Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

กฎหมายค้ําประกันและการจํานองที่แก้ไขเพิ่มเติม :

Academic Focus ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ําประกันและผู้จํานอง


สิงหาคม 2558

สารบัญ บทนํา

บทนํา 1 ปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาพื้นฐานที่อยู่คู่กับประชาชนคนไทย
มาโดยตลอด ซึ่งสร้างความเดือดร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัว
ความเป็นมาและสภาพปัญหา 2
ที่มีหนี้ครัวเรือนหรือหนี้จากเงินที่กู้ยืมมาใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม 4 บริโ ภคในครัว เรือ นของคนระดับ กลางไปจนถึง ระดับ รากหญ้า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยเมื่อมีโอกาสได้มาบริหารประเทศ ก็ได้มี
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 การพยายามผลักดันนโยบายต่าง ๆ และสร้างมาตรการเพื่อเป็น
การช่วยเหลือบรรเทาภาระหนี้สินเหล่านี้
ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลัง 9
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวอาจยังไม่เกิด
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
สัมฤทธิผลเท่าใดนัก เนื่องจากกระแสสังคมที่มีความแปรผันไปสู่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วัฒนธรรมบริโภคนิยมที่รุนแรง ที่ทําให้ประชาชนจําต้องกู้หนี้ยืมสิน
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ
เพื่อจับจ่ายใช้สอยด้วยเหตุนานาประการ ทําให้เกิดปัญหาหนี้สิน
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม 11 เรื้อรังตามมาต่อเนื่องยาวนานจึงทําให้คนไทยจํานวนมากยังไม่สามารถ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลุดพ้นจากสถานะ “ผู้มีหนี้สิน” จนกลายเป็น “ลูกหนี้”
(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 จากการที่บุคคลตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “ลูกหนี้” ก็เป็นสิ่งที่
หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทําให้เกิดสิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นผู้ที่มีฐานะการเงิน
สรุปและข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา 13
ที่ไม่น่าไว้วางใจหรือขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงมีความจําเป็น
ที่เจ้าหนี้จะต้องหาความมั่นใจว่า ตนจะได้รับการชําระหนี้ จึงมักจะเรียก
ให้ลูกหนี้หาหลักประกัน ไม่ว่าจะเป็นการประกันด้วยบุคคล หรือ
ประกันด้วยทรัพย์ก็ตาม เพื่อสร้างความมั่นใจในยามที่เกิดปัญหา
เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์
ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จะได้เรียกให้ผู้ค้ําประกันรับผิดในมูลหนี้แทน
สํานักวิชาการ ลูกหนี้ได้ ซึ่งบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในเรื่ อ งค้ํา ประกั น และจํา นองในบางบทบั ญ ญั ติ ยั ง มี ช่ อ งโหว่
http://www.parliament.go.th/library ที่ ทําให้เจ้าหนี้กําหนดข้อตกลงบางอย่างเพื่อเป็นการเอาเปรียบ
2

และได้สร้างภาระให้กับผู้ค้ําประกันและผู้จํานองให้มีภาระหนักเกินไปกว่าลูกหนี้ ทําให้เกิดความไม่เป็นธรรม
อย่างมาก ทั้ง ๆ ที่ผู้ค้ําประกันและผู้จํานองมิได้รับประโยชน์ใด ๆ จากมูลหนี้เหล่านั้นเลย ซึ่งจากที่ผ่านมาพบว่า
เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงิน มักอาศัยความได้เปรียบทางการเงิน
กําหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ําประกันหรือผู้จํานองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือบางครั้ง
ให้รับ ผิด เสมือ นเป็น ลูก หนี้ชั้น ต้น ทํา ให้ผู้ค้ํา ประกัน หรือ ผู้จํา นองไม่ไ ด้รับ ความคุ้ม ครองตามกฎหมาย
และกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจํานวนมาก
ดังนั้น บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทําให้ลูกหนี้
ผู้ค้ําประกัน และผู้จํานองไม่สามารถหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ได้โดยง่าย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
และรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ในสัง คมและแก้ปัญ หาความยากจนได้อ ย่า งยั่ง ยืน จึง ได้เ สนอขอแก้ไ ขเพิ่ม เติม ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ใ นส่วนที่ ว่าด้วยค้ํ าประกันและจํานองต่ อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรั บปรุงบทบัญ ญัติ
กฎหมายเกี่ ย วกั บ การค้ํา ประกัน และจํา นองของไทยให้ทัน สมัย และเป็ น ธรรมต่อ ทุ ก ฝ่า ยมากยิ่ ง ขึ้น
โดยป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมใช้อํานาจต่อรองที่เหนือกว่า ทําสัญญาค้ําประกันและ
จํานองที่มีข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายและเอาเปรียบผู้ค้ําประกันและผู้จํานองจนเกินสมควร
ผู้ศึกษาเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายค้ําประกันและจํานองในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ เป็นปรากฎการณ์
ที่น่า สนใจที่เ ราควรนํา มาศึก ษาและวิเ คราะห์กัน ว่า แนวทางที่นํา เสนอเพื่อ แก้ไ ขเพิ่ม เติม นั้น สามารถ
ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป ดังนี้

ความเป็นมาและสภาพปัญหา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก ได้บัญญัตินิยามสัญญาค้ําประกันเอาไว้ว่า
“อันว่าค้ําประกันนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ําประกันผูกพันต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง
เพื่อชําระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้”
จากบทนิยามดังกล่าว ผู้ค้ําประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก คือ ไม่ใช่เจ้าหนี้และไม่ใช่ลูกหนี้อาจเป็น
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งผู้ค้ําประกันรายหนึ่งอาจมีเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ นอกจากนี้
จะมีการค้ําประกันได้ ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ซึ่งเรียกว่าหนี้ประธาน โดยหนี้ประธานจะเกิดจาก
มูลหนี้ชนิดใดก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ เป็นต้น
นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 ได้บัญญัตินิยามจํานอง คือ การที่บุคคล
คนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จํานอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จํานองได้
ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจํานอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จํานอง
ไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจํานอง
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ําประกันและจํานองก่อนที่จะมีการแก้ไข
เพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2557 หลายมาตราเป็นบทบัญญัติที่ส่งผลในทางปฏิบัติเพราะทําให้ผู้ค้ําประกันและ
ผู้จํานองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้จํานองที่เป็นคนละคนกับลูกหนี้ แต่ได้จํานองทรัพย์สินของตนเป็นประกันหนี้
3

ของลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นที่สองมีภาระหนักมาก บางครั้งมีภาระหนักยิ่งกว่าผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น
โดยตรงเสียอีก เนื่องจากในทางปฏิบัติคู่สัญญามักจะได้ทําข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติขึ้น
เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ค้ําประกันหรือผู้จํานองในฐานะลูกหนี้ชั้นที่สอง เช่น กรณีของผู้ค้ําประกัน กฎหมายกําหนดให้
ผู้ค้ําประกันมีสิทธิเกี่ยง สิทธิยกข้อต่อสู้ รวมทั้งสิทธิที่จะอ้างเหตุหลุดพ้นด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น หลุดพ้นเพราะ
เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชําระหนี้ให้กับลูกหนี้ (ปรับโครงสร้างหนี้) โดยผู้ค้ําประกันมิได้ยินยอมด้วยแต่เจ้าหนี้ก็มักจะ
ให้ผู้ค้ําประกันทําข้อตกลงตั้งแต่ตอนเข้าทําสัญญาว่า ผู้ค้ําประกันตกลงว่าจะไม่ใช้สิทธิดังกล่าวเหล่านั้น หรือ
ตกลงให้ความยินยอมเรื่องการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า รวมทั้งกรณีของผู้ค้ําประกันที่ค้ําประกันหนี้ในอนาคต
เจ้าหนี้ก็จะให้ผู้ค้ําประกันตกลงในสัญญาค้ําประกันที่เข้าผูกพันว่าผู้ค้ําประกันตกลงจะค้ําประกันหนี้ใด ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน จากข้อสัญญาเช่นว่านั้นจึงทําให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิด
ในหนี้ใด ๆ ที่ลูกหนี้จะก่อให้เกิดขึ้นในอนาคตกับเจ้าหนี้รายเดียวกันนี้อีก โดยขณะที่เข้าทําสัญญาค้ําประกัน
ผู้ค้ําประกันเองก็ไม่ทราบว่าลูกหนี้จะมีหนี้อะไรอีก และก็อาจจะไม่ได้ประสงค์จะเข้าค้ําประกันหนี้ของลูกหนี้
เหล่านั้นด้วยเลย (สุดา วิศรุตพิชญ์, 2557)
กรณีของผู้จํานอง ตามหลักกฎหมายเรื่องจํานอง ผู้จํานองเป็นบุคคลที่นําทรัพย์สินของตนมาจดทะเบียน
จํานองเพื่อเป็นหลักประกันการชําระหนี้ การจํานองให้สิทธิแก่ผู้รับจํานองบังคับเหนือทรัพย์สินที่ติดจํานอง
เท่านั้น ผู้รับจํานองไม่มีสิทธิบังคับเหนือทรัพย์สินอื่นของผู้จํานองและไม่มีสิทธิบังคับให้ผู้จํานองชําระหนี้
เนื่องจากว่าผู้จํานองไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้จํานองเองหรือผู้จํานองเป็นบุคคลภายนอก ที่มิได้เข้าผูกพันตนที่จะชําระ
หนี้ แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหนี้ก็มักจะให้ผู้จํานองยอมตกลงว่าหากบังคับจํานองเอากับทรัพย์สินที่จํานองแล้วได้
ราคายังไม่พอชําระหนี้ ผู้จํานองก็จะรับผิดชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ขาดจนครบถ้วน กรณีเช่นนี้ หาก
ผู้จํานองเป็นลูกหนี้จํานองเองแล้ว (ลูกหนี้กับผู้จํานองเป็นคนเดียวกัน) มาตกลงว่าจะชําระหนี้ให้ครบถ้วน ก็จะ
เป็นธรรมกับทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชําระหนี้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน แต่หากผู้
จํานองเป็นบุคคลภายนอก ผู้จํานองย่อมเสียเปรียบ เนื่องจากต้องรับผิดชําระหนี้ส่วนที่อยู่นอกเหนือจากการ
จํานองด้วยทรัพย์ ด้วยเหตุที่บทบัญญัติที่คู่สัญญาได้ตกลงยกเว้นดังกล่าวเหล่านั้นไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับ
ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายเหล่านั้นจึงไม่เป็นโมฆะใช้บังคับกันได้
(สุดา วิศรุตพิชญ์, 2557) จากตัวอย่างปัญหาที่กล่าวมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้มีการเสนอแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่ว่าด้วยค้ําประกันและจํานองต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในประเด็นหลัก ๆ ดังกล่าว เพื่อคุ้มครองผู้ค้ําประกันและผู้จํานองในฐานะลูกหนี้ชั้นที่สองให้ดียิ่งขึ้น โดยตราเป็น
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557
หลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 เพื่อแก้ไขเกี่ยวกับสิทธิและความรับผิดของผู้ค้ําประกันและผู้จํานอง
กลุ่มธุรกิจธนาคารออกมาแสดงความกังวลถึงผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวที่อาจทําให้ระบบ
เศรษฐกิจของประเทศไทยปั่นป่วน เพราะส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเข้มงวดมากขึ้น
และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐจะประสบปัญหาในการกู้เงินลงทุน เพราะการค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์
ไม่มีความหมาย
4

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงทําหนังสือถึงกระทรวงการคลัง


เพื่อให้กระทรวงการคลังเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ชะลอการบังคับใช้กฎหมายออกไปก่อน
จากเดิมที่จะใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เนื่องจากกฎหมายนี้มีผลกระทบกับหลายฝ่าย จึงต้องมีการหารือกัน
อย่างรอบคอบก่อน
หลังมีกระแสทักท้วงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจํานวนมาก คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงเปิดโอกาสให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอความคิดเห็นและจัดทําร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นมาใหม่
อีกฉบับหนึ่ง เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557
ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่งพิจารณาแล้วเสร็จ (Thai PBS NEWS, พฤศจิกายน 2557)
จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติรับหลักการวาระที่ 1 ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ในประเด็นสิทธิและความรับผิดของผู้ค้ําประกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อแก้ไข
ข้อบกพร่อง หลังจากการแก้ไขครั้งแรกมีผลบังคับใช้ได้เพียง 1 วัน โดยการพิจารณาในวาระที่สอง มีการประชุม
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 แล้วเสร็จวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2558 และการพิจารณาใน
วาระที่สาม เมื่อคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 26/2558 วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2558
ที่ป ระชุม ได้พิจ ารณาร่า งพระราชบัญ ญัติดัง กล่า วแล้ว ลงมติเ ห็น สมควรประกาศใช้เ ป็น กฎหมายและ
ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558
ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
จากที่กล่าวมาข้างต้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่ว่าด้วยค้ําประกัน
และจํานอง โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวน 2 ครั้ง ได้แก่
1. พระราชบัญ ญัติแ ก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557
มีจํานวน 24 มาตรา
2. พระราชบัญ ญัติแ ก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558
มีจํานวน 10 มาตรา
ในหัวข้อต่อไป ผู้ศึกษาจะอธิบายถึงสาระสําคัญของกฎหมายและวิเคราะห์หลักกฎหมายในรายมาตรา
ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557


สามารถสรุปสาระสําคัญพร้อมวิเคราะห์หลักกฎหมายรายมาตราแห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ได้ดังนี้
1. มาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 681 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการค้ําประกันหนี้
ในอนาคต แก้ไขมาตรา 681 (เดิม) ซึ่งปรับส่วนของการค้ําประกันหนี้ในอนาคต โดยให้ระบุวัตถุประสงค์การก่อหนี้
ที่จะค้ําประกัน ลักษณะของมูลหนี้ในการค้ําประกัน จํานวนสูงสุดที่ค้ําประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้
ที่ค้ําประกัน
5

ในประเด็นนี้ มาตรา 681 (เดิม) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กําหนดให้การค้ําประกัน


อาจทําเพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขที่อาจเป็นผลได้จริง ส่งผลให้ผู้ค้ําประกัน
ต้องรับผิดในมูลหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่มีข้อจํากัด ดังนั้น จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 681
โดยกําหนดให้การค้ําประกันต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ ลักษณะมูลหนี้ที่ผู้ค้ําประกันเข้าค้ําประกัน
จํานวนเงินที่ค้ําประกันในแต่ละมูลหนี้หรือจํานวนเงินสูงสุดที่ค้ําประกัน และระยะเวลาการค้ําประกันที่มี
กําหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้ค้ําประกันสามารถทราบในขณะทําสัญญาค้ําประกันว่าตน
มีความรับผิดตามสัญญาค้ําประกันในหนี้ใด และในวงเงินจํานวนเท่าใด เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ําประกัน
สัญญาค้ําประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ําประกันหนี้อะไร จํานวนเท่าใด และผู้ค้ําประกันจะรับผิด
เฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากไม่มีความชัดเจนอาจทําให้ผู้ค้ําประกันไม่ต้องรับผิด
2. มาตรา 4 กําหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ําประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ บัญญัติหลักการใหม่
โดยกําหนดไว้ในส่วนบทเบ็ดเสร็จทั่วไปคือเพิ่มเติม มาตรา 681/1 ที่บัญญัติว่าข้อตกลงใดที่กําหนดให้ผู้ค้ําประกัน
ต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ และมาตรา 7 ยกเลิก
มาตรา 691 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กําหนดว่าถ้าผู้ค้ําประกันต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้
ผู้ค้ําประกัน ไม่สามารถใช้สิทธิเกี่ยงในฐานะลูกหนี้ชั้นสอง ให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ก่อนได้ หรือเกี่ยง
ให้เจ้าหนี้ไปบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน และไม่สามารถเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปบังคับชําระหนี้จากทรัพย์
ที่ลูกหนี้ให้ไว้เป็นประกันแก่เจ้าหนี้ก่อน
ในประเด็นดังกล่าว ผู้ศึกษามีความเห็นว่า ในทางปฏิบัติเจ้าหนี้มักจะกําหนดไว้ในสัญญาให้
ผู้ค้ําประกันสละสิทธิเกี่ยง หรือสิทธิของผู้ค้ําประกันอื่น ๆ ได้แก่ สิทธิยกข้อต่อสู้ หรือสิทธิอ้างเหตุหลุดพ้น
และให้ผู้ค้ําประกันยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมทันที ผู้ค้ําประกันจึงกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิด
อย่างลูกหนี้ร่วม จึงไม่เป็นธรรมแก่ผู้ค้ําประกัน
3. มาตรา 5 กําหนดบทบัญญัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกําหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ําประกัน
ที ่แ ตกต่า งไปจากบทบัญ ญัต ิที ่ม ีไ ว้เ พื ่อ คุ ้ม ครองผู ้ค้ํ า ประกัน มิใ ห้ต ้อ งรับ ผิด เกิน สมควรเป็น โมฆะ
มาตรา 685/1
ประเด็นนี้ เมื่อพิจารณาถึงในทางปฏิบัติเจ้าหนี้ที่มีอํานาจในการต่อรองเหนือกว่าฝ่ายลูกหนี้และ
ผู้ค้ําประกัน รวมทั้งเป็นฝ่ายกําหนดข้อสัญญา จึงมักทําสัญญากับผู้ค้ําประกันให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดแตกต่างไป
จากบทบัญญัติกฎหมายลักษณะค้ําประกันกําหนด ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้ค้ําประกันเกินสมควร เนื่องจากประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 บัญญัติให้คู่สัญญาสามารถตกลงข้อสัญญาใด ๆ ให้แตกต่างจากที่กฎหมาย
กําหนดไว้ได้ ตราบใดที่มีวัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน (สุดา วิศรุตพิชญ์, 2557) ดังนั้น บทบัญญัติใหม่มาตรา 685/1 จึงกําหนดให้เจ้าหนี้
กับผู้ค้ําประกันจะทําสัญญากันกําหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับผิดของผู้ค้ําประกันให้แตกต่างไปจาก
ที่กฎหมายกําหนดไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืนข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ําประกันนี้จะตกเป็นโมฆะ สําหรับ
บทบัญญัติตามมาตรา 685/1 กําหนดห้ามตกลงแตกต่างไปจากที่กฎหมายกําหนดไว้ ได้แก่
6

3.1 เรื่องความสมบูรณ์ของสัญญาค้ําประกัน ซึ่งการค้ําประกันมิได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์


เท่านั้น และต้องระบุมูลหนี้ที่ค้ําประกันให้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นการค้ําประกันหนี้ในอนาคตต้อง
มีขอบเขตชัดเจนด้วย (มาตรา 681)
3.2 เรื่องสิทธิของผู้ค้ําประกันที่จะยกข้อต่อสู้ ซึ่งผู้ค้ําประกันมีสิทธิยกข้อต่อสู้ได้ทั้งข้อต่อสู้ของ
ตนเองและของลูกหนี้ ดังนั้น หากสัญญากําหนดว่า ผู้ค้ําประกันตกลงจะไม่ยกข้อต่อสู้ใด ๆ ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้
หรือตกลงจะไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ หรือตกลงว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ของตนเองขึ้นต่อสู้ ข้อตกลง
ลักษณะเช่นนั้นจะเป็นโมฆะ (มาตรา 694)
3.3 เรื่องผู้ค้ําประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อหนี้ประธานที่เข้าค้ําประกันระงับสิ้นไป (มาตรา 698)
3.4 เรื่องผู้ค้ําประกันมีสิทธิบอกเลิกการค้ําประกันที่มีลักษณะกิจการต่อเนื่องกันไปหลายคราว
ไม่มีจํากัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ด้วยการแสดงเจตนาบอกเลิกการค้ําประกันไปยังเจ้าหนี้ โดยไม่ต้องรับผิด
ในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากการแสดงเจตนาได้ไปถึงเจ้าหนี้แล้ว (มาตรา 699) (สุดา วิศรุตพิชญ์, 2557)
4. มาตรา 6 การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกําหนด
ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้
ตามมาตรา 686 (เดิม) เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้ได้นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
แต่ไม่ได้กําหนดถึงกระบวนการที่จะเตือนให้ผู้ค้ําประกันทราบว่าลูกหนี้ผิดนัดชําระแล้ว ในบางครั้งเจ้าหนี้ไม่เรียก
ให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้ทันที เนื่องจากต้องการทอดเวลาออกไปเพื่อให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดในบรรดา
ดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชําระอีกด้วย แต่มาตรา 686 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กําหนดขั้นตอนให้
เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทําให้
ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์
แห่งหนี้รายนั้นที่เกิดขึ้นหลังจากพ้นกําหนดหกสิบวัน ซึ่งการกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหนี้มีดังนี้
4.1 กําหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ําประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
และเรียกให้ชําระหนี้ได้นับแต่วันที่หนังสือบอกกล่าวนั้นไปถึงผู้ค้ําประกัน หากเจ้าหนี้มิได้ทําหนังสือบอกกล่าว
ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นจากความรับผิดความรับผิดในดอกเบี้ยและ
ค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นที่เกิดขึ้นหลังจากพ้นกําหนดหกสิบวัน
4.2 เมื่อผู้ค้ําประกันได้รับหนังสือบอกกล่าว ผู้ค้ําประกันอาจขอชําระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ หรือ
ใช้สิทธิชําระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ลูกหนี้ได้ดําเนินการอยู่เดิม ทั้งนี้เฉพาะในส่วนที่ตนต้องรับผิดก็ได้
แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ําประกันที่จะชําระหนี้เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ
4.3 เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกให้ผู้ค้ําประกันชําระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดตลอด
ระยะเวลาที่ผู้ค้ําประกันชําระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการของลูกหนี้อยู่ เพื่อไม่ให้ผู้ค้ําประกันต้องรับภาระ
มากเกินควรในมูลหนี้ที่ตนไม่ได้มีส่วนได้เสีย
โดยเหตุผลที่มีการแก้กฎหมายมาตรานี้ เพราะที่ผ่านมากฎหมายไม่ได้กําหนด “ระยะเวลา” การแจ้ง
การผิดนัดชําระหนี้ให้ผู้ค้ําประกันทราบ จึงทําให้ในทางปฏิบัติซึ่งกว่าเจ้าหนี้จะแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบว่า
7

จะต้องชดใช้หนี้แทน มักเลยกําหนดระยะเวลาชําระหนี้มานานแล้ว ทําให้ผู้ค้ําประกันต้องรับภาระค่าปรับ


และดอกเบี้ยตามมา ซึ่งเป็นภาระส่วนเกินที่ไม่ได้อยู่ในสัญญาตั้งแต่ต้นเป็นจํานวนมาก
5. มาตรา 7 ยกเลิกความในมาตรา 691 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกําหนด
หลักการใหม่คือ ให้ผู้ค้ําประกันได้ประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทําการใด ๆ อันมีผลเป็นการลดจํานวนหนี้
ให้ลูกหนี้ รวมถึงกําหนดว่าข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ําประกันเป็นโมฆะ
ในมาตรา 691 กําหนดหลักการใหม่เป็นในกรณีที่เจ้าหนี้กระทําการใด ๆ อันมีผลเป็นการลดจํานวน
หนี้ที่มีการค้ําประกัน รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น
ถ้าลูกหนี้ได้ชําระหนี้ตามที่ได้ลดแล้ว หรือผู้ค้ําประกันได้ชําระหนี้ส่วนที่เหลือนั้นแล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะล่วงเลย
กําหนดเวลาชําระหนี้ตามที่ได้ลดดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้ค้ําประกันเป็นอันหลุดพ้นจากการค้ําประกัน
ข้อตกลงใดที่มีผลเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ําประกันเป็นโมฆะ
โดยเจตนารมณ์ในการแก้ไขมาตรานี้ ก็เพื่อให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ําประกันลดลงในกรณี
ที่เจ้าหนี้ ลดจํานวนหนี้เงินกู้ ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้
รายที่มีการค้ําประกันนั้น หรือที่รู้จักกันในลักษณะทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมาตรา 691 ที่แก้ไขใหม่
กําหนดให้ในกรณีที่เจ้าหนี้กระทําการใด ๆ อันมีผลเป็นการลดจํานวนหนี้ที่มีการค้ําประกัน รวมทั้งดอกเบี้ย
ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น ให้ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นจากการค้ําประกัน
หากว่าผู้ค้ําประกันได้ชําระหนี้ส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ค้างชําระตามข้อตกลงปรับลดนั้นเรียบร้อยแล้ว กล่าวโดยสรุป
ก็คือถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ําประกันลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใด
ที่จะมีผลเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ําประกันให้ตกเป็นโมฆะ
6. มาตรา 8 ยกเลิกความในมาตรา 700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกําหนด
หลักการใหม่ คือ ถ้าค้ําประกันหนี้อันจะต้องชําระ ณ เวลามีกําหนดแน่นอน และเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่
ลูกหนี้ ผู้ค้ําประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ผู้ค้ําประกันจะได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น
ข้อ ตกลงที่ ผู้ ค้ํ า ประกั น ทํ า ไว้ ล่ ว งหน้ า ก่อ นเจ้ า หนี้ ผ่ อ นเวลาอัน มี ผ ลเป็ น การยิ น ยอมให้ เ จ้ า หนี้ผ่ อ นเวลา
ข้อตกลงนั้นใช้บังคับมิได้
โดยกรณีนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าอาจจะกระทบต่อการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารพาณิชย์ได้ เพราะ
หากธนาคารพาณิชย์จะยืดการผ่อนชําระหนี้ให้กับลูกหนี้ต้องให้ผู้ค้ําประกันยินยอม ไม่เช่นนั้นจะหลุดจาก
ความรับผิดชอบของผู้ค้ําประกัน ผู้ศึก ษาขอเล่าถึงข้อ เท็จ จริงเกี่ยวกับการปรับ โครงสร้า งหนี้ที่มีอยู่ว่า
เมื่อ มีการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผู้ค้ําประกันมักจะไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจา หรือ
แม้กระทั่งการแจ้งให้ทราบ กฎหมายใหม่จึงกําหนดให้การผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ต้องได้รับความยินยอมจาก
ผู้ค้ําประกัน ยิ่งไปกว่านั้นหากมีการทําข้อตกลงไว้ล่วงหน้าก่อนเจ้าหนี้ผ่อนเวลาจะยิ่งส่งผลให้ผู้ค้ําประกัน
เสียเปรียบมากขึ้น โดยกฎหมายในอดีตที่ผ่านมาไม่มีการคุ้มครองผู้ค้ําประกันในประเด็นนี้แ ต่อย่างใด
การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรานี้มุ่งให้ผู้ค้ําประกันมีอํานาจต่อรองกับเจ้าหนี้บ้าง โดยข้อตกลงรับผิดล่วงหน้าก่อน
เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ถือว่าเป็นโมฆะ เนื่องจากผู้ค้ําประกันเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปรับโครงสร้างหนี้
ที่ทําให้ต้องรับผิดชอบจํานวนหนี้มากขึ้นกว่าเดิมนับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ในระยะเวลานานขึ้นโดยไม่มีที่สิ้นสุด
8

7. มาตรา 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 714/1 โดยได้กําหนดว่า กําหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับ


การบังคับจํานองที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติที่มีไว้เพื่อคุ้มครองผู้จํานองเป็นโมฆะ (มาตรา 728 มาตรา 729
และมาตรา 735)
บทบัญญัตินี้หมายความว่ากระบวนการบังคับจํานองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 มาตรา 729
และมาตรา 735 (ดูรายละเอียดในข้อ 11, 12 และ 14) ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยได้มีการกําหนดขั้นตอน
และเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้โดยยังคงหลักการเดิม เพียงแต่มีการบัญญัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น เช่น
เรื่องระยะเวลาที่กําหนดในคําบอกกล่าว เป็นต้น ดังนั้นข้อตกลงที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกําหนด ให้ถือว่า
ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
8. มาตรา 10 การแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 727 จากการประกันด้วยบุคคลคนเดียวเป็นบุคคลหลายคน
ที่จํานองประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชําระและเพิ่มให้ผู้จํานองซึ่งจํานองประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชําระ
นําบทบัญญัติมาตรา 691 มาใช้อ้างได้ด้วย ในทํานองเดียวกันกับผู้ค้ําประกันโดยอนุโลม
ในกรณีที่เจ้าหนี้กระทําการใด ๆ อันมีผลเป็นการลดจํานวนหนี้ที่มีการจํานอง ผู้จํานองก็สามารถ
อ้างเหตุหลุดพ้นได้โดยอาศัยเหตุตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 691 ที่แก้ไขใหม่
9. มาตรา 11 เป็นสาระการแก้ไขในเรื่องของการจดจํานอง ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 727/1
ลงในหมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจํานองและผู้จํานอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยได้กําหนดหลักการดังนี้ “ไม่ว่ากรณีใด ผู้จํานอง ซึ่งจํานองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่น
จะต้องชําระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จํานองในเวลาที่บังคับจํานองหรือเอาทรัพย์จํานองหลุด
และข้ อ ตกลงอั นใดที่ มี ผ ลให้ ผู้ จํา นองรั บ ผิ ด เกิน ราคาทรัพ ย์ สิ น ที่จํ า นองหรื อให้รั บ ผิ ด อย่ า งผู้ ค้ํ า ประกั น
ข้อตกลงในเป็นโมฆะ”
โดยบทบัญญัตินี้หมายความว่าการจํานองที่จํานองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จํานองกับลูกหนี้เป็น
คนละคนกัน) ผู้จํานองในหนี้ที่เกินราคาทรัพย์ที่ได้จํานองไว้ และในกรณีมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจํานองแล้ว
ยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จํานองยังคงรับผิดชําระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ จะตกเป็นโมฆะ
ตามกฎหมายใหม่
10. มาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 728 ขั้นตอนการบังคับจํานองให้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการคุ้มครอง
ผู้จํานองที่จํานองประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชําระในกรณีที่ผู้รับจํานองไม่ทําตามขั้นตอนที่กําหนด
กฎหมายใหม่กําหนดให้ผู้รับจํานองเมื่อต้องการบังคับจํานอง ต้องมีหนังสือบอกกล่าวลูกหนี้ก่อน
ว่าให้ชําระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่ลูกหนี้ได้รับคําบอกกล่าวนั้น และ
หากมีผู้จํานอง (ผู้จํานองเป็นคนละคนกับลูกหนี้) ต้องมีหนังสือบอกกล่าวแก่ผู้จํานองทราบภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ หากผู้รับจํานองมิได้ดําเนินการภายในสิบห้าวันนั้นผู้จํานองหลุดพ้น
จากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชําระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์
แห่งหนี้รายนั้น
11. มาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 729 ในเรื่องขั้นตอนและเงื่อนไขในการบังคับเอาทรัพย์
จํานองหลุดเป็นสิทธิให้ชัดเจนมากขึ้น
9

การบัญญัติกฎหมายใหม่นี้ ยังคงหลักการเดิมในเรื่องของเงื่อนไขการบังคับเอาทรัพย์จํานองหลุด
เป็นสิทธิ คือต้องไม่มีการจํานองรายอื่นหรือบุริมสิทธิ์อื่นเหนือทรัพย์เดียวกันนั้น และลูกหนี้มีการค้างชําระ
ดอกเบี้ยเป็นเวลานานถึงห้าปี และเงื่อนไขเรื่องราคาทรัพย์จํานองซึ่งมีการบัญญัติแตกต่างจากเดิมที่ผู้นําสืบ
พิสูจน์คือผู้จํานอง เปลี่ยนเป็นผู้รับจํานองที่มีหน้าที่ในการนําสืบพิสูจน์โดยแสดงเป็นที่พอใจให้ศาลเห็นว่า
ราคาทรัพย์น้อยกว่าจํานวนเงินที่ลูกหนี้ค้างชําระเพื่อให้ศาลมีคําสั่งเอาทรัพย์จํานองหลุดเป็นสิทธิ
12. มาตรา 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 729/1 กําหนดให้สิทธิแก่ผู้จํานองในการแจ้ง
ผู้รับจํานองให้บังคับจํานองด้วยการขายทอดตลาด
กฎหมายใหม่กําหนดให้ ผู้จํานองมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับจํานองเพื่อให้ผู้รับจํานองดําเนินการ
ให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จํานองโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาล (ถ้าไม่มีการจํานองรายอื่นหรือ
บุริมสิทธิ์อื่นอันได้จดทะเบียนเหนือทรัพย์สินอันเดียวกัน) โดยผู้รับจํานองต้อ งดํา เนิน การขายทอดตลาด
ทรัพย์สินที่จํานองภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ทั้งนี้ ตามกฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติ
ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จํานองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจํานอง แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติ
ให้สิทธินี้แก่ผู้จํานอง ซึ่งผู้รับจํานองต้องดําเนินการขายทอดตลาดภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งนั้น
(โดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะฝ่ายผู้จํานองเป็นฝ่ายเร่งรัดเอง)
ในกรณีที่ผู้รับจํานองไม่ได้ดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินในระยะเวลาที่กําหนดให้ผู้จํานอง
พ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชําระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็น
อุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่พ้นกําหนดเวลาดังกล่าว
13. มาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 735 และมาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 737 นั่นคือการแก้ไข
เพิ่มเติมระยะเวลาในการบังคับจํานองเอาแก่ผู้รับโอนและสิทธิในการไถ่ถอนจํานองของผู้รับโอนให้สอดคล้อง
กับระยะเวลาที่กําหนดในการบังคับจํานองที่ได้แก้ไขจากเดิมเดือนหนึ่งเป็นหกสิบวัน
การบัญญัติกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ เป็นการแก้ไขเพิ่ม เติมระยะเวลาในการบังคับจํานอง
ผู้รับ โอนและสิทธิในการไถ่ถอนจํานองของผู้รับโอน ให้สอดคล้องกับ มาตรา 728 ที่กําหนดขั้นตอนการบังคับ
จํานองไว้อย่างชัดเจน คือก่อนบังคับจํานองเจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ภายในหกสิบวัน ดังนั้นมาตรา 735
(แก้ไขใหม่) ผู้รับจํานองต้องมีจดหมายบอกกล่าวการบังคับจํานองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจํานองล่วงหน้า
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวัน และมาตรา 737 (แก้ไขใหม่) ในกรณีที่ผู้รับโอนประสงค์จะไถ่ถอนจํานอง
ต้องทําการเสนอขอไถ่ถอนภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับคําบอกกล่าว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20)


พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้พิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นอันเป็นผลพวง
ที่เกิดจากการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ในส่วนของการค้ําประกันและจํานอง ซึ่งพบว่ามีผลกระทบใน 4 ประเด็นหลักดังนี้
1. กรณีลูกหนี้ผิดนัดชําระ เจ้าหนี้ต้องทําหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ําประกันภายในหกสิบวัน มิเช่นนั้น
ผู้ค้ําประกันจะไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายจากการไม่ได้ชําระคืนหนี้ที่จะเกิดในอนาคต
10

สถาบันการเงินต้องวางกฎเกณฑ์ที่เข้มข้นขึ้น โดยรีบยุติเรื่องและส่งฟ้องศาลโดยเร็ว ซึ่งในทางปฏิบัติจะส่งผลเสีย


ทั้งต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้
2. กรณีที่เจ้าหนี้มีการปรับโครงสร้างหนี้ หรือขยายระยะเวลาการชําระหนี้ให้ลูกหนี้ เจ้าหนี้ต้องให้
ผู้ค้ําประกันยินยอมด้วยทุกครั้ง ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะสร้างความยุ่งยากให้แก่สถาบันการเงินในฐานะ
เจ้าหนี้ที่จะต้องเรียกผู้ค้ําประกันมายินยอมด้วยทุกครั้ง หากผู้ค้ําประกันไม่ยินยอมการค้ําประกันเป็นอันยุติลง
ซึ่งอาจทําให้กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ไม่เกิดขึ้น
3. กรณีที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เป็นจํานวนเท่าใดก็ให้ภาระของผู้ค้ําประกันลดลงไปด้วยเท่านั้น
ดังนั้น หากลูกหนี้ไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามเงื่อนไข (ที่ปรับโครงสร้างหนี้หรือยืดหนี้แล้ว) ผู้ค้ําประกันจะรับผิด
ไม่เกินมูลหนี้ที่ปรับลดแล้ว จากเดิมหากมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มในช่วงที่ยังไม่จ่ายหนี้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดชอบ
ร่วมด้วย และ
4. ผู้จํานองรับผิดไม่เกินราคาขายทรัพย์ที่จํานองและห้ามกําหนดให้ผู้จํานองที่เป็นบุคคลภายนอก
เป็นผู้ค้ําประกันด้วย (ไทยรัฐออนไลน์, ธันวาคม 2557)
ขณะที่ที่ประชุมธนาคารไทย ได้มีมติร่วมกันเพื่อนําไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้แก้ไข
กฎหมายค้ําประกัน 2 มาตรา คือ
1. มาตรา 700 ที่ระบุให้การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการยืดเวลาชําระหนี้ใด ๆ ต้องได้รับความยินยอม
จากผู้ค้ําประกันและหากผู้ค้ําประกันไม่ยินยอม จะไม่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยจะขอแก้ไขให้การ
ปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว ไม่ต้องผ่านความยินยอมของผู้ค้ําประกัน
2. มาตรา 729/1 โดยสมาคมธนาคารไทยต้องการให้เขียนให้ชัดเจนลงไปในกฎหมายว่า “การขายทอดตลาด
ทรัพย์สินที่จํานองต้องผ่านขบวนการของกรมบังคับคดี”จากเดิมที่กฎหมายระบุเพียงว่า “การขายทรัพย์สิน
ที่จํานอง โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาล” (ไทยรัฐออนไลน์, ธันวาคม 2557)
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้แจงว่าจะไม่มีการแก้ไขทั้งสองประเด็นนี้แล้ว กระบวนการแจ้ง
ผู้ค้ําประกันสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ และการขอให้การขายหลักประกันจํานองผ่านกรมบังคับคดี
ทั้งหมดนั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความยินยอมของลูกหนี้ที่จะตกลงในสัญญากับ
สถาบันการเงิน จึงไม่จําเป็นต้องระบุในกฎหมายให้มีการขายผ่านกรมบังคับคดี ในเรื่องการขายสินทรัพย์จดจํานอง
ทอดตลาด ที่ผ่านมาเกิดความเข้าใจผิดในการตีความกฎหมาย ทั้งที่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าห้ามนําสินทรัพย์นี้
ขายทอดตลาด แต่กฎหมายมีเจตนารมณ์มอบอํานาจให้ลูกหนี้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว หากลูกหนี้ยินยอมให้ขาย
ก็สามารถขายได้ จะเป็นลูกหนี้ขายเอง หรือให้สถาบันการเงินขายให้ก็ได้ แล้วถ้าลูกหนี้ลงลายมือชื่อยินยอม
ให้ ข ายตอนแรกแล้ ว ไม่ ยิ น ยอมให้ ข ายในภายหลั ง ก็ ต้ อ งเข้ า สู่ ร ะบบฟ้ อ งร้ อ งบั ง คั บ คดี โ ดยอั ต โนมั ติ
(ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2558)
จากนั้น คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับ ที่. ..) พ.ศ. .... (แก้ไ ขบทบัญ ญัติเ กี่ย วกับ ค้ํา ประกัน และจํา นอง) ต่อ สภานิติบัญ ญัติแ ห่ง ชาติ
เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
เมื่อ วัน ที่ 10 กุม ภาพัน ธ์ 2558 ซึ่ง ที่ป ระชุม สภานิติบัญ ญัติแ ห่ง ชาติ ครั้ง ที่ 10/2558 วัน พฤหัส บดีที่
11

12 กุมภาพันธ์ 2558 ได้พิจารณา แล้วลงมติรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย


แพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... (แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับค้ําประกันและจํานอง) และตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา จํานวน 15 คน กําหนดการแปรญัตติภายใน 7 วัน โดยมีกําหนดเวลา
ปฏิบัติงานภายใน 30 วัน โดยการพิจารณาในวาระที่สองมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
ต่อมาในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 15/2558 เป็นพิเศษ วันพุธที่ 11 มีนาคม 2558 และ
ครั้งที่ 20/2558 วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2558 ที่ประชุมได้ลงมติให้ขยายเวลาปฏิบัติงานออกไปอีกครั้งละ 30 วัน
คณะกรรมาธิการจึงได้พิจารณาแล้วเสร็จในวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2558 จากนั้นได้มีการพิจารณา
ในวาระที่สาม เมื่อคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 26/2558 วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2558
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย (สํานักงาน
เลขาธิการวุฒิสภา, 2558) จากนั้นนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทูลเกล้าฯถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรง
ลงพระปรมาภิไธย และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
15 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558


เหตุ ผ ลและความจํ าเป็นในการเสนอพระราชบัญ ญัติ นี้ เนื่ องจากเป็ นการแก้ไ ขบทบัญ ญัติข อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องการค้ําประกันและจํานองเพื่อให้มีความเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจ
ในปัจจุบัน สมควรกําหนดให้ผู้ค้ําประกันที่เป็นนิติบุคคลสามารถผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมได้
รวมทั้งสามารถทําข้อตกลงล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้ หากเป็นสถาบันการเงินหรือประกอบอาชีพ
ค้ําประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้โดยกฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 10 มาตรา
ซึ่งมีสาระสําคัญและผู้ศึกษาได้วิเคราะห์หลักกฎหมายให้เห็นในรายมาตรา ดังนี้
1. มาตรา 3 เพิ่มวรรคสองของมาตรา 681/1 กําหนดให้ ผู้ค้ําประกันที่เป็นนิติบุคคล เป็นลูกหนี้
ร่วมได้ โดยในกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมได้เพิ่มวรรคสอง ในมาตรา 681/1 “ให้นิติบุคคลในฐานะผู้ค้ําประกัน
สามารถรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมได้”
ในการแก้ไขก่อนหน้านี้ มาตรา 681/1 กําหนดให้ข้อตกลงใดที่ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับ
ลูก หนี้ใ นฐานะลู ก หนี้ ร่ ว ม ให้ ข้อ ตกลงนั้ น เป็น โมฆะ ส่ ง ผลให้มีเ สี ย งคัด ค้ า นว่า กฎหมายฉบั บ นี้ ม อง
การค้ํา ประกั น ว่ า มี แ ค่ เ พีย งการค้ํา ประกัน โดยบุค คลธรรมดาเท่ า นั้น จนลื ม ไปว่ า ธนาคารพาณิช ย์ เ อง
ก็เป็นผู้ค้ําประกันรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งหากบัญญัติกฎหมายเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อโครงการขนาดใหญ่
ของรัฐที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ค้ําประกันได้
ดังนั้น นิติบุคคลสามารถทําสัญญาค้ําประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้
ร่วมได้ แต่บุคคลธรรมดายังคงต้องห้ามตามมาตรา 681/1 วรรคหนึ่ง (ปัญญา ถนอมรอด, 2558, เล่ม 8 น.5)
12

2. มาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 685/1 กําหนดให้ข้อตกลงที่แตกต่างที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับสิทธิและ


หน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ําประกันตามมาตรา 681 วรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 686 มาตรา 694
มาตรา 698 และมาตรา 699 เป็นโมฆะ
กฎหมายบัญญัติให้ข้อตกลงที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และ
ผู้ค้ําประกัน ตลอดจนขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้ (ตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง
และวรรคสาม มาตรา 686 มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699) ให้ตกเป็นโมฆะ
3. มาตรา 5 ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 691 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557
โดยใช้ข้อความต่อไปนี้แทนกรณีที่เจ้าหนี้ตกลงกับลูกหนี้ อันมีผลเป็นการลดจํานวนหนี้ที่มีการค้ําประกัน
รวมถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ให้เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้
ผู้ค้ําประกันทราบถึงข้อตกลงดังกล่าวภายในหกสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ตกลงกันนั้น ถ้าลูกหนี้ได้ชําระหนี้ตามที่
ได้ลดแล้ว หรือลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ตามที่ได้ลด แต่ผู้ค้ําประกันได้ชําระหนี้ตามที่ได้ลดนั้นแล้ว ให้ผู้ค้ําประกัน
เป็น อั นหลุ ดพ้น จากการค้ํ า ประกั น ทั้ ง นี้ การชํ า ระหนี้ข องผู้ ค้ํ า ประกั น มีสิ ท ธิชํา ระหนี้ ได้ แ ม้จ ะล่ ว งเลย
กําหนดเวลาชําระหนี้ตามที่ได้ลด แต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาชําระหนี้ ในกรณีที่
เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบถึงข้อตกลงดังกล่าว เมื่อล่วงเลยกําหนดเวลาชําระหนี้ตามที่ได้
ลดแล้ว ให้ผู้ค้ําประกันมีสิทธิชําระหนี้ได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบถึง
ข้อตกลงนั้น
การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 691 นี้ หมายความว่าถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นเท่าใด ให้แจ้ง
ผู้ค้ําประกันทราบเป็นหนังสือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตกลงกับลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้ชําระเท่าใด หรือผู้ค้ําประกัน
ชําระไปเท่าใด ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นเท่านั้น โดยผู้ค้ําประกันมีสิทธิชําระหนี้ได้แม้ล่วงเวลาชําระหนี้ตามที่เจ้าหนี้
ได้ลดให้แก่ลูกหนี้ แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนด ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่นใน
ลักษณะเพิ่มภาระให้แก่ผู้ค้ําประกัน ให้ตกเป็นโมฆะ
สาเหตุที่มีการแก้ไขมาตรานี้ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้แจ้งถึงการลดหนี้ให้ผู้ค้ําประกันทราบ
ทําให้ผู้ค้ําประกันมีสิทธิที่จะชําระหนี้ที่ลดลงโดยไม่จํากัดเวลา ซึ่งอาจไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ (ปัญญา ถนอมรอด,
2558, เล่ม 8 น.5)
4. มาตรา 6 ให้เพิ่มวรรคสามของมาตรา 700 ผู้ค้ําประกันซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือค้ําประกัน
เพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระสามารถตกลงล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชําระหนี้ได้ ความรับผิดของผู้ค้ําประกัน
ไม่หมดไป
หลักการทั่วไปในเรื่องการค้ําประกัน ตามมาตรา 700 คือ การค้ําประกันต้องกําหนดเวลาที่แน่นอน
และหากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาชําระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ําประกันก่อน ผู้ค้ําประกัน
ย่ อมหลุดจากความรั บผิ ด แต่ ถ้าผู้ ค้ําประกั นยิ นยอมในการผ่อนเวลาด้ วย ความรั บผิดของผู้ค้ําประกั น
ก็ไม่หมดไป ซึ่งการเพิ่มวรรคสามที่ให้ผู้ค้ําประกันที่เป็นสถาบันการเงินหรือค้ําประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระ
ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องเป็นการค้ําประกันเพื่อสินจ้างและทําเป็นปกติธุร ะ
13

คําว่า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซีเอร์ (ปัญญา


ถนอมรอด, 2558, เล่ม 9 น.12-13) สามารถตกลงล่ว งหน้า ให้เ จ้า หนี้ผ่อ นเวลาได้นั้น เพื่อ แก้ปัญ หา
กรณีที่เจ้าหนี้มีการปรับโครงสร้างหนี้ หรือขยายระยะเวลาการชําระหนี้ให้ลูกหนี้ เจ้าหนี้ต้องให้ผู้ค้ําประกัน
ยินยอมด้วยทุกครั้งทําให้เกิดความยุ่งยาก ซึ่งการค้ําประกันมิได้มีแต่บุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว แต่มีกรณีที่
ผู้ค้ําประกันเป็นนิติบุคคลด้วยซึ่งกฎหมายใหม่กําหนดให้มีการตกลงผ่อนเวลาล่วงหน้ากับเจ้าหนี้ได้ เพื่อช่วยมิให้
การปรับโครงสร้างหนี้ต้องหยุดชะงัก
ในการแก้ไขก่อนหน้านี้ เพิ่มมาตรา 700 วรรคสอง ขึ้นมาว่า หากผู้ค้ําประกันเซ็นสัญญาตกลงไว้
ล่วงหน้าว่า หากในอนาคตเจ้าหนี้จะยอมผ่อนเวลาชําระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ําประกันยินยอมด้วย
ข้อตกลงเช่นนี้ใช้บังคับไม่ได้เนื่องจากมีความกังวลว่า หลักการในมาตรา 700 วรรคสอง อาจกระทบต่อการดําเนิน
โครงการต่ า ง ๆ ของภาครั ฐ ที่ มี ส ถาบั น การเงิ น เป็น ผู้ ค้ํ า ประกั น และการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ของภาคเอกชน
พระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงได้เพิ่มเป็นมาตรา 700 วรรคสาม ว่า “มิให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้ค้ําประกันซึ่งเป็น
สถาบันการเงิน” เพื่อให้สถาบันการเงินทําข้อตกลงไว้ล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้ ในส่วนผู้ค้ําประกัน
ทั่วไปยังคงเหมือนเดิม
5. มาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 727/1 กําหนดให้ผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคล ซึ่งเป็น
ผู้จํานองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของบุคคลนั้นสามารถผูกพันอย่างผู้ค้ําประกัน โดยทําเป็นสัญญา
ค้ําประกันต่างหากได้
การแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ยังคงหลักการเดิมในกรณีผู้จํานองเป็นบุคคลธรรมดา ข้อตกลงใดที่มีผลให้
ผู้จํานองรับผิดเกินราคาทรัพย์สินที่จํานอง ให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ โดยบัญญัติเพิ่มบทยกเว้นในกรณีที่
นิติบุคคลเป็นลูกหนี้ และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการตามกฎหมายหรือบุคคลที่มีอํานาจในการควบคุม
การดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จํานองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของนิติบุคคล และได้ทําสัญญา
ค้ําประกันเป็นสัญญาต่างหาก ข้อตกลงเช่นว่ามีผลบังคับใช้ได้ ซึ่งก็หมายความว่า ข้อตกลงใด ๆ ให้ผู้จํานองรับผิด
เกินกว่าทรัพย์ที่จํานองหรือรับผิดเสมือนผู้ค้ําประกัน ไม่ว่าจะเขียนรวมมาในสัญญาหรือเขียนแยกสัญญา
เป็นโมฆะทั้งสิ้น อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ หากเราเอาทรัพย์มาค้ําประกันโดยการจํานองแก่เจ้าหนี้เพื่อค้ําประกัน
บุคคลอื่น ถ้ามีการบังคับจํานองหรือเอาจํานองหลุด เงินยังขาดเท่าใด เราไม่ต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ไม่ให้ใช้
แก่กรณีที่ลูกหนี้เป็นนิติบุคคล แล้วผู้มีอํานาจจัดการนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จํานองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ของ
นิติบุคคลโดยทําสัญญาค้ําประกันไว้ต่างหาก

สรุปและข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา
ในความเห็นของผู้ศึกษาเห็นว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ค้ําประกันและผู้จํานองให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้โดยเร็ว อันเป็นปัญหาที่เกิดจากช่องว่างของบทบัญญัติ
ในเรื่องของการค้ําประกันและจํานอง ซึ่งจริง ๆ แล้วเราอาจต้องย้อนกลับมาตั้งคําถามว่า ปัญหาที่เกิดเป็นช่องว่าง
ทางกฎหมาย หรือเป็นเรื่องของอํานาจต่อรองของเจ้าหนี้ที่โดยปกติจะอยู่เหนือลูกหนี้เสมอ เนื่องจาก
14

มีสถานะทางการเงินที่ได้เปรียบ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายค้ําประกันและจํานองทั้งสองครั้งนี้ ผู้ศึกษา


เห็นว่ามีข้อดีหลายประการ ดังนี้
กฎหมายการค้ําประกัน
1. การค้ําประกันตามกฎหมายเดิมสามารถค้ําประกันหนี้ในอนาคตได้ จนกลายเป็นการค้ําประกัน
การชําระหนี้อย่างไม่มีขอบเขตแห่งหนี้ที่ชัดเจนซึ่งกฎหมายใหม่ได้แก้ไขบทบัญญัตินี้โดยคงหลักการเดิม
ให้ยังคงสามารถค้ําประกันหนี้ในอนาคตได้หากแต่จะต้องระบุมูลหนี้ให้ชัดเจน จํานวนวงเงินค้ําประกันสูงสุด
ที่ค้ําประกัน และกําหนดวันสิ้นสุดของการค้ําประกัน เพื่อให้ผู้ค้ําประกันทราบขอบเขตที่ตนต้องรับผิด
โดยชัดเจน
2. มีการบัญญัติหลักการใหม่ เป็นมาตรา 681/1 วรรคหนึ่ง โดยข้อตกลงที่กําหนดให้ผู้ค้ําประกันรับผิด
อย่างเดียวกับลูกหนี้ หรือเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ที่ตนเป็นผู้ค้ําประกันข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ (ซึ่งได้มีการยกเลิก
มาตรา 691 การรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมของผู้ค้ําประกัน) และมาตรา 681/1 วรรคสอง ในกรณีผู้ค้ําประกันที่
เป็นนิติบุคคลสามารถผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม และไม่มีสิทธิเกี่ยงให้
เจ้าหนี้เรียกชําระหนี้จากลูกหนี้ก่อน หรือยกข้อต่อสู้อื่น ๆ ที่ตนมีสิทธิ เพื่อมิให้เกิดอุปสรรคในการดําเนินธุรกิจ
ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ําประกันสินเชื่อธุรกิจของกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ในสภาพความจริงเอสเอ็มอีที่
ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเจ้าของกิจการมักเป็นผู้ค้ําประกันหนี้ด้วย ดังเช่นในกรณีที่บริษัทแม่ค้ําประกัน
ให้บริษัทลูก ซึ่งการบัญญัติหลักการใหม่นี้จะช่วยให้สถาบันการเงินมีความเชื่อมั่นในหลักประกันและปล่อยสินเชื่อ
ให้กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีได้ง่ายขึ้น
3. มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติ โดยให้บรรดาข้อตกลงที่เกี่ยวกับการค้ําประกันที่ต่างไปจากมาตรา
ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นโมฆะ เนื่องจากถือเป็นบทบัญญัติซึ่งเกี่ยวกับหลักการคุ้มครองของผู้ค้ําประกัน
(1) มาตรา 681 ของ ปพพ. (หนี้ค้ําประกันต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์) (2) มาตรา 694 ของ ปพพ. (สิทธิของผู้ค้ําประกัน
ในการยกข้อต่อสู้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ในเรื่องของอายุความ) (3) มาตรา 698 ของ ปพพ. (ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
หากหนี้ของลูกหนี้ระงับ) และ (4) มาตรา 699 ของ ปพพ. (สิทธิเลิกสัญญาของผู้ค้ําประกัน) ซึ่งเป็นการแก้ไข
ปัญ หาที่เกิดขึ้นในอดีตที่เจ้าหนี้มั กให้ผู้ ค้ําประกัน ทํ าข้อตกลงเกี่ ยวกับการค้ําประกั นที่ แ ตกต่างไปจาก
กฎหมายบัญญัติทําให้ผู้ค้ําประกันเสียเปรียบ
4. กฎหมายใหม่กําหนดขั้นตอนการเรียกให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้ไว้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ค้ําประกัน
ได้ทราบว่าลูกหนี้ผิดนัดและใช้สิทธิในการชําระหนี้แทนเพื่อมิให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมนับแต่
ลูกหนี้ผิดนัด โดยให้เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ําประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
ซึ่งต่างจากกฎหมายเดิมที่กําหนดให้เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด หากแต่ไม่มี
ความชัดเจนในเรื่องกําหนดระยะเวลาการบอกกล่าว ทําให้ผู้ค้ําประกันไม่รู้ตัวว่าลูกหนี้ผิดนัดไปตั้งแต่เมื่อใด
รวมถึงเจ้าหนี้บางรายไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาจากผู้ค้ําประกัน เหมือนกับว่าต้องการจะผ่อนปรนให้ลูกหนี้
แท้จ ริง แล้ว ประสงค์ที่จะได้รับชําระดอกเบี้ยผิดนัดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามกฎหมายใหม่ถ้าไม่มีหนังสือบอกกล่าว
ภายในกําหนดระยะเวลาหกสิบวัน ให้ผู้ค้ําประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน
ที่ลูกหนี้ค้างชําระ นับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลา แต่ในกรณีที่ได้รับการบอกกล่าวแล้วผู้ค้ําประกันมีสิท ธิ
15

ขอชําระหนี้แทนลูกหนี้ทั้งหมด เพื่อผู้ค้ําประกันจะได้ไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น
5. สําหรับการแก้ไขปัญหาในกรณีที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้แล้ว ผู้ค้ําประกันไม่ทราบ ตนเองก็ยังต้อง
ผู ก พั น ตามข้ อ ตกลงเดิ ม โดยกฎหมายใหม่ ไ ด้ มี ก ารเพิ่ ม เติ ม หลั ก การใหม่ เ พื่ อ แก้ ไ ขในกรณี ดั ง กล่ า ว
ในมาตรา 691 กรณีที่เจ้าหนี้ตกลงกับลูกหนี้ อันมีผลเป็นการลดจํานวนหนี้ที่มีการค้ําประกัน ให้เจ้าหนี้
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบถึงข้อตกลงดังกล่าวภายในหกสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ตกลงกันนั้น ถ้าลูกหนี้
ได้ชําระหนี้ตามที่ได้ลดแล้ว หรือลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ตามที่ได้ลด แต่ผู้ค้ําประกันได้ชําระหนี้ตามที่ได้ลดนั้นแล้ว
ให้ผู้ค้ําประกันเป็นอันหลุดพ้นจากการค้ําประกัน ทั้งนี้ การชําระหนี้ของผู้ค้ําประกันมีสิทธิชําระหนี้ได้แม้จะ
ล่วงเลยกําหนดเวลาชําระหนี้ตามที่ได้ลด แต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาชําระหนี้
ในกรณีที่เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบถึงข้อตกลงดังกล่าว เมื่อล่วงเลยกําหนดเวลาชําระหนี้
ตามที่ไ ด้ล ดแล้ว ให้ผู้ค้ํา ประกัน มีสิท ธิชํา ระหนี้ไ ด้ภ ายในหกสิบ วัน นับ แต่วัน ที่เ จ้า หนี้มีห นัง สือ แจ้ง ให้
ผู้ค้ําประกันทราบถึงข้อตกลงนั้น
6. ผู้ค้ําประกันที่เป็นสถาบันการเงินหรือค้ําประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระสามารถตกลงล่วงหน้า
ให้เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชําระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาการปรับโครงสร้างหนี้ให้สามารถทําได้ง่ายขึ้น
โดยเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือผ่อนผันเวลาให้ลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องเรียกให้ผู้ค้ําประกัน
ที่เป็นมาให้ความตกลงอีกครั้ง หรือในกรณีการดําเนินโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการจัดซื้อจัดจ้าง
ที่มีการกําหนดให้คู่สัญญาต้องใช้หนังสือค้ําประกันของธนาคารเป็นหลักประกันตามสัญญา โดยการให้ผู้ค้ําประกัน
ที่เป็นสถาบันการเงินหรือค้ําประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระสามารถทําข้อตกลงไว้ล่วงหน้า โดยยินยอมให้มี
การผ่อนเวลาได้ ซึ่งหากคู่สัญญาไม่สามารถดําเนินการตามสัญญาได้ ภาครัฐสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก
ผู้ค้ําประกันที่เป็นสถาบันการเงินหรือค้ําประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระได้ทันที
การแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับการค้ําประกันก็จะเป็นไปตามที่ผู้ศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น
ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวนี้ อาจส่งผลให้เจ้าหนี้รายใหญ่อย่างเช่นธนาคารพาณิชย์ อาจต้องแก้ไขแบบ
มาตรฐานสัญญากันให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายใหม่
กฎหมายจํานอง
กฎหมายเรื่องจํานองในส่วนที่เสนอให้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมนั้นซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าโดยส่วนใหญ่
เป็นเรื่องของการบังคับจํานองที่มีข้อดีตรงที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ดังนี้
1. มาตรา 727/1 กําหนดให้ผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้จํานองทรัพย์สินของตน
เพื่อประกันหนี้ของบุคคลนั้นสามารถผูกพันอย่างผู้ค้ําประกัน โดยทําเป็นสัญญาค้ําประกันต่างหากได้ซึ่งช่วย
แก้ไขปัญหาในกรณีที่บริษัทที่เป็นนิติบุคคลจะนําทรัพย์สินมาจํานอง สถาบันการเงินจะให้เจ้าของกิจการ
นําทรัพย์สินในชื่อของตนเองมาจํานองเป็นหลักประกัน หากธนาคารไม่สามารถเรียกส่วนที่ขาดจากเจ้าของกิจการ
ตัวจริงได้ ธนาคารย่อมมีความเสี่ยงมากขึ้น ดังนั้นกฎหมายใหม่จึงกําหนดให้ผู้มีอํานาจจัดการนิติบุคคลที่ทําสัญญา
จํานองทรัพย์ของตนไว้เป็นประกันหนี้ของนิติบุคคลนั้น สามารถเข้าทําสัญญาเป็นผู้ค้ําประกันต่างหากกับ
16

เจ้าหนี้ได้ เนื่องจากผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียกับนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้


เพื่อให้ธนาคารสามารถเรียกให้ผู้ค้ําประกันรับผิดชําระหนี้ในส่วนที่ขาดได้
2. กฎหมายใหม่กําหนดกระบวนการการบังคับจํานอง วิธีการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขฟ้องบังคับ
จํานองไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 728 มาตรา 729 และมาตรา 735 เป็นเรื่องของกระบวนการการบังคับจํานอง
ซึ่งกฎหมายเดิมไม่ได้มีการกําหนดขั้นตอนอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้รับจํานองทอดระยะเวลาการบังคับจํานองออกไป
เนื่องจากเจ้าหนี้ยังเห็นว่าตนได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ทําให้ลูกหนี้และผู้จํานองเสียเปรียบ
อนึ่งบทบัญญัติในมาตรา 728 ปัจจุบันกําหนดให้ผู้รับจํานอง (หรือเจ้าหนี้) มีหนังสือแจ้งไปยัง
ลูกหนี้ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่ได้กําหนดเวลาให้ลูกหนี้มาชําระหนี้อย่างชัดเจน โดยกําหนดให้หนังสือบอกกล่าว
ต้องกําหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้มาปฏิบัติการชําระหนี้ ไม่น้อยกว่าหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว
นอกจากนั้น ยังกําหนดหน้าที่ของเจ้าหนี้ผู้รับจํานองต้องจัดทําสําเนาหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จํานองทราบ
(กรณีที่ผู้จํานองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) ภายในสิบห้าวัน นับจากวันที่ส่งหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบ
โดยหากผู้รับจํานองไม่ส่งสําเนาหนังสือบอกกล่าวภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าผู้จํานองหลุดพ้นจาก
ความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่ลูกหนี้ค้างชําระและค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกิดขึ้น นับจากวันที่พ้น
กําหนดสิบห้าวัน
จากข้อ เสนอแก้ไ ขดัง กล่า ว ผู้ศึก ษาขอวิเ คราะห์ใ ห้เ ห็น ถึง เจตนารมณ์ต ามข้อ เสนอแก้ไ ข
มาตรา 728 นั้น คืออะไร และช่วยในการแก้ไขในเรื่องใด
ก. การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องของระยะเวลา จากที่กําหนดให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชําระหนี้
“ภายในเวลาอันสมควร” มาเป็นการกําหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชําระหนี้ “ภายในเวลาอันสมควร
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวัน” ผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นการดีที่เป็นการปิดช่องว่างไม่ให้มีการโต้แย้งว่า “ภายในเวลา
อันสมควร” นั้น ควรจะเป็นระยะเวลายาวนานเท่าใด ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องของกําหนด
ระยะเวลาในการปฏิบัติการชําระหนี้ของลูกหนี้ จึงเป็นการแก้ไขเพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น แต่ในหลักการ
ของกฎหมายยังคงเหมือนเดิม กล่าวคือ เจ้าหนี้ยังคงต้องมีการบอกกล่าวให้ลูกหนี้มาชําระหนี้
ข. การเพิ่มหลักการสําคัญเกี่ยวกับการแจ้งให้ผู้จํานองทราบว่าลูกหนี้ผิดนัดชําระ ซึ่งเป็นการ
ช่วยเหลือผู้จํานอง ซึ่งตามมาตรา 728 (เดิม) ไม่ได้มีหลักการดังกล่าว ซึ่งเป็นเจตนารมณ์หลักของกฎหมาย
ที่ต้องการช่วยเหลือผู้จํานอง เพื่อให้ผู้จํานองรับทราบถึงการผิดนัดชําระหนี้ของลูกหนี้ โดยมาตรานี้ จะเชื่อมโยง
ไปยังมาตรา 729/1 (เป็นกรณีที่ผู้จํานองมีสิทธิเสนอตัวเองที่จะให้เจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์ที่จํานอง เพื่อหลีกเลี่ยง
การที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดให้แก่เจ้าหนี้) ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
3. ตามมาตรา 729 ที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดเงื่อนไขให้ทรัพย์จํานองหลุดเป็นสิทธิว่ายังคงหลักการเดิม
ในเรื่องของเงื่อนไขการที่ลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยเกินกําหนด 5 ปี และไม่มีการจํานองรายอื่นหรือมีบุริมสิทธิ์อื่น
แต่มีการเปลี่ยนผู้พิสูจน์จากเดิมผู้จํานองเป็นผู้พิสูจน์เปลี่ยนเป็นผู้รับจํานอง ผู้ศึกษาขอตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยน
ผู้พิสูจน์ในเรื่องของราคาทรัพย์สินให้เป็นที่พอใจต่อศาล จากผู้จํานองไปเป็นผู้รับจํานอง การเปลี่ยนตัวผู้พิสูจน์
ให้ศาลเห็นนี้ เป็นการดีที่ไม่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้จํานองมากเกินควรและหากราคาทรัพย์สินที่ผู้รับจํานองพิสูจน์
ต่อศาลไม่ใช่ราคาที่เหมาะสม ผู้จํานองก็น่าจะมีสิทธิโต้แย้งได้
17

4. กฎหมายใหม่กําหนดให้ข้อตกลงที่แตกต่างไปจากมาตรา 728 729 735 เป็นโมฆะ ในมาตรา 714/1 นั้น


ก็เพื่อสนับสนุนการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 728 มาตรา 729 และมาตรา 735 ให้มีการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง
5. ข้อเสนอมาตรา 729/1 เป็นบทบัญญัติที่เสนอเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับเงื่อนไขการให้ทรัพย์
จํานองหลุดเป็นสิทธิ เพื่อเพิ่มหลักการให้ผู้จํานองเป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้มีการบังคับจํานองได้เลยโดยไม่ต้องรอให้
ผู้รับจํานองใช้สิทธิในการบังคับจํานองก่อน ซึ่งในการบังคับจํานองไม่ว่าจะเป็นการบังคับจํานองโดยการ
ขายทอดตลาด หรือบังคับจํานองโดยให้หลุดเป็นสิทธิของผู้รับจํานอง (เจ้าหนี้) กฎหมายให้สิทธิผู้รับจํานอง
ในการบังคับเอากับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อการแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้รับจํานองบางราย
เลือกที่จะไม่ดําเนินการบังคับจํานอง โดยหวังว่าจะได้รับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากลูกหนี้

ข้อเสนอแนะ
ในประเด็นของกระบวนการบังคับจํานอง ที่กฎหมายใหม่กําหนดในมาตรา 728 มาตรา 729 และ
มาตรา 735 นั้น ผู้ศึกษาเห็นว่าหากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติการชําระหนี้ได้ หรือลูกหนี้หรือผู้จํานอง ไม่ประสงค์
ให้มีการบังคับเอากับทรัพย์สินของตนแล้ว และยังต้องการได้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนจากเจ้าหนี้ โดยการยอมที่จะ
ให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ย ซึ่งคิดว่าเป็นการดีกว่าการยึดทรัพย์จํานองแล้ว ข้อเสนอเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา
714/1 ที่กําหนดให้มีผลเป็นโมฆะนั้น อาจทําให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ําประกันเสียหายมากกว่า เนื่องจากไม่เป็นไป
ตามความต้องการ โดยในอนาคตหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง อาจบัญญัติให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ําประกัน
แสดงเจตจํานงที่จะเลือกให้บังคับจํานองเอากับทรัพย์สินหรือไม่ประสงค์ให้บังคับจํานองก็ได้ โดยให้เจ้าหนี้
ผ่อนปรนให้กับลูกหนี้ โดยการคิดดอกเบี้ยเพิ่มแทนการบังคับจํานองเอากับทรัพย์สินก็เป็นทางเลือกที่จะ
สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ หรือผู้ค้ําประกันได้อีกทางหนึ่ง

จัดทําโดย
นางสาวชัชฎาภรณ์ ประยูรวงษ์
นิติกรชํานาญการ
กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สํานักวิชาการ
โทร. 0 2244 2065
โทรสาร. 0 2244 2058
18

บรรณานุกรม
ไทยรัฐออนไลน์. (ธันวาคม 2557). คลี่กฎหมาย “ปลดล็อค” ค้ําประกันหนี้ ดาบสองคมสั่นคลอนการเงินไทย
สืบค้น 20 กรกฎาคม 2558 จาก http://www.thairath.co.th/content/467720.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (11 ม.ค. 2558). ได้ข้อยุติแก้กฎหมายค้ําประกันหนี้ ชง"สนช."ปรับปรุงถ้อยคําใหม่-
ไม่ ยื ด เวลาบั ง คั บ ใช้ .สื บ ค้ น 22 กรกฎาคม 2558 จากhttp://www.prachachat.net/news_
detail.php?newsid=1420917081
ปัญญา ถนอมรอด. (2558). รวมคําบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 68 ปีการศึกษา 2558 เล่มที่ 8 “ยืม ค้ําประกัน
จํานอง จํานํา”. กรุงเทพฯ: สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ปัญญา ถนอมรอด. (2558). รวมคําบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 68 ปีการศึกษา 2558 เล่มที่ 9 “ยืม ค้ําประกัน
จํานอง จํานํา”. กรุงเทพฯ: สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2558. (13พฤศจิกายน 2557).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 77ก
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 21 พ.ศ. 2558. (14 กรกฎาคม 2558).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 63ก.
สุดา วิศรุตพิชญ์. (2557). คําอธิบายกฎหมายค้ําประกันและจํานองที่แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557. สืบค้น 15 มิถุนายน
2558 จาก http://www.law.tu.ac.th/wp-content/uploads/ 2015/01/8JAN_ final4JEED.pdf
สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2557). เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... . กรุงเทพ: สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา
________. (2558). เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกฎหมายค้ําประกันและจํานอง).
กรุงเทพ: สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา
iLAW. (21 เมษายน 2558). แก้ไข ป.แพ่งฯ เรื่องค้ําประกันจํานอง 2 : ให้สถาบันการเงินเป็นลูกหนี้ร่วมได้.
สืบค้น 15 มิถุนายน 2558 จาก http://ilaw.or.th/node/3665
Thai PBS NEWS. (15พฤศจิกายน 2557). ช่องโหว่ “กม.ค้ําประกัน” ใหม่ : ประชาชน-SMEs เข้าถึง
แ ห ล่ ง เ งิ น กู้ ย า ก -ธ น า ค า ร เ สี่ ย ง เ จ อ ห นี้ เ สี ย . สื บ ค้ น 2 3 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 5 8 จ า ก
http://news.thaipbs.or.th/content/ช่องโหว่-“กมค้ําประกัน”-ใหม่-ประชาชน-smes-เข้ าถึง
แหล่งเงินกู้ยาก-ธนาคารเสี่ยงเจอหนี้เสีย
Thai PBS NEWS. (24 พฤศจิกายน 2557). สมาคมธนาคารไทยวิเคราะห์ กม.ค้ําประกันใหม่ทํา SME กู้ยาก-
NPLs แบงค์ พุ่ ง เตรี ย มเสนอ“ธปท.”บรรเทาผลกระทบ. สื บ ค้ น 23 กรกฎาคม 2558
จาก http://news.thaipbs.or.th/content/สมาคมธนาคารไทยวิเคราะห์-กมค้ําประกันใหม่ทํา-
smeกู้ยาก-npls-แบงค์พุ่ง-เตรียมเสนอ“ธปท”บรรเทาผลกระทบ

You might also like