Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 368

www.kalyanamitra.org | www.webkal.

org
2

คำ�นำ�

อุปมาอุปไมย หมายถึง สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกใช้อุปมาอุปไมยอธิบายขยายความพระธรรม
เทศนา เพื่อทำ�เรื่องยากให้กลับกลายเป็นเรื่องเข้าใจได้ง่ายๆ โดยเฉพาะครั้งใดที่ต้องทรมานพวก
มิจฉาทิฏฐิ เช่น พระกุมารกัสสปะทรมานพระยาปายาสิในปายาสิราชัญสูตร หรือ พระนาคเสน
ทรมานพระเจ้ามิลินท์ในหนังสือมิลินทปัญหา เป็นต้น
อุปมาอุปไมยเป็นเครื่องมือที่เข้าไปทำ�ลายความมืดบอดในดวงใจของมิจฉาทิฏฐิบุคคลได้
อย่างเฉียบพลัน
คณะผู้จัดทำ�เห็นความงดงาม และคุณค่าอันหาประมาณมิได้ของอุปมาอุปไมยที่มีบันทึกใน
พระไตรปิฎก จึงได้รวบรวมมาจัดทำ�เป็นหนังสือ “อุปมาอุปไมยจากพระไตรปิฎก” โดยคัดเลือก
อุปมาอุปไมยที่สามารถจัดเข้าในหลักมงคลสูตร ๓๘ ประการได้ เพื่อสะดวกและง่ายต่อการค้นคว้า
คณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์สำ�หรับผู้รักการฝึกฝนอบรม
ตนเอง และผู้ที่ต้องทำ�หน้าที่เป็นแสงสว่างให้แก่ชาวโลก สามารถนำ�เอาอุปมาอุปไมยมาเป็น
แนวทางในการพัฒนาการเผยแผ่ธรรมะได้ง่ายขึ้น
ความบกพร่อง และความผิดพลาดใดๆ ในหนังสือเล่มนี้ คณะผู้จัดทำ�ขอน้อมรับคำ�แนะนำ�
จากทุกท่าน ประดุจผู้ต้องการทรัพย์ได้พบขุมทรัพย์อันประเสริฐ
ขอขอบคุณ และอนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มีส่วนในการสนับสนุน และจัดทำ�หนังสือเล่มนี ้
ขออานุภาพแห่งบุญกุศลที่เกิดจากประโยชน์ของหนังสือเล่มนี้ จงดลบันดาลให้ทุกท่านมีดวง
ปั ญ ญาสว่ า งไสว แทงตลอดในธรรมะขององค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า มี ปั ญ ญาว่ อ งไว
โต้ตอบแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่มที ส่ี น้ิ สุด ดุจฝัง่ แห่งแผ่นดินทีร่ องรับคลืน่ จากมหาสมุทรอย่างไม่รจู้ บสิน้
คุณความดีที่เกิดขึ้นจากหนังสือเล่มนี้ ขอน้อมสักการบูชามหาปูชนียาจารย์ พระคุณบิดา
มารดา บุพการี คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตรประคับประคองให้ได้มาบำ�เพ็ญ
คุณงามความดี และคุณประโยชน์จนถึงทุกวันนี้.

พระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล และคณะ


วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

www.kalyanamitra.org | www.webkal.org
3

คำ�ชี้แจงการใช้อุปมาอุปไมย

๑. บทนำ�
อุปมาอุปไมยนี้ คัดลอกมาจากพระไตรปิฎกฉบับต่างๆ และหนังสือมิลินทปัญหาฉบับพร้อม
อรรถกถา ฎีกา ชำ�ระโดยพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ปุ้ย ฉายแสง)
คณะผู้จัดทำ�ได้คัดลอกข้อความจากพระไตรปิฎก มีการตัดย่อข้อความที่ซ้ำ�บ้าง แต่ส่วน
ใหญ่ยังรักษาสำ�นวนภาษาจากพระไตรปิฎก เพื่อรักษาสาระสำ�คัญของอุปมาอุปไมยเอาไว้
หนังสือเล่มนี้ นำ�อุปมาอุปไมยมาจัดหมวดหมู่ตามหลักมงคลสูตร ๓๘ ประการ เพื่อให้
เหมาะสมกับการค้นคว้านำ�ไปใช้ได้โดยสะดวกรวดเร็ว เช่น ถ้าต้องอุปมาอุปไมยเรื่องคนพาล ก็
สามารถเปิดไปที่มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล ซึ่งได้รวบรวมอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับคนพาลในมิติต่างๆ
ไว้ในที่เดียว
สำ�หรับท่านที่มีความประสงค์จะนำ�อุปมาอุปไมยไปใช้อ้างอิงในการเขียนบทความ ควร
ศึกษาถึงที่มาจากพระไตรปิฎก โดยคณะผู้จัดทำ�ได้อ้างอิงที่มาไว้ด้านท้ายของอุปมาอุปไมยในแต่ละ
ข้อ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากอักษรย่อชื่อคัมภีร์ และตารางเทียบเคียงพระไตรปิฎกฉบับต่างๆ หน้า
๓๔๕ เช่น ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๒๑๑ หมายถึง คัมภีร์ขุทกนิกาย ชาดก คำ�กล่าวของพระโพธิสัตว์
จากหนังสือพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๕๙ หน้า ๒๑๑

๒. อักษรย่อ
(พุทธ) หมายถึง พระดำ�รัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(ปัจเจก) หมายถึง พระดำ�รัสของปัจเจกพุทธเจ้า
(เถระ), (เถรี) หมายถึง คำ�กล่าวของพระเถระ, พระเถรี
(อรรถ) หมายถึง คำ�กล่าวของพระโบราณจารย์
(โพธิ) หมายถึง คำ�กล่าวของพระโพธิสัตว์
(ทั่วไป) หมายถึง คำ�กล่าวที่มิใช่ของบุคคลข้างต้น เช่น เทวดา, พระราชา,
พราหมณ์ เป็นต้น
4

มก. ๑๑/๓๘๙ หมายถึง พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล


ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พุทธศักราช ๒๕๒๕ เล่มที่ ๑๑ หน้า ๓๘๙
มิลิน. ๔๕๘ หมายถึง มิลินทปัญหา ฉบับพร้อมอรรถกถา ฎีกา ชำ�ระโดย
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ปุ้ย แสงฉาย) หน้า ๔๕๘
5

สารบัญทั่วไป
คำ�นำ� ๒
คำ�ชี้แจงการใช้อุปมาอุปไมย ๓
บทนำ� ๓
อักษรย่อ ๓
สารบัญทั่วไป ๕
สารบัญมงคลสูตร ๖
บรรณานุกรม ๓๔๕
วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น ๓๔๖
รายนามเจ้าภาพผู้ร่วมจัดพิมพ์ ๓๕๐
ประวัติผู้เรียบเรียง ๓๖๔
คณะผู้จัดทำ� ๓๖๘
6

สารบัญมงคลสูตร
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล ๒๘
๑. ไม่คบคนพาล อุปมาด้วย ๒๙
งูมีพิษ ทางที่ควรละเว้น แก้วมณี เนื้อในป่า ราหู และบ่อไม่มีน้ำ�
๒. ลักษณะของคนพาล อุปมาด้วย ๓๐
ภาชนะดินที่แตก กองแกลบ ฟ้ากับดิน ลูกศร คนตาบอด สุกร โค
หม้อมีน้ำ�ครึ่งหนึ่ง และน้ำ�ผึ้ง
๓. โทษของความเป็นคนพาล อุปมาด้วย ๓๑
ทางไปของไฟป่า ทัพพี ขุยแห่งไม้ไผ่ รองเท้า มหาโจร ลอบที่ปากอ่าว
เต่าตาบอด พระจันทร์ถูกเมฆดำ�ปิดไว้ และธุลี
๔. โทษของการคบคนพาล อุปมาด้วย ๓๒
ลูกศรแช่ยาพิษ ปลาเน่า ช้าง พระจันทร์ข้างแรม น้ำ�ตกในที่ดอน และป่าช้า

มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต ๓๔
๑. คบบัณฑิต อุปมาด้วย ๓๕
คนกระหายน้ำ� วานร คนตาบอด มหาสมุทร แก้วมณี และป่า
๒. อานิสงส์ของการเป็นบัณฑิต อุปมาด้วย ๓๖
แสงเงินแสงทอง ภูเขาหิมพานต์ เมฆฝน และกลิ่นดอกไม้
๓. อานิสงส์ของการคบบัณฑิต อุปมาด้วย ๓๖
ลิ้นรู้รสแกง ใบไม้ห่อของหอม น้ำ�ในสระ ภูเขาหิน และผู้บอกขุมทรัพย์

มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา ๓๘
๑. คุณของพระรัตนตรัย อุปมาด้วย ๓๙
น้ำ� ขุมทรัพย์ จันทร์เพ็ญ ดวงอาทิตย์ เมฆฝนใหญ่ สารถี ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์
แพทย์ผู้ฉลาด ผู้ชี้ทาง นายเรือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ มิตรดี บ่อเกิดแห่งทรัพย์ บิดาผู้
มอบมรดก ดอกบัวบาน และช่างทำ�เครื่องประดับ
7

๒. คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔๒
๒.๑ คุณความดี อุปมาด้วย ๔๒
ดอกบัวถูกแสงอาทิตย์ แก้วมณี เมล็ดผักกาด ทรัพย์ พระจันทร์ และ
ยาบำ�บัดโรค
๒.๒ คุณประโยชน์ อุปมาด้วย ๔๓
พระจันทร์ พระอาทิตย์ เกาะกลางสมุทร พระอาทิตย์อัสดงคต
ต้นไม้ใหญ่ นกละป่า พระเจ้าจักรพรรดิ ไฟกองใหญ่ และพืชที่ยังอ่อน
๒.๓ ความยิ่งใหญ่ อุปมาด้วย ๔๔
พระจันทร์ พระอาทิตย์ พระเจ้าจักรพรรดิ ทองห่อหุ้มด้วยผ้ากัมพลแดง
เกสรแวดล้ อ มด้ ว ยกลี บ ท้ า วสหั ส นั ย น์ เทวราช ฝนเม็ ด ใหญ่ เรื อ
แผ่นดินใหญ่ พระยาครุฑ ราชสีห์ มหาสมุทร ตัวเลข ภูเขาสตบรรพต
พระราชา คลื่น แผ่นดิน หญ้าคา หมู่หนอนสีขาว นก ๔ เหล่า ภูเขาคูถ
ลูกใหญ่ สะดือทะเล และเปลวไฟที่ดับแล้ว
๒.๔ คุณวิเศษ อุปมาด้วย ๔๙
พระจันทร์ ลูกศรเหล็ก บุรุษยืนบนยอดเขา บุรุษผู้มีกำ�ลังเหยียดแขนที่คู้
ออกไป คนจะไปต่างประเทศกอดญาติ มะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ
ปลา เต่า และชาวประมง
๒.๕ การกำ�จัดกิเลส อุปมาด้วย ๕๐
ตาลยอดด้วน พระอาทิตย์ งูลอกคราบ ราชสีห์กำ�จัดธุลี นักรบ ไฟสถิต
ในน้ำ�ไม่ได้ แผ่นดิน และดอกบัวไม่ติดน้ำ�
๒.๖ พุทธลักษณะ อุปมาด้วย ๕๑
พื้นรองเท้าทองคำ� สังข์คว่ำ� คุยหะแห่งโค และช้าง กายพรหม กาย
ท่ อ นหน้ า ของราชสี ห์ แผ่ น กระดานทอง ต้ น นิ โ ครธ กลองทอง
พระจันทร์วันขึ้น ๑๒ ค่ำ� แก้ววิเชียรที่ตั้งไว้บนแผ่นกระดานทอง ดาว
ประกายพรึก เสียงนกการเวก ดวงเนตร พระโคแดงอ่อน ดอกบัวบาน
สะพรั่ง ช้าง แก้วมณีวางบนผ้ากาสิกพัสตร์ สีปีกแมลงทับทิมทอง ต้น
ปาริฉัตร ยอดภูเขาทอง พระยาช้าง และดอกบัว
8

๒.๗ พระรัศมี อุปมาด้วย ๕๖


ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
๒.๘ การแสดงธรรม การฝึกคน อุปมาด้วย ๕๗
หงายของที่คว่ำ� เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง จับต้นหว้าใหญ่สั่น
บุคคลอิ่มในรสอันเลิศ บุคคลยิงปลายขนทรายด้วยลูกศร คนเดินทางไกล
ดื่ ม น้ำ � ฝน คนฝึ ก ม้ า หมอรั ก ษาบาดแผล แม่ ไ ก่ จิ ก กระเปาะฟองไข่
พระจันทร์ พระอาทิตย์ ภูเขาสิเนรุ ก้อนดินขว้างไปในท้องฟ้า ความตาย
ของสัตว์ทั้งหลาย หิ่งห้อย ดอกไม้ ผลไม้ในอุทยาน และคลื่นในมหาสมุทร
๓. คุณของพระธรรม อุปมาด้วย ๕๙
ราชรถ ฟ้ า และแผ่ น ดิ น ไกลกั น พระเจ้ า จั ก รพรรดิ ลำ � น้ำ � หนุ น แผ่ น ดิ น
พระอาทิ ต ย์ อุ ทั ย จารึ ก อั ก ษรบนหลั ง แผ่ น หิ น หิ น ของนั ก มวยปล้ำ � และ
เหล่าเสนาต่างๆ ของพระราชา
๔. คุณของพระสงฆ์ อุปมาด้วย ๖๑
ต้ น หว้ า มารดาและนางนม ผู้ รั ก ษาเรื อ นคลั ง มหานาวาทอง ดวงดาว
พระจั นทร์ พ้ นจากหมอก การบั น ลื อ ของสี ห ะ ดอกบั ว มี ก ลิ่ นดี ภู เขาสิ เนรุ
ต้นไม้ใหญ่ เกลือ น้ำ�ผึ้ง ไฟ ไกรสรสีหะ เมล็ดผักกาด บุรุษผู้มีบุญน้อยได้
ราชสมบั ติ ดวงอาทิ ต ย์ บิ ด ายกย่ อ งคุ ณของบุ ต ร น้ำ � ขุ่ นชำ � ระล้ า งโคลนได้
บุตร และบิดา
๕. คุณของพระโพธิสัตว์ อุปมาด้วย ๖๔
พระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และโคจ่าฝูง

มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม ๖๖
๑. สถานที่เป็นที่สบาย อุปมาด้วย ๖๗
นกเค้า พืชทีห่ ว่านในทีบ่ ริสทุ ธิ์ ดวงจันทร์ วานร พายุ เนือ้ ในป่า ค้างคาว และลา
๒. อาหารเป็นที่สบาย อุปมาด้วย ๖๘
ไก่ บุรุษทายารักษาแผล งูเหลือม สุกรใหญ่ จระเข้ เสือเหลือง ราชสีห์ ช่างย้อม
ผ้า คนเลียคมมีดโกน และราชเสวก (ข้าราชการ)
๓. บุคคลเป็นที่สบาย อุปมาด้วย ๗๐
พ่อค้า และนก
9

มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน ๗๒
๑. ผลของบุญ อุปมาด้วย ๗๓
ญาติ มิ ต ร หยาดน้ำ � ช่ า งทอง แม่ น้ำ � เงาติ ด ตามตั ว พระจั น ทร์ วั น เพ็ ญ
ดวงประทีป เรือ มหาเมฆ เนยใส และก้อนหินใหญ่ลงเรือบรรทุก
๒. รูปสมบัติ อุปมาด้วย ๗๕
ดอกบัว ปุยนุ่น แม่น้ำ�ใกล้ภูผา ทองคำ�ในปากเบ้า ดวงตาแห่งรูปมฤคหนึ่งขวบ
กำ�หางนกยูง ผลตำ�ลึงสุก ระเบียงแห่งเพชร พวงอุบลเขียว และดอกกรรณิกา
๓. การอุทิศส่วนบุญ อุปมาด้วย ๗๖
น้ำ�ฝนตกลงบนที่ดอน และห้วงน้ำ�

มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ ๗๘
๑. ศรัทธา อุปมาด้วย ๗๙
บ่อทีไ่ ม่มนี �
ำ้ ต้นไทรใหญ่ พระจันทร์ขา้ งขึน้ แก้วมณี กาลักน้�
ำ หม้อเนยใส และพืช
๒. ประโยชน์ชาตินี้ อุปมาด้วย ๘๑
บุคคลก่อไฟอันน้อยให้ลุกโพรง แมลงผึ้งสร้างรัง และคนชั่งตาชั่ง
๓. ประโยชน์ชาติหน้า อุปมาด้วย ๘๑
พวงดอกไม้ พระอาทิตย์ขึ้น หัวเนยใส บุคคลมืดและสว่าง บุคคลสองตา การกู้
หนี้ และผ้าเศร้าหมอง
๔. ประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาด้วย ๘๓
เดือยข้าวสาลี เรือ ลูกคลื่น และฝั่งแม่น้ำ�
๕. การเสื่อมจากประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาด้วย ๘๔
ผลมะเดื่อ หางแหลมของเมล็ดข้าวสาลี นกกะเรียนแก่ ลูกศรที่ตกจากแล่ง เรือ
ดุ้นฝืนเผาผี กวาง บุรุษผู้ตกหลุมคูถ คนถูกศัตรูรุมล้อม และคนเจ็บป่วย

มงคลที่ ๗ พหูสูต ๘๖
๑. ปัญญา อุปมาด้วย ๘๗
รสเกลือ คนเกี่ยวข้าว การจุดประทีป ส่องประทีปลม และงู
๒. ผู้มีปัญญา อุปมาด้วย ๘๘
บุคคลล้างมือด้วยมือ เกาะ อาวุธ พระจันทร์ รอยจารึกที่ศิลา ภิกษุบิณฑบาต
การเกี่ยวข้าว และความสว่าง
10

๓. การศึกษา อุปมาด้วย ๘๙
งูพิษที่จับไม่ดี และนายโคบาล
๔. ผู้มีปัญญา อุปมาด้วย ๘๙
มหาสมุทร โคถึก ดุ้นฟืนเผาศพ และฝูงโค

มงคลที่ ๘ มีศิลปะ ๙๒
๑. มีศิลปะ อุปมาด้วย ๙๓
ดวงอาทิตย์ มนต์ บุตร ศัสตราวุธ และศีล

มงคลที่ ๙ มีวินัย ๙๔
๑. ความสำ�คัญของศีล อุปมาด้วย ๙๕
แสงเงินแสงทอง พืช พวกนาค และนา
๒. การรักษาศีล อุปมาด้วย ๙๖
จามรีรักษาขน นกต้อยตีวิดรักษาไข่ บุรุษศีรษะไม่ขาด กุมาร มหาสมุทร ดอกบัว
อากาศ แผ่นดิน ดวงจันทร์ บุคคลถูกตัดศีรษะ บุคคลห้อยสาก บุคคลห้อยขี้เถ้า
และบุคคลนุ่งผ้าดำ�สยายผม
๓. อานิสงส์ของการรักษาศีล อุปมาด้วย ๙๘
พระราชาผู้ได้มรุธาภิเษก ไฟส่องแสงบนยอดเขา กลิ่นดอกไม้ และบุคคลล้างมือ
ด้วยมือ
๔. โทษของการทุศีล อุปมาด้วย ๙๙
ถู ก ทิ่ ม ด้ ว ยปฏั ก ใบไม้ เหลื อ ง ใบไม้ ป กปิ ด ลู ก ดุ้ น ฟื น เผาศพ คนศี ร ษะขาด
มหาสมุทร ผ้าขาดที่ชายโดยรอบ ผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลาง แม่โคสีดำ�ด่าง แม่
โคที่พราวเป็นดวง ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ บุรุษถูกตัดศีรษะ ใบไม้เหลืองหลุดจาก
ขั้ว ศิลาหนาแตกสองเสี่ยง ต้นตาลมียอดด้วน แม่โคมีสีจาง และแม่โคมีจุดลาย
๕. พระวินัย อุปมาด้วย ๑๐๑
พระเจ้ า จั ก รพรรดิ แพทย์ มหาสมุ ท ร ดอกไม้ ที่ คุ ม ไว้ ด้ ว ยด้ า ยเหนี ย ว หมอ
และเชือกร้อยพวงมาลัย

มงคลที่ ๑๐ วาจาสุภาษิต ๑๐๔


๑. วาจาสุภาษิต อุปมาด้วย ๑๐๕
ดอกไม้งาม การบันลือของสีหะ และน้ำ�มูตรโคที่ดองยา
11

๒. พูดจริง อุปมาด้วย ๑๐๖


รอยจารึกบนแผ่นหิน ลม และกินยาพิษ
๓. พูดไพเราะ ไม่หยาบคาย อุปมาด้วย ๑๐๖
กังสดาลถูกเลาะขอบ และหงส์ทอง
๔. พูดถูกกาล อุปมาด้วย ๑๐๖
ลูกนกดุเหว่า
๕. วาจาทุภาษิต อุปมาด้วย ๑๐๗
ย้อมผ้าด้วยขมิ้น การต้มแกงถั่ว อสรพิษ และกบในป่า
๖. พูดโกหก อุปมาด้วย ๑๐๗
ช้างต้น และไฟถูกเถ้าปกปิดไว้
๗. พูดหยาบคาย อุปมาด้วย ๑๐๘
คนกลืนไฟ คนเอามือลูบคมดาบ และคนเคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน
ไม้ขรุขระครูดหู โกนผมด้วยมีดโกนไม่คม และกิ่งไม่คดมีหนาม
๘. การรักษาความลับ อุปมาด้วย ๑๐๘
คนเป็นทาสอดทนคำ�ด่าว่าของนาย และรักษาขุมทรัพย์

มงคลที่ ๑๑ วาจาสุภาษิต ๑๑๐


๑. พระคุณบิดามารดา อุปมาด้วย ๑๑๑
บุคคลแทงพาหนะด้วยปฏัก พรหม บุรพาจารย์ และอาหุไนยบุคคล
๒. ความกตัญญู กตเวที อุปมาด้วย ๑๑๑
การเปลื้องหนี้
๓. ลูกอกตัญญู อุปมาด้วย ๑๑๒
สุนัขลุมเห่าสุกร ม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง รากษส ไม้เท้า และคนถ่อย

มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร ๑๑๔


๑. การอยู่ในครรภ์์ อุปมาด้วย ๑๑๕
มารดามองดูบุตร
๒. ความรักในบุตร อุปมาด้วย ๑๑๕
หมอรีบพยาบาลคนที่ถูกงูกัด การกู้หนี้ แม่มดที่ผีสิง ลูกโคอ่อนยืนคอยชะเง้อหา
แม่ และม้าอัสดร
12

มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา (สามี) ๑๑๘


๑. ประเภทของภรรยา (สามี) อุปมาด้วย ๑๑๙
เพชฌฆาต โจร นาย แม่ พี่สาว น้องสาว เพื่อน ทาสี ผี และเทวดา
๒. การสงเคราะห์ภรรยา (สามี) อุปมาด้วย ๑๑๙
ลม น้ำ� ธรรมะ ยา โภชนะ มาณพบำ�รุงอาจารย์ น้ำ�นมและสังข์ เปลือย สายธนู
ขาด ธง และพระราชา
๓. การตัดใจจากสามี (ภรรยา) อุปมาด้วย ๑๒๐
นกละทิ้งต้นไม้ และน้ำ�ย้อมขมิ้น

มงคลที่ ๑๔ ทำ�งานไม่คั่งค้าง ๑๒๒


๑. อิทธบาท ๔ อุปมาด้วย ๑๒๓
ราชสีห์ กองไฟในยามราตรี แสงเงินแสงทอง ยาแก้โรค และพระจันทร์ข้างขึ้น
๒. โทษของความเกียจคร้าน อุปมาด้วย ๑๒๔
ช่างศร นกกะเรียน ลูกศร และคลื่นในมหาสมุทร
๓. การทำ�งานโดยไม่พิจารณา อุปมาด้วย ๑๒๔
พระจันทร์ข้างแรม บุคคลกินของร้อน ความวิบัติของยา และคนเหยียบใบตาล
แห้ง
๔. โทษของการคบคนเกียจคร้าน อุปมาด้วย ๑๒๕
บุคคลขึ้นแพไม้น้อยๆ ในมหาสมุทร เต่าตาบอด และคนเกาะไม้เล็กๆ จมลงใน
ห้วยน้ำ�ใหญ่

มงคลที่ ๑๕ บำ�เพ็ญทาน ๑๒๖


๑. ผู้รับบริสุทธิ์ อุปมาด้วย ๑๒๗
ชาวนาเห็นนาอันเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ� มหาสมุทร อาหาร นา พืชที่หว่านในนาดี
พืชหว่านในนาดอน และดวงจันทร์
๒. ผู้รับไม่บริสุทธิ์ อุปมาด้วย ๑๒๙
พระจันทร์ในหมู่ดาว และชาวนาผู้ฉลาด
๓. ผู้ให้ อุปมาด้วย ๑๒๙
หม้อน้ำ�ที่เต็ม สระน้ำ� ต้นนิโครธ และเมฆฝน
13

๔. ให้อวัยวะเป็นทาน อุปมาด้วย ๑๓๐


พระยาหงส์ ยกดอกบัวออกจากน้ำ� กรีดเยื่อน้ำ�อ้อยงบของตาล
และคนควักจาวตาล
๕. ความเคารพในทาน อุปมาด้วย ๑๓๑
พระอาทิตย์ และยัดเหี้ยเข้าจอมปลวก
๖. ผู้ให้ด้วยศรัทธา อุปมาด้วย ๑๓๑
หว่านพืชลงในนา ห้องน้ำ�ที่เต็ม บ่อน้ำ� และการรบ
๗. ผู้ให้ไม่บริสุทธิ์ อุปมาด้วย ๑๓๒
คนฆ่าโจร
๘. อานิสงส์ของการให้ทาน ๑๓๒
๘.๑ ต่อตนเอง อุปมาด้วย ๑๓๒
ดวงจันทร์ เมฆ แม่น้ำ� ชาวนาไถนา เรือนที่ถูกไฟไหม้ และนักมวยปล้ำ�
๘.๒ ต่อหมู่ญาติ อุปมาด้วย ๑๓๓
ห้วงน้ำ�ใหญ่ น้ำ�ฝน นา ชาวนา และพืช
๙. ผู้ขอ อุปมาด้วย ๑๓๔
แก้วมณี การร้องไห้ และช้างสละสัปคับ
๑๐. ความตระหนี่ อุปมาด้วย ๑๓๔
น้ำ�ในถิ่นอมนุษย์

มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม ๑๓๖


๑. สุจริต ทุจริต อุปมาด้วย ๑๓๗
ช่างทำ�ล้อ
๒. สัจจะ อุปมาด้วย ๑๓๗
รส ดาวประกายพรึก และคันชั่ง
๓. อคติ อุปมาด้วย ๑๓๘
ดวงจันทร์ข้างแรม ดวงจันทร์ข้างขึ้น ตราชู และต้นไม้ให้เงา
๔. พรหมวิหาร ๔ อุปมาด้วย ๑๓๘
สระบัว เมฆ น้ำ� เต่า สุกร พังพอน และแผ่นดิน
๕. ความสามัคคี อุปมาด้วย ๑๔๐
น้ำ�นมกับน้ำ�
๖. สัมมาทิฏฐิ อุปมาด้วย ๑๔๐
อ้อย ข้าวสาลี องุ่น และแสงเงินแสงทอง
14

๗. นรก/สวรรค์/โลกหน้า/โอปปาติกะ อุปมาด้วย ๑๔๐


หลุมถ่านเพลิง พระจันทร์ พระอาทิตย์ โจร คนตกลงไปในหลุมอุจจาระ คนที่เสีย
จั ก ษุ แ ต่ กำ � เนิ ด นางพราหมณี มี ค รรภ์ แ ก่ เ อามี ด ผ่ า ท้ อ งเพื่ อ ดู เพศของบุ ต ร
ฝันกลางวัน ชั่งก้อนเหล็กเผาไฟ คนเป่าสังข์ ชฎิลบูชาไฟ ฝุ่นที่ปลายพระนขากับ
ฝุ่นในมหาปฐพี ประทีป วิชาเลข ลูกนกยูง และลูกไก่ป่า
๘. กฎแห่งกรรม อุปมาด้วย ๑๔๗
บุคคลหว่านพืช ลูกศรของนายพราน สุนัขล่าเนื้อ ก้อนกรวดโยนลงน้ำ� นัก
มวยปล้ำ� โค ปากประตู ท่อนไม้ที่คนขว้าง ต้นไม้ กอไม้ เถาวัลย์ และความต่าง
แห่งพืช

มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ ๑๕๐


๑. ประเภทของญาติ อุปมาด้วย ๑๕๑
ดุ้นฟืนเผาศพ และยอดเนยใส
๒. ลักษณะของญาติ อุปมาด้วย ๑๕๑
ความคุ้นเคย
๓. ประโยชน์ของการสงเคราะห์ญาติ อุปมาด้วย ๑๕๒
ต้นไทรกองเพลิง พืชหว่านในนาดี และไม้เกิดในป่า
๔. สงเคราะห์ญาติ อุปมาด้วย ๑๕๒
เพลารถ พระเจ้าจักรพรรดิ กา อาหาร ป่า เมฆ วิธีฝังขุมทรัพย์ของนกแขกเต้า
และความเป็นกษัตริย์กับน้ำ�
๕. ญาติที่ไม่ควรสงเคราะห์ อุปมาด้วย ๑๕๔
พืชหว่านลงในไฟ และคนที่ตายไปแล้ว

มงคลที่ ๑๘ ทำ�งานไม่มีโทษ ๑๕๖


๑. ทำ�งานไม่มีโทษ อุปมาด้วย ๑๕๗
ผลมะงั่ว หีบอ้อย โคที่ฝึกดีแล้ว โคตัวผู้ กระต่ายในดวงจันทร์ น้ำ�นมกา
ดอกบัวหลวง และจันทัน
๒. ทำ�งานมีโทษ อุปมาด้วย ๑๕๘
กินอาหารพร้อมด้วยหนาม กินอาหารพร้อมแมลงวัน งูลอกคราบ ฝูงโคข้ามฟาก
ต้นไม้ใหญ่ คนเดินทางไม่ราบเรียบ น้ำ�เต้าขมผสมยาพิษ และน้ำ�หวานผสมยาพิษ
15

มงคลที่ ๑๙ งดเว้นบาป ๑๖๒


๑. คนทำ�บาป อุปมาด้วย ๑๖๓
กา ภาชนะดิน ต้นไม้ในป่า สัตว์อาศัยรู ถ่านปกปิดด้วยขี้เถ้า และนักเลงสุราดื่ม
สุราเจือยาพิษ
๒. งดเว้นบาป อุปมาด้วย ๑๖๔
โปรยแกลบลอยไปในลม ทำ�นบกั้นกระแสน้ำ� พ่อค้าเกวียน ป่าไม้สาละ บุคคลมี
ผ้าถูกไฟไหม ฝน โจรผู้ร้าย หนทางตั้งเข็มทิศ งู ชายเลี้ยงหมู นักเลงสกา งู
ลอกคราบ มะลิเครือปล่อยดอก น้ำ�ที่เหลือในภาชนะ ช้างต้น คนใช้คันฉ่องดูเงา
หน้า และยาพิษในฝ่ามือที่ไม่มีแผล
๓. ผลของบาป อุปมาด้วย ๑๖๗
น้ำ�ผึ้ง ผ้านุ่งของพี่เลี้ยงเปื้อนน้ำ�ลาย ตัดต้นไม้ ก้อนหินต่อยหม้อแตก ถูกไฟไหม้
หม้อน้ำ� ความวิบัติแห่งยาแก้โรค ชาวเมืองรังเกียจของสกปรก โยนก้อนหินลงน้ำ�
เงาติดตามตัวไป ซัดธุลีทวนลม และผู้ไม่รู้จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนแรง
๔. อานิสงส์ของการงดเว้นบาป อุปมาด้วย ๑๖๙
พระจันทร์พ้นจากหมอก ยาพิษในฝ่ามือที่ไม่มีแผล และคนเป็นไข้ดื่มยา

มงคลที่ ๒๐ สำ�รวมจากการดื่มน้ำ�เมา ๑๗๐


๑. โทษของน้ำ�เมา อุปมาด้วย ๑๗๑
ก้อนหินจมน้ำ� ขุดรากเหง้าของตนเอง พิษของพรหมจรรย์ เครื่องเศร้าหมองของ
สมณพราหมณ์ และปลา

มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม ๑๗๒


๑. ความสำ�คัญของความไม่ประมาท อุปมาด้วย ๑๗๓
รอยเท้าช้างพระเจ้าจักรพรรดิ กลอนแห่งเรือนยอด แสงสว่างของพระจันทร์
ไม้กลัมพัก จันทร์แดง มะลิ และทรัพย์อันประเสริฐ
๒. โทษของความประมาท อุปมาด้วย ๑๗๔
คนตาบอด ต้นไม้ที่ถูกทรายคลุมทับ คนเลี้ยงโค คนตายแล้ว และน้ำ�ใหญ่พัดพา
ชาวบ้านผู้หลับไป
16

๓. ผู้ไม่ประมาท อุปมาด้วย ๑๗๕


กรรมกร นายพราน นายท้ายเรือ หนู งู ไก่ นายมาลาการ (คนจัดดอกไม้) โค
ฟองน้ำ� พยับแดง และช้าง
๔. อานิสงส์ของความไม่ประมาท อุปมาด้วย ๑๗๖
ดวงจันทร์พ้นจากหมอก และม้าฝีเท้าเร็ว
๕. ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อุปมาด้วย ๑๗๗
ผู้ที่ยืนบนยอดของศิลา นายโคมาล แม่น้ำ� และเรือข้ามท่า
๖. ความแก่ อุปมาด้วย ๑๗๗
ดอกบัวเหี่ยวแห้ง ใบไม้เหลือง พืชที่เฉาเหี่ยวแห้ง ด้ายที่กำ�ลังทอ ทางไปของน้ำ�
ลม ไฟ เกวียนเก่า และดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้
๗. ความตาย อุปมาด้วย ๑๗๘
ผลไม้สุก ฟองน้ำ� หยาดน้ำ�ค้างบนยอดหญ้า รอยไม้ที่ขีดลงในน้ำ� ห้องน้ำ�ใหญ่พัด
ชาวบ้านที่นอนหลับ แม่น้ำ�ไหลลงจากภูเขา น้ำ�ในแม่น้ำ�น้อย ลูกจ้างรอค่าจ้าง
ภาชนะดินแตก ไม้อ้อที่ถูกตัด ต้นไม้ที่เกิดใกล้ฝั่ง ก้อนเขฬะ ชิ้นเนื้อในกระทะเหล็ก
แม่โคที่จะถูกเชือด สายฟ้าแลบ ความฝัน ภูเขาใหญ่กลิ้งบดสัตว์ พลรบของ
พระราชา คชสารที่ตกมัน นายขมังธนู ยักษ์ ปีศาจ ราชสีห์ เสือโคร่ง นักเล่นกล
อสรพิษ แพทย์ วิชาธร ผลไม้สุก โคถูกนำ�ไปฆ่า สระ มหาปฐพี และภาชนะดิน
๘. การตายก่อนเวลาอันควร อุปมาด้วย ๑๘๔
ผลไม้ตกจากต้นก่อนสุก ลูกธนูที่ติดสิ่งกีดขวาง หน่อไม่ไผ่อ่อนที่ถูกกวน และน้ำ�ที่
เทลงพื้น
๙. อายุ อุปมาด้วย ๑๘๔
ฝูงปลาในน้ำ�น้อย น้ำ�ในแม่น้ำ�น้อย น้ำ�ไม่ไหลไปที่สูง กงจักรตามธูปรถ และ
ตะเกียงน้ำ�มัน
๑๐. ร่างกาย อุปมาด้วย ๑๘๕
พยับแดด คนฆ่าโค เรือแล่นไปด้วยกำ�ลังลม งูพิษเปื้อนคูถ ท่อนไม้ งูละทิ้ง
คราบ บุคคลรักษาแผล สัตว์อาศัยแผ่นดิน และฟองน้ำ�
๑๑. สติ ๑๘๗
๑๑.๑ ประโยชน์ของสติ อุปมาด้วย ๑๘๗
เกลือสะตุ อำ�มาตย์ ขุนคลัง นายประตู พระเจ้าจักรพรรดิ ผาล และ
ประตัก กิ่งและใบไม้
17

๑๑.๒ การเจริญสติ อุปมาด้วย ๑๘๙


ผูกลูกโคไว้ที่หลัก นายประตู หยาดน้ำ�ไม่ติดบนใบบัว บุรุษไม่ได้สวม
รองเท้า บุคคลประคองภาชนะอันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ�มัน ช้าง พ่อค้าม้า
และเสากระโดงเรือ

มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ ๑๙๒


๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า อุปมาด้วย ๑๙๓
ดอกจัมปา ดอกอุบล จันทร์แดง น้ำ�ในมหาคงคาเทใส่ในรูเข็ม สถานที่ที่ปีกนก
ปรบในอากาศ มหาปฐพี มหาสมุทร อากาศ บ่วงเข็มตักจากแม่น้ำ�ใหญ่ ฝุ่นที่
บุรุษจับขึ้นมาจากแผ่นดิน นิ้วที่ชี้ไปยังมหาสมุทร อากาศ และดวงจันทร์
๒. ความเคารพในพระธรรม อุปมาด้วย ๑๙๔
เสาเขื่อน เสาเหล็ก ไม้ไผ่ และต้นหน
๓. ความเคารพในพระสงฆ์ อุปมาด้วย ๑๙๕
ฟ้ากับดิน ปลาในน้ำ� พืชในไร่ แล่งธนู พราหมณ์นอบน้อมบูชาเพลิง ม้าพิการ
และบิดายกย่องบุตร
๔. ความเคารพในการปฏิสันถาร อุปมาด้วย ๑๙๖
ต้นไม้ให้เงา
๕. การจับผิด อุปมาด้วย ๑๙๖
บุคคลโปรยแกลบ และพรานนก

มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน ๑๙๘


๑. การพิจารณาตน อุปมาด้วย ๑๙๙
หนุ่มสาวดูเงาหน้าในคันฉ่อง และพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จประพาสโลก
๒. ความถ่อมตน อุปมาด้วย ๒๐๐
สุนัขจิ้งจอก ข้าวสาลี ผ้าเช็ดเท้า ก้อนหินเล็กๆ ก้อนเกลือเล็กๆ
และโคอุสภะเขาขาด
๓. การไม่โอ้อวด อุปมาด้วย ๒๐๑
บุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์ และหม้อน้ำ�
๔. การไม่ดูหมิ่น อุปมาด้วย ๒๐๑
โคอาชาไนย และมหาสมุทร
18

มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ ๒๐๒


๑. ความสำ�คัญของความสันโดษ อุปมาด้วย ๒๐๓
ท้าวสักกะ โคอาชาไนย ทรัพย์ที่ยืมเขามา นกจากพราก นกกระจอก และค้างคาว
๒. ความสันโดษในปัจจัย ๔ อุปมาด้วย ๒๐๔
หยาดน้ำ�ไม่ติดบนใบบัว ดวงจันทร์ นก หีบใส่ผ้าของคฤหบดี ราชสีห์ สุนัขจิ้งจอก
เภสัชของคฤหบดี แผ่นดิน น้ำ� ไฟ ลม ผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล และโคเขาหัก
๓. ความไม่สันโดษ อุปมาด้วย ๒๐๖
ขนมสุกในบาตรของตนกับของคนอื่น

มงคลที่ ๒๕ ความกตัญญู ๒๐๘


๑. ความกตัญญู อุปมาด้วย ๒๐๙
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ และพืชที่หว่านลงในนาดี
๒. ความอกตัญญู อุปมาด้วย ๒๐๙
พืชที่หว่านลงในไฟ

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล ๒๑๐


๑. ประเภทผู้ฟังธรรม อุปมาด้วย ๒๑๑
คนไข้ ๓ จำ�พวก หม้อคว่ำ� หม้อหงาย ของบนตัก ชาวนาหว่านพืช มหาสมุทร
ตะโพนแตก บุรุษรุกเข้าไปหาสตรีที่ถอยหนี บุคคลทิ้งนาของตน และชาวนาที่
ฉลาดเลือกหว่านพืชในนาดีก่อน
๒. ความสำ�คัญของการฟังธรรม อุปมาด้วย ๒๑๔
มหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้ำ� และไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ
๓. ประโยชน์ของการฟังธรรม อุปมาด้วย ๒๑๔
คนเดินทางไกลดืม่ น้�ำ ฝน คนบริโภคอาหารทีค่ ดไว้เพือ่ ผูอ้ น่ื น้�ำ นมระคนกับน้�
ำ ห้วง
น้ำ�ลึกใสแจ๋วไม่ขุ่นมัว ประทุมหวังแสงอาทิตย์ และคนหิวเหนื่อยอ่อนได้ขนมหวาน

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน ๒๑๖


๑. ความอดทนต่อทุกขเวทนา อุปมาด้วย ๒๑๗
ช้างที่อดทนต่อศาสตราวุธในยุทธสงคราม และโจรเอาเลื่อยตัดอวัยวะ
19

๒. ความอดทนต่อความเจ็บใจ อุปมาด้วย ๒๑๗


การล้างที่ซึ่งเปื้อนด้วยของไม่สะอาด ช้างอดทนต่อลูกศรในสงคราม แผ่นดิน และ
คนรถสวมเกราะหนังยืนอยู่บนรถ
๓. ความอดทนต่ออำ�นาจกิเลส อุปมาด้วย ๒๑๘
เลื่อย
๔. ประโยชน์ของความอดทน อุปมาด้วย ๒๑๘
ศิลปะธนู ของไม่สะอาดล้างด้วยน้ำ�ใส ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก และนายสารถี
ฝึกม้าให้หมดพยศ

มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย ๒๒๐


๑. ความว่าง่าย อุปมาด้วย ๒๒๑
คนไขน้ำ� ช่างศร ช่างถาก โค และแผ่นดิน
๒. ผู้ชี้ขุมทรัพย์ อุปมาด้วย ๒๒๒
ช่างหม้อ และนายสารถี
๓. โทษของการว่ายาก อุปมาด้วย ๒๒๒
การทิ่มแทงกันด้วยหอก คือปาก

มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ ๒๒๔


๑. คุณสมบัติของภิกษุที่ดี อุปมาด้วย ๒๒๕
ม้าอาชาไนย ช้างต้น เนื้อในป่า นางนกเงือก เมฆก้อนมหึมา มหาสมุทร บุคคล
ประคองตาชั่ง เครื่องป้องกันปัจจันตนครของพระราชา ๗ ประการ นักรบอาชีพ
เหมือง น้ำ�ที่นิ่ง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สมุนไพรได้ปุ๋ย องค์ ๓ ของม้าต้นของ
พระราชา และองค์ ๓ แห่งพ่อค้า
๒. ภิกษุกับการศึกษาธรรม อุปมาด้วย ๒๒๙
บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด และบุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
๓. ภิกษุกับปัจจัย ๔ อุปมาด้วย ๒๓๐
กหาปณะเก๊ เถ้าถ่านไฟที่ดับ ราชสีห์ ลูกศรพ้นจากธนู ช้างซับมันหลีกจากโขลง
ก้มหน้าฉัน เงยหน้าฉัน มองดูทิศใหญ่ฉัน และมองดูทิศน้อยฉัน
20

๔. ภิกษุกับสกุล อุปมาด้วย ๒๓๑


แมลงภู่ พระจันทร์ นก การโบกพระหั ต ถ์ ใ นอากาศ และลูกช้างลงสระ
๕. ลักษณะของภิกษุไม่ดี อุปมาด้วย ๒๓๒
ฝูงแมลงตกลงสู่ประทีปน้ำ�มัน เครื่องมัวหมองแห่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ๔ อย่าง
เรืออัปปางเพราะต้นหน ผ้าเปลือกไม้ บุคคลที่มีแผลพุพองทั้งตัวเข้าไปในป่าหญ้า
คา และมหาโจร
๖. สมณะผู้หลอกลวง อุปมาด้วย ๒๓๓
หญ้าชนิดหนึ่งทำ�ลายต้นข้าว นกยางมีรูปเหมือนแกะ หญ้าคา หม้อน้ำ�ทำ�ด้วยดิน
หุ้มด้วยทองคำ� เหรียญมาสกโลหะชุบทอง กระบอกตักน้ำ� และลาติดตามฝูงโค

มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล ๒๓๖


๑. ผู้แสดงธรรม อุปมาด้วย ๒๓๗
พระจันทร์ พระอาทิตย์ ตะขาบ เมฆ พญาช้างถูกห้อมล้อมด้วยดาบ นาคถูกครุฑ
ล้อมไว้ สีหมฤคราช บุรุษรุกสตรีที่กำ�ลังถอยหลังหนี บุคคลทิ้งนาของตน และ
บุคคลตัดเครื่องจองจำ�เก่าได้แล้ว สร้างเครื่องจองจำ�ใหม่
๒. การตอบคำ�ถาม อุปมาด้วย ๒๓๙
ตัดก้านบัวด้วยศัสตรา ปลาอยู่ในลอบไซ เอาแหนบมาถอนผมหงอกทีละเส้นๆ
ลิงที่ติดตัง ถ่านเพลิงที่เผาไหม้ และพ่อครัวผู้ฉลาด

มงคลที่ ๓๑ บำ�เพ็ญตบะ ๒๔๐


๑. ธรรมชาติของจิต อุปมาด้วย ๒๔๑
ลิงในป่า และปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำ�
๒. การฝึกจิต อุปมาด้วย ๒๔๒
ไม้จันทร์ นายหัตถาจารย์ นายควาญช้าง นายสารถีผู้ฉลาด ช่างศรตัดลูกศร ฝน
ย่อมรัว่ รดเรือนทีม่ งุ่ ไม่ดี พระจันทร์วนั เพ็ญ และช้างทีล่ ม้ ลงในเปือกตมถอนตนขึน้ ได้
๓. ความสำ�รวมอินทรีย์ อุปมาด้วย ๒๔๓
ภูเขาหิน ม้าที่นายสารถีฝึกดีแล้ว บุรุษเข้าไปสู่ป่าที่มีหนาม ช้าง บุรุษเจ้าของนา
ถือจอบเดินสำ�รวจนา นายสารถีถือบังเหียน การตอกลิ่มด้วยลิ่ม กา ไก่ นางนก
เงือก เต่า ศาลาที่มีดินหนา มีเครื่องฉาบทาเปียก และบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ผูก
เชือกไว้ด้วยกัน
21

๔. โทษของการไม่สำ�รวจอินทรีย์ อุปมาด้วย ๒๔๖


ทรัพย์ที่ได้ในฝัน ต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง เรือนไม้อ้อ เรือนหญ้าที่แห้ง ปลากินเบ็ด ยาง
ของต้นไม้ กระจกเปื้อนฝุ่น แม่เนื้อมีลูกเล็ก นายโคบาล ผู้ไม่ฉลาดไม่ปิดแผล และ
คนผูกสัตว์ ๖ ชนิด
๕. ธุดงค์คุณ อุปมาด้วย ๒๔๗
นายขมังธนู การไม่งอกแห่งพืชที่ไม่รดน้ำ� น้ำ� ไฟ ยาแก้พิษงู นา แก้วมณี เรือ
ดอกปทุม และของหอม

มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ ๒๕๐


๑. เหตุเกิดราคะ อุปมาด้วย ๒๕๑
ย่านทราย
๒. โทษของกาม อุปมาด้วย ๒๕๑
ชิ้นเนื้อ คบหญ้า หลุมถ่านเพลิง ของยืม ต้นไม้มีผลดก ดาบ มีด หอก หลาว หัวงู
กองไฟ คบเพลิง ปลากลืนเบ็ด แมลงมุมตกไปในใยข่าย บริโภคผลไม้มีพิษ ผลไม้มี
พิษ ไม้แช่ไว้ในน้ำ� ท่อนไม้ตกลงไปในน้ำ�วน ไฟ การกู้หนี้ ภาชนะใส่น้ำ� ร่างกายที่
อาบน้ำ�สะอาดแล้ว ช้างจมอยู่ในหล่ม สุนัขถูกล่ามโซ่ สัตว์ถูกแทง หยดน้ำ�ที่คมมีด
หัวฝี ฝนรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดี หญ้า และสุนัขแทะกระดูกเปื้อนเลือด
๓. โทษของการครองเรือน อุปมาด้วย ๒๕๖
หน่อไม้ ไม้ไผ่กอใหญ่ เรือนจำ� เครื่องจองจำ� ช้างใหญ่ตัดเครื่องผูก บ่วงมัจจุราช
ห้วงน้ำ�ใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับไป ธุลี กองหยากเยื่อ สังข์ที่ขัด กระท่อม
รัง และเครื่องผูก
๔. โทษของหญิง อุปมาด้วย ๒๕๘
ถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มูตรคูถ ปีศาจ อสรพิษ เถาวัลย์พันไม้ เรือ แม่น้ำ� หนทาง
โรงน้ำ �ดื่ม ที่ประชุม บ่อน้ำ� แม่น้ำ � ไฟไหม้ จิตของวานร ล้อรถที่กำ �ลังหมุน
พยับแดด ทางไปของปลา ช้างสาร งูเห่า เครื่องผูกรัด เปลวไฟ แม่น้ำ�มีกระแส
เชี่ยว พวกโจร ไฟ บ่วงมัจจุราช หนอนขยอกลงในนาข้าว เพลี้ยลงในไร่อ้อย และ
ท่าน้ำ�
22

๕. การละกามราคะ อุปมาด้วย ๒๖๐


การถอนหอกออกจากตน รีบดับไฟซึ่งไหม้บนศีรษะ ช่างทำ�รองเท้า ไม้แห้งสนิท
น้ำ�ไม่ติดใบบัว บุรุษผู้ปลดหนี้ บุคคลวิดน้ำ�ในเรือไปถึงฝั่ง ดอกบัว ลมพัดปุยนุ่น
เอาเชื้อไฟออกจากหลุมถ่านไฟ แมลงวัน ปลาถูกโยนขึ้นบก ปลิงที่อิ่มแล้ว เอาน้ำ�
ที่ปลายหญ้าคาสลัดลงในมหาสมุทร น้ำ�บนใบบัว ไม้สดชุ่มยางแช่น้ำ� วางบนบก
และไม้แห้งสนิท
๖. พิจารณาร่างกาย อุปมาด้วย ๒๖๓
หนอนเกิดในปลาเน่า ถุงหนังบรรจุซากศพ บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่ผูกไว้ที่คอ งู
เปื้อนคูถมีพิษมาก เจ้าของเรือ ทิ้งเรือเก่า คนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งไป คนฆ่าโค
ท่อนไม้ ราชรถ โคเฒ่าจมอยู่ในตม ดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ มหาโจร ฝีมีปากแผล
ไม่แตก ๙ แห่ง และบุคคลรักษาแผล
๗. อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ อุปมาด้วย ๒๖๗
แมว สารถีขับรถ และภาชนะ
๘. เหตุออกบวช อุปมาด้วย ๒๖๘
บุรุษอยู่ในเรือนจำ� บุรุษจมหลุมคูถแล้วละทิ้งไม่อาลัย ช้างดุ เพชฌฆาตเงื้อม
ดาบและอสรพิษ
๙. การออกบวช อุปมาด้วย ๒๖๘
ต้นทองหลาง หญ้ามุงกระต่าย ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำ�ลัง โค และหญ้าคาที่บุคคล
จับไม่แน่น
๑๐. อานิสงส์ของการละกาม ออกบวช อุปมาด้วย ๒๖๙
บุคคลตัดดอกปทุม งูลอกคราบเก่าที่คร่ำ�คร่า บุคคลวิดน้ำ�ในเรือไปถึงฝั่ง ฝน
ย่อมรั่วรด เรือนที่มุงไม่ดี น้ำ�ไม่ติดบนใบบัว เนื้อที่เกิดในป่า ดวงจันทร์ และภูเขา
แก้วมณีโล้น
๑๑. การลาสิกขา อุปมาด้วย ๒๗๑
ยวดยาน คนโง่ มรณะ สระใหญ่มนี �ำ้ ใสสะอาด ภัย ๔ อย่าง และก้อนเขฬะทีถ่ ม่ ไป
23

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ ๒๗๔


๑. ภพ ๓ อุปมาด้วย ๒๗๕
เรือนถูกไฟไหม้ ข้าศึกเงื้อดาบ และหลุมถ่านเพลิง
๒. วัฏสงสาร อุปมาด้วย ๒๗๕
เรือนถูกลมซัดไปในมหาสมุทร แม่น้ำ�คงคาลุ่มลาดไปในมหาสมุทร หญ้าไม้กิ่งไม้ใน
ชมพูทวีป มหาปฐพี น้ำ�ตาที่ไหลออก น้ำ�นมมารดา ภูเขาหินใหญ่กว้าง ยาว สูง
หนึ่งโยชน์ เม็ดทรายในแม่น้ำ�คงคา โครงกระดูก ท่อนไม้ที่โยนขึ้นไปในอากาศ
โลหิตที่ไหลออก ปลาติดอยู่ในไซ เหยี่ยวที่โฉบชิ้นเนื้อ น้ำ�ที่ไหลบ่าไป และกอง
กระดูก
๓. ความทุกข์ อุปมาด้วย ๒๗๘
คูถนรก ตกลงไปในเหว ช้างที่ฉุดออกจากช่องลูกดาล ต้นไม้พิษ ฟองน้ำ� น้ำ�หุง
ข้าวด้วยไฟอ่อนและไฟแรง บุรุษมีกำ�ลังเฉือนศีรษะด้วยมีดโกน น้ำ�ในมหาสมุทร
ม้าอาชาไนย ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด และน้ำ�สองสามหยด
๔. เหตุแห่งทุกข์ อุปมาด้วย ๒๘๒
รากไม้ วานร หญ้า ด้ายร้อยรัดไม้ ด้ายอันยุ่งเหยิง น้ำ�เจือยาพิษ สุนัขถูกเผาไว้ที่
เสาไม้ คนตาบอด ปลาติดอยู่ที่ปากลอบ หรือปากไซ และเถาย่านทราย
๕. อริยสัจ ๔ อุปมาด้วย ๒๘๔
คนตาดี เพชร และมีดโกนทาด้วยน้ำ�ผึ้ง
๖. การละตัณหา อุปมาด้วย ๒๘๔
หยาดน้ำ�ตกไปจากใบบัว การขุดหญ้า และก้อนเหล้าเจือยาพิษ
๗. อริยมรรคมีองค์ ๘ อุปมาด้วย ๒๘๕
หม้อที่คว่ำ� แสงเงินแสงทอง ลมแรงพัดมหาเมฆให้หายหมด เครื่องผูกเรือเดิน
สมุทร แม่น้ำ�คงคา เมฆก้อนใหญ่ แม่ไก่กกไข่ รอยนิ้วมือที่ด้ามมีด มรรคาเก่า
สามเกลอ และรอยเท้าช้าง
24

มงคลที่ ๓๔ ทำ�พระนิพพานให้แจ้ง ๒๙๐


๑. ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์ อุปมาด้วย ๒๙๑
บุ รุ ษ มี กำ � ลั ง เอาเหล็ ก แหลมคมทิ่ ม ศี ร ษะ บุ รุ ษ มี กำ � ลั ง รั ด ศี ร ษะด้ ว ยเส้ น เชื อ ก
เถาวัลย์ ดวงดาวในบ่อน้ำ�ลึก และผลน้ำ�เต้าขม
๒. ความเพียร อุปมาด้วย ๒๙๒
นกเปื้อนฝุ่นสลัดธุลี สายพิณ ม้าดีหลบแส้ พระจันทร์พ้นหมอกเมฆ ช้างถอนตน
ขึ้นจากเปลือกตม คนเอาไม้กดงู ไม่เป็นหนี้ในหมู่ญาติ พญาราชสีห์ นายพราน
นายขมังธนู ไก่ เต่า เครือน้ำ�เต้า กองทัพพระราชา ไม้ค้ำ�เรือน การดับไฟที่ผ้า
หรือศีรษะ ช่างศรยกลูกศร ท้าวสักกะ มรดก เสือเหลือง กิจเบื้องต้นของชาวนา
๓ ประการ และท่อนไม้ที่โยนขึ้นไปในอากาศ
๓. สมาธิ อุปมาด้วย ๒๙๗
กระแต แมลงมุม ช้าง นายขมังธนู ช่างเจียระไน การกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำ� บุรุษ
จับนกคุ้ม เครื่องผูกเรือ สุกร ประทีปน้ำ�มันติดไฟ รัศมีของดวงอาทิตย์ ปลิง
เกวียนเทียมด้วยโคโกง คนง่อยไกวชิงช้า แม่น้ำ�คงคา แมลงป่อง ดวงอาทิตย์
หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ แมว และพระราชาเสด็จออกสงคราม
๔. ทำ�พระนิพพานให้แจ้ง อุปมาด้วย ๓๐๐
เสือเหลืองซุ่มจับเนื้อกิน ลูกไก่ ทหารในสงคราม ดอกบัวที่แก่แล้ว จอมทัพ ช้าง
พระอาทิ ต ย์ ขึ้ น ปลาทำ � ลายข่ า ย ต้ น ไม้ ถู ก ตั ด ราก เดื อ ยข้ า วสาลี
แม่น้ำ�คงคา โคว่ายตัดกระแสน้ำ� กลอนเรือนยอด พายุ พืชหว่านลงในนาดี
ดอกบัว พรานเบ็ด ไฟนายพราน ไม้ขานาง ควาญช้างพัง เสาตะลุงในล่าม
คอกช้างป่า ลูกโคอ่อน ช้างหลวงตายลง และต้นปาริฉัตร

มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นในโลกธรรม ๓๐๖


๑. ความไม่หวั่นไหวในโลกธรรม อุปมาด้วย ๓๐๗
ภูเขาศิลาล้วน แผ่นดิน เสาเขื่อน ห้วงน้ำ�ปราศจากเปลือกตม แผ่นดิน ไฟ
หม้อที่ไม่มเี ครือ่ งรองรับ และราชสีหไ์ ม่สะดุง้
๒. ไตรลักษณ์ อุปมาด้วย ๓๐๘
เสียงรถ ดุจหยาดน้�ำ ค้าง ฟองน้� ำ ดุจรอยขีดในน้�ำ ด้วยไม้ อากาศ และชาวนาไถนา
๓. โทษของลาภสักการะ อุปมาด้วย ๓๐๙
ผลกล้วย ขุยไผ่ ดอกอ้อ ลูกม้า สุนัข สุนัขจิ้งจอก แกะขนยาว แมลงวันกินขี้
และตัวหนอนติดอยู่ในคูถ
25

๔. ไม่ติดลาภสักการะ อุปมาด้วย ๓๑๑


ดอกบัวไม่ติดด้วยน้ำ� เต่า เครื่องเรือ และเรือสู้คลื่น

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก ๓๑๒


๑. ความโศก ความอาลัย ความคร่ำ�ครวญ อุปมาด้วย ๓๑๓
หญ้ า คมบาง การล้ น ออกจากภาชนะของอาหารที่ หุ ง ต้ ม การเคี่ ย วอาหาร
เด็กร้องไห้อยากได้พระจันทร์ และดอกประทุม
๒. เหตุแห่งความโศก อุปมาด้วย ๓๑๔
พระราชาเสด็จไปยังพระราชอุทยาน และไม้อ้อถูกถอน
๓. โทษของความโศก อุปมาด้วย ๓๑๔
ลูกศรอาบยาพิษ หม้อน้ำ�แตก น้ำ�ตา ช้างถูกไกรสรราชสีห์จับ และดวงจันทร์
เข้าไปในปากราหู
๔. การบรรเทา กำ�จัดความโศก อุปมาด้วย ๓๑๕
ลมพัดนุ่น เกาะ บุคคลเอาน้ำ�ดับไฟ พระยาหงส์บินไปในเปลือกตม พระอาทิตย์
พระจันทร์ ถอนดอกโกมุท คนเป็นไข้ดื่มโอสถ เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ หม้อน้ำ�ที่
แตก นก และโคตาย
๕. ผู้ไม่เศร้าโศก อุปมาด้วย ๓๑๖
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ บุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ น้ำ�ไม่ติดใบบัว งาช้างอัน
ตัดขาดแล้ว ฝูงนก ลูกจ้างมุ่งแต่ค่าจ้าง แผ่นดิน เมฆใหญ่ ช้าง อากาศ และพายุ

มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี ๓๒๐


๑. จิตปราศจากธุลี อุปมาด้วย ๓๒๑
น้ำ�ไม่ขุ่นมัวใสบริสุทธิ์ ราชสีห์ และศิลาแท่งทึบ
๒. โทษของกิเลส อุปมาด้วย ๓๒๑
ปลาติดเบ็ด นกถูกด้ายยางผูกติดขา สุกรถูกคล้องบ่วง น้ำ�ไหลเข้าไปในเรือที่แตก
ปีศาจเข้าสิง ไฟ เต่า ขุยไผ่กำ�จัดไม้ไผ่ จระเข้ แมลงวัน ปลิงเกาะ รวงผึ้ง
แวดล้อมด้วยตัวผึ้ง ดอกโกมุทในเปลือกตม และปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำ�
26

๓. การกำ�จัดกิเลส อุปมาด้วย ๓๒๓


ดวงอาทิตย์ พระจันทร์ ภูเขาศิลา ป่า ห้วงน้ำ�ปราศจากเปลือกตม พายุ เมฆ
อากาศ ลมพัดไปไม้ร่วงหล่นไป ช่างผู้ทำ�เรือน ช่างตัดงาช้าง เครื่องขัดข้องแห่ง
เรือ ราชสีห์ ลม เนือ้ ในป่า เต่า ตัวหนอน ยาดับพิษ ร่ม มะลิ ไฟ และหนุม่ สาวส่อง
เงาหน้าในกระจก
๔. นิวรณ์ อุปมาด้วย ๓๒๖
สุนัขดุข่มเหงโคแก่ คนกู้หนี้ คนไข้อาการหนัก คนถูกคุมขังในเรือนจำ� คนที่ตก
เป็นทาส และคนเดินทางไกลกันดาร
๕. ความโลภ อุปมาด้วย ๓๒๗
ลิง
๖. ความโกรธ ๓๒๘
๖.๑ ประเภทของคนโกรธ อุปมาด้วย ๓๒๘
อสรพิษ รอยขีดในหิน ดิน และน้ำ�
๖.๒ โทษของความโกรธ อุปมาด้วย ๓๒๘
ธง ควัน ภาชนะใส่น้ำ�ร้อนเดือดพล่าน ไฟไหม้หญ้า ดวงจันทร์ในวันข้างแรม
ถ่านไฟที่คุโชน นำ�ธุลีซัดทวนลม เกลือที่ใส่ในเตาไฟ และแผล
๖.๓ การกำ�จัดความโกรธ อุปมาด้วย ๓๒๙
สารถี บุคคลหยุดรถ หมอกำ�จัดพิษงู น้ำ�น้อยในสระที่ถูกสาหร่ายและแหน
คลุม ภิกษุผู้อาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนักเดินทางไกล สระน้ำ�ที่มีน้ำ�ใส ไฟ และ
ชนะสงคราม
๗. ความฟุ้งซ่าน อุปมาด้วย ๓๓๑
ความเป็นทาส ความเป็นไท และภาชนะใส่น้ำ�อันลมพัด
๘. ความหดหู่ ซึมเซา อุปมาด้วย ๓๓๑
เรือนจำ� ภาชนะใส่น้ำ�อันสาหร่าย และจอกแหนปกคลุม
๙. ความลังเลสงสัย อุปมาด้วย ๓๓๑
ภาชนะใส่น้ำ�ขุ่นมัว

มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม ๓๓๔


๑. ภัยและความกลัว อุปมาด้วย ๓๓๕
ปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำ�น้อย
27

๒. อภิญญา ๓๓๕
๒.๑ อิทธิวิธี (แสดงฤทธิ์) อุปมาด้วย ๓๓๕
หงส์ ดวงจันทร์วันเพ็ญ บุรุษที่มีกำ�ลังเหยียดแขนที่มีกำ�ลังออกไป นุ่นที่ถูกลม
พัดไป ช่างหม้อ ช่างเงา ช่างทอง และปุยนุ่น
๒.๒ ทิพยโสต (หูทิพย์) อุปมาด้วย ๓๓๖
บุรุษเดินทางไกล
๒.๓ เจโตปริยญาณ (กำ�หนดใจคนอื่นได้) อุปมาด้วย ๓๓๗
หญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
๒.๔ ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้) อุปมาด้วย ๓๓๗
บุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านคนอื่น และผลมะขามป้อมที่วางไว้บน
ฝ่ามือ
๒.๕ ทิพยจักษุ (ตาทิพย์) อุปมาด้วย ๓๓๗
บุรุษยืนอยู่บนปราสาท และบุรุษยืนอยู่ท่ามกลางเรือน
๒.๖ อาสวักขยญาณ (ทำ�ให้อาสวะสิ้นไป) อุปมาด้วย ๓๓๘
บุรุษยืนอยู่บนขอบสระ หีบผ้าของพระราชา และงูลอกคราบ
๓. ผู้ไม่สะดุ้งกลัว อุปมาด้วย ๓๓๙
ราชสีห์ในถ้ำ�ภูเขา ลมไม่ติดตาข่าย น้ำ�ไม่ติดดอกบัว ภูเขาศิลา บุคคลไม่กลัวโรค
และคนดื่มยาพิษ
๔. จิตเกษม อุปมาด้วย ๓๔๐
ก้อนจุณ ห้วงน้ำ�ลึก ดอกบัว บุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ความดับ
แห่งดวงประทีป บุรุษเข็ญใจพบขุมทรัพย์ใหญ่ นกต้อยตีวิดรักษาไข่ แม่เนื้อจามรี
รักษาขนหาง รองเท้าของฝูงนกในอากาศ หมองูกำ�จัดพิษงู และบุคคลดื่มยาพิษ
แล้วบ้วนทิ้ง

ม ง ค ล ที่

ไม่คบคนพาล
การเสพคนพาล
ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า
แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น
29

๑. ไม่คบคนพาล
๑.๑ บัณฑิตผู้หวังความเจริญ พึงเว้นอกัลยาณปุถุชนให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นห่างงูมีพิษ
ร้าย ฉะนั้น.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๓๘๙
๑.๒ บุรุษผู้ไม่ประเสริฐเป็นเหมือนงูอยู่ในพกพึงกัดเอา ผู้มีปัญญาไม่พึงทำ�ไมตรีกับบุรุษ
เช่นนั้น เพราะการคบบุรุษชั่วเป็นทุกข์โดยแท้.
อัง.ปัญจก. (โพธิ) มก. ๓๖/๓๑๒
๑.๓ คนพาลทั้งหลายไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น.
ขุ.ขุ. (พุทธ) มก. ๓๙/๑๗๒
๑.๔ ธรรมดาแก้วมณีย่อมไม่มีสิ่งใดเจือปนอยู่ข้างใน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ไม่ควรปะปนอยู่กับเพื่อนที่เป็นคนเลว ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๘
๑.๕ ธรรมดาเนื้อในป่า เมื่อเห็นมนุษย์แล้วย่อมวิ่งหนีด้วยคิดว่า อย่าให้มนุษย์ได้เห็นเราเลย
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อเห็นพวกทุศีล พวกเกียจคร้าน พวกยินดีในหมู่คณะก็ควร หนีไป
ด้วยคิดว่า อย่าให้พวกนี้ได้เห็นเรา และอย่าให้เราได้เห็นพวกนี้.
มิลิน. ๔๔๖
30

๑.๖ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมกลัวภัย คือ ราหู ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เมื่อได้


เห็นบุคคลทั้งหลายที่เต็มไปด้วยความทุจริต อีกทั้งถูกครอบงำ�ด้วยความหลงผิด คือ ทิฏฐิ ให้เดินไป
ผิดทางก็ควรทำ�ใจให้สลดด้วยความกลัว ความสังเวช.
มิลิน. ๔๔๑
๑.๗ บุคคลไม่ควรคบหาคนที่ปราศจากศรัทธา เหมือนบ่อที่ไม่มีนํ้า ฉะนั้น ถ้าแม้บุคคลจะ
พึงขุดบ่อน้ำ�นั้น บ่อนั้นก็จะมีนํ้าที่มีกลิ่นโคลนตม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๗๘

๒. ลักษณะของคนพาล
๒.๑ ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลาย
ย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๔๕๔
๒.๒ เราได้เห็นดาบสโกงนั้น เหมือนกองแกลบอันไม่มีข้าวสาร เหมือนไม้เป็นโพรงข้างใน
เหมือนต้นกล้วยอันหาแก่นมิได้.
ขุ.จริยา. (พุทธ) มก. ๗๔/๓๘๑
๒.๓ ฟ้ากับดินไกลกัน ฝั่งสมุทรก็ว่าไกลกัน ที่ๆ ดวงอาทิตย์ขึ้นกับที่ๆ ดวงอาทิตย์ตกก็
ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษปราชญ์กล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๑๖๘
๒.๔ สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกลดุจภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษย่อมไม่ปรากฏในที่นี้ เหมือน
ลูกศรที่ซัดไปในเวลากลางคืน ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๒๘๐
๒.๕ นระผู้บอดแต่กำ�เนิดเป็นผู้นำ�ไม่ได้ บางคราวไปถูกทาง บางคราวก็ไปผิดทาง แม้ฉันใด
คนพาลท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ๑ เป็นผู้นำ�ไม่ได้ บางคราวทำ�บุญ บางคราวก็ทำ�บาป.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๕๓๙
๒.๖ อสัตบุรุษเป็นเหมือนคนบอด สัตบุรุษเป็นเหมือนคนมีตาดี คนบอดย่อมมองไม่เห็น
ทั้งคนไม่บอด ทั้งคนบอด ฉันใด อสัตบุรุษย่อมไม่รู้ทั้งสัตบุรุษทั้งอสัตบุรุษ ฉันนั้น.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๔๖๐
๒.๗ เขาไม่ยินดีกับคนอื่นที่เป็นคนดี เข้าไปหามิตรเลวเหล่านั้นอย่างเดียว เหมือนสุกรที่
เขาประดับด้วยของหอม และดอกไม้แล้วให้นอนบนที่นอนอย่างดี ก็ยังเข้าไปสู่หลุมคูถ ฉะนั้น.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๑๐๔

สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
31

๒.๘ เมื่อใด คนพาลสำ�คัญว่า บุคคลนั้นอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้นคนพาล ผู้มี


ปัญญาทรามยิ่งข่มขี่บุคคลนั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๔๗๐
๒.๙ คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำ�ที่มีนํ้าครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบเหมือนหม้อน้ำ�ที่เต็ม.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๖๓๐
๒.๑๐ บุคคลใดโง่ ย่อมสำ�คัญความที่ตนเป็นคนโง่ บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้
บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำ�คัญว่าตนเป็นบัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่า คนโง่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๑๘๘
๒.๑๑ คนพาลเมื่อกระทำ�กรรมอันลามกอยู่ ย่อมยินดีร่าเริงประดุจบุรุษเคี้ยวกินรสของ
หวาน ย่อมสำ�คัญบาปประดุจน้ำ�ผึ้งตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๔๖๘

๓. โทษของความเป็นคนพาล
๓.๑ ทางที่คนพาลไปแล้ว ย่อมเป็นเหมือนทางไปของไฟป่า ซึ่งลามไปเผาไหม้ต้นไม้ กอไม้
คามนิคม ฉะนั้น.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๖
๓.๒ ถ้าคนพาลเข้าไปนัง่ ใกล้บณ
ั ฑิตแม้จนตลอดชีวติ เขาย่อมไม่รธู้ รรม เหมือนทัพพีไม่รรู้ ส
แกง ฉะนัน้ .
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๑๕๐
๓.๓ บุคคลใดมีปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า คัดค้านคำ�สั่งสอนของพระอริยบุคคล ผู้มี
ปกติเป็นอยู่โดยธรรม บุคคลนั้น ย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตน เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๑๘๗
๓.๔ รองเท้าที่คนซื้อมาเพื่อประโยชน์จะให้สบายเท้า กลับนำ�ความทุกข์มาให้รองเท้า นั้น
ถูกแดดเผาบ้าง ถูกพื้นเท้าครูดสีบ้าง ก็กลับกัดเท้าของผู้นั้น ฉันใด ผู้ใดเกิดในตระกูลต่ำ�ไม่ใช่
อารยชน เรียนวิชา และศิลปะมาจากอาจารย์แล้ว ผู้นั้นย่อมฆ่าตนเองด้วยศิลปะที่เรียนมาใน
อาจารย์นั้น ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๔๓๔
๓.๕ มหาโจรเมื่อเกิดในราชสมบัติของพระราชา ย่อมเกิดขึ้นเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ความทุกข์แก่มหาชน ฉันใด บัณฑิตพึงทราบว่า โจรในคำ�สั่งสอนของพระชินเจ้า เกิดขึ้นแล้วเพื่อ
สิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชน ฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๙๓
32

๓.๖ บุคคลพึงทิ้งลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เพื่อความ


เสื่อม เพื่อความพินาศแก่ปลาเป็นอันมาก แม้ฉันใด โมฆบุรุษชื่อว่ามักขลิ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เป็นดังลอบสำ�หรับดักมนุษย์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เพื่อ
ความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมาก.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๓/๑๙๒
๓.๗ มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจะสำ�คัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตา
เดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าจะเป็นไปได้บ้างใน
บางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาลนานแน่นอน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้ ยังจะ
เร็วกว่า เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่เป็นคนพาล ผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่านี้
นั่นเพราะเหตุไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม ไม่มีความประพฤติสงบ
ไม่มีการทำ�กุศล ไม่มีการทำ�บุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๕๕
๓.๘ คนเขลาย่อมไม่ประสบพระนิพพาน... ย่อมเป็นเหมือนมณฑลพระจันทร์ที่ถูกเมฆดำ�
ปิดไว้ เหมือนภาชนะที่กะทะบังไว้.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๒๖๖
๓.๙ ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ซึ่งเป็นบุรุษอันหมดจด ไม่มีกิเลสเป็นเครื่อง
ยั่วยวน บาปย่อมกลับสนองผู้นั้นผู้เป็นพาลนั่นเอง เปรียบเหมือนธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปสู่ที่
ทวนลม ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๐๘

๔. โทษของการคบคนพาล
๔.๑ คนชั่วที่ซ่องเสพบุคคลผู้บริสุทธิ์ ย่อมทำ�ให้บุคคลผู้บริสุทธิ์ติดเปื้อนความชั่ว เหมือนลูก
ศรที่แช่ยาพิษ ถูกยาพิษติดเปื้อนแล้ว ย่อมทำ�แล่งลูกศรให้ติดเปื้อนด้วยยาพิษ ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๔๖๘
33

๔.๒ บุคคลเข้าไปคบหาคนเช่นใดเป็นมิตร แม้เขาก็ย่อมเป็นเหมือนคนเช่นนั้น เหมือน


ลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๒๖๒
๔.๓ นรชนใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคา แม้หญ้าคาของนรชนผู้นั้น ก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไป
ด้วย การคบพาลก็เป็นอย่างนั้น.
ขุ.ขุ. (พุทธ) มก. ๓๙/๑๗๔
๔.๔ การเสพคนพาลย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๒๖๒
๔.๕ ช้างเหล่าใดอยู่ในสถานที่อันไม่มีนํ้า ชื่อว่า มิใช่ประเทศ(ถิ่นที่เหมาะสม) ย่อมตกอยู่ใน
อำ�นาจของปัจจามิตรโดยเร็วพลัน ฉันใด แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของมนุษย์ชั่ว เป็นคน
พาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่า อยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๓/๓๑๕
๔.๖ พระจันทร์ในวันข้างแรมย่อมเสื่อมลงทุกวันๆ ฉันใด การคบอสัตบุรุษย่อมเป็นเหมือน
วันข้างแรม.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๒/๖๓๗
๔.๗ น้ำ�ตกในที่ดอนย่อมไม่คงที่ ไม่อยู่ได้นาน ฉันใด การคบอสัตบุรุษก็เหมือนกัน ไม่คงที่
เหมือนน้ำ�ในที่ดอน ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๗๑๖
๔.๘ โทษในป่าช้าเปรียบเหมือนโทษในบุคคล ๕ ประการ คือ
โทษในป่าช้า โทษในบุคคล
๑. เป็นที่ไม่สะอาด ๑. ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ
๒. มีกลิ่นเหม็น ๒. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๓. มีภัยเฉพาะหน้า ๓. ผู้มีศีลอันเป็นที่รักย่อมเว้นห่างไกล
๔. เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ร้าย ๔. ย่อมอยูร่ ว่ มกับบุคคลทีป่ ระพฤติทจุ ริตเหมือนกัน
๕. เป็นที่รำ�พันทุกข์ของชนหมู่มาก ๕. ผู้มีศีลอันเป็นที่รักย่อมคร่ำ�ครวญเป็นทุกข์ที่จำ�
ต้องอยู่ร่วมกับบุคคลผู้ประพฤติทุจริต.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๕๐๐

ม ง ค ล ที่

คบบัณฑิต
บัณฑิตเสมือนของหอม
มีกฤษณาและดอกไม้ เป็นต้น
คนผู้คบบัณฑิตก็เสมือนใบไม้ที่ห่อของหอม
35

๑. คบบัณฑิต
๑.๑ ข้าพระองค์ค้นหาพระชินเจ้า เปรียบเหมือนคนกระหายน้�ำ ค้นหาน้ำ� คนหิวข้าวค้นหา
ข้าว ปานดังแม่โครักลูกค้นหาลูก ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๑๑๕
๑.๒ บุคคลควรคบคนที่เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นคนที่ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้คนที่เลื่อม
ใส เหมือนคนผู้ต้องการน้ำ�เข้าไปหาห้วงน้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๗๘
๑.๓ ธรรมดาวานร เมือ่ จะหาทีอ่ ยูก่ ไ็ ปหาทีอ่ ยูท่ ปี่ อ้ งกันภัยได้ คือ ต้นไม้ใหญ่ทมี่ กี งิ่ ดกหนา
และเงียบสงัด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเป็นฉันนั้น คือ ควรหาที่อยู่ใกล้กัลยาณมิตร ผู้
มีศีลธรรมดีงาม ผู้มีความรู้มาก ผู้รู้จักสั่งสอน.
มิลิน. ๔๒๘
๑.๔ เราปรารถนาจะเฝ้า และเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เหมือนคนตาบอดปรารถนา
จักษุประสาท เหมือนคนหูหนวกปรารถนาโสตประสาท เหมือนคนใบ้ปรารถนาการกล่าวให้รู้เรื่อง
เหมือนคนมีมือเท้าพิการปรารถนามือเท้า เหมือนคนขัดสนปรารถนาทรัพย์สมบัติ เหมือนคนเดิน
ทางกั นดารปรารถนาสถานที่ อั น ปลอดภั ย เหมื อ นคนถู ก โรคครอบงำ � ปรารถนาความไม่ มี โรค
เหมือนคนถูกเรืออัปปางในมหาสมุทรปรารถนาแพใหญ่ ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (อรรถ) มก. ๔๔/๑๔๑
36

๑.๕ ธรรมดามหาสมุทรย่อมอยู่ร่วมกับสัตว์ใหญ่ๆ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรอยู่


ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มักน้อย ผู้สันโดษ ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจารกิริยา ผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้เป็นที่
เคารพเป็นที่นับถือ ผู้ตักเตือน ผู้ติเตียนความชั่ว ผู้สั่งสอน ผู้ให้รู้แจ้ง ผู้ให้เห็นจริง ให้อาจหาญ ให้
ร่าเริง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๔
๑.๖ ธรรมดาแก้วมณีย่อมอยู่ร่วมกับแก้วที่เกิดเอง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
อยู่ร่วมกับแก้วมณี คือ พระอริยเจ้า ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๘
๑.๗ ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่อาศัยอยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรก็ควรคบกับอริยบุคคล ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๗

๒. อานิสงส์ของการเป็นบัณฑิต
๒.๑ เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อนสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็น
เบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค๑ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ
ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๗๔
๒.๒ สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏในที่ไกลเหมือนภูเขาหิมพานต์ ส่วนอสัตบุรุษย่อมไม่
ปรากฏในที่นี้ เหมือนลูกศรอันเขายิงไปในราตรี ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑๔๔
๒.๓ ทางที่บัณฑิตไปเหมือนทางที่เมฆฝนซึ่งตั้งเค้าขึ้นทั้งสี่ทิศ แล้วตกลงมาเต็มหลุม และ
บ่อ นำ�ความงอกงามของรวงข้าวกล้าชนิดต่างๆ มาให้ ฉะนั้น.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๖
๒.๔ กลิ่นดอกไม้ไม่หอมทวนลม กลิ่นจันทน์กฤษณา หรือดอกมะลิก็ไม่หอมทวนลม แต่กลิ่น
ของสัตบุรุษหอมทวนลมฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๑๔๕

๓. อานิสงส์ของการคบบัณฑิต
๓.๑ ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันเหมือนลิ้นรู้
รสแกง ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๑/๑๕๑


อริยมรรค ทางดำ�เนินของพระอริยะ
37

๓.๒ การคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม แม้ใบไม้


ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๔/๒๑๗
๓.๓ บัณฑิตเสมือนของหอมมีกฤษณาและดอกไม้ เป็นต้น คนผู้คบบัณฑิตก็เสมือนห่อด้วย
ใบไม้ที่ห่อของหอม มีกฤษณาและดอกไม้ เป็นต้น.
ขุ.ขุ. (พุทธ) มก. ๓๙/๑๗๖
๓.๔ น้ำ�ฝนตกลงในสระย่อมขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม้การสมาคมกับสัตบุรุษ ก็ย่อมตั้งอยู่ได้
นานเหมือนน้ำ�ในสระ ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๖๓๗
๓.๕ ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้
ฉันใด ชนทั้งหลายอาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมงอกงามในโลกนี้ ชนผู้มีปัญญา
เห็นแจ้งศีล จาคะและสุจริตของกุลบุตรผู้มีศรัทธานั้นแล้ว ย่อมทำ�ตามประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำ�
สัตว์ไปสู่สุคติ เพลิดเพลินในโลกนี้ สมปรารถนา ย่อมบันเทิงในเทวโลก ฉันนั้น.
อัง. ปัญจก. (อรรถ) มก. ๓๖/๙๑
๓.๘ บุคคลเห็นท่านผู้มีปัญญาชี้โทษ มีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒๓๐

ม ง ค ล ที่

บูชาบุคคลที่ควรบูชา
ธรรมดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนทั้งหลาย
เหมือนพระจันทร์ พระอาทิตย์
ส่องแสงสว่างแก่คนทั้งปวง
39

๑. คุณของพระรัตนตรัย
๑.๑ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนภูเขา น้ำ�นั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำ�ธาร ลำ�ห้วย
ให้เต็ม ย่อมยังหนอง บึง แม่นํ้าน้อย แม่นํ้าใหญ่ให้เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม ฉันใด ความ
เลือ่ มใสอันไม่หวัน่ ไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และศีลอันเป็นทีร่ กั ของ พระอริยเจ้า
ธรรมเหล่านี้ เมื่อไหลไปถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๓๖๖
๑.๒ พระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเสมือนขุมทรัพย์ อันเต็มไปด้วยรัตนะ มี
แก้วมณี และทองคำ� เป็นต้น เพราะเพียบพร้อมไปด้วยอริยทรัพย์.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๔๑๓
๑.๓ บริษัท ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการบูชานี้เพียงใด ศาสนาของเราก็จะรุ่งเรือง ดุจจันทร์เพ็ญ
ลอยเด่นกลางท้องฟ้า ฉะนั้น.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๔๒๒
๑.๔ พระพุทธองค์ทั้งพระสาวกทรงแสดงพระรัศมี ทำ�พระศาสนาให้ไร้มลทิน แล้วดับขันธ
ปรินิพพาน เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องนภากาศ.
ขุ.พุทธ. (พุทธ) มก. ๗๓/๕๔๔
40

๑.๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมี


ของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญ.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ พระธรรมเปรียบเหมือน
รัศมีของดวงอาทิตย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำ�จัดมืดแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่ พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำ�ฝน พระ
สงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสแล้วเปรียบเหมือนชนบท ซึ่งถูกระงับละอองฝุ่นเพราะฝนนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ผู้เลิศ พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้า
อาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้าอาชาไนยที่ถูกฝึกมาดีแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัด) เพราะทรงถอนลูกศร คือ
ทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ช่วยถอนลูกศร คือ ทิฏฐิออกได้ พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศร
คือ ทิฏฐิออกแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๑๐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนจักษุแพทย์ เพราะทรงลอกพื้นตา คือ โมหะ
(ความหลง) ออกได้แล้ว พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายเครื่องลอกพื้น (ตา) พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตา
อันลอกแล้ว ผู้มีย่อมเป็นดวงตา คือ ญาณ (ความรู้แจ้ง) อันสดใส เปรียบเหมือนชนที่ลอกพื้นตา
แล้วมีดวงตาสดใส.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๑๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำ�จัดพยาธิ
(โรค) คือ กิเลสพร้อมทั้งอนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ออกได้ พระธรรมเปรียบเหมือน
เภสัชที่ปรุงถูกต้องแล้ว พระสงฆ์ผู้มีพยาธิ คือ กิเลส และอนุสัยอันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชน
ที่ได้รับเภสัชอันถูกต้องจนพยาธิระงับแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบเหมือนทางดีหรือพื้นที่
ปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
41

๑.๑๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนเรือ พระ


สงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้อาศัยเรือเดินทางถึงฝั่ง.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์
พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้ขุมทรัพย์.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย พระธรรมเปรียบเหมือน
ความไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่างเปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบ พระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ พระ
สงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนมิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำ�สอนที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบประโยชน์เกื้อกูล.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดแห่งทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่
เป็นสาระ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดาผู้มอบมรดกโดยธรรม พระธรรมเปรียบ
เหมือนมรดกอันล้ำ�ค่า พระสงฆ์เปรียบเหมือนพวกบุตรผู้สืบมรดก คือ พระสัทธรรมนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
๑.๒๐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกบัวที่บาน พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำ�ที่เกิด
จากดอกบัวที่บาน พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่ภมรที่ดูดกินน้ำ�จากดอกบัวนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
๑.๒๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนช่างผู้ท�ำ เครื่องประดับ พระธรรมเปรียบเหมือน
เครื่องประดับ พระสงฆ์เปรียบเหมือนพระราชโอรสที่ทรงประดับแล้วด้วยพระสัทธรรมนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
42

๒. คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒.๑ คุณความดี
๒.๑.๑ พระมหาบุรุษทรงพ้นแล้วจากเครื่องผูกมัดทั้งปวง มีพระสันดานเบิกบาน ดุจดอกบัว
ต้องแสงอาทิตย์ ฉะนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๔๐
๒.๑.๒ ใครๆ ไม่อาจทำ�ความมัวหมองให้เกิดขึ้นแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเดียวกับไม่อาจ
ทำ�ความเศร้าหมองให้เกิดแก่แก้วมณี.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๘/๒๘๙
๒.๑.๓ เมล็ดผักกาดเมื่อนำ�ไปเทียบกับเขาสิเนรุ รอยเท้าโคเมื่อนำ�ไปเทียบกับมหาสมุทร
หยดน้ำ�ค้างเมื่อนำ�ไปเทียบกับน้ำ�ในสระใหญ่ ๗ สระ ก็เป็นของกะจิ๊ดริ๊ด คือ เล็กน้อย ฉันใด คุณ
ของพวกเรา เมื่อนำ�ไปเทียบกับพระคุณมีพระชาติสมบัติ เป็นต้น ของพระสมณโคดมเป็นของเล็ก
น้อย ฉันนั้น.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๒/๒๕
๒.๑.๔ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอัน
ประณีตในสวรรค์ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ และรัตนะนั้นที่เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย.
ขุ.ขุ. (พุทธ) มก. ๓๙/๒๑๕
๒.๑.๕ พระพุทธองค์ทรงพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีนักษัตรฤกษ์ดีเหมือน
พระจันทร์ ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ บานเหมือนต้นพระยารัง อันข่าย คือ พระรัศมีแวดวง มี
พระรัศมีรุ่งเรืองเหมือนภูเขาทอง มีพระรัศมีล้อมรอบด้านละวา มีรัศมีนับด้วยร้อยเหมือนอาทิตย์
มีพระพักตร์เหมือนทองคำ� เป็นพระพิชิตมาร เป็นเหมือนภูเขาอันให้เกิดความยินดี มีพระหฤทัยเต็ม
ด้วยพระกรุณา มีพระคุณปานดังสาคร มีพระเกียรติปรากฏแก่โลก เหมือนเขาสิเนรุซึ่งเป็นภูเขา
สูงสุด มีพระยศเป็นที่ปลื้มใจ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา เป็นนักปราชญ์.
ขุ.อป. (เถระ) มก. ๗๒/๔๐๗
๒.๑.๖ พระองค์เป็นเสมือนยาบำ�บัดโรค ทำ�ให้ยาพิษ คือ กิเลสพินาศ ประดับด้วยกลิ่น คือ
คุณเหมือนภูเขาคันธมาทน์.
ขุ.อป. (เถระ) ๗๒/๔๐๘
๒.๑.๗ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ให้ยินดีเหมือนพระจันทร์ แผดแสงเหมือน
พระอาทิตย์ ทำ�ให้เยือกเย็นเหมือนเมฆ เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร มีศีลเหมือนแผ่นดิน มี
สมาธิเหมือนขุนเขาหิมวันต์ มีปัญญาเหมือนอากาศ ไม่ข้องเหมือนกับลม ฉะนั้น.
ขุ.อป. (เถร) มก. ๗๒/๔๐๗
43

๒.๒ คุณประโยชน์
๒.๒.๑ ธรรมดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนทั้ง
หลาย เหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ส่องแสงสว่างแก่คนทั้งปวง.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๓๕
๒.๒.๒ พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะของสัตว์ทั้งหลาย ผู้จมลงในสาคร คือ สังสารวัฏอัน
เป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลางสมุทรเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายที่เรืออัปปางในมหาสมุทร ฉะนั้น.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๑๑๗
๒.๒.๓ พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว โลกก็ถึงความมืด ฉันใด เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่
เสด็จอุบัติ สัตวโลกก็ถึงความมืด ฉันนั้น
เมื่อพระอาทิตย์อุทัยย่อมขจัดความมืดได้ทุกเมื่อ ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ก็ขจัดความมืดได้ทุกเมื่อ ฉันนั้น.
ขุ.อป. (เถระ) มก. ๗๑/๑๖๙
๒.๒๓ ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าด้วยเหตุไร?
ตอบว่า ด้วยประสงค์จะบรรลุคุณวิเศษนานาประการ อุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ผลิผลอยู่
เนืองนิตย์ อันฝูงนกเข้าไปจับก็ด้วยประสงค์จะจิกกินผลที่มีรสอร่อย ฉะนั้น
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๗๕
๒.๒.๕ นกละป่าเล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ทม่ี ผี ลไม้ ฉันใด ข้าพระองค์กฉ็ นั นัน้ ละแล้วซึง่ พวก
พราหมณ์ที่มีปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัยสระใหญ่ที่มีน้ำ�มาก ฉันนั้น.
ขุ.จู. (เถระ) มก. ๖๗/๔๕๕
๒.๒.๖ นายหมู่ย่อมพาพวกให้ข้ามกันดาร คือ โจร ทุพภิกขภัย ที่ไม่มีน้ำ� ให้ถึงภูมิสถาน
ปลอดภัย ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมนำ�สัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดาร คือ ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และกันดาร คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ๑ ทิฏฐิ
กิเลส และทุจริต และที่รกชัฏ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ให้ถึงอมตนิพพาน
อันเป็นภูมิสถานปลอดภัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๔๘๗
๒.๒.๗ เมือ่ พระเจ้าจักรพรรดิบงั เกิดขึน้ แก้วมณีกบ็ งั เกิดขึน้ แก้วมณีนน้ั มีอยูแ่ ล้ว แต่บงั เกิด
ขึ้นเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดขึ้น ฉันใด ทางอันเกษมเมื่อผู้ส่งั สอนไม่มี ทางนั้นก็ลบเลือนหายไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นทางนัน้ ก็ทรงบอกให้แก่มนุษย์และเทวดาทัง้ หลาย ฉันนัน้ .
มิลิน. ๒๙๖


มานะ ความถือตัว
44

๒.๒.๘ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า พวกเดียรถีย์ ๑ กล่าวว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายัง


ทรงยินดีต่อการบูชา ก็ยังไม่เชื่อว่า ปรินิพพาน ยังเกี่ยวข้องกับโลก ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ปรินิพพานแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโลก หลุดพ้นไปจากภพทั้งปวงแล้ว การบูชาพระพุทธเจ้าก็ไม่เกิด
ประโยชน์
พระนาคเสนทูลตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงยินดีด้วยสักการะ เหมือนไฟกองใหญ่ไม่
ยินดีด้วยเชื้อ เหมือนแผ่นดินใหญ่ไม่ยินดีต่อพืชทั้งปวงที่อาศัยแผ่นดินเจริญงอกงาม พืชที่เจริญ
งอกงามโดยอาศัยแผ่นดินเหมือนการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ดับขันธปรินิพพานแล้วก็ยังมีผล.
มิลิน. ๑๕๖
๒.๒.๙ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มี
อยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนพืชที่ยังอ่อนไม่ได้น้ำ� จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป
ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่
พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้น.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๓๗๙

๒.๓ ความยิ่งใหญ่
๒.๓.๑ พระจันทร์ และพระอาทิตย์โคจรส่องทิศให้สว่างไสวมีประมาณเท่าใด โลกตั้งพันก็
เท่านั้น อำ�นาจของพระองค์ย่อมเป็นไปในพันโลกนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๕๓
๒.๓.๒ นับตั้งแต่พระสมณโคดมอุบัติขึ้นมา พวกเรานักบวชเปลือย กลายสภาพเป็นเหมือน
ฝูงหิ่งห้อยในยามดวงอาทิตย์อุทัย.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๕/๔๒
๒.๓.๓ พระเจ้ า จั ก รพรรดิ มี ห มู่ อำ � มาตย์ ห้ อ มล้ อ ม เสด็ จ เลี ย บแผ่ นดิ น อั น ไพศาลนี้ มี
มหาสมุทรเป็นอาณาเขตไปรอบๆ ได้ ฉันใด พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓๒ ละมัจจุราชได้แล้ว
พากันเข้าไปห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงชนะสงครามแล้ว ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๘๘


เดียรถีย์ นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

วิชชา ๓ ระลึกชาติได้ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ ทำ�อาสวะให้สิ้น
45

๒.๓.๔ พระผู้มีพระภาคอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ไพโรจน์ประหนึ่งท่อนทองอันห่อหุ้ม


ด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจเรือทองอันลอยลำ�อยู่ในท่ามกลางดงประทุมแดง เสมือนปราสาททองอัน
ล้อมรอบไปด้วยเวทีแก้วประพาฬ.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๒๖๗
๒.๓.๕ ท่านผู้เป็นพุทธะ ผู้พหูสูตแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งเกสรอันแวดล้อมไปด้วยกลีบ
ประดุจกรรณิกาอันแวดล้อมไปด้วยเกสร เสมือนพญาช้างฉัททันต์อันแวดล้อมไปด้วยช้างบริวารทั้ง
แปดพัน ปานว่าจอมหงส์ธตรัฐอันแวดล้อมไปด้วยหงส์บริวารเก้าแสน ดังว่าพระเจ้าจักรพรรดิอัน
แวดล้อมไปด้วยเหล่าเสนางคนิกร ประดุจท้าวสักกเทวราชอันแวดล้อมไปด้วยเหล่าทวยเทพ ปาน
ว่าท้าวมหาพรหมอันแวดล้อมไปด้วยคณะพรหม.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๒๖๘
๒.๓.๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุพันรูปแวดล้อมแล้วเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เสมือน
ท้าวสหัสนัยน์เทวราชอันหมู่เทพห้อมล้อมแล้ว เสมือนท้าวมหาพรหมอันหมู่พรหมห้อมล้อมแล้ว.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๕๕๖
๒.๓.๗ เราเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าท้าวสักกะ ก็ท้าวสักกะนั่นเป็นคิลานุปัฏฐากของเราเช่นเดียว
กับสามเณรผู้เป็นกัปปิยการก๑.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๒๗
๒.๓.๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปทางใดๆ พราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคม และชาวชนบท
ก็จักหลั่งไหลไปทางนั้นๆ เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำ�ก็ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม.
อัง.ปัญจก. (ทั่วไป) มก. ๓๖/๕๗
๒.๓.๙ พึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้า
จักรพรรดิ.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๓๑๐
๒.๓.๑๐ หมื่นโลกธาตุนี้ ธารไว้ได้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว ธารไว้ได้ซึ่ง
พระคุณของพระตถาคตองค์เดียว ถ้าองค์ที่สองพึงเสด็จอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ก็พึงธารไว้ไม่ได้ พึง
หวั่นไหว สั่นคลอน น้อมไป โอนไป เอียงไป เรี่ยราย กระจัดกระจาย พินาศไปไม่พึงตั้งอยู่ได้เปรียบ
เสมือนเรือที่รับบุรุษไว้ได้คนเดียว เมื่อบุรุษคนหนึ่งขึ้นไป เรือพึงตั้งอยู่ได้พอ ถ้าบุรุษคนที่สองขึ้นสู่
เรือลำ�นั้น เรือนั้นจะพึงธารบุรุษทั้งสองนั้นไว้ได้หรือ.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๕/๒๕๓


กัปปิยการก ลูกศิษย์พระ
46

๒.๓.๑๑ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่สองพึงอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ก็ธารไว้ไม่ได้ ฯลฯ


ไม่พึงตั้งอยู่ได้ เปรียบเสมือนบุรุษผู้มีความสุขพึงบริโภคโภชนะตามความต้องการ คือ เมื่อหิวก็
บริโภคเต็มอิ่ม (แค่คอ) ของบุรุษนั้น.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๕/๒๕๔
๒.๓.๑๒ หมื่นโลกธาตุนี้ธารพระพุทธเจ้าไว้ได้พระองค์เดียว ทั้งทรงคุณของพระตถาคตไว้ได้
พระองค์เดียวเท่านั้น
พระนาคเสนถวายพระพรแก่พระยามิลินท์ ว่า มหาบพิตร ในโลกนี้เกวียน ๒ เล่ม บรรจุ
ด้วยรัตนะจนเต็มเสมอปาก คนทั้งหลายก็พากันขนเอารัตนะของเกวียนเล่มหนึ่งมาเกลี่ยไว้ใน
เกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะพึงธารรัตนะของเกวียนทั้งสองเล่มนั้นไว้ได้หรือไม่
พระยามิลินท์ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ เกวียนนั้นย่อมธารไว้ไม่ได้แน่ ดุมของเกวียนนั้นพึงไหว
บ้าง ลำ�ของเกวียนนั้นพึงหักไปบ้าง เพลาของเกวียนนั้นพึงหักไปบ้าง
พระนาคเสนทูลถามว่า เกวียนย่อมหักไปด้วยการขนรัตนะที่มากเกินไปใช่หรือไม่
พระยามิลินตรัสตอบว่า ใช่แล้ว ท่านผู้เจริญ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาบพิตร ข้อนี้ก็อุปไมยฉันนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหวด้วย
ธรรมะที่หนักยิ่ง.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๕/๒๕๔
๒.๓.๑๓ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์พึงเสด็จอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน การทะเลาะ
วิ ว าทแม้ ข องบริ ษั ท พึ ง บั ง เกิ ด ขึ้ น มนุ ษ ย์ ทั้ ง หลายก็ จ ะเป็ น สองฝั ก สองฝ่ า ย โดยกล่ า วว่ า
พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา
มหาบพิตร เปรียบเสมือนบริษัทของอำ�มาตย์ผู้มีกำ�ลังสองคน พึงเกิดการวิวาทกัน คนเหล่า
นั้นก็จะเป็นสองฝักสองฝ่าย โดยกล่าวว่า อำ�มาตย์ของพวกท่าน อำ�มาตย์ของพวกเรา.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๕/๒๕๕
๒.๓.๑๔ แผ่นดินใหญ่นั้นมีผืนเดียวเท่านั้น สาครใหญ่มีสายเดียวเท่านั้น ภูเขาสิเนรุยอดแห่ง
ภูเขาใหญ่ประเสริฐที่สุดก็มีลูกเดียวเท่านั้น อากาศใหญ่มีแห่งเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะผู้ใหญ่มีองค์
เดียวเท่านั้น พระพรหมผู้ใหญ่มีองค์เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ใหญ่ก็มี
พระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นก็ไม่มีโอกาสแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์
อื่น ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ย่อมอุบัติขึ้นในโลก.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๕/๒๕๖
47

๒.๓.๑๕ พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้าปราศจากภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำ�ลัง


ของมาร เหมือนพระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยงอยู่ท่ามกลางฝูงมฤค ฉะนั้น.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๗๒๓
๒.๓.๑๖ พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงในเวลากลางวัน พระจันทร์ย่อมรุ่งเรืองในเวลากลางคืน
กษัตริย์ทรงเครื่องรบแล้วย่อมรุ่งเรือง พราหมณ์ผู้มีความเพ่งย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยเดชตลอดกลางวัน และกลางคืน.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๔๑๖
๒.๓.๑๗ ราชสีห์ เขาเรียกว่าสีหะเพราะอดทน และเพราะล่าเหยื่อ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉัน
นั้น เขาเรียกว่า สีหะ เพราะทรงอดทนโลกธรรมทั้งหลาย และเพราะทรงกำ�จัดลัทธิอื่น การบันลือ
ของสีหะที่ท่านกล่าวอย่างนี้ เรียกว่า สีหนาท.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๒๒
๒.๓.๑๘ พระตถาคตทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็เหมือนราชสีห์ เวลาที่เสด็จออกจาก
พระคันธกุฎีก็เหมือนราชสีห์ออกจากถ้�ำ ทองที่อยู่อาศัย เวลาเสด็จเข้าไปธรรมสภาก็เหมือนราชสีห์
สะบัดตัว การที่ทรงเหลียวดูบริษัทก็เหมือนการเหลียวดูทิศ เวลาทรงแสดงธรรมก็เหมือนการแผด
สีหนาท การเสด็จไปบำ�ราบลัทธิอื่นก็เหมือนการออกหาเหยื่อ.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๑๒๖
๒.๓.๑๙ แม้ไม่ได้เห็นมหาสมุทรก็รู้ว่ามหาสมุทรกว้างใหญ่ เพราะแม่น้ำ�เป็นอันมากไหลไปสู่
มหาสมุทร แต่ไม่ได้ทำ�ให้มหาสมุทรพร่องหรือล้น ฉันใด แม้ไม่เคยเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ได้
เห็นพระสาวกผู้มีอภิญญา๑ เป็นพระอรหันต์ ก็รู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นเยี่ยมไม่มีใครเทียมทาน.
มิลิน. ๑๐๙
๒.๓.๒๐ ตัวเลขยังปรากฏอยู่ อาจารย์ผู้คิดเลขย่อมปรากฏด้วยชื่อเสียง ฉันใด ธรรมที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ย่อมแสดงถึงความรู้อันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครเทียม.
มิลิน. ๑๐๙
๒.๓.๒๑ ภูเขาสตบรรพตใหญ่กว่าภูเขาทั้งหลายในป่าหิมพานต์ ดวงอาทิตย์ประเสริฐกว่าสิ่ง
ทัง้ หลายในอากาศ มหาสมุทรใหญ่กว่าแม่นำ�้ ทัง้ หลาย ดวงจันทร์ดกี ว่าดวงดาวทัง้ หลาย พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเลิศกว่ามนุษย์ทั้งหลาย.
มิลิน. ๑๔๖


อภิญญา ความรู้ยิ่ง
48

๒.๓.๒๒ ในหมู่มนุษย์ผู้หนึ่งมีชาติตระกูลสูง มีทรัพย์ มีวิชา มีศิลปะ แกล้วกล้าเฉียบแหลม


มีคุณต่างๆ กัน แต่พระราชาย่อมสูงกว่าบุรุษทั้งหลาย ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเป็น
ผู้ล้ำ�เลิศประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๗๒
๒.๓.๒๓ คลื่นตั้งขึ้นในน้ำ�ลึก ย่อมล่วงเลยฝั่งไปไม่ได้ คลื่นเหล่านั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อมเป็น
ระลอกเล็กน้อยละลายหายไป ฉันใด ชนในโลกเป็นส่วนมากที่เป็นเดียรถีย์ ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิต่างๆ กัน
ต้องการจะข้ามธรรมของพระองค์ แต่ก็ไม่ล่วงเลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้.
ขุ.อป. (เถระ) มก. ๗๐/๔๑๙
๒.๓.๒๔ ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำ�บาปกรรม บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้น
ผู้ใดตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทรด้วยยาพิษเป็นหม้อๆ ผู้นั้นไม่ควรประทุษร้ายด้วยยาพิษนั้น เพราะ
มหาสมุทรเป็นสิ่งที่น่ากลัว ฉันใด ผู้ใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดีแล้ว มีพระทัยสงบด้วยกล่าวติ
เตียน การกล่าวติเตียนในตถาคตนั้นฟังไม่ขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๙/๓๑๔
๒.๓.๒๕ ในคืนก่อนวันตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า
๑. แผ่นดินเป็นที่นอนใหญ่ของตถาคต เป็นนิมิตว่า ตถาคตได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณที่ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า
๒. หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภี (สะดือ) ของตถาคตจรดท้องฟ้าตั้งอยู่ เป็นนิมิตว่า ตถาคตได้
ตรัสรู้อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วประกาศด้วยดี ตลอดมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
๓. หมู่หนอนมีสีขาว ศีรษะสีดำ� ไต่ขึ้นเท้าของตถาคต ปกปิดถึงชานุมณฑล (เข่า) เป็นนิมิต
ว่า คฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำ�นวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต
๔. นก ๔ เหล่า มีสีต่างๆ บินมาจากทิศทั้งสี่ ตกลงมาแทบเท้าของตถาคต แล้วกลายเป็นสี
ขาวทุกตัว เป็นนิมิตว่า วรรณะทั้งสี่ออกบวชแล้วทำ�ให้แจ้งวิมุตติอันยอดเยี่ยม
๕. ตถาคตทรงดำ�เนินไปบนภูเขาคูถลูกใหญ่ แต่ไม่แปดเปื้อน เป็นนิมิตว่า ตถาคตได้ปัจจัย ๔
แล้วไม่ลุ่มหลง ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเปลื้องตนออกบริโภค
เมื่อพระโพธิสัตว์ใคร่ครวญแล้ว จึงทรงกระทำ�สันนิษฐานว่า วันนี้พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๔๓๑
๒.๓.๒๖ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ไม่เคยเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเชื่อได้
อย่างไรว่า มีจริง
49

พระนาคเสนตอบโดยอุปมาอุปไมยว่า เหมือนสะดือทะเล ไม่ได้เห็นแต่รวู้ า่ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ก็เช่นกัน ไม่เคยเห็นแต่รู้ว่ามี.
มิลิน. ๑๐๘
๒.๓.๒๗ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ชี้ได้
ไหมว่าอยู่ที่ไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า เปลวไฟทีด่ บั แล้ว ไม่อาจชีไ้ ด้วา่ อยูท่ ไ่ี หน ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทีป่ รินพิ พานแล้วก็ไม่อาจชีไ้ ด้ ฉันนัน้ อาจชีไ้ ด้เพียงพระธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านัน้ .
มิลิน. ๑๑๓
๒.๔ คุณวิเศษ
๒.๔.๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปกปิดพุทธานุภาพนั้นทั้งหมดไว้ในกลีบจีวร ทรงถือบาตร
และจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จไปโดยที่ไม่มีใครรู้จัก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญที่ถูกปิดบังไว้ใน
กลีบเมฆ.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๔
๒.๔.๒ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมไม่พลาด ย่อมไม่ขัดข้องต่อ
เนื่องกัน ปุพเพนิวาสญาณ (การระลึกชาติ) ย่อมแล่นไปไม่ติดขัด ดุจลูกศรเหล็กแล่นไปฉับพลันใน
กองใบไม้ที่ผุ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๗๑
๒.๔.๓ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาหินล้วน พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ ฉันใด ข้าแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็ฉันนั้น เสด็จขึ้นสู่
ปราสาทสำ�เร็จด้วยธรรม ทรงพิจารณา ทรงใคร่ครวญ ทรงตรวจตราหมู่ชนผู้เกลือกกลั้วไปด้วย
ความโศก ถูกชาติชราครอบงำ�.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๕๐
๒.๔.๔ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น มองดูพื้นที่ดิน ไม่ปรากฏแนวพื้นที่เพาะปลูก ไม่
ปรากฏกระท่อม ไม่ปรากฏพวกมนุษย์ที่นอนในกระท่อมนั้น แต่ปรากฏเพียงเปลวไฟในกระท่อมทั้ง
หลายเท่านั้น ฉันใด เมื่อพระตถาคตเสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาททรงตรวจดูหมู่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายที่ไม่
ได้ทำ�ความดี แม้นั่ง ณ ข้างพระชานุ (เข่า) เบื้องขวาในที่อยู่แห่งเดียวกัน ก็ฉันนั้น ไม่มาถึงคลอง
แห่งพุทธจักษุ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๕๐
50

๒.๔.๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายพระองค์บนฝั่งข้างนี้ของแม่น้ำ�คงคา แล้วประทับยืน


เฉพาะอยูบ่ นฝัง่ ข้างโน้น เหมือนบุรษุ ผูม้ กี �ำ ลังพึงเหยียดแขนทีค่ ไู้ ว้ออกไป หรือคูแ้ ขนทีเ่ หยียดไว้เข้ามา.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๒๕๙
๒.๔.๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระนคร คือ ปรินิพพาน เสด็จเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้
ยี่สิบสี่แสนโกฏิ (สิบล้าน) แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนจะไปต่างประเทศ กอดคนที่
เป็นญาติ ฉะนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๔๔๓
๒.๔.๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ของสัตว์
เหล่านั้นๆ ผู้เห็นธรรมที่ควรรู้ทั้งหมด เหมือนมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๒๐
๒.๔.๘ ปลา และเต่าทุกชนิด โดยที่สุดรวมถึงปลามิติมิงคละ ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร
ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๓๘๑
๒.๔.๙ พระองค์ทรงตรวจดูในพระเชตวันวิหารด้วยพระจักษุอันเป็นทิพย์ ทรงเห็นภิกษุเหล่า
นั้น ประหนึ่งโจรอันเกิดขึ้นในภายในนิเวศน์ของพระเจ้าจักรพรรดิ.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๔๐๗
๒.๔.๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนชาวประมง พระธรรมเทศนาเปรียบเหมือนข่าย
หมื่นโลกธาตุเปรียบเหมือนน้ำ�น้อย สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ ๖๒ เปรียบเหมือนสัตว์ใหญ่
กิริยาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ความที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิทั้งหมดตกอยู่ภายในข่าย
คือ พระธรรมเทศนาเปรียบเหมือนกิริยาที่ชาวประมงนั้น ยืนแลดูอยู่ริมฝั่งเห็นสัตว์ใหญ่ๆ อยู่
ภายในข่าย ฉะนั้น.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๒๘๐
๒.๕ การกำ�จัดกิเลส
๒.๕.๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำ�ให้ไม่มีที่ตั้งดุจ
ตาลยอดด้วน.
ขุ.จู. (ทั่วไป) มก. ๖๗/๖๔
๒.๕.๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช ทรงครอบงำ�กามทั้งหลาย
แล้วดำ�เนินไป เหมือนพระอาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี.
ขุ.จู. (ทั่วไป) มก. ๖๗/๒๗๔
51

๒.๕.๓ พระองค์ทรงละสังขารทุกอย่างเหมือนงูลอกคราบ เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วก็ดับ


ขันธปรินิพพาน.
ขุ.พุทธ. (พุทธ) มก. ๗๓/๔๒๙
๒.๕.๔ เมื่อทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว หมื่นโลกธาตุก็ไหวด้วยอานุภาพพระสัพ-
พัญญุตญาณ๑ นั้น พึงทราบเหมือนการกำ�จัดธุลีในตัวของราชสีห์.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๑๒๕
๒.๕.๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำ�ลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในสงคราม
ทำ�ลายเกราะ และทรงเป็นผู้ยินดีภายใน ทรงเป็นผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่นแล้ว.
สัง.ม. (อรรถ) มก. ๓๑/๑๓๖
๒.๕.๖ ความโกรธจะไม่เกิดขึ้นในพระพุทธเจ้า เหมือนไฟสถิตอยู่ในน้�ำ ไม่ได้ เหมือนพืชงอก
บนหินไม่ได้ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๑/๒๙๘
๒.๕.๗ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่กระเทือนพระหฤทัย เหมือนแผ่นดินอันไม่กระเทือนสาคร
แม้นับจำ�นวนน้ำ�ไม่ได้ก็ไม่กระเพื่อม และแม้อากาศอันไม่มีที่สุดก็ไม่ปั่นป่วน.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๑/๒๙๘
๒.๕.๘ พระอาทิตย์มีแสงสว่างประกอบด้วยเดช คือ รัศมี ส่องแผ่ปกคลุมครอบปฐพีให้ร้อน
เลื่อนลอยไปในอากาศกำ�จัดความมืด ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช คือ พระญาณ เป็น
เครื่องกำ�หนดรู้ซึ่งวัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ� ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรงกำ�จัด ทรงย่ำ�ยีซึ่ง
กิเลสกาม ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.จู. (ทั่วไป) มก. ๖๗/๒๗๕
๒.๕.๙ ดอกบัวเกิดในน้� ำ ย่อมไพโรจน์อยูท่ า่ มกลางน้�
ำ มีเกสรบริสทุ ธิไ์ ม่ตดิ ด้วยน้�
ำ ฉันใด ข้าแต่
พระมหาวีรเจ้า เป็นมหามุนเี กิดในโลกแต่ไม่ตดิ โลก เหมือนดอกบัวไม่ตดิ น้�
ำ ฉะนัน้ .
ขุ.อป. (เถระ) มก. ๗๐/๔๑๙
๒.๕.๑๐ พระอาทิตย์อุทัยย่อมขจัดความมืดได้ทุกเมื่อ ฉันใด พระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอัน
ประเสริฐสุด ก็ขจัดความมืดได้ทุกเมื่อ ฉันนั้น.
ขุ.อป. (เถระ) มก. ๗๑/๑๖๙

๒.๖ พุทธลักษณะ
๒.๖.๑ พระกุมารไม่เป็นเหมือนคนอื่น เมื่อคนอื่นวางเท้าลงบนแผ่นดิน ปลายฝ่าเท้า ส้นเท้า


พระสัพพัญญุตญาณ พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวงทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
52

หรือข้างเท้าย่อมจดก่อน ก็แต่ว่ายังปรากฏช่องในตอนกลาง แม้เมื่อยกขึ้น ส่วนหนึ่งในปลายฝ่าเท้า


เป็นต้นนั่นแหละ ก็ยกขึ้นก่อน
ฝ่าพระบาททั้งสิ้นของพระกุมารนั้นย่อมจรดพื้นโดยทรงเหยียบพระบาทครั้งหนึ่ง ดุจพื้น
รองเท้าทองคำ� ฉะนั้น ทรงยกพระบาทขึ้นจากพื้นก็โดยทำ�นองเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระกุมารนี้จึง
เป็นผู้มีพระบาทเรียบเสมอกัน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๖
๒.๖.๒ ส้นพระบาทของพระมหาบุรุษไม่เป็นเหมือนปลายเท้าอันยาวของคนอื่น อันลำ�แข้ง
ตั้งอยู่ส้นเท้าเป็นเหมือนตัดส้นเท้าตั้งอยู่ ฉะนั้น แต่ของพระมหาบุรุษ พระบาทมี ๔ ส่วน ปลาย
พระบาทมี ๒ ส่วน ลำ�พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓ ส้นพระบาทในส่วนที่ ๔ เป็นเช่นกับลูกคลีหนังทำ�
ด้วยผ้ากัมพลสีแดง ดุจม้วนด้วยปลายเข็มแล้วตั้งไว้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๗
๒.๖.๓ พระมหาบุรุษมีนิ้วพระหัตถ์ และพระบาทยาวเหมือนของวานร ข้างโคนใหญ่แล้ว
เรียวไปโดยลำ�ดับถึงปลายนิ้วเช่นเดียวกับแท่งหรดาลที่ขยำ�ด้วยน้ำ�มันยางแล้วปั้นไว้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๗
๒.๖.๔ พระมหาบุรุษมีนิ้วพระหัตถ์ ๔ นิ้ว พระบาท ๔ นิ้วชิดสนิทเป็นอันเดียวกัน ก็เพราะ
พระองคุลีทั้งหลายชิดสนิทเป็นอันเดียวกัน พระองคุลีทั้งหลายจึงติดกันและกัน มีลักษณะเป็นข้าว
เหนียวตั้งอยู่ พระหัตถ์ และพระบาทของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นเช่นกับหน้าต่างตาข่ายอันช่างผู้ฉลาด
ดีประกอบแล้ว.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๘
๒.๖.๕ พระบาทของพระโพธิสัตว์เหมือนสังข์คว่ำ� จริงอยู่ ข้อเท้าของคนอื่นอยู่ที่หลังเท้า
เพราะฉะนั้น เท้าของคนเหล่านั้นจึงติดกันเหมือนติดด้วยสลักกลับกลอกไม่ได้ตามสะดวก เมื่อเดิน
ไปฝ่าเท้าไม่ปรากฏ แต่ข้อพระบาทของพระมหาบุรุษขึ้นไปตั้งอยู่เบื้องบน
เพราะฉะนั้น พระวรกายท่อนบนของพระมหาบุรุษ ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปจึงมิได้หวั่นไหวเลย
ดุจพระสุวรรณปฏิมาประดิษฐานอยู่ในเรือ พระวรกายท่อนเบื้องล่างย่อมไหว พระบาทกลอกกลับ
ได้สะดวก.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๘
๒.๖.๖ พระมหาบุรุษมีพระชงฆ์ (แข้ง) บริบูรณ์ด้วยหุ้มพระมังสะ (เนื้อ) เต็ม... ประกอบด้วย
พระชงฆ์เช่นกับท้องข้าวสาลีท้องข้าวเหนียว.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๘
53

๒.๖.๗ พระมหาบุรุษมีพระคุยหะ (องคชาต) ซ่อนอยู่ในฝัก ดุจฝักบัวทอง ดุจคุยหะแห่งโค


และช้าง เป็นต้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๙
๒.๖.๘ พระมหาบุรุษมีพระวรกายตรงเหมือนกายพรหม ทรงดำ�เนินพระวรกายตรงทีเดียว มี
ประมาณเท่าส่วนสูง เป็นดุจเสาทองที่ยกขึ้นในเทพนคร.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๐
๒.๖.๙ พระมหาบุรุษมีพระมังสะฟูบริบูรณ์ด้วยดีในที่ ๗ สถาน คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง
หลังพระบาททั้งสอง จะงอยพระอังสา (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ) แต่ของคนเหล่าอื่นที่หลังมือ
และหลังเท้า เป็นต้น ปรากฏเส้นเลือดเป็นตาข่าย ที่จะงอยบ่า และคอปรากฏปลายกระดูก มนุษย์
เหล่านั้นย่อมปรากฏเหมือนเปรต พระมหาบุรุษไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น ก็พระมหาบุรุษมีพระศอ
เช่นกับกลองทองคำ�ที่เขากลึง หลังพระหัตถ์มีเส้นเลือดเป็นตาข่ายซ่อนไว้ เพราะมีพระมังสะฟู
บริบูรณ์ในที่ ๗ สถาน ย่อมปรากฏเหมือนรูปศิลา และรูปปั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๐
๒.๖.๑๐ พระมหาบุรุษมีกึ่งกายท่อนบน เหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราชสีห์.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๐
๒.๖.๑๑ พระมหาบุรุษมีร่องพระปฤษฎางค์ (หลัง) เต็ม อันที่จริงหลังของคนพวกอื่นบุ๋ม...
แต่ของพระมหาบุรุษ พื้นพระปฤษฎางค์ตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว) จนถึงพระศอขึ้นไปปิดพระ
ปฤษฎางค์ (หลัง) ตั้งอยู่ เหมือนแผ่นกระดานทองที่ยกขึ้นตั้งไว้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๑
๒.๖.๑๒ พระมหาบุรุษมีปริมณฑลดุจต้นนิโครธ อธิบายว่า พระมหาบุรุษแม้โดยพระวรกาย
แม้โดยพยาม (ระยะวาหนึ่ง) ประมาณเท่ากัน ดุจต้นนิโครธมีลำ�ต้น และกิ่งเสมอกัน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๑
๒.๖.๑๓ ลำ�พระศอของพระมหาบุรุษเป็นเช่นกับกลองทองที่เขากลึงดีแล้ว ในเวลาตรัส
เอ็นเป็นตาข่ายไม่ปรากฏ พระสุรเสียงดังก้องดุจเสียงเมฆกระหึ่ม.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๒
๒.๖.๑๔ พระมหาบุรุษมีเส้นประสาทสำ�หรับนำ�รสอาหารประมาณ ๗,๐๐๐ เส้น มีปลายขึ้น
เบื้องบนแล้วรวมเข้าที่ลำ�พระศอนั่นเอง พระกระยาหารแม้เพียงเมล็ดงาตั้งอยู่ ณ ปลายพระชิวหา
ย่อมแผ่ไปทั่วพระวรกายทุกส่วน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๒
54

๒.๖.๑๕ ราชสีห์มีคางท่อนล่างบริบูรณ์ท่อนบนไม่บริบูรณ์ แต่พระมหาบุรุษบริบูรณ์แม้ทั้ง


สอง ดุจคางเบื้องล่างของราชสีห์ เป็นเช่นกับพระจันทร์ในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ�.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๒
๒.๖.๑๖ คนเหล่าอื่น แม้มีฟันครบบริบูรณ์ก็มี ๓๒ ซี่ แต่พระกุมารนี้จักมี ๔๐ องค์
อนึ่งฟันของคนเหล่าอื่น บางซี่สูง บางซี่ต่ำ� บางซี่ไม่เสมอกัน แต่ของพระกุมารนี้พระทนต์
เสมอกันดุจเครื่องหุ้มสังข์ที่ช่างเหล็กตัด ฉะนั้น ฟันของพวกคนอื่นห่างเหมือนฟันจระเข้ เมื่อเคี้ยว
ปลา และเนื้อย่อมเต็มระหว่างฟันหมด แต่พระทนต์ของพระกุมารนี้ จักไม่ห่าง ดุจแถวแก้ววิเชียรที่
เขาตั้งไว้บนแผ่นกระดานทอง.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๓
๓.๖.๑๗ พระกุมารนี้มีพระทาฒะ (เขี้ยว) ขาวสะอาด ประกอบด้วยรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่าดาว
ประกายพฤกษ์.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๓
๒.๖.๑๘ พระชิวหาของพระมหาบุรุษอ่อน ยาว ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยสี เพื่อปลดเปลื้องความ
สงสั ย ของผู้มีมาเพื่อแสวงหาลักษณะนั้ น เพราะพระชิ ว หาอ่ อ นจึ ง ทรงแลบพระชิ ว หานั้ น ดุจ
ของแข็งที่สะอาดแล้วลูบช่องพระนาสิกทั้งสองได้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๓
๒.๖.๑๙ พระกุมารนี้จักทรงประกอบด้วยเสียงเช่นกับเสียงของท้าวมหาพรหม มีเสียงแจ่มใส
เพราะไม่กลั้วด้วยน้ำ�ดี และเสมหะ พระกุมารมีพระสุรเสียงก้องไพเราะดุจเสียงนกการเวกอันน่า
ชื่นชม.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๔
๒.๖.๒๐ พระกุมารมีพระเนตรไม่ดำ�ทั้งหมด พระเนตรของพระกุมารนั้นประกอบด้วยสีเขียว
บริสุทธิ์ยิ่งนัก เช่นกับดอกสามหาวในที่ที่ควรเขียว
ในที่ที่ควรเหลืองก็มีสีเหลืองเช่นกับดอกกรรณิกา
ในที่ที่ควรแดงก็มีสีแดงเช่นกับดอกชบา
ในที่ที่ควรขาวก็มีเช่นกับดาวประกายพฤกษ์
ในที่ควรดำ�ก็มีสีดำ�เช่นกับลูกประคำ�ดีควาย
พระเนตรย่อมปรากฏเช่นกับสีหบัญชรแก้วอันเผยออกแล้วในวิมานทอง.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๔
55

๒.๖.๒๑ พระกุมารมีดวงเนตรเช่นกับพระโคแดงอ่อนซึ่งเกิดได้ครู่เดียว จริงอยู่ ดวงตาของ


คนอื่นไม่บริบูรณ์ ประกอบด้วยตาถลนออกมาบ้าง ลึกลงไปบ้าง เช่นกับตาสัตว์มีช้าง และหนู
เป็นต้น แต่พระเนตรของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยความอ่อนสนิท ดำ�ละเอียดดุจแก้วมณีกลมที่เขา
ล้างแล้วขัดตั้งไว้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๔
๒.๖.๒๒ พื้นพระมังสะของพระมหาบุรุษนูนขึ้นตั้งแต่หมวกพระกรรณ (หู) เบื้องขวาปกพระ
นลาฏ (หน้าผาก) ทั้งสิ้นเต็มบริบูรณ์ไปจรดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย งดงามเหมือนแผ่นอุณหิส
(มงกุฏ) เครื่องประดับของพระราชา
ในนัยแรก พระกุมารมีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
ในนัยที่สอง พระกุมารมีพระเศียรเป็นปริมณฑลในที่ทั้งปวงดุจอุณหิส.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๒๕
๒.๖.๒๓ พระวรกายแห่งพระผู้มีพระภาคอันรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ (ลักษณะปลีกย่อย)
๘๐ ประการ พระรัศมีโดยปรกติประมาณวาหนึ่ง และวรลักษณ์ ๓๒ ประการ ก็ไพโรจน์เพียงพื้น
อัมพรอันพร่างพราวด้วยดวงดาว ประหนึ่งดอกบัวอันบานสะพรั่ง ดุจดังปาริฉัตรประมาณ ๑๐๐
โยชน์ ผลิบานเต็มต้น.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๒๖๗
๒.๖.๒๔ พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอย่างนี้ รุ่งโรจน์เหมือนสระที่เต็มไป
ด้วยดอกบัวกำ�ลังแย้ม เหมือนต้นปาริฉัตรที่มีดอกบานสะพรั่ง และเหมือนท้องฟ้าที่ระยิบระยับไป
ด้วยดาว และพยับแดด.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๔๓๕
๒.๖.๒๕ ช้างตัวประเสริฐเมื่อประสงค์จะแลดูส่วนข้างหลัง จึงหมุนร่างกายทั้งสิ้นนั่นเทียว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พึงหมุนไปเช่นนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถอยกลับพระสรีระ
ทั้งสิ้นเทียวชำ�เลืองดู ดุจพระพุทธรูปทองคำ�ที่หมุนไปด้วยเครื่องยนต์.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๔๘๒
๒.๖.๒๖ พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ� ด้วยเสมหะ ด้วย
เลือด ด้วยน้ำ�เหลือง ด้วยของไม่สะอาดใดๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาวาง
ลงบนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่เปื้อนแก้วมณี.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๔๔
56

๒.๖.๒๗ เบ้าพระเนตรทั้งสองข้างของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีสีแดงดี น่าดู น่าชม เหมือนสี


ปีกแมลงทับทิมทอง.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๓๗๘
๒.๖.๒๘ พระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือน
ต้นปาริฉัตร ดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัวที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว เหมือนเสาระเนียด
ทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างามระยับด้วยดวงดาว.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๑๒๑
๒.๖.๒๙ พระโพธิสัตว์ประทับนั่งสำ�รวจโลกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่ มีพระสรีระงามเสมือน
ยอดภูเขาทองซึ่งเรืองรองด้วยแสงสนธยา.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๒๘
๒.๖.๓๐ พระชินเจ้าทรงมีอาจาระน่าชม ดังพระยาช้างสง่างามในอาการเสด็จ พระพุทธ
ดำ�เนินงามนัก ทรงยังมนุษยโลกกับทั้งเทวโลกให้ร่าเริงสง่างาม ดังพระยาอุสภราช ดังไกรสรราช
สีห์ที่เที่ยวไปทั้งสี่ทิศ ทรงยังสัตว์เป็นอันมากให้ยินดี เสด็จถึงบุรีอันประเสริฐสุด.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๒๐/๖๑
๒.๖.๓๑ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ธรรมดาบุตรย่อมคล้ายมารดา บิดา
พระพุทธมารดา และพระพุทธบิดา ได้ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ไม่ ดอกบัวเกิดจากโคลน และน้ำ� สี กลิ่น รส ของดอกบัวไม่
เหมือนกับโคลน และน้ำ�.
มิลิน.๑๑๖
๒.๗ พระรัศมี
๒.๗.๑ อชิตพราหมณ์ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เพียงดังว่า ดวงอาทิตย์มีรัศมีฉายออก
ไป และเหมือนดวงจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญ.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๗
๒.๗.๒ พระภาคเจ้ารุ่งเรืองอยู่ ณ บนนภากาศ เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า ฉะนั้น.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๑๓๔
๒.๗.๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุปมาดังพระจันทร์ ย่อมปรากฏเหมือนประทับยืนอยู่
ตรงหน้าแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง เหมือนพระจันทร์ลอยอยู่แล้วในกลางหาว ย่อม
ปรากฏแก่ปวงสัตว์ว่า พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๙๙
57

๒.๗.๔ พระจันทร์และพระอาทิตย์ปราศจากมลทิน ย่อมแจ่มกระจ่างในท้องฟ้า ซึ่งปราศ


จากเมฆฝน ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระรัศมีซ่านออกแต่พระสรีรกาย ผู้เป็นมหามุนี พระองค์ย่อม
รุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกด้วยพระยศ ฉันนั้น.
สัง.ส. (เถระ) มก. ๒๕/๓๔๗
๒.๗.๕ พระรัศมีมีวรรณะ ๖ แต่พระสรีระของพระบรมศาสดาทำ�ให้กิ่งคาคบ และใบแห่งต้น
นิโครธได้เป็นราวกับว่าสำ�เร็จด้วยทองคำ�.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๓๐๙
๒.๘ การแสดงธรรม การฝึกคน
๒.๘.๑ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่ควํ่า เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป.
ม.ม. (ทั่วไป) มก. ๒๐/๘๘
๒.๘.๒ ทรงเริ่มอนุปุพพิกถาเพื่อแสดงธรรม ดุจจับต้นหว้าใหญ่สั่น และดุจยังฝน คือ อมต
ธรรมให้ตกอยู่.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๙๙
๒.๘.๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเวลาแล้ว เสด็จออกจากพระคันธกุฎี ตรงไปยังพุทธ
อาสน์อันประเสริฐ ทรงแสดงธรรม ไม่ให้เวลาล่วงผ่านไป เหมือนบุรุษผู้ถือเอาน้ำ�มันที่หุงไว้สำ�หรับ
ประกอบยา ทรงส่งบริษัทไปด้วยจิตที่โน้มไปในวิเวก.
ม.อุ. (อรรถ) มก. ๒๓/๓๑
๒.๘.๔ บุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด บุคคลฟังธรรม
ของพระโคดมพระองค์นั้น ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น ฉันนั้น.
อัง.ปัญจก. (ทั่วไป) มก. ๓๖/๔๒๒
๒.๘.๕ เราได้ฟังพระวาจาอันเป็นสุภาษิตของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ จึง
ได้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธรรมอันละเอียด เหมือนบุคคลยิงปลายขนทรายด้วยลูกศร ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๑๗๕
๒.๘.๖ ผู้มีปัญญาย่อมดื่มด่ำ�คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นธรรมทำ�ผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มี
โอชะ เหมือนคนเดินทางไกลดื่มน้ำ�ฝน ฉะนั้น.
ขุ.เถรี. (ทั่วไป) มก. ๕๔/๑๐๒
๒.๘.๗ คนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้วเริ่มต้นทีเดียว ให้ทำ�สิ่งอันควรทำ�ใน
บังเหียน ต่อไปจึงให้ทำ�สิ่งอันควรให้ทำ�ยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด
58

ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้ว เริ่มต้นย่อมแนะนำ�


อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำ�รวมด้วยปาฏิโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๑๔๔
๒.๘.๘ หมอรักษาบาดแผล เมื่อจะหุงน้ำ�มัน หรือเคี่ยวน้ำ�อ้อย ก็รอเวลาให้น้ำ�มันอ่อนตัว
และน้ำ�อ้อยแข็งตัวได้ที่ ไม่ปล่อยให้ไหม้ แล้วยกลงเสีย ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ทรงรอ
ให้ญาณของสัตว์แก่กล้าเสียก่อน แม้จะทราบว่า ญาณของผู้นี้จักแก่กล้าด้วยเวลาเพียงเท่านี้.
สัง.นิ. (อรรถ) มก. ๒๖/๘๓
๒.๘.๙ แม่ไก่ทราบว่า ลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว จึงจิกกระเปาะฟองไข่ ฉันใด พระบรมศาสดาก็
ฉันนั้น ทรงทราบว่า ญาณของภิกษุนั้นแก่เต็มที่แล้ว ก็ทรงแผ่แสงสว่างไป แล้วทำ�ลายกระเปาะ
ฟองไข่ คือ อวิชชา.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๓๕๓
๒.๘.๑๐ พระบรมศาสดาทรงขจัดความมืดมนอนธการในดวงใจของพราหมณ์ ดุจพระจันทร์
เพ็ญลอยเด่นในท้องฟ้าอันปราศจากเมฆ และดุจพระอาทิตย์ในสรทกาลฤดูร้อน.
อัง.สัตตก. (อรรถ) มก. ๓๗/๓๔๙
๒.๘.๑๑ พระบรมศาสดาตรัสธรรมอันเลิศกว่าพวกที่กล่าวกัน เช่น ภูเขาสิเนรุเลิศกว่าภูเขา
ทั่วไป ครุฑเลิศกว่านกทั่วไป สีหมฤคเลิศกว่ามฤคทั่วไป สมุทรเลิศกว่าห้วงน้ำ�ทั่วไป.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๔๕๗
๒.๘.๑๒ ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้า ย่อมตกลงในแผ่นดินแน่นอน ฉันใด พระดำ�รัสของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอน และเที่ยงตรง.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๔๘
๒.๘.๑๓ ความตายของสัตว์ทั้งมวลเป็นของแน่นอน และเที่ยงตรง แม้ฉันใด พระดำ�รัสของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลายเป็นของแน่นอน และเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๔๘
๒.๘.๑๔ เมื่อถึงเวลาสิ้นราตรีพระอาทิตย์ย่อมขึ้นแน่นอน ฉันใด พระดำ�รัสของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลายก็เป็นของแน่นอน และเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๔๘
๒.๘.๑๕ หญิงทั้งหลายผู้มีครรภ์จะต้องคลอดแน่นอน ฉันใด พระดำ�รัสของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็นของแน่นอน และเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๔๘
59

๒.๘.๑๖ ข้าแต่ทา่ นพระโคดม เปรียบเหมือนต้นสาละใหญ่ในทีใ่ กล้บา้ นหรือนิคม กิง่ ใบ เปลือก


สะเก็ด และกระพีข้ องต้นสาละใหญ่นน้ั จะหลุดร่วงกะเทาะไป เพราะเป็นของไม่เทีย่ ง สมัยต่อมา ต้น
สาละใหญ่น้นั ปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้แล้ว คงเหลืออยู่แต่แก่นล้วนๆ ฉันใด
พระพุทธพจน์ของท่านพระโคดมก็ฉันนั้น ปราศจากกิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงเหลืออยู่
แต่คำ�อันเป็นสาระล้วนๆ.
ม.ม. (ทั่วไป) มก. ๒๐/๔๕๒
๒.๘.๑๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยเสียง ทรงแสดงธรรม ในกาลนั้น ลาภ
และสักการะของเดียรถีย์ทั้งหลายก็เสื่อมไป เดียรถีย์เหล่านั้นเสื่อมจากลาภ และสักการะแล้ว ดุจ
หิ่งห้อยทั้งหลายในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๑๓
๒.๘.๑๘ อนึ่ง การบัญญัติสิกขาบท ย่อมมีแก่พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่าเขตแดนแห่ง
สิกขาบทย่อมไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ดอกไม้ และผลไม้ที่มีอยู่ใน
พระราชอุทยาน คนเหล่าอื่นเก็บดอกไม้ และผลไม้เหล่านั้นไปย่อมมีโทษ ส่วนพระราชาทรงบริโภค
ได้ตามพระราชอัธยาศัย ข้อนี้ก็มีอุปไมยเหมือนอย่างนั้น.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๒๑/๒๑
๒.๘.๑๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดความอุตสาหะในการถามแล้ว จึงทรงเฉลยความ
เคลือบแคลง ชนเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น มาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็เสื่อมคลายไป เหมือนคลื่นใน
มหาสมุทรมาถึงฝั่งก็สลายไปฉะนี้.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๒/๒๙

๓. คุณของพระธรรม
๓.๑ ราชรถวิจิตรงดงามยังครํ่าคร่าได้ อนึ่ง แม้ร่างกายก็เข้าถึงความครํ่าคร่า แต่ธรรมของ
สัตบุรุษไม่ถึงความครํ่าคร่า.
ขุ.จริยา. (ทั่วไป) มก. ๗๔/๕๑๕
๓.๒ ฟ้า และแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหาสมุทรเขากล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระราชา
ธรรมของสัตบุรุษ และธรรมของอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๖๒๔
60

๓.๓ พระเจ้าจักรพรรดิสง่างามในกองทัพใหญ่ ฉันใด ไกรสรสง่างามท่ามกลางฝูงมฤค


ฉันใด พระอาทิตย์แผ่ซ่านด้วยรัศมีย่อมสง่างาม ฉันใด พระจันทร์สง่างามในหมู่ดารา ฉันใด
พระพรหมสง่างามในหมู่พรหม ฉันใด ท่านผู้นำ�สง่างามท่ามกลางหมู่ชน ฉันใด พระสัท
ธรรมวินัยย่อมงามสง่าด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๙๘๒
๓.๔ ในพระพุทธพจน์นั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย พระพุทธพจน์ทั้งหมด
นั้น เหมือนประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน เหมือนตวงด้วยทะนานเดียวกัน และเหมือนชั่งด้วยตาชั่ง
อันเดียวกัน จึงเป็นของแท้แน่นอนทั้งนั้น ไม่มีที่ไม่แท้.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๑๑๖
๓.๕ อนึ่ง พระธรรมนี้ลึกซึ้งดุจลำ�น้ำ�หนุนแผ่นดินไว้ เห็นได้ยากดุจเมล็ดผักกาดที่ถูกภูเขา
กำ�บังไว้ รู้ตามได้ยากดุจการแยกปลายของขนสัตว์ที่ผ่าออก ๑๐๐ ส่วน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๔๕
๓.๖ พระสูตรยังดำ�รงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็น
แสงสว่างเหมือนพระอาทิตย์อุทัยอยู่ตราบนั้น เมื่อพระสูตรไม่มี และแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป ใน
โลกก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต.
อัง.เอกก. (อรรถ) มก. ๓๒/๑๗๔
๓.๗ จารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังคงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้ง
หลายชื่อว่า ยังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อปริยัติยังคงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่า ยังไม่
อันตรธานไป ฉันนั้น.
อัง.เอกก. (อรรถ) มก. ๓๒/๑๗๕
๓.๘ หินของนักมวยปลํ้าเป็นของเบาเพราะนักมวยปลํ้าเป็นผู้มีกำ�ลังมาก ฉันใด ปฏิจจสมุป
บาทเป็นของง่าย เพราะพระเถระเป็นผู้มีปัญญามาก ฉันนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๙๒
๓.๙ ธรรมที่แตกต่างกัน แต่ให้สำ�เร็จประโยชน์อย่างเดียวกัน คือ ฆ่ากิเลสเหมือนกัน
เหมือนพระราชามีเสนาต่างๆ กัน คือ ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ ทัพเท้า ย่อมให้สำ�เร็จสงครามอย่าง
เดียวกัน ย่อมชนะข้าศึกอย่างเดียวกัน.
มิลิน. ๕๗
61

๔. คุณของพระสงฆ์
๔.๑ หมู่ภิกษุเปรียบเหมือนต้นหว้าใหญ่สูงร้อยโยชน์ พระอัครสาวกทั้งสองเปรียบเหมือน
ลำ�ต้นที่ใหญ่ทั้งสอง ประมาณห้าสิบโยชน์ที่แผ่ไปทั้งเบื้องขวา และเบื้องซ้ายแห่งต้นไม้นั้น.
สัง.ม. (อรรถ) มก. ๓๐/๔๔๕
๔.๒ สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังทารกให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนม
ผู้เลี้ยงทารกซึ่งเกิดแล้ว.
ที.ปา. (พุทธ) มก. ๑๖/๔๕๘
๔.๓ พระอานนท์นี้เล่าเรียนพระพุทธวจนะ ก็ยึดยืนหยัดอยู่ในปริยัติ ดุจผู้รักษาเรือนคลังใน
ศาสนาของพระทศพล.
อัง.เอกก. (อรรถ) มก. ๓๒/๔๔๓
๔.๔ สรีระของพระมหากัสสปะประดับด้วยมหาปุริสลักขณะ ๗ ประการ ท่านติดตาม
พระบรมศาสดา เหมือนมหานาวาทองที่ติดตามข้างหลัง.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๓๖๒
๔.๕ ท้องฟ้างามวิจิตรด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระศาสนาของพระองค์ก็งดงามด้วย
พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.พุทธ. (พุทธ) มก. ๗๓/๔๔๔
๔.๖ ภิกษุใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำ�ดับ ตามที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำ�โลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๙/๑๕๘
๔.๗ พระเถระทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้วบันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งหลาย ซึ่ง
เป็นสัตว์ประเสริฐ กว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลายที่ใกล้ถ้ำ�ภูเขา ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก.๕๐/๘
๔.๘ ภิกษุใดยังเป็นหนุ่มย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจ
พระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น.
ม.มู. (เถระ) มก. ๒๑/๑๕๑
62

๔.๙ ดอกบัวมีกลิ่นดี พึงเกิดในกองหยากเยื่ออันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ ดอกบัวนั้นพึง


เป็นที่ชอบใจ ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปุถุชนเป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว ย่อม
ไพโรจน์ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลายด้วยปัญญา ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๓
๔.๑๐ พระนาคเสนเถระเป็นผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาสิเนรุ องอาจดังราชสีห์ มีปรีชาดังลูก
คลื่นในมหาสมุทร เป็นผู้บันลือเสียงดังพญาช้าง พญาราชสีห์ เป็นผู้ห้อมล้อมด้วยพระสงฆ์ผู้ทรง
คุณธรรม เที่ยงตรงดังตาชั่ง.
มิลิน. ๒๘
๔.๑๑ ต้นไม้ใหญ่สล้างด้วยกิ่ง ใบ และผล มีลำ�ต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์ด้วยผล
ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้น ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจให้เกิดสุข ผู้ต้องการ
ความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา ผู้ต้องการผลก็ย่อมบริโภคผลได้ ฉันใด ท่านผู้ปราศจากราคะ
โทสะ โมหะ ไม่มีอาสวะ เป็นบุญเขตในโลก ย่อมคบหาบุคคลผู้มีศรัทธา ซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล
ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง สุภาพ อ่อนโยน มีใจมั่นคง ฉันนั้น.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๘๗
๔.๑๒ กิเลสเหมือนหมอก อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุพ้น
จากกิเลสทั้งปวง แล้วย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์เหมือนดวงจันทร์พ้นจาก
หมอก พ้นจากควัน และธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และ
ไพโรจน์.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๙/๑๐๓
๔.๑๓ รสเค็มจัดกล่าวกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัดกล่าวกันว่าเหมือนของขม รสหวานจัด
กล่าวกันว่าเหมือนน้ำ�ผึ้ง ของร้อนจัดกล่าวกันว่าเหมือนไฟ ของเย็นจัดกล่าวกันว่าเหมือนหิมะ ห้วง
น้ำ�ใหญ่กล่าวกันว่าเหมือนสมุทร พระสาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาและพลธรรม กล่าวกันว่าเหมือน
พระบรมศาสดา ฉันใด
พระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมเป็นเหมือนนอแรด เป็นผู้เดียว ไม่มีเพื่อน มีเครื่องผูกอันเปลื้อง
แล้ว ฉันนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๕๑๗
63

๔.๑๔ ไกสรสีหะมีแสงสว่างพราวแพรวเป็นพระยาเนื้อ ซึ่งมีเท้าหน้า และเท้าหลังแดงจัด


ย่อมไม่อาศัยอยู่ในป่าช้า หรือกองหยากเยื่อ แต่เข้าไปสู่หิมวันต์ซึ่งกว้างสามพันโยชน์ อยู่ในถ้ำ�
แก้วมณี ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ในทวีปทั้งสี่ย่อมไม่เกิดในตระกูลต่ำ� แต่ย่อมเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ที่ไม่เจือปนเท่านั้น ฉันใด ในสมณะเหล่านี้ก็ไม่เกิดในลัทธิของอัญญเดียรถีย์ แต่ย่อม
เกิดในพระพุทธศาสนา ซึ่งแวดล้อมด้วยอริยมรรคเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๑๘
๔.๑๕ เมล็ดผักกาดย่อมไม่ตั้งอยู่ในปลายเหล็กแหลม ไฟไม่ลุกโพลงในน้ำ� พืชทั้งหลายย่อมไม่
งอกในแผ่นหิน ฉันใด สมณะเหล่านี้ย่อมไม่เกิดในลัทธิเดียรถีย์ภายนอก ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๑๗
๔.๑๖ คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์ถ้าไม่บรรพชา ก็ต้องปรินิพพานในวันนั้น อุปมาดังบุรุษผู้มี
บุญน้อย เมื่อได้ราชสมบัติใหญ่แล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความเป็นอิสระไว้ได้ ฉันใด คฤหัสถ์ผู้สำ�เร็จ
พระอรหันต์แล้ว ก็ไม่อาจรับรองความเป็นพระอรหันต์ไว้ได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๓๐๒
๔.๑๗ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นย่อมทำ�ให้เห็นสิ่งต่างๆ ทั้งสะอาด และไม่สะอาด ฉันใด พระภิกษุ
ผู้ทรงธรรมก็ทำ�ให้หมู่ชนอันถูกอวิชชาปกปิดไว้ ให้ได้เห็นทางธรรมต่างๆ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๑
๔.๑๘ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า พระบรมศาสดาทรงไม่รับการถวายผ้าจาก
พระนางปชาบดีโคตมี เพราะเหตุใด
พระนาคเสนทูลตอบว่า พระบรมศาสดาทรงไม่รับ แต่ทรงให้พระนางถวายแก่พระสงฆ์
เพราะพระบรมศาสดาจะทรงยกย่องคุณของพระสงฆ์ให้ปรากฏ เหมือนบิดาเมื่อยังมีชีวิต ย่อม
ยกย่องคุณของบุตรในที่เฝ้าพระราชาท่ามกลางหมู่อำ�มาตย์และเสนาบดี.
มิลิน. ๑๔๔
๔.๑๙ เจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า สมณะทุศีลกับคฤหัสถ์ทุศีลต่างกันอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร สมณะทุศีลถึงมีศีลวิบัติแล้วก็ยังทำ�ทักขิณาทาน
ของทายกให้บริสุทธิ์ได้ เปรียบเหมือนน้ำ� แม้ขุ่นย่อมชำ�ระล้างซึ่งโคลน เลน ฝุ่นละออง เหงื่อไคลให้
หายไปได้
เปรียบเหมือนน้ำ�ร้อนถึงจะร้อนก็ยังดับไฟกองใหญ่ได้
เปรียบเหมือนโภชนะแม้ปราศจากรสย่อมกำ�จัดความหิวได้ ฉะนั้น.
มิลิน. ๓๒๕
64

๕.๒๐ อุปัชฌายะจักตั้งจิตสนิทสนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริกจักตั้งจิตสนิทสนมใน


อุปัชฌายะฉันบิดา.
วิ.ม. (พุทธ) มก. ๖/๑๓๘

๕. คุณของพระโพธิสัตว์
๕.๑ พระโพธิสัตว์นั้นเหมือนพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได
ทรงเหยียดพระหัตถ์และพระบาททั้งสอง ประทับยืนไม่เปรอะเปื้อนด้วยของไม่สะอาดอย่างใดอย่าง
หนึ่งอันมีอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาเสด็จออก.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๐๘
๕.๒ โคจ่าฝูงเกิดได้ครู่เดียวก็สัมผัสพื้นแผ่นดินด้วยเท้าที่เสมอกัน ฉันใด พระโคดมพระองค์
นั้นก็ย่างพระบาท ๗ ย่างก้าว และทวยเทพก็กั้นเศวตฉัตร ฉันนั้น
พระโคดมพระองค์นั้น ครั้นเสด็จ ๗ ย่างก้าวแล้ว ทรงเหลียวดูทิศเสมอกันโดยรอบ ทรง
เปล่งอาสภิวาจาประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนพระยาสีหะยืนหยัดเหนือยอดขุนเขา ฉะนั้น.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๔๕
65

ม ง ค ล ที่

อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
พืชอันตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมมีผลไพบูลย์
ทำ�ให้ผู้ปลูกหว่านดีใจ ฉันใด
จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียรที่บริสุทธิ์
อยู่ในที่สงัดก็งอกงามขึ้นเร็วในที่ดินอันดี คือ สติปัฏฐาน ฉันนั้น
67

๑. สถานที่เป็นที่สบาย
๑.๑ ธรรมดานกเค้าย่อมซ่อนตัวอย่างดี ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรซ่อนตัวไว้ด้วย
การยินดีในที่สงัด ฉันนั้น.
มิลิน.๔๕๒
๑.๒ ธรรมดาพืชเมื่อถูกหว่านลงในที่บริสุทธิ์ ย่อมเจริญอย่างรวดเร็ว ฉันใด จิตของภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียร ผู้อยู่ในที่สงัด ผู้เจริญสติปัฏฐานก็ย่อมงอกงามได้รวดเร็ว ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระอนุรุทธเถระเจ้าว่า พืชอันตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ดี ย่อมมีผลไพบูลย์ ทำ�ให้
ผู้ปลูกหว่านดีใจ ฉันใด จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียรที่บริสุทธิ์อยู่ในที่สงัดก็งอกงามขึ้นเร็วใน
ที่ดินอันดี คือ สติปัฏฐาน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๐
๑.๓ ธรรมดาดวงจันทร์ย่อมเที่ยวไปในเวลากลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
เที่ยวไปด้วยวิเวก ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๐
๑.๔ ธรรมดาวานรย่อมเที่ยวไปตามต้นไม้ ยืนบนต้นไม้ นั่ง นอนบนต้นไม้ ฉันใด ภิกษุผู้
ปรารภความเพียรก็ควรนอน ยืน เดินอยู่ในป่า ควรฝึกฝนสติปัฏฐานอยู่ในป่า ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๘
68

๑.๕ ธรรมดาพายุย่อมพัดความหอมแห่งดอกไม้ป่าที่บานแล้วให้ฟุ้งไป ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ


ความเพียรก็ควรยืนอยู่ในป่ามีดอกไม้ คือ วิมุตติเป็นอารมณ์ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๘
๑.๖ ธรรมดาเนื้อในป่าย่อมเที่ยวไปในป่า อยู่ที่แจ้งในเวลากลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรอยู่ป่าในเวลากลางวัน และอยู่ในที่แจ้งในเวลากลางคืน ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมอยู่ในที่แจ้งในเวลากลางคืนในหน้าหนาว
ส่วนคืนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ในเวลากลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง ในเวลากลางคืนเราอยู่ในป่า.
มิลิน. ๔๔๖
๑.๗ ธ รรมดาค้างคาวเมื่อบินเข้าไปในเรือนแล้ว บินวนไปวนมาแล้วก็จะบินออกไปไม่กังวลใน
เรือน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อเข้าไปบิณฑบาตในบ้านตามลำ�ดับแล้ว จะได้หรือไม่ได้
อาหารก็ตามก็ ควรกลับออกไปโดยเร็ว ฉันนั้น ไม่ควรกังวลอยู่ในบ้าน.
มิลิน. ๔๕๓
๑.๘ ธรรมดาของลานั้นไม่เลือกที่นอน นอนบนกองขยะก็มี ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่ง ที่ประตู
บ้าน กองแกลบก็มี ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่เลือกที่นอน ฉันนั้น ไม่ว่าจะเป็นการปูแผ่น
หนัง ปูหญ้า หรือใบไม้ หรือนอนเตียงไม้ หรือนอนพื้นดินก็นอนได้
ข้อนี้สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เปรียบเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่
ประมาท และมีความเพียร ส่วนพระสารีบุตรเจ้ากล่าวไว้ว่า การนั่งคู้บัลลังก์ หรือนั่งคุกเข่า ก็พอ
อยู่สบายสำ�หรับ พระภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพานแล้ว.
มิลิน. ๔๒๒

๒. อาหารเป็นที่สบาย
๒.๑ ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยหาแต่ที่กินได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรพิจารณาก่อน
แล้วจึงบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมา ความสวยงามแห่งร่างกาย
แต่บริโภคเพื่อให้ร่างกายนี้ดำ�รงอยู่ในพรหมจรรย์ คือ การครองชีวิตอันประเสริฐ และบรรเทา
เวทนาเก่า กำ�จัดเวทนาใหม่เท่านั้น
ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำ �บากใจ กินเพื่อ
ประทังชีวิต ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำ�มันรถพอให้รถแล่นไปได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
บริโภคอาหารพอควรต่อการยังชีพ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๓
69

๒.๒ บุรุษทายาที่แผลก็เพียงเพื่อต้องการให้เนื้อขึ้นมา หรือบุรุษพึงหยอดยาน้ำ�มันเพลารถก็


เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภค
อาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียง
เพือ่ ดำ�รงอยูแ่ ห่งร่างกายนี้ เพือ่ ให้เป็นไปได้ เพือ่ จะกำ�จัดความลำ�บาก เพือ่ อนุเคราะห์พรหมจรรย์.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๙๕
๒.๓ คนทาแผลเพื่อจะบ่มผิว คนหยอดน้ำ�มันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ คนกินเนื้อบุตร
เป็นอาหาร เพื่อจะออกจากทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้วพึง
ฉันอาหาร ก็ฉันนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๖/๔๓
๒.๔ ธรรมดาของงูเหลือมย่อมมีร่างกายใหญ่โต มีท้องพร่องอยู่หลายวันเพราะกินอาหารไม่
เต็มท้อง แต่ได้อาหารพอยังร่างกายให้คงอยู่ได้เท่านั้น ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้ออกบิณฑบาตก็
เช่นกัน ย่อมรับแต่อาหารที่ผู้อื่นให้ ไม่ถือเอาด้วยตนเอง ไม่บริโภคให้อาหารเต็มท้อง แต่บังคับตน
ให้มีเหตุผลว่าอีก ๔-๕ คำ�จะอิ่มก็ไม่ฉันอาหารแต่ฉันน้ำ�ลงไปแทน
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรเถระเจ้าว่า ภิกษุผู้ฉันอาหารทั้งสด และแห้ง ไม่ควรฉันให้
อิ่มนัก ควรให้ท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร ควรมีสติละเว้นไม่ฉันให้อิ่มเกินไป เมื่อรู้ว่าอีก ๔-๕
คำ�จักอิ่มก็ควรดื่มน้ำ� เพราะเท่านี้ก็พออยู่สบายสำ�หรับภิกษุผู้กระทำ�ความเพียรแล้ว.
มิลิน. ๔๕๔
๒.๕ บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมักนอนหลับกระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขาเลี้ยง
ด้วยอาหาร ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึมย่อมเข้าห้องบ่อยๆ.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๗๗
๒.๖ ภัย คือ จระเข้เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง.
อัง.จตุกก. มก. ๓๕/๓๒๓
๒.๗ ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อม
ไม่ฉันอาหารที่ได้มาอย่างผิดพระธรรมวินัย คือ ได้มาด้วยการลวงโลก การประจบ การพูด
เลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแจกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ไม้ไผ่ ใบไม้ ดอกไม้
ผลไม้ ดินเหนียว ผงผัดหน้า เครื่องถูตัว ไม้สีฟัน น้ำ�ล้างหน้า ข้าวต้ม แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยน
แก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้าน หรือเป็นหมอ หรือเป็นทูตผู้รับส่งข่าว ให้อาหารแลกอาหารอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลืองที่ไม่กินเนื้อลงข้างซ้าย.
มิลิน. ๔๒๕
70

๒.๘ ธรรมดาราชสีห์ย่อมไม่สะสมอาหาร กินคราวหนึ่งแล้วไม่เก็บไว้อีก ฉันใด ภิกษุ


ผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรสะสมอาหาร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๐
๒.๙ ช่างย้อมถือเอาผ้าที่หอมบ้าง เหม็นบ้าง เก่าบ้าง ใหม่บ้าง สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
มาห่อรวมเป็นห่อเดียวกัน ฉันใด เธอก็บริโภคควรใช้สอยจีวรประณีตที่ไม่มีฉันทราคะ ฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๓๐๓
๒.๑๐ ความโลภด้วยอำ�นาจความพอใจในสรีระเช่นนี้ เป็นผู้ติดในรสอร่อย พึงเห็นเหมือนคน
เลียคมมีดโกน ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๓๐
๒.๑๑ ราชเสวกพึ ง เป็ น ผู้ มี ท้ อ งน้ อ ยเหมื อ นคั นธนู เป็ น ผู้ ไม่ มี ลิ้ น เหมื อ นปลา พึ ง เป็ น
ผู้ประมาณในโภชนะ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนให้แกล้วกล้า ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในสำ�นึกได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๔/๓๒๑

๓. บุคคลเป็นที่สบาย
๓.๑ สิ่งที่เป็นอนาคตควรเล็งดูก่อน คือ พ่อค้าต้องเล็งดูสินค้าก่อน พ่อค้าเกวียนต้อง
พิจารณาท่าข้ามก่อน นายท้ายสำ�เภาต้องพิจารณาดูฝั่งเสียก่อน ผู้ข้ามสะพานต้องดูความมั่นคง
ของสะพานก่ อ น พระภิ ก ษุ ต้ อ งพิ จ ารณาอาหารก่ อ นจึ ง ฉั น พระโพธิ สั ต ว์ เจ้ า ชาติ สุ ด ท้ า ยต้ อ ง
พิจารณาตระกูลเสียก่อนจึงจุติ.
มิลิน. ๒๗๖
๓.๒ นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด คนก็ฉันนั้น รู้ว่า
เขาหมดความอาลัยแล้ว ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่ เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๕๙
71

ม ง ค ล ที่

มีบุญวาสนามาก่อน
บุญและบาปนั้น เป็นสมบัติของเขา
ย่อมเป็นของติดตามเขาไป
ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น
73

๑. ผลของบุญ
๑.๑ ญาติมิตรและคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้จากไปอยู่ต่างถิ่นมานานกลับมาแล้วจากที่
ไกลโดยสวัสดี ย่อมยินดียิ่งว่ามาแล้ว ฉันใด บุญทั้งหลายก็ย่อมต้อนรับบุคคลผู้กระทำ�บุญไว้ ซึ่ง
จากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้วต้อนรับอยู่ ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๙๐
๑.๒ บุคคลไม่ควรดูหมิน่ บุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้�ำ ยังเต็มด้วยหยาดน้�ำ
ทีต่ กลงมาทีละหยดๆ ได้ ฉันใด ชนผูม้ ปี ญ ั ญาสัง่ สมบุญแม้ทลี ะน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ ฉันนัน้ .
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๓๐
๑.๓ ผู้มีปัญญาทำ�กุศลอยู่คราวละน้อยๆ ทุกๆ ขณะโดยลำ�ดับ พึงกำ�จัดมลทินของตนได้
เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทอง ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒
๑.๔ แม่นํ้าเป็นอันมากที่หมู่ชนอาศัยแล้วไหลไปยังสาครทะเลหลวง ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็น
ที่ขังน้ำ�อย่างใหญ่ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของหมู่รัตนะ ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมไหลไปสู่นร
ชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว นํ้า ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เหมือนแม่นํ้าไหลไปสู่สาคร ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๓๗๓
74

๑.๕ บุญ และบาปนั้น เป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป อนึ่ง บุญ


และบาปนั้น ย่อมเป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๔๒๘
๑.๖ สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสำ�เร็จพลันทีเดียว ความดำ�ริทั้งปวง จงเต็มเหมือนพระจันทร์
ในวันเพ็ญ สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสำ�เร็จพลันทีเดียว ความดำ�ริทั้งปวงจงเต็มเหมือนแก้วมณี
โชติรส ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ปัจเจก) มก. ๔๒/๑๓๒
๑.๗ ธรรมดาท่านผู้เป็นสัตว์เกิดมาในภพสุดท้าย ใครไม่อาจทำ�ลายได้ เพราะมีอุปนิสัยแห่ง
อรหัตผลรุ่งเรืองอยู่ในหทัยของท่าน เหมือนดวงประทีปภายในหม้อ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๖/๓
๑.๘ ธรรมดาเรือย่อมแล่นไปในมหาสมุทรอันกว้างลึก เต็มไปด้วยสัตว์น้ำ�อันไม่อาจประมาณ
ได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีใจขวนขวายสร้างบารมี ทำ�ลายเสียซึ่งสัญญาทั้งปวง
เที่ยวไปเพื่อการรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๑
๑.๙ สัปปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็น
อันมาก คือ แก่มารดา บิดา แก่บุตร ภริยา แก่ทาสกรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณ
พราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ย่อมมีมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๙๖
๑.๑๐ บุคคลผู้ทำ�กุศลกรรมบถ ๑๐ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลที่ยังอยู่จะ
สวดสรรเสริญวิงวอน ก็ไม่สามารถทำ�ผู้ล่วงลับที่ไปสุคติแล้ว ให้ไปทุคติ อบาย วินิบาต นรกได้
เหมือนหม้อที่มีเนยใส เมื่อโยนจมลงไปในน้ำ� เนยใสน้ำ�มันย่อมลอยขึ้นมาเหนือน้ำ� จะสวดสรรเสริญ
วิงวอนให้เนยใส น้ำ�มัน จมลงไปในน้ำ�ก็ไม่ได้.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๙/๑๘๙
๑.๑๑ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า กุศลกรรม และอกุศลกรรมที่บุคคลทำ�ด้วย
รูปนามนี้อยู่ไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ติดตัวไปเหมือนเงาตามตัว แล้วอุปมาว่า ต้นไม้ทย่ี งั ไม่มผี ลก็ไม่อาจชี้
ได้วา่ ผลนัน้ อยูท่ ไ่ี หน ดังนัน้ เมือ่ การสืบต่อยังไม่ขาด ก็ไม่อาจชีช้ ดั ลงไปได้วา่ กรรมเหล่านัน้ อยูท่ ไ่ี หน.
มิลิน. ๑๑๒
75

๑.๑๒ พระเจ้ า มิ ลิ นท์ ต รั ส ถามพระนาคเสนว่ า เมื่ อ ใกล้ ต ายมี ส ติ ร ะลึ ก ถึ ง พระพุ ท ธเจ้ า
ครั้งเดียว ก็ไปสวรรค์ ทำ�ปาณาติบาตครั้งเดียวก็ไปนรกได้
พระนาคเสนทูลตอบว่า ก้อนหินเล็กๆ ก็จมน้ำ�ได้ ก้อนหินใหญ่ขนลงเรือบรรทุก เรือก็ลอย
บนน้ำ�ได้.
มิลิน ๑๒๗

๒. รูปสมบัติ
๒.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ซึ่งไม่มีใน มารดาบิดา เหมือน
ดอกบัวแตกต่างจากโคลนและตมที่เป็นแหล่งกำ�เนิด.
มิลิน. ๑๑๗
๒.๒ สัมผัสทางกายของนางแก้วนั้น เป็นเหมือนปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๔๗๘
๒.๓ แม่นํ้าใกล้ภูผา หรือหมู่ไม้ดาดาษไปด้วยไม้ไผ่เล็กๆ ย่อมงดงาม ฉันใด เส้นพระโลม
ชาติก็อ่อนงดงาม ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๓๒๔
๒.๔ หน้าของท่านผ่องใสดังทองคำ�ในปากเบ้า และดังดอกกรรณิกาที่บานดี.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๔๗๕
๒.๕ พระนางเจ้านั้นมีดวงพระเนตรเขื่อง ราวกะดวงตาแห่งลูกมฤคหนึ่งขวบเกิดดีแล้ว
หรือดุจเปลวเพลิงในเหมันตฤดู.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๓๒๔
๒.๖ ผมของหญิงผู้มีบุญมากเป็นเช่นกับกำ�หางนกยูง แก้ปล่อยระชายผ้านุ่งแล้วก็กลับมี
ปลายงอนขึ้นตั้งอยู่ นี้ชื่อว่า ผมงาม
ริมฝีปากเช่นกับผลตำ�ลึงสุก ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี นี้ชื่อว่า เนื้องาม
ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชรที่เขายกขึ้นตั้งไว้ และดุจระเบียบแห่ง
สังข์ที่เขาขัดสีแล้ว นี้ชื่อว่า กระดูกงาม
ผิวพรรณของหญิงดำ� ไม่ลูบไล้ด้วยเครื่องประเทืองผิวเลย ก็ดำ�สนิทประหนึ่งพวงอุบลเขียว
ของหญิงขาวประหนึ่งพวงดอกกรรณิกา นี้ชื่อว่า ผิวงาม.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๗๗
76

๓. การอุทิศส่วนบุญ
๓.๑ น้ำ�ตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษย์โลกนี้ ย่อม
สำ�เร็จผลแก่ฝูงเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ขุ. (พุทธ) มก. ๓๙/๒๗๗
๓.๒ ห้วงน้ำ�เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็ม ฉันใด ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษย์โลกนี้ ย่อม
สำ�เร็จผลแก่ฝูงเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ขุ. (พุทธ) มก. ๓๙/๒๗๗
๓.๓ น้ำ�ที่หมู่เมฆให้ตกลงบนที่ดอนบนบก บนภูมิภาคที่สูง ย่อมไหลลงที่ลุ่ม คือ ไหลไปถึง
ภูมิภาคที่ลุ่มต่ำ� ฉันใด ทานที่หมู่ญาติมิตรสหายให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำ�เร็จผลแก่หมู่เปรต ฉัน
นั้นเหมือนกัน.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๙๖
๓.๔ ฝนห่าใหญ่ตกลงมาย่อมทำ�ให้แม่นํ้า คลอง บึง สระ ที่ดอนทั้งสิ้นเต็มไปด้วยน้ำ� แล้วยัง
ไหลไปได้รอบตัว ฉันใด กุศลก็มีผลมากจึงอาจแบ่งไปถึงมนุษย์ และเทพยดาอื่นๆ ได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๓๖๕
77

ม ง ค ล ที่

ตั้งตนชอบ
บุคคลสองตา คือ มีดวงตาที่เป็นเหตุ
จะทำ�ให้ได้โภคทรัพย์
ทั้งมีดวงตาที่เป็นเหตุจะทำ�ให้รู้ธรรมทั้งหลาย
79

๑. ศรัทธา
๑.๑ บุคคลไม่ควรคบหาคนที่ปราศจากศรัทธา เหมือนบ่อที่ไม่มีน้ำ�... ถ้าแม้บุคคลจะพึงขุด
บ่อน้ำ�นั้น บ่อนั้นก็จะมีน้ำ�ที่มีกลิ่นโคลนตม
บุคคลควรคบคนที่เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นคนที่ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้คนที่เลื่อมใส
เหมือนคนผู้ต้องการน้ำ�เข้าไปหาห้วงน้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๖๒/๗๘
๑.๒ ต้นไทรใหญ่ที่ทางสี่แยกมีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่งของพวกนกโดยรอบ ฉันใด กุล
บุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของชนเป็นอันมาก.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๘๗
๑.๓ ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลทั้ง
หลาย กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้ง
หลาย ไม่หวังได้ความเสื่อม
ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืน หรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้น ย่อม
ผ่านพ้นไป พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะ ย่อมเจริญด้วยมณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง
ย่อมเจริญด้วยด้านยาว และกว้าง.
อัง. ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๒๑๒
80

๑.๔ ศรัทธามีความผ่องใสเป็นลักษณะ เหมือนน้ำ�ที่ขุ่นมัว ใสได้ด้วยแก้วมณีของพระเจ้า


จักรพรรดิ ฉะนั้น.
มิลิน. ๔๙
๑.๕ ธรรมดากาลักน้ำ�ดูดน้ำ�ขึ้นมาแล้วไม่ปล่อยน้ำ�ลงไป ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
เมื่อเกิดความเลื่อมใส ก็ไม่ควรปล่อยความเลื่อมใสนั้นทิ้ง ควรทำ�ให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปใน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
มิลิน. ๔๖๑
๑.๖ เปรียบเหมือนบุรุษดำ�ลงไปในห้วงน้ำ�ลึกแล้วพึงทุบหม้อเนยใส หรือหม้อน้ำ�มัน สิ่งใดมี
อยู่ในหม้อนั้น จะเป็นก้อนกรวดหรือกระเบื้องก็ตาม สิ่งนั้นจะจมลง สิ่งใดเป็นเนยใสหรือน้ำ�มัน
สิ่งนั้นจะลอยขึ้น ฉันใด
จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน กายของ
ผู้นั้นมีรูปอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้ซึ่ง
อบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาตลอดกาลนาน ย่อมเป็นคุณชาติไปในเบื้องบน
บรรลุคุณวิเศษ ฉะนั้น.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๓๒๖
๑.๗ ผู้ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ผู้นั้น
พึงหวังได้ความเสื่อม เหมือนพระจันทร์ในกาฬปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป พระจันทร์ย่อมเสื่อมจากความ
สว่าง
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาในกุศลธรรม ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญ เหมือนพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้น
ย่อมผ่านพ้นไป พระจันทร์ย่อมเจริญด้วยความสว่าง.
อัง.ทสก. (เถระ) มก. ๓๘/๒๐๙
๑.๘ ขณะที่กสิภารทวาชพราหมณ์กำ�ลังเลี้ยงอาหารบริวารอยู่ในทุ่งนา พระบรมศาสดา
เสด็จเข้าไปประทับยืนบิณฑบาต พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ไถ และหว่านแล้วจึงบริโภค
แม้พระพุทธองค์ก็จงไถ และหว่านแล้วบริโภค
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า พระองค์ก็ไถ และหว่านแล้วบริโภคเหมือนกัน
พราหมณ์กราบทูลว่า ไม่เห็นการไถของพระบรมศาสดา
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและ
ไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล และประตัก
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พราหมณ์ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปจนตลอดชีวิต.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๔๓
81

๒. ประโยชน์ชาตินี้
๒.๑ บุคคลผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้เล็กน้อย ดุจ
บุคคลก่อไฟอันน้อยให้โพลงขึ้นได้ ฉะนั้น.
อัง.เอก. (พุทธ) มก. ๓๒/๓๕๑
๒.๒ บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติ
อยู่เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึงความเพิ่มพูน ดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น.
ที.ปา. (พุทธ) มก. ๑๖/๘๗
๒.๓ หากว่านรชนจะเป็นผู้มีชาติกำ�เนิดเลวทราม แต่เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา
ประกอบด้วยอาจาระ และศีล ย่อมรุ่งเรืองสุกใส เหมือนกองไฟในยามราตรี ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๑๓
๒.๔ รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่งหรือลูกมือคนชั่งตาชั่ง ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่ม
เข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพ
พอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๕๖๑

๓. ประโยชน์ชาติหน้า
๓.๑ นายมาลาการพึงทำ�พวงดอกไม้ให้มากจากกองดอกไม้ แม้ฉันใด สัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย
เป็นสภาพ ควรทำ�กุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓
๓.๒ ในฤดูสารทเดือนท้ายฤดูฝน เมื่อฝนซาลง เมฆก็จากไปแล้ว พระอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำ�จัดความมืดในอากาศ ย่อมส่องแสงแจ่มจ้า แม้ฉันใด การถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบัน และต่อ
ไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก ขจัดคำ�ติเตียนของสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นได้ แล้วย่อมสว่าง
แจ่มแจ้ง และรุ่งเรือง ฉันนั้นนั่นแล.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๓๗๙
๓.๓ นมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนย
ข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสโลกกล่าวว่า เลิศกว่านมสดเป็นต้นเหล่านั้น ฉันใด
กามโภคีบุคคลผู้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ทารุณ ครั้นแสวงหาได้แล้วย่อม
เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ� แจกจ่าย กระทำ�บุญ และเป็นผู้ไม่กำ�หนัด ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็น
82

โทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นั้น นี้เป็นผู้เลิศประเสริฐเป็นใหญ่สูงสุด ฉันนั้น.


อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๒๙๖
๓.๔ บุคคล ๔ จำ�พวก
๑. บุคคลมืดมาแล้วมืดไป บางคนเกิดในตระกูลต่ำ�แล้วยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา
ใจ เมื่อจะตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ นรก
๒. บุคคลมืดมาแล้วสว่างไป บางคนเกิดในตระกูลต่ำ� แต่ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อจะตายย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
๓. บุคคลสว่างมาแล้วมืดไป บางคนเกิดในตระกูลสูง แต่ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อจะตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ นรก
๔. บุคคลสว่างมาแล้วสว่างไป บุคคลบางคนเกิดในตระกูลสูง ประพฤติสุจริตด้วยกาย
วาจา ใจ เมื่อจะตายย่อมเข้าสุคติโลกสวรรค์.
อัง.จุตกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๒๔๖
๓.๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำ�พวกมีอยู่ในโลก ได้แก่
๑. บุคคลตาบอด คือ ไม่มดี วงตา (ปัญญา) ทีเ่ ป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อนั ยังไม่ได้ ทีเ่ ป็นเหตุ
จะทำ�โภคทรัพย์ทไ่ี ด้แล้วให้ทวีขน้ึ ทัง้ ไม่มดี วงตาทีเ่ ป็นเหตุจะให้รธู้ รรมทัง้ หลายอันเป็นกุศล และอกุศล
๒. บุคคลตาเดียว คือ มีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ ที่เป็นเหตุจะทำ�
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น แต่ไม่มีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศล และอกุศล
๓. บุคคลสองตา คือ มีดวงตาที่เป็นเหตุจะทำ�ให้ได้โภคทรัพย์ ทั้งมีดวงตาที่เป็นเหตุจะทำ�ให้
รู้ธรรมทั้งหลาย.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๙๔
๓.๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนจนเป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
คนเข็ญใจยากไร้ย่อมกู้ยืม กู้แล้วต้องรับใช้ดอกเบี้ย หากไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำ�หนดเวลา
เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา หากทวงแล้วไม่ได้ย่อมถูกติดตาม และถูกจองจำ� เหล่านี้เป็นทุกข์ของ
บุคคลผู้บริโภคกามในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มี
ปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระอริยเจ้า
เมื่อเขาประพฤติทุจริตนั้นเหมือนการกู้ยืม เขาย่อมมีความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่ง
การปกปิดกาย ทุจริตนั้นย่อมคิดว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา แล้วกล่าววาจาว่าชนเหล่าอื่นอย่ารู้จัก
เรา เป็นเหตุแห่งการปกปิดวจีทุจริต เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิด
มโนทุจริตนั้น
83

การทวงดอกเบี้ย คือ อกุศลวิตกที่เป็นบาปเกิดขึ้น ประกอบด้วยความเดือดร้อนเข้า


ครอบงำ� เจ้าหนี้ติดตามเขาผู้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อตายไปแล้วย่อมถูกจองจำ�ในเรือนจำ� คือ นรก ในเรือนจำ�คือ กำ�เนิดดิรัจฉาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำ�อื่นเลยที่ร้ายกาจเป็นทุกข์ กระทำ�
อันตรายแก่การบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันเกษมจากโยคะ เหมือนเรือนจำ� คือ นรก หรือเรือน
จำ� คือ กำ�เนิดดิรัจฉานเลย.
อัง.ฉักก. (พุทธ) มก. ๓๖/๖๖๔
๓.๗ ผ้าเศร้าหมอง ช่างย้อมหย่อนลงไปในน้ำ�ย้อมใดๆ ผ้าย้อมนั้นย่อมเป็นผ้าที่มีสีย้อมไม่ดี
มีสีมัวหมอง เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองทุคติก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้น
เหมือนกัน ช่างย้อมผ้าจะพึงนำ�ผ้าที่สะอาดหมดจด ใส่ลงในน้ำ�ย้อมสีใดๆ ผ้าผืนนั้นจะพึงเป็นผ้าที่
ย้อมได้ดี มีสีสดใส เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าสะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติก็เป็นอันหวัง
ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๗/๔๓๓

๔. ประโยชน์อย่างยิ่ง
๔.๑ เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำ�เหยียบแล้ว จักทำ�ลายมือ
หรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยตั้งไว้เหมาะ
แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำ�ลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักกระทำ�ให้แจ้งซึ่งนิพพาน
เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๕๐
๔.๒ ธรรมดาเรือย่อมพาคนเป็นอันมากข้ามฟากไปได้ โดยความเป็นระเบียบของไม้จ�ำ นวน
มากที่นำ�มาขนานกันได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรข้ามทั้งโลกนี้ และเทวโลกที่ขนานกัน
อยู่ไปได้พร้อมๆ กันด้วยธรรมทั้งหลายอันได้แก่ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๐
๔.๓ ในอดีตชาติของพระเจ้ามิลินท์ เมื่อครั้งที่เกิดเป็นสามเณรเคยอธิษฐานไว้ว่า ด้วยบุญ
กรรมที่ข้าพเจ้าหอบหยากเยื่อมาทิ้งนี้ เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพาน ข้าพเจ้าไปเกิดที่ใดก็ตาม ขอให้
ข้าพเจ้ามีเดชเหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไว ทันเหตุผล มีปัญญาไม่รู้จัก
สิ้นสุด เหมือนกับลูกคลื่นในแม่น้ำ�คงคา
84

ในอดีตชาติของพระนาคเสน เมื่อครั้งเกิดเป็นพระอาจารย์ของสามเณร เคยอธิษฐานไว้ว่า


ข้าพเจ้ายังไม่สำ�เร็จนิพพานตราบใด ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไว ไม่รู้จักสิ้นสุดเหมือนกับฝั่งแม่น้ำ�
คงคา ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฏิภาณทั้งปวงที่สามเณรไต่ถามได้สิ้น สามารถชี้แจงเหตุผลต้น
ปลายได้ เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้าย ที่มีสายด้ายอันยุ่ง ให้รู้ว่าข้างต้นข้างปลายเป็นฉะนั้น ด้วย
อำ�นาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นำ�หยากเยื่อมาทิ้งนี้เถิด.
มิลิน. ๗

๕. การเสื่อมจากประโยชน์อย่างยิ่ง
๕.๑ บุคคลประสงค์จะกินผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อที่มีผลสุก ผลเป็นอันมากหล่นลงมาด้วย
การเขย่าคราวเดียวเท่านั้น เขากินผลที่ควรจะกิน ทิ้งผลเป็นอันมากนอกนี้ไปเสีย ฉันใด
บุคคลใดสุรุ่ยสุร่าย กระทำ�รายจ่ายให้มากกว่ารายได้ บริโภคโภคะ บุคคลนั้นเขาเรียกว่า
กินทิ้งกินขว้าง เหมือนกุลบุตรผู้กินผลมะเดื่อคนนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (อรรถ) มก. ๓๗/๕๖๖
๕.๒ หางแหลมของเมล็ดข้าวสาลี หรือหางแหลมของเมล็ดข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรง
มือหรือเท้าย่ำ�เหยียบแล้ว จักทำ�ลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหางแหลมของเมล็ดข้าวอันบุคคลตั้งไว้ไม่ตรง ฉันใด
ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันจักทำ�ลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำ�นิพพานให้แจ้ง ด้วย
จิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด.
อัง.เอก. (พุทธ) มก. ๓๒/๙๓
๕.๓ พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซา
ดังนกกะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลา ฉะนั้น
พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอน
ถึงทรัพย์เก่าเหมือนลูกศรที่ตกจากแล่ง ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๔๒
๕.๔ บุคคลผู้มากด้วยการไม่ใส่ใจโดยแยบคายอย่างนี้ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพอยู่
ร่ำ�ไป เปรียบเหมือนเรือซึ่งถูกแรงลมพัดทำ�ให้โคลง และเปรียบเหมือนฝูงโคซึ่งตกลงไปในแม่น้ำ�ไหล
วน.
มู.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๑๕๘
85

๕.๕ บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ ย่อมขจัดผลแห่งความเป็นสมณะให้


กระจัดกระจายไป เหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๕๗๓
๕.๖ กุลบุตรผู้ประกอบความเพียรในสิ่งอันไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ ก็ย่อมไม่ประสบความรู้
เลยทีเดียว ย่อมจะจมลงในห้วงอันตรายอย่างเดียว เหมือนกวางวิ่งโลดโผนไปในซอกผา ตกจมเหว
ลงไปในระหว่างทาง ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๑๓
๕.๗ บุรุษผู้ตกอยู่ในหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำ�เต็มเปี่ยม ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิด
ของสระไม่ ฉันใด เมื่อสระ คือ อมตะสำ�หรับเป็นเครื่องชำ�ระมลทิน คือ กิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหา
สระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระ คือ อมตะไม่ ฉันนั้น.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๑๘
๕.๘ คนเมื่อถูกศัตรูรุมล้อม เมื่อทางหนีไปมีอยู่ ก็ไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่
ฉันใด คนที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางที่
ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๑๘
๕.๙ คนผู้เจ็บป่วย เมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอรักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหา
เป็นโทษผิดของหมอนั้นไม่ ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย คือ กิเลสเบียดเบียนแล้วไม่ไปหา
อาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของอาจารย์ผู้แนะนำ�ไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๑๘

ม ง ค ล ที่

เป็นพหูสูต
ปัญญามีการทำ�ให้สว่างเป็นลักษณะ
เหมือนบุรุษส่องประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด
แสงสว่างย่อมกำ�จัดความมืดทำ�ให้เห็นรูปทั้งหลาย
87

๑. ปัญญา
๑.๑ ปัญญาเป็นเสมือนรสเกลือที่ใส่เข้าไว้ในกับข้าวทุกชนิด.
สัง.นิ. (อรรถ) มก. ๒๖/๗๖๑
๑.๒ ปัญญามีลักษณะตัด อุปมาเหมือนคนเกี่ยวข้าวจับกอข้าวด้วยมือซ้าย ใช้เคียวตัดด้วย
มือขวา.
มิลิน. ๔๖
๑.๓ ในเรือนมีฝา ๔ ด้าน เวลากลางคืนเมื่อจุดประทีป ความมืดย่อมหายไป ความสว่าง
ย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามีความสว่างเป็นลักษณะ ก็ฉันนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๓๔๗
๑.๔ ปัญญามีการทำ�ให้สว่างเป็นลักษณะ เหมือนบุรษุ ส่องประทีปเข้าไปในเรือนทีม่ ดื แสงสว่าง
ย่อมกำ�จัดความมืด ทำ�ให้เห็นรูปทั้งหลาย.
มิลิน. ๕๖
๑.๕ ปัญญามีอยู่แต่แสดงไม่ได้เหมือนลม.
มิลิน. ๑๒๒
88

๑.๖ ธรรมดาของงูย่อมไปด้วยอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรไปด้วยปัญญา


ฉันนั้น เพราะจิตของผู้ไปด้วยปัญญาย่อมนำ�ไปสู่ธรรมที่ควรรู้ ย่อมละเว้นสิ่งที่ไม่ควรกำ�หนดจดจำ�
ฝึกฝนแต่สิ่งที่ควรจำ�.
มิลิน. ๔๕๔

๒. ผู้มีปัญญา
๒.๑ ศีลอันปัญญาชำ�ระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามี
ในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา และ
นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญาว่า เป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้า
ด้วยเท้า ฉะนั้น.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๑๔
๒.๒ ท่านผู้มีความรู้ มีปัญญาเป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มากย่อมไม่ร้องไห้ การที่พวก
บัณฑิตเป็นผู้บรรเทาความเศร้าโศกผู้อื่นได้ นี่แหละเป็นที่พึ่งอย่างยอดเยี่ยมของนรชน เหมือนอย่าง
เกาะเป็นที่พำ�นักของคนที่ต้องเรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) ๖๒/๖๗๐
๒.๓ อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรงจำ�ไว้ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจ
จันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาว และอาวุธคม สำ�หรับคุ้ม
ภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๒๖
๒.๔ พระจันทร์ปราศจากมลทินโคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลกนี้
ด้วยรัศมี ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าบัณฑิตทั้งหลาย เพราะ
ประกอบด้วยปัญญา.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๔๑๒
๒.๕ สุตะอันภิกษุใดสั่งสมไว้ในหีบ คือ หทัย ย่อมคงอยู่ดุจรอยจารึกที่ศิลา.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๖๒
89

๒.๖ ภิกษุเมื่อขออยู่ ไม่เว้นตระกลูต่ำ� สูง และปานกลาง ย่อมได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ


ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ถึงความเป็นปัญญาบารมี
จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๒
๒.๗ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า มนสิการมีลักษณะอย่างไร ปัญญามีลักษณะ
อย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า มนสิการมีอุตสาหะและการถือไว้เป็นลักษณะ ปัญญามีการตัดเป็น
ลักษณะ เหมือนวิธีจับกอข้าว จับเคียว เกี่ยวข้าว ปัญญามีการทำ�ให้สว่างเป็นลักษณะ คือ เมื่อ
เกิดขึ้นก็กำ�จัดความมืด คือ อวิชชา และทำ�ให้เกิดแสงสว่าง คือ วิชชา และญาณ.
มิลิน. ๔๖

๓. การศึกษาเล่าเรียน
๓.๑ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ
๑. การเล่าเรียนเหมือนจับงูข้างหาง
๒. การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกไป
๓. การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๑๐๒
๓.๒ ปริยัติที่เรียนมาไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เหมือน
งูพิษที่จับไม่ดี ฉะนั้น ส่วนปริยัติที่เรียนมาดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอด
กาลนาน เหมือนงูพิษที่จับไว้ดี ฉะนั้น.
มู.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๓๐๗
๓.๓ นายโคบาลได้แต่เลี้ยงโคไม่ได้ดื่มนมโค ฉันใด ปุถุชนที่ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่มีส่วนแห่ง
สามัญญผล เหมือนนายโคบาล ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๔

๔. ผู้มีปัญญาน้อย
๔.๑ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้ง
หลายมีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ ฉะนั้น.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๑๐๑
90

๔.๒ คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหา


เจริญไม่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๔๒
๔.๓ บุคคลผู้ทุศีลเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่บุคคลผู้มีสุตะน้อย ผู้ละเลยการงานเปรียบ
ด้วยฝูงโค.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๒๗๑
91

ม ง ค ล ที่

มีศิลปะ
ถ้าบุคคลมีความคิด แม้มีเสนาน้อย
ย่อมชนะบุคคลผู้ไม่มีความคิดที่มีเสนามากได้
พระราชาพระองค์เดียว ย่อมชนะพระราชาทั้งหลายได้
ดุจดวงอาทิตย์อุทัยกำ�จัดความมืด ฉะนั้น
93

๑. มีศิลปะ
๑.๑ ถ้าบุคคลมีความคิด แม้มีเสนาน้อย ย่อมชนะบุคคลผู้ไม่มีความคิดที่มีเสนามากได้
พระราชาพระองค์เดียว ย่อมชนะพระราชาทั้งหลายได้ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยกำ�จัดความมืด ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๓๑๗
๑.๒ พราหมณ์ทั้งหลายได้มนต์แล้ว ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง
คฤหบดีทั้งหลายได้ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง
หญิงทั้งหลายได้บุตรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกในตระกูล ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง
โจรทั้งหลายได้ศัสตราวุธชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง
สมณะทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์ ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง.
อัง.ฉักก. (อรรถ) มก. ๓๖/๖๘๙

ม ง ค ล ที่

มีวินัย
เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน
คือ แสงเงินแสงทอง สิง่ ทีเ่ ป็นเบือ้ งต้นเป็นนิมติ มาก่อน เพือ่ ความบังเกิด
แห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ
ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน
95

๑. ความสำ�คัญของศีล
๑.๑ เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่
เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ
ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๗๕
๑.๒ พีชคาม และภูตคามชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พีชคาม และ
ภูตคามทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต
แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำ�ให้
มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉัน
นั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๔๔
๑.๓ พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์ มีกายเติบโต มีกำ�ลัง ครั้นมีกายเติบโตมีกำ�ลังที่ขุน
เขานั้นแล้ว ย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้วย่อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้วย่อมลงสู่
แม่นํ้าน้อย ครั้นลงสู่แม่นํ้าน้อยแล้วย่อมลงสู่แม่นํ้าใหญ่ ครั้นลงสู่แม่นํ้าใหญ่แล้วย่อมลงสู่มหาสมุทร
สาคร นาคพวกนั้นย่อมถึงความโตใหญ่ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล
96

ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ


ด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๔๖
๑.๔ นาที่ประกอบด้วยโทษ ๔ อย่างคือ พืชเสีย การหว่านไม่ดี น้ำ�ไม่ดี ที่ดินไม่ดี จัดว่าเป็น
นาเสีย... นาที่จัดว่าเป็นนาบริบูรณ์ เพราะปราศจากโทษ ๔ อย่างเหล่านี้ และนาเช่นนั้น จัดเป็นนา
ที่มีผลิตผลมาก ฉันใด ศีลซึ่งประกอบด้วยโทษ ๔ อย่าง คือ ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย จะจัดเป็นศีลที่
บริบูรณ์ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ศีลเช่นนั้น เป็นศีลหามีผลานิสงส์มากไม่ แต่ศีลที่บริบูรณ์ได้ ก็เพราะ
ปราศจากโทษ ๔ อย่างเหล่านี้ ศีลเช่นนั้น จัดว่าเป็นศีลที่มีผลานิสงส์มาก.
มู.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๔๐๙
๑.๕ ศีลเป็นกำ�ลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะ
อันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องกั้น เป็นความสำ�รวม เป็นความระวัง เป็นประมุข เป็น
ประธานแห่งความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๒๕
๑.๖ จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี กลิ่นคือศีล ยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาต
เหล่านั้น กลิ่นกฤษณา และจันทน์นี้ มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลเป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปใน
ทวยเทพทั้งหลาย.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๑๖๖
๑.๗ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ศีลมีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ศีลมีการเป็นทีต่ ง้ั เป็นลักษณะเหมือนพืชทัง้ หลายมีแผ่นดินเป็นทีต่ ง้ั .
มิลิน. ๔๗

๒. การรักษาศีล
๒.๑ จามรีหางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออกไม่ได้ ก็ยอมตายในที่น้ัน แม้ฉันใด
ท่านจงบำ�เพ็ญศีลให้บริบรู ณ์ในภูมทิ ง้ั ๔ จงรักษาศีลไว้ทกุ เมือ่ เหมือนจามรีรกั ษาขนหาง ฉันนัน้ เถิด.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๐
๒.๒ นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ ฉันใด จามรีรักษาขนหาง ฉันใด คนมีบุตรคนเดียวรักษา
บุตรผู้เป็นที่รัก ฉันใด คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้าง ฉันใด ท่านทั้งหลายจง
ตามรักษาศีล เหมือนฉันนั้น.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๑๖๖
97

๒.๓ ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้ของผู้ใด ไม่ด่างพร้อย ผู้นั้นย่อมสามารถที่จะรักษาศีลที่เหลือให้


ดำ�รงอยู่ตามปกติได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะไม่ขาดก็อาจรักษาชีวิตไว้ได้ ฉะนั้น.
มู.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๔๑๐
๒.๔ อริยสาวกนัน้ รีบแสดง เปิดเผย ทำ�ให้ตน้ื ซึง่ อาบัตนิ น้ั ในสำ�นักพระบรมศาสดา หรือเพือ่ น
สพรหมจารีทเ่ี ป็นวิญญูชนทัง้ หลาย ครัน้ แสดงเปิดเผย ทำ�ให้ตน้ื แล้ว ก็ถงึ ความสำ�รวมต่อไป เปรียบ
เหมือนกุมารทีอ่ อ่ นนอนหงาย ถูกถ่านไฟ ด้วยมือ หรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชกั หนีเร็วพลัน ฉะนัน้ .
มู.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๔๑๕
๒.๕ ธรรมดามหาสมุทร ย่อมเป็นแหล่งรวมของน้ำ�ซึ่งไหลมาจากแม่นํ้าสายต่างๆ หลาย
ร้อยสาย อันได้แก่แม่นํ้าคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู นที เป็นต้น แม้นํ้าฝนจะตกลงมาจากอากาศ
แต่น้ำ�เหล่านั้นก็หาไหลล้นฝั่งไปได้ไม่ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรแกล้งล่วงสิกขาบท
เพราะเห็นแก่ลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ ความนับถือ การไหว้ การบูชา ตลอดถึงเหตุที่จะทำ�ให้
สิ้นชีวิต
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า มหาสมุทรมีนํ้าเต็มฝั่งไม่ล้นฝั่งไปได้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของ
เราก็ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๔
๒.๖ ธรรมดาดอกบัวถูกลมกระทบเพียงเล็กน้อยก็สั่นไหว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรระวังกิเลสแม้เพียงเล็กน้อย และเห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยว่าเป็นของน่ากลัว ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๙
๒.๗ ธรรมดาอากาศย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
เป็นผู้มีสีลาจารวัตรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๐
๒.๘ ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมปราศจากเครื่องประดับตกแต่ง มีอยู่เพียงกลิ่นของตนเอง
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรปราศจากเครื่องประดับตกแต่ง ควรหมั่นวางตนไว้ด้วยกลิ่น
ศีลแห่งตน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๕
๒.๙ ธรรมดาแผ่นดินย่อมไม่มีที่ว่าง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นของหนาแน่นอันกว้างขวาง
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเป็นผู้มีศีลอยู่เป็นนิตย์ อย่าให้ศีลขาดวิ่น เป็นช่อง เป็นรู ให้ศีล
นั้นหนาแน่นกว้างขวางอยู่เสมอ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๕
98

๒.๑๐ ธรรมดาดวงจันทร์ย่อมมีวิมานเป็นธง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีศีลเป็น


ธง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๐
๒.๑๑ บุคคลทำ�กรรมอันหยาบช้าจนถูกตัดศีรษะ... แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญา คือ ความ
กลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาราชิกทั้งหลาย.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๖๐๓
๒.๑๒ บุคคลกระทำ�กรรมอันเป็นบาป น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก... แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญา คือ ความ
กลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ สังฆาทิเสสทั้งหลาย.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๖๐๔
๒.๑๓ บุคคลกระทำ�กรรมอันลามก ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า... แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญา คือ ความ
กลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาจิตตีย์ทั้งหลาย.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๖๐๕
๒.๑๔ บุคคลกระทำ�กรรมอันลามก น่าติเตียน นุ่งผ้าดำ�สยายผม... แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญา คือ ความ
กลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาฏิเทสนียะทั้งหลาย.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๖๐๕

๓. อานิสงส์ของการรักษาศีล
๓.๑ ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะเป็นผู้สำ�รวมด้วยศีล
เหมือนพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกกำ�จัดศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแม้แต่ไหนๆ เพราะ
ศัตรูนั้น.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๐๗
๓.๒ บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟส่องแสงบนยอดเขาใน
กลางคืน.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๑๑๐
99

๓.๓ กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์หรือกลิ่นกฤษณา และกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้


แต่กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้ กลิ่นจันทน์ก็ดี กลิ่นกฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่นมะลิก็ดี
กลิ่นศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาตนั่น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓
๓.๔ กลิ่นกลัมพัก และกลิ่นจันทน์เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย
เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไปในเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๑๒๘
๓.๕ ป่าใหญ่ มีดอกไม้บาน อบอวลด้วยกลิ่นหอมนานา ฉันใด ปาพจน์(ธรรมและวินัย)
ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็อบอวลด้วยกลิ่น คือ ศีล ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๗๓/๓๗๙
๓.๖ การที่พระขีณาสพผู้ฟุ้งตลบไปทั้ง ๑๐ ทิศ ด้วยกลิ่นหอมทั้งหลายมีกลิ่นศีล เป็นต้น
ท่องเที่ยวจาริกไปตามใจปรารถนา เปรียบเหมือนการที่คนมีกลิ่นตัวหอม นุ่งห่มผ้าที่อบด้วยกลิ่น
หอมแล้วท่องเที่ยวไปตามท้องถนนในวันมีมหรสพ.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๒๙๘
๓.๗ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น
ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญาว่า
เป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า ฉะนั้น.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๑๔

๔. โทษของการทุศีล
๔.๑ ภิกษุใดมีศีลขาด กรรมฐานของภิกษุนั้นย่อมไม่สืบต่อ จิตย่อมปั่นป่วน คือ ถูกไฟ คือ
ความเดือดร้อนแผดเผาอยู่ ดุจถูกทิ่มแทงด้วยปฏัก ฉะนั้น ภิกษุนั้น ย่อมลุกขึ้นในขณะนั้นทีเดียว
เหมือนนั่งอยู่บนก้อนหินที่ร้อน ฉะนั้น.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๑/๗๖๓
๔.๒ ใบไม้เหลืองเป็นของมีอันไม่งอกงาม โดยความเป็นของเขียวสดอีก ฉันใด แม้บุคคลผู้
พ่ายทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงามโดยความเป็นผู้มีศีลตามปกติอีก.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๖๑๗
100

๔.๓ บุคคลผู้ทุศีลกระทำ�เพศของผู้มีวัตรอันงามให้เป็นเครื่องปกปิด เพื่อปกปิดความที่ตน


เป็นผู้ทุศีล เหมือนการปกปิดด้วยวัตถุมีหญ้า และใบไม้เพื่อปกปิดคูถ ฉะนั้น.
ขุ.ส. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๐๕
๔.๔ บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ ย่อมขจัดผลแห่งความเป็นสมณะให้
กระจัดกระจายไป เหมือนดุน้ ฟืนในทีเ่ ผาผีฉบิ หายไปอยู่ ฉะนัน้ ก้อนเหล็กร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ อัน
บุคคลบริโภคแล้วยังจะดีกว่าบุคคลผูท้ ศุ ลี ผูไ้ ม่ส�ำ รวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นจะดีอะไร.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๕๗๓
๔.๕ บุคคลผู้ทุศีลตรัสเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่บุคคลผู้มีสุตะน้อยผู้ละเลยการงาน
เปรียบด้วยฝูงโค.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๒๗๑
๔.๖ ภิกษุผู้มีปาฏิโมกขสังวรแตก ไม่ควรจะกล่าวว่า จักรักษาข้อที่เหลือไว้ได้ เหมือนคน
ศีรษะขาด ก็ไม่ควรกล่าวว่าจักรักษามือเท้าไว้ได้ ฉะนั้น
ส่วนภิกษุผู้มีปาฏิโมกขสังวรไม่ด่างพร้อย ย่อมสามารถรักษาข้อที่เหลือให้เป็นปกติได้อีก
เหมือนคนศีรษะยังไม่ขาด ย่อมรักษาชีวิตไว้ได้ ฉะนั้น.
อัง.ทุก. (อรรถ) มก. ๓๓/๓๗๙
๔.๗ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก
ฉันใด บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม มีสมาจารไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่
ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่ม
ด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๐๓
๔.๘ ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า ขาดด้วน เปรียบเหมือนผ้าขาดที่ชายโดยรอบ ฉะนั้น.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๓๙๐
๔.๙ ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นช่องทะลุ เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลาง ฉะนั้น.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๓๙๐
๔.๑๐ ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า ด่าง เปรียบเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำ� และแดงอย่างใดอย่าง
หนึ่ง สลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๓๙๐
๔.๑๑ ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า พร้อย เปรียบเหมือนแม่โคที่พราวเป็นดวงด้วยสีไม่เหมือนกัน
ในระหว่าง ฉะนั้น.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๓๙๐
101

๔.๑๒ ต้นไม้ทม่ี กี ง่ิ และใบวิบตั แิ ล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นน้ั ก็ไม่ถงึ ความบริบรู ณ์ แม้เปลือกก็


ไม่ถงึ ความบริบรู ณ์ แม้กะพีก้ ไ็ ม่ถงึ ความบริบรู ณ์ แม้แก่นก็ไม่ถงึ ความบริบรู ณ์ ฉันใด ฉันนัน้ เหมือนกัน
แล ภิกษุทง้ั หลาย เมือ่ สัมมาสมาธิของภิกษุผทู้ ศุ ลี มีศลี วิบตั แิ ล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอปุ นิสยั ขาดแล้ว.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๓๖
๔.๑๓ บุรุษถูกตัดศีรษะแล้วไม่อาจมีสรีระคุ้มกัน แม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความ
กำ�หนัดยินดีการลูบก็ดี คลำ�ก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำ�หนัด ใต้รากขวัญ
ลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เป็นปาราชิก.
วิ.ภิกขุณี. (อรรถ) มก. ๕/๗
๔.๑๔ ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้วไม่ควรเพื่อจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใด ภิกษุณีก็
ฉันนั้นแหละ รู้อยู่ว่า ภิกษุณีล่วงปาราชิกธรรมแล้ว เมื่อเธอทอดธุระว่าจักไม่โจทด้วยตน จักไม่บอก
แก่คณะดังนี้เท่านั้น ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เป็นปาราชิก.
วิ.ภิกขุณี. (อรรถ) มก. ๕/๑๙
๔.๑๕ ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็นของกลับต่อให้ติดสนิทอีกไม่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๒/๒๖๗
๔.๑๖ ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ มีความอยาก
อันลามก อันความอยากครอบงำ�แล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๒/๔๕๙
๔.๑๗ อนึ่ง ภิกษุใดมีสิกขาบททำ�ลายท่ามกลาง ชื่อว่า มีศีลทะลุ หากทำ�ลายสองสามสิกขา
บทตามลำ�ดับ ภิกษุนั้นชื่อว่า มีศีลด่าง ดุจแม่โคที่มีสีจางกว่าสีเดิมเป็นแห่งๆ
ภิกษุใดมีสิกขาบททำ�ลายระหว่างๆ ภิกษุนั้น ชื่อว่า ศีลพร้อย ดุจแม่โคที่มีจุดลายไปทั้งตัว.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๔๓๓

๕. พระวินัย
๕.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จำ�นงจะถอนสิกขาบทเล็ก
น้อยก็จงถอนเถิด
102

พระนาคเสนวินิจฉัยว่า พระพุทธเจ้าทรงจะทดลองภิกษุทั้งหมดว่า สาวกทั้งหลายจะเพิก


ถอนหรือจะยึดมั่นในสิกขาบท อุปมาพระเจ้าจักรพรรดิตรัสแก่พระราชโอรสว่า บ้านเมืองอันใหญ่มี
มหาสมุทรเป็นที่สุด ปกครองได้ยาก ถ้าบิดาล่วงลับไปแล้ว จงสละปัจจันตประเทศตามประสงค์เถิด
พระราชกุมารย่อมไม่สละ มีแต่จะหาเพิ่ม เหมือนพุทธบุตรที่ปราถนาความหลุดพ้นมีแต่จะ
เพิ่มสิกขาบท ให้ยิ่งขึ้นไปอีก.
มิลิน. ๒๐๕
๕.๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง เห็นทุกสิ่ง แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ยังไม่บัญญัติสิกขา
บท เหมือนแพทย์จะให้ยาคนไข้เมื่อเจ็บป่วย เมื่อยังไม่ป่วยไข้ก็ไม่ให้ยา.
มิลิน. ๑๑๖
๕.๓ มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปโดยลำ�ดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำ�ดับ มีการกระทำ�ไปตามลำ�ดับ มีการปฏิบัติไปตามลำ�ดับ มิใช่
ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๐๒
๕.๔ เราจำ�จักต้องสังคายนาธรรมวินัย เมื่อเป็นดังนี้ ธรรมวินัยก็จักมั่นคง เหมือนดอกไม้ที่
คุมไว้ด้วยด้ายเหนียว.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๓/๔๕๒
๕.๕ พระวินัยธรเมื่อกำ�หนดไม่ได้ ทำ�ลงไป ย่อมถึงความลำ�บาก และไม่สามารถจะแก้ไขซึ่ง
บุคคลเช่นนั้นได้ ดุจหมอผู้ไม่รู้ต้นเหตุแห่งโรคแล้วปรุงยา ฉะนั้น.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๓/๑๑๓
๕.๖ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ
วิมุตติรส.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๐๔
๕.๗ ความน่าอัศจรรย์ในธรรมวินัย ๘ ประการ เทียบกับมหาสมุทรได้แก่
๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปเป็นลำ�ดับ เทียบกับมหาสมุทรต่ำ� ลาดลึกลงไปตามลำ�ดับ
๒. นิพพานย่อมไม่พร่อง เทียบกับน้ำ�ในมหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
๓. ผู้ประพฤติชั่วย่อมไกลจากสงฆ์ เทียบกับมหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ
๔. แม้ภิกษุจำ�นวนมาก ปรินิพานก็ไม่ทำ�ให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เทียบกับมหาสมุทรมี
103

แม่น้ำ�ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้าก็ไม่ทำ�ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
๕. ภิกษุเมื่อมาบวชย่อมละชื่อโคตรหมด เทียบกับแม่น้ำ�ที่ไหลลงมหาสมุทรแล้วรวมเรียกว่า
มหาสมุทร
๖. ธรรมวินัยมีรสเดียว คือ วิมุตติรส เทียบกับมหาสมุทรมีรสเดียว
๗. ธรรมวินัยมีรัตนะมาก คือ สติปัฏิฐาน ๔ เป็นต้น เทียบกับมหาสมุทรมีรัตนะมาก
๘. เป็นที่อาศัยของผู้ใหญ่ คือ พระอริยเจ้า เทียบกับมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของสัตว์ขนาดใหญ่.
วิ.ปุ. (พุทธ) มก. ๙/๓๙๘
๕.๘ พระบรมศาสดาเปรียบสิกขาบทเหมือนเชือกร้อยมาลัยไว้ ลมไม่อาจจะพัดดอกไม้ต่าง
พรรณนั้นให้กระจายไปได้ สิกขาบทจะพึงรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำ�รงอยู่ได้นาน แต่พระบรม
ศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทจนกว่าพระสงฆ์มีจำ�นวนมาก ลาภสักการะเกิดขึ้นมาก และธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏในสงฆ์.
วิ.มหา. (พุทธ) มก. ๑/๑๕
๑๐ม ง ค ล ที่

มีวาจาสุภาษิต
ดอกไม้งามมีสีแต่ไม่มีกลิ่น ฉันใด
วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำ�อยู่ ฉันนั้น
ดอกไม้งามมีสีมีกลิ่น ฉันใด
วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำ�อยู่ ฉันนั้น
105

๑. วาจาสุภาษิต
๑.๑ ดอกไม้งามมีสีแต่ไม่มีกลิ่น ฉันใด วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำ�อยู่ ฉันนั้น
ดอกไม้งามมีสีมีกลิ่น ฉันใด วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำ�อยู่ ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๒/๗๘
๑.๒ หมู่มฤคย่อมอดทนการบันลือของสีหะไม่ได้ การบันลือของสีหะนั่นแหละจะข่มขู่คุกคาม
หมู่มฤคเหล่านั้น ฉันใด วาทะของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะทนวาทะของ
พระเถระทั้งหลายไม่ได้ ที่แท้วาทะของพระเถระนั่นแหละ จะครอบงำ�วาทะของเดียรถีย์เหล่านั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๐/๒๕
๑.๓ ถ้อยคำ�ของบิดาอันประกอบด้วยกรุณา ย่อมเป็นประโยชน์แก่บุตรทั้งหลาย น้ำ�มูตรโคที่
ดองยาถึงจะมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อบุคคลดื่มแล้วก็แก้โรคทั้งปวงได้ ปุยนุ่นถึงจะใหญ่เวลาตกถูก
ร่างกายของผู้อื่นก็ไม่ทำ�ให้เจ็บปวด ฉันใด พระวาจาของพระตถาคตถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ไม่ทำ�ให้
เกิดทุกข์แก่ใคร ย่อมทำ�ลายกิเลสของสัตว์ทั้งปวงได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๓๙
106

๒. พูดจริง
๒.๑ คนมีถ้อยคำ�เป็นหลักฐาน เหมือนรอยจารึกบนแผ่นหิน และเหมือนเสาเขื่อน.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๑๙๓
๒.๒ แม้ถึงลมจะพึงพัดภูเขามาได้ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์จะพึงตกในแผ่นดินได้ แม่น้ำ�
ทั้งหมดจะพึงไหลทวนกระแสได้ ถึงอย่างนั้นข้าพเจ้าจะพึงพูดเท็จไม่ได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๗๓
๒.๓ ฟ้าจะพึงแตกได้ ทะเลจะพึงแห้งได้ แผ่นดินอันทรงไว้ซึ่งภูตจะพึงพลิกได้ ภูเขาสิเนรุจะ
พึงเพิกถอนได้ตลอดราก ถึงอย่างนั้นข้าพเจ้าก็พูดเท็จไม่ได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๗๔
๒.๔ บุรุษรู้อยู่จะพึงกินยาพิษ หรือจับอสรพิษที่มีฤทธิ์รุ่งโรจน์มีเดชกล้าได้ หรือบุคคลใดพึง
กินคนที่กล่าวคำ�สัตย์เช่นกับพระองค์ ศีรษะของบุคคลนั้นจะต้องแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงแน่.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๖๙๓

๓. พูดไพเราะ ไม่หยาบคาย
๓.๑ จิตละเอียดอ่อนย่อมไม่เป็นผรุสวาจา ฉันใด คำ�พูดละเอียดอ่อนไม่เป็นผรุสวาจา ฉันนัน้ .
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๖/๖๔๙
๓.๒ ท่านอย่ากล่าวคำ�หยาบกะใครๆ ผูท้ ท่ี า่ นกล่าวแล้วก็จะโต้ตอบท่านด้วยถ้อยคำ�ทีแ่ ข่งดีกนั
นำ�ทุกข์มาให้ ผูท้ �ำ ตอบก็พงึ ประสบทุกข์ ท่านไม่ยงั ตนให้หวัน่ ไหว ดุจกังสดาลถูกเลาะขอบออกแล้ว.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๒/๔๑๐
๓.๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระวาจาได้เร็ว ไพเราะ คือ ทรงเปล่งไม่ช้า เปล่งพระ
วาจาได้ไพเราะจับใจ เหมือนหงส์ทองเมื่อหาเหยื่อ ได้เห็นป่าใกล้สระ จึงชูคอกระพือปีก ร่าเริงดีใจ
ค่อยๆ ไม่รีบด่วน ส่งเสียงไพเราะ.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๕๔๙

๔. พูดถูกกาล
๔.๑ ลูกนกดุเหว่านี้เจริญเติบโตได้เพราะนางกา ปีกยังไม่ทันแข็งก็ร้องเป็นเสียงดุเหว่า ใน
เวลาไม่ควรร้อง นางการู้ว่าลูกนกดุเหว่านี้ไม่ใช่ลูก จึงตีด้วยจงอยปากให้ตกลงมา จะเป็นมนุษย์หรือ
สัตว์เดียรัจฉานก็ตาม พูดมากในกาลไม่ควรพูด ย่อมได้ทุกข์เห็นปานนี้... เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด
ผู้ใดพูดเกินเวลาไป ผู้นั้นย่อมถูกทำ�ร้ายดุจลูกนกดุเหว่า ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๕๙๐
107

๕. วาจาทุภาษิต
๕.๑ คนผู้มีถ้อยคำ�ไม่เป็นหลักฐานเหมือนย้อมผ้าด้วยขมิ้น เหมือนหลักไม้ที่ปักไว้ในกอง
แกลบ และเหมือนฟักเขียวที่วางไว้บนหลังม้า.
อัง.สัตตก. (อรรถ) มก. ๓๔/๔๐๑
๕.๒ คำ�พูดเหลาะแหละมาก มีคำ�พูดจริงน้อยเหมือนเช่นการต้มแกงถั่ว ถั่วเขียวส่วนมากสุก
ส่วนน้อยไม่สุก ฉะนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๖/๔๑๐
๕.๓ ผู้ใดปากบอนจัดเป็นพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคำ�ในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้ง
หลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้มีปากชั่วร้ายคล้ายอสรพิษ ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๔๖๒
๕.๔ ฉันเองเป็นคนโง่เขลา กล่าวคำ�ชั่วช้า เหมือนกบในป่า ร้องเรียกงูมาให้กินตน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๐/๓๐๓

๖. พูดโกหก
๖.๑ ชีวิตอันช้างต้นยอมสละแล้ว ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำ�ไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนราหุล เรา
กล่าวว่าบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำ�บาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๒๖๕
๖.๒ ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเหมือนกับสวมบ่วงที่ตกลงยังพื้นดิน
ไว้ที่คอ
ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเป็นคนลามกยิ่งกว่าผู้ที่ลามก ทั้งจะต้องเข้า
ถึงสถานที่ลงอาญาของพญายม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๕๗
๖.๓ การพูดเท็จเปรียบเหมือนเถ้า เพราะไม่รุ่งเรือง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
เหมือนไฟถูกเถ้าปกปิดย่อมไม่รุ่งเรือง ฉันใด ญาณของท่านถูกปกปิดด้วยการพูดเท็จ ก็ฉันนั้น.
ขุ.จู. (พุทธ) มก. ๖๗/๙๘
๖.๔ การกล่าวเท็จเป็นอาบัติหนักเบาตามวัตถุ เป็นปาราชิกก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้ เหมือน
บุรุษตีบุรุษ อาจได้รับโทษด้วยการปรับ แต่ถ้าบุรุษตีพระราชาต้องถูกตัดมือ หรือประหารชีวิต
โทษจึงหนักตามวัตถุ.
มิลิน. ๒๗๑
108

๗. พูดหยาบคาย
๗.๑ การกล่าวติพระรัตนตรัย ซึ่งควรสรรเสริญเท่านั้น จักถึงความพินาศย่อยยับเหมือนคน
กลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอากำ�ปั้นทำ�ลายภูเขาสิเนรุ เหมือนคนเล่นอยู่แถวซี่
ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้างซับมันที่ดุร้าย.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๑๓๓
๗.๒ ผู้ใดบริภาษฤาษี ผู้นั้นชื่อว่า ขุดภูเขาด้วยเล็บ ชื่อว่า เคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน ชื่อว่า
พยายามกลืนกินไฟ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๙
๗.๓ คำ�ว่า “หยาบ” คือ เสีย เป็นวาจาที่หยาบคาย เหมือนต้นไม้ที่เสียเป็นต้นไม้ที่ขรุขระ
มีขุยไหลออกฉะนั้น วาจานั้น ย่อมเหมือนกับไม้ที่ขรุขระครูดหูเข้าไป ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๒๖๓
๗.๔ บุคคลแม้กล่าวถ้อยคำ�ที่อิงประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าวกระทบเสียดแทงผู้อื่น ท่านกล่าว
คำ�หยาบคายมากเหมือนโกนผมด้วยมีดโกนไม่คม.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๓๒๘
๗.๕ คำ�ว่า “ทิ่มแทงผู้อื่น” คือ วาจาที่แทงไปในของรัก เหมือนกิ่งไม้คดมีหนามกระทบ
กระแทกคนเหล่าอื่น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๒๖๓

๘. การรักษาความลับ
๘.๑ บัณฑิตย่อมอดทนคำ�ด่า คำ�บริภาษ และการประหารของคนผู้รู้ความลับ ซึ่งคนอื่นไม่รู้
เพราะกลัวจะขยายความลับที่คิดไว้ เหมือนคนที่เป็นทาส อดทนต่อคำ�ด่าว่าของนาย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๓๗
๘.๒ ไม่ควรเปิดเผยความลับ ควรรักษาความลับไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น ความลับ
อันบุคคลผู้รู้แจ่มแจ้ง ไม่เปิดเผยนั่นแหละเป็นความดี.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๒๓๗
109
๑๑ม ง ค ล ที่

บำ�รุงบิดามารดา
มารดาบิดาทั้งหลายเป็นผู้เอ็นดู ชื่อว่า
เป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์
และเป็นอาหุไนยของบุตรทั้งหลาย
111

๑. พระคุณบิดามารดา
๑.๑ โยมมารดาของเราดีแท้ เพราะได้แนะนำ�ให้เรารู้สึกตัว เหมือนบุคคลแทงพาหนะด้วย
ปฏัก ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๙๒
๑.๒ มารดาบิดาทั้งหลายเป็นผู้เอ็นดู ชื่อว่า เป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็นอาหุไนย
ของบุตรทั้งหลาย.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๔/๑๕๐

๒. ความกตัญญูกตเวที
๒.๑ พญานกแขกเต้ากล่าวว่า ข้าพเจ้านำ�ข้าวสาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว ก็เปลื้องหนี้
เก่า...
พราหมณ์ถามว่า การเปลื้องหนี้ของท่านเป็นอย่างไร
พญานก : มารดา และบิดาของข้าพเจ้าแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว ข้าพเจ้าคาบเอาข้าว
สาลีไปด้วยจะงอยปาก เพื่อท่านเหล่านั้น ชื่อว่า เปลื้องหนี้ที่ท่านทำ�ไว้ก่อน.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๓๕๗
112

๓. ลูกอกตัญญู
๓.๑ เราชื่นชม และปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้นคบคิดกันกับภรรยา
รุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร เขาว่าพวกมันเป็นอสัตบุรุษ ร้องเรียกเราว่า พ่อๆ พวกมันประดุจยักษ์
แปลงเป็นบุตร ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัย กำ�จัดคนแก่ไม่มีสมบัติออกจากที่อยู่อาศัย ดังม้าแก่ที่
เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๗๕
๓.๒ ข้าพเจ้าเพลิดเพลินด้วยบุตรที่เกิดแล้ว และปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตร
เหล่านั้นถูกภรรยายุยง ย่อมรุกรานข้าพเจ้าเหมือนสุนัขรุกรานสุกร ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๓/๒๓๕
๓.๓ บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษ เลวทราม เรียกข้าพเจ้าว่า พ่อๆ พวกเขาคือ รากษสแปลง
มาในรูปบุตร ย่อมทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้ถึงความเสื่อมชรา ต้องเที่ยวขอทานที่เรือนของชนเหล่าอื่น
เหมือนม้าแก่ใช้การงานไม่ได้ ถูกเขาพรากไปจากอาหาร ฉะนั้น.
ขุ.ธ.( ทั่วไป) มก. ๔๓/๒๓๕
๓.๔ ไม้เท้าของข้าพเจ้ายังประเสริฐกว่า บุตรทั้งหลายไม่เชื่อฟังจะประเสริฐอะไร เพราะไม้
เท้ากันโคดุก็ได้ กันสุนัขก็ได้ มีไว้ยันข้างหน้าเวลามืดก็ได้ ใช้หยั่งลงไปในที่ลึกก็ได้ เพราะอานุภาพ
แห่งไม้เท้า คนแก่เช่นข้าพเจ้าพลาดแล้วก็กลับยืนขึ้นอีกได้.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๓/๒๓๖
๓.๕ พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ พระราชานั้นไม่ชื่อว่า เป็นพระราชา ผู้ใดเอาชนะ
เพื่อน ผู้นั้นไม่ชื่อว่า เป็นเพื่อน ภรรยาใดไม่กลัวเกรงสามี ภรรยานั้นไม่ชื่อว่า เป็นภรรยา บุตรเหล่า
ใดไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว บุตรเหล่านั้นไม่ชื่อว่า เป็นบุตร.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๓๘
๓.๖ คนผู้สามารถแต่ไม่เลี้ยงมารดา หรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว พึงรู้ว่าเป็น
ถ่อย.
ขู.สุ. (พุทธ) มก. ๔๖/๓๒๘
113
๑๒
ม ง ค ล ที่

เลี้ยงดูบุตร
พญานก กล่าวว่า ข้าพเจ้านำ�ข้าวสาลีของท่าน
ไปถึงยอดงิ้วแล้ว... ให้เขากู้หนี้ใหม่...
พราหมณ์ถามว่า การให้กู้หนี้ของท่านเป็นอย่างไร
พญานก : ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังอ่อน
ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตรเหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า ให้บุตรเหล่านั้นกู้หนี้
115

๑. การอยู่ในครรภ์
๑.๑ เหมือนอย่างว่ามารดานั่งหรือนอนกับบุตร ยกมือหรือเท้าของบุตรนั้นห้อยลง คิดว่าเรา
จักให้บุตรแข็งแรง มองดูบุตรเพื่ออยู่อย่างสบาย ฉันใด แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ก็ฉันนั้น
คิดว่า ทุกข์ใดเกิดแก่ครรภ์ในขณะที่มารดายืน เดิน เคลื่อนไปมา นั่ง กลืนอาหารร้อน เย็น เค็ม
ขม เผ็ด เป็นต้น มารดาเฝ้าคิดว่า ทุกข์นั้นจะมีแก่บุตรของเรา หรือไม่หนอ แล้วมองดูพระโพธิสัตว์
เพื่ออยู่อย่างสบาย.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๐๕
๒. ความรักในบุตร
๒.๑ ถ้าพระองค์ทรงทราบ หรือทรงได้สดับข่าวลูกทั้งสองของพระราชบุตรีนั้น ขอได้ทรง
พระกรุณาตรัสบอกแก่ข้าพระบาทโดยเร็วพลัน ดังหมอรีบพยาบาลคนที่ถูกงูกัด ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๔/๕๘๙
๒.๒ พญานกแขกเต้ากล่าวว่า ข้าพเจ้านำ�ข้าวสาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว... ให้เขากู้หนี้
ใหม่...
พราหมณ์ถามว่า การให้กู้หนี้ของท่านเป็นอย่างไร
116

พญานก : ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังอ่อน ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตร


เหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า ให้บุตรเหล่า
นั้นกู้หนี้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๓๕๗
๒.๓ พระนางเจ้ามัทรีทอดพระเนตรเห็นพระโอรสทั้งสองเสด็จมาโดยสวัสดีแต่ที่ไกล ทรง
สั่นระรัวไปทั่วพระกาย เหมือนแม่มดที่ผีสิง ฉะนั้น น้ำ�นมก็ไหลออกจากพระถันทั้งคู่.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๖๔/๕๙๑
๒.๔ พระลูกน้อยทั้งสองพระองค์จะขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนคอยต้อนรับแม่อยู่ที่ตรงนี ้
ดังลูกโคอ่อนยืนคอยชะเง้อหาแม่ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๕๖๐
๒.๕ มโหสถบัณฑิตเข้าเฝ้าพระราชา เมื่อถึงที่ประทับได้ทำ�สัญญาณกับบิดา บิดาก็ลุกขึ้น
จากอาสนะ ให้มโหสถบัณฑิตนั่งแทน พระราชาทรงเสียพระทัยที่มรรยาทของมโหสถเป็นเช่นนั้น
ไม่เหมือนกับเกียรติศัพท์ที่ได้ยินมา
มโหสถบัณฑิตจึงได้กล่าวว่า ถ้าพระองค์สำ�คัญว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตร ลาของพระองค์นี้
ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดร เพราะว่าลาเป็นพ่อของม้าอัสดร
พระโพธิสัตว์กระทำ�เช่นนั้น เพื่อแก้ปัญหาให้แจ่มแจ้ง ประกาศความเป็นบัณฑิต และ
ข่มรัศมีของอาจารย์ทั้งสี่ที่คอยขัดขวางมโหสถบัณฑิตไม่ให้มาเข้าเฝ้าพระราชา มิใช่ประสงค์จะดู
หมิ่นบิดา.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๕/๒๗๕
117
๑๓ม ง ค ล ที่

สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
ภริยาของบุรุษ ๗ จำ�พวก คือ เสมอด้วยเพชฌฆาต เสมอด้วยโจร
เสมอด้วยนาย เสมอด้วยแม่ เสมอด้วยพี่สาว น้องสาว
เสมอด้วยเพื่อน เสมอด้วยทาสี
119

๑. ประเภทของภรรยา (สามี)
๑.๑ ภริยาของบุรุษ ๗ จำ�พวก คือ เสมอด้วยเพชฌฆาต เสมอด้วยโจร เสมอด้วยนาย
เสมอด้วยแม่ เสมอด้วยพี่สาว น้องสาว เสมอด้วยเพื่อน เสมอด้วยทาสี.
อัง.สัตต. (พุทธ) มก. ๓๗/๑๙๗
๑.๒ การอยู่ร่วมกัน ๔ ประเภท คือ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา
ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๑๘๗

๒. การสงเคราะห์ภรรยา (สามี)
๒.๑ น้องผู้มีรัศมีอันเปล่งปลั่ง เป็นที่รักของพี่ ดุจลมเป็นที่ใคร่ของผู้มีเหงื่อ ดุจน้ำ�เป็นที่ปร
ารถนาของคนผู้กระหาย ดุจธรรมเป็นที่รักของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดุจยาเป็นที่รักของคนไข้หนัก
ดุจโภชนะเป็นที่รักของคนหิว ฉะนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๑๒๒
๒.๒ หม่อมฉันผู้เป็นภรรยาบำ�รุงสามี และลูกทั้งสองตลอดวันคืน ดุจมาณพบำ�รุงอาจารย์.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๗๕๐
120

๒.๓ น้ำ�นม และสังข์มีสีเสมอเหมือนกัน ฉันใด พระเวสสันดร และพระนางมัทรีก็มีพระมนัส


เจตนาเสมอเหมือนกัน ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๗๖๘
๒.๔ แม่น้ำ�ที่ไม่มีน้ำ�ชื่อว่า เปลือย แว่นแคว้นที่ปราศจากพระราชาชื่อว่า เปลือย หญิงปราศ
จากสามีถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คนก็ชื่อว่า เปลือย.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๖/๑๕๕
๒.๕ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยังต่อกันได้อีก ท่านจงคืนดีเสียกับภรรยาเถิด อย่าลุแก่อำ�นาจ
ความโกรธเลย.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๒๒๖
๒.๖ เทวดาทูลถามพระบรมศาสดาว่า อะไรเป็นสง่าของรถ อะไรเป็นสง่าของแว่นแคว้น
อะไรเป็นสง่าของสตรี
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ธงเป็นสง่าของรถ พระราชาทรงเป็นสง่าของแว่นแคว้น
ภัสดาเป็นสง่าของสตรี.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๒๙๘

๓. การตัดใจจากสามี-ภรรยา
๓.๑ บุคคลควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้งตน ไม่ควรทำ�ความอาลัยรักใคร่ในบุคคลเช่นนั้น ไม่ควร
สมาคมกับคนที่เขาไม่ใฝ่ใจกับตน เหมือนนกรู้ว่าต้นไม้หมดผลแล้ว ก็ละทิ้งไปหาต้นไม้อื่น เพราะโลก
เป็นของกว้างใหญ่.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๓๙๙
๓.๒ ลูกเอ๋ย คนที่มีจิตเหมือนน้ำ�ย้อมขมิ้น มีจิตกลับกลอก รักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าอย่าคบหา
คนเช่นนั้นเลย ถึงหากว่าพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นจะไม่มีมนุษย์ก็ตาม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๖๙๕
121
๑๔
ม ง ค ล ที่

ทำ�งานไม่คั่งค้าง
นรชนจะเป็นผู้มีชาติกำ�เนิดเลวทราม แต่เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร
มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และศีล
ย่อมรุ่งเรืองแจ่มใส เหมือนกองไฟในยามราตรี ฉันนั้น
123

๑. อิทธิบาท ๔
๑.๑ ธรรมดาราชสีห์ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้าทั้งสี่อย่างองอาจ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ก็ควรเที่ยวไปด้วยอิทธิบาท ๔ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๙
๑.๒ นรชนจะเป็ น ผู้ มี ช าติ กำ� เนิ ด เลวทราม แต่ เป็ น ผู้ มี ค วามขยั น หมั่ น เพี ย ร มี ปั ญ ญา
ประกอบด้วยอาจาระ และศีล ย่อมรุ่งเรืองแจ่มใส เหมือนกองไฟในยามราตรี ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๔
๑.๓ มื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน คือ แสงเงินแสงทองเป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน
เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๗๕
๑.๔ กรรมที่บุคคลใดพิจารณาถี่ถ้วนก่อนแล้วทำ �ลงไป ผลอันเจริญย่อมมีแก่บุคคลนั้น
เหมือนความถึงพร้อมแห่งยาแก้โรค ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๖๕

124

๑.๕ ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า รีบด่วนในเวลาที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นบัณฑิตจะถึงความสุข


เพราะได้จัดแจงโดยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น เขา
ย่อมได้ยศ ได้เกียรติคุณ และไม่แตกจากมิตรทั้งหลาย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๓๖

๒. โทษของความเกียจคร้าน
๒.๑ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจากความเกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น
ท่านจงทำ�จิตให้ตรงแล้วทำ�ลายอวิชชาเสีย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๑๘๖
๒.๒ พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซา
ดังนกกะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลา ฉันนั้น
พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอน
ถึงทรัพย์เก่า เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่ง ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๘๔
๒.๓ กำ�ลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำ�บุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทรนั้นได้ ฉันใด ชาติ
และชราย่อมครอบงำ�ท่านผู้ถูกความเกียจคร้านครอบงำ�แล้ว ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๒/๑๘๙

๓. การทำ�งานโดยไม่พิจารณา
๓.๑ ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นพาลย่อมประสพ
ทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้างแรม
เขาย่อมถึงความเสื่อมยศ และแตกจากมิตรทั้งหลาย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๓๖
๓.๒ การงานย่อมเผาบุคคลผู้มิได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทำ�ให้สำ�เร็จ เหมือนกับของร้อนที่
บุคคลไม่พิจารณาก่อนแล้วใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๑๔
๓.๓ กรรมที่บุคคลไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วทำ�ลงไป ผลชั่วร้ายย่อมมีแก่บุคคลนั้น
เหมือนความวิบัติแห่งยาแก้โรค ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๖๕
125

๓.๔ ในเวลาที่จะต้องทำ�ช้าๆ ผู้ใดรีบด่วนทำ�เสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำ�กลับทำ�ช้าไป


ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเอง เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งแหลกละเอียดไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๖

๔. โทษของการคบคนเกียจคร้าน
๔.๑ แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัยบุคคลผู้เกียจคร้าน ย่อมจมลงในมหาสมุทร คือ
วัฏสงสาร เปรียบเหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ พึงจบลงในมหาสมุทร.
ขุ.อิติ. (อรรถ) มก. ๔๕/๔๗๘
๔.๒ เต่าตาบอดเกาะบนขอนไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำ�ใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคน
เกียจคร้านดำ�รงชีพ ย่อมจมลงในวัฏสงสาร ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๑/๖๓
๔.๓ คนเกาะไม้เล็กๆ ต้องจมอยู่ในห้วงน้ำ�ใหญ่ ฉันใด คนแม้ดำ�รงอย่างดี แต่อยู่ร่วมกับคน
เกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ในวัฏสงสาร ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๑/๓๒๑
๑๕
ม ง ค ล ที่

บำ�เพ็ญทาน
หม้อน้ำ�ที่เต็ม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำ�ลง ก็จะคายน้ำ�ออกจนไม่เหลือ
ไม่ยอมรักษาไว้ แม้ฉันใด
ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำ�ทราม สูงส่ง และปานกลาง
จงให้ทานอย่าให้เหลือ เหมือนหม้อน้ำ�ที่คว่ำ�ลง ฉันนั้นเถิด
127

๑. ผู้รับบริสุทธิ์
๑.๑ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินทางมา บุญเขตนี้มาถึงแก่เราผู้เป็นสัตว์ที่ต้องการบุญ
เปรียบเหมือนบุรุษชาวนาเห็นนาอันเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ�.
ขุ.จริยา (พุทธ) มจ. ๓๓/๗๒๙
๑.๒ ทานที่ถวายพระสงฆ์ย่อมมีผลมาก ด้วยว่าพระสงฆ์เป็นเขตกว้างใหญ่ คำ�นวนนับมิได้
เหมือนสาครมหาสมุทรนับจำ�นวนมิได้.
ขุ.วิ. (อรรถ) มก. ๔๘/๓๕๙
๑.๓ ธรรมดาอาหารย่อมเป็นที่ต้องการแก่สัตว์ทั้งปวง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องการ ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระโมฆราชเถรเจ้าว่า ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแน่ใจในความเป็นสมณะ
ของตนด้วยศีล และข้อปฏิบัติ ควรให้เป็นที่ปรารถนาของโลกทั้งปวง.
มิลิน. ๔๖๓
๑.๔ นาทั้งหลายที่มีหญ้าเป็นที่ประทุษร้าย หมู่สัตว์ที่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องประทุษ
ร้าย เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านที่ปราศจากจึงมีผลมาก.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๑๓
128

๑.๕ การเลือกทักขิณาทาน และพระทักขิไณยบุคคลแล้วจึงให้ทาน พระสุคตเจ้าทรง


สรรเสริญ ทานที่บุคคลถวายในพระทักขิไณยบุคคล มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ ย่อมมี
ผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงในนาดี ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๕๗๒
๑.๖ ธรรมดานาที่เป็นนาดี ย่อมก่อให้เกิดความปีติแก่ผู้เป็นเจ้าของ เพราะแม้หว่านข้าวลง
ไปน้อย ก็ยังได้ผลมาก และยิ่งหว่านมากขึ้นก็ย่อมได้ผลมากยิ่งขึ้น ฉันนั้น ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ก็ควรเป็นนาดี เป็นผู้ให้ผลมาก ทายกจะได้เกิดปีติว่า ถึงแม้เขาจะถวายทานน้อยแต่ก็ได้ผลบุญมาก
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระอุบาลีเถรเจ้า ผู้ชำ�นาญในพระวินัยกล่าวไว้ว่า พระภิกษุควรเป็น
ผู้เปรียบด้วยนา ควรให้ผลไพบูลย์ ผู้นั้นชื่อว่า นาประเสริฐ.
มิลิน. ๔๖๒
๑.๗ พืชแม้น้อยแต่หว่านลงในนาดี เมื่อฝนยังท่อธารให้ตกลงทั่ว ผลย่อมยังชาวนาให้ยินดี
ได้ ฉันใด การถวายบาตรนี้ก็ฉันนั้น ข้าพระองค์ได้หว่านลงในพุทธเขต เมื่อท่อธาร คือ ปีติตกลงอยู่
ผลจักทำ�ข้าพระองค์ให้ยินดี.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๑/๕๐
๑.๘ พืชหว่านลงในนาที่สมบูรณ์ เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล ธัญญชาติย่อมงอกงามไม่มีศัตรู
พืชย่อมแตกงอกงาม ถึงความไพบูลย์ผลเต็มที่ ฉันใด โภชนะที่บุคคลถวายในสมณพราหมณ์ผู้มีศีล
สมบูรณ์ ก็ฉันนั้น.
อัง.อัฐก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๗๗
๑.๙ พืชแม้มากอันบุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ยินดี
ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลตั้งไว้ในหมู่ชนผู้ทุศีล ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ยินดี ฉันนั้น
เหมือนกัน พืชแม้เล็กน้อยอันบุคคลหว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำ�ถูกต้องตามกาล ผลก็ย่อม
ยังชาวนาให้ยินดีได้ ฉันใด เมื่อสักการะแม้เล็กน้อย อันทายกทำ�แล้วในเหล่าท่านผู้มีศีล ผู้มีคุณคงที่
ผลก็ย่อมยังทายกให้ยินดีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ธุ. (พุทธ) มก. ๔๙/๒๔๖
๑.๑๐ สันดานของพระขีณาสพ เว้นจากโทษมีความโลภ เป็นต้น ประกอบด้วยปัจจัยอื่นมี
กาลเป็นต้น ในเมื่อเขาหว่านพืช คือ ไทยธรรมที่ตบแต่งไว้ดีแล้ว ย่อมมีผลมากแก่ทายก เปรียบ
เหมือนนาเว้นจากโทษมีหญ้า เป็นต้น ประกอบด้วยปัจจัยอื่นมีฤดูและน้ำ� เป็นต้น ในเมื่อหว่านพืชที่
เขาจัดแจงไว้ดี ย่อมมีผลมากแก่ชาวนา ฉะนั้น.
ขุ.เปต. (อรรถ) มก. ๔๙/๑๒
129

๑.๑๑ ธรรมดาดวงจันทร์ย่อมมีผู้อยากให้บังเกิดขึ้น ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร


เข้าไปสู่บ้านเรือนด้วยมีผู้นิมนต์ ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในสังยุตตนิกายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเข้าไปสู่ตระกูลด้วย
อาการเหมือนดวงจันทร์ อย่าทำ�กายใจให้คดงอในตระกูล คือ ซื่อตรง อย่าคะนองกายในตระกูล
คือ สำ�รวมกายใจในสถานที่ที่ไปเยือน.
มิลิน. ๔๔๑

๒. ผู้รับไม่บริสุทธิ์
๒.๑ ทายกเป็นคนมีศีล ถวายไทยธรรมที่เกิดขึ้นโดยธรรม แต่ปฏิคคาหก (ผู้รับ) เป็นคน
ทุศีล ทักษิณานี้เป็นเหมือนทักษิณาของพระเวสสันดรมหาราช.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๓๕๖
๒.๒ ข้าพระองค์จะต้องการอะไรด้วยทานอันว่างเปล่าจากทักขิไณยบุคคล ยักษ์ชื่ออินทกะ
นี้ถวายทานแล้วนิดหน่อย ยังรุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ ดุจพระจันทร์ในหมู่ดาว.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๒/๓๑๒
๒.๓ ชาวนาผู้ฉลาดได้นาแม้ไม่ดี ไถในสมัยกำ�จัดฝุ่น ปลูกพืชที่มีสาระ ดูแลตลอดคืนวัน
เมื่อไม่ถึงความประมาท ย่อมได้ข้าวดีกว่านาที่ไม่ดูแลของคนอื่น ฉันใด ผู้มีศีลแม้ให้ทานแก่ผู้ทุศีล
ย่อมได้ผลมาก ฉันนั้น.
ม.อุ. (อรรถ) มก. ๒๓/๔๑๐

๓. ผู้ให้
๓.๑ หม้อน้ำ�ที่เต็ม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำ�ลง ก็จะคายน้ำ�ออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษาไว้ แม้
ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำ�ทราม สูงส่ง และปานกลาง จงให้ทานอย่าให้เหลือ เหมือนหม้อน้ำ�ที่
คว่ำ�ลง ฉันนั้นเถิด.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๓๔
๓.๒ ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดร พระองค์เป็นที่อาศัยของเหล่ายาจก เช่น ธรณีดล
เป็นที่อาศัยแห่งเหล่าสัตว์ ผู้เปรียบเหมือนแม่ธรณีแก่เราได้
พระองค์เปรียบเหมือนสระน้ำ�มีท่าอันงาม ลงดื่มได้ง่าย มีน้ำ�เย็น น่ารื่นรมย์ ดารดาษไป
ด้วยดอกบัวขาบ ประกอบด้วยละอองเกสร
พระองค์เปรียบเหมือนนิโครธใกล้ทาง มีร่มเงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง
ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน
130

พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของเหล่ายาจก ดังสาครเป็นที่ไหลไปแห่งแม่น้ำ�น้อยใหญ่.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๖๘๑
๓.๓ บุคคลได้พบสมณะ พราหมณ์ คนกำ�พร้า คนเดินทาง วณิพกแล้ว ย่อมไม่แบ่งข้าว น้� ำ
และเครือ่ งบริโภคให้ บัณฑิตทัง้ หลายกล่าวบุคคลผูเ้ ป็นบุรษุ ต่�ำ ทรามนัน้ แลว่า เป็นผูเ้ สมอด้วยฝนไม่ตก
บุคคลใดย่อมไม่ให้ไทยธรรมแก่บุคคลบางพวก ย่อมให้แก่บุคคลบางพวก ชนผู้มีปัญญาทั้ง
หลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ดุจฝนตกในที่บางส่วน บุรุษผู้ที่เขาออกปากขอได้ง่าย ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั่ว
หน้า มีใจยินดีประดุจโปรยไทยธรรม พูดแต่คำ�ว่า จงให้ๆ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้รวบรวมทรัพย์ที่ตนได้แล้วด้วยความหมั่น โดยชอบธรรม ยัง
วณิพกทั้งหลายผู้มาถึงแล้วให้อิ่มหนำ�ด้วยข้าว และน้ำ�โดยชอบ เปรียบเหมือนเมฆฝนส่งเสียงร้อง
คำ�ราม ย่อมยังฝนให้ตก ยังน้ำ�ให้ไหลนองเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๔๖๒
๓.๔ นางรู้แจ้งซึ่งแขก คือ ภิกษุผู้มีกาลอันถึงแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือนของพราหมณ์ ยินดี
ต่อภิกษุนั้นเป็นนิตย์ ดังมารดายินดีต่อบุตรผู้จากไปนานกลับมาถึง ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๓/๒๘๐
๓.๕ เราตกแต่งทรัพย์ไว้สำ�หรับยาจกในที่หลายร้อยแห่ง วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตาม
หรือในเวลากลางคืนก็ตาม ก็ได้โภคะตามความปรารถนาพอเต็มมือกลับไป เราได้ให้มหาทานเห็น
ปานนี้ จนตราบเท่าสิ้นชีวิต เราได้ให้ทรัพย์ที่น่าเกลียดก็หามิได้ เปรียบเหมือนคนไข้กระสับกระส่าย
เพื่อจะพ้นจากโรค ต้องการให้หมอพอใจด้วยทรัพย์ จึงหายจากโรคได้.
ขุ. จริยา. (พุทธ) มก. ๗๔/๘๐

๔. การให้อวัยวะเป็นทาน
๔.๑ พระโพธิสัตว์ (กระต่าย) นั้นลุกขึ้นจากที่นอนหญ้าแพรกของตน แล้วไปที่กองถ่านเพลิง
นั้น คิดว่าถ้าสัตว์เล็กๆ ในระหว่างขนของเรามีอยู่ สัตว์นั้นอย่าตายด้วยเลย แล้วสะบัดตัว ๓ ครั้ง
บริจาคร่างกายทั้งสิ้น กระโดดโลดเต้นมีใจเบิกบาน กระโดดลงในกองถ่านเพลิง เหมือนพระยาหงส์
กระโดดลงในกอปทุม ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๔๘๘
๔.๒ เราจะนำ�เนื้อหทัยนั้นออกด้วยหอก แล้วนำ�เนื้อหทัยซึ่งมีหยาดเลือดไหล ดุจยกดอกบัว
พร้อมด้วยก้านขึ้นจากน้ำ�ใสแล้วจักให้.
ขุ.จริยา. (อรรถ) มก. ๗๔/๑๕๑
131

๔.๓ เราจักเชือดเนื้อในร่างกาย ดุจกรีดเยื่อน้ำ�อ้อยงบของตาลด้วยการขูดออก.


ขุ.จริยา. (อรรถ) มก. ๗๔/๑๕๒
๔.๔ หากใครพึงขอนัยน์ตาเรา เราจักให้ควักนัยน์ตา เหมือนคนควักจาวตาลออกแล้วให้
แก่เขา.
ขุ.จริยา. (อรรถ) มก. ๗๔/๑๕๒

๕. ความเคารพในทาน
๕.๑ พระอาทิตย์ส่องแสงสว่างอยู่ในนภากาศ อันปราศจากเมฆฝน ฉันใด ข้าพเจ้าและ
ภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษย์โลกได้ถวายที่อยู่แก่พระอรหันต์ มีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าว และน้ำ�อัน
ไพบูลย์เป็นทานโดยเคารพ.
ขุ.วิ. (ทั่วไป) มก. ๔๘/๕๕๙
๕.๒ การไม่ทำ�ความยำ�เกรงทั้งในไทยธรรม ทั้งในบุคคล ให้ทานโดยนัยดังกล่าวข้างต้น
ความว่าเป็นผู้ต้องการทิ้งให้เหมือนยัดเหี้ยเข้าจอมปลวก.
ม.อุ. (อรรถ) มก. ๒๒/๑๙๒

๖. ผู้ให้ด้วยศรัทธา
๖.๑ คนทั้งหลายผู้หวังผล ย่อมหว่านพืชลงในเนื้อที่นาดอน นาลุ่ม และนาไม่ลุ่ม ไม่ดอน
ฉันใด ท่านจงให้ทานด้วยศรัทธานั้น ฉันนั้น.
ม.ม. (โพธิ) มก. ๒๐/๑๖๔
๖.๒ ห้วงน้ำ�ที่เต็มเปี่ยมตลอดเวลา ไม่มีเวลาเหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็ม
เปี่ยมด้วยศรัทธา ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๗๖๓
๖.๓ เรา และภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษย์โลกเป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี ในครั้งนั้นเรือนของ
เราเป็นดังบ่อน้ำ�ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เราได้บำ�รุงสมณะ และพราหมณ์ให้อิ่มหนำ�สำ�ราญ.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๔๖๐
๖.๔ ท่านผู้รู้กล่าวทานกับการรบว่า มีสภาพเสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อยก็ชนะคนมากได้
เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้จะน้อยย่อมชนะหมู่กิเลสแม้มากได้ ถ้าบุคคลเชื่อกรรม และผล
แห่งกรรม ย่อมให้ทานแม้น้อย เขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการบริจาคมีประมาณน้อยนั้น.
ขุ.ชา. (ปัจเจก) มก. ๕๙/๕๗๘
132

๗. ผู้ให้ไม่บริสุทธิ์
๗.๑ ปฏิคาหกเป็นคนมีศีล แต่ทายกเป็นคนเสียศีล ถวายไทยธรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่เป็นธรรม
ทักษิณานี้เป็นเหมือนทักษิณาของคนฆ่าโจร.
ฑี.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๓๕๖

๘. อานิสงส์ของการให้ทาน
๘.๑ ต่อตนเอง
๘.๑.๑ ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก
ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลก
ด้วยจาคะ.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๖๒
๘.๑.๒ เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินเต็มที่
ดอน และที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้น
ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และเปี่ยมด้วยโภคะ ย่อม
บันเทิงใจในสวรรค์ ในปรโลก.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๖๒
๘.๑.๓ แม่น้ำ�มากหลายอันเป็นที่ฝูงปลาอาศัยอยู่ ย่อมไหลไปสู่ทะเลอันเป็นที่รับน้ำ�ใหญ่
เป็นที่ขังน้ำ�ใหญ่สุดที่จะประมาณ เป็นที่ประกอบด้วยสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่กำ�เนิดแห่งรัตนะต่างๆ
ฉันใด ท่อธารบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่บัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ� และให้ผ้า ให้เครื่องนอนที่นั่ง และเครื่องปู
ลาดเป็นทาน ดุจแม่น้ำ�ทั้งหลายไหลไปสู่ทะเล ฉะนั้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๑๗๙
๘.๑.๔ แม่น้ำ�เป็นอันมาก ที่หมู่ คือ คณะนรชนอาศัยแล้ว ไหลไปสู่สาครทะเลหลวงซึ่ง
ประมาณมิได้ เป็นที่ขังน้ำ�อย่างใหญ่ มีสิ่งน่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของหมู่รัตนะ ฉันใด สายธารแห่ง
บุญย่อมไหลไปสู่นรชนเป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าวน้ำ� ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เหมือนแม่น้ำ�ไหล
ไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๓๗๓
133

๘.๑.๕ ชาวนา ไถนาข้าวสาลี เป็นต้น เมื่อไม่ประมาทด้วยกิจ มีการหว่าน การไขน้ำ�เข้า


การเปิดน้ำ�ออก การปักดำ� และการรักษา เป็นต้น ตามควรแก่เวลา ย่อมได้รับผลแห่งข้าวกล้าอัน
โอฬาร และไพบูลย์ ฉันใด แม้ทายกก็ฉันนั้น เมื่อไม่ประมาทด้วยการบริจาคไทยธรรม และการ
ปรนนิบัติในพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมได้รับผลแห่งทานอันโอฬาร และไพบูลย์.
ขุ.เปต. (อรรถ) มก. ๔๙/๑๓
๘.๑.๖ เมื่อเรือนที่ถูกไฟไหม้ เจ้าของขนเอาสิ่งของอันใดออกได้ สิ่งของอันนั้นย่อมเป็น
ประโยชน์แก่เจ้าของ ส่วนของที่ไม่ได้ขนออกก็ถูกไฟไหม้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา เช่นเดียวกัน
โลกถูกชรา และมรณะเผาแล้วอย่างนี้ บุคคลพึงนำ�ออกเสียด้วยการให้ทาน.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๒๑๗
๘.๑.๗ นักมวยปล้ำ�ย่อมทำ�คู่ต่อสู้ให้ล้มลงด้วยกำ�ลังที่มากกว่า แผ่นดินย่อมรองรับสิ่งทั้ง
ปวงเพราะเป็นของใหญ่ยิ่ง มหาสมุทรไม่รู้จักเต็มเพราะเป็นของใหญ่ยิ่ง เขาสิเนรุไม่หวั่นไหวเพราะ
เป็นของหนักยิ่ง อากาศไม่มีที่สุดเพราะเป็นของกว้างยิ่ง ดวงอาทิตย์กำ�จัดเมฆหมอกเสียได้เพราะมี
รัศมียิ่ง ราชสีห์ไม่มีความกลัวเพราะมีชาติกำ�เนิดยิ่ง แก้วมณีให้สำ�เร็จความใคร่เพราะเป็นของมีคุณ
ยิ่ง พระราชาย่อมเป็นของใหญ่เพราะเป็นผู้มีบุญยิ่ง ไฟย่อมแผดเผาสิ่งทั้งปวงเพราะมีความร้อน
ยิ่ง เพชรย่อมเจาะรัตนชาติทั้งปวงเพราะเป็นของแข็งยิ่ง เทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ย่อมหมอบ
กราบภิกษุเพราะมีศีลยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีผู้เปรียบเพราะเป็นผู้วิเศษยิ่ง ฉันใด ทานอันยิ่งก็
เป็นที่สรรเสริญของผู้รู้ทั้งหลาย ฉันนั้น.
มิลิน. ๓๔๕
๘.๒ ต่อหมู่ญาติ
๘.๒.๑ ห้วงน้ำ�ใหญ่เต็มแล้วย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วแต่
มนุษย์โลกนี้ ย่อมสำ�เร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย.
ขุ.เปต. (พุทธ) มก. ๔๙/๔๗
๘.๒.๒ น้ำ�ฝนอันตกลงในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วจาก
มนุษย์โลกนี้ ย่อมสำ�เร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.เปต. (พุทธ) มก. ๔๙/๔๗
๘.๒.๓ พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบได้ด้วยนา ทายกทั้งหลายเปรียบด้วยชาวนา ไทยธรรม
เปรียบด้วยพืช ผลทานย่อมเกิดแต่การบริจาคไทยธรรมของทายกแก่ปฏิคาหก พืช นา และการ
134

หว่านพืชนั้น ย่อมเกิดผลแก่เปรตทั้งหลายและทายก เปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผลนั้น ทายกย่อม


เจริญด้วยบุญ ทายกทำ�กุศลในโลกนี้แล้วอุทิศให้เปรตทั้งหลาย ครั้นทำ�กรรมดีแล้ว ย่อมไปสวรรค์.
ขุ.เปต. (พุทธ) มก. ๔๙/๑

๙. ผู้ขอ
๙.๑ ท่านขอแก้วมณีอันเกิดจากหินดวงนี้ ย่อมทำ�ให้ข้าพเจ้าหวาดเสียว เหมือนกับชายหนุ่ม
มีมือถือดาบอันลับแล้วที่แผ่นหินมาทำ�ให้ข้าพเจ้าหวาดเสียว ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๘/๒๒
๙.๒ คนเมื่อขอผู้อื่นว่า ท่านจงให้ของชื่อนี้ ชื่อว่า ย่อมร้องไห้ ฝ่ายคนอื่นผู้กล่าวว่าไม่มี
ชื่อว่า ย่อมร้องไห้ตอบ ก็มหาชนอย่าได้เห็นเราผู้ร้องไห้ อย่าได้เห็นพระราชาร้องไห้ตอบเลย.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๕๔๐
๙.๓ ดูก่อนน้องหญิง เปรียบเหมือนบุรุษให้ช้างแล้ว ก็ควรสละสัปคับสำ�หรับช้างด้วย
ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถวายเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็จงสละผ้าอันตรวาสกถวาย
แด่อาตมา.
วิ.มหา. (ทั่วไป) มก. ๓/๗๘๕

๑๐. ความตระหนี่
๑๐.๑ น้ำ�มีอยู่ในถิ่นของอมนุษย์ ที่ไม่ได้ใช้สอยย่อมเหือดแห้งไป ฉันใด คนชั่วได้ทรัพย์แล้ว
ตนเองไม่ได้ใช้ และไม่ให้คนอื่นใช้ ก็เสียไปเปล่า ฉันนั้น ส่วนวิญญูชนผู้มีปัญญาได้โภคะแล้ว เขา
ย่อมบริโภค และทำ�กิจ เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดูหมู่ญาติ ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
สัง.สุ. (พุทธ) มก. ๒๔/๔๙๑
135
๑๖
ม ง ค ล ที่

ประพฤติธรรม
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม
เพราะความชอบ ความชัง ความกลัว ความหลง
ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น
137

๑. สุจริต ทุจริต
๑.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องช่างทำ�รถ ที่ทำ�ล้อรถข้างหนึ่งกินเวลา ๖ เดือน
หย่อน ๖ วัน แต่ทำ�ล้อรถอีกข้างเสร็จภายใน ๖ วัน
พระราชาตรัสถามก็ทดลองให้ดู ล้อรถข้างที่ทำ�นานหมุนไปได้ พอหยุดหมุนก็ตั้งอยู่ได้ แต่
ข้างที่ทำ�เสร็จไวเมื่อหยุดหมุนก็ล้ม เพราะไม้มีความคด พระพุทธองค์จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
ความคด โทษทางกาย ทางวาจา ทางใจของผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว ย่อม
ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยนี้ได้ เหมือนล้อรถที่ทำ�แล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน ฉะนั้น.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๓

๒. สัจจะ
๒.๑ รสเหล่าใดมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็นรสที่ยังประโยชน์ให้สำ�เร็จกว่ารสเหล่านั้น เพราะ
ว่าสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ ย่อมข้ามพ้นฝั่งแห่งชาติ และมรณะได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๒๗
138

๒.๒ ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือ เที่ยงตรงในโลก พร้อมเทวโลก ไม่ว่าใน


สมัยฤดูหรือปีก็ตาม ย่อมไม่โคจรหรือเวียนออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่
ออกไปนอกทางสัจจะทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจะบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๕

๓. อคติ
๓.๑ ผู้ใดประพฤติล่วงธรรมเพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความหลง ยศของผู้นั้น
ย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ในข้างแรม ฉะนั้น.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๖/๗๙
๓.๒ ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะความชอบ ความชัง ความกลัว ความหลง ยศของ
ผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๐/๗๑๓
๓.๓ ราชเสวกอั น พระราชามิ ได้ ต รั ส ใช้ ไม่ พึ ง หวั่ น ไหวด้ ว ยอำ � นาจฉั นทาคติ ๑ เป็ นต้ น
ดังตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรง ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๔/๔๑๘
๓.๔ ธรรมดาต้นไม้ย่อมให้เงามืดเหมือนกัน และแผ่เงานั้นไปอย่างเสมอกัน ฉันใด ภิกษุผู้
ปรารภความเพียร ก็ไม่ควรทำ�ตัวให้ต่างกันในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น คือ ควรแผ่เมตตาให้เสมอกัน
ไม่ว่าจะเป็นโจรผู้จะฆ่าคน ผู้เป็นข้าศึกของตนเอง
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า พระมุนี คือ พระพุทธเจ้าย่อมเป็นผู้มีพระหฤทัย
เสมอกันแก่สัตว์ทั้งปวง เช่น พระเทวทัต โจรองคุลีมาล และพระราหุล เป็นต้น.
มิลิน. ๔๕๗

๔. พรหมวิหาร ๔
๔.๑ เปรียบเหมือนสระบัวมีน้ำ�ใสและจืด เย็น ขาว สะอาด มีท่าเรียบราบ ควรรื่นรมย์
ถ้าว่าบุรุษจะพึงมาแต่ทิศตะวันออก ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้อันความร้อนกระวนกระวายเผาระงม
ครอบงำ� เหน็ดเหนื่อยลำ�บาก กระหายหิว บุรุษนั้นมาถึงสระนั้นแล้วจะพึงทำ�ความกระหาย น้ำ�
และความร้อนกระวนกระวายให้เสื่อมสูญได้ ฉันใด


ฉันทาคติ ลำ�เอียงเพราะรักใคร่
139

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกบวชจากตระกูลกษัตริย์ถือเพศเป็นบรรพชิต และภิกษุ


ทั้งหลายนั้นอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ได้ความ
ระงับสงบใจภายในสันดานตน ฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๔๑
๔.๒ ธรรมดาเมฆ คือ ฝนที่ตกลงมาย่อม ดับความร้อนในแผ่นดิน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ก็ควรดับความทุกข์ร้อนทางโลกด้วยเมตตาภาวนา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๘
๔.๓ ธรรมดาน้ำ�ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดี และคนเลวโดยเสมอกัน ชะล้างมลทิน คือ ธุลี
ออกได้ แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้สม่ำ�เสมอในชนที่เกื้อกูล และ
ไม่เกื้อกูล ท่านถึงความเมตตาบารมีแล้วจักบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๗
๔.๔ ธรรมดาเต่าย่อมอยู่ในน้ำ� ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรอยู่ด้วยเมตตา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๖
๔.๕ ธรรมดาน้ำ�ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพ คือ ความเย็น ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
เป็นผู้ทำ�ความเย็นให้แก่ผู้อื่นด้วยขันติ และความไม่เบียดเบียน ด้วยความเมตตา กรุณา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๖
๔.๖ ธรรมดาสุกรย่อมชอบนอนแช่น้ำ�ในฤดูร้อน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรกำ�กับ
ใจที่เร่าร้อนตื่นเต้นด้วยเมตตาภาวนาอันชุ่มเย็นอยู่เสมอ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๗
๔.๗ ธรรมดาพังพอนเมื่อจะไปสู้กับงู ย่อมอบตัวด้วยยาเสียก่อนจึงเข้าไปใกล้งู ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียร เมื่อจะเข้าไปใกล้โลกอันมากไปด้วยปฏิฆะ (ความขัดใจ) ความโกรธ และความ
อาฆาตอันครอบงำ�ด้วยบาดหมาง การทะเลาะเบาะแว้ง ก็ทาด้วยยา คือ เมตตาเสียก่อน จึงจะ
ทำ�ให้โลกดับความเร่าร้อนเสียได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๕
๔.๘ บุคคลพึงมีเมตตาในบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รัก ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ทั้งปวงใน
ทุกที่ทุกสถาน ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๒๐๓
140

๔.๙ ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉยในของไม่สะอาด และของที่สะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจาก


ความโกรธ และความยินดีทั้งสองนั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นประดุจตาชั่งในสุข
และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๘

๕. ความสามัคคี
๕.๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำ�นมกับน้ำ� แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่.
ม.มู. (เถระ) มก. ๑๙/๓

๖. สัมมาทิฏฐิ
๖.๑ อ้อย ข้าวสาลี หรือองุ่น อันบุคคลเพาะลงแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน
และรสน้ำ�อันใด รสน้ำ�ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสที่น่ายินดี เป็นรสหวาน เป็นรสอันน่า
ชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของดี แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำ�ริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ
มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มี
ความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผล
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเป็นของเจริญ
ฉันนั้นเหมือนกันแล.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๓๔๒
๖.๒ เมื่ออาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่จะขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด
สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๔๕๖

๗. นรก/สวรรค์/โลกหน้า/โอปปาติกะ
๗.๑ ในมนุษย์โลกมีผู้ลงโทษด้วยกรรมกรณ์ ฉันใด นายนิรยบาลก็มีอยู่ในนรก ฉันนั้น.
ม.อุ. (อรรถ) มก. ๒๓/๒๐๒
141

๗.๒ ครั้งนั้นแล พวกเทวดาเหล่านั้นก็หายตัวจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส๑ แล้วปรากฏเบื้อง


พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษที่มีกำ�ลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่
เหยียดออก ฉะนั้น.
ที.ม. (ทั่วไป) มก. ๑๔/๗๓
๗.๓ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิงปราศจากเปลว
ปราศจากควัน ลำ�ดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผาครอบงำ� เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน
หิว กระหาย มุ่งมาสู่หลุมเพลิงนั้นแหละ โดยมรรคสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้วพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำ�เนินอย่างนั้น ขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้
ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนาอัน
แรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด
ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำ�หนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า
บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำ�เนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๔๘
๗.๔ พระกุมารกัสสปถามพระเจ้าปายาสิว่า ทรงเห็นว่าโลกอื่นไม่มีเป็นต้นนั้น พระจันทร์
พระอาทิตย์เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในโลกนี้หรือโลกอื่น
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกอื่นไม่ใช่โลกนี้ เป็นเทวดาไม่ใช่
มนุษย์.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๗๑
๗.๕ พระเจ้าปายาสิตรัสเล่าว่า มีมิตรอำ�มาตย์ญาติโลหิตของพระองค์ที่ประพฤติชั่วมี
ประการต่างๆ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเจ็บไข้ ซึ่งพระองค์เห็นว่าจะไม่หายแน่ ก็เสด็จไปหา และสั่งว่าถ้า
ไปตกนรก เพราะประพฤติชั่วตามคำ�ของสมณพราหมณ์แล้ว ขอให้กลับมาบอก พวกเหล่านั้นรับคำ�
แล้ว ก็ไม่มีใครมาบอกเลย พระองค์จึงไม่เชื่อว่าโลกอื่นมี
พระกุมารกัสสปกล่าวว่า เปรียบเหมือนโจรที่ทำ�ผิด ราชบุรุษจับได้ ก็นำ�ตระเวนไปสู่ที่
ประหารชีวิต โจรเหล่านั้นจะขอผัดผ่อนให้ไปบอกพวกพ้องก่อนจะได้หรือไม่
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า ไม่ได้
พระเถระจึงกล่าวว่า พวกที่ทำ�ชั่วก็เช่นกัน ถ้าไปตกนรก ก็คงไม่ได้รับอนุญาตจากนายนิรย
บาลให้มาบอก.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๗๒

สุทธาวาส ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี ได้แก่ พรหม ๕ ชั้นที่สูงสุด ในชั้นรูปาวจร คือ อวิหา
อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฎฐา
142

๗.๖ พระเจ้าปายาสิตรัสเล่าว่า พระองค์เคยสั่งคนที่ทำ�ความดีว่า ถ้าตายไปได้สู่สุคติ


โลกสวรรค์ เพราะประพฤติดีตามคำ�ของสมณพราหมณ์แล้ว ขอให้กลับมาบอก พวกนั้นรับคำ�ก็ไม่มี
ใครมาบอกเลย พระองค์จึงไม่เชื่อว่าโลกอื่นมี
พระกุมารกัสสปกล่าวว่า เปรียบเหมือนคนตกลงไปในหลุมอุจจาระมิดศีรษะ พระองค์สั่งให้
ราชบุรุษช่วยยกขึ้นจากหลุมนั้น เอาซี่ไม้ไผ่ปาดอุจจาระออก ทำ�ความสะอาดหมดจดแล้ว นำ�
พวงมาลัยเครื่องลูบไล้ และผ้ามีราคาแพงมาให้นุ่งห่ม พาขึ้นสู่ปราสาทบำ�เรอด้วยกามคุณ ๕ บุรุษ
นั้นจะอยากลงไปอยู่ในหลุมอุจจาระอีกหรือไม่
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า ไม่อยาก
พระเถระถามว่า เพราะเหตุไร
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า เพราะหลุมอุจจาระไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูล
พระเถระทู ล ว่ า มนุ ษ ย์ ก็ เป็ น ผู้ ไม่ ส ะอาด มี ก ลิ่ น เหม็ น ปฏิ กู ล สำ � หรั บ เทวดาทั้ ง หลาย
พวกทำ�ความดีที่ไปสู่สุคติโลกสวรรค์จะกลับมาบอกอย่างไร.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๗๕
๗.๗ พระเจ้าปายาสิตรัสเล่าว่า พระองค์เคยสั่งคนที่ทำ�ความดีว่า สมณพราหมณ์บางพวก
กล่าวว่า ผู้ทำ�ความดีจะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ เมื่อท่านทั้ง
หลายไปเกิดเช่นนั้นแล้วขอให้กลับมาบอกด้วย พวกนั้นรับคำ�แล้วก็ไม่มีใครมาบอกเลย พระองค์จึง
ไม่เชื่อว่าโลกอื่นมี
พระกุมารกัสสปทูลว่า ร้อยปีของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทพชั้นดาวดึงส์ ๓๐
ราตรี เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือน เป็น ๑ ปี, ๑ พันปีเป็นประมาณแห่งอายุของเทพชั้นดาวดึงส์
ผู้ทำ�ความดีที่ไปเกิดในที่นั้นคิดว่า อีกสัก ๒-๓ วัน จะไปบอกพระเจ้าปายาสิ จะมาบอกได้หรือไม่
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า มาไม่ได้ เพราะข้าพเจ้าคงตายไปนานแล้ว แต่ก็ใครบอกแก่ท่าน
เล่าว่าเทพชั้นดาวดึงส์ มีอายุยืนขนาดนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อเลย
พระเถระทูลว่า เปรียบเหมือนคนที่เสียจักษุแต่กำ�เนิด มองไม่เห็นอะไรเลย จึงกล่าวว่า สีดำ�
ขาว เขียว เหลือง แดง แสด ไม่มี คนที่เห็นสีเช่นนั้นก็ไม่มี ดวงดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ ไม่มี
ผู้เห็นดวงดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็ไม่มี เพราะข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็น สิ่งนั้นจึงไม่มีดังนี้ ผู้นั้น
จะชื่อว่า กล่าวชอบหรือไม่
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า กล่าวไม่ชอบ
พระเถระจึงทูลว่า ที่พระองค์ปฏิเสธเรื่องเทพชั้นดาวดึงส์ก็เป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บาง
พวกที่เสพเสนาสนะป่าอันสงัด ไม่ประมาท ทำ�ความเพียร ชำ�ระทิพยจักษุ มองเห็นโลกนี้โลกอื่น
143

และสัตว์อุปปาติกะ ด้วยจักษุอันเป็นทิพย์ เหนือจักษุของมนุษย์มีอยู่ เรื่องของปรโลกพึงเห็นอย่างนี้


ไม่พึงเข้าใจว่าจะเห็นได้ด้วยตาเนื้อนี้.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๗๖
๗.๘ พระเจ้าปายาสิตรัสเล่าว่า พระองค์เคยเห็นสมณพราหมณ์ที่มีศีลมีธรรมอันงาม ใคร่มี
ชีวิต ไม่อยากตาย ใคร่ความสุข เกลียดทุกข์ จึงทรงคิดว่า ถ้าสมณพราหมณ์ ผู้มีศีล มีธรรมอันงาม
เหล่านี้ รู้ตัวว่าตายไปแล้วจะดีกว่าชาตินี้ ก็ควรจะกินยาพิษ เชือดคอตาย ผูกคอตาย หรือโดดเหว
ตาย แต่เพราะไม่รู้ว่าตายไปแล้วจะดีกว่าชาตินี้จึงรักชีวิต ไม่อยากตาย ใครความสุข เกลียดทุกข์
ข้อนี้เป็นเหตุให้พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าโลกอื่นมี สัตว์อุปปาติกะ (เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที) มีผลแห่ง
กรรมดีกรรมชั่วมี
พระกุมารกัสสปทูลเปรียบเทียบถวายว่า พราหมณ์คนหนึ่งมีภริยา ๒ คน คนหนึ่งมีบุตร
อายุ ๑๐ หรือ ๑๒ ปี อีกคนหนึ่งมีครรภ์จวนคลอด พราหมณ์นั้นถึงแก่กรรม มาณพผู้เป็นบุตรจึงพูด
กับมารดาเลี้ยงว่า ทรัพย์สมบัติทั้งปวงนี้ตกเป็นของข้าพเจ้าทั้งหมด ของท่านไม่มีเลย ขอท่านจง
มอบความเป็นทายาทของบิดาแก่ข้าพเจ้า นางพราหมณีผู้เป็นมารดาเลี้ยงตอบว่า เจ้าจงรอก่อน
จนกว่าเราจะคลอด ถ้าคลอดเป็นชาย ก็จะได้ส่วนแบ่งส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหญิง แม้น้องหญิงนั้นก็ตก
เป็นของเจ้า แต่มาณพนั้นก็เซ้าซี้อย่างเดิม แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ นางพราหมณีจึงถือมีดเข้าไปใน
ห้อง ผ่าท้องเพื่อจะรู้ว่าเด็กในท้องเป็นชายหรือหญิง เป็นการทำ�ลายตัวเอง ทำ�ลายชีวิต ทำ�ลาย
เด็กในครรภ์ และทำ�ลายทรัพย์สมบัติเพราะเป็นผู้เขลา แสวงหาสมบัติโดยไม่แยบคายจึงถึงความ
พินาศ
สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีธรรมอันดีที่เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ชิงสุกก่อนสุก ย่อมรอจนกว่าจะสุก
สมณพราหมณ์เหล่านี้ดำ�รงชีวิตอยู่นานเพียงใด ผู้อื่นก็ได้ประสบบุญมากเพียงนั้น และท่านก็ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
ความสุข แก่เทวาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๗๙
๗.๙ พระเจ้าปายาสิตรัสแย้งต่อไปว่า เคยตรัสสั่งให้ลงโทษโจรที่จับได้ โดยให้ใส่ลงไปใน
หม้อทั้งเป็น ปิดฝาแล้วเอาหนังสดรัดเอาดินเหนียวที่เปียกยาให้แน่น ยกขึ้นสู่เตาแล้วจุดไฟเมื่อรู้ว่า
ผู้นั้นตายแล้ว ก็ให้ยกหม้อลง กะเทาะดินที่ยาออก เปิดฝาค่อยๆ มองดู เพื่อจะได้เห็นชีวะของโจร
นั้นออกไปก็ไม่เห็นเลย จึงทำ�ให้ไม่เชื่อว่ามีโลกอื่น
พระกุมารกัสสปทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ เคยบรรทมหลับกลางวัน แล้วทรงฝันเห็น
สวน ป่า ภูมิสถานและสวรรค์อันน่ารื่นรมย์หรือไม่ ตรัสว่าระลึกได้ ถามว่าในสมัยนั้น คนค่อม คน
หรือเด็กๆ เฝ้าพระองค์อยู่หรือไม่ ตรัสตอบว่าเฝ้าอยู่
144

พระเถระจึงทูลว่าคนเหล่านั้นเห็นชีวะของพระองค์เข้าออกหรือไม่ ตรัสตอบว่าไม่เห็น
พระเถระจึงทูลว่า คนเหล่านั้น ยังไม่เห็นชีวะของพระองค์ผู้ทรงพระชนม์ชีพอยู่เข้าออก เหตุไฉน
พระองค์จะทรงเห็นชีวะของคนตายเข้าออกเล่า.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๘๑
๗.๑๐ พระเจ้าปายาสิ ตรัสแย้งต่อไปว่า เคยตรัสสั่งให้ลงโทษโจรที่จับได้ให้ชั่งน้ำ�หนักดู
แล้วให้เอาเชือกรัดคอให้ตายแล้วชั่งดูอีก ในขณะมีชีวิตมีน้ำ�หนักเบากว่า อ่อนกว่า ใช้การงานได้ดี
กว่าเมื่อตายแล้ว เหตุนี้จึงไม่ทรงเชื่อเรื่องโลกอื่น
พระเถระทูลถามว่า พึงชั่งก้อนเหล็กที่เผาไฟตลอดวันร้อนลุกโพลงกับก้อนเหล็กที่เย็นเทียบ
กันดูอย่างไหนจะเบากว่า อ่อนกว่า ใช้การงานได้ดีกว่า
พระเถระทูลต่อไปว่า ร่างกายก็เหมือนกัน ประกอบด้วยธาตุไฟ ธาตุลม ร้อนลุกโพลง เบา
กว่า อ่อนกว่า ใช้การงานได้ดีกว่า
พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า ก้อนเหล็กที่ประกอบกับธาตุไฟ ธาตุลม ร้อนลุกโพลง เบากว่า
อ่อนกว่า
พระเถระทูลต่อไปว่า ร่างกายก็เหมือนกัน ประกอบด้วยอายุ (เครื่องสืบต่อหล่อเลี้ยง)
ประกอบด้วยไออุ่น ประกอบด้วยวิญญาณ ก็เบากว่า อ่อนกว่า ใช้การงานได้ดีกว่า.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๘๒
๗.๑๑ พระเจ้าปายาสิตรัสแย้งต่อไปว่า เคยตรัสสั่งให้ลงโทษโจรที่จับได้ ให้ฆ่าโดยไม่กระทบ
กระทั่งผิว หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก เพื่อจะดูชีวะออกไปจากร่าง เมื่อเขาทำ�อย่างนั้น
และเมื่อโจรนั้นจะตายแน่ก็สั่งจับให้นอนหงาย เพื่อจะดูชีวะออกไป ก็ไม่เห็นชีวะออกไป สั่งให้จับ
นอนตะแคงทีละข้าง ให้ยกขึ้น ให้เอาศีรษะลง ให้ใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา เคาะดู ให้ดึง
เข้า ให้ผลักออก ให้พลิกไปมา เพื่อจะดูชีวะออกไป ก็ไม่เห็นชีวะออกไป โจรนั้นมีตา หู จมูก ลิ้น มี
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ก็ไม่รู้สึกอายตนะนั้นๆ (ไม่รู้สึก เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส
ถูกโผฏฐัพพะ)
พระกุ ม ารกั ส สปทู ล เปรี ย บเที ย บถวายว่ า เปรี ย บเหมื อ นคนเป่ า สั ง ข์ เดิ นทางไปชนบท
ชายแดนแห่งหนึ่งเป่าสังข์ขึ้น ๓ ครั้ง แล้ววางสังข์ไว้บนดิน ชาวบ้านได้ยินเสียงสังข์ชอบใจก็พากัน
มารุมถามว่าเสียงอะไร เขาตอบว่าเสียงสังข์นั้น ชาวบ้านก็จับสังข์หงาย พร้อมทั้งพูดว่า “สังข์เอ๋ย
จงเปล่งเสียง” แต่สังข์ก็ไม่เปล่งเสียง จึงจับคว่ำ� จับตะแคง ยกขึ้น เอาหัวลง เอาฝ่ามือ ก้อนดิน
ท่อนไม้ ศัสตราเคาะ ดึงเข้ามาผลักออกไป จับพลิกไปมา เพื่อจะให้สังข์นั้นเปล่งเสียง สังข์นั้นก็ไม่
เปล่งเสียง
145

คนเป่าสังข์เห็นว่า คนเหล่านั้นเป็นคนบ้านนอก เป็นคนเขลา หาเสียงสังข์โดยไม่แยบคาย


จึงหยิบสังข์ขึ้นมาเป่า ๓ ครั้ง ให้เห็นแล้วก็หลีกไป คนเหล่านั้นจึงรู้ว่าสังข์นี้ประกอบด้วยคน
ประกอบด้วยความพยายาม ประกอบด้วยลม จึงเปล่งเสียงได้ ถ้าไม่ประกอบด้วยเหตุเหล่านั้นก็
เปล่งเสียงไม่ได้ กายก็เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยอายุ ไออุ่น วิญญาณ จึงก้าวเดิน ถอยหลัง ยืน
นั่ง นอนได้ เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมะ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ) ได้
ถ้าไม่ประกอบด้วยสิ่งเหล่านั้นก็ทำ�อะไรไม่ได้.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๘๓
๗.๑๒ พระเจ้าปายาสิตรัสแย้งต่อไปว่า เคยตรัสสั่งให้ลงโทษโจรที่จับได้ โดยให้ตัดผิวหนัง
ตัดหนัง เนือ้ เอ็น กระดูก เยือ่ ในกระดูก เพือ่ จะดูชวี ะ ก็ไม่เห็นชีวะ จึงไม่ทรงเชือ่ ว่าโลกอืน่ มีเป็น ต้นเหตุ
พระเถระทูลเปรียบเทียบถวายว่า ชฎิล (นักบวชเกล้าผมเป็นเชิง) ผู้บูชาไฟรูปหนึ่งอยู่ในกุฏี
มุงด้วยใบไม้ในป่า พวกเดินทางพักแรมชาวชนบทคณะหนึ่ง ออกเดินทางมาพักแรมคืนรอบอาศรม
ของชฎิลผู้บูชาไฟนั้นแล้วจากไป ชฎิลจึงเดินไปในที่ที่เขาพักแรมด้วยหวังว่าจะได้เครื่องใช้อะไรบ้าง
ในที่นั้น (ที่เขาทิ้งแต่อาจเป็นประโยชน์แก่ชฎิลผู้อยู่ป่า) เมื่อเข้าไปก็เห็นเด็กแดงๆ คนหนึ่งเป็นเด็ก
ชายนอนหงายอยู่ จึงนำ�มาเลี้ยงไว้จนเติบโต มีอายุ ๑๐ ปี หรือ ๑๒ ปี ต่อมาชฎิลมีธุระที่จะต้องไป
ในชนบท จึงเรียกเด็กมาสั่งให้บูชาไฟ (คอยเอาฟืนใส่ในกองไฟ) อย่าให้ดับได้ ถ้าไฟดับ มีดอยู่นี่ ไม้
อยู่นี่ ไม้สีไฟอยู่นี่ จงจุดไฟให้ติด บูชาไฟต่อไป เมื่อสั่งเสร็จแล้วจึงไปแล้ว เด็กมัวเล่นเพลินไป ไฟก็
ดับ เด็กคิดถึงคำ�สั่ง จึงเอามีดถากไม้สีไฟก็ไม่ได้ไฟ จึงผ่าไม้สีไฟออกเป็น ๒ ซีก ๓ ซีก จนถึง ๒๐
ซีก ทำ�เป็นชิ้นๆ ใส่ครกตำ� แล้วเอามาโปรยที่ลมด้วยหวังว่าจะได้ไฟ แต่ก็ไม่ได้ ชฎิลกลับมาเห็น
เช่นนั้น ถามทราบความแล้ว จึงคิดว่าเด็กนี้ยังอ่อน ไม่ฉลาด จะหาไฟโดยวิธีที่ไม่ถูกได้อย่างไร
จึงเอาไม้สีไฟมาสีให้เด็กดูถึงวิธีทำ�ไฟให้ติด
พระองค์ก็เช่นเดียวกัน ทรงหาโลกอื่น โดยวิธีที่ไม่ถูก ในที่สุดได้แนะให้พระเจ้าปายาสิทรง
สละความเห็นผิดนั้นเสีย.
ที.ม. (เถระ) มก. ๑๔/๓๘๖
๗.๑๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ที่ปลายพระนขา แล้วตรัสถามภิกษุทั้ง
หลายว่า ฝุ่นที่ปลายเล็บกับมหาปฐพี อย่างไหนมากกว่ากัน
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ฝุ่นในมหาปฐพีมีประมาณมากกว่า ย่อมไม่อาจเทียบเคียงได้
พระบรมศาสดาตรัสต่อไปว่า สัตว์ที่มาเกิดในโลกมนุษย์มีน้อยกว่าสัตว์ที่ไปเกิดในกำ�เนิดอื่น
เปรียบเหมือนฝุ่นที่ติดปลายเล็บมีน้อยกว่ามหาปฐพี ทรงแสดงให้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๗๒๗
146

๗.๑๔ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ผู้ที่จะไปเกิดใหม่นั้น ไม่ได้ก้าวย่างไป จะ


ปฏิสนธิได้อย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า บุรุษเอาประทีปมาต่อประทีป ประทีปใหม่ไม่ได้ก้าวจากประทีปเก่า
เมื่อผู้เรียนวิชาเลข และศิลปะต่างๆ วิชาเลข และศิลปะต่างๆ ไม่ได้ก้าวย่างจากอาจารย์ ผู้ที่จะไป
เกิดใหม่นั้น ไม่ได้ก้าวย่างไปแต่ปฏิสนธิได้.
มิลิน. ๑๑๐
๗.๑๕ พระเจ้ามิลินท์ไม่ทรงเชื่อว่า ก้อนศิลาเท่าปราสาททิ้งจากพรหมโลกถึงโลกมนุษย์ใช้
เวลา ๔ เดือน ภิกษุผู้มีฤทธิ์หายจากชมพูทวีปไปพรหมโลกเหมือนบุรุษผู้มีกำ�ลังเหยียดแขน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ท่านเคยนึกถึงถิ่นกำ�เนิดที่อยู่ห่างไกลออกไปไหม ใช้เวลานิดเดียว.
มิลิน. ๑๓๐
๗.๑๖ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า คน ๒ คน คนหนึ่งตายไปเกิดในพรหมโลก
อีกคนหนึ่งไปเกิดที่เมืองกัสสมิระ ใครไปถึงก่อนกัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า มหาบพิตรแลดูอาตมา ดูดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์กเ็ ห็นเร็วเท่ากัน.
มิลิน. ๑๓๑
๗.๑๗ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ผู้ไปสู่โลกอื่นไปด้วยสีอะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า เสียงอาตมาไปถึงพระกรรณของมหาบพิตรมีสีอะไร.
มิลิน. ๑๓๒
๗.๑๘ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ไฟนรกร้อนจนละลายหินได้แต่ท�ำ ไมสัตว์นรก
อยู่ได้
พระนาคเสนทูลตอบว่า นกยูง ไก่ป่า กินหินกรวดยังย่อยแหลกยับไปได้ แต่ลูกนกยูง ลูกไก่
ป่าอยู่ในท้องไม่ย่อยยับเพราะกรรมคุ้มครองไว้.
มิลิน. ๑๐๓
๗.๑๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายเล็บ แล้วตรัสเรียกภิกษุมาถามว่า ฝุ่นที่
ช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่ อย่างไหนมากกว่ากัน
ภิกษุตอบว่า ฝุ่นในเล็บเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเปรียบเทียบ
หรือแม้ส่วนเสี้ยว
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สัตว์ที่จุติจากพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์มีน้อย โดยที่
แท้สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้วกลับไปเกิดในนรกมีมากกว่า.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๕๐๒
147

๘. กฎแห่งกรรม
๘.๑ บุ รุ ษ ทำ � กรรมใดไว้ เขาย่ อ มเห็ นกรรมเหล่ า นั้ น ในตน ผู้ ทำ � กรรมดี ย่ อ มได้ รั บ ผลดี
ผู้ทำ�กรรมชั่วได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๗/๓๘๙
๘.๒ เปรียบเหมือนพืชทั้งหลายอันไม่ขาด ไม่เน่า ไม่เฉา ให้แก่นได้ มีรากฝังอยู่ดี บุคคล
ปลูกไว้ในแผ่นดินที่ทำ�ไว้ดีแล้ว ในไร่นาที่ดี ฝนก็หลั่งดี เมื่อเป็นเช่นนี้ พืชเหล่านั้นก็ถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ ฉันใด กรรมที่บุคคลทำ�เพราะโลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ เป็นกรรมที่ให้ผลในอัตภาพ
ต่อไป ฉันนั้นก็เหมือนกัน.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๑๑๘
๘.๓ เปรียบเหมือนพืชทั้งหลายอันไม่ขาด ไม่เน่า ไม่เฉา ให้แก่นได้ มีรากฝังอยู่ดี บุรุษเอาไฟ
เผาพืชเหล่านั้นจนเป็นผุยผงแล้ว พึงโปรยเสียในลมแรง หรือพึงสาดเสียในกระแสอันเชี่ยวในแม่น้ำ�
เมื่อเป็นอย่างนี้ พืชเหล่านั้นก็เป็นรากขาดแล้ว ถูกทำ�ให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถูกทำ�ให้ไม่มีใน
ภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันใด กรรมมีบุคคลทำ�เพราะอโลภะ อโทสะ
อโมหะ ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๑๑๙
๘.๔ การกลับได้วาระแห่งวิบากของทิฎฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในชาติปัจจุบัน)
เหมือนกับลูกศรของนายพรานที่ยิงถูกเนื้อโดยไม่พลาด.
อัง.ติก. อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๒
๘.๕ ปริยายเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในชาติต่อๆ ไป) ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคต เมื่อนั้นจะ
ให้ผล เปรียบเหมือนสุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไปเพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเข้าไปในที่ใดก็จะกัดเอา
ที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๓
๘.๖ ครุกรรม (กรรมหนัก) แม้ทั้งอย่างนั้นแหละจะให้ปฏิสนธิ อุปมาเหมือนหนึ่งว่า ก้อน
กรวด หรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่โยนลงในห้วงน้ำ� ย่อมไม่สามารถลอยน้ำ�
ได้ จะจมลงใต้น�้ำ อย่างเดียว ฉันใด อกุศลกรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนักเขาจะถือเอา
กรรมนั้นแหละไป.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๔
148

๘.๗ เสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ�สองคนขึ้นเวที คนใดมีกำ�ลังมาก คนนั้นจะทำ�ให้อีก


ฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้) ไป ฉันใด พหุกรรม (กรรมที่ทำ�เป็นประจำ�) นี้นั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะทับถม
กรรมที่มีกำ�ลังน้อยไป.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๔
๘.๘ กรรมใดสามารถเมื่อจะให้ระลึกนึกถึงในเวลาใกล้ตายจะให้ผลก่อน เหมือนเมื่อเปิด
ประตูคอกที่มีฝูงโคเต็มคอก โคตัวใดอยู่ใกล้กับประตูออก โดยที่สุดจะเป็นโคแก่ด้อยกำ�ลังก็ตาม
โคตัวนั้นก็ย่อมออกได้ก่อน ฉะนั้น.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๗
๘.๙ กฏัตตาวาปนกรรม (กรรมไม่เจตนา) อำ�นวยผลได้ในบางครั้ง เหมือนท่อนไม้ที่คนปา
ขว้างไปไม่มีจุดหมาย ฉะนั้น.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๙
๘.๑๐ กรรมที่เกิดปฏิสนธิอย่างเดียว ชื่อว่า ชนกกรรม อุปมาเหมือน มารดาให้กำ�เนิด
อย่างเดียว.
อัง.ติก. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๒๙
๘.๑๑ ต้นไม้ กอไม้หรือเถาวัลย์ ที่กำ�ลังเจริญงอกงาม ใครคนใดคนหนึ่งเอาไม้มาทุบ
ศาสตรามาตัด เมื่อเป็นเช่นนั้น ต้นไม้ กอไม้ หรือเถาวัลย์นั้นจะต้องไม่เจริญงอกงาม ฉันใด
กุศลกรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกำ�ลังให้ผล แต่ถูกอกุศลกรรมเบียดเบียนหรือว่า อกุศลกรรม
กำ�ลังให้ผลแต่ถูกกุศลกรรมบีบคั้นจะไม่สามารถให้ผลได้ในสองอย่างนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๓๔/๑๓๐
๘.๑๒ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า เหตุใดมนุษย์ทั้งปวงจึงต่างกัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ต้นไม้ต่างกันเพราะความต่างกันแห่งพืช ฉันใด มนุษย์ก็ต่างกัน
เพราะกรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๑๐๐
๘.๑๓ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า เพราะเหตุไรมนุษย์ทั้งปวงจึงไม่เสมอกัน
บางพวกอายุสั้น บางพวกอายุยืน บางพวกอาพาธน้อย บางพวกอาพาธมาก บางพวกมีโภคะน้อย
บางพวกมีโภคะมาก
พระนาคเสนทูลตอบว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่เสมอกันเพราะกรรมต่างกัน เหมือนความต่างกัน
แห่งพืช.
มิลิน. ๑๐๐
149
๑๗
ม ง ค ล ที่

สงเคราะห์ญาติ
หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ยิ่งดี
แม้ถึงไม้เกิดในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี
เพราะต้นไม้ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว
แม้จะใหญ่โตเป็นเจ้าป่า ย่อมถูกลมแรงโค่นลงได้
151

๑. ประเภทของญาติ
๑.๑ ดุ้นฟืนเผาศพไฟไหม้ปลาย ๒ ข้าง ตรงกลางก็เปื้อนคูถ ย่อมไม่สำ�เร็จประโยชน์ที่จะใช้
ในบ้านในป่า ฉันใด เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
มีอุปมาฉันนั้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๒๗๐
๑.๒ ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็น
ประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด เปรียบเหมือนน้ำ�นมโค นมส้มดีกว่าน้ำ�นม เนยข้นดีกว่านมส้ม
เนยใสดีกว่าเนยข้น ยอดเนยใสดีกว่าเนยใสทั้งหมด ยอดเนยใสนับว่า เป็นเลิศ.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๒๗๐

๒. ลักษณะของญาติ
๒.๑ ถ้าผู้ใดเป็นมิตรแม้จะมีกำ�ลังน้อย แต่ตั้งอยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นญาติ เป็น
เผ่าพันธุ์ เป็นมิตร และเป็นสหายของเรา.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๔๔
152

๒.๒ ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติมี


ความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๖๑
๒.๓ ถ้ามีจิตเลื่อมใสรักใคร่กัน ถึงแม้จะอยู่คนละฝั่งสมุทร ก็เหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน ถ้ามีจิต
คิดประทุษร้ายกัน ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกัน ก็เหมือนกับอยู่กับคนละฝั่งสมุทร.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๒๓๒

๓. ประโยชน์ของการสงเคราะห์ญาติ
๓.๑ บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายมิตร เหล่าอมิตรย่อมย่ำ�ยีบุคคลผู้นั้นไม่ได้ ดุจต้นไทรมีราก
และย่านงอกงาม พายุไม่อาจพัดพานให้ล้มได้ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๔๓
๓.๒ บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายมิตร บุคคลผู้นั้นย่อมรุ่งเรืองดุจกองเพลิง ย่อมไพโรจน์ดุจ
เทวดามีสิริประจำ�ตัว.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๔๓
๓.๓ กรรมที่บุคคลทำ�ในคนกตัญญู มีศีล มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป
เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๘๖๒
๓.๔ หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิดในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี เพราะต้นไม้ที่ตั้งอยู่
โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โตเป็นเจ้าป่า ย่อมถูกลมแรงโค่นลงได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๖/๑๙๙

๔. สงเคราะห์ญาติ
๔.๑ การให้ ๑ เจรจาไพเราะ ๑ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ ๑ ความเป็นผู้มีตนเสมอใน
ธรรมทั้งหลายในคนนั้นๆ ตามควร ๑ ธรรมเครื่องยึดเหยี่ยวน้ำ�ใจในโลกเหล่านี้แล เป็นเหมือนเพลา
รถอันแล่นไปอยู่.
ที.ปา. (พุทธ) มก. ๑๖/๙๒
๔.๒ ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิยอ่ มทรงสงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ฉันใด ภิกษุผู้
ปรารภความเพียรก็ควรสงเคราะห์ ควรประคอง ควรอนุเคราะห์ ควรทำ�ให้รา่ เริงแก่บริษทั ๔ ฉันนัน้ .
มิลิน. ๔๔๓
153

๔.๓ ธรรมดากาเมื่อเห็นสิ่งใดที่เป็นอาหาร คือ ซากสัตว์ หรือของเดน ก็ย่อมป่าวร้องเรียก


พวกญาติมากิน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเป็น ฉันนั้น คือ เมื่อได้ลาภโดยชอบธรรมแล้ว
ก็ควรแจกแบ่งปันให้เพื่อนพรหมจรรย์.
มิลิน. ๔๒๘
๔.๔ ธรรมดาอาหารย่อมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงสัตว์ทั้งปวง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรอุปถัมภ์สัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น
ธรรมดาอาหารย่อมให้สัตว์ทั้งหลายเจริญเติบโตแข็งแรง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรทำ�ให้บุคคลทั้งหลายเจริญอยู่ด้วยบุญ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๓
๔.๕ ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่ปิดบังคนที่ไม่สะอาดไว้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรปิด
ความหลงผิดของผู้อื่นไว้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๖
๔.๖ ธรรมดาเมฆย่อมทำ�ให้พืชทั้งปวงงอกเงยขึ้น ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
ทำ�ให้พืช คือ ศรัทธาของบุคคลทั้งหลายงอกงามขึ้น ฉันนั้น ควรปลูกพืช คือ ศรัทธานั้นไว้ในสมบัติ
ทั้ง ๓ อันได้แก่ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ.
มิลิน. ๔๕๘
๔.๗ บุรุษผู้มีกำ�ลังทรัพย์ ยศ ศักดิ์ บริวาร รู้ว่าญาติจะได้รับพระราชอาชญาหนัก ก็ช่วยให้
เป็นเบาตามความสามารถ ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบการบรรพชาชองพระเทวทัตจะ
ทำ�ให้กรรมของพระเทวทัตถึงที่สุดได้ จึงให้บรรพชาช่วยให้หนักเป็นเบา ฉันนั้น.
มิลิน. ๑๗๐
๔.๘ พญานกแขกเต้ากล่าวว่า ข้าพเจ้านำ�ข้าวสาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว... ฝังขุมทรัพย์
ไว้ที่ป่างิ้วนั้น
พราหมณ์ถามว่า ท่านจงบอกวิธีฝังขุมทรัพย์
พญานก: นกเหล่าอื่นมีขนปีกหลุดหมดแล้ว เป็นนกทุพพลลาพ ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงได้
ให้ข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การทำ�บุญเป็นการฝังขุมทรัพย์.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๓๕๖
๔.๙ พวกเจ้าศากยะและพวกเจ้าโกลิยะให้กั้นแม่น�้ำ โรหิณี เนื่องจากน้ำ�ในแม่น้ำ�มีปริมาณ
น้อย ไม่เพียงพอต่อการทำ�กสิกรรมของทั้งสองเมือง ทาส กรรมกร ประชาชน แย่งน้ำ�กัน ใช้วาจา
ดูถูกชาติกำ�เนิดซึ่งกันและกัน กระทบกระทั่งจนไปถึงอำ�มาตย์ และพระราชา พระราชาทั้งสอง
เมืองเตรียมทัพแล้ว ออกมาเพื่อทำ�การรบแย่งชิงน้ำ�
154

พระบรมศาสดาทรงทราบ จึงเสด็จมาถามว่า ความเป็นกษัตริย์หรือน้ำ�มีค่ามากกว่ากัน


กษัตริย์ทั้งสองได้คิด จึงเลิกรากันไป.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๖๒

๕. ญาติที่ไม่ควรสงเคราะห์
๕.๑ กรรมที่บุคคลทำ�ในอสัตบุรุษ ย่อมฉิบหายไม่งอกงาม เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในไฟ
ย่อมถูกไฟไหม้ไม่งอกงาม ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๘๖๒
๕.๒ ไม่ควรตั้งบุตรธิดา พี่น้อง หรือวงศ์ญาติ ผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลให้เป็นใหญ่ เพราะคนเหล่านั้น
เป็นคนพาล ไม่จัดว่าเป็นพี่น้อง คนเหล่านั้น เป็นเหมือนคนที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อเขาเหล่านั้นมาหา
ถึงสำ�นัก ก็ควรให้ผ้านุ่งห่ม และอาหาร.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๔/๓๒๓
155
๑๘
ม ง ค ล ที่

ทำ�งานไม่มีโทษ
ดอกบัวหลวงมีเง่าขาว ผุดขึ้นจากน้ำ�ที่สะอาด เกิดจากสระโบกขรณี
บานเพราะพระอาทิตย์มีแสงเหมือนไฟ โคลนตมก็ไม่เปื้อน
ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำ�ก็ไม่เปียก ฉันใด
พระราชาก็ฉันนั้น กรรมกิเลสไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ผู้มีวินิจฉัยสะอาด
ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจบริสุทธิ์ ทรงปราศจากกรรมที่เป็นบาป
เหมือนดอกบัวที่เกิดขึ้นในสระโบกขรณีทั้งหลาย ฉะนั้น
157

๑. ทำ�งานไม่มีโทษ
๑.๑ ผู้มีมีด เมื่อไม่ปอกผลมะงั่วที่มีเปลือกแข็งออก จะทำ�ให้มีรสขม ข้าแต่พระราชา
บุคคลเมื่อปอกเปลือกเป็น จะทำ�ให้มีรสอร่อย เมื่อปอกแต่เปลือกบางๆ ออกก็คงทำ�ให้ไม่อร่อย
ฉันใด ฝ่ายพระราชาผู้ทรงพระปรีชา ก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัดเก็บทรัพย์ขูดรีดภาษี ควรปฏิบัติ
คล้อยตามธรรมะ ทำ�ความสุขสำ�ราญแก่ราษฎร ไม่ทรงเบียดเบียนผู้อื่น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๒๑๑
๑.๒ ธรรมดาพระราชาผู้ทรงไม่บีบคั้นแว่นแคว้นราษฎรเหมือนหีบอ้อยเลย ทรงละการ
ลุอำ�นาจอคติ ผูกใจเขาด้วยสังคหวัตถุ ๔.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๔๑
๑.๓ ผู้ใดปรับผู้ไม่ได้ทำ�ความผิด ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ผู้นั้นชื่อว่า ใช้อำ�นาจด้วยอาชญา
คือ ทรัพย์ ผู้ใดออกคำ�สั่งประหารและทิ่มแทง ผู้นั้นชื่อว่า ใช้อำ�นาจด้วยอาชญา คือ ศัสตรา แต่
พระราชาองค์นี้ทรงละแม้ทั้งสองนั้น ทรงปกครองไม่ต้องใช้อาชญา.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๑๕
๑.๔ โคที่ ฝึ ก ดี แ ล้ ว ย่ อ มเกิ ด เป็ น หั ว หน้ า หมู่ ใด หั ว หน้ า หมู่ ตั ว นั้ น เป็ น โคที่ นำ � ธุ ร ะไปได้
สมบูรณ์ด้วยกำ�ลัง เดินไปเรียบร้อยและเร็ว คนทั้งหลายย่อมเทียมโคตัวนั้นในการขนภาระ ไม่คำ�นึง
ถึ ง สี ข องมั น ฉั น ใด ในหมู่ ม นุ ษ ย์ ก็ ฉั นนั้ น เหมื อ นกั น ในชาติ อ ย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง คื อ กษั ต ริ ย์
158

พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล บรรดามนุษย์เหล่านั้นทุกๆ ชาติ คนผู้ที่ฝึกแล้วย่อมเกิดเป็นผู้มีวัตร


ดี ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล กล่าวคำ�สัตย์ มีใจประกอบด้วยหิริ ละชาติ และมรณะได้แล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์ ปลงภาระแล้ว ไม่ประกอบด้วยกิเลส ได้ทำ�กิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นผู้ถึงฝั่ง
แห่งธรรมทั้งปวง ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ก็ทักษิณาที่บำ�เพ็ญในผู้นั้น ผู้ปราศจากความกำ�หนัดเป็น
บุญเขต ย่อมมีผลไพบูลย์.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๓๘๔
๑.๕ พระราชาผู้ทรงจัดงานดี หมั่นขยันตามกาล ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวงย่อมเจริญ
ขึ้น เหมือนฝูงโคที่มีโคผู้ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๕๑๔
๑.๖ ความเป็นผู้นำ� โลกหาได้ยาก เหมือนกับดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์ หรือเหมือน
น้ำ�นมกา ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๑/๑๒๕
๑.๗ ดอกบัวหลวงมีเง่าขาว ผุดขึ้นจากน้ำ�ที่สะอาด เกิดจากสระโบกขรณี บานเพราะ
พระอาทิตย์มแี สงเหมือนไฟ โคลนตมก็ไม่เปือ้ น ผงธุลกี ไ็ ม่เลอะ น้�ำ ก็ไม่เปียก ฉันใด พระราชาก็ฉนั นัน้
กรรมกิเลสไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีวินิจฉัยสะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจบริสุทธิ์ ทรง
ปราศจากกรรมที่เป็นบาป เหมือนดอกบัวที่เกิดขึ้นในสระโบกขรณีทั้งหลาย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๒๑๓
๑.๘ จันทัน ๓๐ ตัว ทำ�ด้วยไม้แก่น ไม่มีกระพี้เหล่าวางเรียงยันกันไว้ ยอดโดมที่จันทันเหล่า
นั้นยึดไว้ดีแล้ว และถูกกำ�ลังบังคับบีบขนาบไว้ จึงไม่ตกไปจากข้างบน ฉันใด แม้พระราชาผู้ทรง
เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น ที่เหล่าองคมนตรีผู้เป็นมิตรมั่นคงไม่แตกกัน มีความสะอาดยึดเหนี่ยวไว้ดีแล้ว
ก็ไม่ทรงพลาดไปจากศิริ เหมือนยอดโดมที่แบกภาระของจันทันไว้ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๒๑๐

๒. ทำ�งานมีโทษ
๒.๑ กษัตริย์พระองค์ใด ยังไม่ทันพิจารณาแล้วทรงลงพระราชอาญา กษัตริย์พระองค์นั้น
ชื่อว่า ย่อมกลืนกินพระกระยาหารพร้อมด้วยหนาม เหมือนคนตาบอดกลืนกินอาหารพร้อมด้วย
แมลงวัน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๐/๑๘๖
159

๒.๒ ศรี คือ มิ่งขวัญ ย่อมละพระราชาผู้ไม่จัดแจงการงาน โง่เขลา มีความคิดอ่าน


เลวทราม ไร้ปัญญา เหมือนงูลอกคราบอันเก่าคร่ำ�คร่า ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๕๑๔
๒.๓ เมื่อฝูงโคข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกตัวนำ�ฝูงไปคด โคนอกนั้นก็คดไปตามกัน ในหมู่มนุษย์ก็
เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ ประพฤติไม่เป็นธรรมไซร้ ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติ
ไม่เป็นธรรมด้วย ถ้าพระราชาผู้ไม่ตั้งมั่นอยู่ในธรรม รัฐทั้งปวงก็ยากเข็น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๘/๖๐๖
๒.๔ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บผลดิบมา ผู้นั้นย่อมไม่รู้รสแห่งผลไม้นั้น ทั้งพืชพันธุ์แห่ง
ต้นไม้นั้นก็ย่อมพินาศ รัฐเปรียบด้วยต้นไม้ใหญ่ พระราชาปกครองโดยไม่เป็นธรรม พระราชานั้น
ย่อมไม่รู้รสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้นก็ย่อมพินาศ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก.๖๒/๘๓
๒.๕ กษัตริย์พระองค์ใด ทรงลงพระอาชญากับผู้ไม่สมควรจะลงพระอาชญา ไม่ทรงลง
พระราชอาชญากับผู้ที่สมควรลงพระราชอาชญา กษัตริย์พระองค์นั้น เป็นเหมือนคนเดินทาง
ไม่เรียบ ไม่รู้ว่าทางเรียบหรือไม่เรียบ.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๐/๑๘๖
๒.๖ น้ำ�เต้าขมผสมด้วยยาพิษ บุรุษที่รักชีวิต ยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง พวก
ชาวบ้านบอกเขาว่า บุรุษผู้เจริญ น้ำ�เต้าขมนี้ผสมด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่มก็ดื่มเถิด น้ำ�เต้าขม
นั้น จักไม่ทำ�ให้ท่านผู้ดื่มพอใจทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วก็จักถึงตาย หรือได้รับทุกข์
ปางตาย
บุรุษนั้น ไม่พิจารณาน้ำ�เต้าขมนั้น ดื่มมิได้วาง น้ำ�เต้าขมนั้นก็ไม่ทำ�ให้เขาผู้ดื่มพอใจทั้งสี
กลิ่น และรส ครั้นดื่มแล้วพึงถึงตายหรือได้รับทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด เรากล่าวว่า การสมาทาน
ธรรมนี้ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต มีอุปมาฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๓๗๙
๒.๗ น้ำ�หวาน ๑ ภาชนะ น่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ผสมด้วยยาพิษ บุรุษที่รัก
ชีวิต ยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง พวกชาวบ้านก็บอกเขาว่า ท่านผู้เจริญ น้ำ�หวาน ๑
ภาชนะ น่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ผสมด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่มก็ดื่มเถิด น้ำ�
หวาน ๑ ภาชนะนั้น จักทำ�ให้ท่านผู้ดื่มพอใจทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วก็จักถึงตาย
หรือจักได้รับทุกข์ปางตาย
160

บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำ�หวาน ๑ ภาชนะนั้น แล้วดื่มมิได้วาง น้ำ�หวาน ๑ ภาชนะนั้นก็ทำ�ให้


เขาผู้ดื่มพอใจทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
เรากล่าวว่า การสมาทานธรรมนี้ที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต มีอุปมา
ฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๓๘๐
161
๑๙
ม ง ค ล ที่

งดเว้นจากบาป
ถ้าแผลไม่มีในฝ่ามือ บุคคลพึงนำ�ยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือไม่มีแผล ฉันใด
บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ�บาป ฉันนั้น
163

๑. คนทำ�บาป
๑.๑ บุคคลผู้ไม่มีความละอาย กล้าเพียงดังกา มีปกติกำ�จัดคุณผู้อื่น มักเอาหน้า.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๓
๑.๒ ผู้ใดพึงนำ�ภาชนะดินไปได้ แม้ภาชนะสำ�ริด ผู้นั้นก็พึงนำ�ไปได้ หล่อนทำ�ชั่วจนช่ำ� ก็จัก
ทำ�ชั่วอย่างนั้นอีก.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๓๑๔
๑.๓ ขึ้นชื่อว่าที่ลับ ย่อมไม่มีในโลกนี้แก่คนผู้กระทำ�บาปกรรม อุปมาดังต้นไม้ที่เกิดในป่าก็
ยังมีคนเห็น คนพาลย่อมสำ�คัญบาปกรรมนั้นว่าเป็นที่ลับ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๔๐๖
๑.๔ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยใน
อัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ�ย่อมอยู่ในน้ำ� ที่อาศัยป่าย่อมอยู่ใน
ป่า ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น
ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๖/๓๐๘
164

๑.๕ บุคคลมีมายาดุจถ่านปกปิดด้วยขี้เถ้า ดุจตอปกปิดด้วยน้ำ� และดุจศัสตราปกปิดด้วย


เอาผ้าเก่าพัน.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๖/๔๒๔
๑.๖ ผู้ใดแล มัวรักษาของรักว่า นี่เป็นของรักของเรา ทำ�ตนให้เหินห่างจากความดี เสพของ
รักทั้งหลาย เหมือนนักเลงสุราดื่มสุราเจือยาพิษ ฉะนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์ในโลกหน้า เพราะกรรม
อันลามกนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๓๒

๒. งดเว้นจากบาป
๒.๑ เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือนโปรยแกลบลอยไปในลมอันแรง เหมือนทิ้งหญ้า
และใบไม้ลอยไปในแม่น้ำ�มีกระแสอันเชี่ยว.
ขุ.เปต. (อรรถ) มก. ๔๙/๕๑๖
๒.๒ ผู้ห้ามนรชนเสียจากบาป เปรียบเหมือนทำ�นบเป็นที่กั้นกระแสน้ำ�เชี่ยวไว้ได้ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๔๖๐
๒.๓ บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย เหมือนพ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอัน
พึงกลัว เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่เว้นยาพิษ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒
๒.๔ แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำ�ความพากเพียรแต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอก็จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้สาละป่าใหญ่ ใกล้บ้านหรือนิคม และป่านั้นปกคลุมไป
ด้วยเหล่าต้นละหุ่ง บุรุษผู้หวังดีหวังประโยชน์ และหวังความปลอดภัยของต้นสาละนั้น เขาจึงตัด
ต้นรังเล็กๆ ที่คดที่ต้นละหุ่ง คอยแย่งโอชาออกนำ�ไปทิ้งเสียภายนอก แผ้วถางภายในป่าให้สะอาด
เรียบร้อยแล้ว คอยบำ�รุงรักษาต้นรังเล็กๆ ที่ต้นตรงขึ้นดีไว้ได้โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยการกระทำ�ดังที่กล่าวมานี้ สมัยต่อมา ป่าไม้รังนั้นก็เจริญงอกงามไพบูลย์
ขึ้นโดยลำ�ดับ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำ�ความพากเพียรอยู่
แต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเถิด.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๒๕๗
๒.๕ บุคคลผู้มีผ้าอันไฟไหม้ หรือมีศีรษะอันไฟไหม้ พึงทำ�ความพอใจ ความพยายาม
165

ความอุ ต สาหะ ความขะมั ก เขม้ น ความไม่ ท้ อ ถอย สติ และสั ม ปชั ญ ญะ ให้ มี ป ระมาณยิ่ ง
เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๑๗๐
๒.๖ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรนั้น ยังมิจฉาวิตกทั้งหลายให้สงบระงับ เปรียบเหมือนฝนยัง
ธุลีที่ลมพัดฟุ้งขึ้นแล้วให้สงบ ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (อรรถ) มก. ๔๕/๕๓๕
๒.๗ ธรรมดาในแว่นแคว้นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมไม่มีโจรผู้ร้าย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ไม่ควรให้มีโจรผู้ร้าย คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ผู้ใดยินดีในการระงับวิตก อบรมอสุภะ๑ มีสติทุกเมื่อ ผู้นั้นจะทำ�
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้.
มิลิน. ๔๔๓
๒.๘ ธรรมดาต้นหนย่อมตั้งเข็มทิศด้วยตนเอง ไม่ให้ผู้อื่นแตะต้อง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรตั้งเข็มทิศไว้ในใจ ห้ามใจไม่ให้นึกถึงสิ่งที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๓
๒.๙ ธรรมดางู เมื่อเที่ยวไปย่อมหลีกเว้นยาพิษของตน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรหลีกเว้นทุจริต ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๔
๒.๑๐ ความชั่วช้าแม้เพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่
บนฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะดวกเป็นนิตย์.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๒๓๒
๒.๑๑ เปรียบเหมือนพ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่ เดินทางจากภาคตะวันออกไปภาคตะวันตก
แล้วได้แบ่งกองเกวียนออกเป็น ๒ กอง กองละประมาณ ๕๐๐ เล่ม ให้ขบวนหนึ่งล่วงหน้าไปก่อน
อีกขบวนหนึ่งจะตามไปภายหลัง ขบวนที่ล่วงหน้าไปก่อนถูกคนเดินสวนทางหลอกให้ทิ้งหญ้าทิ้งน้ำ�
เล่าว่าข้างหน้าฝนตกหนักในทางกันดาร พุ่มไม้ หญ้า ไม้ และน้ำ�บริบูรณ์ หัวหน้ากองเกวียน
หลงเชื่อ จึงพาพวกไปตายหมดสิ้น เพราะทิ้งหญ้าทิ้งน้ำ�แล้ว ก็หาน้ำ� และหญ้าข้างหน้าไม่ได้ พวก
ไปทีหลังไม่ยอมเชื่อคนหลอก ไม่ยอมทิ้งหญ้าทิ้งน้ำ� จึงเดินทางข้ามทางกันดารโดยสวัสดี แล้ว
เปรียบว่า พระองค์แสวงหาโลกอื่นโดยไม่แยบคาย จะพลอยให้คนที่เชื่อถือพากันถึงความพินาศไป
ด้วยเหมือนนายกองเกวียนคณะแรก.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๔/๓๘๘

อสุภะ สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม
166

๒.๑๒ เปรียบเหมือนชายเลี้ยงหมูคนหนึ่ง ไปสู่หมู่บ้านอื่นเห็นคูถ (อุจจาระ) แห้ง ที่เขาทิ้งไว้


เป็นอันมาก ก็คลี่ผ้าห่มออก เอาคูถแห้งใส่แล้วห่อทูนเหนือศีรษะมา ในระหว่างทางฝนตก คูถนั้นก็
ไหลเลอะเปรอะไป คนทั้งหลายจึงพากันติเตียนว่า เป็นบ้าหรือ ไปแบกห่อคูถมาทำ�ไม เขากลับตอบ
ว่า ท่านต่างหากเป็นบ้า เพราะของที่แบกมานี่เป็นอาหารของหมู พระองค์ก็เปรียบเหมือนอย่างนั้น
ขอจงสละความเห็นผิดนั้นเสียเถิด.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๔/๓๙๑
๒.๑๓ เปรียบเหมือนนักเลงสกา ๒ คน เล่นสกากัน คนหนึ่งย่อมกลืนลูกโทษที่มาถึงตัว
(ลูกสกาที่จะทำ�ให้แพ้) อีกคนหนึ่งบอกว่า ท่านชนะเรื่อยข้างเดียวขอลูกสกาให้ข้าพเจ้าทำ�พิธีบ้าง
คนชนะจึงส่งให้ไป นักเลงคนที่ ๒ จึงเอายาพิษทาลูกสกา เมื่อเล่นครั้งที่สองนักเลงสกาคนแรกก็
กลืนลูกโทษที่มาถึงนั้นอีก และตายเพราะกลืนยาพิษเข้าไปด้วย พระองค์ก็เปรียบเหมือนนักเลงสกา
ที่กลืนยาพิษไปกับลูกสกาด้วย ขอจงทรงสละความเห็นผิดนั้นเสียเถิด.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๔/๓๙๒
๒.๑๔ เปรียบเหมือนชาย ๒ คน ชวนกันไปยังชนบทเพื่อหาทรัพย์ ไปพบป่านในระหว่างทาง
ก็ห่อป่านเดินทางไป ครั้นไปพบด้ายที่ทอจากบ้าน คนหนึ่งเห็นด้ายมีราคากว่า ก็ทิ้งป่านห่อด้ายไป
อีกคนหนึ่งไม่ยอมทิ้งด้วย ถือว่าแบกมาไกลแล้ว ผูกรัดไว้ดีแล้ว โดยนัยนี้ไปพบผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย
เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทอง คนหนึ่งทิ้งของเก่าถือเอาของใหม่ที่มีราคากว่า แต่อีกคนหนึ่งไม่
ยอมทิ้งถือว่าแบกมาไกลแล้ว ผูกรัดไว้ดีแล้ว เมื่อกลับไปถึงบ้าน บุตร ภริยา เพื่อนฝูงของผู้แบกห่อ
ป่าน ก็ไม่ชื่นชม แต่บุตร ภริยา เพื่อนฝูงของผู้แบกห่อทองกลับมา ต่างชื่นชม พระองค์จะเป็นอย่าง
ผู้แบกห่อป่าน ขอจงทรงสละความเห็นผิดนั้นเสียเถิด.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๔/๓๙๔
๒.๑๕ ความเป็นพรานนี้ เราได้ละแล้ว เหมือนงูลอกคราบเก่าของตน หรือเหมือนต้นไม้
อันเขียวชอุ่ม ผลัดใบเหลืองทิ้ง ฉะนั้น วันนี้เราละความเป็นพรานได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๔๕๕
๒.๑๖ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะ และโทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อย
ดอกทั้งหลายที่เหี่ยวเสีย ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (โพธิ) มก. ๔๓/๓๓๙
๒.๑๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปหาพระราหุลซึ่งกำ �ลังพักอยู่ ณ ปราสาทชื่อ
อัมพลัฎฐิกา ขณะที่พระองค์ทรงล้างพระบาท ทรงเหลือน้ำ�ไว้ในภาชนะหน่อยหนึ่ง รีบสั่งเรียก
พระราหุลมาพิจารณาดูน้ำ�นั้น แล้วทรงแสดงเปรียบเทียบว่า ผู้เป็นสมณะถ้าไม่มีความละอายกล่าว
167

เท็จทั้งที่รู้ ก็เหลือความเป็นสมณะเพียงหน่อยหนึ่งเหมือนน้ำ�ในขัน
ทรงเทน้ำ�ทิ้งแล้วทรงคว่ำ�ขัน และหงายขันขึ้น แล้วทรงเปรียบเทียบให้ฟังว่า ถ้ายังกล่าว
เท็จอยู่ก็เหมือนน้ำ�ที่เขาทิ้งแล้ว เหมือนขันที่คว่ำ� และว่างเปล่าเหมือนขันที่หงาย
ทรงยกอุปมาด้วยช้างขึ้นมาเปรียบเทียบว่า ช้างต้นที่อวัยวะทุกส่วนทำ�งานให้พระราชาได้
ไม่มีอะไรที่ช้างต้นนั้นจะทำ�ไม่ได้ คนที่ไม่มีความละอายกล่าวเท็จทั้งที่รู้ก็เหมือนกัน ที่จะไม่ทำ�บาป
อะไรเลยไม่มี
จากนั้นทรงสอนให้พิจารณาดูกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของตน เหมือนคนใช้
คันฉ่องดูเงาหน้าตัวเอง ฉะนั้น.
ม.มู (พุทธ) มก. ๒๐/๒๖๓
๒.๑๘ ถ้าแผลไม่มีในฝ่ามือ บุคคลพึงนำ�ยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไป
สู่ฝ่ามือไม่มีแผล ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ�บาป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๖

๓. ผลของบาป
๓.๑ คนพาลย่อมสำ�คัญบาปประดุจน้ำ�ผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล
เมื่อนั้นคนพาลย่อมประสพทุกข์.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๒๑๕
๓.๒ คนนี้จะเป็นผู้เปื้อนไปด้วยบาป เหมือนกับผ้านุ่งของพี่เลี้ยงที่เปื้อนน้�ำ ลายน้ำ�มูก มูตร
และคูถ.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๑๘๔
๓.๓ บุคคลจะอยู่ในอากาศ อยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร จะเข้าไปสู่ซอกเขาก็ตามที ก็ไม่พึง
พ้นจากกรรมชั่วไปได้ เพราะประเทศ คือ แผ่นดิน ที่เขาอยู่นั้น บาปกรรมจะตามไม่ทัน ไม่มี.
ขุ.อุ. (พุทธ) มก. ๔๔/๔๖๒
๓.๔ ท่ า นผู้ เจริ ญ ทั้ ง หลาย ชาวนครสี พี พ ากั นขั บ ไล่ พ ระเวสสั นดรผู้ ไม่ มี ค วามผิ ด จาก
แว่นแคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันนำ�รสที่ต้องการทุกอย่างมาให้ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๖๔/๕๐๓
๓.๕ ท่านจงหลีกไปเสียเถิด โลกยังกว้างใหญ่ ท่านไม่ไปที่อื่น ยังประพฤติอธรรมอยู่ในที่นี้
อธรรมอันท่านประพฤติแล้ว อย่าได้ทำ�ลายท่านเลย เหมือนก้อนหินต่อยหม้อแตก ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๔๓๔
168

๓.๖ อันคนพาลทำ�กรรมทั้งหลายอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก บุคคลผู้มีปัญญาทราม ย่อม


เดือดร้อน ดุจถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๖๗
๓.๗ บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ�ยังเต็มด้วย
หยาดน้ำ�ที่ตกลง ทีละหยาดๆ ได้ ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้
ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๒๒๕
๓.๘ กรรมที่บุคคลใด ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วทำ�ลงไป ผลชั่วร้ายย่อมมีแก่บุคคล
นั้น เหมือนความวิบัติแห่งยาแก้โรค ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๖๕
๓.๙ บุคคลนึกอยู่ว่า หากว่าท่านจักกระทำ�กรรมชั่วนั้น ท่านจักได้รับความติเตียนในบริษัท
๔ วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่าน เหมือนชาวเมืองรังเกียจของสกปรก.
ขุ.อิติ. (อรรถ) มก. ๔๕/๒๙๓
๓.๑๐ บุคคลผู้ทำ�อกุศลกรรมบถ ๑๐ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลที่ยังอยู่จะสวดสรรเสริญวิงวอน ก็ไม่สามารถทำ�ให้ผู้ล่วงลับที่ไปอบายแล้ว กลับไปสู่สุคติ
สวรรค์ได้ เหมือนโยนก้อนหินลงในน้ำ� แล้วสวดวิงวอนให้ก้อนหินลอยขึ้นมา ก้อนหินก็ไม่สามารถ
ลอยขึ้นมาได้.
สัง.สหา. (พุทธ) มก. ๒๙/๑๘๙
๓.๑๑ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า กุศลกรรม และอกุศลกรรมที่บุคคลทำ�ด้วย
รูปนามนี้อยู่ไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ติดตัวไปเหมือนเงาตามตัว แล้วอุปมาว่า ต้นไม้ที่ยังไม่มีผลก็ไม่อาจ
ชี้ได้ว่าผลนั้นอยู่ที่ไหน ดังนั้น เมื่อการสืบต่อยังไม่ขาด ก็ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่ากรรมเหล่านั้นอยู่
ที่ไหน.
มิลิน. ๑๑๒
๓.๑๒ บุคคลประทุษร้ายแก่นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส บาปย่อม
กลับมาถึงบุคคลนั้นผู้เป็นพาล ประดุจซัดธุลีทวนลม.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๑๒๖
๓.๑๓ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสน เรื่องการทำ�บาปของผู้รู้กับผู้ไม่รู้ ใครจะได้บาป
มากกว่ากัน
169

พระนาคเสนทูลตอบว่า บุคคลผู้ไม่รู้บาปแล้วทำ�บาปย่อมได้รับบาปมากกว่าผู้รู้บาปกรรม
แล้วจึงทำ�บาป ประดุจชายผู้ไม่รู้ ไปจับเอาก้อนเหล็กแดงอันร้อนแรง ย่อมร้อนทุรนทุรายมากกว่า
บุคคลผู้ที่รู้อยู่ว่าก้อนเหล็กแดงร้อนแรง จึงหาวิธีการ อุบายต่างๆ เพื่อที่จะลดความร้อนแรงของ
ก้อนเหล็กแดงก่อนแล้วจึงจับ.
มิลิน. ๑๓๗

๔. อานิสงส์ของการงดเว้นบาป
๔.๑ ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำ�ให้โลกนี้สว่างไสว
เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
บาปกรรมที่ทำ�ไว้แล้ว อันผู้ใดย่อมปิดกั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำ�โลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน
พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๑๓๓
๔.๒ ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้ บุคคลพึงนำ�ยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึม
เข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ�บาป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๔๐
๔.๓ ผู้ใดในโลกนี้ พิจารณาแล้วละของรักได้ เสพอริยธรรมทั้งหลายแม้ด้วยความยาก
เหมือนคนเป็นไข้ดื่มยา ฉะนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขในโลกหน้าเพราะกัลยาณกรรมนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๓๒
๒๐
ม ง ค ล ที่

สำ�รวมจากการดื่มน้ำ�เมา
ผู้ใดดื่มสุรา ไม่มีทรัพย์ หาการงานทำ�เลี้ยงชีพไม่ได้
เป็นคนขี้เมา ปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์
เขาจะจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้ำ� ฉะนั้น
171

๑. โทษของน้ำ�เมา
๑.๑ ผู้ใดดื่มสุรา ไม่มีทรัพย์ หาการงานทำ�เลี้ยงชีพไม่ได้ เป็นคนขี้เมาปราศจากสิ่งเป็น
ประโยชน์ เขาจะจมลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำ� ฉะนั้น.
ที.ปา. ( พุทธ ) มก. ๑๖/๘๓
๑.๒ นรชนใดย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มสุรา และเมรัย นระนี้ชื่อว่า ย่อมขุดรากเหง้า
(ความดี) ของตน คือ เป็นคนหาที่พึ่งมิได้ในโลกนี้ที่เดียว.
ขุ.ธ. ( พุทธ ) มก. ๔๓/๓๖
๑.๓ สุรานั้นทำ�ใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม ทำ�ให้พูดมาก มีรสหวานแหลมปานน้ำ�ผึ้ง พระอริยะ
ทั้งหลายกล่าวสุรานั้นว่า เป็นพิษของพรหมจรรย์.
ขุ.ชา. ( ทั่วไป ) มก. ๖๐/๒๔๖
๑.๔ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นการดื่มสุราเมรัย นี้เป็นเครื่องเศร้า
หมองของสมณพราหมณ์.
วิ.จุ. ( เถระ ) มก. ๙/๕๓๓
๑.๕ ถ้าหากน้ำ�ในมหาสมุทรจะเป็นสุรา และนักเลงสุราจะเกิดเป็นปลา เมื่อเขาแหวกว่าย
อยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดีในน้ำ�นั้น ขึ้นชื่อว่า ความอิ่มก็ไม่พึงมี.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๕
๒๑
ม ง ค ล ที่

ไม่ประมาทในธรรม
รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง
ทั้งหมดนั้น ย่อมถึงความประชุมกันลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์เหล่านั้นเพราะเป็นรอยใหญ่
แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น
มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
173

๑. ความสำ�คัญของความไม่ประมาทในธรรม
๑.๑ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า
เป็นยอดกุศลธรรมเหล่านั้น.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๓๕
๑.๒ รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมถึง
ความประชุมกันลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์เหล่านั้น
เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็น
มูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๒
๑.๓ พระราชาผู้น้อย (ชั้นต่ำ�) เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้า
จักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าราชาผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๕
174

๑.๔. กลอนแห่งเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด น้อมไปสู่ยอด ประชุมเข้าที่


ยอด ยอดแห่งเรือนยอดนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๓
๑.๕ แสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมไม่ถึงส่วนที่
สิบหกแห่งแสงสว่างพระจันทร์ แสงสว่างพระจันทร์ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเยี่ยมกว่าแสงสว่างแห่ง
ดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้วทำ�ให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๖๙๓
๑.๖ ไม้มีกลิ่นที่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม้กลัมพัก บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ราก
เหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๔
๑.๗ ไม้มกี ลิน่ ทีแ่ ก่นชนิดใดชนิดหนึง่ จันทร์แดง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้กลิน่ ทีแ่ ก่นเหล่านัน้
แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๔
๑.๘ ไม้มีกลิ่นที่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง มะลิ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้กลิ่นที่ดอกเหล่านั้น
แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๕
๑.๙ พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความประมาท ส่วนผู้มีปัญญา
ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๔๖

๒. โทษของความประมาท
๒.๑ สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด ในโลกนี้น้อยคนนักจะเห็นแจ้ง น้อยคนนักจะไปใน
สวรรค์เหมือนนกหลุดแล้วจากข่ายมีน้อย ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๒๘
๒.๒ บุคคลผู้เกียจคร้าน และกินจุเหมือนต้นไม้ที่ถูกทรายคลุมทับในที่ที่ล้มลงนั่นแล้วเป็นไม้
ผุ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๑๗
175

๒.๓ นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก แต่เป็นผู้ประมาทแล้วไม่ทำ�


ตามพระพุทธพจน์นั้น เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคทั้งหลายของ
ชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๒๑๓
๒.๔ ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาท
แล้วชื่อว่า ย่อมไม่ตาย ผู้ประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๒๑๗
๒.๕ มฤตยูย่อมพาชนผู้มัวเมาในบุตร และสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ดุจน้ำ�
ใหญ่พัดพาชาวบ้านผู้หลับไหลไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๕๐๓

๓. ผู้ไม่ประมาท
๓.๑ ธรรมดากรรมกรย่ อ มคิ ด ว่ า เราเป็ น ลู ก จ้ า ง เราจั ก ต้ อ งตั้ ง ใจทำ � งานด้ ว ยความ
ไม่ประมาทเพื่อเราจักได้ค่าจ้างมาก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรคิดว่า เมื่อเราพิจารณา
กายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้ดีแล้ว เราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาทเนืองๆ มีสติสัมปชัญญะดี ใจแน่วแน่
เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย โสกะ ปริเทวะ๑ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
เพราะฉะนั้น เราไม่ควรจะประมาทเลย.
มิลิน. ๔๓๓
๓.๒ ธรรมดานายพรานย่อมรู้จักเวลาไหนควรทำ�อะไร ภิกษุผู้ปรารถความเพียรก็ควรรู้จัก
เวลา คือ ควรรู้ว่าเวลาอยู่ในที่สงัด เวลานี้เป็นเวลาออกจากที่สงัด.
มิลิน. ๔๕๙
๓.๓ นายท้ายเรือผู้เอาใจใส่เรือตลอดเวลาทั้งกลางวัน กลางคืน ไม่ประมาทเผลอเรอ
ฉันใด ภิกษุผู้ความเพียรก็ไม่ประมาท ควรกำ�หนดจิตไว้ด้วยโยนิโสมนสิการอยู่เป็นนิตย์ทั้งกลางวัน
กลางคืน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๒
๓.๔ ธรรมดาหนูย่อมเที่ยวแสวงหาอาหารไปตามที่นั้นที่นี้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารถความเพียร
เมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ก็แสวงโยนิโสมนสิการ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๔


ปริเทวะ ความร่ำ�ไรรำ�พัน, ความคร่ำ�ครวญ, ความรำ�พันด้วยความเสียใจ, ความบ่นเพ้อ
176

๓.๕ ธรรมดางูเมื่อพบเห็นมนุษย์แล้ว ย่อมทุกข์โศก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อ


นึกถึงวิตกที่ไม่ดีแล้ว ก็ควรทุกข์ และเสียใจว่า วันนี้เราได้ล่วงไปด้วยความประมาทเสียแล้ว
เพราะวันที่ล่วงไปแล้วไม่อาจได้คืนมาอีก.
มิลิน. ๔๕๓
๓.๖ ธรรมดาไก่แม้จะถูกขว้างปาด้วยก้อนดิน ค้อน หรือถูกทุบตีด้วยสิ่งของใดๆ ก็ยังไม่
ยอมทิ้งรังของตน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแม้มีเรื่องต้องทำ�มากมายก็ไม่ทิ้งโยนิโสมนสิการ.
มิลิน. ๔๒๓
๓.๗ นายมาลาการพึงทำ�พวงดอกไม้ให้มากจากกองดอกไม้ แม้ฉันใด มัจจุสัตว์ผู้มีอันจะพึง
ตายเป็นสภาพ ควรทำ�กุศลใว้ไห้มาก ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๓
๓.๘ ธรรมดาโคย่อมไม่ทิ้งคอกของตน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรทิ้งโอกาส
ของตน ฉันนั้น คือ ไม่ควรทิ้งการนึกเสมอว่า กายนี้ต้องหมั่นขัดสี ต้องอบรมอยู่เสมอ และย่อมมี
การแตกสลายเป็นธรรมดา.
มิลิน. ๔๔๗
๓.๙ ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำ�เป็นเครื่องเปรียบ รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม
ตัดพวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงถึงสถานที่มัจจุราชไม่เห็น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๒
๓.๑๐ ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจาก
หล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตมถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๒๔
๓.๑๑ ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำ�จัด
เสนาแห่งมัจจุราชเหมือนช้างจำ�กัดเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๑๘๕

๔. อานิสงส์ของความไม่ประมาท
๔.๑ ผู้ใดประมาทในก่ อน ภายหลั ง ไม่ ป ระมาท ผู้ นั้ น ย่ อ มยั ง โลกนี้ ให้ ส ว่ า งได้ เหมื อน
ดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๒๗
177

๔.๒ ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้วไม่ประมาท เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่


โดยมาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้าตัวมีฝีเท้าเร็วละทิ้งตัวหากำ�ลังมิได้ไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓๕๔

๕. ความแก่ ความเจ็บ ความตาย


๕.๑ ผู้ที่ยืนอยู่ยอดเขาศิลาล้วน พึงเห็นประชุมชนโดยรอบ ฉันใด ท่านผู้มีจักษุโดยรอบก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน เห็นประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นไปด้วยความเศร้าโศก ถูกชาติ และชราครอบงำ�แล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นนายพวกปราศจากหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุก
ขึ้นเปิดเผยโลก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๔๓
๕.๒ นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด ชรา และมัจจุราชย่อม
ต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๒/๖๖
๕.๓ แม่น้ำ�ที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้โค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูก
ชรา และมรณะพัดพาไป ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕
๕.๔ บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ� รับคนฝั่งนี้ส่งถึงฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับมารับคนฝั่งโน้น
พามาส่งถึงฝั่งนี้ ฉันใด ชรา และพยาธิ ก็ย่อมนำ�เอาชีวิตสัตว์ไปสู่อำ�นาจแห่งมัจจุราชอยู่เนืองๆ
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๒๔๐

๖. ความแก่
๖.๑ ดอกบัวบานในเวลาเช้า ถูกแสงอาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความ
เป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยอำ�นาจของชรา.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๗/๔๑๘
๖.๒ ใบไม้เหลืองได้ร่วงลงมาข้างหน้าของเขา เขาเริ่มตั้งความสิ้น และความเสื่อมไปใน
ใบไม้เหลืองนั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ในแผ่นดินกึกก้องไป พร้อมกับให้พระปัจเจกโพธิญาณ
เกิดขึ้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๒๙
178

๖.๓ เมื่อฝนไม่ตก พีชคาม๑ ภูตคาม๒ และติณชาติ๓ ที่ใช้เข้ายาในป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา


เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
กำ�หนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำ�หนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๑๔
๖.๔ เมื่อด้ายที่เขากำ�ลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่จะต้องทอก็ยังเหลืออยู่น้อยเท่านั้น
แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
แม่น้ำ�ที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้โค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชรา
และมรณะพัดพาไป ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕
๖.๕ ทางไปของน้ำ� ลม ไฟ ย่อมปรากฏ เพราะหญ้า และต้นไม้หักโค่นล้มหรือเพราะถูก
ไฟไหม้ ฉันใด ทางไปของชราย่อมปรากฏโดยที่ฟันหัก.
สัง.นิ. (อรรถ) มก. ๒๖/๒๔
๖.๖ บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง บุรุษแห่งพระยายม คือ ความตายปรากฏแก่ท่าน
แล้ว ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑
๖.๗ บัดนี้ เราก็แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว
เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยังเป็นไปได้ ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมแล้วด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๙๖
๖.๘ เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนา
เบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๓๓๓

๗. ความตาย
๗.๑ ผลไม้สุกแล้ว ย่อมมีภัย เพราะจะต้องร่วงหล่นลงไปเป็นนิตย์ ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกิดแล้ว ชื่อว่า ย่อมมีภัย เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๖


พีชคาม พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังเป็นได้อีก

ภูตคาม ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่

ติณชาติ หญ้า
179

๗.๒ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำ�ย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์


ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ� ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๗๓
๗.๓ หยาดน้ำ�ค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้
ฉันใด ชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนหยาดน้ำ�ค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๗๓
๗.๔ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ� ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ� ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๗๓
๗.๕ มัจจุราชย่อมพานระผู้มีใจข้องไปในอารมณ์ต่างๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้เที่ยวไป เหมือน
ห้วงน้ำ�ใหญ่พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๔๐
๗.๖ แม่น้ำ�ไหลลงจากภูเขา ไหลไปไกล กระแสเชี่ยวพัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ไม่มีระยะ
เวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด แต่ที่แท้แม่น้ำ�มีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้ง
หลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ�ที่ไหลลงจากภูเขา ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔
๗.๗ อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดีพึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้
เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็
กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำ�ในแม่น้ำ�น้อยย่อมสิ้นไป
ฉะนั้น.
ขุ.ม. (ทั่วไป ) มก. ๖๕/๖๐๔
๗.๘ ผู้ใดขจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำ�ใหญ่กำ�จัดสะพานไม้อ้อ อันแสนจะทรุดโทรม
ฉะนั้น ก็ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว มีตนอันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่นดับกิเลส
และความเร่าร้อนได้แล้ว.
สัง.ส. (เถระ) มก. ๒๔/๓๙๘
๗.๙ เราไม่ยินดีความตาย เราไม่ยินดีความเป็นอยู่ แต่ดับขันธปรินิพพาน เหมือนลูกจ้างรอ
ค่าจ้าง ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๕๗๗
180

๗.๑๐ ภาชนะในดินที่ช่างหม้อทำ� ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด


ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๒๙๑
๗.๑๑ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำ�หนดร้อยปีเป็นอย่างมาก ไม่เกินกำ�หนดนั้น ย่อม
จะเหือดแห้งไป เหมือนไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๓๓
๗.๑๒ แท้จริงชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งที่เป็นสตรี และบุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหวเหมือน
แผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของหวั่นไหวไม่ยั่งยืน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๕
๗.๑๓ บุรุษมีกำ�ลังอมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตของ
มนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนก้อนเขฬะ ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔
๗.๑๔ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกระทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่
นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔
๗.๑๕ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำ�ไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้
ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔
๗.๑๖ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเห็นความดับเท่านั้นว่า สังขารทั้งหลายเหล่านี้ย่อมแตกดับ
ไป ฉันใด แม้ในอดีตสังขารก็แตกแล้ว แม้ในอนาคตก็จักแตก ฉันนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๕๑
๗.๑๗ สังขารทั้งหลายมิใช่เป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์แต่เพียงอย่างเดียว ยังปรากฏไม่มีสาระ
หาสาระมิได้ ดุจหยาดน้ำ�ค้างเวลาในพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ� ดุจรอยขีดในน้ำ� ดุจเมล็ดผักกาด
บนปลายเข็มแหลม ดุจสายฟ้าแลบ ดุจภาพลวง พยับแดด ความฝัน ฟองน้ำ� เป็นต้น อันตั้งอยู่
ชั่วเวลาเล็กน้อย.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๔๗
๗.๑๘ ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา จรดท้องฟ้ากลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด
ชรา และมัจจุราช ก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ�สัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์
พวกศูทร พวกจัณฑาล และคนเทมูลฝอย ไม่เว้นใครๆ ไว้เลย ย่อมย่ำ�ยีเสียสิ้น ณ ที่นั้น ไม่มี
181

ยุทธภูมิสำ�หรับพลช้าง ไม่มียุทธภูมิสำ�หรับพลรถ ไม่มียุทธภูมิสำ�หรับพลราบ และไม่อาจเอาชนะแม้


ด้วยการรบ ด้วยมนต์ หรือด้วยทรัพย์.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๕๒๔
๗.๑๙ พระราชาบางพวกแวดล้อมด้วยพลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือ
ของพวกข้าศึกได้ แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำ�นักของมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด
ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๓
๗.๒๐ พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักค่ายทำ�ลายพระนครแห่งราชศัตรูย่อยยับได้
และกำ�จัดมหาชนได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่ง
มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔
๗.๒๑ คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลวแตกออกจากกระพอง ย่อมย่ำ�ยีนครทั้งหลาย
และเข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำ�ยีเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔
๗.๒๒ นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิงธนู
ให้ถูกได้ในที่ไกล ยิงได้แม่นยำ�ไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้านมฤตยูได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔
๗.๒๓ ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถ
จะเข้าสิงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๕
๗.๒๔ มนุษย์ทั้งหลายย่อมทำ�การบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลายผู้โกรธเคืองแล้ว
ได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๖
๗.๒๕ พระราชาทั้ ง หลายทรงทราบโทษผิ ด แล้ ว ย่ อ มลงอาชญาผู้ ก ระทำ � ความผิ ด
ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชนตามสมควร แต่ไม่สามารถลงอาชญา
มัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๖
182

๗.๒๖ ชนทั้งหลายผู้กระทำ�ความผิด ฐานประทุษร้ายต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อ


ราชสมบัติก็ดี ผู้เบียดเบียนประชาชนก็ดี ย่อมจะขอพระราชทานอภัยโทษได้ แต่หาทำ�มัจจุราชให้
ผ่อนปรนกรุณาปราณีได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๖
๗.๒๗ ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้ แต่
ไม่สามารถจะเคี้ยวกินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗
๗.๒๘ นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อทำ�มายากล ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชน
ในทีน่ น้ั ๆ ให้หลงเชือ่ ได้ แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลงเชือ่ ได้เลย เพราะเหตุนน้ั ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗
๗.๒๙ อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้ว ย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ไม่สามารถจะ
ขบกัดมัจจุราชให้ถึงตายได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗
๗.๓๐ อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอทั้งหลายย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้ แต่จะถอนพิษ
ของผูถ้ กู มัจจุราชประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนน้ั ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗
๗.๓๑ แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้ คือ แพทย์ธรรมมนตรี แพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะอาจจะ
กำ�จัดพิษพระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำ�กาลกิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗
๗.๓๒ วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคมชื่อ โฆรมนต์ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั่งหลาย แต่
จะหายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๘
๗.๓๓ สัตว์ที่เกิดมามีภัยโดยความตายเป็นนิตย์ เหมือนผลไม้ที่สุกแล้วมีภัย โดยการหล่นใน
เวลาเช้า ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๐๖
183

๗.๓๔ มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่และฉลาด ทั้งหมดย่อมไปสู่อำ�นาจมัจจุราช มีมัจจุสกัดอยู่


ข้างหน้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นถูกมัจจุสกัดอยู่ข้างหน้าแล้ว ถูกมัจจุครอบงำ� บิดาก็ต้านทานบุตรไว้
ไม่ได้ หรือพวกญาติก็ต้านทานญาติไว้ไม่ได้ เมื่อพวกญาติกำ�ลังดูกันอยู่นั่นแหละ กำ�ลังรำ�พันกันอยู่
เป็นอันมาก ท่านจงดูสัตว์ทั้งหลายอันมรณะนำ�ไปได้ เหมือนโคถูกนำ�ไปฆ่า ฉะนั้น สัตว์อันมัจจุ
และชราครอบงำ�ไว้อย่างนี้.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๐๖
๗.๓๕ ชีวิตของมนุษย์เปรียบกับชีวิตของเทวดาทั้งหลายแล้วน้อย เหมือนหยาดน้ำ�ค้าง
บนยอดหญ้า.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๗/๕๖๓
๗.๓๖ มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตร และปศุสัตว์ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือน
ห้วงน้ำ�ใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๑๓๗
๓.๓๗ ห้วงมหานทีใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้าง พัดชาวบ้านนั้นไปหมด โดยที่สุดแม้สุนัขก็มิให้
เหลือไว้ ฉันใด มัจจุราชย่อมพานระมีประการดังกล่าวแล้วไป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑๓๗
๓.๓๘ ภาชนะดินที่นายช่างทำ�แล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้ง
หลาย ก็ฉันนั้น ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำ�นาจของมฤตยู มีมฤตยูเป็นที่
ไปในเบื้องหน้า ด้วยกันทั้งหมด.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๕๕๗
๗.๓๙ พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่ราชศัตรู ผู้มีเสนาอันประกอบด้วย
องค์ ๔ ล้วนมีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะเอาชนะเสนาแห่งมัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๓
๗.๔๐ สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวไพร ย่อมเสื่อมสิ้นไป ครั้นถึงกาลกำ�หนด
แล้ว ย่อมจะแตกทำ�ลายไป เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔
๗.๔๑ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เปรียบ
เหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อกำ�ลังทำ�อยู่ก็แตกได้ ทำ�เสร็จแล้วเอาออกจากแป้นหมุนก็แตกได้ สัตว์
184

ทั้งหลายก็เหมือนกัน บางคนพอคลอดก็ตาย บางคนอยู่ได้เกินกว่านั้นก็ตาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อ


ทำ�กรรมชั่วไว้ ตายไปก็จะไปสู่นรก ผู้ทำ�กุศลกรรม เมื่อตายก็จะไปสู่โลกสวรรค์.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๕๑๐

๘. การตายก่อนเวลาอันควร
๘.๑ การตายก่อนเวลาอันควร อุปมาเหมือนผลไม้ตกจากต้นก่อนสุก เหมือนลูกธนูที่ยิงออก
จากแล่งแล้วไม่ถึงที่สุด เพราะติดสิ่งกีดขวางก่อน.
มิลิน. ๓๗๓
๘.๒ อาตมภาพเห็นเด็กชายของท่านทั้งหลาย ยังไม่ทันแก่ก็ตายเสียแล้ว เห็นเด็กหญิงของ
ท่านทั้งหลาย ซึ่งเป็นเด็กหญิงที่สวยงามน่าชมสิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ยังอ่อนอยู่ถูกถอน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๔
๘.๓ สัตว์เหล่านี้ ตายเสียแต่ในปฐมวัยก็มี เหมือนน้�ำ ทีเ่ ราเทลงครัง้ แรก ตายเสียในมัชฌิมวัย
ก็มี เหมือนน้ำ�ที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำ�ที่เราเทลง
ครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๔๙๗

๙. อายุ
๙.๑ อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย คนดีควรดูหมิ่นอายุนั้น ควรประพฤติดุจคนที่ถูกไฟไหม้
ศีรษะ ฉะนั้น การที่มัจจุราชจะไม่มาไม่มีเลย.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๖
๙.๒ อายุของคนเราเป็นของน้อยนัก เพราะวันคืนล่วงไปๆ เหมือนอายุของฝูงปลาในน้�ำ น้อย.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๔
๙.๓ วันคืนผ่านพ้นไป ชีวติ ย่อมสัน้ เข้า อายุของสัตว์ทง้ ั หลายย่อมสิน้ ไป ดุจน้�ำ ในแม่น�ำ ้ น้อย ฉะนัน้ .
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๘
๙.๔ แม่น้ำ�ที่เต็มฝั่ง ย่อมไม่ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กลับไปสู่
ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕
๙.๕ วันคืนย่อมผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมสั้นเข้า อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมดำ�เนินไป ดุจกงจักร
ตามธูปรถไป ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๘
185

๙.๖ อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ เหมือนตะเกียงน้ำ�มันที่กำ�ลังไหม้


แสงย่อมอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ เปลวไฟก็ย่อมอาศัยแสงจึงปรากฏ ฉันใดก็ฉันนั้นแล.
ม.มุ. (เถระ) มก. ๑๙/๒๘๔

๑๐. ร่างกาย
๑๐.๑ พยับแดดนี้ตั้งขึ้นแล้วในฤดูร้อน ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้ยืนอยู่ ณ ที่ไกลดุจมีรูปร่าง
แต่ไม่ปรากฏเลยแก่บุคคลผู้มาสู่ที่ใกล้ ฉันใด แม้อัตภาพนี้ก็มีรูปเหมือนอย่างนั้น เพราะเกิดขึ้น
และเสื่อมไป เดินมาแล้วเมื่อยล้าในหนทาง อาบน้ำ�ในแม่น้ำ�อจิรวดี นั่งในที่ร่มไม้ริมฝั่งแม่น้ำ�มี
กระแสอันเชี่ยวแห่งหนึ่ง เห็นฟองน้ำ�ใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยกำ�ลังแห่งน้ำ�กระทบกันแล้วแตกไป ได้ถือเอา
เป็นอารมณ์ว่า แม้อัตภาพนี้ ก็มีรูปร่างอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเกิดขึ้นแล้วก็แตกไป.
ขุ.ธ. (เถระ) มก. ๔๑/๘
๑๐.๒ คนทั้งหลายแลเห็นน้ำ�ในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำ� ฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงามว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน และ
สวยงาม ฉันนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๘๓
๑๐.๓ การพิจารณาน้ำ�ในพยับแดดแม้ไม่มีน� ้ำ ฉันใด การพิจารณาว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นอัตตา และงาม ในกายนี้ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั่นแล ฉันนั้นหามิได้ ที่แท้
การพิจารณากายก็คือ การพิจารณาหมู่แห่งอาการที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั่นเอง.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๑๐๙
๑๐.๔ คนฆ่าโคบางคน หรือลูกมือของเขา ที่เขาเลี้ยงดูด้วยอาหาร และค่าจ้าง ฆ่าโคแล้ว
ชำ�แหละแบ่งออกเป็นส่วนๆ แล้วนั่ง ณ ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง คือ ที่ชุมทางย่านกลางทางใหญ่ ซึ่งไป
ได้ทั้ง ๔ ทิศ ฉันใด ภิกษุผู้บำ�เพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน ก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาร่างกายอย่างนี้ว่า ใน
กายนี้มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๐๔
๑๐.๕ เมื่อเขาชำ�แหละแบ่งออกแล้ว ความสำ�คัญว่าโคก็ขายไป กลับสำ�คัญเนื้อโคไป
เขามิได้คิดว่า เราขายโค ที่แท้เขาคิดว่า เราขายเนื้อโค เปรียบฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อครั้งเป็นปุถุชนผู้เขลา เป็นคฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี สำ�คัญว่าสัตว์หรือบุคคลยังไม่หายไปก่อน
ตราบเท่าที่ยังไม่พิจารณาเห็นกายนี้ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำ�รงอยู่ แยกออกจากก้อน ต่อเมื่อเธอ
พิจารณาโดยเห็นความเป็นธาตุ ความสำ�คัญว่าสัตว์จึงหายไป.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๐๔
186

๑๐.๖ เรือแล่นไปได้ด้วยกำ�ลังลม ลูกธนูแล่นไปได้ด้วยกำ�ลังสายธนู ฉันใด กายอันนี้ลมนำ�ไป


จึงเดินไปได้ ฉันนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๐๐
๑๐.๗ กระดูกเหล่านี้ใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาด ดุจน้ำ�เต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
ความยินดีอะไรเล่าจักมี เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๔๑
๑๐.๘ เราติเตียนกระท่อม คือ สรีระร่างอันสำ�เร็จด้วยโครงกระดูกอันฉาบทาด้วยเนื้อ
ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของ
ผู้อื่น และเป็นของตน.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๑๐.๙ พิจารณาเห็นร่างกายที่เป็นที่รวมของ ผม ขน เป็นต้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนน้อย
ใหญ่ของพระนคร.
ที.ม. (อรรถ มก. ๑๔/๒๘๒
๑๐.๑๐ คนที่มัวหมกมุ่นอยู่ในกายของตน ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ ด้วยชาติ ชรา และ
ทุกข์ มีโรค เป็นต้น เหมือนปลาติดเบ็ด ฉะนั้น.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๑๗/๙๓
๑๐.๑๑ ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้อันตระการ ดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หา
ข้องอยู่ไม่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๒๒๗
๑๐.๑๒ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมจับงูอันเปื้อนคูถมีพิษมาก เป็นผู้เพลิดเพลินงูในโลก ชื่อว่า
จับเอาภาวะที่ไม่พึงปรารถนาทั้ง ๕ คือ ของเหม็น ของไม่สะอาด พยาธิ ชรา และมรณะ ภาวะที่ไม่
ปรารถนา ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในงูที่เปื้อนคูถ ปุถุชนผู้บอด และเขลาไม่ฉลาด ก็อย่างนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้เพลิดเพลินความเกิดในภพ ชื่อว่า จับภาวะที่ไม่ปรารถนาทั้ง ๕ เหล่านี้ มีอยู่ในกายอันเป็นดังงู
ที่เปื้อนคูถ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๓๘๑
๑๐.๑๓. ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว
ราวกับท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๘๘
187

๑๐.๑๔ งูละทิ้งคราบเก่าของตนจากร่างในระหว่างต้นไม้ ในระหว่างไม้ฟืน ในระหว่างโคน


ต้นไม้ หรือในระหว่างแผ่นดิน เหมือนคนถอดเสื้อแล้วไปตามต้องการ ฉันใด สัตว์ผู้หมุนเวียนไปใน
สงสาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละร่างของตน คือ สรีระของตน อันชื่อว่า เป็นของคร่ำ�คร่า เพราะ
กรรมเก่าหมดสิ้นไป คือ ไปตามกรรม.
ขุ.เปต. (อรรถ) มก. ๔๙/๑๒๕
๑๐.๑๕ ร่างกายไม่เป็นที่รักของบรรพชิต แต่บรรพชิตรักษาร่างกายไว้เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ เหมือนบุคคลรักษาแผลให้หายเป็นปกติ แต่ไม่ได้รักแผล ฉะนั้น.
มิลิน. ๑๑๕
๑๐.๑๖ พวกสัตว์ทั้งหลายอาศัยแผ่นดิน แต่ไม่มีอำ�นาจในแผ่นดิน ฉันใด จิตของพระอรหันต์
อาศัยกาย แต่ไม่มีอำ�นาจทางกาย ฉันนั้น.
มิลิน. ๓๒๒
๑๐.๑๗ ฟองน้ำ�นั้น ใครๆ ไม่สามารถจะจับเอาด้วยความประสงค์ว่า เราจักเอาฟองน้ำ�นี้ทำ�
ภาชนะหรือถาด แม้จับแล้วก็ไม่ให้สำ�เร็จประโยชน์นั้นได้ ย่อมสลายตัวทันที ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น
ใครๆ ไม่สามารถยึดถือได้ว่า เราหรือของเรา แม้ยึดถือแล้วก็คงอยู่อย่างนั้นไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นเดียว
กับฟองน้ำ�อย่างนี้ทีเดียว คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่สวยงามเอาเลย.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๓๒๑

๑๑. สติ
๑๑.๑ ประโยชน์ของการมีสติ
๑๑.๑.๑. เกลือสะตุย่อมอยู่แม้ในกับข้าวทั้งปวง ฉันใด และอำ�มาตย์ผู้ประกอบการงานทั้ง
ปวงย่อมทำ�หน้าที่รบ ทำ�หน้าที่ปรึกษาบ้าง ทำ�หน้าที่สนับสนุนบ้าง รวมความว่า ย่อมทำ�กิจทุก
อย่างให้สำ�เร็จได้ ฉันใด การข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน การยกจิตที่หดหู่ ก็ฉันนั้น กิจแม้ทั้งหมดจะสำ�เร็จได้
ด้วยสติ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๐๙
๑๑.๑.๒. สติมีการตักเตือนเป็นลักษณะ เหมือนขุนคลังของพระราชา คือ เมื่อเกิดขึ้นก็
ตักเตือนให้รู้จักสิ่งที่เป็นกุศล และอกุศล.
มิลิน. ๕๒
188

๑๑.๑.๓. สติมีการเข้าไปถือเอาเป็นลักษณะ เหมือนนายประตูของพระราชา ย่อมรู้จัก


กลั่นกรองบุคคลผู้มีประโยชน์เข้าพบพระราชา กำ�จัดพวกไม่มีประโยชน์.
มิลิน. ๕๓
๑๑.๑.๔. ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงดูแลรักษาบ้านเมืองให้ดีทั้งภายใน และ
ภายนอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรตั้งนายทวาร คือ สติ ควบคุมกิเลสทั้งภายใน และ
ภายนอกไม่ให้เกิดขึ้น ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีนายทวาร คือ สติ ย่อมละ
อกุศล สร้างกุศล ละสิ่งที่มีโทษ สร้างแต่สิ่งที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์เท่านั้น.
มิลิน. ๔๔๓
๑๑.๑.๕. หลงลืมสติ คือ ระลึกไม่ได้ว่าสิ่งที่ตนทำ�แล้ว ในที่นี้ย่อมเหมือนการวางก้อนข้าวไว้
แล้วก็ลืม ฉะนั้น.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๒๑๙
๑๑.๑.๖ ขณะที่กสิภารทวาชพราหมณ์กำ�ลังเลี้ยงอาหารบริวารอยู่ในทุ่งนา พระบรมศาสดา
เสด็จเข้าไปประทับยืนบิณฑบาต
พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ไถ และหว่านแล้วจึงบริโภค แม้พระพุทธองค์ก็จงไถ
และหว่านแล้วบริโภค
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า พระองค์ก็ไถ และหว่านแล้วบริโภคเหมือนกัน
พราหมณ์กราบทูลว่า ไม่เห็นการไถของพระบรมศาสดา
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและ
ไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล และประตัก
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พราหมณ์ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปจนตลอดชีวิต.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๔๓
๑๑.๑.๗ พระบรมศาสดาตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า สติ และสัมปชัญญะย่อมเป็นเหตุให้
เกิดหิริ และโอตตัปปะ...
หิริ และโอตตัปปะย่อมเป็นเหตุให้เกิดอินทรียสังวร...
อินทรียสังวรย่อมเป็นเหตุให้ศีลสมบูรณ์...
ศีลย่อมเป็นเหตุให้เกิดสัมมาสมาธิ...
สัมมาสมาธิย่อมเป็นเหตุให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ...
ยถาภูตญาณย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิมุตติญาณทัสสนะ...
189

เปรี ย บเหมื อ นต้ น ไม้ ที่ มี กิ่ ง และใบสมบู ร ณ์ แม้ ก ะเทาะของต้ น ไม้ นั้ น ก็ ย่ อ มบริ บู ร ณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันนั้น.
อัง.อัฏฐก. (พุทธ) มก. ๓๗/๖๖๙

๑๑.๑.๘ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า สติมีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า สติมีการเตือนเป็นลักษณะ คือ เมื่อเกิดขึ้นก็เตือนให้รู้จักสิ่งที่เป็น
กุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ เหมือนขุนคลังของพระราชา คอยทูลรายงานพระราชาในยามเช้า เย็น
สติมีการเข้าไปในลักษณะ คือ เมื่อเกิดขึ้น ก็ถือเอาแต่ธรรมที่มีประโยชน์ มีอุปการะเหมือน
นายประตูของพระราชาที่กำ�จัดพวกไม่มีประโยชน์ ให้เข้าไปแต่พวกมีประโยชน์.
มิลิน. ๕๓

๑๑.๒ การเจริญสติ
๑๑.๒.๑ นรชนในพระศาสนานี้ พึงผูกจิตของตนให้มั่นในอารมณ์ ให้มั่นด้วยสติ เหมือนคน
เลี้ยงโค เมื่อจะฝึกลูกโค พึงผูกมันไว้ที่หลัก ฉะนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๙๓
๑๑.๒.๒ บานประตู คือ สติที่รู้กันว่าการสำ�รวมทางจักขุนทรีย์ในจักษุทวาร เหมือนคนปิด
บานประตูที่ประตูเรือน ฉะนั้น.
ม.มุ. (อรรถ) มก. ๑๗/๑๘๐
๑๑.๒.๓ มีสติ และสัมปชัญญะในการกระทำ�ทุกอย่าง แล้วไม่มีความติดข้องในธรรมทั้งปวง
เหมือนหยาดน้ำ�ไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (พุทธ) มก. ๔๔/๔๐๕
๑๑.๒.๔ มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไปในบ้าน เหมือนบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้า ตั้งสติเที่ยวไปในถิ่นที่มี
หนาม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๑๘๘
๑๑.๒.๕ บุคคลพึงประคองภาชนะอันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ�มัน ฉันใด บัณฑิตผู้ปรารถนาจะไป
สู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงตามรักษาจิตของตนไว้ด้วยสติ ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๖/๓๕๓
๑๑.๒.๖ ธรรมดาช้างย่อมมีสติอยู่ทุกเวลายกเท้าขึ้น วางเท้าลง เวลาย่างก้าว ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีสติสัมปชัญญะทุกเวลายกเท้าขึ้น วางเท้าลง เดินไปเดินมา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
190

๑๑.๒.๗ เธอจงตักเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาดูตนด้วยตน เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้


แล้วจักอยู่สบาย ตนแหละเป็นนาถะของตน ตนแหละเป็นคติของตน เพราะฉะนั้นเธอจงสงวนตน
เหมือนอย่างพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวเจริญ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๓๓๙
๑๑.๒.๘ ธรรมดาเสากระโดงเรือย่อมยึดไว้ด้วยเชือก รอก และใบเรือ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ก็ควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะทุกเวลาย่างก้าว แลเหลียว คู้เหยียด ครองสังฆาฏิ บาตร
จีวร ฉัน ดื่ม เคี้ยวกิน ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ นั่ง นอน ยืน เดิน ตื่น พูด นิ่ง ฉันนั้น
ข้ อ นี้ ส มพระดำ � รั ส ของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ภิ ก ษุ ค วรเป็ น ผู้ มี
สติ สัมปชัญญะนี้ เป็นอนุสาสนีย์สำ�หรับเธอทั้งหลาย.
มิลิน. ๔๓๒
191
๒๒
ม ง ค ล ที่

มีความเคารพ
ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
เหมือนปลาในน้ำ�มาก ฉะนั้น
193

๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า
๑.๑ พระองค์ไม่มีกิจคือสรรเสริญด้วยคุณอย่างอื่น เปรียบเหมือนดอกจัมปา ดอกอุบล
ดอกปทุม หรือจันทน์แดง ย่อมสดใส และมีกลิ่นหอมโดยสิริแห่งสี และกลิ่นของมัน มันไม่มีกิจที่จะ
ชมเชยโดยสี และกลิ่นที่จรมา เปรียบเหมือนแก้วมณีหรือดวงจันทร์ ย่อมโอภาสโดยแสงสว่างของ
ตนเท่านั้น มันหามีกิจด้วยแสงสว่างด้วยอย่างอื่นไม่ ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้น เป็นผู้อันบัณฑิต
สรรเสริญ ชมเชยโดยคุณของตน.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๔๘๖
๑.๒ มหาคงคาเต็มด้วยห้วงน้ำ� บุคคลพึงเทใส่ในรูเข็ม น้ำ�ที่เข้าไปในรูเข็มมีน้อย น้ำ�ที่เหลือมี
มาก ฉันใด พระพุทธคุณที่อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมาก ฉันนั้น.
ม.มู. (เถระ) มก. ๑๙/๑๔๖
๑.๓ พระเถระ : มหาบพิตร ธรรมดาว่านกเล่นลมเที่ยวบินเล่นในอากาศในโลกนี้ สกุณชาติ
ตัวเล็กๆ สถานที่ปรบปีกของนกนั้น ในอากาศมีมาก หรืออากาศที่เหลือมีมาก
พระราชา : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอะไร โอกาสเป็นที่ปรบปีกของนกนั้นน้อย ที่เหลือ
มีมาก
พระเถระ : มหาบพิตรอย่างนั้นแหละ พระพุทธคุณที่อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมาก
ไม่มีที่สุด ประมาณไม่ได้.
ม.มู. (เถระ) มก. ๑๙/๑๔๖
194

๑.๔ พระคุณของพระโคดมผู้เจริญนั้น ที่ยังมิได้กล่าวมีมากกว่าคุณที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว


เปรียบเหมือนมหาปฐพี และมหาสมุทรหาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้ กว้างขวางประดุจอากาศ
ฉะนั้นแล.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๒๑/๒๘๐
๑.๕ บุรุษคนหนึ่งพึงเอาบ่วงเข็มตักเอาน้ำ�จากแม่น้ำ�ใหญ่ชื่อจันทรภาคา ซึ่งกำ�ลังไหลท่วม
สถานที่ถึง ๑๘ โยชน์ คือ ข้างนี้ ๙ โยชน์ ข้างโน้นอีก ๙ โยชน์ น้ำ�ที่บุรุษมิได้ตักไปมีมากกว่าน้ำ�ที่
บุรุษเอาห่วงเข็มตักไป ก็หรือบุรุษพึงเอานิ้วมือจับเอาฝุ่นจากแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นที่เหลือนั้นแลมีมาก
กว่าฝุ่นที่บุรุษนั้นเอานิ้วมือจับได้มา ก็หรือบุรุษพึงชี้นิ้วไปยังมหาสมุทร น้ำ�ที่เหลือนั้นแลมีมากกว่า
น้ำ�ตรงที่บุรุษชี้นิ้วไป และบุรุษพึงชี้นิ้วไปยังอากาศ ส่วนอากาศที่เหลือมีมากกว่าอากาศตรงที่บุรุษ
ชี้นิ้วไป
พระพุ ท ธคุ ณทั้ ง หลายที่ พ ระเถระไม่ เห็ นนั้ น แล พึ ง ทราบว่ า มี ม ากกว่ า พระพุ ท ธคุ ณที่
พระเถระได้เห็นแล้ว ฉันนั้น.
ที.ปา. (อรรถ) มก. ๑๕/๒๑๔
๑.๖ เหล่านาคสุบรรณ และเหล่ากินนรพร้อมทั้งเทพ คนธรรพ์มนุษย์ และรากษส พากันชม
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเกื้อกูล และอนุเคราะห์โลกพระองค์นั้น เหมือนชมดวงจันทร์ซึ่งโคจร ณ
ท้องนภากาศ ฉะนั้น.
ขุ.พุทธ. (อรรถ) มก. ๗๓/๑๑๒

๒. ความเคารพในพระธรรม
๒.๑ เสาเขือ่ นหรือเสาเหล็กมีรากอันลึก ปักไว้ดแี ล้ว ไม่หวัน่ ไหว ไม่สน่ั สะเทือน ฉันใด ธรรม
ทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ทรงบัญญัตแิ ล้วแก่สาวกทัง้ หลาย เป็นธรรมอันสาวกไม่กา้ วล่วงตลอดชีวติ ฉันนัน้ เหมือนกันแล.
ที.ปา. (เถระ) มก. ๑๕/๒๗๙
๒.๒ ธรรมดาไม้ไผ่ย่อมเอนเอียงไปตามลมโดยไม่ขัดขืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
กระทำ�ตามคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทำ�แต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัย
สมกับคำ�ของพระราหุลว่า ควรกระทำ�ตามซึ่งคำ�ของพระพุทธเจ้า อันประกอบด้วยองค์ ๙
ทุกเมื่อ ควรทำ�แต่สิ่งที่สมควร สิ่งที่ไม่มีโทษควรพยายามให้ยิ่งๆ ขึ้นไป.
มิลิน. ๔๒๗
195

๒.๓ ธรรมดาต้นหนย่อมรู้สิ่งที่ดี และไม่ดี ในมหาสมุทรได้ทั้งหมด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ


ความเพียรก็ควรรู้จักสิ่งที่เป็นกุศล และอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ควรเกี่ยวข้อง ไม่ควรเกี่ยวข้อง เลว
ดี อะไรคือดำ� อะไรคือขาว ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๒

๓. ความเคารพในพระสงฆ์
๓.๑ ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากสัทธรรม
เหมือนฟ้ากับดิน ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑
๓.๒ ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เหมือน
ปลาในน้ำ�น้อย ฉะนั้น
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือน
พืชที่เน่าในไร่นา ฉะนั้น
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นผู้ไกลจากพระนิพพานในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา
ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม เหมือนปลา
ในน้ำ�มาก ฉะนั้น
ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมงอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชที่ดี
ในไร่นา ฉะนั้น
ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้พระนิพพานในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๖๔
๓.๓ ธรรมดาแล่งธนูคือรางหน้าไม้ที่ช่างทำ�ไว้ดีแล้ว ย่อมตรงตลอดตั้งแต่ต้นจรดปลาย
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรประพฤติตนตรงต่อเพื่อนพรหมจรรย์ ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวิธุรปุณณกชาดกว่า ธีรชนควรเป็นเหมือนแล่ง
ธนู ควรอ่อนตามลมเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทำ�ตนเป็นข้าศึก จึงจักอยู่ในพระราชสำ�นักได้.
มิลิน. ๔๒๗
๓.๔ บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด พึง
นอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๔๔๕
196

๓.๕ พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น


จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการ ไม่เอื้อเฟื้อนาย
สารถี ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒๐๕
๓.๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสงฆ์ (คราวนางปชาบดีโคตมีถวายผ้าคู่ใหม่)
ให้ปรากฏ ดังบิดายกย่องคุณความดีของบุตรในที่เฝ้าพระราชา ซึ่งประทับท่ามกลางหมู่อำ�มาตย์
นายประตู หมู่โยธา และราชบริวาร.
มิลิน. ๑๔๕

๔. ความเคารพในการปฏิสันถาร
๔.๑ ธรรมดาต้นไม้ย่อมให้ร่มเงาแก่ผู้เข้าไปพักอาศัย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
ต้อนรับผู้ที่เข้ามาหาตนด้วยอามิส หรือธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๗

๕. การจับผิด
๕.๑ โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย ฝ่ายโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อม
โปรยโทษของบุคคลอื่นเหมือนบุคคลโปรยแกลบ แต่ว่าย่อมปกปิดโทษของตน เหมือนพรานนก
ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิด ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๔
197
๒๓
ม ง ค ล ที่

มีความถ่อมตน
บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ถ่อมตน
กำ�จัดมานะได้ กำ�จัดความกระด้างได้ เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า
เสมอด้วยโคอุสุภะเขาขาด และเสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว
ย่อมเป็นผู้ละเอียดอ่อนละมุนละไม ผ่องแผ้วด้วยความสุข
199

๑. การพิจารณาตน
๑.๑ ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรี
หรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัวส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด
หรือในภาชนะน้ำ�อันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำ�ที่หน้านั้น ก็พยายามเพื่อขจัดธุลีหรือจุดดำ �นั้นเสีย
หากว่าเขาไม่เห็นธุลีหรือจุดดำ�ที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความดำ�ริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า
เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือ
ว่าเราไม่เป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้อันถีน
มิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้มีความสงสัย
อยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้โกรธอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมาก
หรือหนอ... เราเป็นผู้มีกายอันปรารภแรงกล้าอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดย
มากหรือหนอ... เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ... ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะมากในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๑๖๘
200

๑.๒ ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิย่อมเสด็จประพาสโลก เพื่อทรงพิจารณาดูคนดีคนเลวทุกวัน


ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรพิจารณากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกวัน แล้วทำ�ให้
บริสุทธิ์โดยคิดว่า วันคืนล่วงไป กาย วาจา ใจของเราบริสุทธิ์ดีงามเพียงไร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๓

๒. ความถ่อมตน
๒.๑ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีชาติต่ำ�ต้อย ไม่สมควรมีอาสนะเสมอด้วยพระองค์ผู้สูงศักดิ์
เหมือนสุนขั จิง้ จอกผูม้ ชี าติต�ำ่ ต้อย จะพึงมีอาสนะเสมอด้วยพระยาไกรสรราชสีหอ์ ย่างไรได้พระเจ้าข้า.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๔/๔๑๕
๒.๒ กุลบุตรบางพวกเป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงมียศ โดยประการใดๆ โน้มลงด้วยดีดุจข้าวสาลี
ที่เต็มด้วยผลพวง โดยประการนั้นๆ เมื่อพระราชา และมหาอำ�มาตย์ของพระราชา เป็นต้น เข้าไป
หาอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เข้าไปตั้งความสำ�คัญในความเป็น
สมณะไว้ เป็นผู้สงบเสงี่ยม ไม่เบ่ง มีจิตต่ำ� ดุจโคอุสภะมีเขาขาด และดุจเด็กจัณฑาล ปฏิบัติแล้ว
เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ภิกษุสงฆ์ และแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๔๐๑
๒.๓ จิตเสมอด้วยผ้าเช็ดเท้า คือ เมื่อเท้าเปื้อนหรือไม่เปื้อนอันบุคคลเช็ดอยู่ ความยินดี
ความยินร้ายย่อมไม่มีแก่ผ้าเช็ดเท้า ฉันใด พึงเป็นผู้มีจิตไม่ยินดีไม่ยินร้ายในอิฏฐารมณ์ และอนิ
ฏฐารมณ์ ฉันนั้น.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๖๙๒
๒.๔ พระสารีบุตรเปรียบตนเองกับพระโมคคัลลานะว่า ท่านเป็นเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่นำ�
ไปวางเทียบกับเขาหิมพานต์ เพราะพระโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เมื่อต้องการอยู่
ตลอดกัปก็สามารถอยู่ได้
พระโมคคัลลานะฟังแล้ว จึงเปรียบตนเองกับพระสารีบุตรว่า ท่านนั้นเปรียบเหมือนก้อนเก
ลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบไปวางเทียบกับหม้อเกลือใหญ่ เพราะพระสารีบุตรเป็นผู้ที่พระบรมศาสดา
ทรงสรรเสริญว่า เปี่ยมด้วยปัญญา มีศีล และอุปสมะ.
สัง.นิ. (เถระ) มก. ๒๖/๗๕๗
๒.๕ บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ถ่อมตน กำ�จัดมานะได้ กำ�จัดความกระด้างได้ เป็น
เสมื อ นผ้ า เช็ ด เท้ า เสมอด้ ว ยโคอุ สุ ภ ะเขาขาด และเสมอด้ ว ยงู ที่ ถู ก ถอนเขี้ ย วแล้ ว ย่ อ มเป็ น
ผู้ละเอียดอ่อนละมุนละไม ผ่องแผ้วด้วยความสุข.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙๘
201

๓. การไม่โอ้อวด
๓.๑ พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ประสงค์จะบอกคุณวิเศษแก่กันและกัน เหมือนบุรุษผู้ได้
ขุมทรัพย์แล้ว ไม่บอกขุมทรัพย์อันตนรู้เฉพาะแล้ว ฉะนั้น.
สัง.ส. (อรรถ) มก. ๒๔/๒๑๑
๓.๒ ธรรมดาหม้อน้ำ�เมื่อมีน้ำ�เต็มย่อมไม่เกิดเสียงดัง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อได้
รับรู้ความดีเต็มเปี่ยมแล้ว ก็ไม่มีเสียง ไม่มีมานะ ไม่ดูถูกผู้อื่น ไม่ปากกล้า ไม่โอ้อวด ฉันนั้น
ข้อนี้สมดังพระพุทธพจน์ว่า หม้อที่มีน้ำ�พร่องย่อมมีเสียงดัง หม้อที่มีน้ำ�เต็มย่อมเงียบ คนโง่
เปรียบเหมือนน้ำ�ครึ่งหม้อ บัณฑิตเปรียบเหมือนน้ำ�เต็มหม้อ.
มิลิน. ๔๖๑

๔. การไม่ดูหมิ่น
๔.๑ โคอาชาไนยที่ดีอันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อมอาจนำ�แอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อ
ต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา
เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ� บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๗๖
๒๔
ม ง ค ล ที่

มีความสันโดษ
ภิกษุไ่ม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือบิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ� ผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำ�ไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น
203

๑. ความสำ�คัญของความสันโดษ
๑.๑ ท้าวสักกะย่อมเพียบพร้อมด้วยความสุขอย่างเดียว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรยินดีแต่ความสุขที่เกิดจากการทำ�ความสงบภายในอย่างยิ่งประการเดียว ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๒
๑.๒ โคอาชาไนยตัวสามารถเทียมไถแล้ว ย่อมลากไถไปโดยไม่ลำ�บาก ฉันใด เมื่อเราได้
ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลายย่อมผ่านพ้นเราไปโดยยาก ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๑๓๙
๑.๓ สิ่งอันใดได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นมีอุปมาเหมือนอย่างยาน หรือทรัพย์ที่ยืมเขามา.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๒๑/๘๘
๑.๔ ธรรมดานกจากพรากย่อมกินหอย และสาหร่ายจอกแหนเป็นอาหารเพื่อยังกำ�ลัง และ
สีกายด้วยความยินดี ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรยินดีตามมีตามได้ ฉันนั้น เพราะผู้ยินดี
ตามมีตามได้ ย่อมไม่เสื่อมจากศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และกุศลธรรมทั้งปวง.
มิลิน. ๔๕๐
204

๑.๕ ธรรมดานกกระจอกย่อมอาศัยอยู่ตามเรือนคน แต่ไม่เพ่งอยากได้ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดของ


คน มีใจเป็นกลางเฉยอยู่ และมากด้วยความจำ� ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เมื่อเข้าไปถึงบ้าน
ใครแล้ว ก็ไม่ควรยึดติดในเตียง ตั่ง ที่นั่ง ที่นอน เครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ ของกิน
ภาชนะใช้สอยต่างๆ ของสตรี หรือบุรุษในบ้านนั้น ควรมีใจเป็นกลาง ใส่ใจแต่สมณสัญญา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๑
๑.๖ ธรรมดาค้างคาวเมื่ออาศัยอยู่ในเรือนคน จะไม่ทำ�ความเสียหายแก่คน ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียร เข้าไปถึงหมู่คนแล้ว ก็ไม่ควรทำ�ความเดือดร้อนทุกข์ใจให้ใครด้วยการขอของ
สิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือด้วยการทำ�ไม่ดีทางกาย หรือพูดมากเกินไป หรือด้วยการทำ�ให้ตนเป็นผู้มีสุขทุกข์
กับคนในตระกูลนั้น ไม่ทำ�ให้เขาเสียบุญ ควรทำ�แต่ความเจริญให้เขา.
มิลิน. ๔๕๓

๒. ความสันโดษในปัจจัย ๔
๒.๑ ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ� ผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาด
น้ำ�ไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๓๕๙
๒.๒ ความสันโดษในปัจจัย ๔ และภาวนาเป็นที่มาของความยินดี มีใจหลีกออกห่างจาก
ความกำ�หนัดในปัจจัย เปรียบเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๒๒
๒.๓ เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระ
บินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น
เครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๑๓
๒.๔ ในกาลนั้นผ้าบังสุกุลจีวรปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่
หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี
หรือบุตรแห่งคฤหบดีอันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๕๘
๒.๕ โภชนะ คือ คำ�ข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่
นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุกหุงจากข้าวสาลี คัดเอาดำ�ออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่างของ
คฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๕๙
205

๒.๖ ผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปที่


ใดๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีกจะบินไปที่ใดๆ ย่อมมีแต่ปีกของตัวเท่านั้นเป็น
ภาระบินไป.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๑๘
๒.๗ ธรรมดาราชสีห์เวลาหาอาหารไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ร้อน และเมื่อได้อาหารแล้วก็ไม่ติดอยู่กับ
อาหารนั้น ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเวลาหาอาหารไม่ได้ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ควรติด
ในรสอาหาร ควรฉันด้วยการพิจารณาเพื่อความหลุดพ้น ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๐
๒.๘ ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้อาหารแล้วย่อมไม่รังเกียจ ย่อมกินจนพอต้องการ ฉันใด
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อได้ภัตตาหารแล้วก็ไม่ควรรังเกียจ ไม่ว่าชนิดไหน ควรฉันเพียงเพื่อ
ประทังสังขาร ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระมหากัสสปเถรเจ้าว่า เวลาเราออกจากที่พักไปบิณฑบาต แม้บุรุษโรค
เรื้อนที่กำ�ลังกินข้าว หยิบอาหารด้วยมือที่เป็นโรคเรื้อนมาใส่บาตรให้เรา เราก็นำ�ไปฉันโดยไม่
รังเกียจ.
มิลิน. ๔๔๕
๒.๙ ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้อาหารแล้ว ย่อมไม่เลือกว่าดีเลวอย่างไร ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรเมื่อได้อาหารแล้วก็ไม่เลือกว่าดีเลว แต่ยินดีตามได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๖
๒.๑๐ ธรรมดาราชสีห์ย่อมเที่ยวหาอาหารเรื่อยไป ได้อาหารที่ใดก็กินให้อิ่ม ณ ที่นั้น ไม่
เลือกกินแต่เนื้อดีๆ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำ�ดับตระกูลที่พบ
ไม่ควรเลือกตระกูล และอาหาร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๙
๒.๑๑ เสนาสนะ คือ โคนไม้จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนเรือนยอดของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม เธอจักตรึกมหา
ปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำ�บากซึ่งฌาน ๔ นี้
อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ในกาลนั้น ที่นอน ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่
นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว
ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐาน เป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำ�ด้วยหนังชะมด
มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๕๙
206

๒.๑๒ กาลใดแล เธอจั ก ตรึ ก มหาปุ ริ ส วิ ต ก ๘ ประการนี้ และจั ก เป็ น ผู้ ได้ ต ามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำ�บาก ซึ่งฌาน ๔ นี้ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำ�มูตรเน่า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพานเปรียบ
เหมือนเภสัชต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำ�มัน น้ำ�ผึ้ง น้ำ�อ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๔๖๐
๒.๑๓ ท่านเองมีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน น้ำ� ไฟ ลม ผ้าเช็ดธุลี มีความรู้สึกเจียมตัวเหมือนเด็ก
จัณฑาล มีความคิดไม่ทำ�ลายใครๆ เหมือนโคผู้เขาหัก มีความรู้สึกอึดอัด ระอา รังเกียจกายอัน
เปื่อยเน่า เหมือนหนุ่มสาวแต่งตัวเสร็จเรียบร้อย รังเกียจซากสัตว์ต่างๆ ต้องบริหารร่างกายที่มี
ทวาร ๙ ช่อง ซึ่งมีการขับถ่ายของเสียออกมา เหมือนคนประคองถาดมันข้นที่มีช่องไหลเข้าออกได้.
อัง.นวก. (เถระ) มก. ๓๗/๗๓๘

๓. ความไม่สันโดษ
๓.๑ ผูม้ คี วามปรารถนาเกิน เหมือนขนมสุกทีใ่ ส่ในภาชนะตน ย่อมเห็นว่าสุกไม่ดี และเหมือน
มีน้อย ถ้าใส่ในภาชนะผู้อื่น เหมือนขนมสุกดีและมีมาก.
อัง.เอกก. (อรรถ) มก. ๓๒/๑๓๒
๓.๒ ผู้ไม่อิ่มในลาภของตน มุ่งลาภของผู้อื่น ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาไม่มีขอบเขต
ย่อมมองเห็นขนมที่สุกแล้ว ในภาชนะเดียวกันที่ตกลงในบาตรของตนว่า เป็นเหมือนยังไม่สุกและ
เป็นของเล็กน้อย ของอย่างเดียวกันที่เขาใส่ลงในบาตรของผู้อื่น ย่อมมองเห็นว่า เป็นเหมือนของ
สุกดี และเป็นของมาก.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๓๖๒
207
๒๕
ม ง ค ล ที่

มีความกตัญญู
กรรมที่บุคคลทำ�ในคนกตัญญู มีศีล มีความประพฤติประเสริฐ
ย่อมไม่ฉิบหายไป เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น
209

๑. ความกตัญญู
๑.๑ บุคคลนั่ง หรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักก้านกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะบุคคล
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๙๔๐
๑.๒ กรรมที่บุคคลทำ�ในคนกตัญญูมีศีล มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป
เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๘๖๒

๒. ความอกตัญญู
๒.๑ กรรมที่บุคคลทำ�ในอสัตบุรุษ ย่อมฉิบหายไม่งอกงาม เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในไฟ
ย่อมถูกไฟไหม้ไม่งอกงาม ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๘๖๒
๒๖
ม ง ค ล ที่

ฟังธรรมตามกาล
บุคคลมีปัญญามาก (เหมือนหม้อหงาย)
คือ ขณะฟังธรรม หรือเลิกฟังก็ยังใส่ใจอยู่
เหมือนเทน้ำ�ลงไปในหม้อ น้ำ�ย่อมขังอยู่
211

๑. ประเภทผู้ฟังธรรม
๑.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนไข้และผู้เปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำ�พวก
๑. คนไข้ที่ไม่ว่าจะได้อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสมหรือไม่ก็ตาม ก็คงไม่หายจาก
อาพาธ
๒. คนไข้ที่ไม่ว่าจะได้อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสมหรือไม่ก็ตาม ก็คงหายจาก
อาพาธ
๓. คนไข้ที่ถ้าได้อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสม จึงหายจากอาพาธได้ แต่ถ้าไม่ได้
อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสม ก็ไม่หายจากอาพาธ ดังนั้น เพราะรักษาคนไข้ประเภทนี้
จึงจำ�ต้องรักษาคนไข้ประเภทอื่นด้วย
คนไข้ ๓ จำ�พวกนี้ก็เปรียบได้กับบุคคลที่มีอยู่ในโลกนี้ ๓ จำ�พวก คือ
๑. บุคคลที่ไม่ว่าจะได้พบตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง
๒. บุคคลที่ไม่ว่าจะได้พบตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยหรือไม่ก็ตาม ก็ได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง
๓. บุคคลที่ได้พบตถาคตได้ฟังธรรมวินัย จึงจะได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง แต่ถ้าไม่ได้พบ
ตถาคต ไม่ได้ฟังธรรมวินัย ก็ไม่ได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง ดังนั้น เพราะบุคคลประเภทนี้ จึงจำ�ต้อง
แสดงธรรมแก่บุคคลประเภทอื่นด้วย.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๗๐
212

๑.๒ ผู้มีปัญญา ๓ จำ�พวก


๑. บุคคลมีปัญญาดังหม้อคว่ำ� คือ ขณะฟังธรรมหรือเมื่อเลิกฟังก็ไม่ใส่ใจ เหมือนราดน้ำ�ลง
ไปบนหม้อคว่ำ� น้ำ�ย่อมไหลไปไม่ขังอยู่
๒. บุคคลมีปัญญาดังหน้าตัก คือ ขณะฟังธรรมก็ใส่ใจ แต่เมื่อเลิกฟังก็ไม่ใส่ใจ เหมือน
วางของไว้บนตัก พอลุกขึ้นของนั้นก็ตกไป
๓. บุคคลมีปัญญามาก (เหมือนหม้อหงาย) คือ ขณะฟังธรรมหรือเลิกฟังก็ยังใส่ใจอยู่
เหมือนเทน้ำ�ลงไปในหม้อ น้ำ�ย่อมขังอยู่.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๙๘
๑.๓ คฤหบดีชาวนาต้องการจะหว่านพืช พึงหว่านพืชในนาดีก่อน ครั้นหว่านในนานั้นแล้ว
พึงหว่านในนาปานกลาง ครั้นหว่านในนาปานกลางนั้นแล้ว ในนาเลว มีดินแข็ง เค็ม พื้นดินเลว
พึงหว่านบ้างไม่หว่านบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่สุดจักเป็นอาหารโค
ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนนาดี ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่
ภิกษุ และภิกษุณีของเราก่อน ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ และภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็น
ที่พึ่ง มีเราเป็นสรณะอยู่
ดูก่อนนายคามณี นาเลว มีดินแข็ง เค็ม พื้นดินเลว ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมแก่อัญญ
เดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกในที่สุด ฉันนั้น.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๙/๑๙๔
๑.๔ ธรรมดามหาสมุทรย่อมไม่รู้จักเต็มด้วยน้ำ� อันไหลมาจากแม่น้ำ�ทั้งปวง อันได้แก่
แม่น้ำ� คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู นที เป็นต้น รวมทั้งน้ำ�ฝนด้วย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ไม่ควรอิ่มด้วยการเรียน การฟัง การจำ� การศึกษาพระธรรมวินัย พระสูตรในพระพุทธศาสนา
ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในมหาสุตตโสมชาดกว่า ไฟที่ไหม้หญ้า และไม้ ย่อมไม่รู้อิ่มด้วย
เชื้อไฟ มหาสมุทรย่อมไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ� ฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ก็ไม่รู้จักอิ่มด้วยคำ�อันเป็นสุภาษิต
ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๔
๑.๕ เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่อ
อานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อ
213

เขากล่าวพระสูตรทีต่ ถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม


อยู่ จักไม่ปรารถนา จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำ�คัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียนควร
ศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอัน
วิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ย
โสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำ�คัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๔๑๙
๑.๖ ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่แล้วท่านก็แสดงธรรมแก่สาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้ง
หลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
ทั่วถึง และย่อมหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำ�สอนของศาสดา เหมือนบุรุษรุกเข้าไปหาสตรีที่กำ�ลังถอย
หลังหนี หรือเหมือนบุรุษที่กอดสตรีที่หันหลังให้.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๐
๑.๗ ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่ท่านแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน
ทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมตั้งใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อ
รู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำ�สอนของศาสดา เหมือนบุคคลทิ้งนาของตนแล้ว สำ�คัญ
นาของผู้อื่นว่า เป็นที่ที่ตนควรทำ�ให้ดี.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๑
๑.๘ ท่านได้บรรลุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย
นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกเหล่านั้น ย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิต เพื่อ
ความรู้ทั่ว และหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำ�สอนของศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำ�เก่าได้แล้ว
สร้างเครื่องจองจำ�อย่างอื่นขึ้นใหม่.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๐
๑.๙ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ทรงเอ็นดูมุ่งประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ คือ ทรงแสดงธรรม
โดยเคารพต่อสรรพสัตว์เสมอกัน แต่ที่ทรงแสดงธรรมแก่คนบางพวกก่อน ก็เพราะทรงเอ็นดูมุ่ง
ประโยชน์ต่อคนเหล่านั้น ผู้พร้อมจะฟังธรรมเทศนาก่อน ทรงเปรียบให้ฟังว่า พระพุทธองค์เหมือน
ชาวนาที่ฉลาดเลือกหว่านพืชในนาชั้นดีก่อน แล้วหว่านในนาชั้นปานกลาง ส่วนนาชั้นเลวซึ่งมี
ดินแข็ง ดินเค็ม พื้นดินไม่ดีนั้น ชาวนาจะหว่านพืชบ้าง ไม่หว่านพืชบ้างก็ได้.
สัง.สหา. (พุทธ) มก. ๒๙/๑๙๓
214

๒. ความสำ�คัญของการฟังธรรม
๒.๑ ข้าพระองค์ปรารถนาความเจริญของตนทางการศึกษา พวกสัตบุรุษผู้สงบจึงคบ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่อิ่มด้วยสุภาษิต ดุจมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๘๑
๒.๒ ไฟที่ไหม้หญ้า และไม้ย่อมไม่อิ่ม และสาครไม่อิ่มด้วยแม่น้ำ�ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้ประเสริฐสุด แม้บัณฑิตทั้งหลายได้สดับถ้อยคำ�ของข้าพระองค์ ย่อมไม่อิ่มด้วยสุภาษิต
เหมือนกัน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๘๑

๓. ประโยชน์ของการฟังธรรม
๓.๑ ชนเหล่าอื่นผู้มีปัญญา ย่อมดื่มคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำ�กลับ
หลัง เป็นธรรมทำ�ผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มีโอชะ เหมือนคนเดินทางไกลดื่มน้ำ�ฝน ฉะนั้น.
ขุ.เถรี. (เถระ) มก. ๕๔/๙๗
๓.๒ พระเถระยืนถือก้านตาลถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ ได้สำ�เร็จสาวกบารมีญาณ โดย
ไม่ต้องชี้แจง เหมือนคนบริโภคโภชนะที่เขาคดไว้เพื่อผู้อื่น บรรเทาความหิว และเหมือนคนเอา
เครื่องประดับที่เขาจัดไว้เพื่อผู้อื่น มาสวมศีรษะตน.
อัง.ทุก. (อรรถ) มก. ๓๓/๓๘๓
๓.๓ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำ�คัญตามด้วยดี ยินดีตาม
ด้วยดี ซึ่งคำ�ที่กล่าวดี พูดดีของกันและกัน ในธรรมที่เราแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผล
อันนี้ คือ จักพร้อมเพรียง บันเทิง ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้�ำ นมระคนกับน้� ำ แลดูกันด้วยสายตา
เป็นที่รักอยู่.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๒๑๗
๓.๔ บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ใจย่อมผ่องใส เหมือนดังห้วงน้ำ�ลึกใสแจ๋วไม่ขุ่นมัว
ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๓๔๗
๓.๕ สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้ว ถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยบุญ
กิริยาวัตถุ ๑๐ หวังพระธรรมเทศนาอย่างเดียว เหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่ง
ลงสู่อริยภูมิ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๔๖
215

๓.๖ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ� ได้ขนมหวานแล้วกินใน


เวลาใด ก็พึงได้รับรสอันอร่อยหวานชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนักคิด
ชาติบัณฑิตพึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจ
และได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น.
ม.มู. (เถระ) มก. ๑๘/๒๐๕
๒๗
ม ง ค ล ที่

มีความอดทน
ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลง
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำ�การขัดเคือง
เพราะการกระทำ�นั้น ฉันใด
แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการนับถือ
และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว
จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
217

๑. ความอดทนต่อทุกขเวทนา
๑.๑ นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นดังเถาหญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าว
และน้ำ� มีใจไม่ย่อท้อ ถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมเป็นผู้มีสติอดกลั้นได้อยู่ในป่านั้น
เหมือนช้างที่อดทนต่อศาสตราวุธในยุทธสงคราม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. เถระ) มก. ๕๒/๔๙๐
๑.๒ แม้หากว่าพวกโจรที่มีใจต่ำ�ช้า เอาเลื่อยมีคมสองข้างตัดอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้ใดพึงยังใจ
ประทุษร้ายโจรนั้น ไม่ชื่อว่า ทำ�ตามคำ�สอนของพระบรมศาสดา.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๖/๒๔

๒. ความอดทนต่อความเจ็บใจ
๒.๑ บุคคลแม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมีน้ำ�ลาย และน้ำ�มูก เป็นต้น ด้วย
ของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทำ�ให้เป็นที่หมดจดหายกลิ่นเหม็นได้ โดยที่แท้ ที่นั้นกลับเป็นที่
ไม่หมดจด และมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด
บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่ ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วย
เวรได้ โดยที่แท้ เขาชื่อว่า ทำ�เวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๗๔
218

๒.๒ เราจักอดกลั้นคำ�ล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อลูกศร ที่ตกจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น.


ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๒๓
๒.๓ ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
ไม่กระทำ�การขัดเคือง เพราะการกระทำ�นั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการ
นับถือ และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๔
๒.๔ บุคคลผู้ถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของตนไปอยู่ถิ่นอื่นแล้ว ควรสร้างฉางใหญ่ไว้ สำ�หรับ
เก็บคำ�หยาบคายทั้งหลาย.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๔๐๐
๒.๕ ควรอดทนด้วยความอดกลั้นคำ�ของคนพูดชั่วเลวทราม ฯลฯ เหมือนคนรถสวมเกราะ
หนังยืนอยู่บนรถ ย่อมอดทนต่อลูกศรทั้งหลายอันมาแล้ว... ลูกศรทั้งหลายย่อมแทงบุคคลนั้นไม่ได้
ฉันใด
ภิ ก ษุ ผู้ ป ระกอบด้ ว ยอธิ ว าสนขั นติ ย่ อ มอดทนถ้ อ ยคำ � อั น มาแล้ ว ได้ ถ้ อ ยคำ � เหล่ า นั้ น
ย่อมแทงภิกษุผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติไม่ได้ ฉันนั้น.
สัง.ม. (อรรถ) มก. ๓๐/๑๙
๒.๖ เราเป็นเช่นกับช้างเข้าสู่สงคราม การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจากสี่ทิศ เป็นภาระของ
ช้างที่เข้าสู่สงคราม ฉันใด การอดทนต่อถ้อยคำ�ของผู้ทุศีล ก็เป็นภาระของพระองค์ ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๒๖

๓. ความอดทนต่ออำ�นาจกิเลส
๓.๑ ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จงระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเลื่อย ถ้าตัณหาในรสเกิดขึ้น
จงระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตร ถ้าจิตของท่านแล่นไปในกาม และภพทั้งหลาย จงรีบ
ข่มเสียด้วยสติ เหมือนบุคคลห้ามสัตว์เลี้ยงโกงที่ชอบกินข้าวกล้า ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๒๑๗

๔. ประโยชน์ของความอดทน
๔.๑ ศิลปะธนู กำ�ลังเข้มแข็ง และความกล้าหาญมีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด พระราชาผู้ทรงการ
ยุทธ์พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้นั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ
ฉันใด
219

ธรรมะ คือ ขันติ และโสรัจจะตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้น ผู้มีปัญญา มี


ความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ แม้มีชาติต่ำ� ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๕๑๖
๔.๒ เหมือนอย่างว่าของไม่สะอาด มีน้ำ�ลาย เป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำ�ที่ใส
ย่อมหายหมดได้ ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด
เวรทั้งหลายย่อมระงับ คือ ย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มี ด้วยความไม่มีเวร คือ ด้วย
น้ำ� คือ ขันติ และเมตตา ด้วยการทำ�ไว้ในใจโดยแยบคาย และด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๗๔
๔.๓ บุคคลโกรธตอบบุคคลที่โกรธ จัดว่าเป็นคนเลวกว่าบุคคลผู้โกรธ เพราะความโกรธตอบ
นั้น บุคคลผู้ไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๒๑๗
๔.๔ หม่อมฉันทั้งหลายเป็นผู้เข็ญใจ ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ ความเข็ญใจฝึกหม่อมฉัน
ทั้งหลายดุจนายสารถีฝึกม้าให้หมดพยศ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๔/๗๙๕
๒๘
ม ง ค ล ที่

เป็นคนว่าง่าย
อันคนไขน้ำ�ทั้งหลายย่อมไขน้ำ�
ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดลูกศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้
ผู้สอนง่ายทั้งหลายย่อมฝึกตน
221

๑. ความว่าง่าย
๑.๑ อันคนไขน้ำ�ทั้งหลายย่อมไขน้ำ� ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดลูกศร ช่างถากทั้งหลาย
ย่อมถากไม้ ผู้สอนง่ายทั้งหลายย่อมฝึกตน.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๑๔๐
๑.๒ ธรรมดาโคย่อมเต็มใจดื่มน้ำ� ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเต็มใจฟังคำ�สอน
ของพระอุปัชฌาย์ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๗
๑.๓ ธรรมดาโคนั้น เมื่อผู้ใดจูงไปก็ย่อมทำ�ตามที่ผู้นั้นสั่ง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ยินดีรับฟังคำ�สั่งสอนของภิกษุด้วยกัน หรือแม้ผู้เป็นอุบาสกชาวบ้าน ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า ถึงผู้บวชนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบ สอนเราก็ตาม
เราก็ยินดีรับคำ�สอน เราได้เห็นผู้นั้น ก็เกิดความรักความศรัทธาอย่างแรงกล้ายินดีน้อมรับว่า
เป็นอาจารย์แล้วแสดงความเคารพอยู่เนืองๆ.
มิลิน. ๔๔๗
222

๑.๔ ธรรมดาแผ่นดินย่อมเป็นที่ตั้งของบ้านเรือน นคร ชนบท ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ� ห้วย


หนอง คลอง บึง เนื้อ นก นรชน หญิง ชาย ได้โดยไม่ย่อท้อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแม้จะ
ต้องเป็นผู้ว่ากล่าวสั่งสอนผู้อื่น หรือถูกผู้อื่นว่ากล่าวสั่งสอนก็ไม่ควรย่อท้อ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๕

๒. ผู้ชี้ขุมทรัพย์
๒.๑ ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เปรียบประดุจบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๘๙
๒.๒ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินที่ยังดิบ
อยู่ เราจักข่มแล้วจึงบอก จักยกย่องแล้วจึงบอก ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสารผู้นั้นจักอยู่ได้.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๒๕
๒.๓ เราไม่ต้องพร่ำ�สอนภิกษุเหล่านั้น มีกิจแต่จะทำ�สติให้เกิดในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้ง
หลาย เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ม้าที่ได้รับการฝึกมาดีแล้วก็เดินไปตามพื้นที่เรียบ
หรือเดินไปตามหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ไม่ต้องใช้แส้ เพียงแต่นายสารถีผู้ฝึกหัดที่ฉลาดขึ้นรถ แล้ว
จับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือขวา แล้วก็เตือนให้ม้าวิ่งตรงไปบ้าง ทั้งเลี้ยวกลับไปตาม
ปรารถนาบ้าง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ต้องพร่ำ�สอนภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๒๕๖

๓. โทษของการว่ายาก
๓.๑ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำ�คัญตาม ไม่รู้ตาม
ไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำ�ที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้วแก่กัน และกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นพึง
หวังได้ คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน เกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกัน
และกันด้วยหอก คือ ปาก.
สัง.สฬา (พุทธ) มก. ๒๙/๓๙
223
๒๙
ม ง ค ล ที่

เห็นสมณะ
ลาย่อมติดตามโคไป แม้ร้องว่า ตัวเราก็เป็นโค แต่สี เสียง รอยเท้า
ไม่เหมือนโค ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เดินตามหมู่ภิกษุ
ประกาศตนว่า แม้เราก็เป็นภิกษุ แต่เธอไม่มีความพอใจ
ในการสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
แต่เดินตามภิกษุไปเท่านั้นเหมือนกัน
225

๑. คุณสมบัติของภิกษุที่ดี
๑.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคุณสมบัติของม้าอาชาไนย ซึ่งเป็นม้าต้นของพระราชา
เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของภิกษุ ๔ ประการ ได้แก่ ความซื่อตรง ความว่องไว ความอดทน
และความสงบเสงี่ยม.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๓๐๒
๑.๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของม้าอาชาไนย เปรียบเทียบกับลักษณะของ
บุรุษอาชาไนย ๔ ประการ ได้แก่
ม้าอาชาไนยพอเห็นรูปเงาปฏักก็หวาดหวั่น สำ�นึกว่า เขาจะให้ท�ำ งานอะไร เปรียบเหมือน
บุรุษอาชาไนย ที่พอได้ยินข่าวว่า มีคนประสบทุกข์หรือตายก็สลดใจ สำ�นึกตัว มุ่งบำ�เพ็ญธรรมให้
สูงยิ่งขึ้น
ม้าอาชาไนยที่ไม่กลัวเงาปฏัก แต่พอถูกปฏักแทงที่ขุมขน ก็หวาดหวั่นสำ�นึกว่า เขาจะให้
ทำ�งานอะไร เปรียบเหมือนบุรุษอาชาไนยที่เห็นคนประสบทุกข์หรือตาย ก็สลดใจ สำ�นึกตัว
มุ่งบำ�เพ็ญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น
ม้าอาชาไนยที่ไม่กลัวเงาปฏัก และถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขน แต่พอถูกแทงด้วยปฏักถึง
ผิวหนังก็หวาดหวั่น สำ�นึกว่า เขาจะให้ทำ�งานอะไร เปรียบเหมือนบุรุษอาชาไนยที่มีญาติประสบ
ทุกข์หรือตายก็สลดใจ สำ�นึกตัว มุ่งบำ�เพ็ญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น
226

ม้าอาชาไนยที่ไม่กลัวเงาปฏัก การถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมและที่ผิวหนัง แต่พอถูกแทงด้วย


ปฏักถึงกระดูกก็หวาดหวั่น สำ�นึกว่า เขาจะให้ทำ�งานอะไร เปรียบเหมือนบุรุษอาชาไนยที่ประสบ
ทุกข์หนักก็สลดใจ สำ�นึกตัว มุ่งบำ�เพ็ญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๓๐๓
๑.๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงคุณสมบัติของช้างต้น ๔ ประการ ได้แก่ เชื่อฟัง
ฆ่าศัตรูได้ อดทน ไปได้ทุกแห่ง
เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของภิกษุ ๔ ประการ ได้แก่ เชื่อฟัง ฆ่ากิเลสได้ อดทน ไป
นิพพานได้.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๓๐๖
๑.๔ เนื้อที่อยู่ในป่า เมื่อเที่ยวอยู่ป่าใหญ่ เดินไปไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่
ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนกันฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำ�ให้มารมืด กำ�จัดมารไม่ให้มีทางไป แล้วสู่สถาน
เป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๔๒๘
๑.๕ ธรรมดานางนกเงือก เวลากลางวันก็เที่ยวหากินอยู่ในป่า พอถึงเวลาเย็นจึงบินไปหา
เพื่อนฝูงเพื่อรักษาตัว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ก็ควรหาที่สงัดโดยลำ�พังผู้เดียวเพื่อให้หลุด
พ้นจากสังโยชน์ เมื่อรู้สึกไม่ยินดีในความสงัด ก็ควรไปอยู่กับหมู่สงฆ์ เพื่อป้องกันจากการถูกกล่าว
ติเตียนในภายหลัง ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ท้าวสหบดีพรหมกล่าวขึ้นต่อพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระภิกษุ
ควรอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด เพื่อปลดเปลื้องจากสังโยชน์ ถ้าไม่ได้ความยินดีในที่สงัดนั้น ก็ควรไป
อยู่ในหมู่สงฆ์ให้มีสติรักษาตนให้ดีอยู่เสมอ.
มิลิน. ๔๕๑
๑.๖ เหมือนเมฆก้อนมหึมากลั่นตัวเป็นน้ำ�ฝน ตกกระหน่ำ�ลงบนยอดเขาไหล ลงมาเต็มซอก
เขา ลำ�ธาร เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มหนอง เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มบึง เต็มแล้วก็ไหลบ่า
ออกมาเต็มแม่น้ำ�น้อย เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มแม่น้ำ �ใหญ่ เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็ม
227

สมุทรสาคร ฉันใด คุณ ๕ ข้อนี้คือ ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความเป็น


ผู้เลี้ยงง่าย และการปรารภความเพียร ของภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ บริบูรณ์แล้วก็จักช่วยให้
คุณธรรมเริ่มตั้งแต่กถาวัตถุ ๑๐ จนกระทั่งถึงอมตพระนิพพานให้สมบูรณ์.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๓๔
๑.๗ ผู้ใดพึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำ�ฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะ
และสัจจะ ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.
ขุ.ธ. (โพธิ) มก. ๔๐/๑๑๓
๑.๘ เหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่เสมอฝั่งเป็นธรรมดาไม่ล้นฝั่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสาวก
ของเราก็จะไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราตถาคตบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่ง
ชีวิต ฉันนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๑๘
๑.๙ บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่า เป็นมุน๑ี เพราะความเป็นผู้นิ่ง ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
ถือธรรมอันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตาชั่ง เว้นบาปทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น ผู้ใด
รู้อรรถทั้งสองในโลก ผู้นั้นเรากล่าวว่า เป็นมุนี เพราะเหตุนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๖๖
๑.๑๐ ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำ�บาก ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้
(เสาระเนียด, คูลึกกว้าง, ทางเดินรอบคู, อาวุธ, กองทัพ, ทหาร, กำ�แพง) และอาหาร ๔ ประการ
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำ�บาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำ�
อันตรายได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม
๗ ประการ (ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตตะ ความเพียร สติ ปัญญา) และเป็นผู้มีปกติได้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำ�บาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ในกาลนั้น เรากล่าวว่า มารผู้มีบาปทำ�อันตรายอริยสาวกไม่ได้.
อัง.สัตกก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๒๕
๑.๑๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคุณสมบัตินักรบอาชีพ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของ
ภิกษุซึ่งเหมือนกัน ๔ ประการ ได้แก่


มุนี นักปราชญ์, ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว
228

๑. ฉลาดในฐานะ คือ มีศีล


๒. ยิงลูกศรไกล คือ การพิจารณาเบญจขันธ์มีรูป เป็นต้นตามความเป็นจริง
๓. ยิงไม่พลาด คือ การรู้ชัดทุกข์ เป็นต้น อันเป็นหลักอริยสัจ ๔
๔. ทำ�ลายกองขนาดใหญ่ คือ การทำ�ลายกองอวิชชาใหญ่ได้
แต่มีความหมายต่างกัน คือ คุณสมบัติของนักรบอาชีพมีความหมายในทางโลก แต่ของ
ภิกษุมีความหมายในทางธรรม.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๔๓๘
๑.๑๒ ธรรมดานาย่อมมีเหมือง ชาวนาย่อมไขน้ำ�ออกจากเหมืองเข้าไปยังนา เพื่อหล่อเลี้ยง
ต้นข้าว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีเหมือง คือ ความสุจริตเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๒
๑.๑๓ ธรรมดาน้ำ�ที่นิ่งอยู่ไม่ไหว ไม่มีผู้กวน ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยสภาวะปกติ ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ควรละการลวงโลก การโอ้อวด การพูดเลียบเคียงเพื่อหาลาภ การพูดเหยียด
คนอื่นเพื่อหาลาภ แต่ควรเป็นผู้มีความประพฤติที่บริสุทธิ์ตามสภาวะปกติ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๖
๑.๑๔ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมทำ�ให้เกิดความร้อนแก่มวลมนุษย์ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรก็ควรทำ�ให้โลกนี้ และโลกหน้าร้อนด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ วัตรปฏิบัติ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ
สมาบัติ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท.
มิลิน. ๔๔๑
๑.๑๕ ธรรมดาดวงจันทร์ย่อมขึ้นในสุกกปักษ์ คือ ฝ่ายขาว อันได้แก่เดือนข้างขึ้นแล้วยิ่ง
กลมสว่างมากขึ้น ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นในอาจารคุณ ศีลคุณ
วัตรปฏิบัติ อาคม อธิคม ความสงัด การสำ�รวมอินทรีย์ การรู้จักประมาณในการบริโภค และ
ความเพียร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๐
๑.๑๖ ภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัทธรรมแล้ว และกำ�ลังหนักในพระสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่า
นั้นย่อมงอกงามในธรรม ดุจสมุนไพรได้ปุ๋ย ฉะนั้น.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๑๖๓
๑.๑๗ องค์ ๓ ของม้าต้นของพระราชา คือ สีงาม กำ�ลังดี มีฝีเท้า เช่นเดียวกับองค์ ๓
ของภิกษุที่เป็นนาบุญของโลก ต้องประกอบด้วย
229

๑. ภิกษุวรรณะงาม คือ มีศีล สมาทานในสิกขาบท


๒. ภิกษุเข้มแข็ง คือ มีความเพียร
๓. ภิกษุมีเชาว์ คือ รู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๘๕
๑.๑๘ องค์ ๓ แห่งพ่อค้าได้แก่
๑. เป็นผู้มีดวงตา คือ รู้สินค้าว่าควรซื้อขายอย่างไร มองเห็นต้นทุนหรือกำ�ไร
๒. เป็นผู้ฉลาด เข้าใจซื้อขาย
๓. ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย คือ รู้จักกันดีกับตระกูลคฤหบดีที่เป็นแหล่งเงินทุน ทั้งพึ่งพา
อาศัยได้
ธรรม ๓ แห่งภิกษุได้แก่
๑. เป็นผู้มีดวงตา คือ รู้เห็นอริยสัจ ๔
๒. เป็นผู้มีความเพียร
๓. ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย คือ เข้าหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต หมั่นไต่ถามปัญหาในธรรมทั้ง
หลาย.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๖๑

๒. ภิกษุกับการศึกษาธรรม
๒.๑ ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟัง
เนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ เธอจงมีสติหลงลืมเมื่อกระทำ�กาละ ย่อมเข้า
ถึงเทพนิยายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพ
นั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำ�นาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่าง
นี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกลพึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่
พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงว่าเสียง
กลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษโดย
เร็วพลัน.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๔๗๐
230

๒.๒ นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถอันเทียมม้าแล้ว ซึ่งมีแส้อันวาง


ไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือแส้ด้วยมือขวา ขับไปทางข้างหน้าก็ได้ ถอยกลับข้างหลังก็ได้
ในถนนใหญ่ ๔ แยก ซึ่งมีพื้นเรียบดีตามความประสงค์ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษาเพื่อจะรักษา ศึกษาเพื่อจะสำ�รวม ศึกษาเพื่อจะฝึกฝน
ศึกษาเพื่อจะระงับอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็น
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๙๕
๒.๓ ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ... เวทัลละ ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้
มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำ�นาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนี้เลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำ�นาญแห่งจิต ก็ไม่ได้
แสดงในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใดนี้ คือ
ธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่
พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียง
สังข์ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๔๗๑

๓. ภิกษุกับปัจจัย ๔
๓.๑ ภิกษุเห็นแก่ปัจจัย ย่อมสิ้นเดชอับแสงระหว่างบริษัท ๔ คล้ายกับกหาปณะเก๊ และ
เถ้าถ่านไฟที่ดับแล้ว ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีจิตหวนกลับจากปัจจัยนั้น เป็นผู้หนักในธรรม ประพฤติ
ครอบงำ�อามิสอยู่เป็นนิตย์ ย่อมมีเดช (สง่าราศี) คล้ายราชสีห์ ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๑๙
๓.๒ ภิกษุนั้นใช้สอยเสนาสนะ ไพรสณฑ์ โคนไม้ ป่า เงื้อมภูเขาที่ตนปรารถนาแล้ว ดุจ
ลูกศรพ้นจากสายธนู ดุจช้างซับมันหลีกจากโขลง ฉะนั้น.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๕๓๑
๓.๓ สมณพราหมณ์เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชา คือ วิชาดูพื้นที่ เรียกว่า
ก้มหน้าฉัน
231

เลี้ยงชีพด้วยวิชาดูดาวดูฤกษ์ เรียกว่า เงยหน้าฉัน


เลี้ยงชีพด้วยการทำ�หน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร เรียกว่า มองดูทิศใหญ่ฉัน
เลี้ยงชีพด้วยวิชาดูอวัยวะ เรียกว่า มองดูทิศน้อยฉัน.
สัง.ข. (เถระ) มก. ๒๗/๕๕๑

๔. ภิกษุกับสกุล
๔.๑ มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ� ถือเอาแต่รส
แล้วบินไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๒
๔.๒ พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่นเพราะไม่เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น เที่ยวไปตามลำ�ดับ
ตรอก คือ ไม่เที่ยวแวะเวียน เข้าไปบิณฑบาตตามลำ�ดับ ทั้งตระกูลมั่งคั่ง และตระกูลยากจน มีจิต
ไม่เกี่ยวข้องด้วยอำ�นาจกิเลสในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เปรียบเหมือนพระจันทร์ใหม่อยู่เป็นนิตย์.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๗๒๓
๔.๓ ธรรมดานกทั้งหลายรู้ว่าถิ่นโน้นมีต้นไม้สุก มีผลสุก จึงพากันมาจากทิศต่างๆ เอาเล็บ
ปีก และจะงอยปาก แทง จิก กิน ผลไม้ของต้นไม้นั้น นกเหล่านั้นมิได้คิดว่า ผลไม้นี้สำ�หรับวันนี้
ผลนี้สำ�หรับพรุ่งนี้ ก็เมื่อผลไม้หมด นกทั้งหลายมิได้วางการป้องกันรักษาต้นไม้ มิได้วางปีก
ขน เล็บ หรือจะงอยปากไว้ที่ต้นไม้นั้น ไม่ห่วงใยต้นไม้ต้นนั้น ปรารถนาจะไปทิศใด ก็มิได้ห่วงใย
ต้นไม้ต้นนั้น ปรารถนาจะไปทิศใด ก็มีภาระ คือ ปีกเท่านั้น บินไปทางทิศนั้น ภิกษุนี้ก็เหมือนกัน
หมดความข้อง หมดความห่วงใย หลีกไป คือ ถือเอาเพียงบริขาร ๘ แล้วหลีกไป.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๕๓๒
๔.๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโบกพระหัตถ์ในอากาศ แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ฝ่ามือ
นี้ไม่ข้อง ไม่ติด ไม่พัวพันในอากาศ ฉันใด จิตของภิกษุผู้เข้าไปในสกุล ไม่ข้องไม่พัวพัน ฉันนั้น
เหมือนกัน โดยตั้งใจว่า ผู้ปรารถนาลาภจงได้ลาภ ผู้ปรารถนาบุญจงได้บุญ เป็นผู้พอใจในลาภของ
ตน เป็นผู้พลอยยินดีในลาภของชนเหล่าอื่น ภิกษุเห็นปานนี้ จึงควรเข้าสกุล.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๕๐
๔.๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการเข้าสู่สกุลของภิกษุว่า ควรระวังสำ�รวมให้ดี ต้อง
ประเมินคุณธรรมของตัวเอง ไม่ใช่ว่า เห็นพระเถระท่านเข้าสู่สกุลแล้ว ก็คิดว่า พระเถระเข้าไปได้
ทำ�ไมเราจะเข้าไปไม่ได้ เหมือนกับลูกช้างเห็นช้างทั้งหลายลงไปกินเหง้าบัวในสระอย่างเอร็ดอร่อย
ก็ลงไปกินบ้าง โดยการกระโดดลงไปทำ�ให้น้ำ�ขุ่น แล้วก็คว้าเอาส่วนที่กินไม่ได้มากิน ต้องได้รับ
ทุกขเวทนา.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๗๔๔
232

๕. ลักษณะของภิกษุไม่ดี
๕.๑ ความตรึกทั้งหลายกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้ ได้ครอบงำ�เราผู้ออกบวช
เป็นบรรพชิต เหมือนกับบุตรของคนสูงศักดิ์ซึ่งมีธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชาธนูมาอย่างเชี่ยวชาญ
ยิงธนูมารอบๆ ตัวศัตรูผู้หลบหลีกไม่ทันตั้งพันลูก ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๘๔
๕.๒ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ไม่ถึงธรรมอันเป็นสาระ ย่อมพอกพูนเครื่อง
ผูกใหม่ๆ ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งที่ตนเห็นแล้วฟังแล้วอย่างนี้ เหมือนฝูงแมลงตกลงสู่ประทีปน้ำ�มัน ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (พุทธ) มก. ๔๔/๖๔๙
๕.๓ อุปกิเลส (เครื่องมัวหมอง) แห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ดวง
จันทร์ ดวงอาทิตย์ ไม่สว่างไสวไพโรจน์ คือ เมฆ หมอก ควัน และผงคลี อสุรินทราหู
ภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั้นแล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายก็มี ๔ ประการ คือ
สมณพราหมณ์บางเหล่าดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีทองและเงิน เลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีวะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ ๔ ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์
ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๑๗๔
๕.๔ ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ� ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรม
ให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำ�ให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะต้นหนเท่านั้น.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๖๓๑
๕.๕ ภิกษุผู้หนักในความโกรธ และความลบหลู่ท่าน หนักในลาภ และสักการะ ย่อมไม่
งอกงามในพระสัทธรรม ดุจพืชที่หว่านในนาเลว ฉะนั้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๑๖๓
๕.๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบภิกษุกับผ้าเปลือกไม้ดังนี้ ผ้าเปลือกไม้ไม่ว่าจะใหม่
หรือเก่าก็มีสีทราม เปรียบได้กับภิกษุทุศีล สัมผัสหยาบเปรียบได้กับผลจากการคบหากับภิกษุนั้นว่า
ก่อให้เกิดทุกข์ ราคาถูก คือ บุคคลถวายทานแก่ภิกษุนั้น จะได้บุญน้อย ผ้าเปลือกไม้เมื่อเก่าแล้ว
เขาเอาไปทิ้งขยะ คือ เมื่อกล่าวธรรมใดก็ไม่มีใครฟัง เมื่อถูกว่ากล่าว ภิกษุนั้นก็โกรธเป็นเหตุให้ถูก
ลงโทษ คือ ห้ามติดต่อเกี่ยวข้องกับภิกษุทั้งหลาย.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๘๙
233

๕.๗ เปรียบภิกษุบางรูปอยูใ่ นบ้านหรืออยูใ่ นป่า ถูกบุคคลกล่าวท้วงว่า ภิกษุรปู นีไ้ ม่สะอาด เป็น


หนามของชาวบ้าน เหมือนกับบุคคลทีม่ แี ผลพุพองทัง้ ตัว เข้าไปในป่าหญ้าคา ถูกตำ�ถูกบาดเต็มตัว.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๙๗
๕.๘ มหาโจรได้องค์ ๓ นี้ จึงตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม และตีชิง เมื่อเทียบกับภิกษุชั่วแล้ว
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. อาศัยที่ขรุขระ หมายถึง ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
๒. อาศัยป่าชัฏ หมายถึง เป็นผู้มีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฐิ
๓. ได้พึ่งพิงผู้มีอำ�นาจ หมายถึง อาศัยผู้มีอำ�นาจกลบเกลื่อนความชั่วของตน
ทั้งหมดนี้ได้ชื่อว่า เป็นภิกษุผู้ประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๒๑๐

๖. สมณะผู้หลอกลวง
๖.๑ เปรียบเหมือนหญ้าชนิดหนึ่งที่ทำ�ลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าว
ตายรวง พึงเกิดขึ้นในนาที่สมบูรณ์ ราก ก้าน ใบของมัน เหมือนกับข้าวที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่มัน
ยังไม่ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบกันว่า หญ้านี้ทำ�ลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือน
ข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เขาจึงถอนมันพร้อมทั้งราก เอาไปทิ้งให้
พ้นที่นา ข้อนั้นเพราะคิดว่า หญ้าชนิดนี้อย่าทำ�ลายข้าวที่ดีอื่นๆ เลย ฉันใด เปรียบเหมือนกองข้าว
เปลือกกองใหญ่ที่เขากำ�ลังสาดอยู่ในข้าวเปลือกกองนั้น ข้าวเปลือกที่ตัวแกร่ง เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง
ส่วนที่หักลีบ ลมย่อมพัดไปไว้ส่วนหนึ่ง เจ้าของย่อมเอาไม้กวาดวีพัดข้าวที่หัก และลีบออกไป
ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะคิดว่า มันอย่าปนข้าวเปลือกที่ดีอื่นๆ เลย ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ เหมือนภิกษุผู้เจริญเหล่าอื่น
ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา
เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ ครั้นรู้อย่างนี้ย่อมนาสนะ
(การลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ) ออกไปให้พ้น.
อัง.อัฏฐก. (พุทธ) มก. ๓๗/๓๒๖
๖.๒ ในปางก่อน นกยางตัวหนึ่งมีรูปเหมือนแกะ พวกแกะไม่รังเกียจ เข้าไปยังฝูงแกะ ฆ่า
แกะทั้งตัวเมียตัวผู้ ครั้นฆ่าแล้ว ก็บินหนีไป สมณพราหมณ์บางพวกก็มีอาการเหมือนอย่างนั้น
กระทำ�การปิดบังตัว เที่ยวหลอกลวงพวกมนุษย์ บางพวกประพฤติไม่กินอาหาร บางพวกนอนบน
แผ่นดิน บางพวกทำ�กิริยาขัดถูธุลีในตัว บางพวกตั้งความเพียรเดินกระโหย่งเท้า บางพวกงดกิน
234

อาหารชั่วคราว บางพวกไม่ดื่มน้ำ� เป็นผู้มีอาจาระเลวทราม เที่ยวพูดอวดว่า เป็นพระอรหันต์


คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๘๑
๖.๓ หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั้นเอง ฉันใด คุณเครื่องสมณะที่บุคคลลูบคลำ�ไม่ดี
ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑๙๓
๖.๔ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ ณ ภายใน งามแต่ภายนอก เป็นผู้อันบริวาร
ห้อมล้อมไปในโลก เหมือนหม้อน้ำ�ทำ�ด้วยดินหุ้มด้วยทองคำ� และเหมือนเหรียญมาสกโลหะชุบ
ทองคำ� ฉะนั้น.
ขุ.ม. (เถระ) มก. ๖๖/๕๓๕
๖.๕ เปรียบเหมือนบุคคลต้องการกระบอกตักน้ำ� ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า เขาเอาสัน
ขวานเคาะต้นไม้นั้นๆ บรรดาต้นไม้เหล่านั้น ต้นไม้ที่แข็ง มีแก่น ซึ่งถูกเคาะด้วยสันขวานย่อมมี
เสียงหนัก ส่วนต้นไม้ที่ผุใน น้ำ�ชุ่ม เกิดยุ่ยขึ้น ถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียงก้อง เขาจึงตัด
ต้นไม้ที่ผุในนั้นที่โคน ครั้นตัดโคนแล้ว จึงตัดปลาย แล้วจึงคว้านข้างในให้เรียบร้อยแล้วทำ�เป็น
กระบอกตักน้ำ� ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไปการถอย
กลับ การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เหมือนของภิกษุที่
ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของ
เขา เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ
เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว ย่อมนาสนะ๑ ออกไปให้พ้น.
อัง.อัฏฐก. (พุทธ) มก. ๓๗/๓๒๗
๖.๖ ลาย่อมติดตามโคไป แม้ร้องว่า ตัวเราก็เป็นโค แต่สี เสียง รอยเท้า ไม่เหมือนโค
ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เดินตามหมู่ภิกษุ ประกาศตนว่า แม้เราก็เป็นภิกษุ แต่เธอไม่มี
ความพอใจในการสมาทานอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา แต่เดินตามภิกษุไป
เท่านั้นเหมือนกัน.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๔๘


นาสนะ การลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ
235
๓๐
สนทนาธรรมตามกาล
ม ง ค ล ที่

สีหมฤคราชนั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ�ไม่พลาด


ถ้าจะจับกระบือ โค เสือเหลือง โดยที่สุด แม้กระต่าย และแมว
ย่อมจับโดยแม่นยำ�ไม่พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทางหากินของเราอย่าพินาศเสียเลย
สีหะนั้นเป็นชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า...
ตภาคตย่อมแสดงธรรมโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุภิกษุณี... โดยที่สุดแม้แก่ขอทาน...
237

๑. ผู้แสดงธรรม
๑.๑ เราจักกล่าวให้แจ่มชัด ประหนึ่งยกพระจันทร์พันดวง พระอาทิตย์พันดวงขึ้น ประหนึ่ง
ตามประทีปน้ำ�มันพันดวงที่สี่มุมเรือน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๓๔๘
๑.๒ ธรรมดาตะขาบ ย่อมร้องบอกความปลอดภัย และความมีภัยแก่ผู้อื่น ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียร ก็ควรแสดงธรรม บอกนรก สวรรค์ นิพพานแก่ผู้อื่น ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๒
๑.๓ ธรรมดาเมฆ คือ ก้อนน้ำ� เมื่อตกลงมา ก็ทำ�ให้แม่น้ำ� หนอง สระ ซอก ห้วยระแหง
บึง บ่อ เป็นต้น มีน้ำ�เต็ม ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เมื่อเมฆ คืออธิคม (การบรรลุ) ตกลงมา
ด้วยอาคมปริยัติ (การเล่าเรียนพระไตรปิฎก) แล้วควรทำ�ใจของบุคคลทั้งหลายผู้มุ่งต่ออธิคมให้
บริบูรณ์ ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า พระมหามุนีทรงเล็งเห็นผู้ที่ควรจะให้รู้ อยู่ในที่ไกล
ตั้งแสนโยชน์ก็ตาม ก็เสด็จไปโปรดให้รู้ทันที.
มิลิน. ๔๕๘
238

๑.๔ พอพระเจ้ามิลินท์ได้แลเห็นพระนาคเสนแต่ไกลเท่านั้น ก็ทรงสะดุ้งตกพระทัยยิ่งหนัก


หนา อุปมาพญาช้างถูกห้อมล้อมด้วยดาบ และขอ เหมือนกับนาคถูกครุฑห้อมล้อมไว้ เหมือนสุนัข
จิ้งจอกถูกงูเหลือมล้อมไว้ เหมือนหมีถูกฝูงกระบือป่าห้อมล้อมไว้ เหมือนคนถูกพญานาคไล่ติดตาม
เหมือนหมู่เนื้อถูกเสือเหลืองไล่ติดตาม เหมือนงูมาพบหมองู เหมือนหนูมาพบแมว เหมือนปีศาจมา
พบหมอผี เหมือนพระจันทรเทวบุตรตกอยู่ในปากราหู เหมือนนกอยู่ในกรง เหมือนเทพบุตรผู้จะ
สิ้นอายุ.
มิลิน. ๓๐
๑.๕ สีหมฤคราชออกจากที่อยู่ในเวลาเย็น แล้วย่อมเยื้องกายด้วยท่าทางที่องอาจ สง่างาม
พร้อมที่แสวงหาอาหาร แล้วเหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกหากิน
สีหมฤคราชนั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ�ไม่พลาด ถ้าจะจับกระบือ โค เสือ
เหลือง โดยที่สุด แม้กระต่าย และแมว ย่อมจับโดยแม่นยำ�ไม่พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสีห
มฤคราชนั้นคิดว่า ทางหากินของเราอย่าพินาศเสียเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหะนั้นเป็นชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ที่ตถาคตแสดง
ธรรมแก่บริษัทนี้แล เป็นสีหนาทของตถาคต ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ
ไม่แสดงโดยไม่เคารพ โดยที่สุดแม้แก่คนขอทานและพรานนก เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม
เคารพในธรรม.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๒๒๕
๑.๖ ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่แล้วท่านก็แสดงธรรมแก่สาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน
ทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อ
รู้ทั่วถึงและย่อมหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำ�สอนของศาสดา เหมือนบุรุษรุกเข้าไปหาสตรีที่กำ�ลังถอย
หลังหนี หรือเหมือนบุรุษที่กอดสตรีที่หันหลังให้.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๐
๑.๗ ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่ท่านแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน
ทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมตั้งใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อ
รู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำ�สอนของศาสดา เหมือนบุคคลทิ้งนาของตน แล้วสำ�คัญ
นาของผู้อื่นว่า เป็นที่ที่ตนควรทำ�ให้ดี.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๑
239

๑.๘ ท่านได้บรรลุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทัง้ หลายว่า นีเ้ พือ่ ประโยชน์ของท่านทัง้ หลายนี้


เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกเหล่านั้น ย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิต เพื่อความ
รู้ทั่ว และหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำ�สอนของศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำ�เก่าได้แล้ว
สร้างเครื่องจองจำ�อย่างอื่นขึ้นใหม่.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๐

๒. การตอบคำ�ถาม
๒.๑ พระธัมมทินนาเถรีได้วิสัชนาปัญหาที่ถามแล้ว เหมือนตัดก้านบัวด้วยศัสตราอันคมกริบ
เหมือนปลาอยู่ในลอบในไซ เหมือนบุรุษที่ตกเข้าไปในป่าสัตว์ร้าย เหมือนยักษ์ทำ�ผิดต่อท้าวเวสสุวัณ
ฉะนั้น.
ขุ.เถรี. (อรรถ) มก. ๕๔/๓๒
๒.๒ เมื่อดำ�รงอยู่ในวิสัยแห่งปัญญาเครื่องแตกฉานแก้ปัญหาอยู่ เหมือนรับของที่เขาฝาก
เหมือนแก้เงื่อนบ่วงข้างหนึ่ง เหมือนถางทางข้างในที่รก เหมือนแงะกะติ๊บด้วยปลายดาบ.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๓๓๘
๒.๓ เมื่อวิสาขะได้ฟังการแก้สัจจะสี่นี้แล้ว ก็ทราบว่าพระเถรียินดี เพราะว่าผู้ที่กระสัน
ไม่ยินดีในพระพุทธศาสนานั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหาที่ถามแล้วถามเล่าได้ เหมือนเอาแหนบมา
ถอนผมหงอกทีละเส้นๆ เหมือนขนทรายออกจากเชิงเขาสิเนรุ.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๓๓๙
๒.๔ บุคคลบางคนบันลือสีหนาทแล้ว ไม่อาจที่จะตอบคำ�ซักถามได้ ในการบันลือของตน
ทั้งทนการเสียดสีไม่ได้ ย่อมเป็นเหมือนลิงที่ติดตัง ฉะนั้น
ถ่านเพลิงที่เผาไหม้สำ�หรับช่างทองใช้เผาโลหะที่ไม่บริสุทธิ์ ฉันใด บุคคลนั้นก็เป็นเหมือน
ถ่านเพลิงที่เผาไหม้ ฉันนั้น
บุคคลบางคนย่อมถูกซักถามในการบันลือสีหนาท ย่อมสามารถที่จะตอบได้ ทั้งทนต่อการ
เสียดสีได้ ย่อมงามยิ่ง เหมือนทองคำ�บริสุทธิ์ของช่างทอง ฉะนั้น.
ที.ปา. (พุทธ) มก. ๑๕/๒๑๗
๒.๕ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กระทำ�ปัญหาที่โยมถาม ให้มีรสไม่รู้จักตาย ให้เป็น
ของควรฟังด้วยอุปมาเหตุการณ์หลายอย่าง เหมือนพ่อครัว หรือลูกมือของพ่อครัวผู้ฉลาด ได้เนื้อ
มาเพียงก้อนเดียว ก็ตกแต่งอาหารได้หลายอย่างถวายแก่พระราชา ฉันนั้น.
มิลิน. ๓๒๗
๓๑ม ง ค ล ที่

บำ�เพ็ญตบะ
ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม สำ�รวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา และปรารภความเพียรอยู่
ผู้นั้นแล มารย่อมรังควานไม่ได้
เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลมรังควานไม่ได้ ฉะนั้น
241

๑. ธรรมชาติของจิต
๑.๑ เมื่อจิตพลัดออกนอกทาง คือ จิตหมุนไปในอารมณ์ต่างๆ เพราะเว้นจากสมาธิ... ท่าน
เหล่านั้นขาดสมาธิ เป็นเหตุที่อุทธัจจะได้โอกาส เปรียบเหมือนลิงในป่ากระโดดมาตามกิ่งไม้ในป่า
ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๙๓
๑.๒ การได้อารมณ์เหมือนการจับกิ่งไม้ ลิงนั้นเที่ยวไปในป่า ปล่อยกิ่งไม้นั้นๆ แล้วไปจับ
กิ่งไม้อื่นๆ ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น.
สัง.นิ. (อรรถ) มก. ๒๖/๒๙๘
๑.๓ กระท่อม คือ ร่างกระดูกนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของลิงคือจิต เพราะฉะนั้น ลิงคือจิต จึง
กระเสือกกระสนจะออกจากกระท่อมที่มีประตู ๕ พยายามวิ่งวนไปมาทางประตูบ่อยๆ.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๐/๕๑
๑.๔ จิตนี้ อันภิกษุผู้ปรารภความเพียรยกขึ้นจากอาลัย คือ กามคุณ ๕ แล้วซัดไปใน
วิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำ� แล้วโยนไปบนบก
ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๘๗
๑.๕ จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้ามได้แสนยาก เพราะยังไม่ปราศจากความกำ�หนัด.
ขุ.เถร. (พุทธ) มก. ๕๓/๓๙๙
242

๒. การฝึกจิต
๒.๑ ไม้จันทน์ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อน และควรแก่
การงาน ฉันใด
เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่อบรมแล้ว กระทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติ
อ่อน และควรแก่การงานเหมือนจิต
จิตที่อบรมแล้ว กระทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน และควรแก่การงาน ฉันนั้น
เหมือนกัน.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๒/๙๕
๒.๒ เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์กักช้างไว้ที่ประตูนคร ฉะนั้น เราจักไม่
ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก จักไม่ยอมให้จิตตกลงไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย เจ้าถูกเรา
กักไว้แล้วจักไปตามชอบใจไม่ได้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑๘
๒.๓ ดูก่อนจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้
นายควาญช้างมีกำ�ลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ในอำ�นาจด้วยขอ ฉันใด
เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำ�นาจ ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑๘
๒.๔ นายสารถีผู้ฉลาดในการฝึกม้าให้ดีเป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ ฉันใด เราฝึก
เจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ (ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา) ฉะนั้น จักผูกเจ้าด้วยสติ จักฝึกจับ
บังคับเจ้าให้ทำ�ธุระด้วยความเพียร เจ้าจักไม่ได้ไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๑๘
๒.๕ เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไปตามอาการที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ และตาม
ความสบาย วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมัน ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๒๔
๒.๖ ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำ�จิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้
ตรงดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๘๗
๒.๗ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำ�ลัง พึงจับบุรุษอันถอยกำ�ลังกว่าที่ศีรษะ หรือที่คอ แล้วจับบีบ
ไว้แน่นให้ร้อนจัด ฉันใด อัคคิเวสสนะ เมื่อเราแล กำ�ลังขบฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิต
ไว้กับจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๐
243

๒.๘ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้


ฉันนั้น ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้
ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓
๒.๙ ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำ�เราว่า จงสำ�รวมระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตาม
ระหว่างตรอก อย่ามีใจเกี่ยวข้องในตระกูล และกามารมณ์ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ
เว้นจากโทษ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๐๑
๒.๑๐ ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจาก
หล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๕๓

๓. ความสำ�รวมอินทรีย์
๓.๑ ผูต้ ามเห็นอารมณ์วา่ ไม่งาม สำ�รวมดีในอินทรียท์ ง้ั หลาย รูป้ ระมาณในโภชนะ มีศรัทธา
และปรารภความเพียรอยู่ ผูน้ น้ั แล มารย่อมรังควานไม่ได้ เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลมรังควานไม่ได้
ฉะนัน้ .
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๒
๓.๒ อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใดถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น
แม้เหล่าเทพเจ้าย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๘๒
๓.๓ บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มีหนาม ข้างหลังก็มีหนาม ข้างซ้าย
ก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า
ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าแทงเรา แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมคือปิยรูป และสาตรูปในโลกนี้ เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ
พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๕๕
๓.๔ ธรรมดาช้ า งย่ อ มมองตรงไปข้ า งหน้ า ไม่ หั นซ้ า ยแลขวา ฉั น ใด ภิ ก ษุ ผู้ ป รารภ
ความเพียรก็ไม่ควรเหลียวดูทิศโน้นทิศนี้ ไม่แหงนหรือก้ม ควรดูเพียงชั่วระยะแอก ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
244

๓.๕ กุลบุตรผู้ต้องการศึกษาบำ�เพ็ญเพียร ถึงความสำ�รวมในทวารทั้งสองเหล่านี้ (โสตทวาร


และกายทวาร) จักทำ�ที่สุดแห่งชาติ ชรา มรณะได้ฉับพลันทีเดียว เปรียบเหมือนบุรุษเจ้าของนา
ถือจอบเที่ยวเดินสำ�รวจนา ไม่เสริมก้อนดินในที่หนึ่ง เอาจอบฟันดินเฉพาะในที่บกพร่อง เพิ่มดินในที่
มีหญ้า.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๕๔๐
๓.๖ ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น ตั้งจิตมั่นแล้ว ได้ทำ�จิตของตนให้ตรงแล้ว ภิกษุทั้งปวงนั้น
เป็นบัณฑิต ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ดุจดังว่านายสารถีถือบังเหียน ฉะนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๔/๒๐๑
๓.๗ บุคคลผู้มีกำ�ลัง เมื่อผ่าไม้ ย่อมตอกลิ่มด้วยลิ่ม ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดย่อมกำ�จัดอินทรีย์
ด้วยอินทรีย์ ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒๐
๓.๘ ธรรมดากาย่อมระแวงสงสัยเสมอ ย่อมขวนขวายอยู่เสมอ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรก็ฉันนั้น ย่อมมีความระมัดระวังอยู่เสมอ สำ�รวมอินทรีย์อยู่เสมอ.
มิลิน. ๔๒๘
๓.๙ ธรรมดาไก่ถึงมีตาก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรถึง
ตาไม่บอดก็ควรทำ�เป็นเหมือนคนตาบอด ฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวออกบิณฑบาตในบ้าน
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ต่อรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ...
มิลิน. ๔๒๔
๓.๑๐ ธรรมดานางนกเงือกย่อมให้ผัวอยู่เลี้ยงลูกในโพรงด้วยความหึง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรเมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจตน ก็ควรเอาใจของตนใส่ลงในโพรง คือ การสำ�รวมโดยชอบ
เพื่อกั้นกางกิเลส แล้วอบรมกายคตาสติไว้โดยมโนทวาร.
มิลิน. ๔๕๑
๓.๑๑ ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไป ถ้าได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็
หดตีนหดหัวเข้าอยู่ในกระดองนิ่งอยู่ เพื่อรักษาตัวเอง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น คือ
เมื่ออารมณ์อันน่ารักใคร่ภายนอกมาปรากฏ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ปิดประตูระวัง สำ�รวมใจไว้
ข้างใน มีสติสัมปชัญญะ รักษาสมณธรรมอยู่
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เต่าย่อมซ่อนอวัยวะทั้ง ๕ ไว้ในกระดองของตน
ฉันใด พระภิกษุก็ควรตั้งมโนวิตกไว้ให้ดี ไม่อิงอาศัยอะไร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ติเตียนใคร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๗
245

๓.๑๒ กูฏาคารศาลา หรือสันถาคารศาลามีดินหนา มีเครื่องฉาบทาอันเปียก ถึงแม้บุรุษจะ


เอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้
บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ ทางทิศใต้
ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน ถึงแม้โดยทางไหนๆ ไฟก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้ปัจจัย ฉันใด
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้มารจะเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่องได้ปัจจัย ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถึงแม้มาร
จะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย.
ขุ.จู. (เถระ) มก. ๖๗/๖๐๒
๓.๑๓ เปรียบเทียบบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ครั้นแล้ว
พึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป
ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นแล สัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้น พึงดึง
กันและกันเข้าหาเหยื่อ และอารมณ์ของตนๆ
งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก
จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ�
นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ
สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน
สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า
ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่า
เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำ�บาก เมื่อนั้น บรรดา
สัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำ�ลังมากกว่าสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำ�นาจ
แห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม ไม่กระทำ�ให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุจะฉุด
ภิกษุรูปนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ จะเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจจะฉุดไปใน
ธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ จะเป็นของปฏิกูล อสังวรเป็นอย่างนี้แล...
เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำ�บาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่า
นั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลัก หรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำ�ให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ
ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างนี้แล.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๙๘
246

๔. โทษของการไม่สำ�รวมอินทรีย์
๔.๑ การสมาทานวัตรทั้งหมด ย่อมเป็นโมฆะสำ�หรับผู้ไม่สำ�รวมทวาร... เหมือนทรัพย์เครื่อง
ปลื้มใจที่บุรุษได้ในความฝัน... ย่อมว่างเปล่า ครั้นตื่นขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เห็นอะไร เป็นโมฆะเปล่าๆ.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๒๕๑
๔.๒ ผู้ ต ามเป็ น อารมณ์ ว่ า งาม ไม่ สำ � รวมอิ น ทรี ย์ ทั้ ง หลาย ไม่ รู้ ป ระมาณในโภชนะ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทรามอยู่ มารย่อมรังควานได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำ�ลังไม่แข็งแรง
ลมรังควานได้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๒
๔.๓ เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำ�ไว้ภายนอกกาลฝน ถ้าบุรุษมีคบหญ้า
ลุกโชน พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นทางทิศบูรพา ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าบุรุษมีคบ
หญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นทางทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศ
เบื้องต่ำ� ทิศเบื้องบน ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นมีคบหญ้าลุกโชน พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ
หรือเรือนหญ้านั้นแต่ทิศใดทิศหนึ่ง ไฟพึงได้ช่อง แม้ฉันใด
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ ทางหู
ทางจมูก ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุ ฉันนั้น.
สัง.สฬา. (เถระ) มก. ๒๘/๔๓๕
๔.๔ พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำ�ลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ด
นั้น ปลานั้นชื่อว่า กลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ดถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำ�
ได้ตามใจชอบ ฉันใด ในโลกนี้มีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้ สำ�หรับนำ�สัตว์ทั้งหลายไป สำ�หรับฆ่าสัตว์ทั้ง
หลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๔๒
๔.๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาด
เขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไรๆ ยางพึงไหลออกหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
พ. ข้อนั้นเพราะอะไร
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า
พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ
247

โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือ


ภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำ�จิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๓๔๕
๔.๖ อินทรีย์ทั้งหลายอันถูกกระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนกระจกอันเขาตั้งไว้ในทางใหญ่ ๔
แพร่ง ย่อมเปื้อนด้วยธุลีเกิดแต่ลมเป็นต้น ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๙/๑๕๔
๔.๗ แม่เนื้อยังมีลูกเล็ก... ย่อมเสวยทุกข์ในป่า เพราะตัดความสิเนหาในลูกไม่ขาด ได้แก่ไม่
ล่วงพ้นความทุกข์ ฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น เมื่ออยู่อย่างผู้ไม่สำ�รวมอินทรีย์ เพราะตัดกิเลสเครื่อง
เกี่ยวข้องไม่ได้ ชื่อว่า ย่อมไม่ล่วงพ้นทุกข์ในวัฏฏะ.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๔๙๔
๔.๘ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต... ย่อมไม่ยังความสำ�รวมให้ถึงพร้อม
เหมือนนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดนั้น ไม่ปิดแผล ฉะนั้น.
อัง.ทสก. (อรรถ) มก. ๓๘/๕๗๙
๔.๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ที่แล่นไปหา รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ และไม่น่าใคร่ด้วยใจ สุดแท้แต่ทางใดจะมีกำ�ลังมากกว่า ทำ�ให้
ใจแกว่งไปทางนั้น เหมือนคนผูกสัตว์ ๖ ชนิด คือ งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วเอา
ปลายเชือกทั้งหก มาผูกรวมกัน สัตว์ตัวใดมีกำ�ลังมากกว่า ก็จะดึงสัตว์ทั้งหลายไปในทางนั้น ภิกษุที่
ไม่อบรมกายคตาสติ ใจย่อมถูกดึงไปในทางอายตนะนั้นๆ ชื่อว่า อสังวร.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๙๗

๕. ธุดงค์คุณ
๕.๑ คฤหัสถ์ที่บรรลุนิพพานเพราะเคยบำ�เพ็ญธุดงค์คุณมาในอดีต เปรียบเหมือนพวกนาย
ขมังธนูที่ฝึกวิชาธนูไว้จนชำ�นาญ ครั้นเข้าพระราชฐานก็ยิงถวายพระราชาอย่างแม่นยำ� เหมือน
แพทย์ที่เรียนมาจนชำ�นาญสามารถรักษาโรคได้ดี ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๑๒
๕.๒ การสำ�เร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่เคยบำ�เพ็ญธุดงค์คุณ เหมือนการไม่งอกแห่งพืชที่ไม่
รดน้ำ� เหมือนการไปสู่สุคติย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำ�กุศลไว้.
มิลิน. ๔๑๒
248

๕.๓ ธุดงค์คุณเปรียบเหมือนน้ำ� เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู้มุ่งความบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนไฟ


เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้กิเลส เปรียบ
เหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง เปรียบเหมือนแก้วมณี เพราะเป็นที่ให้
สำ�เร็จตามความปรารถนา เปรียบเหมือนเรือเพราะเป็นที่เครื่องนำ�ข้ามฟากสงสารได้ เปรียบ
เหมือนดอกปทุม เพราะเป็นที่ไม่แปดเปื้อนกิเลส เปรียบเหมือนของหอม เพราะเป็นที่กำ�จัดกลิ่น
เหม็นๆ ฯลฯ.
มิลิน. ๔๑๒
249
๓๒
ม ง ค ล ที่

ประพฤติพรหมจรรย์
บุรุษอยู่ในเรือนจำ�มานาน ระทมทุกข์
ย่อมไม่เกิดความรักในเรือนจำ�นั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว ฉันใด
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ� มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ
เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน
251

๑. เหตุเกิดราคะ
๑.๑ อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใย คือ ตัณหา เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปใน
วัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านทรายเกิดแต่ลำ�ต้นปกคลุมป่าไป ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๓๙๐

๒. โทษของกาม
๒.๑ กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามทั้ ง หลายนี้ ม ากยิ่ ง นั ก ... เปรี ย บเหมื อ นชิ้ น เนื้ อ ... เปรี ย บเหมื อ นคบหญ้ า ...
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง... เปรียบเหมือนของยืม... เปรียบเหมือนผลไม้... เปรียบเหมือนเขียง
สับเนื้อ... เปรียบเหมือนหอกและหลาว... เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๘/๑๖๔
252

๒.๒ บุคคลผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมี


ความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณแก่ชนหมู่...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า เป็นของตามเผา...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า เป็นของให้เร่าร้อนมาก...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำ�หนด...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า เป็นของทำ�ให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า เป็นของฟัน...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอก หลาว เพราะอรรถว่า เป็นของทิ่มแทง...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า เป็นของน่าสะพรึงกลัว...
- กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า เป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อนย่อม
เว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๘
๒.๓ กามทั้งหลายเหมือนคบเพลิงที่ลุกโพลง ย่อมไหม้คนถือที่ไม่ยอมปล่อย เพราะว่ากาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง ย่อมจะไหม้คนที่ไม่ยอมปล่อยคบเพลิง.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๙๑
๒.๔ โปรดอย่าทรงละสุขอันไพบูลย์ เพราะเหตุแห่งกามสุขเล็กน้อยเลย อย่าทรงเป็น
ประดุจปลากลืนเบ็ดแล้วต้องเดือดร้อนภายหลัง.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๙๑
๒.๕ ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปตามกระแส เหมือนแมลงมุมตกไปตามใยข่าย
ที่ตนเองทำ�ไว้.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๓/๑๐
๒.๖ ผู้ใดเสพกามเพราะไม่รู้จักโทษ กามก็ย่อมฆ่าผู้นั้นเสีย เหมือนบริโภคผลไม้ที่มีพิษ
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๒/๕๗๔
๒.๗ ผู้ใดไม่รู้โทษในอนาคต มัวเสพกามอยู่ ผลที่สุดกามเหล่านั้นก็จะกำ�จัดบุคคลนั้นเสีย
เหมือนผลกิมปักกะกำ�จัดผู้กินให้ถึงตาย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๖/๒๙๓
253

๒.๘ กิเลสทั้งหลายมีราคะ เป็นต้น เกิดแต่ความเยื่อใย เกิดในตน เหมือนย่านไทรเกิดแต่


ต้นไทร ฉะนัน้ กิเลสเป็นอันมาก ซ่านไปแล้วในกามทัง้ หลาย เหมือนเถาย่านทรายรึงรัดไปแล้วในป่า.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๒๐๐
๒.๙ พืชทั้งหลายมีหญ้า สาหร่าย ไม้อ้อและกอหญ้า เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในน้ำ� อุปมาเสมือน
ว่า พืชเหล่านั้นยังมีกำ�ลังน้ำ�ให้ติดอยู่ ฉันใด เบญจกามคุณทั้งหลาย หรือว่าวัตถุกามและกิเลสกาม
ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๒
๒.๑๐ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วย
กิเลสกาม เหมือนไม้ที่แช่ไว้ในน้ำ�.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๓๖
๒.๑๑ ท่อนไม้ที่ตกไปในน้ำ�วน ถูกกระทบที่แผ่นหิน เป็นต้น แหลกละเอียดภายในนั้นแล
ฉันใด บุคคลผู้ตกไปในวังวน คือ กามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ถูกทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหายเป็นต้น
กระทบกระทั่งบีบคั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๒๘
๒.๑๒ ไฟที่จะเสมอด้วยราคะไม่มี เราย่อมเร่าร้อนด้วยกามราคะ จิตของเราถูกกามราคะ
เผาไหม้อยู่ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกลงไปสู่กระแสแห่งกิเลสทั้งหลาย
ประดุจแมงมุมตกลงไปสู่สายใยที่ตนเองทำ�ไว้ ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๕
๒.๑๓ บุคคลใด กู้หนี้เขาไปแล้วไม่ใช้ บุคคลนั้น ถูกเจ้าหน้าที่ทวงว่า เจ้าจงใช้หนี้ ดังนี้ก็ดี
ถูกเขาพูดคำ�หยาบก็ดี ถูกเขาจับไปก็ดี ถูกเขาประหารก็ดี ย่อมไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ ย่อมอดกลั้น
ทุกอย่าง เพราะว่าหนี้นั้น มีการอดกลั้นเป็นเหตุ ฉันใด บุคคลใด ย่อมยินดีสิ่งใดด้วยกามฉันทะ
ย่อมถือเอาซึ่งสิ่งนั้น ด้วยการถือเอาด้วยตัณหา ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลนั้น ถูกเขากล่าวคำ�หยาบก็ดี ถูกเขาจับไปก็ดี ถูกเขาประหารก็ดี ย่อมอดทนทุกอย่าง
เพราะว่ากามฉันทะนั้น มีการอดกลั้นเป็นเหตุ ดุจความพอใจในกามของหญิงทั้งหลายที่ถูกสามีใน
เรือนฆ่า เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบกามฉันทะ ราวกะความเป็นหนี้ อย่างนี้.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๒๒๗
๒.๑๔ ภาชนะใส่น้ำ�อันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำ�นั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด
254

บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็น


เครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๒๔
๒.๑๕ ร่างกายของชายที่อาบน้ำ�สะอาดแล้ว ลูบไล้และตกแต่งดีแล้ว แต่มีฝุ่นที่ละเอียด
ตกลงที่ร่างกาย จะมีสีคล้ำ�ปราศจากความงาม ทำ�ให้หม่นหมอง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรทั้ง
หลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มาแล้วโดยทางอากาศ เหาะได้ด้วยกำ�ลังฤทธิ์ ปรากฏแล้วในโลก
เหมือนพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ก็มีสีมัวหมองปราศจากความงาม เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว เริ่มแต่
เวลาที่ธุลี คือ กามตกลงไปในภายในครั้งเดียว เพราะคุณความดี คือ สี... คือ ความงามและ... คือ
ความบริสุทธิ์ถูกขจัดแล้ว
อนึ่ง คนทั้งหลายแม้จะสะอาดดีแล้ว ก็จะมีสีดำ�เหมือนฝาเรือน เริ่มต้นแต่เวลาถูกควันรม
ฉันใด
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีญาณบริสุทธิ์เหลือเกิน ก็จะ
ปรากฏเป็นเหมือนคนผิวดำ� ท่ามกลางมหาชนทีเดียว เพราะถึงความพินาศแห่งคุณความดี เริ่มต้น
แต่เวลาที่ถูกควัน คือ กามารมณ์.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๔
๒.๑๖ ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้ด้วยตนเอง ฉันใด
ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่ม คือ กามกิเลส ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๓๕
๒.๑๗ โปรดอย่าหมุนไปหมุนมาเพราะกามทั้งหลาย ดุจสุนัขถูกล่ามโซ่เลย เพราะกาม
ทั้งหลาย จักทำ�ผู้นั้นให้เป็นเหมือนคนจัณฑาลหิวจัด ได้สุนัขก็ทำ�ให้พินาศได้.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๙๑
๒.๑๘ สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำ�ด้วยเหล็กแทงบ้าง... ทำ�ด้วยกระดูกแทงบ้าง... ทำ�ด้วยงาแทง
บ้าง... ทำ�ด้วยเขาแทงแล้วบ้าง... ทำ�ด้วยไม้แทงบ้าง ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด
เจ็บกายเจ็บใจ ฉันใด
ความโศก คร่ำ�ครวญ เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะวัตถุกามทั้งหลาย
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
สัตว์นั้นถูกลูกศร คือ กามแทงแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย
เจ็บใจ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๖
255

๒.๑๙ ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อ ย่อมกลืนเบ็ดที่คดซึ่งปกปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ


มันย่อมไม่รู้จักความตายของมัน ฉันใด
ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรงปรารถนากาม ย่อมไม่ทรงทราบพระธิดาของพระเจ้าจุลนี
เหมือนปลาไม่รู้จักความตายของตน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๓/๓๐๕
๒.๒๐ กามเหล่านั้นแม้ทุกอย่าง ชื่อว่าว่างเปล่า เพราะไม่เป็นแก่นสาร ชื่อว่ามีรสอร่อย
น้อย เหมือนหยดน้ำ�ที่คมมีด.
ขุ.เถรี. (อรรถ) มก. ๕๔/๕๑๐
๒.๒๑ หัวฝีหลั่งของไม่สะอาด คือ กิเลสออกมา บวมขึ้น แก่จัด และแตกออกเพราะฉะนั้น
กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่าดุจหัวฝี เพราะหลั่งของไม่สะอาด คือ กิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวม
ขึ้น แก่จัด และแตกออก โดยการเกิดขึ้น การคร่ำ�คร่า และแตกพังไป.
ขุ.อป. (อรรถ) มก. ๗๐/๓๔๑
๒.๒๒ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้
ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓
๒.๒๓ มนุษย์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป ด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง
ยานแกะบ้าง ยานแพะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป
เพราะกามตัณหา ฉันนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๕
๒.๒๔ นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นเครื่องประทุษร้าย.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๑
๒.๒๕ ความกำ�หนัดเมื่อจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้น เหมือนกำ�ลังทำ�เครื่องหมายสำ�หรับจำ�ไว้ว่า
บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีความกำ�หนัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่าเป็นเครื่องทำ�เป็นเครื่องหมาย เหมือนลูกวัว
๒ ตัวที่เหมือนกันของ ๒ ตระกูล ตราบเท่าที่ยังไม่ทำ�เครื่องหมายแก่ลูกวัวทั้ง ๒ ตัวนั้น ก็ย่อมไม่มี
ที่สามารถรู้ได้ว่า นี้เป็นลูกวัวของตระกูลโน้น แต่เมื่อใดเอาเหล็กแหลมที่ปลายหอก เป็นต้น มาทำ�
เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีผู้สามารถรู้ได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในความดุร้ายและ
ความหลง ก็มีทำ�นองอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๓๒๒
256

๒.๒๖ สัตว์กำ�หนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมงมุมตกไปยังใยที่ตัว


ทำ�ไว้เอง ฉะนัน้ ธีรชนทัง้ หลายตัดกระแสตัณหาแม้นน้ั แล้ว เป็นผูห้ มดห่วงใย และเว้นทุกข์ทง้ั ปวงไป.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๖๘
๒.๒๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมาโทษของกามว่า เปรียบเหมือนสุนัข ซึ่งอ่อนเพลีย
เพราะความหิวเบียดเบียน เข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต
นายโคฆาตผู้ฉลาด โยนกระดูกที่เชือดชำ�แหละเนื้อออกหมด เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข
สุนัขนั้นแทะกระดูกเปื้อนแต่เลือด จะบำ�บัดความเพลียเพราะหิวได้บ้างหรือ กามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก กามนี้มีโทษอย่างยิ่ง อุปมาเหมือนบุรุษถือคบเพลิง
หญ้าที่ไฟติดทั่ว แล้วเดินทวนลมไป ไฟย่อมติดหญ้า แล้วไหม้มือ บุรุษนั้น.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๘๑

๓. โทษของการครองเรือน
๓.๑ หน่อไม้มียอดอันงอกงาม เจริญด้วยกิ่งก้านโดยรอบ ย่อมเป็นของบุคคลขุดขึ้นได้
โดยยาก ฉันใด เมื่อโยมมารดานำ�ภรรยามาให้ฉันแล้ว ถ้าฉันมีบุตรหรือธิดาขึ้น ก็ยากที่จะถอนตน
ออกบวชได้ ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๓๕๙
๓.๒ บุคคลข้องอยู่แล้วด้วยความเยื่อใยในบุตร และภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวก่ายกัน
ฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๖๔
๓.๓ เพราะโลกสันนิวาสทั้งหมดมีภัยเฉพาะหน้าดุจถูกไฟไหม้ ผูกมัดดุจเรือนจำ� ปรากฏเป็น
ของน่าเกลียดดุจที่เทขยะ.
ขุ.จ. (โพธิ) มก. ๗๔/๔๑๓
๓.๔ เครื่องจองจำ�ใดเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย
หากล่าวเครื่องจองจำ�นั้นว่า เป็นของมั่นคงไม่ ความกำ�หนัดใดของชนทั้งหลายผู้กำ�หนัดยินดียิ่งนัก
ในแก้วมณี และตุ้มหูทั้งหลาย และเยื่อใยในบุตรและในภรรยาทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
ความกำ�หนัด และความเยื่อใยนั้นว่ามั่นคง.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๖๘
๓.๕ เมื่อไรหนอ เราจึงจักตัดความผูกพันในเรือน ดุจช้างใหญ่ตัดเครื่องผูกทำ�ด้วยเหล็กได้
ฉะนั้น แล้วเข้าป่าด้วยการออกจากเรือน.
ขุ.จริยา. (โพธิ) มก. ๗๔/๔๓๑
257

๓.๖ ภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตรของเรานั้น ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจ


บ่วงมัจจุราชดักไว้.
ขุ.เถร (เถระ) มก. ๕๒/๔๖
๓.๗ มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูกและสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
ไป เหมือนห้วงน้ำ�ใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลอยู่ไป ฉะนั้น.
อัง.เอก. (พุทธ) มก. ๓๓/๕๓
๓.๘ มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตร และปศุสัตว์ ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือน
ห้วงน้ำ�ใหญ่พัดเอาชาวบ้านผู้หลับไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑๓๗
๓.๙ ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เพราะไม่มีโอกาสจะทำ�กุศลความดีได้ตามสบาย ชื่อว่า เป็น
ทางมาแห่งธุลี เพราะเป็นที่รวมของธุลี คือ กิเลส ดุจกองหยากเยื่อไม่ได้ปิดไว้ บรรพชา ชื่อว่า
เป็นที่แจ้ง เพราะมีโอกาสทำ�กุศลความดีได้ตามสบาย.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๕๒๒
๓.๑๐ คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร คนมีโคก็ย่อมเศร้าโศกเพราะโค ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปธิทั้งหลายนั่นแล เป็นเหตุเศร้าโศกของนรชน เพราะคนที่ไม่มีอุปธิหาเศร้าโศกไม่.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๔
๓.๑๑ บุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้
บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วทำ�ไม่ได้ง่าย.
วิ.ม. (ทั่วไป) มก. ๗/๕
๓.๑๒ เทวดาทูลถามพระผู้พระภาคเจ้าว่า อะไรคือกระท่อม อะไรคือรัง อะไรคือผู้สืบสกุล
อะไรคือเครื่องผูก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กระท่อมคือมารดา รังคือภรรยา ผู้สืบสกุลคือบุตร เครื่องผูก
คือตัณหา.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๙๗
๓.๑๓ นักปราชญ์ทั้งหลายไม่กล่าวว่า เครื่องจองจำ�ที่ทำ�ด้วยเหล็ก ทำ�ด้วยไม้ และทำ�ด้วย
หญ้าเป็นเครื่องจองจำ�ที่มั่น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ความรักใคร่ในแก้วมณี และกุณฑล
ความอาลัยในบุตร และภรรยาทั้งหลายว่า เป็นเครื่องจองจำ�ที่มั่นคง เป็นเครื่องจองจำ�ที่หย่อน แต่
แก้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำ�เช่นนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๔๔๘
258

๔. โทษของหญิง
๔.๑ ในร่างกายของเธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้ เหมือนนางปีศาจ
มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออกเนืองนิตย์.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๔.๒ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่ม
ผู้ชอบสะอาดหลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๔.๓ ภัยคือปลาฉลาม นี้เป็นชื่อของมาตุคาม.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๓๒๔
๔.๔ บุคคลพึงพูดกับบุคคลผู้มีดาบในมือ กับปีศาจ นั่งชิดกับอสรพิษ ผู้ที่ถูกคนมีดาบ
ปีศาจ อสรพิษกัดแล้วย่อมไม่มีชีวิต ภิกษุพูดกับมาตุคามสองต่อสอง ก็ไม่มีชีวิตเหมือนกัน.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๔๒๘
๔.๕ หญิงย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือนเถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลายย่อม
ติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยาก
เยื่อก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตามชาย
เช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๕๓๐
๔.๖ หญิงทั้งหลายย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รัก ทั้งที่ไม่รัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้ และฝั่งโน้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๒๙
๔.๗ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายในโลก มีอุปมาเหมือนแม่น้ำ� หนทาง โรงน้ำ�ดื่ม ที่ประชุม และ
บ่อน้ำ� บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ถือโกรธหญิงเหล่านั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๖/๑๔๒
๔.๘ หญิงทั้งหลาย บุรุษไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ด้วยถ้อยคำ�อันอ่อนหวาน ยากที่จะให้เต็ม
ได้ เปรียบเสมอด้วยแม่น้ำ�... บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเหล่านี้ ย่อม
เข้าไปคบหาบุรุษใด เพราะความรักใคร่ก็ตาม เพราะทรัพย์ก็ตาม ย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน
เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเอง ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๑๐๔
๔.๙ ขึน้ ชือ่ ว่าหญิงในโลกนีเ้ ลวทราม เพราะหญิงเหล่านัน้ ไม่มเี ขตแดน มีแต่ความกำ�หนัดยินดี
คึกคะนองไม่มเี ลือก เหมือนไฟทีไ่ หม้ไม่เลือกฉะนัน้ เราจักละทิง้ หญิงเหล่านัน้ ไปบวชเพิม่ พูนวิเวก.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๖/๑๑๐
259

๔.๑๐ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไป


ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำ�ลังหมุน
เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวังเห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาไว้ เมื่อนั้นก็ใช้วาจาอ่อน
หวานชักนำ�บุรุษไปได้ เหมือนชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น
เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้ง
บุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคน
เดียว หรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำ�คัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่า ของเรา
ก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ� หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ� ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๙๖
๔.๑๑ ผู้หญิงทั้งหลายเป็นผู้มีมารยา... หลอกลวง เปรียบเหมือนพยับแดด.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๗๑
๔.๑๒ ภาวะของหญิงทั้งหลายรู้ได้ยาก เหมือนทางไปของปลาในน้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๓๒
๔.๑๓ ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระเจ้าแผ่นดินผู้ได้มูรธาภิเษก ๑ หญิงทุกคน ๑
ทั้ง ๕ นี้ ควรคบด้วยความระมัดระวังเป็นนิตย์ เพราะว่าสิ่งทั้ง ๕ นี้มีอัธยาศัยที่รู้ได้ยาก.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๐/๑๐๗
๔.๑๔ หญิงทั้งหลายเปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็ง
เหมือนแม่น้ำ�มีกระแสเชี่ยว ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่น่ารัก ทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้
และฝั่งโน้น ฉะนั้น.
ขุชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๕๙๖
๔.๑๕ ชนผู้ตกอยู่ในอำ�นาจของมาตุคาม ถึงมีกำ�ลังก็เป็นผู้หมดกำ�ลัง แม้มีเรี่ยวแรงก็เสื่อม
ถอย มีตาก็เป็นคนตาบอด. ชนผู้ตกอยู่ในอำ�นาจของมาตุคาม ถึงมีคุณความดีก็หมดคุณความดี แม้
มีปัญญาก็เสื่อมถอย เป็นผู้ประมาท ติดพันอยู่ในบ่วง มาตุคามย่อมปล้นเอาการศึกษาเล่าเรียน
ตบะ ศีล สัจจะ จาคะ สติ และความรู้ของคนผู้ประมาท เหมือนพวกโจรคอยดักทำ�ร้ายในหนทาง
ย่อมทำ �ยศ เกียรติ ฐิติ ความทรงจำ � ความกล้าหาญ ความเป็นพหูสูต และความรู้ของคน
ผู้ประมาทให้เสื่อมไป เหมือนไฟผู้ชำ�ระ ทำ�กองฟืนให้หมดไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๑๐๖
๔.๑๖ เราเห็นหญิงแพศยาคนนั้น ผู้ตกแต่งร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่อันงามดี มาทำ�อัญชลี
อ้อนวอนเรา เหมือนกับบ่วงมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๒๔๐
260

๔.๑๗ พระจันทร์มีกำ�ลัง พระอาทิตย์มีกำ�ลัง สมณพราหมณ์มีกำ�ลัง ฝั่งแห่งสมุทรมีกำ�ลัง


หญิงมีกำ�ลังยิ่งกว่ากำ�ลังทั้งหลาย.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๖๙๒
๔.๑๘ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์
ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวก
โจรผู้ลักทรัพย์กำ�จัดได้ง่าย
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้น
ไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๙/๔๔๗
๔.๑๙ หญิงทั้งหลายย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดได้ทั้ง
ฝั่งโน้น และฝั่งนี้ ไม่ควรวิสาสะในหญิงที่กระทำ�ความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีล ไม่สำ�รวม ถึงแม้ภรรยา
จะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควรวางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ� อย่าพึง
กระทำ�ความสิเน่หาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่สำ�รวม ผู้เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ�
คำ�เท็จของหญิงเหมือนคำ�จริง คำ�จริงของหญิงเหมือนคำ�เท็จ.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๒/๕๒๙

๕. การละกามราคะ
๕.๑ บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อมแล้วรีบรักษา ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มี
สติเว้นรอบ เพื่อละความกำ�หนัดยินดีในกาม ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๒๒๘
๕.๒ ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามารมณ์เสีย เหมือนบุคคลรีบถอน
หอกออกจากตน และเหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตน ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๕
๕.๓ เมื่อเอาผักดองเจือน้ำ�ขึ้นตั้งเคี่ยวบนเตา เมื่อน้ำ�ยังมีอยู่ น้ำ�นั้นย่อมเดือดพล่าน แต่
เมื่อหมดน้ำ� ย่อมสงบนิ่ง ฉันใด กามราคะในสันดานของท่านสงบแล้ว ท่านจงทำ�กิเลสแม้ที่เหลือ
อยู่ให้สงบแล้ว พักผ่อนให้สบายเถิด ฉันนั้น.
ขุ.เถรี. (อรรถ) มก. ๕๔/๑๐
๕.๔ ช่างทำ�รองเท้าหนังเลีย้ งชีพ เมือ่ ประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่สว่ น
261

ทีด่ ๆี มาทำ�รองเท้าขายได้ราคาแล้วย่อมมีความสุข เราก็ฉนั นัน้ เหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว


ละทิง้ ส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทัง้ ปวง ก็พงึ ละกามทัง้ ปวงเสีย.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๐/๑๕๔
๕.๕ บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม
เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ�.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๓๖
๕.๖ เราเรียกบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำ�ไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ด
พันธุ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๔๑๙
๕.๗ เมื่อภิกษุนั้นละกามฉันทะได้อย่างนี้ ย่อมไม่กลัว ไม่สะดุ้ง เหมือนบุรุษผู้ปลดหนี้แล้ว
เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง ฉันใด ย่อมไม่มีความเกี่ยวข้อง ไม่มีความผูกพันในวัตถุ
ของผู้อื่น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๔๖๐
๕.๘ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล
วิดน้ำ�ในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๒๗
๕.๙ บุรุษผู้มีกำ�ลัง ช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ ผู้จมอยู่ในเปือกตมขึ้นได้ ฉันใด เธอก็ช่วยพยุง
ฉันให้ขึ้นจากกามได้ ด้วยคาถาอันเป็นสุภาษิต ฉันนั้นแล.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๒๔๓
๕.๑๐ ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ� อันน้ำ� และเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้
กล่าวความสงบไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๘๒๘
๕.๑๑ พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มา
แล้วในที่นั้นให้หนีไป เหมือนลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๘๑
๕.๑๒ ในโลกนี้มีทางออกไปจากทุกข์ได้ เรารู้ชัดดีแล้วด้วยปัญญา ดูก่อน มารผู้มีบาปซึ่ง
เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ท่านไม่รู้จักทางนั้น กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอก และหลาว กองกาม
ทั้งหลายนั้น ประหนึ่งว่ามีฝีร้าย เราไม่ใยดีถึงความยินดีในกามที่ท่านกล่าวถึงนั้น.
สัง.ส. (เถรี) มก. ๒๕/๘๖
262

๕.๑๓ ราคะนั้น ข้าพเจ้ายกออกแล้ว เหมือนเอาเชื้อไฟออกจากหลุมถ่านไฟ เหมือนเอา


ภาชนะใส่ยาพิษออกจากไฟ.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๓๖
๕.๑๔ อุเบกขาอาศัยกามคุณเกิดขึ้นแล้ว เมื่อล่วงรูป เป็นต้น ไปไม่ได้ เหมือนแมลงวัน
หัวเขียวล่วงเลยน้ำ�อ้อยไปไม่ได้ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๙/๕๖
๕.๑๕ เวลาที่ข่มราคะไว้ได้ด้วยอสุภกัมมัฏฐานแล้ว เริ่มทำ�วิปัสสนาอีก เปรียบเหมือนการ
วางเคียว ถือไม้ไล่โคออกไปตามทางที่เข้ามานั้นแล ทำ�รั้วให้กลับเป็นปกติแล้ว จึงเกี่ยวข้าวสาลีอีก.
อัง.นวก. (อรรถ) มก. ๓๗/๗๐๑
๕.๑๖ จิตนี้อันภิกษุผู้ปรารภความเพียรยกขึ้นจากอาลัย คือ กามคุณ ๕ แล้วซัดไปใน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากที่อยู่ คือน้ำ� แล้ว
โยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓๘๗
๕.๑๗ การแสวงหากาม เป็นต้น เพื่อตน จักไม่มีแก่ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยสุข เป็นต้น เหมือน
ปลิงที่อิ่มแล้ว เพราะดื่มไว้เต็มที่ ไม่มีการกระหายเลือด.
ขุ.อุ. (อรรถ) มก. ๔๔/๓๖๘
๕.๑๘ กามอันเป็นของมนุษย์ เมื่อเทียบกับสำ�นักของกามอันเป็นทิพย์ ก็เหมือนกับเอาน้ำ�ที่
ปลายหญ้าคา สลัดลงในสมุทร ฉะนั้น.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๒๐/๕๐๘
๕.๑๙ พระขีณาสพทั้งหลายไม่ยินดีในกามสุข เหมือนหยาดน้ำ�หยดลงใบบัว ย่อมไม่ติดไม่ตั้ง
อยู่กลิ้งตกไป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๔๖๘
๕.๒๐ พระบรมศาสดาตรัสแก่อัคคิเวสสนะเรื่อง อุปมา ๓ ข้อ ไว้ว่า
๑. ไม้สดชุ่มยาง แช่น้ำ� เอามาทำ�ไม้สีไฟ สีไฟไม่ติด อุปมาดั่งสมณพราหมณ์ยังมิได้หลีกออก
จากกาม พอใจในกาม ย่อมไม่ควรเพื่อการตรัสรู้ธรรม
๒. ไม้สดชุ่มยาง วางไว้บนบกไกลจากน้ำ� เอามาทำ�ไม้สีไฟ สีไฟไม่ติด อุปมาดั่งสมณ
พราหมณ์หลีกออกจากกามแต่ทางกาย แต่ยังมีความพอใจในกาม ย่อมไม่ควรเพื่อการตรัสรู้ธรรม
๓. ไม้ที่แห้งสนิท วางไว้บนบกไกลจากน้ำ� เอามาทำ�ไม้สีไฟ สีไฟติด อุปมาดั่งสมณพราหมณ์
หลีกออกจากกาม ละความพอใจในกาม ย่อมควรเพื่อการตรัสรู้ธรรม.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๑๗
263

๕.๒๑ หญิงทั้งหลายในโลก ย่อมย่ำ�ยีบุรุษผู้ประมาทแล้ว หญิงเหล่านั้นย่อมจูงจิตของบุรุษ


ไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไม้ไป ฉันนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเหวของพรหมจรรย์.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๒๔๕

๖. พิจารณาร่างกาย
๖.๑ อนึ่งกายนี้ ไม่ใช่เกิดที่กลีบบัวหลวงเลย ไม่ใช่เกิดที่กลีบบัวเขียว และดอกบัวขาบ
เป็นต้น แต่เกิดที่ระหว่างท่ออาหารใหม่ และท่ออาหารเก่า คือ ในโอกาสที่มืดมนเหลือหลาย ที่เป็น
ที่ท่องเที่ยวไปในป่าที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง เหมือนหนอนที่เกิดในปลาเน่า.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๙๕
๖.๒ กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาด กลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนังบรรจุ
ซากศพ เต็มด้วยของไม่สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์ อันคนเขลายึดถืออยู่.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๘๕
๖.๓ บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอแล้วไป อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำ�พัง
ตนได้ ฉันใด คนก็ควรละทิ้งร่างกายเน่าที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มี
ความต้องการอะไร ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๕/๙
๖.๔ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมจับงูอันเปื้อนคูถมีพิษมาก เป็นผู้เพลิดเพลินงูในโลก ชื่อว่า
จับเอาภาวะที่ไม่ปรารถนาทั้ง ๕ คือ ของเหม็น ของไม่สะอาด พยาธิ ชรา มรณะเป็นที่ ๕ ภาวะที่
ไม่น่าปรารถนา ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในงูที่เปื้อนคูถ ปุถุชนผู้บอด และเขลาไม่ฉลาด ก็อย่างนั้น
เหมือนกัน เป็นผู้เพลิดเพลินความเกิดในภพ ชื่อว่าจับอนัตถะภาวะที่ไม่น่าปรารถนา คือ ของเหม็น
ของไม่สะอาด พยาธิ ชรา มรณะเป็นที่ ๕ ภาวะที่ไม่น่าปรารถนา ๕ เหล่านี้ มีอยู่ในกายอันเป็นดังงู
ที่เปื้อนคูถ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๓๘๑
๖.๕ เจ้าของละทิ้งเรือที่เก่าคร่ำ�คร่าผุพัง น้ำ�รั่วเข้าไปได้ ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการ
อะไร ฉันใด เราจักละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็นนิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๑๐
264

๖.๖ ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระ ทิ้งไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความ


ต้องการอะไร ฉันใด เราจะละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดไป เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้ว
ละทิ้งส้วมไป ฉะนั้น.
ขุ.อป. โพธิ) มก. ๗๐/๑๙
๖.๗ แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ความพอใจในเมถุน ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะ
ถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๘๐๑
๖.๘ กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่า ฉันใด แม้น้ำ�มูตรที่ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่า
น้ำ�มูตรเน่า ฉันนั้น.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๘๔
๖.๙ กระดูกเหล่านี้ อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาดดุจน้ำ�เต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
ความยินดีอะไรเล่าจักมี เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๑๔๑
๖.๑๐ คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่
๔ แยก ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่
ตั้งอยู่ ตามที่ดำ�รงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ� ธาตุไฟ ธาตุลม.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๘๘
๖.๑๑ ไม่ช้าร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ อันหมู่ญาติผู้เกลียดทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขา
ก็พากันนำ�ไปป่าช้า.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๔๘๕
๖.๑๒ สรีระนี้นั้นอันช่างผู้ฉลาด คือ ศิลปาจารย์ผู้ฉลาดในหมู่ชนกระทำ�ไว้เกลี้ยงเกลา
วิจิตรงดงาม ประพรมด้วยน้ำ�ครั่ง เป็นต้น แต่ภายในเต็มด้วยของไม่สะอาดมีคูถ เป็นต้น เป็นดุจ
สมุก (ถ่านทำ�จากใบตองแห้งป่นให้เป็นผลประสมกับรักน้�ำ เกลี้ยง สำ�หรับทารองพื้นก่อนเขียนลาย
รดน้ำ�ปิดทอง) น่ารื่นรมย์ใจแต่เพียงผิว เป็นที่ลุ่มหลงแห่งพาลชน.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๓๐
265

๖.๑๓ จงมาดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล อันคุ้มกันอยู่แล้ว กระสับกระส่าย เป็นที่ดำ�ริ


ของชนเป็นอันมาก ไม่ยั่งยืนมั่นคง
จงมาดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณี และกุณฑล มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้ งามพร้อมด้วยผ้า
ของหญิง เท้าที่ย้อมด้วยสีแดงสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคน
ผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้
ผมที่แต่งให้เป็นแปดลอนงาม ตาเยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอก
คนผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้
กายเน่าอันประดับด้วยเครื่องอลังการ ประดุจทนานยาหยอดอันใหม่วิจิตร พอจะหลอก
คนโง่ให้หลงได้แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้
ท่านเป็นดังพรานเนื้อวางบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วงเมื่อพรานเนื้อกำ�ลังคร่ำ�ครวญอยู่ เรากิน
แต่อาหารแล้วก็ไป.
ม.ม. (เถระ) มก. ๒๑/๓๔
๖.๑๔ ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้อันตระการ ดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หา
ข้องอยู่ไม่.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๒๗
๖.๑๕ คนบางจำ�พวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้ เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (ทั่วไป) มก. ๕๓/๔๓๓
๖.๑๖ เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนา
เบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๓๓๓
๖.๑๗ บุรษุ ไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยทีจ่ ะเกิดจากการตัดห่อของจึงทิง้ แล้วไปเสีย
ฉันใด กายนีเ้ ปรียบเหมือนมหาโจร เราจักละทิง้ กายนีไ้ ป เพราะกลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนัน้ เหมือนกัน.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๑๐
๖.๑๘ ขนย่อมไม่รู้ว่าเกิดที่หนังแห่งสรีระ แม้หนังแห่งสรีระก็ไม่รู้ว่าขนเกิดที่เรา เปรียบ
เหมือนหญ้าทัพพะอันเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า ย่อมไม่รู้ว่า เราเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า แม้สถานที่
บ้านเก่าก็ไม่รู้ว่าหญ้าทัพพะเกิดที่เรา ฉะนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๕๕
266

๖.๑๙ ผู้มีเล็บครบก็มี ๒๐ เล็บ เล็บเหล่านั้นทั้งหมดโดยวรรณะมีสีขาวในโอกาสที่พ้นเนื้อ


มีสีแดงในโอกาสที่ติดกับเนื้อ
โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาสตามที่ตั้งอยู่ โดยมากมีสัณฐานเหมือนเมล็ดมะซาง
หรือมีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา
โดยทิศ ตั้งอยู่ในทิศทั้งสอง โดยโอกาสตั้งอยู่ปลายนิ้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๕๕
๖.๒๐ เธอจงถอนเสียซึ่งความเยื่อใยของตน เหมือนบุคคลเอามือถอนกอโกมุทในสารทกาล
ฉะนั้น เธอจงพอกพูนทางอันสงบ ด้วยว่าพระนิพพานอันพระสุคตแสดงไว้แล้ว.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๕๗
๖.๒๑ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่องเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่ม
ผู้ชอบสะอาด หลีกเลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกล ฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระของเธอเช่นเดียวกับ
ฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหนีเธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาด เห็นหลุมคูถในฤดูฝนแล้ว
หลีกเลี่ยงไปเสียห่างไกล ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓
๖.๒๒ ฝีที่เกิดขึ้นมาได้หลายปี ฝีนั้นพึงมีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะพึง
ไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งพึง
ไหลเข้า สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจทั้งนั้น
คำ�ว่าฝีนี้แล เป็นชื่อของกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด
เจริญขึ้นด้วยข้าวสุก และขนมสุก มีความกระจัดกระจายเป็นธรรมดา กายนั้น มีปากแผลที่ยัง
ไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งยิ่งไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
น่ารังเกียจทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงเบื่อหน่ายในกายนี้.
อัง.นวก. (พุทธ) มก. ๓๗/๗๖๕
๖.๒๓ เมื่อครั้งที่พระนางสุเมธาจะออกบวช ไม่ยอมเข้าพิธีวิวาหะ พระนางกล่าวกับ
พระชนก และพระชนนีมีใจความตอนหนึ่งว่า กายนี้เน่าเปื่อย มีกลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว
ดุจถุงหนังบรรจุซากศพที่คนเขลายึดถืออยู่ ลูกรู้จักซากศพนั้นว่าเป็นของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อ และ
เลือดเป็นที่อยู่ของหนอน ทำ�ไมทูลกระหม่อมจึงพระราชทานซากศพแก่พระราชาอีกเล่า.
ขุ.ชา. (เถรี) มก. ๕๔/๕๐๐
๖.๒๔ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ร่างกายเป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลายหรือ
เหตุใดบรรพชิตจึงต้องอาบน้ำ�ชำ�ระร่างกาย ยังถือว่าร่างกายเป็นของเราอยู่หรือ
267

พระนาคเสนทูลตอบว่า ร่างกายไม่ได้เป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลาย แต่บรรพชิตทั้งหลาย


รักษาร่างกายไว้ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อันว่ากายนี้เปรียบเหมือนแผล บรรพชิตรักษา
ร่างกายนี้ไว้เสมือนกับบุคคลรักษาแผล.
มิลิน. ๑๑๕

๗. อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ
๗.๑ ธรรมดาแมวเวลาไปที่ถ้ำ� ที่ซอก ที่รู ที่โพรง หรือที่ระหว่างถ้ำ�ก็ดี ก็แสวงหาแต่หนู
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้ไปอยู่ที่บ้านที่ป่า ที่โคนต้นไม้ ที่แจ้ง ที่ว่าง บ้านเรือนก็ไม่ควร
ประมาท ควรแสวงหาโภชนะ คือ กายคตาสติ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๔
๗.๒ ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้
อารมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำ�เร็จด้วยไม้แก่นล้วน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำ�คัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้ช่องบนแผ่น
กระดานเรียบอันสำ�เร็จด้วยไม้แก่นล้วนจากกลุ่มด้ายเบาๆ นั้น บ้างไหม.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๙๕
๗.๓ ผู้เจริญกายคตาสติเหมือนสารถีขับรถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชา
ไนยเขาเทียมม้าแล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้งสอง จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔
แยก นายสารถีผู้ฝึกม้าเป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับ
แส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ�ให้มาก
แล้ว เธอย่อมน้อมจิตไปในธรรมใดๆ ที่ควรทำ�ให้แจ้งด้วยอภิญญา จะถึงความเป็นผู้สามารถใน
ธรรมนั้นๆ นั่นแหละ เพราะการกระทำ�ให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๙๗
๗.๔ เปรียบเหมือนมหาชนมาประชุมกันมากมาย เพราะทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบท
ขับร้องฟ้อนรำ�ได้ดยี ง่ิ จะมาแสดงให้ดู แล้วบัณฑิตผูห้ นึง่ ได้บอกมหาชนเหล่านัน้ ว่า ให้ทา่ นนำ�ภาชนะ
น้�ำ มันอันเต็มเปีย่ ม ไปวางไว้ในทีเ่ ขาประชุมกัน โดยจะมีบรุ ษุ กำ�ลังเงือ้ ดาบ ตามท่านไปข้างหลังและ
สัง่ ว่าห้ามทำ�น้�ำ มันนัน้ หก ถ้าทำ�หกแม้หน่อยหนึง่ จะตัดศีรษะของท่านให้ขาดกระเด็นในทันที
268

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำ�ว่าภาชนะน้ำ�มันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนี้


เธอพึงศึกษาว่า กายคตาสติเป็นของอันเราเจริญแล้ว กระทำ�ให้มากแล้ว กระทำ�ไม่หยุด สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๔๕๖

๘. เหตุออกบวช
๘.๑ บุรุษอยู่ในเรือนจำ�มานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่เกิดความรักในเรือนจำ�นั้น แสวงหาทาง
พ้นอย่างเดียว ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ� มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจาก
ภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๑
๘.๒ ในกามนี้ยิ่งมีโทษ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายเห็นโทษนั้นอยู่ จึงทอดทิ้งราชสมบัติ ไม่อาลัย
ไยดี เหมือนบุรุษจมหลุมคูถแล้วละทิ้งไม่อาลัย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๙/๓๙๓
๘.๓ เราเห็นภพทั้งหมดมีกามภพ เป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็น
ช้างดุแล่นมา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อมดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็นสีหะ ยักษ์ รากษส สัตว์มีพิษร้าย
อสรพิษ และถ่านเพลิงที่ร้อน แล้วยินดีในบรรพชา เพื่อพ้นจากนั้น.
ขุ.จริยา. (โพธิ) มก. ๗๔/๔๑๔

๙. การออกบวช
๙.๑ ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลาง มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ
ออกบวชแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.อป. (ปัจเจก) มก. ๗๐/๒๔๒
๙.๒ หญ้ามุงกระต่ายที่เราถอนติดมือมา ไม่อาจสืบต่อในกอเดิมได้อีก ฉันใด ความอยู่ร่วม
กันกับเธอของอาตมา ก็ไม่อาจสืบต่อกันได้อีก ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕๓
๙.๓ ท่านเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำ�ลัง เป็นราชาของหมู่เนื้อ มี
ปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำ� พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.อป. (ปัจเจก) มก. ๗๐/๒๔๔
269

๙.๔ พระเจ้าเอสุการีมหาราช ผู้เป็นอธิบดีในทิศทางภาษิตคาถานี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ


ออกบรรพชา อุปมาดังนาคหัตถีตัวประเสริฐ สลัดตัดเครื่องผูกไปได้ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๖๑/๒๔๓
๙.๕ ธรรมดาโคย่อมลากแอกที่เทียมอยู่ไปด้วยความสุขและความทุกข์ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต แม้จะทุกข์สุขเพียงใดก็ตาม
ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๗
๙.๖ คุณเครื่องเป็นสมณะ (พรหมจรรย์) ที่บุคคลจับต้องไม่ดี ย่อมคร่าไปนรก เหมือนหญ้า
คาที่บุคคลจับไม่แน่นแล้วดึงมา ย่อมบาดมือนั่นแหละ ฉะนั้น.
อัง.ทุก. (อรรถ) มก. ๓๓/๒๐๒
๙.๗ ดูมงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม ข้อ ๗.๑๙ – ๗.๓๒

๑๐. อานิสงส์ของการละกาม ออกบวช


๑๐.๑ ภิกษุใดตัดราคะได้ขาดพร้อมทั้งอนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลตัดดอกปทุมซึ่ง
งอกขึ้นในสระ ฉะนั้น
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำ�คร่าแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๑
๑๐.๒ สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่า
นั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำ�ในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๓๒
๑๐.๓ ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้
ฉันนัน้ ฝนย่อมรัว่ รดเรือนทีม่ งุ ดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะย่อมเสียดแทงจิตทีอ่ บรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนัน้ .
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓
๑๐.๔ ผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำ�ไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติด
ข้องที่ปลายเหล็กแหลม.
ขุ.ธ. ( พุทธ) มก. ๔๑/๒๑๗
๑๐.๕ พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเพราะเสียงเหมือนสีหะ ไม่ติดข้องเหมือนลม ไม่ติดข้อง
ที่ตาข่าย เหมือนดอกบัวไม่ติดข้องด้วยน้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๗๓๑
270

๑๐.๖ คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย


ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่งหนีจากป่าไปสู่ป่า
จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๕๖
๑๐.๗ เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตามปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่ง
ความประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๖๕
๑๐.๘ มฤคในป่าอันเครื่องผูกอะไรมิได้ผูกไว้ ย่อมไปเพื่อหาอาหารตามความประสงค์
ฉันใด นรชนที่เป็นวิญญู เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ฉันนั้น.
ขุ.จู. (ปัจเจก) มก. ๖๗/๕๓๒
๑๐.๙ เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๙/๓๒๒
๑๐.๑๐ ภาชนะอันเต็มด้วยน้ำ�ซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตา
ดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ�นั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะไม่กลุ้มรุม อันกามราคะไม่ครอบงำ�อยู่ และย่อมรู้ชัดตาม
เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ย่อมเห็น
ตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ไม่
ทำ�การสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำ�การสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๔๑๗
๑๐.๑๑ ต้นไม้ต้นนั้นยืนต้นสง่างาม เหมือนภูเขาแก้วมณีโล้น เพราะตัวเองไม่มีผล ส่วน
มะม่วงต้นนี้ถึงความย่อยยับอย่างนี้เพราะออกผล แม้ท่ามกลางเรือนนี้ก็เช่นกันกับต้นมะม่วงที่ออก
ผล ส่วนการบรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์นั่นแหละมีภัย ส่วนผู้ไม่มีทรัพย์ไม่มีภัย
แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๓๔๘
271

๑๐.๑๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมา ๓ ข้อ แก่โพธิราชกุมารว่า


๑. กายและใจยังไม่หลีกออกจากกาม เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทิ้งอยู่ในน้ำ�
๒. มีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทิ้ง
อยู่บนบก
๓. กาย และใจหลีกออกจากกาม เปรียบเหมือนไม้แห้งทิ้งอยู่บนบก สมณะหรือพราหมณ์ที่
ปฏิบัติตนตาม (ข้อ ๓.) ย่อมควรเพื่อจะรู้ จะเห็น เพื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ธรรม.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๑/๑๐๙

๑๑. การลาสิกขา
๑๑.๑ บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานหมุนไป ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๗๐
๑๑.๒ ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็ นบั ณฑิ ต อธิ ษฐานความประพฤติ ผู้เดี ยว แม้ ภายหลัง
ประกอบเมถุนธรรมจักเศร้าหมองเหมือนคนโง่ ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๘๕
๑๑.๓ ภิกษุใด ลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นั่นเป็นมรณะของเธอ.
ขุ.เถร. (พุทธ) มก. ๕๒/๑๘๕
๑๑.๔ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า ศาสนาของพระตถาคตเป็นของใหญ่ เป็นของ
ประเสริฐ ไม่มีอะไรเปรียบ เป็นของไม่มีโทษ เมื่อคฤหัสถ์บรรพชาแล้วสำ�เร็จมรรคผลอย่างใด
อย่างหนึง่ จึงไม่ควรให้ลาสิกขา ควรให้บรรพชาต่อไป ปุถชุ นบรรพชาในพระพุทธศาสนาอันบริสทุ ธิ์
แล้วสึกออกมา คงจะมีผู้คิดว่า ศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสนาว่างเปล่า
เพราะพวกที่บวชแล้วสึกได้ จึงไม่สมควรให้ปุถุชนบรรพชา
พระนาคเสนทูลตอบเปรียบว่า มีสระใหญ่เปี่ยมด้วยน้ำ�ใสสะอาด บุรุษผู้หนึ่งเปื้อนด้วย
เหงื่อไคล ลงไปอาบน้ำ�แล้วไม่ขัดสีเหงื่อไคล ขึ้นมาจากสระก็ยังเปรอะเปื้อน ควรจะติเตียนบุรุษนั้น
หรือว่าติเตียนสระนั้น
อีกประการหนึ่ง มีบุรุษคนหนึ่งลงทุนขุดสระน้ำ�ไว้ แล้วประกาศห้ามพวกที่มีร่างกายเปรอะ
เปื้อนลงไปอาบ ให้ลงได้แต่ผู้มีร่างกายสะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น สระน้ำ�นั้นจะมีประโยชน์อะไรการ
บรรพชาก็เช่นกัน เป็นไปเพื่อละกิเลส อบรมให้เกิดความบริสุทธิ์สำ�หรับผู้ที่ยังมีอาสวะกิเลส.
มิลิน. ๓๑๖
272

๑๑.๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภิกษุว่า บุคคลกำ�ลังลงน้ำ�พึงหวังได้ภัย ๔ อย่าง เมื่อ


เทียบกับบุคคลบางคนในโลกที่ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย คือ
๑. ภัย คือ คลื่น เป็นชื่อของความคับใจด้วยความโกรธจากการถูกเตือน อบรม สั่งสอน
๒. ภัย คือ จระเข้ เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ปากท้อง
๓. ภัย คือ น้ำ�วน เป็นชื่อของกามคุณ ๕
๔. ภัย คือ ปลาร้าย เป็นของมาตุคาม.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๓๘๑
๑๑.๖ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่กลับถือเอากิเลสทั้งหลายซึ่งละแล้วอีก สิ่งนี้ละทิ้งไปแล้ว
เป็นเช่นกับก้อนเขฬะที่ถ่มไปแล้ว.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๔๓๗
273
๓๓ ม ง ค ล ที่

เห็นอริยสัจ
บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำ�ให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ปัจจุบันนี้
เหมือนอย่างแก้ว หรือหินที่ไม่ถูกเพชรเจาะเสียเลยย่อมไม่มี ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้กระทำ�ให้แจ้ง ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ฉันนั้น
นี้เรียกว่า บุคคลมีจิตเหมือนเพชร
275

๑. ภพ ๓
๑.๑ ภพทั้งหมดไม่เป็นที่พึ่งได้ มีโทษ ย่อมปรากฏดุจเรือนถูกไฟไหม้ ดุจข้าศึกเงื้อดาบฉะนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๕๑
๑.๒ ภพทั้ง ๓ ปรากฏดุจหลุมถ่านเพลิงที่เต็มด้วยถ่านเพลิงไม่มีเปลว.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๘/๕๘
๑.๓ เราเห็นภพทั้งหมดมีกามภพเป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็น
ช้างดุแล่นมา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็นสีหะ ยักษ์ รากษส สัตว์มีพิษร้าย
อสรพิษ และถ่านเพลิงที่ร้อน จึงยินดีในบรรพชา.
ขุ.จริยา (อรรถ) มก. ๗๔/๔๑๔
๑.๔ ภพแม้ทั้งสามได้ปรากฏแก่พระมหาสัตว์ดุจเรือนถูกไฟไหม้ และดุจอยู่ในหลุมถ่านเพลิง.
ขุ.จริยา (อรรถ) มก. ๗๔/๔๓๐

๒. วัฏสงสาร
๒.๑ หมู่สัตว์ถือจุติและปฏิสนธิบ่อยๆ อย่างนี้ คือ จากจุติถึงปฏิสนธิ จากปฏิสนธิถึงจุติ
ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปในภพทั้งหลาย ๓ ในกำ�เนิดทั้งหลาย ๔ ในคติทั้งหลาย ๕ ในวิญญาณฐิติ
276

ทั้งหลาย ๗ ในสัตตาวาสทั้งหลาย ๙ ดุจเรือนถูกลมซัดไปในมหาสมุทร และดุจโคที่ถูกเทียมใน


เครื่องยนต์.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๒๐๕
๒.๒ กระแสน้ำ�แห่งแม่น้ำ�คงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่าน
ทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออม
นุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำ�วนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่าน
ทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๘/๔๐๙
๒.๓ บุรุษตัดหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้วพึงกระทำ�ให้เป็น
มัดๆ ละ ๔ นิ้ววางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำ�ดับ
มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้พึงถึง
การหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าสงสารนี้กำ�หนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๐๖
๒.๔ บุรุษทำ�มหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเม็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่านี้เป็นบิดา
ของเรานี้เป็นบิดาของบิดาของเรา บิดาของบิดาแห่งบุรุษนี้ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนั้น พึงถึง
การหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำ�หนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๐๘
๒.๕ น้ำ�ตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า
ส่วนน้ำ�ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๑๐
๒.๖ น้ำ�นมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละมากกว่าน้ำ�
ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำ�หนดที่สุดเบื้องต้นเบื้อง
ปลายไม่ได้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๑๒
๒.๗ ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็น
แท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปี ต่อครั้ง
ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัป
หนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๑๔
277

๒.๘ นครที่ทำ�ด้วยเหล็กยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์


ผักกาด... บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้นโดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อ
หนึ่งเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็ว
กว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๑๖
๒.๙ สาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่าท่านเหล่านั้นพึง
ระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเรา
ผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำ�กาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปีๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไป
แล้วมีจำ�นวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้
๑๐๐,๐๐๐ กัป ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำ�หนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๑๗
๒.๑๐ แม่น้ำ�คงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระยะนี้
ไม่เป็นของง่ายที่จะกำ�หนดได้ว่า เหล่านี้เมล็ดเท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐
เม็ด
กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเม็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่า
นั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ที่สุด
เบื้องต้นไม่ปรากฏสัตว์เหล่านั้น ได้เสวยทุกข์ความเผ็ดร้อนความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า
ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๑๘
๒.๑๑ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กอง
กระดูกใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้
ถ้ากองกระดูกนั้น พึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมด
ไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารกำ�หนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๒๑
๒.๑๒ ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ บางคราวก็ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกทางขวาง
บางคราวก็ตกลงทางปลาย แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง
ประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นแล บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จากโลกนี้ไป
สู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำ�หนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๒๐
278

๒.๑๓ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว โลหิตที่หลั่งไหลออกของ


พวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำ�ในมหาสมุทรทั้ง ๔
ไม่มากกว่าเลย
เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค... แกะ... แพะ... เนื้อ... สุกร... ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน
โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำ�ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๕๒๗
๒.๑๔ หมู่สัตว์ย่อมหมุนเวียนไปในสงสารเหมือนปลาที่ติดอยู่ในไซ.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๒/๔๔
๒.๑๕ เหยี่ยวทั้งหลายโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจากปากของเหยี่ยวตัวหนึ่ง ตกลงพื้นดิน และ
เหยี่ยวอีกพวกหนึ่งมาคาบเอาไว้อีก ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้หมุนเวียนไปในสงสาร ก็ฉันนั้น เคลื่อน
จากกุศลธรรมแล้วไปตกในนรก เป็นต้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๓๒๑
๒.๑๖ ที่สุดเบื้องต้นแห่งวัฏสงสารไม่ปรากฏ อุปมาไข่ออกจากแม่ไก่ แม่ไก่ออกจากไข่
ผลออกจากพืช พืชให้ผล.
มิลิน. ๗๘
๒.๑๗ สัตว์ทั้งหลายในสงสารที่ถูกกระแสสงสารพัดไป ย่อมพบกับสิ่งที่เป็นที่รัก และสิ่งที่ไม่
เป็นที่รัก เหมือนน้ำ�ที่ไหลบ่าไปย่อมพบกับสิ่งของสะอาดก็มี ไม่สะอาดก็มี ดีก็มี ไม่ดีก็มี ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๘๖
๒.๑๘ ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกถึงการสั่งสมแห่งกองกระดูกในกัปหนึ่งของบุคคลหนึ่งว่า
เสมอด้วยภูเขาวิปุลบรรพต เมื่อทำ�แผ่นดินชมพูทวีปให้เป็นก้อนขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ก็มากไม่
เท่ากับจำ�นวนมารดาและยายทั้งหลาย แม้ทำ�กิ่งไม้ ใบหญ้าแห้งทั้งหมดในโลกนี้ขนาดเท่า ๔ องคุลี
ก็มากไม่เท่ากับจำ�นวนบิดาและปู่ทั้งหลาย นี้คือข้ออุปมาระลึกถึงสงสารอันยืดยาว.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๕๐๖

๓. ความทุกข์
๓.๑ สัตว์เมื่ออยู่ในครรภ์มารดาก็เหมือนอยู่ในคูถนรก เมื่ออยู่นานก็ดี ออกไปภายนอกก็ดี
สัตว์ย่อมถึงทุกข์ เว้นชาติ (การเกิด) เสียแล้ว แม้ทุกข์อันร้ายแรงยิ่งนักก็ไม่มี เพราะชาตินี้มีจึงเป็น
ทุกข์ ด้วยประการฉะนี้.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๘/๔๒๑
279

๓.๒ ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่นจะมีลมกรรมชวาตพัดเอาเท้าขึ้นข้างบน เอาศีรษะลงข้างล่าง


ผ่านช่องคลอดเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง อุปมาเหมือนตกลงไปในเหวที่ลึกชั่วร้อยคน หรือเหมือน
ช้างที่เขาฉุดออกจากช่องลูกดาล.
ม.อุ. (อรรถ) มก. ๒๓/๖๔
๓.๓ กายนี้โทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วยต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรค ทุกอย่างล้วนเป็นที่
ประชุมของทุกข์.
ขุ.เถร. (พุทธ) มก. ๕๒/๑๑๖
๓.๔ โปรดทรงระลึกถึงโทษ คือ กายที่ไม่มีแก่นสาร เปรียบด้วยก้อนฟองน้ำ� โปรดทรง
พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยง โปรดระลึกถึงนรกทั้งหลายที่มีความคับแค้นมาก.
ขุ.เถรี. (เถรี) มก. ๕๔/๕๐๖
๓.๕ ความโศกเหมือนน้ำ�หุงข้าวด้วยไฟอ่อน น้ำ�ข้าวเดือดอยู่ในภาชนะ
ความคร่ำ�ครวญ เหมือนน้ำ�หุงข้าวด้วยไฟแรง น้ำ�ข้าวก็เดือดล้นออกนอกภาชนะ
ความคับแค้นใจเหมือนน้�ำ ข้าวส่วนที่เหลือจากการล้นออก ไม่เพียงพอที่จะออกได้ น้ำ�ข้าวที่
หุงก็จะหมดสิ้นไปภายในภาชนะนั่นเอง.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๘/๔๒๖
๓.๖ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา
ของข้าพระองค์กำ�เริบหนัก... ไม่บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษมีกำ�ลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่
คม ฉันใด ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำ�เริบหนัก... ไม่
บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษผู้กำ�ลังพึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดที่
ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้น.
อัง.ฉักก. (เถระ) มก. ๓๖/๗๑๙
๓.๗ น้ำ�ในมหาสมุทรทั้งสี่เล็กน้อย น้ำ�คือน้ำ�ตาของนระผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศกอยู่
มีประมาณไม่น้อย มากกว่าน้ำ�ในมหาสมุทรทั้งสี่นั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๗๕
๓.๘ ม้าอาชาไนยที่เจริญย่อมพิจารณาเห็นการถูกปฏักแทงว่า เหมือนคนเป็นหนี้ครุ่นคิดถึง
หนี้ เหมือนคนถูกจองจำ�มองเห็นการจองจำ� เหมือนคนผู้เสื่อมทรัพย์นึกเห็นความเสื่อมทรัพย์
เหมือนคนมีความผิดเล็งเห็นความผิด
280

ดูก่อนสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่


ที่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมไม่มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำ�แล้ว และย่อมรู้ทั่ว
ถึงอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว...
ย่อมไม่มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว... ย่อมไม่มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว... ย่อมไม่มีจิตอัน
วิจิกิจฉาครอบงำ�แล้ว และย่อมรู้ทั่วถึงอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว.
อัง.เอกาทส. (พุทธ) มก. ๓๘/๕๒๓
๓.๙ ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาหิมวันต์ที่
หมดไป สิ้นไป ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด...
น้ำ�สองสามหยดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำ�ในมหาสมุทร ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่
๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด...
ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ที่หมดไปสิ้นไป
ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด...
หยดน้ำ�สองสามหยดที่บุรุษวักขึ้นแล้วมีประมาณน้อย เมื่อเทียบเข้ากับน้ำ�ในที่บรรจบกัน
ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด...
น้ำ�ที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคา เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำ�ในสระโบกขรณี ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่
๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่หมดไป สิ้นไปนั้นแหละ ของบุคคลผู้เป็น
อริยสาวกสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ตรัสรู้แล้วมีมากกว่า ส่วนที่เหลือมีประมาณน้อย ความทุกข์ที่เป็น
สภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพ เมื่อเทียบก้อนกองทุกข์ที่หมดไปสิ้นไป ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐
เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมทำ�ให้สำ�เร็จประโยชน์อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุให้สำ�เร็จ
ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๙๓
๓.๑๐ วันหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จไปเยี่ยมถึงสำ�นักของสามเณร ครั้นแล้วทรงพาสาม
เณรติสสะขึ้นสู่ยอดเขาที่สามารถมองเห็นมหาสมุทรได้โดยรอบ แล้วทรงถามว่า เมื่อเห็นมหาสมุทร
แล้วมีความคิดอย่างไร
281

สามเณรทูลว่า น้�ำ ตาของมนุษย์ทเ่ี กิดจากความทุกข์นน้ั มีมากกว่าน้�ำ ในมหาสมุทรทัง้ สีเ่ สียอีก


พระพุทธองค์ทรงยกย่อง และยืนยันในคำ�พูดของสามเณรว่า น้ำ�ตาของผู้มีความทุกข์
ครอบงำ�แล้วนั้น มากกว่าน้ำ�ในมหาสมุทรทั้งสี่เสียอีก เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประมาท.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๕๙
๓.๑๑ พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างถึงปริมาณน้ำ�ที่มีอยู่ในสระโบกขรณีที่เต็มเปี่ยม กว้าง
๕๐ โยชน์ ยาว ๕๐ โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์ว่า มีบุคคลผู้หนึ่งวิดน้ำ�ขึ้นมาด้วยปลายหญ้าคา ปริมาณน้ำ�
ที่วิดขึ้นมาคือ ทุกข์ที่พระอริยสาวกยังหลงเหลืออยู่ ส่วนทุกข์ที่กำ�จัดได้แล้ว เหมือนกับปริมาณน้ำ�ที่
เหลือทั้งหมด เพราะผลจากการตรัสรู้ธรรม.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๙๕
๓.๑๒ พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างถึงแม่น้ำ�สายใหญ่ ที่เกิดจากแม่น้ำ�คงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู และมหิ ไหลมารวมกัน ความทุกข์ของเหล่าพระอริยสาวกที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เหมือนกับน้ำ�
เพียงสองสามหยดที่บุคคลวิดขึ้นมา
ส่วนแม่น้ำ�ที่เหลือนั้น เหมือนกับความทุกข์ที่พระอริยสาวกกำ�จัดได้แล้ว เพราะผลจากการ
ตรัสรู้ธรรม.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๙๖
๓.๑๓ พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า แม่น้ำ�สายใหญ่ที่เกิดจากการไหลรวม
ของแม่น้ำ�คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ แห้งเหือดไปเหลือเพียงสองสามหยด น้ำ�ที่เหลือนี้
เปรียบเสมือนความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยสาวก ส่วนน้ำ�ในแม่น้ำ�ที่เหือดแห้งนั้น เหมือน
ความทุกข์ที่พระอริยสาวกกำ�จัดได้แล้ว เพราะผลจากการตรัสรู้ธรรม.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๙๗
๓.๑๔ พระองค์ทรงเปรียบเทียบระหว่างก้อนดิน ๗ ก้อน ขนาดเท่ากับเมล็ดกระเบากับแผ่น
ดินใหญ่ว่า ก้อนดินจำ�นวน ๗ ก้อน นั้น เปรียบเสมือนกับทุกข์ที่ยังหลงเหลืออยู่ของพระอริยสาวก
ส่วนแผ่นดินใหญ่ เปรียบเสมือนความทุกข์ที่พระอริยสาวกกำ�จัดได้แล้ว เพราะผลจากการตรัสรู้
ธรรม และได้ธรรมจักษุ.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๙๘
282

๓.๑๕ พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบจำ�นวนน้ำ�ในมหาสมุทรกับจำ�นวนน้ำ�ที่บุคคลวิดขึ้นมา
เพียงสองสามหยดว่า จำ�นวนน้ำ�ในมหาสมุทร เปรียบเสมือนความทุกข์ที่พระอริยสาวกสามารถ
กำ�จัดได้แล้ว ส่วนน้ำ�สองสามหยด เปรียบเสมือนความทุกข์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ทุกข์ที่พระอริยสาวก
กำ�จัดได้นั้น เพราะผลจากการตรัสสู้ธรรม และได้ธรรมจักษุ.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๔๐๑
๓.๑๖ พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบก้อนหิน ๗ ก้อน ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดกับภูเขา
หิมวันต์ทั้งลูกว่า ความทุกข์ที่พระอริยสาวกกำ�จัดได้แล้วนั้น เปรียบเสมือนภูเขาหิมวันต์ ส่วนความ
ทุกข์ที่ยังหลงเหลืออยู่ เปรียบเสมือนก้อนหิน ๗ ก้อน ความทุกข์ที่ก�ำ จัดได้นั้น เพราะผลจากการ
ตรัสรู้ธรรม และได้ธรรมจักษุ.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๔๐๒
๓.๑๗ ครั้งหนึ่งพระบรมศาสดาทรงต้องการจะแสดงถึงความทุกข์ที่มีอยู่ของเหล่าพระอริย
สาวก ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พระจึงทรงใช้ปลายเล็บช้อนเอาฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย เปรียบให้เห็นว่า
ความทุกข์ของเหล่าพระอริยสาวกที่มีอยู่ มีเพียงเล็กน้อย ดุจดังฝุ่นที่ติดอยู่ปลายเล็บมีเพียงเล็ก
น้อย เมื่อเทียบกับปริมาณฝุ่นทั้งแผ่นดิน เพราะเหตุที่การตรัสรู้ธรรม การได้ธรรมจักษุมีคุณ
ประโยชน์ยิ่งใหญ่.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๙๓

๔. เหตุแห่งทุกข์
๔.๑ เมื่อยังถอนตัณหานุสัยไม่ได้ ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เหมือนเมื่อรากไม้ยังแข็งแรง
ไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ตัดแล้วก็ยังงอกได้อีก.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๘/๔๕๒
๔.๒ ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติประมาท เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อย
ภพใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๖๖
๔.๓ ตัณหานี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำ�บุคคล
ใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรดแล้วงอกงามอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๖๖
๔.๔ ตัณหาเปรียบเหมือนด้ายที่ร้อยรัดไม้อยู่ เมื่อตัณหาดับ ที่สุดทั้งสองก็เป็นอันดับด้วย
เปรียบเหมือนเมื่อด้ายขาดไม้ทั้ง ๒ อัน ก็หล่นมาทั้งสองข้าง.
อัง.ฉักก. (อรรถ) มก. ๓๖/๗๕๔
283

๔.๕ ตัณหานี้นั้นแลเป็นเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไปเกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ


เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ เหมือนด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย
และหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๕๓๙
๔.๖ ขันสำ�ริดที่ใส่น้ำ� ที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษนั้น มีบุรุษเดินฝ่า
ความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามา กระหายน้ำ� คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้นอย่างนี้ว่า
นาย ขันสำ�ริดที่ใส่น้ำ�นี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด
เพราะว่าเมื่อดื่มน้ำ�นั้น ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่าน
จะถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ ดังนี้
บุรุษนั้นผลุนผลันไม่ทันพิจารณาดื่มน้ำ�นั้นเข้าไปไม่บ้วนทิ้งเลย เขาก็พึงถึงความตาย หรือถึง
ทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มน้ำ�นั้นเป็นเหตุทันที แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจใน
โลก ฯลฯ ในอนาคตกาล ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้ เห็นอารมณ์อัน
เป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนี้ โดยความเป็นของเที่ยว โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน
โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า ย่อมทำ�ทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำ�
อุปธิให้เจริญขึน้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านัน้ ชือ่ ว่า ย่อมไม่พน้ ไปจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริ
เทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า เขาย่อมไม่พน้ ไปจากทุกข์ได้เลย ก็ฉนั นัน้ เหมือนกันแล.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๔๕
๔.๗ ผู้ถูกเครื่องผูก คือ ทิฏฐิผูกไว้ที่เสา คือ สักกายทิฏฐิ เหมือนสุนัขถูกผูกไว้ที่เสาไม้
ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๒/๓๕
๔.๘ สัตว์ทั้งหลายเป็นดั่งคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษในกาม ถูกข่าย คือ ตัณหา
ปกคลุมแล้วถูกหลังคา คือ ตัณหาปกปิดแล้ว ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูก คือ ความประมาท
เหมือนปลาในปากไซ.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๐
๔.๙ สัตว์เหล่านี้ ถูกมารผูกไว้ด้วยความประมาท คือ ถูกเครื่องผูก คือ กามอันใดผูกไว้
ย่อมไม่หลุดพ้นจากเครื่องผูกนั้น คือ ติดอยู่ในภายในเครื่องผูกนั่นเอง เหมือนปลาติดอยู่ที่ปากลอบ
ดักปลา และปลาที่ติดอยู่ที่ปากไซ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๕
284

๔.๑๐ ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่า


ฉะนั้น บุคคลผู้ตกอยู่ในอำ�นาจของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปในภพใหญ่หรือวานรอยากได้ผลไม้เร่ร่อนไป
ในป่า ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๑๗๕

๕. อริยสัจ ๔
๕.๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ชัดตามจริง นี่ทุกข์... นี่เหตุเกิดทุกข์... นี่ความดับทุกข์... นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหมือนอย่างคนตาดี พึงเห็นรูปทั้งหลายได้ในระหว่างฟ้าแลบในกลางคืน
มืดตื้อ ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ชัดตามจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฉันนั้น
นี่เราเรียกว่า บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้า.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๘๑
๕.๒ บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำ�ให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหา
อาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ปัจจุบันนี้ เหมือนอย่างแก้ว
หรื อ หิ นที่ ไม่ ถู ก เพชรเจาะเสี ย เลยย่ อ มไม่ มี ฉั น ใด บุ ค คลบางคนในโลกนี้ ก ระทำ � ให้ แจ้ ง ฯลฯ
ในปัจจุบันนี้ ฉันนั้น นี้เรียกว่า บุคคลมีจิตเหมือนเพชร.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๘๑
๕.๓ คนพาลย่อมไม่รู้สึกว่า ร่างกายนี้เป็นของเผ็ดร้อน มีรสหวานชื่นใจ ผูกพันด้วยความรัก
เป็นทุกข์ ฉาบไล้ไว้ด้วยสิ่งที่น่าชื่นใจ เหมือนมีดโกนอันทาด้วยน้ำ�ผึ้ง ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒๒

๖. การละตัณหา
๖.๑ ผู้ใดย่ำ�ยีตัณหานั้น... ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้ ความโศกทั้ง
หลายย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำ�ตกไปจากใบบัว ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๖๖
๖.๒ ท่านทั้งหลาย จงขุดรากตัณหาเสียเถิด ประหนึ่งผู้ต้องการแฝกขุดหญ้าคมบางเสีย
ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๖๖
285

๖.๓ แก้วเหล้าที่พร้อมด้วย สี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่า


ความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามา กระหายน้ำ� คนทั้งหลายจึงได้พูดกับบุรุษผู้นั้นอย่างนี้ว่า
นาย แก้วเหล้าที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ถ้าประสงค์ ก็จงดื่มเถิด
เพราะว่าเมื่อดื่มเหล้านั้น ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มเข้าไปแล้ว
ตัวท่านจะถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ ดังนี้
ลำ�ดับนั้น บุรุษพึงคิดอย่างนี้ว่า เหล้านี้เราดื่มแล้ว เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้�ำ เย็น ด้วย
เนยใส ด้วยน้ำ�ข้าวสัตตุเค็ม หรือด้วยน้ำ�ชื่อโลณโสจิรกะ แต่เราจะไม่ดื่มเหล้านั้นเลย เพราะไม่เป็น
ประโยชน์ มีแต่ทุกข์แก่เราช้านาน เขาพิจารณาแล้วดูแก้วเหล้านั้นแล้ว ไม่พึงดื่มน้ำ� เขาทิ้งเสีย
เขาก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ แม้ฉะนั้น
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล เห็นอารมณ์เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจในโลก
นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความมีสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค
โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว... ละอุปธิได้แล้ว... ละ
ทุกข์ได้แล้ว... พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๔๗
๖.๔ พระพุทธองค์จึงทรงเปรียบเทียบว่า เหมือนต้นไม้ที่ถูกตัดแล้ว แต่รากยังคงอยู่ ย่อม
งอกขึ้นมาใหม่ได้ ตัณหาก็เช่นกัน หมู่สัตว์ทั้งหลายยังขจัดไม่หมด ย่อมทำ�ให้เข้าถึงความทุกข์บ่อยๆ
ในภพที่เกิดนั้นๆ.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๘๑

๗. อริยมรรคมีองค์ ๘
๗.๑ หม้อที่คว่ำ�ย่อมให้น้ำ�ไหลออกอย่างเดียว ไม่ทำ�ให้กลับไหลเข้า แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริย
มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมระบายอกุศล
ธรรมอันลามกออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๔๙
๗.๒ เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือแสงเงินแสงทอง สิ่งที่
เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ
ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฉันนั้น.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๗๔
286

๗.๓ ลมแรงย่อมพัดมหาเมฆอันเกิดขึ้นแล้วให้หายหมดไปได้ในระหว่างนั่นเอง แม้ฉันใด


ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยัง อกุศลธรรมอันลามกที่
เกิดขึ้นแล้ว ให้หายสงบลงไปในระหว่างได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๕๔
๗.๔ เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูกคือหวาย แช่อยู่ในน้ำ�ตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้น
บกในฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลม และแดดแล้ว อันฝนตกรดแล้ว ย่อมจะเสียไป ผุไป โดยไม่ยาก
เลย แม้ฉันใด
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบหมดไปโดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๕๕
๗.๕ แม่น้ำ�คงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุ
เมื่อเจริญ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๙๙
๗.๖ ฝุ่นละอองอันตั้งขึ้นในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เมฆก้อนใหญ่ที่เกิดในสมัยมิใช่กาล ย่อม
ยังฝุ่นละอองนั้นให้หายราบไปได้โดยพลัน แม้ฉันใด
ภิกษุเจริญ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยังกุศลธรรมอันลามกที่
เกิดขึ้นแล้วให้หายสงบไปได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๕๓
๗.๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟองหรือ ๑๒
ฟอง ไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอฟักดี แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีก็จริง แต่
ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้เท้าหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอฟักดี ฉะนั้น
เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือ
นายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อ
วานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป เขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด
287

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญภาวนาอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้


อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้น
ไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๕๒
๗.๘ พระองค์จงทรงทราบเถิดพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่า ได้พบ
มรรคาเก่า หนทางเก่าที่คนก่อนๆ เคยเดินไปมา ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามทางนั้นไป เมื่อกำ�ลังเดิน
ตามทางนั้นอยู่ ได้พบนครเก่า พบราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วยสวน ป่าไม้ สระโบกขรณี มีเชิง
เทียน ล้วนน่ารื่นรมย์ มีคนก่อนๆ เคยอยู่อาศัยมา ขอพระองค์จงทรงสร้างพระนครนั้นเถิด
พระพุทธเจ้าข้า
ลำ�ดับนั้น พระราชาหรือราชามหาอำ�มาตย์จึงสร้างเมืองนั้นขึ้น
สมัยต่อมา เมืองนั้นเป็นเมืองมั่งคั่งและสมบูรณ์ขึ้น มีประชาชนเป็นอันมาก มีมนุษย์เกลื่อน
กล่น และเป็นเมืองถึงความเจริญไพบูลย์ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เราได้พบมรรคาเก่า หนทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นครสูตร ว่าด้วยโลก
นี้ลำ�บากเพราะมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระองค์ก่อนๆ เคยเสด็จไป ก็มรรคาเก่า หนทางเก่าที่พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เคยเสด็จไปนั้น เป็นไฉน คือมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ
นี้แล ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธินี้แล มรรคาเก่า หนทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ
องค์ก่อนๆ เคยเสด็จไปแล้ว เราก็ได้เดินตามหนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอัน
เป็นทางเก่านั้น.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๓๓๔
๗.๙ สามเกลอที่ชวนกันเข้าไปสู่อุทยานด้วยตั้งใจว่า พวกเราจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ (งาน
ประจำ�ปี) คนหนึ่งพบต้นจำ�ปาดอกบานดี ยกมือขึ้นไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้น คนที่สองจึงก้มหลังให้
เขา แม้เขาได้ยืนบนหลังของคนที่สองนั้น ก็ยังเด็ดไม่ได้ ทีนั้น อีกคนหนึ่ง ก็ยื่นจะงอยบ่าให้เขา
เมื่อเขาได้ยืนบนหลังของคนหนึ่งแล้วเหนียวจะงอยบ่าของอีกคนหนึ่ง จึงเก็บดอกไม้มาประดับตาม
ชอบใจแล้วเล่นงานนักขัตฤกษ์ ฉันใด
พึงเห็นคำ�ที่นำ�มาเปรียบนี้ ฉันนั้น คือ ธรรมทั้งสามมีความพยายามชอบ เป็นต้น ซึ่งเกิด
รวมกัน เหมือนสามเกลอที่เข้าสนด้วยกัน อารมณ์เหมือนต้นจำ�ปาดอกบานสะพรั่ง สมาธิที่ไม่
สามารถจะถึงฌานได้เพราะเป็นภาวะที่เด็ดเดี่ยวในอารมณ์โดยลำ�พังตนเอง เหมือนคนที่ถึงแม้จะได้
288

ยกมือขึ้นแล้วก็ยังไม่อาจเก็บได้ ความพยายามชอบเหมือนเกลอที่น้อมหลังให้ ความระลึกเหมือน


เกลอที่ยืนให้จับจะงอยบ่า สมาธิที่เมื่อวิริยะกำ�ลังทำ�หน้าที่ประคับประคองให้สำ�เร็จ และสติก็กำ�ลัง
ทำ�หน้าที่เคล้าให้สำ�เร็จอยู่อย่างนี้ ได้อุปการะแล้ว ก็ย่อมอาจบรรลุฌานได้ เพราะความเป็นภาวะที่
โดดเด่นในอารมณ์ เหมือนคนนอกที่ยืนบนหลังของคนหนึ่งในสามคนนั้น และจับจะงอยบ่าของอีก
คนหนึ่ง จึงสามารถเด็ดดอกไม้ได้ตามพอใจ.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๓๔๒
๗.๑๐ รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้น
ทั้งหมดย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้า
เหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
สงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่.
ม.มู. (เถระ) มก. ๑๘/๕๑๖
๗.๑๑ สัมมาสังกัปปะนี้นั้น ก็มีอุปการะแม้แก่สัมมาวาจา... เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า คหบดีตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาในภายหลัง.
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๒/๑๑๑
289
๓๔
ม ง ค ล ที่

ทำ�พระนิพพานให้แจ้ง
ภิกษุใดยังหนุ่มพากเพียรอยู่ในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากหมอกเมฆสว่างอยู่ ฉะนั้น
291

๑. ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์
๑.๑ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) ไว้ทางปาก ทางจมูก และช่องหู
แล้ว ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำ�ลังเอาเหล็กแหลมคมทิ่มศีรษะ.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๑
๑.๒ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปาก ทางจมูก และหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน
เปรียบเหมือนบุรุษมีกำ�ลังรัดศีรษะด้วยเส้นเชือกแน่น.
ม.มู (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๒
๑.๓ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางจมูก และหู ลมอันแรงกล้าก็บาดในช่องท้อง
เปรียบเหมือนนายโค หรือลูกมือนายโคที่เป็นคนฉลาด ใช้มีดคมกรีดที่ท้อง.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๑๒๒
๑.๔ องคาพยพ (อวัยวะน้อยใหญ่) ของเราย่อมเป็นประหนึ่งเถาวัลย์ที่มีข้อมาก ๘๐ ข้อ
เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว ก้นกบแห่งเราแฟบเข้า มีสัณฐานเหมือนกีบเท้าอูฐ ฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว กระดูกสันหลังแห่งเราผุดขึ้นราวกะเถาวัลย์ ฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว เปรียบซี่โครงแห่งเรานูนเป็นร่องๆ ดังกลอนในศาลา
เก่าชำ�รุดทรุดโทรม ฉะนั้น.
292

ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว เปรียบเหมือนดวงตาแห่งเราปรากฏกลมลึกเข้าไปใน
กระบอกตา ดูประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำ�อันลึก ฉะนั้น
ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยอย่างเดียว หนังบนศีรษะแห่งเราสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้งไป ประหนึ่ง
ผลน้ำ�เต้าขม ที่บุคคลตัดมาแต่ยังสด ถูกลม และแดดก็เหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น.
ที.สี. (พุทธ) มจ. ๑๒/๔๑๕

๒. ความเพียร
๒.๑ นกที่เปื้อนฝุ่นย่อมสลัดธุลีที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด ภิกษุผู้มีความเพียร มีสติ ย่อม
สลัดธุลี คือ กิเลสที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันนั้น.
สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๓๕๓
๒.๒ สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้นพิณของเธอ
ย่อมมีเสียงไพเราะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้ง
ซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ดู ก่ อ นโสณะ เพราะเหตุ นั้ น แหละ เธอจงตั้ ง ความเพี ย รให้ ส ม่ำ� เสมอ จงตั้ ง อิ นทรี ย์ ให้
สม่ำ�เสมอ.
อัง.ฉักก. (พุทธ) มก. ๓๖/๗๐๗
๒.๓ บุคคลใดกำ�จัดความหลับ ตื่นอยู่ เหมือนม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน บุคคลนั้นหาได้ยาก
ท่านทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดีถูกเขาตีด้วยแส้แล้วมีความบากบั่น ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๒/๖๘
๒.๔ ภิกษุใดยังหนุ่มพากเพียรอยู่ในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจ
พระจันทร์ที่พ้นแล้วจากหมอกเมฆสว่างอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๓/๓๔๐
๒.๕ ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจาก
หล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๓/๒๒๔
๒.๖ อำ�นาจการปรารภความเพียรอย่างนี้ ของภิกษุผู้ไม่ให้กิเลสที่เกิดขึ้นในตอนเดินไม่ให้ถึง
ตอนยืน ที่เกิดในตอนยืนไม่ให้ถึงตอนนั่ง ที่เกิดขึ้นในตอนนั่งไม่ให้ถึงตอนนอน ข่มไว้ด้วยพลังความ
เพียรไม่ให้เงยศีรษะขึ้นได้ในอิริยาบถนั้นๆ เหมือนคนเอาไม้มีลักษณะดังเท้าแพะกดงูเห่าไว้ และ
เหมือนเอาดาบที่คมกริบฟันคอศัตรู ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (อรรถ) มก. ๔๔/๔๐๕
293

๒.๗ บุคคลเมื่อกระทำ�ความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในหมู่ญาติ เทวดา และบิดา


มารดา อนึ่งบุคคลเมื่อทำ�กิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๗๕
๒.๘ พญาราชสีห์มฤคราชเป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนในการนั่ง การยืน และการเดิน
ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อ แม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงประคองความเพียรไว้ให้มั่นตลอด
ทุกภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๓
๒.๙ ขึ้นชื่อว่า พยัคฆ์ ย่อมแอบจับหมู่มฤคเป็นภักษา แม้ฉันใด พุทธบุตรผู้ประกอบความ
เพียรบำ�เพ็ญวิปัสสนานี้ก็เหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งผลอันอุดม.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๒/๓๓๖
๒.๑๐ เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่า สุขก็ต้องมี ฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควร
ปรารถนา ฉันนั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมี ฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่ พระ
นิพพานก็ควรปรารถนา ฉันนั้น เมื่อสิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมี ฉันใด ความเกิดมีอยู่ แม้
ความไม่เกิดก็ควรปรารถนา ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๕/๗
๒.๑๑ ธรรมดานายพรานย่อมมีใจจดจ่อจับฝูงเนื้อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
ประคอง และรักษาอารมณ์ที่ได้มาอย่างดีแล้วให้เกิดคุณวิเศษต่อไป ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๙
๒.๑๒ ธรรมดานายขมังธนู เมื่อจะยิงธนูย่อมเหยียบพื้นด้วยเท้าทั้งสองให้มั่น ทำ�เข่าไม่ให้
ไหว ยกธนูขึ้นเพียงหู ตั้งกายตรง วางมือทั้งสองลงที่คันธนู จับคันธนูให้แน่น ทำ�นิ้วให้ชิดกัน เอี้ยว
คอ หลิ่วตา เม้มปาก เล็งเป้าให้ตรง แล้วเกิดความดีใจว่า เราจักยิงไปในบัดนี้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรเหยียบพื้นดิน คือ ศีลด้วยเท้า คือ วิริยะให้มั่นคง ทำ�ขันติ โสรัจจะไม่ให้ไหว
สำ�รวมใจ และกาย บีบกิเลสตัณหาให้แน่น กระทำ�จิตไม่ให้มีช่องว่างด้วยโยนิโสมนสิการ ประคอง
ความเพียรปิดประตูทั้ง ๖ เสีย ตั้งสติไว้ทำ�ให้เกิดความร่าเริงว่า เราจักยิงกิเลสทั้งปวง ด้วยลูกศร
คือ ญาณ ณ บัดนี้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๔
๒.๑๓ ไก่ย่อมกลับเข้ารังแต่หัววัน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พึงทำ�กิจวัตร เช่น
ทำ�ความสะอาดวัด เตรียมน้ำ�ดื่ม น้ำ�ใช้ ชำ�ระร่างกาย และสวดมนต์บูชาพระให้เสร็จแต่เนิ่นๆ เพื่อ
จะได้มีโอกาสนั่งปฏิบัติธรรมเร็วขึ้น ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๓
294

๒.๑๔ ไก่ย่อมตื่นแต่เช้า ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พึงตื่นแต่เช้าทำ�ความสะอาดวัด


น้ำ�ดื่ม น้ำ�ใช้ชำ�ระร่างกาย สวดมนต์บูชาพระแล้วนั่งปฏิบัติธรรมอีกครั้ง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๓
๒.๑๕ ธรรมดาเต่าย่อมขึ้นจากน้ำ�มาผึ่งแดด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ก็ฉันนั้น คือ
เมื่อเลิกจากการนั่ง นอน ยืน เดินแล้ว ก็ทำ�ให้ใจร้อนในการบำ�เพ็ญเพียร.
มิลิน. ๔๒๖
๒.๑๖ ธรรมดาเครือน้ำ�เต้าย่อมใช้งวงของตนเกาะต้นไม้ หรือเครือไม้แล้วขึ้นไปงอกงามอยู่
ข้างบน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้มุ่งความเจริญในพระอรหันต์ ก็ควรมีใจยึดมั่นในอารมณ์ไว้
ว่า จะขึ้นไปเจริญอยู่ในความเป็นพระอรหันต์
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรเถระเจ้าว่า ธรรมดาเครือน้ำ�เต้าย่อมเอางวงของตนพัน
ต้นไม้ หรือเครือไม้ แล้วขึ้นไปงอกงามอยู่เบื้องบน ฉันใด ผู้มุ่งหวังอรหัตผลก็ควรยึดหน่วงอารมณ์
ทำ�ให้อเสข (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ผลเจริญ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๙
๒.๑๗ อริยสาวกปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม มีกำ�ลัง
มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา ตั้ง
กองทัพไว้มาก คือ พลม้า ฯลฯ กองทหาร ทาสสำ�หรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก
ฉะนั้น.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๒๗
๒.๑๘ ความเพียรมีความอุปถัมภ์เป็นลักษณะ อุปมาเหมือนเรือนจะล้ม บุคคลไว้ด้วยไม้เรือน
ที่ถูกไม้ค้ำ�อยู่ไม่ล้ม หรือกองทหารหมู่น้อย กำ�ลังถอยร่นข้าศึกหมู่ใหญ่ พระราชาทรงเพิ่มกองหนุน
ส่งเข้าไปจนชนะข้าศึกหมู่ใหญ่ได้.
มิลิน. ๕๑
๒.๑๙ บุ ค คลนั้ นควรกระทำ � ฉั นทะพยายามพากเพี ย รอย่ า งแข็ ง ขั น ไม่ ท้ อ ถอย และทำ �
สติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรม เปรียบเหมือนคนที่ไฟไหม้ผ้าก็ดี ไหม้ศีรษะก็ดี พึงกระทำ�
ฉันทะพยายามพากเพียรไม่เฉื่อยเฉย และตั้งสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อจะดับเสียไฟที่ผ้า หรือศีรษะ
ที่ไหม้อยู่นั้น.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๒๖๖
๒.๒๐ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจากความเกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น
ท่านจงทำ�จิตให้ตรงแล้วทำ�ลายอวิชชาเสีย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๑๘๘
295

๒.๒๑ ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เมื่อได้เห็นเทพเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมทำ�ให้


ท่านเหล่านั้นร่าเริง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรทำ�ใจให้เกิดความร่าเริงไม่หดหู่ ไม่
เกียจคร้านในกุศลกรรมทั้งหลาย ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๒
๒.๒๒ ทรัพย์มรดกของพระบรมศาสดามีมาก คือ อริยทรัพย์ ๗ ประการ ทรัพย์มรดกนั้น
ผู้เกียจคร้านไม่อาจรับได้ เหมือนอย่างว่ามารดา บิดา ย่อมตัดบุตรผู้ประพฤติผิด ทำ�ให้เป็นคน
ภายนอก เห็นว่าคนนี้ไม่ใช่ลูกของเรา เมื่อมารดา บิดา ล่วงลับไป เขาก็ไม่ได้รับทรัพย์มรดก ฉันใด
แม้บุคคลผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นย่อม
ได้รับ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๔๐
๒.๒๓ ประชาชน ๔ วรรณะ เห็นเงารูปของตนในกระจกสำ�หรับส่องดูได้ทั่วตัว ซึ่งติดตั้งไว้
ที่ประตูเมือง ย่อมขจัดโทษ (สิ่งที่ทำ�ให้หมดความสวยงาม) แล้วกลับกลายเป็นผู้ไม่มีโทษ ฉันใด
กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษาก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ประสงค์จะประดับประดาตนด้วยเครื่อง
ประดับ คือ ความเพียร.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๒๑๓
๒.๒๔ เสือเหลืองซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤค ฉันใด ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เข้าไปสู่ป่าแล้วประกอบความเพียร เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งเจริญวิปัสสนา ย่อมถือไว้ได้ซึ่งผลอัน
สูงสุดได้.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๙๔
๒.๒๕ พระบรมศาสดาตรัสว่า คหบดีชาวนามีกิจต้องทำ�ในเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
๑. ต้องไถคราดนาให้เรียบร้อย
๒. ต้องเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องไขน้ำ�เข้านาบ้าง ระบายน้ำ�ออกบ้างตามกาลที่ควร
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีกิจต้องทำ�ในเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
๑. การสมาทานอธิศีลสิกขา
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๔๙
296

๒.๒๖ พระบรมศาสดาตรัสว่า กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ� ๓ ประการคือ


๑. ต้องเร่งรีบไถคราดนาให้เรียบร้อย
๒. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องเร่งรีบไขน้ำ�เข้านาบ้าง ระบายน้ำ�ออกบ้างตามกาลที่ควร
คหบดีชาวนานั้น ไม่มีฤทธิ์ หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า วันนี้แลข้าวเปลือกของเราจงเกิด
พรุ่งนี้จงงอกรวง มะรืนนี้จงหุงได้ แท้ที่จริงข้าวเปลือกของคหบดีชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่
จะเกิดขึ้น ออกรวงและหุงได้ ฉันใด กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ� ๓ ประการนี้ ก็ฉันนั้น คือ
๑. การสมาทานอธิศีลสิกขา
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์ และอานุภาพที่จะบันดาลว่า วันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ จิตของเราจง
หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๗๔
๒.๒๗ พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างถึงท่อนไม้ที่มีบุรุษโยนขึ้นไปในอากาศ เมื่อตกลงมา
บางครั้งก็เอาโคนลงมาก่อน บางครั้งก็เอาตอนกลางลงมาก่อน บางครั้งก็เอาปลายลงมาก่อน
เปรียบเสมือนสัตว์ทั้งหลายที่ถูกอวิชชาครอบงำ�อยู่ บางครั้งเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปสู่ปรโลก
บางครั้งก็ละจากปรโลกมาสู่โลกนี้ สลับกันไปมาเช่นนี้ เพราะเหตุที่ยังไม่ตรัสรู้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๔๕๒
๒.๒๘ เมื่อพระบรมศาสดาทรงต้องการแสดงหนทางแห่งการพ้นทุกข์ของสรรพสัตว์ทั้ง
หลาย ให้เหล่าภิกษุได้ทราบ พระพุทธองค์ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า บุคคลควรทำ�อย่างไร ถ้าผ้าที่
สวมใส่อยู่ถูกไฟไหม้ หรือศีรษะกำ�ลังถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ควรที่จะดับไฟที่ผ้าหรือที่ศีรษะนั้น ด้วยความพยายามอุตสาหะ ไม่
ย่นย่อท้อถอย และมีสติสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
พระบรมศาสดาตรัสว่า บุคคลควรจะวางเฉยในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วรีบแสวงหาการตรัสรู้ธรรม
ให้เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยความพยายามอุตสาหะ ไม่ย่นย่อท้อถอย และมีสติสัมปชัญญะ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๔๕๓
๒.๒๙ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า วิริยะ คือ ความเพียร มีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า กุศลธรรมทั้งสิ้น มีความเพียรอุปถัมภ์แล้วย่อมไม่เสื่อม เหมือน
เรือนที่จะล้มแล้วถูกไม้ค้ำ�ไว้.
มิลิน. ๕๑
297

๓. สมาธิ
๓.๑ ธรรมดากระแตเมื่อพบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่เพื่อต่อสู้กับศัตรู ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรู คือ กิเลสขึ้นก็พองหาง คือ สติปัฏฐานให้ใหญ่ขึ้นกั้นกลาง
กิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือ สติปัฏฐาน
ข้อนีส้ มกับคำ�ของพระจุฬปันถกเถรเจ้าว่า เมือ่ กิเลสจะทำ�ลายคุณเกิดขึน้ ในเวลาใด เวลานัน้
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พองหาง คือ สติปัฏฐานขึ้นบ่อยๆ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๔
๓.๒ ธรรมดาแมลงมุมชักใยดักไว้แล้วก็จ้องดูอยู่ ถ้าหนอนหรือแมลงมาติดในใยของตนก็จับ
กินเสีย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรชักใย คือ สติปัฏฐานซึ่งไว้ที่ทวารทั้ง ๖ ถ้าแมลง คือ
กิเลสตามติดก็ควรฆ่าเสีย ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระอนุรุทธเถรเจ้าว่า เพดานที่กั้นทวารทั้ง ๖ อยู่ คือ สติปัฏฐาน
อันประเสริฐ เวลากิเลสมาติดที่เพดาน คือ สติปัฏฐานนั้น พระภิกษุก็ควรฆ่าเสีย.
มิลิน. ๔๕๕
๓.๓ ธรรมดาช้างย่อมลงเล่นน้ำ�อย่างสุขใจ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเวลาลงสู่สระ
โบกขรณี คือ มหาสติปัฏฐานอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำ�อันประเสริฐ คือ พระธรรมอันเย็นใสอันดาษไป
ด้วยดอกไม้ คือ วิมุตติ ก็ควรเล่นอยู่ด้วยการพิจารณาสังขาร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
๓.๔ ธรรมดานายขมังธนูย่อมรักษาไม้ง่ามไว้ เพื่อดัดลูกธนูที่คดงอให้ตรง ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ควรรักษาไม้ง่าม คือ สติปัฏฐานไว้ในกายนี้ เพื่อทำ�จิตที่คดงอให้ตรง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๔
๓.๕ แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเอง บริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว
สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่น
ไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญานทัสนะ.
ที.ส. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๖
๓.๖ การละธรรมมีนิวรณ์ด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธินั่น เหมือนการกั้นสาหร่าย
บนผิวน้ำ�ด้วยไม้.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๑๕
298

๓.๗ บุรุษเดินทางไกล เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิดความหวาดเสียว


เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ ฉันใด
ดู ก่ อ นอนุ รุ ท ธะ ฉั นนั้ น เหมื อ นกั น แล ความหวาดเสี ย วแลเกิ ด ขึ้ น แล้ ว แก่ เรา ก็ ค วาม
หวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึง
หายไปได้.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๓๒
๓.๘ ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็น
เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้
ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้นก็บินไปจากมือเขาได้ ฉันนั้น.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๓๓
๓.๙ ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้
ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้นต้องถึงความ
ตายในมือนั่น ฉันนั้น.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๓๓
๓.๑๐ เรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำ�ตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว
เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำ�เรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำ�รุดเสียหาย
เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด
ดูกอ่ นภิกษุทง้ั หลาย เมือ่ ภิกษุหมัน่ เจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ยอ่ มระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉนั นัน้ .
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๕๓
๓.๑๑ ธรรมดาสุกรย่อมขุดดินด้วยจมูกของตน ทำ�ให้เป็นรางน้ำ�ในที่มีน้ำ� แล้วนอนแช่อยู่ใน
ราง ฉันใด ภิกษุผู้ผู้ปรารภความเพียรก็ควรเก็บไว้ในใจ ควรฝังใจอยู่ในอารมณ์แล้วนอน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
๓.๑๒ ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำ�มันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำ�มัน ทั้งไส้บริสุทธิ์
ประทีปน้ำ�มันนั้น ย่อมติดไฟอย่างไม่ริบหรี่ เพราะทั้งน้ำ�มัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ ฉันใด
ดูก่อนท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์
มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) ได้ดี
ทั้งกำ�จัดอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ได้ดี เธอย่อมรุ่งเรืองอย่างไม่ริบหรี่ เพราะระงับความชั่ว
หยาบทางกายได้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๒๓/๑๑๘
299

๓.๑๓ ดวงอาทิตย์ย่อมมีรัศมีเป็นมาลา ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีรัศมี คือ


อารมณ์เป็นมาลา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๑
๓.๑๔ ธรรมดาปลิงเกาะในที่ใดก็ตาม ต้องเกาะให้แน่นในที่นั้นแล้วจึงดูดเลือด ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรมีจิตเกาะในอารมณ์ใด ควรเกาะอารมณ์นั้นให้แน่นด้วย สี สัณฐาน ทิศ โอกาส
กำ�หนดเพศ นิมิตแล้วดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ด้วยอารมณ์นั้น.
มิลิน. ๔๕๓
๓.๑๕ เพราะจิตของเธอซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูป เป็นต้นมานาน ย่อมไม่ประสงค์จะ
ลงสูว่ ถิ แี ห่งกัมมัฏฐาน คอยแต่จะแล่นออกนอกทางท่าเดียว เหมือนเกวียนทีเ่ ทียมด้วยโคโกง ฉะนัน้ .
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๙๒
๓.๑๖ คนง่อยไกวชิงช้าให้แก่มารดา และบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่ แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่
นั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำ�ดับ ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้าง และตรงกลาง แต่มิได้
ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด
ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอันเข้าไปผูกไว้ด้วยอำ�นาจสติ แล้วโล้ชิงช้า คือ
ลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่ด้วยสติในนิมิตนั้นนั่นเอง ส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุดแห่งลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ในฐานที่ลมถูกต้องแล้วซึ่งพัดผ่านมาผ่านอยู่โดยลำ�ดับ
และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่านั้น นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนคนง่อย.
วิ.มหา. (อรรถ) มก. ๒/๓๕๘
๓.๑๗ แม่น้ำ�คงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุ
เจริญกระทำ�ให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๒๑๑
๓.๑๘ ธรรมดาแมลงป่องย่อมมีหางเป็นอาวุธ ย่อมชูหางของตนเที่ยวไป ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีญาณ (ความรู้แจ้ง) เป็นอาวุธ ควรชูญาณ ฉันนั้น เอาพระขรรค์ คือ
ญาณ ผู้เห็นธรรมด้วยอาการต่างๆ ย่อมพ้นจากภัยทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมอดทนสิ่งที่ทนได้ยากในโลก.
มิลิน. ๔๔๕
๓.๑๙ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมทำ�ให้เห็นของดีของเลว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรทำ�ตนให้เห็นโลกิยธรรม โลกุตรธรรม ด้วยอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปธาน
อิทธิบาท ฉันนั้น
300

ข้อนี้สมกับคำ�ของพระวังคีสเถรเจ้าว่า เมื่อดวงอาทิตย์ตั้งขึ้น ย่อมทำ�ให้เห็นสิ่งต่างๆทั้ง


สะอาด ไม่สะอาด ดี เลว ฉันใด พระภิกษุผู้ทรงธรรมก็ทำ�ให้หมู่ชนอันถูกอวิชชาปกปิดไว้ให้ได้เห็น
ธรรมต่างๆ เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ตั้งขึ้นมา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๒
๓.๒๑ เหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ยาก
ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้
ยาก.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๕๕
๓.๒๒ ธรรมดาแมวย่อมแสวงหาอาหารในที่ใกล้ๆ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
พิจารณาซึ่งความตั้งขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า ความตั้งอยู่ และเสื่อมไป
แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนี้
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ไม่ควรพูดถึงที่ไกลภวัคคพรหมจักทำ�อะไรได้ ควรเบื่อหน่าย
เฉพาะในกายของตนอันมีอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ.
มิลิน. ๔๔๔
๓.๒๓ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า สมาธิมีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า สมาธิมีการเป็นหัวหน้าเป็นลักษณะ คือกุศลกรรมทั้งสิ้น มีสมาธิ
เป็นหัวหน้า เหมือนเวลาพระราชาเสด็จออกสงคราม จตุรงคเสนาทหารทั้งสิ้น มีพระราชาเป็น
หัวหน้า.
มิลิน. ๕๕

๔. ทำ�พระนิพพานให้แจ้ง
๔.๑ ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรบำ�เพ็ญวิปัสสนา ประกอบความเพียรนี้เข้าไปสู่ป่า แล้วบรรลุอรหัต
ผล เหมือนเสือเหลืองซุ่มจับเนื้อกิน ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๖๗๙
๔.๒ ภิกษุนั้นทำ�ลายเปลือกไข่ คือ อวิชชาแล้ว บรรลุพระอรหันต์ในเวลาจบพระคาถา
จำ�เดิมแต่นั้นลูกไก่เหล่านั้น ยังคามเขตให้งามเที่ยวไปในคามเขตนั้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้เป็นพระมหา
ขีณาสพบรรลุผลสมบัติ อันมีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ยังสังฆารามให้งามอยู่เที่ยวไป ฉันนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๑๘๕
301

๔.๓ ทหารในสงครามถืออาวุธ ๕ ประการ กำ�จัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้ภิกษุ


ผู้ปรารภความเพียรทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ถืออาวุธ คือ วิปัสสนา ถือเอาชัย คือ พระอรหันต์ไว้ได้
เพราะเหตุนั้น.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๒/๓๓๑
๔.๔ ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนักวิปัสสนาจำ�นวน ๕๐๐ รูปเหล่านั้น เป็นบุคคลชั้นอุคฆติตัญญู
(ผู้อาจรู้ได้ฉับพลัน) แทงตลอดสัจจะ ดำ�รงอยู่ในพระอรหัตผล เหมือนดอกบัวที่ถึงความแก่แล้ว
พอต้องแสงอาทิตย์ก็บาน ฉะนั้น.
สัง.นิ. (ทั่วไป) มก. ๒๖/๑๘
๔.๕ บุ ค คลใดชนะกิ เ ลสภายในของตนได้ แม้ เพี ย งครั้ ง เดี ย ว บุ ค คลนี้ จั ด เป็ นจอมทั พ
ผู้เกรียงไกรได้.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๖/๑๗๑
๔.๖ ธรรมดาช้างเมื่อเที่ยวไป ย่อมเอาเท้ากระชุ่นดิน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ผู้พิจารณากาย ก็ควรทำ�ลายกิเลสทั้งปวง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘
๔.๗ พระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว ส่องอากาศให้สว่างด้วยรัศมีของตน ชื่อว่า กำ�จัดความมืด
ฉันใด พราหมณ์แม้นั้น เมื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กำ�จัดเสนามารเสียได้
ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
วิ.ม. (พุทธ) มก.๖/๑๔
๔.๘ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อม
กำ�จัดมาร และเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำ�อากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
วิ.ม. (พุทธ) มก.๖/๑๔
๔.๙ ชนเหล่าใดเข้าถึงฌาน ไม่ประมาทละกิเลสได้ ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน
ประดุจปลาทำ�ลายข่ายได้แล้ว ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๓๔๖
๔.๑๐ ต้นไม้น้อมไปสู่ทิศปราจีน (ตะวันออก) โน้มไปสู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้
นั้นเมื่อถูกตัดรากเสียแล้ว จักล้มลงทางทิศที่มันน้อมโน้มโอนไป แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓/๑๔๘
302

๔.๑๑ เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำ�เหยียบแล้ว จักทำ�ลายมือ


หรือเท้าให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยตั้งไว้เหมาะ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำ�ลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักกระทำ�ให้แจ้งซึ่งนิพพานเพราะทิฏฐิ
ที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๕๐
๔.๑๒ แม่น้ำ�คงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุ
ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำ�ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๓๙
๔.๑๓ น้ำ�จากแม่น้ำ�คงคากับน้ำ�จากแม่น้ำ�ยมุนา ย่อมกลมกลืนกันเข้ากันได้อย่างเรียบร้อย
แม้ ฉั น ใด พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั้ นก็ ท รงบั ญ ญั ติ ข้ อ ปฏิ บั ติ สำ� หรั บ ไปถึ ง พระนิ พ พานแก่
พระสาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติก็กลมกลืนกันเป็นอย่างดี ฉันนั้น.
ที.ม. (ทั่วไป) มก. ๑๔/๔
๔.๑๔ โคที่ใช้การได้ และที่พอจะฝึกใช้ได้ ว่ายตัดตรงกระแสแม่น้ำ�คงคาถึงฝั่งโดยสวัสดี
แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด ซึ่งเกิดผุดขึ้น และปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่จำ�ต้องวกกลับมาจาก
โลกนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ� ๕ แม้ภิกษุเหล่านั้น จักตัดตรงกระแสมารแล้ว ถึงฝั่งโดยสวัสดี.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๗๐
๔.๑๕ กลอนเรือนยอดทั้งหมดน้อมไปสู่ยอด โน้มไปสู่ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุเจริญ
โพชฌงค์ ๗ กระทำ�ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๒๑๔
๔.๑๖ ธรรมดาพายุย่อมเที่ยวไปในอากาศ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรให้ใจเที่ยวไป
ในโลกุตรธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๘
๔.๑๗ ธรรมดาพืชถึงมีเพียงเล็กน้อย เมื่อเขาปลูกหว่านลงในที่ดินดี เวลาฝนตกลงมาดี
ก็ ย่ อ มให้ ผ ลมาก ฉั น ใด ภิ ก ษุ ผู้ ป รารภความเพี ย รก็ ค วรปฏิ บั ติ ช อบ เพื่ อ ศี ล นั้ นจะทำ � ให้ ถึ ง ซึ่ ง
โลกุตรธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๐
303

๔.๑๘ ธรรมดาดอกบัวย่อมลอยขึ้นพ้นน้ำ� ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรยกตนขึ้น


พ้นโลก แล้วอยู่ในโลกุตรธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๙
๔.๑๙ ธรรมดาพรานเบ็ดย่อมดึงปลาขึ้นมาด้วยเหยื่อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควร
ดึงผลแห่งสมณะอันยิ่งใหญ่ด้วยญาณ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๙
๔.๒๐ ธรรมดาไฟย่อมกำ�จัดความมืด ทำ�ให้เกิดความสว่าง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ก็ควรกำ�จัดความมืด คือ อวิชชา ทำ�ให้เกิดความสว่าง คือ ญาณ ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธโอวาทที่ทรงสอนพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอจงอบรมจิตใจให้เสมอ
กับไฟ เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้เสมอกับไฟได้แล้ว สิ่งที่ถูกต้องซึ่งเป็นที่พอใจ และไม่พอใจย่อม
ไม่ครอบงำ�จิต.
มิลิน. ๔๓๗
๔.๒๑ ธรรมดานายพรานพอแลเห็นเนือ้ ก็เกิดความร่าเริงว่า เราจักได้เนือ้ ตัวนี้ ภิกษุผปู้ รารภ
ความเพียรพอได้ความยินดีในอารมณ์ ก็ควรเกิดความร่าเริงใจว่า เราจักได้คณ ุ วิเศษยิง่ ขึน้ ไป.
มิลิน. ๔๕๙
๔.๒๒ ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ ซอกเขา ในป่าแล้วก็จับเนื้อ
กิน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น ย่อมไปหาที่สงัดอยู่อันได้แก่ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
ถ้ำ� ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้นก็จะสำ�เร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า
ข้อสมกับคำ�ของพระธรรมสังคาหกมหาเถระเจ้าทั้งหลายว่า เสือเหลืองแอบซุ่มจับกินเนื้อ
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนาก็เข้าไปอยู่ป่ามุ่งประโยชน์สูงสุด ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๕
๔.๒๓ ธรรมดาไม้ขานางย่อมเจริญอยู่ใต้ดินแล้วสูงขึ้นถึง ๑๐๐ ศอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรแสวงหาสมณะธรรม คือ สามัญผล ๔ ปฏิสัมมาภิทา ๔ อภิญญา ๖ ในที่สงัด
ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระราหุลว่า ไม้ขานางมีรากหยั่งลงไปใต้ดินตั้ง ๑๐๐ ศอก เวลาถึงกาล
แก่แล้วก็งอกขึ้นในวันเดียวตั้ง ๑๐๐ ศอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรผู้อยู่ในที่สงัดก็เจริญขึ้น
ด้วยธรรม ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๐
304

๔.๒๔ ควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอกช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของ


สัตว์ป่า แก้ไขความดำ�ริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำ�บากใจ และความ
เร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ
ฉันใด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่า เป็นหลักผูกใจของ
อริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติที่ยังผูกพันอยู่กับเรือน แก้ไขความดำ�ริพล่านผูกพันอยู่กับเรือน แก้ไข
ความกระวนกระวาย ความลำ�บากใจ และความเร่าร้อนใจที่ยังผูกพันอยู่กับเรือน... เพื่อทำ�นิพพาน
ให้แจ้ง.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๙๒
๔.๒๕ ภิกษุทั้งหลาย ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของแม่ ได้ว่ายตัดตรง
กระแสแม่น้ำ�คงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด ซึ่งหน่วงธรรม และศรัทธาเป็นหลัก
แม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรงกระแสมารถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๗๐
๔.๒๖ ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความนับว่า
ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความ
นับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงหนุ่มล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุมหาเถระยังไม่สิ้นอาสวะทำ�กาละลง ก็ถึง
ความนับว่า ภิกษุมหาเถระทำ�กาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุเถระไม่สิ้น อาสวะทำ�กาละลง ก็ถึง
ความนับว่า ภิกษุเถระทำ�กาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุมัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะทำ�กาลละ ก็ถึง
ความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำ�กาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะทำ�กาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำ�กาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดีหัดดีแล้วล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้ม
ตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ฝึกดีหัดดีแล้วล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูน
ปานกลางล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดีหัดดีแล้วล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้าง
หลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุมหาเถระสิ้นอาสวะแล้วทำ� กาละลง ถ้า
ภิกษุเถระ... ถ้าภิกษุมัชฌิมะ... ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้วทำ�กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะ
305

ทำ�กาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้วทำ�กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำ�


กาละ ตายอย่างฝึกแล้ว.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๙๔
๔.๒๗ พระบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบอริยสาวกกับต้นปาริฉัตรดังนี้ คือ
เมื่อพระอริยสาวกคิดออกบวช เปรียบเหมือนต้นปาริฉัตรมีใบเหลือง
เมื่อปลงผม และนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ เปรียบเหมือนผลัดใบใหม่
เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน เปรียบเหมือนมีปุ่มดอก ปุ่มใบ
เมื่อบรรลุทุติยฌาน เปรียบเหมือนเป็นดอกเป็นใบ
เมื่อบรรลุตติยฌาน เปรียบเหมือนเป็นดอกตูม
เมื่อบรรลุจตุตถฌาน เปรียบเหมือนดอกแย้ม
เมื่อทำ�เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติทำ�อาสวะให้สิ้น เปรียบเหมือนดอกที่บานเต็มที่.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๔๓
๓๕
ม ง ค ล ที่

จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ธรรมดาดอกบัวย่อมเกิดในน้ำ� โตในน้ำ� แต่น้ำ�ไม่ติดค้างบนดอกบัว ฉันใด
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรติดอยู่ในครอบครัว
หมู่คณะ ลาภ ยศ สรรเสริญ และปัจจัย ๔
รวมทั้งกิเลสทั้งปวง ฉันนั้น
307

๑. ความไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๑.๑ ภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่งเดียว คือ ไม่มีโพรง ย่อมไม่สะเทือน คือ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหว
ด้วยลม ฉันใด เมื่อโลกธรรม ๘ ครอบงำ�อยู่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เอนเอียง คือ ไม่หวั่นไหว
ไม่สะเทือนด้วยอำ�นาจความยินดีร้ายหรือยินดี ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๔๒
๑.๒ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว รูปนั้นไม่
ครอบงำ � จิ ต ของท่ า นได้ จิ ต ของท่ า นย่ อ มไม่ เจื อ ด้ ว ยกิ เ ลส เป็ นจิ ต ตั้ ง มั่ นถึ ง ความไม่ ห วั่ น ไหว
ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู... ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก... ฯลฯ รสที่
พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย... ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ... ฯลฯ
มาสู่คลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมารมณ์นั้นย่อมไม่ครอบงำ�จิตของท่านได้ จิตของ
ท่านย่อมไม่เจือด้วยกิเลสเป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
ความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
เปรียบเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ ถ้าแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมา
จากทิ ศ บู ร พาไซร้ ก็ ไม่ พึ ง ยั ง ภู เขาศิ ล านั้ น ให้ ห วั่ น ไหวให้ ส ะเทื อ นสะท้ า นได้ พึ ง พั ด มาจากทิ ศ
308

ประจิม ฯลฯ พึงพัดมากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว


ให้สะเทือนสะท้านได้ ฉะนั้น.
อัง.ฉักก. (เถระ) มก. ๓๖/๗๑๐
๑.๓ แผ่นดินย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่ทำ�ความยินดี
ยินร้าย ฉันใด แม้ตัวท่านก็ต้องอดทนการยกย่อง และการดูหมิ่นของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงฝั่งแห่งขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขุ.พุทธ. (โพธิ) มก. ๗๓/๒๓๘
๑.๔ ภิกษุใดเสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสาเขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปลือกตมไป
ปราศแล้ว เหมือนห้วงน้ำ�ปราศจากเปลือกตม ย่อมไม่ยินดี ยินร้าย สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่
ภิกษุนั้น ผู้คงที่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๘๗
๑.๕ ธรรมดาแผ่นดินย่อมปราศจากความยินดี ยินร้าย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรปราศจากความยินดียินร้าย มีใจหนักแน่นเสมอกับแผ่นดิน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๖
๑.๖ ธรรมดาไฟย่อมไม่มีความยินดี ยินร้าย มีแต่ทำ�ให้เกิดความร้อน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรมีใจเหมือนดั่งไฟ คือ ไม่ยินดียินร้าย ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๗
๑.๗ เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไป
ได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันนั้น.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๕๕
๑.๘ บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยง เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่ใน
ธรรมมีขันธ์ และอายตนะ เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดี และความโลภ
เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ� พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (ทั่วไป) มก. ๔๖/๑๐๒

๒. ไตรลักษณ์
๒.๑ เสียงรถย่อมมีได้เพราะการประชุมองค์ประกอบของรถ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมี
อยู่ การสมมุติกันว่าสัตว์ก็ย่อมมี ฉันนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๔๒
309

๒.๒ สังขารทั้งหลายมิใช่เป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์แต่เพียงอย่างเดียว ยังปรากฏไม่มีสาระ


หาสาระมิได้ ดุจหยาดน้ำ�ค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ� ดุจรอยขีดในน้ำ�ด้วยไม้ ดุจเมล็ดผัก
กาดบนปลายเหล็กแหลม ดุจสายฟ้าแลบ และดุจภาพลวง พยับแดด ความฝัน และฟองน้ำ�
เป็นต้น อันตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย.
ขุ.จู. (ทั่วไป) มก. ๖๗/๖๔๗
๒.๓ ธรรมดาอากาศย่อมเป็นที่ท่องไปของฤาษี ดาบส ภูต สัตว์มีปีก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรก็ควรปล่อยใจไปในสังขารทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๙
๒.๔ อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ�กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ
และอวิชชาทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้ อุปมาเหมือนชาวนาเมื่อไถนาด้วยคันไถใหญ่ ย่อม
ไถทำ�ลายรากหญ้าที่เกี่ยวเนื่องทุกชนิด.
สัง.ข. (พุทธ) มก. ๒๗/๓๕๖

๓. โทษของลาภสักการะ
๓.๑ ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าไม้ไผ่ ดอกอ้อฆ่าไม้อ้อ ลูกม้าฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉันใด
สักการะก็ฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๖๗๗
๓.๒ ไม้ไผ่ย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๙/๒๘๑
๓.๓ แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน ย่อมตั้งครรภ์เพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ลาภ
สักการะ แลความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๙/๒๘๑
๓.๔ ต้นกล้วยผลิตผลเพื่อฆ่าตน ย่อมผลิตผลเพื่อความวอดวาย ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
วิ.จุ. (พุทธ) มก. ๙/๒๘๑
๓.๕ เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาขยี้ดีหมี ดีปลาใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่งดุร้ายกว่าเดิม
หลายเท่าโดยแท้ ฉันใด พระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จไปบำ�รุงพระเทวทัตทั้งเวลาเย็น เวลา
เช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ ถาด เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึง
หวังความเจริญเพียงนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๖๗๙
310

๓.๖ สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นเป็นโรคเรื้อน อยู่บนบกก็ไม่สบาย อยู่โคนไม้ก็ไม่สบาย อยู่ในที่


แจ้งก็ไม่สบาย เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใดๆ ก็ไม่สบาย เป็นทุกข์ในที่นั้นๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำ�
ย่ำ�ยีจิตแล้ว อยู่ในเรือนว่างก็ไม่สบาย อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่สบาย อยู่ในที่แจ้งก็ไม่สบาย เดิน ยืน นั่ง
นอนในที่ใดๆ ก็ไม่สบาย เป็นทุกข์ในที่นั้นๆ.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๖๔๙
๓.๗ แกะขนยาวเข้าไปสู่ชัฏหนาม พึงข้องอยู่ อันหนามเกี่ยวไว้ติดอยู่ในที่นั้นๆ ได้รับทุกข์
ถึงความพินาศในที่นั้นๆ ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้อันลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำ� ย่ำ�ยีจิตแล้ว ก็ฉัน
นั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอข้องอยู่อันปัจจัยเกี่ยว
ไว้ ผูกไว้ในที่นั้นๆ ย่อมได้รับทุกข์ ถึงความพินาศในที่นั้น.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๖๔๔
๓.๘ แมลงวันกินขี้เต็มท้องแล้ว ข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า
เรากินขี้เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีก ฉันใด
ภิ ก ษุ บ างรู ป ในธรรมวิ นั ย นี้ อั น ลาภสั ก การะ และความสรรเสริ ญ ครอบงำ � ย่ำ � ยี จิ ต แล้ ว
ก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้นพอแก่
ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว เธอไป
อารามแล้วอวดอ้างที่ท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์เพื่อให้
ฉันในวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตของผมก็เต็ม และยังจะได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำ�ย่ำ�ยีจิตของเธอแล้ว ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มี
ศีลเป็นที่รัก โมฆบุรุษนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ลาภสักการะ
และความสรรเสริญทารุณอย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
สัง.นิ. (พุทธ) มก. ๒๖/๖๔๕
๓.๙ พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภ และสักการะ ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ
จึงเป็นผู้ไม่มีแก่นสาร.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๖
311

๔. ไม่ติดลาภสักการะ
๔.๑ พระมหาสัตว์ผู้เจริญโดยสัญชาติในโลกเป็นผู้อบรมดี ไม่ติดในโลกธรรมทั้งหลาย
เหมือนดอกบัวไม่ติดด้วยน้ำ� ฉันนั้น.
ขุ.จริยา. (อรรถ) มก. ๗๔/๕๔
๔.๒ ธรรมดาดอกบัวย่อมเกิดในน้ำ� โตในน้ำ� แต่น้ำ�ไม่ติดค้างบนดอกบัว ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรติดอยู่ในครอบครัว หมู่คณะ ลาภ ยศ สรรเสริญ และปัจจัย ๔ รวมทั้ง
กิเลสทั้งปวง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๒๙
๔.๓ ธรรมดาเต่าย่อมขุดดินลงไปอยู่ในที่เงียบ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ก็ฉันนั้น
ควรทิ้งลาภสักการะ สรรเสริญ แล้วเข้าป่าหาความสงัดอยู่.
มิลิน. ๔๒๗
๔.๔ ธรรมดาของเครื่องเรือที่ขัดข้อง ย่อมกักเรือไว้ในน้ำ�อันลึกตั้ง ๑๐๐ ศอก ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรข้องอยู่ในเครื่องยึดเหนี่ยว คือ ลาภ ยศ สักการะ การกราบไหว้บูชา
ควรพิจารณาแต่ปัจจัยที่พอช่วยประทังร่างกายให้คงอยู่เท่านั้น
ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรว่า เครื่องขัดข้องในเรือมหาสมุทรย่อมไม่ลอยอยู่ มีแต่จม
อยู่ข้างล่าง ฉันใด ท่านทั้งหลายอย่าข้องอยู่ในลาภสักการะ อย่าจมอยู่ในลาภสักการะ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๑
๔.๕ ธรรมดาเรือย่อมสู้ลูกคลื่น สู้ลมแรงได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรสู้คลื่น
คือ กิเลสต่างๆ เป็นอันมาก เช่น ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ การบูชากราบไหว้ การนินทา
สรรเสริญ ความสุข ความทุกข์ การนับถือ การดูหมิ่นอย่างยิ่ง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๑
๓๖
ม ง ค ล ที่

จิตไม่โศก
บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว
ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในเวลาตาย
ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟใหม้ ฉะนั้น
313

๑. ความโศก ความอาลัย ความคร่ำ�ครวญ


๑.๑ ความโศก พึงเป็นเหมือนการหุงต้มภายในภาชนะด้วยไฟอ่อนๆ.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๑๕๘
๑.๒ ตัณหาที่เลวทรามซ่านไปในโลก ย่อมครอบงำ�บุคคลใดไว้ได้ ความโศกย่อมเจริญแก่
บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตกรดแล้วเจริญงอกงามขึ้น ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก.๕๒/๑๗๕
๑.๓ ความคร่ำ�ครวญพึงเห็นเหมือนการล้นออกนอกภาชนะของอาหารที่หุงต้มด้วยไฟแรง.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๑๕๘
๑.๔ ความคับแค้นใจพึงเห็นเหมือนการเคี่ยวอาหารที่เหลือจากล้นออกภายนอก ล้นออก
ไม่ได้อีก เคี่ยวภายในภาชนะนั่นจนกว่าจะหมด.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๑๕๘
๑.๕ เราปรารถนาผู้ตายไปยังปรโลกแล้ว เหมือนเด็กร้องไห้อยากได้พระจันทร์ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๙๑๑
๑.๖ พระพักตร์ของสมเด็จพระบิดาเป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำ�ด้วยมือ.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๒๙๖
314

๒. เหตุแห่งความโศก
๒.๑ พระราชาเสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานที่สมบูรณ์ด้วยต้นไม้อันเต็มไปด้วยดอก และ
ผล เป็นต้น ที่ตกแต่งไว้เป็นอย่างดี ทรงยินดีด้วยสมบัตินั้นๆ ย่อมทรงบันเทิงรื่นเริงเบิกบานไม่เบื่อ
แม้เย็นแล้วก็ไม่ปรารถนาจะออกไป ฉันใด สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยกาม และอาลัย คือ ตัณหา
เหล่านี้ก็ฉันนั้น ย่อมเบิกบานไม่เบื่ออยู่ในสังสารวัฏ.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๘/๔๔๕
๒.๒ คนพาลทั้งหลายย่อมเหี่ยวแห้งเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะปรารถนาอารมณ์ที่ยัง
ไม่มาถึง และความเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ดุจไม้อ้อที่ยังเขียวสด ถูกถอนทิ้งไว้ที่แดด
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๓

๓. โทษของความโศก
๓.๑ ความโศกย่อมแทงหทัยของสัตว์ทั้งหลาย ดุจลูกศรอาบยาพิษ ย่อมเผาสัตว์เหมือนกรง
เหล็กที่ไฟติดแดงเผาแกลบ ฉะนั้น ความโศกย่อมนำ�มาซึ่งความทำ�ลาย กล่าวคือ พยาธิ ชรา และ
มรณะ นำ�มาซึ่งทุกข์มีประการต่างๆ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทุกข์.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๑๕๖
๓.๒ ความโศกย่อมทิ่มแทงหัวใจของสัตว์ทั้งหลาย ดุจถูกลูกศรอาบยาพิษ และย่อมแผด
เผาอย่างแรงกล้าดุจหลาวเหล็กถูกไฟเผาสังหารอยู่.
ขุ.ป. (อรรถ) มก. ๖๘/๔๒๔
๓.๓ หม้อน้ำ�ที่แตกแล้วจะประสานให้ติดอีกไม่ได้ ฉันใด ผู้ใดเศร้าโศกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว
ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนฉันนั้น.
ขุ.เปต. (ทั่วไป) มก. ๔๙/๑๓๐
๓.๔ น้ำ�ตาของคนที่ร้องไห้ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นน้ำ�ตาร้อน ส่วนน้ำ�ตาของผู้ฟังธรรม
แล้วร้องไห้ด้วยปีติโสมนัสเป็นน้ำ�ตาเย็น.
มิลิน. ๑๒๑
๓.๕ พระองค์ทรงหวั่นไหวด้วยความเศร้าโศก ดุจช้างพลายตกมันถูกไกรสรราชสีห์จับ และ
ดุจดวงจันทร์เข้าไปในปากแห่งราหู.
ขุ.ชา. (อรรถ )มก. ๖๔/๗๒๙
315

๔. การบรรเทา กำ�จัดความโศก
๔.๑ พึงกำ�จัดความรำ�พันเสีย บุคคลพึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำ� ฉันใด นรชนผู้เป็น
นักปราชญ์มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงกำ�จัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสียโดยฉับพลัน เหมือนลมพัดนุ่น
ปลิวไป ฉันนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๗/๕๕๙
๔.๒ คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำ� ฉันใด คนผู้เป็นนักปราชญ์ได้รับการศึกษามาดี
มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงรีบกำ�จัดความโศกที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เหมือนลมพัดปุยนุ่น ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๐/๗๓
๔.๓ การที่พวกบัณฑิตเป็นผู้บรรเทาความเศร้าโศกผู้อื่นได้ นี่แหละเป็นที่พึ่งอย่างยอดเยี่ยม
ของนรชน เหมือนอย่างเกาะเป็นที่พำ�นักของคนที่ต้องเรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๗๐
๔.๔ เจ้าดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หาย เหมือนบุคคลเอาน้ำ�
ดับไฟอันลาดด้วยน้ำ�มัน ฉันนั้น ได้ถอนขึ้นแล้วซึ่งลูกศร คือ ความโศกอันเสียบแล้วที่หทัย.
ขุ.เปต. (ทั่วไป) มก. ๔๙/๗๖
๔.๕ ความข้องในปัจจัยก็ดี ตระกูลก็ดี วิหารก็ดี บริเวณก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา บุตร
ของเราไม่ข้องในอะไรๆ เลย เหมือนพระยาหงส์ร่อนลงในเปลือกตม เที่ยวไปในเปลือกตมนั้นแล้วก็
บินไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๗๒
๔.๖ แม้การไปมาของพระจันทร์ พระอาทิตย์กย็ งั เห็นกันอยู่ รัศมีของพระจันทร์ พระอาทิตย์
ก็ยังเห็นกันอยู่ในวิถีทั้งสอง คนที่ตายล่วงลับไปแล้ว ใครก็ไม่เห็น เราสองคนที่ร้องไห้คร่ำ�ครวญอยู่
ในที่นี้ ใครโง่กว่ากัน.
ขุ.วิ. (ทั่วไป) มก. ๔๘/๖๒๘
๔.๗ จงถอนความเสน่หาของตนขึ้นเสียเถิด เหมือนกับถอนดอกโกมุทที่บานในฤดูสารท
กาลด้วยมือของตน ฉะนั้น.
สัง.ข. (พุทธ) มก. ๔๓/๑๓๐
๔.๘ บุคคลใดในโลกนี้ รู้สึกตัว ละของรักได้ เสพอริยธรรมแม้ด้วยความฝืนใจ เหมือนคน
เป็นไข้ดื่มโอสถ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๗๐๒
316

๔.๙ เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ อันโคจรอยู่ในอากาศ ฉันใด การที่บุคคลเศร้าโศกถึงผู้ละโลก


ไป ก็ฉันนั้น...
หม้อน้ำ�ที่แตกแล้ว เชื่อมให้สนิทอีกไม่ได้ ฉันใด การที่บุคคลเศร้าโศกถึงผู้ที่ละโลกไปสู่
ปรโลกแล้วนี้ ก็ฉันนั้น...
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๘/๗๓๐
๔.๑๐ นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด คนก็ฉันนั้น รู้ว่า
เขาหมดความอาลัยแล้ว ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่ เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๕๙๙
๔.๑๑ บิดาของคฤหบดีคนหนึ่งตายไป เขาเดินไปยังเชิงตะกอนด้วยความเศร้าโศก บุตรของ
เขาชื่อ สุชาตะ (พระโพธิสัตว์) ยังเป็นเด็ก แต่สมบูรณ์ด้วยปัญญา คิดหาอุบายเครื่องกำ�จัดโศก
วันหนึ่ง เห็นโคตาย จึงนำ�หญ้าและน้ำ�ไปวางไว้ที่หน้าโค สหายของบิดามาพบ ก็ว่าเด็กนั้น
เป็นบ้าหรือ
ความทราบถึงกุฎุมพี เขาคลายโศกระลึกถึงบุตรว่า เป็นบ้าไปแล้ว จึงรีบมาตักเตือน
สุชาตกุมารก็ตอบว่า โคตัวนี้อวัยวะยังอยู่ครบ ข้าพเจ้าคิดว่า จะลุกขึ้นมากินหญ้าสักวัน
ส่วนอวัยวะของคุณปู่ไม่ปรากฏ แต่คุณพ่อมาร้องไห้ถึงกระดูกที่บรรจุไว้ในสถูปดิน จะไม่เป็นคนโง่
ไปหรือ บิดาได้ฟังจึงคลายความโศก.
ขุ.เปต. (โพธิ) มก. ๔๙/๗๖

๕. ผู้ไม่เศร้าโศก
๕.๑ โภคสมบัตทิ ง้ั หลายย่อมละทิง้ สัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ยอ่ มละทิง้ โภคสมบัตเิ หล่านัน้ ไปก่อน
บ้าง ดูกอ่ นโจรผูใ้ คร่ในกาม พวกชนเป็นผูม้ โี ภคสมบัตอิ นั ไม่เทีย่ ง เพราะฉะนัน้ เราจึงไม่เศร้าโศก
ดวงจันทร์เต็มดวงย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้วย่อมจากไป ดูก่อน โลกธรรม
ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เศร้าโศก.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๖๑๑
๕.๒ บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้า
โศกในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒
๕.๓ ความคร่ำ�ครวญ และความหวงแหนมิได้ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำ�ไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๖๒๗
317

๕.๔ หม่อมฉันปราศจากความรักในพระองค์แล้ว ความรักนั้นประสานกันอีกไม่ได้ ดุจงาช้าง


อันตัดขาดแล้วด้วยเลื่อย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๗/๔๔๖
๕.๕ ฝูงนกถือเอาเหยื่อของตนในเปือกตมอันบริบูรณ์แล้วไป ไม่ทำ�ความห่วงในที่นั้นว่า น้ำ�
ของเรา ดอกปทุมของเรา ดอกอุบลของเรา ดอกบุณฑริกของเรา หญ้าของเรา หาความเสียดาย
มิได้เทียว ละประเทศนั้น บินเล่นไปในอากาศ ฉันใด
พระขีณาสพทั้งหลายทั้งหลาย ก็ฉันนั้น แม้อยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ข้องในสกุล แม้ในคราวไปก็
ละที่นั้นไป หาความห่วงหาความเสียดายว่า วิหารของเรา บริเวณของเรา อุปัฏฐากของเรามิได้
ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๗๓
๕.๖ เราตถาคตไม่คำ�นึงถึงความตาย ไม่คำ�นึงถึงชีวิต มุ่งแต่กาลกิริยา (ดับขันธปรินิพพาน)
อย่างเดียว เหมือนลูกจ้างมุ่งแต่ค่าจ้างเท่านั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๔๗๗
๕.๗ แผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย แต่แผ่นดินไม่ได้มีความเยื่อใยว่า สัตว์เหล่า
นี้เป็นของเรา ฉันใด พระตถาคตเจ้าก็เป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งปวง แต่ไม่ทรงห่วงใยว่า สัตว์
ทั้งหลายเป็นของเรา ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๓๒
๕.๘ เมฆใหญ่ที่ตกลงมา ย่อมให้ความเจริญแก่หญ้า ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง และมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมเลี้ยงรักษาสัตว์ทั้งปวงไว้ สัตว์ทั้งปวงก็มีชีวิตอยู่ได้เพราะน้ำ�ฝน แต่ว่า น้ำ�ฝนไม่ได้ถือว่า สัตว์
ทั้งปวงเป็นของเรา ฉันใด
พระตถาคตเจ้าก็ทรงทำ�ให้เกิดกุศลธรรมแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงรักษาสัตว์ทั้งปวงไว้ด้วยศีล
สัตว์ทั้งปวงที่เลื่อมใสก็ได้อาศัยพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห่วงใยว่า สัตว์ทั้งปวงเป็น
ของเรา ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๓๒
๕.๙ ธรรมดาช้างย่อมไม่นอนประจำ�อยู่ในที่แห่งเดียว เที่ยวหากินในที่ใด ไม่พักนอนในที่นั้น
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรนอนประจำ� คือ ไม่ควรห่วงใยในที่เที่ยวบิณฑบาต ถ้าได้เห็น
ที่ชอบใจ คือ ปะรำ� โคนต้นไม้ ถ้ำ� เงื้อมเขา ก็ควรเข้าพักอยู่ในที่นั้นแล้ว ไม่ควรห่วงใยในที่นั้น.
มิลิน. ๔๔๘
318

๕.๑๐ ธรรมดาอากาศย่อมไม่ติด ไม่ข้อง ไม่ตั้ง ไม่พัวพันอยู่ในสิ่งใด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ


ความเพียรก็ไม่ควรข้อง ไม่ควรยึดติด ไม่ควรตั้งอยู่ ไม่ควรผูกพันอยู่ในตระกูล หมู่คณะ ลาภ
อาวาส เครื่องกังวล ปัจจัย และกิเลสทั้งปวง ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลไว้ว่า ดูก่อนราหุล อากาศย่อมไม่ตั้ง
อยู่ในที่ใดได้ ฉันใด เธอจงอบรมจิตใจให้เสมอกับอากาศ ฉันนั้น เพราะเมื่อเธออบรมจิตใจให้เสมอ
กับอากาศได้แล้ว ผัสสะอันเป็นที่พอใจ และไม่พอใจ ย่อมไม่ครอบงำ�จิตใจได้.
มิลิน. ๔๔๐
๕.๑๑ ธรรมดาพายุย่อมพัดเรื่อยไป ไม่ห่วงใยเสียดายสิ่งใด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ก็ไม่ควรห่วงใยต่อสิ่งทั้งปวง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๘
319
๓๗
ม ง ค ล ที่

จิตปราศจากธุลี
เมื่อน้ำ�ไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์
บุคคลย่อมแลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
321

๑. จิตปราศจากธุลี
๑.๑ เมื่อน้ำ�ขุ่นมัวไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา
ฉันใด เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
เมื่อน้ำ�ไม่ขุ่นมัวใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมแลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา
ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๗/๑๙๖
๑.๒ ธรรมดาราชสีห์ย่อมมีกายขาวบริสุทธิ์ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรให้จิตขาว
บริสุทธิ์ ปราศจากความรำ�คาญ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๙
๑.๓ ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย ไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว
เป็นเช่นศิลาแท่งทึบที่ไม่สะเทือนด้วยแรงลม.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๔๑

๒. โทษของกิเลส
๒.๑ สังโยชน์เหล่านั้นผู้ใดยังละไม่ได้ แม้ผู้นั้นจะบังเกิดขึ้นในภวัคคพรหมก็จริง ถึงกระนั้น
322

เขาก็ย่อมบังเกิดในกามาวจรอีกเพราะสิ้นอายุ บุคคลนี้มีอุปมาเสมอด้วยปลาติดเบ็ด อุปมาเหมือน


นกถูกด้ายยางผูกติดไว้ที่ขา ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๔๒๙
๒.๒ เนื้อหรือสุกรที่ถูกคล้องบ่วงไว้ไม่รู้อุบายจะแก้บ่วง ดิ้นไปๆ มาๆ กระตุกบ่วงนั้น ย่อม
ทำ�ตรงที่ผูกรัดให้แน่นเข้า ฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อก่อนถูกบ่วงกิเลสสวมไว้ ไม่รู้อุบายที่จะแก้ ดิ้นรน
ไปด้วยอำ�นาจทางกายแก้บ่วง คือ กิเลสนั้นไม่ได้ กระทำ�มันให้แน่นเข้า ย่อมถึงกิเลสตัวอื่นอีก
เพราะทุกข์มีความโศก เป็นต้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๔๕
๒.๓ เหล่ากิเลสย่อมย่ำ�ยีนรชนนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำ�ไหลเข้าสู่เรือที่
แตกแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๔๖/๒๒๑
๒.๔ กิเลสเหล่านั้นเจริญงอกงามขึ้น ย่อมครอบงำ�คนเป็นอันมากไว้ในอำ�นาจ ดังจะเล่นกับ
พวกคนพาล เหมือนปิศาจเข้าสิงทำ�คนให้เป็นบ้าเพ้อคลั่งอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๑๘๑
๒.๕ ไฟเสมอด้วยราคะย่อมไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์
ย่อมไม่มี สุขอื่นจากความสงบย่อมไม่มี.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๓๗๒
๒.๖ กิเลสเกิดขึ้นแม้คราวเดียวด้วยอำ�นาจตัณหา และโลภะ ย่อมแก้หลุดได้ยาก เหมือน
เต่าหลุดจากที่ผูกได้ยาก.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๗/๒๗๙
๒.๗ โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำ�จัดบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำ�จัด
ไม้ไผ่ ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๖/๓๑๑
๒.๘ บุคคลเห็นแก่โลกามิส ชอบประพฤติตามอำ�นาจของจิต เขาย่อมเดือดร้อนอยู่ใน
ท่ามกลางหมู่ญาติ และสหาย ดุจจระเข้ผู้ติดตามปลาไปถูกแทง ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๗/๔๔๐
๒.๙ แมลงวัน คือ มิจฉาวิตก ย่อมจะกัดกินผู้ที่ละความสงบสงัดเที่ยวไป.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๕/๑๖
323

๒.๑๐ ความติดใจย่อมจับอารมณ์ไม่อยากจะปล่อย เหมือนปลิงเกาะ.


ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๒๖๒
๒.๑๑ ผู้แวดล้อมเกลื่อนกล่นด้วยอกุศลวิตก เหมือนต้นไม้ถูกล้อมด้วยเชิงเถาวัลย์ และ
เหมือนรวงผึ้งแวดล้อมด้วยตัวผึ้ง ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (เถระ) มก. ๔๔/๓๘๔
๒.๑๒ สัตว์เป็นอันมากเกิดแล้วในโลก ย่อมงอกงามไม่อิ่มด้วยราคะ และโทสะ เหมือนดอก
โกมุทในเปือกตม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒๖๒
๒.๑๓ จิตนี้ย่อมดิ้นรนเหมือนปลา อันพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำ�.
อัง.เอกก. (พุทธ) มก. ๓๒/๔๕๒

๓. การกำ�จัดกิเลส
๓.๑ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมทำ�ให้พืชทั้งปวงเหี่ยวแห้ง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรทำ�กิเลสทั้งปวงให้แห้งลง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๑
๓.๒ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมกำ�จัดความมืด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็พึงกำ�จัด
ความมืดทั้งปวง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๑
๓.๓ ชนเหล่าใดปราศจากความกำ�หนัด มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว พ้นจากการจับแห่งกิเลส
เปล่งปลั่งอยู่ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากราหูจับ สว่างไสวอยู่ ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๔๕๗
๓.๔ ธรรมดาไฟย่อมไม่มีความปราณีต่อสิ่งใด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควร
ปราณีต่อกิเลสทั้งปวง ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๗
๓.๕ ธรรมดาภูเขาศิลาย่อมไม่มีพืชพันธุ์งอกขึ้นได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่
ปล่อยให้กิเลสงอกขึ้นในใจของตนได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๙
๓.๖ ธรรมดาภูเขาย่อมเป็นของแข็ง ไม่เจือปนกับสิ่งใด ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ควรมีใจเข้มแข็งในสิ่งทั้งปวง ไม่คลุกคลีกับกิเลสใดๆ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๘
324

๓.๗ ภิกษุผู้ดุจภูเขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความสิ้นโมหะ เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว


ตั้งอยู่ด้วยดี ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (พุทธ) มก. ๔๔/๓๒๓
๓.๘ ธรรมดาป่าย่อมเป็นสถานที่อันบริสุทธิ์ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเป็น
ผู้บริสุทธิ์ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๖
๓.๙ ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่ว่างเปล่าจากผู้คน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเป็น
ผู้ว่างจากกิเลส ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๖
๓.๑๐ ภิกษุใดเสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสาเขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไป
ปราศแล้ว เหมือนห้วงน้ำ�ปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ยินดี ยินร้าย สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุ
ผู้คงที่นั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๓๘๗
๓.๑๑ ธรรมดาพายุย่อมพัดหมู่ไม้ให้พินาศ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรพิจารณา
สังขารในป่า ขยี้กิเลสทั้งหลายให้แหลกราน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๘
๓.๑๒ ธรรมดาเมฆย่อมระงับละอองเหงื่อไคลซึ่งเกิดแล้ว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ควรระงับเหงื่อไคล คือ กิเลส ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๕๗
๓.๑๓ ธรรมดาอากาศย่อมไม่มีใครจับต้องได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรปล่อย
ให้กิเลสยึดจับ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๙
๓.๑๔ บุคคลผู้สงบ งดเว้นจากการทำ�ความชั่ว พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำ�จัดบาป
ธรรมทั้งหลาย เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๕๔
๓.๑๕ เราแสวงหาช่างผู้ทำ�เรือน เมื่อไม่ประสบจึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก
ความเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์ แน่ะนายช่างผู้ทำ�เรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำ�เรือนอีกไม่ได้ ซี่โครง
ทุกซี่ของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุง
แต่งแล้ว เพราะเราบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๔๒
325

๓.๑๖ จงตัดความสงสัยลังเลใจให้ขาดไปในวันนี้ เหมือนช่างทำ�งาช้างตัดงาช้างให้ขาดไป


ด้วยเลื่อยอันคม ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๔/๓๖๑
๓.๑๗ ธรรมดาเครื่องขัดข้องแห่งเรือ ย่อมขัดข้องเรือไว้ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ อันเต็ม
ไปด้วยคลื่นระลอก ไม่ให้ไปสู่ทิศไหนได้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็มีจิตไม่กระทบในลูกคลื่น
คือ ราคะ โทสะ โมหะอันเป็นวิตกใหญ่ที่จะทำ�ให้ไม่อาจออกสู่ทิศทางใดได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๑
๓.๑๘ บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยง เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง เหมือนลมไม่
ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดี และความโลภ เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๖/๑๐๒
๓.๑๙ ธรรมดาเนื้อในป่าย่อมรู้จักหลบหลีกลูกศร ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภควาเพียรก็ควรรู้จัก
หลบหลีกกิเลส ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๖
๓.๒๐ ธรรมดาเต่าเมื่อโผล่ขึ้นจากน้ำ� ย่อมชูศีรษะมองดูสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วจึงจมลงไปให้ลึก
ด้วยคิดว่า อย่าให้มีผู้อื่นเห็นเรา ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ฉันนั้น คือ เมื่อเกิดกิเลสขึ้นแล้ว
ก็พึงดำ�ลงไปในสระน้ำ� คือ วางใจให้กลับลึกเข้าข้างใน ด้วยคิดว่า อย่าให้กิเลสเห็นเราอีกเลย.
มิลิน. ๔๒๖
๓.๒๑ ตัวหนอนทั้งหลายย่อมไม่อยู่ในยาดับพิษ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรให้
กิเลสอยู่ในใจ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๓
๓.๒๒ ธรรมดายาดับพิษย่อมกำ�จัดพิษทั้งปวงอันเกิดจากการถูกกัด สัมผัส หรือพบเห็น
กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มลอง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรกำ�จัดพิษ คือ ราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๓
๓.๒๓ ธรรมดาร่มย่อมอยู่เหนือศีรษะ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรอยู่เหนือกิเลส
ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๑
๓.๒๔ ธรรมดาร่มย่อมกันลม แดด เมฆ ฝน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรกำ�จัด
ลัทธิของสมณพราหมณ์ และควรกำ�จัดเครื่องร้อน คือ ไฟ ๓ กอง กำ�จัดฝน คือ กิเลส ฉันนั้น
326

ข้อนี้สมกับคำ�ของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า ร่มใหญ่อันไม่ขาด ไม่ทะลุ แน่นหนา แข็งแรง


ย่อมกันลม กันแดดฝนห่าใหญ่ได้ ฉันใด พระพุทธเจ้าผู้กั้นร่ม คือ ศีลผู้บริสุทธิ์ก็กันฝน คือ กิเลส
กันไฟ ๓ กอง อันทำ�ให้เร่าร้อนได้ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๖๒
๓.๒๕ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะ และโทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อย
ดอกทั้งหลายที่เหี่ยวเสีย ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๓๓๙
๓.๒๖ ธรรมดาไฟย่อมเผาหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเผา
กิเลสทั้งภายนอก ภายใน ด้วยไฟ คือ ญาณ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๗
๓.๒๗ พระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุว่า หากไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ ก็ควร
เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนเอง เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว
ย่อมส่องเงาหน้าของตนในกระจกคันฉ่องอันบริสุทธิ์ หรือในภาชนะน้ำ�อันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำ�
ก็พึงขจัดออกเสีย
ภิกษุผู้ฉลาด ย่อมกำ�จัดสิ่งที่ทำ�ให้ใจขุ่นมัวเศร้าหมอง รุ่มร้อนออกจากตัว เหมือนบุคคลผู้มี
ผ้าอันไฟไหม้หรือมีศีรษะอันไฟไหม้ พึงทำ�ความพยายามความอุตสาหะ ความขะมักเขม้นในการดับ
ไฟนั้น ฉันใด ภิกษุก็ควรทำ�ความพยายามความอุตสาหะในการละอกุศลธรรม และตั้งอยู่ในธรรมที่
เป็นกุศล ฉันนั้น.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๑๖๘

๔. นิวรณ์ ๕
๔.๑ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ เหมือนโรค
เหมือนเรือนจำ� เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕
ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่เป็นหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ�
เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนสถานที่ปลอดภัย ฉันนั้น.
ที.สี. (เถระ) มก. ๑๒/๒๑๑
๔.๒ นิวรณ์ ๕ ย่อมครอบงำ�ยึดเอาผู้ที่เกียจคร้าน กินจุ เหมือนสุนัขดุข่มเหงโคแก่ตัวเขา
ขาด ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๑๙
327

๔.๒ เปรียบเหมือนคนกู้หนี้มาลงทุนจนประสบผลสำ�เร็จ ใช้หนี้เก่าที่เป็นต้นทุนจนหมด


เก็บกำ�ไรที่เหลือไว้เป็นค่าเลี้ยงดูบุตรภรรยา เขาคิดว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้มาลงทุน การงานสำ�เร็จ
ผลดี ได้ใช้หนี้เก่าที่ยืมมาลงทุนหมดแล้ว กำ�ไรก็ยังมีเหลือไว้เป็นค่าเลี้ยงดูบุตรและภรรยา เพราะ
ความไม่มีหนี้สินเป็นเหตุ เขาจึงได้รับความเบิกบานใจ และความสุขใจ
เปรียบเหมือนคนไข้อาการหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ ไม่มีกำ�ลัง ต่อมาหายป่วย บริโภค
อาหารได้ กลับมีกำ�ลัง เขาคิดว่า เมื่อก่อนเราป่วยอาการหนักบริโภคอาหารไม่ได้ ไม่มีกำ�ลัง เวลานี้
หายป่วย บริโภคอาหารได้ มีกำ�ลังเป็นปกติ เพราะการหายจากโรคเป็นเหตุ เขาจึงได้รับความ
เบิกบานใจ และความสุขใจ
เปรียบเหมือนคนต้องโทษถูกคุมขังในเรือนจำ� ต่อมา พ้นโทษออกจากเรือนจำ�โดยสวัสดิ
ภาพ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เขาคิดว่า เมื่อก่อนเราต้องโทษถูกคุมขังในเรือนจำ� เวลานี้พ้นโทษ
ออกจากเรือนจำ�โดยสวัสดิภาพ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะการพ้นจากเรือนจำ �เป็นเหตุ
เขาจึงได้รับความเบิกบานใจ และความสุข
เปรียบเหมือนคนที่ตกเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น จะไปไหนตามใจชอบไม่ได้
ต่อมา พ้นจากความเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัวเอง จะไปไหนก็ได้ตามใจ
ชอบ เขาคิดว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น จะไปไหนตามใจชอบก็ไม่ได้
เวลานี้พ้นจากความเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัวเอง จะไปไหนก็ได้ตามใจ
ชอบ เพราะความเป็นไทแก่ตัวเองเป็นเหตุ เขาจึงได้รับความเบิกบานใจ และความสุขใจ
เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์สมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า
ต่อมา ข้ามพ้นทางกันดาร ถึงหมู่บ้านอันสงบร่มเย็นปลอดภัย โดยสวัสดิภาพ เขาคิดว่า เมื่อก่อน
เรามีสมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารโดยยาก มีภัยเฉพาะหน้า เวลานี้ข้ามพ้นทางกันดารถึง
หมู่บ้านอันสงบร่มเย็น ปลอดภัยโดยสวัสดิภาพ เพราะการพบภูมิสถานอันร่มเย็นเป็นเหตุ เขาจึงได้
รับความเบิกบานใจ และความสุขใจ.
ที.ปา. (พุทธ) มก. ๑๖/๒๐๐

๕. ความโลภ
๕.๑ ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะ
ของน้อย เหมือนลิงเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะถั่วเมล็ดเดียวแท้ๆ.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๑๔๙
328

๖. ความโกรธ
๖.๑ ประเภทของคนโกรธ
๖.๑.๑ บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ (สัตว์มีพิษที่เขี้ยว) ๔ จำ�พวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔
จำ�พวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจอสรพิษ มีพิษแล่น พิษไม่ร้าย คือ คนที่โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธอยู่
ไม่นาน ๑ มีพิษร้าย พิษไม่แล่น คือ คนที่ไม่โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธอยู่นาน ๑ มีพิษแล่น พิษร้าย
คือ คนที่โกรธเนืองๆ และความโกรธอยู่นาน ๑ มีพิษไม่แล่น พิษไม่ร้าย คือ คนที่ไม่โกรธเนืองๆ
และความโกรธอยู่ไม่นาน ๑.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๒๙๖
๖.๑.๒ คนโกรธ ๓ จำ�พวก เหมือนรอยขีดในหิน รอยขีดในดิน รอยขีดในน้ำ�.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๕๖๘
๖.๒ โทษของความโกรธ ความพยาบาท
๖.๒.๑ ความโกรธเป็นเครื่องปรากฏของคน ดุจธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ ดุจควันเป็น
เครื่องปรากฏของไฟ.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๑๙
๖.๒.๒ ภาชนะใส่น้ำ�ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือดพล่าน มีไอพลุ่งขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงา
หน้าของตนในน้ำ�นั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมี
ใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๒๒
๖.๒.๓ คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถไม่เห็นธรรม ความโกรธย่อมครอบงำ�นรชนในขณะใด ความ
มืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำ�ได้ยากเหมือนทำ�ได้ง่าย.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๐๖
๖.๒.๔ ความโกรธย่อมเจริญแก่ผู้ใด เหมือนไฟที่ไหม้หญ้าและไม้ ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้น.
ขุ.จริยา. (โพธิ) มก. ๗๔/๒๘๗
๖.๒.๕ การโกรธผู้อื่น เป็นเช่นเดียวกับผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชน หรือซี่เหล็กอันร้อน
จัด หรืออุจจาระประหารผู้อื่น ฉะนั้น ความโกรธนั้นจักตกลงบนกระหม่อมของเขานั่นเอง เหมือน
ประหารผู้ไม่ประหารตอบ เหมือนนำ�ธุลีซัดไปในที่ทวนลม.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๔/๓๒๐
329

๖.๒.๖ ภิกษุรูปโน้นเป็นคนโกรธง่าย มากไปด้วยความคับแค้นใจ เที่ยวทำ�เสียงเอะอะ


เหมือนเกลือที่เขาใส่ในเตาไฟ.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๑๓
๖.๒.๗ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเครียด เง้างอด ทำ�ความกำ�เริบ ความร้าย และความเดือดดาลให้ปรากฏ เหมือนอย่างแผลร้าย
ถูกไม้หรือกระเบื้องเข้า ก็ยิ่งมีหนองไหล ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ มีความแค้น
มาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง ขึ้งเครียด เง้างอด ทำ�ความกำ�เริบ ความร้าย และความเดือดดาล
ให้ปรากฏ ฉันนั้น นี่เราเรียกว่า บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผล.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๘๑
๖.๒.๘ บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผล คือ คนมักโกรธ ถูกเขาว่าเพียงเล็กน้อยก็โกรธ.
อัง.ติก. ปุคคลวรรค มก. ๓๔/๘๑
๖.๓ การกำ�จัดความโกรธ
๖.๓.๑ บุคคลใดข่มความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วได้ เหมือนกับสารถีหยุดรถซึ่งกำ�ลังแล่นอยู่ได้
เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นสารถี ชนนอกจากนี้เป็นแต่คนถือบังเหียน.
วิ.มหา. (พุทธ) มก. ๔/๒๗๑
๖.๓.๒ ผู้ใดพึงยับยั้งความโกรธที่บังเกิดขึ้นไว้ได้ ผู้นั้นก็ดุจบุคคลหยุดรถที่ไปอย่างรวดเร็วไว้
ได้ ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๖/๑๑
๖.๓.๓ ภิกษุใดกำ�จัดความโกรธที่เกิดขึ้น เหมือนหมอกำ�จัดพิษงูที่แล่นซ่านไปแล้วด้วยโอสถ
ทั้งหลาย ฉะนั้น.
วิ.มหา. (พุทธ) มก. ๔/๒๗๑
๖.๓.๔ น้ำ�เล็กน้อยมีอยู่ในสระน้ำ�ที่ถูกสาหร่าย และแหนคลุมไว้ บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว
เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ� เขาลงสู่สระน้�ำ นั้น เแหวกสาหร่าย และแหนด้วยมือทั้งสองแล้วกอบน้�ำ
ขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด บุคคลใดเป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจในส่วน
นั้นใน ส่วนความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจในส่วนนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึง
ระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนั้น.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๓๔๐
330

๖.๓.๕ ภิกษุผู้อาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนักเดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ไกล แม้


ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่พึงได้อาหารที่สบายถูกโรค เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร
และผู้นำ�ทางไปสู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกล พึงเห็นเขา บุรุษนั้นพึงเข้าไปตั้งความกรุณาความ
เอ็นดู ความอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คนๆ นี้พึงได้อาหารที่สบาย เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร
และผู้นำ�ทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า คนๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ
ที่นี้เลย แม้ฉันใด
บุ ค คลใดเป็นผู้มีความประพฤติ ท างกายไม่ บ ริ สุ ท ธิ์ เป็ น ผู้ มี ค วามประพฤติ ท างวาจาไม่
บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงเข้าไปตั้งความ
กรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ในบุคคลแม้เห็นปานนี้ว่า โอ ท่านผู้นี้พึงละกายทุจริตแล้ว
อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้วอบรมวจีสุจริต พึงละมโนทุจริตแล้วอบรมมโนสุจริต ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๓๔๑
๖.๓.๖ สระน้ำ�ที่มีน้ำ�ใส มีน้ำ�อร่อยดี มีน้ำ�เย็น มีน้ำ�ขาว มีท่าน้ำ�ราบเรียบ น่ารื่นรมย์
ดารดาษไปด้วยต้นไม้พันธุ์ต่างๆ บุคคลผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อนกระหายน้ำ� เขาพึงลง
สระน้ำ�นั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้างที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำ�นั้น แม้ฉันใด
บุคคลใดเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยการอันสมควร แม้ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้น แม้การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยการอันสมควร
ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๓๔๒
๖.๓.๗ ความประมาทย่อมสงบได้ด้วยการไม่ผูกโกรธ ดุจไฟไม่มีเชื้อเกิดขึ้นแล้วดับไป
ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (เถระ) มก. ๔๐/๖๗
๖.๓.๘ บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอด
หวาน เพราะว่า บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๖/๗๖
331

๖.๓.๙ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่


ระงับได้เพราะไม่จองเวร.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๘/๘๔๘
๖.๓.๑๐ คนพาลกล่าวคำ�หยาบ คิดว่าตนชนะ แต่ความอดกลั้นได้ เป็นชัยชนะของบัณฑิต
ผู้ใดโกรธตอบ ผู้นั้นลามกกว่า ผู้ใดไม่โกรธตอบย่อมชื่อว่า ชนะสงคราม ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ มีสติ
สงบได้ ชื่อว่า ทำ�ประโยชน์แก่คนทั้งสองฝ่าย.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๐๖

๗. ความฟุ้งซ่าน
๗.๑ ความฟุ้งซ่านเหมือนความเป็นทาส.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๔๕๙
๗.๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละความฟุ้งซ่านว่า เหมือนความเป็นไท.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๔๖๑
๗.๓ ภาชนะใส่น้ำ�อันลมพัดแล้วหวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดู
เงาหน้าของคนในน้ำ�นั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใดบุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ... ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๒๓

๘. ความหดหู่ ซึมเซา
๘.๑ เพราะความหดหู่ ซึมเซา ง่วง ทำ�ให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง พึงเห็นถีนมิทธะเหมือนเรือนจำ�.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๔๕๘
๘.๒ ภาชนะใส่น้ำ�อันสาหร่าย และจอกแหนปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของ
ตนในน้ำ�ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ… ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งถีน
มิทธะ ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๒๒

๙. ความลังเล สงสัย
๙.๑ การละความลังเลสงสัยได้เหมือนภูมิอันเป็นแดนเกษม.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๔๖๒
332

๙.๒ ภาชนะใส่น้ำ�ขุ่นมัวเป็นเปือกตมอันบุคคลวางไว้ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้า


ของตนในน้ำ�นั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา… ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง
วิจิกิจฉา ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๒๓
333
๓๘
ม ง ค ล ที่

จิตเกษม
ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว
ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่า
ซึ่งเกิดในน้ำ� เจริญในน้ำ� ยังไม่พ้นน้ำ� จมอยู่ในน้ำ�
น้ำ�หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำ�เย็น
ตลอดยอดตลอดเง่า ไม่มีส่วนใดๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำ�เย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำ�กายนี้ และให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุข
ไม่มีส่วนใดๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุข
อันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
335

๑. ภัยและความกลัว
๑.๑ ภัยเข้ามาถึงตัวแล้ว หมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำ�น้อย.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๖/๔๔๙

๒. อภิญญา
๒.๑ อิทธิวิธี (แสดงฤทธิ์)
๒.๑.๑ หงส์ทั้งหลาย ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์ ท่านมีผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมไปใน
อากาศด้วยฤทธิ์ ธีรชนชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมออกไปจากโลกได้.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๒๘
๒.๑.๒ ท่านผูม้ ปี ญ
ั ญาดังแผ่นดิน เหาะไปในในเวหาส ไปได้ตลอด เหมือนดวงจันทร์วนั เพ็ญ.
ม.ม. ( อรรถ ) มก. ๒๐/๑๖๗
๒.๑.๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายไปในประสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม
ปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประการหนึ่ง บุรุษที่มีกำ�ลังเหยียดแขนที่งอออกไป หรืองอแขนที่
เหยียดเข้ามา ฉะนั้น.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๑๔๘
336

๒.๑.๔ กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติ และสุขอย่างไพบูลย์ถกู ตัองแล้ว ย่อมเลือ่ นลอย


ได้เหมือนนุ่นที่ถูกลมพัดไป ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๔๗๔
๒.๑.๕ เปรียบเหมือนช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการ
ภาชนะชนิดใดๆ พึงทำ�ภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำ�เร็จได้
เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
ชนิดใดๆ พึงทำ�เครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำ�เร็จได้
เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทอง
รูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำ�ทองชนิดนั้นๆ ให้สำ�เร็จๆ ได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มจิตใจไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำ�ให้ปรากฏก็ได้ ทำ�ให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำ�แพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำ�ลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำ�ก็ได้ เดินบนน้ำ�ไม่แตดเหมือนเดินบน
แผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ�พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำ�นาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๘
๒.๑.๖ ปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่
ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา และ
ลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้ โดยไม่ยากเลย ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๑๗๒
๒.๒ ทิพยโสต (หูทิพย์)
๒.๒.๑ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์
เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มจิตไปเพื่อทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่
ไกล และอยู่ใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๙
337

๒.๓. เจโตปริยญาณ (กำ�หนดใจคนอื่นได้)


๒.๓.๑ เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนใน
กระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำ�อันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ
ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำ�หนดรู้ใจ
ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมี
โมหะก็ รู้ ว่ า จิ ต มี โ มหะ หรื อ จิ ต ปราศจากโมหะก็ รู้ ว่ า จิ ต ปราศจากโมหะ จิ ต หดหู่ ก็ รู้ ว่ า จิ ต หดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิต
หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๓๐
๒.๔ ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
๒.๔.๑ เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านคนอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้าน
อื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้าน
ของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยินอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น
ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยินอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น
ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมระลึกชาติที่เคยอาศัยในกาลก่อนเป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติ
บ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนเป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง
อุทเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๑๔
๒.๔.๒ ภิกษุใดมีอภิญญามาก ย่อมรู้กรรม และผลแห่งกรรม โดยประจักษ์เฉพาะหน้า ดุจรู้
ผลมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๔๖๕
๒.๕ ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
๒.๕.๑ ปราสาทตั้งอยู่ท่ามกลางทางสี่แพร่ง บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น ก็จะเห็น
338

ผู้ ค นทั้ ง หลายกำ � ลั ง เข้ า ไปสู่ เ รื อ นบ้ า ง ออกไปอยู่ บ้ า งกำ � ลั ง เดิ น ไปมาอยู่ ต ามถนนบ้ า ง นั่ ง อยู่
ท่ามกลางทางสี่แพร่งบ้าง เขาก็รู้ว่า คนเหล่านั้นเข้าไปสู่เรือน คนเหล่านี้ออกจากเรือน คนเหล่านี้
เดินไปตามถนน คนเหล่านี้นั่งท่ามกลางทางสี่แพร่ง ฉันใด
ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ เธอย่อมน้อมโน้มจิตไป เพื่อ
หยั่งรู้การจุติ และการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เห็นสัตว์ทั้งหลายที่กำ�ลังจุติ กำ�ลังอุบัติ เลว ประณีต
ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เกินจักษุของมนุษย์ย่อมรู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม.
ที.สี. (เถระ) มก. ๑๒/๒๒๐
๒.๕.๒ เรือนสองหลังมีประตูร่วมกันบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ท่ามกลางเรือน พึงเห็นหมู่มนุษย์
กำ�ลังเข้าสู่เรือนบ้าง กำ�ลังออกจากเรือนบ้าง กำ�ลังเดินไปบ้าง กำ�ลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อม
เห็นหมู่สัตว์ที่กำ�ลังจุติ กำ�ลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฉันนั้น
เหมือนกันแล.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๑๕
๒.๕.๒ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ท่ตี รงกลางเรือนนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนที่กำ�ลังเข้าไปบ้าง กำ�ลังเดิน
วนเวียนอยู่ท่เี รือนบ้าง ฉันใด สาวกของเราทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว
ย่อมเห็นหมู่สัตว์กำ�ลังจุติ กำ�ลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผ้เู ป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
ฉะนี.้
ม.มู. (พุทธ) มก. ๒๐/๕๗๖
๒.๖ อาสวักขยญาณ (ทำ�ให้อาสวะสิ้นไป)
๒.๖.๑ เปรียบเหมือนสระน้ำ�บนยอดเขา ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระ
นั้น จะพึงเห็นหอยโข่ง และหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวด และก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำ�ลัง
ว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ�นั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำ�นี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว
หอยโข่ง และหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำ�ลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง
ในสระดังนี้ ฉันใด
สาวกของเราทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อทำ�ให้แจ้งซึ่งเจโต
วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๓๔
339

๒.๖.๒ หีบผ้าของพระราชา หรือราชอำ�มาตย์ ซึ่งเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมแล้วเป็นสีต่างๆ


พระราชาหรือราชอำ�มาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นในเวลาเช้า
หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดในเวลาเย็นก็
ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นในเวลาเย็น ฉันใด
ภิ ก ษุ ยั ง จิ ต ให้ เ ป็ น ไปในอำ � นาจ และไม่ เ ป็ น ไปตามอำ � นาจของจิ ต เธอหวั ง จะอยู่ ด้ ว ย
วิหารสมาบัติใดในเวลาเช้าก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด
ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็นก็
อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (เถร) มก. ๑๙/๒๘
๒.๖.๓ ภิกษุแม้นี้ ทำ�ความแผ่ไปแห่งญาณให้บังเกิดขึ้น ดุจงูแผ่พังพานไปฉะนั้น ก็ย่อม
ละฝั่งไปดุจงูลอกคราบ ฉะนั้น ก็ครั้นสละฝั่งใน และฝั่งนอกได้แล้ว เป็นผู้มีคราบอันลอกแล้วดุจงู
ลอกคราบแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๑
๒.๖.๔ สิง่ ใดสิง่ หนึง่ ทีม่ อี ยูใ่ นโลกนีก้ ด็ ี ภพทีส่ ตั ว์ได้อยูใ่ นโลกนีก้ ด็ ี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผูแ้ สวงหา
คุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้วา่ สิง่ ทัง้ หมดนีไ้ ม่เป็นอิสระ ผูใ้ ดรูแ้ จ้งธรรมข้อนัน้ เหมือนดังทีพ่ ระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงไว้ ผูน้ น้ั ย่อมไม่ยดึ ถือภพใดๆ ดังบุคคลผูไ้ ม่จบั ก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชน ฉะนัน้ .
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒

๓. ผู้ไม่สะดุ้งกลัว
๓.๑ ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้วชื่อว่า ผู้ชนะสงครามย่อมบันลือสีหนาท
ดังราชสีห์ในถ้ำ�ภูเขา ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๑/๑๔๐
๓.๒ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียงเหมือนสีหะ ไม่ข้องเหมือนลมไม่ติดที่
ตาข่ายไม่ติดอยู่เหมือนดอกบัวอันน้ำ�ไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
ขุ.จุ. (ปัจเจก) มก. ๖๗/๖๒๑
๓.๓. พระองค์ทรงก้าวล่วงอุปธิทำ�ลายอาสวะได้แล้ว พระองค์เป็นดังสีหะ ไม่มีอุปทาน
ทรงละความกลัว และความขลาดได้แล้ว ไม่ทรงติดอยู่ในบุญ และบาปทั้งสองอย่าง เปรียบเหมือน
ดอกบัวขาบที่งามไม่ติดอยู่ในน้ำ� ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (ทั่วไป) มก. ๔๘๓-๔
340

๓.๔ พระสัญชีวเถระออกจากสมาบัติแล้ว เหยียบย่ำ�เดินไปบนถ่านเพลิงปราศจากเปลวไฟ


เช่นดอกทองกวาว แม้สักว่าเปลวไฟก็ไม่ไหม้จีวรแม้สักว่าอาการแห่งไออุ่นก็ไม่มี.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๙/๑๕๗
๓.๕ ภูเขาศิลาล้วนไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่คงที่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวดุจ
บรรพตเพราะสิ้นโมหะ.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๖๕
๓.๖ เราไม่มีความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไปแล้ว ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒
๓.๗ เราย่อมไม่กลัวความตาย เหมือนคนดื่มยาพิษด้วยความพลั้งเผลอแล้วบ้วนทิ้งไป.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๑๑

๔. จิตเกษม
๔.๑ เหมือนเจ้าหน้าที่สรงสนาน หรือลูกน้องของเจ้าหน้าที่สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงโรยผงที่
ใช้ในการสรงสนานใส่ลงไปในภาชนะสำ�ริด แล้วเอาน้ำ�พรมหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณที่ใช้ในการ
สรงสนานมีตัวยางจะซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่ไหลออกไป ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉัน
นั้นแล ทำ�กายนี้แหละให้สดชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีส่วนไหนๆ แห่ง
ร่างกายของเธอทั่งทั้งตัวที่ปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
ที.สี. (เถระ) มก. ๑๒/๒๑๒
๔.๒ ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก
และวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำ�กายนี้แลให้ชุ่มชื่น
อิ่มเอิบ วาบว่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่งทั้งตัวที่
ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนห้วงน้ำ�ลึก มีน้ำ�ขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำ�จะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้าน
ตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำ�เย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำ�นั้นแล้ว
จะพึงทำ�ให้ห้วงน้ำ�นั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำ�เย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำ�นั้น
ทั้งหมดที่น้ำ�เย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๙/๒๑๓
๔.๓ ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ� เจริญในน้ำ� ยังไม่พ้นน้ำ� จมอยู่ในน้ำ� น้ำ�หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัว
341

เหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำ�เย็นตลอดยอดตลอดเง่า ไม่มีส่วนใดๆ แห่งดอกบัวขาบ


ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วนที่น้ำ�เย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำ�
กายนี้และให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนใดๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
๔.๔ บุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม้มีส่วนใดๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา
ที่ผ้าขาว จะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วทั้งกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่อง
แผ้วไม่มีส่วนใดๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๑/๓๒๕
๔.๕ น้ำ�มันไม่อาจขังเครื่องตวงได้ไหลล้นไป เขาเรียกว่า ล้นเหลือ และน้ำ�ที่ไม่อาจขัง
เหมืองน้ำ�ได้ไหลล้นไปนั้น เขาเรียกว่า น้ำ�หลาก ฉันใด คำ�ที่เกิดแต่ปีติก็ฉันนั้นเหมือนกัน ขังหทัย
ไม่ได้ คือ เก็บไว้ข้างในไม่อยู่ ก็ล้นออกข้างนอกนั้น ท่านเรียกว่า อุทาน.
อัง.ทุก. (เถระ) มก. ๓๓/๓๙๐
๔.๖ จิตดวงสุดท้ายของพระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยพละเหล่านี้ย่อมหลุดพ้นจากวัตถุ และ
อารมณ์ เหมือนความดับไปแห่งดวงประทีป ฉะนั้น คือ ย่อมไม่ปรากฏสถานที่ไป.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๖
๔.๗ เกิดความปีติปราโมทย์ เหมือนบุรุษเข็ญใจพบขุมทรัพย์ใหญ่.
อัง.สัตตก. (ทั่วไป) มก. ๓๗/๓๗๗
๔.๘ กุลบุตรใดรู้ว่า ศีลบริสุทธิ์ได้เพราะอาศัยญาน เหมือนผ้าสกปรกย่อมสะอาดได้เพราะ
อาศัยน้ำ�สะอาด กระจกเงาผ่องใสได้เพราะอาศัยขี้เถ้า ทองบริสุทธิ์ได้เพราะหลอมในเบ้า ฉะนั้น
ล้างอยู่ด้วยน้ำ� คือ ญาณ ชื่อว่า ยังศีลให้บริสุทธิ์ และเป็นผู้ไม่ประมาทเลย ย่อมรักษาศีลขันธ์ของ
ตน เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ แม่เนื้อจามรีรักษาขนหาง นางนารีผู้มีบุตรน้อยคนเดียวรักษาบุตร
น้อยคนเดียวที่รัก และบุรุษมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาข้างเดียวนั้น ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๗๑
๔.๙ สายฟ้าแลบส่องแสงลอดเข้าไปตามช่องแห่งภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ ฉันใด
ภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบปาน อยู่ในช่องแห่งภูเขา เจริญฌาน
อยู่ ก็ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๒๓๔
๔.๑๐ ผู้ใดมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในอาหาร มีสุญญตวิโมกข์๑ และอนิมิตตวิโมกข์๒ เป็น
โคจร รอยเท้าของผู้นั้นรู้ได้ยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๔๓๓

สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ

อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนาม รูป เป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้
342

๔.๑๑ บุคคลผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำ�กิจสำ�เร็จแล้ว หมดอาสวะย่อมยินดี


เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้วจากการถูกประหาร ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒
๔.๑๒ ภิกษุใดกำ�จัดความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ดุจหมองูที่กำ�จัดพิษงูที่ซ่านไปด้วยโอสถ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมละฝั่งใน และฝั่งนอกเสียได้ ดุจงูที่ละคราบเก่าคร่ำ�คร่าเสีย ฉะนั้น.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๖/๓๑
๔.๑๓ พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดี
เราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้ง ฉะนั้น
บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวงย่อมไม่เศร้าโศก ใน
เวลาตาย ดุจบุคคลที่ออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๒
343
344
345

บรรณานุกรม
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๒๕ พระวินัยและอรรถกถาแปล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุ
ฏราชวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๒๕ พระสูตรและอรรถกถาแปล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุ


ฏราชวิทยาลัย

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ๒๕๓๕ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.


กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ๒๕๓๓ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.


กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปโุ ลและคณะ. ๒๕๕๒ ดรรชนีธรรม ฉบับมงคลสูตร (รวมเล่ม).


กรุงเทพมหานคร : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำ�กัด

ปุ้ย แสงฉาย. ๒๕๓๐ มิลินทปัญหา ฉบับพร้อมด้วยอรรถกถา ฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์


ลูก ส. ธรรมภักดี

ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๒๕ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร :


บริษัทอักษรเจริญทัศ จำ�กัด
346

วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น
347
348
349
350

รายนามเจ้าภาพ
พระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่สด จนฺทสโร)
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

บู ช า ธ ร ร ม โ ด ย
เจ้าภาพกิตติมศักดิ์
พระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล
PRAKOB-HUSSADI-DOROTHY-ELIZABETH
กัลฯอนันต์ อัศวโภคิน และครอบครัว
กัลฯบุญชัย เบญจรงคกุล และครอบครัว
กัลฯดร.ประกอบ-กัลฯวรรณา จิรกิติ
กัลฯคุณพ่อสกล-กัลฯสอง วัชรศรีโรจน์ และมูลนิธิวัชรศรีโรจน์
กัลฯ ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร และครอบครัว
ครอบครัวธนะสมานโชค และเจียมพิทยานุวัฒน์
กัลฯนพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต
กัลฯธวัชชัย-คุณจินดามณี-คุณกัญจนพร-ด.ช.จิตติภัทท์ ทองประเสริฐ
กัลฯนิตยา จรุงจิตต์
กัลฯบรรณพจน์-บุษบา-ด.ช.พลภูมิ ดามาพงศ์
กัลฯพรจันทร์ ลูกอินทร์
กัลฯด.ต.พิเศก ศรีโมรา และครอบครัว
กัลฯแม่กิมเอง จีระปัญญา และครอบครัว
กัลฯนพ.วิเชษฐ์-พ.ญ.นุชภา-ด.ญ.วิชญา-ด.ญ.วิชชา รัตนจรัสโรจน์
กัลฯวิเชียร-วรรณา-ศิริศักดิ์-ภัควริศ เกื้อกูล, เสริม-แสนสุข- รัชนก-สาริน-เกอร์หล่าน ยังอยู่
กัลฯพล.ต.ต.วุฒิ-ฉัฐสรวง-ศิวเสกข์-แสงเดือน-รุ้งเดือน
พิพัฒนบวรกุล, อุเทน-บังอร โอสายไทย และครอบครัว
กัลฯสุภศิษฏ์-มโนทิพย์-ณัฐธารพัชร จักรวาลธรรม
กัลฯสุริยะ-สุริสา-ด.ช.ศาตนันท์ จึงรุ่งเรืองกิจ
กัลฯสมบัติ อัลเบอร์ติและครอบครัว
351

เจ้าภาพอุปถัมภ์
• วัดกิ่วลม จ.เชียงใหม่ • พระมหาณัฐชัย วรงฺกุโล,ดร.อาทร-ครูเหมือนฝัน-
• วัดทวีพูลรังสรรค์ จ.นครนายก ด.ญ.อัยย์ณัชชา นันทิยกุล
• วัดทุ่งเจริญธรรม จ.เชียงใหม่ • พระมหาณัฐชัย วรงฺกุโล,พ.ณัฐวุฒิ อธิวุฑฺโฒ
• วัดบางปรัง จ.นครนายก • พระณัฐภูมิ ปญฺญาวุฑฺโฒ, พัฒนา วนะชิวนาวิน
• วัดบ้านขุน จ.เชียงใหม่ • พระถวัลย์ จตฺตมโล
• วัดพระธาตุกองลอย จ.เชียงใหม่ • พระทรงวุฒิ ชยวุฑฺโฒ
• วัดแม่ลาย จ.เชียงใหม่ • พระทวี พฺรหฺมเทโว
• วัดแม่ลายเตียนอาง จ.เชียงใหม่ • พระมหาทศพร ปุญฺญงฺกุโร
• วัดแม่สะนาม จ.เชียงใหม่ • พระทานกะ สุทฺธาโส
• วัดวังกอง จ.เชียงใหม่ • พระทัสธนนท์-คุณวโจ-คุณปภวัลย์ โอฬารวัชระสิริ
• มหาปูชนียาจารย์ บูชาธรรมโดย พระพรเทพ ธมฺมเสฎโ • พระธนพล กิตฺติวีโร,ครอบครัววิสุทธาพงศ์ชัย
• มหาปูชนียาจารย์ บูชาธรรมโดย แก้วภูธรภาคเหนือ • พระธนิตศักดิ์ สกฺกธมฺโม และครอบครัวประโลมรัมย์
• มหาปูชนียาจารย์ บูชาธรรมโดย พระสมคิด จิตฺตวํโส • พระมหาธเนศร์ ฐานรโต และครอบครัวทรัพย์สมบูรณ์
ลูกพระธัมฯ ทุกท่าน, หมู่ญาติ • พระธรรมศักดิ์ จารุธมฺโม
• พระราชภาวนาวิสทุ ธิ์ บูชาธรรมโดย พระเฉลิมฉัตร คุณจนฺโท • พระธวัฒชัย ธชุตฺตโม และครอบครัวเที่ยงปัต-สีหบุตร
และครอบครัว • พระธีรพัฒน์ กุลธีโร และคณะญาติมิตร
• พระราชภาวนาวิสทุ ธิ์ บูชาธรรมโดย พระณัฐวุฒิ วุฑฒ ฺ นิ นฺโท • พระธีรวัฒน์ ชยธีโร และครอบครัว
• พระราชภาวนาวิสุทธิ์ บูชาธรรมโดย พระธีระ ชาติกระพันธุ์ • พระธีรวัฒน์ ญาณคุโณ
และครอบครัวชาติกระพันธุ์ • พระมหาธีระชัย ธีชชโย
• พระขจรศักดิ์ ทิพฺพกุโล • พระธีระยุทธ ธมฺมารกฺโข
• พระกรกิตต์ กิตฺติกโร และครอบครัว • พระนิพนธ์ สิริภทฺโท
• พระกฤตยะ สิทฺธมโน และญาติมิตร • พระบัณฑิต ธีรวโร
• พระกาล ลทธฺคุโณ, นางไฉ่ แซ่ลี้ • พระบัณฑิต วรปญฺโญ
• พระการุณ การุญฺญโก และคณะญาติมิตร • พระปกป้อง คุตฺตวํโส, คุณธวัช-อวยพร ขันติวรพงศ์
• พระกิตติพงศ์ เหมวํโส และครอบครัวบุญเลี่ยม และครอบครัว
• พระจิรวัฒน์ สันติวัฑฒโน-คุณชื่นสุข-โสรัจจะ ภู่เพียงใจ • พระประคอง ภทฺทวีโร
• พระอาจารย์เจ้าหน้าที่ ผู้นำ�บุญภาคนครหลวง ๘ • พระประดิษฐ์ อริญฺชโย
• พระชัชวาล ทิตฺตมงฺคโล และครอบครัวอุดมโชคมงคล • พระประธาน คุณวีโร, ธานี-สมปอง-ปทุมวดี-
• พระชัยวัฒน์ ชยวฑฺฒโน รักบุญ โชติอรรคณิต
• พระชัยสิทธิ์ สุรชาโต,สมคิด-ไพลิน ภักดีไทย • พระประพันธ์ศักดิ์ สิริพนฺโธ และครอบครัวศรีพันธ์
• พระครูสมุห์เชิดศักดิ์ สตฺติโชโต • พระประสิทธิ์ เวปุลฺโล และคณะ
• พระซันเดอร์ เขมธมฺโม • พระประเสริฐ สิทฺธิเสฏฺโฐ
• พระครูปลัดญาณพิพัฒน์ มหาสุทฺโธ • พระมหาประเสริฐกิจ สุเมโธ และกลุม่ บุญอัศจรรย์อนันตกาล
• พระณรงค์ ทนฺตจิตฺโตและครอบครัวจิตสินธุ • พระผดุงวิทย์ คุตฺตวิชฺโช พร้อมครอบครัวอนุกูล
• พระมหาณัฐชัย วรงฺกุโล, ครูสุรพล-ครูขวัญเนตร สุธีธร, • พระพรเทพ ธมฺมเสฏฺโฐ รุ่น ๒๔ และผู้มีพระคุณ
กรพล เขมะกนก • พระพรมสรร อภิวฑฺฒโน พร้อมคณะญาติมิตร
และผู้มีพระคุณ
352

• พระอาจารย์, พระพี่เลี้ยง, พระภิกษุรุ่น ๒๕ คว้าธงชัย • พระสถาพร ญาณวิชฺโช


• พระพลศักดิ์ ฐานสกฺโก, ศูนย์การแปล อสม.ภาษาจีน • พระสนธยา สีลธโน
และคณะญาติมิตร • พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส และฝ่ายประชาสัมพันธ์
• พระพิเชฐ อคฺคโรจโน และเจ้าหน้ากองมหาธรรมกายเจดีย์ • พระสมชาย อคฺคชญฺโญ
• พระพิเชษฐ์ ภทฺทธมฺโม และผู้มีพระคุณ • พระสมนึก ปิยธมฺโม
• พระพิพัฒน์พร กิตฺติสุโภและครอบครัวงามเกียรติทรัพย์ • พระสมาน ฐานสโม และญาตมิตร
• พระพิสิฐ ปริชญฺโญ • พระสำ�เร็จ จิตฺตทนฺโต
• พระพิ่มพงษ์ ฉนฺทวฑฺโฒ และครอบครัว • พระสิริ คุณากโร
• พระไพโรจน์ ญาณโรจโน และครอบครัววรรณศรี • พระสมุห์ สิริวิชญ์ ปุญฺญสิริโก และ
• พระไพศาล ธมฺมานนฺโท และรุ่นที่ ๒๒ เพื่อนพระธรรมฑูต รุ่นที่ ๑๖
• พระครูภาวนาวิเทศ, พระมหาวิรัตน์ มณิกนฺโต • พระสุชาติ สุโรจโน
• พระภาสุระ ทนฺตมโน • พระมหาสุทธิชัย สุทฺธิชโย
• พระภิกษุกองพลสถาปนา รุ่น ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำ�บล • พระมหาสุราช ชาติชญฺโญ
• พระภิกษุรุ่น ๑๔ ลูกพระธัมและมหาเศรษฐีคู่บุญ • พระมหาอภิรักษ์ ยโสธโร และคณะญาติมิตร
วิชชาธรรมกาย • พระมหาอรรถพล กุลสิทฺโธ
• พระภิกษุรุ่นที่ ๒๐ • พระอารักษ์ ภูริวฑฺฒโก
• พระภูษิต ยุตฺตวิชฺโช • พระอุเบกข์ รตินฺทโร
• พระมงคล ภทฺทมงฺคโล และบิดามารดา-ญาติพี่น้อง • พระอุดม ยติสฺสโร
• พระมหามนต์ชัย อภิชาโน และครอบครัวศรีเทพ • พระครู อุดมประชานุกูล
• พระอธิการมานพ อคฺคมาณโว • PHRA CHEEP TAPASILO
• พระเมธา วิทูโร และครอบครัว วรัณยะกานนท์ • สามเณรณัฐวุฒิ จันทร์โชติ
• พระยงศิลป์ วรสิปฺโป • สามเณรเตรียมพุทธศาสตร์ทุกรุ่น
• พระรังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก • สามเณรพัฒนพงศ์ ตั้งกฤษณวินนท์ และครอบครัวอะราอิ
• พระรัฐพล สุริยเปโม • สามเณรวรินทร นาคแท้
• พระเรืองศักดิ์ เตชวโร และกลุ่มแก้วพุทธจักร • กัลฯกนกกร พิเศษสุรกุล
• พระวรวุฒิ ปญฺญาสุโภ • กัลฯกนกกร บุญจรัสวงศ์
• พระครูภาวนา วรานุสิฐ • กัลฯกนกพรรณ-ธีรพล ทั่งทอง
• พระครูวาปีปทุมกิจ • กัลฯกนกอร อึ้งสมรรถโกษา
• พระวิชัย จิตฺตทนฺโต • กัลฯกมลชนก วัฒนศิลป์
• พระวิชัย ปุณฺณธมฺโม • กัลฯกมล-รัชนีกร จิตไทย และครอบครัว
• พระครูวิสุทธิ์ กาญจนกิจ • กัลฯกมลรัตน์ ฟูตระกูล
• พระมหาวิชา อธิวิชฺโช • กัลฯกรณฐ สมตันเจ้า และครอบครัว
• พระวินัย ปญฺญารตโน • กัลฯกรภัทร เกตุสอน และครอบครัว
• พระวีรวิทย์ อุตฺตมวีโร • กัลฯกรรณิกา บุญจรัสวงศ์
• พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย และคณะญาติมิตร • กัลฯกรรณิกา ปัทธวรรธ
• พระศรีรัตน์ โชติรตโน พร้อมญาติมิตร • กัลฯพล.อ.ต.หญิง กรรณิการ์ นุตยะสกุล
• พระศุภโชค สิริสุโภ และครอบครัว วัชรเวชศฤงคาร • กัลฯกฤติยา พิมลภัทรกุล
353

• กัลฯกฤษณา ลาศา • ครอบครัวชิวหรัตน์-ครอบครัวศรีไทย


• กัลฯกฤษณี บัณฑิตย์นพรัตน์ และครอบครัว • ครอบครัวโชติวัฒนาพันธุ์
• กลุ่มที่สุดแห่งธรรม • ครอบครัวเตชะทวีวัฒน์ และเท็กซัสสุกี้
• กลุ่มธรรมปรีดา • ครอบครัวแต่ศิวิไล
• กลุ่มบุญบริสุทธิ์ • ครอบครัวประชุมวรรณ
• กองพุทธศิลป์ ANIMATION • ครอบครัวภัทรวิเชียร,ครอบครัวคำ�ภิโร
• กองส่งเสริมกัลยาณมิตรสากล • ครอบครัวรัตนาปนะโชติ-อัลเลน น๊าคแมน
• กลุ่มสัมมาอะระหัง • ครอบครัวศิรินันท์ กาญจนาคม
• กองอาสาสมัคร ฝ่ายโภชนาการ • ครอบครัวสุขเดช
• กัลฯกังสดาล โชคฐิติอำ�นวย และครอบครัว • ครอบครัวอนงค์ เพ็ญไพบูลย์
• กัลฯกัญจนวัชร์ ชินเมธีพิทักษ์ • บริษัทคริสตอลซอฟท์ จำ�กัด (มหาชน)
• กัลฯกัณฑิมา คูสวัสดิ์ และครอบครัว • บริษัทควีนโปรดักส์ จำ�กัด
• กัลฯกัณหา อรรณพเพ็ชร • กัลฯคัชรินทร์ แก้วสิทธิ์
• กัลฯกันนิกา แสงสว่าง-ปิ่นแก้ว บุพพันธุ์ • กัลฯคิด-แม่แข่ม-แพงตา วงศ์ลา-ศรีสุรีย์-พิมพ์พิศา
• กัลฯกันยารัตน์ ชลวัฒน์ พรหมสาส์น
• กัลฯกัลยา วรปัญญาวงศ์ • กัลฯจงรักษ์ บริสุทธิ์ และครอบครัว
• กัลฯกายดาว บุณยรัตพันธุ์ • กัลฯจรรยา-สมปอง-ชัยธวัฒน์-ดวงใจ โฉมศิวะพันธ์
• กัลฯกาญจนา พึ่งตน • กัลฯจรัสพร พฤกษากร-คุณณัฐชมกร วัชรนาวิก
• กัลฯนพ. กิตติ์พงส์ ชมภูพงษ์เกษม • กัลฯจรัสศรี ประภารักษ์
• กัลฯกิมฮะ แซ่เอ็ง, บุหงา ธรรมค้ำ�จุน • กัลฯจรินทร์รัตน์ ภิญญรัตน์ และครอบครัว
• กัลฯเกยูร วิลาวรรณ์,พิทยา-ณัชวินท์-ชลดา วิลาวรรณ์ • กัลฯจันดี เตจา
• กัลฯพล.ต.ต. เกรียงไกร-สุกัญญา กรรณสูต • กัลฯจันทนา และสมาชิกกองบุญแก้วสารพัดนึก
• กัลฯเกรียงศักดิ์-สุชาดา จิราธิวัฒน์ และครอบครัว • กัลฯจันทร์ชัย-กรชนก-จันทร์ชนก เต็มลักษมี
• กัลฯเกศโรบล • กัลฯจันทรรัตน์-เสริมพร-นวพร-กรศศิร์ อภัยภักดี
• กัลฯเกศศรินทร์ แซ่เล้า • กัลฯจันทรา โกมลสุรเดช
• กัลฯเกษณี-สัญญา-สมสว่าง ประยูรวงศ์ • กัลฯจันทราภา-ลีลา ประเสริฐศักดิ์
• กัลฯเกษม ศิริเอี้ยวพิกูล และครอบครัว • กัลฯจารวี รัตนแสงกำ�จร,ภารดี-รัตน์พิสุทธิ์ จันทร์ทรง
• กัลฯเกษรี-นิสารัตน์ วีรพงศ์พิทักษ์ • กัลฯจำ�ปี-จรัญ-จรูญ ศรีลาวงศ์
• กัลฯเกียรติชัย-เพ็ญจันทร์-ชวิน ล้อจักรชัย • กัลฯจิตวิมล-อภิชา กิจเชาวกุล และครอบครัว
• กัลฯเกียอู๋-ไส้เปีย-วัฒนาพร มีสกุลถาวร • กัลฯจิติมา-นพ.ณัฐพงศ์ ณ นคร และครอบครัว
• กัลฯขวัญเรือน รักความสุข • กัลฯจินดา อินทิรา ช่วยพิทักษ์
• กัลฯเขมิกา ชนิดาภาธิษณ์ และครอบครัว • กัลฯจินดา มีพจน์เพราะ
• กัลฯคณิกา อิ่มอ่อง • กัลฯจินตนา โชติโก
• ครอบครัวกมลรัตน์ • กัลฯจิรนันท์ ผลลูกอินทร
• ครอบครัวครัวสุวิศิษฐ์พงศ์ • กัลฯจิรพล-อาณา-ปฏิมา-วัชรินทราวุธ และครอบครัว
• ครอบครัวจิรศุภกร - คลูเวอร์ • กัลฯจิรภัทร ราชบุรี
• ครอบครัวชาลีวรรณ • กัลฯจิรวรรณ-อภิสิทธิ์-รังสินี-พิมพิกา กาญจนมณฑล
354

• กัลฯจิราพรรณ เดวิส • กัลฯชุติมน บุญสูง


• กัลฯจิราวัฒน์ ชัยอัศวนันต์ • กัลฯผศ.ชุติมา คงจรูญ
• กัลฯจุฑามาศ-ศรัณย-ฉัตร์สุดา เบ็ญจนิรัตน์ • ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี
• กัลฯจุฑามาส-พีรเดช-พีรญา วงศ์สกุลวิวัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ม.ธรรมศาสตร์
• จุดออกรถแม็คโครจรัญ • กัลฯชุลีพร โพธิ์เหลือง
• กัลฯจุลีพันธ์ ศศิธรสุวรรณ • กัลฯชูศรี ประกอบกุล
• กัลฯจุฬาพร ศรีสุข • กัลฯเชาเอกภณ พรรณาโสธร
• กัลฯเจริญ-สายหยุด นาคสุทธิ และครอบครัว • กัลฯโชสิตา ยาสุด และครอบครัว
• เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกองบุญสถาน • ครอบครัวโชติวัฒนาพันธุ์
• กัลฯแจ๋ว นาควัชระ-บรรจง วุฒิวิจักษณ์ • กัลฯเซนจิ-จันทนี-ซึมิกะ-ซายะกะ ดอนโด
• บริษัทเจคเชียร์ เทคโนโลยี จำ�กัด • กัลฯฐิติพร กอประเสริฐ
• เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร กองบุญสถาน • กัลฯฐิติวัจน์ พรพนาฤทธิชัย และคณะญาติมิตร
• กัลฯฉลอง-คุณมณีรัตน์ ศรียอดแส • กัลฯฑิฆัมพร ทองคำ�
• กัลฯอาจารย์ฉัตรชัย แสงหิรัญ และครอบครัว • กัลฯณรงค์-บำ�เพ็ญ-ฌญา ศุขจรัส
• กัลฯฉัตรตะวัน-อภิมุข อนันตศิลป์ • กัลฯณรงค์-วรรณา-วรงค์ อุดมผล
• กัลฯฉีด-พ่อทวย แก้วเอียด • กัลฯณัฐชยา ทัศพร
• กัลฯเฉลิมพล เติมผล • กัลฯดร. ณัฐพันธ์-ดร.สุขุมาล กิติสิน
• กัลฯชญาน์นันท์ แซ่แต้ • กัลฯณัฐภัสสร ดีมะเริง
• กัลฯชญาภา เลิศสัจญาณ • กัลฯณัฐวดี เลาหะรังสิมา
• กัลฯชนะสิทธิ์-นิภา-วาสนา หุตะพรประเสริฐ,สมชาย-วัชรา- • กัลฯพญ. ณัฐวรรณ วิเศษกุล
วรมล อนันตพฤกษ์ • กัลฯดนัยพร หาญสืบสาย
• กัลฯชนิกา จรจำ�รัส • กัลฯดนิตา ปุชัยเคน
• กัลฯชม-แย้ม-มานพ แจ้งคำ�ขำ� • กัลฯดวงใจ ก๊กเกียรติกุล และครอบครัว
• ชมรมพุทธศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ • กัลฯดวงนภา ทอร์นสเบอรี่
• ชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ • กัลฯดวงเนตร เจริญศรี
• กัลฯชม้าย ธรรมธาร • กัลฯดวงพร ธนกิจเจริญพัฒน์
• กัลฯชยันต์-กองแก้ว-ภูวิช-ณิชาพัชร สุภัณวงศ์ • กัลฯดิเรก-นฤมล-ชัยอนันต์ มั่นคง
• กัลฯชลธี เอื้อมงคลวงศ์ และครอบครัว • กัลฯเดชะ มิ่งขวัญ
• กัลฯชัญชัย เพ็ชรพรประภาส และครอบครัว • กัลฯเด่นพงษ์-สุนิดา ชาวงษ์
• กัลฯภญ.ชัญญภัค-ศรินทิพย์ เจตนาสัมฤทธิ์โชค • กัลฯแดงตราด รวยตลอด
และครอบครัว • กัลฯต่วน-บัวแก้ว-พวงพิกลุ -พิรยิ า-เพ็ญจันทร์-พาริณี อาศนะ
• กัลฯชัยนันท์-นฤมล-พชร-พีรัช-ณัฐภัทร พิชยานนท์ • กัลฯต่อเกียรติ ใจชื่น-อ้อยใจ ดอกมะลิ
• กัลฯชัยภัทร พฤกษวัฒน์ • กัลฯตะวันฉาย วีระพันธุ์
• กัลฯชัยยุทธ-อิสรีย์พร วีรพงศ์พิทักษ์ และครอบครัว • กัลฯตะวันรัตน์-นรสิทธิ์-นาตยา-อดิศักดิ์ แก้วใส
• กัลฯชัยรัตน์ วรปัญญาวงศ์ • กัลฯตาขวาง-ยายสีนวน ใจเย็น
• กัลฯผศ.ดร. ชัยวัฒน์ จงกุลสถิตชัย • กัลฯนาวาเอก(พิเศษ) เตชสิทธิ์ มีสมศัพย์ และครอบครัว
• กัลฯชิต-เฉลียว วรศรีและลูกหลาน • กัลฯเตียง-สุพิน เหลืองธาดา และครอบครัว
355

• กัลฯทวิชัย รักษาวงษ์ • กัลฯน้อย รุ่งสว่าง และครอบครัว


• กัลฯนพ. ทวิทัศน์-วนิดา ตั้งรพีพากร • กัลฯนัฑม์สลิญ ไทยพิทักษ์พงษ์,ภาคภูมิ กรัณย์อิษฏ์
• กัลฯทองทิพย์ อนุรักษ์ • กัลฯนันทพร บุญประสาทสุข
• ท่านและคุณละมูล คำ�ประคอง • กัลฯนาชล กำ�ลังเมือง
• กัลฯทิวา-ปภาวดี-ภาณุพงศ์ นาเจริญกุล • กัลฯนาฎน้อย พรหมบำ�รุง
• กัลฯธงชัย วรไพจิตร-ฉลวย วัชรสัญชัยกุล • กัลฯนาต-นางวลัย คุณสิน
• กัลฯธงชัย โป้ซิ้ว • กัลฯนาถนดา นิโรจน์
• กัลฯธงชัย-กมลทิพย์-ธนา-กริษณุ สุมา • กัลฯนาถฤดี บุณยรัตพันธุ์
• กัลฯธนกฤช-คุณนัฏกาญจน์ ชาญปรีชากุล และครอบครัว • กัลฯน้ำ�ทิพย์ พงษ์ชะนะ
• กัลฯธนดล-นภาพร-สิริกาญจ์ จินตบัญญัติ • กัลฯนิจนันท์-โสวัน-วรรณภา-ณัฐพร เอี่ยมจำ�นงค์
• กัลฯธนภัทร สุวรรณวงศ์ และครอบครัว • กัลฯนิตยา บุญจา และครอบครัว
• กัลฯธนยศ อุกฤษณ์ • กัลฯนิตยา เหมือนสุวรรณ์
• กัลฯธนวัฒน์-มนัญส์ธิกา อนันตภควุฒิ • กัลฯนิทรา มณีกรธวัช
• กัลฯพ.อ.ธนา ลิ้มธนากุล • กัลฯนิธิจุฑา-นันทณัฐ-มงคล-พิมาน เมฆพิศาลพงศ์
• ธรรมทายาทอุดมศึกษาภาคฤดูร้อน รุ่น ๓๘ สมพร ศรีชะตา
• ธรรมอุทยานแก้วกลางดอย จ.เชียงใหม่ • กัลฯนิพนธ์-คุณดุลยรัตน์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์,คุณพัศวีร์
• กัลฯพันเอกนพ. ธราพงษ์ ดวงคำ� วิรยาวัฒน์
• กัลฯธวัชชัย คุณานุปถัมภ์ • กัลฯนิภา นิธิรัตนสุวรรณ
• กัลฯธวัชชัย จันทร์เดช • กัลฯนิรมล ธำ�รงธัญลักษณ์
• กัลฯธัชชัย ทองจิตร • กัลฯนิล-กิมกี-นวลฉวี สาธร
• กัลฯธัญญพัทธ์ เกษมฐิติพันธุ์ • กัลฯนิษฐกานต์-ศุณิษา เทพธารากุลการ
• กัลฯธัญญาภัทร์-ด.ช.ติณณภัทร์ บุญแต่ง • กัลฯนุกูล โพนุสิต
• กัลฯธันยนันท์ จิรอำ�ไพพร และครอบครัว • กัลฯนุชสรา-แม่สายหยุด-พ่อเจริญ นาคสุทธิและครอบครัว
• กัลฯธาวดี พริ้งรักษา และครอบครัว • กัลฯเนตรนภา ใบสนธ์
• กัลฯธีร์ อยู่ประเสริฐ และคุณพ่อคุณแม่ • กัลฯเนาวรัตน์ รัตนาวงค์สถิต และครอบครัว
• กัลฯธีรนันท์ ศศินิรัติศัย • กัลฯเนาวรัตน์-ทนุวัตน์-แพรว-พราว-พลอย
• กัลฯธุดงคสถานล้านนา จ.เชียงใหม่ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
• กัลฯนพ.หญิง สุภาวดี ผะโรทัย • กัลฯเนาวรัตน์-นิรมล สลักฤทัย
• กัลฯนภาพร หล่อทองคำ� และคุณพ่อ–คุณแม่ • กัลฯบงกช รวดเร็ว
• กัลฯนภาพร วิวัฒน์ศานติ และครอบครัว • กัลฯบรรจบ-ลัดดา-สันติ-สุขสันต์ เตชาพิสุทธิ์
• กัลฯนภาพร ศรีมงคล • กัลฯบัณฑิต-พุฒซ้อน-กุลนาถ-ธีรเมธ มีสมเพิ่ม
• กัลฯพญ.นฤมล จินตพัฒนากิจ,ธีรเมธ เทพวิชัยศิลปกุล • กัลฯบานชื่น ทวีสิน
• กัลฯนฤมล-สุวรรณ-เสงี่ยม ว่องวิทย์ • กัลฯบุญเชิด-ภัสรา-อริยา-เขมิกา ลิ่มกังวาฬมงคล
• กัลฯนฤมล-เสงี่ยม ว่องวิทย์ • กัลฯบุญพก ขาวลูกอิน
• กัลฯนวมนกิตต์ ภาณุสุขเสงี่ยม • กัลฯบุญมี กล่อมกูล และครอบครัว
• กัลฯนวลรัตน์ ศรีฐิติวงศ์และครอบครัว • กัลฯนต.บุญยืน-เยาวนี ลองคำ� และครอบครัว
• กัลฯนวลวรรณ บุญกองรอด • กัลฯบุญยืน-สมเกียรติ-ศิรินทร์ ศิริพันธ์
356

• กัลฯน.ต.หญิง บุญเยี่ยม สืบจากโกสีย์ • กัลฯปริญญา-วีณา เพิ่มพานิช


• กัลฯบุญโรจน์-จินดา-ปุญญิศา-ผณิศร-ธันยพร เสรีวัฒนวุฒิ • กัลฯปรีชา-สิริมา-วิหาร นันทปรีชา
• กัลฯบุญศรี สมานไทย • กัลฯปลูก-ม่วย พิริยะภาพสกุล
• กัลฯบุญส่ง กีรติวรนันท์ • กัลฯปัทมา เซี่ยงใช่
• กัลฯร.ต. บุญส่ง-สุพร พันธุโ์ กศล, ทพญ. บงกช สุวรรณปัทม • กัลฯปัทมาภรณ์ ชเลิศเพ็ชร์
• กัลฯบุณทริกา-นายสุรเชษฐ์ จันทปุณณานนท์ • กัลฯปิติ วงษ์ศิริ
• กัลฯน.พ. บุนย์ธนิสร์-สรีระเพ็ญ โอทกานนท์ และครอบครัว • กัลฯปิ่นประภา พุกพูล
• กัลฯบุศย์-ธัณฬพัชร-มณฑล-พิชญ์ศุภร วิสุทธิ • กัลฯปิ่นประภา-อัชฌาภรณ์-กนกพรรณส์-จันทร์เกษม
• กัลฯบุษย์มนตร์ ศุภเวชพงศ์ วิญญรัตน์
• กัลฯบูรณะ มหัทธนกุล และลูกหลาน • กัลฯปิยพร ชูวิทย์
• กัลฯเบญญาวรัชญ์ นิธิธนัตชินภัทร • กัลฯปิยะนารถ วงษ์ศิริ
• กัลฯปกรณ์-เพียรทวี-ชุดามาศ-สิทธินนท์ ทองปราง • กัลฯปิยะบุศย์ วงศ์จันทร์
• กัลฯปทมพร ศรีสวนแก้ว และคณะ • กัลฯเปรมจิต ตระกูลสมบัติ และครอบครัว
• กัลฯปภาณชุดา กฤตปภาพินท์ • กัลฯผกามาศ อาจารีย์
• กัลฯปรมัตถ์-วนิดา-เพ็ญดาว-จุลระวี สุริยากุลพานิช • กัลฯผ่องศรี อัจฉรานิวัฒน์
• กัลฯประกายวรรณ กิตติสัจจานันท์ • กัลฯอาจารย์เผ่าพงษ์สันติ์ แสงหิรัญ และครอบครัว
• กัลฯประณต ว่องวรธรรม • แผนกแก้วตะวัน
• ครอบครัวประชุมวรรณ • กัลฯพงศ์ศักดิ์ ฉันทสิริสวัสดิ์
• กัลฯประทักษ์-เล็ก-ฌาณิกา-ชยานันต์-ธัญเทพ • กัลฯพงศ์สิน-คุณอารอบ-คุณพัชรา ศุภพงศ์
พิกุลกานตเลิศ • กัลฯพจนา บุญญาภิวัฒน์
• กัลฯประทุม เล็กมณี • กัลฯพจนีย์-ภัทรวุฒิ-ชาลี สมุทรนาวี
• กัลฯประเทือง-คุณบงกช แก้วเอียด • กัลฯพนอ-ชัยชนะ-นราธิป-พิณชนก-ชัยธวัช ธารากรสันติ
• กัลฯประธาน-สมพิศ อารยธรรม ตระกูลอุไรพร • กัลฯพนิตา ตรีนก
• กัลฯประพัทธ์ ชอบสอน และครอบครัว • กัลฯน.พ.พรชัย พิญญพงษ์
• กัลฯประไพ เรืองมงคล • กัลฯพรชัย ประกอบวณิชกุล
• กัลฯประยนต์-คำ�ฟอง โนนริบูรณ์ • กัลฯพรทิพย์-พรรณทิพย์ พิริยะโยธิน
• กัลฯประเสริฐ พันธ์ไพโรจน์ และครอบครัว • กัลฯพรทิพย์-อนุวัตร-นวลหง-ณัฏฐินี จิตต์จรัส
• กัลฯประเสริฐ หลายศิริโรจน์, พลอยนภัส วีรนันท์ • กัลฯพรทิพา พรหมแสงใส
และครอบครัว • กัลฯพรนภา สิริพงศ์เลิศ และครอบครัวสิริพงศ์เลิศ
• กัลฯประเสริฐศักดิ์ นรินทะพันธุ์ • กัลฯพรประไพ ช่วงชัยชนะ และคณะญาติมิตร
• กัลฯประหยัด วงษ์พิรา • กัลฯพรปวีณ์ ศรีคำ�ทา
• กัลฯปราณี โกลพเวอร์ • กัลฯพรปวีณ์ บุญมาจันทร์
• กัลฯปราณี สายเพีย • กัลฯพรพงศ์ อนุมัติราชกิจ
• กัลฯปราณี สืบวงศ์ลี, นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี • กัลฯพรรณพัชร กลับดี
• กัลฯปราโมทย์ โคตะวงษ์ และคณะญาติมิตร • กัลฯพรรณี พันธะพุมมี
• กัลฯปราสาท-กิ่งกาญจน์ โคตรรักษา • กัลฯพรรณี พยุงวงษ์ และญาติๆ
• กัลฯปริญญา-ปัสญา-ปุณยาพร-ศุภากร หิรัญศรี • พระยาผุย-พระยาแพงดี-กินดาลาสิด-มยงสิด พิลาวรรณ
และครอบครัว
357

• กัลฯพลอยนารี หมื่นชาญทิพย์ • กัลฯภัทรพร สิงห์วงษ์


• กัลฯพวงเพ็ญ สุวรรณธาดา และครอบครัว • กัลฯภัทรภร กนกวลัยวรรณ
• กัลฯพวงเพ็ญ ทิสยากร • กัลฯภัทรฤดี ผดุงพัฒน์
• กัลฯพ่อแก้ว-คุณวาสนา อินทร์ปรุง • กัลฯภัทราพร-พรทิพย์ ใหญ่โสมานัง
• กัลฯพ่อพิชิต-แม่บัวชุม-มลหทัย เหลือโกศล • กัลฯภัษมา ชิวหวรรณ
• กัลฯพ่อมนต์ศักดิ์-คุณแม่นุ้ย พันธุ์วิริยรัตน์, หัวหน้าชั้น • ภาคนครหลวง ๗
และนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา • กัลฯภาณุภณ-ปิยจิต-ชัยวัฒน์-ฐิติชญา ชิวปรีชา
• กัลฯพัชรินทร์-จึงสี-สุปรียา-เซงเจง-เชียวฮึง แซ่เตีย และ • กัลฯนพ. ภาณุเมศ-พญ.สุนีย์-ด.ช.กล้าตะวัน-ด.ญ.จินดามณี
คณะญาติมิตร ศรีสว่าง
• กัลฯพ่อวอ-แม่อนงค์ ธรรมยิ่ง • กัลฯภิรมย์ เมฆอรุณกมล และครอบครัว
• กัลฯพ่อเหลือบ-แม่เซียม-ไชยเศรษฐ มรกต • กัลฯมนสุภา ราษฎร์รักษ์และครอบครัว
• กัลฯพัชรี เจริญศรี • กัลฯมนูญ เอื้อณัชพล และครอบครัว
• กัลฯพัทรี สมบูรณ์ยิ่ง • กัลฯมยุรี เนาวรัตโนภาส
• กัลฯพันศักดิ์ สุทธิสังข์,เบ็ญจรัตน์ ภูริปรัชญา • กัลฯมลิวัย์-วชิระ-ชุลีพร ช่วงรังษี
• กัลฯพาณี -บุญศรี-ประพิณ นาคทองและครอบครัว • กัลฯม่วยนี้ แซ่อึ้ง, ศรัณย์ ภูริปรัชญา
• กัลฯพิจิตรา ขำ�เมธา • กัลฯม่วยลั้ง แซ่ลี้
• กัลฯพิเชษฐ, รุจิรา, ฐิติรัตน์, ทิพวรรณ, • กัลฯมัณฑนา เชิดวิศวพันธุ์
บุณยนุช สุจริยานุรักษ์ • กัลฯมานิต-รวิพร รัตนสุวรรณ
• กัลฯพินิจ ชาเสน • กัลฯมารศรี อุสาหะ และญาติมิตร
• กัลฯพิมธิดา จันทร์แจ่ม • กัลฯมาริษา ศรหิรัญ
• กัลฯพิมพ์จุฑา อัครนพธนัทท์ • กัลฯมาลี มณีวัฒนา และครอบครัว
• กัลฯพิมพ์ปญา แสงฤทธิ์บุรีสุข และครอบครัว • กัลฯมิตศิณี รังสิพราหมกุล
• กัลฯพิมพ์สุภัค พลทองสถิต • กัลฯมีนา ติลกานนท์
• กัลฯพิมล ตันติวิริยางกูร และครอบครัว • กัลฯเมษา จันทร์เดช
• กัลฯพิมลพรรณ เหลืองวงศ์วาน • กัลฯแม่เซี้ยมหง แซ่ลิ้ม และครอบครัววาสนาวากิจ
• กัลฯอาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ • กัลฯแมน-สิริมาลย์ สุขสวี (ลาภาโรจน์กิจ) และครอบครัว
• กัลฯพีระพล เผ่าเพ็ง, กมลวรรณ สว่าง • กัลฯแม่ปิยิน-คุณพ่อเทียนฟุก และลูกหลาน
• กัลฯพูนศรี แดงทองดี และบุตรธิดา • กัลฯแม่อำ�นวยศรี พงษ์สวัสดิ์
• กัลฯเพียงเดือน จุ้ยม่วงศรี • กัลฯยงยุทธ จันทายนะ และครอบครัว
• กัลฯไพฑูรย์ ตระการศักดิกุล และครอบครัว • กัลฯยงยุทธ-อัญชลี-ณัฐวุฒิ-อัจฉรา-จิรภัทร์ ตัณฑกิจ
• กัลฯไพบูลย์-ดช.ฉัตร์ชัย-ดญ.ปัญญวดี จงภักดีรักษา • กัลฯยมโดย เวชศิริ
• กัลฯไพรัตน์-ฟองกมล ลิ้มศิริเศรฐกุล • กัลฯยลลดา สารพันธุ์
• กัลฯไพศาล สุชาติกุลวิทย์ • กัลฯยายพิศวง-ทองอินทร์-สุทิน-สุฑาทิพย์ จันทร์เพ็ญ
• กัลฯภควดี ขัมภรัตน์ และครอบครัว
• กัลฯภรภัค พรนพฉัตร • กัลฯยุพา เงินสด
• กัลฯพล.อ.ต. ภักดิวรรธน์-สาวิตรี วชิรพัลลภ • กัลฯยุพาพรรณ จุฑาทอง
• กัลฯภัทรนันท์-ด.ช.ธีภพ ตัจฉกวิทย์-ด.ญ.ภัทรดา • กัลฯยุพาภักดิ์ พรธาดาวิทย์,สุรัชนี คมขัน
วนะชิวนาวิน • กัลฯยุพารัตน์ จันทร์เดช
358

• กัลฯยุพิน ชนะโรค • กัลฯวรินธร พรรัตนยากร-กัณณรัตน์ วีรพงศ์พิทักษ์


• กัลฯยู้ ดวงพรมณฑล และครอบครัว • กัลฯวลัญช์ลักษณ์ เกตุวิเชียรไชย์ และครอบครัว
• กัลฯเย็นเล็ก แซ่จู • กัลฯวลัยพรรณ์ วัลภานุรักษ์ และครอบครัว
• กัลฯเยาวลักษณ์ บัวดี และครอบครัว • กัลฯวอ-แม่อนงค์ ธรรมยิ่ง และลูกหลาน
• กัลฯรจนา-วัชระ บุญเพ็ง • กัลฯวัชรี สิริสุภัคการย์ และครอบครัว
• กัลฯรวีโรจน์-นันท์มนัส กุลวัฒน์ชูกิจ และครอบครัว • กัลฯร.ต.อ.หญิง วัชรีย์ รอดทอง
• กัลฯระเบียบ พุ่มสุข และครอบครัว • กัลฯวันทนีพร จันทร์เหลือง
• กัลฯรังสรรค์-บุญมี-โสมนัส รัตนนันทวาที • กัลฯวัลย์ณี-วันเพ็ญ สายสืบญาติ
• กัลฯรัชนี-วิชิต ยถาภูธานนท์ • กัลฯวานิช-สุวรรณ วานิชสัมพันธ์ และครอบครัว
• กัลฯรัชประภา ศรีเสาร์ • กัลฯวาริน-รัตนา-โอภาส ปราณีตพลกรัง
• กัลฯรัตพร มโนมัยมงคล • กัลฯวาเรศ-มณี พิทักษ์นคราช
• กัลฯฤทัยรัตน์ หล่อศรีศุภชัย • กัลฯวาสนา สาคเรศ
• กัลฯละม้าย-อุมา บุปผเวส • กัลฯวาสนา นิลประดับแก้ว
• กัลฯลักษมีสรรค์ เธียรปัญญา • กัลฯวิจาร-วรรณี-สิรภพ-ยศภัทร คุปติพงศ์กุล
• กัลฯลัดดา ฟิชเชอร์ • กัลฯวิจิตร เกษสมบูรณ์ และครอบครัวญาติมิตร
• กัลฯลาวัณย์ เบเคอร์ • กัลฯวิจิตร-อรรถพร เหลาซื่อ
• กัลฯลาวัลย์ สุขสงค์ • กัลฯวิชัย-คุณกาญจนา สุวิชชโยวงศ์
• กัลฯพญ. ลำ�พู โกศัลย์วิทย์ • กัลฯวิชัย-แจ่มจิตต์-วรนุช เลาหวัฒน์
• กัลฯคุณแม่ลีเทียมอิม และครอบครัวกรวิจิตต์ศิลป์ • กัลฯวิเชียร-รัตนา-เบญจา ตันกิม
• กัลฯลี-สำ�รวม กลัดจำ�นงค์ พร้อมบุตรธิดา • กัลฯวิตเตอร์-กมลพร มณีรักษ์ และครอบครัว
• กัลฯลุ้ย แซ่ตั่น, งื่อเคี้ยง แซ่โค้ว • กัลฯวิทยา บุญเลิศเกิดไกร
• กัลฯเลขา กนิษฐกุล และธิดา • กัลฯวินิจ จรุงวิภู และคุณพ่อคุณแม่
• กัลฯเลี้ยน-อ.กรุณา-พ.ญ.กีรติกานต์-คุณอุไรริษา ลำ�ดับวงศ์ • กัลฯวิภา เตชะอนุสรณ์
• กัลฯวงวาส ลุมวงษ์ • กัลฯวิภาส รักสกุลไทย, อนงนุช ช่วงรังษี
• กัลฯวงศกฤต กระจ่างสนธิ์ • กัลฯวิมลมาส รัตนวราห
• กัลฯวนิดา วีระอักษร และครอบครัว • กัลฯวิโรจน์-สมจิตต์ หัสสวรพันธุ์ และครอบครัว
• กัลฯวรนารถ โพธิบุญ,บุพการี ผู้มีพระคุณ • กัลฯวิไลลักษณ์ เลขาขำ�
และคณะญาติมิตรผู้ที่ข้าพเจ้าล่วงเกิน • กัลฯวิไลวรรณ-จันทิมา-อัมพร-นงลักษณ์ เนตรนิลพงษ์
• กัลฯวรพจน์ ปฏิพิมพาคม • กัลฯอาจารย์วิศิษฐ์ แสงหิรัญ และครอบครัว
• กัลฯวรรณวิภา-วีกมล เตไชยา-สวัสดิ์ อมรสิทธิ์ • กัลฯวิเศษ-สุภิสรา วงศ์สิงห์
• กัลฯอาจารย์วรรณิภา อ่อนลมูล • กัลฯวิสูตร แก้วสิทธิ์
• กัลฯวรรณี ดุจพิบูลย์ผล • กัลฯวีรยา-ประวีณ เพิ่มพานิช
• กัลฯพญ.วรรณี ธนไพศาล • กัลฯวีระ สง่าศรี
• กัลฯวรรณี สารัตถวิภาค และครอบครัวสารัตถวิภาค • กัลฯวีระชัย ตัณฑพฤกษ์ผล และผู้มีจิตศรัทธา
• กัลฯวรรณี-สุณี ธิติศุภโชติ • กัลฯวีระพันธุ์-สุภาภรณ์ เสถียรนพเก้า
• กัลฯวรวีร์ ฉัตรบุญภูรสิทธิ์ และคณะญาติมิตร • กัลฯเวชยันต์-ประกายมาศ เฮงสุวนิช
• กัลฯวราภรณ์ งามขำ� • กัลฯศมนวรรณ วัลภานุรักษ์
359

• กัลฯศราวุฒิ-คุณพัชรินทร์-ด.ช.ศิริพิพัฒน์ ยิ้มละม้าย • กัลฯสมชาย เรืองปราชญ์ และครอบครัว


• กัลฯศรีประภา แก้วเขียว • กัลฯน.สพ.สมชาย-หอมปราง วงศ์สมุทร
• กัลฯศศิลักษณ์-คุณจิรพรรษ-คุณพรรษ อภิมาศ • กัลฯสมโชค พันธุ์วิริยรัตน์
• กัลฯศศิวรรณ คำ�อาจ • กัลฯสมบูรณ์-พ่อกง-แม่ขาว พิทักษ์จินดา และครอบครัว
• กัลฯดร.ศศิวรรณ กำ�ลังสินเสริม • กัลฯสมพงษ์-นิตยา-อภิรดี ตันติวาณิชยสุข
• กัลฯศักดิ์ชัย วัลภานุรักษ์ และครอบครัว • กัลฯสมพงษ์-อิสรีย์ เหล่าศรีไพบูลย์ และครอบครัว
• กัลฯศิระพรชัย ด้วงสั้น–คุณมาลัย หวังงาม • กัลฯสมพจน์ จันทร์เดช
• กัลฯศิริชัย เปี่ยมเปรมปรีชา และครอบครัว • กัลฯสมพร ไทรทอง, ศุภชัย-ดวงกมล กอแก้วมณี
• กัลฯศิริพร-ประเสริฐ ขุมทรัพย์, คำ�นึง ธรรมปรีชา • กัลฯสมพร โมบัณฑิตย์
• ครอบครัวศิรินันท์ กาญจนาคม • กัลฯสมพร แฮสสเลอร์
• กัลฯศิริมา(สุ่ยเอ็ง) แซ่ลี้ • กัลฯสมพร-ธิดา เข็มทอง และครอบครัว
• กัลฯศิริรัตน์ วัดวิเศษ • กัลฯสมพร-พรพงศ์ อนุมัติราชกิจ
• กัลฯศุภกาญจน์ วงศ์เทศ และคณะญาติมิตร • กัลฯสมรวย ศิริลิขิตชัย และครอบครัว
• กัลฯศุภกิจ สุธรรมโน • กัลฯสมศักดิ์ พุทธรักษา
• กัลฯศุลีพร ศุขจรัส • กัลฯสมศักดิ์ เจริญศรี
• ศูนย์ปฏิบัติธรรมภาคใต้ จ.สงขลา • กัลฯสมศักดิ์ เพชรแสงทิพย์
• ศูนย์สื่อสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชน • กัลฯสมศักดิ์-ผ่องพรรณ-อรรณพ จิราดิเรก
• ศูนย์อบรมเยาวชน จ.แพร่ • สมาชิกอาศรมอุบาสก
• ศูนย์อบรมเยาวชนนครราชสีมา • สมาชิกอาศรมอุบาสิกา
• ศูนย์อบรมเยาวชนผาสุกวนิช • กัลฯสรัลยา เทียมประเสริฐ
• ศูนย์อบรมเยาวชนลพบุรี • กัลฯส่วงเค็ง แซ่จาง และครอบครัวคงวิทิต
• ศูนย์อบรมเยาวชนสุรินทร์ • กัลฯสวัสดิ์ โลหารชุน
• ศูนย์อบรมเยาวชนอุบลราชธานี • กัลฯสวาท นนท์อ่อน
• ศูนย์อุบาสิกาแก้วแม่ตุงติง • กัลฯสันทิตย์-นภัค-ณัฏฐ์วิกร-กริษา หรรษาพันธุ์
• กัลฯเศวต ศาสตร์สถาพร • กัลฯรศ. สาธิต-ดวงตา-สาธิตา-วรุตม์ วิมลคุนารักษ์
• กัลฯสงวน-ภัทรา-เยาวฯ ศรีสถาพร • กัลฯสาย เวียงวะลัยและครอบครัว
• กัลฯสถาพร ตันฮก และครอบครัวญาติมิตร • กัลฯสายชล ฉันทกุล
• กัลฯร.ต.ท.สถาพร-สนธิยา-สราญจิต ไกรฤกษ์ • กัลฯสายทอง-ทำ�นอง พงษ์เพ็ง
• สนแก้ววนาราม จ.เชียงใหม่ • กัลฯสายฝน สะพง
• กัลฯสนม-วีระ สง่าศรี และครอบครัว • กัลฯสาริน ตันติรัตน์-สรณะ-สริต เสริมสิทธิพร
• กัลฯสนั่น-แม่ลุ่ย-กฤษณี-วาณิช บัณฑิตนพรัตน์ • กัลฯสาโรช-สุกัญญา สกุลวัฒนะ
• กัลฯสปันนา-นราวดี หลายศิริโรจน์ • กัลฯสำ�รวย เครือหอม
• กัลฯสภศิษฏ์-มโนทิพย์-ณัฐชารพัชร • กัลฯสำ�อาง นิลวาส
• กัลฯสมใจ ฉัตรไทย และครอบครัว • กัลฯสงกรานต์ ประพันธ์ แชลี่ บัวนาค
• กัลฯสมใจ-นพวรรณ-ด.ช.พิพัฒน์-ด.ช.เพชรธารา • กัลฯสิงห์-นภาพร คูวุฒิไวย์
• กัลฯสมชัย-คุณมัณฑนา-คุณหฤดี-คุณพิพัฒน์-คุณจุฑามาศ- • กัลฯสิทธิพร สุขผล
คุณปุญญิสา ศรีพิมลพันธุ์ • กัลฯสินีนาฏ ติยะวัฒน์-วิจิตร จรางกุล
360

• กัลฯสิรินทร์ วงศ์วิทยเวทย์ • กัลฯพลตรีสุรสิทธิ์ ถาวร และ ครอบครัว


• กัลฯสิริประภา อัจฉรานิวัฒน์ • กัลฯสุรสิทธิ์-ญาณีนันท์-ยรัตน์ดุล เลาห์วีระพานิช
• กัลฯสิริพร วุฒิจารีพงศ์ และครอบครัว • กัลฯสุรัตน์-อรทัย แสงสุระธรรม
• กัลฯสิริมา แจ้งกระจ่าง • กัลฯสุรีรัตน์-พินิจ-สุพนิดา โพธิ์เกตุ
• ครอบครัวสุขเดช • กัลฯสุโรทัย พุทธรักษา
• กัลฯสุขพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา • กัลฯสุริสา-พัฒนพงษ์-พรพรรณ-พรเพ็ญ พุ่มทิม
• กัลฯสุขสันต์ โพธิวัฒน์ • กัลฯสุริสิทธิ์-ญาณีนันท์-ยรัตน์ดุล เลาห์วีระพานิช
• กัลฯสุขุม-เกตุกานต์-ฉัฐมาพร โตการัณยเศรษฐ์ • กัลฯสุวณี-สุวลักษณ์ แซ่คู
• กัลฯสุจิตร-บุญโฮม ศรีชะตา • กัลฯสุวรรณ-พิมพ์อนงค์-พิมพ์ทอง-พิมพ์มาดา อมรเชียร
• กัลฯสุจินดา-ฉัตรชัย-ด.ช.ปรินทร์-ด.ญ.ลิลลดา ชัยพานิช • กัลฯสุวรรณา ชมสาคร
สุชัย-ศลิษา-ณัฐินี-บุษบามินตรา ตั้งประธานกิจ • กัลฯสุวรรณา รุมชเนาว์
• กัลฯสุชาดา บุญธรรม และครอบครัว • กัลฯสุวรรณา-เฮ้งลิ้ม แซ่ตั้ง-สุพัตรา แซ่เอี๊ยบ-
• กัลฯสุณี ศิริอาชากุล ครอบครัวตันตินิรามัย
• กัลฯสุดาวรรณ-สมภพ-ติณณภพ-สโรชา อัศวรังติคุณ • กัลฯสุวรรณี กิตติวรศาสน์ และคณะญาติมิตร
• กัลฯสุทธิพงษ์ เข็มทอง และครอบครัว • กัลฯสุวรรณี จตุรพิตร-พยนต์-ลูกสรีนา แซ่ด่าน
• กัลฯสุทธิวรรณ สุขวัฒนาการวิทย์ • กัลฯสุวัฒน์ ว่องวรธรรม
• กัลฯสุทิน เจนตระกูลโรจน์ • กัลฯทพ.สุวัฒน์-ทพญ.วิไล สุริยาแสงเพ็ชร์ และครอบครัว
• กัลฯสุทิศา แก้วบำ�รุง • กัลฯร.อ. สุวิทย์ -นิตยา เสมอ่วม
• กัลฯสุทิสา สมานไทย • กัลฯสุวิทย์ หาญประสิทธิ์คำ� และครอบครัว
• กัลฯสุเทพ ชลเวกสุวรรณ • กัลฯครอบครัวสุวิศิษฐ์พงศ์
• กัลฯสุธน-รจิต-ปลื้ม พงษ์พิศาล • กัลฯน.พ. สูงชัย อังธารารักษ์
• กัลฯสุนทร-ลักขณา-สุนีรัตน์ เบ็ญจนิรัตน์ • กัลฯเสน่ห์-เสถียร วัชรสัญชัยกุล
• กัลฯสุนาทร-วราณี-จิระทรัพย์ นุตผลิน • กัลฯเสมา-สมพร ฤกษ์ดาวชัย
• กัลฯสุประวีน์-จิรัฎฐ์ หมื่นชาญทิพย์ • กัลฯเสริมพงษ์-อังคณา คุณาธิดม และบุตรธิดา
• กัลฯดาบตำ�รวจสุพจน์ แก้วเจริญ • กัลฯเสริมศักดิ์ ชัยคาม
• กัลฯสุพรรณี บุญเรือง • กัลฯสริมศักดิ์-คุณสุจินต์ ศรีพงษ์ธนากุล และครอบครัว
• กัลฯสุพล-ชุติมณฑ์ ฝอยหิรัญ และครอบครัว • กัลฯเสริมสิริ พึ่งพุทโธ
• กัลฯสุพวัตร์ชัย-สรัญญา เขียวขาว • กัลฯเสริม-แสนสุข-รัชนก-สาริน-เกอร์หล่าน ยังอยู่
• กัลฯสุพัตรา สัตยาธิษฐานวาณิชย์ • กัลฯเสาวณีย์ ยถาภูธานนท์-สุรชัย ดุษฎีเมธา
• กัลฯสุพัตรา หิรัญยะวะสิต • กัลฯเสาวนีย์ กาญจนกวิน และครอบครัวกาญจนกวิน
• กัลฯสุภาพ หาญคณิตวัฒนา • กัลฯเสาวนีย์-พรสุมา อัศวโภคี
• กัลฯสุภาพ-สิริกร-อนัญญา บูรณะ • กัลฯอาจารย์เสาวลพ-คุณฐากร-คุณโสมาวดี ทวีสิน
• กัลฯพญ. สุภาภรณ์ แสงวิโรจนพัฒน์ • กัลฯแสงจันทร์ อภัยสุวรรณ
• กัลฯสุภาวดี ปัตทวีคงคา • กัลฯโสภณ-เอนกพร สมานไทย
• กัลฯสุภาวิณี บุญมาจันทร์ • กัลฯโสภา สกุลเอี่ยม
• กัลฯสุมิตร มาลยมาน • กัลฯโสรัจจะ ภู่เพียงใจ
• กัลฯสุรนันท์ จตุรพิตร และครอบครัว • กัลฯร.ต. หญิงสุมาลี เจริญรัตน์
361

• กัลฯหยกฟ้า มโนสุดประสิทธิ์ • กัลฯอัยรินชย์ เลิศสุนทรพจน์


• กัลฯไหล-แม่ยุ้น ปุชัยเคน • กัลฯอานนท์-อนุรุทธ-อัญญา ทวีโชติ
• กัลฯองอาจ-วารี-วรรณี ลวชัยโยธิน • กัลฯอารีย์ เกาะเต้น-คุณทัตพิชา พลังฤทธิ์
• กัลฯสอ. อดิศร เกตุมอญ และครอบครัว • หจก.อ๋าการยาง และครอบครัว
• กัลฯอตินุช-เกสร-สมจิตต์-มนต์ชัย-อมรวดี อัศววิบูล • อาสาสมัครแผนกบรรยากาศแก้ว
• กัลฯอธิป คูหากนก • อาสาสมัครแผนกบุญสว่าง
• กัลฯอนงค์นาฎ เวทยโยธิน • กัลฯอารีย์ โตวาเอลิรีและครอบครัว
• กัลฯอนรรต-ศศิธร-พาณิช พูลสังข์ • กัลฯอำ�นวย-รัชน-ชุติมา ภาคสัญไชย
• กัลฯอนัญญา พันธ์วิศวาส • กัลฯอำ�ไพ-ชนันพัสน์ เถื่อนทองคำ�
• กัลฯดร. อนัญญา-คุณแม่หฤทัย เมธมนัส • กัลฯอำ�ไพพรรณ์ โพธิ์กระสังข์
• กัลฯอนุชัย ปรีดาพิพัฒน์พงศ์ • กัลฯอิงอร ปัญญากิจ
• กัลฯอภิชา แซ่ก๊วย • กัลฯอิฐิปรียา วงศ์สุเมธรต์
• กัลฯอมรรัตน์ เหลืองสุวิมล และครอบครัว • กัลฯอินทรา บูภิชน
• กัลฯอรฉัตร เทศทอง • กัลฯอาจารย์อุดม-ภัทรพงษ์ แสงหิรัญ
• กัลฯอรชร สมผดุง และครอบครัว • กัลฯอุดม-สุภัทรา เกียรติศิลป์
• กัลฯอรณี แซ่เอี้ยว และครอบครัวยับมันบริบูรณ์ • กัลฯอุทัย ทวีโชติ
ครอบครัวญาณบริบูรณ์ • กัลฯอุทัยแสง-จันทร์เพ็ญ ทรวงถูก
• กัลฯอรนุช กำ�ประเสริฐ และครอบครัว • กัลฯอุบลทิพย์ สุพรรณานนท์ และครอบครัว
• กัลฯอรพรรณ การ์ดีฟี้ และครอบครัว • กัลฯอุมาพร จันทรา
• กัลฯอรรถพร-สมพร-ด.ญ.ธมลวรรณ-ศุภรักษ์ ประเสริฐวงษ์ • กัลฯอุไร ชุนปรีชา
• กัลฯอรรถสิทธิ์-รัชนี วารีศรี • กัลฯอุไร-คุณเพียงเพ็ญ เพาะบุญ และครอบครัว
• กัลฯอรรยา-กชนัฑ-วรปรียา-องุ่น อุทัยเสวก • กัลฯอุไรวรรณ โพธิ์ผล และครอบครัว
• กัลฯอรุณ จันทร์เดช • กัลฯอุไรวรรณ สตริงเฟลโลว์
• กัลฯอรุณรัตน์ ลีวิริยะเลิศ-บรรพบุรุษ • กัลฯอุไรวรรณ แซ่ตั้ง
• กัลฯอรุณี -พิศันต์ ปัญญาฟู • กัลฯอุษา กีรติวรนันท์ และครอบครัว
• กัลฯอรุณี มินตาไพสิฐ • กัลฯอุษา พุ่มจิตร์ และครอบครัว
• กัลฯอรุณี-ระเบียบ ศิริหงษ์ทอง • กัลฯนพ.เอกชัย วงศ์สรรคกร
• กัลฯนพ. อวิทัศน์-วนิดา ตั้งรพีพากร • กัลฯเอกพล เอกเศวตอนันต์
• บริษัทออโต้ไฟลท์ จำ�กัด • กัลฯเอกมล แสงหิรัญ และครอบครัว
• กัลฯอังคนา โสรีย์ • กัลฯอาจารย์เอกมล แสงหิรัญ และครอบครัว
• กัลฯอัจฉรีย์ พันธุ์สอาดและครอบครับ • กัลฯเอนกชัย สมานไทย
• กัลฯอัญคณางค์ เรืองมงคล และ พิษณุ ดอกพุฒ • กัลฯสุภัทรา เกียรติศิลป์
• กัลฯอัญชลี-พลเทพ พันธุ์ธนากุล • Alan John Hanson - บุษบา แฮนสัน และครอบครัว
• กัลฯอัมพร สุขช่วย • ARISA CHOUVAKIT
• กัลฯอัมรา นาเมืองรักษ์ และร้านทิพย์มาลา • CHANYAMAT WERNER
• กัลฯอัยย์-รัชนี-ด.ช.ภูริวัจน์-ด.ญ.เพียงตะวัน- • DONEY VONGSENG
ด.ช.พันธุ์เพชร-ด.ช.พิทักษ์ตะวัน เพชรทอง • JEERADECH DAYCHAPATORMWON
362

• JITRAROCH PRAPHASUK
• KATHEEN KEOMAHAVONG
• MADELINE EUGENIO
• MOTT SURASMITH
• NAPALAI CHOTO
• ORAPIN C MUNIZICH
• PANINTORN CHUENIM
• PANJAMAPORN AMPANT
• PEONY DANRONKG
• PHAGNA PHATHANANOURAK PHUI-
NANGPHAGNAPHENGDY-KINDALASIT
BILAVARN & FAMILY
• PHAYPHONE WONGPRASERT
• PRANEE K. HERZBERGER
• SIRICHAN RUANGLEK
• SOMDY-SYMONE KEOMAHAVONG
• SRIVICHAI THAIFOOD
• SUDA-SRIUBON SAWASDITHEP
• SUSAN YEE WEE HAR+FAMILY
• Thanatip Saehaan
• VMDC
363

ขอขอบคุณ และอนุโมทนาบุญ
กับผู้มีส่วนช่วยให้
“หนังสือ อุปมา-อุปไมย จากพระไตรปิฎก” เล่มนี้สำ�เร็จบริบูรณ์

พระธวัฒชัย ธชุตฺตโม
พระพรเทพ ธมฺมเสฏฺโฐ
กัลฯสาริน ตันติรัตน์
กัลฯกมลชนก วัฒนศิลป์
กัลฯอาจารย์เสาวลพ ทวีศิลป
กัลฯพัชรา วนะชิวนาวิน
กัลฯศรีสุวรรณ ตั้งคุปตานนท์
กัลฯเสาวรส ปัทมะลางคุล
ศูนย์ปฏิบัติธรรม AZUSA (CALIFORNIA)
กัลฯจิณห์นิภา ธนะกมลประดิษฐ์
กัลฯนฤมล ว่องวิทย์

พร้อมทั้งผู้ทำ�หน้าที่กัลยาณมิตร เชิญชวนผู้ร่วมบุญสนับสนุนการจัดทำ�หนังสือ
และท่านผู้มีคุณูปการทุกท่านที่มิได้กล่าวนาม ณ ที่นี้
364

ประวัติผู้เรียบเรียง
ฉายา ธมฺมวิปุโล ภิกขุ หรือพระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล
นามเดิม นายไพบูลย์ ธรรมค้ำ�จุน
การศึกษา อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิต รุ่นที่ ๕
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ,
นักธรรมเอก
ประวัติ เกิดวันอังคารที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำ�นวนบุตร ๔ คน ของ นายกิมฮะ แซ่เอ็ง
และนางบุหงา ธรรมค้ำ�จุน เกิดที่บ้านเลขที่ ๑๑๘ ถมมมหาจักรพรรดิ์
ตำ�บลหน้าเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ป.๑ - ป.๗ โรงเรียนปัญจพิทยาคาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ม.ศ.๑ - ม.ศ.๓ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปวช. - ปวส. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ
ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วิทยาเขตพระนครเหนือ
อบรมธรรมทายาท ภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๒๕
ภาคเข้าพรรษา รุ่นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๘
กิจกรรม พ.ศ. ๒๕๒๑ หัวหน้านักศึกษา แผนกช่างเครื่องจักรกลงานไม้
พ.ศ. ๒๕๒๔ นักกีฬารักบี้ฟุตบอลของสถาบันฯ
การงาน พ.ศ. ๒๕๒๖ วิศวกรฝ่ายโรงงาน บริษัทบูติกนิวซิติ้ จำ�กัด กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๒๗ รองผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท ซีเอ เลเทอร์ จำ�กัด
จังหวัดปทุมธานี
อุปสมบท วันเสาร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ณ อุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พระอุปัชฌาย์ คือ พระพุทธิวงศมุนี
พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระโสภณพุทธิธาดา
พระอุนสาวนาจารย์ คือ พระกิตติวงศ์เวที
365

หน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๕


- เป็นผู้ดูแลโครงการอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทภาคฤดูร้อน
และภาคเข้าพรรษา
- เป็นผู้ดูแลการเผยแผ่ธรรมะและการอบรมบุคลากรหน่วยงานและ
สถาบันต่างๆ ที่เข้ารับการอบมรม ณ วัดพระธรรมกาย พ.ศ. ๒๕๓๖
- เป็นผู้ดูแลงานการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร
พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๔๓
- เป็นผู้ดูแลงานบุคลากรของวัด
- เป็นผู้ดูแลพระภิกษุที่อยู่ประจำ� ณ อาคารที่พักสงฆ์วัดพระธรรมกาย
- เป็นผู้ดูแลการจัดงานบุญใหญ่ของวัดพระธรรมกายจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๔๔
- เป็นผู้ดูแลงานสัมมนาพระสังฆาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
- เป็นผู้ดูแลงานอบรมพระกัลยาณมิตร
พ.ศ. ๒๕๔๙
- รองผู้อำ�นวยการสำ�นักประธานคณะกรรมการบริหาร
ดูแลงานฝ่ายบริหารและงานฝ่ายเครือข่ายภายในประเทศ
พ.ศ. ๒๕๕๐
- ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พ.ศ. ๒๕๕๓
- เป็นคณะกรรมการดูแลโครงการอุปสมหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมูบ่ า้ นทัว่ ไทย
และโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๑ แสน และ ๕ แสนคน
โซนภาคตะวันตก
- เป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร ผูบ้ ริหารครูอาจารย์ทว่ั ประเทศ ในสังกัด
สำ�นักงานคณะกรรมการบริหารการศึกษาเอกชน
366

ผลงานที่ผ่านมา
ดรรชนีธรรม ๑ ฉบับมงคลสูตร
รวบรวมเนื้อหาธรรมะในพระไตรปิฎก เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ
มงคลชี วิ ต ๓๘ ประการ ในแต่ ล ะเรื่ อ งเป็ นการสรุ ป ย่ อ พอให้ จั บ
ประเด็นสำ�คัญที่สอดคล้องกับมงคลชีวิตได้ โดยบอกหลักฐานอ้างอิง
เพื่อให้สามารถสืบค้นรายละเอียดต่อไป

ดรรชนีธรรม ๒ ฉบับธรรมะในวันสำ�คัญประจำ�ปี
รวบรวมความเป็นมาของวันสำ�คัญประจำ�ปีในสังคมไทย เช่น
วันขึน้ ปีใหม่ วันเด็กแห่งชาติ วันครู วันกองทัพไทย วันตรุษจีน วันมาฆบูชา
เป็นต้น และอ้างอิงถึงธรรมะในพระไตรปิฎกเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ
วันสำ�คัญประจำ�ปี รวมทั้งหมด ๒๒ วัน

ดรรชนีธรรม ๓ ฉบับผลของบุญและบาป
รวบรวมเนื้อหาธรรมะในพระไตรปิฎก เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ
ผลของบุญ (บุญกิริยาวัตถุ ๑๐) และผลของบาป (อกุศลกรรมบถ ๑๐)
ในแต่ละเรื่องเป็นการสรุปย่อ พอให้จับประเด็นสำ�คัญที่สอดคล้องกับ
ผลของบุญและบาปได้

ร่าเริงบันเทิงใจ ด้วยสัมโมทนียกถา
รวบรวมบทสัมโมทนียกถาที่พระภิกษุใช้กล่าวก่อนสวดมนต์ให้
พร หลังจากได้รับถวายไทยธรรมหรือปัจจัย ๔ อันควรแก่สมณบริโภค

ภิกขุปาฏิโมกข์ บาลี แปล


รวบรวมพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ สิกขาบท เพื่อให้พระภิกษุใช้
สวดทบทวน ทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย ในแต่ละสิกขาบท
367

รู้ทันวิบากกรรม
รวบรวมจากกรณีศึกษากฎแห่งกรรม (Case Study) รายการ
โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ออกอากาศทางช่อง DMC เกี่ยวกับ
กรรมที่กระทำ�ไว้ในอดีต ส่งผลให้ประสบสุข-ทุกข์อย่างไรในปัจจุบัน

ตายแล้วไปไหน ภาคสุคติ และภาคทุคติ


รวบรวมจากกรณีศึกษากฎแห่งกรรม (Case Study) รายการ
โรงเรียนอุนบาลฝันในฝันวิทยา ออกอากาศทางช่อง DMC เกี่ยวกับ
ชีวิตความเป็นอยู่ในปรโลก ประสบสุข-ทุกข์ อย่างไรเพราะกรรมใน
ปัจจุบัน

ดรรชนีธรรม ฉบับมงคลสูตร (รวมเล่ม)


รวบรวมธรรมะจากหนังสือดรรชนีธรรม ๑ ฉบับมงคลสูตร
ดรรชนีธรรม ๒ ฉบับธรรมะในวันสำ�คัญประจำ�ปีและดรรชนีธรรม ๓
ฉบับผลของบุญและบาป ไว้ในเล่มเดียวกัน

สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ท่ี สหการกัลยาณมิตร


วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐ โทร. ๐-๒๘๓๑-๑๖๗๔
368

คณะผู้จัดทำ�
หนังสืออุปมาอุปไมยจากพระไตรปิฎก

ISBN : 978-974-401-811-3

บรรณาธิการบริหาร : พระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล


ฝ่ายจัดทำ�ต้นฉบับ : พระมหาธรรมรัตน์ ธมฺมรตโน
พระพรเทพ ธมฺมเสฏโฐ
พระนิสิตสถาบันธรรมชัย
พญ. ลำ�พู โกศัลวิทย์
กมลชนก วัฒนศิลป์
สุนิสา ศรีนวล
เฉลิมเกียรติ โสดา
ศิลปกรรม/รูปเล่ม : สุพัตรา ปัญญาแสง
ออกแบบปก : จุลมณี สุระโยธิน
ภาพประกอบ: พุทธศิลป์
พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
จำ�นวน : ๘,๐๐๐ เล่ม
ลิขสิทธิ์ : มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อศีลธรรม
๘๓/๓ หมู่ ๗ ตำ�บลคลองสอง อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๒๐
พิมพ์ที่ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำ�กัด
๘๕-๙๕, ๑๗๑ ถนนมหานคร (สว่างตัดใหม่) แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก
กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐

www.kalyanamitra.org | www.webkal.org

You might also like