Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 25

การผดุงครรภ์ไทย

บทที่ ๔ การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์
“...ถ้าไข่สุกได้รับการผสมพันธุ์กับตัวผสมพันธุ์แล้ว เยื่อบางๆ ในมดลูกนี้ที่มีเลือดมาคั่งค้างก็จะหุ้ม
ห่อไข่ไว้เป็นอาหารสาหรับเลี้ยงทารกต่อไป จะไม่มีเลือดระดูออกมา เรียกว่า ได้มีการปฏิสนธิแล้ว...”
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
...อาจาริเยน อันพระอาจารย์เจ้า จะกล่าวพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์นี้ ซึ่งท่านคัดออกมาจากคัมภีร์โรค
นิทาน โน้นต่อไปให้แพทย์ทั้งหลายพึงรู้โดยสังเขปดังนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อม
ด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อมคือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคน
กันเข้าคือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาระคนกัน มิได้วิปริตจึ่งบังเกิดขึ้นด้วยธาตุน้า คือต่อมโลหิตแห่งมารดา
ก็ให้บังเกิดตั้งขึ้นเปนอนุโลมปฏิสนธินั้น...
การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อ พร้อมด้วยบิดามารดา กับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม
การปฏิสนธิเกิดขึ้นในมดลูกเพื่อมีการเจริญเติบโตขึ้นก็จะเรียกว่า มารดามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
การปฏิสนธิ (ครรภ์วาระกาเนิด)
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
... ในเมื่อสัตว์จะปฏิสนธินั้นท่านกล่าวไว้ว่า สุขุมังปะระมานูเลอียดนัก เปรียบด้วยขนทรายจามรีเส้น
๑ เอามาชุบน้ามันงาที่ใสนั้น แล้วเอามาสลัดเสียให้ได้ ๗ ครั้ง แต่ยังติดอยู่ที่ปลายขนทรายจามรี มากน้อย
เท่าใด อันมูลปฏิสนธิแห่งสัตว์ทั้งหลายสุขุมเลอียดดุจนั้น แต่ตั้งขึ้นในครรภ์มารดาแล้วละลายไปได้วันละ ๗
ครั้ง กว่าจะตั้งขึ้นได้เปนอันยากนัก...

ไข่ที่ตก

สตรีมีรังไข่อยู่คู่หนึ่ง ภายในช่องท้องส่วนล่างข้างละหนึ่งรัง รังไข่มีไข่เล็กๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น


เป็นจานวนมาก
เมื่อสตรีเริ่มสาว ไข่จะค่อยเจริญเติบโตจนไข่สุก ไข่ที่สุกจะอยู่ติดกับพื้นนอกของรังไข่ก่อน เมื่อแก่
จะเคลื่อนไปสู่ใจกลางของรังไข่ แล้วค่อยเคลื่อนกลับมาที่พื้นนอกของรังไข่อีก ในที่สุดจะทะลุเยื่อหุ้มของรัง
ไข่หลุดออกไปอยู่ในช่องท้อง แล้วจะถูกดูดเข้าไปอยู่ในท่อนาไข่
ระยะที่ไข่แตกออกจากรังนี้จะเกิดประมาณวันที่ ๑๔ หลังจากวันที่มีระดู แผลตรงที่ไข่ทะลุออกมา
จะเป็นเนื้อที่เล็กๆ เป็นก้อนสีแดงก่อนแล้วกลายเป็นสีเหลืองซึ่งเจริญขึ้นเป็นลาดับ
ถ้าหากไข่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ไข่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๔ – ๕ วันเท่านั้น ก้อนสีเหลืองที่ติดอยู่ที่รัง
ไข่ก็จะละลายไปพร้อมกับเยื่อบุพื้นภายในมดลูกซึ่งละลายตัวกลายเป็นระดูไหลออกมา
ตลอดเวลาที่ไข่ยังไม่ตาย ถ้ามีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น ก้อนสีเหลืองที่รังไข่นี้ก็เจริญเติบโตมากขึ้น มี
คุณภาพห้ามไข่อื่นในรังไข่ไม่ให้สุกได้อีก และเจริญเติบโตมากที่สุดได้อีกในเดือนที่ ๓ ของการตั้งครรภ์ เริ่ม
ละลายตัวสูญหายไปเมื่อตั้งครรภ์ได้ ๕ – ๖ เดือน และละลายตัวไปหมดเมื่อท้องครบ
ถ้าหากไข่ได้รับการผสมพันธุ์ ซึ่งโดยมากมักเกิดขึ้นภายในปีกมดลูก ไข่จะไหลผ่านปีกมดลูกเข้าสู่
โพรงมดลูกกินเวลาประมาณ ๓ – ๔ วัน และยังคงลอยตัวอยู่ในมดลูกอีกประมาณ ๖ – ๗ วัน รวม
ระยะเวลาการเดินทางของไข่จากรังไข่เข้าสู่โพรงมดลูกทั้งหมดประมาณ ๑๐ (๙ – ๑๑) วัน ในระหว่างนี้ไข่
ได้อาหารจากไข่แดงและน้าเลี้ยงของต่อมภายในมดลูกซึ่งซึมเข้าไปสู่ไข่ ในระหว่างที่ไข่เดินทางมาสู่มดลูกจะ
มีการแบ่งตัวเรื่อยๆ ขนาดของไข่ระยะนี้ประมาณ ๒ ม.ม.
ไข่จะฝังตัวลงไปในเยื่อบุของโพรงมดลูกซึ่งโดยมากจะเป็นตอนบนบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังของ
โพรงมดลูก การส่งอาหารจากตัวผู้ตั้งครรภ์ให้แก่ไข่จะผ่านทางเส้นโลหิต ในระยะที่ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์
แล้วมาฝังตัวอยู่นี้บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาตัวกว่าธรรมดามาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


[๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้...
...สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทกยักษ์ครอบครองเขตกรุงราชคฤห์ฯ
[๘๐๒] ครั้งนั้นแลอินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับครั้นแล้วได้กราบทูลด้วยคาถาว่า
“[ถ้า] ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้จะประสพ ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูก
และก้อนเนื้อจะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร”
[๘๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ปฐม กลล โหติ กลลา โหติ อพฺพุท
อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน
ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เกสา โลมา นขาปิ จ
ยญฺจสฺส ภุญฺชตี มาตา อนฺน ปานญฺจ โภชน
เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มาตุกุจฺฉิคฺคโต นโร ฯ
“รูปนี้เป็นกลละ ก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะ
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ
จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผม ขน และเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น
มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้าโภชนาหารอย่างใด
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น” ฯ
อรรถกถาสารัตถัปปกาสินี ก็อธิบายถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดาตามที่พระพุทธเจ้า
ได้ตรัสไว้ในพระสูตรข้างต้นนั้นไว้ว่า
“ในสัปดาห์แรกแห่งการปฏิสนธินั้น เกิดเป็นกลลรูป คือเป็นหยาดน้าใสเหมือนน้ามันงา ในสัปดาห์ที่
๒ หลังจากกลลรูป เกิดเป็นอัพพุทรูปขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นฟองสีเหมือนน้าล้างเนื้อ ในสัปดาห์ที่ ๓ หลังจาก
อัพพุทรูป ก็ได้เกิดเป็นเปสิรูป ซึ่งมีลักษณะเหมือนชิ้นเนื้อที่เหลวๆ สีแดง ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากเปสิรูป ก็
ได้เกิดเป็นฆนรูปขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่ไก่ ในสัปดาห์ที่ ๕ หลังจากฆนรูป จึงได้เกิด
ปัญจสาขาขึ้น คือรูปนั้นงอกออกเป็น ๕ ปุ่ม คือ เป็นศีรษะ ๑ แขน ๒ ขา ๒ ต่อจากนั้น คือในระหว่าง
สัปดาห์ที่ ๑๒ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ผม ขน เล็บ ก็ปรากฏขึ้น”
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
“.....ครั้นโลหิตตั้งขึ้นได้ ภายใน ๗ วัน ก็บังเกิดเป็นปฐมกะละละ นั้นเรียกว่า ไชยเภท คือมีฤดูล้าง
หน้าที ๑ ถ้ามิดังนั้นก็ให้มารดาฝันเห็นวิปริต ก็รู้ว่าครรภ์ตั้ง แลครรภ์ตั้งขึ้นแล้วมิได้วิปริต ครบ ๗ วันก็ข้น
เข้าดังน้าล้างเนื้อ เมื่อไปอีก ๗ วันเปนชิ้นเนื้อ ไปอีก ๗ วันเปนสัณฐานดังไข่งู ไปอีก ๗ วันก็แตกออก
เปนปัญจสาขา ๕ แห่ง คือ ศีร์ษะ ๑ มือ ๒ เท้า ๒ จึ่งเปน ๕ ไปอีก ๗ วันก็เกิด เกสา โลมา นขา ทัน์ตา
ลาดับกันไปดังนี้ ในขณะเมื่อครรภ์ตั้งขึ้นได้เดือนหนึ่งกับ ๑๒ วันนั้น โลหิตจึ่งบังเกิดเวียนเข้าเปนตานกยูงที่
หัวใจเปนเครื่องรับดวงจิตรวิญญาณ ถ้าหญิงเวียนซ้าย ถ้าชายเวียนขวา แต่มิได้ ปรากฏออกมา ครั้นเมื่อ
ครรภ์ถ้วนไตรมาศ แล้วโลหิตนั้นก็แตกออกไปตามปัญจสาขา เมื่อได้ ๔ เดือนจึ่งตั้งอาการ ๓๒ นั้น จึ่ง
บังเกิดตาแลหน้าผาก ก่อนสิ่งทั้งปวงจึ่งบังเกิดเปนอันดับกันไป เมื่อครรภ์ได้ ๕ เดือน จึ่งมีจิตรแลเบ็ญจขันธ์
พร้อมรูปัก์ขัน์โธ เมื่อตั้งเปนรูปขันธ์ เข้าแล้ว วิญ์ญาณัก์ขัน์โธก็ให้มีวิญญาณขันธ์ รู้จักร้อนแลเย็น ถ้าแล
มารดาบริโภคอาหารที่เผ็ดร้อนเข้าไปเมื่อใด ก็ให้ร้อนทุรนทุราย ดิ้นเสือกไปมา เวทนาก์ขัน์โธ เวทนาขันธ์ ก็
บังเกิดขึ้นตามกัน คือ ที่อยู่ในท้องของมารดานั้นลาบากทนทุกขเวทนาดุจสัตว์ในนรก คือ นั่งยองกอดเข่าเอา
กามือไว้ใต้คาง ผินหน้าเข้าสู่กระดูกสันหลังของมารดาผินหลังออกข้างนาภี เหมือนดังลูกวานรอันนั่งอยู่ใน
โพรงไม้นั้น.....”
สรุป ได้ดังนี้

กะละละ หรือ กลละ [กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น


น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.), (มค. กลล) น. เปือกตม; เชื้อสาหรับเกิดมนุษย์และสัตว์ (เหมือน กัลละ)
ไชยเภท [ไชยะเพด] น. เด็กที่มีอายุแต่เดือนที่ ๑ ไป, เรียกเด็กที่เริ่มกาเนิดในครรภ์มารดา มีอายุตั้งแต่เดือนที่ ๑ เป็นต้นไป
แรกกาเนิด ภายในสัปดาห์แรก กลละรูป เป็นหยาดน้าใสเหมือนน้ามันงา
ครบ ๗ วัน (แล้วเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ ๒) อัพพุทรูป ข้นเข้าเป็นฟองสีเหมือนน้าล้างเนื้อ
ครบ ๑๔ วัน (แล้วเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ ๓) เปสิรูป มีลักษณะเหมือนชิ้นเนื้อที่เหลวๆ สีแดง
ครบ ๒๑ วัน (แล้วเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ ๔) ฆนรูป มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่งู
ครบ ๒๘ วัน (แล้วเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ ๕) ปัญจสาขา รูปนั้นงอกออกเป็น ๕ ปุ่ม คือเป็นศีรษะ ๑
แขน ๒ ขา ๒
ครบ ๓๕ วัน (แล้วเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ ๖) เกิด เกสา โลมา นขา ทันตา ลาดับกันไป
ครบ ๔๒ วัน คือ ๑ เดือน กับ ๑๒ วัน โลหิตจึงบังเกิดเวียนเข้าเป็นตานกยูงที่หัวใจเป็นเครื่อง รับ
ดวงจิตวิญญาณ ถ้าหญิงเวียนซ้าย ถ้าชายเวียนขวา
ครบ ๓ เดือน เมื่อครรภ์ครบไตรมาสแล้ว โลหิตนั้นก็แตกออกไปตามปัญจสาขา
ครบ ๔ เดือน เมื่อครรภ์ได้ ๔ เดือน จึงมีอาการครบ ๓๒ ประการ จะบังเกิดตาและหน้าผากก่อน
ครบ ๕ เดือน เมื่อครรภ์ครบ ๕ เดือน จึงมีจิตและเบญจขันธ์ พร้อมรูปขันธ์ มีวิญญาณขันธ์ รู้จัก
ร้อนและเย็น เวทนาขันธ์บังเกิดตามกัน คือที่อยู่ในท้องของมารดานั้นลาบากทนทุกขเวทนาดุจสัตว์ในนรก
ทารกจะอยู่ในท่านั่งยองกอดเข่ากามือไว้ใต้คาง หันหน้าเข้าสู่กระดูกสันหลังของมารดา หันหลังออกข้างนาภี

เบญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ หมายถึงตัวตนหรือชีวิตของตน อันประกอบด้วยฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่แยกออกเป็น ๕ ขันธ์หรือกอง อัน


ประกอบด้วย รูป(กาย) – รูปร่างหน้าตาหรือร่างกาย, เวทนา – ความรู้สึกหรือการรับรู้ในอารมณ์, สัญญา – การจาได้หมายรู้, สังขาร – สิ่งปรุง
แต่งทางใจให้เกิดการกระทา, วิญญาณ – ความรู้แจ้งหรือรับรู้ในอารมณ์ ท่านได้แยกให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ว่า ความเป็นตัวตน
หรือชีวิตนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่หมายถึงเป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา จึงย่อมมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา
เป็นไปตามสามัญลักษณะของสังขารทั้งปวงตามพระไตรลักษณ์
อวัยวะห่อหุ้มและเลี้ยงดูทารก
ทารกขณะที่อยู่ในมดลูก มีอวัยวะต่างๆ ห่อหุ้มเลี้ยงดู ดังต่อไปนี้
๑. รก เมือ่ เส้นโลหิตจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่มาเลี้ยงไข่มีมากขึ้น รวมกันเป็นบริเวณหนาฝังติดอยู่กับพื้น
มดลูก ต่อไปส่วนนี้จะเริ่มกลายเป็นรกเมื่อทารกอายุได้ ๒ เดือน และจะเป็นรกโดยครบถ้วนเมื่อทารกอายุได้
๔ เดือน ด้านหนึ่งยึดแน่นมีเส้นโลหิตเดินติดต่อกับพื้นมดลูก ลักษณะของรกเมื่อครบคลอดมีลักษณะคล้าย
น้าตาลปีกขนาดโตประมาณ ๗ – ๘ นิ้วฟุต และหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ทางด้านที่หุ้มเข้าหาตัวทารกคือ
ทางที่สายสะดือเกาะ มีลักษณะลื่นเรียบเพราะมีเยื่อถุงหุ้มทารกบุอยู่อีกชั้นหนึ่ง
หน้าที่
๑) รกมี หน้าที่นาอาหาร และออกซิเจนจากมารดาสู่ทารก โดยรวมกันไหลเข้าสู่เส้นโลหิตของสาย
สะดือของทารก
๒) รกมีหน้าที่นาของเสียซึ่งร่างกายใช้แล้วกลับไปสู่ตัวมารดาเพื่อถ่ายเท
๓) รกมีหน้าที่ป้องกันโลหิตของมารดาไม่ให้ไหลย้อนเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้อีก เพราะความดันโลหิต
ของมารดาสูงกว่าทารก ถ้ามีการไหลติดต่อกันโดยตรงความดันโลหิตของมารดาจะทาให้อวัยวะของเด็ก
ทนไม่ได้ และตัวยาหรือเชื้อโรคที่อยู่ในกระแสโลหิตของมารดามีโอกาสเข้าถึงเด็กได้ เช่น มารดาเป็นไข้
รากสาด หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด (เช่น ซิฟิลิส เอดส์ เป็นต้น) เด็กก็มีโอกาสได้รับเชื้อ
ด้วย

๒. สายสะดือ เป็นสายที่ติดต่อระหว่างเด็กกับรก สายสะดือมีเยื่อเหนียวอย่างเดียวกันกับเยื่อของถุง


หุ้มตัวทารก สายสะดือยาวประมาณ ๒๐ – ๒๒ นิ้วฟุต ภายในสายสะดือมีเส้นโลหิตแดง ๒ เส้น และเส้น
โลหิตดา ๑ เส้น เมื่อครบกาหนดคลอดสายสะดือ มักจะบิดเป็นเกลียวประมาณ ๑๐ รอบ ส่วนที่ติดกับรก
มักจะเป็นบริเวณกึ่งกลางของรก แต่ที่ออกไปอยู่ด้านข้างรกก็มีบ้างบางทีอยู่ริมรกเลยก็มี บางรายเกาะอยู่ที่
เยื่อหุ้มเด็กข้างรกก็มี ตาเหน่งการเกาะของสายสะดือกับรกลักษณะดังนี้เวลาคลอดจะมีอันตรายมาก สาย
สะดือนี้ถ้าเด็กดิ้นมากจนสายสะดือบิดเป็นเกลียวมากๆ ทาให้โลหิตจากมารดาไปสู่เด็กไม่ได้เด็กก็อาจจะ
เสียชีวิตได้
หน้าที่ เส้นโลหิตแดง ๒ เส้น นาโลหิตจากมารดามาสู่ตัวทารก และเส้นโลหิตดา ๑ เส้น นา
โลหิตจากทารกไปสู่มารดา

รกที่สายสะดือเกาะปรกติ (เกาะตรงกลาง) รกที่สายสะดือเกาะผิดปรกติ (เกาะริม)


ถ้าหากในตาราแพทย์แผนตะวันตก จะกล่าวว่า มีเส้นโลหิตแดง ๒ เส้น นาโลหิตจากทารกไปสู่มารดา (เรียกเส้นโลหิตแดงเนื่องจากนา
เลือดออกจากร่างกายแต่ภายในเป็นโลหิตดา) และมีเส้นโลหิตดา ๑ เส้น นาโลหิตจากมารดามาสู่ตัวทารก (เรียกเส้นโลหิตดาเนื่องจากนาเลือด
เข้าสู่ร่างกายแต่ภายในเป็นโลหิตแดง)
น้าทูนหัวหรือน้าคร่า
น้าทูนหัวหรือน้าคร่านี้เกิดขึ้นในเยื่อบางๆ เป็นถุงน้าเรียกว่า “ถุงน้าคร่าหรือถุงน้าทูนหัว” เป็นน้าที่มี
สีเหลืองอ่อนๆ เมื่อแรกเกิดเป็นน้าใสๆ รสเค็มกร่อย ครั้นทารกในครรภ์อายุได้ หกเดือนน้า ก็จะข้น เข้า มีกลิ่น
แรงสาบๆ มีสีเปลี่ยนแปลงไป เช่น สีเขียว สีเหลือง ถ้าน้าคร่าวิปริตจะเป็นสีแดง เป็นอันตรายซึ่งควรระวัง
แก้ไข ในน้าคร่ามีธาตุต่างๆ เช่น ยูริน น้าตาล ยูเรีย และซัลเฟต เป็นต้น น้าคร่าในระยะแรกมีเล็กน้อยต่อไป
จะเกิดมีมากจนท่วมตัวทารก
ประโยชน์ของน้าคร่า
๑. เพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่ให้ทารกถูกกระทบกระเทือนจากของแข็ง
๒. เป็นเครื่องถ่างให้มดลูกพองตัวอยู่เสมอจะหดเหี่ยวตัวลงไม่ได้ ทารกอยู่ในที่หลวมตัวจะหมุนตัว
ได้สะดวก
๓. น้าคร่าจะดันถุงน้าคร่าให้ตุงออกมาที่ปากมดลูกทาให้ปากมดลูกขยายตัวกว้างออกทุกทีจนกว่า
ทารกจะออกได้และช่วยให้เป็นการหล่อลื่นทารกให้คลอดสะดวกอีกด้วย
ถ้าน้าคร่ามากเกินไปกว่า ๒ ขวดเบียร์ บางรายมีถึง ๖ – ๗ ขวดเบียร์ จะสังเกตได้ว่ารูปร่างท้องจะ
ไม่ยาวรีแต่ท้องจะกลมใหญ่ คลาดูส่วนของทารกไม่ใคร่พบ ฟังหัวใจของทารกไม่ใคร่ได้ยิน หนังหน้าท้องแบน
ราบมากทาให้ตาของทารกผิดปรกติ เมื่อร่างของทารกถูกบังคับจากการหดรัดตัวของมดลูก ส่วนนาจึงไม่เข้า
ช่องเชิงกราน เมื่อถุงน้าคร่าแตกจะมีน้าคร่าจานวนมากไหลออกมา
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ ของมารดาเนื่องจากการตั้งครรภ์
ในขณะที่มีการตั้งครรภ์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกายของมารดา ทั้งการ
เปลี่ยนแปลง ของอวัยวะต่างๆ ของ หญิง เนื่องจากการตั้งครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของการทางานใน
ร่างกายอีกหลายอย่าง โดยมีการจาแนกเป็นประเภทดังนี้
๑. การเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่
๒. การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไป
๓. การเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญของร่างกาย
๔. การเปลี่ยนแปลงของต่อมไม่มีท่อภายในร่างกาย
๑. การเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะบริเวณในช่องเชิงกราน หน้าท้อง ถัน
(เต้านม) และผิวหนัง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงจะเห็นมากขึ้น
เวลาครรภ์แก่
๑) มดลูก ปรกติมดลูกมีน้าหนักประมาณ ๕๐ กรัม ภายในโพรงมดลูกมีปริมาตรประมาณ ๒
ซี.ซี. หากเมื่อมีการตั้งครรภ์มดลูกจะมีจานวนกล้ามเนื้อมากขึ้นและขยายขนาดขึ้น จนมีน้าหนัก
ประมาณ ๑,๐๐๐ กรัม และมีปริมาตรประมาณ ๔,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ซี.ซี. หรือมากกว่านั้น มดลูกจะมี
การขยายทั้งขนาดและจานวนของกล้ามเนื้อ เส้นโลหิตต่างๆ ที่เยื่อบุมดลูกก็โตตามไปด้วยทาให้โลหิต
มาหล่อเลี้ยงมากขึ้น มดลูกของหญิงที่ตั้งครรภ์มักจะเอียงไปข้างขวามากกว่าข้างซ้ายและมีลักษณะ
อ่อนนิ่ม จะตั้งต้นนิ่มที่มดลูกส่วนล่างก่อน จะพบว่าปากมดลูกนิ่มมากซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของการ
ตั้งครรภ์
ขนาดของมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์
(๑) ปลายเดือนแรกมดลูกโตขึ้นเพียงเล็กน้อย
(๒) ปลายเดือนที่สองโตเท่าไข่เป็ด
(๓) ปลายเดือนที่สามโตเท่าหัวทารก
(๔) ประมาณสัปดาห์ที่ ๑๘ จะคลาพบยอดมดลูกอยู่เหนือหัวเหน่า (ระดับยอดมดลูก
อยู่ประมาณกึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ)
(๕) ประมาณปลายเดือนที่ ๖ ยอดมดลูกอยู่ที่ระดับสะดือพอดี
(๖) สัปดาห์ที่ ๓๘ ยอดมดลูกจะอยู่สูงที่สุด
(๗) ต่อไปจะลดต่าลงมาซึ่งเรียกว่า “ท้องลด” เกิดจากหัวเด็กลงไปอยู่ในช่องเชิงกราน
ส่วนล่าง ซึ่งมักจะพบในสัปดาห์ที่ ๔๐

มดลูกของหญิงที่ตั้งครรภ์จะมีขนาดโตขึ้น เพราะทารกอยู่ในมดลูก มดลูกก็ขยายตัวขึ้นให้


พอกันกับทารกที่อยู่ในครรภ์ ส่วนกล้ามเนื้อที่หุ้มห่อมดลูกก็จะขยายกว้างขวางออกไปอีก และเอ็นที่
ยึดมดลูกก็จะยืดออกมามากกว่าเดิม ที่ปากมดลูกของผู้หญิงเมื่อยังไม่ได้ตั้งครรภ์คลาดูจะเหมือน
เอามือกดที่ปลายจมูกแต่เมื่อตั้งครรภ์จะนุ่มลง
มดลูกจะมีการบีบตัวอยู่ตลอดเวลาและมีมากขึ้นเมื่อท้องใกล้ครบกาหนด ซึ่งการบีบตัวของ
มดลูกนี้ไม่ทาให้รู้สึกเจ็บปวด นอกจากสตรีที่มีโรคประสาทอ่อนที่แม้เด็กดิ้นก็รู้สึกปวดได้ การบีบตัว
ของมดลูกนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้รู้ได้ว่ามดลูกนั้นตั้งครรภ์หรือไม่ การบีบตัวของมดลูกใน ๒ – ๓ เดือน
แรก มีประมาณครั้งละ ๒ – ๓ วินาที และเกิดประมาณ ๒๐ นาทีต่อครั้ง มดลูกจะบีบตัวมากและ

การประมาณอายุครรภ์ ในแพทย์แผนตะวันตกก็มีการประมาณจากระดับของยอดมดลูกคือ อายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูง


ประมาณ ๑/๓ เหนือกระดูกหัวเหน่า, ๑๖ สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ ๒/๓ เหนือกระดูกหัวเหน่า, ๒๐ สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ,
๒๔ สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย, ๒๘ สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ ๑/๔ เหนือระดับสะดือ , ๓๒ สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ ๒/๔
เหนือระดับสะดือ, ๓๖ สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ ๓/๔ เหนือระดับสะดือ, ๓๘ สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ลิ้นปี่, ๔๐ สัปดาห์ ยอดลดลูกลดระดับลง
แรงกว่าธรรมดาเมื่อถึงกาหนดระยะมีระดูของหญิงตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดการแท้งมักเกิด
ตรงกันกับระยะที่มีระดู จึงควรระวังมากในคนท้องในเมื่อถึงระยะเวลามีระดู
๒) ช่องคลอด จะมีโลหิตหล่อเลี้ยงมากขึ้น จึงมีสีม่วงช้าตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะยืดได้มากขึ้น
เนื่องจากมีโลหิตมาหล่อเลี้ยงมาก น้าหล่อเลี้ยงช่องคลอดในระยะนี้มีสภาพเป็นกรดมากขึ้น แคม
ปากช่องคลอดก็เปลี่ยนเป็นสีม่วงช้าเช่นกัน
๓) กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อกระดูกในบริเวณช่องเชิงกราน จะนุ่มยืดและเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ ๕ เดือน เพื่อช่วยให้คลอดง่ายขึ้น
๔) หน้าท้อง จะพบการเปลี่ยนแปลงได้ชัดในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์เพราะว่าในระยะแรก
มดลูกยังอยู่ในอุ้งเชิงกราน เมื่อมดลูกค่อยๆ ยืดหน้าท้องจะค่อยๆ ยืดบางออกไปทุกที จนผิวหนัง
หน้าท้องส่วนล่างแตกเป็นเส้นๆ ถ้าคนที่ตั้งครรภ์แรกๆ จะเป็นสีชมพูอ่อน ครรภ์หลังๆ จะมีสีซีด
รอยแตกของหน้าท้องนี้จะปรากฏในราวตั้งครรภ์ ๘ เดือน ขึ้นไป นอกจากนี้ จะมีเส้น ดาปรากฏขึ้น
อีกเส้นหนึ่งตรงกลางท้องจากหัวเหน่าไปถึงสะดือ เส้นนี้เห็นชัดในตอนหลังของการตั้งครรภ์และจะ
ค่อยๆ จางหายไปหลังจากคลอดแล้ว
๕) นม แบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนของ เต้านมและบริเวณหัวนม ทั้งสองส่วนนี้ จะโตขึ้น
หลังจากตั้งท้องได้ ๑ เดือน ขึ้นไป เต้านมจะคัดเพราะมีไขมันมาเพิ่มที่ใต้ผิวหนังทาให้มารดารู้สึก
ปวดตึงบ้างเล็กน้อย ปลายเดือนที่ ๒ ต่อมน้านมโตมากขึ้นคลาพบต่อมเป็นก้อนภายในเต้านม และ
ในระยะต่อไปบริเวณเต้านมจะมีเส้นโลหิตดาปรากฏอยู่ใต้ผิวหนังเป็นเส้นเขียวๆ เวลาบีบเต้านมจะมี
น้าใสๆ ออกมา เล็กน้อย แต่ใน ระยะ ครรภ์ ครบกาหนดคลอดน้านี้จะเปลี่ยนเป็นน้าเมือกขุ่นขาว
หัวนมจะใหญ่ขึ้นมีสีดาจัดขึ้นมีเม็ดดาๆ เล็กๆ ล้อมรอบหัวนมคล้ายหนามพองตัวโตขึ้นราว ๑๐ – ๒๐
เม็ด และเมื่อครรภ์แก่เข้าจะมีจุดดาๆ รอบหัวนมกว้างขึ้นทุกที แต่สีเข้มน้อยกว่า
๖) ผิวหนัง นอกจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณนมและหน้าท้องแล้ว ยังมีการ
เปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหน้าอีกด้วย คือจะปรากฏจุดดาๆ ทั้งสองข้างโหนกแก้มและดั้งจมูก
ทาให้มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อโดยสมมุติเอาดั้งจมูกเป็นตัวผีเสื้อ หลังจากคลอดแล้วจุดดาๆ พวกนี้ก็จะ
ค่อยๆ จางหายไป บางคนที่ตั้งครรภ์บ่อยๆ และมีจุดดาๆ เกิดขึ้นซ้าๆ กันในเวลาตั้งครรภ์ หลัง
คลอดแล้วจุดดาๆ นี้อาจจะมีอยู่ตลอดชีวิต
๒. การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปของร่างกาย ได้แก่
๑) ระบบทางเดินอาหาร เกิดการเปลี่ยนแปลงอันดับแรกคือ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในเวลา
เช้าหลังจากลุกขึ้นจากที่นอนหรือหลังรับประทานอาหารเช้าแล้ว มีอาการนี้ประมาณ ๒ ใน ๓ ของ
จานวนผู้ที่ตั้งครรภ์ทั้งหมด และมักเป็นในผู้ที่มีครรภ์ครั้งแรกและคนเป็นโรคประสาทอ่อน มักตั้งต้น
แต่สัปดาห์ที่ ๘ ถึงสัปดาห์ที่ ๑๒ สิ่งที่อาเจียนออกมาเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไปหรือน้าลายใสๆ
ถ้าเป็นมากอาจจะอาเจียนเอาน้าดีออกมา มีอาการเหมือนเมาคลื่นแต่หาต้นเหตุไม่ได้แน่นอนและ
แก้ไขยาก แต่ไม่ได้ทาให้ร่างกายทรุดโทรมเพราะว่าอาเจียนในเวลาเช้าเท่านั้น ( Morning Sickness)
บางคนที่แพ้มากอาจจะมีอาการอาเจียนตลอดวันแม้แต่ดื่มน้าก็อาเจียนทาให้ร่างกายอ่อนเพลีย ฟัน
ของคนท้องพบว่าผุได้ง่ายเพราะหินปูนที่มารดากินเข้าไปนั้น ทารกเอาไป ใช้ในการ สร้างกระดูก เสีย
เป็นอย่างมาก การอยากกินอาหารผิดแปลกมีอยู่เสมอ เช่น อยากกินของเปรี้ยว ของขม ดินเผา
เกลือ หรือของที่พิสดารอย่างอื่น ในสามเดือนแรกมีอาการท้องขึ้นท้องเฟ้อ ท้องผูก และเบื่ออาหาร
เสมอ แต่ในสามเดือนหลังก่อนคลอดจะรับประทานได้มาก ทาให้อ้วนใหญ่แข็งแรง แต่ท้องคงผูก
เพราะมดลูกกดลงบนลาไส้ใหญ่
“...คัมภีร์ปฐมจินดาร์นี้ พระอาจารย์เจ้าท่านกล่าวไว้พอเปนในความแต่พึงรู้แพทย์ทั้งหลาย
จะได้สงเคราะห์ซึ่งโรคนั้นหนึ่งโสดเมื่อสัตว์จะปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้นกล่าวนิมิตร์ว่า ถ้ามารดา
อยากมัจฉะมังษา เนื้อปลาแลสิ่งของ เปนสิ่งอันคาว ท่านว่าสัตว์นรกมาปฏิสนธิ ถ้าแลมารดาอยาก
สิ่งอันเปรี้ยวแลขม ท่านว่ามาแต่ป่าหิมพานต์ มาปฏิสนธิ ถ้าแลมารดาอยากน้าผึ้งน้าอ้อยน้าตาล
ท่านว่ามาแต่สวรรค์ลงมาเอากาเนิดเปนมนุษย์ ถ้าแลมารดาอยากสรรพผลไม้ทั้งปวง ท่านว่ามาแต่
ติรัจฉาน มาปฏิสนธิ ถ้าแลมารดาอยากกินดิน ท่านว่ามาแต่พรหม ลงมาปฏิสนธิ ถ้าแลมารดาอยาก
กินสิ่งที่เผ็ดแลร้อน ท่านว่ามาแต่มนุษย์มาปฏิสนธิ เมื่อมารดาอยากของดังกล่าวมานี้ก็เปนธรรมดา
โลกยวิไสย...”
๒) ระบบทางเดินของโลหิต จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
(๑) โลหิต จานวนโลหิตจะเพิ่มขึ้ นประมาณร้อยละ ๑๕ ของจานวนโลหิตทั้งหมด ใน
ระยะตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นคนท้องแก่จึงมีหน้าตาสดใสแข็งแรงและรู้สึกว่ามีร่างกาย
สมบูรณ์ที่สุด การที่มีโลหิตมากขึ้นก็เพราะว่าอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเจริญเติบโตขึ้น
ต้องการโลหิตมาเลี้ยงมากขึ้นแต่เป็นน้าหล่อเลี้ยงโลหิตมากกว่าเม็ดโลหิต ฉะนั้ นเมื่อนับ
เม็ดโลหิตจะพบว่าจะมีเม็ดโลหิตน้อยลงไปเล็กน้อย และขณะตั้งครรภ์ในโลหิต ๑ คิวบิก
มิลลิเมตรจะ มีเม็ด โลหิต ขาวประมาณ ๑๕,๐๐๐ เม็ด ซึ่งธรรมดามีเพียง ๘,๐๐๐ เม็ด
นอกจากนี้ส่วนผสมที่ทาให้โลหิตแข็งตัวเร็วก็มีมากขึ้นซึ่งเป็นภาวะปรกติที่ร่างกาย
ปรับตัวขึ้นเพื่อป้องกันมิให้มารดาเสียโลหิตมากเกินไปในเวลาคลอด
(๒) หัวใจ หัวใจต้องทางานเพิ่มขึ้น โดยไม่รู้สึกผิดปรกติ มีผลให้กล้ามเนื้อหัวใจโตขึ้น
เหตุเพราะจานวนโลหิตเพิ่มมากขึ้นและหัวใจถูกดันขึ้นไปเนื่องจากมดลูกโตขึ้น ฉะนั้นผู้ที่
เป็นโรคหัวใจพิการอยู่แล้วในเวลาครรภ์แก่หัวใจมักทางานไม่ไหวจึงไม่ควรมีบุตร
(๓) ความดันของโลหิต ในครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในครึ่ง
หลังของการตั้งครรภ์ ความดันจะต่าลงเล็กน้อย และ จะสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อใกล้คลอด
แต่เมื่อคลอดเสร็จแล้วความดันก็จะลดลงทันที และจะต่าอยู่ประมาณ ๕ วันหลังคลอด
แล้วจึงจะขึ้นมาสู่ระดับปรกติ
๓) ระบบทางเดินหายใจ ในระยะหลังของการตั้งครรภ์ มดลูกจะดันปอดไปในที่จากัดทาให้
หายใจลาบาก ปอดต้องทางานมากขึ้นทาให้รู้สึกว่า เหนื่อยง่าย แต่อาการเหล่านี้จะหายไปหลังจาก
การคลอดแล้วประมาณ ๑๐ วัน ฉะนั้นผู้ป่วยวัณโรคจึงมักมีอาการกาเริบมากขึ้นเพราะปอดทางาน
มากในระยะนี้
๔) ระบบทางเดินปัสสาวะ มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
(๑) ไต จะทางานมากขึ้นในระยะหลังของการตั้งครรภ์เพื่อขับของเสียของมารดาและ
ทารกออกมา ฉะนั้นคนที่เป็นโรคไตพิการอยู่แล้วอาการจะเป็นมากขึ้นและยังทาให้เกิด
การตั้งครรภ์เป็นพิษได้ง่ายด้วย ตามธรรมดาปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรมีไข่ขาว
ปัสสาวะที่มีไข่ขาวแสดงว่าเริ่มเกิดการตั้งครรภ์พิษ แล้ว ถ้าจะตรวจเพื่อให้แน่นอนต้อง
สวนปัสสาวะออกมาตรวจ
(๒) ปริมาณน้าปัสสาวะ เพิ่มจานวนจากเดิมประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน อีกทั้งกระเพาะ
ปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์จะถูกมดลูกกดไว้จึงทาให้ปัสสาวะบ่อยครั้ง
๕) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบประสาท ทาให้ เกิด อาเจียนในตอนเช้า และอาจมีนิสัยใจ
คอตรงข้ามกับเมื่อยังไม่ตั้งครรภ์ พูดอะไรไม่แน่นอน ทาอะไรไม่ใคร่คิด
๓. การเปลี่ยนแปลง ของการเผาผลาญของร่างกาย การเผาผลาญของส่วนต่างๆ ของร่างกาย
จาเป็นต้องเพิ่มมากขึ้นเพราะ ทั้งมารดาและ ทารกมีการเผาผลาญในอวัยวะต่างๆ ขึ้นด้วยกันในระยะเวลา
เดียวกัน
๔. การเปลี่ยนแปลงของต่อมไม่มีท่อภายในร่างกาย ต่อมที่ไม่มีท่อในร่างกาย เช่น ไทรอยด์ ตับอ่อน
ต่อมแอดรีนอล เป็นต้น จะเจริญเติบโตขึ้นทุกๆ ต่อมและต้องทาหน้าที่มากกว่า
เมื่อครรภ์จวนจะครบกาหนดคลอด อวัยวะต่างๆ ของช่องทางคลอดก็จะขยายตัวขึ้นแม้กระทั่ง
กระดูกเชิงกราน ถุงน้าทูนหัวมีการขยายตัวโตขึ้นตามลาดับ เป็นเพราะร่างกายเตรียมตัวสาหรับการคลอด
บุตรซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ
เมื่อครรภ์ได้ตั้งขึ้นแล้วสามเดือนมารดาจะรู้สึกว่าทารกดิ้นในท้อง การตั้งครรภ์สาหรับท้องแรกหรือ
ที่เรียกว่า “ท้องสาว” จะดิ้นช้ากว่าท้องหลัง หรือท้องต่อไป เพราะหนังท้องยังตึงอยู่รัดทารกแน่นกว่าท้อง
หลัง บางตาราก็บอกว่าสี่เดือนจะรู้สึกว่าทารกในท้องดิ้น พอเป็นเครื่องกาหนดการตั้งครรภ์ถึงวันคลอดอีก
๖ เดือน หรือ ๗ เดือน ครบ ๒๘๐ วัน ยังเอาแน่ไม่ได้ขอให้พิจารณาเองด้วย สังเกตจาได้ว่าวันครบแน่ ๙
เดือน หรือ ๒๘๐ วัน อาจจะขาดหรือเกินได้ไม่ถึงสิบวันเป็นธรรมดา
การให้การดูแลแก่หญิงตั้งครรภ์
เมื่อมีผู้มาฝากครรภ์ ผดุงครรภ์ควรทาดังต่อไปนี้
๑. การซักประวัติ
๑) ประวัติส่วนบุคคล – อายุ อาชีพ ระยะเวลาการแต่งงาน
๒) ประวัติทั่วไป
- ประวัติครอบครัว – ซักถามถึงภาวะของการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัวที่
อาจจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ ทั้งทางสามีและภรรยา เช่น ประวัติโรคเลือด หรือ
โรคทางพันธุกรรมอื่นๆ
- ประวัติ การเจ็บป่วย ในอดีต – ซักถามถึงการเจ็บป่วยที่เคยเกิดขึ้นในอดีตก่อน
ระยะการตั้งครรภ์ เพราะโรคหรือความเจ็บป่วยบางประเภทอาจจะมีผลต่อ
สุขภาพของมารดาและทารกในขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคปอด (ไอเรื้อรัง หอบ),
โรคหัวใจ (อาการบวม หอบ เหนื่อย ใจสั่น หรืออาการเหนื่อยง่าย), โรคไต
(ปัสสาวะสีน้าล้างเนื้อ ปัสสาวะขุ่น อาการบวม)
- ประวัติการคลอด – ประวัติการตั้งครรภ์, ประวัติการแท้ง, จานวนบุตรที่มีชีวิตใน
ปัจจุบัน, อาการผิดปรกติในช่วงการตั้งครรภ์ครั้งก่อน, อาการผิดปรกติในช่วงก่อน

การคานวณเพื่อประมาณการวันครบกาหนดคลอด (Expected Date of Confinement: EDC) สาหรับผู้ที่มีประจาเดือนมาสม่าเสมอเป็นปรกติ


ให้คานวณจากวันแรกที่ประจาเดือนมาเป็นครั้งสุดท้าย (Last Menstrual Period: LMP) โดยให้บวกไปอีก ๑ สัปดาห์ แล้วนับเดินหน้าไปอีก ๙
เดือน หรือถอยหลังไปอีก ๓ เดือน ก็ได้ เช่น ประจาเดือนครั้งสุดท้ายมาวันแรกวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ วันครบกาหนดคลอดจะประมาณ
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ กาหนดนี้อาจจะขาดเกินได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปรกติ
คลอด, วิธีการคลอด, อาการผิดปรกติในช่วงหลังคลอด, และประวัติอื่นๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตรในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ
- ประวัติการมีระดู – การมีระดูครั้งแรก, อาการในระยะก่อนมีระดู, การมีระดูครั้ง
สุดท้ายซึ่งจะนาไปใช้ในการคาดคะเนกาหนดการคลอดในครรภ์นี้ได้
- อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ – ประวัติการมีเลือดออกผิดปรกติทางช่องคลอด,
อาการบวมบริเวณหน้า มือ และเท้า, อาการปวดศีรษะที่เป็นมากและเป็นติดต่อกัน
เป็นเวลานาน, อาการตาพร่า มองวัตถุไม่ชัด. อาการปวดท้อง, อาการอาเจียน
ติดต่อกันเป็นเวลานาน, อาการไข้หนาวสั่น, ประวัติการมีน้าใสๆ ไหลออกจากช่อง
คลอด, เด็กไม่ดิ้น
- การนัดตรวจครรภ์ – แพทย์จะนัดมาตรวจครรภ์บ่อยขึ้นเมื่อครรภ์ใกล้ครบกาหนด
คลอด (โดยจะเริ่มตั้งแต่มารดามีอายุครรภ์ ๒๘ สัปดาห์ นัดตรวจทุกเดือน อายุ
ครรภ์ ๒๘ – ๓๖ สัปดาห์ นัดตรวจทุก ๒ สัปดาห์ อายุครรภ์ตั้งแต่ ๓๖ สัปดาห์
นัดตรวจทุกสัปดาห์)
- การตรวจครรภ์ – ผดุงครรภ์ต้องตรวจครรภ์มารดาเพื่อที่จะค้นหาสิ่งผิดปรกติที่
อาจจะเกิดขึ้นและหาทางป้องกันให้การคลอดครั้งนี้ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร
โดยแนะนาให้มารดาไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลทันทีที่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์
- การตรวจเลือด – ถ้าหากมารดาไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลจะต้องได้รับการตรวจ
เลือดเพื่อหาเชื้อกามโรคหรือตรวจหาอาการผิดปรกติหรือโรคอื่นๆ ตามที่แพทย์
สงสัย
- การตรวจปัสสาวะ – เพื่อหาน้าตาลและไข่ขาวในปัสสาวะทุกครั้งที่ไปตรวจครรภ์
ตามนัด
๒. การให้คาแนะนาผู้ตั้งครรภ์
การให้คาแนะนาแก่มารดาเป็นสิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งในการฝากครรภ์ เพราะจะทาให้มารดาเข้าใจใน
สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและจะได้ให้ความร่วมมือกับแพทย์และผดุงครรภ์ในการตรวจรักษา สิ่งที่สาคัญที่สุด
ก็คือควรให้หญิงมีครรภ์เข้าใจว่าการตั้งครรภ์ไม่ใช่โรคหรือความเจ็บป่วย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของ
ร่างกายชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันหรือควบคุมแก้ไขให้เกิดอาการน้อยลงได้
ถ้าปฏิบัติตามคาแนะนา
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ในระยะแรกหรืออายุครรภ์ได้ ๑ – ๒ เดือน จะมีอาการแพ้ท้องเพราะเส้นประสาท
ของมดลูกติดต่อถึงกระเพาะอาหาร จึงมีอาการคลื่นเหียนอาเจียนในตอนเช้า ในหญิงตั้งครรภ์แต่ละคน
อาจจะมีอาการแพ้ท้องที่แตกต่างกัน บางรายมีอาการเบื่ออาหาร บางรายอยากรับประทานอาหารรสชาติ
แปลกๆ บางรายสามีก็จะมีอาการแพ้ท้องร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อถึงกาหนดตามธรรมชาติ ใน
บางรายมีอารมณ์หงุดหงิด โมโหร้าย ปริวิตกอ่อนเพลีย ผดุงครรภ์ควรให้รับประทานยาหอม หรือใช้มะกรูด
มะนาว สูดดมก็ได้
๑. แนะนา ผู้ตั้งครรภ์ เรื่องอาหาร อาหารเป็นสิ่งที่มีความสาคัญต่อทั้งมารดาและทารก ควร
แนะนาให้มารดารับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อตนเองและทารกในครรภ์ ได้แก่ ไข่ นม เนื้อ
ปลา ถั่ว รวมทั้งประเภทพืชผักต่างๆ ทั้งฟักเขียว ฟักทอง ฯลฯ และรวมทั้งผลไม้ เช่น มะละกอ
กล้วยน้าว้า ส้ม น้ามะพร้าวอ่อน ฯลฯ, การดื่มน้าให้เพียงพอเพื่อให้การขับถ่ายสะดวก ไม่มี
อาการท้องผูก
๒. แนะนาผู้ตั้งครรภ์เรื่องเครื่องนุ่งห่ม เครื่องนุ่งห่มต้องสะอาด ผู้ตั้งครรภ์ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มี
สีสดใส หลวม สวมใส่สบาย เพื่อสุขภาพจิตที่ดี ทั้งต้องซักให้สะอาด มีไว้เพียงพอผลัดเปลี่ยน
๓. แนะนาผู้ตั้งครรภ์เรื่องการปฏิบัติต่อร่างกาย ได้แก่ การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
การดูแลครรภ์ การรักษาผิวพรรณและสุขภาพร่างกาย การสังเกตอาการผิดปรกติที่อาจจะ
เกิดขึ้น แนะนาให้มารดาได้รับรู้ถึงอาการผิดปรกติที่ต้องไปพบแพทย์ การดูแลร่างกายอื่นๆ
อาทิเช่น บางรายที่หัวนมอาจจะจมหรือคุด ให้ใช้ผ้าชุบน้าอุ่นประคบแล้วดึงหัวนม ซึ่งควรทา
อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง, บางรายคันตามร่างกายและตามหน้าท้องควรแนะนาไม่ให้มารดาเกา
ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้าอุ่นจัดบิดให้แห้งแล้วประคบหน้าท้องและตามตัวบริเวณที่คัน แล้วโรยด้วย
แป้งเด็ก, บางรายอาจจะมีอาการคันที่ช่องคลอด เพราะช่วงตั้งครรภ์การผลิตสารขับหลั่งต่างๆ
ของร่างกายจะแตกต่างจากช่วงปรกติ ควรให้ผู้ตั้งครรภ์ใช้อ่างดินหรือภาชนะชนิดตื้นใส่น้าอุ่น
นั่งแช่สักประมาณ ๕ – ๑๐ นาที แล้วซับให้แห้ง จะทาให้รู้สึกสบาย, การห้ามหญิงตั้งครรภ์ลง
อาบน้าในลาคลอง
๔. แนะนาผู้ตั้งครรภ์เรื่องการทางาน ผู้ตั้งครรภ์ควรระวังสุขภาพในการทางาน ไม่ให้ทางานหนัก
ให้มีเวลาในการพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือผู้ที่ทางานที่ต้องหิ้วหรือแบก ก็อย่าทาหนักกว่าที่เคย
เพราะอาจจะทาให้เกิดอาการแท้ง หรือเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและ
ทารกได้
๕. แนะนา ผู้ตั้งครรภ์ เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากตั้งครรภ์ถึง ๖ เดือนแล้ว ห้ามการมี
เพศสัมพันธ์โดยเด็ดขาด
การบารุงรักษาครรภ์และการปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์ (ครรภ์รักษา)
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
ปุน จปร ทีนี้จะว่าด้วยครรภรักษาต่อไป ตามเรื่องดังนี้ว่าสัตรีทั้งปวงนี้มีครรภ์อันตั้งขึ้นได้ ๑๕ วันก็
ดี เดือนหนึ่งก็ดี แสดงกายให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว เพราะว่าเอ็นผ่านน่าอกนั้นเขียว
หัวนมนั้นคล้าดาเข้าแล้วตั้งขึ้นเปนเม็ดรอบหัวนมนั้น ก็ให้แพทย์พึงรู้ว่าสัตรีผู้นั้นมีครรภ์โดยสังเขป
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้เดือน ๑ ก็ดี ถ้าไข้ราเพราพัด คือให้รากให้จุกในอุทรแลให้แดกขึ้นแลแดกลงเปน
กาลัง แลให้มะเมอ เพ้อพก ดังผีเข้า แพทย์ไม่รู้ ว่าเปนไข้สันนิบาต นั้นหามิได้เลย บังเกิดโทษในครรภ์รักษา
นั้นเอง ถ้าจะแก้ให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร ๔ มุม เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ โอมธิชูภูภะ
สวาหะ ๗ ที แล้วจึ่งเอาแป้งที่คลึงนั้น มาปั้นรูปหญิงคน ๑ รูปภูเขาอัน ๑ รูปไก่ตัว ๑ รูปม้าตัว ๑ เอาลูกไม้
๗ สิ่ง ดอกไม้ ๗ สิ่ง แล้วเอาเข้าสารโปรยกลางลูกไม้บูชา แล้วเอาไปส่งที่ทิศอาคเณย์ ทา ๓ วันหาย ถ้าไม่

ราเพราพัด (ลมเพลมพัด) หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายอย่างไม่รู้สาเหตุ


สันนิบาต คือชื่อของโรคชนิดหนึ่งเกิดจากธาตุ ๓ กอง ในร่างกาย คือ น้าดี (ปิตตะ) เศลษม์ (เสมหะ) และลม (วาตะ) เป็นโทษขึ้นพร้อมๆ กัน
ทาให้ร่างกายเป็นไข้ พิษของไข้มีอาการหนาว สั่น และเพ้อ เป็นต้น
บัตร คือ กระทงทาด้วยกาบกล้วยสาหรับใส่เครื่องสังเวย
ทิศอาคเณย์ (อาคเนย์) คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้
หายให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอาจันทร์หอม ดอกบัวเผื่อน รากบัวหลวง เข้าเหนียวกัญญา ศิริยา ๔ สิ่ง
นี้บดทาแท่งไว้ ละลายน้านมโคกินหาย ถ้าไม่หายให้เอาขนานนี้ เนื้อโคย่าง ๑ เข้าตอกเข้าเหนียวกัญญา ๑
บดละลายน้าผึ้งกินหาย ถ้าให้ร้อนยาขนานนี้ ท่านให้เอาใบไทรย้อย ใบหญ้าแพรก ใบพรมมิ ใบตาลึง ดินประ
สิวขาว ศิริยา ๕ สิ่งนี้ บดละลายน้าซาวเข้าชะโลมหายกินก็ได้ ใช้มามากแล้ว
ถ้ามีครรภ์ได้ ๒ เดือน แม้นเปนไข้จับๆ เปนเวลาทุกวันก็ดี ให้นอนไม่หลับกินเข้าไม่ได้ ให้เชื่อมให้มึน
ให้เปนอันใดๆ ก็ดี เว้นวันจับวันก็ดี ถ้าจะแก้ให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร์กลมอัน ๑ เอาแป้งคลึง
ท้องด้วยมนต์นี้ โอมอมรหิชิวัน์ติเย สวาหะ ๗ ที แล้วจึ่งเอาแป้งที่คลึงนั้นมาปั้นเปนรูปแมวตัว ๑ เอาผัก ๓
สิ่ง เอาลูกไม้ ๓ สิ่ง เอาดอกไม้ ๓ สิ่ง แล้วจงเอาเข้าสุกเท รายตีนตอง เอาแป้งหอมน้ามันหอมพรมบัตร์
เอาไปส่งทิศบูรพ์ หาย ถ้าไม่หายให้แต่งยาขนานนี้ให้กิน ท่านให้เอาเกสรบัวหลวง ดอกจงกลนี หัวแห้วหมู
เทียนดา กระจับบก บดละลายน้าซาวเข้ากินหาย ถ้าไม่หายขนานนี้ ท่านให้เอารากบัวหลวง รากบัวเผื่อน
แห้วสด กระจับสด ใบผักแว่น ขิงสด แต่น้อย บดด้วยน้าแรมคืน น้านมโคก็ได้ กินแก้ปวดท้องแลท้องขึ้นหาย
ยาชะโลมขนานนี้ ท่านให้เอาใบหนาด ใบโพกพาย รากผักไห่ เม็ดในขนุนละมุด ดินสอพอง บดด้วยน้าซาวเข้า
ชะโลมหายดีนักได้เชื่อมาแล้ว
ถ้าสตรีมีครรภ์ได้ ๓ เดือน แลไข้ให้ลงให้รากจุกเสียดแทงหน้าแทงหลัง กินอาหารมิได้ นอนไม่หลับ
ถ้าเปนดังนี้ไซ้ ให้เกรงลูกจะตกเสีย ถ้าจะแก้ให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร์ ๓ มุม เอาแป้งเอาถั่ว
เขียวคุลิการ ด้วยกันเข้า คลึงท้องด้วยมนต์นี้ โอม สิทธิ สา มกาเรติ เทพิน วา อห อิชา กาน มาเรหิ เอหิ
เอหิ อาคัจฉันติ กาเมหิเน ๗ ที แล้วเอาแป้งที่คลึงนั้นมาปั้นเปนรูปหญิงคน ๑ รูปกระต่ายตัว ๑ เอาเข้าสุก
กองเปนจอมปลวก เอาเหล้าเข้าวางลงในกระบาล น้านมโค ผัก ๓ สิ่ง ดอกไม้ ๓ สิ่ง แป้งกระแจะน้ามัน
หอมประพรมบัตร์แล้ว เอาไปส่งทิศประจิม ทา ๓ วันหายประสิทธิ์ ถ้าไม่หายให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่าน ให้
เอาให้เอายางไข่เน่า ยางมะม่วง กระดอม บดละลายน้าร้อนกินหาย ถ้าไม่หายให้เอาเข้าตอกเข้าเหนียว
กัญญา บดละลายน้านมโคกินหาย ยาชะโลม ขนานนี้ ท่านให้เอารากกระจับบก ใบบัวหลวงอ่อน มูลโคตก
ใหม่ จันทน์หอม เปราะหอม หญ้าแพรก แฝกหอม เถาชิงช้าชาลี บดละลายน้าซาวเข้า ชโลมดีนัก
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๔ เดือน เปนไข้เพื่อเสมหะให้โทษต่างๆ แลเปนลมให้เหงื่อตก แลตกโลหิตก็ดี ถ้า
แลประชุมพร้อมทั้ง ๔ สิ่งแล้วเมื่อใดจึ่งได้ชื่อว่าสันนิบาต ถ้าจะแก้ให้ทาตามบุราณเสียก่อน คือท่านให้ทา
บัตร์ ๔ มุม เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ โอม เห เห โหติฐ โหติฐ เหยะนะ เหยะนะ โอม ปักขส สาภตา
วปสยุน๎นสนา ริเห ๗ ที แล้วเอาแป้งที่คลึงนั้นมาปั้นเปนรูปแร้งตัว ๑ รูปงูเขียวตัว ๑ รูปคน ๒ คน เอา
ลูกไม้ ๒ สิ่ง ดอกไม้ ๒ สิ่ง ผัก ๒ สิ่ง เอาใบมะม่วงรองบัตร์ แล้วเอาไปส่งทิศพายัพ ๓ วันหาย ถ้าไม่หาย
ให้แต่งยานี้กิน ท่านให้เอาโกฐเขมา เกสรบัวหลวง รากขัดมอน ดอกจงกลนี บดด้วยน้านมโค กินหาย ถ้าไม่
หายเอาดอกสัตตบงกช โกฐกระดูก รากบัวหลวง กระจับบก จันทน์หอม รากขัดมอน หัวแห้วหมู รากมะตูม

เข้าเหนียวกัญญา (ข้าวเหนียวกัญญา) คือ ข้าวเหนียวดาชนิดหนึ่งซึ่งดาสนิททั้งเปลือกนอกและเมล็ดใน


รายตีนตอง หมายถึง เรียงต่อเนื่องกันเป็นเป็นแถว รายรอบเครื่องสังเวยในบัตรพลี
ทิศบูรพ์ หรือทิศบูรพา หมายถึงทิศตะวันออก
ลูกจะตกเสีย หมายถึง แท้งลูก, ลูกตายก่อนจะถึงกาหนดคลอด
คุลิการ หมายถึง คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นเป็นก้อน
กระบาล (กบาล) คือ ภาชนะหรือกระทงสาหรับใส่เครื่องสังเวย
ทิศประจิม คือ ทิศตะวันตก
พายัพ คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ผลผักชี ขิงสด ยา ๑๐ สิ่งนี้เอาเท่ากัน ต้ม ๓ เอา ๑ กินหาย ยาชะโลมสาหรับประกอบกัน ขนานนี้ท่านให้
เอารากสลอดน้า รากหญ้านาง รากทองหลางหนาม รากพุมเรียงบ้าน พุมเรียงป่า จันทน์แดง จันทน์ขาว
รากพุงดอ รากตาลึง รากฟักเข้า เกสรบัวหลวง ดินประสิวขาว ดินสอพอง รวมยา ๑๒ สิ่งนี้ เอาเท่ากัน
กระทาให้เปนจุณ บดทาแท่งไว้ละลายน้าซาวเข้าทั้งกินทั้งชะโลมดีนัก เปนยากล่อมลูกมิให้เปนอันตรายได้
วิเศษนัก
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๕ เดือน แลเปนไข้ให้ลงให้รากให้จุกหน้าจุกหลังเปนสิ่งใดๆ ก็ดี ก็เปนเพราะ
ครรภรักษานั้นเอง ถ้าจะแก้ให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร์ ๕ มุม เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ สัน์
ติปัก์ขา อปัต์ตนา สัน์ติปาทา อวัญ์จนา มาตาปิตา จ นิก์ขัน์ตา ชาตเวทปติก์กม ปติก์กมัน์ตุ ภูตานิ โสห
นโม ภควโต นโม สัต์ตัน์น สัม์มาสัม์พุท์ธานัน์ติ ๗ ที แล้วจึ่งเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้นเปนรูปหญิงคน ๑
ดอกไม้ ๕ ดอก ผักพล่าปลายา เหล้า แลเข้าเนื้อแห้งบูชา แล้วเอาไปส่งทิศหรดี ที่ต้นไม้ใหญ่ ๓ วันหาย
ถ้าไม่หายให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอาดอกบัวเผื่อน ดอกบุนนาก ยางมะม่วง บดละลายน้านมโค กินแก้
ลงท้องแลลงโลหิต แก้จุกเสียดหาย ถ้าไม่หายให้เอา ใบบัวบก เทียนดา ขมิ้นผง ปูนแดง บดละลายน้าสุรา
กินแก้ลงโลหิตทางทวารหนักทวารเบานั้นหาย ยาทาแก้เมื่อย ท่านให้เอาเปลือกสมุนละแว้ง รากเปล้าน้อย
สะค้าน สนเทศ เอาเท่ากัน บดละลายน้าปูนใส เมื่อยที่ไหนทาที่นั้น เว้นแต่ที่ท้องมิให้ทาจะเปนอันตรายแก่
กุมาร
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๖ เดือน แลเปนไข้ ให้เจ็บแข้งเจ็บขา เจ็บน่าตะโพก แลให้คันทวาร อุจจาระ
ปัสสาวะ แล้วให้เปนลมจับเนืองๆ ถึงจะเสียกระบาลก็ไม่หาย แต่ว่าท่านให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทา
บัตร์ ๔ มุม สองชั้นเอาแป้งคลึงท้องด้วยคาถานี้ อัคโคหมัส๎มิ โลกัส๎มินติ ภวติ โลกิติ โลกัส สัน์นิภัพ์ภัท์ม
หิริ คัพ์ภปมุญ์จัน์ติ ๗ ที แล้วจึ่งเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้นเปนรูปวัวตัว ๑ รูปม้าตัว ๑ รูปไก่ตัว ๑ เอาน้า
มะนาว ๑ น้ามันงา ๑ ผัก ๗ สิ่ง ลูกไม้ ๗ สิ่ง ดอกไม้ ๗ สิ่ง ขนม ๗ สิ่ง เอาเข้าขั้ว รายตีนตอง แล้วจึ่งเอา
สุราแป้งน้ามันที่ดีประพรมบูชา เอาไปส่งทิศหรดี ๓ วันหาย ถ้ายังไม่หายให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอาเม็ด
ในส้มซ่า เปลือกสะแก จันทน์แดง จันทน์ขาว ดอกจงกลนี เอาเท่ากันบดละลายน้านมโคกินหาย ถ้าไม่หายให้
ประกอบยาให้สุขุมขึ้นไป เพราะกุมารนั้นแก่กล้าอยู่แล้ว เปนเบ็ญจสาขาพร้อมด้วยอาการ ๓๒ นั้นอยู่แล้ว
ท่านให้เอา ลูกคนทีสอขั้ว หว้านน้า เทียนดา เทียนขาว มหาหิงคุ์ เปราะหอม หัวแห้วหมู บรเพ็ด เกสรบัว
หลวง ดอกบุนนาค อบเชยเทศ ลูกเอ็น เปลือกเงาะ ชเอมเทศ ลูกผักชี เอาสิ่งละสองสลึง พริกไทย ๑๑
เม็ด ยา ๑๖ สิ่งนี้ทาให้เปนจุณบดทาแท่งไว้ละลายน้านมโคกินหายดีนัก ใช้มามากแล้ว แล้วจึงทายาชะโลม
ท่านให้เอาใบทองหลางหนาม ใบขนุนละมุด ใบหญ้านาง ใบหนาด ใบเพกา ใบหว้านน้า ใบหญ้าแพรก ขมิ้น
อ้อย รวม ๘ สิ่ง เอาเท่ากันบดทาแท่งไว้ละลายน้าซาวเข้าชะโลม แก้สารพัดในครรภรักษาหายดีนัก
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๗ เดือน แลไข้ให้เปนต่างๆ ให้ลงให้รากโลหิตก็ดี แลให้ร้อนภายใน ให้เปนไข้ไป
ต่างๆ ถ้าจะแก้ให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร์ ๔ มุม ๒ ชั้น เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ โอม หมัส์
สมิ นโม จ สุคโต ปัจ์จุปัน์นา ปัญ์จพุท์ธาปน โอม สิมหาสิ ครั้นกูแบ่งกดขี่กูจะบูชาแก่เทวดาอันประสิทธิ์
ในสงสาร โอมสิทธิกาลมหาสิทธิกาล สวาหะ ๗ ที แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้นเปนรูปเสือตัว ๑ รูป

ผักพล่าปลายา เป็นสานวน หมายถึง อาหารประเภทรสจัด ได้แก่ เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เค็มจัด และสดคาว มักทาด้วย เนื้อดิบ ปลาดิบ กุ้งดิบ
หรือกึ่งดิบกึ่งสุกคลุกเค้ากับเครื่องปรุงหลายอย่าง รับประทานกับผักสด
หรดี คือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้
แร้งตัว ๑ เอาเข้าสารขาวรายตีนตอง จันทน์แดง จันทน์ขาว ผัก ๓ สิ่งเข้าตอกดอกไม้บูชา ส่งทิศประจิม ๓
วันหาย
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๘ เดือน แลเปนไข้ ท่านว่ามิพอเปนไรนัก เพราะว่ากุมารนั้นแก่กล้าจวนจะคลอด
อยู่แล้ว ถ้าเปนไข้ราเพราพัดต่างๆ ท่านให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร์กลมใบ ๑ เอาแป้งคลึงท้อง
ว่าด้วยคาถานี้ สัพ์เพ เทวา ปิสาเจว อาฬวกาทโยปิ จขัค์ค ตาลปัต์ต ทิส๎วา สัพ์เพ ยัก์ขา ปลายัน์ติ ๗ ที
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้นเปนรูปม้าตัว ๑ เอาเข้าสารขาวรายตีนตอง ผัก ๒ สิ่ง ดอกไม้ ๒ สิ่ง เอา
ใบมะม่วงรอง แป้งหอมน้ามันหอมประพรมบูชาแล้วเอาไปส่งทิศอิสาณ ที่ต้นไม้ใหญ่ ๓ วันหาย ถ้าไม่หาย
ให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอาเม็ดผักกาด รากบัวหลวง เข้าเหนียวกัญญาบดด้วยน้าซาวเข้าน้าท่าก็ได้กิน
หาย ถ้ายังไม่หายท่านให้เอารากช้าพลู รากกะพังโหม รากกระจับบก รากบัวหลวง หัวแห้วหมู บระเพ็ด
จันทน์แดง จันทน์ขาว มะตูมอ่อน ขมิ้นอ้อย ก้านเสดา ๓๓ ก้าน รวมยา ๑๑ สิ่งนี้ เอาเท่ากันต้ม ๓ เอา ๑
กินหาย ยาชโลมท่านให้เอารากโมง รากลาดวน รากไทรย้อย รากหญ้าแพรก รากตาลึง รากฟักเข้า ดินประ
สิวขาว ยา ๗ สิ่งนี้เอาเท่ากัน บดทาแท่งไว้ละลายน้าซาวเข้าชโลมหายดีนัก
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๙ เดือน แลเปนไข้สิ่งใดๆ ก็ดี ท่านว่ายังอยู่ในครรภรักษา แต่ว่ากุมารที่อยู่ใน
ครรภ์นั้นแก่กล้าอยู่แล้ว ถ้าเปนไข้ก็เปนแต่ภายนอก เว้นไว้แต่เปนไข้อหิวาตกะโรค ถึงดังนั้นก็ดี ถ้าเปนฝีเอก
แลฝีเอกตัดนั้นกุมารจึงจะอันตรธานก่อนมารดา ถ้ามิดังนั้นมารดาต้องกฤติยาคม คุณไสย แลกุมารที่อยู่ใน
ครรภ์นั้นจึงจะตายก่อนมารดา ถึงจะตายก่อนมารดาก็จะพาเอามารดาไปด้วย ว่ามาทั้งนี้ด้วยอุบัติเหตุแห่ง
อกุศลกรรมของบุตรผู้นั้น ถ้าจะเปนเหตุสิ่งใดๆ ให้ทาตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตรกลมใบ ๑ เก้าชั้น
ดุจบัตร์พระเกตุ เอาแป้งคลึงท้องด้วยคาถานี้ เถโร ปาปิม เต อังคปัจ์จังคาทิ อห ปัส์สามิ กิมังค ปน
สกลสรีร นิกขม ลหุ ปาปิม เสกตามกาลังวัน แล้วจึงเสกน้ารดด้วยคาถานี้ ๗ คาบ สัน์ติปัก์ขา อปัต์ตนา
สัน์ติ ปาทา อวัญ์จนา มาตาปิตา จ นิก์ยขัน์ตา ชาตเวทปฏิกกม สห สัจ์เจ กเต มัย๎ห มหาปัช์ชลิโต สิขี
วัช์เชสิ โสฬส กริสานิ อุทก ปัต๎วา ยถา สิขี สัจ์เจน เมสโม นัต์ถิ เอสา เม สัจ์จปารมีติ แล้วจึงเอาแป้งที่
คลึงท้องนั้นมา ปั้นเปนรูปสิงห์ตัว ๑ รูปแร้งตัว ๑ รูปครุธตัว ๑ เอาผักยา ๗ สิ่ง ดอกไม้ ๗ สิ่ง เอาใบ
มะม่วงกะล่อนรองบัตร์ เอาแป้งเอากระแจะแลน้ามันหอมประพรมบัตร์บูชาแล้วเอาไปส่งทิศอาคเณย์ ๓ วัน
หาย ถ้าไม่หายให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอารากละหุ่งแดง ยางงิ้ว ขิงสด บดละลายน้าแรมคืนกินหาย ถ้า
ยังไม่หายให้เอาขนานนี้ ท่านให้เอาโกฐเขมา โกฐเชียง โกฐหัวบัว โกฐพุงปลา เทียนดา เทียนแดง เทียนขาว
เทียนเข้าเปลือก เทียนเยาวภานี ดอกสัตบุษย์ ดอกบัวขม ดอกบัวเผื่อน ดอกลินจง ดอกจงกลนี ผลผักชี
ล้อม ผลผักชีลา แฝกหอม ผลกระดอม บรเพ็ด ขมิ้นอ้อย ขมิ้นเครือ กระจับบก แก่นขี้เหล็ก ยา ๒๓ สิ่งเอา
ส่วนเท่ากันต้ม ๓ เอา ๑ กินหาย ยาชะโลมแก้เมื่อยขบขนานนี้ ท่านให้เอาใบขี้เหล็ก ใบผักเค็ด ใบน้าเต้า
ใบเงินใบทอง ใบหญ้านาง ดินประสิวขาว ดินสอพอง ยา ๘ สิ่งนี้เอาส่วนเท่ากัน บดทาแท่งไว้ละลายน้าซาว
เข้าน้าดอกมะลิสดก็ได้ ชโลมหายดีนักได้ใช้มามากแล้ว
ถ้าสัตรีมีครรภ์ได้ ๑๐ เดือน แลสัตรีผู้นั้นเปนคนบูราณมีชาติอันสูง เทพยดาจุติลงมาปฏิสนธิใน
ครรภ์ผู้นั้น ถ้าเปนไข้ในอุทรสิ่งใดๆก็ดี ท่านให้ทาตามบูราณเสียก่อน ท่านให้ทาบัตร์กลม ๓ ชั้น เอาแป้งคลึง
ท้องเศกด้วยคาถานี้ ยโตห ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญ์จิจ์จ ปาณ ชีวิตา โวโรเปตา เตน
สัจ์เจน โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพ์ภัส์ส ชาติยา ชาโต นาภิย สัม์ผัส์สาน ปฏิฆาตาย อัพ๎ยาปัช์ฌปรมตายา

ทิศอิสาณ หรือ อิสาน คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ


ติ แล้วจึ่งเอาแป้งคลึงท้องนั้นมาปั้นเปนรูปสิงห์ตัว ๑ รูปครุธตัว ๑ รูปแร้งตัว ๑ เอาผัก ๗ สิ่ง กับเครื่อง
มัจฉะมังสะ ทั้งปวง แล้วเอาแป้งหอมน้ามันหอมประพรม เอาธูปเทียนจุดบูชาจงดี เมื่อจะบูชาให้ว่าคาถานี้
ตามกาลังวัน ปูรัต์ถิมัส๎มึ ทิสาภาเค สัน์ติ เทวา มหิท์ธิกา เตปิ ตุเม๎ห อนุรัก์ขัน์ตุ อาโรเค๎ยน สุเขน จ ภวตุ
สัพ์พมังคล รัก์ขัน์ตุ สัพ์พเทวตา สัพ์พ พุท์ธา นุภาเวน สทา โสตถี รัก์ขัน์ตุ สัพ์พเทวตา สัพ์พ ธัม์มา นุภา
เวน สทา โสตถี รัก์ขัน์ตุ สัพ์พเทวตา สัพ์พ สังฆา นุภาเวน สทา โสตถี ภวัน์ตุ เต บูชาแล้วจึ่งเอาไปส่งทิศ
บูรพา ๓ วันหาย ถ้ายังไม่หายให้แต่งยาขนานนี้กิน (ท่านให้เอาดอกบัวเผื่อน ชะเอมเทศ หมากสง จันทน์แดง
จันทน์ขาว บดละลายน้านมโค น้าดอกไม้ ก็ได้กินหายดีนัก ยาชะโลมขนานนี้ ท่านให้เอาจันทน์แดง จันทน์ขาว
เชือกเขามวกแดง เชือกเขามวกขาว ชะลูด อบเชยเทศ ขอนดอก สน สัก กรักขี แก่นประดู่ เปลือกไข่เน่า
เปลือกมะซาง เปลือกสันพร้านางแอ ดอกสัตบุษย์ ดอกบัวเผื่อน ดอกบัวขม ดอกลินจง ดอกพิกุล ดอก
บุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิซ้อน ดอกมะลิลา ยา ๒๓ สิ่งนี้เอาส่วนเท่ากัน ทาให้เปนจุณ บดทาแท่งไว้
ละลายน้าดอกมะลิกินแลชะโลมแก้สาระพัดโรค ในครรภรักษาทั้งปวง ตั้งแต่เดือน ๑ ไปจนถึง ๑๐ เดือน
เปนกาหนดที่สุดนั้น ถ้าเปนไข้สิ่งใดๆ ก็ดี ทั้งกินแลชะโลมหายสิ้น อย่าสงไสยเลย)
หมายเหตุ – ในหนังสือตาราการแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ โดยกองการประกอบ
โรคศิลปะ จบเพียงแค่ก่อนถึงในวงเล็บ แต่เห็นว่าเนื้อหาในคัมภีร์ยังมีความต่อเนื่องกันจึงได้ลงให้จบตอน
สรุป
ตั้งครรภ์ได้ ๑ เดือน เป็นไข้ราเพราพัด คือ คลื่นไส้ จุกเสียดแน่นท้อง ละเมอ เพ้อพก
ตั้งครรภ์ได้ ๒ เดือน เป็นไข้เชื่อมมึน กินไม่ได้นอนไม่หลับ จับเป็นเวลา หรือวันเว้นวัน
ตั้งครรภ์ได้ ๓ เดือน เป็นไข้ คลื่นไส้อาเจียน กินไม่ได้นอนไม่หลับ จุกเสียดท้อง ปวดหลัง ระวังแท้ง
ตั้งครรภ์ได้ ๔ เดือน เป็นไข้เสมหะให้โทษ เป็นลมเหงื่อตก ตกเลือด
ตั้งครรภ์ได้ ๕ เดือน เป็นไข้ คลื่นไส้อาเจียน จุกเสียดท้อง ปวดหลัง
ตั้งครรภ์ได้ ๖ เดือน เป็นไข้ ปวดขา ปวดสะโพก คันทวารหนักและเบา เป็นลม
ตั้งครรภ์ได้ ๗ เดือน เป็นไข้ อาเจียนเป็นเลือด ร้อนภายใน
ตั้งครรภ์ได้ ๘ เดือน เป็นไข้ ไม่อันตราย อาจจะเป็นไข้ราเพราพัด
ตั้งครรภ์ได้ ๙ เดือน เป็นไข้ ไม่อันตราย ระวังอหิวาตกโรคและคุณไสย
การแท้ง (ครรภ์วิปลาส)
การแท้ง คือ การที่มีโลหิตออกทางช่องคลอดในระยะที่มีอายุครรภ์ต่ากว่า ๒๘ สัปดาห์ ซึ่งเกิดจาก
หลายสาเหตุที่ทาให้ไข่ตายแล้วทารกในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ทาให้ก้อนสีเหลืองที่ติดอยู่ที่รัง
ไข่ซึ่งมีคุณภาพทาให้การตั้งครรภ์มีการเจริญเติบโตได้ดี มีการเปลี่ยนแปลงและสูญเสียไปและทาให้มดลูก
เกิดบีบตัวขึ้น
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
ปุน จ ปร บัดนี้ จะว่าด้วยลักษณะครรภ์วิปลาศ ต่อไปตามเรื่องดังนี้โดยสังเขป ปุน จปร ยา อิต์ถี
คัพ์ภมาธาเรยย เตโช สมุฏฐาน กามวิตัก์ก อุป์ปัน์น อุทร นปฏิสัน์ธิก วิตัน์ตราย สัต์ตา โหน์ตีติ (ยา อิต์
ถี) หญิงจาพวกใด (อาธาเรย์ย) ทรงไว้ (คัพ์ภ) ซึ่งครรภ์ (อุป์ปัน์น) อันบังเกิด (กามวิตัก์ก) ซึ่งกามวิตกหนา
ไป (เตโชสมุฏ์ฐาน) ด้วยไฟราคอันเปนสมุฏฐาน นั้นกล้านัก (สัต์ตา) สัตว์ทั้งหลาย (นปฏิสัน์ธิก) ก็มิอาจตั้ง

ครรภ์วิปลาส หมายถึง ครรภ์ที่มีอาการผิดปรกติ


มูล ปฏิสนธิขึ้นได้ (วิตัน์ตราย) ก็มีอันตรายไปต่างๆ (โหน์ติ) ก็มี (อิติ) ด้วยประการดังนี้ (ยา อิต์ถี) หญิง
พวกใดไม่ควรจะกินก็กิน (วิตัก์กาทิก) ซึ่งของอันเผ็ดร้อนเปนต้นต่างๆ (สุวิตาทิส) ซึ่งของอันจะให้ลงท้อง
เปนต้นต่างๆ (นานาวิส) คือ ยาที่จะให้แสลงโรคต่างๆ (อาโปสมุฏ์ฐาน) เปนลักษณะแห่งธาตุน้ากาเริบ (ตัส์ส
ปุค์คลัส์ส) แห่งบุคคลผู้นั้นแล (กัป์ปวินาส) ก็มีอุปมาดังไฟประไลยกัลป์ อันจะพัดให้ฉิบหายเสียซึ่งสัตว์อันจะ
มาเอาปฏิสนธินั้น (อิมัส๎มึ คัพ์เภ) ในครรภ์แห่ง สัตรีนี้ (น ฐิต) ก็ไม่อาจตั้งมูลปฏิสนธิขึ้นได้ (อิติ) ด้วย
ประการดังนี้ (อปิจ) อนึ่งโสด (ยา อิต์ถี) สัตรีใด (โทสจิต์ต) มีจิตร์มากไปด้วยความโกรธ (ตุริตตุริต) ก็วิ่งไป
มาโดยเร็ว (กทาจิ โกธัก์ขณ) เมื่อขณะโกรธบางทีก็ทอดทิ้งซึ่งตัวเองลง (ปหาริย) ยกมือขึ้นทั้งสองประหาร
(อัต์ตาน) ซึ่งตนเอง (อปิจ) อนึ่งโสด (ขราทิยา) หญิงปากร้าย (อโทสก) มิรู้จักซึ่งโทษแก่ตน (ปริภาสน)
ย่อมด่าตัดพ้อเปนอันหยาบช้า (สามิก) ซึ่งผัวแห่งตนก็ดี (อัญ์ญชน วา) ซึ่งผู้อื่นก็ดี (ปรกัป์ปโทส) เขาทาโทษ
คือว่าทุบถองตีโบยด้วย กาลังแรงนั้นต่างๆ สัตรีผู้นั้นก็เจ็บช้า (อุทร) ซึ่งครรภ์แห่งหญิงนั้น (ปตติ) ก็ตกไป
(อิติ) ด้วยประการดังนี้ (อปิจ) อนึ่งโสด (ยา นารี) หญิงพวกใด (ธาเรย์ย) ก็ทรงไว้ (คัพ์ภ) ซึ่งครรภ์ (อมนุส์
โสวา) คือ ภูต ปิศาจ หากทาโทษต่างๆ (น ฐิโต) ครรภ์นั้นก็มิได้ตั้งขึ้น (สาต๎รคุเณน วา) บางทีต้องสาตราคม
คุณไสยเขากระทาก็ดี (ปุต์ต) ลูก (อิมัส์มึ คัพ์เภ) อันอยู่ในครรภ์นั้น (ปัต์ตัน์เตว) ก็ตกไปแท้จริง (เอว) ด้วย
ประการดังนี้
สรุป
พอสรุปสาเหตุของการแท้งได้ดังนี้
๑. เตโชสมุฏฐาน คือ เป็นลักษณะธาตุไฟกาเริบ อาทิเช่น ไฟราคะเป็นสมุฏฐาน มีกามวิตกมาก
๒. อาโปสมุฏฐาน คือ เป็นลักษณะธาตุน้ากาเริบ อาทิเช่น กินของไม่ควรกิน เช่น ของเผ็ดร้อน ของที่
ทาให้ลงท้อง หรือกินยาที่ทาให้แสลงโรคต่างๆ
๓. โทสะจิต คือ จิตมากไปด้วยความโกรธ บางครั้งเคลื่อนที่โดยเร็ว บางครั้งโกรธแล้วทิ้งตัวลงโดย
แรง โกรธแล้วทาร้ายตนเอง หรือปากร้ายด่าทอสามีตนเองหรือผู้อื่น เป็นเหตุให้เขาทาร้ายเกิด
อันตรายแก่ครรภ์
๔. ภูติหรือคุณไสย คือ ภูติปีศาจทาให้เกิดโทษ ต้องคุณไสยกระทา
การแท้งบุตรนี้จะแท้งเมื่ออายุครรภ์ครบ ๓ เดือนแล้วเป็นส่วนมาก อาจจะเป็นการแท้งเองหรือการ
ช่วยให้แท้งก็ได้ สาเหตุที่ทาให้แท้งอาจจะเป็นการแท้งด้วยโรคต่างๆ การแท้งด้วยพืชพันธุ์มารดาและเชื้อ
แถวเคยแท้ง (พันธุกรรมทางมารดา) การแท้งในคนที่เคยแท้งแล้วแท้งอีกก็อาจจะทาให้แท้งได้อีก
เช่นเดียวกัน หรือการแท้งที่เกิดจากมารดากินยาร้อนๆ หรือถูกบีบรัด การแท้งมักมีเหตุอันตรายมากควร
ช่วยนาส่งโรงพยาบาลทันที
สาเหตุที่ทาให้เกิดการแท้ง
ต้นเหตุที่ทาให้เกิดการแท้งมีหลายประการ แต่ในคนที่เคยแท้งเราต้องหาต้นเหตุให้ได้เสียก่อน เพื่อ
มิให้เกิดการแท้งได้อีกในครรภ์หลังๆ ต้นเหตุสาคัญมีดังนี้คือ
๑. ต้นเหตุเกี่ยวกับไข่ มักเกิดจาก การตายของไข่ที่ฝังตัวลงในพื้นเยื่อมดลูก ทาให้เกิดการแท้ง
โดยมากมักเกิดจากไข่ตายก่อนแล้วจึงมีการแท้งเกิดตามมา ต้นเหตุที่ทาให้ไข่ตายมีดังนี้
๑) ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นการตั้งครรภ์ที่ไข่หรือทารกมีการเปลี่ยนแปลงสูญเสียไป แล้วแท้ง
ออกมาเป็นเม็ดๆ อย่างเม็ดสาคู ถ้าเป็นเม็ดๆ ทั้งหมดแสดงว่าตัวเด็กถูกทาลายไป
หมดแล้ว
๒) โรคของรก ได้แก่ รกที่มีการติดเชื้อกามโรค และในรายที่รกเกาะต่า
๓) โรคของสายสะดือ เกี่ยวกับสายสะดือที่ยาวเกินไปจนขดกันเป็นเกลียว ทาให้โลหิตเดิน
ไปสู่เด็กไม่ได้ ทาให้เด็กตาย
๔) โรคของเยื่อถุงน้าหุ้มเด็ก ได้แก่ พวกที่น้าหล่อเลี้ยงเด็กมีมากเกินไป หรือน้อยเกินไป
๕) โรคของตัวเด็กเอง ได้แก่ เด็กเกิดมาร่างกายไม่สมประกอบ เช่น แขนด้วน เด็กไม่มี
สมอง โรคพวกนี้ทาให้เด็กตายได้จึงเกิดการแท้งขึ้น
๒. ต้นเหตุที่เกี่ยวกับมารดา ได้แก่
๑) เกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องเชิงกราน ได้แก่
(๑) เยื่อบุพื้นมดลูกอักเสบเรื้อรัง ทาให้ไข่ฝังตัวลงบนเยื่อบุพื้นมดลูกไม่ได้
(๒) มดลูกมีรูปร่างผิดไปจากปกติ เช่น ยอดมดลูกเป็นสองแฉก
(๓) มดลูกมีขนาดเล็ก
(๔) ยอดมดลูกพลิกกับตัวอยู่ด้านหลัง
(๕) ปากมดลูกฉีกขาด เกิดจากการคลอดที่แล้วมา ทาให้ปากมดลูกปิดไม่สนิท
เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไปทาให้เกิดการแท้งได้ง่าย
(๖) เนื้องอกไปรบกวนมดลูก ทาให้เกิดการหดรัดตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของการ
แท้งได้
๒) เกี่ยวกับการผิดปกติที่เกิดแก่มารดา แล้วเป็นผลที่ทาให้เด็กตายบ่อย ได้แก่
(๑) โรคที่ทาให้มารดามีไข้สูง เช่น ฝีดาษ ไข้รากสาด บิด ปอดบวม เป็นต้น
อาการไข้สูงทาให้เด็กตาย
(๒) ยาสลบ แม่ต้องทาการผ่าตัดและดมยาสลบนานๆ ทาให้เด็กตาย
(๓) การกระทบกระเทือนจากภายนอก เช่น มารดาถูกรถชน ถูกตี ตกจากที่
สูง การร่วมเพศที่รุนแรง ทาให้ทารกตาย
(๔) ความเครียดและความวิตกกังวล หรือมีอารมณ์แปรปรวน เช่น เสียใจ
มาก เกิดแท้งได้เพราะมดลูกบีบตัวมาก
(๕) เกี่ยวกับต่อมภายในผิดปกติ เช่น ต่อมธัยรอยด์โต ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
๓. ต้นเหตุเกี่ยวกับพ่อ ได้แก่ ตัว Sperm (ตัวผสมพันธุ์) ของผู้ที่เป็นพ่อ อ่อนแอเกินไปหรือว่ามี
ลักษณะที่ผิดปรกติ อาจจะเนื่องจากพ่อเป็นกามโรค หรือถูกแสงเอกซเรย์มากเกินไป หรือดื่ม
สุราจัดเสมอ หรือเป็นมาตั้งแต่ต้น เป็นต้น
ชนิดของการแท้ง
การแท้ง คือ การที่มีโลหิตออกทางช่องคลอดในระยะที่มีอายุครรภ์ต่ากว่า ๒๘ สัปดาห์ เมื่อไข่ตาย
แล้วทาให้ก้อนสีเหลืองที่ติดอยู่ที่รังไข่ซึ่งมีคุณภาพทาให้การตั้งครรภ์มีการเจริญเติบโตได้ดี มีการ
เปลี่ยนแปลงและสูญเสียไปและทาให้มดลูกเกิดบีบตัวขึ้น เมื่อมดลูกบีบตัวจะทาให้เยื่อถุงน้าหุ้มตัวเด็กที่ติด
กับพื้นมดลูกแยกจากกัน เกิดมีโลหิตออกทางช่องคลอดเล็กน้อย โลหิตที่ไหลออกมาทาให้มดลูกบีบตัว
ตลอดเวลา แผลที่แตกก็โตมากขึ้น
อาการที่มีโลหิตออกทางช่องคลอดเล็กน้อยนี้อาจจะเกิดจากโรคอื่นได้เช่นกัน อาทิเช่น ท้องนอก
มดลูก มะเร็งปากมดลูก ปากมดลูกเป็นแผล เป็นต้น (จะมีอาการปวดท้องเล็กน้อยแล้วก็หายไปและปาก
มดลูกปิดอยู่ตามเดิม แสดงว่าไม่มีการแท้ง การตั้งครรภ์ก็อยู่ได้ต่อไปจนเด็กครบกาหนดคลอด)
หมายเหตุ – ที่อยู่ในวงเล็บคือสิ่งที่ขัดแย้งกันกับการแพทย์แผนตะวันตกเป็นบางส่วน อาทิเช่น การ
ท้องนอกมดลูก
ระยะของการแท้ง
การแท้งแยกออกได้ ๓ ระยะ คือ
ระยะแรก คือ แท้งในระยะสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ในระยะนี้การแท้งเป็นไปได้ง่ายมาก
และเมื่อแท้งแล้วมักไม่มีอะไรเหลือค้างอยู่ในมดลูกเลย การแท้งในระยะนี้ไม่มีอันตราย
ระยะที่สอง คือ การแท้ง เกิด ในระยะที่ตั้งครรภ์ได้เดือน ที่ ๓ เดือนที่ ๔ ในระยะนี้เกิดรกขึ้นแล้ว
การแท้งในระยะนี้มักมีเศษของรกเหลือค้างอยู่ในมดลูกบ้างไม่มากก็น้อย ทาให้เกิดโลหิตออกจากมดลูก
เสมอเมื่อมีเศษรกเหลือตกค้างอยู่ในมดลูก ทาให้มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี แผลที่รกหลุดปิดไม่สนิทจึงมีโลหิตออก
เรื้อรังหรืออาจจะเกิดการตกเลือดและเกิดการติดเชื้อตามมาก็ได้
ระยะที่สาม คือ การแท้ง เกิด ในระยะ ที่ตั้งครรภ์ได้ ๕ – ๗ เดือน ระยะนี้เกือบคล้ายการคลอด
ธรรมดาแล้วเพราะว่าเด็กใหญ่มาก มีกระบวนการ ๓ ระยะ คล้ายการคลอด แต่ระยะจะสั้นกว่าและเด็ก
ออกง่ายกว่า
การดูแลรักษาหญิงที่มีการแท้ง
ให้ คนไข้ นอนพักนิ่งๆ ให้อาหารแต่พอควร งดเหล้า และห้ามใช้ยาถ่าย หรือยาระบายอย่างแรง
นอกจากยาระบายอ่อนๆ เช่น น้ามันละหุ่ง หรือสวนอุจจาระเมื่อท้องผูก ต้องให้คนไข้นอนพักบนเตียง ๑
สัปดาห์ ถ้าอาการไม่น่าไว้วางใจควรส่งต่อให้แพทย์เป็นผู้ดูแลรักษาเพื่อมิให้เกิดอันตรายแก่มารดา
การดูแลหญิงที่มีทารกตายในครรภ์
การที่ทารกตายในครรภ์เป็นเพราะการส่งเลือดมาเลี้ยงตามสายสะดือไม่เพียงพอ หรือขาดใจตาย
การคลอดก็คลอดออกได้ถ้ามดลูกทางานได้ดีและผู้คลอดก็ไม่เสียเลือดมากเกินไป มดลูกอาจจะหมดกาลัง
ก่อนทารกเกิดหรือหลังจากทารกเกิดแล้วก็ได้ ฉะนั้นอันตรายของผู้คลอดมีมาก ถึงแม้ว่ารกหรือทารกเกิด
ออกมาแล้วก็ยังหาพ้นอันตรายไม่
ทารกตายในครรภ์มีอาการดังนี้ เมื่ออยู่ดีๆ ก็มีอาการ เจ็บท้องอย่างรุนแรงด้านใดด้านหนึ่งของ
มดลูก มดลูกมีการหดรัดตัวและเจ็บเมื่อเวลาถูกต้อง หน้าท้องตึง และมีเลือดออกทางช่อ งคลอดหรือมี
อาการตกเลือด ฟังเสียงหัวใจของทารกไม่ได้ยิน และทารกไม่ดิ้น
การปฏิบัติ ต้องรีบนาส่งโรงพยาบาลทันที ช่วยป้องกันอาการ Shock หรือให้ยาบารุงหัวใจ
การดูแลหญิงแท้งบุตรรกติด
เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก รกก็จะหลุดออกจากที่เกาะในมดลูก แต่ถ้ามดลูกหมดกาลัง การหด
ตัวอ่อนกาลังลงซึ่งเกิดจากมดลูกได้บีบทารกให้คลอดแรงมากเกินไป ทาให้ไม่มีกาลังบีบให้รกหลุดออก รก
นั้นก็ไม่หลุด ส่วนที่จะช่วยให้เอารกนั้นออกควรเป็นหน้าที่ของแพทย์แผนปัจจุบัน
แต่ถ้าทารกนั้นแท้งรกไม่หลุดเพราะว่ารกนั้นไม่แก่พอที่จะหลุดออกมาจากมดลูก เหมือนผลไม้ที่ยัง
อ่อนและดิบอยู่จึงไม่ยอมหลุดออกจากมดลูกได้ง่าย จึงเป็นเหตุให้สตรีที่แท้งลูกมีรกติดโดยมาก และยังเกิด
จากปากมดลูกยังเปิดไม่พอ ให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ให้อาหารแต่ควร
การเจริญของครรภ์ (ครรภ์ปริมณฑล)
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ได้บันทึกเอาไว้ว่า...
ปุน จ ปร ทีนี้จะว่าด้วยครรภ์ปริมณฑลต่อไปตามเรื่องดังนี้ ถ้าสัตรีผู้ใดมีครรภ์ตั้งแต่ได้ ๓ เดือน
ขึ้นไปจนถึง ๑๐ เดือน แลเปนไข้ดุจกล่าวมาแต่หนหลัง จะแก้ด้วยสิ่งใดๆ ก็มิฟังท่านให้แต่งยาขนานนี้กิน
โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐก้านพร้าว เทียนดา เทียนแดง เทียนขาว เทียนเยาวภานี
เทียนสัตบุศย์ ดอกสัตบุศย์ ดอกบัวเผื่อน ดอกบัวขม ดอกลินจง ดอกจงกลนี กฤษณา กะลาพัก ชะลูด ขอน
ดอก จันทน์แดง จันทน์ขาว สน กรักขี เทพทาโร สมุลแว้ง อบเชยเทศ รากสามสิบ ยา ๒๗ สิ่งนี้เอาส่วน
เท่ากันต้ม ๓ เอา ๑ กินแก้ไข้ในครรภรักษาตลอดไปแต่ต้นจนปลายดีนัก
ภาคหนึ่งท่านให้เอา แก่นขี้เหล็ก แก่นสะเดา แก่นสน จันทน์แดง จันทน์ขาว รากหญ้านาง ผล
มะขามป้อม ผลกระดอม บอระเพ็ด ผลมะตูมอ่อน หัวแห้วหมู ฝักราชพฤกษ์ ก้านสเดา ๓๓ ก้าน ยา ๑๓ สิ่ง
นี้เอาส่วนเท่ากัน ต้ม ๓ เอา ๑ กินแก้ครรภรักษาแลแก้ไข้เปนต่างๆ ให้จับให้ลงให้รากเปนโลหิต แลพิษโลหิต
ทาต่างๆ ถึงว่าคลอดแท้งลูก โลหิตทาให้ร้อนแลหนาว ให้ระส่าระสายก็ดี ให้กินยานี้หายสิ้น ได้ใช้มามากแล้ว
หมายเหตุ – ยังมียาครรภ์รักษาสาหรับรักษาอาการผิดปรกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ และ
การดูแลเมื่อเกิดความผิดปรกติในระยะการเจริญแต่ละเดือนของครรภ์ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์อีก แต่จะ
กล่าวถึงในสาขาเวชกรรม
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ในระยะ ๑ เดือนแรก เมื่อตัวผสมพันธุ์ในน้าอสุจิของผู้ชายได้เข้าไปผสมกับไข่สุกของผู้หญิงแล้ว
- เวลาล่วงเลยมาได้ ๒ สัปดาห์ ทารกก็จะเกิดเป็นกระดูกอ่อนขึ้นก่อน เป็นมูลฐานเดิม เริ่ม ตั้ง ต้นชีวิต
ขึ้นแล้ว ก็เกิดเนื้อสมองและเนื้อประสาท แล้วเกิดเป็นหลอดขึ้นภายในติดต่อเรื่อยมา หลอดภายใน
นี้ต่อไปก็จะเป็นหัวใจ ขณะนี้ทารกได้เกิดขึ้นแล้วมีลักษณะกลมๆ
- พอย่างเข้าสัปดาห์ที่ ๓ ทารกจะมีลักษณะเหมือนตัวด้วง
- พอย่างเข้า ครบหนึ่งเดือนจะเกิด เป็นช่องต่างๆ ขึ้นภายใน คือ ช่อง ทรวงอกและช่องท้อง ขณะนี้
หลอดที่เป็นหัวใจก็จะมีอาการเริ่มต้นเต้นระริกๆ น้อยๆ บ้างแล้ว และตัวทารกนั้นก็จะเริ่มมีปุ่มออก
ข้างๆ พอสังเกตได้ ต่อไปปุ่มนี้ก็จะเป็นมือและเท้า
- ครั้นล่วงเลยถึงปลายสัปดาห์ที่ ๕ เนื้อประสาทที่เกิดขึ้นภายในเจริญเห็นได้ชัด ขณะนี้ทารกจะโตขึ้น
ประมาณ ๑ นิ้ว พอเห็นได้ว่าทางด้านใดเป็นหัวทางด้านใดเป็นเท้า ทางหัวโตกว่าทางเท้าและลาไส้
ภายในยาวตลอดตัว และมองเห็นเป็นจุดดาๆ ซึ่งจุดดาๆ นี้คือลูกตา จะเห็นหลอดนี้อยู่ข้างใน หลัง
หลอดนี้จะไหวตัวได้เสมอ ต่อไปจะเป็นหัวใจ และจะมีหลอดอีกอันหนึ่งจะเป็นลาไส้ต่อไปอีกด้วย
พอย่างเข้าเดือนที่ ๒ เกิดเยื่อบางๆ หุ้มจุดดาทั้งภายนอกและภายในโดยรอบตัว และมีสายสะดือ
ยาวประมาณสามนิ้วเท่ากับตัวทารก มองเห็นมี ปาก จมูก หู ตา มือ เท้า งอกเจริญ ขึ้นเป็นจุดดาๆ รวมทั้ง
กายโตประมาณเท่าไข่ไก่
พอย่างเข้า เดือนที่ ๓ ตัวทารก เริ่มเกิดเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า แยกออกเป็นนิ้วๆ รวมกับตัวด้วยโต
ประมาณเท่าไข่ห่าน อวัยวะอื่นๆ ก็งอกงามกว่าเดิม สายสะดือและตัวทารกยาวเท่ากันประมาณห้านิ้ว ถ้าฟัง
ดูที่ด้านหน้าท้องมารดาจะได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นเท่ากับครบ ๓ เดือน
พอย่างเข้าเดือนที่ ๔ อวัยวะในตัวทารกเกิดเกือบพร้อมกันหมด แต่ตาไม่มี เล็บมือเล็บเท้างอกออก
ครึ่งหนึ่ง ย่างเข้าเดือนที่ ๔ ทารกในครรภ์จะเริ่มดิ้นได้แล้ว ถ้าท้องสาวจะไม่ใคร่รู้สึก ถ้ามารดามีครรภ์ที่สอง
ที่สามมาแล้วจะสังเกตเห็นได้ดีในเดือนนี้ สายสะดือและตัวทารกจะยาวหกนิ้วเท่ากัน
พอย่างเข้าเดือนที่ ๕ ผู้ที่เคยฟังหัวใจทารกในครรภ์ อาจจะ ได้ยินเสียงหัวใจ ทารกเต้น ได้ ถนัด และ
นับได้ว่าเต้นนาทีละเท่าใด การฟังเสียงหัวใจทารกเต้นในครรภ์ต้องฟังที่ใกล้สะดือที่หน้าท้องมารดาทางขวา
หรือทางซ้าย หรือรอบๆ สะดือ เมื่อทารกดิ้นได้จะสังเกตเห็นได้แน่ชัด กับอาการต่างๆ ของ อวัยวะมีครบ
บริบูรณ์ เช่น ผมสีดา ลืมตาและหลับตาได้บ้างแล้ว สายสะดือและตัวทารกยาวเก้านิ้วเท่ากัน
พอย่างเข้าเดือนที่ ๖ เล็บของทารกยังงอกไม่เต็มที่ สายสะดือยาว ๑๒ นิ้ว เท่า กับตัวทารก หาก
คลอดในเดือนนี้บางทีเลี้ยงรอดได้ แต่ต้องใช้ความร้อนเลี้ยงร่างกายให้ อบอุ่นให้เพียงพอเท่ากับอยู่ในครรภ์
มารดาจึงจะรอดได้ บางทีคลอดได้พียง ๑๒ วัน ก็ตาย เหตุที่ทารกตาย เนื่องจากในกระเพาะอาหารของ
ทารกยังไม่มีกรด Lactic ที่ทาหน้าที่ย่อยนม ทาให้ไม่เกิดการย่อยของน้านม ครั้นทารกกินนมเข้าไปแล้วเกิด
อาการท้องเสีย ไม่มีสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย เลือดเนื้อในร่างกายทารกเสียหมด หากทารกนี้เลี้ยงรอด
ต่อไปก็ไม่แข็งแรง มักจะเป็นเด็กขี้โรค ออดแอด และอ่อนแอ
พอย่างเข้า เดือนที่ ๗ ถ้าหากทารกคลอดในเดือนนี้เลี้ยงรอด แต่ห้ามมิให้ อาบน้าเย็น ให้ใช้ผ้าชุบ
น้าอุ่นๆ เช็ดตัวทารกให้แห้ง ทาด้วยน้ามันสกัดหรือน้ามันมะพร้าวตามตัวทารก เอาผ้าสาลีห่อหุ้มตัวทารกไว้
เสมอเพื่อให้ความอบอุ่นให้เพียงพอ ควรให้อาหารคือ เกลือละลายน้าพอกร่อยๆ หยดให้กินทีละน้อยๆ สัก
สองสามวันแล้วจึงให้น้านมต่อไป
พอย่างเข้าเดือนที่ ๘ ทารกจะมีอวัยวะครบทุกอย่าง ถ้าทารกคลอดในเดือนนี้เลี้ยงได้ง่าย ปฏิบัติ
เช่นเดียวกันกับเด็กที่เกิดในเดือนที่ ๗ ทารกและสายสะดือยาว ๑๖ นิ้ว เท่ากัน
พอย่างเข้าเดือนที่ ๙ เป็นทารกที่ครบกาหนดคลอด อวัยวะครบถ้วนทุกอย่าง สายสะดือและตัว
ยาวเท่ากัน ๑๗ นิ้ว หัวใจเด็กหญิงเต้นเร็วกว่าเด็กชาย (หัวใจเด็กหญิงเต้นประมาณ ๑๓๐ – ๑๔๐ ครั้ง/นาที
ส่วนเด็กชายประมาณ ๑๒๕ – ๑๓๐ ครั้ง/นาที) โดยฟังจากหน้าท้องมารดา ในระยะนี้การฟังเสียงหัวใจเด็ก
ให้ฟังที่หน้าท้องมารดาบริเวณรอบๆ สะดือห่างประมาณ ๓ นิ้ว จะได้ยินถนัด ต่อไปก็จะเริ่มเจ็บท้องเตือน
และเจ็บท้องคลอด ดังจะได้กล่าวต่อไป
กิริยาทารกในครรภ์
ทารกเมื่ออยู่ในครรภ์นั้นได้งอตัวอยู่ในมดลูกและลอยตัวอยู่ในน้าคร่า มีสายสะดือติดต่อเป็นขั้วอยู่
กับรกและดิ้นพลิกตัวไปมาได้รอบๆ โดยมีน้าคร่าหล่ออยู่ เมื่อทารกโตประมาณ ๓ เดือนเศษ ใช้กาลังแขน
ขา มือ เท้า ถีบกระทุ้งตามข้างมดลูก ซึ่งมารดาจะรู้สึกว่าทารกดิ้น หัวใจทารกก็เต้นด้วย ทารกในครรภ์ถ่าย
อุจจาระปัสสาวะได้บ้าง แต่ไม่มากเหมือนทารกนอกครรภ์
ทารกในครรภ์ได้รับอาหารจากโลหิตของมารดาซึ่งมาตามสายสะดือ โดยมีการแลกเปลี่ยนอาหาร
จากโลหิตแดงของมารดาไหลเวียนกลับมาบารุงเลี้ยงทารกให้เติบโตขึ้นมาเป็นลาดับ สายสะดือจึงมี
ความสาคัญมาก ถ้าเป็นปมเป็นขอดดังกล่าวแล้ว หรือถ้าทารกกดทับหรือพันที่คอทารก หรือพันคอและพัน
ตามขาหนีบมากเกินไป ทาให้การส่งอาหารไปมาไม่สะดวก ก็จะทาให้ทารกในครรภ์มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์
อาจจะเป็นเด็กอ่อนแอหรือเล็กแคระ บางทีเล็กเป็นลูกกรอกซึ่งชาวบ้านนับถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์
ครรภ์ผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์ผิดปกติ
รกเกาะต่า การตั้งครรภ์ผิดธรรมดานั้นคือ รกเกาะติดอยู่ที่ปากมดลูก เมื่อเป็นดังนี้เมื่อถึง เวลา
คลอดรกจะต้องออกมาก่อนจึงทาให้เลือดออกมามาก สตรีผู้คลอดมักตาย
การช่วยเหลือ ต้องรีบผ่าคลอดรกออกและช่วยให้ทารกคลอดได้โดยเร็ว และช่วยระงับโลหิตแล้ว
ส่งแพทย์ด่วน

ท้องนอกมดลูก เป็น การตั้งครรภ์ผิดธรรมดาอีกอย่างหนึ่ง เกิดจาก ไข่สุกที่ผสมแล้วไปติดอยู่ที่


หลอดปากแตร มักเป็นแก่หญิงที่เคยมีบุตรแล้ว ส่วนสตรีสาวนั้นมักไม่ค่อยเป็น เมื่อเป็นเช่นนี้ อยู่มาในไม่ช้า
ถุงหุ้มตัวเด็กจะแตกออก มักทาให้สตรีนั้นเป็นอันตราย
หากแม้นรู้สึกว่าการตั้งครรภ์นั้นผิดปรกติ หรือมีอาการผิดปรกติ เช่น มีระดูหยุดเหมือนการ
ตั้งครรภ์ธรรมดาแต่ท้องนั้นไม่โต คือไม่นูนออกมากลางท้องแต่กลับไปนูนข้างๆ ท้องตามที่ทารกติดอยู่ ถ้า
พบเช่นนี้ในขณะตั้งครรภ์ได้ ๓ – ๔ สัปดาห์ สมควรทาอย่างหนึ่งอย่างใดให้ทารกตาย (เป็นหน้าที่ของแพทย์
แผนปัจจุบัน) การทาเช่นนี้บางทีช่วยมารดาได้ เมื่อทารกตายแล้วไม่ต้องกังวลเพราะว่าในระยะต่อมาทารก
จะสลายตัวไปเองโดยร่างกายของมารดาทาการดูดซึม คือสายสะดือจะกลืนหายไปเอง
การตั้งครรภ์วิปลาสจะไม่พบบ่อย นามากล่าวไว้เพื่อพบปะจะได้เข้าใจเมื่อตรวจพบและส่ง
โรงพยาบาลได้ทันที
โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
๑. อาการอาเจียนอย่างรุนแรง หลังอายุครรภ์ได้ ๑๖ สัปดาห์ อาการคลื่นไส้อาเจียนยังไม่หมดไป บาง
รายอาจจะเป็นจนกระทั่งคลอด รายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ซึม ผิวหนังแห้ง ลิ้น
แห้ง ลิ้นเป็นฝ้า ริมฝีปากแห้งแตก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ปัสสาวะออกน้อยมีสีเข้ม เป็นอาการของภาวะขาด
น้าหรือขาดสารอาหารได้
การช่วยเหลือ – ควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจะได้ผลดีกว่าทอดทิ้งไว้นาน
๒. โรคพิษแห่งครรภ์ หรือโรคครรภ์เป็นพิษ มักพบหลังอายุครรภ์ได้ ๒๘ สัปดาห์ไปแล้ว มักเกิดใน
มารดาที่มีครรภ์แฝด เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือมีการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
อาการ – ความดันโลหิตสูง เมื่อวัดความดันโลหิตขณะตรวจครรภ์ได้สูงกว่า ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท
หรือความดันโลหิตเพิ่มจากครั้งก่อนมาก มีอาการบวมมากกว่าปรกติ คือ บวมที่ขา เท้า มือ ท้อง และหน้า
จะสังเกตได้จากการชั่งน้าหนักตัวเวลาตั้งครรภ์ ถ้าเพิ่มมากกว่าสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม ควรสังเกตครั้ง
ต่อไป นอกจากนี้ยังมีอาการปวดศีรษะ ตามัว ตาพร่า หรือมีไข่ขาวในปัสสาวะ หรืออาจจะมีอาการชักได้
การช่วยเหลือ – ต้องแนะนาโดยเน้นให้หญิงตั้งครรภ์มาตรวจอย่างสม่าเสมอ หรือเมื่อมีสภาพความ
ผิดปรกติดังที่กล่าวข้างต้นควรมาพบแพทย์โดยด่วน
๓. โรคหัวใจ ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์จะอันตราย เพราะผู้หญิงขณะตั้งครรภ์หัวใจต้องทางานมากกว่า
คนปรกติอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าคนที่มีโรคหัวใจมากๆ จะตั้งครรภ์ไม่ได้ แพทย์อาจจะต้องพิจารณาให้ทาแท้งเพื่อ
ช่วยชีวิตของมารดา และในรายที่ตั้งครรภ์ได้แพทย์จะต้องช่วยเหลือในการคลอดด้วย หรือในระยะตั้งครรภ์
อาจต้องพักผ่อนหรือได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
การช่วยเหลือ – เราสามารถถามอาการจากการตรวจครรภ์ว่า เคยมีอาการเหนื่อยบ่อยๆ หรือไม่ ถ้า
พบหญิงมีครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ ต้องมาให้แพทย์ตรวจตามนัดอย่างสม่าเสมอและทาคลอดเอง
๔. โรคท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ มักเกิดในท้องแรกเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ ๒๔ สัปดาห์
อาการ – ปวดท้องอย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณบั้นเอว มีไข้สูง หนาวสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ปัสสาวะขุ่นข้น
การช่วยเหลือ – ส่งต่อแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจจะเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นใน
ร่างกายและอาจจะเกิดการแท้งได้

You might also like