Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

ตัวเเทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2522
โจทก์ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ช. แล้วเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ที่ 1 ระบุให้บริษัท ช. เป็นผู้รับประโยชน์ มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 374 ก่อนบริษัท ช. แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ รถที่เช่าซื้อสูญหายไป และโจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 โดยตรงแล้ว จึงเป็นกรณีที่คู่
สัญญาประกันภัยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงระหว่างกันแล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามมาตรา 880 มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใน
นามของตนเองจากลูกหนี้ของโจทก์ที่ 2 ได้ตามมาตรา 226 ส่วนโจทก์ที่ 2 ซึ่งฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยและรถหายไป ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนที่ยังขาดอยู่
จากจำเลยได้
ปั๊มของจำเลยปฏิบัติต่อลูกค้ามีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับรถจากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ปั๊มนั้น จึงเป็นลักษณะรับฝากทรัพย์ตามมาตรา
657 ไม่ใช่ให้เช่าสถานที่เพื่อจอดรถ
ร. นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไปทดลองขับดูก่อนที่จะซื้อและได้นำไปจอดฝากไว้กับจำเลย ถือได้ว่า ร. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 2 โดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิด
ต่อโจทก์
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2510
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย เป็นฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2512
จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโดยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ ได้ขายมะพร้าวเชื่อให้ ป. และ ส. ไปโดยมิได้ให้ผู้ซื้อทำหลักฐานการซื้อไว้ และขายมะพร้าว
เชื่อให้ ต.และง.เกินอำนาจผู้จัดการสาขาที่จะให้ผู้ซื้อซื้อเชื่อได้ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ในเรื่องการค้ามะพร้าว ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่
โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 ข้อที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนี้ค่าซื้อเชื่อมะพร้าว แล้วถอนฟ้อง เหตุที่โจทก์จำต้องถอนฟ้องก็เพราะจำเลย
มิได้ทำหลักฐานการซื้อเชื่อไว้และยังปล่อยให้หนี้ขาดอายุความ จำเลยจึงยังต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้น เพราะโจทก์ไม่มีทางรับชำระ
หนี้อีกต่อไป
จำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ขายมะพร้าวเชื่อให้ พ.เกินอำนาจของจำเลย โจทก์ฟ้อง พ. เรียกให้ชำระหนี้ค่าซื้อมะพร้าวจนโจทก์ชนะคดีไปแล้ว แต่บังคับคดีไม่ได้
เพราะ พ. หลบหนีไป โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยอีกไม่ได้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์หมดไป โดยการที่โจทก์อาจบังคับคดีเอาจาก พ. ลูก
หนี้ได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในกรณีนี้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20-22/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2533
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าเช่าซื้อรถจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยที่ 1 รับเงินตาม หน้าที่แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์
ย่อมเป็นทั้งละเมิดและปฏิบัติผิดหน้าที่ตัวแทนตาม สัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในการละเมิดหรือติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์ที่
จำเลยเอาไปได้ การฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงิน จึงเป็นการใช้ สิทธิติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่ง ไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้ สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูก จำกัดด้วย อายุความได้ สิทธิ ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้อง
เรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ แม้จะเกิน 1 ปี จำเลยที่ 2ค้ำประกันจำเลยที่ 1 มูลหนี้ของจำเลยที่ 2 ก็เกิดจากสัญญา หาได้เกิดจากมูลละเมิดอันจะ
มีอายุความ 1 ปีไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2487
กรรมการผู้จัดการของบริษัทการพิมพ์สั่งซื้อกระดาษแทนผู้จ้างพิมพ์หนังสือโดยผู้จ้างพิมพ์มิได้มอบหมายให้สั่งซื้อและมิได้ให้สัตยาบันดังนี้บริษัทต้องรับผิดชำระ
ราคากระดาษนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1//2511
การที่นายจ้างยอมให้ลูกจ้างเชิดตัวลูกจ้างออกแสดงเป็นตัวแทนของนายจ้างในการออกตั๋วแลกเงินเพื่อขายให้บุคคลภายนอกนั้นกรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีหลักฐาน
เป็นหนังสือดังเช่นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนโดยตรงและเมื่อหาตัวผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นไม่ได้ผู้ทรงย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยจากนายจ้างได้
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2523
การที่โจทก์ขายปุ๋ยพิพาทให้ก็โดยเชื่อว่า ธ. มีอำนาจสั่งซื้อปุ๋ยแทนจำเลยได้ตามเอกสาร และที่เคยปฏิบัติต่อกันเรื่อยมาจากการสั่งซื้อปุ๋ย 2 คราวก่อน การ
เปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้ช่วยผู้จัดการของจำเลยที่ให้เป็นตัวแทน จำเลยก็มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้กระทำการโดยสุจริต
และต้องเสียหายจากการนั้นหาได้ไม่
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2533
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงหรือ
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653เมื่อได้ความ
ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีใจความว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินยืมคืนแล้วโดยโจทก์ผู้ให้ยืมลงลายมือชื่อมาแสดง และหนังสือกู้ยืมก็
ยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์โดยไม่ได้แทงเพิกถอนว่าได้รับชำระเงินยืมคืนแล้ว จำเลยก็ไม่อาจนำสืบถึงการใช้เงินได้ ใช้เงินกู้ยืมคืนโดยชำระแก่ตัวแทน
ของผู้ให้ยืม แต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงชื่อตั้งการเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองดังนี้ แม้
ตัวแทนจะออกหลักฐานการรับเงินให้ผู้ยืมไว้ ก็ไม่ผูกพันผู้ให้ยืม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458 /2533

จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่า ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจจัดการ


ประกันตัวผู้ต้องหานำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพร้อมทั้งให้ถ้อยคำต่าง ๆแก่เจ้าหน้าที่ แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการ
แทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 132 แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหาได้กระทำการเป็นส่วนตัว ประกอบกับการมีคำสั่ง
อนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2ให้โจทก์ยึดถือไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะ
ขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน จึงถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 2เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นตัวการส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2ด้วยไม่.
3153/2533

จำเลยที่ 4 ไปศึกษาต่อต่างประเทศก่อนโจทก์ฟ้องหลายปี มีครอบครัวและประกอบอาชีพอยู่ต่างประเทศ แต่จำเลยที่ 4 ยังมีสัญชาติไทย มีชื่อในทะเบียนบ้าน


ตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องและเคยเดินทางกลับมาประเทศไทยหลายครั้ง ถือว่าจำเลยที่ 4 ยังมีภูมิลำเนาในประเทศไทยตามทะเบียนบ้านนั้น การส่งคำ
บังคับให้แก่จำเลยที่ 4 ตามภูมิลำเนาดังกล่าวโดยการปิดคำบังคับจึงเป็นการส่งโดยชอบ จำเลยที่ 4 เพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นกำหนด6 เดือนไป
แล้ว นับแต่วันยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก.

1237/2535

โจทก์ตั้ง ส. ทนายความผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798


แต่เมื่อ ส. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย จำเลยได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าว
บังคับจำนองของ ส.เป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของส.ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ถือได้ว่า ส. เป็นตัวแทนของโจทก์โดยชอบตามมาตรา 823 ซึ่งการตั้งตัวแทน
ลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว

820/2491

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อไม้จากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ทำผิดสัญญา จำเลยได้รับซื้อไม้ไว้จากนายเดชา โจทก์เป็นผู้ทำการแทนนายเดชา


จำเลยได้ชำระเงินแก่นายเดชาแล้ว ศาลสั่งว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบก่อน โจทก์มิได้คัดค้าน จึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายไม้กับจำเลย การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์เป็นตัวแทนของนายเดชา นายเดชาเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ บัดนี้ แสดงตัวให้ปรากฏ และ
เข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์ทำแทนตน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 806 ย่อมนำสืบได้

491/2492

โจทก์ได้เซ็นชื่อลงในใบมอบฉันทะโดยไม่ได้กรอกข้อความอะไรเลย มอบให้จำเลยที่ 2 ไว้ เพื่อว่าเมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จะได้โอน


ที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 ตามที่ตกลงกันไว้ แล้วจำเลยที่ 1,2 และ 4 คบคิดกันกรอกข้อความลงในใบมอบฉันทะนั้นว่า โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดินนี้แก่
จำเลยที่ 5,6 ซึ่งผิดจากที่ได้รับมอบหมายไว้เป็นเรื่องยักยอกตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 315 ถ้าจำเลยที่ 5,6 ได้รับซื้อโดยสุจริต รูปคดีเข้าลักษณะ
ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 โจทก์ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 5,6 ซึ่งเป็นบุคคล
ภายนอก
ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวเลยว่าจำเลยผู้รับซื้อที่พิพาทได้สมคบกับจำเลยซึ่งเป็นผู้กรอกลงในใบมอบฉันทะของโจทก์ ซึ่งมีแต่ลายมือชื่อหรือกระทำการโดยไม่สุจริต
ประการใด ทั้งมิได้นำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยผู้ซื้อนี้อย่างใดเลย จึงไม่มีทางเพิกถอนสัญญาซื้อขายนั้นได้

403/2531
 ชื่อโอเชี่ยนวิวเป็นชื่อในทางการค้าของบริษัทจำเลย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โรงแรมโอเชี่ยนวิว จำเลยให้ผู้อื่นเช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวและบังคับให้ผู้เช่าใช้
ชื่อเดิม จนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวเป็นกิจการของจำเลย ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่บริษัทจำเลยแสดงออกแก่โจทก์และบุคคลทั่วไปว่าการดำเนินกิจการ
โรงแรมเป็นกิจการของบริษัทจำเลยเอง จึงเป็นการเชิดผู้เช่าเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ดังนั้น เมื่อผู้เช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และไม่ชำระ
ราคาบริษัทจำเลยจะยกเหตุแห่งการเช่าระหว่างกันเองมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตหาได้ไม่
หนังสือขอผัดผ่อนการชำระหนี้มีข้อความยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ซึ่งมีหนี้จำนวนเดียวเท่านั้น ลงชื่อโดยผู้แทนโรงแรมโอเชี่ยนวิว ซึ่งดำเนินกิจการโดยผู้
เช่าโรงแรมที่บริษัทจำเลยเชิดขึ้นเป็นตัวแทน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 จำเลยจึงต้องผูกพัน
ตามหนังสือดังกล่าวต่อโจทก์.

723/2502

แม้หากจะฟังว่าโจทก์เป็นตัวแทน แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจให้ยื่นฟ้องคดี ตามปรกติจะถือว่ามีอำนาจยื่นฟ้องคดีโดยอ้างว่าเนื่องจากเหตุฉุกเฉินนั้น หาได้ไม่ เพราะ


ไม่ปรากฏว่าถ้าไม่ฟ้องคดีตามวันที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นการเสียหายแก่ตัวการอย่างใด เช่นคดีจะขาดอายุความเป็นต้นและทั้งจะถือว่าการยื่นฟ้อง เช่นว่านั้น
เป็นการปฏิบัติการอย่างเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำก็ไม่ได้ เพราะปรากฏชัดอยู่แล้วตามใบมอบอำนาจว่า โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 เป็นบทบัญญัติให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่าตัวแทนมีอำนาจกระทำการแทนตัวการได้ในเหตุฉุกเฉิน ข้อสำคัญก็ต้องเป็น
ตัวแทนเสียก่อนแล้วกระทำการซึ่งเป็นการจำเป็นต่อไป และต้องเป็นตัวแทนในประเทศไทยด้วย ถ้าเป็นตัวแทนของโจทก์แต่เฉพาะในอาณานิคมฮ่องกง มิได้เป็น
ตัวแทนของโจทก์ในประเทศไทยด้วยแล้ว ก็ไม่มีกรณีที่จะอ้าง มาตรา 802 นี้ได้เลย
ในขณะยื่นฟ้อง ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจดำเนินคดีในศาลไทย การที่ศาลรับฟ้องไว้จึงเป็นการขัดต่อวิธีพิจารณาไม่มีทางใดที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่
ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมาก็ดี ก็หาทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้มาก่อนแล้วนั้น กลับคืนดีเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาขึ้นมาใน
ภายหลังได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)

2445/2533
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1
ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็น
อำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.
 
 
 

 
 รับขน
2645/2520
บขนกระจกใส่เรือฉลอมบรรทุกไปลงเรือเดินสมุทร เป็นผู้ขนส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 เรือใหญ่แล่นแซงทำให้เกิดคลื่น เรือฉลอม
จมเป็นเหตุป้องกันได้ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยผู้ขนส่งต้องรับผิดตาม มาตรา 616
โจทก์ขอแก้ชื่อบริษัทจำเลยในฟ้องให้ตรงความจริง ไม่ใช่แก้ฟ้องตาม มาตรา 179 ศาลอนุญาตให้แก้ได้ อายุความนับถึงวันแรกที่โจทก์ยื่นฟ้อง ไม่ใช่วันที่แก้
ฟ้องเพียงแต่ให้บริบูรณ์ขึ้น
828/2498
 การรับขนเบียร์โดยทางเรือจากกรุงเทพฯ ไปสุราษฎร์ธานีถือว่าเป็นการรับขนของตามชายฝั่งอ่าวไทยหรือในน่านน้ำไทยหาใช่เป็นการรับขนของทางทะเลไม่ดัง
นั้นจะนำเอาอายุความ 6 เดือนของพระราชบัญญัติเดินเรือมาใช้หาได้ไม่
เมื่อจำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จหากของนั้นเกิดสูญหายหรือบุบสลายขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือแต่
สภาพแห่งของนั้นหรือเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตาม มาตรา 616
 
1165/2497
สัญญาขนส่งมีว่า"ผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างส่งเจ้าหน้าที่ควบคุมข้าวในระหว่างทำการขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางฯลฯ " ดังนี้ผู้ขนส่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
การควบคุมข้าวเพียงแต่จัดพาหนะขนส่งไปให้ถึงปลายทางเท่านั้น เมื่อข้าวสูญหายไปในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้จ้างแต่งตั้ง ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิด
 

1162/2523

จำเลยให้การเพียงว่าเหตุที่รถพลิกคว่ำเป็นเพราะฝนตกหนักถนนลื่นมาก พนักงานของจำเลยไม่สามารถควบคุมรถได้ การที่จำเลยกล่าวอ้างในชั้นฎีกาว่าเหตุที่


รถพลิกคว่ำเป็นเพราะมีรถคันอื่นแซงขึ้นหน้ารถจำเลยแล้วแล่นปาดหน้าเพื่อเข้าเส้นทางคนขับรถของจำเลยจึงห้ามล้อและหักพวงมาลัยรถหลบเข้าข้างทาง
ทำให้รถพลิกคว่ำ เป็นเหตุสุดวิสัยนั้นเป็นการยกเหตุนอกประเด็นที่ให้การไว้ ข้อที่จำเลยอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจึงรับฟังไม่ได้
ใบรับของมีหมายเหตุว่าสินค้าที่รับขนโดยไม่ได้ประเมินราคาผู้รับขนรับผิดไม่เกิน 500 บาท ข้อความนี้ผู้ส่งของมิได้ตกลงด้วย จึงเป็นโมฆะตาม มาตรา 625
เมื่อพนักงานประจำรถบรรทุกของจำเลยลงลายมือชื่อรับทราบรายละเอียดและราคาของสินค้าไว้ในใบส่งของแล้วย่อมถือได้ว่าบริษัท อ. ผู้ส่งได้บอกราคาของ
สินค้าให้จำเลยทราบในขณะส่งมอบของแล้วจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ตนรับขนตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 316

1107/2525

การชำระหนี้อันเกิดจากสัญญารับขนของนั้น กฎหมายไม่ได้ห้ามมิให้ทำความตกลงล่วงหน้า ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เมื่อตัวแทน


ของโจทก์ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งว่า ถ้าเรือไม่สามารถรับขนสินค้าของโจทก์เนื่องด้วยเหตุสุดวิสัยหรือไม่มาถึงท่าเรือกรุงเทพอย่าง
ปลอดภัย ผู้รับขนไม่ต้องรับผิด ดังนั้นการที่เครื่องยนต์เรือเกิดชำรุดเสียหาย ไม่อาจมาถึงท่าเรือในเวลาที่กำหนดอย่างปลอดภัยผู้รับขนจึงไม่ต้องรับผิด

400/2521

ความรับผิดของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเพราะเหตุที่ไม่ได้บอกกล่าวความสูญหายให้ผู้ขนส่งทราบภายใน 8 วันนับแต่วันส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 623วรรค2 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้รับตราส่งได้รับของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนและใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้วตามความในมาตรา
623วรรคแรกด้วย
 

7340/2541

ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่าง


ยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้ง
หลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า
"เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น
หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่
จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้
ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหาย
เนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิด
ตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระ
ราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบท
กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราช
บัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้
 

848/2521

เมื่อบริษัทเรือเดินทะเลผู้รับจ้างขนส่งนำสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วบริษัทจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากเรือเดินทะเลไปส่งมอบให้กับผู้รับตราส่ง โดยวิธีแจ้งการ
มาถึงของสินค้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กับจัดการขนสินค้าจากเรือไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต่อเมื่อผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมามอบให้
บริษัทจำเลยจะออกใบรับของ (DELIVERYORDER) ให้ไปรับสินค้าได้ การส่งสินค้าดังกล่าวจึงเป็นการขนส่งหลายทอด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 618 บัญญัติว่า"ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ผู้ขนส่งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหาย บุบสลาย หรือส่งชักช้า" ฉะนั้น เมื่อมี
การสูญหายในสินค้าดังกล่าว บริษัทจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้ารายพิพาทให้บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับ
ตราส่ง

1519/2520
ผู้รับขนของโดยรถยนต์ต้องรับผิดในการที่ของที่รับขนถูกลูกจ้างของผู้รับขนลักไป การที่ผู้ส่งให้คนของผู้ส่งขี่รถจักรยานยนต์ตามไปด้วย ไม่ทำให้เปลี่ยน
ลักษณะรับขนเป็นอย่างอื่น
 
1123/2519
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าเครื่องไม้แกะสลักที่จ้างจำเลยขนส่งมี 75รายการ รายละเอียดตามบัญชีท้ายฟ้องราคารวม 166,731 บาท เมื่อรถพลิกคว่ำเพราะ
ความประมาทเลินเล่อของคนขับ จำเลยคืนสินค้าให้โจทก์ตามบัญชีท้ายฟ้อง รวมราคา 63,420 บาท สินค้าเสียหายเป็นราคารวมทั้งสิ้น 103,311บาท บัญชี
ท้ายฟ้องได้ระบุจำนวน ชนิด ขนาดของสินค้าไว้ชัดเจน ดังนี้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงว่าราคาสินค้าเครื่องไม้แกะสลักแต่ละ
รายการนั้นเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดซึ่งจะต้องนำสืบกันในชั้นพิจารณา
จำเลยได้รับขนสินค้าของโจทก์ ถึงแม้จำเลยผู้ตกลงรับขนสินค้าได้มอบหมายให้ พ.บรรทุกสินค้าของโจทก์โดยรถยนต์ของพ. เอง ก็เป็นเรื่องรับจ้างขนส่งช่วงอีก
ทอดหนึ่ง จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617
กรณีที่ใบรับสินค้าของจำเลยมีข้อความจำกัดความรับผิดว่าจะชดใช้ค่าเสียหายไม่เกิน 500 บาทนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าโจทก์ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งข้อจำกัดความ
รับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625

149/2523
จำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับขนส่งคนโดยสาร จำเลยต้องรับผิดต่อคนโดยสารในความเสียหายที่เกิดขึ้นจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่ารถโดยสารคันนั้น
เช่ามา และคนขับไม่ใช่ลูกจ้างของตนหาได้ไม่ ต้องใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดอุปการะเลี้ยงดูจากภริยาและบุตรที่ถูกรถชนตาย
 
 

จ้างทำของ
3707/2534

โจทก์จะผลิตคอนกรีตผสมเสร็จต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากลูกค้าตามสูตรสำเร็จของโจทก์หรือตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้วัสดุของโจทก์เอง แล้วโจทก์จะนำ
คอนกรีตผสมเสร็จบรรทุกรถที่มีโม่เพื่อกวนคอนกรีตให้เข้ากันและป้องกันการแข็งตัวไปส่งยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด แม้โจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้
แล้วไปทดสอบ แรงอัดประลัย หากไม่ได้ขนาดที่ตกลงกันโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นก็เป็นการรับผิดชอบในคุณสมบัติของของที่นำไปใช้งาน
และการที่ไม่ผลิตเป็นตัวสินค้าให้สำเร็จก่อนมีการสั่งซื้อก็เพราะเกี่ยวกับสภาพของของไม่อาจทำเช่นนั้นได้ การประกอบการของโจทก์จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอัน
เป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่า
ด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 7(3) และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการ
ค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้า ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ.

1374/2531

ความว่า โจทก์ฎีกา มีทางชนะคดี โปรดอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อน


หมายเหตุ ทนายจำเลยทั้งสามแถลงคัดค้าน (อันดับ 69)
คดีทั้งสามสำนวนนี้ โจทก์เป็นบุคคลรายเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษารวมกัน โดยเรียกนางประเทืองไทยสวัสดิ์นางตาบโตรอดและนายสะโอฐ กลับดี
เป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ตามลำดับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 33,000 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี คิดจากต้นเงิน 30,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า
จะชำระเงินเสร็จ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน44,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี คิดจากต้นเงิน40,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะ
ชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 22,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีคิดจากต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสาม
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินและที่ 6298,4746 และ 4275 ตามฟ้องแย้งให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ตามลำดับ
โจทก์ฎีกา พร้อมกับยื่นคำร้องดังกล่าว (อันดับ 64,63)

917/2534

การฟ้องเรียกค่าจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 มีกำหนดอายุความ2 ปี นับแต่วันรับมอบงาน โจทก์สร้างบ้านและรั้วพิพาทเสร็จ


ส่งมอบให้จำเลยเมื่อเดือนตุลาคม 2526 และจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2528 ฟ้อง
โจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเอาไม้แบบพิพาทของโจทก์ไปทำสะพานทางเดินและเรียกทรัพย์หรือราคาทรัพย์ดังกล่าวคืนนั้นเป็นการที่
โจทก์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
 

 4004/2534

สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้และหากเกิดความเสียหายใด ๆ


จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่า
จ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาท ที่
จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลย
ที่ 1ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อม
ไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอัน
เกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้

2645/2520
 รับขนกระจกใส่เรือฉลอมบรรทุกไปลงเรือเดินสมุทร เป็นผู้ขนส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 เรือใหญ่แล่นแซงทำให้เกิดคลื่น เรือฉลอม
จมเป็นเหตุป้องกันได้ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยผู้ขนส่งต้องรับผิดตาม มาตรา 616
โจทก์ขอแก้ชื่อบริษัทจำเลยในฟ้องให้ตรงความจริง ไม่ใช่แก้ฟ้องตาม มาตรา 179 ศาลอนุญาตให้แก้ได้ อายุความนับถึงวันแรกที่โจทก์ยื่นฟ้อง ไม่ใช่วันที่แก้
ฟ้องเพียงแต่ให้บริบูรณ์ขึ้น
 

ยืม

3451/2524
นการยืมใช้คงรูปนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเฉพาะแต่กรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่น
นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ โจทก์
เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชนไม่ได้เป็นเจ้าของไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม. และการที่รถที่โจทก์ขับได้รับความเสียหายก็มิใช่เป็น
ความผิดของโจทก์ฉะนั้นโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถและแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อมรถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิ
ของเจ้าของรถที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับ
ช่วงสิทธิโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
 
905/2505
จำเลยยืมไม้และสังกะสีของผู้ร้องเพื่อปลูกเรือน ย่อมหมายความว่า เอาทรัพย์นั้นๆ มาขาดทีเดียว ไม่ใช่จะเอาทรัพย์นั้นไปคืนอีกจึงถือว่าเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง
กรรมสิทธิ์ในเรือนที่ปลูกขึ้น ดังกล่าวย่อมเป็นของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650
การใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ที่ว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้าของสิ่งนั้น แต่ต้องใช้ค่าแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1317
นั้น หมายความว่า สัมภาระจะต้องเป็นของบุคคลอื่นอยู่ในขณะที่ได้เอาสัมภาระนั้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นใหม่เมื่อเป็นกรณียืมใช้สิ้นเปลืองสัมภาระนั้นย่อมตกเป็น
ของผู้ยืมแล้วในขณะปลูกสร้างจึงไม่เข้าตาม มาตรา 1317

1050/2512
การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา1 ถังต่อข้าวเปลือกที่ยืม 2 ถังนั้นมิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมาย เพราะผลประโยชน์ที่
เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้จากหนี้เงินเท่านั้น เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร (แม้คำนวณแล้วผลประโยชน์
ตอบแทนจะสูงเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี) ผู้ยืมก็จะต้องชำระให้ตามข้อตกลงนั้น
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้น
ใช้บังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1981/2511)

1981/2511

ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 นั้น ได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับแล้ว และตาม


มาตรา 656 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวก็ได้บัญญัติคุ้มครองมิให้เอาของชำระหนี้แทนเงินด้วยการคิดราคาของต่ำกว่าราคาท้องตลาดนั้นอยู่แล้ว ประกาศ
ห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 จึงเป็นอันถูกยกเลิกไม่ใช้บังคับต่อไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะขายข้าวเปลือกแก่โจทก์และได้รับเงินไปแล้วโดยได้ทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกไว้ ถึงหากจะฟังว่าสัญญารับฝากข้าวเปลือกเป็น
นิติกรรมอำพราง โจทก์ก็ขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อขายได้
ตกลงซื้อข้าวเปลือกราคาหนึ่ง และมีข้อสัญญาว่า หากผู้ขายไม่ส่งมอบตามกำหนดจะต้องใช้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นเป็นอีกราคาหนึ่ง ย่อมมีลักษณะเป็นการ
กำหนดเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา หากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
(ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 28/2511)
 
599/2535
ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อ
ใช้ในการทำใบยาสูบจำเลยจะทำใบยาสูบเองหรือไม่ไม่ใช่ข้อสำคัญ แม้สัญญายืมสิ่งของดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตามพฤติการณ์การให้ยืม
สิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทำใบยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมด ส่วนที่ใช้ไปแล้วไม่อาจส่งคืนได้ ก็ต้องใช้ราคา ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่ได้
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์ การที่จำเลยไม่ส่งคืนของที่ยืมเมื่อสิ้นระยะเวลาที่อนุมานจากพฤติการณ์ได้นั้น ก็ยังไม่
ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่กำหนด จำเลยไม่คืน จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดนั้น
สัญญายืมสิ่งของมิได้กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรว่าต้องปิดอากรแสตมป์ สัญญาดังกล่าวแม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็
รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บรรยายฟ้องว่า จำเลยคืนสิ่งของแก่โจทก์บางส่วนเป็นเงิน5,790 บาท ต่อมาได้
นำเงินมาชำระค่าสิ่งของแก่โจทก์ ยังคงเหลือสิ่งของรวมเป็นเงิน 48,480 บาท แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยคืนสิ่งของรวม 81,870 บาท เมื่อ
หนังสือบอกกล่าวท้ายฟ้องได้แสดงรายละเอียดของทรัพย์ที่จำเลยยืมโจทก์ไปเป็นเงิน48,480 บาท ตรงตามคำฟ้อง โดยไม่รวมค่ากรรมกรขนของ คำฟ้องจึงไม่
ขัดกันและจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์
ไม่เคลือบคลุม

ฝากทรัพย์

1685/2529
จำเลยที่2เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณสยามสแควร์มอบให้จำเลยที่1ดูแลความเรียบร้อยและจัดการจราจรภายในที่ดินดังกล่าวเมื่อมีรถยนต์เข้ามาในบริเวณสถานที่
ดังกล่าวพนักงานของจำเลยที่1จะออกบัตรให้และเจ้าของรถจะต้องคืนบัตรเมื่อนำรถออกไปหากจอดรถจะต้องเสียค่าบริการแต่เจ้าของรถเป็นผู้เลือกสถานที่จอด
รถเปิดปิดประตูและเก็บกุญแจรถไว้เองหากเจ้าของรถจะเคลื่อนย้ายรถหรือนำรถออกจากที่จอดหรือนำไปจอดที่ใดในบริเวณนั้นก็ทำได้เองโดยไม่ต้องแจ้งให้
พนักงานของจำเลยที่1ทราบเช่นนี้รถยนต์ที่นำมาจอดยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถกรณีจึงไม่ใช่การฝากทรัพย์เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่
จำเลยทั้งสองหรือพนักงานของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้ตกลงจะรักษารถยนต์คันดังกล่าวไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้จำเลยจึงไม่มีข้อผูกพันที่จะ
ต้องรับผิดในการที่รถยนต์ซึ่งนำมาจอดในที่ดินบริเวณนั้นสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
 

365/2521
นำรถยนต์ไปจอดไว้ที่ปั๊มน้ำมัน โดยมอบกุญแจรถแก่ลูกจ้างเจ้าของปั๊ม จอดไม่ประจำที่ แม้จะมีประกาศปิดไว้ที่ปั๊มและในใบเสร็จระบุว่าเป็นเรื่องให้เช่าและค่า
เช่าสถานที่จอดรถ ก็ไม่หักล้างการปฏิบัติซึ่งเป็นการฝากทรัพย์
 
2920/2522
จำเลยรับเก็บรักษาลำใยในห้องเย็นของจำเลย จำเลยเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าทางห้องเย็น ต้องใช้ความระวังและฝีมืออันเป็นธรรมดาและสมควรใน
กิจการห้องเย็น จำเลยใช้ความเย็นไม่พอ ลำใยของโจทก์เน่าเสีย จำเลยต้องใช้ค่าเสียหาย

932/2517

จทก์นำรถยนต์ไปจอดในบริเวณปั๊มน้ำมันของจำเลย และได้มอบกุญแจรถยนต์ไว้ให้ลูกจ้างของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยนำรถยนต์ของโจทก์เข้าไปเก็บในที่เคย


เก็บรถยนต์ และโจทก์จ่ายค่ารับฝากให้จำเลยเมื่อมาเอารถคืนโดยได้ปฏิบัติเช่นนี้เป็นเวลานาน ถือว่าจำเลยได้ตกลงรับฝากรถยนต์ของโจทก์ไว้ในอารักขาของ
ตน ตลอดเวลาที่รถยนต์ของโจทก์อยู่ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยอำนาจการครอบครองรถยนต์นั้นตกอยู่กับจำเลยที่จะจัดการเกี่ยวกับรถยนต์นั้นจนกว่าโจทก์จะมารับ
รถยนต์คืนไปจึงเป็นสัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ
เงื่อนไขตามใบเสร็จรับเงินและประกาศที่จำเลยที่ 4 ทำขึ้นเพื่อยกเว้นความรับผิดนั้น เมื่อโจทก์มิได้ตกลงยินยอมหรือลงชื่อรับรู้ด้วย เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ผูกพัน
โจทก์

1529/2531

แม้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยจะเป็นผู้ทำการเก็บรักษาสินค้า แต่ก็ปรากฏว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จำเลยไม่คิดค่าฝาก หากเจ้าของสินค้าไม่มารับ


สินค้านั้นภายใน 3 วัน จำเลยจะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยเร็ว และการที่เจ้าของ
สินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีทางศุลกากร เช่นนี้ การที่จำเลยรับทำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษี หา
ใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนไม่ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772 ประกอบ
มาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงพักสินค้าของจำเลยจะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ไม่ได้ความว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย เนื่องจากในวันเวลา
เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ของจำเลยและกรมศุลกากรได้ร่วมกันปิดประตูโรงพักสินค้าตามระเบียบของจำเลยแล้ว เมื่อเกิดเพลิงไหม้ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุ
แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิง 2 คันมาช่วยดับเพลิง แต่ไม่อาจดับได้ทันท่วงทีเพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจ
เปิดประตูโรงพักสินค้าที่เกิดเหตุได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจเข้าไปดับให้ถึงต้นเพลิงหรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้
ในโรงพักสินค้าได้ พฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดย
พฤติการณ์ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ต้องถูกไฟไหม้เสีย
หาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

1486/2526
โจทก์ซื้อปุ๋ยจากจำเลย จำเลยส่งมอบปุ๋ยให้โจทก์ตรวจรับตามจำนวนและคุณภาพถูกต้องแล้ว การที่จำเลยเก็บรักษาปุ๋ยไว้ ณ โกดังของจำเลยเพื่อรอจ่ายให้แก่
ผู้รับตามใบสั่งจ่ายปุ๋ยของโจทก์เป็นคราว ๆ จนกว่าจะครบจำนวน ถือได้ว่าจำเลยรับฝากปุ๋ยของโจทก์ไว้ จำเลยจะต้องคืนปุ๋ยให้แก่โจทก์หรือจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่ง
ถือใบสั่งจ่ายของโจทก์ตามข้อตกลง การที่จำเลยจ่ายปุ๋ยให้แก่ผู้ถือใบสั่งจ่ายปุ๋ยซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและตราของโจทก์ที่ประทับเป็นของปลอม ถือได้ว่าจำเลย
จ่ายปุ๋ยให้แก่ผู้อื่นผิดไปจากข้อตกลง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

80/2511

ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้


ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดก
ขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวัง
ตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษา
เกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก

3113/2554
จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ เมื่อพนักงานโจทก์ปฏิบัติงานผิด
พลาดโดยนำเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็คที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชี โดยเข้าใจผิดว่าจำเลยมีสิทธิรับเงินตามเช็ค และ
จำเลยได้ถอนเงินจำนวนตามเช็คไปจากบัญชีเงินฝากของจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดัง
กล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้
ชดใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกเงินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อ
เท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทขึ้นปรับใช้แก่คดีเป็นหน้าที่ของศาลเมื่อข้อเท็จจริงได้
ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจาก
จำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
 

กู้ยืมเงิน
810/2486
บอกให้เขาเอาเงินของเขาชำระหนี้แทนตนนั้น ไม่เข้าลักษณะกู้ยืมแต่เป็นเรื่องตัวการตัวแทน ผู้ออกเงินใช้หนี้ไป มาฟ้องเรียกเงินได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็น
หนังสือ
 
436/2520
หนังสือสัญญาการประมูลเงินแชร์ มีมูลกรณีเนื่องมาจากการเล่นแชร์อันเป็นมูลหนี้อย่างหนึ่งซึ่งบับคับกันได้ แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็น
เรื่องกู้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 จึงไม่อาจบังคับจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวได้ เพราะการเล่นแชร์เปียหวย ไม่เป็นการกู้ยืม
3359/2531
สัญญากู้มีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินในการซื้อขายหุ้นให้จำเลย การที่โจทก์ออกเช็คให้จำเลยและจำเลยสลักหลังคืนแก่โจทก์เป็นวิธีการชำระหนี้
เงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นเท่านั้น เจตนาอันแท้จริงเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงระงับหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายไปโดยวิธีให้จำเลยกู้เงิน
โจทก์ใช้หนี้ จำนวนเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายแก่จำเลยตามสัญญากู้ก็คือจำนวนเงินที่โจทก์นำไปชำระหนี้เงินทดรองจ่ายนั่นเอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อ
ในสัญญากู้ดังกล่าว และโจทก์ได้นำจำนวนเงินตามสัญญากู้ไปชำระหนี้เงินทดรองจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา
กู้นั้น จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ไม่ได้.

882/2510
การรับเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการซื้อของเพื่อส่งให้ผู้จ่ายเงินนำไปขายแล้วคิดหักบัญชีกันตามที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ไม่ถือเป็นการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐาน
เป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องให้คืนเงินที่รับไปเกินกว่าราคาของที่จัดซื้อส่งให้ได้
2237/2519

ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1436 เพราะเป็นการ


แต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะ
แต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลยโดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้วจำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้
 
101/2532
โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทที่จัดส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศให้บริษัทดังกล่าวจัดการให้จำเลยได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศการส่งคนไปทำงานต่าง
ประเทศเป็นเรื่องของบริษัท โจทก์ไม่ได้เป็นผู้จัดส่งเป็นเพียงการบริการให้ความสะดวกแก่จำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะเรียกและรับค่าบริการจากจำเลยก็ยังถือไม่
ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางาน หรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอันเป็นการจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.
2511 มาตรา 4 จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศได้ โดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท จำเลยไม่มีเงินโจทก์จึง
ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 แล้ว สัญญา
กู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้
1419/2523
 
 แม้จำเลยจะเขียนชื่อจำเลยไว้ที่หัวกระดาษถัดลงมามีข้อความแสดงการยืมเงินรายการแสดงการชำระหนี้หลายครั้งและมีรายการแสดงยอดเงินคงเหลือ แต่ไม่มี
ลายมือชื่อจำเลยถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้ที่หัวกระดาษเป็นการลงลายมือชื่อเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็น
สำคัญดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรกโจทก์จะอาศัยเอกสารดังกล่าวฟ้องร้องบังคับให้จำเลยรับผิดใช้เงินยืมหาได้ไม่
865/2518
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ที่ว่าการกู้เงินเกินกว่า 50 บาท ถ้าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้นั้น
หมายความรวมถึงยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย จำเลยที่ 2 มีเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ หนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยที่ 2 ทำการขายฝาก
ที่ดิน กับโฉนดที่ดินของโจทก์ไม่เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 และบิดาโจทก์เป็นผู้กู้เงินจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงอ้างว่ามีการกู้เงินไม่ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลย
ที่ 1 กับบิดาโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าถ้าไม่ชำระเงินกู้ให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากได้ โจทก์เรียกโฉนดคืนจากจำเลยที่ 2 ได้
 
530/2522
ผู้ขอรับชำระหนี้ขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้เงินนั้นจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้
จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้นเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม และข้อความในเช็คก็ไม่มีเค้าว่า
เป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืมเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลัก
ฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง หนี้ที่ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653ดังนั้นผู้ขอรับชำระหนี้จะขอรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่
1595/2503 และ 997/2510)
1302/2535
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 อยู่ที่มีการแสดงให้เห็นว่า มีการกู้ยืมเงินกันไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุ
ชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย เอกสารที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ยืม มีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ซึ่งมิได้ระบุชื่อลงไว้
จำนวนเท่าใด เมื่อวันเดือนปีใด ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้มิได้ระบุว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด
โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลอธิบายให้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้ให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 94(ข) จำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้ยืมต่อโจทก์ เมื่อไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ต่อกันไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันโจทก์บรรยายว่า ได้
ทวงถามจำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระแต่ตามคำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามวันเวลาใด จึงต้องฟังให้เป็น
ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดในวันฟ้องนั้นเอง จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
1504/2531
เอกสารที่จำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่าจำเลยจะนำเงินจำนวน 50,000 บาทมาใช้แก่โจทก์ภายในเดือนพฤษภาคม 2526 แสดงว่าจำเลย เป็นหนี้โจทก์ตาม
จำนวนที่ระบุไว้ ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
761/2509
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่งต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้นทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้อง
เรียกเงินจากจำเลยศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิมคือ จำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืม
เงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
3946/2533
การที่จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่ค้างชำระภายหลังพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าต้องการจะผูกพันกัน
ในเรื่องกู้ยืมเงินเท่านั้นสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 วรรคสอง และจะต้องถือว่า
สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น

40/2508
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้
พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะ
ไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญ
ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะ
ขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้
จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาล
อุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้
เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด
ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึด
หนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้
ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้
เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป
เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลย
แต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อ
วินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
 
1042/2531
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารเจ้าหนี้โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยที่ 3
ไป จำเลยที่ 3ยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย แต่ไม่มีข้อตกลงให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้สิน
ระหว่างกันอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าขายอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้นอันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ ธนาคารเจ้าหนี้จึง
ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ผู้ฝากยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย มิได้กำหนดอัตราที่แน่นอนไว้โดยนิติกรรม และไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราเท่าใด กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7ที่ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)
1475/2500
จำเลยกู้เงินโจทก์ไป แล้วตกลงกันว่า เมื่อถึงกำหนดชำระในสัญญาจำเลยไม่ชำระให้โจทก์โอนที่ 2 แปลงไปเป็นของโจทก์ตกลงกันแล้วจำเลยได้มอบที่ 2 แปลง
พร้อมด้วยตราจอง และเซ็นใบมอบอำนาจไว้ในกระดาษเปล่าให้โจทก์กรอกข้อความเอาเองเพื่อโอนที่เป็นของโจทก์หรือของใครตามที่โจทก์ต้องการ ครั้นถึง
กำหนดชำระ จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญา โจทก์จึงจัดการโอนที่ 2 แปลงใส่ชื่อภรรยาโจทก์และเข้าครอบครอง เช่นนี้ ถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับหนี้อย่างอื่นแทน
นับว่าเป็นการสมบูรณ์แล้ว หนี้สินที่จำเลยกู้โจทก์มาย่อมระงับไป และกรณีไม่เข้ามาตรา 656เพราะไม่มีใครฟ้องร้องขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้น
 
379/2524
จำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วมอบนาพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ในสัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินต้นและดอกเบี้ยมาชำระภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำ
สัญญา จำเลยยอมยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แทนเงินกู้ แต่มิได้ระบุว่าที่พิพาทมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและ ณ
สถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคสอง และตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม
จำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมบางส่วน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจ
กำหนดให้โจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 158
650/2505
จำเลยเอาสินค้าจากร้านบิดาของโจทก์ โดยโจทก์รับผิดชอบชำระราคาแทนทั้งนี้โดยจำเลยทำหลักฐานให้โจทก์ไว้ว่าจะนำข้าวเปลือกเหนียวชำระให้โจทก์แทน
ค่าสินค้า แม้ราคาข้าวจะขึ้นลงอย่างไรก็ตามดังนี้ แม้จำนวนและราคาข้าวจะเกินราคาสิ่งของไปมากเพียงใดก็ตามก็เป็นเรื่องผูกพันชำระหนี้กันตามสัญญานั้น
ไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินหรือซื้อเชื่อข้าวจึงไม่ตกอยู่ในบังคับประกาศห้ามตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
 
530/2522
ผู้ขอรับชำระหนี้ขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้เงินนั้นจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้
จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้นเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม และข้อความในเช็คก็ไม่มีเค้าว่า
เป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืมเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลัก
ฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง หนี้ที่ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653ดังนั้นผู้ขอรับชำระหนี้จะขอรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่
1595/2503 และ 997/2510)
339/2532
ความว่า เนื่องจากจำเลยไม่ประสงค์ที่จะยื่นฎีกาอีกต่อไป จึงขอถอนฎีกา โปรดอนุญาต
หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 28,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2526
เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเงินแก่โจทก์แล้วเสร็จ
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม (อันดับ 57)
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา (อันดับ 58) ศาลฎีกาสั่งคำร้องเสร็จและได้ส่งไปศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้วก่อนถึงวันนัดฟังคำสั่งศาลฎีกา
จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว (อันดับ 72)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว คำร้องของจำเลยพอแปลได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ไม่ใช่ขอถอนฎีกา เพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับ
ฎีกาจำเลย อนุญาตให้จำเลยถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งได้

3657/2534
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้ จะ รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เคยนำเช็คไปชำระหนี้เงินกู้รายพิพาท แก่ โจทก์ แต่ก็ปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธ
การใช้เงินตามเช็คนั้น หนี้ เงินกู้ ราย นี้ จึงยังคงมีอยู่ตามหนังสือสัญญากู้ การที่จำเลยที่ 2 นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและ
รับ เช็ค คืน จากโจทก์แล้วนั้นเป็นการนำสืบให้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้ เงินกู้ ตามสัญญากู้รายพิพาทได้ระงับแล้วโดยจำเลยที่ 1 นำ เงินสด ไป ชำระ ให้แก่
โจทก์ จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมาย แห่ง ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือ ลง ลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ทั้งไม่
ปรากฏว่าเอกสารอันเป็น หลักฐาน แห่ง การกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนแล้ว จึง รับฟัง ไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 สำหรับเช็ค
ที่ อ้างว่า นำ ไปชำระหนี้เงินกู้นั้นก็ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จำเลย ที่ 2 จึง ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามฟ้อง.

1290/2518
กู้เงินกว่า 50 บาท ผู้กู้ได้รับโฉนดอันเป็นหลักประกันตามเอกสารกู้คืนแล้ว ไม่ต้องด้วยมาตรา 653วรรคสอง ฟังว่ามีการใช้เงินคืนแล้วไม่ได้
 
 
 

You might also like