Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 98

Error! Number cannot be represented in specified format.

แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓
(Thailand’s Nationally Determined Contribution
Roadmap on Mitigation 2021 -2030)

โดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม


กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐


คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

 
สารบัญ

หน้า
แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓
(Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030)
๑. บทนํา ๒
๒. สถานการณ์ความร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๔
ของโลก
๓. การคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกรณีปกติ ๑๑
(Business As Usual: BAU)
๔. การมีส่วนร่วมของประเทศไทยในการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ๑๘
ภูมิอากาศและการจัดส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการดําเนินการด้านการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓
๕. แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ ๒๑
๖. แนวทางการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล ๕๐

ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แผนภาพแผนที่นําทางในภาพรวม ๖๓
ภาคผนวก ข INDC ประเทศไทย ฉบับจัดส่งไปยังสํานักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติ ๖๕
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาคผนวก ค คําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ๗๓
ภาคผนวก ง มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๗๙
ภาคผนวก จ อักษรย่อหน่วยงาน ๙๗

 
๑. บทนํา
สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดความเสี่ยง
ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภู มิอากาศที่มีแนวโน้ม รุนแรงขึ้นในทุกภูมิ ภาคของโลก อาทิ อุ ณหภู มิเ ฉลี่ยที่มี
แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในฤดูน้ําหลากและน้อยลงในฤดูน้ําแล้ง จํานวนวันที่อากาศร้อน
เพิ่มมากขึ้น และจํานวนวันที่อากาศเย็นลดลง โดยส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง และวาตภัย
ที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตน้ําทะเลขึ้นสูง ซึ่งกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมใน
หลายสาขา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์พืช ชนิดพันธุ์สัตว์ การย้ายถิ่นฐานของประชากร
และการแพร่กระจายของโรค โดยประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเทศหนึ่งที่
ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้ระบุให้
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความเปราะบางสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ๑ สําหรับประเทศไทยได้รับการจัดลําดับจากองค์กร Germanwatch ให้เป็นหนึ่งในสิบประเทศที่มี
ความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว๒ ในขณะเดียวกัน ในฐานะที่ประเทศไทยเป็น
ประเทศกําลังพัฒนาที่พึ่งพาการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและมีการเติบโตของพื้นที่เมืองอย่างต่อเนื่อง
จึงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่รวมภาค
การใช้ที่ดินและป่าไม้) คิดเป็น ๒๐๗.๖๕ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า๓ และเพิ่มเป็น ๓๐๕.๕๒ ล้าน
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ๔
ปั ญ หาการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศที่ ท วี ค วามรุ น แรงส่ ง ผลให้เ กิ ดความร่ วมมื อ ของ
ประชาคมโลกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework
Convention on Climate Change: UNFCCC) กําหนดให้ทุกประเทศเสนอเป้าหมายและความก้าวหน้าของ
การดําเนินงานภายในประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นระยะ ทั้งนี้ ความตกลง
ดังกล่ าวมี ผ ลดีใ นการสร้า งกลไกให้เกิ ดการดําเนิ นงานเพื่ อ แก้ ไ ขปัญ หาการเปลี่ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ
โดยเฉพาะจากประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหภาพ
ยุโรป ๒๘ ประเทศ ญี่ปุ่น๕ เป็นต้น ทั้งนี้การลดความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                                                            

IPCC 2014

https://germanwatch.org/en/download/13503.pdf

รายงานแห่งชาติฉบับที่ ๑ (Thailand’s Initial National Communication to the UNFCCC)

รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ ๑ (Thailand’s Biennial Update Report to the UNFCCC)

ตามรายงานของ World Resource Institute, CAIT Climate Data Explorer ปี ค.ศ.๒๐๑๑ จีน ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ๑๐,๙๗๕.๕๐
ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2eq) ในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๕ ของทั้งโลก สหรัฐอเมริกา ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
๖,๒๓๕.๑๐ MtCO2eq คิดเป็นร้อยละ ๑๔ และสหภาพยุโรป ๒๘ ประเทศ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ๔,๓๙๙.๑๕ MtCO2eq หรือ ร้อยละ ๙.๘
ของทั้งโลก ญี่ปุ่น ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ๑๓๔๔.๕๘ MtCO2eq คิดเป็นร้อยละ ๓ ของทั้งโลก

 
ภูมิอากาศในระยะยาวต้องอาศัยความร่วมมือกันของประชาคมโลก ไม่สามารถดําเนินการโดยประเทศหนึ่ง
ประเทศใดได้ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องใน
โอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
กล่าวถึงความสําคัญของปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่าเป็นปัญหาระดับโลก ที่ประเทศไทยต้อง
มีความรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหา ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกเพื่อให้ประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่าง
ภาคภูมิในเวทีโลก ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประเทศไทยภายใต้ความตกลงปารีสนี้จึงมีผลผูกพันให้ประเทศไทย
ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการดําเนินการสร้างศักยภาพในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้วยเช่นกัน
สําหรับการดําเนินงานของประเทศไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกรอบอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework Convention on
Climate Change (UNFCCC) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ประเทศไทยได้ดําเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษา
ระดั บความเข้ม ข้นของปริม าณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศและตั้งรั บปรับตัวต่อผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ประเทศไทยได้จัดส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและ
การดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Intended Nationally
Determined Contributions: INDCs) ไปยังสํานักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ร้อยละ
๒๐–๒๕ จากกรณีปกติ
ต่ อ มาคณะรั ฐ มนตรี ใ นการประชุ ม เมื่ อ วั น ที่ ๑ ตุ ล าคม ๒๕๕๘ เห็ น ชอบให้ เ รื่ อ งการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นนโยบายสําคัญของประเทศ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยให้
สํานั กงบประมาณสนับ สนุนงบประมาณ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดําเนินงานเพื่อบรรลุ
เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคณะรัฐมนตรี
ในการประชุม เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ ได้มีมติมอบหมายให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดทําแผนที่นําทาง (Roadmap) ซึ่งระบุ
แนวทางและมาตรการในรายละเอียดเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้ตั้งไว้
ประเทศไทย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการจัดตั้งกลไกและ
กําหนดแผนดําเนินการเพื่อให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่ได้กําหนดไว้ โดยได้จัดตั้ง
คณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภายใต้คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน เพื่อพิจารณาและจัดทําร่างแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจก
ของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on
Mitigation 2021–2030: NDC Roadmap 2021–2030)

 
๒. สถานการณ์ความร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
๒.๑ การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศเป็ น ปั ญ หาระดั บ โลก การแก้ ไ ขปั ญ หาการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระของโลก (Global Agenda) ซึ่งผู้นําประเทศต่างให้ความสําคัญ นําไปสู่
การกําหนดความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นความตกลงภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ผู้แทนจาก ๑๙๕ ประเทศได้เห็นชอบ
ความตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าวร่วมกัน และเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙
ที่ผ่านมา ผู้แทนจาก ๑๗๕ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมในพิธีลงนามความตกลงปารีส ซึ่งจัดขึ้น ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อแสดง
เจตจํานงในการเข้าร่วมความตกลงดังกล่าว ทั้งนี้ประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ยื่นสัตยาบันสารเข้าร่วมเป็น
ภาคีความตกลงปารีส เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ
ครั้งที่ ๗๑ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยปัจจุบันมีประเทศที่ยื่นสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคี๖ จํานวนทั้งสิ้น
๑๒๕ ประเทศ จากประเทศภาคีสมาชิก UNFCCC ๑๙๗ ประเทศ คิดเป็นก๊าซเรือนกระจกร้อยละ ๘๑.๓๖ ของโลก
(ข้อมูล ณ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐) ซึ่งความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙
และการให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีสจะส่งผลผูกพันให้ภาคีต้องดําเนินการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนี้
(๑) ประเทศภาคีจะต้องจัดทําเป้าหมายการดําเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศเสนอทุกๆ ๕ ปี โดยเป็นเป้าหมายที่แต่ละประเทศกําหนดเองตามความเหมาะสม หรือที่
เรียกว่า NDCs (Nationally Determined Contributions) และนําเสนอรายงานติดตามประเมินผลการ
ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างโปร่งใส
(๒) ประเทศภาคีควรจะพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาไปสู่การพัฒนาแบบ
ปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกต่ํ า สร้ า งความต้ า นทานและความสามารถในการฟื้ น ตั ว จากผลกระทบของการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
(๓) ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องให้ความช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาในการดําเนินงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการสนับสนุนทางการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอด
เทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศกําลังพัฒนาในการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง และมีการติดตาม
ประเมินผลการสนับสนุนดังกล่าวอย่างโปร่งใส
(๔) ให้มีการประเมินสถานการณ์ดําเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) ทุก ๕ ปี
เพื่อติดตามผลการดําเนินงานและประเมินความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน
ภาพรวมทุกมิติ ทั้งการดําเนินงานและการให้การสนับสนุน โดยเฉพาะการประเมินระดับความสําเร็จในการ
ควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ณ ปลายศตวรรษ ไม่ให้เกิน ๒ หรือ ๑.๕ องศาเซลเซียส

                                                            

http://unfccc.int/2860.php

 
๒.๒ ประเทศไทยเข้าข่ายเป็นประเทศที่มีความเปราะบาง (vulnerable) และมีความเสี่ยง
ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ใน
ประเภทของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมาก (extreme risk) ลําดับที่ ๑๒ ของโลก๗ และเป็นหนึ่งในสิบประเทศที่
มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว๘ ดังรูปที่ ๒ - ๑ ความตกลงปารีสได้สร้าง
กรอบความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกําหนดให้ทุกประเทศรวมทั้งประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
รายใหญ่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา (ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๕
ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก, ข้อมูลปี ค.ศ. ๒๐๑๑๙) ร่วมแสดงเป้าหมายและดําเนินการเพื่อ
ลดก๊าซเรือนกระจก จะช่วยลดความรุนแรงของปัญหาในอนาคตได้ ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประเทศไทยต้องเผชิญ เช่น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งภัยแล้ง
น้ําท่วม มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงลดลงได้หากทุกประเทศร่วมดําเนินการกันอย่างจริงจัง แต่ในขณะเดียวกัน
ประเทศไทยก็มีความจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับผลกระทบดังกล่าวอย่างจริงจังเช่นกัน

รูปที่ ๒ - ๑ แผนที่แสดงดัชนีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ


๒.๓ ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนา
ประเทศยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วของพื้นที่เมือง ทําให้มีความ
ต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๗
                                                            

Maplecroft 2011, Climate Change Vulnerability Index

https://germanwatch.org/en/download/13503.pdf

World Resource Institute, CAIT Climate Data Explorer

 
ประเทศไทยปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจก (ไม่ ร วมภาคการใช้ ที่ ดิ น และป่ า ไม้ ) คิ ด เป็ น ๒๐๗.๖๕ ล้ า นตั น
คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า๑๐ และเพิ่มเป็น ๓๐๕.๕๒ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า๑๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔
๒.๔ สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ประเทศไทยมีการจัดทําบัญชี
ก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยก๊าซเรือนกระจกสําคัญ ๖ ชนิดที่ต้องรายงานตามพันธกรณีของ
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน
ไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ และมีสํานักงาน
นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยสํานักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ (สปอ.) เป็นหน่วยประสานงานกลางดําเนินการร่วมกับหน่วยงานจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยที่
ผ่านมาได้มีการจัดทําบัญชีก๊าซเรือนกระจกในรายงานแห่งชาติและรายงานความก้าวหน้าราย ๒ ปี เพื่อแสดง
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศในพ.ศ. ๒๕๓๗๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๓๑๓ และ พ.ศ. ๒๕๕๔๑๔ (โดยเป็น
การแสดงบัญชีย้อนหลัง ๔ ปี เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้จัดทําบัญชีของปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จะจัดทํา
บัญชีของปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้น) ซึ่งการจัดทําบัญชีดังกล่าว ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศกําลังพัฒนา
ได้รับเงินสนับสนุนการจัดทําจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) ทั้งนี้เป็นไป
ตามข้อกําหนดที่เกิดจากความร่วมมือในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แผนภาพที่ ๑ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทยราย แผนภาพที่ ๒ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทยราย


สาขาปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (ไม่รวมภาคป่าไม้และการ สาขาปี พ.ศ. ๒๕๔๓ (ไม่รวมภาคป่าไม้และการ
เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน) เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน)

                                                            
๑๐
รายงานแห่งชาติฉบับที่ ๑ (Thailand’s Initial National Communication to the UNFCCC)
๑๑
รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ ๑ (Thailand’s Biennial Update Report to the UNFCCC)
๑๒
รายงานแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (Thailand’s Initial National Communication to the UNFCCC)
๑๓
รายงานแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (Thailand’s Second National Communication to the UNFCCC)
๑๔
รายงานความก้าวหน้าราย ๒ ปี (Thailand’s Biennial Update Report to the UNFCCC)

 

แผนภาพที่ ๓ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทยรายสาขา ปี พ.ศ. ๒๕๕๔


(ไม่รวมภาคป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน)
หมายเหตุ: แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่รวมภาคป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เนื่องจากในภาพรวม ภาคป่าไม้และ
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเป็นภาคส่วนที่มีปริมาณการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ข้อมูลที่แสดงในแผนภาพที่ ๑ ถึง ๓ แสดงให้เห็นว่าสาขาหลักที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง


ได้แก่ สาขาพลังงาน (รวมการผลิตและใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ) คิดเป็นร้อยละ ๖๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗
ร้อยละ ๖๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และร้อยละ ๗๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รองลงมาได้แก่ สาขาเกษตร คิดเป็น
ร้อยละ ๒๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ร้อยละ ๒๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และร้อยละ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สําหรับ
สาขาอุตสาหกรรม มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากการใช้พลังงาน เช่น กระบวนการ
เผาเพื่อไล่น้ํา (calcination) ในการผลิตซีเมนต์ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมเหล่านี้
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นร้อยละ ๗ ในปี ๒๕๓๗ และ ๒๕๔๓ และร้อยละ ๖ ในปี ๒๕๕๔

แผนภาพที่ ๔ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทยในภาพรวม

 
แผนภาพที่ ๔ แสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย (ภาคการใช้ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้
เป็นภาคที่มีการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แผนภาพที่ ๕ กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาพลังงาน ปี พ.ศ. ๒๕๕๔


ในแผนภาพที่ ๕ หากพิจารณาในรายละเอียดของสาขาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน
สัดส่วนที่สูง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้แก่ สาขาพลังงาน จะพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากการ
เผาไหม้เชื้อเพลิงจากกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าและความร้อน (Public Electricity and Heat Production)
คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๙๖ รองลงมาได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากภาคขนส่ง คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๔๑ การเผาไหม้
เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๙๗ การเผาไหม้เชื้อเพลิง
ในภาคส่วนอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ ๙.๔๙ และการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตน้ํามัน
ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ ๔.๑๖

แผนภาพที่ ๖ กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาเกษตร ปี ๒๕๕๔



 
ในแผนภาพที่ ๖ ในส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งมี
สัดส่วนสูงเป็นลําดับที่ ๒ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่จากกิจกรรมการปลูกข้าว คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๓๘
การปล่อยไนตรัสออกไซด์จากดิน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๓๓ การปล่อยมีเทนจากปศุสัตว์ คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๖๙
การปล่อยมีเทนจากมูลสัตว์ คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๘ และการเผาในภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ ๓.๓๒

แผนภาพที่ ๗ กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม ปี ๒๕๕๔


แผนภาพที่ ๗ ในส่วนของกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพิ่มเติม (นอกเหนือ จากการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต) มีก ารปล่อ ยก๊าซเรือนกระจกส่ว นใหญ่ใ นปี
พ.ศ. ๒๕๕๔ จากกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการผลิตแร่ คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๔ โดยส่วนใหญ่เป็นการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตซีเมนต์ และส่วนน้อยจากการผลิตแก้วและโซดาแอช นอกจากนี้
มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเคมี ได้แก่ การผลิตกรดไนตริค คิดเป็นร้อยละ
๑.๔๘ และการผลิตโลหะ (เหล็กและเหล็กกล้า) คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๒
จากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการ
ขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก ไม่ใช่การดําเนินงานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม แต่มีความจําเป็นที่ภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้องในสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมดําเนินการอย่างบูรณาการ ทั้งนี้
ในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับภาคพลังงานและ
ภาคคมนาคมขนส่งเป็นหลัก โดยเฉพาะในสาขาการผลิตไฟฟ้า และการเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคคมนาคมขนส่ง
การใช้พลัง งานทั้ง จากการเผาไหม้เ ชื้อ เพลิง และการใช้ไ ฟฟ้า ในภาคอุต สาหกรรม รวมถึง การใช้ไ ฟฟ้า ใน
ภาคครัวเรือน เนื่องจากมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง อีกทั้งภาคพลังงานและคมนาคมขนส่งยัง
เป็น พื้นฐานให้กับ การพัฒ นาในหลายๆ เรื่อง เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและบริการที่
ปล่อยคาร์บอนต่ํา การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ําที่
มีความยั่งยืน เป็นต้น ดังนั้น การพิจารณาปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและด้านคมนาคม
๑๐
 
ขนส่ ง ให้ ป ล่อ ยคาร์ บ อนต่ํ า เป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม จึ ง เป็ น เรื่อ งสํ า คั ญ ซึ่ ง ต้ อ งเริ่ มดํ า เนิ น การโดยเร็ ว
เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวหากมีการพัฒนาขึ้นแล้วจะมีอายุการใช้งานและจะส่งผลต่อรูปแบบ
ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามภาคพลังงานและคมนาคมขนส่ง
ยังเป็นภาคส่วนที่มีความพร้อมในด้านข้อมูลโดยมีการรายงานและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และมี
แผนการดําเนินงานในระยะยาวที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน เช่น
เกิดความมั่นคงทางพลังงาน ความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการเดินทาง ลดปัญหามลพิษในอากาศ
และลดปัญหาสุขภาพของประชาชน เป็นต้น
๑๑
 
๓. การคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกรณีปกติ (Business As Usual: BAU)
การกําหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก สามารถจําแนกได้เป็น ๔ ประเภทหลัก ดังนี้
(๑) การลดก๊าซเรือนกระจกเทียบกับปีฐาน (Base year emissions) หรือเป็นการกําหนด
ปริมาณก๊าซเรือนกระจก/ค่าการลดก๊าซเรือนกระจกสัมบูรณ์ (Absolute reduction) เทียบกับปีที่ทราบค่าการ
ปล่อยในอดีต โดยประเทศพัฒนาแล้วที่มีแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงจะนิยมกําหนดเป้าหมาย
ประเภทนี้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กําหนดเป้าหมายจะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ ๒๖ – ๒๘ จากระดับการ
ปล่อยปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ในปี ค.ศ.๒๐๒๕ (ปี ค.ศ.๒๐๐๕ เป็นปีที่สหรัฐอเมริกาปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด) เป็นต้น
(๒) การลดค่าความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบกับปีฐาน (Base year
emissions intensity) หรือเป็นการเปรียบเทียบค่าอัตราส่วน (ratio) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับดัชนีชี้วัด
เทียบกับในค่าดังกล่าวในอดีต (ปีที่ทราบค่า) โดยที่นิยมจะเป็นการเทียบอัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หรือที่เรียกว่า Carbon Intensity เช่น ประเทศจีน ในปี
ค.ศ. ๒๐๓๐ จะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยของ GDP ที่ร้อยละ ๖๐ –๖๕ เทียบกับระดับความเข้มข้นในปี
ค.ศ.๒๐๐๕ และประเทศอินเดียได้กําหนดเป้าหมายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ จะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ ๓๓ – ๓๕
ระดับความเข้มข้นในปี ๒๐๐๕ โดยปัจจัยสําคัญในการกําหนดเป้าหมายประเภทนี้ได้แก่การคาดการณ์การ
เติบโตของ GDP ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
(๓) การลดก๊าซเรือนกระจกจากเส้นฐานคาดการณ์ (Baseline scenario target) เป็นการ
กําหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเทียบกับระดับการคาดการณ์การปล่อยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือการ
ปล่อยในกรณีปกติ (Business as Usual: BAU) โดยประเทศกําลังพัฒนาส่วนใหญ่ที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ของประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้นนิยมกําหนดเป้าหมายประเภทนี้ เช่น ประเทศเม็กซิโกจะลดก๊าซเรือนกระจก
ร้อยละ ๒๒ เทียบกับระดับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ (ที่คาดการณ์ไว้) ณ ปี ค.ศ.๒๐๓๐
เป็นต้น รวมทั้งประเทศไทยก็ได้กําหนดเป้าหมายประเภทนี้เช่นกัน
(๔) การกําหนดเป้าหมายที่ไม่ได้บ่งปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก โดยอาจเป็นการมี
ส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรมหรือการกําหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่กําหนดเป้าหมาย
ประเภทนี้จะเป็นประเทศกําลังพัฒนาขนาดเล็ก หรือกระเทศหมู่เกาะที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ไม่มาก เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกําหนดกิจกรรมสําหรับ INDC ได้แก่การเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้
ร้อยละ ๗๐ การเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ ๓๐ ในปี ค.ศ.๒๐๒๕ และการทําให้ประชาชนเข้าถึง
การใช้ไฟฟ้าที่ร้อยละ ๙๐ ในเขตชนบท เป็นต้น
ตัวอย่างเปรียบเทียบการกําหนดเป้าหมายใน INDC และรายละเอียดของบางประเทศ
แสดงดังตารางที่ ๓ -๑
๑๒
 
ตารางที่ ๓ - ๑ ตัวอย่างการกําหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกใน INDC ของประเทศต่างๆ ๑๕
สหรัฐ
ประเทศ สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย
อเมริกา
ตัวเลข -40% -26-28% -60-65% -37% -36% -26% -8-25% -20-25%
เป้าหมาย
ประเภท Absolute Absolute Carbon Reduction Carbon Absolute Reduction Reduction
เป้าหมาย reduction reduction intensity from BAU intensity reduction from BAU from BAU
ปีฐาน/ปี 1990 2005 2005 ไม่ระบุ 2005 2013FY BAU เริ่มจากปี BAU เริ่มจาก
อ้างอิง 2010 ปี 2005
ปีเป้าหมาย 2030 2025 2030 2030 2030 2030FY 2030 2030
(ค.ศ.)
ขอบเขต Economy- Economy- Economy- Economy- Economy- Economy- สาขา: พลังงาน Economy-
wide wide wide wide wide wide เกษตร ของเสีย wide
และ LULUCF
Peak year 1979 ไม่ระบุ 2030 ไม่ระบุ ประมาณปี ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ
(ค.ศ.) 2030
ภาคการใช้ รวม รวม รวม ยังไม่รวม รวม แต่มี รวม รวม ยังไม่รวม
ที่ดิน LULUCF น้อย LULUCF
การใช้กลไก EU-ETS ไม่ใช้ ไม่ระบุ ใช้ ไม่ใช้ แต่ ใช้ ไม่ระบุ ไม่ระบุ
ตลาด สนใจ
Adaptation ไม่ส่ง ไม่ส่ง ส่ง ส่ง ส่ง ไม่ส่ง ส่ง ส่ง
วันที่ส่ง 6 มี.ค. 58 31 มี.ค. 58 30 ม.ค. 58 30 มิ.ย. 58 3 ก.ค.58 17 ก.ค. 58 30 ก.ย.58 1 ต.ค. 58

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสภาวะปกติ หรือเรียกว่า “กรณีปกติ (Business


As Usual: BAU)” หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่ไม่มีการดําเนินมาตรการลด
ก๊าซเรือนกระจกใดๆ ซึ่งถูกนํามาใช้เป็นกรณีอ้างอิง ในการวิเคราะห์การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
จากการดํ า เนิ น มาตรการต่ า งๆ ในที่ นี้ การคาดการณ์ ป ริ ม าณการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกในกรณี BAU
กําหนดให้ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ.๒๐๐๕) เป็นปีเริ่มต้น BAU เนื่องจากเป็นปีที่ประเทศไทยยังไม่มีการดําเนิน
มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาการพัฒนาต่างๆ ของประเทศและได้มีการใช้ข้อมูลการ
ปล่อยจริงจากอดีตจนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๔ (ค.ศ.๒๐๑๑) และคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
ไปจนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๓ (ค.ศ.๒๐๓๐)
การพยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกสาขาใช้ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและสังคมตามการ
คาดการณ์ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เช่น การคาดการณ์
การเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศปี พ.ศ.๒๕๕๗ – ๒๕๗๙ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๓.๙๔ ต่อปี
และอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ ๐.๐๓ ต่อปี (ข้อมูลปี พ.ศ.๒๕๕๗) สมมติฐานหรือปัจจัยที่นํามาใช้

                                                            
๑๕
 http://www4.unfccc.int/submissions/indc/Submission%20Pages/submissions.aspx
๑๓
 
ในการจํ า ลองการปล่ อ ยก๊ าซเรื อ นกระจกในสาขาต่ างๆ ได้ ยึ ด ตามแผนที่ เกี่ ยวข้ องสํ าหรั บแผนมี ก ารระบุ
รายละเอียดไว้ แต่สําหรับแผนที่ไม่ได้มีการระบุรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวได้กําหนดสมมติฐานในการศึกษาต่างๆ
เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยระเบียบวิธีการวิจัยตลอดจนข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้ผ่านการพิจารณาจาก
คณะทํางานเตรียมการด้านข้อมูลประกอบการจัดทํา Intended Nationally Determined Contributions
(INDCs) ในส่วนข้อมูลกิจกรรมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตนั้นนํามาจากข้อมูลที่ใช้ในการจัดทํา
รายงานแห่งชาติ (National Communication) และรายงานความก้าวหน้ารายหน้ารายสองปี (Biennial
Update Report: BUR) โดยแต่ละสาขามีปัจจัย/มีการกําหนดสมมติฐานอื่นๆ ในการพยากรณ์ที่สําคัญเป็น
ดังต่อไปนี้
สาขาพลังงานงานและขนส่ง พิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปล่ อยก๊ าซเรือนกระจกตาม
สมมติฐานความต้องการไฟฟ้าที่พยากรณ์ไว้ในแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
หรือ PDP 2015 ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๗๓ (ค.ศ.๒๐๑๕ – ๒๐๓๐) ประมาณการการใช้พลังงานและ
คาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกแยกตามเทคโนโลยี และประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้ในแต่ละสาขาผลิตและ
การใช้พลังงาน
สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and
Product Use: IPPU) พิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามการแบ่งสาขาย่อยตามคู่มือ
IPCC ได้แก่ การผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตปิโตรเคมีภัณฑ์ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า และการผลิตเครื่องทํา
ความเย็นและเครื่องปรับอากาศ โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลกิจกรรมในอดีต กับตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์
ที่เกี่ยวข้องของ สศช. เช่น แนวโน้มการขยายตัวและมูลค่าการส่งออก กําลังการผลิต และ GDP รายสาขา เป็นต้น
สาขาของเสีย พิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ จํานวนประชากร
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ รายได้ และขนาดครัวเรือน โดยข้อมูลของ สศช. และกําหนดให้แนวทางการ
จัดการของเสียและน้ําเสียในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๗) เป็นพื้นฐานในการดําเนินการต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๓
สาขาเกษตร พิ จารณาปัจจัยที่ ส่งผลต่อการปล่อยก๊ าซเรือนกระจกได้ แก่ การเติบโตทาง
เศรษฐกิจ มูลค่าการส่งออก และได้กําหนดสมมติฐานในการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตบนพื้นฐานของหลักคิด
ที่ ว่ า ผลผลิ ต ทางการเกษตรจะถู ก จํา กั ดด้ ว ยพื้ น ที่เ พาะปลู ก ที่ มี อ ยู่ อย่ า งอย่ า งจํ ากั ด ในการนี้ สผ. ร่ วมกั บ
สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรอยู่ระหว่างการดําเนินโครงการศึกษาศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกภายหลังปี
พ.ศ.๒๕๖๓ พร้อมจั ดทําข้อมูลการพยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการสนับสนุนจากกระทรวง
สิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ การก่อสร้าง และความปลอดภัยทางปรมาณูของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยคาดว่าการดําเนินงานจะแล้วเสร็จในเดือน
มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐
สาขาการใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้ เป็นสาขาที่มีทั้งกิจกรรมการปล่อยและการดูดกลับ/
กักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยหากพิจารณาบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยตามรายงานความก้าวหน้า
รายสองปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๕๔ พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในสาขานี้เป็นลบ หรือมี
๑๔
 
การดูดกลับ/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการปล่อยนั่นเอง สาขานี้เป็นสาขาที่มีสําคัญและมีผลประโยชน์
ร่วมมากมาย อาทิ เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ํา เป็นแหล่งอาหาร นอกเหนือจากเป็นแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับ
คาร์บอนไดออกไซด์ ในการนี้ NDC ของประเทศไทยยังไม่ได้รวมการดําเนินการในสาขานี้เนื่องจาก ระเบียบ
วิธีการในการคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและระเบียบวิธีที่จะใช้ติดตามการลดนั้นยังมีความซับซ้อน
ต้องอาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีระดั บสูง และนานาประเทศยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกันถึงมาตรฐานกลางที่จ ะ
นํามาใช้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อยู่ระหว่างการพัฒนายุทธศาสตร์เรดด์พลัสแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบการดําเนินงานของประเทศ รวมถึงจัดทํา
ระบบป้องกันผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การจัดทําดัชนีชี้วัด และระบบการติดตามและตรวจสอบการ
ลดการปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ป่า และพัฒนารูปแบบระดับการปล่อยอ้างอิงภายใต้
แผนงานความร่วมมือสหประชาชาติด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทําลายป่าและความเสื่อมโทรม
ของป่าไม้ในประเทศกําลังพัฒนา (UN-REDD) โดยผลการดําเนินงานดังกล่าวจะต่อยอด/สนับสนุน NDC ของ
ประเทศไทยได้
๓.๑ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยกรณี BAU ปริมาณการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก ๒๗๙,๑๒๙ พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kt-CO2eq) ในปี
พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ.๒๐๐๕) เป็น ๕๕๔.๖๔๙ พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ.๒๐๓๐)
หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๒.๘ ต่อปี ดังรายละเอียดในรูปที่ ๓ - ๑ และตารางที่ ๓ – ๒

รูปที่ ๓ – ๑ คาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ในกรณี BAU


๑๕
 
ตารางที่ ๓ – ๒ คาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ในกรณี BAU
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kt-CO2eq))
สาขา พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2573
ค.ศ. 2005 ค.ศ. 2010 ค.ศ. 2015 ค.ศ. 2020 ค.ศ. 2025 ค.ศ. 2030
ภาคพลังงาน 200,392 220,856 240,332 308,587 362,107 425,649
ภาคของเสีย 12,878 13,011 14,489 16,135 17,968 20,010
ภาคกระบวนการ 19,565 21,408 23,737 26,304 29,148 32,360
อุตสาหกรรมและ
การใช้ผลิตภัณฑ์
ภาคเกษตรกรรม 46,294 52,316 57,554 63,316 69,656 76,630
รวม 279,129 307,591 336,112 414,342 478,879 554,649

สาขาพลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณี BAU มาจากการผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงาน


ในครัวเรือน การใช้พลังงานในอาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ) การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมการผลิต และ
การใช้พลั งงานในการคมนาคมขนส่ง การปล่ อยก๊ าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นสอดคล้ องกับความต้องการ
พลังงานขั้นสุดท้าย โดยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มขึ้นจาก ๒๐๐,๓๙๒ kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
(ค.ศ. ๒๐๐๕) เป็น ๕๒๕,๖๔๙ kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) หรือ คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๘ และ ๗๖.๗
ของปริม าณการปล่อยก๊า ซเรือ นกระจกประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) และ พ.ศ. ๒๕๗๓
(ค.ศ. ๒๐๓๐) ตามลําดับ และคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๓.๑ สะท้อนให้เห็นว่าปริมาณการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงาน ในกรณี BAU มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สาขาของเสีย มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณี BAU เพิ่ม ขึ้นจาก ๑๒,๘๗๘
kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) เป็น ๒๐,๐๑๐ kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) หรือ
คิดเป็นร้อยละ ๔.๖ และ ๓.๖ ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
(ค.ศ. ๒๐๐๕) และ พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ตามลําดับ และคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๑.๘ ต่อปี
สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพิ่มขึ้นจาก ๑๙,๕๖๕ kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) เป็น ๓๒,๓๖๐ kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓
(ค.ศ. ๒๐๓๐) หรือ คิดเป็นร้อยละ ๗.๐ และ ๕.๘ ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี
พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) และ พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ตามลําดับ และคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ
๒.๐ ต่อปี
สาขาเกษตร มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณี BAU เพิ่มขึ้นจาก ๔๖,๒๙๔ kt-CO2eq
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) เป็น ๗๖,๖๓๐ kt-CO2eq ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) หรือ คิดเป็นร้อยละ
๑๖.๖ และ ๑๓.๘ ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)
และ พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ตามลําดับ และคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๒.๐ ต่อปี
๑๖
 
เมื่อ เปรีย บเทีย บแนวโน้ม การปล่อ ยก๊า ซเรือ นกระจก เปรีย บเทีย บแนวโน้ม การปล่อ ย
ก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๗๓ (ค.ศ.๒๐๑๕ – ๒๐๓๐) กับช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๒๕๕๔
(ค.ศ.๒๐๐๐ – ๒๐๑๑) ตามข้อมูลรายงานความก้าวหน้ารายสองปีฉบับที่หนึ่งของประเทศไทย พบว่าการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในแต่ละสาขาของประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละ
สาขานั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันแสดงดังรูปที่ ๓ - ๒

รูปที่ ๓ – ๒ การปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๕๔


ข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้ารายสองปีฉบับที่หนึ่งของประเทศไทย

การดําเนินงานที่ผ่านมาของ สผ. และคณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของ


ประเทศ ได้ดําเนินการศึกษาศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกพร้อมแนวทางมาตรการในการดําเนินการตาม
การแบ่งสาขาตาม IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories ซึ่ง IPCC ได้แบ่งสาขา
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเป็ น ๕ สาขา ได้แก่ สาขาพลังงาน สาขาของเสี ย สาขากระบวนการทาง
อุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ สาขาเกษตร และสาขาการใช้ประโยชน์จากที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้
ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้ ทั้งนี้ หากพิจารณาการจําแนกสาขาตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Economy – wide)
ของประเทศไทยโดยใช้ บัญ ชี ผ ลิ ต ภัณ ฑ์ ม วลรวมภายในประเทศ ของสํ านัก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะเชื่อมโยงกับการลดก๊าซเรือนกระจกตามการแบ่งสาขาของ IPCC ดังแสดงใน
ตารางที่ ๓ - ๓
๑๗
 
ตารางที่ ๓ – ๓ ความเชื่อมโยงการแบ่งสาขาตาม IPCC และการแบ่งสาขาตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจใน
การมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
สาขาตามโครงสร้าง
เศรษฐกิจ ครัวเรือนและ
การผลิต การคมนาคม
อาคารเชิง อุตสาหกรรม เกษตร ป่าไม้
สาขา ไฟฟ้า และขนส่ง
พาณิชย์
IPCC
๑. สาขาพลังงาน (รวมผลิต √ √ √ √ √
และการใช้ พ ลั ง งานใน
ทุกภาคส่วน)
๒. กระบวนการทาง √
อุตสาหกรรมและการใช้
ผลิตภัณฑ์
๓. ของเสีย √ √
๔. เกษตร N/A N/A N/A N/A √ N/A
๕. การใช้ประโยชน์ที่ดิน N/A N/A N/A N/A N/A √
และป่าไม้
หมายเหตุ N/A หมายถึง อาจจะมีความเชื่อมโยงกัน แต่ต้องผ่านการพิจารณาโดยคณะทํางานฯ เมื่อผลการศึกษาศักยภาพการ
ลดก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรและป่าไม้แล้วเสร็จ

สําหรับการแบ่งสาขาตาม IPCC นั้น เป็นไปตามหลักวิชาการ ทําให้ง่ายต่อการติดตาม


ประเมินผล และรายงานผลการลดก๊าซเรือนกระจก ตามข้อกําหนดภายใต้ UNFCCC ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุก
ภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้
๑๘
 
๔. การมีส่วนร่วมของประเทศไทยในการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดส่ง
ข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการดําเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓
ประเทศไทยมี ก ารเตรี ย มความพร้ อ มในการร่ ว มกั บ ประชาคมโลกเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาการ
เปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศมาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ที่ ป ระเทศไทยเข้ า ร่ ว มเป็ น ภาคี ก รอบอนุ สั ญ ญา
สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ และเข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารเกียวโต
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมอย่างต่อเนื่อง และประเทศไทยมีการจัดทํา
และจัดส่งรายงานแห่งชาติ (National Communication: NC) และรายงานความก้าวหน้ารายหน้ารายสองปี
(Biennial Update Report: BUR) ซึ่งเป็นการดําเนินการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ ๑๙ (COP19) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ที่ป ระชุม ได้มีข้อตัดสินใจในการเชิญชวนภาคี ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนา เตรียมการ
เกี่ยวกับการเสนอ "Intended Nationally Determined Contributions (INDC)" ซึ่งเป็นการแสดงข้อเสนอ
การมีส่วนร่วมของแต่ละประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้เตรียมการจัดทํา INDC
โดยการจัดสรรงบประมาณและการรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ผ่านทางโครงการพัฒนาแห่ง
สหประชาชาติ (UNDP) และกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ การก่อสร้าง และความปลอดภัยทาง
ปรมาณูของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน และได้จัดส่ง
INDC ดังกล่าวไปยังสํานักเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ณ ปี พ.ศ. ๒๐๗๓ ที่ร้อยละ ๒๐ – ๒๕
จากกรณีปกติและได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ
ประเทศในประเด็นหลัก อาทิ การจัดการน้ํา ความมั่นคงทางอาหาร การเกษตรที่ยั่งยืนและการปฏิบัติทาง
การเกษตรที่ดีและเหมาะสม การจัดการผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่ม
พื้นที่ป่าร้อยละ ๔๐ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมรักษาป่าโดยชุมชน การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
การมีส่วนร่วมในการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง การรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวและ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การลดบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การยกระดับ/
ศึกษาแบบจําลองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ
และเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการปรับตัว และ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยน
ข้อมูลและแนวทางการปฏิบัติที่ดี๑๖

                                                            
๑๖
Thailand’s Intended Nationally Determined Contribution (INDC),
http://www4.unfccc.int/ndcregistry/PublishedDocuments/Thailand%20First/Thailand_INDC.pdf
๑๙
 
โดย INDC ถือเป็นพื้นฐานสําหรับการกําหนดข้อตกลงใหม่ภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และใน
การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ ๒๑ (COP21) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ประชุมได้มีการรับรอง
“ความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement” ที่ได้มีผลบังคับใช้เมื่อแล้วเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙
(ค.ศ.๒๐๑๖) โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ความตกลงปารีสกําหนด
รายละเอียดเกี่ยวกับ NDC ไว้ว่าให้แต่ละภาคีต้องจัดทํา แจ้ง และจัดให้มีการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด NDC
อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยภาคี ที่ ตั้ ง ใจจะบรรลุ ก ารมี ส่ ว นร่ ว มนั้ น ต้ อ งดํ า เนิ น มาตรการลดก๊ า ซเรื อ นกระจก
ภายในประเทศ แต่ละภาคีต้องแจ้งการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนดซึ่งต้องเป็นเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก
ที่ท้าทายมากขึ้นทุกห้าปี และให้มีการติดตามสถานการณ์การดําเนินงานเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าการดําเนินงาน
ของแต่ละภาคีเป็นไปตามข้อเสนอที่ได้กําหนดไว้
คณะรั ฐมนตรีในคราวประชุม วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ มีม ติมอบหมายให้ สผ. ร่ วมกับ
หน่วยงานต่างๆ ดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งไว้ ทั้งนี้
เพื่อให้การดําเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการ และได้รับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
สผ. จึงได้แต่งตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภายใต้คณะอนุกรรมการการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน โดยคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙
ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการการแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจก
ของประเทศ โดยประธานอนุกรรมการฯ ได้ลงนามในคําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจก
ของประเทศ ที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ ในการนี้คณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจก
ของประเทศ ได้ เริ่มภารกิจในการพิจารณาและยกร่างแผนที่ นําทางการลดก๊าซเรื อนกระจกของประเทศ
ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมุ่งเน้นสาขาพลังงานและขนส่ง ของเสีย และกระบวนการทางอุตสาหกรรมและ
การใช้ผลิตภัณฑ์ โดยได้มีการประชุมคณะทํางานฯ รวมทั้งสิ้น ๕ ครั้ง และฝ่ายเลขานุการได้เข้าพบหารือ
ตลอดจนประสานข้อ มูล ทางเทคนิค กับผู้แ ทนหน่ว ยงานที่เ กี่ย วข้อ ง ได้แ ก่ ผู้แ ทนการไฟฟ้า ฝ่า ยผลิต แห่ง
ประเทศไทย รองปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผู้แทนสํานัก
นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้ แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้แ ทน
องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผู้แทนคณะกรรมการร่วม ๓ สถาบันภาคเอกชน
สํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรม
ปูนซีเมนต์ไทย ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้แทนสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กรอบแนวคิด ในการจัดทํา NDC ของประเทศไทยคือ “สอดคล้อ งกับ ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป็นการบูรณาการและต่อยอดนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ
มุ่งเน้นแผนที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐที่สนับสนุนการปรับรูปแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นําไปสู่การดําเนินงานได้จริง
สามารถติดตามประเมินผลได้ และเป็นการต่อยอดการดําเนินงานในกรอบ NAMAs (Nationally Determined
Mitigation Actions)” และในการศึกษาศักยภาพความพร้อมในการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาต่างๆ เพื่อ
จัดทําเป้าหมาย แนวทาง และมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Post-2020)
๒๐
 
ครั้งนี้ ได้ใช้ Asia Pacific Integrated Model (AIM) หรือแบบจําลอง AIM/Enduse ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น
สําหรับใช้พยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและประเมินผลทางเลือกเทคโนโลยีเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่
ยั่งยืน โดยสถาบัน National Institute for Environmental Studies กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น
เป็นแบบจําลองในการเลือกเทคโนโลยีของระบบเศรษฐศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy-Economy-
Environment System) ในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แบบจําลองนี้สามมารถใช้ในการพยากรณ์การใช้
พลังงาน (Energy consumption) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission) รวมทั้งวิเคราะห์การลด
การใช้พลังงาน และการลดก๊าซเรือนกระจก ในปีเป้าหมาย อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ต้นทุนในการลดการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Abatement Cost) อีกด้วย
สําหรับการจัดทําแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศสาขาพลังงานและขนส่ง
สาขาการจัดการของเสีย และสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ สผ. ได้รับการสนับสนุน
งบประมาณจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในการว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และผู้ประสานงานด้านเทคนิคในการสนับสนุนการทํางานของ สผ. สําหรับสาขาเกษตร
สผ. ร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรอยู่ระหว่างการดําเนินโครงการศึกษาศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจก
ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓ พร้อมจัดทําข้อมูลการพยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการสนับสนุนจาก
กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ การก่อสร้าง และความปลอดภัยทางปรมาณูของสหพันธ์สาธารณรัฐ
เยอรมนี ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยคาดว่าการดําเนินงานจะแล้วเสร็จใน
เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ และสําหรับสาขาการใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพัฒนายุทธศาสตร์เรดด์พลัสแห่งชาติ และพัฒ นา
รูปแบบระดับการปล่อยอ้างอิง ภายใต้แผนงานความร่วมมือสหประชาชาติด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
จากการทําลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ในประเทศกําลังพัฒนา (UN-REDD) โดยผลการดําเนินงาน
ดังกล่าวจะต่อยอด/สนับสนุน NDC ของประเทศไทยได้
๒๑
 
๕. แผนทีน่ ําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๗๓
ในการดําเนินการเพื่อเป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ ๒๐ ภายในปี
พ.ศ. ๒๕๗๓ นั้น คณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยมี สผ. ทําหน้าที่เป็นฝ่าย
เลขานุการคณะทํางานฯ ได้ยกร่างแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๗๓
สาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย
โดยมีการจัดประชุมคณะทํางานฯ ทั้งสิ้น ๕ ครั้งและได้ข้อสรุปว่า สาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการ
ทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย เป็นสาขาที่แผนหลักของหน่วยงานมี
ความพร้อม และมีศักยภาพในการดํา เนิน งานที่ส ามารถสนับ สนุน การลดก๊า ซเรือ นกระจกได้ คิด เป็น
ศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ณ ปี พ.ศ. ๒๕๗๓ รวมทั้งสิ้น ๑๑๕.๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ ๑๑๑ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือร้อยละ ๒๐
จากกรณีปกติ โดยมาตรการตามแผนงานที่จะส่งผลต่อการลดก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วยมาตรการในสาขา
พลังงานและขนส่ง ๙ มาตรการ มาตรการในสาขาการจัดการของเสีย ๔ มาตรการ และมาตรการในสาขา
กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ๒ มาตรการ รวมทั้งสิ้น ๑๕ มาตรการ โดยที่ประชุมได้
ร่วมกันกําหนดผู้รับผิดชอบหลัก ผู้สนับสนุน และกลุ่มเป้าหมายในการดําเนินมาตรการ รายละเอียดแสดงดัง
ตารางที่ ๕ - ๑
๕.๑ มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก
มาตรการที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจากผลการประชุม
คณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ประกอบด้วย ๑๕ มาตรการ โดยแบ่งเป็นมาตรการ
ในสาขาพลังงานและขนส่ง ๙ มาตรการ จากการผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงานในครัวเรือน การใช้พลังงานใน
อาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ) การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมการผลิต และการใช้พลังงานในการคมนาคม
ขนส่ง มาตรการในสาขาการจัดการของเสีย ประกอบด้วย ๔ มาตรการจากการจัดการขยะและการจัดการน้ํา
เสีย และมาตรการในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ๒ มาตรการจากการปรับเปลี่ยน
กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
ตารางที่ ๕ - ๑ สรุปมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก ผู้รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงาน แผน/การดําเนินงาน
ศักยภาพ หน่วยงาน
ลําดับ สาขา รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย ของหน่วยงานที่
(Mt-CO2e) สนับสนุน
หลัก เกี่ยวข้อง
ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ. ๒๕๗๓ เท่ากับ ๑๑๕.๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.๒๕๗๓ เท่ากับ ๑๑๓.๐ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
สาขาพลังงานและขนส่ง
(Mt-CO2e)
การผลิตไฟฟ้า ๒๔
๑ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ๖ กฟผ. สนพ. สกพ. ผู้ผลิตไฟฟ้า - PDP2015
การผลิตพลังงานไฟฟ้า สผ. อบก.
๒๒
 
ตารางที่ ๕ - ๑ สรุปมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก ผู้รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย (ต่อ)
หน่วยงาน แผน/การดําเนินงาน
ศักยภาพ หน่วยงาน
ลําดับ สาขา รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย ของหน่วยงานที่
(Mt-CO2e) สนับสนุน
หลัก เกี่ยวข้อง
๒ มาตรการผลิตไฟฟ้าจาก ๑๘ พพ. กฟผ. สนพ. สกพ. ผู้ผลิตไฟฟ้า - AEDP2015
พลังงานทดแทน กฟภ. กฟน. สศก. อปท. - PDP2015
คพ. สผ. อบก.
การใช้พลังงานในครัวเรือน ๔
๓ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ๔ พพ. กฟผ. สมอ. สส. สผ. ครัวเรือน - EEP2015
การใช้พลังงานในครัวเรือน อบก.
๔ มาตรการใช้พลังงาน พพ. กฟผ. สมอ. สส. สผ. ครัวเรือน - AEDP2015
ทดแทนในครัวเรือน อบก.
การใช้พลังงานในอาคารเชิง ๑
พาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ)
๕ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ๑ พพ. สมอ. สส. สผ. สถาน - EEP2015
การใช้พลังงานในอาคาร อบก. ประกอบการ /
อาคารรัฐ
การใช้พลังงานในอุตสาหกรรม ๔๓
๖ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ๑๑ พพ. กรอ. กนอ. ผู้ประกอบการ - EEP2015
การใช้พลังงานใน สผ. อบก. เอกชน - โครงการ RAC
อุตสาหกรรม NAMA
๗ มาตรการใช้พลังงาน ๓๒ พพ. กรอ. สศก. ผู้ประกอบการ - AEDP2015
ทดแทนในอุตสาหกรรม สผ. อบก. เอกชน
การคมนาคมขนส่ง ๔๑
๘ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ๓๑ สนพ. สมอ. สผ. อบก. ผู้ผลิต/ผู้เดินทาง - EEP2015
การใช้พลังงานในการ สนข. รฟท. กทม. / ระบบขนส่ง - แผนแม่บทในการ
คมนาคมขนส่ง หน่วยงานใน ทางบก น้ํา และ พัฒนาระบบการ
สังกัด คค. อากาศ / ขนส่งที่ยั่งยืนฯ
ประชาชน
๙ มาตรการใช้เชื้อเพลิง ๑๐ พพ. สนข. สผ. ผู้ผลิต/ผู้ใช้ - AEDP2015
ชีวภาพสําหรับยานพาหนะ อบก. รถยนต์
สาขาการจัดการของเสีย ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.๒๕๗๓ เท่ากับ ๒.๐ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
การจัดการขยะ ๑.๓
๑๐ มาตรการลดปริมาณขยะ ๑.๓ อปท. สถ. คพ. สส. สผ. บ้านเรือน/ - แผนแม่บทการ
(เช่น การลดอัตราการเกิด กทม. อบก. ชุมชน บริหารจัดการขยะมูล
ขยะ การเพิ่มการรีไซเคิล ฝอยของประเทศ
และการนําขยะมาใช้ - แผนจัดการคุณภาพ
ประโยชน์ เป็นต้น) สิ่งแวดล้อม
- แผนจัดการมลพิษ
๒๓
 
ตารางที่ ๕ - ๑ สรุปมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก ผู้รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย (ต่อ)
หน่วยงาน แผน/การดําเนินงาน
ศักยภาพ หน่วยงาน
ลําดับ สาขา รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย ของหน่วยงานที่
(Mt-CO2e) สนับสนุน
หลัก เกี่ยวข้อง
การจัดการน้าํ เสีย ๐.๗
๑๑ มาตรการเพิ่มการผลิตก๊าซ ๐.๗ กนอ. กรอ. คพ. สผ. อบก. อุตสาหกรรม - AEDP2015
ชีวภาพจากน้าํ เสีย พพ. - PDP2015
อุตสาหกรรมด้วยการนํา
ก๊าซมีเทนกลับมาใช้
ประโยชน์
๑๒ มาตรการจัดการน้าํ เสีย กรอ. สผ. อบก. อุตสาหกรรม - การดํ า เนิ น งานตาม
อุตสาหกรรมอื่นๆ การส่งเสริมเทคโนโลยี
สะอาดของ กรอ.
๑๓ มาตรการจัดการน้าํ เสีย อจน. กทม. คพ. สถ. สผ. บ้านเรือน/ - แผนวิสาหกิจองค์การ
ชุมชน อปท. อบก. ชุมชน จัดการน้ําเสีย พ.ศ.
๒๕๕๙–๒๕๖๔
- แผนแม่บท กทม.ว่า
ด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ พ.ศ.
๒๕๕๖ – ๒๕๖๖
- แผนจัดการมลพิษ
สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม
ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.๒๕๗๓ เท่ากับ ๐.๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
และการใช้ผลิตภัณฑ์
การปรับเปลีย่ นกระบวนการผลิต ๐.๖
ทางอุตสาหกรรม
๑๔ มาตรการทดแทนปูนเม็ด ๐.๓ กรอ. สมอ. สผ. อุตสาหกรรม
อบก. สภา ซีเมนต์ และวัสดุ
อุตสาหกรรม ก่อสร้าง
๑๕ มาตรการทดแทน/ ๐.๓ กรอ. สผ. อบก. ผู้ ผ ลิ ต /ผู้ ใ ช้ ส าร - พิธีสารมอลทรีออล
ปรับเปลี่ยนสารทําความเย็น พพ. ทําความเย็น - โครงการ RAC
NAMA

๕.๒ กรอบแนวทางและศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยภายหลังปี
พ.ศ.๒๕๖๓ (พ.ศ.๒๕๖๓ – ๒๕๗๓) ตามมาตรการ และประเภทเทคโนโลยี
กรอบแนวทางและศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓
(พ.ศ.๒๕๖๓ – ๒๕๗๓) ตามมาตรการ และประเภทเทคโนโลยี ประกอบด้วยปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก
รายปี และเทคโนโลยีเสนอแนะในการดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ ๑๑๕.๖ ล้านตัน
คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ทั้ง ๑๕ มาตรการ สาขาพลังงานและขนส่ง สาขาการจัดการของเสีย สาขา
๒๔
 
กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยกรอบแนวทางและศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก
รายปีนี้ หน่วยงานสามารถใช้เป็ นกรอบการดําเนินงานเพื่อประกอบการวางแผนการทํางานเพื่ อให้บรรลุ
เป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกรายปีที่ระบุไว้สามารถปรับเปลี่ยนได้
ตามความเหมาะสมขึ้น กับแผนหน่วยงานหรือรูปแบบเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปโดยให้ยึดปริมาณการลด
ก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ.๒๕๗๓ เป็นเป้าที่ประเทศต้องดําเนินการให้ได้เป็นสําคัญ ซึ่งมีรายละเอียดใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นดังต่อไปนี้

ตารางที่ ๕ – ๒ สรุปศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (Mt-CO2eq)
สาขา
พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐)
สาขาพลังงานและขนส่ง ๑๑๓.๐๐
สาขาการจัดการของเสีย ๒.๐๐
ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ๐.๖๐
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกรวม ๑๑๕.๖๐

๑) สาขาพลังงานและขนส่ง
๑.๑) การผลิต ไฟฟ้า มี ศัก ยภาพในการดํา เนิน งานตามแผนที่จ ะส่ง ผลต่อ การลด
ก๊า ซเรื อ นกระจก ทั้ งสิ้ น ๒๔ ล้ า นตั น คาร์ บอนไดออกไซด์เที ย บเท่า มาตรการในการลดก๊ า ซเรื อ นกระจก
ประกอบด้วย ๒ มาตรการหลัก ได้แก่ (๑) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า และ (๒)
มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยผลจากแบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยีในการผลิต
พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ พลังงาน
แสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังน้ํา รายละเอียดศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละเทคโนโลยีและ
กรอบแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก แสดงดังตารางที่ ๕ – ๓ และรูปที่ ๕ – ๑
๒๕
 
ตารางที่ ๕ – ๓ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในการผลิตไฟฟ้า
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ( kt-CO2eq)
มาตรการ/
เทคโนโลยีเสนอแนะ พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
๑.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 510 981 1,452 1,924 2,395 2,866 3,460 4,054 4,647 5,241 5,835 5,868 5,901 5,934 5,967 6,000
๒.มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน 8,623 9,248 9,873 10,499 11,124 11,749 12,374 13,375 14,275 14,755 14,874 15,500 16,125 16,750 17,375 18,000
ทดแทน
ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล 5,449 5,705 5,962 6,218 6,475 6,731 6,987 7,398 7,767 7,964 8,013 8,269 8,526 8,782 9,039 9,295
ไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 638 664 690 715 741 767 793 834 871 891 896 922 948 973 999 1,025
ไฟฟ้าจากขยะ 167 206 245 283 322 361 400 462 518 548 555 594 633 671 710 749
ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 680 776 872 968 1,064 1,160 1,256 1,410 1,548 1,622 1,640 1,736 1,832 1,928 2,024 2,120
ไฟฟ้าจากพลังงานลม 177 241 305 368 432 496 560 662 754 803 815 879 943 1,006 1,070 1,134
ไฟฟ้าพลังน้ํา 1,512 1,656 1,801 1,945 2,090 2,234 2,378 2,609 2,817 2,928 2,956 3,100 3,244 3,389 3,533 3,677
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกรวม 9,133 10,229 11,326 12,422 13,519 14,615 15,834 17,428 18,922 19,996 20,709 21,368 22,026 22,684 23,342 24,000
๒๖
 

หมายเหตุ: ช่วงเวลาที่มีการดําเนินมาตรการแต่ไม่ปรากฏค่าการลดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ได้มีการติดตามและรายงาน


ผลการดําเนินมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

รูปที่ ๕ – ๑ กรอบแนวทางและศักยภาพการดําเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตไฟฟ้าและการผลิต
ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
๑.๒) การใช้พลังงานในครัวเรือน มีศักยภาพในการดําเนินงานตามแผนที่จะส่งผลต่อ
การลดก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น ๔ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก
ประกอบด้วย ๒ มาตรการหลัก ได้แก่ (๑) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในครัวเรือน และ
(๒) มาตรการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน โดยผลจากแบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยีที่
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานครัวเรือน ได้แก่ หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง (เช่น T5 และ LED)
เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง (เช่น COP5 และ COP8-9) เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง (เช่น COP5
และ COP8-9) เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง และเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง โดยเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงมี
ศักยภาพในการใช้พลังงานและลดก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด สําหรับการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือนนั้น
๒๗
 
เทคโนโลยีที่มีศักยภาพ ได้แก่ การผลิตความร้อนพลังงานทดแทนประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (อาทิ Solar
water heater) และการผลิตความร้อนพลังงานทดแทนประเภทพลังงานจากก๊าซชีวภาพ (อาทิ Biogas
digester) รายละเอียดศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละเทคโนโลยี และ กรอบแนวทางการดําเนิน
มาตรการลดก๊าซเรือนกระจก แสดงดังตารางที่ ๕ – ๔ และรูปที่ ๕ – ๒
๒๘
 
ตารางที่ ๕ – ๔ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในการใช้พลังงานในครัวเรือน
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (kt-CO2eq)
มาตรการ/เทคโนโลยี
เสนอแนะ พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
(๑) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการ 490 631 771 911 1,052 1,192 1,391 1,595 1,752 1,903 2,060 2,206 2,351 2,496 2,641 2,786
ใช้พลังงานในครัวเรือน
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 6 8 10 13 15 17 23 28 33 39 45 50 54 60 65 71
(อาทิ T5 และ LED)
การใช้เครื่องทําความเย็น 45 64 83 103 124 146 182 219 258 297 339 373 410 448 486 527
ประสิทธิภาพสูง (อาทิ COP5 และ
COP8-9)
การใช้เครื่องปรับอากาศ 87 128 170 214 260 307 371 438 506 576 649 701 749 795 841 890
ประสิทธิภาพสูง (อาทิ COP5 และ
COP8-9)
การใช้เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง 348 425 498 569 638 704 793 883 925 957 989 1,041 1,098 1,155 1,211 1,269
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 4 7 10 13 15 18 22 26 30 35 39 41 40 39 38 28
(๒) มาตรการใช้พลังงานทดแทนใน 196 245 294 344 393 442 503 566 628 691 756 848 939 1,031 1,122 1,214
ครัวเรือน
การผลิตความร้อนพลังงานทดแทน 20 165 190 215 238 58 72 87 103 119 136 168 201 235 270 306
ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์
(อาทิ Solar water heater)
การผลิตความร้อนพลังงานทดแทน 176 3 4 5 6 384 431 479 525 572 620 679 738 795 852 908
ประเภทพลังงานจากก๊าซชีวภาพ
(อาทิ Biogas digester)
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกรวม 686 876 1,065 1,255 1,445 1,634 1,894 2,161 2,380 2,594 2,816 3,053 3,290 3,527 3,763 4,000
๒๙
 

2005

2010

2015

2020

2025

2030
kt-CO2eq

2,786
2,060
1,192
Efficient Appliances

490

71
17

45
0

6
Lighting System

Incantdescent Lamps

Fluorescent Lamps

Efficient Florescent Lamps

Compact Fluorescent Lamps

Efficient Compact
Fluorescent Lamps

T5

LED

527
146

339
45
0

Cooling System

Efficient Refrigerators (COP5)

Efficient Refrigerators (COP8)


307

649

890
87
0

Air Conditioning System

Efficient Air Conditioners


(COP5)
Efficient Air Conditioners
(COP8)

Fans

Efficient Fans

รูปที่ ๕ – ๒ กรอบแนวทางการดํ า เนิ น มาตรการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ พ ลั ง งานในครั ว เรื อ น และ


มาตรการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน
๓๐
 

หมายเหตุ: ช่วงเวลาที่มีการดําเนินมาตรการแต่ไม่ปรากฏค่าการลดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ได้มีการติดตามและรายงานผล


การดําเนินมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

รูปที่ ๕ – ๒ กรอบแนวทางการดํ า เนิ น มาตรการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ พ ลั ง งานในครั ว เรื อ น และ


มาตรการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน (ต่อ)
๑.๓) การใช้พลังงานในอาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ) มีศักยภาพในการดําเนินงาน
ตามแผนที่จะส่งผลต่อการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น ๑ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มาตรการหลัก
ได้แก่ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ในการศึกษาจําแนกประเภทอาคารที่พิจารณาเป็น
๘ ประเภท ตามการแบ่งหมวดการใช้พลังงานในอาคารของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(พพ.) ได้แก่ (๑) อาคารสํานักงาน (๒) อาคารสถานพยาบาล (๓) อาคารโรงแรม (๔) อาคารห้างสรรพสินค้า
หรือศูนย์การค้า (๕) อาคารสถานศึกษา (๖) อาคารห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (๗) อาคารชุด และ (๘) อาคารอื่นๆ
๓๑
 
โดยผลจากแบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้า
ในอาคาร ประกอบด้วยเทคโนโลยีในระบบหลัก ๔ ระบบ ได้แก่ (๑) ระบบทําความเย็น เช่น การใช้เครื่องทํา
ความเย็นประสิทธิภาพสูง (เช่น COP5 และ COP8) (๒) ระบบแสงสว่าง เช่น การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
(เช่ น หลอดไฟฟ้ า T5 และหลอดไฟฟ้ า LED) (๓) อุ ป กรณ์ สํ า นั ก งาน เช่ น การใช้ เ ครื่ อ งใช้ สํ า นั ก งาน
ประสิทธิภาพสูง และ (๔) ระบบอื่นๆ เช่น การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง (เช่น Efficient heaters)
รายละเอี ยดศัก ยภาพในการลดก๊า ซเรือ นกระจกของแต่ล ะเทคโนโลยี และ กรอบแนวทางการดํ า เนิน
มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกสําหรับสาขานี้ แสดงดังตารางที่ ๕ – ๕ และรูปที่ ๕ – ๓
๓๒
 
ตารางที่ ๕ – ๕ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในการใช้พลังงานในอาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ)
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (kt-CO2eq)
มาตรการ/เทคโนโลยี
เสนอแนะ พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
๑.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
พลังงานในอาคาร
หลอดไฟประสิทธิภาพสูง 16 19 23 27 30 34 47 60 73 86 100 116 132 148 164 180
(เช่น T5 LED)
เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 44 54 64 74 84 93 130 166 202 239 275 318 362 405 448 490
(เช่น COP5 และ COP8)
เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 20 24 29 33 37 42 58 75 91 108 124 144 164 184 205 225
อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 10 12 14 16 18 20 27 35 43 51 58 68 77 86 95 105
(เช่น Efficient heaters)
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกรวม 90 109 129 149 169 189 263 336 410 484 557 646 734 823 911 1,000
๓๓
 

หมายเหตุ: ช่วงเวลาที่มีการดําเนินมาตรการแต่ไม่ปรากฏค่าการลดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ได้มีการ


ติดตามและรายงานผลการดําเนินมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
รูปที่ ๕ – ๓ กรอบแนวทางการดําเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคอาคาร
เชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ)
เมื่อพิจารณากลุ่มมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารเชิงพาณิชย์แบ่งตาม
ประเภทอาคาร สามารถเรียงลําดับปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก จากมากไปหาน้อย ได้แก่ (๑) อาคาร
๓๔
 
สํานักงาน (๒) อาคารสถานพยาบาล (๓) อาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า (๔) อาคารโรงแรม (๕) อาคาร
อื่นๆ (๖) อาคารสถานศึกษา (๗) อาคารชุด และ (๘) ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยรายละเอียดเทคโนโลยีที่มี
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกแสดงดังตารางที่ ๕ – ๖
ตารางที่ ๕ – ๖ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจําแนกตามชนิด
อาคาร
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (kt-CO2eq)
ชนิดอาคาร พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2573
ค.ศ. 2010 ค.ศ. 2020 ค.ศ. 2030
อาคารสถานพยาบาล 0 28 144
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 4 22
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 12 58
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 4 26
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 7 38
(เช่น Efficient heaters)
อาคารสถานศึกษา 0 12 72
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 2 13
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 4 28
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 5 27
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 1 4
(เช่น Efficient heaters)
อาคารสํานักงาน 0 64 306
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 12 62
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 35 155
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 14 76
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 2 13
(เช่น Efficient heaters)
อาคารชุด 0 11 69
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 2 9
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 7 50
(เช่น COP5 และ COP8)
๓๕
 

ตารางที่ ๕ – ๖ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจําแนกตามชนิด


อาคาร(ต่อ)
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (kt-CO2eq)
ชนิดอาคาร พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2573
ค.ศ. 2010 ค.ศ. 2020 ค.ศ. 2030
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 2 10
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 14 68
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 2 16
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 6 30
(เช่น Efficient heaters)
อาคารสถานบริการ 0 11 57
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 2 11
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 4 19
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 5 24
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 1 3
(เช่น Efficient heaters)
อาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า 0 24 143
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 5 25
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 12 80
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 4 23
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 3 14
(เช่น Efficient heaters)
อาคารอื่นๆ 0 13 74
การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 0 3 16
(เช่น หลอดไฟฟ้า T5 และหลอดไฟฟ้า LED)
การใช้เครื่องทําความเย็นประสิทธิภาพสูง 0 5 32
(เช่น COP5 และ COP8)
การใช้เครื่องใช้สํานักงานประสิทธิภาพสูง 0 5 25
การใช้อุปกรณ์ทําความร้อนประสิทธิภาพสูง 0 0 1
(เช่น Efficient heaters)
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกรวม 0 189 1,000
๓๖
 
๑.๔) การใช้พลังงานในอุตสาหกรรม มีศักยภาพในการดําเนินงานตามแผนที่จะส่งผลต่อ
การลดก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น ๔๓ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มาตรการหลักได้แก่ (๑) มาตรการ
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม และ (๒) มาตรการใช้พลังงานทดแทนในอุตสาหกรรม
การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมมาจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกใช้ในระบบทําความเย็น ระบบแสงสว่าง
ระบบมอเตอร์ และ ระบบอื่นๆ และมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบทําความร้อน โดยในการศึกษาได้จําแนก
ประเภทอุตสาหกรรมการผลิตออกเป็น ๙ ประเภท (ตามการแบ่งประเภทของรายงานสถานการณ์พลังงานของ
ประเทศไทย) ได้แก่ อุตสาหกรรมอโลหะ (มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด) อุตสาหกรรมเคมี (มี
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกเป็นลําดับที่ส อง) อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตภั ณฑ์โลหะ
อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมอื่นๆ และ
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ตามลําดับ
๑.๔.๑) การลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ในอุตสาหกรรม คือ การลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ทําได้โดยการ
เพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์หรือระบบการทํางานที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยผลจาก
แบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ๔ ประเภท ได้แก่ มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ระบบ
ทําความเย็นประสิทธิภาพสูง ระบบแสงสว่างประสิทธิภาพสูง และเตาหลอมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
รายละเอียดแสดงดังตารางที่ ๕ – ๗ และรูปที่ ๕ - ๔
๓๗
 

2005

2010

2015

2020

2025

2030
kt-CO2eq

11,000
8,268
2,375
Electricity Consumption

44
Improvement

7,496
1,618

5,634
43
0

0
Motor System

Efficient Motors

Advanced Motors

191

665

885
0

0
Lighting System

Efficient Light Bulbs

Advanced Light Bulbs

1,935

2,574
556
0

Cooling System

Efficient Cooling System

Advanced Cooling System

EE RAC NAMA by GIZ


34

46
0

Molten System

Efficient Electric Arc Furnaces

หมายเหตุ: ช่วงเวลาที่มีการดําเนินมาตรการแต่ไม่ปรากฏค่าการลดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ได้มีการติดตามและ


รายงานผลการดําเนินมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
รู ป ที่ ๕ – ๔ กรอบแนวทางสํ า หรั บ กลุ่ ม มาตรการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ พ ลั ง งานไฟฟ้ า ใน
ภาคอุตสาหกรรม
๑.๔.๒) การใช้พลังงานทดแทนในอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ๒ ส่วน ได้แก่ ๑) การลด
ก๊าซเรือนกระจกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานความร้อน จะเป็นเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ให้มี
การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลงแต่ยังคงผลผลิตได้เท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้น โดยผลจากแบบจําลอง AIM/Enduse
๓๘
 
เลือกเทคโนโลยีโดยเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของ ๓ อุปกรณ์ คือ เตาซีเมนต์ประสิทธิภาพสูง หม้อไอน้ํา
ประสิทธิภาพสูง และเตาหลอมประสิทธิภาพสูง ๒) การลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานทดแทนในการ
ผลิตความร้อน เพื่อมุ่งเน้นการลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนระจก
โดยผลการจําลองจากแบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยีตามชนิดของพลังงานหมุนเวียน ๔ ประเภท คือ
พลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากขยะ โดยที่การเริ่มต้นการใช้พลังงานทั้ง ๔ ชนิด
เพื่อการผลิตความร้อน จะเริ่มต้นที่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอันดับแรก และเริ่มมีเทคโนโลยีที่เหลือทั้งสาม
เทคโนโลยีเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑) โดยตัวอย่างเทคโนโลยีที่มีศักยภาพแสดงดังตารางที่ ๕ – ๗
และ ๕ – ๘ และ รูปที่ ๕ – ๕
ตารางที่ ๕ – ๗ ตัวอย่างการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตความร้อนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
กลุ่มอุตสาหกรรม กระบวนการในอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม Drying
Washing
Pasteurising
Boiling
Sterilising
Heat treatment
อุตสาหกรรมสิ่งทอ Bleaching
Dyeing
Drying, De-greasing
Washing
Fixing
Pressing
อุตสาหกรรมกระดาษ Cooking and Drying
Boiler feed water
Bleaching
อุตสาหกรรมเคมี Soaps
Synthetic rubber
Processing heat
Pre-heating water
อุตสาหกรรมอโลหะ Curing
(อุตสาหกรรมอิฐมอญและอิฐบล็อค)
อุตสากรรมโลหะขั้นมูลฐาน Treatment, Electroplating, etc.
อุตสาหกรรมทั้งหมด Pre-heating of boiler feed water
Industrial solar cooling
Heating of factory building
*ดัดแปลงจาก Soteris Kalogirou. (2003). The Potential of Solar Industrial Process Heat Application. Applied Energy, 337-361.
๓๙
 
ตารางที่ ๕ – ๘ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมการผลิต
มาตรการ/เทคโนโลยี ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ( kt-CO2eq)
เสนอแนะ พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
๑ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ 44 392 785 1,239 1,763 2,375 3,422 4,531 5,707 6,951 8,268 8,815 9,361 9,907 10,454 11,000
การใช้พลังงานในอุตสาหกรรม
มอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง 43 278 544 850 1,204 1,618 2,331 3,087 3,888 4,736 5,634 6,006 6,379 6,751 7,123 7,496
ระบบแสงสว่างประสิทธิภาพสูง 0 29 61 98 141 191 276 365 459 559 665 709 753 797 841 885
ระบบทําความเย็นประสิทธิสูง 1 83 177 285 410 556 801 1,061 1,336 1,627 1,935 2,063 2,191 2,318 2,446 2,574
เตาหลอมไฟฟ้ประสิทธิภาพสูง 0 2 3 5 7 9 14 18 23 28 34 36 39 41 43 46
๒ การใช้พลังงานทดแทนใน 1,735 3,678 5,620 7,562 9,503 11,446 12,892 14,430 16,067 17,805 19,653 21,849 24,174 26,633 29,539 32,000
อุตสาหกรรม
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
พลังงานความร้อน
เตาซีเมนต์ประสิทธิภาพสูง 1,072 2,488 3,874 5,230 6,557 7,853 8,843 9,891 11,001 12,174 13,414 14,911 16,491 18,156 20,126 21,771
หม้อไอน้าํ ประสิทธิภาพสูง 242 603 1,005 1,448 1,932 2,456 2,815 3,204 3,625 4,081 4,573 5,134 5,734 6,375 7,136 7,795
เตาหลอมประสิทธิภาพสูง 79 176 262 337 401 454 513 576 644 715 791 890 997 1,112 1,248 1,367
- การใช้พลังงานทดแทนใน
การผลิตความร้อน
การผลิตความร้อนจากพลังงาน 3 4 5 5 6 7 7 8 8 8 9 9 10 10 10 11
แสงอาทิตย์
การผลิตความร้อนจากเชื้อเพลิง 327 393 458 524 589 654 691 728 765 802 839 876 912 949 986 1,023
ชีวมวล
การผลิตความร้อนจาก 7 9 10 12 13 15 16 17 17 18 19 20 21 22 23 23
ก๊าซชีวภาพ
การผลิตความร้อนจากขยะ 3 4 4 5 6 6 7 7 7 8 8 8 9 9 10 10
ศักยภาพการลด 1,779 4,069 6,404 8,800 11,267 13,821 16,314 18,962 21,774 24,757 27,921 30,663 33,534 36,541 39,993 43,000
ก๊าซเรือนกระจกรวม
๔๐
 

หมายเหตุ: ช่วงเวลาที่มีการดําเนินมาตรการแต่ไม่ปรากฏค่าการลดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ได้มีการติดตามและรายงานผล


การดําเนินมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

รูปที่ ๕ – ๕ กรอบแนวทางสําหรับกลุ่มมาตรการเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานความร้อนและ
การใช้พลังงานทดแทนผลิตความร้อนในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต
๔๑
 
๑.๕) การคมนาคมขนส่ง มีศัก ยภาพในการดํา เนิน งานตามแผนที่จ ะส่ง ผลต่อ การลด
ก๊า ซเรือ นกระจกทั้งสิ้ น ๔๑ ล้ านตันคาร์ บอนไดออกไซด์เทีย บเท่า มาตรการในการลดก๊าซเรือ นกระจก
ประกอบด้วย ๒ มาตรการหลัก (๑) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่ง ซึ่งรวมถึง
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางด้วย โดยผลจากแบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ
ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์ดีเซล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ การ
ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน/ขนส่งสาธารณะ (เช่น รถไฟฟ้าสายสีรุ้ง BTS MRT รถเมล์) และการส่งเสริม
การใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงระหว่างเมือง (๒) มาตรการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสําหรับยานพาหนะ โดยผลการ
จําลองจากแบบจําลอง AIM/Enduse เลือกเทคโนโลยี การใช้น้ํามันแก๊สโซฮอล์ และการใช้น้ํามันไบโอดีเซล
รายละเอียดการลดก๊าซเรือนกระจกรายมาตรการแสดงดังตารางที่ ๕ – ๙ และรูปที่ ๕ – ๖ และรูปที่ ๕ – ๗

รูปที่ ๕ – ๖ กรอบแนวทางสําหรับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่ง
๔๒
 

หมายเหตุ: ช่วงเวลาที่มีการดําเนินมาตรการแต่ไม่ปรากฏค่าการลดก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ได้มีการติดตามและรายงานผล


การดําเนินมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

รูปที่ ๕ – ๗ กรอบแนวทางสําหรับมาตรการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสําหรับยานพาหนะ
๔๓
 
ตารางที่ ๕ – ๙ มาตรการ เทคโนโลยีเสนอแนะ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาคมนาคมขนส่ง
มาตรการ/เทคโนโลยี ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ( kt-CO2eq)
เสนอแนะ พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
๑. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่ง
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการ
ใช้พลังงาน
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ 593 849 1,257 1,625 1,821 1,871 2,502 3,513 4,423 4,908 5,029 5,754 6,914 7,958 8,515 8,654
เครื่องยนต์เบนซิน
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ 700 1,237 2,096 2,869 3,282 3,385 4,375 5,960 7,387 8,148 8,338 9,540 11,462 13,193 14,116 14,346
เครื่องยนต์ดีเซล
การปรับเปลี่ยนรูปแบบ
การเดินทาง
มาตรการส่งเสริมการใช้ 450 645 958 1,239 1,389 1,427 1,473 1,547 1,614 1,649 1,658 1,814 2,063 2,286 2,406 2,436
ระบบขนส่งมวลชน/ขนส่ง
สาธารณะ (เช่น bts mrt
bus)
มาตรการส่งเสริมการใช้ 0 80 209 324 386 401 919 1,748 2,494 2,892 2,991 3,506 4,329 5,070 5,465 5,564
รถไฟฟ้าความเร็วสูง
ระหว่างเมือง
๒) มาตรการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสําหรับยานพาหนะ
มาตรการส่งเสริมการใช้ 253 375 571 748 842 865 1,093 1,458 1,786 1,961 2,005 2,254 2,653 3,012 3,204 3,251
น้ํามันแก๊สโซฮอล์ในภาค
ขนส่งทางบก
มาตรการส่งเสริมการใช้ 310 532 887 1,206 1,377 1,419 1,897 2,661 3,349 3,715 3,807 4,395 5,337 6,184 6,636 6,749
น้ํามันไบโอดีเซลในภาค
ขนส่งทางบก
ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกรวม 2,306 3,718 5,978 8,012 9,097 9,368 12,260 16,888 21,053 23,274 23,829 27,263 32,758 37,703 40,341 41,000
๔๔
 
๒) สาขาการจัดการของเสีย
สาขาการจัดการของเสียมีศักยภาพในการดําเนินงานตามแผนที่จะส่งผลต่อการลดก๊าซ
เรือนกระจกทั้งสิ้น ๒ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วย ๒
กลุ่มมาตรการ ได้แก่ (๑) กลุ่มมาตรการจัดการขยะ ประกอบด้วยมาตรการการลดปริมาณขยะ และ (๒)
กลุ่มมาตรการจัดการน้ําเสีย ประกอบด้วยมาตรการเพิ่มการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ําเสียอุตสาหกรรมด้วย
การนําก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ มาตรการจัดการน้ําเสียอุตสาหกรรมอื่นๆ และมาตรการจัดการน้ํา
เสียชุมชน โดยการประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกรายปีคิดต่อยอดจากโครงการศึกษาศักยภาพ
ในการลดก๊าซเรือนกระจกระยะที่ ๑๑๗ โดยมีรายละเอียดมาตรการและการลดก๊าซเรือนกระจกแสดงดังตารางที่
๕ – ๑๐ และ รูปที่ ๕ – ๘ และ ๕ - ๙

                                                            
๑๗
รายงานฉบับสมบูรณ์: รายงานประกอบการตัดสินใจ มาตรการในการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคของเสียของ
ประเทศไทย ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที)
๔๕
 
ตาราง ๕ - ๑๐ มาตรการ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาของเสีย
มาตรการ/มาตรการเทคโนโลยี ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (kt-CO2eq)
พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
๑. การจัดการขยะ 0 67 137 209 284 362 442 525 611 700 792 887 985 1,087 1,192 1,300
การลดปริมาณขยะ
๒. การจัดการน้ําเสีย 0 36 74 113 153 195 238 283 329 377 426 477 530 585 642 700
(มาตรการเพิ่มการผลิตก๊าซชีวภาพ
จากน้ําเสียอุตสาหกรรมด้วยการ
นําก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์
มาตรการจัดการน้ําเสีย
อุตสาหกรรมอื่นๆ (เช่น การ
ส่งเสริม/การดําเนินมาตรการ
เทคโนโลยีสะอาดของ กรอ.และ
มาตรการจัดการน้ําเสียชุมชน)
ศักยภาพการลด 0 104 211 322 437 556 680 807 940 1,076 1,218 1,364 1,515 1,672 1,833 2,000
ก๊าซเรือนกระจกรวม
๔๖
 

รูปที่ ๕ – ๘ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาการจัดการของเสีย

รูปที่ ๕ – ๙ กรอบแนวทางสําหรับมาตรการในสาขาการจัดการของเสีย
๓) สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์
สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก
ทั้งสิ้น ๐.๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในกลุ่มมาตรการการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตทาง
อุตสาหกรรม ๒ มาตรการ ได้แก่ (๑) มาตรการทดแทนปูนเม็ด และ (๒) มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทํา
ความเย็น ทั้งนี้ การทดแทนปูนเม็ด (Clinker) เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมผลิต
ปูนซีเมนต์และคอนกรีตผสมเสร็จ (ready mixed concrete) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรมีการส่งเสริมและ
๔๗
 
สนับสนุนให้สามารถใช้ในการทดแทนการผลิตปูนเม็ดในอัตราส่วนที่มากขึ้น โดยมีการควบคุมมาตรฐานและ
การสร้างการยอมรับของผู้ซื้อ/ผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้ในงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น ใช้ในงานเทคอนกรีต
สร้างเขื่อน ใช้ในการผสมซีเมนต์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ท่อสําเร็จรูป พื้นสําเร็จรูป
ท่อบําบัดน้ําเสีย อิฐตัวหนอน ใช้เป็นฐานในการทําถนน เป็นต้น
สําหรับมาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทําความเย็นอยู่ภายใต้การดําเนินงานของกรม
โรงงานอุ ต สาหกรรมโดยการสนั บ สนุ น จากธนาคารโลกและกองทุ น พหุ ภ าคี ภ ายใต้ พิ ธี ส ารมอนทรี อ อล
(Montreal Protocol) และการดําเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่
เหมาะสมของประเทศในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศและทําความเย็น (Thailand Refrigeration and Air
Conditioning Nationally Appropriate Mitigation Action: RAC NAMA) โดยความร่วมมือระหว่าง สผ.
พพ. และ GIZ เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง และสารทําความเย็นที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมระบบ
ปรับอากาศ และทําความเย็น ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนต่างประเทศ คือ NAMA Facility
โดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสหราชอาณาจักรด้วยมูลค่า ๑๔.๗ ยูโร (ประมาณ ๕๖๐ ล้านบาท) โดย
กิจ กรรมหลักภายใต้โครงการที่นําไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การซื้อขายอุปกรณ์/ผลิตภัณฑ์
เครื่องปรับอากาศและเครื่องทําความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริการและการใช้อุปกรณ์/ผลิตภัณฑ์
เครื่องปรับอากาศและเครื่องทําความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทบทวนนโยบายและกําหนดกรอบ
การเงินที่เกี่ยวข้อง การสร้างความตระหนักและประโยชน์ที่ต้องปรับเปลี่ยนที่เกี่ยวข้อง โดยการดําเนินงานทั้ง
สองส่วนเมื่อแล้วเสร็จ จะเกิดการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๓ รายละเอียดการลด
ก๊าซเรือนกระจกรายมาตรการแสดงดังตารางที่ ๕ – ๑๑ และ รูปที่ ๕ – ๑๐ และ ๕ – ๑๑
๔๘
 
ตาราง ๕ – ๑๑ มาตรการ และศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์

มาตรการ/มาตรการเทคโนโลยี ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (kt-CO2eq)


พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
การทดแทนปูนเม็ด 0 14 29 44 59 76 93 110 128 147 167 192 217 244 271 300
มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยน 0 0 6 20 42 64 75 90 106 126 148 173 201 231 264 300
สารทําความเย็น (เช่น โครงการ
RAC NAMA และการ
ปรับเปลี่ยนสารทําความเย็น
ภายใต้พิธีสารมอลทรีออล)
ศักยภาพการลดก๊าซเรือน 0 14 35 64 101 140 168 200 235 273 315 365 418 475 536 600
กระจกรวม
๔๙
 

รูปที่ ๕ – ๑๐ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์

รูปที่ ๕ – ๑๑ กรอบแนวทางสําหรับมาตรการในสาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์
๕๐
 
๖. แนวทางการขับเคลื่อนและการติดตามการประเมินผล
การที่ประเทศไทยได้จัดส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภู มิ อ ากาศและการลดก๊ า ซเรื อ นกระจกร่ ว มกั บ นานาประเทศ และได้ เข้ าร่ วมเป็ นภาคี ความตกลงปารี ส
ระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ จึงเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสําหรับประเทศไทย ในการเตรียมความพร้อม
ภาคส่ วนที่ เกี่ ย วข้ อ งในทุ ก สาขาการพั ฒ นาเศรษฐกิจ และสั งคม ให้ เข้ามามี ส่ วนร่ วมในการขั บ เคลื่ อ นการ
ดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ก่อนเริ่มดําเนินการ
NDC ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓
แม้ว่าในระดับนโยบาย ได้ให้ความสําคัญกับประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น
อย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ที่เห็นชอบให้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศเป็นนโยบายสําคัญของประเทศ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยให้สํานักงบประมาณและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดําเนินงาน
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ ที่มอบหมายให้
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดทํา
แผนที่นําทาง (Roadmap) ซึ่งระบุแนวทางและมาตรการในรายละเอียดเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลด
ก๊าซเรือนกระจกที่ได้ตั้งไว้ รวมทั้ง มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการและรายงานผลการดําเนินการ
อีกทั้ง การดําเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการบูรณาการประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เข้าไปในแผนหลักของกระทรวง อาทิ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
(AEDP2015) แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP2015) แผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟ้าของ
ประเทศไทย ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (PDP2015) แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่าย smart grid ของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ และแผนแม่บทในการพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืนและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น แต่การขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซ
เรื อ นกระจกของประเทศยั ง มี ข้ อ จํ า กั ด และจํ า เป็ น ต้ อ งพั ฒ นากลไกการขั บ เคลื่ อ นการดํ า เนิ น งานให้ มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในส่วนนี้ จึงได้นําเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล แผนที่นําทาง
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ ดังรูปที่ ๖ -๑ เพื่อให้มีทิศทางที่ชัดเจนในการนํา
แผนที่นําทางฯ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่กําหนดไว้
โดยแบ่งการดําเนินการออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
๕๑
 

รูปที่ ๖ -๑ แนวทางในการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของ
ประเทศปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓
ระยะที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ระยะเร่งด่วน
นํ า เสนอให้ ค ณะกรรมการนโยบายการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศแห่ ง ชาติ และ
คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบในการมอบหมายหน่วยงานดําเนินการ ดังนี้
๑. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน
เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ตามแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓
(NDC Roadmap on Mitigation 2021–2030)
๒. ให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทําแผนปฏิบัติการ
ขับเคลื่อนศักยภาพการดําเนินงานตามแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓
เพื่อสนับสนุนศักยภาพการดําเนินงานของหน่วยงาน โดยครอบคลุมข้อจํากัด ความต้องการด้านการสนับสนุน
และระบบ/กรอบการติดตามและรายงานผลการดําเนินงานของมาตรการต่างๆ
๓. ให้สํานักงบประมาณสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานในการเตรียมความพร้อม
และปฏิบัติการตามแผนดังกล่าว รวมถึงพิจารณาการจัดสรรงบประมาณในรูปแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๕๒
 
ระยะที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ ระยะเตรียมความพร้อม
๑. การจัดทําแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกรายมาตรการ
ให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักของแต่ละมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนที่นําทางการ
ลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ จัดทําแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกับ
หน่วยงานสนับสนุน เพื่อกําหนดรายละเอียดการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ตามแผนที่
นําทางฯ
๒. การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของ
แผนที่นําทางฯ และการลดก๊าซเรือนกระจก
๒.๑ ให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสร้างความเข้าใจ
และชี้แจงทําความเข้าใจรายละเอียดของแผนที่นําทางฯ แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
๒.๒ ให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทําแผนปฏิบัติการ
ขับเคลื่อนศักยภาพการดําเนินงานตามแผนที่นําฯ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงาน
๒.๓ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในสังคมในทุกภาคส่วนและทุกระดับโดย
มุ่งหมายให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/transformational change ซึ่งการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก
ให้เกิดผลต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความ
ตระหนักของประชาชนต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเตรียมความพร้อมด้านการรับมือต่อ
การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ ตลอดจนการมี ส่ ว นร่ ว มในการแก้ ปั ญ หาด้ า นการเปลี่ ย นแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่จะนําไปสู่วีถีการดําเนินชีวิตแบบคาร์บอนต่ํา/การเติบโตแบบคาร์บอนต่ํา โดยควร
มีการจัดทําแผน/ยุทธศาสตร์การดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่
เอื้ออํานวยต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนในแบบวิถีคาร์บอนต่ํา อาทิ อาคารอนุรักษ์พลังงาน ระบบเชื่อมต่อ
ขนส่งมวลชน การงดการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น
๓. การพัฒนาศักยภาพและการสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการดําเนินงาน
๓.๑ การสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการดําเนินงานระหว่างภาครัฐและเอกชน
ในการลดก๊าซเรือนกระจกตามรายมาตรการที่ปรากฏในแผนที่นําทางฯ ต้องอาศัย
ความร่วมมือจากภาคเอกชน ทั้งในขั้นตอนการดําเนินงานและการติดตามผลการดําเนินงาน อาทิ การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การจัดการน้ําเสียอุตสาหกรรม การปรับเปลี่ยน
อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในการผลิต ที่สําคัญต้องมีการรายงานข้อมูลกิจกรรมหรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้
เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถติดตามและประเมินผลการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องเป็นระยะ ดังนั้น จึงมีความ
จําเป็นต้องมีการเสริมสร้างศักยภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ภาคเอกชน พร้อมไปกับการประชาสัมพันธ์ สร้าง
ความรู้ความเข้าใจ การฝึกอบรม ฯลฯ แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการดําเนินมาตรการสนับสนุน
การให้แรงจูงใจต่างๆ จากภาครัฐ และการกําหนดมาตรฐานหรือการปรับปรุงกฎระเบียบที่เอื้ออํานวยต่อ
๕๓
 
ภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การจัดการ/ควบคุมราคาวัสดุทดแทนปูนเม็ด และ
การปรับปรุงมาตรฐานวัสดุก่อสร้างให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ที่ผสมวัตถุดิบทดแทนปูนเม็ดได้ เป็นต้น
๓.๒ การสร้ า งความเป็ น หุ้น ส่ ว นในการดํ า เนิน งานระดับ เมือ งและองค์ ก รปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
ในการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรการที่ปรากฏในแผนที่นําทางฯ ต้องอาศัยความ
ร่วมมือจากภาคเมือง ทั้งในขั้นตอนการดําเนินงานและการติดตามผลการดําเนินงาน อาทิ การลดปริมาณขยะ
การจัดการน้ําเสียชุมชน และการลดการใช้พลังงานในครัวเรือน เป็นต้น ที่สําคัญต้องมีการรายงานข้อมูล
กิจกรรมหรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลการดําเนินงานได้อย่าง
ถูกต้องเป็นระยะ ดังนั้น จึงจําเป็นต้องผนวกประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการกําหนด
วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเมือง เร่งสร้างความตระหนักรู้ พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและ
บุคลากรส่วนท้องถิ่น รวมถึง พัฒนาฐานข้อมูลและระบบการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๓ การพั ฒ นาศั ก ยภาพและเพิ่ ม ขี ด ความสามารถของบุ ค ลากรในหน่ ว ยงานที่
เกี่ยวข้อง
ควรมีการประเมิน “Capacity needs and gaps” ของบุคลากรในหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทั้งนี้ ควรมีการจัดทําแผนพัฒนาศักยภาพ
และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การจัดทํา
นโยบายและแผนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การนํานโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ การดําเนิน
โครงการ การใช้แรงงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การติดตามผลการดําเนินงาน เป็นต้น โดยต้องมีการพัฒนา
ศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง
๔. การพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องมือและกลไกในการลดก๊าซเรือนกระจก
๔.๑ กลไกทางการเงิน
๑) การจัดสรรงบประมาณ ให้สํานักงบประมาณสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณแก่
หน่วยงานในการเตรียมความพร้อมและปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการรายมาตรการดังกล่าว โดยควรจัดสรร
งบประมาณอย่างเพียงพอและต่อเนื่องเพื่อดําเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ อาจเป็นการเพิ่มเติม
งบประมาณจากแผนงานเดิมของหน่วยงาน (top up) ให้ครอบคลุมการดําเนินงานในส่วนการลดก๊าซเรือนกระจก
รวมถึ ง พิจ ารณาการจั ด สรรงบประมาณในรู ป แบบบู ร ณาการเชิ งยุ ท ธศาสตร์ ด้ า นการเปลี่ ย นแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ
๒) การขอรับการสนับสนุนทางการเงินภายใต้อนุ สั ญญาสหประชาชาติด้านการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ได้แก่ Green Climate Fund กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก หรือการ
ขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศในรูปแบบพหุภาคีหรือทวิภาคี โดยหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาฯ
สามารถทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินงานรับการสนับสนุนทางการเงินในภาพรวม และให้มีการติดตามผล
การใช้เงินว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ รวมถึงการพิจารณาการให้/การรับการสนับสนุนทางการเงินที่ไม่
ซ้ําซ้อน
๕๔
 
๓) การเพิ่ ม บทบาทของกองทุ น สิ่ ง แวดล้ อ มหรื อ ปรั บ กฎระเบี ย บของกองทุ น
สิ่งแวดล้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขอรับเงินสนับสนุนทั้งเงินให้เปล่าและเงินกู้สําหรับการดําเนิน
โครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรการที่กําหนดไว้ในแผนที่นําทางฯ ได้
๔.๒ การสร้างแรงจูงใจ
๑) การให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ เป็นเครื่องมือที่ภาครัฐใช้เพื่อสนับสนุน
ส่งเสริมให้เอกชนหันมาให้ความสนใจในการมีส่วนร่วม/มีการลงทุนเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก โดยอาจเป็นการให้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีต้นทุน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้บุคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล การลดอัตราภาษี
การลดอัตราอากร การยกเว้นอากรศุลกากร สําหรับเครื่องจักร/วัสดุและอุปกรณ์สําหรับกระบวนการทํางานที่
ลดก๊าซเรือนกระจกได้ เป็นต้น หรืออาจเป็นมาตรการที่ไม่ใช่การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ การให้รางวัล
หรือการประกาศเกียรติคุณ เป็นต้น
๒) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก และสร้าง
แรงจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การจัดเก็บภาษีมลพิษ การเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้สินค้าที่ก่อมลพิษสูง
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ ระบบมัดจํา-คืนเงิน (Deposit-Refund System) บรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดย
เน้นหลัก 3Rs (Reduce Reuse และ Recycle) การจัดเก็บค่าธรรมเนียมฝังกลบขยะ (Landfill Tax) เป็นต้น
ทั้งนี้ ในระยะต่อไปอาจพิจารณาผสมผสานการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์กับเครื่องมือกํากับและควบคุม
และเครื่องมือทางสังคม เช่น ในการลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม ควรใช้ทั้งการสร้างความตระหนัก มาตรการ
บังคับและจูงใจกับประชาชน โดยมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านการศึกษา สื่อต่างๆ รวมทั้ง มีการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกและโฟม การห้ามใช้ในระดับองค์กร และสนับสนุนทางเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้
เป็นต้น
๔.๓ การสนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกทั้งภาครัฐและเอกชน
เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสําคัญ การจัดทํา
ฐานข้อมูล technology roadmap ตลอดจนการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จะเป็นประโยชน์ในการ
ประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบาย ระดับองค์กร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้ง
ยังเป็นการขยายโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สากลสําหรับเทคโนโลยีด้านการลด
ก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของและเป็นผู้นําในการพัฒนาได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถ
เข้าถึงกลไกการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศได้ โดยสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
ทําหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางด้านพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ของประเทศไทย (National Designated Entity: NDE) ได้ดําเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านทางศูนย์เทคโนโลยีภูมิอากาศและเครือข่าย (Climate Technology Centre and
Network: CTCN) และอยู่ระหว่างการจัดทํา Technology Roadmap และฐานข้อมูลเทคโนโลยีสําหรับการ
ลดก๊าซเรือนกระจก
๕๕
 
๔.๔ การใช้เกณฑ์มาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการติดฉลากอุปกรณ์
การกําหนดเกณฑ์มาตรฐานเป็นการสร้างความตระหนักและการควบคุมให้ผู้บริโภค
ได้เลือกใช้/เลือกการบริการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ํา และยังเป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการตื่นตัว
และมีการแข่งขัน ตลอดจนเกิดการปรับปรุงกระบวนการ/การให้บริการให้มีประสิทธิภาพ และปล่อยก๊าซเรือน
กระจกในระดับต่ํา ทั้ง นี้ ใ นสาขาพลังงาน ตามแผน EEP2015 ในกลยุ ท ธ์ภาคบั งคั บ ได้กําหนดมาตรการ
“มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์” ไว้ด้วย โดยหากสามารถผนวกมาตรฐาน/การกําหนด
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรฐาน/ฉลากด้านพลังงานได้ก็จะเป็นการควบคุมการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
๔.๕ การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grids)
การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grids) มีความสําคัญต่อการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานทดแทน กล่าวคือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจะเป็นไปได้ตามแผนที่กําหนดไว้นั้น ต้องมี
การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะควบคู่ด้วย ถึงแม้โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ จะไม่ส่งผลให้เกิดการลดก๊าซเรือน
กระจกโดยตรง แต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า รองรับการผลิต/การพัฒนา/ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานหมุนเวียน อีกทั้ง เป็นการดําเนินการเพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะยาว
โดยที่ยังสามารถรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า คุณภาพของพลังงานไฟฟ้า และการปฏิบัติการของระบบที่มี
ประสิทธิภาพได้ ในการนี้ประเทศไทย โดยกระทรวงพลังงานได้จัดทําแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่าย
สมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๗๙ และได้เริ่มการดําเนินการตามแผนดังกล่าวแล้ว
๔.๖ การศึกษาแนวทางปรับปรุงแก้ไขหรือการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุน
การลดก๊าซเรือนกระจก
การนํามาตรการลดก๊าซเรือนกระจกไปปฏิบัติ ตลอดจนการติดตามผลการดําเนินการ
อาจมีข้อกําหนดด้านกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม อาทิ กระบวนการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า
(พลังงานทดแทน) และอาจจะมีความจําเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกใน
การดํา เนิน งาน/กิจ กรรมที่เกี่ยวข้อ งกับ การลดก๊า ซเรือ นกระจก อาทิ การเข้า ถึงข้อมูลที่ใช้ในการติดตาม
ประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก ในการดําเนินการที่ผ่านมา สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ อบก.
ได้มีการศึกษากฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว จึงควรมีการต่อยอดการศึกษาดังกล่าว
ทําการศึกษาด้านกฎหมายเพิ่มเติมในเชิงลึกถึงแนวทางการปรับปรุงกฎหมายหรือจัดทําข้อเสนอแนะแนวทางการ
ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการดําเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกต่อไป
๔.๗ การจัดทําระบบการรายงานข้อมูลและระบบการติดตามผลการดําเนินงาน
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีโครงสร้างการดําเนินงานและระบบการติดตามผลการลด
ก๊าซเรือนกระจกสําหรับการดําเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate
Mitigation Actions หรือ NAMAs) ที่ประเทศไทยได้ดําเนินการโดยสมัครใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในประเทศ ร้อยละ ๗ ถึง ๒๐ ในภาคพลังงานและภาคการขนส่งให้ต่ํากว่าระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน
การดําเนินงานตามปกติ (Business as usual: BAU) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ.๒๐๒๐) มาตรการ NAMA ได้แก่
๕๖
 
๑) การผลิ ต ไฟฟ้ า จากพลั ง งานทดแทน ๒) การใช้ แ ก๊ ส โซฮอล์ ๓) การใช้ ไ บโอดี เ ซล ๔) การปรั บ ปรุ ง
ประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และ ๕) การผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทน สําหรับการการติดตามผล
การดําเนินการ กระทรวงพลังงาน โดยคณะทํางานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ
กระทรวงพลังงาน ได้แต่งตั้งคณะทํางานย่อยด้านวิชาการก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงาน ประกอบด้วยผู้แทน
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงพลังงาน ผู้แทนจาก สผ. และ อบก. ทําหน้าที่พิจารณา ๑) โครงสร้าง
กระบวนการ MRV ของกระทรวงพลัง งาน ๒) วิธีก ารคํา นวณ (Methodology) และ ๓) กํา หนดค่า
Coefficient/Emission Factor โดยจะรายงานผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการ NAMA ไปยัง
คณะทํางานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน เพื่อจัดทํารายงานการลด
ก๊าซเรือนกระจกและรับรองผลการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจก และส่งรายงานดังกล่าวไปยังอนุกรรมการ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการและฐานข้อมูล /คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศแห่งชาติผ่าน สผ. เพื่อพิจารณาเห็นชอบและรับรองรายงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในรายงาน
แห่งชาติ (National Communication: NC) และรายงานรายสองปี (Biennial Update Report: BUR) ต่อไป
ในการนี้ สามารถใช้โครงสร้าง/กลไกการดําเนินงานดังกล่าวเป็นพื้นฐานการพัฒนาระบบการติดตามผลการ
ดําเนินงานในทุกมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกตามสาขา NDC ได้
ทั้งนี้หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานสนับสนุนในแต่ละขั้นตอนในระยะเตรียม
ความพร้อมแสดงดังตารางที่ ๖ – ๑
ตารางที่ ๖ – ๑ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานสนับสนุนการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอนในระยะ
เตรียมความพร้อม
ขั้นตอน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานสนับสนุน
๑. การจัดทําแผนปฏิบัติการลด หน่วยงานรับผิดชอบหลักในแต่ละ หน่วยงานสนับสนุนการดําเนินการใน
ก๊าซเรือนกระจกรายมาตรการ มาตรการลดก๊าซเรือนกระจก แต่ละมาตรการในการลดก๊าซเรือน
(ตารางที่ ๕ - ๑) กระจก (ตารางที่ ๕ -๑)

๒. การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ทุก สส. (ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง สผ. อบก. ร่วมกับหน่วยงาน


ภาคส่วนเพื่อสร้างความตระหนักถึง Article 6 of the convention ของ รับผิดชอบหลักในรายมาตรการ
ความสําคัญของแผนที่นําทางฯ ประเทศ) การลดก๊าซเรือนกระจก
และการลดก๊าซเรือนกระจก
๓. การพัฒนาศักยภาพและการสร้าง
ความเป็นหุ้นส่วนในการดําเนินงาน
๓.๑ การสร้างความเป็นหุ้นส่วนใน สส. (ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง สผ. อบก.
การดําเนินงานระหว่างภาครัฐและ Article 6 of the convention ของ
เอกชน ประเทศ)
 
๕๗
 
ตารางที่ ๖ – ๑ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานสนับสนุนการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอนในระยะ
เตรียมความพร้อม (ต่อ)
ขั้นตอน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานสนับสนุน
๓.๒ การสร้างความเป็นหุ้นส่วนใน สส. (ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง สผ. อบก.
การดําเนินงานระดับเมืองและองค์กร Article 6 of the convention ของ
ปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศ)
๓.๓ การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีด สส. (ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง สผ. อบก.
ความสามารถของบุคลากรในหน่วยงาน Article 6 of the convention ของ
ที่เกี่ยวข้อง ประเทศ) ร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
ในรายมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก
๔. การพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพการ
ใช้เครื่องมือและกลไกในการลดก๊าซ
เรือนกระจก
๔.๑ การให้การสนับสนุนทางการเงิน - สํานักงบประมาณ - กรมองค์การระหว่างประเทศ
(เช่น กองทุน GCF หรือการรับการ - ส ผ . ( ก อ ง ทุ น / ก ล ไ ก ก า ร รั บ ก า ร - สบน.
สนับสนุนจากต่างประเทศ) สนับสนุนภายใต้ UNFCCC และความ
ร่วมมือระหว่างประเทศ)
- สนพ. / พพ. (มาตรการตามแผน
EEP2015)
๔.๒ การสร้างแรงจูงใจ (เช่น การให้ - สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ - สผ. อบก.
สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการ) ลงทุน (Board of Investment, BOI) - ร่วมกับ พน./ สนพ./ พพ. ต่อ
- กรมสรรพากร ยอดจากการให้สิทธิประโยชน์ทาง
- กรมศุลกากร ภาษี (Tax Incentive) เพื่อการ
อนุรักษ์พลังงาน
๔.๓ การสนับสนุนการวิจัย - สวทน. - ร่วมกับ พน./ สนพ./ พพ. ต่อ
เทคโนโลยีที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง - วช. ยอดจากการวิจัยส่งเสริม
ภาครัฐและเอกชน การศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยี
อนุรักษ์พลังงาน
- หน่วยงานรับผิดชอบหลักในราย
มาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก
ตลอดจนผู้ประกอบการ/เอกชนที่
เกี่ยวข้อง
 
 

 
๕๘
 
ตารางที่ ๖ – ๑ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานสนับสนุนการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอนในระยะ
เตรียมความพร้อม (ต่อ)
ขั้นตอน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานสนับสนุน
๔.๔ การใช้เกณฑ์มาตรฐานการ - อบก. (ต่ อ ยอดการดํ า เนิ น การจาก - สมอ.
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการติดฉลาก ฉลากคาร์บอน) - ผู้ประกอบการ/อุตสาหกรรมที่
อุปกรณ์ - พพ. กฝผ. ร่วมกับ อบก. (ต่อยอดการ เกีย่ วข้อง
ดําเนินงานจากเกณฑ์มาตรฐานและ - หน่วยงานรับผิดชอบหลักในราย
ฉลากด้านพลังงาน) มาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก
- สส. (การสร้างความตระหนักใน
การเลือกใช้จากกลุ่มผู้บริโภค)
๔.๕ การศึกษาแนวทางปรับปรุงหรือ - สผ. ร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบหลักใน
การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อ - อบก. รายมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก
สนับสนุนการดําเนินงาน - สกว. ตลอดจนผู้ประกอบการ/เอกชนที่
เกี่ยวข้อง
๔.๖ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart เป็นการดําเนินงานที่มีผู้รับผิดชอบอย่าง - สวทน. และ วช. ให้การสนับสนุน
Grids) ชัดเจนตามแผนฯ ของกระทรวงพลังงาน การวิจัยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด (กฟผ. กฟน.
กฟภ.)
๔.๗ การจั ด ทํ า ระบบการรายงาน - ส ผ . ( ห น่ ว ย ป ร ะ ส า น ง า น ก ล า ง - ท้องถิน่
ข้ อ มู ล และระบบการติ ด ตามผลการ UNFCCC ทําหน้าที่ในการจัดทําและ - ผู้ประกอบการ/เอกชนที่เกี่ยวข้อง
ดําเนินงาน จัดส่ง NC BUR) ที่ดําเนินมาตรการลด
- อบก. ก๊าซเรือนกระจก
- พน. คพ. กรอ. (หน่ ว ยประสานงาน
กลางข้อมูลกิจกรรมการปล่อยและการ
ลดก๊าซเรือนกระจกสาขา IPCC)
- สกพ. จัดทําศูนย์ข้อมูลการผลิตไฟฟ้า
ข อ ง ภ า ค รั ฐ แ ล ะ เ อ ก ช น สํ า ห รั บ
กระบวนการ MRV ตามมาตรการลด
ก๊าซเรือนกระจก

๕. การติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อม
๕.๑ ให้หน่วยงานรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินการในช่วงระยะเตรียมความพร้อม
(ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๓) ทุกๆ ๖ เดือน ต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แห่งชาติ โดยอาจจัดตั้งคณะทํางานย่อยเพื่อทําหน้าที่ทวนสอบผลการดําเนินงานดังกล่าว
๕๙
 
๕.๒ ให้ สผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทํารายงานความก้าวหน้าเผยแพร่แก่สาธารณชน
ทราบเป็ น ระยะ เพื่ อ เป็ น การสร้ า งความตระหนัก และรั บ ทราบบทบาทของประเทศในการมีส่ ว นร่ว มกั บ
ประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง

ระยะที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ ระยะดําเนินการ


๑. การกํากับการดําเนินงานและการติดตามผลการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง
๑.๑ ใช้กลไกระดับชาติ ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แห่งชาติ ทําหน้าที่กํากับและติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก
ที่ประเทศไทยกําหนดไว้ โดยให้หน่วยงานรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินการ (ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๔ –
๒๕๗๓) ทุกๆ ๖ เดือน และเมื่อเริ่มดําเนินการ NDC แล้ว ให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักติดตามและรายงานผล
การลดก๊าซเรือนกระจกปีละ ๑ ครั้ง ตามคู่มือ/แนวทางที่กําหนด (มาตรการและปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก
รายปีแสดงดังตารางที่ ๖ -๓) โดยอาจจัดตั้งคณะทํางานย่อยเพื่อทําหน้าที่ทวนสอบผลการดําเนินงานดังกล่าว
๑.๒ ให้ สผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทํารายงานความก้าวหน้าเผยแพร่แก่สาธารณชน
ทราบเป็ น ระยะ เพื่ อ เป็ น การสร้า งความตระหนัก และรั บ ทราบบทบาทของประเทศในการมี ส่ ว นร่ ว มกั บ
ประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง
๒. การทบทวนเป้าหมาย NDC
การดําเนินการ NDC เป็นการดําเนินงานระยะยาว โดยระหว่างการดําเนินการ NDC
สถานการณ์ของประเทศอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การปรับปรุงแผนพลังงานหลัก การปรับตัวของราคา
น้ํามัน/เชื้อเพลิง และอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งที่ส่งผลในทางบวกและทางลบ
โดยอาจจะกระทบต่อการดําเนินงานตามที่ได้กําหนดไว้ในแผนที่นําทางฯ อีกทั้ง ความตกลงปารีสได้ระบุไว้ว่า
ภาคีความตกลงสามารถปรับ NDC ได้ทุกเมื่อ โดยให้แสดงถึงความก้าวหน้าหรือเป็นการยกระดับการดําเนินการ
ในระยะต่อไปจึงอาจมีการทบทวนและปรับปรุงเป้าหมาย NDC ฉบับใหม่
ทั้งนี้ ประเทศไทย โดย สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับ สผ. อยู่ระหว่างการดําเนิน
โครงการศึกษาศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกสาขาเกษตร ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดยคาดว่าการดําเนินงานจะ
แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ และสําหรับสาขาการใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพัฒนายุทธศาสตร์เรดด์พลัสแห่งชาติ และ
พัฒนารูปแบบระดับการปล่อยอ้างอิง ภายใต้แผนงานความร่วมมือสหประชาชาติด้านการลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกจากการทําลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ในประเทศกําลังพัฒนา (UN-REDD) โดยหากผล
การดําเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ และผ่านความเห็นชอบจากกลไกระดับนโยบายแล้วว่าสาขาเกษตรและสาขา
การใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้นั้นมีศักยภาพ ความพร้อม และสามารถติดตามผลการดําเนินการได้ตาม
แนวทางที่ได้รับการยอมรับจากสากล ประเทศไทยก็สามารถปรับ NDC ฉบับปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมเป้าหมายการ
๖๐
 
ลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาดังกล่าวได้ โดยอาจจะส่งเป็น NDC ฉบับปรับปรุง หรืออาจจะเป็นการผนวกการ
ดําเนินการของ ๒ สาขาดังกล่าวใน NDC ฉบับถัดไปของประเทศไทย
สําหรับกระบวนการทบทวน/จัดทํา NDC ของประเทศไทยฉบับใหม่ ให้ สผ. เริ่ม
ดําเนินการในปี พ.ศ.๒๕๖๖ (ค.ศ.๒๐๒๓) เพื่อที่ประเทศไทยจะได้ส่ง NDC ฉบับปรับปรุงหรือ NDC ฉบับใหม่
ไปยังสํานักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ในปี พ.ศ.๒๕๖๘ (ค.ศ.๒๐๒๕) ตามรอบการให้จัดทํา และจัดส่ง NDC ทุกๆ ๕ ปี
ตามที่ได้กําหนดไว้ในความตกลงปารีส
๖๑
 

ตารางที่ ๖ - ๓ มาตรการและปริมาณการลดก๊าซเรือนประจกรายปี
หน่วย: ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-CO2eq)
พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกรายปี 13.99 19.12 25.15 31.03 36.03 40.32 47.41 56.78 65.71 72.45 77.36 84.72 94.28 103.42 110.72 115.60
สาขาพลังงาน 13.99 19.00 24.90 30.64 35.50 39.63 46.56 55.77 64.54 71.10 75.83 82.99 92.34 101.28 108.35 113.00
การผลิตไฟฟ้า 9.13 10.23 11.33 12.42 13.52 14.62 15.83 17.43 18.92 20.00 20.71 21.37 22.03 22.68 23.34 24.00
๑.มาตรการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า 0.51 0.98 1.45 1.92 2.40 2.87 3.46 4.05 4.65 5.24 5.84 5.87 5.90 5.93 5.97 6.00
๒. มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 8.62 9.25 9.87 10.50 11.12 11.75 12.37 13.38 14.28 14.76 14.87 15.50 16.13 16.75 17.38 18.00
การใช้พลังงานในครัวเรือน 0.69 0.88 1.07 1.26 1.45 1.63 1.89 2.16 2.38 2.59 2.82 3.05 3.29 3.53 3.76 4.00
๓. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน 0.49 0.63 0.77 0.91 1.05 1.19 1.39 1.60 1.75 1.90 2.06 2.21 2.35 2.50 2.64 2.79
ครัวเรือน
พลังงาน

๔. มาตรการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน 0.20 0.25 0.29 0.34 0.39 0.44 0.50 0.57 0.63 0.69 0.76 0.85 0.94 1.03 1.12 1.21
การใช้พลังงานในอาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคาร 0.09 0.11 0.13 0.15 0.17 0.19 0.26 0.34 0.41 0.48 0.56 0.65 0.73 0.82 0.91 1.00
รัฐ)
๕. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน 0.09 0.11 0.13 0.15 0.17 0.19 0.26 0.34 0.41 0.48 0.56 0.65 0.73 0.82 0.91 1.00
อาคาร
การใช้พลังงานในอุตสาหกรรม 1.78 4.07 6.41 8.80 11.27 13.82 16.31 18.96 21.77 24.76 27.92 30.66 33.54 36.54 39.99 43.00
๖. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน 0.04 0.39 0.79 1.24 1.76 2.38 3.42 4.53 5.71 6.95 8.27 8.82 9.36 9.91 10.45 11.00
อุตสาหกรรม
๗. มาตรการใช้พลังงานทดแทนในอุตสาหกรรม 1.73 3.68 5.62 7.56 9.50 11.45 12.89 14.43 16.07 17.81 19.65 21.85 24.17 26.63 29.54 32.00
คมนาคมขนส่ง 2.30 3.72 5.98 8.01 9.10 9.37 12.26 16.89 21.05 23.27 23.83 27.26 32.76 37.70 40.34 41.00
๘. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการ 1.74 2.81 4.52 6.06 6.88 7.08 9.27 12.77 15.92 17.60 18.02 20.61 24.77 28.51 30.50 31.00
ขนส่ง
๙. มาตรการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสําหรับยานพาหนะ 0.56 0.91 1.46 1.95 2.22 2.28 2.99 4.12 5.14 5.68 5.81 6.65 7.99 9.20 9.84 10.00
๖๒
 

ตารางที่ ๖ - ๓ มาตรการและปริมาณการลดก๊าซเรือนประจกรายปี (ต่อ)


หน่วย: ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-CO2eq)
พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
ค.ศ. 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028 2029 2030
สาขาของเสีย 0.00 0.10 0.21 0.32 0.43 0.56 0.68 0.81 0.94 1.08 1.22 1.36 1.52 1.68 1.83 2.00
การจัดการขยะ 0.00 0.07 0.14 0.21 0.28 0.36 0.44 0.53 0.61 0.70 0.79 0.89 0.99 1.09 1.19 1.30
๑๐. มาตรการลดปริมาณขยะ
การจัดการน้ําเสีย 0.00 0.04 0.07 0.11 0.15 0.20 0.24 0.28 0.33 0.38 0.43 0.48 0.53 0.59 0.64 0.70
ของเสีย

๑๑. มาตรการเพิม่ การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้าํ เสีย


อุตสาหกรรมด้วยการนําก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์
๑๒. มาตรการจัดการน้าํ เสียอุตสาหกรรมอื่นๆ
๑๓. มาตรการจัดการน้าํ เสียชุมชน
สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ 0.00 0.00 0.01 0.02 0.04 0.06 0.11 0.15 0.20 0.25 0.30 0.35 0.41 0.48 0.54 0.60
ผลิตภัณฑ์
การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
IPPU

๑๔. มาตรการทดแทนปูนเม็ด 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.03 0.06 0.09 0.12 0.15 0.18 0.21 0.24 0.27 0.30
๑๕. มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทําความเย็น 0.00 0.00 0.01 0.02 0.04 0.06 0.08 0.09 0.11 0.13 0.15 0.17 0.20 0.23 0.26 0.30
๖๓
 

ภาคผนวก ก
แผนภาพแผนที่นําทางในภาพรวม
แผนทีน่ ําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2573
การดําเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
พ.ศ. 2535 2557 2558 2559 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573
(ค.ศ. 1992) (2014) (2015) (2016) (2020) (2021) (2022) (2023) (2024) (2025) (2026) (2027) (2028) (2029) (2030)
ช่วงดําเนินการ NDC
ช่วงเตรียมความพร้อม NDC
สผ. - จัดทํา NDC Roadmap, MRV Framework ข้อเสนอศักยภาพและมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนงานหลักของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมาายลดก๊าซเรือนกระจกจจากทุกภาคส่วน เท่ากับ 115.6 ล้านตันคาร์บอนนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-CO2e) หรือ 20.8%


และแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน สาขาพลังงานและขนส่ง
ว่าด้วย

หน่วยงาน - จัดทําแผนฏิบัติการตามมาตรการ หนวยงานหลก:


น่ ย น ั กระทรวงพลงงาน
ร ร พ ั น กระทรวงคมนาคม
ร ร มน ม
ที่เกี่ยวข้อง ที่รับผิดชอบ และเตรียมความพร้อม
การเปลี่ยนแปปลงสภาพภูมิอากาศ
ญญาสหประชาชาติ

การผลิตไฟฟ้า (24 Mt-CO2e) 4.3% การใช้พลังงานในครัวเรือน (4 Mt-CO2e) 0.7% คมนาคมขนส่ง (41 Mt-CO2e) 7.4%
กลไกเพื่อสนับสนุนการขับเคลือ่ น
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 1. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน 1. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้

113 Mt-CO2e (20.4%)


ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้ 2. มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ครัวเรือน พลังงานในการคมนาคมขนส่ง
2. มาตรการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน 2. มาตรการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสําหรับ
ยานพาหนะ
เข้าร่วมอนุสญ

ประเทศไทยยื
ไ นื่ INDC โดยมี
โ ีความมุ่งมัน่ ในการลดก๊
ใ า๊ ซเรือื นกระจกร้้อยละ 20 - 25 การใช้
ใ ้พลงงานในอุ
ั ใ ตสาหกรรม (43
( Mt-CO2e))
7.8%

อาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ) (1 Mt-CO2e)


ในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับกรณีดําเนินการปกติ (Business as Usual: BAU) 1. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน 0.2%
อุตสาหกรรม มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
555 111 Mt-CO2
414
479
20% Reduction 2. มาตรการใช้พลังงานทดแทนในอุตสาหกรรม
336 444 at 2030
279 307 •สาขาพลังงานและ
ขนส่ง สาขาของเสีย
และสาขา IPPU
* อยู่ระหว่างศึกษา
สาขาของเสีีย หน่วยงานหลัก: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กรุงเทพมหานคร
(I)NDC
ศักยภาพในการลดก๊าซ
เรือนกระจกในสาขา
เกษตรและป่าไม้ การจัดการขยะ (1.3 Mt-CO2e) 0.2% การจัดการน้ําเสีย (0.7 Mt-CO2e) 0.1%

2 Mt-CO2e (0.3%)
มาตรการลดปริมาณขยะ (เช่น การลด 1. มาตรการเพิ่มการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ําเสีย
อัตราการเกิดขยะ การเพิ่มการรีไซเคิล อุตสาหกรรมด้วยการนําก๊าซมีเทนกลับมาใช้
และ การนําขยะมาใช้ประโยชน์ เป็นต้น) ประโยชน์
2. มาตรการจัดการน้ําเสียอุตสาหกรรมอื่นๆ
แสดงเจตจํานง NAMA โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ 3. มาตรการจัดการน้ําเสียชุมชน
ร้อยละ 7-20 ในสาขาพลังงานและขนส่ง ในปี พ.ศ. 2563 เมื่อเทียบกับกรณี มาตรการเพิ่มเติม:
• การใช้ระบบ
ดําเนินการปกติ (Business as Usual: BAU) รถไฟฟ้าขนส่ง
มวลชน สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ หน่วยงานหลัก: กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Total CO2 emissions (kt-CO2) • การขนส่งสินค้า
มาตรการหลก:
มาตรการหลั ก: ด้วยระบบราง
• การใช้พลังงาน

0.6 Mt-CO2e
• การเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม (0.6 Mt-CO2e)
0.1%

(0.1%)
หมุนเวียน ประสิทธิภาพ
การบินและการ
• การปรับปรุง ขนส่งทางน้ํา 1. มาตรการทดแทนปูนเม็ด
ประสิทธิภาพ • การเพิ่ม 2. มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทําความเย็น
โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ประสิทธิภาพใน
โรงงานควบคุม
• การผลิตไฟฟ้า แนวทางการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล

% จาก BAU
ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ ร้อยละ 10
จากพลังงาน เมื่อเทียบกับ BAU (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ.2557) การจัดทําแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกรายมาตรการ การพัฒนาศักยภาพและการสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการดําเนินงาน การทบทวนเป้าหมาย NDC
ชีวภาพทดแทน การติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อม การกํากับการดําเนินงานและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
• การใช้เอทานอล
การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนัก การพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือและกลไก
และไบโอดีเซลในภาคขนส่ง
สาขาเกษตรและป่าไม้ อยู่ระหว่างการศึกษาศักยภาพ
๖๕
 

ภาคผนวก ข
INDC ประเทศไทย ฉบับจัดส่งไปยัง
สํานักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๖๖
 
๖๗
 
๖๘
 
๖๙
 
๗๐
 
๗๑
 
๗๒
 
๗๓
 

ภาคผนวก ค
คําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
๗๔
 
๗๕
 
๗๖
 
๗๗
 
๗๘
 
๗๙
 

ภาคผนวก ง
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
๘๐
 
๘๑
 
๘๒
 
๘๓
 
๘๔
 
๘๕
 
๘๖
 
๘๗
 
๘๘
 
๘๙
 
๙๐
 
๙๑
 
๙๒
 
๙๓
 
๙๔
 
๙๕
 
๙๖
 
๙๗
 
ภาคผนวก จ
อักษรย่อหน่วยงาน

สผ. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สปอ. สํานักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สศช. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สนพ. สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน
สกพ. สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน
อบก. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
พพ. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กฟภ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กฟน. การไฟฟ้านครหลวง
สศก. สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
อปท. องค์กรปกครองท้องถิ่น
คพ. กรมควบคุมมลพิษ
สมอ. สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สส. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรอ. กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กนอ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สนข. สํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
รฟท. การรถไฟแห่งประเทศไทย
กทม. กรุงเทพมหานคร
คค. กระทรวงคมนาคม
สถ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สบน. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
พน. กระทรวงพลังงาน
สวทน. สํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
วช. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สกว. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

You might also like