Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 77

SESSION 1-1 1/20

พฤติกรรมของโครงข้ อแข็งคอนกรีตภายใต้ แรงแผ่นดินไหวและแนวทางการ


ออกแบบอาคารต้ านทานแผ่ นดินไหว
Behavior of Reinforced Concrete Under Earthquake

ศ .ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร


ภาณุวฒั น์ จ้ อยกลัด
ปรีดา ไชยมหาวัน

Email: amorn@siit.tu.ac.th, joy.civil@gmail.com, preeda_sj@hotmail.com

1. การตอบสนองของโครงสร้ างต่ อแรงแผ่ นดินไหว


เมื่อโครงสร้างได้รับแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนที่ผวิ ดิน (Ground motion)
โครงสร้างจะเกิดการโยกตัวไปมา และ มีความเร่ งเกิดขึ้นที่ส่วนต่างๆของโครงสร้าง ทําให้เกิดแรงกระทํา
ทางด้านข้างต่อโครงสร้าง แรงที่กระทําต่อโครงสร้างนี้แท้จริ งแล้วเป็ นแรงเฉื่ อยที่เกิดจากความเร่ งและ
มวลของโครงสร้างนัน่ เอง ค่าความเร่ งสู งสุ ดที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง ขึ้นอยูก่ บั 1. คาบธรรมชาติของ
โครงสร้าง และ 2. ความหน่วง (Damping) ความสัมพันธ์ระหว่างความเร่ งของโครงสร้างกับความเร่ งของ
การสั่นสะเทือนที่ผวิ ดินสามารถอธิ บายได้ดว้ ย Elastic Response Spectrum ดังแสดงใน ภาพที่ 1 ซึ่ งเป็ น
ผลการตอบสนองของโครงสร้างที่มี 1 ดีกรี ความอิสระ จากภาพจะเห็นได้วา่ ความเร่ งที่เกิดขึ้นกับ
โครงสร้างขึ้นอยูก่ บั คาบธรรมชาติและความหน่วงของโครงสร้าง และขนาดของความเร่ งอาจมีค่าสู งกว่า
ความเร่ งที่ผิวดินหลายเท่า ดังนั้นหากออกแบบโครงสร้างให้อยูใ่ นสภาวะอีลาสติก โดยไม่ยอมให้เหล็ก
เสริ มคราก หรื อ โครงสร้างเกิดความเสี ยหายใดๆ ภายใต้แรงกระทําของแผ่นดินไหว ก็ตอ้ งออกแบบให้
โครงสร้างมีกาํ ลังสู งพอที่จะต้านแรงเฉื่ อยนี้ได้ การออกแบบดังกล่าวนี้ถึงแม้จะมีความปลอดภัยแต่ก็ไม่
เป็ นการประหยัด โดยเฉพาะอย่างยิง่ หากแรงแผ่นดินไหวมีค่าสู งมากๆ เพราะจะทําให้ได้โครงสร้างที่มี
ขนาดใหญ่โตเกินความจําเป็ น
SESSION 1-1 2/20

ภาพที่ 1 ผลการตอบสนองของโครงสร้าง 1 ดีกรี ความอิสระ ต่อการเคลื่อนตัวที่ผวิ ดิน

หลักการออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่เป็ นที่ ยอมรับกันอย่างสากลก็คือ การออกแบบให้


โครงสร้างอยู่ในสภาวะอี ลาสติกภายใต้แผ่นดิ นไหวขนาดเล็กซึ่ งมีโอกาสที่ จะกระทําต่อโครงสร้ างได้
หลายๆครั้งในช่ วงอายุการใช้งานของโครงสร้ าง และ ออกแบบให้โครงสร้างอยู่ในสภาวะอินอีลาสติ ก
นั่น คื อ ยอมให้ เกิ ด ความเสี ย หายกับ โครงสร้ า งบ้า ง(เช่ น เกิ ด รอยร้ า ว หรื อ เหล็ ก เสริ ม คราก) โดยที่
โครงสร้างไม่พงั ทลายลงมา ภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวขนาดใหญ่ซ่ ึ งมี โอกาสเพียงครั้งหรื อสองครั้งที่ จะ
กระทําต่อโครงสร้างตลอดช่วงอายุการใช้งาน

2. ความเหนียวและ Plastic hinge (ความเหนียวช่ วยให้ เราลดแรงทีก่ ระทําต่ อโครงสร้ างได้ )


หากเรายอมให้โครงสร้างเกิดความเสี ยหายได้บา้ ง เช่น ยอมให้เกิดรอยร้าวในคอนกรี ต หรื อยอมให้
เหล็กเสริ มครากในระหว่างที่มีแผ่นดินไหวมากระทํา ก็จะทําให้เราสามารถลดขนาดของแรงที่มากระทํา
ต่อโครงสร้างได้ ซึ่ งก็จะทําให้การออกแบบประหยัดขึ้น ทั้งนี้ท้ งั นั้นการที่ยอมให้โครงสร้างเกิดความ
เสี ยหายได้น้ นั ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างจะพังทลายลงมา ถ้าหากว่าเราออกแบบให้โครงสร้างมี
ความเหนียวมากพอ โครงสร้างก็จะไม่พงั ทลายลงมา ความเหนียวจึงเป็ นคุณสมบัติที่สาํ คัญมากของ
โครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหว
SESSION 1-1 3/20

ความเหนียวหมายถึงความสามารถที่โครงสร้างจะเปลี่ยนรู ปได้มากโดยไม่สูญเสี ยกําลังรับนํ้าหนัก


ความเหนียวของโครงสร้างวัดได้จากอัตราส่ วนความเหนี ยว (Ductility ratio) ดังนี้ (ดูภาพที่ 2)

µ∆ = ∆ m / ∆ y (1)

โดยที่ ∆m คือระยะเคลื่อนตัวตอนที่เกิดการวิบตั ิ (ระยะเคลื่อนตัวสู งสุ ด) และ ∆ y คือระยะเคลื่อน


ตัวตอนที่เหล็กเสริ มคราก

Load, P

µ ∆ = ∆m / ∆ y

Plastic hinge

Deflection

y m

ภาพที่ 2 ความเหนียวขององค์อาคาร

ในกรณี คอนกรี ตเสริ มเหล็ก พฤติกรรมขององค์อาคารที่มีความเหนียวในลักษณะนี้ เป็ นพฤติกรรม


ที่เกิดจากการครากของเหล็กเสริ มในลักษณะการดัด (Flexural mode) เมื่อโมเมนต์ที่กระทําต่อหน้าตัด
ใดๆมีค่าเท่ากับกําลังต้านทานโมเมนต์ดดั ก็จะเกิด plastic hinge ที่หน้าตัดนั้น นับจากจุดนี้ไปโมเมนต์ท่ี
หน้าตัดนี้จะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก แต่จะมีการหมุนตัวของหน้าตัดอย่างมาก ความสามารถของหน้าตัดที่จะ
หมุนตัวได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยูก่ บั ความเหนียวของหน้าตัดนั้น กลไกที่ความเหนียวช่วยไม่ให้
โครงสร้างพังทลายลงมานั้นสามารถอธิ บายได้จาก ภาพที่ 3 ดังนี้
SESSION 1-1 4/20

Elastic force, Fe
∆y Displacement at yield
Lateral inertial load ∆r Residual displacement

A ∆ Displacement at ultimate
u

Plastic hinge
Inelastic force, Fi
B
Plastic hinge

∆y ∆u
Lateral deflection

Required ductility

ภาพที่ 3 ความเหนียวขององค์อาคารช่วยลดขนาดแรงแผ่นดินไหวที่ใช้ในการออกแบบลงได้

เปรี ยบเทียบการออกแบบโครงสร้าง 2 แบบคือ


2.1 ออกแบบโครงสร้ างให้ อยู่ในสภาวะอีลาสติก ตามเส้ นทาง A
ในกรณี น้ ีแรงที่ใช้ในการออกแบบ = Fe จะมีค่าสู งมาก แต่เมื่อแผ่นดินไหวจบลงแล้ว องค์อาคารจะ
คืนสู่ สภาพเดิมโดยไม่มีความเสี ยหายหรื อระยะเคลื่อนตัวตกค้างใดๆ ในวิธีน้ ี พลังงานจลน์ (Kinetic
Energy) ที่เกิดจากการสั่นไหวของโครงสร้าง จะถูกดูดซับ (absorb) และสะสมภายในโครงสร้างในรู ป
ของพลังงานศักย์ (Potential energy) และคลืนกลับออกมาได้โดยสมบูรณ์เมื่อเสร็ จสิ้ นแผ่นดินไหวแล้ว
โดยที่ไม่มีการสู ญหายของพลังงาน ดังนั้น ในการออกแบบโดยวิธีน้ ีน้ นั พลังงานมีแต่การเปลี่ยนรู ป
เท่านั้น ไม่มีการสู ญเสี ยพลังงาน พื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนตัวแสดงถึง
พลังงานศักย์ท่ีสะสมในโครงสร้าง ดังแสดงใน ภาพที่ 4

2.2 ออกแบบโครงสร้ างให้ เกิ ดการคราก ตามเส้ นทาง B


ในกรณี น้ ีแรงที่ใช้ในการออกแบบ = Fi จะมีขนาดน้อยกว่า Fe มาก แต่ตอ้ งออกแบบให้องค์อาคาร
มีความเหนียวพอ ในกรณี น้ ี เมื่อแผ่นดินไหวจบลงแล้ว องค์อาคารจะไม่กลับคืนสู่ สภาพเดิม จะมีความ
เสี ยหายและระยะเคลื่อนตัวตกค้างอยู่ โดยการออกแบบให้โครงสร้างมีความเหนียว เราสามารถลดค่าแรง
แผ่นดินไหวที่กระทําต่อโครงสร้างลงได้ ในแนวคิดนี้ พลังงานจลน์ซ่ ึงเกิดจากการเขย่าตัวของโครงสร้าง
จะถูกดูดซับ (absorb) เก็บสะสมเป็ นพลังงานศักย์ส่วนหนึ่ง และ ส่ วนที่เหลือจะสลาย (dissipate)ออกไป
โดยการสร้าง Plastic hinge (ดูภาพที่ 5) โดยพลังงานส่ วนที่สลายไปเนื่องจากการเกิด plastic hinge เป็ น
ส่ วนที่ไม่สามารถกลับคืนได้
SESSION 1-1 5/20

Elastic force, Fe Elastic force, Fe

Lateral inertial load

Lateral inertial load


Inelastic force, Fi

Potential energy
Dissipated energy
Potential energy
∆u ∆y ∆u
Lateral deflection Lateral deflection

ภาพที่ 4 การเปลี่ยนรู ปของพลังงานจลน์ในโครงสร้างเมื่อเกิดแผ่นดินไหว


(ภาพซ้าย : การออกแบบอีลาสติก, ภาพขวา : การออกแบบอินอีลาสติก)

ในภาพที่ 2 จะเห็นได้วา่ ความเหนียวขององค์อาคารได้มาจากการหมุนตัวของ plastic hinge ซึ่ง


เกิดขึ้นที่ปลายด้านล่างขององค์อาคาร เราอาจนิยามความเหนียวของหน้าตัด (Curvature ductility)ได้ดงั นี้
(ดูภาพที่ 5)

µϕ = ϕ m / ϕ y (2)

โดยที่ ϕm คือความโค้งของหน้าตัดตอนที่เกิดการวิบตั ิ (ความโค้งสู งสุ ด) และ ϕy เป็ นความโค้งของ


หน้าตัดตอนที่เหล็กเสริ มเริ่ มคราก ความสัมพันธ์ระหว่างความเหนียวขององค์อาคาร ดังสมการที่ (1) และ
ความเหนียวของหน้าตัด ดังสมการ (2) ขององค์อาคารที่แสดงใน ภาพที่ 2 สามารถเขียนเป็ นสมการได้วา่
(ผูเ้ ขียนขอข้ามขั้นตอนการ derivation)

µ∆ − 1 (3)
µφ = 1 +
3(l p / l )[1 − 0.5(l p / l )]

โดยที่ lp เป็ นความยาวของ plastic hinge และ l เป็ นความยาวขององค์อาคาร ความยาวของ plastic
hinge สามารถคํานวณได้จาก

l p = 0.08l + 0.15d b f y (fy หน่วย MPa, l และ db หน่วย เมตร ) (4)


SESSION 1-1 6/20

ตัวอย่ างโจทย์
เสายืน่ ค.ส.ล. (Cantiliver column) ต้นหนึ่งมีความยาว 4 ม. เสริ มด้วยเหล็ก DB28 เกรด SD30 (กําลัง
คราก = 300 MPa) ต้องออกแบบให้หน้าตัดมีความเหนียว µϕ เท่าไร จึงจะได้ความเหนียวขององค์อาคาร
µ∆ = 6

วิธีทาํ
1. คํานวณความยาว plastic hinge ดังนี้
lp = 0 . 08 × 4 + 0 . 022 × 0 . 028 × 300 = 0 . 5 m

2. ใช้ สมการที่ 3 คํานวณ µϕ ดังนี้


6 1
µφ = 1 + = 15
3( 0 . 5 / 4 )[ 1 0 . 5 ( 0 . 5 / 4 )]

ตัวอย่างนี้ช้ ีให้เห็นว่า การที่เราต้องการให้องค์อาคารมีความเหนียว = 6 ได้น้ นั เราต้องออกแบบให้หน้าตัด


มีความเหนียวสู งถึง 15 ดังนั้นจะเห็นได้วา่ ความเหนียวที่หน้าตัดต้องการ อาจจะมีค่าสู งกว่าความเหนียว
ขององค์อาคารที่ตอ้ งการหลายเท่า

Moment, M M M

Moment, M
µ = ϕ m /ϕ y

Dissipated energy

ϕy ϕ m Curvature, ϕ Curvature, ϕ

Energy dissipation in cyclic loop

ภาพที่ 5 ความเหนียวของหน้าตัด และ พลังงานที่สลายไปเนื่องจากการเกิด plastic hinge

นอกจากนี้ความเหนียวของหน้าตัด หรื อ ของ plastic hinge เป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นเมื่อเหล็กเสริ มคราก


(Ductile flexural yielding) โดยที่คอนกรี ตไม่ crushing และไม่เกิดการวิบตั ิแบบเฉื อน (shear failure) หรื อ
SESSION 1-1 7/20

แบบเหล็กเสริ มดึงรู ด (bond pull-out failure) หากองค์อาคารเกิดการวิบตั ิแบบ crushing หรื อ แบบเฉื อน
การสลายพลังงานจะเกิดไม่ได้ เพราะเป็ นการวิบตั ิแบบเปราะ ดังนั้นเพื่อให้ plastic hinge สลายพลังงาน
ได้ตามต้องการ ต้องออกแบบให้การวิบตั ิเป็ นแบบที่เหล็กเสริ มคราก เมื่อองค์อาคารรับแรงแผ่นดินไหว
องค์อาคารจะเกิดการโยกตัวไปกลับไปมาเป็ นวนรอบ (Cyclic loops) ดังแสดงใน ภาพที่ 5 พื้นที่ภายใน
ลูปแสดงพลังงานที่สลายไปต่อการเคลื่อนที่ 1 รอบ พฤติกรรมการสลายพลังงานดังแสดงในภาพที่ 5
เรี ยกว่าพฤติกรรมอีลาสโต-พลาสติก (Elasto-plastic) ซึ่ งมีคุณลักษณะเด่นคือมี ลูปที่กว้าง สลายพลังงาน
ได้มาก พฤติกรรมขององค์อาคารคอนกรี ตเสริ มหล็กจะมีลูปที่แคบกว่านี้ดงั จะได้อธิ บายต่อไป

3. การสลายพลังงาน และ แนวความคิด Sway mechanism ในโครงข้ อแข็งคอนกรีต


เมื่อมีแรงแนวดิ่งกระทําต่อโครงข้อแข็ง โครงข้อแข็งจะมีการเปลี่ยนรู ป แรงเฉื อน และ โมเมนต์ดดั
ดังแสดงใน ภาพที่ 6 จากภาพจะเห็นว่าโมเมนต์ที่เกิดขึ้นในคานที่บริ เวณเหนือเสาเป็ นโมเมนต์ลบ และ
โมเมนต์ที่เกิดขึ้นที่บริ เวณกลางช่วงคานเป็ นโมเมนต์บวก ส่ วนโมเมนต์ในเสามีค่าค่อนข้างน้อย โดยที่เสา
ต้นในมีโมเมนต์มากระทําน้อยกว่าเสาต้นนอก ส่ วน ภาพที่ 7 แสดงการโก่งตัว แรงเฉื อน และ โมเมนต์ดดั
ในโครงข้อแข็งเมื่อมีแรงแนวราบมากระทํา จะเห็นได้วา่ โมเมนต์มีค่าสู งสุ ดที่ปลายคาน และ ปลายเสา
โดยมีค่าน้อยที่กลางช่วงคาน และ เสา หรื อ อาจกล่าวได้วา่ จุดดัดกลับเกิดขึ้นที่บริ เวณกลางช่วงคาน และ
เสา ดังนั้นเมื่อมีแรงจากแผ่นดินไหวกระทําต่อโครงสร้าง บริ เวณที่จะเกิด plastic hinge จึงได้แก่บริ เวณ
ปลายคาน และ เสา
จากที่ได้อธิ บายมาในหัวข้อก่อนหน้านี้ ว่าการสร้าง plastic hinge ในองค์อาคารเป็ นวิธีการสลาย
พลังงานออกไป และ ช่วยให้เราลดแรงเฉื่ อยที่กระทําต่อโครงสร้างได้ โดยอาศัยภาพที่ 3 เป็ นเกณฑ์ การ
ทําให้โครงข้อแข็งมีการเคลื่อนตัวที่ปลายยอดเท่ากับ ∆u โดยให้เกิด plastic hinge ในองค์อาคารนั้น
อาจจะทําได้ 2 ลักษณะคือ( ดูภาพที่ 8) คือ 1. โครงสร้างสร้าง plastic hinge ที่ปลายคานซึ่ งเรี ยกว่า Beam
sidesway mechanism หรื อ Beam hinge mechanism และ 2. โครงสร้างสร้าง plastic hinge ที่ปลายเสาซึ่ ง
เรี ยกว่า Column sidesway mechanism หรื อ Column hinge mechanism
ในกรณี Beam sidesway mechanism คานเป็ นองค์อาคารที่สร้าง plastic hinge ที่ปลาย ส่วนในกรณี
Column sidesway mechanism เสาเป็ นองค์อาคารที่สร้าง plastic hinge ที่ปลายเสา เมื่อเปรี ยบเทียบความ
เหนียวของหน้าตัดที่ตอ้ งการในองค์อาคารที่จะสร้าง plastic hinge โดยกําหนดให้ระยะเคลื่อนตัวสู งสุ ดที่
ปลายยอดอาคารเท่ากัน การออกแบบในลักษณะ column sidesway mechanism จะต้องการความเหนียว
ของหน้าตัด (curvature ductility) เสาสู งกว่า ความเหนียวของหน้าตัดคานใน beam sway mechanism เป็ น
อย่างมาก ดังนั้นการออกแบบโดยการให้เกิด beam sway mechanism จึงเป็ นวิธีการออกแบบที่ได้รับความ
นิยมมากกว่า และ เป็ นวิธีที่ได้รับการแนะนําจากมาตรฐานการออกแบบหลายๆแห่ง ด้วยเหตุผลว่าการ
ออกแบบตาม beam sidesway mechanism นั้นต้องการความเหนียวของหน้าตัดคานน้อยกว่า
SESSION 1-1 8/20

พฤติ ก รรม Column sidesway mechanism เป็ นที่ รู้จกั กันดี ในอี กชื่ อหนึ่ งว่า soft-story mechanism
และเป็ นหนึ่ งในหลายๆสาเหตุ ที่สําคัญที่ ท าํ ให้โครงสร้ างพังทลายลงมาในการเกิ ดแผ่นดิ นไหวครั้งที่
ผ่ า นๆมา เนื่ อ งจากการออกแบบเสาไม่ มี ค วามเหนี ย วพอ การออกแบบเพื่ อ ให้ เกิ ด beam sidesway
mechanism ทําได้โดยการออกแบบให้เสามีกาํ ลังสู งกว่าคาน มากพอที่จะบังคับให้ plastic hinge เกิดใน
คาน การออกแบบในลักษณะนี้เรี ยกว่า capacity design approach ซึ่ งจะได้อธิ บายในหัวข้อถัดไป

4. การออกแบบโครงข้ อแข็งโดยวิธี Capacity design


ตามที่ได้อธิ บายมา การสร้ าง plastic hinge เป็ นวิธีที่ทาํ ให้โครงสร้ างสามารถสลายพลังงานที่เกิด
จากการเขย่าตัวของโครงสร้ าง โครงข้อแข็งประกอบด้วยคาน เสามาต่อกันที่จุดต่อ ในแง่การออกแบบ
วิ ศ วกรสามารถกํา หนดให้ เกิ ด plastic hinge ในองค์อ าคารใดๆก็ ไ ด้ต ามต้อ งการ กล่ า วคื อ สามารถ
กําหนดให้ องค์อาคารใดๆทําหน้าที่ ส ลายพลังงานออกไปจากโครงสร้ างก็ไ ด้ ในหัวข้อที่ แล้วผูเ้ ขี ย น
แนะนําว่าการออกแบบโครงข้อแข็งเพื่ อต้านทานแรงแผ่นดิ นไหวจําเป็ นต้องให้โครงข้อแข็งมี ความ
เหนี ยวมากพอ ดังนั้นจึงใช้วิธีการออกแบบ คานอ่อน-เสาแข็ง (Weak beam-strong column) เพื่อให้การ
สลายพลังงานเกิดขึ้นในคาน มากกว่าในเสา การออกแบบโครงข้อแข็งตามแนวความคิดนี้ทาํ ได้โดยใช้วิธี
ที่ เรี ยกว่ า Capacity design method ซึ่ งนํ า เสนอโดย Prof. Paulay, Pristley and Park ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย
Canturbury ในประเทศนิวซี แลนด์ หลักการออกแบบโดยวิธีน้ ีสามารถสรุ ปเป็ นขั้นตอนได้ดงั นี้

4.1 ขัน้ ที่ 1 ออกแบบคานรั บโมเมนต์ ดัด


ออกแบบให้คานมีกาํ ลังโมเมนต์ดดั ออกแบบ (Design flexural capacity ซึ่ งเท่ากับ ผลคูณระหว่าง
strength reduction factor กับกําลังโมเมนต์ดดั ระบุ) มากกว่าโมเมนต์ดดั ที่ได้จากผลรวมของโมเมนต์ดดั
เนื่องจากแรงแนวดิ่ง และ แรงแนวราบ (ภาพที่ 6 และ ภาพที่ 7)

4.2 ขัน้ ที่ 2 ออกแบบคานรั บแรงเฉื อน


ออกแบบให้ ค านมี ก ําลังต้า นทานแรงเฉื อ น สู ง กว่าแรงเฉื อ นตอนที่ ค านเกิ ด plastic hinge เพื่ อ
ป้ องกันมิให้คานวิบตั ิดว้ ยแรงเฉื อน ก่อนที่จะเกิด plastic hinge ในคาน เพื่อให้เป็ นไปตามข้อกําหนดนี้
ACI ได้เสนอวิธีคาํ นวณแรงเฉื อนที่ใช้ออกแบบคานดังนี้ (ดูภาพที่ 9)

M n1 + M n 2 wu L (5)
Ve = +
L 2

โดยที่ Mn1 และ Mn2 คือ กําลังต้านทานโมเมนต์ระบุที่ปลายคานทั้งสองด้าน, Wu คือนํ้าหนักบรรทุก


แนวดิ่งเพิ่มค่า และ L คือความยาวช่วงคาน
SESSION 1-1 9/20

(a) (a)

(b) (b)

(c) (c)

ภาพที่ 6 การโก่งตัว แรงเฉื อน และ โมเมนต์ที่ ภาพที่ 7 การโก่งตัว แรงเฉื อน และ โมเมนต์ที่
เกิดขึ้นในโครงข้อแข็งเมื่อรับแรงแนวดิ่ง เกิดขึ้นในโครงข้อแข็งเมื่อรับแรงแนวราบ
SESSION 1-1 10/20

∆u ∆u

θ2
θ1

Beam sidesway mechanism Column sidesway mechanism

ภาพที่ 8 เปรี ยบเทียบระหว่าง Beam sidesway mechanism และ Column sidesway mechanism

Design factored gravity load, W

M o1 Ve Ve M o2

ภาพที่ 9 การคํานวณแรงเฉื อนที่ใช้ในการออกแบบคาน

4.3 ขัน้ ที่ 3 ออกแบบเสารั บโมเมนต์ ดัด


ออกแบบให้เสามีกาํ ลังต้านทานโมเมนต์สูงกว่ากําลังต้านทานโมเมนต์ของคานที่จุดต่อ เพื่อบังคับ
ให้เกิด plastic hinge ในคาน เพื่อให้การออกแบบเสาเป็ นไปตามนี้ ACI ได้มีขอ้ กําหนดสําหรับโครงที่
ต้องการความเหนียวเป็ นพิเศษ (Special moment resisting frame) ดังนี้

∑ Mc > (6/5) ∑ Mg (6.1)

โดยที่ ∑Mc เป็ นผลรวมของกําลังต้านทานโมเมนต์ระบุของเสาที่จุดต่อ และ ∑Mg เป็ นผลรวมของ


กําลังต้านทานโมเมนต์ระบุของคานที่จุดต่อ
SESSION 1-1 11/20

อย่างไรก็ตามสําหรับโครงข้อแข็งที่มีความเหนียจํากัดตามที่ระบุไว้ในกฏกระทรวงไม่ได้มีขอ้ กําหนด
ข้างต้น แต่เพื่อเป็ นการออกแบบที่ดี ผูเ้ ขียนแนะนําให้ใช้สมการข้างล่างนี้
∑ Mc > ∑ Mg (6.2)
นัน่ คืออย่างน้อยเสาจะต้องมีกาํ ลังต้านทานโมเมนต์มากกว่าหรื อเท่ากับของคาน

4.4 ขัน้ ที่ 4 ออกแบบเหล็กตามขวางให้ เสา


เหล็กตามขวางในเสาทําหน้าที่หลายประการเมื่อเกิดแผ่นดินไหว คือ ทําหน้าที่ตา้ นทานแรงเฉื อน
ทําหน้าที่เป็ นเหล็กโอบรัดหน้าตัด (Confinement) เพื่อเพิม่ ความสามารถในการรับแรงอัดของคอนกรี ต
และ ทําหน้าที่ป้องกันการเกิดการโก่งเดาะของเหล็กยืนในเสา (Buckling) และทําหน้าที่รัดหน้าตัดเสา
บริ เวณที่มีการทาบเหล็กยืน ในแง่การออกแบบเหล็กตามขวางเพื่อต้านแรงเฉื อนให้แก่เสา ACI แนะนําให้
ใช้แรงเฉื อนที่คาํ นวณจากกําลังต้านทานโมเมนต์ของคานที่ต่อกับเสาที่จุดต่อ โดยไม่จาํ เป็ นต้องใช้ กําลัง
ต้านทานโมเมนต์ของเสาเนื่ องจากเราได้สมมุติให้คานครากก่อนเสานัน่ เอง

4.5 ขัน้ ที่ 5 ออกแบบจุดต่ อ


ออกแบบจุดต่อให้มีกาํ ลังสู งกว่าแรงที่กระทําเมื่อตอนคานเกิด plastic hinge ที่ปลายคานเพื่อ
ป้องกันไม่ให้จุดต่อวิบตั ิก่อนที่จะเกิด plastic hinge ในคาน การวิบตั ิของจุดต่อคาน-เสาเป็ นเรื่ องสําคัญ
และจะได้อธิ บายในหัวข้อถัดไป

5. Flexural Over-strength
ในระหว่างเกิดแผ่นดินไหว โมเมนต์ที่ทาํ ให้คานเกิด plastic hinge อาจจะมีค่าสู งกว่ากําลังโมเมนต์
ดัดระบุ เพราะกําลังรับโมเมนต์ดดั ที่แท้จริ งมักมีค่าสู งกว่ากําลังโมเมนต์ดดั ระบุของหน้าตัด เราเรี ยกกําลัง
ต้านทานโมเมนต์สูงสุ ดนี้วา่ flexural over-strength ซึ่ งสามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
flexural over-strength (M0) และ nominal strength (Mn) ได้ดงั นี้

M 0 = λ0 M n (7)

โดยที่ λ0 เป็ น over-strength factor


สาเหตุท่ีทาํ ให้กาํ ลังต้านทานโมเมนต์ของ plastic hinge สู งกว่ากําลังต้านทานโมเมนต์ระบุอาจสรุ ป
ได้ดงั นี้
SESSION 1-1 12/20

5.1 กําลังที่แท้ จริ งของคอนกรี ตและเหล็กเสริ มสู งกว่ ากําลังระบุท่ีใช้ ในการออกแบบ


ตัวอย่างเช่น ผลการทดสอบเหล็ก SR24, SD30, และ SD40 แสดงในตารางที่1

ตารางที1่ เปรี ยบเทียบกําลังครากทดสอบและกําลังครากระบุของเหล็ก


กําลังครากทดสอบ (ksc) ของ AIT
Steel grade กําลังครากระบุ (ksc)
ค่าเฉลี่ย % สู งกว่า
SR24 2400 3600 50
SD30 3000 3870 29
SD40 4000 4800 20

5.2 เหล็กในแผ่ นพืน้ และพืน้ ที่หล่ อเป็ นเนื อ้ เดียวกับคาน เพิ่มกําลังต้านทานโมเมนต์ของคานได้ (T-beam
action)
5.3 เหล็กเสริ มมีพฤติกรรม strain hardening ซึ่ งไม่ได้คิดไว้ในตอนออกแบบ
5.4 การโอบรั ดหน้ าตัดด้ วยเหล็กปลอก (confinement) ช่วยเพิ่มกําลังรับแรงอัดของคอนกรี ตได้

6. พฤติกรรมขององค์ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้ แรงสลับทิศ


6.1 พฤติกรรมของคาน
พฤติกรรมการรับแรงสลับทิศของคาน ขึ้นอยูก่ บั อัตราส่ วนช่วงการเฉื อนต่อความลึกประสิ ทธิ ผล
(a/d) หากอัตราส่ วน a/d มีค่ามาก คานก็จะได้รับผลของโมเมนต์ดดั มาก (flexure-dominated beams) แต่
หากอัตราส่ วน a/d มีค่าน้อยคานก็จะได้รับผลของแรงเฉื อนมาก (Shear-dominated beams)

6.1.1 พฤติกรรมของคานที่ได้ รับผลจากโมเมนต์ ดัดมาก (Flexure-dominated beams)


ภาพที่ 10 แสดงพฤติกรรมการรับแรงสลับทิศ ของคาน ค.ส.ล. ซึ่ งมี a/d = 4.5 จากภาพจะเห็ นว่า
กําลังต้านทานโมเมนต์บวกมีค่าสู งกว่ากําลังต้านทานโมเมนต์ลบ เนื่องจากคานมีอตั ราส่ วนเหล็กเสริ มรับ
โมเมนต์บ วกมากกว่า นอกจากนี้ คานตัวที มี ก าํ ลังและความแข็ง เกร็ ง (stiffness) สู งกว่าคานหน้าตัด
สี่ เหลี่ ย มผื น ผ้า เนื่ อ งจากมี ค วามยาวแขนโมเมนต์ ม ากกว่า พฤติ ก รรมของคานที่ แ สดงในภาพเป็ น
พฤติ กรรมที่ มีความเหนี ยวสู ง โดยมี µδ เท่ากับ 5 จากภาพจะเห็ นว่าพื้นที่ ภายในลู ปมีค่ามาก จึงมี การ
สลายพลังงานได้ดี แต่การสลายพลังงานก็ยงั มีค่าน้อยกว่าแบบพฤติกรรมอีลาสโตพลาสติก ข้อแตกต่าง
จากพฤติกรรมอีลาสโตพลาสติกก็คือ stiffness ของเส้น reload มีค่าลดลง ซึ่ งมีสาเหตุมาจากการปิ ดตัวไม่
สนิ ท ของรอยร้ า วที่ เกิ ด ขึ้ นจากการให้ น้ ํ าหนั ก บรรทุ ก ในทิ ศ ตรงข้ า มก่ อ นหน้ า และจากผลของ
SESSION 1-1 13/20

Bauschinger effect ของเหล็กเสริ มดังแสดงใน ภาพที่ 11 และ 12 ตามลําดับ การวิบตั ิของคานเกิดขึ้นจาก


การกะเทาะของคอนกรี ตหลุดออกมา และ การเกิด buckling ของเหล็กเสริ ม

6.1.2 พฤติกรรมของคานที่ได้ รับผลจากแรงเฉื อนมาก (Shear-dominated beams)


ภาพที่ 13 และ 14 เปรี ยบเทียบพฤติกรรมการรับแรงสลับทิศ ของคาน ค.ส.ล. ที่มีอตั ราส่ วน a/d =
2.75 (คาน R-5) และ a/d = 4.41 (คาน R-6) เพื่อให้เข้าใจผลของแรงเฉื อนต่อคาน จะเห็นได้วา่ คาน R-5 มี
อัตราส่ วนช่วงการเฉื อนสั้นกว่า จึงเป็ นคานที่ได้รับผลของแรงเฉื อนมากกว่าคาน R-6 จากภาพจะเห็นว่า
คาน R-5 มีลูปแคบกว่าคาน R-6 เนื่ องจากมี stiffness ของเส้น reload น้อยกว่าของคาน R-6 ดังนั้นการ
สลายพลังงานในรอบการเคลื่อนตัวจึงมีค่าน้อยกว่า สาเหตุที่คาน R-5 มีลูปที่แคบกว่าเพราะรอยร้าวทแยง
ซึ่ งเกิดจากแรงเฉื อนจากนํ้าหนักบรรทุกในทิศตรงข้ามยังเปิ ดอยู่ ทําให้คอนกรี ตไม่สามารถถ่ายแรงเฉื อน
ได้ ดังนั้นเมื่อให้น้ าํ หนักบรรทุกในทิศตรงกันข้าม stiffness ของเส้น reload จึงมีค่าลดลงมาก เนื่องจาก
แรงเฉื อนที่เกิดขึ้นถูกต้านโดยเหล็กปลอกและเหล็กนอนเท่านั้น โดยที่คอนกรี ตมีส่วนต้านน้อยมาก
เนื่องจากรอยร้าวที่เปิ ดกว้างอยู่ ทําให้การถ่ายเทแรงเฉื อนตามแนวรอยร้าวทแยงลดลง ภาพที่ 15 แสดง
การปิ ด เปิ ดของรอยร้าวดัด (แนวดิ่งตั้งฉากกับแกนคาน) และ รอยร้าวทแยง ตามทิศทางการให้น้ าํ หนัก
บรรทุก การให้น้ าํ หนักบรรทุกในลักษณะสลับทิศไปกลับทําให้ผวิ รอยร้าวไถลไปมา ดังนั้นความขรุ ขระ
ของผิวรอยร้าวจะลดลงเรื่ อยๆ เมื่อคานโยกตัวไปกลับหลายๆรอบ เมื่อรอยร้าวมีผวิ เรี ยบก็จะสู ญเสี ย
ความสามารถในการถ่ายเทแรงเฉื อน ภาพที่ 15d แสดงรอยร้าวขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่ที่รองรับของคาน รอย
ร้าวนี้ทาํ ให้คอนกรี ตขาดความต่อเนื่องกับที่รองรับ ดังนั้น แรงเฉื อนที่หน้าตัดนี้จึงถูกต้านทานโดยเหล็ก
บนและเหล็กล่างโดยลําพัง เหล็กปลอกไม่มีส่วนต้านทานแรงเฉื อนเลย การวิบตั ิในลักษณะนี้เรี ยกว่า
Sliding shear failure มักเกิดกับคานที่มีอตั ราส่ วน a/d ตํ่ามากๆ
SESSION 1-1 14/20

ภาพที่ 10 พฤติกรรมการรับแรงสลับทิศของคาน ค.ส.ล. ที่มีผลของโมเมนต์ดดั มาก

Crack occurs under the applied load. Crack remains after the load is removed.

Crack remains even if the load is reversed. Crack fully closes when the reversed load is large.

ภาพที่ 11 การปิ ด-เปิ ดของรอยร้าวตามทิศทางการให้น้ าํ หนักบรรทุก


SESSION 1-1 15/20

σs (tension)

εs

ภาพที่ 12 พฤติกรรม Bauschinger ในเหล็กเสริ มรับแรงดึง

ภาพที่ 13 พฤติกรรมการรับแรงสลับทิศของคาน R-5 (อัตราส่ วน l/d = 2.75)


SESSION 1-1 16/20

ภาพที่ 14 พฤติกรรมการรับแรงสลับทิศของคาน R-6 (อัตราส่ วน l/d = 4.46)

δ,V

V M

(a) (b)

δ,V

δ,V

(c) (d)

ภาพที่ 15 การปิ ดเปิ ดของรอยร้าวดัด รอยร้าวทแยง และ รอยร้าวที่รอยต่อตามรอบการเคลื่อนตัว


SESSION 1-1 17/20

6.2 พฤติกรรมของเสา
ความแตกต่างระหว่างเสากับคานก็คือ เสามีแรงตามแนวแกนมากระทํา ซึ่ งแรงตามแนวแกนเกิด
จาก นํ้าหนักบรรทุกแนวดิ่ง และ นํ้าหนักบรรทุกแนวราบ รวมทั้งความเร่ วของผิวดินในแนวดิ่งด้วย แรง
ตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัดมีท้ งั ข้อดีและข้อเสี ยต่อพฤติกรรมการรับแรงสลับทิศของเสา ข้อดีก็คือช่วยให้
รอยร้าวไม่เปิ ดกว้างมาก ทําให้คอนกรี ตถ่ายแรงได้ดีข้ ึน ดังนั้นลูปจึงมีความกว้างมากขึ้น แต่มีขอ้ เสี ยคือ
ทําให้ความเหนียวลดลง เพราะแรงอัดทําให้คอนกรี ต crush หรื อกะเทาะหลุดออกมาได้ง่ายขึ้น และยังมี
ผลของการขยายโมเมนต์เนื่องจากแรงตามแนวแกน หรื อ P- ∆ effect อีกด้วย กล่าวโดยสรุ ปก็คือหาก
ระดับของแรงอัดตามแนวแกนมีค่าไม่มากนัก ก็จะเป็ นผลดีต่อเสา แต่หากแรงอัดมีค่าสู งจะเป็ นผลเสี ย
มากกว่า

Column

0.85fc ba H
M1 M2
As1 fs As1 fy
Max. horizontal shear
Beam steel
Typical 0.85fc ba Vmax = As1 fy + As2 fy - H
Beam horizont
al plane
As2 fy As2 fs

ภาพที่ 16 แรงเฉื อนแนวราบกระทําที่จุดต่อ

6.3 พฤติกรรมของจุดต่ อ
ภายใต้น้ าํ หนักบรรทุกแนวดิ่ง จุดต่อไม่ค่อยจะรับแรงอะไรมากมายนัก เพราะ โมเมนต์ที่ปลายคาน
ทั้งสองด้านของจุดต่อมีทิศตรงกันข้ามกัน (เป็ นโมเมนต์ลบด้วยกันทั้งคู่) ดังแสดงในภาพที่ 6c ดังนั้นจึงมี
การถ่ายเท unbalanced moment เข้าไปในจุดต่อไม่มากนัก ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีแรงด้านข้างกระทําต่อ
โครงข้อแข็ง จุดต่อระหว่างเสาและคานจะเป็ นบริ เวณที่มีการถ่ายแรงสู งมาก ที่เป็ นเช่นนี้เพราะ โมเมนต์ที่
ปลายคานทั้งสองด้านของจุดต่อมีทิศเดียวกัน ดังแสดงใน ภาพที่ 7c ดังนั้นจึงทําให้เกิด unbalanced
moment สู งถ่ายเข้าไปที่จุดต่อ ผลของ unbalanced moment นี้ทาํ ให้เกิดแรงเฉื อนแนวนอนขนาดมหาศาล
กระทําที่จุดต่อดังแสดงใน ภาพที่ 16 ซึ่ งสามารถคํานวณได้จาก
SESSION 1-1 18/20

V j = As1 f y + As 2 f y − H (7)

แรงเฉื อนขนาดมหาศาลที่เกิดขึ้นนี้ ทําให้จุดต่อเกิดการวิบตั ิแบบ joint shear failure ได้ ลักษณะที่


สําคัญของ joint shear failure คือการมีรอยร้าวทแยงตัดกันเป็ นมุม 90° ที่บริ เวณจุดต่อดังแสดงใน ภาพที่
18a นอกจากนี้หากพิจารณาสภาพสมดุลของเหล็กเสริ ม จะเห็นว่าปลายด้านหนึ่งของเหล็กต้องรับแรงดึง
ในขณะที่ปลายอีกด้านหนึ่งต้องรับแรงอัด ดังแสดงใน ภาพที่ 17 ดังนั้น แรงที่เกิดขึ้นในเหล็กจะมีค่าสู ง
มาก และ ต้องอาศัยแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรี ตเพื่อให้เกิดความสมดุล ดังนั้นเหล็กเสริ มจึงอาจเกิดการวิบตั ิ
เนื่องจาก แรงยึดเหนี่ยว (Bond failure) เมื่อเกิดการวิบตั ิเนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวคอนกรี ตจะไม่สามารถ
ยับยั้งการโตของรอยร้าวได้ ทําให้เหล็กรู ดไถล (slip) จากคอนกรี ตได้ง่าย จึงสังเกตเห็นรอยร้าวขนาด
ใหญ่ที่รอยต่อระหว่างจุดต่อกับคานดังแสดงใน ภาพที่ 18b การวิบตั ิในลักษณะนี้เรี ยกว่า bond pull-out
failure การวิบตั ิท้ งั แบบ joint shear failure และแบบ bond pull-out failure เป็ นการวิบตั ิแบบเปราะ มีการ
สลายพลังงานได้นอ้ ย ภาพที่ 19 แสดงพฤติกรรมการรับนํ้าหนักสลับทิศของจุดต่อภายใน ซึ่งการวิบตั ิที่
เกิดขึ้นเป็ นแบบผสมระหว่าง joint shear failure และ bond pull-out failure จากภาพจะเห็นได้วา่
พฤติกรรมของโครงสร้างปราศจากความเหนียว และ ลูปมีการสลายพลังงานได้นอ้ ย ไม่เหมาะกับการ
ต้านทานแรงแผ่นดินไหว ดังนั้นการออกแบบตามวิธี capacity design จําเป็ นต้องป้ องกันการวิบตั ิที่เกิด
ขึ้นกับจุดต่อ เพื่อที่จะให้การสลายพลังงานเกิดขึ้นในคานตามหลักการ คานอ่อน-เสาแข็ง

A s1f s A s1 f y

Fb
Fb = A s1 f y + A s1f s

ภาพที่ 17 สภาพสมดุลของเหล็กเสริ มที่วง่ิ ผ่านจุดต่อ


SESSION 1-1 19/20

120

100

80

60

40

20
Force (KN)

-20

-40

-60

-80

-100

-120
-140 -120 -100 -80 -60 -40 -20 0 20 40 60 80 100 120
Displacement (mm)

ภาพที่ 19 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะแรงและระยะเคลื่อนตัวของจุดต่อคาน-เสา

7. บทสรุ ป
บทความนี้แนะนําให้ผอู ้ ่านได้รู้จกั พฤติกรรมขององค์อาคารค.ส.ล. และ โครงข้อแข็ง ค.ส.ล.
ภายใต้แรงแผ่นดินไหว โดยผูเ้ ขียนได้แนะนําให้ผอู ้ ่านได้รู้จกั การผลการตอบสนองแบบอีลาสติกของ
โครงสร้างต่อแรงแผ่นดินไหว โดยชี้ให้เห็นว่าแรงที่กระทําต่อโครงสร้างเนื่องจากแผ่นดินไหว แท้จริ ง
แล้วเป็ นแรงเฉื่ อยที่เกิดจากความเร่ ง และ มวลของอาคาร และขนาดของความเร่ งที่เกิดขึ้นนี้อาจจะมีค่า
มากเป็ นหลายเท่าของความเร่ งที่ผวิ ดิน จากนั้นผูเ้ ขียนได้ช้ ีให้เห็นต่อไปว่าวิศวกรไม่จาํ เป็ นต้องออกแบบ
ให้โครงสร้างอยูใ่ นสภาพอีลาสติก ภายใต้แรงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีโอกาสกระทําต่อโครงสร้างเพียง
1 หรื อ 2 ครั้งตลอดอายุของโครงสร้าง เพราะจะทําให้ได้โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่เกินจําเป็ น และเป็ นการ
ออกแบบที่ไม่ประหยัด วิธีการออกแบบที่เป็ นที่ยอมรับอย่างสากลมากกว่าคือออกแบบให้องค์อาคารเกิด
การคราก หรื อสร้าง plastic hinge ในระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ซึ่ งก็จะทําให้สามารถลดแรงที่มากระทําต่อ
โครงสร้างลงได้เป็ นอย่างมาก ทั้งนี้ท้งั นั้นต้องออกแบบให้โครงสร้างมีความเหนียวพอเพียง ผูเ้ ขียนได้
ชี้ให้เห็นว่าการสร้าง plastic hinge เป็ นการสลายพลังงานออกไปจากโครงสร้าง
ในลําดับต่อไป ผูเ้ ขียนได้อธิ บายว่ารู ปแบบการสร้าง plastic hinge ในโครงสร้างนั้นทําได้ 2
รู ปแบบคือ การสร้าง plastic hinge ที่ปลายคานซึ่ งเรี ยกว่า beam hinge mechanism และ การสร้าง plastic
hinge ที่ปลายเสาซึ่ งเรี ยกว่า column hinge mechanism โดยผูเ้ ขียนชี้ให้เห็นว่ากลไก beam hinge
mechanism หรื อรู ้จกั ในอีกชื่ อหนึ่งว่า weak beam-strong column เป็ นวิธีที่ได้รับการแนะนําจากมาตรฐาน
SESSION 1-1 20/20

การออกแบบหลายๆแห่ง เพราะการออกแบบด้วยวิธีดงั กล่าวต้องการความเหนียวของหน้าตัดคานน้อย


กว่า การออกแบบเพื่อให้เกิดกลไก beam hinge mechanism นั้นทําได้โดยทําตามขั้นตอนการออกแบบที่
เรี ยกว่า Capacity design method
ในหัวข้อสุ ดท้ายของบทความนี้ ผูเ้ ขียนได้อธิ บายพฤติกรรมการรับแรงสลับทิศของคาน เสา และ
จุดต่อ โดยชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของคานขึ้นอยูก่ บั อัตราส่ วนช่วงการเฉื อนต่อความลึกประสิ ทธิ ผล ส่ วน
พฤติกรรมของเสาต้องยังคํานึ งถึงผลของแรงตามแนวแกนด้วย นอกจากนี้ยงั ได้เน้นว่าจุดต่อเป็ นบริ เวณที่
มีการถ่ายเทแรงระหว่างองค์อาคารสู งมากภายใต้แรงแผ่นดินไหว การวิบตั ิของจุดต่ออาจเกิดจากการวิบตั ิ
เนื่องจากแรงเฉื อน หรื อ การดึงรู ดไถลของเหล็กนอนในคาน

8. เอกสารอ้ างอิง
ACI318, 1999. Building Code Requirements for Structural Concrete (318M-99) and Commentary
(318RM-99). American Concrete Institute.
D.J. Dowrick, 1977. Earthquake Resistant Design. New York: John-Wiley & Sons.
G.P. Penelis and A.J. Kappos, 1997. Earthquake-Resistant Concrete Structures. New York: E & FN
SPON.
J.G. MacGregor, 1992.. Reinforced Concrete Mechanics and Design. USA: Prentice Hall International.
K. Maekawa, A. Pimanmas and H.Okamura, 2003. .Nonlinear Mechanics of Reinforced Concrete.
Spon Press.
Proc. of the 5th Workshop, 2005. Design of building against earthquakes. Engineering Institute of
Thailand.
R. Park and T. Paulay, 1975. Reinforced Concrete Structures. USA: John-Wiley & Sons.
T. Paulay and M.J.N. Priestley, 1992. Seismic Design of Reinforced Concrete and Masonry Buildings.
USA: John-Wiley & Sons.
บทที่ 2
หลักการออกแบบอาคารต้ านทานแผ่ นดินไหว

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ
เลขาธิการสภาวิศวกร
ประธานคณะอนกุ รรมการทดสอบความร้ ูความชํานาญระดับสามัญวิศวกร (โยธา)

1
หลักสําคัญของการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว
มยผ. กฎกระทรวง

รู ปทรง เสถียรภาพ

กําลัง ความเหนียว

กฎกระทรวง มยผ.
2
Ft การวิเคราะห์ดว้ ยวิธีแรงสถิตย์เทียบเท่า

พิจารณาแผ่นดินไหวเป็ น
แรงสถิตย์กระทําใน
แนวนอน
W = นน. อาคารทั้งหมด

BASE SHEAR, V

V=ZIKCS W
Acceleration (Sa) % g
3
กฏกระทรวง พ.ศ. 2550
การรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพืน้ ดินที่รองรับอาคาร
ต้านแผ่นดินไหว
แรงเฉือนในแนวราบที่ระดับพื้นดิน V
V = ZI K CSW
สัมประสิทธิ์ของ นํ้าหนักของตัวอาคาร
ความเข้มของแผ่นดินไหว สัมประสิทธิ์ของการประสาน
ความถี่ธรรมชาติ
ตัวคูณเกี่ยวกับการใช้งาน
ระหว่างอาคารและชั้นดิน
สัมประสิทธิ์ของโครงสร้าง

อาคารที่รบั แรงตามแนวราบ สัมประสิทธิของคาบธรรมชาติ
4
Zone Factor (Z)

บริเวณ ค่า Z
1 0.19
2 0.38

Importance Factor (Z)


ชนิดของอาคาร ค่า I
จําเป็ นต่อความเป็ นอยู่ของสาธารณชน 1.50
เป็ นที่ชมุ ชนครัง้ หนึ่ งๆ ได้มากกว่า 300 คน 1.25
อาคารอื่นๆ 1.00

5
ส.ป.ส. ของโครงสร้างที่รบั แรงในแนวราบ(K)
ระบบและชนิดของโครงสร้างรับแรงในแนวราบ K
(1) ออกแบบให้กาํ แพงรับแรงเฉือน/โครงแกงแนงรับแรงทัง้ หมด 1.33
(2) ออกแบบให้โครงต้านแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวต้าน (DMRF) ทานแรงทัง้ หมด 0.67
(3) ออกแบบให้โครงต้านแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวรับแรงร่วมกับกําแพงรับแรงเฉือนหรือโครงแกงแนง โดย 0.80
มีขอ้ กําหนด ดังนี้
- โครงต้านทานแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวต้องรับแรงในแนวราบได้ไม่น้อยกว่า 25%
- กําแพงรับแรงเฉือน/โครงแกงแนงเมือ่ แยกออกจากโครงสร้างต้องรับแรงได้ทงั ้ หมด
- โครงต้านทานแรงดัดทีม่ คี วามเหนียว + กําแพงรับแรงเฉือน/โครงแกงแนง ต้องสามารถรับแรงใน
แนวราบได้
ทัง้ หมด โดยสัดส่วนของแรงทีก่ ระทําต่อโครงสร้างแต่ละระบบ ให้เป็ นไปตามสัดส่วนความคงตัว
(Rigidity) โดย
คํานึงถึงการถ่ายเทแรงระหว่างโครงทัง้ สอง
(4) หอถังนํ้า รองรับด้วยเสาไม่น้อยกว่า 4 ต้น มีแกงแนงยึดและไม่ตงั ้ อยูบ่ นอาคาร 2.50
หมายเหตุ ค่า K คูณกับ C ต้องไม่น้อยกว่า 0.12 และไม่เกิน 0.25
(5) โครงต้านทานแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวจํากัดและโครงสร้างระบบอืน่ ๆนอกเหนือจาก (1) ถึง (4) 1.00
6
1
C-factor
C = Min [ , 0.12]
15 T
C
(1) สําหรับอาคารทัวไป

0.12 T = 0.09hn / D

(2) สําหรับอาคารทีม่ โี ครงต้านทานแรงดัดทีม่ คี วามเหนียว


T T = 0.1N

Soil Factor ดินอ่ อนมาก : ดินเหนียวอ่อนที่มีกาํ ลังต้านทาน


ลักษณะของชัน้ ดิน ค่าของ S แรงเฉื อนของดินในสภาวะไม่ระบายนํ้า ไม่
หิน 1.0 มากกว่า 2,400 กก./ม.2 และมีความหนาของ
ดินแข็ง 1.2 ชั้นดินมากกว่า 9 ม. เช่น กทม. นนทบุรี
ดินอ่อน 1.5 ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ดินอ่อนมาก 2.5
7
การกระจายแรงเฉื อน
 ให้แปลงแรงเฉือนในแนวราบทีร่ ะดับพืน้ ดินออกเป็ นแรงในแนวราบทีช่ นั ้ บนสุดของอาคารดังนี้
Ft = Min(0.07TV , 0.25V)

โดยหาก T น้อยกว่าหรือตํ่ากว่า 0.7 วินาที ให้ใช้คา่ Ft = 0


 ให้กระจายแรงเฉือนในแนวราบออกเป็ นแรงในแนวราบต่อพืน้ ชัน้ ต่างๆ Fx (รวมชัน้ บนสุด) ดังนี้
T : คาบของโครงสร้าง (วินาที)
Fx = (V – Ft)wxhx wx,wi : นํ้าหนักของพืน้ ชัน้ ที่ x และชัน้ ที่ i
n hx,hi : ความสูงจากระดับพืน้ ดินถึงพืน้ ชัน้ ที่ x และชัน้ ที่ i
Σwihi x,i =1 : สําหรับพืน้ ชัน้ แรกทีอ่ ยูส่ งู จากถัดจากพืน้ ชัน้ ล่างของอาคาร
i=1 n
Σw h
i=1 i i
: ผลรวมของผลคูณระหว่างนํ้าหนักกับความสูงจากพืน้ ชัน้ ที่ 1 ถึง n
n : จํานวนชัน้ ทัง้ หมดทีอ่ ยูเ่ หนือระดับพืน้ ดิน
8
แรงตามแนวดิง่ แรงตามแนวนอน

9
การวิบตั ิมกั เกิดขึ้นที่ปลายชิ้นส่ วน 1. ต้องเสริ มเหล็กปลอกให้แน่หนา
2. ต้องหลีกเลี่ยงการทาบต่อเหล็ก
เสริ มบริ เวณดังกล่าว

10
หลักการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว
∆ u ระยะเคลื่อนตัวทางราบ
แรง

11
Elastic Design Yielding Design

แรงแผ่ นดินไหว
แรงแผ่ นดินไหว

คราก

∆y
∆u ระยะเคลื่อนตัว ∆u ระยะเคลื่อนตัว
ความเหนียวทีต่ ้ องการ

12

หลักการออกแบบอาคารต้∆านทานแผ่นดินไหว
u u

θ2
θ1

Beam sidesway mechanism Column sidesway mechanism


Code recommended !!! Soft story mechanism
Require less curvature ductility demand
ต้องออกแบบให้คานมีกาํ ลังตํ่ากว่าเสา Weak beam-strong column
13
การออกแบบโครงข้ อแข็งโดยวิธี Capacity design
Concept: Prof. T. Paulay and R. Park (University of Canturbury, NZ)
Code: ACI Building Code

ขั้นที่ 1 ออกแบบคานรับโมเมนต์ ดดั Weak beam – Strong column

φM n ≥ 0.75(1.4 MD +1.7 ML + 1.87ME) ACI 318-99

Mg ME

14
ขั้นที่ 2 ออกแบบคานรับแรงเฉื อน
Wu

φVn > Vu Mn1 Mn2

Vu = Wu L
+
M n1 + M n2
L
2 L

Vu = 0.75(1.4 VD +1.7 VL+1.87 x 2 x VE)

แรงเฉื อนที่เกิดจากนํ้าหนักบรรทุก
แนวดิ่งเพิม่ ค่า = Wu L/2

แรงเฉื อนที่เกิดขึ้นเมื่อปลายคาน Mn1 Mn2

เกิดโมเมนต์ดดั = M n1 + M n2
L

15
ขั้นที่ 3 ออกแบบเสารับโมเมนต์ ดดั
∑ Mnc ≥ 6 ∑ Mng โครงที่มีความเหนียวพิเศษ ในอเมริ กา ญี่ปุ่น เป็ นต้น
5
∑ Mnc ≥ ∑ Mng โครงที่มีความเหนียวจํากัด
Mc

∑Mc ผลรวมกําลังต้านทานโมเมนต์ของเสา Mg
Mg
∑Mg ผลรวมกําลังต้านทานโมเมนต์ของคาน

ขั้นที่ 4 ออกแบบเหล็กตามขวางให้ เสา Mc

Shear failure ----- ต้องออกแบบเสารับแรงเฉื อนด้วย

Buckling ------ ระยะเรี ยงเหล็กปลอก

Confinement ----- ระยะเรี ยงเหล็กปลอก และ 135 degree hook

16
โครงทีม
่ ค
ี วามเหนียวจํากัด

1. ระยะเรี ยง: S1 < d/4 or 24ds or 8 db or 30 cm


2.1 +Mnl > 1/3 –Mnl 2.2 +Mnr > 1/3 –Mnr 2.3 +Mn and –Mn at any section > 1/5 max(Mnl, Mnr)
3. ควรหลีกเลี่ยงการทาบเหล็กในระยะ 2h จากขอบเสา 6d ≥ 75 mm
b

4. S2 จะต้องไม่มากกว่า d/2 D = 4d
b

Seismic Hook
db
17
Beam รายละเอียดการเสริ มเหล็กในเสา
l0 s0
1. s0 ต้องไม่เกิน
a. 8 เท่าของ dia เหล็กยืน
b. 24 เท่า dia เหล็กปลอก
Column ties

c. ด้านแคบ/2
st d. 30 cm.
l0 2. l0 ต้องไม่นอ้ ยกว่า
< s0/2
a. H/6 ข. Bs ค. 50 ซม.
Beam

< s0/2
3. ไม่ทาบต่อเหล็กยืนในระยะ l0
4. St ต้องไม่มากกว่า 2S0
l0

Bs
BL > Bs
BL
18
• ของอ (Hook) : จะต้องใช้ของอ 90 องศาและ 135 องศา สําหรับ
อาคารทัวไปและอาคารสาธารณะตามลํ
่ าดับ

(ที่มา มยผ. 1301-54)


19
ขั้นที่ 5 ออกแบบจุดต่ อ
จุดต่อจะต้องไม่วิบตั ิก่อนที่คานจะคราก
Gravity

Mg
Mg

Earthquake
Mc

Mg
Mg

Mc
20
พฤติกรรมของข้ อต่ อคานเสา
เสา
Joint shear failure
0.85fc ba Vcol

As1 fs คาน
As1 As1 fy

Mn1
0.85fc ba Mn2
As2 fs
As2 As2 fy

แรงเฉือนแนวนอนในข้อต่อ
การออกแบบ
Vj = As1 fs + 0.85fc ba + As1 fy - Vcol
Vj < φ Vjn
Vj = As2 fy + As1 fy - Vcol
21
Detail of transverse joint reinforcement
Typical Specimen JTR Specimen SMRF Specimen
Modified IMRF

No joint 2-RB6@50 1-DB10@50


reinforcement

22
การวิบัติของจุดต่ อ
Typical Specimen JTR Specimen SMRF Specimen

Joint Shear Failure Joint Shear Failure Joint Shear Failure

ไม่ใส่ เหล็กปลอก ใส่ เหล็กปลอก 6 เท่าของ ใส่ เหล็กปลอก 10 เท่าของ


เหล็กปลอกขั้นตํ่า เหล็กปลอกขั้นตํ่า

23
100 100
Story shear force (kN)

Story shear force (kN)


80 80
60 60
40 40
20 20
0 0
-20 -20
-40 -40
-60 Experiment -60 Experiment
-80 -80
-100 -100
-6 -4 -2 0 2 4 6 -6 -4 -2 0 2 4 6
Story drift(%) Story drift(%)
24
การออกแบบเพื่อป้องกันการวิบตั ิที่จุดต่อ
1. หน้าตัดเสามีขนาดโตพอ
2. เหล็กปลอกในข้อต่อขั้นตํ่า

เสา เหล็กปลอกในข้อต่อ
Av = 3.5 b s/ fy

คาน

25
Vj < φVn
• การออกแบบเหล็กเสริมในข้อต่อเสาคาน
3. กําลังรับแรงเฉื อนระบุ มีค่าดังต่อไปนี้ หน่วย SI หน่วย metric
- ข้อต่อได้รบั การยึดรัง้ จากคานทัง้ 4 ด้าน, Vn = 1.4 fc′ A j V = 5.4 f ′ A
n c j

- ข้อต่อได้รบั การยึดรัง้ จากคานทัง้ 2 หรือ 3 ด้าน,Vn = 1.25 fc′ A j V = 3.9 f ′ A


n c j

- ข้อต่ออื่นๆ, Vn = 1.0 f c′ A j Vn = 3.2 f c′ A j

4 ด้าน 2/3 ด้าน อื่นๆ

26
ที่มา มยผ. 1301-54

27
การตรวจสอบความมันคงของโครงสร้
่ าง
การตรวจสอบการเคลื่อนตัวระหว่างชัน้ (Interstory drift)

DRIFT
 0.04h i 
• เมื่อ T < 0.70 s ∆ i ≤ min
 Rw
,0.005h i 

V
beam

 0.03h i  h
• เมื่อ T >= 0.70 s ∆ i ≤ min ,0.004h i  column
 Rw 

Stiffness effect
โดยค่าการเคลื่อนตัวระหว่างชัน้
สามารถคํานวณได้จากโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ 3 มิติ (ไม่รวมผลของการบิด)

28
การตรวจสอบความมันคงของโครงสร้
่ าง

29
การตรวจสอบความมันคงของโครงสร้
่ าง
การตรวจสอบการพลิกควํา่ (Overturn)
68.12 T

97.66 T
MR
F .S . = 84.25 T

MO 70.85 T
W=8,557.64 T
57.44 T

29.0
เมื่อ Mo คือ โมเมนต์พลิกควํา่
25.5
44.04 T

22.0
18.5
30.64 T

MR คือ โมเมนต์ต้านการพลิกควํา่
15.0
11.5
17.67 T

8.0
4.5
ต้องมากกว่า 1.5
A
5.0 5.0 5.0 5.0 5.0

30
การตรวจสอบความมันคงของโครงสร้
่ าง
การตรวจสอบผลกระทบเนื่ องจากแรงและการเคลื่อนตัว (P-∆ Effect)
Pi ∆ i
θi =
Vi h i

สัมประสิทธิค์ วามมันคง ่ (Stability Coefficient) ซึ่งเป็ นอัตราส่วนระหว่าง


โมเมนต์ที่เพิ่มขึน้ เนื่ องจากการเคลื่อนตัวทางข้างต่อโมเมนต์ที่เกิดจาก
แรงแผ่นดินไหว หากไม่เกิน 0.10 ไม่ต้องคิด P-∆

31
บทที่ 3
การคานวณแรงแผ่นดินไหวตาม กฏกระทรวงฯ พ.ศ. 2550
การรับน้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร
และพืน้ ดินที่รองรับอาคารต้านแผ่นดินไหว

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ
เลขาธิการสภาวิศวกร

1
พืน้ ที่และบริเวณเฝ้ าระวัง
 บริเวณเฝ้ าระวัง : พืน้ ทีห่ รือบริเวณทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบจากแผ่นดินไหวได้แก่
จังหวัดกระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลาและสุราษฏร์ธานี
 บริเวณที่ 1 : พืน้ ทีห่ รือบริเวณทีเ่ ป็ นดินอ่อนซึง่ อาจได้รบั ผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ระยะไกล ได้แก่จงั หวัด กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร
 บริเวณที่ 2 : พืน้ ทีๆ่ อยูใ่ กล้รอยเลื่อนทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่
จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลาปาง ลาพูนและ
แม่ฮ่องสอน

2
บริเวณและอาคารที่บงั คับใช้
(ก) อาคารที่จาเป็ นต่อสาธารณชน เช่น สถานพยาบาลทีร่ บั ผูป้ ่ วยไว้คา้ งคืน สถานี
ดับเพลิงอาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อาคารศูนย์สอ่ื สาร ท่าอากาศยาน
โรงไฟฟ้ า โรงผลิตและเก็บน้าประปา
(ข) อาคารเก็บวัตถุอนั ตราย เช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมพี ษิ วัตถุกมั มันตรังสี
หรือวัตถุทร่ี ะเบิดได้
(ค) อาคารสาธารณะ เช่น โรงมหรสพ หอประชุม หอศิลป์ พิพธิ ภัณฑสถาน หอสมุด
ศาสนสถาน อัฒจันทร์ ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานีรถและโรงแรม
(ง) สถานที่ศึกษา
3
บริเวณและอาคารที่บงั คับใช้
(จ) สถานที่รบั เลีย้ งเด็ก
(ฉ) อาคารที่มีผใ้ ู ช้อาคารได้ดงั ้ แต่ห้าพันคนขึน้ ไป
(ช) อาคารที่มีความสูงตัง้ แต่ 15 ม. ขึน้ ไป
(ซ) สะพานหรือทางยกระดับที่มีศนู ย์กลางตอม่อตัง้ แต่ 10 ม. ขึน้ ไป
(ฌ) เขื่อนกักเก็บน้า เขื่อนทดน้าหรือฝายทดน้า ที่ตวั เขื่อนหรือตัวฝายมีความ
สูงตัง้ แต่ 10 ม. ขึน้ ไป

4
เงื่อนไขในการออกแบบ
 การจัดรูปแบบทางเรขาคณิตให้มเี สถียรภาพในการต้านทานการสันสะเทื
่ อน
ของแผ่นดินไหว
 รายละเอียดปลีกย่อยชิน้ ส่วนโครงสร้าง รวมทัง้ บริเวณรอยต่อระหว่างปลายชิน้ ส่วน
โครงสร้างต่างๆต้องมีความเหนียวเทียบเท่าความเหนียวจากัด (Limited Ductility)
 ในการออกแบบให้ใช้ค่าหน่วยแรงทีม่ ากกว่าระหว่างแรงจากแผ่นดินไหวและแรงลม
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ร.บ 2522)

5
อาคารรูปทรงสมา่ เสมอ
 การออกแบบโครงสร้างอาคารทีม่ ลี กั ษณะเป็ นตึก บ้าน เรือน หรือลักษณะคล้ายๆ
กันและไม่อยู่ในบริเวณเฝ้ าระวัง ให้คานวณแรงเนื่องจากแผ่นดินไหว ดังนี้
Ft
V = ZIKCSW
V : แรงเฉือนทีฐ่ านในแนวราบ
Z : ส.ป.ส. ความเข้มของแผ่นดินไหว
I : ตัวคูณเกีย่ วกับการใช้อาคาร
K : ส.ป.ส. ของโครงสร้างทีร่ บั แรงในแนวราบ
C : ส.ป.ส. ของคาบของโครงสร้าง
W
Base Shear, V S : สัมประสิทธิของการประสานความถี
์ ธ่ รรมชาติระหว่าง
อาคารและชัน้ ดิน
W : น้ าหนักของตัวอาคาร 6
การกระจายแรงเฉื อน
 ให้แปลงแรงเฉือนในแนวราบทีร่ ะดับพืน้ ดินออกเป็ นแรงในแนวราบทีช่ นั ้ บนสุดของอาคารดังนี้
Ft = Min(0.07TV , 0.25V)

โดยหาก T น้อยกว่าหรือต่ากว่า 0.7 วินาที ให้ใช้คา่ Ft = 0


 ให้กระจายแรงเฉือนในแนวราบออกเป็ นแรงในแนวราบต่อพืน้ ชัน้ ต่างๆ Fx (รวมชัน้ บนสุด) ดังนี้
T : คาบของโครงสร้าง (วินาที)
Fx = (V – Ft)wxhx wx,wi : น้าหนักของพืน้ ชัน้ ที่ x และชัน้ ที่ i
n hx,hi : ความสูงจากระดับพืน้ ดินถึงพืน้ ชัน้ ที่ x และชัน้ ที่ i
Swihi x,i =1 : สาหรับพืน้ ชัน้ แรกทีอ่ ยูส่ งู จากถัดจากพืน้ ชัน้ ล่างของอาคาร
i=1 n
Sw h
i=1 i i
: ผลรวมของผลคูณระหว่างน้าหนักกับความสูงจากพืน้ ชัน้ ที่ 1 ถึง n
n : จานวนชัน้ ทัง้ หมดทีอ่ ยูเ่ หนือระดับพืน้ ดิน
7
การวิเคราะห์อื่นๆสาหรับอาคารรูปทรงสมา่ เสมอ

ในการคานวณออกแบบโครงสร้างที่มีรปู ทรงตามที่ระบุ ผูอ้ อกแบบอาจ


ใช้วิธีอื่นได้ โดยที่

 การคานวณต้องเป็ นตามมาตรฐานว่าด้วยการออกแบบอาคารต้านทาน
การสันสะเทื
่ อนและแผ่นดินไหวทีส่ ภาวิศวกรรับรอง หรือ มาตรฐานที่
จัดทาโดยส่วนราชการหรือนิตบิ ุคคลซึง่ ได้รบั ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุม ซึง่ มีวุฒวิ ศิ วกร สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่า
ด้วยวิศวกรเป็ น ผูใ้ ห้คาปรึกษาและลงลายมือชื่อรับรองวิธกี ารคานวณนัน้
8
อาคารรูปทรงไม่สมา่ เสมอ
การออกแบบอาคารที่มีรปู ทรงไม่สมา่ เสมอและไม่อยู่ในบริเวณเฝ้ าระวัง
ผูค้ านวณต้อง

 เป็ นผูไ้ ด้รบั อนุญาตเป็ นผูป้ ระกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตัง้ แต่ระดับ


สามัญวิศวกรขึน้ ไป
 คานวณให้อาคารสามารถรับแรงสันสะเทื ่ อนของแผ่นดินไหว โดยใช้
วิธกี ารคานวณเชิงพลศาสตร์หรือวิธอี ่นื ทีต่ งั ้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของวิธเี ชิง
พลศาสตร์
9
 คานวณตามมาตรฐานว่าด้วยการออกแบบอาคารต้านทานการสันสะเทื ่ อน
และแผ่นดินไหวทีส่ ภาวิศวกรรับรอง หรือ มาตรฐานทีจ่ ดั ทาโดยส่วนราชการ
หรือนิตบิ ุคคลซึง่ ได้รบั ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึง่ มีวุฒ ิ
วิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรเป็ นผูใ้ ห้คาปรึกษา
และลงลายมือชื่อรับรองวิธกี ารคานวณนัน้

10
ส.ป.ส. ความเข้มของแผ่นดินไหว (Z)
ให้ใช้ค่าตามที่กาหนดดังนี้
บริเวณ ค่า Z
1 0.19
2 0.38

11
ตัวคูณเกี่ยวกับการใช้อาคาร (I)
ให้ใช้ค่าตามที่กาหนดดังนี้
ชนิดของอาคาร ค่า I
จาเป็ นต่อความเป็ นอยูข่ องสาธารณชน 1.50
เป็ นทีช่ ุมชนครัง้ หนึ่งๆ ได้มากกว่า 300 คน 1.25
อาคารอื่นๆ 1.00

12
ส.ป.ส. ของโครงสร้างที่รบั แรงในแนวราบ(K)
ระบบและชนิดของโครงสร้างรับแรงในแนวราบ K
(1) ออกแบบให้กาแพงรับแรงเฉือน/โครงแกงแนงรับแรงทัง้ หมด 1.33
(2) ออกแบบให้โครงต้านแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวต้าน (DMRF) ทานแรงทัง้ หมด 0.67
(3) ออกแบบให้โครงต้านแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวรับแรงร่วมกับกาแพงรับแรงเฉือนหรือโครงแกงแนง โดยมี 0.80
ข้อกาหนด ดังนี้
- โครงต้านทานแรงดัดทีม ่ คี วามเหนียวต้องรับแรงในแนวราบได้ไม่น้อยกว่า 25%
- กาแพงรับแรงเฉือน/โครงแกงแนงเมือ ่ แยกออกจากโครงสร้างต้องรับแรงได้ทงั ้ หมด
- โครงต้านทานแรงดัดทีม ่ คี วามเหนียว + กาแพงรับแรงเฉือน/โครงแกงแนง ต้องสามารถรับแรงในแนวราบได้
ทัง้ หมด โดยสัดส่วนของแรงทีก่ ระทาต่อโครงสร้างแต่ละระบบ ให้เป็ นไปตามสัดส่วนความคงตัว (Rigidity) โดย
คานึงถึงการถ่ายเทแรงระหว่างโครงทัง้ สอง
(4) หอถังน้ า รองรับด้วยเสาไม่น้อยกว่า 4 ต้น มีแกงแนงยึดและไม่ตงั ้ อยูบ่ นอาคาร 2.50
หมายเหตุ ค่า K คูณกับ C ต้องไม่น้อยกว่า 0.12 และไม่เกิน 0.25
(5) โครงต้านทานแรงดัดทีม่ คี วามเหนียวจากัดและโครงสร้างระบบอืน่ ๆนอกเหนือจาก (1) ถึง (4) 1.0013
คาบของโครงสร้าง(T)
ในกรณี ที่ไม่สามารถคานวณคาบของโครงสร้างด้วยวิธีอื่น ให้คานวณตามสูตรต่อไปนี้

(1) สาหรับอาคารทัวไป

T  0.09 hn / D

(2) สาหรับอาคารทีม่ โี ครงต้านทานแรงดัดทีม่ คี วามเหนียว

T = 0.1N

เมือ่ hn : ความสูงของพืน้ อาคารชัน้ สูงสุดวัดจากระดับพืน้ ดิน (เมตร)


D : ความกว้างของโครงสร้างในทิศทางขนานกับแรงแผ่นดินไหว (เมตร)
N : จานวนชัน้ ของโครงสร้างทีอ่ ยูเ่ หนือระดับพืน้ ดิน
14
ส.ป.ส. ของคาบของโครงสร้าง(C)
ในการคานวณแรงแผ่นดินไหวทีก่ ระทาต่ออาคารหรือส่วนต่างๆ ของอาคารค่า ส.ป.ส. C
ให้คานวณตามสูตรต่อไปนี้
1
C  Min [ , 0.12]
C 15 T

0.12

15
สัมประสิทธ์ ิ ของการประสานความถี่ธรรมชาติ
ระหว่างอาคารและชัน้ ดิน(S)
หิน : หินทุกลักษณะไม่วา่ จะเป็ นหินเชลหรือทีเ่ ป็ นผลึกตามธรรมชาติหรือ
ให้คานวณตามค่าดังต่อไปนี้ ดินลักษณะแข็งซึง่ มีความลึกของชัน้ ดินไม่เกิน 60 ม. ทีท่ บั อยูเ่ หนือ
ชัน้ หินและต้องเป็ นดินทีม่ เี สถียรภาพดี เช่น ทราย กรวด หรือดิน
ลักษณะของชัน้ ดิน ค่าของ S
เหนียวแข็ง
หิน 1.0
ดินแข็ง : ดินลักษณะแข็งซึง่ มีความลึกของชัน้ ดินมากกว่า 60 ม. ทีท่ บั อยู่
ดินแข็ง 1.2 เหนือชัน้ หินและต้องเป็ นดินทีม่ เี สถียรภาพดี เช่น ทราย กรวด
ดินอ่อน 1.5 หรือดินเหนียวแข็ง

ดินอ่อนมาก 2.5 ดินอ่อน : ดินเหนียวอ่อนถึงดินเหนียวแข็งปานกลางทีห่ นามากกว่า 9 ม.


อาจจะมีชนั ้ ทรายคันอยู
่ ห่ รือไม่กไ็ ด้
ถ้าผลคูณ C และ S มากกว่า 0.14 ใช้ 0.14
เว้นแต่กรณีดนิ อ่อนมากให้ใช้ 0.26 ดินอ่อนมาก : ดินเหนียวอ่อนทีม่ กี าลังต้านทานแรงเฉือนของดินในสภาวะ
ไม่ระบายน้ า ไม่มากกว่า 2,400 กก./ม.2 และมีความหนาของ
ชัน้ ดินมากกว่า 9 ม. เช่น กทม. นนทบุร ี ปทุมธานี สมุทรปราการ
และสมุทรสาคร 16
การเคลื่อนตัว
 ในการคานวณการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ดา้ นข้างระหว่างชัน้ ทีอ่ ยู่ตดิ กันของอาคาร (STORY DRIFT)
ทีเ่ กิดจากแรงในแนวราบจะต้องไม่เกิน 0.5% ของความสูงระหว่างชัน้

DRIFT

17
ตัวอย่างการออกแบบ
อาคารหลังนี้เป็ นอพาร์ทเม้นต์คอนกรีตเสริมเหล็กสูง 8 ชัน้ (รวมดาดฟ้ า) เสามีขนาด 35x35
ซม. มีกาแพงรับแรงเฉือน 2 ตัวอยูท่ ก่ี ลางอาคาร มีความหนาแผ่นพืน้ เท่ากับ 15 ซม.
5@4.50 = 22.50

5.00
6@3.00 = 18.00

3.00

5.00
4.50 กาแพงรับแรงเฉื อน

รูปด้าน แปลน 18
พารามิเตอร์ต่างๆ
 พืน้ หนา 15 ซม. กลายเป็ นน้ าหนักกระจายเท่ากับ 360 กก./ม.2
 น้ าหนักบรรทุกทีเ่ กิดจากผนังก่ออิฐ (รวมกาแพงรับแรงเฉือน) มีคา่ เท่ากับ 200 กก./ม.2

 ซึง่ หากอาคารหลังนี้ตงั ้ อยูใ่ นเขตพืน้ ทีเ่ ชียงใหม่ อาจจะใช้คา่ Z เท่ากับ 0.38


 และเนื่องจากเป็ นอาคารทีพ่ กั อาศัยแบบทัวไปจึ
่ งเลือกใช้ค่า I = 1.00
 ส่วนค่า K ทีพ่ จิ ารณาถึงระบบโครงสร้างจะเลือกใช้เท่ากับ 1.00

19
คาบของโครงสร้าง (T)
คานวณคาบของโครงสร้างจากสูตรโดยประมาณ (สาหรับอาคารทัวไป)

0.09hn
T 
D

คือ hn ความสูงของพืน้ อาคาร (เมตร)


D ความกว้างของโครงสร้างในทิศทางทีแ่ รงแผ่นดินไหวกระทา (เมตร)

จะได้ T = 0.09(22.5)/131/2 = 0.56 วินาที

20
ส.ป.ส. ของคาบของโครงสร้าง(C)
นาค่า T ทีไ่ ด้ มาคานวณ ส.ป.ส. การขยายคาบของโครงสร้าง

1
C  0.12
15 T

่ อ C = 1/(15*0.561/2) = 0.089 ซึง่ น้อยกว่า 0.12 O.K.! นาค่า C ทีไ่ ด้ มาคูณกับค่าสภาพ


นันคื
ของชัน้ ดินหรือ S โดยผลลัพธ์ทไ่ี ด้ตอ้ งไม่เกิน 0.14 ซึง่ หากกาหนดให้ S = 1.2 (สมมติให้อาคารอยู่
่ อ CS = 0.089(1.2) = 0.14 O.K.!
บนชัน้ ดินแข็ง) นันคื

21
แรงเฉื อนที่ฐาน (V)
นาผลทีไ่ ด้มาคานวณแรงเฉือนทีฐ่ านได้ดงั นี้
V = Z*I*K*C*S*W
= 0.38*1.00*1.00*0.11W
= 0.042W

V = 61.70 ตัน

นันคื
่ อแรงเฉือนมีคา่ ประมาณ 4.2% ของมวลของโครงสร้างนันเอง
่ โดยในตารางที่ 1 จะแสดง
มวลในแต่ละชัน้ และมวลรวมทัง้ หมดของโครงสร้าง
22
การคานวณมวลของโครงสร้าง (W)
ชัน้ พื้น+กาแพง เสา มวลของโครงสร้าง
พื้นที่ น้าหนัก มวล พื้นที่ สูง มวล (ตัน)
(ม.2) (ตัน/ม.2) (ตัน) (ม.2) (ม.) (ตัน)
ดาดฟ้ า 292.5 0.56 163.8 0 0 0 163.80
7 292.5 0.56 163.8 2.94 3.00 21.17 184.97
6 292.5 0.56 163.8 2.94 3.00 21.17 184.97
5 292.5 0.56 163.8 2.94 3.00 21.17 184.97
4 292.5 0.56 163.8 2.94 3.00 21.17 184.97
3 292.5 0.56 163.8 2.94 3.00 21.17 184.97
2 292.5 0.56 163.8 2.94 3.00 21.17 184.97
1 292.5 0.56 163.8 2.94 4.50 31.75 195.55
รวม (W) 1,469.16

่ อจะได้แรงเฉือนทีฐ่ านเท่ากับ V = 0.042(1,469.16) = 61.70 ตัน


นันคื
23
การกระจายแรง (Fx)
ชัน้ ความสูง, hi น้าหนักในแต่ละชัน้ , wi hiwi แรงแต่ละชัน้
กระจายแรงลงในแต่ละชัน้ (ม.) (ตัน) (ตัน)
Fx = (V – Ft)wxhx ดาดฟ้ า 22.5 163.80 3,685.50 13.37
n 7 19.5 184.97 3,606.92 13.09
Swihi 6 16.5 184.97 3,052.01 11.08
i=1
5 13.5 184.97 2,497.10 9.06
4 10.5 184.97 1,942.19 7.05
3 7.5 184.97 1,387.28 5.03
2 4.5 184.97 832.37 3.02
1 0 195.55 0.00 0.00
รวม 1,469.17 17,003.34 61.70

แต่ทงั ้ นี้ตอ้ งทาการคานวณค่าแรงกระทาทีช่ นั ้ บนสุดหรือ Ft แต่เนื่องจากคาบการสัน้ มีคา่


น้อยกว่า 0.7 วินาที ดังนัน้ ตามข้อกาหนดจึงใช้คา่ Ft = 0 24
การกระจายแรง (Fx)
แสดงการกระจายตัวของแรงในแต่ละชัน้
Ft=0 Fx
13.37

13.09

11.08

9.06

7.05

5.03

3.02

V = 61.70

25
ขอบคุณครับ

26

You might also like

  • CH3 4
    CH3 4
    Document3 pages
    CH3 4
    John Noovol
    No ratings yet
  • CH3 5
    CH3 5
    Document3 pages
    CH3 5
    John Noovol
    No ratings yet
  • CH3 3
    CH3 3
    Document3 pages
    CH3 3
    John Noovol
    No ratings yet
  • CH3 2
    CH3 2
    Document3 pages
    CH3 2
    John Noovol
    No ratings yet
  • CH3 1
    CH3 1
    Document3 pages
    CH3 1
    John Noovol
    No ratings yet
  • Earthquake Ch1
    Earthquake Ch1
    Document20 pages
    Earthquake Ch1
    John Noovol
    No ratings yet
  • Chap1 3
    Chap1 3
    Document2 pages
    Chap1 3
    John Noovol
    No ratings yet