Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

การทดลองเรื่อง: แรงตึงผิว (Surface Tension)

1. วัตถุประสงค์
1. เพื่อทาการเปรี ยบเทียบแรงตึงผิวของสารละลายชนิดต่างๆได้แก่ น้ า , สารละลาย surfactant ที่ความเข้มข้น
ต่างๆ และน้ ามันพืช
2. เพื่อหาค่าความเข้มข้นวิกฤตของการเกิดไมเซลล์ (micelle) ของ SDS

2. ทฤษฎี
แรงตึงผิว (Surface tension)
แรงตึงผิว คือ แรงดึ งที่เกิดขึ้นบนผิวหน้าของของไหลเมื่อผิวหน้าของของไหลสัมผัสกับพื้นผิวอื่น
ตัวอย่างเช่น เมื่อผิวหน้าของน้ าสัมผัสกับอากาศ หรื อกับของแข็งโดยมีพลังงานเพียงพอต่อการยึดเหนี่ยว
ระหว่างโมเลกุล ซึ่ งมีขนาดสัมพันธ์กบั แรงยึดติด (cohesive force) และแรงเชื่อมแน่น (adhesive force) ทา
ให้เกิดเป็ นลักษณะคล้ายๆ กับแผ่นบางๆ ที่สามารถต้านแรงดึงได้เล็กน้อย มีทิศขนานกับผิวของเหลวและตั้ง
ฉากกับเส้นขอบที่ของเหลวสัมผัส การเกิดแรงตึงผิวนี้สืบเนื่องมาจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลซึ่ งแบ่งได้ 2
ชนิดคือ แรง cohesion คือแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลชนิดเดียวกัน และแรง adhesion คือ แรงดึงดูดระหว่าง
โมเลกุลต่างชนิดกัน เช่น น้ ากับแก้ว ดังรู ปที่ 1

รู ปที่ 1 แสดงชนิดของแรงต่างๆ ทีมีผลต่อแรงตึงผิว

แรงตึงผิว เท่ากับ อัตราส่ วนระหว่างแรงดึงที่ผวิ ของของเหลวต่อความยาวของเส้นผิวสัมผัสของของเหลว มี


หน่วยเป็ น แรงต่อความยาว เช่น นิวตันต่อเมตร (N/m) แรงตึงผิวมีค่าเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงได้ตามชนิดของ
ของไหล นอกจากนี้แรงตึงผิวยังเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิ กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แรงยึดเหนี่ยว
ในโมเลกุลของของไหลน้อยลง ทาให้แรงตึงผิวมีค่าน้อยลง
F
 
2l
เมื่อ γ คือ ความตึงผิว
F คือ แรงตึงที่ใช้ดึง
l คือ ความยาวที่ถูกแรงตึงผิวกระทา 1 ผิว

ปรากฏการณ์ของความตึงผิว
1. การเกิดหยดของเหลว (droplet) เป็ นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับของเหลวที่มีขนาดเล็ กและอยูอ่ ย่างอิสระ
เช่น เม็ดของของเหลวในบรรยากาศ หรื อเม็ดของของเหลวที่เกิดจากหัวฉี ดที่ฉีดของเหลวออกมาเป็ นฝอย
หรื อละอองเล็กๆ หรื อเม็ดของของเหลวที่เกาะตามใบไม้ ซึ่ งอิทธิ พลของแรงตึงผิวจะพยายามปรับรู ปร่ างให้
เม็ดของของเหลวมีลกั ษณะเป็ นรู ปทรงกลม ทาให้แรงดันในหยดของเหลวมากขึ้น เพื่อให้เกิดแรงต้านแรง
ตึงผิว เป็ นผลให้หยดของเหลวคงสภาพอยูไ่ ด้อย่างสมดุลถ้าพิจารณาหยดของเหลวทรงกลมที่มีรัศมี r และ
ความดันภายในหยดของเหลว P โดย
2
P
r

2. คาพิลลาริ ต้ ี (capillarity) คือปรากฏการณ์ที่ของไหลที่สัมผัสกับวัตถุแล้วมีลกั ษณะสู งขึ้นหรื อต่าลง


เนื่องมาจากอิทธิ พลของแรงยึดติดและแรงเชื่อมแน่น เช่น บริ เวณที่น้ าสัมผัสกับผิวแก้ว จะมีระดับน้ าสู งขึ้น
เล็กน้อย เพราะแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของน้ ากับโมเลกุลของแก้วมีมากกว่าแรงเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุล
ของน้ า แต่ถา้ เป็ นบริ เวณที่ปรอทสัมผัสกับผิวแก้ว ระดับปรอทจะต่าลงเล็กน้อย เนื่องจากเชื่อมแน่น
ระหว่างโมเลกุลของปรอทมีมากกว่าแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของปรอทกับโมเลกุลของแก้ว

2 cos 
h
gr

เมื่อ h คือ ความสู งของของไหลในคาพิลลารี่


γ คือ ความตึงผิว
r คือ รัศมีของคาพิลลารี่
 คือ ความหนาแน่นของเหลว
 คือ มุมสัมผัสของเหลวและผนังคาพิลลารี่
สารลดแรงตึงผิว (Surfactants)
สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) จัดเป็ นสารพวก amphiphilic molecules ซึ่ งเป็ นสารหรื อโมเลกุลที่มีท้ งั ส่ วนที่
ไม่ชอบน้ า (hydrophobic) และส่ วนที่ชอบน้ า (hydrophilic) ตัวอย่างของสารลดแรงตึงผิว ประกอบด้วยส่ วน
หาง (tail) และส่ วนหัว (head) ดังรู ปที่ (2) ส่ วนหางเป็ นส่ วนของโซ่ไฮโดรคาร์ บอน (long hydrocarbon) ซึ่ง
สามารถละลายได้ดีสาหรับสารประเภทไฮโดรคาร์ บอนและสารที่ไม่มีข้ ัว (non-polar) และส่ วนหัวเป็ นส่ วน
ที่มีคุณสมบัติชอบน้ า (hydrophilic) จึงสามารถละลายได้ในน้ าหรื อสารที่มีข้ วั sodium dodecyl sulphate
(SDS), NaOSO3C12H25 เป็ นตัวอย่างของสารลดแรงตึงผิว หลักการทางานของสารลดแรงตึงผิวคือ ส่ วนที่
ชอบน้ าจะทาการจับน้ า และส่ วนที่ชอบน้ ามันจะทาการจับสิ่ งสกปรกพวกไขมันที่ไม่สามารถละลายน้ าได้ ทา
ให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแล้วแขวนลอยอยูใ่ นน้ า

รู ปที่ 2 แสดงโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว

เมื่อละลายสารลดแรงตึงผิว SDS ลงในน้ า สมบัติของสารละลายจะมีการเปลี่ยนแปลงกล่าวคือ แรงตึงผิวของ


น้ าจะมีค่าลดลง และ จะสามารถละลายได้ในสารที่ไม่มีข้ วั เช่นไฮโดรคาร์ บอนต่างๆ แต่เมื่อเพิ่มปริ มาณของ
สาร SDS ในปริ มาณมากขึ้นเรื่ อยๆ ควา มสัมพันธ์ของการลดลงของแรงตึงผิวหรื อสมบัติของสารละลาย
ต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ดังรู ปที่ (3) ณ จุดที่ความเข้มข้นของสารละลายที่ทาให้คุณสมบัติมีการ
เปลี่ยนแปลง เรี ยกกว่า critical micelle concentration (CMC) เมื่อมีการเพิ่มความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว
สมบัติต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อถึงจุด CMC สมบัติดงั กล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยในทางที่
เพิ่มขั้นหรื อลดลง ขึ้นกับสมบัตินนั่ ๆ เช่น แรงตึงผิว จะมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้ อย ส่ วนค่า conductivity จะมีค่า
ลดลง เมื่อถึงจุด CMC
รู ปที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงสมบัติต่างๆ ของสารลดแรงตัวผิว ได้แก่ conductivity (), surface tension (),
และ osmotic pressure () ณ จุด CMC

ที่จุด critical micelle concentration (CMC) สารลดแรงตึงผิว จะมี การฟอร์ มตัวในรู ปแบบต่างๆ เช่น ทรง
กลม (spherical structures) หรื อ ดังรู ป ที่ 4 CMC คือปริ มาณความเข้มข้นของ detergents ในสารละลายที่ต่า
ที่สุดที่ detergents ยังคงสภาพ monomer อยู่ ความเข้มข้นที่สูงกว่าจุด CMC นี้จะทาให้ monomer ของ
detergents รวมตัวกันกลายเป็ น micelle ค่า CMC จะต่าถ้า detergents นั้นมีส่วนที่เป็ น hydrophobic tail ยาวๆ

รู ปที่ 4 ลักษณะ micelle ที่ความเข้มข้นต่างๆ


3. วิธีการทดลอง
ในการทดลองนี้ นักศึกษาจะได้ทาการทดลองเพื่อหาค่า ความตึงผิวของของเหลวชนิดต่างๆ รวมทั้งหาค่า
ความเข้มข้นของลดแรงตึงผิว SDS ที่ทาให้เกิด micelle โดยศึกษาจากสมบัติของความตึงผิวที่เปลี่ยนแปลง
ไป ตามปริ มาณความเข้มข้นของ SDS ที่เพิ่มขึ้น โดยทาการพล๊อตระหว่างค่าความตึงผิวและความเข้มข้นดัง
แสดงในรู ปที่ 5 โดยใช้ชุดทดลองวัดแรงตึงผิวดังรู ปที่ 6 ซึ่งจะทาการวัดแรงที่ใช้ในการดึงห่วงลวดที่วาง
แตะของเหลวไว้ให้หลุดจากผิวของเหลว

รู ปที่ 5 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงตึงผิวกับความเข้มข้น

4. ผลการทดลองและอธิปรายผลการทดลอง
1. เปรี ยบเทียบแรงตึงผิวของน้ า น้ ามันพืช และสารละลาย surfactant และอภิปรายผล
2. หาค่า CMC

5. สรุ ปผลการทดลอง
6. เอกสารอ้างอิง
1. De Nevers, N., 1991, Fluid Mechanics for Chemical Engineers. McGraw-Hill, Inc.,
New York.

2. Munson, B. R., Young, D. F., Okiishi, T. H., and Huebsch, B. B., 2009, Fundamentals
of Fluid Mechanics. John Wiley and Sons, New York.

3. Herb, C. A., and Prud'homme, R. K., 1994, Structure and flow in surfactant solutions.
American Chemical Society, Washington, DC.

You might also like