Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

การผดุงครรภ์ไทย

บทที่ ๓ สรีระร่างกายของหญิงและชายวัยเจริญพันธุ์
การสืบพันธุ์เป็นเรื่องธรรมดาหน้าที่ตามธรรมชาติของสัตว์โลกเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ของตนเอง
ผดุงครรภ์ไทยต้องเรียนรู้และเข้าใจถึง องค์ประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์ ตาแหน่งที่ตั้งและหน้าที่
ของอวัยวะแต่ละส่วน การกาเนิดของชีวิต การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ความผิด
แปลกไปจากปรกติของอาการที่อาจจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย การส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือ
เครื่องใช้ที่จะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างทันการ
สรีระร่างกายของระบบสืบพันธุ์หญิงและชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
๑. ต่อมอัณฑะ
๒. ท่อน้าอสุจิ
๓. องคชาติ
Spermatozoa

ถุงน้ากาม

องคชาติ

ท่ออสุจิ

ต่อมอัณฑะ
ต่อมอัณฑะ มีหน้าที่ผลิตน้าอสุจิและกลั่นตัวอสุจิ จะผลิตอยู่ตลอดเวลา เป็น เสมือนโรงงานที่ไม่มี
เวลาพักผ่อน เมื่อผลิตแล้วจะส่งน้าอสุจิไปตามท่อน้าอสุจิสองสาย (สายสองสลึง) ไปพักอยู่ในถุงน้ากามซึ่ง
ติดอยู่สองข้างด้านใต้ของกระเพาะปัสสาวะ เมื่อถึงกาลเวลาน้าอสุจิจะถูกบังคับให้เคลื่อนไปตามท่อปัสสาวะ
แล้วหลั่งน้าอสุจิออกมา
น้าอสุจิ ลักษณะเป็นเมือกขาวข้น หลั่งออกมาครั้งหนึ่งประมาณ ๓ – ๔ ช้อนกาแฟ มากน้อยขึ้นอยู่
กับกาลังของบุคคล ประกอบด้วยตัวอสุจิ (Spermatozoa) ซึ่งมีจานวนนับล้านตัวมีลักษณะตัวคล้ายลูกอ๊อด

เส้นสองสลึง (Penile Frenulum) ในความหมายทางการแพทย์ คือ ส่วนของผิวหนังที่เป็นเหมือนเส้นขึงระหว่างหนังหุ้มปลายกับส่วนหัว ของ


อวัยวะเพศชาย ซึ่งจะไม่ตรงกันกับท่อน้าอสุจิในหนังสือ ตาราการแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ โดยกองการประกอบโรคศิลปะ
คือหัวกลมเล็กตัวแบนมีหางกระดิกได้เพื่อเคลื่อนที่เข้าหาไข่ที่สุกของผู้หญิง ผู้ชายจะเริ่ม มีตัว อสุจิเมื่อมี อายุ
๑๖ ปีบริบูรณ์ และจะสามารถมีบุตรได้จนถึงอายุ ๗๐ – ๘๐ ปี แล้วแต่กาลังของแต่ละคน
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
๑. มดลูก
๒. รังไข่
๓. ช่องคลอด
ปีกมดลูก

รังไข่

มดลูก

ปากมดลูก

ช่องคลอด
มดลูก เป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อสามชั้นหนา เหนียว และแข็งแรงมาก กล้ามเนื้อภายในมดลูกที่มีอยู่
๓ ชั้น จะมีลักษณะคือ กล้ามเนื้อจะไขว้กันตามยาวหนึ่งชั้น ไขว้กันตามขวางหนึ่งชั้น และไขว้เฉลียงหนึ่งชั้น
ภายในมดลูกเป็นโพ รงรูปห้องสามเหลี่ยมแบนๆ ที่ มีช่องหนึ่ง ออกไปทางช่องคลอด อีกสองช่องอยู่ ที่ก้น
มดลูกออกไปทางซ้ายและขวา เรียกว่าปีกมดลูกซ้ายขวา ปรกติมดลูกมีน้าหนักประมาณ ๕๐ กรัม ภายใน
โพรงมดลูกมีปริมาตรประมาณ ๒ ซี.ซี. หากเมื่อมีการตั้งครรภ์มดลูกจะมีจานวนกล้ามเนื้อมากขึ้นและขยาย
ขนาดขึ้น จนมีน้าหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กรัม และมีปริมาตรประมาณ ๔,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ซี.ซี.
ปีกมดลูก เป็นหลอดทางเดินของไข่สุกเข้าไปในโพรงมดลูก ปากหลอด บานเหมือนปากแตร เพื่อรับ
ไข่สุกที่หล่นจากรังไข่ มดลูกทรงตัวลอยด้วยเอ็นทั้งสองข้าง ถ้าเอ็นขาดทาให้มดลูกออกมาจุกที่ปากช่อง
คลอด หรือออกมานอกช่องคลอด (เรียกกระบังลมหรือดากออก)
ช่องคลอด มีความยาวตั้งแต่ปากช่องคลอดถึงปากมดลูกประมาณ ๕ – ๖ นิ้ว มีลักษณะคล้ายลาไส้
ยืดหดตัวได้ ภายในเป็นหนังย่นๆ และเปียกชุ่มอยู่เสมอ
ปากมดลูก อยู่ที่ ปลายช่องคลอด บริเวณที่ติดปากมดลูกจะ มีแอ่งสา หรับรับ น้าอสุจิ ซึ่ง มีน้าเมือก
สภาพกรดครึ่งด่าง หากปากมดลูกอักเสบมีสภาพเป็นกรดมากเกินไปจะทาให้ ตัว อสุจิที่มากับน้าอสุจิ อ่อน
กาลังหรือตาย (ทาให้ผู้หญิงเป็นหมัน) ถ้ามีสภาพเป็นด่างจะเป็นการส่งเสริมการวิ่งของอสุจิ
รังไข่ เป็นที่สร้างไข่ โดยกาหนด ๒๒ วัน ไข่จึงจะสุกครั้งหนึ่ง เมื่อไข่สุกก็จะพองตัวออกแล้วตกไข่
ซึ่งมีลักษณะกลมเล็กครั้งละ ๑ เม็ด ก็จะผสมได้หนึ่งชีวิต หากตก ๒ – ๓ เม็ดก็จะเกิดลูกแฝด ไข่ที่ตกจากรัง
ไข่จะเคลื่อนเข้าสู่ปีกมดลูกทางท่อปากแตรและอีกประมาณ ๖ – ๗ วัน จึงจะเดินทางเข้าถึงโพรงมดลูก

ความแตกต่างระหว่างหญิงและชาย
เกี่ยวกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างหญิงและชายได้มีกล่าวเอาไว้ในสองคัมภีร์ซึ่งมีความ
แตกต่างกันดังนี้
๑. พระคัมภีร์มหาโชตรัต ได้บันทึกเอาไว้ว่าสตรีแตกต่างจากบุรุษดังนี้
...สิทธิการิยะ พระอาจารยเจ้าผู้ชื่อว่าท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เปนใหญ่กว่าพรหม ๑๖ ชั้น ท่านผู้นั้นจึง
ลงมาประดิษฐานจาฤกอักษรเปนต้นคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยปฐมสัตว์มนุษย์อันเกิดมาเปนรูปสัตรีภาพตั้งแต่
คลอดออกจาครรภ์แห่งมารดา ก็มีกายประเภทต่างออกกว่าเปนผู้ชายนั้น ๔ ประการ คือถันประโยธรนั้น
ประการ ๑ จริตกิริยานั้นประการ ๑ ที่ประเวณีนั้นประการ ๑ คือต่อมเลือดฤดู นั้นประการ ๑ จึงเปน ๔
ประการดังนี้...

ในหนังสือ ตาราการแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ โดยกองการประกอบโรคศิลปะ เขียนไว้ว่า ๒๒ วัน ผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะเป็น


ความผิดพลาดของการสื่อสารหรือการตีพิมพ์ เพราะว่าโดยปรกติแล้วรอบเดือนของสตรีจะประมาณ ๒๘ วัน ดังนั้นรอบของการตกไข่จึงไม่น่าที่
จะเป็น ๒๒ วัน ควรจะเป็น ๒๘ วัน เพราะไม่น่าจะเป็นไปได้ที่รอบการสุกและการตกของไข่จะผิดปรกติไปจากรอบเดือนของสตรี
สิทธิการิยะ คือคาอธิษฐานขอความสาเร็จ ในตาราโบราณใช้เป็นคาขึ้นต้น
ฤดู (ระดู) หมายถึง เลือดประจาเดือน
ตามพระคัมภีร์มหาโชตรัต สตรีจึงแตกต่างจากบุรุษ ๔ ประการ คือ
๑) ถันประโยธร
๒) จริตกิริยา
๓) ที่ประเวณี
๔) ต่อมเลือดระดู
๒. พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่าสตรีแตกต่างจากบุรุษดังนี้
...อันว่ามนุษย์ทั้งหลายถือปติสนธิแล้วก็คลอดจากครรภ์มารดา ถ้าเปนสัตรีมีประเภทผิดจากบุรุษ
สองประการ คือต่อมเลือดประการ ๑ คือ น้านมสาหรับเลี้ยงบุตรประการ ๑...
ตามพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ สตรีจึงแตกต่างจากบุรุษ ๒ ประการ คือ
๑) ต่อมเลือด
๒) น้านมสาหรับเลี้ยงดูบุตร
ต่อมเลือดระดู
เกี่ยวกับต่อมเลือดระดูได้มีกล่าวเอาไว้ใน พระคัมภีร์มหาโชตรัต ถึงความแตกต่างของลักษณะ
กาเนิดของโลหิตระดูดังนี้
พระคัมภีร์มหาโชตรัต ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
“...จะว่าในคัมภีร์มหาโชตรัตนี้ก่อน มีพระบาฬีดังนี้ โลหิหทย้ชาต้ อันว่าฤดูโลหิตแห่งหญิงอันเกิดมา
แต่หัวใจ อันชื่อว่าหทัยวัตถุกาเดาว่าเมื่อหญิงมีฤดู มานั้น ให้คลั่งเพ้อไปเจรจาด้วยผี ให้นอนสดุ้งหวาดมักขึ้ง
มักโกรธไปต่างๆ ครั้นฤดูมีออกมาแล้ว ก็หายเพศที่เปนนั้นแล
ปิตต้ ชาต้ โลหิตอันเกิดแต่ขั้วดีนั้น เมื่อจะมีฤดูมานั้นให้คลั่งไคล้มะเมอเพ้อเจรจาด้วยผี ให้นอนสดุ้ง
หวาดไป ครั้นมีฤดูออกมาแล้วก็หายเพศนั้นแล
ม้ ส้ ชาต้ อันว่าฤดูอันเกิดแต่ผิวเนื้อนั้น ให้นอนร้อน ผิวเนื้อผิวหนัง ให้แดงดุจผลตาลึงสุก ลางทีก็
ให้ผุดขึ้นทั้งตัวดุจออกหัด แลฟกเปนดังไข้ลากสาด เปนไปถึง ๒ วัน ๓ วัน ครั้นมีฤดูออกมาแล้วก็คลายไป
นหารู ชาโต อันว่าโลหิตอันบังเกิดมาแต่เส้นเอ็นทั้งปวงนั้น เมื่อจะใกล้มีฤดูมาให้เปนประดุจดังไข้จับ
ให้สบัดร้อนสบัดหนาว ปวดศีศะเปนกาลัง ครั้นมีฤดูออกมาแล้วก็หายไปแล
อัฏฐิก้ ชาต้ อันว่าโลหิตอันเกิดมาแต่กระดูกนั้น เมื่อจะใกล้มีฤดูมา ให้เมื่อยให้ขบไปทุกข้อดังจะขาด
จากกัน ให้เจ็บบั้นเอวสันหลังยิ่งนัก มักบิดเกียจคร้านบ่อยๆ ครั้นมีฤดูออกมาแล้วก็หายแล
สิทธิการิยะ พระครูผู้เฒ่าท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาโลหิตฤดูแห่งหญิงอันมีฤดูมาแล้ว
แลกลับแห้งไปก็ดี แต่รุ่นสาวขึ้นมาแลอายุควรจะมีฤดูมาแล้ว แลไม่มีฤดูมาตามประเวณี ลางทีมีฤดูมาแล้ว
กลับแห้งไปก็มี ลางคนแต่รุ่นสาวได้ ๑๔ ปี ๑๕ ปี ก็ยังไม่มีฤดูต่อมีผัวแล้วจึงมีฤดูมา หญิงเหล่านี้ท่านว่าเปน
ประเวณีโลกทั้งหลายแล...”
“...พระอาจารย์เจ้าจึ่งกล่าวลักษณโลหิตฤดูปรกติมี ๕ ประการ ดังพระบาฬีโดยอธิบายว่า ฤดูแห่ง
สัตรีทั้งหลายซึ่งบังเกิดนั้นท่านยกขึ้นว่าไว้พอให้เห็นซึ่งลักษณแห่งโลหิตปรกติโทษแต่ ๕ ประการ โดย
ประเภทต่างกันดังนี้ คือโลหิตบังเกิดแต่หัวใจนั้น เนื่องมาแต่หทัยวัตถุกาเดาประการ ๑ โลหิตเนื่องมาแต่ดี
ประการ ๑ โลหิตเนื่องมาแต่ผิวเนื้อประการ ๑ โลหิตบังเกิดเนื่องมาแต่เส้นเอ็นประการ ๑ คือโลหิตบังเกิด
เนื่องมาแต่กระดูกประการ ๑ เปน ๕ ประการ ด้วยกันดังนี้
(๑) โลหิตบังเกิดแต่หัวใจนั้น เมื่อจะมีฤดูมามักให้ระส่าระสาย มักขึ้งโกรธบ้าบ่นบางทีให้คลั่งมะเมอเพ้อ
พก เมื่อจะเปนนั้นริมจักษุเขียว ถ้าแพทย์ผู้ใดแก้มิฟังหญิงนั้นจะเสียจริตเปนบ้า
(๒) ลักษณโลหิตบังเกิดแต่ขั้วดีนั้น เมื่อฤดูมีมาให้เปนไข้ไป ๔, ๕ วัน ให้เชื่อมไปไม่รู้ว่าค่ารุ่ง แลนอนสดุ้ง
หวาดเจรจาด้วยผีคน สมมุติว่าขวัญไปกินเถื่อน เพราะว่าโลหิตนั้นทาเอง บางทีผุดขึ้นมาเห็นดาเห็น
แดงก็มี เท่าแว่นน้าอ้อยก็มี ถ้าผู้ใดแก้มิฟังบุคคลผู้นั้นจะกลายเปนไข้ลากสาตสันนิบาต
(๓) อันว่าลักษณโลหิตอันบังเกิดแต่ผิวเนื้อนั้น เมื่อจะมีฤดูมานั้นให้ร้อนผิวเนื้อให้ร้อนผิวหนัง แลแดงดัง
ผลตาลึงสุก บางทีผุดขึ้นดังเม็ดผด แลเท่าใบพุดทราเท่างบน้าอ้อยก็มี ดุจไข้ลากสาดสันนิบาต ไป ๒
วันไป ๓ วัน บางทีสมมุติว่าเปนประดง ครั้นฤดูมีมาก็หาย
(๔) อันว่าลักษณโลหิตอันเกิดแต่เส้นเอ็นทั้งปวงนั้น เมื่อฤดูจะมีมานั้นให้เปนดุจไข้จับ ให้สบัดร้อนสท้าน
หนาวปวดศีศะเปนกาลัง ครั้นฤดูมีมาก็หายไปแล
(๕) อันว่าลักษณโลหิตอันเกิดแต่อัฐิ นั้น เมื่อฤดูจะมีมานั้นให้เมื่อยทุกข้อทุกลานั้น ดังอัฐิจะแตกจะคลาด
กันไป ให้เจ็บเอวให้เจ็บท้อง ให้บิดคร้านนอนไป ครั้นฤดูมีมาก็หาย
โลหิตปรกติโทษทั้ง ๕ ประการนี้ ท่านสงเคราะห์ไว้พอเปนที่สังเกตแห่งแพทย์...”
“...โดยอรรถาธิบายว่า หญิงจาพวกใดเมื่อชนมายุได้ ๑๔ ปี ๑๕ ปีขึ้นไปก็สิ้นกาหนดตาน ทราง แล้ว
ต่อมโลหิตแห่งหญิงนั้นก็ให้บังเกิดขึ้นมาตามประเวณีแห่งสัตรีภาพ ให้แพทย์ทั้งหลายพิจารณาดูให้รู้ว่าโลหิต
นั้นเกิดแต่ที่ใดๆ แล้วให้ประกอบยาอันชื่อว่าพรหมภักต์รประจุโลหิตร้ายเสียให้สิ้นเชิง แล้วจึ่งแต่งยาบารุงไฟ
ธาตุให้กินให้ธาตุทั้ง ๔ เสมอกันแล้ว จึ่งแต่งยาอันชื่อว่ากาลังราชสีห์ กาลังแสงพระอาทิตย์ บารุงโลหิตให้
บริบูรณ์แล้วเมื่อใด อันว่าสัตว์จะมาปติสนธินั้นจะตั้งขึ้นได้เมื่อนั้นแล...”
สรุป ได้ดังนี้
ผู้หญิงเมื่ออายุได้ ๑๔ – ๑๕ ปีขึ้นไป สิ้นกาหนดตานซางแล้ว ต่อมโลหิตแห่งหญิง นั้นก็ บังเกิดขึ้นมา
ตามประเวณีแห่งสตรีภาพ มีอยู่ดังนี้
๑. โลหิตแห่งหญิงอันเกิดมาแต่หัวใจ
๒. โลหิตแห่งหญิงอันเกิดแต่ขั้วดี
๓. โลหิตแห่งหญิงอันเกิดแต่ผิวเนื้อ
๔. โลหิตแห่งหญิงอันบังเกิดมาแต่เส้นเอ็นทั้งปวง
๕. โลหิตแห่งหญิงอันเกิดมาแต่กระดูก

ตาน เป็นชื่อกลุ่มโรคชนิดหนึ่งที่เกิดในเด็ก เกิดจากตัวกิมิชาติ ๘๐ ชนิด หรือพยาธิ ๑๑ จาพวกเกาะกินอยู่ภายในร่างกายทาให้เกิดโรคขึ้น มี ๒


ชนิด คือ ๑) ตานโจร หรือตานขโมย คือโรคตานที่เป็นกับเด็กที่มีอายุ ๕ – ๖ ปี เป็นต้นไปจนถึง ๗ ปี หรือพ้นเขตการเป็นซางเจ้าเรือน และ
มักจะเป็นโรคแทรกของซางจร อาการของโรคเกิดจากการกินอาหารของเด็ก ซึ่งมักชอบกินของแปลกรสสดคาว ทาให้บังเกิดเป็นพยาธิขึ้น
อาการของโรคมีหลายชนิด เกิดจากพยาธิและโรคซางชนิดต่างๆ ๒) ตานจร เป็นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๓ เดือน จนถึง ๗ ปี จะเกิดขึ้นกับเด็กที่
เกิดในวันใดก็ได้ ไม่มีข้อกาหนด มีอาการของโรคและชื่อเรียกต่างๆ กัน
ทราง หรือซาง เป็นชื่อกลุ่มโรคชนิดหนึ่งที่เกิดในเด็ก เป็นกับเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ ปี อาการของโรคมีหลายอย่าง เช่น ตัวร้อน
เชื่อมซึม ปากแห้ง อาเจียน บริโภคอาหารไม่ได้ ท้องเดิน และที่สาคัญคือจะมีเม็ดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในปาก ในคอ ลิ้นเป็นฝ้า เป็น
ต้น โรคซางมีหลายลักษณะหลายชนิด จาแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๒ กลุ่ม คือ ๑) ซางเจ้าเรือน หรือซางก้าเนิด คือโรคซางที่เกิดกับกุมาร
เมื่อยังอยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ ๓ เดือน จนถึงอายุได้ ๕ ปี จึงจะพ้นระยะของโรคซางเจ้าเรือน และต่อไปจะกลายเป็นโรคตาน ๒)
ซางจร หรือซางแทรก คือโรคซางที่บังเกิดเป็นแทรกขึ้นระหว่างซางเจ้าเรือน จะเป็นอยู่จนถึงอายุ ๑๒ ปี จึงจะพ้นจากโทษของโรคซาง
หากแต่ธรรมชาติของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป บางคนเมื่อถึงเวลาที่ควรมีระดูก็ไม่มีระดู บาง
คนมีระดูแล้วก็หายไป บางคนยังไม่มีระดูเมื่อมีสามีแล้วจึงมีระดู หญิงเหล่านี้ท่านว่าเป็นประเวณีโลก
ทั้งหลาย (เป็นได้ตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล)
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
...ครั้นอุดมรูปวัฒนาการเจริญขึ้นพร้อมแล้ว แลเมื่อจะเริ่มฤดูมานั้น ก็ให้ฝันเห็นว่ามีบุรุษมาร่วม
รสสังวาศเมถุนตามชาติวิไสย จึ่งสมมุติว่าวิทยาธร อันอุดมมาลอบชมด้วยประเวณี ตั้งแต่นั้นมาก็มีฤดูให้
ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แลประโยธรคือเต้าถันก็ตั้งขึ้นด้วย...
พระคัมภีร์มหาโชตรัต ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
...จะว่าตามพระบาฬีนั้น ว่าหญิงจาพวกใดเมื่อพ้นกาหนดแห่งตานทรางแล้ว อายุล่วงขึ้นไปได้ ๑๔
๑๕ ปี ต่อมโลหิตก็ตั้งขึ้นมาตามประเพณีแห่งโลกทั้งหลาย แลหญิงนั้นเมื่อยังเปนสาวพรมจารีอยู่ จะได้รู้ว่า
ประเพณีสังวาศยังไรก็มิได้ ให้บังเกิดปติพัทธ์ขึ้นมาเอง คือให้ฝันเห็นว่ามีชายมาร่วมประเพณีด้วยตั้งแต่นั้นก็
มีฤดูตามประเวณี ถันประโยธรนั้นก็วัฒนาเจริญขึ้น...
อายุเมื่อเริ่มมีระดู
หญิงที่เริ่มมีระดูนั้น คนเมืองร้อนหญิงจะมีระดูเมื่ออายุประมาณ ๑๒ – ๑๓ ปี
คนเมืองหนาวหญิงมีระดูอายุประมาณ ๑๔ – ๑๕ ปี
ถ้าอยู่ในสถานที่ยั่วยวน เช่น พวกละคร ลิเก หรือในหมู่ที่มีสิ่งเร่งเร้าใจ (เช่น ในหมู่ผู้หญิงโสเภณี) ก็
อาจจะมีระดูเร็วกว่าพวกที่อยู่ตามเรือกสวนไร่นา
เด็กหญิงเมื่อ จะมีระดูครบกาหนด มัก จะมีจริตกิริยา รู้จักอาย มากขึ้น เต้านมจะคัดแข็งเป็นไต
มดลูกจะขยายตัว มีอาการปวดตึงที่มดลูก เมื่อระดูออกมาครั้งแรกมักจะมีอาการอื่นอีก เช่น บางคนอาจ
ปวดศีรษะ หงุดหงิด หรือเป็นไข้ อาการเหล่านี้จะเริ่มทีละน้อย ก่อนหน้าที่ระดูจะมาประมาณ ๓ – ๔ วัน
แล้วจะมีระดู
จ้านวนวันและปริมาณของระดู ระดูออก มาประมาณ ๓ – ๔ วัน หรือ ๕ วัน ออกมา ครั้งหนึ่ง
ประมาณ ๑๐ – ๑๕ ช้อนโต๊ะ และก็จะจางลงจนหยุด อาการต่างๆ ก็จะหายไป
รอบระดู ตามปรกติแรกเริ่มมีกาหนด ๑๘ วัน จึง จะออกครั้งหนึ่ง บางคนมี ๒๐ ถึง ๓๐ วัน แล้ว
ภายหลังก็มี ๒๘ วัน ตามธรรมดา บางคนมีแล้วหยุดไปนานหลายปีแล้วกลับมามีอีก ลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เป็น
โรคเพราะร่างกายเป็นปรกติดี บางคนมีโรคระดูอาจจะคลาดเคลื่อนได้
ในร่างกายของผู้หญิงมีโลหิตมากกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงจะต้องเสียโลหิตระดูทุกเดือน เมื่อไม่ได้
ตั้งครรภ์ขึ้นก็จะขับถ่ายออกไป
ระดูจะออกจากไหน เวลาใด คือ วันที่รู้สึกว่าเต้านมคัดแข็ง ปวดตึงที่มดลูก เป็น วัน ที่ไข่สุก
ร่างกายจึงเปลี่ยนแปลงไปกว่าธรรมดา ผิวหนังในโพรงมดลูกหนาขึ้น มีโลหิตมาคั่งรวมอยู่มากจึงมีอาการตึง
และปวดมดลูก แล้วผิวหนังในโพรงมดลูกนั้น แตกออกโลหิตจึงไหลออกมาเป็นระดู มีไข่สุกที่ไม่ได้ผสม
ออกมาด้วย

ในหนังสือ ตาราการแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ โดยกองการประกอบโรคศิลปะ เขียนไว้ว่า เป็นวันที่ไข่สุก ผู้เขียนเข้าใจว่า


น่าจะเป็นความผิดพลาดของการสื่อสารหรือการตีพิมพ์ เพราะว่าโดยปรกติแล้วรอบเดือนของสตรีจะมีเมื่อตกไข่แล้วและไข่ไม่ได้รับการผสมกับ
ตัวอสุจิให้เกิดการปฏิสนธิ แล้วผนังมดลูกจึงลอกตัวออกมาเป็นประจาเดือน จะเริ่มมีหลังจากการตกไข่แล้วประมาณ ๗ วัน
ถ้าไข่สุกและมีการผสมแล้วผิวหนังในโพรงมดลูกจะไม่แตกออกเป็นโลหิตเพราะต้องเก็บไว้เลี้ยง
ทารกต่อไป
โลหิตระดูไหลซึมออกจากภายในมดลูก โดยไข่สุกแล้วไหลเลื่อนลงเข้าหลอดปากแตร แล้วเคลื่อน
ไหลเข้าในโพรงมดลูก ภายในโพรงมดลูกมีเยื่อบางๆ สาหรับรองรับไข่สุกไว้ได้หนาขึ้น มีเลือดมาคั่งค้าง เมื่อ
ไข่สุกนี้ มิได้ผสมกับตัว ผสมพันธุ์ (ตัวอสุจิ) เยื่อนี้ก็ จะปริแตกออกพร้อมด้วยเส้นเลือดเป็นระดู ไหลออกมา
เรียกว่า “มีประจาเดือน” ถ้าไข่สุกได้รับการผสมพันธุ์กับตัวผสมพันธุ์ (ตัวอสุจิ) แล้ว เยื่อบางๆ ในมดลูกนี้ที่มี
เลือดมาคั่งค้างก็จะหุ้มห่อไข่ไว้เป็นอาหารสาหรับเลี้ยงทารกต่อไป จะไม่มีเลือดระดูออกมา เรียกว่า ได้มีการ
ปฏิสนธิแล้ว
ลักษณะธรรมดาเลือด ระดู เลือดระดู ที่ออกมาควรเป็นเลือดสดๆ ที่ออกจากแผลใหญ่ ไม่มีกลิ่น
หรือเป็นลิ่มเป็นก้อน หรือสีดาข้นแข็ง ถ้ามีกลิ่นโสโครกอาจสงสัยเป็นโรคระดู
ผู้หญิงจะหมดประจ้าเดือน ตั้งแต่อายุ ๔๕ ปี ถึง ๕๕ ปี บางคนอาจจะหมดประจาเดือนเมื่ออายุ
๓๗ ปี ก็มี
ผู้หญิงจะมีบุตรได้ก็ต่อเมื่อมีไข่สุกดังกล่าวมาแล้ว ส่วนผู้ชายมีบุตรได้มากกว่าผู้หญิง

You might also like