย่างไร
นกกินให้เราหมด แล้วถ้าเราไม่ฉีดยาฆ่าแมลงนกก็มีความสุข แพร่พันธุ์ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการทำ�สวนนะ แต่มีในวัด แล้วก็มีในวังด้วย
อย่างที่สองเราต้องเลี้ยงแมลงที่มันมีประโยชน์ด้วย และถ้าเราสร้าง บ้านคนก็มี เพียงแต่สวนของคนไทยเราไม่ท�ำ บนพืน้ ดิน เพราะสมัยโบราณ
สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม สงบพอ มีนํ้าให้เขาดื่ม เขาก็จะมาเอง เพราะว่า เจ้านายไทยจะไม่เสด็จลงดิน เพราะไหนจะงูหรือแมงป่องที่มีชุมมาก
มันเย็น หรือเรื่องต้นไม้ใหญ่ ไม่ว่าอย่างไรเรามาทีหลัง เราต้องให้เกียรติ เขาก็จะนั่งเสลี่ยงแล้วเดินขึ้นบนพื้นที่ยกสูง สวนบ้านเราจึงยกพื้นหมด
กับสิ่งที่อยู่มาก่อน อย่างเรามีต้นไม้ร้อยปีในบ้าน 3 ต้น เราไม่แตะเลย และอีกสองปัจจัยที่เราไม่ทำ�สวนบนดินก็คือ หนึ่ง อยุธยานํ้าท่วม ถ้าปลูก
แล้วเราก็ชื่นชมกับความสวยงาม แม้เราอาจเล็มกิ่งนิดหนึ่ง หรือเราเทรน บนดินนี่ท่วมทีหนึ่งต้นไม้ตายหมด สอง ภายในบ้านจะต้องเคลียร์ดิน
ให้เขาไปอีกทางหนึ่งได้ แต่ไม่ว่ายังไง อย่าตัด
เมษายน 2556 l Creative Thailand l 29
THE CREATIVE
มุมมองของนักคิด

สวนคือศูนย์กลางเลยนะ
สวนคือรสนิยม
คือประสบการณ์ชีวิต และคือวิถีชีวิต

ให้เกลี้ยง เพื่อจะไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์มีพิษ แต่ถึงอย่างนั้น ห้องในกรุงเทพฯ เมืองเราจะเขียวมาก ตึกเราจะเขียว ซึ่งช่วงนี้ก็เริ่มมา


ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มสี วน แต่เรามีสวนอยู่บนนอกชานของบ้าน แล้วสำ�หรับการออกแบบเมืองเพื่ออิงธรรมชาติ
จะเห็นว่าบ้านไทยทุกหลัง ตำ�หนักโบราณทุกแห่งจะยกพื้นและมีระเบียง
นอกชานให้เราเดินออกไป มักจะมีการจัดสวนในกระถาง หรือมีบอนไซ การออกแบบสวนเปรียบเหมือนอะไร
ถ้าอยากรู้ว่าสวนไทยเป็นอย่างไร ให้อ่านขุนช้างขุนแผน ตอนนางวันทอง สวนคือศูนย์กลางเลยนะ สวนคือรสนิยม คือประสบการณ์ชีวิต และคือ
สัง่ เรือน นัน่ พูดถึงการปลูกต้นไม้บนเรือนหมดเลย แล้วนางวันทองรักขุนช้าง วิถีชีวิต การมีสไตล์หมายถึงมี 3 สิ่งนี้ ทุกคนต้องสะสมสิ่งเหล่านี้ ใน
เพราะขุนช้างทำ�สวน นางวันทองรักบ้านนะ แม้ขุนช้างจะอ้วนตุ๊ต๊ะ แต่ แต่ละช่วงของชีวติ จะแตกต่างกันออกไป การทำ�สวนเหมือนการทำ�กับข้าว
เขารักเมีย รักสวน รักบ้าน เมืองไทยจะปลูกไม้หอม ไม้มงคล ไม้ว่าน คนรุ่นหนึ่งส่งต่อให้คนอีกรุ่นหนึ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้านส่งต่อกัน การอ่าน
แล้วทุกอย่างจะอยู่ในกระถาง ไม่วา่ ความคิดของท่านเจ้าคุณคนนัน้ จะเป็น หนังสือต้นไม้จากนักเขียนหลายๆ ท่าน เราก็ได้รับแรงบันดาลที่ถูกส่งต่อ
อย่างไร มันจะแสดงออกมาอยู่ในกระถางอันเล็กๆ ที่มีภูเขาหรือมีนํ้าตก มา แล้วการดูสวน เราต้องไปดูสวนจริง สวนญี่ปุ่นต่างกับสวนบาหลียังไง
แต่ว ั ฒนธรรมการทำ �สวนของคนรุ่นใหม่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ในวั น นี้ ต่างกับสวนสเปน ต่างกับสวนอินเดีย เราต้องเดินทางเพื่อไปดู แล้วเราจะ
กรุงเทพฯ มีดาดฟ้าต่างๆ พื้นที่ในการทำ�สวนของเราเหลือเยอะแยะ ถ้า รู้ว่าคนออกแบบสวนนั้นไปเก็บเอาแรงบันดาลใจจากที่ไหนมาบ้าง เขามี
เรารู้จักสร้างสวนบนดาดฟ้าทุกดาดฟ้าของตึกทุกตึก หรือระเบียงห้องทุก จิ๊กซอว์ในสมองเพื่อนำ�มาต่อเป็นภาพใหญ่ได้อย่างไร

30 l Creative Thailand l เมษายน 2556


THE CREATIVE
มุมมองของนักคิด
เราถ่ายทอดความรู้เรื่องต้นไม้สู่คนทุกคน ไปซื้อต้นไม้เราก็คุยกับคนขาย
เรียนจากคนขาย ทุกครั้งที่ไปจตุจักรนี่ต้องถามทุกที จตุจักรนี่คือโรงเรียนดีๆ นี่เอง

เราถ่ายทอดความรู้เรื่องต้นไม้สู่คนทุกคน ไปซื้อต้นไม้เราก็คุยกับ ให้เราได้ ถ้าคุณไม่สามารถใช้พลังงานของพระอาทิตย์มาเป็นประโยชน์


คนขาย เรียนจากคนขาย ทุกครั้งที่ไปจตุจักรนี่ต้องถามทุกที จตุจักรนี่ ต่อสวนคุณได้ คุณอย่าเป็นนักจัดสวนเลย ถ้าพระอาทิตย์ฆ่าสวนคุณ
คือโรงเรียนดีๆ นี่เอง เลยชอบไปมาก ทุกวันพุธ 8-9 โมงเช้า บางทีไม่ได้ แปลว่าคุณไม่เข้าใจพระอาทิตย์ คนที่ทำ�สวนได้ต้องเข้าใจดิน นํ้า ลม ไฟ
ซือ้ อะไร แต่เราไปเรียนหนังสือ เรียนจากแม่คา้ จะมีอะไรทีว่ เิ ศษไปกว่านีอ้ กี ถ้าคุณไม่เข้าใจดิน คุณก็ปลูกต้นไม้ไม่ขึ้น คุณต้องเข้าใจก่อน เพราะ
ทุกครั้งเราจะเจอต้นที่เราไม่รู้จักหรือบางทีเราลืมไปแล้ว ก็ถามเลยว่านี่ ฉะนั้น คนที่สร้างสวนคือคนที่สร้างมิติซึ่งอยู่ภายนอก และเราต้องใช้
ต้นอะไร ไม้ไทยหรือเปล่า ไม้เพาะใหม่ไหม ชอบแดดหรือร่ม ชอบปุย๋ และ พลังงานของธรรมชาติมาประกอบมิติของเราให้ได้
ดินแบบไหน ทุกครั้งที่เราเจอต้นไม้ เราต้องถามเพือ่ จะได้ความรูไ้ ปเรือ่ ยๆ สวนมีหน้าที่ที่จะทำ�ให้มนุษย์ยอมรับที่จะอยู่กับธรรมชาติได้อย่าง
พอกลับมาก็จดเก็บไว้ สบายตัว ถ้าเราทำ�สวนให้เจ้าของสักคน แล้วเขายังรู้สึกไม่สบายตัวกับ
สวนนี้ นั่นแปลว่ามีอะไรผิดแล้ว เพราะสวนคือการทำ�ให้ธรรมชาติใน
บทบาทและหน้าที่ของนักออกแบบสวนต่อการใช้ชีวิตของผู้คน แต่ละกรณี เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตรงนั้น
นักออกแบบเสื้อผ้าสร้างคน นักออกแบบสวนสร้างมิติ สวนคือเรื่องของ
มิติภายนอก คือเรื่องของพระอาทิตย์ สายฝน สายลม สายนํ้า เป็นเรื่อง
ขององค์ประกอบ คุณต้องสามารถนำ�พลังงานของธรรมชาติให้มาทำ�งาน

เมษายน 2556 l Creative Thailand l 31


THE CREATIVE
มุมมองของนักคิด

Creative Ingredients
พันธุ์ไม้ที่ชื่นชอบ
เราชอบไม้ไทยมาก ชอบว่านโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาหลาย
พันปี สรรพคุณของว่านแต่ละชนิดนี่มหัศจรรย์ ทั้งที่พิสูจน์ได้และไม่ได้
เช่น กันภูติผีได้ เรียกเงินทองได้ และทำ�ไมว่านบางชนิดถึงเป็นวัสดุใน
การหล่อพระเครือ่ ง ทำ�ไมกล้วยตานีถงึ มีวญิ ญาณ ทำ�ไมต้นไทรถึงมีวญิ ญาณ
ในนั้น นี่เป็นประสบการณ์ที่บรรพบุรุษสั่งสมมาให้เรา แล้วเรามีหน้าที่ส่ง
ต่อไป

สวนที่ประทับใจ
ชอบหลายที่ เราชอบสวนในวัดที่เกียวโต สวนญี่ปุ่นให้แรงบันดาลใจด้าน
ปรัชญา หรือสวนทีบ่ าหลี ให้แรงบันดาลใจด้านความลึกลับ ความมีเสน่ห์
ของเขตร้อน สวนไทยให้แรงบันดาลใจด้านมนตรา ด้านความศักดิ์สิทธิ์
สวนไทยจริงๆ ปลูกเพื่อมนตราและคุณสมบัติทางยาเท่านั้น ซึ่งต้อง
เข้าไปดูที่วัด อย่างวัดพระแก้วหรือวัดโพธิ์ เป็นต้น

ดอกไม้โปรด
เราชอบมะลิ กับกรรณิการ์ซึ่งดอกจะคล้ายมะลิแต่มีก้านสีส้ม นำ�มาทำ�
ชาได้ ถ้าเรามีดอกมะลิที่ปลูกเองไม่ได้ฉีดยา ลองเอามาอบแห้งหรือตาก
แดดให้แห้งในผอบ แล้วนำ�มาชงเป็นชา หรือดอกกรรณิการ์ก็มาใช้ทำ�ชา
มะลิก้านแดงที่มีสรรพคุณเป็นยา ช่วยให้คลายเครียด ชาจะเป็นสีส้มสวย
ดื่มสบายมาก และหอมมากเหมือนมะลิ แต่จะมีรสมะนาวนิดหนึ่ง

32 l Creative Thailand l เมษายน 2556


CREATIVE WILL
คิด ทำ� ดี

พันพรรณ...สวนปันพันธุ์เพื่อชีวิตยั่งยืน
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ศุภมาศ พะหุโล

ณ วินาทีที่ผู้คนจำ�นวนมากทั้งในเมืองและชนบทต่างก็มองหาหนทางเพื่อหลีกหนีจากกระแสทุนนิยม เพื่อหวนกลับสู่ธรรมชาติและ
อยู่กับตัวเองให้มากขึ้น นั่นไม่ได้หมายความถึงการที่ทุกคนต่างปลีกชีวิตของตนเองให้แปลกแยกไปจากคนอื่นๆ แต่คือช่วงเวลาที่จะ
ได้พสิ จู น์วา่ การเข้าใกล้ธรรมชาตินน้ั ไม่จ�ำ เป็นต้องละเลยการอยูร่ ว่ มกันหรือการแบ่งปันกันระหว่างเพือ่ นมนุษย์ แต่คอื การทำ�ความรูจ้ กั
และเข้าใจตนเองรวมถึงธรรมชาติอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะมองหาโอกาสทำ�ประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้โดยที่ไม่ต้องรบกวนสิ่งแวดล้อม
โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้านและผูก้ อ่ ตัง้ “ศูนย์พนั พรรณ” ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ รสชาติประทับใจหลากหลายพันธุท์ เ่ี คยกินเมือ่ สมัยยังเด็กก็คอ่ ยๆ หายไป
และศูนย์เรียนรู้เพื่อพึ่งพาตนเองบนเนินเขาเล็กๆ ในเชียงใหม่ คือหนึ่งใน จากตลาด
บุคคลทีพ่ สิ จู น์แนวคิดนีไ้ ด้อย่างเป็นรูปธรรมทีส่ ดุ ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ ชีวติ เหตุผลเบื้องหลังของการก่อตั้งศูนย์กระจายเมล็ดพันธุ์บนที่ดินขนาด
ของเราไม่ได้แยกขาดจากธรรมชาติอย่างที่หลายๆ คนคิด หรือเข้าใจว่า ประมาณ 20 ไร่ของโจน จันได ที่ทำ�หน้าที่เป็นแหล่งอาหารชั้นเยี่ยม
ธรรมชาติคือทรัพย์สินที่มนุษย์ต้องเข้าไปตักตวงกอบโกย จนเป็นสาเหตุ สำ � หรั บ ตั ว เขาเองและผู้ ที่ ม าเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมเรี ย นรู้ ก ารใช้ ชี วิ ต แบบ
ที่ทำ�ให้ชีวิตของคนเราซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในทุกวันนี้ และความเข้าใจดัง พึ่งตนเอง จึงได้ทำ�หน้าที่สำ�คัญในการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ จัดเก็บ และ
ว่านี้เองที่ทำ�ให้เขาเริ่มมองหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับ แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์แท้ให้แก่ทุกคนที่สนใจขอรับไปปลูก โดยส่วนหนึ่งแบ่ง
ธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องวงจรการผลิตอาหารที่ผูกโยงมนุษย์เข้า ให้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่มากมายในประเทศ และทั้งหมดนี้ไม่ได้
กับธรรมชาติอย่างแยกกันไม่ได้ เกิดขึ้นเพื่อหวังจะปลดปล่อยเกษตรกรให้หลุดจากระบบการเพาะปลูก
เป็นทีท่ ราบกันดีในหมูค่ นทำ�นาทำ�ไร่วา่ การปลูกอะไรสักอย่างในวันนี้ ตามใบสั่งขององค์กรธุรกิจเท่านั้น แต่การพัฒนาพันธุ์ที่เป็นภูมิปัญญา
จะมีตน้ ทุนทีส่ งู ขึน้ จากแต่กอ่ นมาก เพราะแทนทีเ่ กษตรกรจะได้ใช้เมล็ดพันธุ์ สืบทอดกันมาหลายชัว่ คน ยังจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างยัง่ ยืนให้กบั วงจร
ทีแ่ บ่งเก็บไว้เองจากการเก็บเกีย่ วในปีกอ่ นหน้า ก็กลับต้องไปซือ้ หาเมล็ดพันธุ์ การผลิตอาหารของโลก และกลายเป็นมรดกสืบทอดให้ลูกหลานมีอาหาร
จากตลาดหรือตัวแทนบริษัทการเกษตรซึ่งมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ ที่ดีกินกันต่อไป
ราคาพืชผลที่ได้รับกลับเท่าเดิม หนำ�ซํ้าเมล็ดพันธุ์ที่ขายยังเป็นพันธุ์ที่ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการเอาใจใส่ดูแลด้วยหัวใจที่เชื่อในความเป็นหนึ่ง
ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมให้โตเร็ว รูปลักษณ์สวยงามน่ารับประทาน และ เดียวกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์จึงเป็นตัวแทนของความหวังว่า เมื่อ
สะดวกในการขนส่ง แต่ต้องพึ่งพาปุ๋ยและสารเคมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีเมล็ดถูกนำ�ไปปลูกและเพาะต่อในวงกว้าง พืชพันธุ์จะยังคงไว้ซึ่งความ
และยังกลายพันธุ์ง่ายจนไม่สามารถนำ�เมล็ดมาปลูกต่อได้อีก ด้วยเหตุนี้ หลากหลาย สดสะอาด และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ทุกชีวิต
การพัฒนาพันธุ์เพื่อคนทั้งประเทศและทั่วโลกจึงตกอยู่ในอำ�นาจการ แทนที่จะตกอยู่ในกำ�มือขององค์กรไม่กี่กลุ่ม เพราะความยั่งยืนที่แท้จริง
จัดการขององค์กรไม่กี่กลุ่ม ความหลากหลายทางพันธุกรรม คุณสมบัติ ของชีวิตไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นอาหารจากพืชผลในสวนของเราเอง
รสชาติ และสารอาหารในพืชจึงลดลง เช่น จากในอดีตเราเคยมีขา้ วเกือบ ที่มา: บทสัมภาษณ์ โจน จันได ผู้ก่อตั้งศูนย์พันพรรณ โดย ปิยพร อรุณเกรียงไกร
20,000 ชนิด แต่วันนี้เหลือเพียงไม่เกิน 200 ชนิด ขณะที่ผักผลไม้พื้นบ้าน greenworld.or.th, lonelytrees.net, thai.punpunthailand.org

34 l Creative Thailand l เมษายน 2556


พบกับ TCDC เชียงใหม หลังกาดเมืองใหม
คนหาแรงบันดาลใจไปกับหองสมุดเฉพาะดานการออกแบบ TCDC Resource Center
และหองสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบระดับโลก Material ConneXion® Chiang Mai

พรอมมองเชียงใหมในมุมตางกับนิทรรศการ “เลาเรื่อง เมืองใหม”


เพื่อเปดโอกาสและสรางศักยภาพใหมๆ สูเมือง
แวะมาใชบริการฟรี! ตลอดเดือนเมษายนนี้

ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เชียงใหม 1/1 ถนนเมืองสมุทร ตำบลชางมอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม 50300


เวลาทำการ: อังคาร - อาทิตย (ปดวันจันทร) 10.30 - 18.00 Tel: 052 080 500 Fax: 052 080 505

You might also like