TSAN Orientation Handbook

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 64

สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

THAI STUDENT ASSOCIATION IN THE NETHERLANDS

คู่มือนักเรียนไทยในเนเธอร์แลนด์
ORIENTATION HANDBOOK
FOR THAI STUDENTS IN THE NETHERLANDS

August,2018
ORIENTATION
HANDBOOK
FOR THAI STUDENTS IN THE NETHERLANDS

August,2018
ดำ�เนินการผลิตโดย
สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ส.น.ท.น.)
Thai Student Association in the Netherlands (TSAN)
Laan Copes van Cattenburch 123, 2585 EZ The Hague
www.thaistudents-nl.com

ที่ปรึกษา
ORIENTATION HANDBOOK

ฝ่ายการศึกษาและดูแลนักเรียนทุน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก

คณะผู้จัดทำ�
บรรณาธิการ
ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล
ชุติมา คำ�ดี
กองบรรณาธิการ
นาอีม แลนิ
กัลย์สุดา สดสี
ญาดา ผลึกมณฑล
คริกา สัตยาไชย
พิมพ์ลดา เบญจวุฒิเศรษฐ์
ศศิรดา วิบูลย์สันติพงศ์
สิริโรจน์ กาญจนพรปรีชา
วศิน ผลชีวิน
จิรัญญา บางประภา
พุฒิชัย ทุ่งทอง
สิรภพ มัชฌเศรษฐ์
พีระวัฒน์ พยัคฆมาศ
พิสูจน์อักษร
ศิรศักย เทพจิต
ออกแบบกราฟิก
พลพัฒน์ นิลอุบล
มณีนุช ตั้งสัมฤทธิ์กุล
พัชรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล

ภาพประกอบ
อัครชัย สมหวังประเสริฐ
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
คำ�นิยม
คำ�นำ�
5

ORIENTATION HANDBOOK
15 ข้อมูลเบื้องต้นของเนเธอร์แลนด์
1.1 สภาพภูมิประเทศ
1.2 สภาพภูมิอากาศ
1.3 จำ�นวนประชากร
1.4 เมืองสำ�คัญ
1.5 ศาสนา
1.6 สกุลเงิน
1.7 วัฒนธรรมของชาวดัตช์

19 ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางสู่เนเธอร์แลนด์
2.1 การขอวีซ่าสำ�หรับนักศึกษา
2.2 เอกสารสำ�คัญที่ต้องเตรียมมาจากไทย
2.3 การหาที่พักและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.4 การเดินทางสู่เนเธอร์แลนด์
2.5 ประกันสุขภาพของนักศึกษา

35 ข้อมูลสำ�คัญเมื่อเดินทางมาถึงประเทศเนเธอร์แลนด์
3.1 การลงทะเบียนที่พักในเนเธอร์แลนด์และเลข BSN number
3.2 การขอรับวีซ่าการพำ�นัก (Residence Permit)
3.3 การตรวจร่างกาย
3.4 วิธีการเปิดบัญชีธนาคาร
ORIENTATION HANDBOOK

6
สารบัญ
43 ข้อมูลอื่น ๆ สำ�หรับการใช้ชีวิตในประเทศเนเธอร์แลนด์
4.1 การเดินทาง
7
4.2 ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่าง ๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์
4.3 การหารายได้เสริมสำ�หรับนักเรียนไทยในเนเธอร์แลนด์

ORIENTATION HANDBOOK
4.4 การรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย
4.5 เครือข่ายโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
4.6 แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ
4.7 การติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์

59 เมื่อสำ�เร็จการศึกษา
5.1 ขั้นตอนเมื่อสำ�เร็จการศึกษา
5.2 เว็ปไซต์หน่วยงานสำ�คัญ
ORIENTATION HANDBOOK

8
กิตติกรรมประกาศ

สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Thai Student Asso-


ciation in the Netherlands หรือ TSAN) ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์
ของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮกที่ให้ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำ�หรับ 9
การจัดพิมพ์ Orientation handbook หรือคู่มือนักเรียนไทยในเนเธอร์แลนด์

ORIENTATION HANDBOOK
ในครั้งนี้ และขอขอบคุณ นัฟฟิค เนโซ ประเทศไทย (Nuffic Neso Nether-
lands Education Support Office) ที่ช่วยเผยแพร่คู่มือนักเรียนไทยฯ ต่อ
นักเรียนที่กำ�ลังจะมาศึกษาต่อในประเทศเนเธอร์แลนด์

คณะผู้จัดทำ�
ORIENTATION HANDBOOK

10
คำ�นิยม

สวัสดีและยินดีต้อนรับนักเรียนใหม่ทุกท่านสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์นะคะ
ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้มีการจัดทำ� Orientation handbook หรือคู่มือนักเรียน-
ไทยในเนเธอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถ 11
อำ�นวยความสะดวกต่อนักเรียนไทยที่กำ�ลังจะมาศึกษาต่อ กำ�ลังศึกษาอยู่

ORIENTATION HANDBOOK
หรือกำ�ลังจะสำ�เร็จการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์

ในนามของนายกสมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
วาระปี พ.ศ. 2560-2561 ตัวแทนของคณะผู้จัดทำ� พวกเราหวัง
เป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนใหม่ทุกท่าน
สำ�หรับใช้ประกอบการเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการเอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง การปรับตัวในการใช้ชีวิตประจำ�วัน การทำ�ความเข้าใจกับ
วัฒนธรรมและกฎระเบียบต่าง ๆ รวมไปถึงขั้นตอนและข้อแนะนำ�สำ�หรับ
การติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น

ในส่วนของสมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ปีนี้ถือเป็น
ปีที่ 14 ที่ได้มีการก่อตั้งสมาคมฯ ขึ้นมาโดยสมาคมฯ ได้ทำ�หน้าที่เปรียบ
เสมือนองค์กรกลางดำ�เนินการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนไทย
ในเนเธอร์แลนด์ พวกเรามุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ
ระหว่างนักเรียน นักวิชาการ นักวิจัย และคนไทยที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์

สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านประสบความสำ�เร็จกับการศึกษาในประเทศ
เนเธอร์แลนด์ และหวังว่าท่านจะได้รับประสบการณ์หนึ่งเดียวที่มีค่า
จากประเทศนี้นะคะ

ภญ. ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล


นายกสมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์วาระปี พ.ศ. 2560-2561
16 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ORIENTATION HANDBOOK

12
คำ�นำ�

การศึกษาต่อต่างประเทศจำ�เป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้นักเรียน
สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทของประเทศนั้น ๆ นักเรียนควรทราบข้อมูล
พื้นฐานของประเทศที่กำ�ลังจะไปศึกษาต่อเพื่อให้การดำ�เนินชีวิตประจำ�วันใน 13
ขณะศึกษาต่อต่างประเทศสะดวกยิ่งขึ้น

ORIENTATION HANDBOOK
สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Thai Student Asso-
ciation in the Netherlands หรือ TSAN) เล็งเห็นความสำ�คัญของข้อมูล
พื้นฐานที่จำ�เป็นเหล่านี้สำ�หรับนักเรียนไทยที่กำ�ลังจะมาศึกษา กำ�ลังศึกษาอยู่
หรือกำ�ลังจะสำ�เร็จการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงได้จัดทำ� Orien-
tation handbook หรือคู่มือนักเรียนไทยในเนเธอร์แลนด์เล่มนี้ขึ้น โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวของนักเรียนไทย
ข้อมูลใน Orientation handbook เล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาสำ�คัญ
5 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศเนเธอร์แลนด์ (2) ข้อมูลเตรียม
ความพร้อมก่อนเดินทางสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ (3) ข้อมูลสำ�คัญเมื่อเดินทาง
มาถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ (4) ข้อมูลอื่น ๆ สำ�หรับการใช้ชีวิตในประเทศ
เนเธอร์แลนด์ และ (5) ข้อมูลเมื่อสำ�เร็จการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์

ทางคณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Orientation handbook เล่มนี้จะเป็น


ประโยชน์ต่อนักเรียนไทยทุกท่านในการดำ�เนินชีวิตในประเทศเนเธอร์แลนด์
ต่อไป

คณะผู้จัดทำ�
ORIENTATION HANDBOOK

14
1.ข้อมูลเบื้องต้นของเนเธอร์แลนด์1
1.1 สภาพภูมิประเทศ
เนเธอร์แลนด์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
15
(Kingdom of the Netherlands) คำ�ว่า เนเธอร์แลนด์เป็นภาษาดัตช์แปล

ORIENTATION HANDBOOK
ว่า ‘Low Land’ หรือ ‘พื้นที่ต่ำ�’ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเคยเป็น
ทะเลมาก่อน ในอดีตจึงมีการถมทะเลเพื่อสร้างผืนดินเพิ่มเติม เป็นผลให้พื้นที่
ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ต่ำ�กว่าระดับน้ำ�ทะเล
ธงชาติราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 41,543 ตารางกิโลเมตร
เป็นผืนดิน 33,893 ตารางกิโลเมตร 33,893 ตารางกิโลเมตร และเป็นผืนน้ำ�
7,650 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนีและเบลเยียม รวม
ระยะทางทั้งสิ้น 1,027 กิโลเมตร
เนเธอร์แลนด์แบ่งออกเป็น 12 จังหวัด มีพื้นที่จรดหมุดหมายทางภูมิศาสตร์
และประเทศอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันตก ติดกับทะเลเหนือ (North Sea)
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเยอรมนี
ทิศใต้ ติดกับประเทศเบลเยี่ยม

1.2 สภาพภูมิอากาศ
เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเหนือ จึงได้รับอิทธิพลจากกระแส
น้ำ�อุ่น จึงเป็นผลให้ประเทศมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
ยุโรป และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยฤดูกาลของ
เนเธอร์แลนด์จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนและมีอุณหภูมิเฉลี่ย ดังต่อไปนี้
ฤดูใบไม้ผลิ ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 9 – 15 ํC
ฤดูร้อน ช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 20 – 30 ํC
ฤดูใบไม้ร่วง ช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน อุณหภูมิเฉลี่ย 13 – 17 ํC
ฤดูหนาว ช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย -3 – 7 ํC
1
สำ�นักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก, สิงหาคม 2557:
http://www.ditp.go.th/contents_attach/89193/89193.pdf
1.3 จำ�นวนประชากร
เนเธอร์แลนด์มีจำ�นวนประชากรมากกว่า 16.5 ล้านคน ประชากรใหญ่ของ
ประเทศเป็นชนชาติดัตช์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 78% ของประชากรทั้งหมด
ชนชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคยุโรป 8.9% ชนชาติอินโดนีเซีย 2.1% ชนชาติ
ตุรกี 2.4% ชนชาติสุรินัม 2.1% ชนชาติโมร็อกกัน 2.2% และชนชาติอื่น ๆ
จากแถบทะเลแคริบเบียน 0.9% ในส่วนของชาวไทยในเนเธอร์แลนด์นั้นมี
ประมาณ 20,000 คน คิดเป็นสัดส่วน 0.01%

16
1.4 เมืองสำ�คัญ
เนเธอร์แลนด์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 จังหวัด ซึ่งแต่ละเมืองมีเสน่ห์
ORIENTATION HANDBOOK

อันเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป โดยมี 4 เมืองสำ�คัญ หรือเรียกรวมกันว่า


Randstad Region ได้แก่ กรุงอัมสเตอร์ดัม กรุงเฮก รอตเตอร์ดัม และอูเทร็ค
(1) กรุงอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์
(2) กรุงเฮก (The Hague) เป็นเมืองราชการที่ตั้งของที่ทำ�การรัฐบาล หน่วย
งานราชการ เป็นที่ประทับประจำ�ของพระราชินีและพระราชวงศ์สถาน
เอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ
(3) รอตเตอร์ดัม (Rotterdam) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 และเป็นเมืองท่าที่ใหญ่
ที่สุดในภูมิภาคยุโรป
(4) อูเทร็ค (Utrecht) เป็นเมืองศูนย์กลางด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์แห่งใหม่
ศูนย์กลางการศึกษาและแหล่งกระจายสินค้า

17
1.5 ศาสนา

ORIENTATION HANDBOOK
ในบรรดาศาสนาหลัก ประชากรส่วนใหญ่คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยคิด
เป็นสัดส่วน 29% ของประชากร รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
คิดเป็นสัดส่วน 15% ตามมาด้วยศาสนาอิสลาม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 5%
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ประชากรจำ�นวนมากที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ โดยคิด
เป็นสัดส่วน 42%

1.6 สกุลเงิน
เนื่องจากเนเธอร์แลนด์สมาชิกของสหภาพยุโรป (European union) ซึ่งมี
ข้อตกลงในการใช้สกุลเงินเดียวกัน ดังนั้น สกุลเงินที่ใช้ คือ ยูโร (EUR) มีอัตรา
แลกเปลี่ยนประมาณ 38-40 บาท ต่อ 1 ยูโร
สกุลเงิน Euro
1.7 วัฒนธรรมของชาวดัตช์
ชาวดัตช์ส่วนใหญ่จะเป็นคนอารมณ์ดี อัธยาศัยดีและเป็นคนพูดตรงไปตรงมา
เวลาเดินสวนกันมักจะทักทายและยิ้มให้กันเสมอ ภาษาราชการของเนเธอร์แลนด์
คือ ภาษาดัตช์ (Dutch) แต่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถสื่อสารเป็น
ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักศึกษาสามารถที่จะใช้ภาษาอังกฤษใน
การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำ�วันได้
การนัดหมายเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างยิ่งสำ�หรับชาวดัตช์ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อทาง
ราชการหรือการพบปะกันเนื่องในโอกาสทั่วไป จะต้องทำ�การนัดหมายกันก่อน
ทุกครั้ง และที่สำ�คัญต้องตรงต่อเวลาที่นัดหมายเพื่อเป็นมารยาทและแสดงถึง
ความพร้อมของอีกฝ่าย
วัฒนธรรมของชาวดัตช์
ORIENTATION HANDBOOK

18
2.ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางสู่
เนเธอร์แลนด์

2.1 การขอวีซ่าสำ�หรับนักศึกษา
สำ�หรับนักศึกษาที่กำ�ลังจะมาศึกษา ศึกษาต่อในเนเธอร์แลนด์เป็นเวลา
นานกว่า 90 วัน และถือสัญชาติไทยหรือพาสปอร์ตไทย (Passport) จะมี 19

ขั้นตอนการขอวีซ่าแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ วีซ่าการพำ�นักประเภทชั่วคราว

ORIENTATION HANDBOOK
หรือ Provisional Residence Permit (MVV) และวีซ่าการพำ�นักหรือ
Residence Permit2

2.1.1 Provisional Residence Permit (MVV)


เริ่มแรกนักศึกษาทุกคนจะต้องของวีซ่าประเภทนี้เพื่อใช้ยื่นเข้าเนเธอร์แลนด์
นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะเรียกวีซ่าประเภทนี้ว่า วีซ่าการพำ�นักประเภท
ชั่วคราว (Provisional Residence Permit) ในภาษาดัตช์เรียกว่า
“Machtiging tot Voorlopig Verblifj” หรือ MVV ซึ่งวีซ่าประเภทนี้
อนุญาตให้พำ�นักในเนเธอร์แลนด์เป็นเวลา 6 เดือน จากนั้นนักศึกษาที่เรียน
หลักสูตรมากกว่า 6 เดือน ต้องนำ�วีซ่า MVV ไปใช้เป็นหลักฐานในการขอ
วีซ่าการพำ�นัก (ข้อ 2.1.2)

การสมัครยื่นคำ�ร้องขอวีซ่าประเภท MVV นั้นใช้เวลาพอสมควร (ประมาณ


6-8 สัปดาห์) ขอแนะนำ�ให้นักศึกษาสมัครยื่นคำ�ร้องล่วงหน้าเป็นเวลา
อย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเดินทางไปเนเธอร์แลนด์ การยื่นคำ�ร้องขอวีซ่า
ประเภท MVV จะดำ�เนินการผ่านทางมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย
จะติดต่อนักศึกษาผ่านอีเมลเพื่อกรอกเอกสารต่าง ๆ และขอเอกสารส่วน
ตัวของนักศึกษา รายละเอียดเอกสารขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยเช่น
เดียวกัน

2
https://www.hotcourses.in.th/study-in-netherlands/visa-guides/applying-
for-a-dutch-student-visa/
ตัวอย่างเอกสารสำ�หรับของวีซ่า MVV (สำ�หรับส่งมหาวิทยาลัย)
(1) สำ�เนาหนังสือเดินทางที่มีอายุ
การใช้งานมากว่า 6 เดือน
(2) ใบยินยอมที่จะตรวจสุขภาพ เพื่อ Declaration TB Testing
ตรวจหาโรควัณโรคภายใน 3 เดือน https://ind.nl/en/Forms/7603.
หลังจากเดินทางไปถึงเนเธอร์แลนด์ pdf
(อย่างไรก็ตาม บางสัญชาติอาจจะได้ TB test referral
รับข้อยกเว้นจากการตรวจสุขภาพ https://ind.nl/en/Forms/7603.
ดังกล่าว) pdf
20
(3) ใบรับรองประวัติส่วนตัว (Ante- Antecentdents certificate
cedents certificate) https://ind.nl/en/Forms/7601.
ORIENTATION HANDBOOK

pdf
(4) เอกสารชี้แจงที่มาของแหล่งเงิน (1) Statement of support (pri-
vate person)
https://ind.nl/en/Documents/
appendix_study_privateper-
son.pdf
(2) Statement of support
(company)
https://ind.nl/en/Documents/
appendix_study_company.pdf
ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะส่งใบแจ้งหนี้ (Invoice) ซึ่งบอกรายละเอียด
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดทั้งหลักสูตร เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก ค่าหนังสือ ค่า
ธรรมเนียมในการขอวีซ่า และค่าใช้จ่ายส่วนตัว (ประมาณการจากค่าครอง
ชีพของแต่ละเมือง) เพื่อให้นักศึกษาชำ�ระเงินทั้งหมดนี้ไปยังบัญชีธนาคารของ
มหาวิทยาลัย พร้อมกับเอกสารชี้แจงที่มาของแหล่งเงิน (Financial state-
ment of support) เช่น ทุนส่วนตัว ทุนสำ�นักงาน หรือทุนอื่น ๆ โดยหลัง
จากนักศึกษาเปิดบัญชีธนาคารในเนเธอร์แลนด์เรียบร้อย ทางมหาวิทยาลัยจะ
โอนเงินในส่วนค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าที่พัก (ในกรณีหาที่พักเอง) คืนเข้าบัญชี
ของนักศึกษา โดยค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่าจะแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น
Leiden University มีค่าธรรมเนียมในการสมัครยื่นคำ�ร้องขอวีซ่าพักอาศัย
ของนักศึกษาอยู่ที่ราคา 304 ยูโร (12,414 บาท)
หลังจากที่นักศึกษายื่นเอกสารกับทางมหาวิทยาลัยเรียบร้อย ประมาณ 1-2
เดือน นักศึกษาจะได้รับใบยืนยันในการขอรับวีซ่าเป็นภาษาดัตช์ (Visa con-
firmation letter) จากมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาต้องนำ�เอกสารดังกล่าว
พร้อมเอกสารอื่น ๆ เพื่อขอรับวีซ่าด้วยตนเอง ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ใน
ประเทศไทย ดังนี้
ตัวอย่างเอกสารสำ�หรับขอวีซ่า MVV
(ยื่นกับสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์)
(1) ใบยืนยันในการขอรับวีซ่าเป็นภาษา
ดัตช์ (Visa confirmation letter)
(2) หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งาน
มากกว่า 6 เดือนและสำ�เนา 2 ฉบับ
สัญญาลักษณ์เนเธอร์แลนด์
(3) แบบฟอร์มการสมัครขอวีซ่า MVV ที่ https://www.govern-
กรอกข้อมูลครบถ้วน ment.nl/documents/
forms/2015/07/30/mvv-issue-
form 21

ORIENTATION HANDBOOK
(4) ประกันสุขภาพนักศึกษา ดู หัวข้อ 2.5
(5) หลักฐานทางการศึกษาที่แสดง
การตอบรับการเป็นนักศึกษาจากทาง
มหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์
(6) รูปถ่ายขนาด 35 x 45 mm. (width https://www.government.
x height) nl/documents/leaf-
lets/2015/01/21/photoma-
trix-guidelines-2007
(7) ในบางกรณีผู้ยื่นขอวีซ่าจะต้องทำ�ข้อ
สอบบูรณาการพลเมือง (Civic Integra-
tion Exam) ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือ
สถานกงสุลเนเธอร์แลนด์ประจำ�ประเทศ
ของคุณ โดยมีค่าธรรมเนียมประมาณ 350
ยูโร (14,292 บาท)

หลังจากนั้น ประมาณ 1-2 สัปดาห์ นักศึกษาสามารถไปรับเล่มพาสปอร์ตคืน


ด้วยตนเองหรือใช้บริการทางไปรษณีย์

ข้อมูลสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำ�ประเทศไทย
แผนกวีซ่า สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำ�ประเทศไทย
15 ซอยต้นสน ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร : 02-309-5200
เวลาทำ�การ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-12.00น
2.1.2 Residence Permit
ในส่วนนี้มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ดำ�เนินการยื่นคำ�ร้องขอวีซ่าการพำ�นักให้
กับนักศึกษา ซึ่งจะดำ�เนินการภายใน 5 วันหลังจากนักศึกษาเดินทางไปถึง
เนเธอร์แลนด์ โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้มอบจดหมายให้กับนักศึกษาเพื่อไป
รับวีซ่าจากสำ�นักงานตรวจคนเข้าเมืองต่างชาติ (Immigratie en Naturalis-
tiedienst: IND) ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากที่คุณเดินทางไปถึงเนเธอร์แลนด์
โดยในจดหมายจะระบุที่อยู่ของ IND ที่นักศึกษาต้องไปรับวีซ่า ซึ่งส่วนใหญ่
อยู่ในเมืองที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ วีซ่าการพำ�นักหรือ Residence Permit ที่
ได้รับจะเป็นรูปแบบบัตร ซึ่งนักศึกษาจะต้องใช้บัตรนี้ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่
เนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ บัตรนี้ยังทำ�ให้นักศึกษามีสิทธิที่จะเดินทางไปยัง
22
ประเทศอื่นในกลุ่มสมาชิกเชงเกนได้อย่างอิสระเป็นเวลานานสุดถึง 90 วันจาก
ทั้งหมด 180 วัน โดยวีซ่าเชงเกนมีอายุการใช้งานจนกว่าจะสำ�เร็จการศึกษา
ORIENTATION HANDBOOK

จากมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์
ทั้งนี้ เมื่อสำ�เร็จการศึกษาแล้ว ทาง IND จะอนุญาตให้ทำ�งานต่อไปอีก 1-3 ปี
หรือ Orientation year highly educated persons โดยสามารถหาข้อมูล
การยื่นขอ Resident permit สำ�หรับวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ตามลิ้งค์ต่อไป
นี้ https://ind.nl/en/Documents/FAQ_orientation_year_highly_edu-
cated_persons.pdf
2.2 เอกสารสำ�คัญที่ต้องเตรียมมาจากไทย
เมื่อนักศึกษาจะมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ นักศึกษาจำ�เป็นต้องเตรียม
เอกสารสำ�คัญติดต่อมากับนักศึกษาเพื่อดำ�เนินการบางอย่างเมื่อเดินทางมาถึงเนเธอร์แลนด์
ซึ่งหากนักศึกษาไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนนั้นอาจจะทำ�ให้ดำ�เนินการต่าง ๆ ล้าช้า เนื่องจาก
ต้องส่งเอกสารมาจากประเทศไทย ทั้งนี้ รายการเอกสารอาจจะมีความแตกต่างกันไปแต่ละ
มหาวิทยาลัย นักศึกษาควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนเดินทาง เอกสารสำ�คัญที่มักจะถูก
เรียกใช้เมื่อเดินทางมาถึงเนเธอร์แลนด์ ได้แก่

เอกสาร วัตถุประสงค์การใช้
ใช้สำ�หรับการลงทะเบียนที่พักหลังจากที่เดินทาง
(1) ใบแปลสูติบัตร (Birth Certifi- 23
cate) มาถึงเนเธอร์แลนด์

ORIENTATION HANDBOOK
(2) ใบแปลปริญญาบัตร ใช้สำ�หรับยืนยันการจบการศึกษากับมหาวิทยาลัย
ที่เข้าศึกษาในเนเธอร์แลนด์ รวมถึงการสมัครงาน
ในอนาคต
(3) ใบแสดงผลการศึกษา ฉบับภาษา ใช้สำ�หรับยืนยันการจบการศึกษากับมหาวิทยาลัย
อังกฤษ (Transcript) ที่เข้าศึกษาในเนเธอร์แลนด์ รวมถึงการสมัครงาน
ในอนาคต

เนื่องจากเอกสารสำ�คัญบางอย่างออกเป็นภาษาไทย เช่น ใบสูติบัตรและใบปริญญาบัตร


นักศึกษาจึงจำ�เป็นต้องแปลเอกสารดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อนเดินทางโดยมีขั้นตอนสำ�คัญ
ดังนี้
(1) การแปล สามารถทำ�ได้ 2 วิธี คือ
(1.1) จ้างนักแปล วิธีนี้สะดวก ไม่เสียเวลา แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูง (ตั้งแต่หลักร้อยหรือพัน
บาทต้นๆ) การจ้างแปลมักจะได้รับการรับรองกระทรวงต่างประเทศลงตรารับรองทันที
เนื่องจากผู้แปลมีความเชี่ยวชาญ
(1.2) แปลเอง วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจจะเสียเวลาแปลเองสักหน่อย หากแปลผิด
กระทรวงการต่างประเทศจะไม่รับรองจนกว่าจะแปลมาให้ถูกต้อง ซึ่งนักศึกษาที่สนใจแปล
เองสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างการแปลมาดูได้จากเว็บกรมกงสุลประเทศไทย (www.
consular.go.th)
(2) การขอลงตรารับรองการแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศของไทย ในขั้นตอนนี้มี
บริการ 2 แบบ คือ
(2.1) แบบด่วน รอรับภายใน 1 วัน คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวของบริการปกติ
เปิดรับเอกสารตั้งแต่เวลา 08.30-09.30 น. และคืนเอกสาร เวลา 14.30-16.30 น.
(2.2) แบบปกติ ใช้เวลาดำ�เนินการ 3 วันทำ�การ นับแต่วันรับคำ�ร้องซึ่งมีเอกสารครบถ้วน
ค่าบริการฉบับละ 200 บาท นักศึกษาสามารถไปส่ง-รับเอกสารด้วยตนเองเองหรือส่งทาง
ไปรษณีย์ ซึ่งการส่งไปรษณีย์จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
(3) การขอรับรองเอกสารการแปลโดยสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์
ประจำ�ประเทศไทย ในขั้นตอนนี้สามารถดำ�เนินการได้ 2 ช่องทาง
(3.1) ผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯโดยตรง โดยในวันที่นักศึกษาไปยื่นขอวีซ่า
MVV ให้เตรียมเอกสารที่ผ่านขั้นตอนทั้ง 2 ขั้นตอนก่อนหน้านี้ไปยังสถานเอก
อัครราชทูตฯ เพื่อขอให้รับรองเอกสารด้วย ค่าธรรมเนียมในการดำ�เนินการ
26.25 ยูโร (หรือ ประมาณ 1,010 บาท) ต่อ 1 ตราประทับรับรองเอกสาร
(3.2) ผ่านศูนย์รับคำ�ร้องขอวีซ่าเนเธอร์แลนด์ซึ่งดำ�เนินการโดย VFS เช่น
เดียวกันให้นักศึกษาเตรียมเอกสารที่ผ่านขั้นตอนทั้ง 2 ขั้นตอนก่อนหน้านี้ไป
ยัง VFS โดยจะมีค่าธรรมเนียนในการดำ�เนินการเพิ่มเติม 478 บาทต่อการรับ
เอกสาร 4 ฉบับ สำ�หรับขั้นตอนการขอรับรองเอกสารการแปลโดยสถานเอก
24
อัครราชทูตฯ จะใช้ระยะเวลาของการรับรองเอกสาร 1 สัปดาห์ของวันทำ�การ
ORIENTATION HANDBOOK

นักศึกษาสามารถไปรับเอกสารด้วยตนเองเองหรือส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งการส่ง
ไปรษณีย์จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ศูนย์รับคำ�ร้องขอวีซ่าเนเธอร์แลนด์
โทร 02-118-7003 Website : http://www.vfsglobal.com/nether-
lands/thailand/Thai/
ติดต่อทางอีเมล : info.nlth@vfshelpline.com
เวลาทำ�การ : 08:30 – 16:00 น.
เจ้าหน้าที่จะรับสายสนทนาตั้งแต่เวลา 08:30 - 12:00 น. และ เวลา 13:00
- 16:00 น ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดประจำ�ปี

2.3 การหาที่พักและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เมื่อนักศึกษาทราบว่ากำ�ลังจะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ สิ่ง
ที่ต้องเตรียมเป็นลำ�ดับแรก ๆ คือ การหาที่พักอาศัยระหว่างการศึกษา โดย
ทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะให้ข้อมูลเรื่องที่พัก เช่น เว็บไซต์ให้ลงทะเบียนเพื่อ
จองที่พักที่มหาวิทยาลัยแนะนำ�หรือที่เป็นของมหาวิทยาลัยเอง อย่างไรก็ตาม
การจองที่พักและการหาข้อมูลที่พักเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของนักศึกษา
เอง
บ้านพักนักศึกษาประเทศเนเธอแลนด์
2.3.1 ช่องทางหลักในการหาที่พัก
(1) หน่วยงานที่จัดหาที่พักให้นักศึกษาต่างชาติที่ติดต่อและสัมพันธ์กับ
มหาวิทยาลัย (Housing for international students)
โดยทั่วไปแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีหน่วยงานประจำ�ที่จัดหาที่พักสำ�หรับ
นักศึกษาต่างชาติ เช่น SSH (Stichting Student Huisvesting) หน่วย
งานเหล่านี้มักจะส่งข้อมูลทางอีเมลโดยตรงถึงนักศึกษา เมื่อมหาวิทยาลัย
ตอบรับการเข้าศึกษา หากไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก สามารถติดต่อสอบถาม
International student office ของมหาวิทยาลัยได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีข้อ-
ยุ่งยากเกี่ยวกับการจองช่องทางนี้ แต่ที่พักที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้มีจำ�นวน
จำ�กัด ทำ�ให้การแข่งขันในการได้ที่พักค่อนข้างสูง ประกอบกับที่พักลักษณะ
25
นี้จะมีระยะสั้น เช่น กำ�หนดให้เช่าได้เพียง 6-12 เดือนเท่านั้น ที่พักลักษณะ
นี้จึงเหมาะกับนักศึกษาที่มาเรียนระยะสั้น หรือเฉพาะปีแรกของหลักสูตร

ORIENTATION HANDBOOK
การศึกษาที่มากกว่า 1 ปี ลักษณะและขนาดที่พักดังกล่าวมีลักษณะเป็นหอพัก
นักศึกษา ส่วนมากเป็นห้องนอนส่วนตัว แต่จะใช้ห้องน้ำ�และห้องครัวร่วมกับ
นักศึกษาอื่นในชั้นหรือโซนเดียวกัน โดยทั่วไปจะมีห้องนั่งเล่นที่เป็นพื้นที่ส่วน
กลาง (Common room) ที่สามารถทำ�ความรู้จักและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
ชาวต่างชาติที่พักด้วยกันได้

ข้อดี ข้อเสีย
• เป็นระบบและมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ • มีจำ�นวนจำ�กัด
• ง่ายต่อการจองที่พักและทำ�สัญญา • ในกรณีที่ต้องพักร่วมกับผู้พัก
• มีความแน่นอนเรื่องระยะเวลา ราย อื่น ๆ อาจจะไม่สามารถ
การเช่า เลือกผู้พักอาศัยร่วมได้

(2) บริษัทตัวกลางจัดหาและจัดการที่พักอาศัย (Housing agency,


mediation offices, housing corporations)
บริษัทตัวกลางจัดหาจะให้บริการหาข้อมูลที่พักอาศัย ในบางกรณีจะจัดการ
ดูแลที่พักอาศัยในระหว่างการเช่า โดยส่วนมากบริษัทเหล่านี้จะคิดค่าลง
ทะเบียนก่อนใช้บริการ เมื่อลงทะเบียนแล้วนักศึกษาจึงสามารถหาข้อมูลที่พัก
ในเว็บไซต์ได้ ซึ่งบริษัทจะทำ�หน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของที่พัก (Land-
lord) และผู้ที่ต้องการเช่า (Tenant) ข้อดีของที่พักเหล่านี้คือมีห้องพักที่หลาย
หลาย ทั้งลักษณะที่พัก ราคา และที่ตั้ง แต่อาจจะต้องจ่ายค่าลงทะเบียนที่
ค่อนข้างสูงและอาจจะใช้เวลานานในการหาและจองที่พักในกรณีที่มีคนสนใจ
จองเป็นจำ�นวนมาก บางบริษัทอาจไม่คิดค่าลงทะเบียนและค่าจอง เพราะ
ฉะนั้นนักศึกษาควรหาข้อมูลของหลาย ๆ บริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ข้อดี ข้อเสีย
• มีตัวเลือกที่พักที่หลากหลาย • ราคาจดทะเบียนและค่าบริการ
• มีบริษัทจัดหาหรือที่ปรึกษาใน ค่อนข้างสูง
ระยะเวลาการเช่า • ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของ
• มีสัญญาที่ชัดเจน ราคาเช่า

(3) สมาคมนักศึกษาไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Thai Students


Association in the Netherlands: TSAN)
การได้ข้อมูลจากนักศึกษาหรือผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองที่นักศึกษาจะเข้าศึกษา
26 เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะได้ทั้งข้อมูลและเคล็ดลับในการหาและจองที่พัก โดย
ทั่วไปแล้ว ในแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีสมาคมนักศึกษาที่คอยให้ข้อมูลช่วย
ORIENTATION HANDBOOK

เหลือนักศึกษาที่มาใหม่ รวมถึงข้อมูลที่จำ�เป็น เช่น ข้อมูลเรื่องที่พัก สมาคม


นักศึกษาไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Thai Student Association in
the Netherlands หรือ TSAN) เป็นหนึ่งในสมาคมนักศึกษาในระดับประเทศ
ที่สามารถเชื่อมต่อนักศึกษาไทยกับเครือข่ายนักศึกษาไทยที่อยู่ตามเมืองต่าง
ๆ โดยแต่ละเมืองจะมีผู้ประสานงานประจำ�เมืองคอยให้ข้อมูลและสื่อสารผ่าน
กลุ่มเฟสบุ๊คในการช่วยหาที่พัก ถึงแม้ว่าสมาคมนักศึกษาจะไม่ได้ทำ�หน้าที่
จัดจองหาที่พักให้โดยตรงแต่ก็สามารถให้ข้อมูลและคำ�ปรึกษาต่าง ๆเกี่ยวกับ
การหาที่พัก การเช่า และที่ตั้งที่เหมาะสมได้
(4) เว็บไซต์ต่าง ๆ และโซเชียลมีเดีย
เฟสบุ๊คเป็นอีกช่องทางที่เป็นที่นิยมในการหาที่พักเพราะไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่าย
มาก และการหาที่พักในโซเชียลมีเดียอาจจะทำ�ให้นักศึกษาได้ติดต่อกับ
เจ้าของที่พักหรือผู้ให้เช่าช่วงต่อโดยตรง แต่ละเมืองจะมีกลุ่มเฟสบุ๊คที่โพสต์
เรื่องที่พักให้เช่า เช่น Room/Housing/Kamer Groningen, Free Housing
Announcements in Groningen (Group for students) และ Student
rooms Groningen (หรือเมืองที่นักศึกษาพำ�นัก) แม้อาจจะมีการโพสต์ที่พัก โซเชียลมีเดียสำ�หรับหาที่พักอาศัย
ว่างหลายแห่ง แต่การแข่งขันก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน อีกทั้งนักศึกษาอาจจะใช้
เวลานานในการหาข้อมูล ในการจองที่พัก นัดเข้าเยี่ยมชม และทำ�สัญญา ยิ่ง
ไปกว่านั้นนักศึกษาควรระวังการหลอกลวงและฉ้อฉล (Fraud) ที่สามารถเกิด
27
ขึ้นได้จากผู้ใช้สื่อออนไลน์ เช่น การให้โอนเงินค่าจองที่พักแล้วขาดการติดต่อ
หรือลบโพสต์และเฟสบุ๊คหนีไป ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งมาก เพราะฉะนั้นควร

ORIENTATION HANDBOOK
ระวังในเรื่องข้อมูลบนเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ควรศึกษาข้อมูลและติดต่อผู้
ประกาศจนได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด
ข้อดี ข้อเสีย
• ไม่เสียค่าใช้จ่าย • ใช้เวลานานและต้องพยายามติดต่อ
• มีตัวเลือกที่หลากหลาย หลายครั้ง
• ติดต่อผู้ให้เช่าโดยตรง • ความน่าเชื่อถือของข้อมูลค่อนข้างต่ำ�
• มีการแข่งขันสูง

2.3.2 ขั้นตอนการหาที่พักผ่านเว็บไซต์
การหาที่พักอาศัยมีหลากหลายช่องทางตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น คู่มือเล่มนี้จะ
ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ www.kamernet.nl ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการหา
ที่พักอาศัย เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและมีจำ�นวนที่พักให้เลือกหามาก
ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การค้นหาที่พักด้วยเว็บไซต์นี้จะมี
ค่าใช้จ่ายประมาณ 21 ยูโรต่อ 15 วัน จากประสบการณ์ของผู้ใช้งานพบว่า
ภายใน 15 วันสามารถหาที่พักที่ถูกใจได้ หากนักศึกษาหาที่พักล่วงหน้า 2- 3
เดือน ขั้นตอนการหาที่พักหลังจากเข้าสู่เว็บไซต์มีดังต่อไปนี้
(1) เลือกช่อง search for a home เพื่อค้นหาที่พักอาศัย
(2) เลือกประเภทของที่พักที่ต้องการค้นหา เช่น ห้อง อพาร์ทเม้นท์ บ้าน
(3) เลือกขนาดพื้นที่ของที่พัก
(4) เลือกราคาสูงสุดสำ�หรับการเช่า
28
ORIENTATION HANDBOOK

โดยทั่วไปการเช่าที่พักอาศัย เช่น หอพัก หรือบ้าน ที่จะต้องใช้ครัวหรือห้องน้ำ�


ร่วมกับผู้อื่นจะมีราคาอยู่ประมาณ 300-500 ยูโรต่อเดือน หากนักศึกษา
ต้องการที่พักอาศัยในรูปแบบห้องเดี่ยวหรือ Studio ที่ครัวและห้องน้ำ�ส่วน
ตัว อาจจะต้องจ่ายค่าเช่าประมาณ 600-700 ยูโรต่อเดือน ทั้งนี้ราคาค่าเช่าดัง
กล่าวขึ้นอยู่กับเมืองที่นักศึกษาอยู่ ระยะทางจากตัวเมือง ทำ�เลที่ตั้ง ลักษณะ
และขนาดของที่พัก เป็นต้น
หลังจากนักศึกษาได้ที่พักที่ถูกใจให้ทำ�การติดต่อผู้ให้เช่าผ่านทางข้อความของ
ทางเว็บไซต์ จากนั้นรอการตอบกลับจากผู้ให้เช่าภายใน 1-2 วัน หากนักศึกษา
ยังเดินทางมาไม่ถึงเนเธอร์แลนด์ในใช้วิธีการ Video call หรือ Facetime
มาเพื่อขอดูห้องพักจริง แต่หากเดินทางมาถึงแล้วหรือมีคนรู้จักอาศัยอยู่ใน
เมืองเดียวกันควรนัดเข้ามาดูที่พักด้วยตนเองก่อนตัดสินใจ นอกจากนั้น ควร
มีการสอบถามเกี่ยวกับการแซ่มแซมและบำ�รุงรักษา ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงใน
เนเธอร์แลนด์ ดังนั้น นักศึกษาจะต้องตกลงกับผู้ให้เช่าให้ชัดเจนว่าใครต้องรับ
ผิดชอบค่าใช่จ่ายส่วนนี้ (โดยทั่วไป ผู้ให้เช่าที่หน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและ
ซ่อมแซมเล็กน้อย)
ก่อนตัดสินใจเช่า นักศึกษาควรพิจารณาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตกลงโอนเงิน
ค่ามัดจำ� ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ให้เช่าจะให้มัดจำ�ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
การมัดจำ�กระทำ�โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งหาก
นักศึกษายังไม่เปิดบัญชีธนาคารในเนเธอร์แลนด์ อาจจะต้องดำ�เนินการตาม
ขั้นตอนของธนาคารที่ประเทศไทยกำ�หนด ซึ่งมีค่าธรรมเนียมและมีเวลาในการ
ดำ�เนินการ 3-7 วัน แต่หากมีบัญชีธนาคารในเนเธอร์แลนด์การโอนเงินมัดจำ�
จะทำ�ได้ง่ายขึ้นเพียงมีชื่อผู้รับและเลขบัญชีธนาคาร
ตัวอย่างเอกสารสำ�หรับการโอนเงินออกไปต่างประเทศของธนาคารไทยพานิชย์
• ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี และที่อยู่ของผู้รับเงินในต่างประเทศ
• ชื่อและที่อยู่ของธนาคารซึ่งผู้รับเงินในต่างประเทศมีบัญชีอยู่
• SWIFT Code ของธนาคารซึ่งผู้รับมีบัญชีอยู่
• สำ�หรับผู้รับเงินที่มีบัญชีกับธนาคารในภูมิภาคยุโรป ควรสอบถามเลขที่บัญชีของผู้รับเงินตามมาตรฐานการ
กำ�หนดเลขที่บัญชี(International Bank Account Number: IBAN)
• เอกสารประกอบ (สำ�หรับคนไทย-เอกสารแสดงวัตถุประสงค์ของการโอน / คนต่างชาติ-เอกสาร แสดงที่มา
ของรายได้)
ค่าธรรมเนียม: 550 บาท/รายการ (ไม่รวมค่าธรรมเนียมของธนาคารต่างประเทศซึ่งจะเรียกเก็บที่ปลายทาง)
29

ORIENTATION HANDBOOK
ในขั้นตอนการลงนามในสัญญา ตามกฎหมายสัญญาเช่าบ้านจะเป็นภาษาดัตช์
เพื่อให้ในการลงทะเบียนที่พัก ดังนั้นนักศึกษาควรขอสำ�เนาสัญญาเพื่อนำ�ไป
ให้คนที่สามารถอ่านภาษาดัตช์หรือ International office ช่วยเรื่องการตรวจ
สัญญา ก่อนจะที่จะตัดสินใจลงนาม

2.3.3 ข้อมูลกฎหมายเนเธอร์แลนด์ที่เกี่ยวการเช่าและอาศัย
กฎหมายที่สำ�คัญและข้อควรทราบในกรณีการเช่าที่พักอาศัยในเนเธอร์แลนด์
(1) สัญญาการเช่าที่พักอาศัยประกอบด้วยข้อสัญญา3 เช่น
• ราคาค่าเช่า และวิธีการชำ�ระค่าเช่า
• ระยะเวลาการเช่า ปกติแบ่งเป็นเช่าไม่มีระยะเวลา หรือกำ�หนดระยะเวลา
(Indefinite or fixed term)
• ในกรณีสัญญาเช่าระบุขึ้นราคาเช่ารายปี ต้องระบุวันที่และเดือนที่จะมี
การขึ้นราคาเช่ารายปี
• ข้อตกลงเรื่องการซ่อมแซมและรักษาบ้าน (Maintenance term)
• กฎของการอยู่อาศัย
• การเลิกสัญญาเช่า
• ลายเซ็นของผู้เช่าและผู้ให้เช่าที่พัก

3
https://www.government.nl/topics/housing/rented-housing
https://www.legalexpatdesk.nl/articles/housing/six-things-know-renting-netherlands/
https://www.iamexpat.nl/housing/netherlands-rentals/rental-contracts-housing-rights
(2) กฎหมายคุ้มครองการยกเลิกการให้เช่าที่พักอาศัย
กฎหมายเนเธอร์แลนด์มีการคุ้มครองอย่างเคร่งครัดไม่ให้ผู้ให้เช่าไล่ผู้เช่าออก
จากบ้านโดยที่ไม่มีเหตุอันควร อย่างไรก็ตามเจ้าของที่พักอาศัยสามารถยกเลิก
การให้เช่าอาศัยในกรณีดังต่อไปนี้
• ผู้เช่าไม่ทำ�ตามสัญญาเช่า เช่น ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่าเกินสามเดือนหรือสร้าง
ความวุ่นวายขั้นรุนแรงในที่พักอาศัย
• ผู้ให้เช่าต้องการใช้ที่พักร่วมด้วย ในกรณีนี้ผู้เช่ามีสิทธิที่จะขอเงินชดเชย
• หากผู้ให้เช่าเสนอข้อสัญญาเช่าตามเหตุผลที่เหมาะสม เช่นการ
เปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายไฟฟ้า และผู้เช่าปฏิเสธข้อเสนอสัญญาเช่าใหม่
นั้น
30
• หากผู้เช่าใช้สิทธินักศึกษาในการจองที่พัก สิทธิในการจองที่พักจะถูก
ยกเลิกเมื่อพ้นสภาพนักศึกษา
ORIENTATION HANDBOOK

2.4 การเดินทางสู่เนเธอร์แลนด์
2.4.1 สายการบิน
ปัจจุบันมีเที่ยวบินจากไทยไปยังเนเธอร์แลนด์จำ�นวนมาก แต่มีเพียง 2 สาย
การบินเท่านั้นที่เป็นเที่ยวบินตรง ใช้เวลาในการบิน 8-10 ชั่วโมง ได้แก่
สายการบิน EVA Air และ KLM
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำ�ว่า ตั๋วนักศึกษา (Student Fare) หรือ
ตั๋วเครื่องบินสำ�หรับนักศึกษาที่กำ�ลังจะไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั๋วนักศึกษานี้
มีคุณสมบัติพิเศษ* ดังนี้
(1) เหมาะสำ�หรับใช้ประกอบการขอวีซ่านักศึกษา
(2) อายุของตั๋วนักศึกษาจะมีตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน และ12 เดือน เพื่อความ
เหมาะสมกับระยะเวลาในการขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
(3) บางสายการบินจะเพิ่มน้ำ�หนักกระเป๋าให้อีก 10 กิโลกรัม โดยอัตโนมัติ
หรือจะได้จำ�นวนกระเป๋าโหลดใต้ท้อง 2 ชิ้น
(4) สามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ทั้งขาไปและขากลับ ตามอายุตั๋ว เช่น
อายุ 6 เดือน นักศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางกลับได้ภายใน 6 เดือน
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้ามีที่นั่งราคาเดิมรองรับ
* ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำ�หนดและเงื่อนไขของแต่สายการบิน
2.4.2 สิ่งที่ห้ามนำ�เข้าและส่งออก4
เนเธอร์แลนด์ที่มีข้อกำ�หนดในการนำ�เข้าและส่งออกสิ่งของเช่นเดียวกับ
ประเทศอื่น ๆ ในยุโรป สำ�หรับนักศึกษาที่กำ�ลังเตรียมตัวเก็บสัมภาระเพื่อเดิน
ทางมาศึกษาต่อในเนเธอร์แลนด์ควรจะหลีกเลี่ยงสิ่งของ ดังต่อไปนี้
(1) เงินจำ�นวนไม่เกิน 10,000 ยูโร
(2) สัตว์เลี้ยง
• จัดเตรียมการฉีดวัคซีนและเอกสารการเดินทางสำ�หรับสัตว์
• อนุญาตให้นำ�สัตว์เลี้ยงมารวมกันได้ถึง 5 ตัว
• ต้องเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงหรือตัวแทนที่ได้รับอนุญาตโดยเจ้าของที่มา
พร้อมกับสัตว์เลี้ยง
31
• สุนัข แมวและพังพอนต้องติดตั้งไมโครชิปหรือจะต้องมีรอยสักและชัดเจน
ด้วยเครื่องหมายสักและจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ORIENTATION HANDBOOK
• ไม่อนุญาตให้นำ�สัตว์เลี้ยงเข้ามาเพื่อการค้า
• สัตว์เลี้ยงแต่ละตัวต้องมีใบรับรองสุขภาพหรือหนังสือเดินทางสัตว์เลี้ยง
(โรคพิษสุนัขบ้า)
(3) สิ่งของหรือสินค้าลอกเลียนแบบ
ศุลกากรดัตช์อนุญาตให้พกพาสิ่งของหรือสินค้าลอกเลียนแบบเข้ามาใน
เนเธอร์แลนด์ได้ในกรณีที่พิสูจน์ทราบแล้วว่ามิได้วัตถุประสงค์เพื่อการค้าซึ่ง
ประกอบด้วยเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
• พิสูจน์ได้ว่าบังเอิญนำ�สิ่งของลอกเลียนแบบเข้ามาเนเธอร์แลนด์และ
สหภาพยุโรป
• พิสูจน์ได้ว่าสิ่งของลอกเลียนแบบนั้นเป็นของใช้ส่วนบุคคลของคุณหรือ
สมาชิกในครอบครัว
• พิสูจน์ได้ว่าได้รับสิ่งของลอกเลียนแบบนั้นเป็นของขวัญหรือของกำ�นัล
• พิสูจน์ได้ว่าลักษณะและปริมาณของสิ่งของลอกเลียนแบบที่นำ�เข้ามานั้น
มิได้วัตถุประสงค์หรือเจตนาแอบแฝงเพื่อการค้า
(4) พืชพันธุ์และสัตว์อนุรักษ์
(5) ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ สามารถนำ�เข้าได้เฉพาะบริโภค
ส่วนบุคคล เช่น สามารถนำ�เข้านมผงสำ�หรับเด็กทารกอาหารสำ�หรับทารก
และอาหารพิเศษเพื่อการแพทย์โดยไม่มีใบรับรองสุขภาพ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่อ
ไปนี้
• นำ�เข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำ�หรับทารกได้ไม่เกิน 2 กิโลกรัม
• ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน
• บรรจุภัณฑ์ไม่ได้เปิดใช้และไม่เสียหาย

4
https://www.belastingdienst.nl/wps/wcm/connect/bldcontenten/belast-
ingdienst/individuals/abroad_and_customs/restricted_prohibited_import_ex-
port/restricted_prohibited
(6) อาวุธกระสุนปืนและอาวุธปลอมและวัตถุระเบิด
(7) ยา
• อนุญาตให้นำ�ยามาใช้ส่วนตัวได้เท่านั้นและควรนำ�เอกสารกำ�กับติดตัวมา
ด้วย บางครั้งศุลกากรดัตช์จะขอหลักฐาน เช่น หนังสือเดินทางยาซึ่งผู้เดิน
ทาง สามารถขอหนังสือเดินทางยาได้จากแพทย์หรือร้านขายยา
• ไม่ได้รับอนุญาตให้นำ�ยาสำ�หรับสัตว์เลี้ยงติดตัวเข้าประเทศ
(8) ยาเสพติด
(9) ศิลปะและโบราณวัตถุ
(10) ผลิตภัณฑ์ควบคุมภายใต้กฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศ เช่น ยา
หอมที่มีส่วนผสมของไม้กฤษณาซึ่งเป็นพืชพรรณควบคุมของ CITES
32
ORIENTATION HANDBOOK

2.5 ประกันสุขภาพของนักศึกษา
ประกันสุขภาพเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างมากสำ�หรับนักศึกษาที่จะไปเรียนต่อมหา
วิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ นักศึกษาทุกคนจึงควรทำ�ประกันสุขภาพ เนื่องจาก
การไม่มีประกันสุขภาพถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งค่า
รักษาพยาบาลที่มีราคาสูงมาก การมีประกันจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นในยามที่ประสบ
อุบัติเหตุหรือป่วยขณะที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ โดยปกติเมื่อนักศึกษาได้รับ
การตอบรับจากมหาวิทยาลัยและได้ทำ�การลงทะเบียนอย่างเป็นทางการแล้ว
มหาวิทยาลัยจะทำ�การสมัครประกันให้นักศึกษาโดยอัตโนมัติกับบริษัทประกัน
ที่ได้ทำ�การตกลงกันไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งหากต้องการต่อประกันใน
ภายหลัง สามารถติดต่อกับบริษัทประกันได้โดยตรงเพื่อทำ�เรื่องยืนยัน สำ�หรับ
ประกันสุขภาพของนักศึกษาจะต้องครอบคลุมรายละเอียดดังนี้
• ค่ารักษาพยาบาลรวมถึงความช่วยเหลือด้านทันตกรรมเร่งด่วน
• สายด่วนให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง
• ทรัพย์สินภายในบ้านและสัมภาระเพิ่มเติม
• อุบัติเหตุ
• ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หากต้องการสมัครประกันด้วยตนเอง ก็สามารถทำ�ได้ โดยต้อง
คำ�นึงด้วยว่าการสมัครนั้นจะต้องครอบคลุมในระยะเวลาของหลักสูตรที่เรียน
หรือตลอดเวลาที่พำ�นักอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ส่วนใหญ่บริษัทประกันภัยที่นิยมใช้
ในกลุ่มนักศึกษาต่างชาติมีอยู่ 2 บริษัท คือ IPS และ AON
2.5.1 ขั้นตอนการซื้อประกันสุขภาพ
สำ�หรับช่องทางในการเลือกซื้อประกันสุขภาพสำ�หรับนักศึกษานั้นมีหลาก
หลายช่องทาง คู่มือเล่มนี้ของยกตัวอย่างเว็บไซต์ www.students-insur-
ance.eu ซึ่งมีความสะดวกสะดวกสบายในการเลือกซื้อประกันสุขภาพของ
นักศึกษา ซึ่งมีขั้นตอนหลังจากเข้าสู่เว็บไซต์ดังต่อไปนี้

33

ORIENTATION HANDBOOK
(1) กด Advise me & get a quote
(2) เลือก Home country, Country of destination, ระยะเวลาที่ต้องการ
ให้ประกันครอบคลุม,สถานะ, และทำ�งาน part time หรือไม่
(3) เว็บไซต์จะทำ�การคำ�นวนค่าใช้จ่ายประกันตามระยะเวลาที่กรอกข้อมูลลง
ไป กด Request Insurance
(4) กรอกข้อมูลส่วนตัวลงใน Online Form
เมื่อการชำ�ระเงินเสร็จสิ้นนักศึกษาจะได้รับอีเมลยืนยันการสมัครประกัน
ภายใน 4-5 วันทำ�การ
ORIENTATION HANDBOOK

34
3.ข้อมูลสำ�คัญเมื่อเดินทางมาถึงประเทศ
เนเธอร์แลนด์

3.1 การลงทะเบียนที่พักในเนเธอร์แลนด์และเลข BSN NUMBER 35


สำ�หรับผู้ที่จะพำ�นักอยู่ในเนเธอร์แลนด์เป็นเวลามากกว่า 4 เดือนจำ�เป็นต้อง

ORIENTATION HANDBOOK
ลงทะเบียนที่กับที่ว่าการเมือง (Municipality) หรือ Gemeente ของเมือง
ที่พำ�นักอาศัยอยู่ ทั้งนี้ เมื่อลงทะเบียนที่พักแล้วจะได้รับ BSN (burgerservi-
cenummer)
BSN number หรือ Citizen service number คือ เลขประจำ�ตัวในการ
ขอรับบริการต่าง ๆ จากทางรัฐ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การรับเงินเดือน
การพบแพทย์ การขอประกันสุขภาพ และผลประโยชน์ต่าง ๆ นักศึกษาจะ
ได้รับเลข BSN ผ่านทางจดหมาย หลังจากที่ได้ลงทะเบียนที่พักและได้รับการ
ตอบรับจากทาง IND

3.1.1 วีธีการลงทะเบียนที่พัก
ตามกฎหมายผู้พักอาศัยต้องลงทะเบียนที่พักภายใน 5 วัน หลังจากที่เดินทาง
มาถึงเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ หากยังไม่มีที่พักอาศัยถาวร ควรทำ�การลงทะเบียน
ที่ Gemeente ของแต่ละเมืองโดยเร็วที่สุดหลังจากที่การเจรจาติดต่อเช่า
บ้านเสร็จสิ้น (ก่อนตัดสินใจเช่าบ้าน ควรถามรายละเอียดก่อนว่าบ้านหลังนั้น
สามารถลงทะเบียนกับ Gemeente ได้หรือไม่) โดยทั่วไปผู้ยื่นขอลงทะเบียน
ที่พักสามารถเดินเข้าไปทำ�เรื่องกับ Gemeenteได้โดยตรง แต่เพื่อความ
สะดวกและรวดเร็ว ควรทำ�การจองคิวออนไลน์ล่วงหน้าหรือโทรศัพท์เพื่อนัด
หมายก่อน โดยสามารถติดต่อขอจองคิว ได้ตามข้อมูลด้านล่าง
• Amsterdam
โทร: 14 020 หรือ 020 255 29 09 (เวลาทำ�การ: 8.00-18.00, จันทร์ –
ศุกร์)
เว็บไซต์: http://www.iamsterdam.com/en/local/official-matters/
registration/registration
• Utrecht
โทร: 030 286 00 00
เว็บไซต์: http://www.utrecht.nl/english/living/expat-center/
• Rotterdam
โทร: 14 010 หรือ 010 267 16 25
เว็บไซต์: http://www.rotterdam.nl/registrationinmunicipalpopula-
tionregister
• The Hague
โทร: 14 070 หรือ 070 353 30 00 (8:30-17.00, จันทร์ – ศุกร์)
เว็บไซต์: http://www.denhaag.nl/en/residents/to/Overview-of-regis-
tration-procedures.htm
• Groningen
โทร: 14 050
36
เว็บไซต์: https://gemeente.groningen.nl/moving-to-the-netherlands
• Nijmegen
ORIENTATION HANDBOOK

โทร: 14 024 (8.30 - 17.00, จันทร์ – ศุกร์)


เว็บไซต์: https://afspraak.nijmegen.nl/InternetAfspraken/
• Eindhoven
โทร: 14 040 หรือ 040 238 60 00
เว็บไซต์: https://www.eindhoven.nl/en/city-and-living/living/mov-
ing-home-within-or-eindhoven
ทั้งนี้ หากผู้ย้ายเข้ามี Residence permit และเอกสารที่ต้องใช้ในการขอลง
ทะเบียน ควรดำ�เนินการภายใน 5 วัน หลังจากได้รับ Residence permit

3.1.2 เอกสารที่ต้องใช้ในการลงทะเบียน5
(1) หนังสือเดินทาง
(2) Residence permit
(3) สัญญาเช่าบ้าน
(4) ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบสำ�คัญต่างๆ (หากมี)
หากผู้ย้ายเข้าไม่ทำ�การลงทะเบียนที่พักภายในเวลาที่กำ�หนด จะต้องชำ�ระค่า
ปรับสูงสุด 325 ยูโร ตามกฎที่ Gemeente, Amsterdam ได้ประกาศไว้ตั้งแต่
กุมภาพันธ์ ปี 2015

5
เอกสารทั้งหมดต้องเป็นภาษาอังกฤษ ดัตช์ ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน นักศึกษาควรศึกษาราย
ละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ และเอกสารที่จำ�เป็นในการลงทะเบียนจากทางเว็บไซต์ก่อน
เพราะแต่ละเมืองอาจมีเงื่อนไขขั้นตอนที่แตกต่างกัน
3.2 การขอรับวีซ่าการพำ�นัก (RESIDENCE PERMIT)
การขอรับวีซ่าการพำ�นัก หรือ Residence permit จะต้องดำ�เนินการผ่านทาง
มหาวิทยาลัย เมื่อนักศึกษาได้รับการตอบรับเข้าศึกษาจากทางมหาวิทยาลัย
แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขหรือไม่มีก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยจะติดต่อ
นักศึกษาด้วยขั้นตอนที่จะขอวีซ่าเข้าประเทศ (MVV) และวีซ่าการพำ�นัก โดย
มีขั้นตอนมีดังนี้
(1) จ่ายค่า Immigration fee
โดยทางมหาวิทยาลัยจะแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินการ ตัวอย่างเมื่อปี 2016
ค่าขอวีซ่าการพำ�นัก มีค่าดำ�เนินการ 307 ยูโร การจ่ายค่า Immigration fee
ต้องเป็นการโอนเงินเท่านั้น ทางมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถดำ�เนินการขอ
37
วีซ่าเข้าประเทศ (MVV) หรือวีซ่าการพำ�นักได้จนกว่าจะได้รับค่าธรรมเนียม

ORIENTATION HANDBOOK
อย่างครบถ้วน
(2) กรอกแบบฟอร์มเเละลงนามใน Visa and Residence Permit State-
ment ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นดำ�เนินส่งแบบฟอร์มนี้มาให้กับนักศึกษา
(3) กรอก IND Antecedent’s Certificate
(4) กรอก IND Declaration of Intent to Undergo a Tuberculosis Test
คนไทยทุกคนที่ทำ�เรื่องขอ Residence permit ต้องผ่านการตรวจหา
วัณโรค (Tuberculosis) ซึ่งจะต้องดำ�เนินการทันที่ที่นักศึกษาไปถึงประเทศ
เนเธอร์แลนด์
(5) ส่ง Bank statement เพื่อตรวจสอบว่ามีรายได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตอยู่ใน
เนเธอร์เเลนด์
ทาง IND ค่อนข้างเข้มงวดกับการแสดงหลักฐานทางการเงิน จำ�นวนเงินขั้นต่ำ�
ที่นักศึกษาจะแสดงให้เห็นว่าพร้อมสำ�หรับการใช้ชีวิตประจำ�วัน (Living cost)
ประมาณ 1,000 ยูโรต่อเดือน โดยไม่รวมค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการเข้า
เมือง
(6) ส่งสำ�เนาหนังสือเดินทาง
(7) ส่งเอกสารทั้งหมดจากขั้นตอนที่ 1-6 ไปยังผู้แทนของมหาวิทยาลัยที่
นักศึกษาติดต่อไว้
หลังจากที่ดำ�เนินการตามขั้นตอนข้างต้นเสร็จสิ้นแล้ว นักศึกษาจะต้องรอ
จนกว่าทางมหาวิทยาลัยหรือทาง IND ติดต่อกลับมาเพื่อยืนยันสถานะ
การอนุมัติการขอรับ MVV/ Resident permit เมื่อนักศึกษาได้รับการอนุมัติ
แล้วไปรับ MVV ได้ที่สถานทูตประเทศเนเธอร์แลนด์หรือสถานกงสุล โดยต้อง
ทำ�การนัดหมายล่วงหน้าก่อนที่จะไปรับเอกสาร
ส่วนในการเข้าประเทศนักศึกษาจะต้องแสดง MVV ซึ่งมีอายุ 90 วันหลังจาก
การรับตราประทับ ดังนั้น ควรไปรับเอกสารก่อนเดินทางไม่เกิน 3 เดือน เมื่อ
ไปถึงที่ประเทศเนเธอร์แลนด์แล้ว นักศึกษาจะได้รับการนัดหมายให้ไปรับ
Resident permit เพื่อแสดงตนว่าได้รับการอนุญาตให้พำ�นักระยะยาวใน
เนเธอร์แลนด์ และเพื่อใช้แสดงตนระหว่างการเดินทางเข้า-ออกประเทศ
ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาควรทำ�อย่างรวดเร็วเพื่อที่จะได้รับวีซ่า
ทันเวลาเปิดภาคการศึกษา ซึ่งการขอ Visa/Residence permit อาจจะต้อง
ใช้เวลาถึง 6-8 อาทิตย์

3.3 การตรวจร่างกาย
เมื่อเดินทางมาถึงเนเธอร์แลนด์ นักศึกษาจะต้องเข้ารับการตรวจหาวัณโรค
(Tuberculosis) โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินการ การตรวจหาวัณโรคเป็น
สิ่งจำ�เป็นสำ�หรับผู้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำ�นักในเนเธอร์แลนด์ หากนักศึกษาไม่
ดำ�เนินการในช่วงเวลาที่กำ�หนดอาจจะถูกระงับหรือยกเลิก Resident permit
ดังนั้น เมื่อนักศึกษาเดินทางถึงเนเธอร์แลนด์ควรติดต่อทาง IND โดยทันที เพื่อ
38
นัดหมายการตรวจร่างกาย และเมื่อถึงวันนัดหมาย นักศึกษาควรไปถึงที่นัด
ORIENTATION HANDBOOK

หมายก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที โดยติดต่อที่แผนกต้อนรับตามสถานที่ที่


ได้รับการแจ้งในการนัดหมาย จากนั้นทางเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบถึงขั้นตอน
การตรวจซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 - 30 นาที
3.4 วิธีการเปิดบัญชีธนาคาร
3.4.1ธนาคาร ABN-AMRO
การมีบัญชีธนาคารในเนเธอร์แลนด์ถือเป็นการยกระดับความสะดวกสบาย
ให้กับการใช้ชีวิตอย่างงหนึ่ง เนื่องจากเกือบทุกธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ
ในเนเธอร์แลนด์ สามารถดำ�เนินการผ่านบัตรเดบิต โทรศัพท์มือถือ หรือ
คอมพิวเตอร์ได้แทบทั้งสิ้น สำ�หรับธนาคาร ABN-AMRO เป็นหนึ่งในธนาคาร
ตัวเลือกสำ�หรับนักศึกษาซึ่งข้อดีหลักของธนาคารนี้คือมีแอพพลิเคชั่นใน
โทรศัพท์มือถือและมีเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารที่จำ�เป็นต่อการเปิดบัญชีธนาคาร
(1) สำ�เนาหนังสือเดินทาง (Passport) และ/หรือ วีซ่าการพำ�นัก (Resident
39
permit) ในเนเธอร์แลนด์

ORIENTATION HANDBOOK
(2) หมายเลข BSN ซึ่งจะได้รับหลังจากการลงทะเบียนกับเทศบาลเมืองหรือ
Gemeente
(3) หลักฐานการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์

ขั้นตอนการเปิดบัญชีธนาคาร
(1) โทรศัพท์หรืออีเมล ติดต่อกับสำ�นักงานใหญ่ของธนาคารที่อยู่ใกล้เมืองที่
นักศึกษาอาศัยอยู่มากที่สุดจาก 4 สาขาใหญ่ด้านล่างนี้ เพื่อนัดวันและสาขา
ย่อยใกล้บ้านท่านที่จะใช้ในการเปิดบัญชี
(1.1) Expat Appointment Desk: +31 (0)20 343 44 22
(1.2) International Clients Team: Amsterdam

Office address: Evert van de Beekstraat 2, 1118 CL Schiphol


Telephone: +31 (0)20 343 40 02
Availability: Monday to Friday from 8.30am to 6pm and on
Saturdays by appointment only
E-mail address: expatdepartmentamsterdam@nl.abnamro.com

(1.3) International Clients Team: Rotterdam

Office address: Coolsingel 93, 3012 AE Rotterdam


Telephone: +31 (0)10 402 58 88
Availability: Monday to Friday from 8.30am to 6pm.
E-mail address: internationals.rotterdam@nl.abnamro.com
(1.4) International Clients Team: The Hague

Office address: Koningskade 30, 2596 AA The Hague.


Telephone: +31 (0)70 375 20 50
Availability: Monday to Friday from 8.30am to 6pm.
E-mail address: internationals.thehague@nl.abnamro.com

(1.5) International Clients Team: Eindhoven


Office addresses: Vestdijk 18, 5611 CC Eindhoven Professor
40 Holstlaan 4, 5656 AA Eindhoven (The Strip at the High Tech
Campus)
ORIENTATION HANDBOOK

Telephone: +31 (0)40 237 90 00


Availability: Monday to Friday from 9am to 5pm and on Satur-
days from 10.00am to 2pm.
Email address: internationals.eindhoven@nl.abnamro.com

(1.6) เบอร์โทรศัพท์เพื่อสอบถามรายละเอียดทั่วไป
• ในเนเธอร์แลนด์ 09 00 81 70
• นอกเนเธอร์แลนด์ +31 10 241 17 23
(2) ยื่นเอกสารตามวัน เวลาและสถานที่นัดหมาย
(3) กระบวนการจะใช้เวลา 3 – 5 วันทำ�การ ท่านจะได้รับจดหมายทั้งหมด
3 ฉบับ โดยแต่ละฉบับประกอบไปด้วย
• ฉบับที่ 1 บัตรเดบิตของธนาคาร ที่จะยังไม่สามารถใช้ได้จนกว่าจะได้
จดหมายฉบับที่ 2
• ฉบับที่ 2 รหัสเพื่อปลดล๊อคบัตรที่ได้ในจดหมายฉบับที่ 1
• ฉบับที่ 3 รหัสเพื่อใช้ในการทำ�ธุรกรรมทางการเงิน หรือ Pin code
ค่าธรรมเนียมรายเดือนสำ�หรับการคงสภาพบัญชี 1.25 ยูโร
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของธนาคาร: https://www.
abnamro.nl/en/

3.4.2 ธนาคาร ING


ธนาคาร ING เป็นหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น
การเปิดบัญชีนั้นสามารถทำ�ได้ค่อนข้างง่ายเพราะมีฐานลูกค้าจำ�นวนมากและ
มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยขั้นตอนการเปิดบัญชีมีดังนี้
(1) ติดต่อสาขาของธนาคาร ING ที่ใกล้ที่สุดแล้วแจ้งเจตจำ�นงที่จะเปิดบัญชี
โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ในธนาคารสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้อยู่แล้ว
จึงไม่จำ�เป็นต้องกังวลเรื่องการสื่อสาร
เอกสารที่จำ�เป็นต้องเตรียมในการเปิดบัญชีธนาคาร
(1.1) หนังสือเดินทาง (Passport)
(1.2) เอกสารการลงทะเบียนของมหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่ (Certificate of
Registration)
(1.3) วีซ่าการพำ�นัก (Residence Permit) ในเนเธอร์แลนด์
(1.4) แบบฟอร์มการขอเปิดบัญชี (สามารถไปรับได้ที่ธนาคาร)

(2) เมื่อบัญชีธนาคารได้รับการอนุมัติแล้ว นักศึกษาจะได้รับเอกสารผ่านทาง


ไปรษณีย์ภายใน 3 - 4 วันทำ�การ โดยประกอบด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้
(2.1) บัตรเดบิตและการแจ้งเตือนและ IBAN (เลขที่บัญชี)
41
(2.2) รหัส PIN
(2.3) ชื่อผู้ใช้และการแจ้งเตือนสำ�หรับ Mijn ING (Internet Banking)

ORIENTATION HANDBOOK
(2.4) รหัสผ่านสำ�หรับ Mijn ING (Internet Banking)
ORIENTATION HANDBOOK

42
4. ข้อมูลอื่น ๆ สำ�หรับการใช้ชีวิตใน
ประเทศเนเธอร์แลนด์

4.1 การเดินทาง 43
ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นมีหลายรูปแบบ เช่น

ORIENTATION HANDBOOK
รถโดยสารประจำ�ทาง (Bus) รถราง (Tram) รถไฟใต้ดิน (Metro) และรถไฟ
(Train) โดยมีผู้ให้บริการหลายหน่วยงานและแตกต่างกันในหลายภาคส่วน
และพื้นที่ ดังนั้น เพื่อความสะดวกในเดินทางผู้โดยสารสามารถใช้บัตรเดินทาง
หรือ OV-chipkaart ชำ�ระค่าโดยสารได้ทุกรูปแบบการขนส่งและผู้ให้บริการ
OV-chipkaart คือ บัตรโดยสารรวมแบบเติมเงินซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบ
ขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ทั้งรถประจำ�ทาง รถราง รถไฟใต้ดิน และรถไฟ
(ทั้งนี้ อาจจะเทียบเคียงได้กับ Rabbit Card ของไทย แต่จะครอบคลุม
ผู้ให้บริการและรูปแบบการขนส่งมากกว่า)

ข้อดีของการใช้บัตรนี้ก็คือสามารถใช้ชำ�ระค่าโดยสารผ่านการ “Check-in”
และ “Check-out” ได้สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาในการซื้อตั๋วบ่อยครั้ง อีกทั้ง
ยังประหยัดค่าเดินทางของรถประจำ�ทาง รถราง และรถไฟใต้ดิน ในหลาย ๆ
โอกาสอีกด้วย เนื่องจากหากจะเดินทางโดยซื้อตั๋วโดยสารแยกแทน OV-chip-
kaart ตั๋วที่ซื้อเป็นรายครั้งมักจะไม่คิดตามระยะทาง แต่เป็นตั๋วรายชั่วโมง
แทน ทำ�ให้ค่าใช้จ่ายในเดินทางสำ�หรับขาเดียวในระยะสั้นสูงเกินความจำ�เป็น
ฉะนั้น เพื่อความสะดวกและประหยัด OV-chipkaart จึงเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับ
นักศึกษาไทยในเนเธอร์แลนด์
OV-chipkaart มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ บัตร OV-chipkaart แบบไม่ระบุตัว
ตน (Anonymous OV-chipkaart) และบัตร OV-chipkaart แบบระบุตัวตน
(Personal OV-chipkaart) ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างบัตรทั้งสองแบบมีดังนี้

Anonymous Personal
ความแตกต่าง
OV-Chipkaart OV-Chipkaart
ราคา 7.50 Euro 7.50 Euro
สีของบัตร ฟ้า เหลือง
Personal OV-chipkaart ระบุชื่อ-รูปบนบัตร ไม่มี มี
44
ผู้สามารถใช้บัตรได้ ผู้ถือบัตร 1 คนต่อใบ เฉพาะผู้ที่มีชื่ออยู่บนบัตร
ORIENTATION HANDBOOK

เท่านั้น
สามารถใช้บัตรกับ Sub- ไม่มี มี
scription และส่วนลด
ได้ (อ่านรายละเอียด
เพิ่มเติมหัวข้อโปรโมชั่น)
Anonymous OV-chipkaart
สามารถตรวจสอบ ได้ ได้
ประวัติการเดินทาง/การ
เติมเงินได้
สถานที่ซื้อบัตร เครื่องจำ�หน่วยตั๋ว เว็บไซต์ https://www.
ทั่วไป (เฉพาะบาง ov-chipkaart.nl/
เครื่อง) เคาน์เตอร์ purchase-an-ov-chip-
ผู้ให้บริการ หรือ kaart.htm
เว็บไซต์ https://
www.ov-chip-
kaart.nl/pur-
chase-an-ov-chip-
kaart.htm

ทั้งนี้ด้วยราคาของบัตรที่เท่ากัน การตัดสินใจเลือกระหว่าง Anony-


mous OV-chipkaart หรือ Personal OV-chipkaart นั้นควรเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์การใช้งาน หากต้องการใช้บัตรเป็นประจำ�หรือรับสิทธิประโยชน์
จากการสมัคร Subscriptions ต่าง ๆ แล้ว Personal OV-chipkaart ดูจะ
เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า
4.1.1 การสมัครบัตร Personal OV-Chipkaart
Personal OV-chipkaart มีความสะดวกและเหมาะสมสำ�หรับผู้ที่ใช้บริการ
ขนส่งสาธารณะเป็นประจำ� โดยบัตร Personal OV-chipkaart มีอายุการใช้
งานถึง 5 ปี ผู้ที่ถือ Personal OV-chipkaart จะสามารถใช้บริการได้ ดังต่อ
ไปนี้
• ใช้งานตั๋วรายเดือน (Monthly pass) ตั๋วตามฤดูกาล (Season ticket)
หรือบัตรผ่านสำ�หรับรถประจำ�ทาง (Bus pass) ได้
• รับส่วนลดตามอายุของผู้ถือบัตรโดยอัตโนมัติ (รายละเอียดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับส่วนลดตามอายุสำ�หรับผู้ใหญ่และสำ�หรับเด็ก สามารถศึกษา
รายละเอียดได้จาก https://www.ns.nl/en/season-tickets/other/
45
keuzedagen.html และ https://www.ns.nl/en/season-tickets/
kids-vrij.html ตามลำ�ดับ)

ORIENTATION HANDBOOK
• เติมเงินโดยอัตโนมัติ (Automatic reload)
• ดูรายละเอียดการเดินทางออนไลน์ผ่านทาง My OV-chip และสามารถ
สั่งพิมพ์รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้
• ระงับการใช้งานบัตรหากบัตรถูกโจรกรรมหรือสูญหาย
การสมัครบัตร Personal OV-chipkaart สามารถทำ�ได้ผ่าน https://
www.ov-chipkaart.nl/purchase-an-ov-chipkaart/apply-for-person-
al-ov-chipkaart.htm โดยผู้สมัครขอบัตรจะต้องเตรียมรูปถ่ายไฟล์ดิจิตอล
และชำ�ระค่าธรรมเนียมเป็นจำ�นวนเงิน 7.50 ยูโร โดยสามารถชำ�ระค่า
ธรรมเนียมผ่าน iDEAL เท่านั้น
หากไม่สะดวกในการสมัครบัตร Personal OV-chipkaart ผ่านทางออนไลน์
สามารถกรอกแบบฟอร์มสมัครขอบัตร Personal OV-chipkaart ได้ ณ
เคาน์เตอร์บริการของขนส่งสาธารณะซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ (สามารถค้นหา
ตำ�แหน่งของเคาน์เตอร์บริการได้จาก https://www.ov-chipkaart.nl/
service-and-contact/service-points-finder.htm) การสมัครขอบัตรด้วย
วิธีการนี้จะมีขั้นตอนเพิ่มเติมขึ้นมาเล็กน้อย และมีค่าธรรมเนียม 3 ยูโร
นอกจากนี้ผู้สมัครยังสามารถขอรับบัตร Personal OV-chipkaart ได้โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ จากการสมัคร NS subscription บางประเภท โดย
สามารถศึกษารายละเอียดได้ในข้อ 4.1.2)
4.1.2 โปรโมชั่นต่าง ๆ
4.1.2.1 โปรโมชั่นสำ�หรับการเดินทางโดยรถไฟ
• NS Subscription
การรถไฟเนเธอร์แลนด์ (Nederlandse Spoorwegen หรือ NS) มีแพคเกจ
ต่าง ๆ สำ�หรับผู้ถือบัตร Personal OV-chipkaart ที่เดินทางโดยรถไฟบ่อย
ครั้งให้เลือกสมัครตามความต้องการ เพื่อใช้เดินทางในราคาที่ถูกกว่าปกติ โดย
สามารถศึกษารายละเอียดแพคเกจต่าง ๆ และสมัครออนไลน์ได้ที่ https://
www.ns.nl/abonnementen
(1) 40% Discount during off-peak time (Dal Voordeel)
เหมาะสำ�หรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟเป็นประจำ� โดยไม่จำ�เป็นต้องเดินทางใน
46
เวลาทำ�การของบริษัท และไม่ได้มีเส้นทางเดินทางประจำ�
รายละเอียดแพคเกจ: เดินทางในราคา 60% ของค่าเดินทางปกติในช่วง off-
ORIENTATION HANDBOOK

peak time (วันจันทร์ - ศุกร์ ระหว่าง 9.00-16.00 น. และ 18.30-6.30 น.


ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เริ่มตั้งแต่ 18.30 น. ของวันศุกร์ถึง 6.30 น. ของวัน
จันทร์ รวมถึงตลอดวันในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยผู้ร่วมเดินทางอีกสาม
คนสามารถใช้ส่วนลดด้วยได้ และเมื่อสมัครแพคเกจจะสามารถแสดงความ
จำ�นงขอรับ personal OV-chipkaart ได้ฟรี จากราคาปกติใบละ 7.50 ยูโร
ค่าสมัคร: 50 ยูโร/ปี ปีแรก 29 ยูโร
(2) Discount at all time (Altijd Voordeel)
เหมาะสำ�หรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟเป็นประจำ� โดยต้องเดินทางในเวลาทำ�การ
ของบริษัท และไม่ได้มีเส้นทางเดินทางประจำ�
รายละเอียดแพคเกจ : เดินทางในราคา 60% ของค่าเดินทางปกติในช่วง
off-peak time (วันจันทร์ - ศุกร์ ระหว่าง 9.00-16.00 น. และ 18.30-6.30
น. ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เริ่มตั้งแต่ 18.30 น. ของวันศุกร์ถึง 6.30 น. ของวัน
จันทร์ รวมถึงตลอดวันในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์) และในราคา 80 % ของค่า
เดินทางปกติในช่วง peak time (ระหว่าง 6.30-9.00 น. และระหว่าง 16.00-
18.30 น. ของวันจันทร์-ศุกร์โดยผู้ร่วมเดินทางอีกสามคนสามารถใช้ส่วนลด
ด้วยได้
ค่าสมัคร : 22 ยูโร/เดือน
(3) Weekend free (Weekend Vrij)
เหมาะสำ�หรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟในช่วงเสาร์อาทิตย์เป็นประจำ�
รายละเอียดแพคเกจ: เดินทางฟรีไม่จำ�กัดในวันหยุดสุดสัปดาห์ ตั้งแต่ 18.30
น. ของวันศุกร์ ถึง 04.00 น. ของวันจันทร์ และเดินทางในราคา 60% ของ
ค่าเดินทางปกติในช่วง off-peak timeของวันจันทร์ - ศุกร์ (ระหว่าง 9.00-
16.00 น.และ 18.30-6.30 น.) และในราคา 80 % ของค่าเดินทางปกติในช่วง
peak time (ระหว่าง 6.30-9.00 น. และระหว่าง 16.00-18.30 น.ของวัน
จันทร์-ศุกร์โดยผู้ร่วมเดินทางอีกสามคนสามารถใช้ส่วนลด 40% ด้วยได้ และ
47

ORIENTATION HANDBOOK
เมื่อสมัครแพคเกจจะสามารถแสดงความจำ�นงขอรับ personal OV-chip-
kaart ได้ฟรี จากราคาปกติใบละ 7.50 ยูโร
ค่าสมัคร: 33 ยูโร/เดือน
(4) Free travelling during off-peak time (Dal Vrij)
เหมาะสำ�หรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟในระยะไกลเป็นประจำ� โดยไม่จำ�เป็นต้อง
เดินทางในเวลาทำ�การของบริษัท และไม่ได้มีเส้นทางเดินทางประจำ�
รายละเอียดแพคเกจ : เดินทางฟรีไม่จำ�กัดในวันหยุดสุดสัปดาห์ ตั้งแต่ 18.30
น. ของวันศุกร์ ถึง 04.00 น. ของวันจันทร์ และในช่วง off-peak time ของ
วันจันทร์ - ศุกร์ (ระหว่าง 9.00-16.00 น.และ 18.30-6.30 น.) โดยผู้ร่วม
เดินทางอีกสามคนสามารถใช้ส่วนลด 40% ด้วยได้ และเมื่อสมัครแพคเกจ
จะสามารถแสดงความจำ�นงขอรับบัตร personal OV-chipkaart ได้ฟรี จาก
ราคาปกติใบละ 7.50 ยูโร
ค่าสมัคร: 102 ยูโร/เดือน
(5) Free travelling on specific trajectory (Traject Vrij)
เหมาะสำ�หรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟบนเส้นทางเดิมเป็นประจำ�
รายละเอียดแพคเกจ : เดินทางฟรีไม่จำ�กัดจำ�นวนครั้งและเวลาในเส้นทางที่
เลือก และเดินทางในราคา 60% ของค่าเดินทางปกติในเส้นทางอื่น ๆ ในช่วง
off-peak time ของวันจันทร์ - ศุกร์ (ระหว่าง 9.00-16.00 น. และ 18.30-
6.30 น.) และตลอดวันเสาร์อาทิตย์ โดยผู้ร่วมเดินทางอีกสามคนสามารถ
ใช้ส่วนลด 40% ด้วยได้ และเมื่อสมัครแพคเกจจะสามารถแสดงความจำ�นง
ขอรับ personal OV-chipkaart ได้ฟรี จากราคาปกติใบละ 7.50 ยูโร
ค่าสมัคร : ขึ้นอยู่กับระยะทางของเส้นทางที่เลือก เช่น Amsterdam – Rot-
terdam ราคา 410 ยูโร/เดือน Den Haag- Rotterdam ราคา 156 ยูโร/
เดือน
(6) Free at all time (Altijd Vrij)
เหมาะสำ�หรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟระยะไกลประจำ� โดยต้องเดินทางในเวลา
ทำ�การของบริษัท และไม่ได้มีเส้นทางเดินทางประจำ� (Altijd Vrij จะคุ้มค่ากว่า
Traject Vrij ในกรณีที่เส้นทางที่ต้องเดินทางเป็นประจำ�นั้นใช้เวลาเดินทาง
มากกว่า 45 นาที/เที่ยว)
รายละเอียดแพคเกจ : เดินทางฟรีไม่จำ�กัดจำ�นวนครั้งและเวลาในทุกเส้นทาง
โดยผู้ร่วมเดินทางอีกสามคนสามารถใช้ส่วนลด 40% ด้วยได้
ค่าสมัคร: 333 ยูโร/เดือน
• Losse Ticket (ตั๋วเดินทางแยกในราคาประหยัด)
(1) Seasonal ticket หรือตั๋วรถไฟแบบประหยัดเฉพาะตามฤดูกาล (ไม่ได้
48
มีตั๋วแบบพิเศษนี้จำ�หน่ายตลอดเวลา) สามารถเดินทางแบบเหมาวัน หรือตั๋ว
ราคาพิเศษภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง เช่น ซื้อสองใบในราคาที่ถูกลง หรือซื้อได้
ORIENTATION HANDBOOK

ในราคาพิเศษหากเดินทางกับผู้มี subscription ซึ่งตั๋วเหล่านี้มีจำ�หน่ายตาม


ร้านค้าทั่วไปหรือเว็บไซต์ spoordeelwinkel ในบางเดือน สามารถตรวจสอบ
หาตั๋วเดินทางที่ถูกสุดที่เหมาะสมกับเส้นทางการเดินทางได้จากเว็บไซต์ www.
treinreiziger.nl/reisplanner/ โดยกรอกสถานีต้นทาง-ปลายทาง และวัน
เวลาที่จะเดินทาง วิธีการเดินทางที่ถูกที่สุด วิธีใช้และซื้อตั๋วจะถูกแสดงรายการ
ขึ้นมาบนเว็บไซต์ ดังภาพ
อีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางในราคาประหยัด คือการซื้อตั๋วเดินทางไป-กลับ
แบบรวมค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว/อาหาร ผ่านเว็บไซต์ www.spoordeelwinkel.
nl ที่จะมีโปรโมชั่นมาดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละฤดูกาลท่องเที่ยว โดยนอกจาก
จะประหยัดค่าเดินทางในกรณีที่อยู่ไกลแล้ว ยังประหยัดเวลาต่อแถวซื้อบัตรเข้าชม
สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ อีกด้วย
(2) NS Non-seasonal ticket: นอกจากตั๋วแบบแยกที่มีมาเป็นช่วง ๆ แล้ว
บนเว็บไซต์ของ NS เองก็มีตั๋วแบบแยกจำ�หน่ายอยู่ตลอด โดยสามารถตรวจสอบ
ได้จากเว็บไซต์ www.ns.nl/producten/losse-kaartjes-toeslagen ตั๋วจาก
เว็บไซต์นี้จะประกอบไปด้วยตั๋วเดินทางราคาปกติที่สามารถโหลดและใช้ผ่าน
โทรศัพท์มือถือได้ (โดยไม่ต้องซื้อ OV-Chipkaart) ทั้งแบบเที่ยวเดียว ไป-กลับ
49
และตั๋ววันแบบไม่จำ�กัดจำ�นวนเที่ยว รวมถึงตั๋วราคาประหยัดสำ�หรับเดินทางเป็นก
ลุ่ม และตั๋วสำ�หรับเดินทางแบบไม่จำ�กัดเฉพาะในภูมิภาค

ORIENTATION HANDBOOK
(3) ตั๋วเดินทางแบบกลุ่ม (Groepsticket) สามารถใช้เดินทางเที่ยวเดียวได้ใน
ราคาประหยัดแบบไม่จำ�กัดระยะทาง แต่ขึ้นอยู่กับจำ�นวนคนในกลุ่ม ตั้งแต่ราคา
30 ยูโรสำ�หรับกลุ่ม 4 คน (เฉลี่ยคนละ 7.50 ยูโร) ไปจนถึงราคา 34.50 ยูโร
สำ�หรับกลุ่ม 7 คน (เฉลี่ยคนละ 4.93 ยูโร) โดยใช้ได้ในช่วง off-peak time ของ
วันจันทร์ - ศุกร์ (ระหว่าง 9.00-16.00 น.และ 18.30-6.30 น.) และตลอดวันเสาร์
อาทิตย์ โดยผู้ถือบัตรทุกคนในกลุ่มจะต้องเดินทางบนเส้นทางเดียวกันไปยังจุด
หมายเดียวกัน แต่ไม่จำ�เป็นต้องออกเดินทางจากสถานีเดียวกัน โดย Main ticket
holder หรือคนที่ออกเดินทางจากสถานีที่อยู่ไกลที่สุดต้องอยู่กับสมาชิกในกลุ่ม
ตลอดเวลา โดยเฉพาะในกรณีที่มีการตรวจตั๋ว
ทั้งนี้ หากต้องการเดินทางไปยังเมืองที่อยู่ไกลและไม่สามารถหาเพื่อนร่วมกลุ่มได้
ครบจำ�นวนขั้นต่ำ� ( 4 คน) อาจลองหาเพื่อนร่วมเดินทางที่จะเดินทางไปเป้าหมาย
เดียวกันและเวลาเดียวกันได้จากกลุ่มหาเพื่อนร่วมทางบนเฟสบุ๊คกรุ๊ปของแต่ละ
เมือง เช่น กรุ๊ป NS group-tickets Rotterdam/ Amsterdam

4.1.2.2 โปรโมชั่นสำ�หรับการเดินทางโดยรถประจำ�ทาง
รถราง และรถไฟใต้ดิน
ในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะมีบริษัทให้บริการรถสาธารณะที่แตกต่างกัน โดย
รถโดยสารประจำ�ทางจะมีให้บริการในทุก ๆ เมือง แต่การเดินทางโดยรถไฟใต้ดิน
มีในเฉพาะจังหวัด North-South Holland ประกอบด้วยในเมืองอัมสเตอร์ดัม
(Amsterdam Metro) ดำ�เนินการโดยบริษัท GVB รอตเตอร์ดัม (Rotterdam
Metro) ดำ�เนินการโดยบริษัท RET และ Randstad Rail ซึ่งครอบคลุมเส้นทางระ
หว่างรอตเตอร์ดัมและกรุงเฮก ส่วนการเดินทางโดยรถรางมีในอัมสเตอร์ดัม รอต
เตอร์ดัม กรุงเฮกและเมืองข้างเคียง และกำ�ลังจะเปิดให้บริการในเมืองอูเทรคใน
ปี 2018
บริษัทเดินรถสาธารณะเหล่านี้มีโปรโมชั่นสำ�หรับผู้ใช้บริการแยกจากกัน สามารถ
ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของบริษัทนั้น ๆ อาทิเช่น
• Arriva: ให้บริการในเมือง Drenthe/Overijssel, Flevoland, Fries-
land, Gelderland, Groningen, Limburg, Noord-Brabant และ
Zuid-Holland มีโปรโมชั่นทั้งแบบเดินทางบนเส้นทางที่เลือกไม่จำ�กัด
และแบบส่วนลด (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ web-
shop.arriva.nl/)
• Connexxion: ให้บริการในเมือง Drenthe, Flevoland, Friesland,
Gelderland, Groningen, Limburg, Noord-Brabant, Noord-Hol-
land, Overijssel, Utrecht, Zeeland และ Zuid-Holland มีโปรโมชั่
นทั้งแบบรายเดือนและรายปีในราคาที่แตกต่างกันตามภูมิภาค (สามารถ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ shop.connexxion.nl/)
50
• GVB: ให้บริการการในอัมสเตอร์ดัมและเมืองข้างเคียง มีโปรโมชั่นทั้ง
แบบรายเดือนและรายปี (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่
ORIENTATION HANDBOOK

webshop.gvb.nl)
• HTM: ดำ�เนินการใน The Hague, Delft, Rijswijk, Voorburg, Leid-
schendam, Nootdorp, Wateringen และ Zoetermeer มีโปรโมชั่น
แบ่งตามโซนของพื้นที่ให้บริการ ทั้งแบบไม่จำ�กัดจำ�นวนครั้งการเดินทาง
และแบบส่วนลด (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ www.
htm.nl/english/season-tickets-(1)/)
• RET: ให้บริการในรอตเตอร์ดัมและเมืองข้างเคียง มีโปรโมชั่นทั้งแบบ
รายวัน รายเดือน และรายปี (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่
webshop.ret.nl/menu/webwinkel/)
4.2 ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่าง ๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์
สำ�หรับนักศึกษาที่เพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ อาจจะยังไม่ทราบว่าสินค้าต่าง ๆ ที่เคย
ใช้ในเมืองไทยสามารถหาซื้อที่ไหนบ้าง เนื้อหาในส่วนนี้จะช่วยให้นักศึกษา
รู้จักห้างสรรพสินค้าและร้านค้าในเนเธอร์แลนด์มากขึ้น ส่วนใหญ่คนดัตช์มัก
จะชอปปิ้งในวันพฤหัส หรือศุกร์ ซึ่งร้านค้าต่าง ๆ จะเปิดถึงสามทุ่ม อย่างไร
ก็ตามในแต่ละเมืองอาจไม่ใช่วันเดียวกัน เช่น ในอัมสเตอร์ดัมและอูเทรคจะ
เปิดในวันพฤหัสบดี ในรอตเตอร์ดัมเป็นวันศุกร์ ส่วนในวันเสาร์ร้านจะปิดเร็ว
ขึ้น และเกือบทุกร้านจะปิดวันอาทิตย์ ในเขตใจกลางเมือง (Centrum) หรือใน
ย่านที่มี Koopzondag (แหล่งชอปปิ้งวันอาทิตย์) นอกจากนั้น ในวันหยุดทาง
เทศกาลหรือวันสำ�คัญทางศาสนา ห้างร้านก็จะปิดทำ�การ แต่จะแจ้งให้ลูกค้า 51
ได้ทราบล่วงหน้าประมาณหนึ่งอาทิตย์ หรืออย่างน้อยไม่ต่ำ�กว่า 3 วัน

ORIENTATION HANDBOOK
4.2.1 อาหารสด
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเล็ก ๆ ในแต่ละเมืองจะมีย่านชอปปิ้งเล็ก ๆ
กระจายอยู่ทั่วไป เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะตลาดสด
ประจำ�เมืองจะเป็นแหล่งสินค้าราคาถูกและมีให้เลือกมากมาย ทั้งนี้สามารถ
จะพบตลาดนัดได้ตามจัตุรัสใหญ่ ๆ ของเมือง ส่วนมากมักจะมีทุกวัน (ยกเว้น
วันอาทิตย์) หรืออาทิตย์ละสองครั้ง ในตลาดสดมีสินค้าขายเกือบทุกชนิด ไม่
เฉพาะอาหารสดจำ�พวก เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้ แต่ยังมีเสื้อผ้า สินค้า
สำ�หรับบ้านมือสอง เครื่องประดับ จักรยานทั้งเก่าและใหม่ อุปกรณ์สำ�หรับ
บ้านเรือน ผักผลไม้สด ชีส ผ้าที่ขายเป็นเมตร ไปจนถึงต้นไม้ ดอกไม้ แถมยัง
สามารถต่อรองราคาได้อีกด้วย

4.2.2 สินค้าบริโภคและอุปโภค
ส่วนใหญ่คนดัตช์มักจะไปจับจ่ายสินค้าบริโภคและอุปโภคในซุปเปอร์มาร์เก็ต
ซึ่งมีสินค้าครอบคลุมอาหารสด เช่น เนื้อสด ผักสด และผลไม้ อาหารแช่แข็ง
เครื่องดื่ม และของใช้ในบ้าน เช่น กระดาษชำ�ระ น้ำ�ยาล้างจาน ยาสีฟัน ผง
ซักฟอก เป็นต้น ตัวอย่างร้านค้าที่พบเห็นได้ทั่วไปในทุก ๆ เมือง ได้แก่ Jum-
bo, Albert Hijne, LiDL, ALDI เป็นต้น

4.2.3 เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวส่วนใหญ่มักจะหาซื้อได้ตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง
ๆ แต่ถ้าอยากไปเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ แนะนำ�ให้ไป Media markt จะ
มีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือกมากมาย
4.2.4 เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน
สำ�หรับนักศึกษาที่เพิ่งย้ายเข้าที่พักอาศัยที่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์สามารถเข้าไปเลือก
เฟอร์นิเจอร์มือสอง ราคาถูกได้ที่ www.marktplaats.nl/ หรือหากต้องการ
ซื้อมือหนึ่งก็สามารถหาซื้อได้ตามร้าน Blokker หรือร้านเฟอร์นิเจอร์ในเมืองที่
จะไปศึกษา
4.2.5 อุปกรณ์การเรียน/เครื่องใช้สำ�นักงาน
อุปกรณ์การเรียน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษเขียนรายงาน หรือสมุดโน้ต
นักศึกษาสามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป (ข้อ 4.2.1) อย่างไร
ก็ตาม หากต้องการซื้อของที่เฉพาะเจาะจงในสำ�นักงาน เช่น แฟ้ม เครื่องเจาะ
52
กระดาษ คลิปหนีบกระดาษ เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถเข้าไปดูตาม
ร้าน Gebroeders Winter
ORIENTATION HANDBOOK

4.3 การหารายได้เสริมสำ�หรับนักเรียนไทยในเนเธอร์แลนด์
การหางานพิเศษทำ�สำ�หรับนักเรียนไทยในต่างประเทศดูจะเป็นเรื่องปกติไป
Gebroeders Winter เสียแล้ว เพราะนอกจากจะทำ�ให้เรามีรายได้เสริมเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว ก็ยัง
ได้ประสบการณ์ดี ๆ ที่ถือว่าเป็นการทำ�ให้ชีวิตการเป็นนักเรียนนอกอย่าง
สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม กฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นอนุญาตให้
นักเรียนนอก EU สามารถทำ�งานพิเศษได้มากที่สุดเพียง 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ทั้งนี้ นายจ้างต้องทำ�เรื่องขออนุญาตในการทำ�งาน หรือ Working permit
ซึ่งใช้เวลาดำ�เนินการประมาณ 2 สัปดาห์ โดยหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่้ออกใบ
อนุญาตทำ�งานชื่อว่า UWV Werkbedrijf นักศึกษามีหน้าที่ในการเตรียม
เอกสารที่จำ�เป็นให้กับนายจ้างเ ประกอบด้วย
• Resident permit
• หมายเลข BSN
• บัตรประกันสุขภาพ
นักศึกษาสามารถเลือกทำ�งานพิเศษได้เกือบทุกประเภท ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ
และลักษณะของงาน แต่ต้องไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำ�กัด
ทางภาษาดัตช์ของนักเรียนไทยส่วนใหญ่ ทำ�ให้ตัวเลือกมีน้อยลง งานเสริมที่
นักเรียนไทยส่วนใหญ่นิยมทำ�คือ ทำ�งานในร้านอาหารไทย หรือเป็นผู้ช่วยสอน
ในมหาวิทยาลัย
การหางานสามารถทำ�ได้ 2 ช่องทาง คือ
(1) Walk-in ถ้าสนใจทำ�งานในร้านอาหารไทย นักศึกษาสามารถเข้าไป
สอบถามกับทางร้านอาหารด้วยตนเองหรือโทรเข้าไปสอบถาม
(2) Agency นักศึกษาสามารถค้นหางานได้ทางเว็บไซต์หางานต่าง ๆ เช่น
• www.linkedin.com
• www.randstad.nl
• www.studentjob.nl
• hoitalent.com
เมื่อนักศึกษามีรายได้จำ�เป็นต้องเสียภาษีเงินได้จากการทำ�งานทั้งหมดในเวลา
หนึ่งปี ซึ่งในส่วนนี้นายจ้างจะเป็นผู้ในคำ�แนะนำ�แก่นักศึกษา

4.4 การรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย
สำ�หรับนักศึกษาที่เข้าพำ�นักในประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยวีซ่า MVV จะต้องมี
ประกันสุขภาพทุกคน (Zorgverzekering) เมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
ทางบริษัทประกันสุขภาพจะทำ�หน้าที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดให้กับ
เรา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันที่เราเลือกซื้อ โดยทั่วไปนักศึกษาจะต้อง
53
สำ�รองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น จากนั้นนำ�หลักฐาน ใบเสร็จต่าง ๆ มา

ORIENTATION HANDBOOK
ขอรับเงินคืน ซึ่งอาจจะทำ�ได้โดยการอัพโหลดเอกสารทางเว็บไซต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีขั้นตอนการดำ�เนินการอย่างไร
การรักษาเมื่อเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อยอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้หวัด หรือ มีอาการ
ปวดหัวที่ไม่รุนแรง สามารถใช้บริการร้านขายยาทั่วไป ป้ายหน้าร้านจะเขียน
ว่า APOTHEEK ซึ่งแปลว่าร้านขายยานั่นเอง หรือสามารถหาซื้อยาสามัญ
ประจำ�บ้านได้ที่ร้าน Etos, Kruidvat และ Trekpleister แต่หากมีอาการหนัก
ต้องการพบแพทย์ นักศึกษาจะต้องลงชื่อไว้กับแพทย์ประจำ�ตัว (Huisarts/
GPs) ในละแวกที่พักอาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
4.4.1 ขั้นตอนการลงทะเบียนขอพบแพทย์ประจำ�ตัว
(1) ค้นหารายชื่อคลินิกได้ที่เวบไซส์ http://www.ikzoekeenhuisarts.nl/
ซึ่งจะเป็นภาษาดัตช์
(2) ใส่ชื่อเมืองหรือรหัสไปรษณีย์ที่อยู่
(3) กด Zoeken
(4) เลือกคลินิกที่ต้องการและโทรสอบถามรายละเอียดได้จากเบอร์โทรศัพท์
ของคลินิกนั้น ๆ

54
ORIENTATION HANDBOOK

เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วนักศึกษาจะต้องทำ�การนัดแพทย์เพื่อรับการตรวจ
รักษาจากแพทย์ ซึ่งสามารถทำ�การนัดโดยทางโทรศัพท์หรือ E-mail ซึ่งใช้
เวลาหลายวันหรืออาจจะหลายสัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้ทำ�การลงชื่อกับแพทย์
ประจำ�ตัวไว้ ทั้งนี้แพทย์จะทำ�การรักษาหากไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน ซึ่งต่างจาก
ประเทศไทยที่สามารถไปโรงพยาลหรือคลินิกได้ตลอดเวลา ในกรณีฉุกเฉินใน
โทรศัพท์หมายเลข 112 ซึ่งมีค่าธรรมเนียมในการให้บริการ
สำ�หรับการทำ�การรักษาฟัน (Dental care) นักศึกษาสามารถค้นหาคลินิกได้
จากอินเทอร์เน็ต จากนั้นโทรสอบถามรายละเอียดการการรักษา รวมถึงต้อง
นัดทันตแพทย์ทุกครั้งก่อนเข้ารับบริการ
4.5 เครือข่ายโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
สำ�หรับนักศึกษาที่เพิ่งเดินทางมาถึงเนเธอร์แลนด์ ถ้าโทรศัพท์ที่นำ�มาจาก
ประเทศไทยเป็นแบบ unlocked แล้ว สามารถใส่ซิมการ์ดและใช้งานได้ทันที
โดยซิมการ์ดจะแบ่งเป็น 2 ประเภทเหมือนกับที่ประเทศไทยนั่นก็คือ แบบเติม
เงิน (Pre-paid/Top up) และแบบรายเดือน (Post-paid/Contract)
ซิมการ์ดแบบเติมเงินนั้นสามารถขอได้จากร้านของผู้ให้บริการเครือข่ายมือ ตัวอย่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์
ถือทุกแห่งฟรี ยกเว้นสนามบิน ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าทั่วไป ทั้งนี้หาก
จำ�เป็นต้องซื้อชิมการ์ด โดยเฉลี่ยแล้วซิมการ์ดแบบเติมเงินจะคิดค่าบริการ
แพงกว่าแบบรายเดือน แต่จะมีความอิสระมากกว่าเนื่องจากไม่จำ�เป็นต้องจ่าย
55
ค่าบริการทุกเดือน ในขณะที่ซิมการ์ดแบบรายเดือนจะได้จากการทำ�สัญญา

ORIENTATION HANDBOOK
กับทางเครือค่ายผู้ให้บริการ โดยผู้ที่จะทำ�สัญญากับทางผู้ให้บริการต้องมีอายุ
18 ปีขึ้นไป และต้องมีหมายเลข BSN หลักฐานยืนยันที่อยู่อาศัย (Proof of
address) หนังสือเดินทางหรือResidence permit และบัญชีธนาคารใน
เนเธอร์แลนด์
ในเนเธอร์แลนด์จะผู้ให้บริการหลัก ๆ ที่มีเครือข่ายเป็นของตัวเอง ได้แก่
KPN, T-mobile, Vodafone และ Tele2 ทั้ง 4 บริษัทนี้อ้างว่ามีสัญญาณ 4G
ครอบคลุมถึง 99% ในพื้นที่ของประเทศ นอกเหนือจากผู้ให้บริการหลักแล้ว
ยังมีบริษัทอื่น ๆ ที่อาจยืมเครือข่ายสัญญาของบริษัทหลักมาใช้เช่น Simpel,
Youfone, Hi, Lebara, Lyca Mobile, Robin Mobile, Simyo (เติมเงิน
อย่างเดียว) AH Mobiel (เติมเงินอย่างเดียว) Telfort และ Ortel นักศึกษา
สามารถเปรียบเทียบราคาค่าบริการได้จากเว็บไซต์เครือข่ายผู้ให้บริการได้
โดยตรง หรือมีหลายเว็บไซต์ที่เปรียบเทียบราคา ปริมาณอินเทอร์เน็ต นาที
การโทร เช่น
• https://www.gsmwijzer.nl
• https://www.mobiel.nl
• https://www.expatica.com/nl/mobile_comparison.html
4.6 แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ
4.6.1 การติดต่อสื่อสาร
(1) Whatsapp ใช้สำ�หรับการทำ�งานกลุ่ม
(2) Skype ใช้สำ�หรับการสัมภาษณ์งาน การทำ�งานกลุ่ม

4.6.2 พยากรณ์สภาพอากาศ
(1) Accuweather พยากรณ์สภาพอากาศภาษาอังกฤษและข่าวสารที่น่า
สนใจประจำ�วัน
(2) Buienradar พยากรณ์สภาพอากาศภาษาดัตช์ ค่อนข้างแม่นยำ�มากกว่า
Accuweather
56
4.6.3 ธนาคาร
ORIENTATION HANDBOOK

(1) Bankieren ING bank ใช้โอนเงิน ตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายประจำ�วัน


(2) SuperRichTH ใช้ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
(3) Currency exchange ใช้ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงิน

4.6.4 การเดินทาง
(1) OV-Chipkart ใช้จ่ายค่าเดินทางในเนเธอแลนด์โดยรถไฟ รถบัส ใช้ตรวจ
สอบการชำ�ระเงินค่าเดินทาง
(2) Reisplanner ใช้หาข้อมูลเวลาการเดินรถไฟในเนเธอแลนด์
(3) 9292 ใช้หาข้อมูลเวลาการเดินรถไฟ รถบัส รถรางในเนเธอแลนด์

4.6.5 ส่วนลดสำ�หรับนักเรียน
(1) ISIC หาส่วนลดร้านอาหาร กิจกรรม การเดินทางในแต่ละเมืองต่าง ๆ ทั่ว
ยุโรป
(2) Social deal หาส่วนลดร้านอาหาร ที่พัก กีฬา กิจกรรมยามว่าง

4.6.6 อื่น ๆ
(1) Trip advisor หารีวิวข้ออมูลที่ท่องเที่ยว กิจกรรม ที่พัก ร้านอาหาร และ
กิจกรรมแนะนำ�ในเมืองต่าง ๆ
(2) Dutchnews ข่าวสารข้อมูลในเนเธอแลนด์เป็นภาษาอังกฤษ
(3) Google Translate แปลภาษาดัตช์เป็นภาษาไทยพอเข้าได้แต่ไม่ถูกต้อง
100 %
(4) Duolingo เรียนภาษาดัตช์และภาษาอื่น ๆ แบบไม่ต้องเสียเงิน
(5) Marktplaatsใช้ซื้อขายจักรยาน เฟอร์นิเจอร์ จักรยาน และอื่น ๆ อีก
มากมาย
(6) Thuisbezorgd อาหารตามสั่งส่งถึงบ้าน
(7) DigiD ใช้สำ�หรับติดต่อหน่วยงานราชการของเนเธอร์แลนด์ เช่น การจ่าย
ภาษี การแจ้งความตำ�รวจ การขอสนับสนุนเงินค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
4.7 การติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์
• เหตุฉุกเฉิน เรียกรถตำ�รวจ รถพยาบาล รถดับเพลิง 112
• เบอร์ฉุกเฉินของสถานเอกอัคราชทูตราชทูตไทย ณ กรุงเฮก
(หนังสือเดินทางหาย ฯลฯ) 06 23 66 98 32
• เบอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ สำ�หรับเรื่องอื่น ๆ 07 03 45 07 66

57

ORIENTATION HANDBOOK
ORIENTATION HANDBOOK

58
5. เมื่อสำ�เร็จการศึกษา
5.1 ขั้นตอนการดำ�เนินการเมื่อสำ�เร็จการศึกษา
เมื่อสำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์และมีความ
ประสงค์ที่จะเดินทางกลับประเทศไทย สิ่งที่ควรจัดการเป็นสำ�คัญ ได้แก่ 59

(1) การรับรองปริญญาบัตร (Diploma legalization) คือการนำ�ปริญญาบัตร

ORIENTATION HANDBOOK
ที่ได้รับไปทำ�การรับรองเอกสาร (legalization) เพื่อให้สามารถนำ�ปริญญา
บัตรไปใช้ประกอบการสมัครงาน หรือสมัครศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งใน
ประเทศไทยและต่างประเทศได้ โดยมีขั้นตอนโดยสังเขปดังต่อไปนี้
(1.1) นำ�ปริญญาบัตรไปประทับตราที่กระทรวงศึกษาธิการของประเทศ
เนเธอร์แลนด์ (Ministry of Education, Culture and Science) ที่อยู่
Kempkensberg 12, 9722 TB Groningen โดยจะต้องทำ�การส่งสำ�เนา บรรยากาศการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
ระดับปริญญาเอก
ปริญญาบัตรที่จะนำ�ไปประทับตราผ่านทางหมายเลขโทรสาร 050-599-
8799 หรือสแกนเอกสารส่งทางอีเมล์ ks.dw@ocwduo.nl ก่อนที่จะนำ�
เอกสารตัวจริงไปประทับตราที่เมือง Groningen
ทั้งนี้ต้องตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าทางกระทรวงศึกษาฯ ได้รับสำ�เนา
ปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถสอบถามละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยว
กับการประทับตราปริญญาบัตรได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 050-599-8036
หรือทางเว็บไซต์ https://duo.nl/particulier/international-stu-
dent/your-qualifications/legalization-of-your-dutch-educa-
tional-documents.jsp โดยขั้นตอนนี้มีค่าใช้จ่าย 6 ยูโรต่อเอกสารที่
รับรอง และหากต้องนำ�ปริญญาบัตรไปใช้ประเทศอื่น ที่ไม่ใช่ประเทศไทย
โปรดศึกษาข้อมูลเว็บไซต์ข้างต้นโดยละเอียดอีกครั้ง

(1.2) นำ�ปริญญาบัตรที่มีตราประทับของกระทรวงศึกษาฯ ไปประทับตรา


ที่กระทรวงการต่างประเทศของประเทศเนเธอร์แลนด์ (The Consu-
lar Service Centre, Ministry of Foreign Affairs) ที่อยู่ Rijnstraat
8, 2515 XP Den Haag หมายเลขโทรศัพท์ 024-724-7247 โดย
รายละเอียดขั้นตอนการยื่นเอกสารตามสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์
https://www.netherlandsworldwide.nl/living-working/legali-
sation-of-dutch-documents-for-use-abroad/the-consular-ser- บัณฑิตกับอาจารย์ที่ปรึกษา
vice-centre-cdc โดยขั้นตอนนี้มีค่าใช้จ่าย 10 ยูโรต่อเอกสารที่รับรอง ในวันรับปริญญาบัตร
(1.3) นำ�ปริญญาบัตรที่มีตราประทับของกระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงการ
ต่างประเทศไปรับรองอีกครั้งที่ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ที่
อยู่ Laan Copes van Cattenburch 123, 2585 EZ Den Haag โดย
สามารถเข้าไปดำ�เนินการได้ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30 น.
จนถึงเวลา 12.00 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ไทยและเนเธอร์แลนด์ โดย
สามารถมารับเอกสารที่ได้รับการประทับตราแล้วได้ในวันถัดไป หากมี
ความประสงค์ที่จะรับเอกสารภายในวันเดียวกัน โปรดประสานนัดหมาย
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาเสียก่อน และหากเจ้าของเอกสารไม่สามารถ
มาดำ�เนินการด้วยตนเองได้ โปรดนำ�หนังสือมอบอำ�นาจมาแสดงต่อเจ้า
หน้าที่ โดยขั้นตอนนี้มีค่าใช้จ่าย 15 ยูโรต่อเอกสารที่รับรอง และต้องถ่าย
60
สำ�เนาเอกสารที่จะรับรองมายื่นด้วย
ORIENTATION HANDBOOK

(2) แจ้งยกเลิกสัญญาเช่าที่พักล่วงหน้าตามสัญญาเช่า (ตรวจสอบระยะเวลาที่


ต้องแจ้งล่วงหน้าจากผู้ดูแลที่พักของท่าน)
(3) แจ้งยกเลิกบัญชีธนาคาร บัตรส่วนลดของการรถไฟเนเธอร์แลนด์ การเป็น
สมาชิกภาพต่าง ๆ รวมถึงสัญญารายเดือนและรายปีต่าง ๆ มิฉะนั้นจะมีค่า
ธรรมเนียมต่อไปเรื่อย ๆ อาจเป็นภาระหนี้สินโดยไม่รู้ตัว
(4) แจ้งความจำ�นงเพื่อเดินทางกลับภูมิลำ�เนา
นักศึกษาจะต้องยื่นคำ�ร้องแสดงความจำ�นงโดยสมัครใจเพื่อเดินทางออกจาก
เนเธอร์แลนด์ที่ฝ่ายกิจการพลเรือน (the Civil Affair Department) ในเขต
เทศบาลที่นักศึกษาได้แจ้งลงทะเบียนไว้ ซึ่งเทศบาลจะส่งรายงานต่อให้กับ
IND เพื่อยืนยันข้อมูลการอพยพออกจากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ หากนักศึกษาไม่
แจ้งการอพยพออกจากเนเธอแลนด์อย่างเป็นทางการ IND สามารถเรียกเก็บ
ค่าปรับกับนักศึกษาได้
นอกจากนี้ รัฐบาลดัตช์ถือว่า Resident permit เป็นทรัพย์สินของรัฐบาล
ดังนั้น เมื่อนักศึกษาอพยพออกจากเนเธอร์แลนด์ นักศึกษาจะต้องส่ง
Resident Permit ที่ทำ�ให้เสียหายหรือใช้งานไม่ได้แล้ว (Invalid) ด้วยการ
61
ตัดหรือเจาะรูคืนให้กับ IND โดยทำ�การนัดหมายออนไลน์เพื่อส่งคืนด้วย
ตนเองที่เคาน์เตอร์บริการของ IND ในเขตเทศบาลที่นักศึกษาพักอาศัยอยู่

ORIENTATION HANDBOOK
(https://ind.nl/en/contact/Pages/IND-desks-and-offices.aspx) หรือ
ส่งไปรษณีย์ไปยังอยู่ต่อไปนี้
(5) จัดเตรียมหาวิธีส่งสิ่งของเครื่องใช้กลับประเทศไทย
(6) หาโอกาสไปบอกลาเพื่อน ๆ อาจารย์ ผู้ที่เคารพนับถือในเนเธอร์แลนด์
ORIENTATION HANDBOOK

62
5.2 เว็ปไซต์หน่วยงานสำ�คัญ
• สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก
เว็บไซต์: www.thaiembassy.org/hague
เฟซบุ๊ค: “Royal Thai Embassy The Hague”
หมายเลขโทรศัพท์ (ติดต่อทั่วไป): 070-345-0766
หมายเลขโทรศัพท์ (ติดต่อฉุกเฉิน): 062-366-9832
• Immigration and Naturalization Service
เว็บไซต์: www.ind.nl
หมายเลขโทรศัพท์: 088-043-0430
• สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ส.น.ท.น.)
Thai Student Association in the Netherlands (TSAN)
เว็บไซต์: www.thaistudents.nl
63
เฟซบุ๊ค: “TSAN: Thai Student Association in the Netherlands”

ORIENTATION HANDBOOK
• Nuffic องค์กรจัดการการศึกษาสำ�หรับนักเรียนนานาชาติ
เว็บไซต์: www.nuffic.nl
• กระทรวงศึกษาธิการเนเธอร์แลนด์
เว็บไซต์: https://duo.nl/particulier/international-student/
• กระทรวงต่างประเทศเนเธอร์แลนด์
เว็บไซต์: www.minbuza.nl
• Juridisch Loket (องค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายเบื้องต้น – ภาษาดัตช์)
เว็บไซต์: https://www.juridischloket.nl/
หมายเลขโทรศัพท์: 0900-8020
NOITATNEIRO
KOOBDNAH

O R I E N T A T I O N
SDNALREHTEN EHT
DNALIAHT

H A N D B O O K

ดำ�เนินการผลิตโดย
สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ส.น.ท.น.)
Thai Student Association in the Netherlands (TSAN)
Laan Copes van Cattenburch 123, 2585 EZ The Hague
www.thaistudents-nl.com

You might also like