MET 482 T5-Retest

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

MET 482 INDUSTRIAL MACHINE COMPONENTS DESIGN

1-2561
รหัสนักศึกษา : ชื่อ-สกุล :
วันที่ : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561
 คาแนะนา
แบบทดสอบนี้ประเมินความรู้ความเข้าใจและความสามารถของท่านตามผลลัพธ์การเรียนรู้
CLO1 ฉันอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสาระต่าง ๆ ของศาสตร์กลศาสตร์วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามแผนผังที่
กาหนดให้ คือ 1) สาขา/รายวิชากลศาสตร์วิศวกรรม และ 2) ตรรกะศาสตร์ของกลศาสตร์วิศวกรรม สาขากลศาสตร์ของแข็ง
CLO2 ฉันอธิบายสาระสาคัญของแนวคิดการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล คือ 1) เส้นทางการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล และ 2) ทางเลือกการ
ออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
CLO4 ฉันแสดง/เขียนขั้นตอนการออกแบบชิน้ ส่วนเครื่องจักรกลทั้งแบบภาระสถิตและภาระแปรเปลี่ยนในรูปของกราฟิก
CLO5 ฉันวิเคราะห์และแก้ปัญหาการออกแบบชิน้ ส่วนเครื่องจักรกลสาคัญโดยอาศัยมโนทัศน์ หลักการ กฎ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ระดับการเรียนรู้ของท่าน
2.00 3.00 4.00
ตัวเลข 0.00 0.50 1.00 1.33 1.67 2.33 2.67 3.33 3.67
(ส่วน A) (ส่วน B) (ส่วน C)
ความหมาย จากัด จากัด พื้นฐาน ชานาญ ล้าหน้า

และเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของท่านตาม CLOs ข้างบนนั้น แบบทดสอบนี้ทั้งหมด 4 หน้า 3 ส่วน และ 16 ข้อ โดยส่วน A เน้นความจา
หรือการระลึกรู้ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ส่วน B เน้นเน้นความเข้าใจและการวิเคราะห์ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว และ ส่วน C เน้นเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้
เรียนรู้มาแล้วในชีวิตจริงนอกเหนือจากที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนและในบริบทที่มีความหมาย ข้อสอบชุดนี้ใช้เวลาทั้งหมด 180 นาที และหากพื้นที่ไม่เพียงพอ
ท่านสามารถทาด้านหลังได้โดยระบุข้อให้ชัดเจน
 การตรวจแบบทดสอบ
การตรวจแบบทดสอบนี้ดูรายละเอียดในเอกสารความสามารถในการตอบเชิงอธิบาย (constructed response) และแบบการแก้ปัญหา (problem solving)

 การกาหนดระดับการเรียนรู้
การที่ท่านจะอยู่ในระดับการเรียนรู้ใดนั้น ท่านต้องได้ผลการวัดเป็น Ⓒ ในทุก ๆ ข้อคาถามย่อยในส่วนนั้น ๆ ของแบบทดสอบ เช่น หากท่านได้รับผลการวัด
ข้อคาถามทุกข้อในส่วน A เป็น Ⓒ ท่านก็จะอยู่ในระดับ BASIC และในทานองเดียวกันหากท่านได้รับผลการวัดข้อคาถามทุกข้อในส่วน A และ ส่วน B เป็น Ⓒ
ทั้งหมดท่านก็จะอยู่ในระดับ PROFICIENT ลักษณะแบบนี้ใช้กับส่วน C ระดับ ADVANCED เช่นกัน ทั้งนี้หากท่านได้รับผลการวัดเป็น Ⓒ หรือ Ⓗ หรือ Ⓛ ปะปน
กันไป ท่านก็จะมีระดับการเรียนรู้ในระดับย่อยระหว่างกลางดังตารางข้างล่างและตามคาอธิบายในเอกสารแสดงระดับการเรียนรู้
ส่วน A : ระดับการเรียนรู้ BASIC- เข้าใจเนื้อหารายวิชา แนวคิดสาคัญและแสดงทักษะได้อย่างครบถ้วนในระดับง่าย
ข้อสอบ 1 2 3 4 5 6 7 8
รหัสผลการวัด
ส่วน B : ระดับการเรียนรู้ PROFICIENT - เข้าใจเนื้อหารายวิชา แนวคิดสาคัญ และแสดงทักษะได้อย่างครบถ้วนทั้งในระดับง่ายและซับซ้อน
ข้อสอบ 9 10 11 12
รหัสผลการวัด
ส่วน C : ระดับการเรียนรู้ ADVANCED - เข้าใจเนือ้ หารายวิชา แนวคิดสาคัญ และแสดงทักษะได้อย่างครบถ้วนทั้งในระดับง่ายและซับซ้อน ประยุกต์ใช้เนื้อหาและ
ทักษะในหลากหลายสถานการณ์นอกเหนือจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้
ข้อสอบ 13 14 15 16
รหัสผลการวัด
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล  2561 ออกแบบโดย อ.พิเชษฐ์ พินิจ
MET
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี แบบทดสอบนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป้าประสงค์ในการทวนสอบระดับความรู้/ความเข้าใจของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เรียนในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องสาหรับรายวิชา MET 482 เท่านั้น
Page | 2/4

ส่วน A เน้นความจาหรือการระลึกรู้ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
1) วิชาสถิตศาสตร์วิศวกรรม และกลศาสตร์ของวัสดุเป็นส่วนสาคัญในการออกแบบชิ้นส่วนทางกล <CLO1>  จริง  เท็จ
เนื่องด้วยวิชาแรกมุ่งเน้นการคานวณหาความเค้น ขณะที่วิชาที่สองมุ่งเน้นการหาภาระภายใน
2) สถิตศาสตร์เป็นการศึกษาที่ว่าด้วยการสมดุล และกลศาสตร์วสั ดุเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการสมมูล <CLO1>  จริง  เท็จ
สถิตกล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างภาระภายในกับความเค้น
3) การกาหนดขนาดของวัตถุถือเป็นทางเลือกในการออกแบบด้านการสังเคราะห์ (synthesis) <CLO2>  จริง  เท็จ
4) พารามิเตอร์ในการออกแบบเพื่อความแข็งแกร่งคือ แรงกดในแนวแกน <CLO2>  จริง  เท็จ
5) ตามผังงานด้านล่าง การเลือกใช้ทฤษฎีความเสียหายต่าง ๆ ขึ้นอยู่กบั ประเภทของวัสดุ คือ <CLO4>  จริง  เท็จ
เหนียวยืด (ductile) หรือ เปราะ (brittle)
6) หากเราต้องออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การเริ่มต้นต้องเริม่ จากการกาหนดภาระภายใน ณ <CLO4>  จริง  เท็จ
หน้าตัดวิกฤต
7) ในปัญหา 2 มิติ ภาระภายใน ณ หน้าตัดที่พิจารณาจะมีตัวแปรที่ไม่ทราบค่า 3 ตัว คือ แรงใน <CLO5>  จริง  เท็จ
แนวแกนของวัตถุ แรงในแนวขวางแกนของวัตถุ และโมเมนต์ดัด
8) จงเขียนแนวทางการตั้งแกนอ้างอิงเพื่อใช้ประกอบการคานวณมาให้เข้าใจ <CLO5>

ออกข้อสอบโดย อ. พิเชษฐ์ พินิจ  T5 – Retest สอบวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561


Page | 3/4

ส่วน B เน้นความเข้าใจและการวิเคราะห์ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
9) รายวิชากลศาสตร์ของวัสดุและรายวิชการออกแบบชิ้นส่วนทางกลมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร? <CLO1>

10) จากรูปทีแ่ ขวนกระเป๋าในห้องน้า จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการออกแบบเพื่อความต้านแรง (design for strength) และการ


ออกแบบเพื่อความแข็งแกร่ง (design for stiffness) ที่เป็นส่วนสาคัญในการออกแบบแกนแขวนนี้ <CLO2>

11) จากรูปในข้อ 10) จงเขียนผังงานในการหาค่าความเค้น ณ หน้าตัดวิกฤต <CLO4>

12) จากรูปในข้อ 10) จงคานวณหาค่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนแขวนโดยอาศัยสูตรที่กาหนดให้โดย และ คือ โมเมนต์ดัดและ


โมเมนต์บิด ตามลาดับ ทั้งนี้มีเงื่อนไขดังนี้
เงื่อนไขการออกแบบ รายละเอียด
ค่าความปลอดภัย (FS) ต่าสุดที่ยอมให้
วัสดุที่ใช้ทาแกนแขวน AISI 1020
ความยาวแกนแขวน (ปลายถึงโคนที่ติดผนัง) กาหนดเองโดยประมาณจากรูป
มวลกระเป๋า สูงสุดไม่เกิน 7 kg
สูตร

ให้ทาตามขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาทางฟิสิกส์/วิศวกรรม
ออกข้อสอบโดย อ. พิเชษฐ์ พินิจ  T5 – Retest สอบวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561
Page | 4/4

ส่วน C เน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้เรียนรูม้ าแล้วในชีวติ จริงนอกเหนือจากที่ได้รับการสอนในชั้นเรียน และในบริบททีม่ ีความหมาย

13) จากรูปเพลาในเครื่องจักรอุตสาหกรรม จงแยกแยะให้เห็นโดยชัดเจนว่า หากจะต้องหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลา ท่านจะต้องใช้


หลักการ หรือสูตรทีส่ าคัญใดบ้างภายใต้รายวิชาสถิตศาสตร์วศิ วกรรม กลศาสตร์ของวัสดุ และการออกแบบชิ้นส่วนทางกล <CLO1>

14) จากรูปเพลาในเครื่องจักรอุตสาหกรรม หากท่านจะต้องออกแบบเพลาเพื่อหาค่า d ที่เหมาะสมท่านจะใช้การออกแบบใดระหว่างการ


ออกแบบเพื่อความต้านแรงกับเพือ่ ความแข็งแกร่ง <CLO2>

15) จากคาตอบในข้อที่ 11 (ผังงาน) ท่านคิดว่าสามารถใช้เป็นแนวทางในการหาค่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลาในเครื่องจักรอุตสาหกรรม


ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และจะต้องมีการเปลีย่ นแปลงอะไรบ้างในผังงาน? <CLO4>

16) จากข้อมูลในข้อ 12) ท่านคิดว่าความยาวของแกนแขวนจะมีผลอย่างไรต่อการหาค่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนแขวน เพราะเหตุใด


ท่านจึงคิดเช่นนั้น <CLO5>

ออกข้อสอบโดย อ. พิเชษฐ์ พินิจ  T5 – Retest สอบวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

You might also like